file.siam2web.comfile.siam2web.com/drball/files[document]/articlspec... · Web viewข อม...

64
กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกก 1 กกกกกกกกกกกกกก กกกกกกก บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ กกกกกกกก บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบ บบบบบบบบ บบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ กกกกกกกกกกกกกกกกก บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบ บบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ (Quantitative Research) บบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบ บบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ (Statistic Analysis) บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ (Qualitative Research) บบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบบ บบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ (Interpretative 1 | Page

Transcript of file.siam2web.comfile.siam2web.com/drball/files[document]/articlspec... · Web viewข อม...

การทำวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

บทที่ 1 นิยามและแนวทาง

ความนำ

บทนี้มุ่งเน้นสร้างความเข้าใจถึงความหมายของการวิจัย แนวทางในการทำวิจัย วิธีการศึกษาแบบอุปนัยและนิรนัย และความหมายของคำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทบทวนวรรณกรรมในการวิจัย

ความหมาย

การวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คือ การศึกษา ค้นคว้า และทำความเข้าใจต่อข้อเท็จจริง ประเด็นคำถามที่ได้กำหนดขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองอย่างเป็นระบบ

แนวทางการทำวิจัย

การทำวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มีวิธีการค้นหาคำตอบเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง การบริหารราชการ และปัญหาทางสังคมหลายแนวทาง ได้แก่

การศึกษาในเชิงปริมาณ (Quantitative Research) คือ การศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยไม่มุ่งเน้นถึงรายละเอียดที่เจาะลึก ซึ่งอาศัยข้อมูลที่เป็นตัวเลข และใช้วิธีการทางสถิติ (Statistic Analysis) มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาคำตอบหรืออธิบายปรากฏการณ์ และรวมถึงการทดสอบแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ

การศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) คือ การศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยให้ความสนใจต่อรายละเอียดเชิงลึกของข้อเท็จจริง ซึ่งอาศัยวิธีการตีความข้อมูล (Interpretative Analysis) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์จึงขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ศึกษาเป็นสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันสามารถสร้างแนวคิด ทฤษฎี หรือข้อสรุปทั่วไปไปพร้อมๆ กันได้

การศึกษาในรูปแบบผสม (Mix Methodological Research) คือ การศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยให้ความสนใจต่อรายละเอียดเชิงลึกของปรากฏการณ์ จึงใช้วิธีการทั้งทางสถิติและวิธีการตีความเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งวิธีการแบบนี้เป็นการเปรียบเทียบผลการข้อมูลทั้งในเชิงประจักษ์ที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการตามแนวทางปฏิฐานนิยม (Positivism) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกที่ผ่านวิธีการตีความ (Hermeneutic) ซึ่งจะทำให้ได้ข้อสรุปที่ละเอียดลึกซึ้งขึ้นและลดอคติในการศึกษา

วิธีการศึกษาแบบอุปนัยและนิรนัย

อุปนัย และ นิรนัย มาจากภาษาบาลี ใช้แทนคำว่า “Induction” และ “Deduction” ตามลำดับ ซึ่งอาจแยกศัพท์ได้ว่า อุปะ + นัย = อุปนัย และ นิระ + นัย = นิรนัย 

อุปะ แปลว่า เข้าไป

นิระ แปลว่า ออกไป

โดยทั้งสองคำนี้ เป็นอุปสัคใช้นำหน้ารากศัพท์ “นัย” มาจากรากศัพท์ว่า “นี” แปลว่า นำไป และเมื่อรวมกันก็มีความหมาย ดังนี้

อุปะ + นัย = อุปนัย แปลว่า การนำเข้าไป

นิระ + นัย = นิรนัย แปลว่า การนำออกมา

วิธีการศึกษาแบบอุปนัย (Induction) คือ การศึกษาที่เป็นการรวบรวมความจริงจากพื้นที่ต่างๆ ผ่านการตีความหลักฐานจากประสบการณ์ โดยมีหลักการสำคัญคือการเริ่มต้นจากการศึกษาประเด็นย่อยๆ ไปหาประเด็นใหญ่ เพื่อสรุปเป็นแนวคิด ทฤษฎี และข้อสรุปทั่วไป ดังนั้นวิธีการนี้จึงเป็นการมองแบบ “Outside In” ซึ่งมักทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เพราะข้อสรุปทั่วไปที่เกิดขึ้นสามารถนำไปสู่การพัฒนาเพื่อสร้างทฤษฎีต่อไปได้

วิธีการศึกษาแบบนิรนัย (Deduction) คือ การศึกษาที่เป็นการรวบรวมความจริงจากการ อาศัยหลักฐานจากความรู้เดิม ได้แก่ หลักการ ข้อสรุปทั่วไป แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการใช้เหตุผลที่เริ่มจากการศึกษาจากสิ่งที่ได้รับการยอมรับแล้วไปสู่การแสวงหาคำตอบในประเด็นย่อยๆ วิธีการนี้จึงเป็นการมองแบบ “Inside Out” โดยมักไม่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เนื่องจากเน้นการพิสูจน์ทฤษฎีมากกว่า

จากที่กล่าวมานี้ทำให้มองเห็นว่า วิธีการศึกษาแบบอุปนัย (Induction) สอดคล้องกับการศึกษาในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีการศึกษาแบบนิรนัย (Deduction) สอดคล้องกับการศึกษาในเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

ความหมายของหลักการ ข้อสรุปทั่วไป แนวคิด ทฤษฎี และกฎ

หลักการ หมายถึง สาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ

ข้อสรุปทั่วไป (Generalization) หมายถึง การลงความเห็นที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลต่างๆ

แนวคิด (Concept) หมายถึง ความคิดหรือสิ่งที่คิดขึ้นจนเป็นแนวทางในการศึกษา

ทฤษฎี (Theory) หมายถึง ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ

กฎ (Law) หมายถึง ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้

การทำวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

บทที่ 2 ขั้นตอนการทำวิจัย

ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร

ขั้นตอนการวิจัย

การทำวิจัยมีกระบวนการที่สำคัญ 8 ขั้นตอน ได้แก่

1.ขั้นกำหนดประเด็นปัญหา เป็นการทำให้ทราบถึงประเด็นที่จะทำการศึกษาและสามารถกำหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษาได้

