นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based...

110
3 นโยบายข้อทีนำร่องเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 โรงเรียน 1 ตำบล โดยคัดเลือกโรงเรียนในกำกับของชุมชนและ มีปัจจัยนำเข้าที่พร้อมเพื่อร่วมกันจัดการศึกษา ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ในการปรับปรุงคุณภาพ การศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กและยุทธศาสตร์ ในการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง จัดตั้ง“โรงเรียนดีประจำตำบล”

Transcript of นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based...

Page 1: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

3 นโยบายข้อที่

นำร่องเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 โรงเรียน 1 ตำบลโดยคัดเลือกโรงเรียนในกำกับของชุมชน และ มีปัจจัยนำเข้าที่พร้อมเพื่อร่วมกันจัดการศึกษา ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กและยุทธศาสตร์ ในการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง

จัดตั้ง “โรงเรียนดีประจำตำบล”

Page 2: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

โรงเรียนเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา

คุณภาพนักเรียน แนวคิดในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนจึงเป็นความสำคัญ

สูงสุดในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่น

ชนบท ซึ่งนักเรียนส่วนมากมักด้อยโอกาสในการเข้าเรียนในโรงเรียนที่มี

คุณภาพ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดนโยบายการพัฒนาโรงเรียน

คุณภาพในท้องถิ่นชนบท เพื่อให้มีความเพียบพร้อมที่จะเป็นต้นแบบหรือ

ศูนย์สาธิตการให้บริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ตลอดจนเป็นแหล่ง

การเรียนรู้ของชุมชน ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ

เชื่อมั่นและศรัทธาในการปฏิบัติงานของโรงเรียนและไม่จำเป็นต้องส่ง

บุตรหลานไปเรียนในเมือง โดยโรงเรียนและชุมชนสามารถจัดกิจกรรมอันเป็น

ประโยชน ์ ให้บริการและเชื่อมความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและ

มีประสิทธิภาพ

โรงเรียนดีประจำตำบล

“...สพฐ.ต้องร่วมมือกับ อปท. ซึ่งความจริงมีการกระจายอำนาจ

มาตั้งนานแล้ว แต่เป็นการกระจายในระดับบน ยังไม่ถึงท้องถิ่น ทำให้

ไม่สามารถพัฒนาคุณภาพได้อย่างแท้จริง ดังนั้น โครงการโรงเรียนดี

ประจำตำบล จึงเป็นเรื่องท้าทายที่จะทำให้ตอบโจทย์ดังกล่าวได้...”

Page 3: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

เป้าหมาย สำหรับการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ซึ่งเป็นปีแรก

ได้กำหนดโรงเรียนเป้าหมายจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาละ 1 โรงเรียน

(1 ตำบล 1 โรงเรียน) รวม 182 โรงเรียน (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร)

เพื่อเป็นโรงเรียนดีต้นแบบระดับตำบล

รูปแบบการพัฒนา 1. เป็นโรงเรียนที่มีมาตรฐานคุณภาพระดับสูง มีความเข้มแข็ง

ทั้งทางด้านวิชาการ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดนตรี กีฬา และศิลปะ

2. โรงเรียนมีความพร้อมด้านกายภาพ ทุกโรงเรียนได้รับการ

สนับสนุนที่ เหมือนกัน คือ การปรับปรุงภูมิทัศน์ต่าง ๆ ขั้นมาตรฐาน

มีความสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย มีการสนับสนุนการก่อสร้างอาคารเรียน

ตามจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น

3. เป็นโรงเรียน “ทำมาหากิน” ที่ เน้นการพัฒนาพื้นฐาน

ด้านอาชีพและการมีรายได้ระหว่างเรียน

4. เป็น “โรงเรียนชุมชน” ที่มีความร่วมมือกับท้องถิ่นและบริการ

ชุมชนอย่างเข้มแข็ง

Page 4: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

สภาพความสำเร็จ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับสูง ไม่ต่ำกว่า

ค่าเฉลี่ยของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 5 กลุ่มสาระหลัก ได้แก่

วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาและภาษาอังกฤษ

2. โรงเรียนสร้างวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตประชาธิปไตยอย่างเข้มแข็ง

และไม่มีปัญหายาเสพติด

3. โรงเรียนมีความร่วมมือกับชุมชน มีการประสานงานกับ

ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนที่อยู่ใกล้เคียง

และมีการประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง

4. นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีสำนึกความเป็นไทย

มีความรู้และทักษะพื้นฐานด้านอาชีพ มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์

ระดับสูง และมีสุขภาพพลานามัยดี

5. นักเรียนมีความรู้และทักษะอย่างดีด้านภาษาอังกฤษ หรือภาษา

ที่สองอื่น ๆ ตามความสนใจหรือความถนัด

Page 5: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

กิจกรรมดำเนินการสำคัญ 1. จัดกิจกรรมพัฒนาผู้ เรียนอย่างเข้มข้น โดยจัดกิจกรรม

การเรียนการสอนที่ เน้นผู้ เรียนเป็นสำคัญเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เน้นการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น เป็นทักษะพื้นฐานของนักเรียนทุกคน

การเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงและเน้นการคิดวิเคราะห์ด้วยการเรียน

แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

(Problem-Based Learning)

2. พัฒนาปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ การพัฒนา จัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์

และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย เพื่อ

การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ จึงจัดหาคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง

ต่อนักเรียน 10 คน มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จัดห้องสมุด 3 ดี

มีสระว่ายน้ำหรือศูนย์กีฬา (Sport complex) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ดนตรี

กีฬา และศิลปะ

3. บริหารจัดการบุคลากรครู และผู้บริหารโรงเรียนดีต้นแบบ

ระดับตำบลอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย

ภาพความสำเร็จที่กำหนดไว้

Page 6: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

4. จัดเครือข่ายกับโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อความร่วมมือ และช่วยเหลือกัน

ทางวิชาการ เพื่อทำให้เกิดระบบการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้ได้มากที่สุด

5. เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ ต้องทำบันทึก

ความเข้าใจ (MOU) กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีความมุ่งมั่น

ร่วมกัน เกิดความร่วมมือกันในระดับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือ

ดังกล่าวรวมถึงการแสวงหาความร่วมมือจากภาคเอกชนมาสนับสนุนเพื่อสร้าง

ความเชื่อมโยงไปสู่ความรักในท้องถิ่นต่อไป

การทำ MOU เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถช่วยรับส่งเด็กมาโรงเรียนได้

ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ถูกต้อง นอกจากนี้ เพื่อการสนับสนุนดูแลนักเรียนและ

การส่งเสริมความร่วมมือของเครือข่ายผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน องค์กรภาครัฐและเอกชน เช่น สถาบันส่งเสริมการสอน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานประกอบการ เป็นต้น

6. ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในอย่างเข้มแข็ง

เพื่อให้เห็นถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

เกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียน 1. เป็นโรงเรียนที่สอนระดับประถมศึกษาหรือโรงเรียนขยายโอกาส

ทางการศึกษา หรือโรงเรียนมัธยมศึกษาระดับตำบล

2. โรงเรียนมีบริเวณพื้นที่กว้างขวางเพียงพอต่อการจัดหรือพัฒนา

กิจกรรมต่าง ๆ ตามโครงการ

3. ผู้บริหารโรงเรียนมีความมุ่งมั่นและมีศักยภาพอย่างสูงในการ

บริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม

4. โรงเรียนตั้งอยู่ ในพื้นที่ที่มีการคมนาคมสะดวก และเป็น

ศูนย์กลางระหว่างโรงเรียนด้วยกันและระหว่างชุมชน

5. โรงเรียนมีพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน

Page 7: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

การดำเนินงาน 1. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ดำเนินโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2553

2. ได้คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 182 โรง

3. จัดกลุ่มโรงเรียนตามศักยภาพบริบทความพร้อมเพื่อพิจารณา

สนับสนุนงบประมาณ

4. จัดสรรงบประมาณพัฒนาโรงเรียนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

จำนวน 1,717.363 ล้านบาท

นอกจากนี้ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ศึกษาธิการได้กำหนดแนวปฏิบัติให้หน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ● ส่งเสริมให้มีการทำ MOU ให้เร็วที่สุดเพื่อให้ อบต.ช่วยรับ-ส่ง

นักเรียนระหว่างบ้านถึงโรงเรียน

● ทำ School Mapping ให้เห็นโครงสร้างประชากรในตำบลซึ่งจะ

เป็นจุดเริ่มต้นในการทำแผนบุคลากรได้

● เร่งรัดการจัดซื้อจัดจ้างให้รวดเร็ว

โรงเรียนและนายก อบต. ● ทำข้อตกลงความร่วมมืออย่างชัดเจน

● ทำความเข้าใจกับชุมชนให้เห็นความสำคัญ

● ร่วมมือด้านพัฒนาโรงเรียนโดยเฉพาะด้านกายภาพ

ทั้งนี้ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

จะผลักดันให้มีโรงเรียนดีประจำตำบลให้ครบทุกตำบล จำนวน 7,409 แห่ง

ภายในเดือนตุลาคม 2553

Page 8: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

�0 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

งบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ใช้งบประมาณ จำนวน 1,717.363 ล้านบาท

ซึ่งอยู่ระหว่างการทำรายละเอียดเพื่อจะจัดสรรงบประมาณให้แต่ละโรงเรียน

ตามโครงการต่อไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. งบดำเนินงาน เป็นค่าวัสดุการศึกษา จำนวน 55 ล้านบาท ได้แก่

สื่อหนังสือห้องสมุด วัสดุอาชีพ การสื่อสารนโยบาย การประชาสัมพันธ์

โครงการ

2. งบลงทุน จำนวน 1,662.363 ล้านบาท ประกอบด้วย

1) ค่าครุภัณฑ์ประจำห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ จำนวน

418.60 ล้านบาท

2) ค่าสิ่งก่อสร้าง จำนวน 1,243.763 ล้านบาท ได้แก่

การปรับปรุงซ่อมแซมหรือสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบ อาคารศูนย์กีฬา/

สระว่ายน้ำและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ

(หน่วย : ล้านบาท)

งบประมาณ 2553 (SP2) 2554 (งบปกติ) 2555 2556 2557

งบดำเนินการ 55.00 200.20 220.22 242.24 242.24

งบลงทุน 1,662.36 1,073.80 1,181.18 1,299.30 1,299.30

รวม 1,717.36 1,274.00 1,401.40 1,541.54 1,541.54

Page 9: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

4 นโยบายข้อที่

สนับสนุนการทำงานร่วมกับฝ่ายความมั่นคง พัฒนาสถานศึกษาปอเนาะและศูนย์การเรียนรู้ตาดีกา ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนศาสนาในโรงเรียน เพื่อใช้การศึกษาสร้างสันติสุข และความสมานฉันท์

พัฒนาการศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

Page 10: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ส่งผลกระทบทั้งทางด้าน

เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน รัฐบาลจึงได้มีนโยบายที่จะผลักดัน

ขับเคลื่อนให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมีอาชีพ มีการศึกษา มีคุณธรรมจริยธรรม

ตามหลักศาสนา เข้าใจกระบวนการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์

ทรงเป็นประมุข สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ดังนั้นการจัดการศึกษาให้กับประชาชน

เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยพัฒนาประชาชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ กระทรวง

ศึกษาธิการได้ดำเนินการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

ตามกรอบยุทธศาสตร์ 6 ยุทธศาสตร์ ของแผนพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ

จังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. 2552-2555) คือ (1) ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพ

การศึกษา (2) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมศาสนศึกษา (3) ยุทธศาสตร์เสริมสร้างโอกาส

การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต (4) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างอาชีพและ

การมีงานทำ (5) ยุทธศาสตร์พัฒนาการบริหารจัดการการศึกษา และ (6) ยุทธศาสตร์

จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ได้รับ

งบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 2,606.032 ล้านบาท มีผลการดำเนินงานดังนี้

พัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้

“...การจัดการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอีก

หนึ่งนโยบายที่มีความสำคัญยิ่ง รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ จำนวน 2,606.032 ล้านบาท

เพื่อผลักดันให้ประชาชนมีการศึกษาที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรมตามหลักศาสนา ทั้งนี้

ประชาชนทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขบนพื้นฐานของความแตกต่าง...”

Page 11: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

ยุทธศาสตร์ 1 พัฒนาคุณภาพการศึกษา 1. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในทุกระดับ

● พัฒนาครูสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนของรัฐ

และเอกชน จำนวน 4,000 คน ใน 49 โรง เพื่อเรียนรู้เทคนิคการสอน

โดยใช้หนังสือประกอบการสอนและร่วมกันจัดทำแผนการสอน โดยใช้

หนังสือประกอบที่สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้

● พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษา

จำนวน 1,369 คน ให้มีความรู้ ประสบการณ์และความชำนาญในวิชาชีพ

● สนับสนุนทุนการศึกษาให้อาจารย์มหาวิทยาลัยนราธิวาส

ราชนครินทร์ ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก จำนวน 6 ทุน

● จัดประชุมให้กับผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำนวน

200 คน เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการใช้หนังสือเป็นสื่อ จัดอบรม

ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 400 คน เพื่อเรียนรู้เทคนิค

การสอน จัดอบรมผู้บริหารโรงเรียนเอกชนหลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลง

จำนวน 370 คน อบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ระดับ A.T.C. จำนวน 3 รุ่น

ให้กับผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลาม จำนวน

56 คน พร้อมทั้งจัดตั้งกองลูกเสือในโรงเรียนเอกชน จัดให้ผู้บริหารโรงเรียน

เอกชน ร่วมกำหนดกรอบการพัฒนา 6 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านอาคาร

สถานที่ ด้านพัฒนาบุคลากร ด้านกิจการนักเรียน ด้านงานธุรการและ

งานการเงิน และด้านสัมพันธ์ชุมชน พร้อมกันนี้ได้จัดสรรงบประมาณให้

โรงเรียนคู่ขนานการพัฒนาคู่ละ 20,000 บาท

Page 12: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

2. พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอนและสื่ออุปกรณ์

การเรียนการสอน

● พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในพื้นฐานความหลากหลาย

ทางวัฒนธรรม โดยจัดให้โรงเรียนดีมีคุณภาพในระดับจังหวัดและอำเภอ

90 โรง โรงเรียนมีชื่อเสียง 11 โรง พัฒนาโรงเรียนคู่ขนานระหว่างโรงเรียน

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกับศูนย์การศึกษาประจำ

มัสยิด (ตาดีกา) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ศาสนาและศึกษาสายสามัญอย่าง

ผสมกลมกลืนในโรงเรียนของรัฐ 190 โรง และศูนย์การศึกษาประจำมัสยิด

จำนวน 460 แห่ง จัดการเรียนการสอนสองภาษา (ไทย-มาลายูถิ่น)

ในระดับก่อนประถมศึกษาโดยใช้ภาษามาลายูถิ่นเป็นสะพานเชื่อมโยงสู่

การเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 50 โรง จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร

อิสลามศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

ขั้นพื้นฐานและปรับปรุงหลักสูตรอิสลามศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการ

ของชุมชน จำนวน 350 โรง พร้อมทั้งได้เสริมสร้างความร่วมมือในการ

จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย

● จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยการจัดงานมหกรรมวิชาการ

งาน 51 ปีการพัฒนาการศึกษาและการสอนภาษาไทย การประชุม

ทางวิชาการ “Symposium” การชุมนุมลูกเสือ และการแข่งขันกีฬานักเรียน

ครู และบุคลากรทางการศึกษา

● จัดกิจกรรมค่ายสอนเสริมให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษา

ตอนปลายในวิชาเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ จำนวน 372 คน

● พัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบให้สอดคล้องกับท้องถิ่น

จำนวน 46 หลักสูตร

Page 13: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

● พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารภาษาที่ 2 เช่น ภาษาอังกฤษ

ภาษาบาฮาซา ภาษามาลายูถิ่น และภาษาอาหรับ ให้กับนักเรียน นักศึกษา

และประชาชนทั่วไป พร้อมกับพัฒนาครู อาจารย์ ผลิตสื่อ E-learning

ได้ด้วยตนเอง

● จัดกิจกรรมเข้าค่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษา

ดูงานสถานประกอบการให้นักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา จำนวน 1,362 คน

และจัดการเรียนการสอนในวิชาชีพให้นักเรียน นักศึกษาระดับ ปวช. 2 และ

ปวส. 1 มีความรู้ ความเข้าใจก่อนออกไปฝึกงานในสถานประกอบการ

จำนวน 5,120 คน

● สนับสนุนสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และ

ห้องสมุด ให้กับโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จำนวน 20 โรง พัฒนาห้องสมุด 3D หนังสือดี บรรยากาศดี และ

