King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang · Web viewการส งเคราะห...

22
กกกกกกกกกกกกกกกกกกกก (methanol synthesis ) ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใ (wood spirit) ใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใ ใใใใใใใใใ ใใใ (BASF) ใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ (ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใ) ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใ 91.15 ใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใ 320-380°C ใใใใใใใใใใ 350 bar ใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใ (ICI) ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใ 50-80 bar ใใใใใใใใใใใ 250-280°C ใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ CO + 2H 2 --> CH 3 OH H = -91.15 kJ/mol CH 3 OH ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใ CO + H 2 O --> CO 2 + H 2 ∆H = -41 kJ/mol ใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใ

Transcript of King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang · Web viewการส งเคราะห...

การสังเคราะห์เมทานอล (methanol synthesis)

ในอดีตเมทานอลเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ที่เกิดจากการกลั่นไม้ (wood spirit) ซึ่งมีปริมาณน้อยมากไม่สามารถผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้ หลังจากนั้นการผลิตเมทานอลในอุตสาหกรรมเริ่มต้นในประเทศ เยอรมัน โดยบริษัท บาฟ (BASF) ซึ่งใช้แก๊สสังเคราะห์เป็นสารตั้นต้น (แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ และไฮโดรเจนการ) ผ่านกระบวนการเคมีความร้อนที่มีการคายความร้อน 91.15 กิโลจูลต่อโมล ที่อุณหภูมิ 320-380°C และความดัน 350 bar ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาโครเมียมออกไซด์ซิงค์ออกไซด์ ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ กระบวนการความดันสูง แต่ในปัจจุบันการผลิตในอุตสาหกรรมนั้นจะใช้เทคโนโลยีของบริษัท ไอซีไอ (ICI) ซึ่งเป็นกระบวนการความดันต่ำ ใช้ตังเร่งปฏิกิริยาคอปเปอร์ซิงค์ออกไซด์ ที่ความดัน 50-80 bar และอุณหภูมิ 250-280°C โดยมีปฏิกิริยาวอเตอร์แก๊สชิฟท์เป็นปฏิกิริยาข้างคียง

CO + 2H2 --> CH3OH H = -91.15 kJ/mol CH3OH ปฏิกิริยาการสังเคราะห์ เมทานอล

CO + H2O --> CO2 + H2 ∆H = -41 kJ/mol ปฏิกิริยาวอเตอร์แก๊สชิฟท์

การสังเคราะห์เมทานอล

http://fossil.energy.gov/images/programs/powersystems/liqphasemethanol_schematic.jpg

การสังเคราะห์ฟิชเชอร์-โทรปซ์ Fischer-Tropsch synthesis

 เป็นกระบวนการความร้อนทางเคมีที่เปลี่ยนแก๊สสังเคราะห์เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ดังแสดงในสมการ ค้นพบครั้งแรกในประเทศเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1920 โดยม่งเน้นที่การผลิตสารประกอบโฮโดรคาร์บอน ที่มีคาร์บอนอะตอม ระหว่าง 10 – 23 คาร์บอนอะตอม ผลิตภัณฑ์นั้นจะเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนผสม เช่น น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด ก๊าซหุงต้ม น้ำมันหล่อลื่น ก๊าซมีเทน และยังได้สารเคมีชนิดอื่นด้วย ได้แก่ แอลกอฮอล์ แอลดีไฮด์ และคีโทน เป็นต้น ที่อุณหภูมิ 220-300 องศาเซลเซียส และความดัน 10-50 บรรยากาศ และตัวเร่งปฏิกิริยาออกไซด์ของโลหะ เช่น โคบอลท์ เหล็ก โดยมีปฏิกิริยาวอเตอร์แก๊สชิฟท์เป็นปฏิกิริยาข้างคียง สารประกอบโฮโดรคาร์บอนที่ได้จากกระบวนการจะผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพและการแยก ต่างๆ ก่อนนำไปใช้งาน เช่น กระบวนการแตกตัวด้วนไฮโดรเจน การกลั่น เป็นต้น

