ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ...

18
ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสัมพันธทางสังคมวัฒนธรรมไทย Name Origins and Name Meanings of Roads in Bangkok: Socio-cultural Relationship in Thai Community ผูวิจัย ปนิตา จิตมุสาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย อาจารยที่ปรึกษาวิทยานิพนธ อาจารยดร.ศิริพร ภักดีผาสุข ภาควิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย บทคัดยอ บทความนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร โดย ศึกษาจากชื่อถนนที่สามารถหาที่มาและความหมายได ๓๘๐ ชื่อ จากจํานวนทั้งหมด ๔๗๓ ชื่อ ผล การศึกษาพบวา ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครสามารถแบงไดเปน ประเภท ตามลําดับที่พบมากที่สุดไปสูลําดับที่นอยที่สุด ไดแก . ที่มาและความหมายจากสถานที่หรือสภาพแวดลอม ๑๗๔ ชื่อ (รอยละ ๔๕.๗๙) ที่มาและความหมายจากชื่อ นามสกุล หรือราชทินนาม ๑๐๙ ชื่อ (รอยละ ๒๘.๖๘) . ที่มาและความหมายจากความเชื่อและคานิยมเรื่องความเปนสิริมงคล ๕๕ ชื่อ ( รอยละ ๑๔.๔๗) . ที่มาและความหมายจากเหตุการณสําคัญ ๒๓ ชื่อ (รอยละ .๐๕) . ที่มาและความหมายจากอาชีพของคนในชุมชนที่ถนนตัดผาน ชื่อ (รอยละ .๑๑) . ที่มาและความหมายจากสิ่งของเครื่องใช ชื่อ (รอยละ .๘๔) . ที่มาและความหมายจากชาติพันธุของคนในชุมชนที่อยูในบริเวณใกลเคียงถนน ชื่อ(รอยละ .๐๕) การแบงประเภทที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครจะชวยสะทอนใหเห็น ลักษณะสังคมวัฒนธรรมไทยบางประการได เพราะชื่อสถานที่ดังเชนชื่อถนนยอมมาจากแนวคิดหรือโลก ทัศนของคนในสังคม การจัดกลุมชื่อถนนในกรุงเทพมหานครที่มีอยูมากมายนี้จึงเปนการใหความสําคัญ วาชื่อถนนไมไดเปนเพียงชื่อเพื่อใชประโยชนในการสัญจรหรือระบุสถานที่เทานั้น แตเปนเสมือนบันทึก ทางสังคมวัฒนธรรมที่สามารถนํามาศึกษาไดจากประวัติที่มาและความหมายของถนนสายนั้นๆ Abstract This article aims to study name origins and name meaning of roads in Bangkok based on road names of which origins and meaning could be found. การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค 1046

Transcript of ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ...

Page 1: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสัมพันธทางสังคมวัฒนธรรมไทย Name Origins and Name Meanings of Roads in Bangkok: Socio-cultural Relationship in Thai Community ผูวิจัย ปนิตา จิตมุง สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย อาจารยที่ปรึกษาวิทยานิพนธ อาจารยดร.ศิริพร ภักดีผาสุข ภาควิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

บทคัดยอ บทความนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาจากชื่อถนนที่สามารถหาที่มาและความหมายได ๓๘๐ ช่ือ จากจํานวนทั้งหมด ๔๗๓ ช่ือ ผลการศึกษาพบวา ท่ีมาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครสามารถแบงไดเปน ๗ ประเภท ตามลําดับที่พบมากที่สุดไปสูลําดับที่นอยท่ีสุด ไดแก

๑. ท่ีมาและความหมายจากสถานที่หรอืสภาพแวดลอม ๑๗๔ ช่ือ (รอยละ ๔๕.๗๙) ๒ ท่ีมาและความหมายจากชื่อ นามสกุล หรือราชทินนาม ๑๐๙ ช่ือ (รอยละ ๒๘.๖๘) ๓. ท่ีมาและความหมายจากความเชื่อและคานิยมเรื่องความเปนสิริมงคล ๕๕ ช่ือ (รอยละ

๑๔.๔๗) ๔. ท่ีมาและความหมายจากเหตุการณสําคัญ ๒๓ ช่ือ (รอยละ ๖.๐๕) ๕. ท่ีมาและความหมายจากอาชีพของคนในชุมชนที่ถนนตัดผาน ๘ ช่ือ (รอยละ ๒.๑๑) ๖. ท่ีมาและความหมายจากสิ่งของเครื่องใช ๗ ช่ือ (รอยละ ๑.๘๔) ๗. ท่ีมาและความหมายจากชาติพันธุของคนในชุมชนที่อยูในบริเวณใกลเคียงถนน ๔ ช่ือ(รอยละ

๑.๐๕) การแบงประเภทที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครจะชวยสะทอนใหเห็น

ลักษณะสังคมวัฒนธรรมไทยบางประการได เพราะชื่อสถานที่ดังเชนช่ือถนนยอมมาจากแนวคิดหรือโลกทัศนของคนในสังคม การจัดกลุมช่ือถนนในกรุงเทพมหานครที่มีอยูมากมายนี้จึงเปนการใหความสําคัญวาช่ือถนนไมไดเปนเพียงช่ือเพื่อใชประโยชนในการสัญจรหรือระบุสถานที่เทานั้น แตเปนเสมือนบันทึกทางสังคมวัฒนธรรมที่สามารถนํามาศึกษาไดจากประวัติท่ีมาและความหมายของถนนสายนั้นๆ

Abstract This article aims to study name origins and name meaning of roads in Bangkok based on road names of which origins and meaning could be found.

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1046

Page 2: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

Only380 from all of 473 road names are analyzed. The result of the analysis shows that there are 7 categories of name origins and name meaning of roads in Bangkok, which are ordered from the one with the highest frequency of occurrence to the lowest;

1) Locations or environments (174 names or 45.79%) 2) Names, surnames, or titles conferred by the king (109 names or 28.68 %) 3) Beliefs and values of luck (55 names or 14.74%) 4) Important events (23 names or 6.05%) 5) Occupations of communities where roads are cut through (8 names or

2.11%) 6) Utensils (7 names or 1.84%) 7) Ethnics of people living in vicinity of roads (4 names or 1.05%)

The classification of name origins and name meaning of roads in Bangkok

reflects some characteristics of Thai culture because these names are originated from ideas or worldview of people in society. The classification of road names in Bangkok emphasizes that road names are not only traffic signs or place markers but also the socio-cultural journals that tells their origins and meanings. บทนํา

ถนนเปนเสนทางคมนาคมที่สําคัญตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน เพราะชวยอํานวยความสะดวกในการเดินทาง การขนสง ทําใหกิจกรรมตางๆ ในสังคมดําเนินไปอยางราบรื่น สําหรับประวัติความเปนมาเกี่ยวกับการสรางถนนแบบตะวันตกในประเทศไทยเริ่มตั้งแตสมัยรัชกาลที่ ๔ เปนตนมา ซึ่งเปนยุคเริ่มตนของการพัฒนาประเทศใหเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ สุจิตต วงษเทศ (๒๕๔๘: ๑๘๘-๑๘๙) กลาววา

“ครั้นถึงสมัยรัชกาลท่ี๔ ชาวตะวันตกที่อาศัยอยูในพระนครเรียกรองใหสรางถนนเพื่อเลนกีฬา ข่ีมา และนั่งรถมาตากอากาศ จึงโปรดใหสรางถนนเจริญกรุง ถนนบํารุงเมือง ถนนเฟองนครขึ้น...” จะเห็นไดวาถนนแบบตะวันตกในเขตพระนครเปนสัญลักษณสําคัญอยางหนึ่งของการกาวไปสู

สังคมแบบใหมท่ีจะสืบตอมาจนถึงปจจุบัน ทําใหคนไทยเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการคมนาคมในแมน้ําลําคลองมาเปนการคมนาคมทางบก และสงผลใหชุมชนขยายตัวอยางกวางขวางตามถนนที่สรางเพิ่มข้ึนในยุคตอๆ มา

นอกจากถนนจะมีความสําคัญแลว ช่ือและการตั้งช่ือถนนก็มีความสําคัญดวยเชนกัน ในสังคมไทยมีธรรมเนียมปฏิบัติในการตั้งช่ือใหแกสถานที่ท่ีมีความสําคัญ อาทิ ช่ือวัด ช่ือวัง ช่ือประตูวัง ช่ือปอมปราการ ช่ือสะพาน ช่ืออาคาร ช่ือแมน้ํา ช่ือคลอง และรวมถึงช่ือถนน ช่ือเฉพาะเหลานี้นอกจากจะจําแนกสถานที่หนึ่งออกจากสถานที่หนึ่งแลว ยังเปนเสมือนการบันทึกประวัติศาสตรของสังคมดวยอีกทางหนึ่ง ช่ือถนนในกรุงเทพมหานครเปนเรื่องท่ีนาสนใจเพราะถนนจํานวนมากมีท่ีมา

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1047

Page 3: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

ความหมายวาเหตุใดจึงตั้งช่ือเชนนั้น บางกรณีเปนการบอกเกี่ยวกับประวัติศาสตรของทองถิ่น หรือนําเหตุการณสถานที่สําคัญทางประวัติศาสตรมาเปนชื่อถนนเพื่อเปนอนุสรณใหรําลึกถึงเหตุการณนั้นๆ บางครั้งนําช่ือเจาของที่ดิน ช่ือผูควบคุมการกอสรางถนนมาตั้งเปนช่ือถนน หรือช่ือถนนบางสายบอกใหทราบถึงประวัติชุมชนที่อยูในบริเวณนั้น การศึกษาชื่อถนนจึงทําใหรูจักถึงรากเหงาของตนเอง (ท. กลวยไม ณ อยุธยา ๒๕๔๗: ๒๗๓)

จากความสําคัญนี้ผูวิจัยจึงไดสํารวจชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร พบวาสวนใหญตั้งข้ึนจากปจจัยท่ีหลากหลาย ประกอบกับเมื่อสํารวจงานวิจัยเกี่ยวกับการตั้งช่ือพบวายังไมมีงานวิจัยใดที่ศึกษาเกี่ยวกับการตั้งช่ือถนน จึงทําใหผูวิจัยสนใจที่จะศึกษาที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งยอมสะทอนใหเห็นลักษณะของสังคมและวัฒนธรรมไทยเชนกัน