2.ขั้นสำรวจแนวคิดและทฤษฎีอันเกี่ยวข้องกับประเด็นที่จะศึกษา โดยจะทำให้เราสามารถทราบถึงตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent Variables) เช่น ถ้าอยากทราบว่าปัจจัยใดที่จะทำให้ปัจเจกชนเป็นชนชั้นนำได้นั้น ก็อาจใช้แนวคิดของ Weber มาเป็นฐานความคิด โดยจะพบว่ารากฐานของอำนาจที่สำคัญก็คือ ฐานอำนาจบารมี (X1) ประเพณี (X2) และกฎหมาย (X3) จากนั้นจึงเอาทั้ง 3 ประเด็นนี้มากำหนดเป็นตัวแปรอิสระ โดยให้ “การเป็นผู้นำทางการเมือง” เป็นตัวแปรตาม (Y) ในขั้นนี้จึงสามารถนำเอาตัวแปรเหล่านี้ไปกำหนดเป็นสมมติฐานในการศึกษาได้

ทั้งนี้การทบทวนวรรณกรรม หรือแนวคิดทฤษฎีนี้ยังทำให้สามารถนิยามเชิงปฏิบัติการ (Operating Definition) ได้ ซึ่งหมายถึงการทำให้การกำหนดตัวแปรดังกล่าวข้างต้นมีความชัดเจนมากขึ้น กระทั่งสามารถที่จะสร้างตัวชี้วัดไปพร้อมๆ กันด้วย

3.ขั้นเลือกรูปแบบวิจัยและการกำหนดสมมติฐาน จากขั้นที่ 2 ดังที่กล่าวมาแล้ว จะพบว่าผู้วิจัยจะได้ตัวแปรมาจากการทบทวนวรรณกรรม ซึ่งสามารถนำไปใช้กำหนดสมมติฐานสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ได้ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) อาจไม่มีสมมติฐานก็ได้ เพราะมุ่งหาคำอธิบายปรากฏการณ์ที่ศึกษาเป็นสำคัญ ด้วยการพรรณาปรากฏการณ์นั้นๆ

ตัวอย่างแรก สมมติฐานการวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่อง “การสร้างภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์” เช่น กำหนดให้ฐานอำนาจบารมี ประเพณี และกฎหมายเป็นตัวแปรต้น และภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นตัวแปรตาม ซึ่งกำหนดสมมติฐานได้ดังนี้

“ฐานอำนาจทั้ง 3 ประการได้แก่ บารมี ประเพณี และกฎหมาย มีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์”

ตัวอย่างต่อมา สมมติฐานการวิจัยเชิงปริมาณ เรื่อง “ทัศนคติของประชาชนต่อการสร้างฐานอำนาจทางการเมืองของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์” เช่น กำหนดให้ปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชน ได้ เพศ เป็นตัวแปรต้น และมีฐานอำนาจทั้ง 3 ประการได้แก่ บารมี ประเพณี และกฎหมาย เป็นตัวแปรตาม ซึ่งกำหนดสมมติฐานได้ดังนี้

สมมติฐานที่ 1 ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกันมีทัศนคติต่อการสร้างฐานอำนาจบารมีของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์แตกต่างกัน

สมมติฐานที่ 2 ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกันมีทัศนคติต่อการสร้างฐานอำนาจประเพณีของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์แตกต่างกัน

สมมติฐานที่ 3 ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกันมีทัศนคติต่อการสร้างฐานอำนาจกฎหมายของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์แตกต่างกัน

4.ขั้นกำหนดกลุ่มประชากรเป้าหมายและการสุ่มตัวอย่าง โดยข้อสังเกตสำคัญประการหนึ่ง กล่าวคือ ถ้ามีประชากรไม่มากนัก ก็ไม่จำเป็นต้องสุ่มตัวอย่าง สามารถศึกษาจากประชากรทั้งหมดได้ โดยเฉพาะในงานวิจัยเชิงปริมาณ แต่ในกรณีของงานวิจัยเชิงคุณภาพ หากพบว่ามีจำนวนประชากรมาก ก็จำเป็นต้องกำหนดกลุ่มตัวอย่างสำหรับการสัมภาษณ์ โดยเลือกเฉพาะผู้ที่สามารถให้ข้อมูล (Key Informant) ที่เป็นประโยชน์ต่อการวิจัยเท่านั้นได้

5.ขั้นการสร้างเครื่องมือ เป็นขั้นที่แปลงแนวคิดทฤษฎีในเชิงนามธรรมมาเปลี่ยนแปลงให้เป็นรูปธรรม โดยการวิจัยเชิงปริมาณจะใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview Form) โดยมีข้อสังเกตว่าการสร้างข้อคำถามนั้นควรตั้งอยู่บนรากฐานการนิยามศัพท์ที่กำหนดไว้ก่อนหน้า ซึ่งจะทำให้ข้อคำถามต่างๆ มีความครอบคลุม ชัดเจน และสอดคล้องกับคำถามที่แฝงอยู่ในวัตถุประสงค์

ตัวอย่างแบบสอบถาม

1. ฐานอำนาจบารมี เช่น

ก.1 ท่านคิดว่า ตำแหน่งอดีต ผบ.ทบ. และ ผบ.สส.มีผลทำให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อย่างชอบธรรม

ก.2 ท่านคิดว่า นายแดงไม่สามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้เพราะไม่มีใครเชื่อถือ

2. ฐานอำนาจประเพณี เช่น

ข.1 ท่านคิดว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้อย่างชอบธรรม เพราะเป็นรุ่นพี่โรงเรียนนายร้อย จปร.

ข.2 ท่านคิดว่า รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีอำนาจการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

3. ฐานอำนาจกฎหมาย เช่น

ค.1 ท่านคิดว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ บริหารประเทศได้อย่างชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญปี 49 ที่ให้อำนาจตนเอง

ค.2 ท่านคิดว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ใช้อำนาจปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบได้อย่างชอบธรรมตามประกาศกฎอัยการศึก

ตัวอย่างแบบสัมภาษณ์

1. ฐานอำนาจบารมี เช่น ท่านคิดว่า คมช.เชิญท่านมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะท่านมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลสำคัญระดับชาติใช่หรือไม่ อย่างไร

2. ฐานอำนาจประเพณี เช่น ท่านคิดว่า พล.อ.สนธิ เชิญท่านมาเป็นนายกรัฐมนตรีในฐานะรุ่นพี่โรงเรียนนายร้อย จปร. ใช่หรือไม่ อย่างไร

3. ฐานอำนาจกฎหมาย เช่น ท่านคิดว่า ท่านมีอำนาจได้เพราะ คปค.ช่วยฉีกรัฐธรรมนูญปี 40 แล้วเขียนรัฐธรรมนูญปี 49 ที่ให้อำนาจตนเอง ใช่หรือไม่ อย่างไร