บรรณารักษ์ดี ห้องประชุม ห้องอินเทอร์เน็ตให้มีอุปกรณ์ครบถ้วน ทันสมัย

รวมทั้งพัฒนาและสร้างสื่อการสอนทางไกลในสถาบันอาชีวศึกษา 18 แห่ง

Page 14: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

3. สนับสนุนอาคารสถานที่

● ส่งเสริมการพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

ในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ

จำนวน 14 โรง ให้มีคุณภาพโดยการสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนา

โครงสร้างด้านกายภาพ พัฒนาครูผู้สอน สนับสนุนสื่อ อุปกรณ์การเรียน

การสอน

● พัฒนาโครงสร้างทางกายภาพของมหาวิทยาลัยนราธิวาส

ราชนครินทร์ โดยการก่อสร้างอาคารหอพักอาจารย์และเจ้าหน้าที่ อาคาร

หอพักนักศึกษา ก่อสร้างถนนคอนกรีตรอบมหาวิทยาลัย ออกแบบอาคาร

ระบบสาธารณูปโภคและขยายเขตประปา

4. สนับสนุนการศึกษาวิจัย

● ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนากลไกการบริหารจัดการ

การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งเสริม

ประสิทธิภาพการบริหารจัดการการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

และพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษานอกระบบและ

การศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเป็นข้อมูลการวางแผนการจัดการศึกษา

ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีประสิทธิภาพต่อไป

● ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย

จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดอบรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีทักษะการเขียน

ภาษามาลายูถิ่น อักษรไทย ระดมความคิดเห็นเพื่อวางแผนจัดทำแบบเรียน

อ่าน-เขียนภาษาไทยเบื้องต้น จัดทำพจนานุกรมนักเรียน 2 ภาษา และ

จัดทำแบบเรียนอ่าน-เขียนภาษาไทยเชื่อมโยงกับภาษามาลายูถิ่น พร้อม

ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษา

ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Page 15: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

ยุทธศาสตร์ 2 ส่งเสริมศาสนศึกษา 1. พัฒนาศักยภาพผู้บริหาร ครูสอนศาสนาในโรงเรียนเอกชน

สอนศาสนาอิสลาม สถาบันศึกษาปอเนาะ และศูนย์การเรียนรู้ศาสนา

อิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)

● อบรมผู้บริหารโรงเรียนเอกชน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตร

ระดับสูง ระดับกลาง และระดับต้น จำนวน 370 คน ณ มหาวิทยาลัย

ราชภัฎยะลา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาเขตปัตตานี

● จัดทุนการศึกษาให้ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนเอกชน

สอนศาสนาอิสลาม เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัย

อิสลามยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยนราธิวาส

ราชนครินทร์ ใน 2 หลักสูตร คือ ผู้บริหารเข้าศึกษาต่อระดับ ป.บัณฑิต

ด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 80 คน และครูผู้สอนเข้าศึกษาต่อระดับ

ป.บัณฑิตวิชาชีพครู จำนวน 235 คน

● พัฒนาครูสอนอิสลามศึกษาในสถาบันการศึกษาเอกชนสอน

ศาสนาอิสลาม จำนวน 285 คน ให้มีความรู้ในการสอนภาษาอาหรับ

จำนวน 155 คน และภาษามาลายูกลาง จำนวน 130 คน ซึ่งดำเนินการ

โดยวิทยาลัยชุมชนปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา

Page 16: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

2. ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา

● ส่งเสริมให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัด

ชายแดนภาคใต้ จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

และหลักสูตรอิสลามศึกษาแบบบูรณาการ

● สนับสนุนโรงเรียนของรัฐจัดการเรียนการสอนควบคู่กับ

ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) โดยโรงเรียนของรัฐ จำนวน

200 โรง จัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาร่วมกับศูนย์การศึกษาอิสลาม

ประจำมัสยิด (ตาดีกา) จำนวน 500 ศูนย์

● พัฒนาหลักสูตรศิลปะศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชากฎหมาย

อิสลาม (ซะรียะฮฺ) และสาขาวิชาภาษาอาหรับ รวมทั้งจัดทำหลักสูตร

นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายอิสลามและกฎหมายบ้านเมือง

โดยมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

● โครงการปเนาะดีต้นแบบระดับตำบล เป็นการพัฒนา

สถาบันศึกษาปอเนาะให้มีคุณภาพและสมบูรณ์พร้อมทั้งด้านกายภาพ

วิชาการ และวิชาชีพ โดยมีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารจัดการ

ที่ทันสมัย ทำการคัดเลือกมาอำเภอละ 1 ตำบล ตำบลละ 1 แห่ง รวม 48 แห่ง

จากทุกอำเภอในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ 4 อำเภอในจังหวัด

สงขลา ได้จัดสรรงบประมาณให้แห่งละประมาณ 5 ล้านบาท เป้าหมายใน

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ จังหวัดยะลา 3 แห่ง

จังหวัดปัตตานี 3 แห่ง และจังหวัดนราธิาส 3 แห่ง ส่วนปอเนาะดีต้นแบบ

อีก 39 แห่ง จะดำเนินการปี พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสที่มีพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา

นอกจากนี้ส่งเสริมให้ชาวมุสลิมได้รับโอกาสในการพัฒนาด้านการเรียนการสอน

3. อุดหนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชนในรูปแบบ

ต่าง ๆ ดังนี้

● การอุดหนุนศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา)

จำนวน 2,023 แห่ง เป็นเงิน 193,897,000 บาท จำแนกเป็นค่าตอบแทน

ครูผู้สอนศาสนา คนละ 2,000 บาท ค่าบริหารมัสยิด เดือนละ 1,000 บาท

และรวมทั้งค่านิเทศติดตามประเมินผลและค่าสัมมนาฝึกอบรม

Page 17: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

● การอุดหนุนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่

วิชาสามัญในระบบ จำนวน 152 แห่ง เป็นเงิน 14,208,000 บาท

โดยอุดหนุนเป็นค่าตอบแทนครูผู้สอนศาสนา เดือนละ 2,000 บาท

● การอุดหนุนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามนอกระบบ

ที่สอนศาสนาอย่างเดียว โดยใช้หลักการเดียวกับตาดีกา จำนวน 38 แห่ง

เป็นเงิน 3,700,000 บาท อุดหนุนสถาบันศึกษาปอเนาะ โดยใช้หลักการ

เดียวกับตาดีกา จำนวน 327 แห่ง เป็นเงิน 28,575,000 บาท

● การอุดหนุนสื่ อการ เรี ยนการสอนโรง เรี ยน เอกชน

สอนศาสนาอิสลามและสถาบันศึกษาปอเนาะ เป็นเงิน 3,000,000 บาท

พร้อมทั้งอุดหนุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างด้านกายภาพโรงเรียนเอกชนสอน

ศาสนาอิสลามและสถาบันศึกษาปอเนาะ เป็นเงิน 15,000,000 บาท

● การอุดหนุนเพื่อพัฒนาครูและการจัดการศึกษาโรงเรียน

เอกชนสอนศาสนาอิสลาม สถาบันศึกษาปอเนาะและศูนย์การศึกษาอิสลาม

ประจำมัสยิด (ตาดีกา) เป็นเงิน 16,000,000 บาท จำแนกเป็นการปรับ

พื้นฐานนักเรียนก่อนเข้าเรียนชั้น ม.1 เป็นค่าตอบแทนครูเพื่อจัดกิจกรรม

เสริมทักษะการใช้ภาษาไทยในเรื่องการฟัง พูด อ่าน เขียน สำหรับนักเรียน

ชั้น ป.6 ก่อนเข้าเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เป็นเงิน

12,000,000 บาท และได้จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอน

ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ชั้น ม.2 และ ม.5 เป็นเงิน

4,000,000 บาท

4. พัฒนาการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนของรัฐ

● จัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนทั้ง 11 เขตพื้นที่การศึกษา

ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พัฒนาหลักสูตรและ

จัดการเรียนรู้ทุกช่วงชั้น เพื่อให้กระบวนการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนา

เป็นส่วนสำคัญในการสรรค์สร้างความรู้ ความเข้าใจคุณธรรม – จริยธรรม

สู่การปฏิบัติเป็นวิถีชีวิต

Page 18: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

100 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

ยุทธศาสตร์ 3 เสริมสร้างโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ● จัดตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 5 แห่ง รองรับเด็กด้อยโอกาส

และเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ จัดสรรทุนการศึกษา

ให้กับนักเรียน “ภูมิทายาท” จำนวน 3,000 ทุน จัดโครงการครอบครัว

อุปถัมภ์โดยให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในพื้นที่ ได้มีโอกาสเข้าเรียน

ในโรงเรียนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป้าหมาย ปี 2553

มีผู้เข้าร่วม 300 คน

● จัดสรรทุนการศึกษาให้กับนักเรียนกลุ่มพิเศษได้เข้าศึกษา

ต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

ชั้นปีที่ 1 และ 2 จำนวนรวม 2,098 ทุน

● จัดสรรทุนให้เยาวชนที่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 6 หรือเทียบเท่าและยังไม่มีที่เรียน ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี

ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและนอกพื้นที่ จำนวน 955 คน

● จัดสรรทุนการศึกษาในสาขาวิชาที่ขาดแคลนให้กับนักศึกษา

ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

จำนวน 172 คน เพื่อให้มีความพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานและสามารถ

ประกอบอาชีพ สร้างรายได้แก่ครอบครัว

● พัฒนาคุณภาพโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาระดับ

อำเภอในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีผลสัมฤทธิ์

สูงและได้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

● พัฒนาความพร้อมและขยายสาขาการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา

ในมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โดยการก่อสร้างอาคารคณะศิลปะ

ศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และอาคาร

โรงพยาบาล พร้อมทั้งพัฒนาหลักสูตรเพื่อรองรับการจัดตั้งคณะใหม่ของ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์

Page 19: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

101180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

ยุทธศาสตร์ 4 ส่งเสริมการศึกษาเพื่อสร้างอาชีพและการมีงานทำ 1. พัฒนาทักษะอาชีพแก่นักเรียน นักศึกษา เพื่อเป็นการเสริมสร้าง

โอกาสการศึกษาด้านอาชีพ

● จัดการเรียนแบบคู่ขนานระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพและ

ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ให้กับนักเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา

อิสลาม จำนวน 3,276 คน และฝึกอบรมวิชาชีพเบื้องต้นในสถาบันศึกษา

ปอเนาะ จำนวน 20 แห่ง

● จัดอบรม สัมมนา เข้าค่ายนักเรียน นักศึกษา ระดับ

ประกาศนียบัตรวิชาชีพ และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่เข้าใหม่เพื่อ

เป็นการปรับพื้นฐานความรู้ด้านอาชีพ จำนวน 4,000 คน และฝึกอบรม/

สอน ทักษะวิชาชีพให้นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน

19,800 คน

● สถานศึกษาอาชีวศึกษา วิทยาลัยชุมชน และศูนย์ส่งเสริม

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในเขตพัฒนาพิเศษ

เฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกันจัดการเรียนการสอนและฝึกอบรม

อาชีพให้กับประชาชนและเยาวชนที่สนใจ จำนวน 395 คน

Page 20: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

10� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

2. พัฒนาทักษะอาชีพแก่ประชาชน เยาวชน และกลุ่มเป้าหมาย

พิเศษ

● อบรมแกนนำองค์กรสตรีไทยหัวใจแกร่ง จำนวน 8,753 คน

ในศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 326 ตำบล ให้มีความรู้ทักษะอาชีพ

ระยะสั้นและทักษะชีวิต และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับกลุ่มสตรีสายสัมพันธ์

เยาวชนในสถานพินิจ กลุ่มแม่บ้านผู้ได้รับผลกระทบ กลุ่มเยาวชนสันติสุข

และเยาวชนนอกระบบ จำนวน 1,149 คน

● ฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นเพื่อพัฒนาทักษะวิชาชีพแก่พระภิกษุ

สามเณร และผู้นำศาสนา จำนวน 774 รูป

● จั ดอบรมเพื่ อ เพิ่ มทักษะอาชีพ ให้กั บผู้ ที่ สน ใจจะไป

ทำงานต่างประเทศเพื่อให้ตรงตามมาตรฐานฝีมือและความต้องการของ

ตลาดแรงงาน จำนวน 210 คน และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 510 คน

● พัฒนาศักยภาพบุคลากรในพื้นที่ให้มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์

ฮาลาล โดยการอบรมการประยุกต์ใช้ระบบ HAL-Q ให้แก่พนักงานระดับ

ปฏิบัติการ จำนวน 500 คน ในโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 10 แห่ง

อบรมให้ความรู้แก่นักธุรกิจระดับ SMEs จำนวน 11 ราย และอบรม

ให้ความรู้ การสุขาภิบาลโรงงานและอนามัยสัตว์แก่บุคลากรในองค์กร

ด้านเชือดสัตว์ จำนวน 45 คน

Page 21: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

10�180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

ยุทธศาสตร์ 5 พัฒนาการบริหารจัดการการศึกษา ● พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาของจังหวัด

ชายแดนภาคใต้ โดยความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย จัดเก็บข้อมูล

และพัฒนาข้อมูลทางการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นปัจจุบัน เพื่อ

ประโยชน์ในการปฏิบัติงานและให้บริการแก่หน่วยงานอื่น ๆ

● อบรมผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการคัดเลือก

จากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

สำนักบริหารงานคณะกรรมการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม

อัธยาศัย วิทยาลัยชุมชน สถาบันอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัย และโรงเรียน

เอกชน จำนวน 30 คน ตามหลักสูตรผู้บริหารรุ่นใหม่ จำนวน 5 สัปดาห์

ตั้ งแต่ เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2553 ให้มีความรู้ เชิ งบริหาร

จัดการยุทธศาสตร์ สันติศึกษา การศึกษาพหุวัฒนธรรม และสถานการณ์

ทางการศึกษา

● จัดรายการ “เกาะติดรั้วการศึกษาชายแดนใต้” เพื่อเผยแพร่

กิจกรรมทางการศึกษาที่ประสบความสำเร็จทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 (NBT)

ทุกวันพุธของสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของเดือน ตั้งแต่เวลา 15.30-16.00 น.

ทางสถานีวิทยุของวิทยาลัยเทคนิคยะลา ที่คลื่น 88.5 MHz วันจันทร์-ศุกร์

เวลา 13.45-14.45 น. และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ที่คลื่น FM 92.25 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.30-12.00 น.

● พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านการศึกษา

วิชาชีพกับสถาบันการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้าน โดยสถาบันอาชีวศึกษา

ในพื้นที่ตกลงทำความร่วมมือกับสถานศึกษาประเทศอินโดนีเซีย ให้มี

การจับคู่สถานศึกษาที่เปิดสอนสาขาวิชาเดียวกันในลักษณะ Partner

School จำนวน 17 แห่ง เพื่อทำความร่วมมือในระดับสถานศึกษา ทั้งด้าน

การจัดทำหลักสูตรร่วมกันและแลกเปลี่ยน ครู-นักเรียน ระหว่างสถานศึกษา

Page 22: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

10� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

● เสริมสร้างสวัสดิการสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

โดยเยียวยาแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน โดยให้สิทธิเลื่อน

ขั้นเงินเดือนประจำปี โควตาพิเศษ ร้อยละ 16 (เพิ่มจากปกติ ร้อยละ 15)

ให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษ เดือนละ 2,500 บาท สิทธิพิเศษในการขอรับ

พระราชทานเหรียญราชการชายแดนและเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ

(พ.ส.ร.) มีการปรับระบบการบริหารบุคคลเป็นการเฉพาะ และการนับเวลา

ราชการเป็นทวีคูณ

● จัดสรรทุนการศึกษาให้กับทายาทผู้ ได้รับผลกระทบจาก

เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จนจบการศึกษาระดับ

ปริญญาตรี จำนวน 4,136 ราย

ยุทธศาสตร์ 6 จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง 1. การจัดการศึกษา กิจกรรมเสริมหลักสูตรและการเรียนรู้ เพื่อ

ส่งเสริมความมั่นคงและอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม

● สร้างความเข้มแข็งการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการประชุม

สัมมนาผู้บริหารโรงเรียนและครูสอนปฐมวัย จำนวน 55 คน จาก 15 โรงเรียน

และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาต่าง ๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข (ภาษาไทย มาลายูถิ่น มาลายูกลาง) ให้แก่

ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป จำนวน 5,824 คน

● จัดประชุมสัมมนาผู้แทนปัญญาชนมุสลิมเพื่อให้มีส่วนร่วม

ท้องถิ่นและการศึกษา จำนวน 100 คน และจัดนิทรรศการวิทยาการ

โลกมุสลิมเคลื่อนที่สู่ชุมชน มีผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 852,658 คน

● จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต ฝึกอาชีพระยะสั้น ค่ายอาสา

พัฒนาชุมชน และการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน

บนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้แก่เยาวชนแกนนำนอกระบบ

(อายุ 15-35 ปี) จำนวน 7,880 คน จาก 326 ตำบล

● จัดตั้งแหล่งเรียนรู้ กศน. ประจำวัดและมัสยิด ให้เป็น

แหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย จำนวน 342 แห่ง

Page 23: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

10�180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

● จัดอบรมเชิ งปฏิบัติการการเรียนรู้ สันติศึกษาให้แก่

ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำนวน 382 คน และบุคลากร กศน.