วัตถุประสงคของการวิจัย

๑.เพื่อศึกษาวาช่ือถนนในกรุงเทพมหานครมีท่ีมาและความหมายจากปจจัยใด ๒.เพื่อศึกษาวาช่ือถนนในกรุงเทพมหานครแสดงใหเห็นความสัมพันธกับสังคมวัฒนธรรมไทย

อยางไร

วิธีการวิจัย ผูวิจัยรวบรวมรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครจากกลุมงานสารสนเทศที่ดิน ๑ และกลุมงาน

สารสนเทศที่ดิน ๒ กองสํารวจและแผนที่ท่ีดิน สํานักการโยธา กรุงเทพมหานคร ซึ่งเปนหนวยงานที่เก็บรวบรวมรายชื่อถนน ตรอก ซอย ในพื้นที่ท้ัง ๕๐ เขตของกรุงเทพมหานคร โดยเปนขอมูลท่ีมาจากการสํารวจและรวบรวมรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครในปพ.ศ.๒๕๕๐ นอกจากจะไดขอมูลช่ือถนนมาจากหนวยงานราชการแลวผูวิจัยยังรวบรวมรายชื่อถนนจากแหลงขอมูลอื่น คือหนังสือและวารสารที่เกี่ยวกับถนนในกรุงเทพมหานคร สรุปไดวามีช่ือถนนในการศึกษาวิจัยจํานวนทั้งหมด ๓๘๐ ช่ือ จากนั้นผูวิจัยจึงไดคนควาประวัติท่ีมาและความหมายของถนนในกรุงเทพมหานครจากหนังสือ วารสาร พจนานุกรมวิสามานยนาม จดหมายเหตุ เว็บไซต และหนวยงานราชการที่เกี่ยวของ ซึ่งจะไดนําเสนอผลการวิจัยตอไป

ผลการวิจัย ผลการวิจัยพบวาช่ือถนนในกรุงเทพมหานครมีท่ีมาและความหมายแบงไดเปน ๗ กลุม ไดแก

๑. ท่ีมาและความหมายจากสถานที่หรือสภาพแวดลอม ๑๗๔ ช่ือ (รอยละ ๔๕.๗๙) ๒. ท่ีมาและความหมายจากชื่อ นามสกุล หรือราชทินนาม ๑๐๙ ช่ือ (รอยละ ๒๘.๖๘) ๓. ท่ีมาและความหมายจากความเชื่อและคานิยมเรื่องความเปนสิริมงคล ๕๕ ช่ือ (รอยละ ๑๔.๔๗) ๔. ท่ีมาและความหมายจากเหตุการณสําคัญ ๒๓ ช่ือ (รอยละ ๖.๐๕) ๕. ท่ีมาและความหมายจากอาชีพของคนในชุมชนที่ถนนตัดผาน ๘ ช่ือ (รอยละ ๒.๑๑)

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1048

Page 4: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

๖. ท่ีมาและความหมายจากสิ่งของเครื่องใช ๗ ช่ือ (รอยละ ๑.๘๔) ๗. ท่ีมาและความหมายจากชาติพันธุของคนในชุมชนที่อยูในบริเวณใกลเคียงถนน ๔ ช่ือ(รอยละ ๑.๐๕)

ผูวิจัยจะไดนําเสนอในรายละเอียดดังนี้ ๑. ที่มาและความหมายจากสถานที่หรือสภาพแวดลอม วิมล กิจวานิชขจร (๒๕๔๓ : ๑๒)ไดใหขอมูลหลักเกณฑในการตั้งช่ือถนนโดยอางอิงจาก

พระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร ๒๕๓๔ วา “กรณีท่ียังไมมีการตั้งช่ือเปนทางราชการมากอน ใหนายทะเบียนทองถิ่นตรวจสอบ

ประวัติความเปนมา เชน วัตถุประสงคของการจัดสราง ช่ือผูอุทิศท่ีดินหรือคาใชจายในการกอสราง ช่ือชุมชนหรือหมูบานที่ตั้ง หรือความเปนมาของสถานที่ตั้ง ช่ือท่ีเคยเรียกขานมาแตโบราณ ตลอดจนปรากฏในเอกสารเกา เชน แผนที่หรือประกาศราชการ เพื่อเปนเหตุผลประกอบการตั้งช่ือ....” จากขอมูลขางตนจะเห็นไดวาท่ีมาและความหมายจากสถานที่หรือสภาพแวดลอมเปนปจจัย

สําคัญอยางหนึ่งในการนํามาตั้งช่ือถนน เนื่องจากสถานที่ตางๆ ยอมมีช่ือเรียกขานแตดั้งเดิมและเปนที่รูจักแกประชาชนในยานนั้น เมื่อสรางถนนตัดผานจึงนําช่ือท่ีมีมาแตเดิมมาตั้งช่ือถนน เพื่อใหเกิดความสะดวกในการจดจําหมายรูและยังคงไวซึ่งประวัติความเปนมาของสถานที่ตางๆ โดยอาศัยช่ือถนนเปนเครื่องบันทึกไว สามารถแบงเปนประเภทยอย ดังนี้

๑.๑ ถนนตามสถานที่สําคัญรอบถนน กรุงเทพมหานครเปนที่ตั้งของสถานที่สําคัญตางๆ เมื่อสรางถนนตัดผานจึงเปนที่มาของ

ช่ือถนนสายตางๆ ไดแก ศาสนสถาน เชน ถนนจักรวรรดิ วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร ถนนมหา

พฤฒาราม วัดมหาพฤฒาราม สถานศึกษา เชน ถนนคอนแวนต โรงเรียนสตรีเซนตโยเซฟคอนเวนต

ถนนหอวัง โรงเรียนหอวัง ที่สาธารณะ เชน ถนนกรุงเกษม มาจากชื่อคลองผดุงกรุงเกษม ถนนทาง

รถไฟสายปากน้ําเกา เดิมเปนทางเดินรถไฟสายปากน้ํา วัง เชน ถนนทายวัง ถนนตัดผานหลัง

พระบรมมหาราชวัง ถนนวังเดิม คือพระราชวังกรุงธนบุรี สถานประกอบการธุรกิจ เชน ถนนสิบสามหาง เคยเปนที่ตั้งอาคารสมาคมชื่อสิบสามหาง ยานการคาบางลําพู ถนนแฮปปแลนด มาจากชื่อสถานประกอบการธุรกิจ “แฮปปแลนด กรุป” เปนแหลงการคาขนาดใหญ และอาคารพักอาศัยหลากหลายรูปแบบ สถานที่ราชการ เชน ถนนวิทยุ มาจากสถานีวิทยุแหงแรกในประเทศไทย ถนนหนาหับเผย มาจากสถานที่ท่ีเรียกวา “หับเผย” คือเรือนจําสําหรับนักโทษที่มีโทษเบาที่เรียกวา ลหุโทษ หับเผยเรียกตามลักษณะการปด-เปดประตูเรือนจําสําหรับเขาออกเปนเวลา และ ปอมปราการ เชน ถนนจักรเพชร ช่ือของปอมจักรเพชร ถนนพระสุเมรุ ช่ือของปอมพระสุเมรุ ซึ่งเปนปอมปราการที่สรางขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช

๑.๒ ชื่อถนนที่มาจากลักษณะภูมิประเทศ สิ่งแวดลอมตามธรรมชาติ

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1049

Page 5: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

ช่ือถนนในกลุมนี้ทําใหทราบวาแตเดิมทองท่ีนั้นมีลักษณะสําคัญอยางไร เชน คลอง คู หนอง ทา ลาด บาง สระ เปนตน คําบอกลักษณะภูมิประเทศเหลานี้ ช้ีวาพื้นที่บางสวนของกรุงเทพมหานครเปนที่ลุมมีน้ําขังเต็มไปดวยคูคลองมากมาย และสืบเนื่องจากลักษณะภูมิประเทศที่เปนที่ราบลุมอุดมสมบูรณไปดวยแหลงน้ํา จึงทําใหพื้นที่ของกรุงเทพมหานครในอดีตมีสิ่งแวดลอมตามธรรมชาติและพืชพรรณที่หลากหลาย เปนแหลงเพาะปลูกเพื่อการเกษตรกรรม เชน สวนผลไม สวนผัก เปนตน เมื่อสรางถนนตัดผานจึงยังมีการนําลักษณะภูมิประเทศดั้งเดิมซึ่งอาจไมมีใหเห็นแลวในปจจุบันมาตั้งช่ือถนน ตัวอยางชื่อถนนจาก ลักษณะภูมิประเทศ เชน ถนนคลองลําเจียก เปนช่ือคลองบริเวณที่

ถนนตัดผาน ถนนคู-คลองสิบ คําวา “คู” หมายถึง โคงหรือคุง สิ่งแวดลอมตามธรรมชาติ เชน ถนนจันทน เนื่องจากบริเวณนี้เดิมเปนพื้นที่สวนผลไม มีตนจันทนข้ึนอยูจึงไดมีคนเรียกตรอกจันทน ถนนราชพฤกษ กรมทางหลวงชนบทไดเสนอชื่อโดยใหเหตุผลวามีโครงการจะปลูกตนราชพฤกษตามแนวถนนสายนี้ หรือตั้งช่ือถนนตามลักษณะทางกายภาพ เชน ถนนดินแดง สรางในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ช่ือถนนมาจากการสรางทางดวยดินลูกรังซึ่งมีสีสมอมแดง เมื่อรถวิ่งผานไปมาก็จะมีฝุนสีแดงฝุงกระจายไปทั่ว

๑.๓ ชื่อถนนที่มาจากชื่อสถานที่ดั้งเดิม ชุมชน แขวง เขต จังหวัด คือช่ือถนนที่มาจากชื่อเรียกสถานที่ดั้งเดิม ซึ่งก็เปนชื่อชุมชน ช่ือแขวง ช่ือเขต ช่ือ

จังหวัดในปจจุบันเชนกัน เชน ถนนพญาไท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวพระราชทานชื่อถนนสายนี้เนื่องจากเปนถนนที่สวนตําบลพญาไท ปจจุบันไดยกฐานะเปนเขตพญาไท ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ตั้งช่ือจากจุดเริ่มตนถึงปลายทางเพราะเปนถนนที่เชื่อมเสนทางกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนนทบุรี

๒. ที่มาและความหมายจากชื่อ นามสกุล หรือราชทินนาม จากการศึกษาขอมูลสามารถแบงประเภทชื่อถนนไดตามสถานภาพของบุคคล ไดแก ช่ือถนน

ท่ีมาจากพระมหากษัตริย พระบรมวงศานุวงศ ขุนนาง ขาราชการ และสามัญชน นอกจากนี้ยังสามารถแบงประเภทโดยพิจารณาตามที่มาและความหมายของชื่อถนนไดหลายประเภท ไดแก ช่ือถนนเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ หรือเพื่อเปนเกียรติแกขุนนาง ขาราชการ สามัญชน ช่ือถนนที่มาจากพระนามทรงกรมของพระบรมวงศานุวงศบางพระองค ช่ือถนนที่สรางอุทิศแกพระบรมวงศานุวงศท่ีสิ้นพระชนม ช่ือถนนที่มาจากการตัดผานสถานที่ท่ีเกี่ยวของกับพระบรมวงศานุวงศ ขุนนาง ขาราชการ และสามัญชน ช่ือถนนที่ตั้งข้ึนเพื่อเปนอนุสรณถึงเจาของที่ดินที่ถนนตัดผาน หรือช่ือถนนมาจากชื่อผูบริจาคที่ดินหรือทุนทรัพยเพื่อสรางถนน และชื่อถนนที่มาจากชื่อนายชางผูควบคุมการกอสรางหรือบังคับบัญชางานดานถนน ดังนี้

๒.๑ ชื่อถนนที่มาจากพระบรมวงศานุวงศ จากการศึกษาพบวามีการนําพระนามของพระบรมวงศานุวงศมาตั้งช่ือถนนในกรุงเทพมหานครเปนจํานวนมากที่สุด กลาวคือเปนพระนามของพระบรมวงศานุวงศในอดีตจนถึงปจจุบัน

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1050

Page 6: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

สะทอนใหเห็นวาพระบรมวงศานุวงศมีบทบาทในสังคมไทยมาอยางยาวนาน โดยเฉพาะในชวงท่ีประเทศกําลังพัฒนาไปสูความเปนสมัยใหมจึงตองการความรูความสามารถจากกลุมปญญาชน ซึ่งสวนใหญคือพระบรมวงศานุวงศท่ีไดไปศึกษาเลาเรียนยังตางประเทศและนําความรูกลับมาพัฒนาประเทศ ดังนั้นเมื่อพระบรมวงศานุวงศพระองคตางๆ ไดประกอบพระกรณียกิจที่มีคุณูปการตางๆ ตอบานเมือง จึงยอมมีการเฉลิมพระเกียรติยศดังเชนการนําพระนามมาตั้งเปนช่ือถนน นอกจากนี้ช่ือถนนที่มาจากพระบรมวงศานุวงศบางพระองคก็ตั้งข้ึนเพื่อเปนอนุสรณใหระลึกถึงพระองค เชน ช่ือถนนที่มาจากสถานที่ท่ีเกี่ยวของกับพระบรมวงศานุวงศ หรือช่ือถนนที่มาจากพระนามพระบรมวงศานุวงศท่ีสิ้นพระชนม โดยแบงเปนประเภทตางๆ ดังนี้

ชื่อถนนที่มาจากสถานที่ที่ เกี่ยวของกับพระบรมวงศานุวงศ ไดแก วังท่ีประทับ สถานที่ราชการที่ทรงประกอบพระกรณียกิจ เชน ถนนเจาฟา ในอดีตบริเวณนี้เคยเปนที่ตั้งวังของพระเจาราชวรวงศเธอ เจาฟาอิศราพงศ พระโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว ถนนเศรษฐศิริ พลโท หมอมเจาเศรษฐศิริ กฤดากร เจากรมชางแสงทหารบกคนแรก เปนผูวางรากฐานการผลิตสรรพาวุธตางๆ เพิ่มประสิทธิภาพแกกองทัพบกไทยเปนอยางมาก ดังนั้นจึงตั้งช่ือถนนที่ตัดผานบริเวณกรมสรรพาวุธทหารบกเพื่อเปนอนุสรณแกพระองค

ชื่อถนนเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ เชน ถนนบรมราชชนนี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ถนนสิรินธร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจาฟามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปยชาติ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเปนการเทิดพระเกียรติแกท้ัง ๒ พระองค

ชื่อถนนที่มาจากพระนามทรงกรมของพระบรมวงศานุวงศที่ทรงกรมจากชื่อเมืองหรือ

ชื่อจังหวัด ช่ือถนนในประเภทนี้หากไมทราบประวัติท่ีมาก็อาจทําใหเขาใจไดวาตั้งข้ึนมาจากชื่อจังหวัดหรือเมืองตางๆ แทจริงแลวมีท่ีมาจากพระนามตนของพระนามกรมของพระบรมวงศานุวงศบางพระองค

ท่ีทรงกรมจากชื่อเมืองหรือช่ือจังหวัดตางๆ∗ เชน ถนนนครไชยศรี จอมพล พระเจาบรมวงศเธอ พระองคเจาจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ถนนเพชรบุรี สมเด็จพระเจาลูกเธอ เจาฟาวไลยอลงกรณ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร

∗ ตามประเพณีการปกครองของไทยแตโบราณมีการรวบรวมชายฉกรรจขึ้นเปนหมวดหมูเรียกวากรม มีผูบังคับบัญชา

คือเจากรมซึ่งมีทั้งขาราชการระดับสูงและพระบรมวงศานวุงศบางพระองคทีพ่ระเจาอยูหัวทรงมอบหมายใหดูแลกรม เชน กรมพระราชวังบวรสถานมงคล สวนกรมที่มีชื่อเปนเมืองหรือจังหวัดตางๆ แสดงวามีเจานายออกไปครองเมืองนั้นๆ เปนเมืองลูกหลวงหรือเมืองหลานหลวง ตอมาเลิกประเพณีใหเจานายไปกนิเมืองโดยใหรับราชการอยูในเมืองหลวง จึงมีชื่อกรมเปนเมืองตางๆ ตามมา และเมื่อเลิกประเพณีรวบรวมชายฉกรรจเปนกรมตางๆ แลว การทรงกรมของเจานายก็กลายเปนการสถาปนาพระอิสริยยศไป (ท.กลวยไม ณ อยุธยา,๒๕๔๖: ๗๔-๗๕) และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจลุจอมเกลาเจาอยูหัว ไดทรงตั้งพระนามทรงกรมของพระราชโอรสและพระราชธิดาตามชื่อจังหวัดหรือมณฑล เชน กรมขุนนครสวรรควรพินิต กรมขุนลพบุรีราเมศร กรมขุนสงขลานครินทร (กนกวลี ชูชัยยะ,๒๕๓๘)

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1051

Page 7: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

ชื่อถนนที่มาจากพระนามพระบรมวงศานุวงศที่สิ้นพระชนม สวนใหญเปนถนนที่สรางขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ซึ่งพระองคและพระบรมวงศานุวงศพระราชทานพระราชทรัพยสรางถนนเปนการอุทิศพระราชกุศลแกพระราชวงศท่ีลวงลับไปแลว นับวาเปนการสร างพระราชกุศลท่ี เปนประโยชนสอดคลองกับการพัฒนาการคมนาคมทางบกในกรุงเทพมหานครสมัยนั้น เชน ถนนพาหุรัด สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟาพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน ถนนอุรุพงษ พระเจาบรมวงศเธอพระองคเจาอุรุพงศรัชสมโภช พระราชธิดาและพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว

๒.๒ ชื่อถนนที่มาจากขุนนาง ขาราชการ ขุนนางและขาราชการมีบทบาทสําคัญควบคูมากับสถาบันพระมหากษัตริยมาแตโบราณ ช่ือถนนในประเภทนี้มาจากขุนนางขาราชการที่มีคุณูปการตอประเทศ ไมก็มีความสัมพันธทางเครือญาติกับสถาบันพระมหากษัตริย จึงมีท้ังอํานาจและทุนทรัพยท่ีจะสรางถนนหรือบริจาคที่ดินเพื่อสรางถนนซึ่งถือวาเปนสิ่งใหมในสังคมไทยสมัยกอนได ช่ือถนนจึงตั้งข้ึนเพื่อเปนอนุสรณและเปนเกียรติแกผูสรางและวงศตระกูล จนมาถึงสมัยประชาธิปไตยที่ระบบขุนนางแบบเกาเริ่มลดบทบาทลงไป แตขาราชการก็ยังมีความสําคัญดังจะเห็นไดจากการนําช่ือขาราชการที่เกี่ยวของกับการสรางถนนมาตั้งช่ือถนน คือในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเปนนายกรัฐมนตรี ไดกําหนดนโยบายวาถนนที่กรมทางหลวงตัดข้ึนใหมใหนํา ช่ือของนายชางที่กํากับรับผิดชอบการกอสราง ช่ืออธิบดีกรมทางหลวงหรือผูบังคับบัญชาขณะนั้นมาเปนชื่อถนน (ท. กลวยไม ณ อยุธยา, ๒๕๔๖ :๔๑) แบงเปนประเภทตางๆ ดังนี้

ชื่อถนนมาจากชื่อเจาของที่ดินที่ถนนตัดผาน หรือชื่อผูบริจาคที่ดิน ทุนทรัพยเพ่ือสราง

ถนน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวไดพัฒนาการคมนาคมทางบกอยางกวางขวาง เชนการสรางทางรถไฟเชื่อมภูมิภาคตางๆ สวนในพระนครก็สงเสริมใหประชาชนใชเสนทางคมนาคมทางบกแทนทางน้ํา รัฐบาลและเอกชนจึงสรางถนนในพระนครมากขึ้น โดยเฉพาะขุนนางที่มีท่ีดินและทุนทรัพยมักจะนิยมตัดถนนผานที่ดินของตน หรือซื้อท่ีดินแลวตัดถนนผานเพื่อพัฒนาที่ดินใหมีราคาดีและเปนการพัฒนาบานเมืองตามพระบรมราโชบายดวย ดังท่ีเกื้อกูล ยืนยงอนันต (๒๕๒๙ : ๗๓) กลาววา