6.ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของการวิจัย ซึ่งแสดงออกผ่านทางเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล หากเป็นการวิจัยเชิงปริมาณก็สามารถนำแบบสอบถามไปใช้ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพก็อาจใช้ทั้งการศึกษาผ่านทางเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ เป็นต้น

7.ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการศึกษา ถือเป็นขั้นตอนของการเอาข้อมูลที่ได้มาแยกแยะข้อเท็จจริงที่แฝงเร้นอยู่ในปรากฏการณ์ จากนั้นจึงสังเคราะห์ข้อมูลที่จัดจำแนกแล้วนั้นกับแนวคิด ทฤษฎีที่ได้ทบทวนวรรณกรรมมาแล้ว จึงสรุปผลการวิจัย และนำมาถ่ายทอดด้วยการเขียนรายงานการวิจัยต่อไป

8.ขั้นการเขียนรายงานวิจัย ขั้นตอนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญต่อการนำเสนองานวิจัยให้ผู้สนใจได้รับทราบต่อไป ข้อสังเกตในการเขียนงานวิจัยนั้นพบว่า ประการแรกควรหลีกเลี่ยงการใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 และ 2 ประการที่สอง ควรยึดรูปแบบการนำเสนอให้สอดคล้องกับสถานการศึกษาหรือหน่วยงานที่ให้ทุนในการวิจัย ประการที่สาม ควรแบ่งบทในการนำเสนอให้มีจำนวนหน้าอย่างเหมาะสม ประการที่สี่ ควรระมัดระวังระบบการอ้างอิงเพื่อขจัดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์

การทำวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

บทที่ 3 หลักการเลือกหัวข้อวิจัย

ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร

หลักการเลือกหัวข้อวิจัย

1.เป็นประเด็นปัญหาทางสังคมและการเมือง เช่น ยาเสพติด ความยากจน

2.เป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจ เช่น การใช้ความรุนแรงของผู้ชุมนุม

3.เป็นเรื่องข้อกังขาหรือข้อสงสัยของผู้วิจัยเอง เช่น พฤติกรรมการคอร์รัปชันของนักการเมืองมีสาเหตุจากอะไร หรือมีอะไรเป็นแรงจูงใจ

4.เป็นการทดสอบและการท้าทายทฤษฎีที่มีอยู่ หรือต้องการสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมา เช่น การท้าทายแนวคิดฐานอำนาจของ Weber ว่ามีเพียงฐานอำนาจ บารมี ประเพณี และกฎหมาย เท่านั้นหรือไม่

5.เป็นเรื่องที่อยากรู้หรือสนใจ

แนวทางการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

1.ควรเขียนเชื่อมโยงจากประเด็นกว้างๆ แล้วค่อยๆ เจาะลึกลงในประเด็นที่เป็นปัญหาซึ่งกำลังจะศึกษา

2.สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ เช่น ตารางข้อมูล แนวคิด หรือคำให้สัมภาษณ์ที่อ้างอิงได้ ฯลฯ มาประกอบการเขียนได้

3.ควรเขียนให้กระชับและได้ใจความ ไม่วกไปวนมา

4.สามารถเขียนถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการศึกษาไว้พอสังเขปได้

5.ต้องเขียนให้สอดคล้องกับชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์

การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.ต้องมีความชัดเจนและสอดคล้องกับชื่อเรื่องและประเด็นปัญหา

2.สามารถนำมาแสวงหาคำตอบได้ โดยผ่านการทดสอบจากตัวชี้วัดที่ถูกกำหนดขึ้นมาและ/หรือสามารถพิสูจน์เพื่อสร้างคำอธิบายต่อปรากฏการณ์ที่ศึกษาได้

3.สามารถศึกษาได้ตามระยะเวลาที่คาดการณ์ไว้

สมมติฐานการวิจัย

1.มีความกระชับ ชัดเจน และมีตัวชี้วัด (โดยตัวชี้วัดนี้มักมาจากการทบทวนวรรณกรรม/แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง)

2.ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และตอบประเด็นปัญหาอย่างครบถ้วน

ขอบเขตการวิจัย ข้อจำกัดการวิจัย และข้อตกลงเบื้องต้น

1.ผู้วิจัยสามารถระบุขนาดพื้นที่ จำนวนกลุ่มประชากร และช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา

2.ผู้วิจัยสามารถระบุรายละเอียดของปัญหาหลักๆ ที่จะศึกษา เพราะในบางงานวิจัยอาจมีหลายปัญหาที่จะต้องศึกษา แต่ผู้วิจัยไม่อาจทำได้ทั้งหมดภายในการศึกษาครั้งนี้ ก็สามารถระบุเฉพาะประเด็นที่ต้องการศึกษาได้เช่นกัน

3.ผู้วิจัยสามารถระบุเงื่อนไขบางประการที่จะใช้เป็นข้อตกลงสำหรับการศึกษา เช่น การใช้ชื่อบุคคลสมมติสำหรับผู้ให้ข้อมูลบางกลุ่มที่ไม่สามารถเปิดเผยชื่อจริงได้

การนิยามศัพท์

การนิยามศัพท์ คือ การให้หรืออธิบายความหมายของคำศัพท์ต่างๆ ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ โดยพบข้อสังเกตว่าการนิยามศัพท์ที่ดีต้องมีความชัดเจนและสามารถแปลงออกไปสู่การวัดผลได้ ซึ่งหมายถึงสามารถสร้างตัวชี้วัดเพื่อมาประเมินข้อเท็จจริงจากปรากฏการณ์ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมออกมาได้ เพราะฉะนั้นการจะได้ความหมายเพื่อการนิยามศัพท์ที่ชัดเจนจึงต้องผ่านการทบทวนวรรณกรรม ซึ่งหมายถึงการสำรวจแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยต่างๆ ไว้อย่างครบถ้วนและรอบด้านแล้ว ขณะเดียวกันคำศัพท์ที่ได้นิยามแล้วจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการแปลงไปสู่ข้อคำถามต่างๆ ในแบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์ได้ต่อไป

การทำวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

บทที่ 4 การทบทวนวรรณกรรม

ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร

ความหมาย

การทบทวนวรรณกรรม คือ การศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการวิจัย ซึ่งเป็นได้ทั้งแนวคิด ทฤษฎี และรวมถึงงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นได้ทั้งข้อมูลในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพก็ได้