จังหวัดยะลา จำนวน 987 คน

2. เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับครู

บุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษา

● ซ่อมแซมบ้านพักครู จำนวน 28 หลัง ส่งเสริมความสัมพันธ์

ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยการจัดกิจกรรมทางวิชาการ กิจกรรม

การแข่งขันกีฬา กิจกรรมทางศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีอื่น ๆ

และการจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยในสถานศึกษาในสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 11 เขต จำนวน 642 ตำแหน่ง และ

ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา 18 แห่ง จำนวน 88 คน

Page 24: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

10� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

งบประมาณจำแนกตามรายสังกัด

สังกัด/โครงการ

1. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 967,090,500 710,041,003 73.42

1.1 สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา

ที่ 12 ยะลา 96,353,100 69,524,326 72.16

(ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษา

จังหวัดชายแดนภาคใต้)

1.2 สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา 765,671,000 541,980,600 70.79

เอกชน

1.3 สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ 69,066,400 53,886,077 78.02

และการศึกษาตามอัธยาศัย

1.4 สำนักประสานงานและบูรณาการการศึกษา 36,000,000 44,650,000 124.03

จังหวัดชายแดนภาคใต้

2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 769,927,900 125,998,812 16.37

3. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 248,000,000 112,143,165 45.22

4. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 611,013,751 424,578,946 69.49

4.1 มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 313,837,200 285,966,000 91.12

4.2 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 152,196,951 68,631,261 45.09

4.3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 8,000,000 3,430,000 42.88

4.4 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 7,270,000 4,200,000 57.77

4.5 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 129,709,600 62,351,685 48.07

5. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 10,000,000 10,000,000 100.00

รวมงบประมาณทั้งสิ้น 2,606,032,151 1,382,761,925 57.48

งบประมาณ (บาท)

งบที่ได้รับ งบที่เบิกจ่าย ร้อยละ

Page 25: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

5 นโยบายข้อที่

ร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย และองค์การ บริหารส่วนตำบล (อบต.) โดยจะทำให้ครบ ทุกตำบลภายในปี 2557

สร้างแหล่งเรียนรู้ราคาถูก คือ กศน.ตำบล

Page 26: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

10� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

แหล่งเรียนรู้ราคาถูก หรือ กศน.ตำบลหรือแขวง เป็นหนึ่งใน

นโยบายการพัฒนาการศึกษาของนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงศึกษาธิการ โดยมอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอก

ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นเจ้าภาพในการจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็น

ศูนย์กลางการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษา

ตามอัธยาศัย เพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและมี

คุณภาพ เป็นการสร้างและขยายภาคีเครือข่ายในการมีส่วนร่วมการจัด

กิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน ส่งเสริม

และสนับสนุนการจัดกิจกรรมของภาคีเครือข่าย ตลอดจนประสานและ

เชื่อมโยงการดำเนินงานจัดการศึกษาร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน

และภาคประชาชน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทยและ

องค์การบริหารส่วนตำบล ร่วมกันจัดให้มีศูนย์ ICT ซึ่งส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ต

ในการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยน โดยมีระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ

ว่าด้วยแหล่งเรียนรู้ ราคาถูก : กศน.ตำบลหรือแขวง พ.ศ. 2553 เป็นกรอบ

ในการดำเนินงาน

กศน.ตำบล : แหล่งเรียนรู้ราคาถูก

...“การจัดตั้ง กศน. ตำบล เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของการ

พัฒนาการศึกษา เพื่อให้การเรียนรู้เกิดขึ้นจริงในชุมชน หากสร้างสังคม

แห่งการเรียนรู้ได้ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่เกิดขึ้น

ในปัจจุบันก็จะได้รับการแก้ไข โดยองค์ความรู้และพลังปัญญาที่เกิดขึ้น

จากการเรียนรู้ของชุมชน”...

รมว.ศธ. วันที่ 17 พฤษภาคม 2553 อิมแพ็คเมืองทองธานี

Page 27: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

10�180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

ทั้งนี้ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ได้มีแนวทางในการขับเคลื่อน กศน.ตำบล ดังนี้

1. เป็นศูนย์การเรียนชุมชน ให้ กศน.ตำบลเป็นกลไกในการ

ส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน โดยจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษา

ตามอัธยาศัย รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ขณะนี้ กศน.ได้มีการพัฒนา

ในเชิงโครงสร้างและกฎหมายที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาตลอดชีวิต

แต่หากขาดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนที่จะไปจัดกิจกรรม จะไม่สามารถบรรลุ

เป้าหมายได้

2. เป็นศูนย์ส่งเสริมการใช้ ICT ในการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยน

โดยบริการองค์ความรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ กศน.ต้องเตรียมงบประมาณ

และจัดสร้างคอมพิวเตอร์ใน กศน.ตำบลอย่างทั่วถึง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ

จะจัดเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปให้ การส่งเสริม ICT เป็นส่วนหนึ่ง

ในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของประชาชน และเป็นการเรียนรู้

ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง

Page 28: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

110 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

3. เป็นศูนย์ส่งเสริมการอ่าน สนับสนุนให้การอ่านเป็นกระบวนการ

เรียนรู้ที่เป็นทักษะชีวิตของประชาชน กศน.ตำบลต้องสร้างอาสาสมัคร

การอ่านในชุมชน เพื่อให้การอ่านเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริง

โดยการจัดหนังสือที่ดีใน กศน.ตำบล และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนหนังสือไป

ยังครอบครัวและภาคีเครือข่าย จัดให้มีมุมหนังสือที่ส่วนราชการต่าง ๆ เช่น

ในโรงพยาบาล รวมทั้งรถโดยสารประจำทาง ฯลฯ กศน.ตำบลจะเป็นแหล่ง

ค้นหาหนังสือ และราคาเป็นธรรมให้ประชาชน

4. เป็นศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอาชีพและด้านเทคโนโลยี

เกี่ยวกับการประกอบอาชีพที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น การทำปุ๋ยชีวภาพ

น้ำยาล้างจาน ฯลฯ เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะ

เพื่อการดำรงชีพ ส่งเสริมภูมิบัญญัติท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียง

5. เป็นศูนย์การพัฒนาความเป็นพลเมืองให้กับประชาชน การมี

ความคิดเห็นที่แตกต่างไม่ใช้ความแตกแยก จะต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้

ที่กล่อมเกลาจิตสำนึกให้เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น มีคุณธรรมจริยธรรม

มีความภาคภูมิใจความเป็นไทย มีความเข้าใจในรากฐานประชาธิปไตย

6. ให้ประสานสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพ

เยาวชน (สสค.) เพื่อช่วยขับเคลื่อนการสร้างภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งด้าน

วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน อาสาสมัครการอ่าน

และความร่วมมือของโรงเรียนดีประจำตำบลกับ อบต. ตามแนวทาง

การบริหารจัดการแบบใหม่ ในการกระจายอำนาจให้สถานศึกษาและท้องถิ่น

โดยให้มีการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อดูแลการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา

ในแนวราบ

Page 29: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

111180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงาน

ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้รับงบประมาณ

โครงการปัจจัยสนับสนุนด้านการศึกษา (โครงการยกระดับคุณภาพการ

ศึกษาตามอัธยาศัย) ตามโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555

กิจกรรมจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT เพื่อส่งเสริมการศึกษาตาม

อัธยาศัย จำนวน 177,825,000 บาท ดังนี้

1. เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผล

ทั่วไป พร้อมอุปกรณ์สำหรับศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

2. ค่าจัดกิจกรรม จำนวน 750 แห่ง เป็นเงิน 177,825,000 บาท

โดยมีเป้าหมายการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ราคาถูก : กศน.ตำบล ให้ครบทุก

ตำบล/แขวง ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 จำนวน 7,409 แห่งซึ่งขณะนี้

ได้เริ่มดำเนินการและเปิดศูนย์ กศน.ตำบลไปแล้ว จำนวน 3,326 แห่ง

Page 30: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

11� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

ในส่วนของการดำเนินงานโครงการอื่น ๆ ที่สำคัญ สำนักงานส่งเสริม

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้รับงบประมาณตาม

โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ระยะที่ 2) ของกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับโครงการปัจจัยสนับสนุนด้าน

การศึกษา เพื่อจะจัดหา พัฒนา ปรับปรุงเนื้อหาและสื่อทุกประเภท

(Courseware, digital content) และบทเรียน e-Learning ที่หลากหลาย

เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน พัฒนาช่องทางการสื่อสารให้มีศักยภาพ

เหมาะสม ทั้งระบบอินเทอร์เน็ต โทรทัศน์และวิทยุเพื่อการศึกษาพัฒนา

แหล่งเรียนรู้/ห้องสมุดประชาชนมีชีวิต รวมทั้งพัฒนานักเรียน นักศึกษา ครู

และผู้สอนทุกระดับให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการผลิต และการ

ใช้เทคโนโลยีได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมกับความพร้อมในแต่ละบริบทและ

พื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานและผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้

ของผู้เรียนทุกระดับ ช่วยลดปัญหาขาดแคลนครูผู้สอน รวมทั้งเพิ่มช่องทาง

การสื่อสารที่ง่ายต่อการเข้าถึงของประชาชน โดยเริ่มดำเนินการในปี

พ.ศ. 2553 ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1. พัฒนาวิทยุ/โทรทัศน์เพื่อการศึกษา จำนวน 328,845,900 บาท

พัฒนาและปรับปรุงอุปกรณ์สถานีวิทยุโทรทัศน์

2. พัฒนาห้องสมุดประชาชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ของชุมชน จำนวน 748,100,000 บาท โดย

Page 31: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

11�180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

1) จัดซื้อหนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 850 แห่ง ๆ ละ

450,000 บาท

2) จัดซื้อหนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ห้องสมุดฯสร้างใหม่)

จำนวน 50 แห่ง ๆ ละ 1,000,000 บาท

3) จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน จำนวน 850 แห่ง ๆ ละ

100,000 บาท

4) เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 250 แห่ง

5) เชื่อมโยงระบบสืบค้นในห้องสมุดประชาชนจังหวัด จำนวน

75 แห่ง ๆ ละ 400,000 บาท

6) พัฒนาเว็บไซต์เชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ จำนวน

4,000,000 บาท

7) ก่อสร้างห้องสมุดประชาชน (สำหรับอำเภอที่ไม่มีห้องสมุด)

50 แห่ง ๆ ละ 1,800,000 บาท

8) จัดหาครุภัณฑ์ประจำห้องสมุดประชาชน (สำหรับอำเภอ

ที่ไม่มีห้องสมุด) จำนวน 50 แห่ง ๆ ละ 178,000 บาท

9) จัดซื้อรถเคลื่อนที่ให้บริการ จำนวน 24 คัน เป็นเงิน

72,000,000 บาท

Page 32: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

11� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

3. จัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT จำนวน 177,825,000 บาท

รายละเอียด ดังนี้

1) เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ จำนวน 750 แห่ง

เป็นเงิน 155,325,000 บาท

2) ค่าติดตั้งและเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตในศูนย์การเรียนชุมชน

750 แห่ง เป็นเงิน 18,000,000 บาท

3) ค่าจัดกิจกรรมในศูนย์การเรียนชุมชน 750 แห่ง เป็นเงิน

4,500,000 บาท

Page 33: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

11�180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

แนวทางดำเนินการต่อไป กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ

และการศึกษาตามอัธยาศัย มีแนวทางการดำเนินการต่อไป ดังนี้

1. การพัฒนาห้องสมุดประชาชนให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

ตลอดชีวิตของชุมชน

พัฒนาห้องสมุดประชาชนในสังกัดสำนักงาน สำนักงานส่งเสริม

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 850 แห่ง ได้แก่

ห้องสมุดประชาชนจังหวัด ห้องสมุดประชาชนอำเภอ และห้องสมุดประชาชน

“เฉลิมราชกุมารี” รวมทั้งจัดตั้งห้องสมุดประชาชนอำเภอใหม่ จำนวน 179 แห่ง

ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน

2. การจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT เพื่อส่งเสริมการศึกษา

ตามอัธยาศัย

พัฒนาศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 4,000 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ

50 ของจำนวนศูนย์การเรียนชุมชนทั่วประเทศ) ให้มีความพร้อมในด้าน

โครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT สำหรับให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน

Page 34: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

11� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการรองรับการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ที่ต้องการให้ชุมชนมีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้าง

สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ได้รับการพัฒนา

เพื่อสนองความต้องการการเรียนรู้ของประชาชน ตลอดจนสนับสนุนให้

หน่วยงานและสถานศึกษามีการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ในการ

บริการการเรียนรู้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานส่งเสริม

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จึงได้จัดทำโครงการ

“การจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์” ประกอบด้วยกิจกรรมพัฒนาการจัดรูปแบบ

การเรียนรู้จากภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ ในชุมชน การพัฒนาสื่อ

อิเล็กทรอนิกส์ การจัดบริการความรู้ออนไลน์ผ่านหน้าเว็บไซต์ การพัฒนา

บุคลากรด้วยการอบรม “นักจัดการความรู้เชิงสร้างสรรค์” และประกวด

“นักส่งเสริมการอ่านออนไลน์” รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการอ่าน

ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีผลการดำเนินงาน

ดังนี้

1. จัดการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ 1 แห่ง จากคลังสมองภูมิปัญญา

และแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน 2 วิชา ๆ ละ 25 คน รวมจำนวน 50 คน

2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และนวัตกรรมส่งเสริมการอ่านเชิงสร้างสรรค์

ผ่านเว็บไซต์ เพื่อบริการความรู้และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย จำนวน 25 เรื่อง

Page 35: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

6 ● เพื่อสร้างโอกาส ติวเข้มเติมเต็มความรู้ ● เพื่อพัฒนาคุณภาพครู ให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถนำไปปรับใช้ และถ่ายทอดคุณค่าต่อ

จัดทำโครงการ Student Channel และ Thai Teacher TV

นโยบายข้อที่

Page 36: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

11� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

“กระทรวงศึกษาธิการมีความมุ่ งมั่นที่จะพัฒนาการศึกษา

เพื่อนักเรียนทุกคน การจัดรายการ Student Channel จึงเป็นการให้โอกาส

แก่นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดรายการ โดยได้พบปะพูดคุยและ

ซักถามคำถามต่าง ๆ”

รมว.ศธ. วันที่ 23 มีถุนายน 2553 ณ ห้องประชุมโรงเรียน

เฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก

ติวเข้มเติมเต็มความรู้ (Student Channel)

ติวเข้มเติมเต็มความรู้ (Student channel) รัฐบาลมีนโยบายจัดการศึกษาฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ เพื่อให้

นักเรียนที่จบการศึกษาเป็นเด็กดี เก่ง และมีความสุข โดยเน้นคุณภาพ

ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา จนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย กิจกรรม

หนึ่งที่รัฐบาลจัดให้ คือการติวฟรี กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการภายใต้

โครงการ Tutor Channel โดยผลิตรายการออกอากาศทางสถานีวิทยุ

โทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) และสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) เพื่อเสริมความรู้ให้กับนักเรียน นักศึกษาที่ขาด

โอกาสทางการศึกษาให้มีโอกาสได้เรียน และมีทางเลือกในการเรียนรู้

ที่หลากหลายขึ้น ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อโครงการเป็นโครงการ Student

Channel เพื่อให้เป็นรายการสำหรับนักเรียนโดยตรง และเป็นสื่อกลางใน

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. พัฒนาคุณภาพทางการศึกษาและยกระดับการศึกษาของ

นักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศ

2. เสริมสร้างและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้เกิดความเท่าเทียม

กันทั้งในเมืองและชนบท โดยให้นักเรียน นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้จากครู

ที่มีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนระหว่างภาค

รัฐและเอกชน

Page 37: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

11�180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

4. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักเรียน

และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

5. เป็นช่องทางให้กระทรวงศึกษาธิการเผยแพร่นโยบายการศึกษา

แก่กลุ่มเป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

1. จัดผลิตรายการ Tutor Channel และ Student Channel

จำนวน 50 รายการ

2. จัดกิจกรรม Tutor Channel และ Student Channel on Tour

จำนวน 7 ครั้ง มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 6,000 คน มีรายละเอียดดังนี้

ครั้งที่ 1 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 จังหวัดลพบุรี 1,000 คน

ครั้งที่ 2 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553 จังหวัดนครศรีธรรมราช

1,000 คน

ครั้งที่ 3 วันที่ 7 มีนาคม 2553 ศูนย์ประชุมสิริกิติ์แห่งชาติ

1,000 คน

ครั้งที่ 4 วันที่ 25 มิถุนายน 2553 โรงเรียนสันติราษฎร์

วิทยาลัย 1,000 คน

ครั้งที่ 5 วันที่ 7 มิถุนายน 2553 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