“การสรางถนนนั้น รัฐบาลกําหนดนโยบายทั้งท่ีสรางถนนดวยตนเอง และอนุญาตใหเอกชนดําเนินการได โดยรัฐบาลใหอํานาจมากพอสมควรในการซื้อท่ีดินสรางถนน ถนนที่สรางโดยเอกชนสวนมากไดแกบริเวณที่อยูอาศัย โดยเฉพาะทางดานใตของกรุงเทพฯ เปนตนวา ถนนสุรวงศ จากถนนเจริญกรุงไปยังถนนหัวลําโพง และถนนเดโช จากถนนสุรวงศไปถนนสีลม....นอกจากนี้ยังมีถนนสี่พระยา ซึ่งไดรับพระราชทานนามเชนเดียวกัน” ตัวอยางเชน ถนนประมวญและถนนสุรศักดิ์ พระประมวญคัคณานตเปนเจาของที่ดินในยานสี

ลมและบางรัก ตอมาไดขายท่ีดินสวนหนึ่งใหกับเจาพระยาสุรศักดิ์มนตรีซึ่งทานไดตัดถนน ๒ สายผานท่ีดินเพื่อพัฒนาใหท่ีดินมีราคาดี และเปนการพัฒนาบานเมืองตามพระบรมราโชบายดวย แลวจึงขอพระราชทานชื่อถนนจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวตามราชทินนามของทานสายหนึ่งวา

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1052

Page 8: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

“ถนนสุรศักดิ์” อีกสายหนึ่งตามราชทินนามของเจาของที่ดินเดิมวา “ถนนประมวญ” ถนนสุทธิสารวินิจฉัย มาจากราชทินนามของพระสุทธิสารวินิจฉัย (มะลิ บุนนาค) ทานไดบริจาคที่ดินริมถนน

พหลโยธินใกลสี่แยกสะพานควายใหกับทางราชการเปนสาธารณสมบัติในพ.ศ.๒๔๙๙ ชื่อถนนเพื่อเปน

เกียรติแกขุนนาง ขาราชการ เชน ถนนพหลโยธิน พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน พหลโยธิน) หัวหนาคณะราษฎร ผูนําการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ และอดีตนายกรัฐมนตรี ถนนมไห

สวรรย พระยามไหสวรรย (กอ สมบัติศิริ) ประธานสภากรุงเทพมหานครคนแรก ชื่อถนนที่มาจากชื่อ

นายชางผูควบคุมการกอสรางหรือบังคับบัญชางานดานถนน ตามนโยบายในรัฐบาลสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม เชน ถนนงามวงศวาน คือ นายดํารง งามวงศวาน อดีตนายชางกํากับหมวดนนทบุรี กรมทางหลวง ซึ่งเปนผูควบคุมการกอสรางถนนสายนี้ ถนนจรัญสนิทวงศ คือ ม.ล.จรัญ สนิทวงศ อดีต

ปลัดกระทรวงคมนาคม และชื่อถนนที่มาจากสถานที่ที่เกี่ยวของกับขุนนาง ขาราชการ เชน ถนนสมเด็จเจาพระยา ถนนตัดผานบริเวณที่เคยเปนที่พํานักของสมเด็จเจาพระยา ๔ ทานคือ ๑.สมเด็จเจาพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ ๒.สมเด็จเจาพระยาบรมมหาพิชัยญาติ ๓.สมเด็จเจาพระยาบรมมหาประยุรวงศ และ ๔.สมเด็จเจาพระยามหากษัตริยศึก ถนนอํานวยสงคราม ถนนตัดผานบริเวณใกลเคียงบานของพันโท หลวงอํานวยสงคราม (ถม เกษะโกมล) อดีตนายทหารผูบังคับกองพันทหารราบที่๘ เสียชีวิตจากการปราบกบฏบวรเดช เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๖ จึงตั้งช่ือถนนเพื่อเปนการระลึกถึงความกลาหาญของทาน

๒.๓ ชื่อถนนที่มาจากพระมหากษัตริยและพระราชินี แสดงใหเห็นวาสังคมไทยเปนสังคมที่ผูกพันกับสถาบันพระมหากษัตริย เมื่อมีการสราง

ถาวรวัตถุเชนถนน เพื่อเปนสาธารณสมบัติใหเกิดประโยชนแกสังคมและเปนเครื่องหมายแหงความเจริญของประเทศ จึงนําพระนามของสถาบันสูงสุดอันเปนที่เคารพของประชาชนมาตั้งช่ือถนน เชน ถนนสมเด็จพระเจาตากสิน หรือนํามาจากพระนามาภิไธยในพระองคมาตั้งเปนช่ือถนน เชน ถนนพระรามที่ ๑ หรือพระนามแฝง เชน ถนนศรีอยุธยา ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว และยังมีช่ือถนนที่แสดงถึงสถานภาพหรือตําแหนง เชน ถนนราชินี หมายถึง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เพื่อเปนอนุสรณในการที่พระองคทรงไดรับการสถาปนาเปนผูสําเร็จราชการแทนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวครั้งเสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ ๒.๔ ชื่อถนนที่มาจากสามัญชน

ช่ือถนนในกรุงเทพมหานครบางสวนมาจากชื่อหรือช่ือสกุลของบุคคลสามัญชนซึ่งเปนเจาของที่ดินที่ไดตัดถนนขึ้นเอง หรืออุทิศท่ีดินใหทางราชการเพื่อตัดถนน และยังมีช่ือถนนที่มาจากบุคคลท่ีมีช่ือเสียง จึงมักจะนําช่ือทานเหลานั้นมาเปนชื่อถนนเพื่อเปนการยกยองใหเกียรติหรือเพื่อเปนประวัติของทองถิ่นสืบไป (ท. กลวยไม ณ อยุธยา ๒๕๔๖:๔๑) ดังนี้

ชื่อถนนที่มาจากชื่อสามัญชนที่เปนเจาของที่ดิน เชน ถนนสาธุประดิษฐ มาจากนามสกุลของนายตวน สาธุ ทานไดบริจาคที่ดินและซื้อท่ีดินตัดถนนใหตอกันได ถนนปน มาจากชื่อของ

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1053

Page 9: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

นางปน เศรษฐีนีเจาของที่ดินและเปนผูใหตัดถนนเขาสูสวนผักของตนเอง ชื่อถนนที่มาจากสามัญชนที่มี

ชื่อเสียง มีท้ังชาวไทยและชาวตางประเทศ เชน ถนนศรีบูรพา หรือนายกุหลาบ สายประดิษฐ นักเขียนและนักหนังสือพิมพ ท่ีมีผลงานดีเดนดานวรรณกรรมเปนที่ยอมรับจํานวนมาก และองคการศึกษาวิทยาศาสตรและวัฒนธรรมแหงสหประชาชาติ (UNESCO) ไดมีมติใหเปนบุคคลสําคัญผูมีผลงานดีเดนระดับโลก ถนนอังรี ดูนังต มาจากชื่อ อังรี ดูนังต (Henri Dunant) ชาวสวิตเซอรแลนด ผูริเริ่มกิจการสภากาชาดจนตั้งเปนสันนิบาตสภากาชาดมีสมาชิกทั่วโลก ประเทศไทยเขาเปนสมาชิกเมื่อพ.ศ.๒๔๔๙ มีท่ีทําการอยูบริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ ในพ.ศ. ๒๕๐๘ ซึ่งเปนวาระครบ ๑๐๐ ปสภากาชาดสากล สันนิบาตสภากาชาดเสนอใหประเทศสมาชิกจัดทําอนุสรณรําลึกถึงอังรี ดูนังต สภากาชาดแหงประเทศไทยพิจารณาเห็นวาช่ืออังรี ดูนังต นาจะเปนชื่อสาธารณสมบัติท่ีเปนประโยชนอยางหนึ่งอยางใดแกสาธารณชน จึงนํามาตั้งช่ือถนนที่อยูใกลบริเวณสภากาชาดไทย

๓. ที่มาและความหมายจากความเชื่อและคานิยมเร่ืองความเปนสิริมงคล การตั้งช่ือถนนดวยคําท่ีใหความหมายเกี่ยวกับความเปนสิริมงคล หรือสิ่งท่ีดีงามสอดคลองกับงานวิจัยการตั้งช่ือทองท่ีของไทย ซึ่งสรุปไดวาคนไทยใหความสําคัญกับ “ความเปนสิริมงคล” มากขึ้น จึงตั้งช่ือทองท่ีท่ีตั้งข้ึนใหม หรือเปลี่ยนชื่อทองท่ีท่ีมีอยูเดิมดวยคําอันเปนมงคลนาม เชน คําท่ีมีความหมายแสดงความเจริญรุงเรือง ความสมบูรณพูนสุข (มณีปน พรหมสุทธิรักษ ๒๕๓๙-๒๕๔๐ : ๑๒๐) นอกจากนี้ช่ือถนนยังสะทอนความเชื่อและคานิยมท่ีคนในสังคมมีรวมกันอีกดวย เชน คานิยมในเรื่องความร่ํารวย ความสุขสําราญใจ หรือคานิยมในการประพฤติปฏิบัติท่ีคนในสังคมกําหนดรวมกันโดยใหคุณคาวาเปนสิ่งท่ีดีงาม กอใหเกิดความเปนสิริมงคลแกตนเองและสังคม เชน ความสามัคคี การพัฒนาใหเกิดความเจริญ เปนตน และยังมีช่ือถนนที่แสดงถึงความเชื่อบางอยางซึ่งนิยมในสมัยนั้น เชน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวนิยมพระราชทานชื่อถนนจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่ีคนในสังคมนับถืออยางเทวดา สัตวมงคลตางๆ ดังนี้ ความเจริญรุงเรืองมั่นคงของบานเมือง เชน ถนนจรัสเวียง ถนนจรูญเวียง ถนนจารุเมือง และ ถนนจรัสเมือง ถนนจารุเมือง ถนนเจริญเมือง ถนนกลุมแรกเปนถนนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวพระราชทานชื่อถนนในพ.ศ.๒๔๖๗ และถนนกลุมหลังเปนถนนที่พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวพระราชทานชื่อถนนในพ.ศ.๒๔๗๐ ช่ือถนนทั้งสองกลุมนี้แสดงใหเห็นถึงพระราชประสงคของทั้ งสองพระองค เพื่อให เกิดความเจริญรุ ง เรืองแกบานเมือง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานใหความหมายของคําวา “จรัส” หมายถึง แจมแจง รุงเรือง สวาง คําวา “จรูญ” หมายถึง รุงเรือง งาม คําวา “จารุ” หมายถึง งดงาม และคําวา “เจริญ” หมายถึง เติบโต งอกงาม ซึ่งท้ัง ๔ คํานี้มีความหมายเกี่ยวกับความเปนสิริมงคล การรวมมือรวมใจ ความสามัคคีของประชาชน เชน ถนนสามัคคี สรางเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๒ โดยหลวงจํานงคนรารักษ ไดชักชวนราษฎรใหซอมแซมถนนที่แตเดิมเปนถนนเล็กๆ ใหกวางขึ้น จึงเปนที่มาของชื่อถนน ถนนราษฎรรัฐพัฒนา กรุงเทพมหานครอนุมัติใหตั้งช่ือถนนตามที่เขตมีนบุรีเสนอเมื่อ พ.ศ.