nCO + (2n+1)H2 --> CnH2n+2 + nH2O ∆H = -167 kJ/mol ปฏิกิริยาฟิชเชอร์-โทรปซ์

CO + H2O --> CO2 + H2 ∆H = -41 kJ/mol ปฏิกิริยาวอเตอร์แก๊สชิฟท์

http://saferenvironment.files.wordpress.com/2008/11/ctl.jpg

ฟิชเชอร์-โทรปซ์ เป็นชื่อปฏิกิริยาที่รู้จักดีในการผลิตน้ำมันสังเคราะห์ โดยมี ศาสตราจารย์ ฟรานซ์ ฟิชเชอร์ และ ดร.ฮานซ์ ทรอปช์ (Professor Franz Fischer and Dr.Hans Tropsch) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันเป็นผู้คิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1923 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากความต้องการน้ำมันในการสงคราม โดยใช้วัตถุดิบถ่านหินมาเปลี่ยนเป็นก๊าซสังเคราะห์และนำมาทำปฏิกิริยาเป็นน้ำมันสังเคราะห์ เพื่อใช้ในการทหาร

Professor Franz Fischer and Dr.Hans Tropsch

http://climategate.nl/2012/10/27/voor-aan-de-borreltafel-bluffen-met-schaliegas-en-fischer-tropsch/

การสังเคราะห์ไดเมทิลอีเทอร์ Dimethyl ether synthesis

 แต่เดิมเมทานอลเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตดีเอ็มอี ผ่านปฏิกิริยาดึงน้ำออก หรือปฏิกิริยาดีไฮเดรชัน ซึ่งเป็นกระบวนการ 2 ขั้นตอน หรือการสังเคราะห์ทางอ้อม คือ การสังเคราะห์เมทานอล แล้วจึงนำเมทานอลมาผลิตเป็นดีเอ็มอี โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นกรด เช่น แกมมาอลูมินา ซีโอไลท์ ในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง ที่อุณหภูมิ 280 องศาเซลเซียส ความดันบรรยากาศ อย่างไรก็ตามมีต้นทุนต่อหน่วยในการผลิตสูง เนื่องจากสารตั้งต้นคือ เมทานอลมีราคาสูง

2CH3OH  ---> CH3OCH3  + H2O H = -23.4 kJ/mol CH3OH  การสังเคราะห์จากเมทานอล

ในปัจจุบันกระบวนการผลิตที่ได้รับความสนใจคือ การผลิตดีเอ็มอีโดยตรงจากแก๊สสังเคราะห์ (CO:H2 = 1:1) ผ่านกระบวนการความร้อนเคมี ในเครื่องปฏิกรณ์บนตัวเร่งปฏิกิริยาออกไซด์ของทองแดง สังกะสี และอลูมิเนียม ที่อุณหภูมิ 260 องศาเซลเซียส และความดัน 30 บรรยากาศ มีค่าการเปลี่ยนของแก๊สสังเคราะห์สูงถึงร้อยละ 40 และค่าการเลือกเกิดดีเอ็มอีร้อยละ 90  เทคโนโลยีนี้ได้ผ่านการทดสอบในโรงงานต้นแบบขนาดกำลังผลิต 50 ตันต่อวัน ในประเทศญี่ปุ่น และโรงงานผลิตที่มีกำลังผลิตสูงถึง 100000 ตันต่อปี ที่จังหวัดนิงาตะ เป็นที่สำเร็จแล้ว และหลายประเทศทั่วโลกกำลังสร้างโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีนี้ผลิตดีเอ็มอี

3CO + 3H2  ---> CH3OCH3  + CO2 H = -246.0 kJ/mol CH3OH การสังเคราะห์จากแก๊สสังเคราะห์CO + H2O --> CO2 + H2 ∆H = -41 kJ/mol

http://images.pennwellnet.com/ogj/images/ogj2/9614jki01.gif

การสังเคราะห์แอมโมเนีย (Ammonia synthesis)

เป็นการสังเคราะห์จากแก๊สไนโตรเจนและไฮโดรเจนที่ความดันประมาณ 100-250 บาร์ และอุณหภูมิ 350 - 550 C โดยตัวเร่งปฏิกิริยานิเกิลออกไซด์ เหล็กออกไซด์ เป็นปฎิกิริยาที่เกิดได้ยากและอันตราย พัฒนาขึ้นในช่วงปีค.ศ. 1900s ประเทศเยอรมนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากความต้องการระเบิด เป็นที่รู้จักดีในอีกชื่อคือ กระบวนการฮาเบอร์ (Haber process) โดยนักเคมีชาวเยอรมัน ศาสตราจารย์ ฟริทซ์ ฮาเบอร์ (Professor Fritz Haber)