900 คน

ครั้งที่ 6 วันที่ 23 มิถุนายน 2553 จังหวัดพิษณุโลก 1,000 คน

ครั้งที่ 7 วันที่ 5 กรกฎาคม 2553 จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1,000 คน

Page 38: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�0 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

3. ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)

จำนวน 50 ชั่วโมง และทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวง

ศึกษาธิการ (ETV) จำนวน 50 ชั่วโมง และออกอากาศทางสถานีวิทยุศึกษา

ในเวลาเดียวกัน

4. จัดพิมพ์เอกสารประกอบการรับชมรายการและประกอบ

กิจกรรม Student Channel on Tour จำนวน 7,000 เล่ม

5. สำเนา DVD จำนวน 17,100 แผ่น

6. ตรวจสอบและบริหารเว็บไซต์ http://www.Tutor.mitech.

co.th ระบบ TV on Demand รายการ Student Channel จำนวน 1 ระบบ

7. สรุปข้อเสนอแนะจากเว็บไซต์ จำนวน 250 ข้อความ

8. เผยแพร่สปอตประชาสัมพันธ์รายการ Student Channel

ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ จำนวน 815 ครั้ง

9. Upload ไฟล์เพื่อให้ผู้ชมสามารถ Download เอกสารประกอบ

การรับชมรายการ Student Channel ของทุกสัปดาห์

10. เผยแพร่สปอตประชาสัมพันธ์ รายการ Student Channel

ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง จำนวน 6,256 ครั้ง

11. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางป้ายโฆษณา (Billboard) จำนวน

4 จุด/ 6 เดือน

12. ประชาสัมพันธ์ทางรถไฟฟ้า จำนวน 2 ขบวน/ 6 เดือน

13. ผู้ รับชมรายการ Student Channe l ผ่านทางเว็บไซด์

www.etvthai.tv จำนวน 3,002,353 คน

Page 39: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�1180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

ประโยชน์ที่สาธารณชนได้รับ

1. นักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศได้รับโอกาสทางการศึกษา

อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

2. คุณภาพการศึกษาของนักเรียน และนักศึกษาได้รับการพัฒนา

อย่างต่อเนื่องและเท่าเทียมกัน

3. ครูทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียนได้รับการพัฒนาเทคนิค

การจัดการเรียนการสอนจากวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ นำไปเป็น

แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตนเองได้

4. กระทรวงศึกษาธิการนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจาก

กลุ่มเป้าหมายมาปรับปรุงและเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาต่อไป

Page 40: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เล็งเห็นปัญหาการบริหาร

และการจัดการการศึกษาในระดับต่าง ๆ ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่การศึกษาในระดับ

อุดมศึกษา เช่น ปัญหาการพัฒนาคุณภาพครู จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริม

ศักยภาพครูด้วยรายการโทรทัศน์คุณภาพสูง หรือทีวีครู (Thai Teachers

TV) ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาโครงการและใช้ประโยชน์ผ่านเครือข่าย

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) ขึ้น

โทรทัศน์ครู (Thai Teachers TV)

Page 41: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

Thai Teachers TV เป็นนวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบของรายการ

โทรทัศน์ที่เสนอบริการผ่านสื่อที่หลากหลาย (เว็บไซต์ สถานีโทรทัศน์

สาธารณะ (Free TV) โทรทัศน์ตามสาย (Cable TV) โทรทัศน์อินเทอร์เน็ต

(IPTV) และสื่อการสอน) เป็นรายการโทรทัศน์ที่ ให้ความรู้แก่ครู

ผู้เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษา และประชาชนทั่วไป สามารถนำไปปรับใช้

และถ่ายทอดคุณค่าต่อได้ เป็นการนำเสนอนวัตกรรมในด้านการเรียนการสอน

การบริหารจัดการโรงเรียน และการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของการศึกษา

จากทั่วโลก อาทิ อังกฤษ ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น แอฟริกา อเมริกา และไทย ในรูปแบบ

รายการที่สร้างสรรค์ ดูสนุก ได้แรงบันดาลใจ และแนวคิดแปลกใหม่ของ

การศึกษาทุกระดับ เป็นช่องทางการสื่อสาร 2 ทาง เพื่อให้ครูและบุคลากร

ทางการศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน นำรูปแบบวิธี

การจัดการเรียนการสอนและนวัตกรรมใหม่ ๆ ของครูที่สอนดีและเก่งมา

ถ่ายทอดประสบการณ์ให้ครูด้วยกันได้เห็น และสามารถนำไปปรับใช้ได้

Page 42: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

รายการ “Teachers TV” เป็นโครงการที่สานต่อการดำเนินการ

Tutor Channel ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีมหาวิทยาลัยบูรพาเป็นผู้ผลิต

และนายมนตรี แย้มกสิกร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

เป็นผู้อำนวยการโครงการ ใช้งบประมาณจากโครงการลงทุนภายใต้แผน

ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (SP2) จำนวน 1,100 ล้านบาท ระยะเวลา

ดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2555 เริ่มดำเนินการออกอากาศเมื่อ

วันที่ 1 เมษายน 2553 ในชื่อรายการ “ครูมืออาชีพ” ทางทีวีไทย

Page 43: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

ลักษณะของรายการจะนำเสนอเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม

การเรียนการสอนที่ดี นวัตกรรมการศึกษาของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ สังคมศึกษา

ศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ศิลปะ นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

การแก้ปัญหาพฤติกรรมของผู้เรียน การแก้ปัญหาพิเศษที่เกิดขึ้นภายใน

สถานศึกษา รวมไปถึงการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องถึงวิถีชีวิตของครูและ

บุคลากรทางการศึกษา เน้นการถ่ายทำจากห้องเรียนจริง เหตุการณ์จริง

แบ่งปันนวัตกรรมการเรียนการสอนและการบริหารจัดการจากครูทั่วโลก

เนื้อหาที่ได้คัดสรรมาจะครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของชั้นปฐมวัย

ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา รวมทั้งครอบคลุมทุกบทบาทของบุคลากร

Page 44: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

เช่น ครูประจำการ ครูใหม่ ครูฝึกปฏิบัติการสอน ผู้อำนวยการ นักเรียน

ผู้ปกครอง ชุมชน ไปจนถึงหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ คนที่ไม่เป็นครูก็สามารถ

ดูได้ โดยรายการแต่ละตอนจะมีความยาวเพียง 15 นาที ซึ่งเป็นช่วงเวลา

ที่เหมาะสมในการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ มีความกระชับ ผู้ชมยังรู้สึกตื่นตัวและ

มีสมาธิในการเรียนรู้ สามารถเรียบเรียงจดจำเรื่องราวที่ เกิดขึ้นได้ดี

รายการโทรทัศน์ครูออกอากาศในช่วงเช้า ตั้งแต่เวลา 05.45-06.00 น.

ทุกวันจันทร์-ศุกร์ และจะเพิ่มเวลาออกอากาศตอนเย็นหลังเลิกเรียนด้วย

ดำเนินรายการโดยพอล-ภัทรพล ศิลปาจารย์, บ๊วย-เชษฐวุฒิ วัชรคุณ

และ อ.ตรีดาว อภัยวงศ์ สามารถชมรายการได้ทาง www.thaiteachers.tv

รายการทางช่องทีวีไทย โทรทัศน์อินเตอร์เน็ต (IPTV) โทรทัศน์ดาวเทียม

(Cable TV) และดีวีดี ทั้งนี้ สามารถดูโปรแกรมการออกอากาศ และ

ดูรายการย้อนหลังได้ทางเว็บไซต์ www.thaiteachers.tv

Page 45: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

7 นโยบายข้อที่

ดำเนินการผลักดันพระราชบัญญัติเงินวิทยฐานะ ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ ขวัญกำลังใจให้เพื่อนครู จัดตั้งองค์การมหาชนเพื่อดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตครู

สร้างขวัญและกำลังใจครู

Page 46: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญยิ่ง

ต่อการพัฒนาประเทศ ได้อุทิศตน เสียสละ ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์

ให้กับเยาวชนสามารถดำรงตนได้อย่างมีคุณภาพและศักยภาพ และเพื่อให้

ครูมีขวัญกำลังใจในการทำงาน สามารถถ่ายทอดความรู้ด้วยจิตวิญญาณของ

ความเป็นครูได้อย่างสมบูรณ์ จึงดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเพื่อนครู ตลอดจน

ให้คำปรึกษาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และอยู่ในสังคมอย่างสมฐานะแห่งความเป็นครู

ซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูง กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการสร้างขวัญและกำลังใจ

ให้เพื่อนครู และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา

ดังนี้

สร้างขวัญและกำลังใจครู

“...ขับเคลื่อนการสร้างขวัญและกำลังใจของครู เพื่อยกระดับ

มาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นที่ยอมรับ ผลักดันกฎหมายส่งเสริมสวัสดิการ

และสวัสดิภาพครูให้สะท้อนต่อการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู ให้ทุกคน

ได้เห็นว่าครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีมาตรฐานวิชาชีพชั้นสูง...”

รมว.ศธ. วันที่ 30 มิถุนายน 2553 ที่หอประชุมคุรุสภา

Page 47: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

ผลักดันพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินวิทยฐานะ ตามพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ได้มีการกำหนดให้มี

การจ่ายเงินวิทยฐานะให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ผ่าน

การประเมินตามหลักเกณฑ์ ตามที่คณะกรรมการข้าราชการครูและ

บุคลากรทางการศึกษากำหนด เพื่อพัฒนาระบบค่าตอบแทนให้มี

ประสิทธิภาพสามารถเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา และเอื้อต่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อให้ครูได้ปรับ

เข้าสู่โครงสร้างใหม่เช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนที่มีการปรับฐานเงินเดือน

ร้อยละ 4 ไปแล้ว 2 ครั้ง ขณะที่ข้าราชการครูยังไม่ได้มีการปรับปรุงเลย

โดยได้มีการดำเนินการ ดังนี้

1. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำ

ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่....) พ.ศ. ...

1) ก.ค.ศ. ในการประชุมครั้ งที่ 5/2552 เมื่อวันที่ 27

พฤษภาคม 2552 ได้มีมติให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเงินเดือน

เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

พ.ศ. 2547 และเห็นชอบบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการครูและ

บุคลากรทางการศึกษาและบัญชีอัตราเงินเดือนวิทยฐานะของข้าราชการครู

และบุคลากรทางการศึกษาที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

Page 48: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�0 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

2) กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน

เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

(ฉบับที่....) พ.ศ. ... ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ตามหนังสือกระทรวง

ศึกษาธิการ ที่ ศธ 0206.9/2018 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2552

3) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขอให้กระทรวงการคลัง

สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. และคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือน

แห่งชาติ (กงช.) พิจารณาเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของ

คณะรัฐมนตรี

4) คณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ ในการประชุม

ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2553 พิจารณาแล้ว มีมติให้

ตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนของข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษาและข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อทำการศึกษา

วิเคราะห์ข้อมูลและพิจารณาค่าตอบแทนของข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา และข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้มีความ

เหมาะสมเป็นธรรมและได้มาตรฐาน ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำในระบบราชการ

Page 49: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�1180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

5) คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนข้าราชการครู

และบุคลากรทางการศึกษาและข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

ในการประชุมครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2553 ได้พิจารณาร่าง

พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการ

ครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่....) พ.ศ. ... ในประเด็นเกี่ยวกับ

เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา โดยที่ประชุมเห็นว่า การพิจารณาปรับปรุงระบบค่าตอบแทน

ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและข้าราชการพลเรือน

ในสถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบและคำนึงถึง

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งสิทธิประโยชน์ของข้าราชการทุกประเภท

จึงเห็นควรดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้น และระยะยาว

ระยะสั้น เห็นควรให้ เทียบเคียงกับค่าตอบแทนของ

ข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยให้ปรับบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูและ

บุคลากรทางการศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ยกเว้นเงินเดือน

ขั้นสูงของอันดับ คศ. 5 เห็นควรกำหนดขั้นสูงที่ 64,340 บาท ซึ่งเทียบเคียง

กับเงินเดือนประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ของข้าราชการพลเรือน

สามัญ (อัตราเงินเดือนขั้นสูง 66,480 บาท สำหรับเฉพาะสายงานแพทย์

และสายงานนักกฎหมายกฤษฎีกาเท่านั้น)

Page 50: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

ระยะยาว ให้มีการศึกษาค่าตอบแทนของข้าราชการ

ทั้งระบบ ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการควรพิจารณาภาพรวมของข้าราชการ

ในกลุ่มสายผู้สอนให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับระบบการศึกษา และ

ยุทธศาสตร์การศึกษาของประเทศเทียบเคียงกับระบบสากลได้ รวมทั้ง

คำนึงถึงคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ของระบบการเรียนการสอนของประเทศ

6) สำนักงาน ก.ค.ศ. มีความเห็นว่า ควรยืนยันเงินเดือนขั้นสูง

ของอันดับ คศ. 5 ที่ 66,480 บาท ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอไปยัง

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี โดยกำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน

เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการ

ศึกษา ว่าผู้ดำรงตำแหน่งประเภทใด ตำแหน่งใด วิทยฐานะใด จะได้รับ

เงินเดือน เงินวิทยฐานะและเงินประจำตำแหน่ง ตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง

ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานี้ ในอัตราใด ให้เป็นไปตามที่

กำหนดในกฎ ก.ค.ศ. เพื่อให้หลักเกณฑ์และวิธีการในการรับเงินเดือน

เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการ

ศึกษามีระดับมาตรฐานทัดเทียมข้าราชการประเภทอื่น และเป็นการจูงใจ

ให้ผู้มีความรู้ความสามารถ และมีความประพฤติดี เข้ามาสู่วิชาชีพครูและ

บุคลากรทางการศึกษา ประกอบกับบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของ

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก็เทียบเคียงได้กับบัญชีเงินเดือน

ขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือน ตำแหน่งประเภทวิชาการ ซึ่งรวมถึงวิชาชีพ

แพทย์และนักกฎหมายกฤษฎีกา และร่างบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของ

ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงเช่นเดียวกับ

วิชาชีพครู

Page 51: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

2. กำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นตำแหน่ง

ที่มีวิทยฐานะและมีการเลื่อนวิทยฐานะ

ด้วยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

มาตรา 39 กำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นตำแหน่ง

ที่มีวิทยฐานะ และมาตรา 54 กำหนดให้มีการเลื่อนวิทยฐานะโดยผ่าน

การประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด โดยกระทรวง

ศึกษาธิการได้มีแนวการดำเนินงาน ดังนี้

1) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดย ก.ค.ศ. ดำเนินการ

เกี่ยวกับการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

(ทุกสายงาน) โดยการจัดประชุม อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเฉพาะกิจฯ และ

อ.ก.ค.ศ. วิสามัญฯ จัดประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ (วิทยฐานะเชี่ยวชาญ

และเชี่ยวชาญพิเศษ) และจัดประชุมสัมมนาฝ่ายเลขานุการ อ.ก.ค.ศ.

วิสามัญเฉพาะกิจฯ (วิทยฐานะเชี่ยวชาญและเชี่ยวชาญพิเศษ)

Page 52: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการประเมินโดยอนุมัติ

อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา สำหรับวิทยฐานะชำนาญการและชำนาญการ

พิเศษ ตามหลักเกณฑ์ ว 25/2548 มีผู้เสนอขอให้มีวิทยฐานะชำนาญการ

พิเศษ จำนวน 196,069 ราย ได้ตรวจและประเมินไปแล้ว จำนวน 151,157 ราย

อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 44,912 ราย กรณีผู้มีผลการประเมิน

ไม่ผ่านเกณฑ์ตาม ว 25/2548 ก.ค.ศ. ให้เข้ารับการพัฒนาเพื่อให้มีหรือ

เลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โดยระบบ e-Training และเมื่อผ่านเกณฑ์

การพัฒนาแล้ว ให้ส่งผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ประเมินได้อีกครั้ง

ขณะนี้ สพฐ. ได้พัฒนาไปแล้ว 2 รุ่น อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนา

รุ่นที่ 3 และตามหลักเกณฑ์ ว 17/2552 (อยู่ระหว่างเสนอขอ)

3) ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครู

และบุคลากรทางการศึกษา

● วิทยฐานะเชี่ยวชาญ คำขอรวม 1,334 ราย อนุมัติ

รวม 80 ราย ไม่อนุมัติ รวม 1,254 ราย

● วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ คำขอรวม 36 ราย อนุมัติ

รวม 1 ราย ไม่อนุมัติ รวม 35 ราย

ไม่ผ่านด้านที่ 1 และ 2 รวม 4 ราย (ข้อมูล ณ เดือน

พฤษภาคม 2553)

Page 53: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

4) จัดทำเครื่ องมือและคู่มือการประเมินวิทยฐานะของ

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม 4 สายงาน ได้แก่

สายงานการสอน สายงานการบริหารสถานศึกษา สายงานบริหารการศึกษา

และสายงานนิเทศการศึกษา ประกอบหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะ

ตาม (ว 17/2552)

ก.ค.ศ. กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะใหม่

(ว 17/2552) สรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้

1. คุณสมบัติด้านการดำรงตำแหน่งและการปฏิบัติงาน

ตามหน้าที่ กำหนดเช่นเดียวกับ ว 25/2548

2. สายงานการสอน กำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำตามที่

ส่วนราชการกำหนด โดยความเห็นชอบของ ก.ค.ศ. สำหรับสายงานอื่น

กำหนดภาระงานเต็มเวลา

3. กำหนดให้มีการประเมิน 3 ด้าน คือ

ด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ

วิชาชีพ พิจารณาจากการมีวินัย การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ความรักและศรัทธาในวิชาชีพและความ

รับผิดชอบในวิชาชีพ

Page 54: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

ด้ านที่ 2 ด้ านความรู้ความสามารถ ประกอบด้วย

ความสามารถในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบและการพัฒนา

ตนเอง

ด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ผลการ

พัฒนาคุณภาพผู้เรียน/การบริหารจัดการสถานศึกษา/การนิเทศการศึกษา/

การบริหารและจัดการศึกษา และผลงานทางวิชาการ (เฉพาะวิทยฐานะ

ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ)

มีการชี้แจงหลักเกณฑ์และการประเมินวิทยฐานะฯ และ

การเลือกตั้งกรรมการผู้แทน ก.ค.ศ. และใน อ.ก.ค.ศ.เขตฯ ณ โรงแรม

รามาการ์เด้น กรุงเทพ มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 700 คน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ

ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่จากทุกสำนักงานเขตพื้นที่/ส่วนราชการและ

เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ก.ค.ศ.