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1054

Page 10: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

๒๕๔๕ เพราะเปนความรวมมือระหวางราษฎรกับราชการ ความสุข เชน ถนนประชาชื่น ถนนเพลินจิต พระเจาบรมวงศเธอ กรมพระนราธิปประพันธพงศ โปรดประทานชื่อเนื่องจากเปนถนนที่ใกลกับวัง

ท่ีประทับ เพื่อใหเปนนามที่ไพเราะและเปนมงคล สัตวมงคล เชน ถนนนาคราช ถนนภุชงค และถนนอนันตนาค พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว พระราชทานชื่อถนนในคราวเดียวกัน มีความหมายเดียวกันคือนาค เปนสัตวท่ีมีอิทธิฤทธิ์ และมีบทบาทในศาสนา เชน ศาสนาพราหมณ ศาสนาพุทธ ถนนมังกร ผูวิจัยสันนิษฐานวาเนื่องจากเปนถนนที่ตัดผานชุมชนชาวจีน และบริเวณนั้นมีศาสนสถานที่สําคัญของชาวจีนคือวัดมังกรกมลาวาสหรือวัดเลงเนยยี่ จึงนําช่ือสัตวมงคลในความเชื่อของชาวจีนมาตั้งช่ือถนน เทวดา เชน ถนนมเหสักข ถนนแมนไท เปนถนนที่สรางขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ

พระปกเกลาเจาอยูหัว ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ความเปนสิริมงคล เชน ถนนทรงสวัสดิ์ เปนตอนหนึ่งของถนนทรงวาด พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวจึงพระราชทานชื่อใหใกลเคียงกันเพื่อจะไดจํางาย และยังแสดงความหมายที่เปนสิริมงคลดวย ความร่ํารวย เชน ถนนมหาเศรษฐ เขตบางรักไดเสนอชื่อตอกรุงเทพมหานคร มีความหมายวา ถนนของผูมีทรัพย

๔. ที่มาและความหมายจากเหตุการณสําคัญ จากการศึกษาสามารถแบงเปนประเภทไดดังนี้ อนุสรณสงครามในอดีต ท้ังจากการเขารวมในสงครามโลกครั้งท่ี๑ และชัยชนะในสงคราม

ระหวางไทยกับพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจาตากสินมหาราชและรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช ท.กลวยไม ณ อยุธยา (๒๕๔๕ : ๔๘) กลาวถึงท่ีมาของชื่อถนนจากชัยชนะในสงครามนี้วา

“เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวมีพระราชดําริท่ีจะสรางสะพานพระพุทธยอดฟาขามแมน้ําเจาพระยา เชื่อมการคมนาคมติดตอกันระหวางฝงพระนครกับฝงธนบุรีท่ีปลายถนนตรีเพชร อําเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาโปรดกระหมอมใหจัดวางผังเมืองฝงธนบุรีสอดรับกับสะพานใหมนี้ โดยกําหนดแนวเวนคืนที่ดินเพื่อจัดสรางถนนขึ้นหลายสาย ในการนี้สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพไดกราบบังคมทูลพระกรุณาวาถนนที่สรางขึ้นใหมสมควรนําช่ือสถานที่อันเปนสมรภูมิท่ีไทยไดมหาชัยชนะแกอริราชศัตรูในรัชสมัยสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราชมาเปนชื่อถนน เพื่อเปนอนุสรณถึงมหาชัยชนะในครั้งนั้นๆ ดังเชน ถนนเชียงใหม ถนนลาดหญา ถนนทาดินแดง และถนนพรานนก” ตัวอยางเชน ถนนทาดินแดง เพื่อเปนอนุสรณสงครามครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬา

โลกมหาราช เมื่อยังเปนสมเด็จเจาพระยามหากษัตริยศึก กับสมเด็จพระบวรราชเจามหาสุรสิงหนาท ตีกองทัพพมาแตกไปจากทาดินแดง แขวงเมืองไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อพ.ศ. ๒๓๒๙ ถนนไมตรีจิตต หมายถึงไมตรีจิตท่ีไทยไดเขารวมรบกับพันธมิตร เปนถนนที่สรางพรอมกับถนนมิตรพันธุและถนนสันติภาพ ช่ือถนนทั้ง ๓ สาย ตั้งโดยใชเกณฑจากชัยชนะในสงครามโลกครั้งท่ี ๑

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1055

Page 11: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

ชื่อถนนที่มาจากพระราชดําริในการสรางถนน หมายถึงถนนที่สรางขึ้นจากพระราชดําริของพระมหากษัตริย เมื่อสรางถนนเสร็จจึงพระราชทานชื่อถนนใหเกี่ยวของกับท่ีมาหรือเหตุผลในการสรางจากพระราชดําริ เชน ถนนราชดําเนิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวพระราชทานชื่อถนนนี้ทํานองเดียวกับ Queen’s walk ท่ีกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ เนื่องจากพระองคทรงประทับพระราชหฤทัยในความสงางามของถนนสายเอกในมหานครตางๆ ท่ีเสด็จผาน จึงโปรดเกลาโปรดกระหมอมใหสรางขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๔๒ เพื่อเปนท่ีเสด็จพระราชดําเนินระหวางพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังดุสิต เพื่อความสงางามของบานเมือง และใหประชาชนไดเดินเที่ยวพักผอน จึงมีพระราชประสงคใหสรางถนนใหกวางที่สุด และให ๒ ฟากถนนเปนที่ตั้งวังและสถานที่ราชการ มิใหสรางตึกแถวหรือรานเล็กๆ ซึ่งจะทําใหกลายเปนยานการคา จึงเปนถนนที่สวยงามตั้งแตแรกสรางมาถึงปจจุบัน และยังใชในพระราชพิธีสําคัญและตอนรับพระราชอาคันตุกะ

เหตุการณสําคัญในบานเมือง เมื่อเกิดเหตุการณสําคัญเกี่ยวกับสถาบันการปกครอง ชาติ พระมหากษัตริย ยอมตองมีการสรางอนุสรณไวเปนที่ระลึกสืบไป ไมวาจะเปนดานนามธรรม เชน การกําหนดเปนวันสําคัญ หรือดานรูปธรรม เชน สิ่งกอสรางตางๆ การสรางถนนเนื่องในเหตุการณสําคัญจึงถือไดวาเปนอนุสาวรียอยางหนึ่ง และใชวิธีการตั้งช่ือถนนเพื่อเปนการบันทึกวาระสําคัญแหงเหตุการณนั้น เชน ถนนกาญจนาภิเษก เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ป ในพ.ศ.๒๕๓๙ ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตใหเชิญชื่อพระราชพิธีกาญจนาภิเษกมาเปนชื่อถนนสายนี้ ถนนเสรีไทย เพื่อสดุดีเกียรติคุณของขบวนการเสรีไทยในวาระครบรอบ ๕๖ ป กอตั้งข้ึนในระหวางสงครามโลกครั้งท่ี ๒ โดยมีหลวงประดิษฐมนูธรรม หรือศาสตราจารยดร.ปรีดี พนมยงค เปนหัวหนา นับวาเปนขบวนการที่มีบทบาทสําคัญในการรักษาเอกราชของชาติ

๕. ที่มาและความหมายจากอาชีพของคนในชุมชนที่ถนนตัดผาน กรุงเทพมหานครเปนเมืองหลวงของประเทศที่เปนศูนยกลางดานเศรษฐกิจการคามาแตอดีต ใน

ชุมชนตางๆ ผูคนมักจะประกอบอาชีพท่ีคลายคลึงกัน เมื่อตัดถนนผานยานการคาเหลานั้นจึงนําช่ืออาชีพท่ีมีมาแตดั้งเดิมหรือช่ือสินคามาตั้งช่ือถนน เชน ถนนขาวสาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวพระราชทานชื่อถนนสายนี้ เดิมเปนตรอกที่ขายขาวสารและเปนแหลงคาขายขาวสารท่ีใหญท่ีสุดของเขตพระนคร ถนนตีทอง สรางในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ถนนสายนี้ตัดผานชุมชนท่ีมีอาชีพทําทองคําเปลว และฟากตะวันตกของถนนมีซอยซึ่งยังเหลือช่ือวาเปนแหลงทําทองคือซอยเฟองทองดวย

๖. ที่มาและความหมายจากสิ่งของเครื่องใช สิ่งของเครื่องใชเหลานี้บางชนิดนับวามีความสําคัญในยุคสมัยหนึ่ง เชน ช่ือถนนที่มีท่ีมาและ

ความหมายเกี่ยวกับเครื่องถวยชามสังคโลก หรือช่ือมาจากลายและสีเครื่องกระเบื้องของเครื่องถวยกังไสหรือเครื่องกิมตึ๋งจากประเทศจีน หนึ่งในพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว เชน ถนนเขียวไขกา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวพระราชทานชื่อถนน ซึ่งมาจากชื่อเครื่องถวย