N2 + 3H2 --> 2NH3 H = -92 kJ/mol

http://www.greener-industry.org.uk/pages/ammonia/6AmmoniaPMHaber.htm

http://keespopinga.blogspot.com/2011/12/fritz-haber-il-maledetto.html

เชื้อเพลิงสังเคราะห์ (Synthetic fuel)

เชื้อเพลิงสะอาดทางเลือก หรือเชื้อเพลิงสังเคราะห์ อาจยังไม่เป็นที่รู้จักนักของคนไทย แต่จริงๆ แล้วเชื้อเพลิงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเรา เช่น เมทานอล ไดเมทิลอีเทอร์ น้ำมันเบนซินสังเคราะห์ น้ำมันดีเซลสังเคราะห์ เป็นต้น เชื้อเพลิงสังเคราะห์เป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตจากแก๊สสังเคราะห์ (แก๊สผสมระหว่างแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์และแก๊สไฮโดรเจน) โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแก๊สสังเคราะห์ที่ได้รับความสนใจในปัจจุบันคือ ชีวมวล เช่น แกลบ ซังข้าวโพด กะลาปาล์ม เศษไม้ เป็นต้น ซึ่งมีอยู่มากโดยเฉพาะประเทศกสิกรรม อย่างประเทศไทย โดยนำชีวมวลมาผ่านกระบวนการแกสิฟิเคชัน ในเครื่องแกสิไฟเออร์ เพื่อเปลี่ยนชีวมวลเป็นแก๊สสังเคราะห์ แล้วนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์ ผ่านกระบวนการฟิชเชอร์-โทรปช์ (Fischer-Tropsch) เพื่อเปลี่ยนโมเลกุลของแก๊สสังเคราะห์ให้เป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ต่างๆ และเมื่อเรานำเชื้อเพลิงสังเคราะห์ไปใช้ เช่น นำน้ำมันดีเซลสังเคราะห์ไปใช้ในรถยนต์ เมื่อเกิดการเผาไหม้ก็จะก่อให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ซึ่งน้ำก็จะก่อให้เกิดฝน ส่วนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะลอยสู่ชั้นบรรยากาศ และถูกพืช และต้นไม้นำมาใช้ในการเจริญ เติบโตเป็นวัฏจักร ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเชื้อเพลิงสังเคราะห์เหล่านี้เป็นพลังงานหมุนเวียนที่ยังยืน และไม่มีวันหมดไปนั่นเอง ดังแสดงในรูป

วัฏจักรชีวิตของเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ยังยืนจากชีวมวล

http://vcharkarn.com/uploads/98/98599.jpg

เทคโนโลยีก๊าซสู่ของเหลว (Gas to Liquid, GTL)

การเปลี่ยนแก๊สสังเคราะห์เป็นเชื้อเพลิงเหลวชนิดต่างๆ ผ่านการสังเคราะห์ฟิชเชอร์ทรอปช์ การสังเคราะห์เมทานอล การสังเคราะห์ไดเมทิลอีเทอร์ และการสังเคราะห์อื่นๆ โดยวัตถุดิบขั้นต้นสำหรับผลิตแก๊สสังเคราะห์ คือ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ชีวมวล เป็นต้น

เทคโนโลยีการเปลี่ยนแก๊สสังเคราะห์เป็นเชื้อเพลิงเหลว (จีทีแอล)