4. เกณฑ์การตัดสินแต่ละระดับมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

หน่วย : ร้อยละ

องค์ประกอบ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ

ด้านที่ 1 (เฉลี่ย 3 คน) 65 70 75 80

ด้านที่ 2 (เฉลี่ย 3 คน) 65 70 75 80

ด้านที่ 3

- ผลการพัฒนาคุณภาพฯ 65 65 70 75

- ผลงานทางวิชาการ - 65 70 75

เฉลี่ยด้านที่ 3 65 70 75 80

Page 55: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

5) การเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะ โดยสำนักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐานได้เบิกจ่ายเงินประจำตำแหน่ง เงินวิทยฐานะและ

ค่าตอบแทนรายเดือนปกติ สำหรับผู้ที่ได้รับวิทยฐานะ ถึงเดือนมีนาคม

2552 แล้ว จำนวน 360,940 ราย รวมเป็นเงิน 23,609,914,952 บาท

(ตามจำนวนเงินที่ได้รับจัดสรร) และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ที่มีวิทยฐานะแล้ว ตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 - กุมภาพันธ์ 2553 แต่ยังไม่มี

งบประมาณให้เบิกจ่าย จำนวน 45,729 ราย เป็นเงิน 7,299,985,078 บาท

ซึ่งจะต้องเบิกจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ตามจำนวนเงินที่ได้รับ

จัดสรรจากสำนักงบประมาณ

Page 56: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

เครือข่ายพัฒนาชีวิตครูเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินครู การแก้ไขปัญหาภาวะหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตของครูและ

บุคลากรทางการศึกษาให้ดียิ่งขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เบ็ดเสร็จ และยั่งยืน

มีการบูรณาการโดยอาศัยกระบวนการทางจิตใจและสังคม ให้ครูและ

บุคลากรทางการศึกษาได้มีแหล่งปรึกษาเรียนรู้ ตลอดจนให้คำปรึกษาในการ

แก้ไขปัญหาต่าง ๆ รู้จักประหยัดอดออม เสริมสร้างวินัยทางการเงินให้แก่

ตนเอง ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2540 รัฐบาลมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน

ข้าราชการครูและมอบให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สิน

ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการ

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และสำนักงาน

คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

(สกสค.) ใน 2 ลักษณะ คือ

Page 57: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

1. จัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู

พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. 2540 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณสำหรับเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไข

ปัญหาหนี้สินข้าราชการครู จำนวน 500 ล้านบาท และเงินทุนหมุนเวียน

ได้รับการจัดสรรเพิ่มเติมในปีงบประมาณต่อมา ปัจจุบันมีเงินทุนหมุนเวียน

ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลรวมทั้งสิ้น 1,200 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์

เพื่อให้ข้าราชการครู (เฉพาะผู้สอน) กู้ยืมเงินไปชำระหนี้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งต้อง

เสียดอกเบี้ยในอัตราที่สูง โดยเงินกู้จากเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหา

หนี้สินข้าราชการครู จะคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าเป็นการบรรเทา

ความเดือดร้อนจากภาระหนี้สิน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข

ทำให้ครูมีขวัญกำลังใจในการสอน ส่งผลให้การเรียนรู้มีคุณภาพในปีงบประมาณ

พ.ศ. 2540 ได้แก้ไขปัญหาหนี้ฉุกเฉินของข้าราชการครู โดยให้ข้าราชการครู

กู้ยืมไปชำระหนี้รายละไม่เกิน 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี

ให้ชำระคืนภายใน 5 ปี (60 งวด) โดยเป็นการดำเนินงานผ่านทาง

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดและธนาคารกรุงไทย มีข้าราชการครูกู้ยืม

จำนวน 10,674 ราย เป็นเงินให้กู้ยืมทั้งสิ้น 59,588,660 บาท ต่อมาได้มี

การปรับเกณฑ์ และวิธีการกู้ยืมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของ

ข้าราชการครู โดยกำหนดวงเงินกู้ยืมรายละไม่เกิน 200,000 บาท อัตรา

ดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี ผ่อนชำระคืนภายใน 8 ปี หรือ 96 งวด เป็นการ

ดำเนินการร่วมกับ ธ.ก.ส. โดยมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันเมื่อวันที่

18 มิถุนายน 2541

ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2540-2552 ดำเนินการจัดสรรเงินทุน

หมุนเวียนให้ข้าราชการครูกู้ยืมตามหลักเกณฑ์และวิธีการกู้ยืมดังกล่าวนั้น

มีข้าราชการครูได้กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินทั้งสิ้น

มากกว่า 52,000 ราย และในปีงบประมาณ 2553 จะมีข้าราชการครูกู้ยืม

เงินทุนหมุนเวียนอีก 2,500 คน

Page 58: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�0 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

จากการติดตามประเมินผลการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียน

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้ดำเนินการสำรวจความ

พึงพอใจของผู้ใช้บริการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู

จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 576 ราย ใน 23 จังหวัด 78 เขตพื้นที่การศึกษา

พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 80.20 เห็นด้วยว่าโครงการนี้สามารถบรรเทา

ปัญหาหนี้สินข้าราชการครูได้ และร้อยละ 90.10 เห็นว่ากระทรวง

ศึกษาธิการควรดำเนินงานโครงการนี้ต่อไป

2. จัดอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา 3 หลักสูตร คือ

1) จัดกิจกรรมคลินิกการเงินครูและบุคลากรทางการศึกษา

จำนวน 16 จังหวัด คือ สตูล นครศรีธรรมราช นครปฐม นราธิวาส

อุทัยธานี ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย สระแก้ว เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ

นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย และชุมพร

Page 59: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�1180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

2) จัดอบรมการพัฒนาชีวิตด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน

6 จังหวัด คือ พะเยา ขอนแก่น กระบี่ สุพรรณบุรี นครปฐม และนนทบุรี

3) อบรมการพัฒนาชีวิตด้วยการสร้างวินัยทางการเงิน จำนวน

3 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด กรุงเทพมหานคร และพระนครศรีอยุธยา

สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 และปีต่อ ๆ ไป จะดำเนินการ

พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ได้อย่างน้อยปีละ

260,000 คน

นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและ

สวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ดำเนินการสำรวจข้อมูล

สภาพหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งอยู่ระหว่างการสร้างเครื่องมือ

และจัดทำโปรแกรมสำรวจข้อมูลหนี้สินครู

Page 60: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

3. ส่งเสริมสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการครู

ผู้ปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ

ข้ าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ ปฏิบัติ ง าน

ในสำนักงานในพื้นที่พิเศษ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความลำบากในการคมนาคม

ขาดแคลนสาธารณูปโภคและปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต มีความเสี่ยงภัย

หรือมีความชุกชุมของโรคภัย ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานดังกล่าวขาดขวัญกำลังใจ

ในการปฏิบัติงาน การเสริมสร้างขวัญกำลังใจและการยกย่องเชิดชูเกียรติ

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ ได้จัด

โครงการส่งเสริมสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการครูผู้ปฏิบัติงาน

ประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษขึ้น โดยคัดเลือกข้าราชการครูที่ปฏิบัติงาน

ในสำนักงานในพื้นที่พิเศษและเป็นผู้ที่มีความประพฤติดี ทุ่มเท เสียสละ

และมีผลงานดีเด่นเพื่อให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

โดยจัดกิจกรรมการศึกษาดูงานให้กับข้าราชการครูประจำสถานศึกษา

ในเขตพื้นที่พิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับการคัดเลือกและมีผลงานดีเด่น

ประพฤติดี ทุ่มเท และเสียสละ ณ จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน

ระหว่าง วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งทำให้ข้าราชการครูที่เข้าร่วมโครงการ

มีขวัญกำลังใจและได้ประสบการณ์ตรงจากการศึกษาดูงาน

Page 61: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

เครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครู 1. กำหนดและพัฒนา กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการ

ในการกำหนดตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ต้องมีหลักในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกัน

ก.ค.ศ. จึงออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข

การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยยึด

หลักการกระจายอำนาจการบริหารสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

ซึ่ง ก.ค.ศ. ได้จัดตั้งคณะทำงาน และ อ.ก.ค.ศ. วิสามัญที่เกี่ยวข้องจัดประชุม

เชิงปฏิบัติการร่วมพิจารณาร่าง กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการ

การประชาพิจารณ์ จัดทำคู่มือและเผยแพร่ โดยกำหนด กฎ ระเบียบ

หลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา รวม 6 เรื่อง ได้แก่

Page 62: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

1) กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการโอน พ.ศ. ...

2) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ

สำหรับตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นระยะ ๆ เพื่อดำรงไว้

ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่ง

และวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุตำแหน่งและคู่มือการประเมินฯ

3) หลักเกณฑ์และวิธีการสับเปลี่ยนหน้าที่ หรือย้ายข้าราชการครู

และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษา หรือตำแหน่งที่มีลักษณะบริหารตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด

4) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสั่งให้ข้าราชการครูและ

บุคลากรทางการศึกษามีหรือเลื่อนวิทยฐานะในเขตพัฒนาพิเศษจังหวัด

ชายแดนภาคใต้ (ปรับปรุงใหม่)

5) หลักเกณฑ์และวิธีการสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษาออกจากราชการ เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง

(มาตรา 110 (5))

6) หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา (มาตรา 59)

Page 63: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

2. การกำหนดและพัฒนา กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ

และแนวปฏิบัติในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา ได้ดำเนินการดังนี้

1) หลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินการด้านการบริหาร

งานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

2) คู่มือการตรวจสอบคำสั่งการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู

และบุคลากรทางการศึกษา

3) หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา เพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ

สถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา

4) หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคล

เข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย

5) แนวปฏิบัติในการนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่ง

ไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีอื่น สำหรับตำแหน่งครูผู้ช่วย และ

ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค. (2)

Page 64: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

6) หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้ง

ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

7) การปรับระบบตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตาม

มาตรา 38 ค. (2) จากระบบเดิมสู่ระบบใหม่ ตามพระราชบัญญัติระเบียบ

ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

8) การกำหนดระดับตำแหน่งและการให้ได้รับเงินเดือนและ

เงินประจำตำแหน่งของบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)

จากระบบเดิมสู่ระบบใหม่ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน

พ.ศ. 2551

9) การคัดเลือกบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2)

ตำแหน่งประเภททั่วไปเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ

10) หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการ

ศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ (กรณีผู้ขอฯ ที่มีผล

การประเมินด้านที่ 3 (ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่) ไม่ผ่านเกณฑ์

ประเมินที่ ก.ค.ศ. กำหนด)

11) หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษา ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เฉพาะ

จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส

Page 65: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

12) หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษาในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา (เฉพาะพื้นที่

อำเภอเทพา สะบ้าย้อย นาทวี และจะนะ) มีวิทยฐานะชำนาญการ

และเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

13) หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ (ว 17/2552)

14) หลักเกณฑ์และวิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

15) การพัฒนาผู้ไม่ได้รับอนุมัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ

ให้ข้าราชการครูมีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ (กรณีผู้ขอ

ปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3

ตามหลักเกณฑ์ใหม่)

16) การจัดทำร่างระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการส่งเสริม

สนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไปศึกษา ฝึกอบรม

ดูงานหรือปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนา

17) ร่างหลักเกณฑ์และวิธีการรับโอนพนักงานส่วนท้องถิ่น

และข้าราชการอื่นมาบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษาตาม ม.38 ค.(2)

18) ร่างหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการครูและ

บุคลากรทางการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

19) พัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและ

บุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ

20) ร่างระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มี

เหตุพิเศษ และครูการศึกษาพิเศษ กรณีเรียนร่วม พ.ศ. ...

21) แต่งตั้งอนุกรรมการข้าราชการครูในเขตพื้นที่การศึกษา

185 คณะ และอนุกรรมการวิสามัญเพื่อดำเนินการในการบริหารงานบุคคล

ของข้าราชการครูและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 1 ครั้ง

Page 66: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

3. การขยายผลระบบทะเบียนประวัติ ก.พ.7 อิเล็กทรอนิกส์

ระบบทะเบียนประวัติ ก.พ.7 อิเล็กทรอนิกส์ของข้าราชการครู

และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของสำนักงาน

ก.ค.ศ. มีมิติของข้อมูลระดับมหภาคที่สมบูรณ์ เป็นปัจจุบันสามารถใช้

สนับสนุนงานการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษาและสร้างเครือข่าย กลไก ระบบการตรวจสอบ กำกับ ติดตาม

การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ในส่วนราชการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานการศึกษา ได้อย่าง

มีคุณภาพ อีกทั้งยังยกระดับคุณภาพการศึกษา การเรียนรู้ทั้งระบบให้ทันสมัย

กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้เริ่มจัดทำระบบทะเบียนประวัติ

ก.พ.7 อิเล็กทรอนิกส์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดย

นำร่องใน 14 เขตพื้นที่การศึกษา สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของข้าราชการครู

ได้ 35,000 คน และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ได้ขยายผลการเก็บ

รวบรวมข้อมูลและพัฒนาระบบทะเบียนประวัติ ก.พ.7 อีก 30 เขตพื้นที่

เก็บข้อมูลเพิ่มอีก จำนวน 65,000 คน รวมเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ จำนวน 100,000 คน

ใน 44 เขตพื้นที่การศึกษา และใช้งบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

จำนวน 28.87 ล้านบาท

Page 67: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

4. การบริหารจัดการความรู้ (KM) สำหรับข้าราชการครูที่มี

ผลการสอนดีเด่น

ด้วยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ

ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 มีเจตนารมณ์ที่จะเน้นพิจารณาความก้าวหน้า

ของการจัดการศึกษาหรือพัฒนาการของผู้เรียน โดยมีกระบวนการที่จะ

นำมาซึ่งคุณภาพการศึกษาที่จะต้องเริ่มต้นจากข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้มีระบบการผลิต การ

พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน

ดังนั้นเพื่อให้จัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ

เกี่ยวกับการบริหารจัดการความรู้ (KM) สำหรับข้าราชการครูที่มีผลงาน

ดีเด่นสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ณ ภูวิวรีสอร์ท จังหวัดนครราชสีมา จากการ

ดำเนินงานได้เอกสารต้นฉบับเกี่ยวกับการจัดการความรู้ สาขาวิชาภาษา

อังกฤษ ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดส่งให้วิทยากรตรวจร่าง เพื่อเตรียมจัดพิมพ์

เผยแพร่ ให้กับข้ าราชการครู ในสถานศึกษาในเขตพื้นที่พิ เศษและ

ข้าราชการครูในโรงเรียนขนาดเล็กในปีงบประมาณถัดไป

Page 68: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�0 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

พัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพ ส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากร ทางการศึกษา 1. การพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้ได้มาตรฐาน

วิชาชีพตามที่คุรุสภากำหนด

โดยจัดทุนการศึกษาสำหรับข้าราชการครูเพื่อศึกษาต่อ จำนวน

521.50 ล้านบาท ซึ่งดำเนินงาน ใน 2 ลักษณะ คือ

1) พัฒนาครูที่จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีให้มีคุณวุฒิ

ปริญญาตรีทางการศึกษา โดยให้ศึกษาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

8 สาขาวิชาเอก ศึกษาในสถาบันพลศึกษาและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

แห่งละ 1 สาขา

2) พัฒนาครูที่จบปริญญาตรีสาขาอื่นที่ไม่ใช่ทางการศึกษา ให้มี

คุณสมบัติประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู โดยศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา

69 สถาบัน

Page 69: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�1180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

2. การพัฒนาระบบการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา

โดยร่างหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา รวม 3 หลักเกณฑ์ คือ

1) หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนวิทยฐานะโดยใช้ระบบ e-Training

2) หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา

3) หลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่าง

เข้มข้น

Page 70: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

3. การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ครูและบุคลากร

ทางการศึกษา

ภายใต้หลักนิติรัฐ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ สกสค. จำเป็นต้องรู้

และเข้าใจหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิต

ประจำวัน ซึ่งปัจจุบันข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษายังประสบ

ปัญหาความไม่รู้ข้อกฎหมาย ขั้นตอนและวิธีการตามที่กฎหมายกำหนด

ก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องวินัยและการรักษาวินัย และหรือถูกดำเนินคดีอาญา-

แพ่ง โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพื่อดำเนินการให้มีการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพ

ของครูและบุคลากรทางการศึกษา จึงได้จัดทำโครงการเผยแพร่ความรู้

ทางกฎหมายขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางกฎหมาย ให้ความช่วยเหลือ

ทางกฎหมายแก่ครู บุคลากรทางการศึกษา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

ดำเนินการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม 1,363 คน โดยได้รับ

การสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 5.96 ล้านบาท สำหรับปีงบประมาณ

พ.ศ. 2554 และปีต่อ ๆ ไปจะจัดอบรมให้ได้อย่างน้อยปีละ 3,000 คน

Page 71: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

8 นโยบายข้อที่

เพื่อให้สนองตอบต่อการแก้ ไขปัญหาการขาดแคลน ครูคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ โดยส่งเสริมให้สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ สถาบันระหว่างประเทศ เพื่อการค้าและการพัฒนา เป็นหน่วยงานหลักที่จะบูรณาการองค์ความรู้

สนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

Page 72: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

สนับสนุนองค์ความรู้เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

“...การพัฒนาองค์ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ถือว่า

เป็นนโยบายสำคัญ ที่จะต้องขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาการศึกษา

ของไทยอย่างแท้จริง ขอให้โรงเรียนที่เปิดห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ช่วยกัน

ในการพัฒนาครูทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์...”

