ความภาคภูมิใจในการดำเนิน...

10
ความภาคภูมิใจในการดำเนินโครงการคือชุมชนสามารถนำวิถีเศรษฐกิจ พอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ จนเกิดเป็นที่มาของคำว่า หมู่บ้านปลอดหนีนับเป็นการเริ่มต้นที่ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังเกิดบุคคลแห่งการ เรียนรู้ในชุมชน อาทิ นายถาวร สรรสมบัติ ผู้ใหญ่บ้านคำปลาหลาย หมู่ที่ 9 ตำบล บ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น มีการปรับใช้เศรษฐกิจพอเพียง เปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่ยึดความต้องการในปัจจุบัน คิดสั้นๆ มาเป็นคิด ไกลๆ ตอบคำถามให้ชัดเจนว่าจะอยู่อย่างคนสิ้นหวัง คนบ้านแตก หรือจะอยูอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นชุมชนที่มีความสุขสำหรับลูกหลาน เหนื่อยเพิ่มขึ้นแต่ผลที่ได้ รับกินยาวถึงอนาคต......ยิ่งกว่าคุ้ม.....เพราะมีแก่นสาร จนเป็นบุคคลต้นแบบของ ประชาชนในชุมชน เป็นผู้นำที่ประชาชนในชุมชนศรัทธา นายมาร์ติน วีลเลอร์ เป็นชาวอังกฤษ เมือง Blackpool ปริญญาตรี สาขาภาษาละติน (เกียรตินิยม) จาก London University เกิดในครอบครัว ฐานะดีพอสมควร แต่ไม่สนใจเรื่องเงิน ไม่อยากมีรถยนต์ ไม่อยากมีบ้านใหญ่ อยากมีบ้านเล็กๆ ที่มีความสุข ไม่สนใจวัตถุ อยากมีชีวิตแบบง่ายๆ เมื่อก่อนไม่รูว่าเขาเรียกอะไร แต่ตอนนี้เขาเรียกว่า มักน้อย สันโดษ แต่ก่อนเคยอยู่ในสังคม ที่มีเงิน เขาจะพูดถึงแต่เรื่องเงิน มีรถยี่ห้ออะไร มีกี่คัน คุณมีบ้านใหญ่ขนาดไหน ลูกของคุณเรียนที่ไหน แต่กลับคิดว่า ชีวิตน่าจะมีอะไร หลังจากนั้นได้เข้ามาอยูที่เมืองไทย ได้ภรรยาที่เมืองไทย ชื่อ นางรจนา วีลเลอร์ หลังจากนั้นได้มาอยู่ทีบ้านคำปลาหลาย ตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น นายมาร์ติน รู้สึกศรัทธาเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้ใช้ชีวิตครอบครัวอย่างสมถะ พออยู่พอกิน ไม่เป็นหนี้ มีที่ดิน 6 ไร่ ในที่ดิน มีการปลูกต้นไม้ เช่น ไม้ประดูไม้สะเดา ไม้ยาง มีบ้านเป็นของตนเอง ปัจจุบันนายมาร์ตินใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข นายแสวง สิงห์น้อย เป็นคนชาวบ้านคำปลาหลาย มีวิถีชีวิตยึด ความพอเพียงในชีวิตประจำวัน โดยการปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานโดย ไม่ได้ซื้อ เลี้ยงสัตว์ต่างๆ เช่น เลี้ยงเป็ด ไก่ ปลา และกบ และมีการทำเกษตร ทฤษฎีผสมผสาน จนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข < < < “กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

Transcript of ความภาคภูมิใจในการดำเนิน...