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1056

Page 12: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

จีนเคลือบสีเขียวหมนเหมือนหยก พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานใหความหมายของคําวา “เขียวไขกา” ไววา หมายถึง ช่ือชามสมัยกอน สีเขียวปนครามออนๆ รูปกนสอบ ปากผาย ถนนบรรทัดทอง เปนชื่อถนนท่ีเรียกเพี้ยนมาจากชื่อเครื่องลายครามภาพตนประทัดทอง นอกจากนี้ช่ือถนนยังมาจากชื่อสิ่งของในทองถิ่นและสิ่งของเครื่องใชในอดีต การนําช่ือสิ่งของมาตั้งช่ือถนนจึงสะทอนใหเห็นความสําคัญของสิ่งของเหลานี้ ท่ีมีตอผูคนในบางทองท่ีในยุคสมัยหนึ่งได เชน ถนนกะออม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวทรงพระราชทานชื่อถนน คําวา “กะออม” พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานใหความหมายไววา หมายถึง ภาชนะสานดวยไมไผ ยาชัน รูปคลายกระบุง ไมมีคอ ใชใสน้ํา เปนที่นาสังเกตวาถนนที่อยูในละแวกนางเลิ้งมีช่ือถนนที่แปลวาภาชนะใสน้ํา ๒ แหง คือถนนกะออม และถนนพะเนียง

๗. ที่มาและความหมายจากชาติพันธุของคนในชุมชนที่อยูในบริเวณใกลเคียงถนน สังคมไทยเปนสังคมที่มีผูคนหลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งมีสาเหตุจากการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ในดานการเมืองการปกครองมาแตโบราณเมื่อประเทศชนะสงครามก็ยอมกวาดตอนผูคนจากดินแดนที่แพสงครามมาเปนเชลยศึก เพื่อเปนแรงงานมาพัฒนาประเทศและยังเปนการแสดงถึงความมั่นคงของประเทศ นอกจากนี้จากปจจัยทางเศรษฐกิจและการที่สังคมไทยเปนสังคมที่เปดรับความแตกตาง ก็มีสวนใหกรุงเทพมหานครเกิดชุมชนจากคนเชื้อชาติตางๆ ฉะนั้นเมื่อตัดถนนผานจึงไดตั้งช่ือถนนที่มีท่ีมาและความหมายจากกลุมชาติพันธุท่ีตั้งถิ่นฐานอยูบริเวณนั้น เชน ถนนตานี บริเวณนี้เปนที่อยูของผูท่ีอพยพมาจากปตตานีและชวา ซึ่งเปนเชลยศึกที่ไดกวาดตอนมาอยูในกรุงเทพมหานครหลายครั้ง ถนนนิคมมักกะสัน คําวา "มักกะสัน" มีตนเคามาจากชาวมุสลิมท่ีอพยพเขามาตั้งแตสมัยอยุธยาและสืบตอมาในสมัยรัตนโกสินทร คนไทยเรียกชาวมุสลิมกลุมนี้วา “แขกมักกะสัน” เปนกลุมชนจากเมืองมากัสซาร เกาะซีลีเบส ประเทศอินโดนีเซีย

อภิปรายผล จากการที่ผูวิจัยจัดประเภทชื่อถนนในกรุงเทพมหานครเปน ๗ กลุมตามที่มาและความหมายของช่ือถนน ทําใหพบวาช่ือถนนในแตละกลุมสามารถสะทอนลักษณะสังคมวัฒนธรรมไทยบางประการทั้งในอดีตและปจจุบัน กลาวคือ ช่ือถนนในบางกลุมเห็นไดชัดวานิยมตั้งข้ึนจากปจจัยทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง หรือคานิยมในสมัยนั้น เชน พระราชนิยมหรือความนิยมของผูนําบานเมือง หรือคานิยมและการดําเนินวิถีชีวิตของผูคนในสังคม เปนตน แตช่ือถนนบางกลุมก็ตั้งข้ึนโดยไมมีบริบททางเวลาหรือยุคสมัยมาเปนตัวกําหนด เชน การเชิดชูบุคคลสําคัญซึ่งมีมาทุกยุคสมัย โดยผูวิจัยจะอภิปรายผลไปตามที่มาและความหมายของชื่อถนนแตละประเภท ดังนี้

๑. ที่มาและความหมายจากสถานที่หรือสภาพแวดลอม เปนปจจัยสําคัญในการนํามาตั้งช่ือถนน เพราะปรากฏวานํามาตั้งช่ือถนนในกรุงเทพมหานครมาก

ท่ีสุด ช่ือถนนในประเภทนี้สะทอนใหเห็นพัฒนาการทางกายภาพของบานเมือง และยังมีประโยชนใหคน

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1057

Page 13: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

ในทองถิ่นเกิดความสนใจและเห็นคุณคาของถิ่นฐานที่อยู ขนบธรรมเนียม วิถีชีวิต สภาพแวดลอมของทองถิ่นของตน (สุจริตลักษณ ดีผดุง,๒๕๔๓ : ๕๑)

อยางไรก็ตามผูวิจัยมีขอสังเกตวาช่ือถนนของกรุงเทพมหานครในประเด็นนี้มีความแตกตางกันโดยแปรไปตามพื้นที่ตั้งของสถานที่หรือสภาพแวดลอมตางๆ กลาวคือในเขตชั้นในของกรุงเทพมหานครซึ่งเปนศูนยกลางการปกครองและศิลปวัฒนธรรมมาแตอดีต จะตั้งช่ือถนนจากชื่อสถานที่ราชการ ศาสนสถานสําคัญ ปอมปราการ วัง เปนจํานวนมาก เชน ถนนหนาหับเผย ถนนหลักเมือง ถนนหนาพระธาตุ ถนนจักรเพชร ถนนพระสุเมรุ ถนนทายวัง ถนนบูรพา เปนตน สวนถนนในพื้นที่รอบนอกออกไปมักจะตั้งช่ือถนนจากปจจัยท่ีหลากหลายกวา เชน ช่ือสถานที่ดั้งเดิมท่ีปจจุบันกลายเปนช่ือของเขตการปกครองในปจจุบัน ลักษณะภูมิประเทศ พืชพรรณ สัตว ท่ีสาธารณสมบัติ โรงเรียน ศาสนสถาน และสถานประกอบการธุรกิจ เชน ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ถนนทวีวัฒนา ถนนคลองลําเจียก ถนนคลองหนองใหญ ถนนราชพฤกษ ถนนบางกระดี่ ถนนลําปลาทิว ถนนทางเขาสวนหลวงร.๙ ถนนเขาโรงเรียนคลองบานไทร ถนนเขาวัดกําแพง ถนนสวนสยาม ถนนแฮปปแลนด เปนตน

จากตัวอยางแสดงใหเห็นวากรุงเทพมหานครมีลักษณะทางกายภาพที่หลากหลาย ซึ่งเปนผลมาจากการพัฒนาบานเมืองและวิถีชีวิตของผูคน จากในอดีตท่ีความเจริญจะกระจุกตัวอยูในบริเวณกรุงเทพมหานครชั้นในซึ่งประกอบไปดวยสถานที่สําคัญตางๆ สวนบริเวณกรุงเทพมหานครรอบนอกยังคงสภาพแวดลอมท่ีเปนธรรมชาติมากกวา จึงปรากฏชื่อถนนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศ พืชพรรณธรรมชาติทองถิ่นจํานวนหนึ่ง อยางไรก็ตามกรุงเทพมหานครในปจจุบันไดพัฒนาความเจริญออกไปจากศูนยกลางในอดีตจนครอบคลุมไปทั่วเขตการปกครองและปริมณฑล จึงไมเกิดความแตกตางทางกายภาพและสภาพแวดลอมเทาใดนัก

๒. ที่มาและความหมายจากชื่อ นามสกุล หรือราชทินนาม จากขอมูลพบวาช่ือถนนสวนใหญมาจากชื่อของชนชั้นสูงซึ่งเปนผูปกครองบานเมือง เชน ในรัช

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวนิยมพระราชทานชื่อถนนมาจากบรรดาศักดิ์หรือราชทินนามของขุนนางระดับสูง ซึ่งเปนผูมีบทบาทในการสรางถนนอันถือวาเปนความนิยมในการพัฒนาการคมนาคมทางบกในสมัยนั้น เชน ถนนเดโช ถนนสุรศักดิ์ ถนนรองเมือง ถนนสี่พระยา ถนนประมวญ สวนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวนิยมพระราชทานชื่อถนนจากพระนามพระบรมวงศานุวงศ โดยทรงมีพระราชดําริ เปลี่ยนช่ือถนนบางสายในพระนคร ซึ่ง เดิมเปนช่ือถนนที่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวพระราชทานจากชื่อเครื่องลายครามจีน∗ มาเปนพระนามของ

∗ มาจากชื่อลายกระเบื้องของเหลาเคร่ืองถวยกังไสจากประเทศจีน หนึ่งในพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระ

จุลจอมเกลาเจาอยูหัว ที่ทรงสนพระทัยและศึกษาอยางลึกซึ้งจนกลายเปนผูเชี่ยวชาญและมีพระราชนิพนธ วาดวยลายจีนซึ่งเขียนเตร่ืองถวยกระเบื้องกังไส พระราชทานแดพระบรมวงศานุวงศและบรรดาขาราชบริพาร (ปริญญา ตรีนอยใส และรัชดา โชติพานิช ๒๕๕๒ : ๔๓) ดังนั้นเมื่อทรงสรางพระราชวังดุสิตขึ้นเปนที่ประทับดานเหนือของพระนคร มกีารตัดถนนขึ้นใหมหลายสายหอม

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1058

Page 14: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

เจานายทรงกรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศท่ีทรงประกอบพระกรณียกิจแกบานเมือง เชน ถนนพิษณุโลก ถนนเพชรบุรี ถนนสุโขทัย ถนนนครสวรรค ถนนสุพรรณ ถนนสวรรคโลก สะทอนใหเห็นวาพระราชนิยมท่ีแตกตางกันเปนปจจัยสําคัญตอการเปลี่ยนแปลงของชื่อถนน และที่เห็นไดชัดเจนคือในสมัยจอมพลป. พิบูลสงครามเปนนายกรัฐมนตรี มีนโยบายใหตั้งช่ือถนนตามชื่อนามสกุลของขาราชการผูสรางถนนหรือมีหนาท่ีบังคับบัญชาในการสรางถนน เชน ถนนแจงวัฒนะ ถนนเพชรเกษม ถนนสุขุมวิท ถนนจรัญสนิทวงศ ถนนสุวินทวงศ ถนนติวานนท ถนนสุขสวัสดิ์ แตอยางไรก็ตามธรรมเนียมการขนานนามชื่อถนนและสะพานขนาดใหญโดยใชช่ือหรือนามสกุลของผูท่ีมีสวนเกี่ยวของกับการกอสรางนี้ไดยกเลิกไปในพ.ศ.๒๕๐๐ โดยใชระบบหมายเลขทางหลวงแทน (กนกวลี ชูชัยยะ ๒๕๔๘ : ๒๔๗) ตัวอยางเหลานี้ เปนกลุมช่ือถนนที่สะทอนใหเห็นอยางชัดเจนวาความแตกตางทางสังคมวัฒนธรรมและความนิยมของผูนําบานเมืองในแตละสมัย เปนปจจัยสําคัญที่สงผลในการตั้งช่ือถนน จนกลายเปนเอกลักษณเฉพาะสมัยท่ีนาสนใจ