รมว.ศธ. วันที่ 2 เมษายน 2553 ที่หอประชุม ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์

จังหวัดนครปฐม

Page 73: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบัน มุ่งเน้นให้นักเรียน

สามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ โดยการใช้เครือข่ายการเรียนรู้

ที่มีอยู่รอบตัว ซึ่งผู้เรียนสามารถลงมือปฏิบัติจริง สามารถสร้าง แลกเปลี่ยน

ถ่ายทอดและกระจายความรู้สู่กันและกันได้อย่างกว้างขวางต่อเนื่อง

ตลอดชีวิต โดยมีผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะแนวทางหรือสนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้เรียน

ได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเรียนการสอน

วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถ

ในการคิดคำนวณ วิเคราะห์ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา เหล่านี้ล้วนเป็น

รากฐานหรือเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ในวิทยาการต่าง ๆ ต่อไป

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงมอบหมายให้ 3 หน่วยงาน

คือ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โรงเรียน

มหิดลวิทยานุสรณ์ และสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา

ร่วมกันพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และ

เทคโนโลยี ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ของประเทศ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ เสริมการเรียนรู้ร่วมกัน โดยผ่าน

กระบวนการและกิจกรรมที่หลากหลาย ดังนี้

Page 74: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

วิจัย พัฒนา และเผยแพร่หลักสูตร สื่อ อุปกรณ์และกระบวนการเรียนรู้ จากผลการศึกษาในระดับชาติ ชี้ให้เห็นว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในทุกช่วงชั้นอยู่ในระดับต่ำ และที่สำคัญ

เมื่อเทียบกับนานาชาติ มาตรฐานการศึกษาของประเทศไทยยังห่างไกลจาก

มาตรฐานนานาชาติ หากมุ่งหวังที่จะพัฒนาเยาวชนไทยให้เป็นพลเมืองที่มี

คุณภาพ มีความรู้ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และตัดสินใจ

ได้โดยใช้ เหตุผล และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง รู้ เท่าทันสังคม

ที่เปลี่ยนแปลง และสามารถแข่งขันได้บนเวทีโลก สสวท. จึงเห็นว่าควรมีการ

ทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์

คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย

และมีความทันสมัย ทัดเทียมกับนานาชาติ พัฒนาสื่อการเรียนรู้ทั้งสื่อ

สิ่งพิมพ์ สื่อดิจิทัลและสื่ออุปกรณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรดังกล่าว โดยมี

ผลการดำเนินงาน ดังนี้

Page 75: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

1. พัฒนา ปรับปรุงหนังสือเรียน คู่มือครู แบบบันทึกกิจกรรม

แบบฝึกทักษะ สื่ออุปกรณ์และสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ จำนวน 137 รายการ

2. พัฒนา สื่อดิจิทัล LO, Mini LO, Storyboard LO, E-book,

Animation Clip, วีดิทัศน์, เว็บไซต์ จำนวน 57 รายการ

3. พัฒนาชุดกิจกรรมศึกษาภาคสนามแบบออนไลน์ (แหล่งเรียนรู้

ภาคตะวันออก) 1 ชุด

4. ส่งเสริมการใช้ ICT ในการเรียนการสอน โดยจัดประกวด

The Geometer’s Sketchpad ระดับประเทศ มีนักเรียนเข้าร่วมประกวด

จากทั่วประเทศ จำนวน 114 ทีม

5. ขยายผลการใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบในโรงเรียน

ทั่วประเทศ ดังนี้

● อบรมหลักสูตรวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบให้ครูพี่เลี้ยงวิชาการ

1 ครั้ง และร่วมกับโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ

ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และโอลิมปิกอบรม

ครูผู้สอนที่มีความสามารถพิเศษ 1 ครั้ง

● สนับสนุนการขยายผลหลักสูตรวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ

ของมหาวิทยาลัยสู่โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 4 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง)

● จัดค่ายวิจัยวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ ครั้งที่ 7 และอุดหนุน

ทุนวิจัย จำนวน 25 ทุน

● จัดประชุมวิชาการ เรื่อง การนำเสนอผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์

โลกทั้งระบบระดับโรงเรียน ครั้งที่ 2 โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวน

228 คน

Page 76: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

พัฒนาครู แล ะบุ คลากรทางการศึกษา เพื่ อยกร ะดั บคุณภาพการ เรี ยนรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี การปฏิรูปการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เพื่อยกระดับ

คุณภาพการเรียนรู้ของเด็กไทยจะต้องให้ความสำคัญสูงสุดต่อการพัฒนา

ศักยภาพครูผู้สอน และการสนับสนุนสถานศึกษาให้มีทรัพยากรการเรียนรู้

ที่จำเป็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามที่กำหนดไว้ในกรอบ

มาตรฐานหลักสูตรของชาติ โดยดำเนินการ ดังนี้

1. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพ

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

กลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีอยู่

เป็นจำนวนมากในสถานศึกษาที่กระจายอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษา 185 เขต

ทั่วประเทศ คือการฝึกอบรมโดยตรงและการอบรมทางไกล โดยใช้สถานศึกษา

ที่เข้มแข็งเป็นฐานและสร้างครูผู้นำเพื่อให้สามารถขยายผลไปยังเพื่อนครู

ในสถานศึกษาอื่น ๆ และส่งเสริมให้ครูผู้นำเหล่านี้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ระหว่างกันเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Teacher Learning Community)

เพื่อการพัฒนาศักยภาพและการขยายผลอย่างยั่งยืน ซึ่ง สสวท. ได้ดำเนินการ

พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้วิธีการและรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลาย

ดังนี้

Page 77: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

1) อบรมครูด้วยระบบทางไกล กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์

คณิตศาสตร์ทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยนำ

หลักสูตรการอบรมครูโดยตรงปีที่ 3 มาปรับปรุงให้เหมาะสมกับวิธีการ

อบรมทางไกล โดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV)

และมีศูนย์อบรมครูในเขตพื้นที่ซึ่งมีครูพี่เลี้ยงทำหน้าที่จัดการ รวมทั้ง

ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ขณะนี้มีครูได้รับการอบรมไปแล้ว จำนวน

1,166 คน

2) ดำเนินการจัดทำสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองประกอบหลักสูตร

การอบรมครูปีที่ 3 ในวิชาชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์

3) พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ผู้สอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

ช่วงชั้นที่ 1-3

2. พัฒนาและส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษ

ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.)

ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการกำลังคนที่มีความรู้ ความ

สามารถด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีจำนวนมาก เพื่อเป็น

กำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทำให้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งรัด

การพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้มี

คุณภาพที่ดี ด้วยการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีในปริมาณและคุณภาพที่สอดคล้องกับความต้องการ เพื่อให้บรรลุ

เป้าหมายของการศึกษา และสอดคล้องกับแนวนโยบายการพัฒนากำลังคน

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพึ่งพาตนเองและเพิ่มสมรรถนะ

การแข่งขันในระดับนานาชาติ โดยได้ดำเนินการ ดังนี้

Page 78: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�0 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

1) พัฒนาศักยภาพ และส่งเสริมครูในโครงการ

1. จัดส่งครู สควค. สมัครคัดเลือกเข้าร่วมโปรแกรม

ภาคฤดูร้อนของเซิร์น (Selection of Thai Teachers and Students To

Participate in CERN’s Summer Student Programme and Physics

High School Teacher) : ได้รับการคัดเลือก จำนวน 2 คน

2. คัดเลือกโครงการวิจัยในชั้นเรียนและสื่อการเรียนการสอน

ของครู สควค. ที่สมควรได้รับเงินอุดหนุน จำนวน 168 ทุน

3. พัฒนาหลักสูตรอบรมครู 2 หลักสูตร

4. ประชุมชี้แจงผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 42 คน

5. พัฒนาครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้ จำนวน

200 คน

2) สนับสนุนทุนการศึกษา สำหรับครูผู้มีความสามารถพิเศษ

ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 2/2552 จำนวน

813 ทุน และจะปรับปรุงทุนทางการศึกษาของนักเรียน นักศึกษา เพื่อจูงใจ

ให้นักเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น

และให้มีผู้รับทุนในแต่ละปีเพิ่มขึ้นด้วย

Page 79: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�1180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

3. พัฒนาและส่งเสริมครูในท้องถิ่นทุรกันดารและโรงเรียน

ด้อยโอกาส

ให้การสนับสนุนและพัฒนาวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์

คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ครูโรงเรียนในท้องถิ่นทุรกันดารและโรงเรียน

ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตน-

ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัด

ชายแดนภาคใต้ เพื่อเพิ่มพูนให้ครูมีความรู้และทักษะในการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ในกิจกรรมดังต่อไปน้ี

1) อบรมครูปฐมวัยจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน

75 คน จาก 30 โรงเรียน

2) พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จาก

5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 4 รุ่น ในวิชาวิทยาศาสตร์และ

คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น มีผู้เข้าร่วม

จำนวน 232 คน

3) ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ จัดอบรมให้กับครูและบุคลากร

ทางการศึกษา เช่น จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์

คณิตศาสตร์ ระดับปฐมวัยและประถมศึกษา เรื่อง Happiness for all in

Learning Science and Mathematics โดยร่วมมือกับมูลนิธิชมรมไทย

อิสราเอล, ประชุมชี้แจงผู้บริหารและอบรมครูแกนนำปฐมวัย เพื่อการ

จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย, อบรมเชิงปฏิบัติการครูและศึกษานิเทศก์

ปฐมวัยภาคใต้, อบรมทักษะปฏิบัติการแก่ครูผู้สอนชีววิทยา จำนวน 121 คน,

อบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพครูผู้สอน โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ จำนวน

32 คน ฯลฯ

Page 80: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

พัฒนาและประเมินมาตรฐานการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตรแ์ละเทคโนโลยี การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเยาวชนของประเทศไทยให้มี

ความรู้ ความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและนำไปใช้อย่างเร่งด่วนตามเป้าหมายของ

ประเทศชาติเพื่อยกระดับการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ

เทคโนโลยีของเยาวชนไทยให้สูงขึ้นในระดับทัดเทียมกับนานาชาติได้

ในอนาคตอันใกล้ ในการยกระดับดังกล่าวจะสัมฤทธิ์ผลได้ถ้าการจัดการศึกษา

ของไทยมีการพัฒนาเครื่องมือวัดผลประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ครูผู้สอน

มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถประเมินผลนักเรียนได้อย่างสอดคล้องและ

ครอบคลุมกับเป้าหมายที่วางไว้ สสวท. ได้ดำเนินการพัฒนาเครื่องมือและ

วิธีการวัดผล ประเมินผลที่ทันสมัยสอดคล้องกับนานาชาติ รวมทั้งพัฒนาครู

ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถอย่างเพียงพอ

ที่จะพัฒนาและใช้เครื่องมือดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการประเมินมาตรฐานครู บุคลากร

ทางการศึกษาและสถานศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

เพื่อเป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการพัฒนานำไปใช้เป็นแนวทาง

ในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาและยกระดับสถานศึกษาให้เข้าสู่

มาตรฐานต่อไป โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้

Page 81: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

1. พัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี จำนวน 3 รายการ ดังนี้

1) ข้อสอบวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

2) แบบทดสอบประเมินสมรรถภาพ วิชาวิทยาศาสตร์และ

คณิตศาสตร์

3) เครื่องมือวัด Metacognition และเครื่องมือวัดจิตวิทยา

ศาสตร์

2. เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการวัดผลประเมินผล โดยจัดอบรม

เผยแพร่เทคนิควัดผลประเมินผลให้กับครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 3 รุ่น จำนวน 280 คน

3. ประเมินและพัฒนาสถานศึกษา โดยมอบรางวัลให้กับ

สถานศึกษาที่ผ่ านการประเมินมาตรฐานสถานศึกษาวิทยาศาสตร์

คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี จำนวน 22 โรงเรียน

Page 82: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

สร้างความตระหนักในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี การส่งเสริมเพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์

จำเป็นต้องมีกิจกรรมที่ส่งเสริมทั้งผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา

ผู้ปกครอง และประชาชน สสวท. จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อให้เยาวชน

ทุกคนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญ และกระตุ้นความสนใจให้รักในการ

เรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี อันจะส่งผลให้เยาวชนไทย

ได้พัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งได้พัฒนาศักยภาพให้เป็น

ขุมพลังในการพัฒนาประเทศและสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้ โดย

มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

1. พัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสาธารณชน ครู และนักเรียนโดย

1) สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่ เอื้อต่อ

การเรียนรู้ตลอดชีวิต 3 แห่ง คือ ศูนย์การเรียนรู้ดาราศาสตร์และธรรมชาติ

วิทยาพื้นที่ภาคตะวันตก ศูนย์ศึกษาดาราศาสตร์ภาคเหนือ และศูนย์ฝึก

อบรมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

2) สนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อการเรียน

การสอนวิทยาศาสตร์ จำนวน 3 แห่ง คือ โรงเรียนโป่งก้อนเส้า จังหวัด

สระบุรี โรงเรียนพลูตาหลวง จังหวัดชลบุรี และโรงเรียนแม่จัน จังหวัด

เชียงราย

Page 83: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบหลากหลายโดย

1) ร่วมกับสถาบันเกอเธ่ สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำ

ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

และบริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด จัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 5

และมีการจัดฉายภาพยนตร์สัญจรทั่วไทยในภูมิภาคต่าง ๆ จำนวน 29 แห่ง

(มหาวิทยาลัย 9 แห่ง และโรงเรียน 20 แห่ง)

2) ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ จัดนิทรรศการสัญจร โดยจัด

นิทรรศการแสดงผลงาน 5 ครั้ง

3. ผลิตและเผยแพร่กิจกรรมผ่านสื่อต่าง ๆ

1) รายการโทรทัศน ์ จำนวน 4 รายการ คือ รายการเรียนรู้

วิทย์ -คณิต กับ สสวท. สถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อการศึกษา (ETV)

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์ เวลา 16.00-17.00 น. จำนวน 8 ชั่วโมง รายการ

เช้าวันเสาร์กับ สสวท. สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

โรงเรียนวังไกลกังวล ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00-12.00 น. จำนวน 12 ชั่วโมง

รายการอบรมครูทางไกล สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ETV วันเสาร์-

วันอาทิตย์ เวลา 13.30-15.00 น. จำนวน 12 ชั่วโมง รายงานพลังคิด

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 วันพฤหัสบดี เวลา 18.14-18.15 น. และ

วันอาทิตย์ เวลาประมาณ 8.00 น. จำนวน 9 ตอน

Page 84: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

2) รายการวิทยุ จำนวน 4 รายการ คือ รายการคุยกันวันละเรื่อง

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย AM 1467 kHz วันจันทร์-

วันศุกร์ เวลา 9.30-9.45 น. จำนวน 20 ตอน รายการความรู้สู่ชุมชน ช่วง

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สถานีวิทยุศึกษากระทรวง

ศึกษาธิการ FM 92 MHz และ AM 1161 kHz วันพฤหัสบดี เวลา 10.00-

11.00 น. จำนวน 4 ครั้ง รายการมีเรื่องมาเล่า ช่วงวิทย์น่ารู้ จาก สสวท.