ประโยชน์ของการทบทวนวรรณกรรม

1.ช่วยให้ผู้วิจัยเข้าใจแนวทางในการศึกษามากขึ้น เนื่องจากแนวคิด ทฤษฎี และรวมไปถึงงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจะให้ข้อมูลเบื้องต้นว่าเรื่องที่กำลังจะศึกษาอยู่นั้นมีฐานความคิด ข้อถกเถียง แนวทางการศึกษาที่ผ่านมา และผลการศึกษาว่าเป็นอย่างไรบ้าง

2.ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถจัดตั้งชุดตัวแปรได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะอย่างการวางกรอบความคิด ซึ่งจะช่วยให้ง่ายทั้งต่อการศึกษาเพื่อพิสูจน์แนวคิด ทฤษฎีต่างๆ และเพื่อสร้างตัวแบบใหม่ๆ (Model) สำหรับใช้อธิบายปรากฏการณ์ และในขณะเดียวกันยังช่วยสร้างตัวชี้วัดที่ชัดเจน สำหรับตัวแปรในชุดของสมมติฐานไปพร้อมกันด้วย

3.ในกรณีของการสร้างเครื่องมือสำหรับการเก็บข้อมูลนั้น โดยเฉพาะในการวิจัยเชิงปริมาณต้องอาศัยรายละเอียดที่ได้จากการสรุปประเด็นสำคัญจากแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ มาเป็นฐานในการตั้งข้อคำถามในแบบสอบถาม ซึ่งการทบทวนวรรณกรรมจะช่วยให้การสร้างแบบสอบถามมีความชัดเจนมากพอที่จะตอบต่อคำถามวิจัยที่แฝงอยู่ในวัตถุประสงค์การวิจัยได้

4.การทบทวนวรรณกรรมได้อย่างครบถ้วนช่วยลดปัญหาความผิดพลาดในการวิเคราะห์และอภิปรายผลการวิจัย เนื่องจากการวิเคราะห์และอภิปรายถือเป็นการพิสูจน์และทดสอบแนวคิด ทฤษฎี และกรอบความคิด หรือตัวแบบต่างๆ ที่สร้างขึ้นไปพร้อมๆ กัน อันส่งผลให้ผลการทดสอบสมมติฐานนั้นเกิดความถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือไปพร้อมๆ กันด้วย

แหล่งทรัพยากรสำหรับการทบทวนวรรณกรรม

ตำราและหนังสือที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย ซึ่งจะให้แนวคิด ทฤษฎีที่ชัดเจน เกี่ยวข้องกับหัวข้อการวิจัย

สารานุกรม ปทานุกรม พจนานุกรม ซึ่งจะให้คำอธิบายกว้างๆ ทั้งประเด็นสำคัญของเรื่องความหมาของคำศัพท์ และแหล่งข้อมูลเพื่อการสืบค้นเพิ่มเติม

วารสารทางการวิจัยสาขาต่างๆ (Journal) ตลอดจนจุลสารและวรรณกรรมเผยแพร่ ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งในด้านการแสวงหาหัวข้อเรื่องในการศึกษา เพราะวารสารวิชาการเหล่านี้มักแสดงให้เห็นถึงเรื่องหรือประเด็นที่ยังคงศึกษาอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นฐานความคิดของการต่อยอดในการศึกษาได้

รายงานการค้นคว้าอิสระ ภาคนิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก โดยรวมถึงหนังสือรวมบทคัดย่องานวิจัย ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลสำคัญในการเลือกแนวคิดทฤษฎีและการวางแนวทางกำหนดกรอบการวิจัย

หนังสือพิมพ์และนิตยสาร ซึ่งมักมีข่าวและบทความต่างๆ ที่เป็นปัจจุบันที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้

อินเตอร์เน็ต โดยในปัจจุบันแหล่งข้อมูลประเภทนี้ถือว่าสามารถช่วยในการทำวิจัยได้มากเพราะสามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้ทั้งในและต่างประเทศ แต่มีข้อสังเกตว่าควรต้องระมัดระวังในการกลั่นกรองข้อมูล เนื่องจากข้อมูลบางประเภทนั้นอาจมีความน่าเชื่อถือไม่มากเพียงพอ

หลักการทบทวนวรรณกรรม

1.การทบทวนแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ควรตระหนักถึงประเด็นต่างๆ ได้แก่ ประการแรก ต้องคัดเลือกเฉพาะแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการศึกษา หรือคาดว่าอาจมีความเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และอภิปรายผล ประการที่สอง มีการจัดเรียงประเด็นการนำเสนอที่ทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพของแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ อย่างเป็นระบบ และประการที่สาม ต้องสรุปความคิดไว้ในช่วงท้ายของประเด็นต่างๆ เช่น ความหมาย ลักษณะ ประเภท และข้อสังเกตต่างๆ เป็นต้น ซึ่งการสรุปดังกล่าวจะนำไปใช้เป็นนิยามศัพท์เฉพาะ และการแปลงไปสู่การสร้างเครื่องมือการวิจัย โดยหมายถึงแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ต่อไป

2.การพิจารณางานวิจัยที่เกี่ยวข้องต้องคำนึงถึงความเกี่ยวพันกับการสร้างชุดตัวแปรและการวิเคราะห์กับการอภิปรายผลการศึกษา ขณะเดียวกันมักเลือกงานวิจัยที่ไม่เก่าเกินไป

3.การเขียนสาระสำคัญจากการทบทวนวรรณกรรมแล้วควรทำให้ถูกต้องตามหลักวิชาการด้วยการเขียนอ้างอิงอย่างเป็นระบบ ไม่มีอคติในการเรียบเรียง และมีการทบทวนวรรณกรรมอย่างทั่วถึงรอบด้านแล้วจึงคัดสรรประเด็นต่างๆ มากล่าวถึงในบทที่ 2

4.หากการเขียนสาระต่างๆ ในการทบทวนวรรณกรรมแล้วพบว่า มีบางคำศัพท์หรือบางประเด็นที่อาจสร้างความสับสนในการทำความเข้าใจแต่ไม่อาจเรียงเรียงไว้ในหัวข้อดังกล่าวได้ ก็สามารถอธิบายคำศัพท์หรือประเด็นนั้นไว้ในส่วนของเชิงอรรถได้

5.ผลของการทบทวนวรรณกรรมถือว่าเป็นการตอบคำถามในวัตถุประสงค์ได้ด้วยเช่นกัน เช่น วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ว่า “เพื่อศึกษาแนวคิดระบบราชการในอุดมคติของ Max Weber” เป็นต้น