อยางไรก็ตามผูวิจัยพบวาช่ือถนนที่มาจากบุคคลมีในทุกสมัยตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน ไมวาจะเปนการเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย พระบรมวงศานุวงศ ขุนนางขาราชการ เชน ถนนพระรามที่ ๔ ถนนจักรพงษ ถนนเฉลิมพระเกียรติร.๙ ถนนศรีนครินทร ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนพิบูลสงคราม ถนนยมราชสุขุม รวมท้ังการตั้งช่ือถนนโดยใหความสําคัญแกบุคคลสามัญชนที่มีช่ือเสียงระดับโลก เชน ถนนอังรีดูนังต ถนนศรีบูรพา ซึ่งการนําช่ือบุคคลมาตั้งช่ือถนนนี้ผูวิจัยพบวามีความเปนสากล ดังตัวอยางงานวิจัยช่ือถนนในกรุงฮานอย เมืองหลวงของประเทศเวียดนาม พบวาช่ือถนนมาจากชื่อบุคคลมากที่สุด คือมีท้ังช่ือวีรบุรุษ ช่ือกษัตริย ช่ือพระบรมวงศานุวงศ ช่ือนักเขียน ช่ือนักปราชญ ช่ือกวี ช่ือวีรสตรี ช่ือแพทยแผนโบราณ ช่ือเลขาธิการพรรค ช่ือนักประวัติศาสตร แสดงใหเห็นวาเวียดนามใหความสําคัญกับบุคคลที่ทําประโยชนใหกับประเทศไมวาในดานใดหรือเพศใด โดยนําช่ือของทานเหลานั้นมาเปนชื่อถนน (โสภนา ศรีจําปา ๒๕๔๐: ๙๗-๑๐๘) ซึ่งเปนแนวคิดท่ีสอดคลองกับช่ือถนนในกรุงเทพมหานครเชนกัน

นอกจากนี้การสรางถนนยังสะทอนถึงความเชื่อและการปฏิบัติทางศาสนาของคนในสังคมไทย เพราะถนนเปนสาธารณประโยชนอันเปนชองทางหนึ่งในการสรางบุญกุศลท้ังผูท่ียังมีชีวิตอยูและอุทิศแกผูท่ีลวงลับไปแลว ดังปรากฏชื่อถนนที่มาจากพระนามของพระบรมวงศานุวงศท่ีสิ้นพระชนม เชน ถนนวิสุทธิกษัตริย ถนนตรีเพชร ถนนอุณากรรณ ถนนพาหุรัด ถนนอุรุพงษ ช่ือขุนนางขาราชการและสามัญชนที่บริจาคที่ดินหรือทุนทรัพยในการสรางถนน เชน ถนนสุทธิสารวินิจฉัย ถนนเตชะวณิช ถนนสาธุประดิษฐ เปนตน เพื่อเปนอนุสรณและเชิดชูความดีแกผูท่ีสรางสาธารณสมบัติใหบานเมือง

๓. ที่มาและความหมายจากความเชื่อและคานิยมเร่ืองความเปนสิริมงคล

ลอมพระราชวังนั้น จึงพระราชทานชื่อถนน ชื่อคลอง ตลอดจนชื่อสวนตางๆ ในพระราชวัง เปนชื่อเคร่ืองลายครามจีน (ท.กลวยไม ณ อยุธยา ๒๕๔๖: ๖๕)

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1059

Page 15: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

ช่ือถนนในกรุงเทพมหานครสะทอนความเชื่อและคานิยมท่ีคนในสังคมมีรวมกันในทุกยุคทุกสมัย เพียงแตอาจมีความโดดเดนแตกตางกันไป เชน ช่ือถนนในอดีตตั้งแตรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวจะตั้งช่ือโดยมุงหวังใหเกิดความเปนสิริมงคลแกบานเมือง เชน ถนนเจริญกรุง ถนนบํารุงเมือง ถนนเฟองนคร ถนนเจริญนคร ถนนวิวัฒเวียง ถนนผดุงดาว หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวนิยมนําสิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่ีคนไทยนับถือมาตั้งช่ือถนน เชน ถนนกรุงแมน ถนนแมนไท ถนนมเหสักข ถนนนาคราช ถนนอนันตนาค ถนนภุชงค และชื่อถนนบางสายก็แสดงคานิยมบางประการของคนในสังคมที่ใหคุณคาวาเปนสิ่งท่ีดีสมควรนํามาตั้งเปนช่ือถนน แมจะมีอายุสมัยของถนนที่ตางกันนับรอยปแตช่ือถนนก็ยังคงแสดงความหมายที่เปนไปในทางเดียวกันคือความรวมมือรวมใจกัน เชน ถนนสามัคคี สรางพ.ศ. ๒๔๓๒ ถนนราษฎรรัฐพัฒนา สรางพ.ศ.๒๕๔๕ สวนชื่อถนนกลุมหนึ่งผูวิจัยสังเกตวามักจะตั้งช่ือโดยใหความสําคัญหรือเนนบทบาทและคานิยมของประชาชนในดานตางๆ เชน ถนนประชาชื่น ถนนประชาสําราญ ถนนประชาสุข ถนนประชาราษฎร ถนนมหาเศรษฐ เปนตน ซึ่งสอดคลองกับลักษณะของสังคมไทยในปจจุบันที่เนนบทบาทของประชาชนตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย

๔. ที่มาและความหมายจากเหตุการณสําคัญ เหตุการณสําคัญคืออนุสรณสงครามในอดีต พระราชดําริในการสรางถนน และเหตุการณสําคัญ

ตางๆ ในบานเมือง ช่ือถนนที่มาจากอนุสรณสงครามในอดีตในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัวตั้งข้ึนเพื่อเปนอนุสรณจากสงครามโลกครั้งท่ี ๑ เชน ถนนมิตรพันธุ ถนนไมตรีจิตต ถนนสันติภาพ และชื่อถนนอีกกลุมหนึ่งตั้งข้ึนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว มาจากชื่อสถานที่อันเปนสมรภูมิ ท่ีไทยได ชัยชนะแก ศัตรูในรัชสมัยสมเด็จพระเจาตากสินมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช โดยเปนถนนฝงธนบุรี เชน ถนนเชียงใหม ถนนพรานนก ถนนทาดินแดง ถนนลาดหญา ถนนอิสรภาพ สังเกตไดวาช่ือถนนจากอนุสรณสงครามในกลุมแรกแสดงความหมายทางนามธรรมเพื่อสื่อถึงมิตรภาพ ความสงบสุข ตางจากชื่อถนนในกลุมหลังท่ีสื่อถึงชัยชนะจากสงครามในอดีต

ผูวิจัยวิเคราะหวาการตั้งช่ือถนนจากเหตุการณสําคัญคืออนุสรณสงครามในอดีต สอดคลองกับสังคมไทยในยุคนั้นที่อยูในชวงของสงครามโลกครั้งท่ี ๑ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว ซึ่งประเทศไทยไดเขารวมในสงครามครั้งนี้และอยูในสถานะประเทศผูชนะสงคราม ดังนั้นช่ือถนนที่ตั้งมาจากอนุสรณสงครามนี้ยอมสะทอนถึงความยินดีและความภาคภูมิใจในเอกราชของชาติ ซึ่งคงจะสงผลตอเนื่องมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวเชนกัน เมื่อมีการสรางถนนหลายสายในฝงธนบุรีจึงมีความเหมาะสมที่จะตั้งช่ือถนนเปนชื่อสมรภูมิท่ีไทยไดชัยชนะจนสามารถกอบกูเอกราชและสถาปนากรุงธนบุรี ซึ่งจะมีความสําคัญตอการเกิดข้ึนของกรุงเทพมหานครในกาลตอมาดวย

สวนชื่อถนนที่มาจากพระราชดําริมักจะเปนถนนสายสําคัญจากพระราชดําริของพระมหากษัตริยเพื่อแกปญหาการคมนาคมหรือเพื่อใหเปนถนนที่มีขนาดใหญและสวยงาม เชน ถนนราชดําเนิน ถนน

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1060

Page 16: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

ราชดําริ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ถนนจตุรทิศ ถนนรัชดาภิเษก ในรัชกาลปจจุบัน ถนนเหลานี้จึงมีความสําคัญเพราะถือวาสรางขึ้นมาจากพระราชดําริ และเปนพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย และยังสะทอนใหเห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองคท่ีมีตอบานเมืองตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน

นอกจากนี้ก็มี ช่ือถนนจากเหตุการณสําคัญในบานเมืองซึ่ง เกี่ยวเนื่องกับสถาบันชาติ พระมหากษัตริย เชน ถนนประชาธิปไตย ถนนเสรีไทย เพื่อเปนอนุสรณท่ีระลึกและบันทึกวาระสําคัญที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองครั้งสําคัญ รวมทั้งการที่ประเทศไทยไดเขารวมสงครามโลกอีกครั้งหนึ่งในสงครามครั้งท่ี ๒ และยังสามารถรักษาเอกราชของชาติไวได และเมื่อถึงวโรกาสสําคัญคือพระราชพิธีกาญจนาภิเษก การอัญเชิญชื่อพระราชพิธีมาเปนช่ือถนนคือ ถนนกาญจนาภิเษก จึงเปนการแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทยที่มีตอพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว

๕. ที่มาและความหมายจากอาชีพของคนในชุมชนที่ถนนตัดผาน ในประเด็นนี้ช่ือถนนสะทอนใหเห็นวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยสมัยหนึ่ง เพราะอาชีพเกิดจาก

กิจกรรมของผูคนในสังคม ซึ่งในปจจุบันชุมชนเหลานี้ท่ีถนนตัดผานอาจจะไมไดประกอบอาชีพตามชื่อถนนแลว เชน ถนนขาวสาร ถนนดินสอ ถนนตีทอง ถนนบานหมอ แตช่ือถนนที่ปรากฏอยูยังคงมีบทบาทสําคัญ เพราะแสดงใหเห็นความสําคัญของเครื่องอุปโภคบริโภคบางอยางในสมัยหนึ่งจนเกิดเปนอาชีพของคนในชุมชน