สถานีวิทยุกรมการพลังงานทหาร AM 792 kHz วันเสาร์ เวลา 12.20-

12.30 น. จำนวน 4 ครั้ง รายการคลื่นลูกใหม่ ช่วง Science for teen

สถานีวิทยุทหารเรือ FM 93 MHz วันอังคาร และวันพฤหัสบดี เวลา

20.00-20.10 น. จำนวน 10 ครั้ง

Page 85: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

พัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี การพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษให้ได้รับการพัฒนา

อย่างกว้างขวาง เพื่อขยายผลการสร้างบรรยากาศในการพัฒนาและส่งเสริม

นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ในระดับ

ประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยดำเนินการ

พัฒนาและส่งเสริมการใช้หลักสูตรและรูปแบบวิธีการจัดการเรียนการสอน

ให้นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ โดยเน้นทักษะ

กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตามปรัชญา

การพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ ซึ่งในขณะนี้ยังมีเยาวชนที่มี

ความสามารถพิเศษอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาและส่งเสริม

อย่างเต็มตามศักยภาพ

ดังนั้น เพื่อให้การสรรหาและพัฒนาเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษ

ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ประสบความสำเร็จและดำเนินงาน

ได้อย่างกว้างขวาง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการขยายเครือข่ายการพัฒนา

และส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดย สสวท. และมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนา

มาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า

กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ร่วมกับสำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการ

การอุดมศึกษา (สกอ.) ดำเนินการจัดทำโครงการการพัฒนาผู้มีความสามารถ

พิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อเป็นการพัฒนา

ฐานกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศต่อไป โดยมี

ผลการดำเนินงาน ดังนี้

Page 86: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

1. พัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์

คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

1) จัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน

ครั้งที่ 5 ผู้เข้าร่วมงานประมาณ 1,200 คน และมีผู้นำเสนอผลงานมากกว่า

200 เรื่อง

2) จัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

นัก เรี ยนทุนโครงการพัฒนาและส่ ง เสริมผู้ มี ความสามารถพิ เศษ

ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้เข้าร่วมจำนวน 192 คน และมีการนำเสนอโครงงานแบบโปสเตอร์และ

แบบบรรยาย 31 เรื่อง

3) คัดเลือกนักเรียนเข้าโครงการ พสวท. ระดับชั้นมัธยมศึกษา

ตอนปลาย จำนวน 60 คน ระดับอุดมศึกษา จำนวน 60 คน

Page 87: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

2. จัดส่งผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

โอลิมปิกระหว่างประเทศ

จัดอบรมคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันคณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 1 เพิ่มเติม จำนวน 2 วิชา คือ

วิชาคณิตศาสตร์และวิชาคอมพิวเตอร์

3. พัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

จัดสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพ

ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยมีนักเรียนที่สมัครสอบ จำนวน 362,239 คน

จาก 198 ศูนย์ทั่วประเทศ มีนักเรียนสอบผ่านการคัดเลือกจำนวน 3,747 คน

โดยได้รับเหรียญรางวัลวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 206 คน (ป.3 จำนวน

103 คน ป.6 จำนวน 103 คน) และการสอบภาคปฏิบัติวิทยาศาสตร์

จำนวน 198 คน (ป.3 จำนวน 100 คน ป.6 จำนวน 98 คน) ทั้งนี้

ได้เตรียมการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียน

ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2553

ตารางสรุปผลการคัดเลือกนักเรียนที่ได้รับเหรียญรางวัล ประจำปี 2552

วิชา/ชั้น นักเรียนที่ได้รับเหรียญรางวัล (คน)

เหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง รวม

คณิตศาสตร์ ป.3 16 36 51 103

คณิตศาสตร์ ป.6 15 36 52 103

วิทยาศาสตร์ ป.3 16 34 50 100

วิทยาศาสตร์ ป.6 16 33 49 98

Page 88: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�0 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

4. พัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ สำหรับผู้ที่มีความ

สามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 2 3 และ 4

1) อบรมหลักสูตรวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ (Earth System

Science : ESS) สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ช่วงชั้นที่ 3) จำนวน 35 คน

2) ประชุมเชิงปฏิบัติการครูผู้สอนสำหรับการพัฒนาและ

ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แบบ

ห้องเรียนพิเศษรุ่นที่ 1 ระยะ 2 จำนวนครูที่เข้าอบรม 975 คน

5. สนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ

ทั้งในและต่างประเทศ ดังนี้

1) ทุนการศึกษา พสวท. ภาคเรียนที่ 2/2552 จำนวน 1,026 ทุน

2) ทุนโอลิมปิก จำนวน 179 ทุน

Page 89: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�1180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

6. พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์

และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียน

มหิดลวิทยานุสรณ์ และสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา

(International Institute for Trade and Development : ITD) ร่วมกัน

ดำเนินการส่งเสริมและสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ โดยจัดทำคลังองค์

ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมุ่งหวังให้เป็นฐาน

ข้อมูลกลางของประเทศในการหาความรู้และข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์

คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และนำไปประชาสัมพันธ์ในงานสมัชชาขับ

เคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง : การสนับสนุนและสร้างองค์

ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 7 มีนาคม

2553 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงาน

และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

Page 90: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

การพัฒนาเพื่อการค้าระหว่างประเทศ นอกจากจะเป็นการจัดและพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายในประเทศ

แล้ว ยังมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ คือ สถาบันระหว่าง

ประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ได้ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาบุคลากร

ในภูมิภาคให้มีความรู้ ความสามารถ เพื่อการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในช่วง

3 เดือน ได้มีการดำเนินการ ดังนี้

1. การฝึกอบรมจัดฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ จำนวน 5 หลักสูตร

มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 398 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ภาครัฐจาก

ประเทศจีน สปป.ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา ไทย และอินเดีย อีกทั้ง

ผู้ประกอบการ SME ผู้บริหารสถาบันเกษตรกร ผู้นำเกษตรกร ผู้ประกอบการ

ด้านการเกษตร ผู้บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่น เป็นต้น หลักสูตรการฝึกอบรม

มีดังนี้

● การฝึกอบรมวิทยากรหลักสูตร Entrepreneurship and

Capacity Building of EMEs

● การอบรมเรื่อง Trade Policy and Development in the

GMS

● การฝึกอบรมหลักสูตรการค้าระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์

การจัดฝึกอบรมหลักสูตร

● การฝึกอบรม “การบริหารจัดการการเกษตรเพื่ออุตสาหกรรม

เกษตรในเวทีการค้าระหว่างประเทศ”

● การจัดฝึกอบรมโครงการค่ายยุววาณิช “การฝึกอบรมความรู้

เรื่องการค้าระหว่างประเทศและการพัฒนาอาชีวศึกษา”

Page 91: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

2. การประชุมสัมมนา ได้จัดประชุมสัมมนา จำนวน 6 ครั้ง

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 338 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ภาครัฐจาก

ประเทศต่าง ๆ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน บรูไน จีน ฮ่องกง สปป.ลาว

มาเก๊า มาเลเซีย พม่า ซามัว ศรีลังกา ไต้หวัน ไทย ทองก้า และเวียดนาม

รวมทั้งผู้ประกอบการภาคเอกชน ในอุตสาหกรรมแอนนิเมชั่นและเกมส์

นักเรียน นักศึกษา ผู้แทนจากองค์การมหาชนหน่วยงานภาครัฐ องค์การ

ระหว่างประเทศและสื่อมวลชน โดยมีการจัดสัมมนา ดังนี้

● จัดงานสัมมนา “ผลกระทบของวิกฤตการณ์การเงินโลก

ปี 2008”

● การสัมมนาระดับภูมิภาค เรื่อง “Trade and Development

for Asian and Pacific Economies”

● การสัมมนา “UN Ideas That Changed the World”

● การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ASEAN Regional

Workshop on “Free Trade Agreements : Towards inclusive trade

policies in post-crisis Asia”

● การจัดสัมมนา “The Challenging Issues under the WTO”

● การจัดสัมมนา “Bio-fuels in Asia : Striking a Balance

between Trade, Agriculture and Energy Policies”

Page 92: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

จากการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมที่หลากหลาย ในช่วง

เวลาที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการสามารถพัฒนาให้เยาวชนไทย มีความรู้

ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาและรักในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีมากขึ้น รวมทั้งได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม

ให้ผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชน มีส่วนร่วม

ในการผลักดันและกระตุ้นความสนใจให้รักในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี อันจะส่งผลให้ เยาวชนไทยได้พัฒนา

ความสามารถและพัฒนาศักยภาพให้เป็นขุมกำลังในการพัฒนาประเทศ

และสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้

Page 93: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

การดำเนินงาน ด้านต่างประเทศ

ร่วมมือนานาชาติ มาตรฐานสู่สากล

Page 94: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

“...ประเทศไทยจะพยายามทำให้ผู้ไม่รู้หนังสือร้อยละ 5 ให้หมดไป

ในจำนวนนี้มีเด็กด้อยโอกาส เด็กชายขอบ และเด็กพิการ ซึ่งรัฐบาล

มีนโยบายที่จะดูแลเด็กกลุ่มดังกล่าวเป็นพิเศษ เช่น เด็กพิการ จะให้เพิ่ม

โรงเรียนร่วมและเด็กพิการเข้าเรียนมากขึ้น รวมถึงการเรียนร่วม

ในโรงเรียนดีประจำตำบลด้วย...”

การประชุมสภารัฐมนตรีศึกษา แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 45 และการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 5 ณ ประเทศฟิลิปปินส์

Page 95: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ของประเทศไทย ในฐานะประธานสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออก

เฉียงใต้ ปฏิบัติหน้าที่ประธานการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 45 ระหว่างวันที่ 26-29 มกราคม 2553

ณ โรงแรม Shangri-La Hotel เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ก่อนจะมีการ

ส่งมอบตำแหน่งดังกล่าวให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของ

ฟิลิปปินส์ ผู้เข้าประชุมวาระนี้ประกอบด้วยหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศ

ต่าง ๆ ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 11 ประเทศ

ดังนี้ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป. ลาว มาเลเซีย พม่า

ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย ติมอร์เลสเต และเวียดนาม

พิธีเปิดการประชุม นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ของประเทศไทย ได้กล่าวถึงความสำคัญขององค์การซีมีโอที่ปัจจุบันก้าวหน้า

อย่างรวดเร็ว มีประเทศสมาชิกและสมาชิกสมทบ รวมทั้งศูนย์ระดับภูมิภาค

เพิ่มมากขึ้น ทั้งยังได้ขยายเครือข่ายความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ

ทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค ทำให้ซีมีโอเป็นองค์กรชั้นนำที่มีบทบาท

สำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และ

วัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ยังมีโครงการ

ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ อาทิ อาเซียน และยูเนสโก เช่น

โครงการจัดการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

10 โครงการ เพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน และเป้าหมาย

การพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติ โครงการความร่วมมือกับ

ประเทศในภูมิภาค ได้แก่ การจัดทำคู่มือการสอนเรื่องการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน ซึ่งจะช่วยส่งเสริม

ศักยภาพครูให้สามารถดำเนินการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Page 96: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

การประชุมสภาซีเมค ครั้งที่ 45 (เต็มคณะ)

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ได้กล่าวถ้อยแถลงในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย โดยได้ย้ำความสำคัญ

ในการส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน

ในภูมิภาค ที่มีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการบรรลุ

เป้าหมายในการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับ

การพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษา เช่น การสอนภาษาอั งกฤษ

วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และการเสริมสร้างทักษะด้าน ICT โดย

ประเทศไทยได้ร่วมกับองค์การซีมีโอและประเทศสมาชิกในการดำเนิน

โครงการจัดการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส “To Reach the Unreached to

Achieve EFA Goals by the Year 2015” โดยรับเป็นประเทศนำในการ

ดำเนินโครงการการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และการศึกษาเพี่อการ

ป้องกัน HIV/AIDS นอกจากนี้ ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเรียนฟรี

เรียนดี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษา โดย

เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนเมษายน 2553 เพื่อจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน

ทุกคน รวมทั้งผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เด็กไร้สัญชาติ ในการปฏิรูปการศึกษา

ของไทย ระหว่างปี 2552-2562 ได้มีการลงทุนเพื่อนำเทคโนโลยี

สารสนเทศมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษา เช่น การสอนทางไกล

รายการ Student Channel เพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้สำหรับนักเรียน

Page 97: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

สาระสำคัญของการประชุม มีดังนี้

● รับทราบการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ของประเทศสมาชิก ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ประเทศมาเลเซีย ได้แก่ Tan Sri Muhyiddin bin Mohd Yassin รัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงศึกษาธิการประเทศไทย ได้แก่ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ

และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประเทศอินโดนีเซีย ได้แก่ Prof.

Dr. Ir H. Mohammad Nuh

● เห็นชอบบันทึกข้อตกลงกลไกการดำเนินการ และข้อกำหนด

เกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพครู และ

บุคลากรทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษา ณ ประเทศ

อินโดนีเซีย

● การแก้ไขวาระการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ

ซีมีโอระยะเวลา 3 ปี โดยไม่สามารถขยายเวลาออกไปได้อีก นอกจาก

คณะกรรมการบริหารของซีมีโอหรือการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของซีมีโอ

จะพิจารณาเป็นอย่างอื่น

● การแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์วิทยา จีระเดชากุล เป็นผู้อำนวยการ

สำนักเลขาธิการซีมีโอ ซึ่งจะดำรงตำแหน่งในวันที่ 1 เมษายน 2554

ระยะเวลา 3 ปี สืบต่อจาก Dato’ Dr. Ahamad bin Sipon ซึ่งจะพ้น

ตำแหน่ง ในวันที่ 31 มีนาคม 2554

● ผลการสำรวจการขยายศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอ และ

ข้อเสนอแนะว่าศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอต้องเป็นศูนย์ที่มีความชำนาญการ

และมีขอบข่ายเฉพาะแต่ละสาขา โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2563 จะมี

ศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอทั้งสิ้น 22 ศูนย์ เฉลี่ยประเทศละ 2 ศูนย์

● การปรับโครงสร้างของศูนย์ซีมีโอ ทรอปเมด ด้านโภชนาการ

ชุมชน (Regional Centre for Community Nutrition) โดยแยกการดำเนินการ

ออกจาก SEAMEO Regional Centre for Food and Nutrition

(SEAMEO RECFON) และเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์ระดับภูมิภาคด้านอาหาร

และโภชนาการ (SEAMEO RECFON)

Page 98: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�0 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

โครงการและกิจกรรมภายใต้การดำเนินงานของซีมีโอที่สำคัญ ในระหว่างการประชุมฯ ได้มีการหารือเกี่ยวกับการดำเนินงาน

ของซีมีโอ และอนุมัติการดำเนินโครงการที่สำคัญ ดังนี้

● ความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการความร่วมมือการจัด

การศึกษาเพื่อผู้ด้อยโอกาส 10 โครงการ โดยประเทศไทยเป็นประเทศนำ

2 โครงการ คือ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และการศึกษาเกี่ยวกับ

HIV และ AIDS

● โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนาคู่มือครูในการบูรณาการ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

● โครงการการศึกษาภาษาแม่ เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย

ด้านภาษาในประเทศสมาชิกซีมีโอ

● การดำเนินการของศูนย์ไรเฮด ในโครงการ “A Structured

Framework for Regional Integration in Higher Education in

Southeast Asia: The Road towards a Common Space” ในการจัดตั้ง

เครือข่ายการประกันคุณภาพอาเซียน และส่งเสริมการเคลื่อนย้ายนักเรียน

ในภูมิภาค โดยขณะนี้มีการดำเนินการร่วมกับมาเลเซีย-อินโดนีเซีย

ในการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายนักเรียนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

และการประสานความร่วมมือในด้านการอุดมศึกษา

● การส่งเสริมองค์การซีมีโอให้เป็นที่รู้จักในภูมิภาคด้วยการ

สร้าง brand name ซีมีโอ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ซีมีโอเพื่อส่งเสริม

การจัดการของซีมีโอให้มีความเข้มแข็งในภูมิภาคและข้ามภูมิภาค โดย

ประเทศไทยเสนอว่าการดำเนินงานของซีมีโอควรมีการประเมินผล

การดำเนินงานเป็นระยะ โดยเฉพาะการดำเนินงานของศูนย์ระดับภูมิภาค

● ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาเตรียมบุคลากรด้านอาชีวศึกษา