กรอบแนวคิดการวิจัย

การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการนำเอาตัวแปรและประเด็นที่ต้องการทำวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในรูปของคำบรรยาย แบบจำลองแผนภาพหรือแบบผสม การวางกรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดีจะต้องมีความชัดเจน บ่งบอกถึงทิศทางของความสัมพันธ์ ของชุดตัวแปรต่างๆ ที่ต้องการศึกษา ซึ่งหลักสำคัญของการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย กล่าวคือ การแสดงถึงตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระไว้ด้านซ้ายมือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษา และการแสดงถึงชุดตัวแปรตามไว้ด้านขวามือ พร้อมทั้งใส่กรอบสี่เหลี่ยมไว้ เพื่อให้สามารถแยกแยะตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้ ทั้งนี้จะมีการเขียนลูกศรชี้จากตัวแปรต้นแต่ละตัวมายังตัวแปรตามให้ครบทุกคู่ที่ต้องการศึกษา อย่างไรก็ตามกรอบแนวคิดการวิจัยชั้นสูงมักพบว่าในบางครั้งจะมีชุดตัวแปรหลายกรอบที่แสดงถึงความเชื่อมโยงต่อกันและกัน จึงเรียกได้อีกอย่างว่าเป็น “ตัวแบบ (Model)” นอกจากนี้ชุดของกรอบการวิจัยเหล่านี้สามารถแปลงไปสู่การเขียนสมมติฐานการวิจัยได้ต่อไป

ตัวอย่าง งานวิจัยเรื่อง “วัฒนธรรมทางการเมืองในท้องถิ่นของประชาชนในชุมชนชนบทจังหวัดปทุมธานี”

ตัวแปรการวิจัย ได้แก่ ตัวแปรอิสระ: ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และอาชีพ และตัวแปรตาม: วัฒนธรรมทางการเมืองในท้องถิ่น

ตัวแปรอิสระ

ตัวแปรตาม

สมมติฐานการวิจัย

ข้อที่ 1 ประชาชนในชุมชนชนบทที่มีเพศแตกต่างกันมีวัฒนธรรมทางการเมืองแตกต่างกัน

ข้อที่ 2 ประชาชนในชุมชนชนบทที่มีเพศอายุแตกต่างกันมีวัฒนธรรมทางการเมืองแตกต่างกัน

ข้อที่ 3 ประชาชนในชุมชนชนบทที่มีอาชีพแตกต่างกันมีวัฒนธรรมทางการเมืองแตกต่างกัน

การทำวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

บทที่ 5 ประชากรและการสุ่มตัวอย่างและวิธีการเก็บข้อมูล

ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร

ประชากร

ข้อมูลประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการศึกษาทั้งหมด ซึ่งอาจจะเป็น คน สัตว์ พืช วัตถุ หรือปรากฎการณ์ต่างๆ

ในการวิจัยเชิงสังคมศาสตร์ ประชากรแบ่งออกได้ 2 ประเภทดังนี้

1. ประชากรที่มีจำนวนจำกัด (Finite population) หมายถึงประชากรที่มีปริมาณซึ่งสามารถนับออกมาเป็นตัวเลขได้ครบถ้วนเช่น ประชากรนิสิตและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยทุกแห่ง ประชากรของข้าราชการพลเรือนในภาคเหนือ เป็นต้น

2. ประชากรที่มีจำนวนไม่จำกัด (Infinite population) หมายถึงประชากรที่มีปริมาณซึ่งไม่สามารถนับจำนวนออกมาเป็นตัวเลขได้ครบถ้วน เช่น ฝูงชนในการประท้วง เป็นต้น

ขนาดตัวอย่าง (Sample size)

การวิจัยเชิงปริมาณในหลายกรณีไม่อาจที่จะทำการศึกษาหรือหาข้อมูลได้โดยตรงจากประชากรที่มีจำนวนมากได้ วิธีการในการศึกษาจึงจำเป็นต้องอาศัยหลักการกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาตรฐานสามารถอธิบายอ้างอิงข้อมูลย้อนกลับไปยังกลุ่มประชากรได้ ทั้งนี้วิธีการทางสถิติสามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งวิธีการประมาณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ TARO YAMANE ถือว่าเป็นที่นิยมในหมู่นักวิจัยไทย โดยมีสูตรการคำนวน

ดังนี้

n = N 1+Ne2

เมื่อ

n = ขนาดของหน่วยตัวอย่างกลุ่มเป้าหมาย

N = ประชากรทั้งหมด

e = ระดับความมีนัยสำคัญ

ตัวอย่างเช่นN = 1,000 คน

e = 0.05

แทนค่า n =

1,000

n = 285.7

n = 286

1+1,000(0.05)2

ประเภทและวิธีการสุ่มตัวอย่าง

ทฤษฎีการสุ่มตัวอย่าง ได้แบ่งประเภทการสุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การสุ่มตัวอย่างในเชิงเป็นไปได้ (Probability sampling) และ2) การสุ่มตัวอย่างในเชิงเป็นไปไม่ได้ (Non-probability sampling หรือ Selection)

1) การสุ่มตัวอย่างในเชิงเป็นไปได้ (Probability sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบนี้เราสามารถกำหนดได้ว่าทุกภาคส่วนของประชากรมีโอกาสได้รับเลือกเป็นตัวอย่างเท่ากัน การสุ่มแบบนี้มีหลายวิธีดังนี้

1. การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) หมายถึง การสุ่มตัวอย่างที่ประชากรทุกภาคส่วนมีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะได้รับการคัดเลือกเป็นตัวอย่าง โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น

(1) ตารางเลขสุ่ม นำจำนวนขนาดตัวอย่างไปสุ่มในตารางสำเร็จรูปที่นักสถิติจัดทำไว้แล้ว เพียงแต่นักวิจัยกำหนดหลักที่จะใช้ว่ามีกี่หลัก และจะนับไปซ้ายขวา ขึ้นบน ลงล่างอย่างไรต้องกำหนดไว้และปฏิบัติอย่างนั้นตลอด สุ่มโดยการชี้ตัวเลขเริ่มต้น เมื่อชี้ตรงไหนก็บอกว่าเป็นเลขประจำตัวของประชากรหรือไม่ถ้าไม่ใช่ให้ข้ามไป ทำการคัดเลือกไปเรื่อยๆ จนได้ตามจำนวนที่ต้องการ