Page 1: ความภาคภูมิใจในการดำเนิน ...ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_ebook/7/1_241_250.pdf, ประว ต ความเป นมาหม

ความภาคภูมิใจในการดำเนินโครงการคือชุมชนสามารถนำวิถีเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จนเกิดเป็นที่มาของคำว่าหมู่บ้านปลอดหนี้นับเป็นการเริ่มต้นที่ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังเกิดบุคคลแห่งการเรียนรู้ในชุมชนอาทิ

นายถาวร สรรสมบัติ ผู้ ใหญ่บ้านคำปลาหลาย หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านดงอำเภออุบลรัตน์จังหวัดขอนแก่นมีการปรับใช้เศรษฐกิจพอเพียง เปลี่ยนวิธีปฏิบัติที่ยึดความต้องการในปัจจุบัน คิดสั้นๆ มาเป็นคิดไกลๆ ตอบคำถามให้ชัดเจนว่าจะอยู่อย่างคนสิ้นหวัง คนบ้านแตก หรือจะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เป็นชุมชนที่มีความสุขสำหรับลูกหลานเหนื่อยเพิ่มขึ้นแต่ผลที่ ได้รับกินยาวถึงอนาคต......ยิ่งกว่าคุ้ม.....เพราะมีแก่นสาร จนเป็นบุคคลต้นแบบของประชาชนในชุมชนเป็นผู้นำที่ประชาชนในชุมชนศรัทธา

นายมาร์ติน วีลเลอร์ เป็นชาวอังกฤษเมืองBlackpoolปริญญาตรีสาขาภาษาละติน (เกียรตินิยม) จาก London University เกิดในครอบครัวฐานะดีพอสมควร แต่ไม่สนใจเรื่องเงิน ไม่อยากมีรถยนต์ ไม่อยากมีบ้านใหญ่อยากมีบ้านเล็กๆที่มีความสุขไม่สนใจวัตถุอยากมีชีวิตแบบง่ายๆเมื่อก่อนไม่รู้ว่าเขาเรียกอะไรแต่ตอนนี้เขาเรียกว่ามักน้อยสันโดษแต่ก่อนเคยอยู่ในสังคมที่มีเงินเขาจะพูดถึงแต่เรื่องเงินมีรถยี่ห้ออะไรมีกี่คันคุณมีบ้านใหญ่ขนาดไหนลูกของคุณเรียนที่ ไหนแต่กลับคิดว่า ชีวิตน่าจะมีอะไรหลังจากนั้นได้เข้ามาอยู่ที่เมืองไทยได้ภรรยาที่เมืองไทยชื่อนางรจนาวีลเลอร์หลังจากนั้นได้มาอยู่ที่บ้านคำปลาหลายตำบลบ้านดงอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่นนายมาร์ตินรู้สึกศรัทธาเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้ใช้ชีวิตครอบครัวอย่างสมถะพออยู่พอกิน ไม่เป็นหนี้ มีที่ดิน 6 ไร่ ในที่ดิน มีการปลูกต้นไม้ เช่น ไม้ประดู่ไม้สะเดาไม้ยางมีบ้านเป็นของตนเองปัจจุบันนายมาร์ตินใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

นายแสวง สิงห์น้อย เป็นคนชาวบ้านคำปลาหลาย มีวิถีชีวิตยึดความพอเพียงในชีวิตประจำวัน โดยการปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทานโดยไม่ได้ซื้อ เลี้ยงสัตว์ต่างๆ เช่น เลี้ยงเป็ด ไก่ปลาและกบและมีการทำเกษตรทฤษฎีผสมผสานจนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

<

<

<

���“กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

Page 2: ความภาคภูมิใจในการดำเนิน ...ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_ebook/7/1_241_250.pdf, ประว ต ความเป นมาหม

, ข้อคิดที่เป็นบทเรียนที่มีคุณค่าสำหรับการส่งเสริม การเรียนรู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง มีข้อคิดดังต่อไปนี้