http://vcharkarn.com/uploads/98/98601.jpg

Biomass to Liquid; BTL

การผลิตเชื้อเพลิงเหลวสังเคราะห์จากชีวมวลผ่านกระบวนการแกสิฟิเคชัน (Gasification) ร่วมกับ กระบวนการฟิชเชอร์ทรอปช์ โดยการนำชีวมวล เช่น แกลบ ซังข้าวโพด กะลาปาล์ม ต้นปาล์ม ทรายปาล์ม หรือซากพืชชนิดอื่นๆ มาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตแก๊สสังเคราะห์ผ่านกระบวนการแกสิฟิเคชันและกระบวนการการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยจะทำให้โมเลกุลของแก๊สสังเคราะห์เปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสะอาดและที่ยั่งยืน แตกต่างจากเชื้อเพลิงที่ได้จากน้ำมันดิบที่นับวันจะยิ่งลดน้อยลง และมีราคาที่สูงขึ้น เชื้อเพลิง หรือน้ำมันสังเคราะห์เหล่านี้ สามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำมันปิโตรเลียมได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐาน ทั่งยังก่อให้เกิดมลพิษจากการใช้งานอีกด้วย เนื่องจากปราศจากกำมะถัน มีปริมาณสารประกอบอะโรมาติกต่ำ มีเขม่าน้อย เป็นต้น และมีการคาดการณ์ว่าในอีกไม่เกิน 50 ปีข้างหน้า น้ำมันสังเคราะห์จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะมาทดแทนน้ำมันปิโตรเลียม

รูปที่ 3 เทคโนโลยีการสังเคราะห์เชื้อเพลิงเหลวจากวัสดุชีวมวล

http://newenergyandfuel.com/wp-content/uploads/2008/04/choren-gasification-to-fuel-process.jpg

การรีฟอร์มมีเทน methane reforming

การเปลี่ยนรูปมีเทนเป็นแก๊สสังเคราะห์ หรือแก๊สไฮโดรเจนผ่านการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ไอน้ำ หรือคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อุณหภูมิ 500-1000 องศาเซลเซียส ความดันบรรยากาศ หรือความดันสูงเล็กน้อย (1 – 10 bar) ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลออกไซด์ ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องมี การรีฟอร์มมีเทนด้วยไอน้ำ การรีฟอร์มแบบแห้ง (ด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์) การออกซิเดชันบางส่วน การออโต้เทอร์มอล์รีฟอร์มิ่ง การผลิตไฮโดรเจนจากรีฟอร์มมีเทนด้วยไอน้ำ

CH4 + H2O → CO + 3H2 การรีฟอร์มมีเทนด้วยไอน้ำ

CH4 + CO2 → 2CO + 2H2  การรีฟอร์มแบบแห้ง

CH4 + 1/2O2  → CO + 2H2การออกซิเดชันบางส่วน

2CH4 + 1/2O2 + H2O → 2CO + 3H2 การออโต้เทอร์มอล์รีฟอร์มิ่ง

CH4 + 2H2O → CO2 + 4H2 การผลิตไฮโดรเจนจากรีฟอร์มมีเทนด้วยไอน้ำ

รูปที่ 4 ผังกระบวนการผลิตแอมโมเนียแบบ Steam methane reforming

http://www.window.state.tx.us/specialrpt/energy/renewable/h2.php#exhibit22-2

กระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำ (steam reforming)

กระบวนการรีฟอร์มมิงด้วยไอน้ำ (steam reforming) เป็นกระบวนการที่ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยไฮโดรเจน (Hydrogen) สูงเสียค่าใช้จ่ายน้อย จึงถูกนำมาใช้ในทางการค้าแล้ว หลักการของกระบวนการนี้ คือ การป้อนไอน้ำ (steam) เข้าสู่ระบบเพื่อทำปฏิกิริยากับสารไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในสถานะก๊าซ เช่น ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซชีวภาพ และเอทานอล เป็นต้น โดยไฮโดรเจนจะถูกดึงออกจากไอน้ำ (H2O) และสารไฮโดรคาร์บอน (CH) ส่วนออกซิเจนที่เหลือจากน้ำและคาร์บอนที่เหลือจากไฮโดรคาร์บอนจะรวมตัวกันเป็นก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)

http://202.44.52.249/thaienergynews/EnNewsDetail.aspx?id=15

การหมัก (Fermentation)  