(2) โดยวิธีการจักฉลากโดยการเขียนหมายเลขกำกับประชากรตัวอย่าง แต่ละรายการก่อนแล้วจึงจับฉลากขึ้นมา ซึ่งวิธีการจับฉลากอาจใช้ 2 แบบคือ

1. ไม่สุ่มประชากรที่ถูกสุ่มแล้วขึ้นมาอีก (Simple Random Sampling with out Replacement) คือหยิบแล้วเอาออกได้เลยไม่ต้องใส่กลับลงไปอีก

2. สุ่มประชากรที่ถูกสุ่มแล้วขึ้นมาได้อีก (Sample Random Sampling with Replacement) คือ หยิบขึ้นมาแล้วก็ใส่ลงไปใหม่เพื่อให้โอกาสแก่ประชากรทุกหน่วย มีโอกาสถูกเลือกขึ้นมาเท่าเดิม

2. การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Sampling) การสุ่มแบบนี้นักวิจัยจะต้องอาศัยบัญชีรายชื่อ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมาย โดยเลือกตามเลขที่ที่กำหนดไว้ เช่น ประชากรจำนวน 1,000 นักวิจัยต้องการตัวอย่างจำนวน 100 นักวิจัยจะต้องคัดเลือกทุกหน่วยที่ 10 เป็นต้น

3. การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) การสุ่มตัวอย่างแบบนี้ต้องแยกประเภทของประชากรเป็นกลุ่มย่อยหรือชั้นก่อน แล้วจึงสุ่มตัวอย่างแยกกันคนและกลุ่มโดยวิธี Simple Random Sampling หรือ Systematic Sampling ก็ได้ กลุ่มย่อยที่มีลักษณะเป็น Homogeneous คือมีลักษณะเหมือนกันภายในกลุ่มเช่น การแยกประเภทของประชากรตามสถานการณ์เป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร

4. การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) คือการสุ่มตัวอย่างประชากรโดยแบ่งประชากรออกเป็นกลุ่มๆ ให้แต่ละกลุ่มมีความเป็น Heterogeneous กัน คือมีความแตกต่างกันภายในกลุ่ม เช่น การสุ่มตัวอย่างโดยการแบ่งตามเขตการปกครอง

5. การสุ่มตัวอย่างในทุกขั้นตอน (Multi Stage Sampling) เช่น ต้องการจะทำการวิจัยโดยการสุ่มตัวอย่างประชากร โดยทำการสุ่มจังหวัดที่เป็นตัวอย่างก่อน ต่อไปก็สุ่มอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน และครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างตามลำดับ

2) การสุ่มตัวอย่างในเชิงเป็นไปไม่ได้ (Non-probability sampling) คือ การสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาจกำหนดได้ว่าทุกส่วนของประชากรมีโอกาสได้รับการคัดเลือกโดยเท่ากัน ซึ่งทำให้ไม่สามารถจะคาดคะเนหรือคำนวณหาความผิดพลาดในการสุ่มเลือกตัวอย่างได้ การสุ่มแบบนี้มีหลายวิธีคือ

1. การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เช่น พบใครก็แจกแบบสอบถามตามความพอใจของผู้วิจัย เช่น สุ่มนักกีฬายิงปืนที่จะเข้ามาแข่งขันในสนาม

2. การสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการจัดสรรโควตา (Quota Sampling) การสุ่มตัวอย่างเหล่านี้ต้องแบ่งกลุ่มของประชากรแล้วจัดสรรโควตาตัวอย่างไปให้แต่ละกลุ่มตามสัดส่วนของปริมาณประชากรในกลุ่มนั้นๆ ที่มีอยู่จากนั้นก็ทำการสุ่มจากแต่ละกลุ่มตามโควตาที่จัดสรร ทั้งนี้เพื่อให้ได้ตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ อย่างเหมาะสม เช่น ชาย 30 คน หญิง 30 คน

3. การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยจะเลือกศึกษาจากประชากรที่มีลักษณะตรงตามวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเช่น บุคคลที่มีน้ำหนักเกิน 50 กิโลกรัม เป็นต้น

4. การสุ่มตัวอย่างพิจารณาตามความสะดวก (Convenience Sampling) โดยจะเลือกศึกษากลุ่มประชากรที่เห็นว่าง่ายต่อการศึกษา เช่น ไม่อยู่ในแดนของผู้ก่อการร้าย หรือเลือกเฉพาะผู้เป็นสมาชิกของกลุ่มนักธุรกิจค้าปลีกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จในการสุ่มตัวอย่าง (Key Success Factor)

1. ฐานข้อมูล/ประชากรต้องเป็นปัจจุบัน

2. วิธีการสุ่ม ต้องมีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาอ้างอิงได้

3. ขนาดตัวอย่างต้องมีการกระจายตัวและครอบคลุมประชากรเพื่อให้มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด สามารถทดแทนประชากรทั้งหมดได้

4. กำหนดจำนวนของกลุ่มตัวอย่างว่าจะใช้จำนวนเท่าใด การใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อยจะทำให้โอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนมีมาก การใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก จะทำให้โอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนมีน้อย

5. การวิจัยบางประเภทไม่จำเป็นต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก เช่น การวิจัยเชิงทดลอง

6. ผู้วิจัยต้องกำหนดความคลาดเคลื่อนในการวิจัย และรู้จำนวนประชากรก่อน ปกติการวิจัยทางการศึกษาจะกำหนดความคลาดเคลื่อนไว้ที่ระดับ .05

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ

การเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ

1. จะเน้นถึงการเลือกกลุ่มตัวอย่าง (Key Informant) ที่สามารถให้คำตอบที่ตรงหรือสอดคล้องกับคำถามการวิจัย หรือเรียกได้ว่า กลุ่มตัวอย่างที่เลือกมักมีลักษณะเฉพาะเจาะจง

2. กลุ่มตัวอย่างสามารถให้ข้อมูลได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการซักถามหรือการสังเกต

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมีหลายวิธีที่ใช้กันมากในทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้แก่

1. การสัมภาษณ์โดยตรง โดยผู้วิจัยไปทำการสัมภาษณ์จากหน่วยทดลองโดยตรง วิธีนี้ใช้กันมากในการทำสำมะโนและการสำรวจจากตัวอย่าง วิธีนี้เหมาะสำหรับงานวิจัยที่มีข้อคำถามเป็นจำนวนมาก ข้อคำถามมีความซับซ้อนมีคำศัพท์เฉพาะและมีคำจำกัดความที่ต้องการคำอธิบาย แต่เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายสูง

2. การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ในกรณีที่คำถามไม่มากและไม่ซับซ้อน ปริมาณคำถามมีไม่มากนัก การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จะทำให้ได้ข้อมูลเร็วขึ้น แต่มีข้อเสียคือ สัมภาษณ์ได้เฉพาะหน่วยตัวอย่างที่มีโทรศัพท์เท่านั้น บางกรณีผู้ตอบอาจจะไม่เกรงใจ หรือไม่พอใจที่จะตอบ หรืออาจจะวางหูโทรศัพท์ก็ได้

3. การตอบแบบสอบถาม เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลโดยมอบแบบสอบถามพร้อมทั้งอธิบายวิธีบันทึกตลอดจนคำอธิบายศัพท์ต่างๆ ให้แก่หน่วยตัวอย่างล่วงหน้า ผู้วิจัยจะกลับไปรับแบบสอบถามตามวัน เวลาที่นัดหมายไว้ ถ้าการบันทึกแบบสอบถามไม่ถูกต้องหรือไม่เรียบร้อยก็จะได้มีการสอบถามหรือสัมภาษณ์เพิ่มเติมจนกระทั่งได้ข้อมูลตามที่ต้องการ

4. การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ วิธีนี้เหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่ไม่มีความสำคัญมากนัก เป็นข้อมูลง่ายๆ ที่ไม่ซับซ้อน ไม่มีศัพท์หรือคำจำกัดความที่ต้องการคำอธิบาย จำนวนข้อคำถามมีไม่มากนัก วิธีนี้มีข้อดีคือ เสียค่าใช้จ่ายน้อยแต่มีข้อเสียคือ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาน้อยหรือผู้บันทึกอาจจะเข้าใจข้อคำถามไม่ถูกต้อง หรือบันทึกอย่างขาดความรับผิดชอบ ข้อจำกัดคือ วิธีนี้ใช้สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่อ่านออกเขียนได้เท่านั้น

5. การนับ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลบางอย่างต้องใช้วิธีนับ เช่น การสำรวจจำนวนรถที่ผ่านจุดที่ต้องการศึกษา และในเวลาที่สนใจศึกษา จำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในช่วงเวลาหนึ่งๆ จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในสัปดาห์แรก

6. การวัดหรือการสอบ การเก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบวัดหรือแบบทดสอบ เพื่อศึกษาถึงผลความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการศึกษา เช่น การทดสอบความเข้าใจกฎหมายจราจรทั้งก่อนและหลังการเข้าอบรมสอบใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล เป็นต้น

7. การสังเกต วิธีนี้ใช้ในโครงการวิจัยต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ และทางสังคมศาสตร์ เช่น การสังเกตตำแหน่งของดวงดาวบนท้องฟ้า การสังเกตพฤติกรรมของคนในชุมชนที่มีต่อผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอาจจะเป็นข้อมูลเชิงคุณลักษณะหรือปริมาณก็ได้

การทำวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์

บทที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัย

ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร

แหล่งข้อมูล

การเก็บข้อมูลวิจัยเป็นไปได้ทั้งแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ และทุติยภูมิ โดยแหล่งปฐมภูมิ (Primary Data) คือการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยตนเอง ส่วนแหล่งทุติยภูมิ (Secondary Data) จะใช้แหล่งข้อมูลที่จัดเก็บไว้แล้ว เช่น ห้องสมุด รายงานวิจัย รายงานสำรวจ รายงานส่วนราชการ บันทึก พงศาวดาร หรือเอกสารอ้างอิงต่างๆ เป็นต้น

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ

ประการแรก อาศัยข้อมูลตัวเลขเพื่ออธิบายและชี้ให้เห็นรายละเอียดของปรากฏการณ์ โดยแสดงข้อมูลในรูปตาราง

ประการที่สอง แสดงความเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามด้วยวิธีการทางสถิติ

ประการที่สาม การอธิบายความเชื่อมโยงระหว่างตัวแปรตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิด ทฤษฏี กฎ บนหลักการคิดวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์

ประการที่สี่ มีข้อจำกัดในการอธิบายความหมายเชิงลึก โดยเฉพาะต่อสาเหตุพฤติกรรมของคนซึ่งมีหลายปัจจัย หลายตัวแปร ที่เป็นสาเหตุ และมีความซับซ้อน

ชนิดระดับของข้อมูล (Scale)

1. มาตรานามบัญญัติ (Nominal Scale or Classification Scale) เป็นมาตราที่หาค่าได้เฉพาะความถี่ แต่นำมา บวก ลบ คูณ หาร ไม่ได้ เช่น เพศ อาชีพ ภาค เป็นต้น

2. มาตรอันดับ (Ordinal Scale) เป็นระดับของการวัดที่สูงกว่ามาตรานามบัญญัติ เป็นการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์เพื่อชี้ถึงอันดับ เช่น หลังจากพิจารณาภาพที่นักเรียนวาดมาแล้วก็ได้อันดับจากภาพที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมาเป็นอันอับ 2 , 3 ,…… ตามลำดับ เป็นต้น จึงเป็นมาตราที่นำค่าสถิติมาเรียงลำดับได้ แต่นำมาบวก ลบ คูณ หาร ไม่ได้ เช่น ขนาด (เล็ก กลาง ใหญ่) ระดับการศึกษา (ป.ตรี ป.โท ป.เอก) และระดับคิดความเห็น (เห็นด้วยมาก ปานกลาง น้อย)

3. มาตรอันตรภาค (Interval Scale) เป็นระดับของการวัดที่สูงกว่าสองมาตราที่กล่าวมา โดยมีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นอีก 2 ประการ คือ มี ศูนย์สมมุติ (Arbitrary Zero or Relative Zero) และมีหน่วยของการวัดที่เท่ากัน ค่าของมาตรานี้จะทำได้เฉพาะการบวกและลบ แต่ไม่สามารถนำมาคูณและหารได้ ตัวอย่างของมาตรานี้ ได้แก่ การวัดอุณหภูมิ เช่น ในหน่วยวัดอุณหภูมิแบบเซลเซียส จะกำหนดจุดที่น้ำกลายเป็นน้ำแข็งที่อุณหภูมิ 0° ซ. โดยถือเป็นศูนย์เทียมเพราะไม่ได้หมายความว่าเมื่อถึง ณ อุณหภูมิ 0° ซ. นี้ไม่มีความร้อนอยู่เลยแต่เป็นเพียงจุดที่สมมุติว่าน้ำกลายเป็นน้ำแข็ง และคะแนนสอบที่ได้ 0 คะแนน ก็ไม่ได้แสดงว่าผู้นั้นไม่มีความรู้เลย เพราะผู้สอบอาจเก็งข้อสอบผิดหรือตาลายกากบาทผิดข้อก็เลยสอบตก เป็นต้น