เกิดการรวมกลุ่มอาชีพ และการพัฒนาการเรียนรู้ของชาวบ้านเกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชน เพื่อพัฒนาอาชีพ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มร้านค้าชุมชนกลุ่มฉางข้าว กลุ่มอนุรักษ์โค-กระบือ กลุ่มเกษตรผสมผสาน กลุ่มออมทรัพย์กลุ่มอสม.กลุ่มกองทุนหมู่บ้านกลุ่มเยาวชนและกลุ่มปลูกเห็ด ชาวบ้านคำปลาหลาย มีการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยการใช้สิ่งที่มีอยู่ในชุมชนใช้อย่างธรรมชาติ เช่น โครงการบ้านหวางสนับสนุนโดยการศึกษานอกโรงเรียนอุบลรัตน์ สามารถนำมาปรุงอาหารได้อย่างสะดวกสบายผลจากการรวมกลุ่มทำกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้กลุ่มได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น ทำให้เกิดระบบช่วยเหลือกัน ร่วมกันแก้ปัญหา ในการพัฒนาอาชีพของตนเอง เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลในการทำกิจกรรมร่วมกัน ก่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็งและเป็นชุมชนที่นาอยู่มีการใช้ชีวิตแบบพอเพียง

บ้านคำปลาหลาย มีการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย แบบพออยู่พอกินประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน ทำไร่ มีการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ปลา โคเนื้อ และโคนมมีการใช้ชีวิตแบบพอเพียงพออยู่พอกินไม่เป็นหนี้ไม่ฟุ่มเฟือยไม่ฟุ้งเฟ้อชุมชนนี้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มต่างๆที่กล่าวมาแล้วเพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหาร่วมกันมีการเรียนรู้ร่วมกันบนพื้นฐานวัฒนธรรมพอเพียง

เกิดการเรียนรู้ใหม่ของชุมชนชาวบ้านคำปลาหลายเกิดกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากการเรียนรู้นั้น เกิดจากความต้องการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านเอง เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ ไม่ต้องมีห้องเรียนห้องเรียนคือชุมชน คือการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นวิถีของชาวบ้านในหมู่บ้านมี การจัดแหล่งเรียนรู้ของชุมชนที่บ้านพ่อถาวร สรรสมบัติ ผู้ใหญ่บ้านมีคนมาดูงานเป็นจำนวนมากเดือนหนึ่งมีประมาณ15คณะเป็นที่รู้จักกันทั่วไป

การเผยแพร่การเรียนรู้สู่ชุมชนอื่นๆ เกิดกระบวนการสนใจอยากรู้อยากเห็น เรียนรู้จากชุมชนอื่นๆทำให้มีผู้มาศึกษาดูงานกันมากที่บ้านคำปลาหลายโดยมีพ่อถาวรสรรสมบัตินายมาร์ตินวีลเลอร์และนายแสวงสิงห์น้อยเป็น

วิทยากรในการให้ความรู้เกี่ยวกบัการใช้ชีวิตแบบพอเพียง

<

<

<

<

��� “กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

Page 3: ความภาคภูมิใจในการดำเนิน ...ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_ebook/7/1_241_250.pdf, ประว ต ความเป นมาหม

กลุ่มปราสาทหิน

ชุมชนบ้านอิ่มหนำ 14

���“กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

Page 4: ความภาคภูมิใจในการดำเนิน ...ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_ebook/7/1_241_250.pdf, ประว ต ความเป นมาหม

j j

, ประวัติความเป็นมาหมู่บ้านบุไทย หมู่บ้านบุไทยหมู่8ตำบลห้วยยางอำเภอบัวใหญ่จังหวัดนครราชสีมา

เดิมเมื่อประมาณ50ปีก่อน(พ.ศ.2500)พื้นที่บริเวณบ้านบุไทยเรียกว่า

บ้านบุลาวซึ่งคำว่าบุหมายถึงป่าดงดิบบ้านบุไทยเป็นหมู่บ้านที่ความเจริญเข้ามา

ไม่ถึง ถูกมองข้ามจากหน่วยงานที่เข้ามาส่งเสริมสนับสนุน ถนนทางเข้าหมู่บ้าน

เป็นไปด้วยความยากลำบาก ซึ่งตั้งอยู่ทิศเหนือของศาลากลางจังหวัด

นครราชสีมา ห่างจากตัวจังหวัดระยะทาง 115 กิโลเมตร และตั้งอยู่ทางทิศ

ตะวันตกของที่ว่าการอำเภอบัวใหญ่ มีจำนวนครัวเรือนอาศัย 85 ครัวเรือน

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา รองลงมาได้แก่ทอผ้า และปลูกผัก