การหมัก (Fermentation)  เมื่อวัตถุดิบที่เป็นแป้งถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาล หรือในกรณีที่ใช้น้ำตาลโดยตรง(Molasses) ตามสมการในรูปที่ 6  เป็นกระบวนการเปลี่ยนจากน้ำตาลกลูโคส (Glucose) ไปเป็นเอทานอล โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ จำพวก ยีสต์ (Yeast) อยู่ในกลุ่ม Saccharomyces ที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสไปเป็นเอทานอล   ยีสต์จะใช้น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือกลูโคสเป็นอาหารและเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นเอทานอล ที่ความเข้มข้นประมาณ 9-12% โดยต้องให้เชื้อยีสต์มีความแข็งแรง จัดสารอาหารและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ให้มีค่า pH  อยู่ระหว่าง 3.0 -5.0  และอุณหภูมิระหว่าง 26-32°C  และมีความเข้มข้นของน้ำตาลในช่วง 16 – 22% โดยปริมาตร ทั้งนี้ระยะเวลาในการผลิตเอทานอล จะขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของยีสต์ที่ใช้        

รูปที่ 6  แสดงกระบวนการหมักแอลกอฮอล์ด้วยวัตถุดิบประเภทแป้งและน้ำตาล

     ในกระบวนการหมักนอกจากได้ผลผลิตเป็นเอทานอลแล้ว ยังมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) เป็นผลพลอยได้ โดยน้ำตาลกลูโคส100 กรัม จะผลิตเอทานอลเฉลี่ย ได้ 51.1 กรัม และคาร์บอนไดออกไซด์ 48.9 กรัม

เทคโนโลยีย่อยสลาย (Digestion)Digestion เป็นการนำขยะประเภทเศษอาหาร เศษผัก และผลไม้ไปหมักในบ่อหมักขยะแบบปิดซึ่งอาจมีรูปแบบถังหมักขยะต่างๆ โดยจะต้องคัดแยกขยะใช้เฉพาะขยะอินทรีย์ผลการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจนจะทำให้สารอินทรีย์ย่อยสลายเปลี่ยนเป็นก๊าชชีวภาพ โดยมีก๊าชมีเทน(CH4) เป็นองค์ประกอบหลัก และสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานได้

รูปที่ 7ถังหมักแบบDigestion

www.ces.kmutt.ac.th/classroom/solarenergy/.../18_EnergyWaste.pptx

coconut มะพร้าว

พืชตระกูลปาล์มที่เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Cocos nucifera var. nucifera พบมากในภาคใต้ ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะสันออกมะพร้าวที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นพันธุ์มนะพร้าวประเภทต้นสูง มีลำต้นใหญ่ เมื่อโตเต็มที่อาจสูงถึง 18 เมตร โดยทั่วไปมะพร้าวเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุประมาณ 5-6 ปี

http://health-care-org.blogspot.com/2012/04/benefits-of-coconut-water.html

กะลามะพร้าว(coconut shell)

กะลามะพร้าว(coconut shell)สามารถทำให้เป็นถ่านหรือคาร์บอนได้ด้วยกรรมวิธีต่างๆ เช่นการเผาในหลุม (Pit Method) การเผาในถังเหล็กเปล่า(Drum Method) และการกลั่นด้วยวิธีย่อยสลายวัสดุ(Destructive Distillation) เป็นต้น

http://coconut-shell-charcoal-technology.blogspot.com/

ข้าวโพด (corn)

ข้าวโพด(corn) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซีเมส์ (Zea mays) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5-2.0 นิ้ว ถิ่นกำเนิดก็คือ ได้มีการขุดพบซังข้าวโพดและซากของต้นข้าวโพดที่ใกล้แม่น้ำในนิวเม็กซิโก (แถบอเมริกาใต้) และปัจจุบันนิยมปลูกแพร่หลายในแถบประเทศไทยสามารถปลูกได้ในสภาพที่ภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ เพราะสามารถนำมาเลี้ยงสัตว์ได้ทั้งต้น ใบ และเมล็ด

www.dld.go.th 

ซังข้าวโพด (Cob Maize)

ได้จากกระบวนการสีข้าวโพดเพื่อนำเมล็ดข้าวโพดออกจากฝักข้าวโพดซังข้าวโพดสามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงด็โดยตรง ให้ค่าความรอนสูงเมื่อเปรียบเทียบกับชีวมวลชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการเผาเป็นถ่านแล้วอัดเป็นก้อนถ่านอัดแท่ง

http://www.greenenergynet.net/tec_Biomass.html

http://www.charcoal.snmcenter.com/charcoalthai/business4.php

ลำต้น (Corn stalk)