นอกจากนี้ช่ือถนนบางสายยังแสดงใหเห็นความสัมพันธระหวางอาชีพและชาติพันธุของผูคนในพื้นที่ท่ีถนนตัดผานดวย เชนคนไทยเชื้อสายจีนมักจะรวมกันเปนชุมชนประกอบอาชีพคาขาย ดังนั้นถนนบางสายที่ตัดผานบริเวณชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานคร เชน ยานสําเพ็ง เยาวราช จึงตั้งช่ือถนนเพื่อแสดงความหมายเกี่ยวกับอาชีพคาขาย เชน ถนนจึงเจริญพาณิชย ถนนเพาะพาณิชย ถนนวานิช ๑ ถนนเสริมสินคา เปนตน โดยเฉพาะถนนเพาะพาณิชยและถนนเสริมสินคานั้นเปนชื่อท่ีพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวจากเกณฑการเปนทําเลคาขาย จึงแสดงใหเห็นวาอาชีพคาขายมีความสําคัญตอชุมชนนั้นๆ ในกรุงเทพมหานครมาอยางยาวนานจนถึงปจจุบันนี้

๖. ที่มาและความหมายจากสิ่งของเครื่องใช ในประเด็นนี้จะเห็นไดวาแมแตสิ่งของเครื่องใชบางอยางในอดีตก็มีความสําคัญจนนํามาตั้งเปน

ช่ือถนน สะทอนใหเห็นบทบาทของสิ่งของที่มีอิทธิพลตอวิถีชีวิตของผูคนกลุมหนึ่งในยุคสมัยหนึ่ง เชนภาชนะใสน้ําจนเปนที่มาของถนนกะออม ถนนพะเนียง ซึ่งตางก็เปนถนนที่ตัดผานบริเวณยานนางเลิ้ง จึงคงเปนสิ่งของเครื่องใชท่ีเคยมีความสําคัญตอผูคนในยานนี้ นอกจากนี้ยังมีถนนรางน้ํา ซึ่งเรียกชื่อตามรางระบายน้ําบริเวณทุงยานพญาไท นอกจากสิ่งของเครื่องใชธรรมดาแลว ช่ือถนนกลุมหนึ่งยังมีท่ีมาและความหมายจากสิ่งของมีคาของชนชั้นสูงในสังคม คือ เครื่องถวยกังไสหรือเครื่องกิมตึ๋งจากประเทศจีน หนึ่งในพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ดังนั้นเมื่อเปนสิ่งของที่มีความเกี่ยวของกับสถาบันพระมหากษัตริยและชนชั้นสูงจึงยอมมีการใหความสําคัญ เชนการนําช่ือมาตั้งเปนชื่อ

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1061

Page 17: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

ถนน เพื่อใหสอดคลองกับพระราชนิยมและความนิยมในสมัยนั้น เชน ถนนขาว ถนนเขียวไขกา ถนนสังคโลก ถนนบรรทัดทอง ช่ือสิ่งของเครื่องใชเหลานี้แตเดิมยอมเปนที่รูจักกันดีจนนํามาตั้งเปนชื่อถนน แตเมื่อหมดความจําเปนดานประโยชนใชสอยหรือหมดความนิยมจึงไมมีการนําสิ่งของเครื่องใชในประเภทนี้มาตั้งเปนชื่อถนนอีกตอไป

๗. ที่มาและความหมายจากชาติพันธุของคนในชุมชนที่อยูในบริเวณใกลเคียงถนน ในประเด็นนี้สะทอนใหเห็นวากรุงเทพมหานครเปนสังคมที่มีผูคนหลากหลายเชื้อชาติวัฒนธรรม

อาศัยอยู เพราะปรากฏชื่อถนนที่มีความหมายถึงกลุมชาติพันธุตางๆ เชน ถนนตะนาว ถนนตานี ถนนไทรามัญ ถนนนิคมมักกะสัน อันนาจะเปนผลสืบเนื่องมาจากการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมในอดีตตั้งแตสมัยกรุงศรีอยุธยาจนมาถึงตนกรุงรัตนโกสินทรท่ีมีผูคนจากที่ตางๆ เขามาตั้งถิ่นฐานและรวมกลุมกันจนเกิดเปนยานชุมชนของแตละชาติพันธุ และปรากฏเปนช่ือถนนในปจจุบันนี้

ขอเสนอแนะ

ในการศึกษาที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสัมพันธทางสังคมวัฒนธรรมไทยอาจวิเคราะหเพิ่มเติมไดจากปจจัยตางๆ ท่ีไดกลาวถึงไปแลวใหละเอียดยิ่งข้ึน เชน จากยุคสมัยท่ีสรางถนน หรือจากปจจัยดานพื้นที่ โดยแบงกรุงเทพมหานครออกเปนเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอกตามขอมูลของทางราชการ แลวจึงพิจารณาวาพื้นที่ตางๆ ในกรุงเทพมหานครมีความสอดคลองกับท่ีมาและความหมายของชื่อถนนอยางไรบางและมีความสัมพันธกันทางสังคมวัฒนธรรมไทยอยางไร บรรณานุกรม กนกวลี ชูชัยยะ. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ปอม. พิมพครั้งท่ี ๒.

กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘. กนกวลี ชูชัยยะ. จดหมายขาวราชบัณฑิตยสถาน. ปท่ี ๕ ฉบับที่ ๔๙ (มิ.ย. ๒๕๓๘) กฤษณา สินไชย. ถนนนารูในกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: สถาพรบุคส, ๒๕๕๓. กัณฐิกา ศรีอุดม. “ “พร” ของพระนครในสมัยรัชกาลที่ ๕”. วารสารเมืองโบราณ ปท่ี ๓๒ ฉบับที่ ๑

(ม.ค.-มี.ค. ๒๕๔๙) : ๓๖-๔๙. เกื้อกูล ยืนยงอนันต. “การพัฒนาคมนาคมทางบกในกรุงเทพฯ สมัยพระพุทธเจาหลวง”. ศิลปวัฒนธรรม.

ปท่ี ๓ ฉบับที่ ๘ (มิ.ย. ๒๕๒๕): ๖๘-๘๑. ท.กลวยไม ณ อยุธยา.วารสารไทย. ปท่ี ๒๔ ฉบับที่ ๘๔ (ต.ค.-ธ.ค.๒๕๔๕) : ๔๕-๕๒. ___________.วารสารไทย. ปท่ี ๒๔ ฉบับที่ ๘๕ (ม.ค.-มี.ค. ๒๕๔๖) : ๖๕-๖๘. __________.วารสารไทย. ปท่ี ๒๔ ฉบับที่ ๘๖ (เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๔๖) : ๗๔-๗๕.

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1062

Page 18: ที่มาและความหมายของชื่อถนนในกรุงเทพมหานครกับความสััมพ นธ ... · Only380

ท.กลวยไม ณ อยุธยา.วารสารไทย. ปท่ี ๒๔ ฉบับที่ ๘๗ (ก.ค..-ก.ย. ๒๕๔๖) : ๔๑. ทวี วัดงาม. ถนนเกาในเมืองกรุง. กรุงเทพฯ: บริษัท ตนออ แกรมมี่, ๒๕๔๐. ทัศนา ทัศนมิตร. นานาสาระเสด็จพอร.๕. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพแสงดาว, ๒๕๕๑. “บางเชือกหนัง-บางระมาด ชุมชนเกาแกท่ีสุดของกรุงเทพฯ มีอายุมากกวา 500 ปอยูในคลองบางกอกนอย-

บางกอกใหญ”. ศิลปวัฒนธรรม. ปท่ี ๒๕ ฉบับท่ี ๒ (ธ.ค. ๒๕๔๖) : ๑๐๑-๑๑๓. ปราณี กุลละวณิชย. ช่ือหมูบานในมณฑลกวางสีและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย .

กรุงเทพฯ : โรงพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๓๕. ปริญญา ตรีนอยใส และรัชดา โชติพานิช. “ถนนนี้อยูหนใด”. ศิลปวัฒนธรรม. ปท่ี ๓๐ ฉบับที่ ๕ (มี.ค.

๒๕๕๒) : ๔๒-๔๕. ปาริชาติ ทองมี. “กรุงรัตนโกสินทร : ชีวิตและชุมชนจากน้ําสูบก”. วารสารเมืองโบราณ ปท่ี ๓๓ ฉบับที่

๔ (ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๐): ๑๕๗-๑๖๑. มณีปน พรหมสุทธิรักษ. “การตั้งช่ือทองท่ีของไทย”. วารสารอักษรศาสตรมหาวิทยาลัยศิลปากร ปท่ี ๑๙

ฉบับที่ ๑-๒ (๒๕๓๙-๒๕๔๐) : ๑๒๐. วิมล กิจวานิชขจร. “ปายนั้นสําคัญไฉน..! สิ่งละอันพันละนอยจากถนนเมือง”. มติชน (๒๙ มิถุนายน

๒๕๔๙) : ๑๒. ศันสนีย วีระศิลปชัย. ช่ือบานนามเมืองในกรุงเทพฯ. พิมพครั้ง ๗. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมติชน, ๒๕๕๑. ส. พลายนอย. รอยแปด [ท่ี] กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: สารคดี, ๒๕๔๖. สมุดภาพแหงกรุงเทพมหานคร ๒๒๒ ป. กรุงเทพฯ: สํานักผังเมือง กรุงเทพมหานคร, ๒๕๔๗. สุจริตลักษณ ดีผดุง. “ช่ือหมูบานในจังหวัดนครปฐม”. วารสารภาษาและวัฒนธรรม ปท่ี ๑๙ (ม.ค.-มิ.ย.

๒๕๔๓) : ๕๑-๗๕. สุจิตต วงษเทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน. กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕๔๘. อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ. อรรถศาสตรชาติพันธุ : วิธีการศึกษาภาษาเพื่อเขาถึงระบบปริชานของมนุษย ใน

กวาจะเปนนักภาษาศาสตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๙. อรณี แนนหนา. นามนี้มีท่ีมา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพประพันธสาสน, ๒๕๔๕.

การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

1063