ตามลำดับ

ชุมชนบ้านอิ่มหนำ

��� “กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

Page 5: ความภาคภูมิใจในการดำเนิน ...ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_ebook/7/1_241_250.pdf, ประว ต ความเป นมาหม

, ความเป็นมาของโครงการ ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคม มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านเศรษฐกิจ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจระบบ

ธุรกิจ และอุตสาหกรรม ผลผลิตหรือสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติกลับมีคุณค่าเป็น

อย่างยิ่ง ทำให้คนชนบทหรือประชาชนที่อยู่ห่างไกลความเจริญแสวงหาและ

พึ่งพากันของมนุษย์หรือทุนทางเศรษฐกิจ โดยการกู้หนี้ยืมสิน ทำให้ครอบครัว

ต้องแบกรับภาระหนี้สินอย่างสิ้นเชิงยังส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันในชุมชนมาก

ยิ่งขึ้นก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาอีกมากมาย

โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้ “สู่เส้นทางเศรษฐกิจพอเพียง”

โครงการบ้านอิ่มหนำเป็นโครงการนำเอาทุนทางสังคม ที่มีอยู่ในชุมชนหรือพื้นที่

ใกล้เคียงมาบูรณาการจัดการศึกษานอกโรงเรียนนำไปสู่การพึ่งพาตนเองตาม

แนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

ทุนทางสังคมเหล่านี้ ได้แก่วิถีชีวิตของชาวบ้าน เรียบง่ายอดทนขยันประหยัด

ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก วิถีชีวิต ของชุมชนดั้งเดิมมีความเอื้ออาทร ช่วย

เหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันรู้จักแบ่งปันโดยพึ่งพิงเอาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่

แล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ลดความเสี่ยงต่อการบริโภคพืชผักหรือสารเคมี

การบูรณาการการเรียนรู้ของการจัดการศึกษานอกโรงเรียน สนองตอบกับ

ความต้องการของชุมชน เพื่อความอิ่มหนำ (สำราญ)และกินอยู่อย่างพอเพียง

สามารถลดรายจ่ายและมีเงินเก็บออมอีกทั้งยังเป็นการเสริมทักษะในการดำเนิน

ชีวิตของประชาชนที่ดีต่อไป

ความหมายของโครงการบ้านอิ่มหนำ

“อิ่มหนำ”เป็นชื่อที่นายเกษมบาตรโพธิ์ผู้อำนวยการศูนย์บริการการ

ศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบัวใหญ่ เป็นผู้คิดขึ้น ได้รับแนวคิดจากการศึกษาดู

งานที่อำเภอบ้านหวาง จังหวัดอุดรธานี และได้นำรูปแบบและกระบวนการมา

ปรับคิดให้เกิดกิจกรรมในพื้นที่ ดำเนินงานที่รับผิดชอบ โดยเลือกบ้านบุไทย

ตำบลห้วยยางอำเภอบัวใหญ่จังหวัดนครราชสีมาเป็นหมู่บ้านนำร่องผู้รับผิดชอบ

���“กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

Page 6: ความภาคภูมิใจในการดำเนิน ...ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_ebook/7/1_241_250.pdf, ประว ต ความเป นมาหม

และปฏิบัติงานในพื้นที่ คือ นายประวัติ บุญคำมูล พนักงานราชการ ตำแหน่งครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน โดยให้ความหมายว่า หมู่บ้านอิ่มหนำ คือ การพออยู่พอกิน มีอยู่มีกินมั่งมีศรีสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีความสมัครสมานสามัคคีกันภายในชุมชนของตนเอง, วัตถุประสงค์การเรียนรู้

เพี่อน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติในชุมชน

เพื่อเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เหลือจึงขาย และปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง

เพื่อสร้างความสามัคคี ช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ร่วมกันสร้างวินัยให้เกิดขึ้นในชุมชน