ต้นข้าวโพดมีลักษณะแข็งและตัน ไม่มีกิ่งก้านด้านข้าง ส่วนใหญ่มักจะไม่มีการแตกกอ ยกเว้นข้าวโพดบางพันธุ์ที่อาจแตกกอได้ 3-4 ต้น ลำต้นจะประกอบด้วยข้อ (node) และปล้อง (internode) สลับกัน ปล้องที่อยู่ด้านล่าง ๆ จะใหญ่และสั้นกว่า ปล้องที่อยู่เหนือขึ้นมาบนปล้องจะมีร่องลึก (groove) ซึ่งเกิดจากรอยกดของตาที่มุมใบ ในขณะที่ปล้องกำลังอยู่ในระยะยืดตัว ปลายยอดสุดของลำต้นจะเป็นที่เกิดของช่อดอกตัวผู้ ความสูงของลำต้นข้าวโพดจะแปรไปตามพันธุ์และสภาพแวดล้อมในการเพาะปลูก

http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%94%20%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99&source=web&cd=28&cad=rja&ved=0CFMQFjAHOBQ&url=http%3A%2F%2Fwww.agri.ubu.ac.th%2F~kanjana%2F1203321%2FData%2Fmaize.doc&ei=YGRwUf3JLcnrrQfq_IDYCQ&usg=AFQjCNF5mebH2xNpLydCzznPIE6biQXTIw&bvm=bv.45373924,d.bmk

http://tankmo.com/variety.php?id=7724&cat=20&sub=%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99

ถั่วเหลือง (Soybean)

ถั่วเหลือง (อังกฤษ: Soybean;ชื่อวิทยาศาสตร์: Glycine max (L.) Merrill) เป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว ถั่วเหลืองของไทยส่วนมากปลูกแถบภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน ถั่วเหลืองเป็นเมล็ดพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นแหล่งที่ดีของไขมันและโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เมล็ดถั่วเหลืองมีหลายขนาดและหลากหลายสีรวมถึงสีดำ สีน้ำตาล สีฟ้า สีเหลืองเปลือกถั่วเหลืองที่แก่แล้วจะแข็งแรงทนต่อน้ำ ถ้าส่วนห่อหุ้มเมล็ดแตก

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Glycine_max_003.JPG

หญ้าเนเปียร์(Napier grass)

หญ้าเนเปียร์(Napier grass) เป็นพืชพลังงานที่ได้รับความสนใจในการนำมาผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายในหลายพื้นที่ของประเทศ มีผลผลิตสูงถึง 70-80 ตันต่อไร่ต่อปี สามารถเก็บเกี่ยวได้ราวๆ5-6 ครั้งต่อปี และในการปลูก 1 รอบ ยังสามารถเก็บเกี่ยวได้นานถึง 5 ปี ก่อนที่จะต้องไถพรวนเพื่อลงต้นกล้ารอบต่อไป สำหรับต้นทุนในการปลูกเฉลี่ยเพียง 7,000 บาทต่อไร่ต่อปี(ที่มา:ข่าวสารพืชอาหารสัตว์, กองอาหารสัตว์ 2548 )โดยไม่รวมค่าที่ดินและคิดที่เก็บเกี่ยว 5 รอบ/ปีซึ่งเทียบเท่ากับ 0.1 บาทต่อกก.หญ้าสด หรือ 100 บาทต่อตันหญ้าสด และมีศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพสูงถึง 100 ลบ.ม.ต่อตันหญ้าสดหรืออีกนัยหนึ่งมีศักยภาพในการผลิตก๊าซCBG ได้ประมาณ 45 กก.ต่อตันหญ้าสด

http://www.google.co.th/search?q=napier+grass+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&hl=th&bav=on.2,or.r_qf.&bvm=bv.45373924,d.bmk&biw=1366&bih=673&um=1&ie=UTF-8&tbm=isch&source=og&sa=N&tab=wi&ei=GmtwUcnUJ4f5rQfphYCIDQ#imgrc=WtYe8ynjjhbi0M%3A%3BriqkPCoF3lr_SM%3Bhttp%253A%252F%252Fsmallbusinesspost.files.wordpress.com%252F2010%252F06%252Fwp-napier-grass.jpg%3Bhttp%253A%252F%252Fsmallbusinesspost.wordpress.com%252F2010%252F06%252F25%252Fgrass-shredding-machin-for-farm-use%252F%3B703%3B529