และการรับรองหลักสูตรอาชีวศึกษา โดยเฉพาะมาตรฐานเกี่ยวกับหลักสูตร

ด้านการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมการเคลื่อนย้ายนักเรียนในระดับอาชีวศึกษา

และการยกระดับมาตรฐานอาชีวศึกษาในภูมิภาค

Page 99: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�1180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

การประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียนครั้งที่ 5

Dr. Datu Jesli A. Lapus รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ประเทศฟิลิปปินส์เป็นประธานการประชุม โดยมีรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน

ทั้ง 10 ประเทศ ผู้แทนสำนักเลขาธิการอาเซียน และผู้อำนวยการสำนัก

เลขาธิการซีมีโอเข้าร่วมประชุม ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงาน

และมีมติในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

● รับทราบรายงานการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ระหว่าง

วันที่ 23-25 ตุลาคม 2552 ที่อำเภอชะอำ-หัวหิน ประเทศไทย และ

การรับรองเอกสารโดยผู้นำอาเซียน ประกอบด้วย

1) ปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือ

ด้านการศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน

2) คำแถลงร่วมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

3) แถลงการณ์อาเซียนว่าด้วยการเชื่อมระหว่างกันในอาเซียน

4) ปฏิญญาชะอำ-หัวหิน เนื่องในโอกาสจัดตั้งคณะกรรมาธิการ

ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นทางการ

● รับทราบความก้าวหน้าในการจัดทำแผนปฏิบัติการ 5 ปี

ด้านการศึกษาของอาเซียน โดยสำนักเลขาธิการอาเซียนได้ขอรับ

การสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ 5 ปี ด้านการศึกษา

จากสหรัฐอเมริกาเพื่อจัดจ้างเป็นที่ปรึกษาในการยกร่างแผนปฏิบัติการฯ

โดยพิจารณาจากกิจกรรมของอาเซียน ซีมีโอ เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน

และศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอและให้มีการรายงานผลความก้าวหน้า

ต่อที่ประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 6 ที่ประเทศบรูไนดารุสซาลาม

Page 100: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

การเจรจาทวิภาคีกับ Dr. Gwang-Jo Kim ผู้อำนวยการ

สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพมหานคร

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ได้หารือกับ Dr. Gwang-Jo Kim ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2553 ณ โรงแรม Shangri-La Hotel เมืองเซบู

ประเทศฟิลิปปินส์ สรุปการหารือได้ ดังนี้

● การประสานความร่วมมือกับสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ

ในการจัดทำตัวชี้วัดด้านการศึกษาในภูมิภาค

● ความร่วมมือกับสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ ในการจัดการ

ศึกษาเพื่อปวงชน โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข การพัฒนาครูและ

การประชุมเชิงวิชาการต่าง ๆ

● ประเทศไทยตอบรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม UNESCO-

APEID International Conference ในเดือนตุลาคม 2553

● สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ มีความสนใจขอทราบข้อมูล

เกี่ยวกับโรงเรียน 1 ตำบล 1 ทุน ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือเด็กในชนบท

ห่างไกล และเป็นการยกระดับคุณภาพให้แก่โรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อจะได้

ศึกษาข้อมูลและให้ความช่วยเหลือในโครงการดังกล่าว

Page 101: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

การประชุมระดับสูงด้านการศึกษาเพื่อปวงชน เป็นการประชุม

ที่องค์การยูเนสโกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่การประชุมระดับโลก

ด้านการศึกษา (World Education Forum) ที่กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล

เมื่อปี พ.ศ. 2543 เพื่อเป็นการติดตามความก้าวหน้าของการศึกษา

เพื่อปวงชนในภาพรวมตามกรอบปฏิบัติการดาการ์ ว่าด้วยการศึกษา

เพื่อปวงชนที่กำหนดเป้าหมายในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา

เพื่อปวงชนภายในปี พ.ศ. 2558 และเป็นการยืนยันพันธกรณีในการร่วมมือ

กันดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนให้บรรลุเป้าหมาย พร้อมทั้งระดม

ทรัพยากรในการดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จ โดยถือเป็นการประชุมระดับ

ผู้นำด้านการศึกษาของประเทศสมาชิก ประมาณ 50 ประเทศ ร่วมกับ

หน่วยงานสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง และองค์การระหว่างประเทศด้านการ

พัฒนาต่าง ๆ รวมผู้เข้าประชุมประมาณ 200 คน สำหรับการประชุมครั้งนี้

เป็นการประชุมครั้งที่ 9 จัดขึ้นที่กรุงแอดดิส อบาบา ประเทศเอธิโอเปีย

ระหว่างวันที่ 23-25 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งรัฐบาลเอธิโอเปีย และสหภาพ

แอฟริกา เป็นเจ้าภาพร่วมกับองค์การยูเนสโก

การประชุมระดับสูงด้านการศึกษาเพื่อปวงชน ครั้งที่ 9 ณ ประเทศเอธิโอเปีย

Page 102: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

การประชุมครั้งนี้ คณะผู้แทนประเทศไทย ประกอบด้วย นายชินวรณ์

บุณยเกียรต ิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย

และมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ และสื่อมวลชนของไทย

เข้าร่วมการประชุมด้วย จำนวน 14 คน

สาระสำคัญของการประชุม 1. หัวข้อการประชุม มีหัวข้อหลักที่อภิปรายในการประชุม 2 เรื่อง

คือ ผลกระทบด้านการศึกษาจากวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจ และกลุ่ม

ด้อยโอกาสและการให้การศึกษาที่ครอบคลุมทั่วถึง นอกจากนี้ ได้จัดอภิปราย

ในหัวข้อการร่วมกันช่วยเหลือกรณีภาวะฉุกเฉิน : สถานการณ์ในเฮติ

2. ลักษณะการประชุม

2.1 การประชุมคณะทำงาน ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 เพื่อ

เตรียมการจัดทำร่างปฏิญญาแอดดิส อบาบา พร้อมทั้งกำหนดแนวทาง

การดำเนินการตามปฏิญญาแอดดิส อบาบา เพื่อให้การจัดการศึกษาเพื่อ

ปวงชนบรรลุเป้าหมาย

2.2 การประชุมระดับรัฐมนตรี ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553

นายชินวรณ์ บุณยเกียรต ิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับเชิญ

ให้เป็นผู้เข้าร่วมอภิปรายในหัวข้อ การร่วมกันช่วยเหลือกรณีภาวะฉุกเฉิน :

สถานการณ์ในเฮติ ซึ่งเน้นประสบการณ์ของประเทศไทยในการเร่งให้ความ

ช่วยเหลือด้านการศึกษากับผู้ประสบภัยสึนามิ ซึ่งประเทศไทยได้กล่าวถึงมาตรการ

ที่กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการในช่วงนั้น อาทิ การสนับสนุนการฟื้นฟู

จิตใจให้กับเด็กและเยาวชนที่สูญเสียญาติพี่น้อง การเร่งระดมสร้างอาคารเรียน

การจัดการให้ความช่วยเหลือที่เป็นระบบ ตลอดจนมาตรการระยะยาวที่จะต้อง

บรรจุ เรื่องเกี่ยวกับความรู้ ในการป้องกันภัยพิบัติและการจัดการกรณี

เกิดภัยพิบัติให้กับผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนด้วย

Page 103: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

นอกจากนี้ ในฐานะที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

ระดับสูงด้านการศึกษา ครั้งที่ 10 ในปี พ.ศ. 2554 จึงได้รับเชิญให้กล่าว

สุนทรพจน์ในพิธีปิดการประชุมโดยสรุปได้ว่า ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญ

มาโดยตลอดนับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2533 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการ

ประชุมระดับโลกด้านการศึกษาเพื่อปวงชนที่จอมเทียน ตามกรอบปฏิบัติ

การจอมเทียน โดยมีมาตรการส่งเสริมการศึกษาเพื่อปวงชนมาโดยตลอด

และรัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก โดย

ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อจัดการศึกษาฟรีให้กับประชาชนทุกคนอย่างทั่วถึง

และมีคุณภาพ 15 ปี ทำให้เด็กในชนบทมีโอกาสเข้าถึงการศึกษามากขึ้น

สามารถเข้าเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน

12 ล้านคน

ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

โดยระบุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และ 10

โดยได้ยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อมุ่งสู่สังคมความรู้ เน้นการ

พัฒนาทักษะในการพึ่งตนเองในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง สำหรับการ

ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองนั้น มีเป้าหมายในการสร้างสังคมเพื่อการ

เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพให้คนไทยทุกคน โดยเน้นคุณภาพ โอกาส

และการมีส่วนร่วม ประเด็นสำคัญคือการพัฒนาคุณภาพครูและการเตรียม

นักเรียนให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นการตอบสนอง

ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและแรงงานด้วย

Page 104: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

การหารือเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก นายชินวรณ์ บุณยเกียรต ิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย

ได้มีโอกาสหารือเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับ Ms. Irina Bokova ผู้อำนวยการ

ใหญ่องค์การยูเนสโก Ms.Bokova ได้แสดงความชื่นชมประเทศไทยที่จัด

การศึกษาได้อย่างทั่วถึงจากการที่มีนโยบายการให้การศึกษาฟรีอย่างมี

คุณภาพ 15 ปี ซึ่งตนเองก็เป็นผู้หนึ่งที่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาและ

เมื่อได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนี้ ก็จะยังคงยืนยันที่จะให้ความสำคัญกับการ

ส่งเสริมและให้การสนับสนุนประเทศสมาชิกในการดำเนินการให้บรรลุ

เป้าหมายการศึกษาเพื่อปวงชน ภายในปี พ.ศ. 2558 โดยพร้อมที่จะให้

การสนับสนุนในทุกรูปแบบและจะได้ประสานงานกับองค์กรพัฒนาต่าง ๆ

ในการระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงศึกษาธิการของไทยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และการดำเนินงาน

ของประเทศไทยว่ากำลังอยู่ในช่วงการปฏิรูปรอบสอง ซึ่งมีจุดเน้น 3 ประการ

คือ โอกาสการเข้าถึงการศึกษา คุณภาพการศึกษา และการมีส่วนร่วม

ของทุกภาคส่วน

Page 105: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

การประชุมระดับสูงด้านการศึกษาเพื่อปวงชนถือเป็นการร่วมกัน

แสดงเจตนารมณ์ที่จะเร่งดำเนินการพัฒนาการศึกษาเพื่อปวงชนให้บรรลุเป้าหมาย

ภายในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกได้ร่วมกัน

ทบทวนความก้าวหน้าในการดำเนินงานในแต่ละรอบปี และพิจารณา

แนวทางที่จะดำเนินการในปีต่อไป ทั้งนี้ หลายประเทศได้ประสบกับ

ภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ ทำให้การจัดสรรงบประมาณทางด้านการศึกษา

ลดลง ทำให้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาการศึกษาเพื่อปวงชน ดังนั้นจึงควร

เน้นให้ความสำคัญกับกลุ่มด้อยโอกาสที่พลาดโอกาสเข้ารับการศึกษา

โดยหลายฝ่ายได้ เรียกร้องให้มีการระดมความร่วมมือกันให้มากขึ้น

เพื่อให้การศึกษาเพื่อปวงชนบรรลุเป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้ และ

หากปราศจากความพยายามดังกล่าว คาดว่าในปี พ.ศ. 2558 จะยังคง

มีเด็กที่พลาดโอกาสที่จะเข้ารับการศึกษาในโรงเรียน ถึง 56 ล้านคน โดย

ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกาและเอเชียใต้

ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่าควรจะต้องมีการนำเสนอที่ประชุมที่สำคัญต่าง ๆ ด้วย

เช่น การประชุมทบทวนสหัสวรรษการพัฒนาสหประชาชาติ (Millennium

Development Goals : MDGs) ในเดือนกันยายน 2553 การประชุม

ประเทศ G 8 ที่ประเทศแคนาดา ในเดือนกรกฎาคม 2553 และ

การประชุมประเทศ G 20 ที่ประเทศเกาหลี ในเดือนพฤศจิกายน 2553

Page 106: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1�� 180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “หุ้นส่วนการศึกษาระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnerships in Education)” การประชุมครั้ งนี้ จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างสำนักงาน

เลขาธิการสภาการศึกษาและธนาคารโลก เพื่อนำเสนอมิติใหม่ของหุ้นส่วน

การศึกษาระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยนายชินวรณ์ บุญยเกียรติ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ

เรื่อง “หุ้นส่วนการศึกษาระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private

Partnerships in Education)” ในวันที่ 24 มิถุนายน 2553 ณ โรงแรม

อมารีวอเตอร์เกต กรุงเทพฯ

สำหรับประเด็นเรื่อง “หุ้นส่วนการศึกษาระหว่างภาครัฐและ

ภาคเอกชน” สอดคล้องกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสอง (Economic

Stimulus Package 2) ของรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ

รวมถึงการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมลงทุนโครงการของภาครัฐ

ในรูปแบบของ “หุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน” เพื่อลดข้อจำกัด

ด้านงบประมาณของภาครัฐและขยายการลงทุนด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านการ

ศึกษา อนึ่ง ภาคเอกชนสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ

มีคุณภาพ รวมทั้งยังสามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของรัฐในการจัดการ

ศึกษาค่อนข้างมาก โดยที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายส่งเสริม

การมีส่วนร่วมของเอกชนในการจัดการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้

จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษา

ในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561)

Page 107: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

1��180 วัน ร้อยเรียนรู้ มุ่งสู่การพัฒนา

โดยในวันแรกของการประชุม (24 มิถุนายน 2553) วิทยากรจาก

ธนาคารโลกได้นำเสนอประสบการณ์ใน 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐโคลัมเบีย

และสาธารณรัฐเกาหลี เกี่ยวกับหุ้นส่วนการศึกษาระหว่างภาครัฐและ

ภาคเอกชนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ คูปองการศึกษา การให้ภาคเอกชน

บริหารจัดการโรงเรียนของรัฐ มาตรการจูงใจทางภาษี และการให้เงินกู้

ดอกเบี้ยต่ำ

ส่วนในวันที่สองของการประชุม (25 มิถุนายน 2553) วิทยากร

ชาวไทยและผู้เข้าร่วมสัมมนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันอภิปราย

สนทนาเกี่ยวกับประสบการณ์เรื่องหุ้นส่วนการศึกษาระหว่างภาครัฐ

และภาคเอกชนของประเทศไทย รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและให้

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำประสบการณ์ของนานาประเทศในเรื่องหุ้นส่วน

การศึกษาระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในรูปแบบต่าง ๆ มาปรับใช้

เพื่อบรรเทาภาระด้านงบประมาณของภาครัฐและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการ

พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการบริหารจัดการการศึกษาอย่างมี

ประสิทธิภาพ

Page 108: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

คณะทำงาน

1. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ปรึกษา 2. รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นายวินัย รอดจ่าย) ประธาน 3. นายสกนธ์ ชุมทัพ ประธาน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. 4. นายเชิดศักดิ์ ศรีศักดิ์วิชัย คณะทำงาน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. 5. นางสาวปทุมพร อยู่คง คณะทำงาน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. 6. นายวัฒนชัย จันทร์วีนุกูล คณะทำงาน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. 7. นายพิทยา จิรางกูร คณะทำงาน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. 8. นายสรินท์ ศรีสมพันธุ์ คณะทำงาน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. 9. นางชลธิชา พยัคฆ์พงศ์ คณะทำงาน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. 10. นางเจนจิรา ธัชศฤงคารสกุล คณะทำงาน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. 11. นางสัมพันธ์ แจ่มหอม คณะทำงาน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. 12. นายธวัชชัย เยาว์นุ่น คณะทำงาน สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. 13. นางสาวนงศิลินี โมสิกะ คณะทำงาน สำนักนายกรัฐมนตรี 14. นายบัลลังก์ โรหิตเสถียร คณะทำงาน สำนักงานรัฐมนตรี 15. นายพงศ์ธร พนมสิงห์ คณะทำงาน กลุ่มสารสนเทศ สำนักอำนวยการ สป. 16. นางสาวขวัญเรือน อภิมณฑ์ คณะทำงาน กลุ่มสารสนเทศ สำนักอำนวยการ สป. 17. นายปัญญา บูรณะนันทะสิริ คณะทำงาน กลุ่มสารนิเทศ สำนักอำนวยการ สป. 18. นางเอื้อมพร สุเมธาวัฒนะ คณะทำงาน ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กศน. 19. นางสาวปราณี บุญรัตน์ คณะทำงาน ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กศน.

ศิลปกรรม : เอื้อมพร สุเมธาวัฒนะ ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

Page 109: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา
Page 110: นโยบายข้อที่ - moe.go.th · แบบโครงงาน (Project-Based Learning) หรือการเรียนโดยการแก้ปัญหา

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

สร้างขวัญและกำลังใจคร ู

โรงเรียนดีประจำตำบล

TV