เพื่อสร้างภูมิทัศน์ ความสะอาดและความสวยงามปรับเข้าหาสภาพแวดล้อมที่ดี, การดำเนินการ

จัดเวทีประชาคมแต่งตั้งคณะทำงานประสานงานระดับอำเภอแต่งตั้งคณะกรรมการชุมชนเสนอโครงการประสานภาคีเครือข่ายประสานจัดหาทุนระดมทุนจัดหาวัสดุระดมทุนจากประชาชนในหมู่บ้าน5,480บาทระดมทุนผลกำไรจากกลุ่มองค์กรต่างๆในหมู่บ้านกลุ่มเกษตรทำนา 10%กลุ่มธนาคารข้าว 10%

<

<

<

<

<

<

<

<

<

<

l

l

v

v

��� “กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

Page 7: ความภาคภูมิใจในการดำเนิน ...ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_ebook/7/1_241_250.pdf, ประว ต ความเป นมาหม

กลุ่มทอผ้าไหม 10%

กลุ่มออมทรัพย์ 10%

ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

หาวัตถุดิบ เช่น ยางรถยนต์ที่ใช้แล้ว พันธุ์ผักที่เหมาะสมกับ

สภาพของท้องถิ่นพันธุ์ปลาดุกพันธุ์จิ้งหรีดพันธุ์กบฯลฯ

จัดกิจกรรมจัดตั้งกลุ่มต่างๆให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

เมื่อมีคณะศึกษาดูงานมาเยี่ยมชมหมู่บ้าน

มีการประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุ/แผ่นพับใบปลิว/และการได้มา

ศึกษาดูงานและบอกเล่าต่อๆกันไป

โดยมีกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของโครงการบ้านอิ่มหนำดังนี้

กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของบ้านอิ่มหนำ

ให้ชุมชนเป็นฐานคำตอบอยู่ที่ชุมชน

บูรณาการกับชีวิตจริงพัฒนาวิถีชีวิตเดิมเสริมนวัตกรรมใหม่

อิงเทคโนโลยี

ทำงานแบบมีโครงการ

ประสานเครือข่าย

ใช้ระบบเจ้าภาพ

ผู้นำมีความเข้มแข็ง และมีจิตใจที่จะพัฒนาตนเองและหมู่บ้าน

ให้เจริญก้าวหน้าตลอดเวลา

v

v

l

l

<

<

<

<

<

<

<

<

<

<

���“กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

Page 8: ความภาคภูมิใจในการดำเนิน ...ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_ebook/7/1_241_250.pdf, ประว ต ความเป นมาหม

, ผลที่เกิดขึ้นในชุมชน ผลจากการดำเนินโครงการปรากฏว่าชุมชนมีหลักสูตรอาชีพระยะสั้นอย่างหลากหลายได้แก่

หลักสูตรการทำปุ๋ยชีวภาพ ประโยชน์ที่ ได้จากการทำปุ๋ยชีวภาพ

ลดต้นทุนในการผลิตสำหรับอาชีพเกษตรกรรมช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติดินและน้ำลดการใช้สารเคมีซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตชุมชนมีพืชผักที่ปลอดสารพิษบริโภคในครัวเรือนเป็นอาชีพเสริมลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้

หลักสูตรการเลี้ยงกบ

การบริโภคอาหารประเภทโปรตีน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนทุกเพศ

ทุกวัย การเลี้ยงกบเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับคนในชุมชน

บ้านบุไทย ตำบลห้วยยาง อำเภอบัวใหญ่ ซึ่งส่งผลให้เกิดผลดี ให้คนในชุมชน

ได้บริโภคอาหารประเภทโปรตีน และได้เรียนรู้และเข้าใจวงจรชีวิตของกบ เกิด

กระบวนการเรียนรู้เหมาะสำหรับเป็นอาชีพเสริม

<

l

l

l

l

l

<

��� “กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

Page 9: ความภาคภูมิใจในการดำเนิน ...ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_ebook/7/1_241_250.pdf, ประว ต ความเป นมาหม

หลักสูตรการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์

เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่คนในชุมชนให้ความสนใจ เนื่องจากใช้พื้นที่น้อย

ได้ปริมาณปลามาก ปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุด ผู้เรียนได้เรียนรู้วงจรชีวิต

ของปลาดุก รู้จักจัดการความรู้ มีกระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นมากมาย หลักสูตร

ระยะสั้น100ชั่วโมง

หลักสูตรการทำกระถางจากยางรถยนต์

การทำกระถางจากยางรถยนต์ ของชาวบ้านบุไทย มีความสำคัญ

กับชุมชนมาก เนื่องจากเป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์

และนำเอกเทคโนโลยีชาวบ้านมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน

อย่างแท้จริงวัตถุประสงค์ในการทำกระถางคือใช้สำหรับปลูกผักสวนครัวเพื่อ

เป็นการสนองตอบนโยบายโครงการบ้านอิ่มหนำที่ให้คำมั่นว่า “จะปลูกทุกอย่าง

ที่กินกินทุกอย่างที่ปลูก”

<

<

���“กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”

Page 10: ความภาคภูมิใจในการดำเนิน ...ebook.nfe.go.th/nfe_ebook/data_ebook/7/1_241_250.pdf, ประว ต ความเป นมาหม

หลักสูตรการเลี้ยงปลาดุกในกระชัง

การเลี้ยงปลาในกระชังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการทำการประมง

ชาวบ้านบุไทย ตำบลห้วยยาง อำเภอบัวใหญ่ ภายใต้โครงการบ้านอิ่มหนำ

ได้ทำการเลี้ยงปลาในกระชังเพื่อเป็นอาชีพเสริม ซึ่งสามารถลดรายจ่ายและ

เพิ่มรายได้ เมื่อเหลือจึงขาย ปลาดุกเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ผู้มีอาชีพ

เลี้ยงปลากระชังให้เหตุผลในการเลือก

วิธีเลี้ยงคือ มีความประหยัดในเรื่อง

การลงทุนเนื่องจาก วัสดุอุปกรณ์มี

เพียง สแลมป์ และไม้ ไผ่ ซึ่งสามารถ

สร้างได้เอง ไม่ต้องถ่ายน้ำ เนื่องจาก

เป็นบ่อธรรมชาติ เลี้ยงได้ปริมาณมาก

ปลาโตเร็ว เมื่อถึงเวลาจับขายก็เห็น

ผลกำไรเต็มเม็ดเต็มหน่วย

หลักสูตรการเลี้ยงโคนม

การเลี้ยงโคเป็นอีกอาชีพ

หนึ่งที่ชาวบ้านให้ความสนใจ เพราะ

การเลี้ยงดู และการให้อาหารไม่ยุ่งยาก

ผลกำไรค่อนข้างสูง สร้างรายได้ ให้

ชาวบ้านสามารถพึ่งพาตนเองได้เป็น

อย่างดี พันธุ์โคที่ชาวบ้านบุไทย เลี้ยง

ภายในชุมชน คือ พันธุ์ ไทยกลาง อาหารที่ใช้เลี้ยง ใช้หญ้าสดหรือ ฟางข้าว

(ฟางอัดก้อน 1 ก้อน สามารถเป็นอาหารวัว 1 ตัว : 2 วัน) ซึ่งถือว่าเป็นการ

ประหยัดและใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นได้อย่างคุ้มค่า และโดยส่วนมากแล้วโรคที่

เกิดกับวัว คือโรคปากเท้าเปื่อย ชาวบ้านใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำการ

รักษาคือนำผลมะเกลือมาตำเอาน้ำทาบริเวณที่เกิดโรค ก็สามารถทำให้หายแต่

ถ้าไม่หายจริงๆ หรือเป็นโรคมากเกินกว่าสมุนไพรจะรักษาได้ก็ส่งปศุสัตว์ หรือ

<

<

��0 “กศน. เพื่อนเรียนรู้ สู่ชุมชนพอเพียง”