4. มาตราอัตราส่วน (Ratio scale) เป็นระดับของการวัดที่สูงที่สุด โดยมีความสมบูรณ์มากกว่ามาตราวัดอันตรภาค นอกจากจะมีคุณสมบัติเหมือนมาตราวัดอันตรภาคแล้วยังมี ศูนย์แท้ (Absolute Zero) ในขณะที่มาตราอันตรภาคเป็นเพียงศูนย์สมมุติเท่านั้น ตัวอย่างการวัดในมาตรานี้ได้แก่ การวัดความยาว น้ำหนัก ส่วนสูง อายุแต่ละหน่วยของความยาวจะมีช่วงเท่ากันแต่ละหน่วยของ น้ำหนักมีขนาดเท่ากัน เช่น สมคิดมีน้ำหนัก 40 กิโลกรัม โดยจะหนักเป็น 2 เท่าของสมใจ ซึ่งมีน้ำหนักเพียง 20 กิโลกรัม การที่กล่าวเช่นนี้ได้เนื่องจากแต่ละหน่วยกิโลกรัมมีน้ำหนักเท่ากัน และเริ่มจากศูนย์แท้ น้ำหนักศูนย์กิโลกรัมก็คือไม่มีน้ำหนักเลยเนื่องจากการวัดระดับนี้มีความสมบูรณ์ทุกประการ จึงสามารถนำมาจัดกระทำตามหลักคณิตศาสตร์ได้ทุกประการ เช่น บวก ลบ คูณ หาร ถอดราก และยกกำลังได้ ตัวอย่างของข้อมูลที่ได้จากการวัดโดยใช้มาตราอัตราส่วน เป็นข้อมูลที่มีลักษณะจำแนกกลุ่ม เรียงอันดับ แบ่งเป็นช่วงเท่า ๆ กัน และมีศูนย์แท้ สามารถเปรียบเทียบในเชิงอัตราส่วนได้ เช่น ระยะทาง เวลา น้ำหนัก ส่วนสูง และอายุ เป็นต้น

สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นการนำสถิติมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1) การวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติ เช่น ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม มัธยฐาน เป็นต้น หรือนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของตัวแปรอิสระ และตัวแปรตามในแบบสอบถามแต่ละข้อ โดยใช้สถิติ เช่น ค่าเฉลี่ยหรือค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น

การแจกแจงความถี่ (Frequency) คือ การแจงนับจำนวนสมาชิกของแต่ละระดับ ของตัวแปรประเภทนามบัญญัติ หรือตัวแปรจัดประเภท ตัวแปรเรียงอันดับ ตัวแปรอันตรภาค และตัวแปรอัตราส่วน

สัดส่วน (Proportion) คือ ความถี่ของรายการที่สนใจแล้วหารด้วยจำนวนทั้งหมด

สูตร

สัดส่วน = ความถี่ของรายการที่สนใจ / จำนวนความถี่ทั้งหมด

เช่น ตัวอย่างจำนวน 15 หน่วย จาก 60 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 15 / 60 = .25 ส่วนที่เหลือเป็นสัดส่วน 45 / 60 = .75

ร้อยละ (Percentage) คือ สัดส่วน คูณด้วย 100 โดยสัดส่วนเป็นปริมาณที่เทียบฐานเป็น 1 ส่วนร้อยละเป็นปริมาณที่เทียบฐานเป็น 100

สูตร

ร้อยละ = (ความถี่ของรายการที่สนใจ / จำนวนความถี่ทั้งหมด) X 100

อัตราส่วน (Ratio) คือ การเปรียบเทียบความถี่ของรายการที่สนใจ เช่น อัตราส่วนผู้บริหารต่อพนักงาน 1 แผนก เท่ากับ 1 : 50

ค่าเฉลี่ย หรือค่ากลางเลขคณิต (Arithmetic Mean) คือ ค่ากลางที่ใช้กับข้อมูลที่วัดมาในระดับอันตรภาคขึ้นไป หาได้จากผลรวมของคะแนนทุกตัว หารด้วยจำนวนคะแนนทั้งหมด เช่น ค่าจ้างของพนักงาน 5 คน มีเงินคนละ 6, 5, 10, 4, 5 บาท พนักงานกลุ่มนี้มีเงินเฉลี่ย (6 + 5 + 10 + 4 + 5) / 5 = 6 บาท

ค่ามัธยฐาน (Median) คือ ค่าของข้อมูลตัวที่อยู่ตรงกลาง เช่น เงินของพนักงาน 5 คน เมื่อจัดเรียงลำดับแล้ว 4, 5, 5, 6,10 ข้อมูลตัวที่ 3 เป็นมัธยฐาน โดยแยกเป็น 2 กรณี ได้แก่

กรณีแรก หากข้อมูลไม่ได้จัดกลุ่ม (Ungrouped Data) ตำแหน่งของมัธยฐาน คือ

ตำแหน่งที่ (n + 1) / 2

     

ดังนั้นถ้าจำนวนข้อมูลเป็นคี่ ตำแหน่งของมัธยฐานจะเป็นจำนวนเต็ม แต่ถ้าจำนวนเป็นคู่ ตำแหน่งของมัธยฐานจะเป็นทศนิยม คือตำแหน่งที่อยู่ระหว่าง n / 2 กับ (n + 2) / 2 มัธยฐานจึงเป็นค่าเฉลี่ยของข้อมูล 2 ค่านี้

กรณีที่ 2 หากข้อมูลมีการจัดกลุ่ม (Grouped Data) ตำแหน่งของมัธยฐาน คือ

Mdn = L + i [ { ( n / 2 ) - F } / f ]

เมื่อ

Mdn คือ ค่ามัธยฐานL คือ ขีดจำกัดล่างที่แท้จริงของคะแนนในชั้นมัธยฐานi คือ ค่าอันตรภาคชั้นn คือ จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดF คือ ความถี่สะสมจากคะแนนน้อย ถึงคะแนนก่อนถึงชั้นมัธยฐานf คือ ความถี่ในชั้นมัธยฐาน

ฐานนิยม (Mode) คือ ค่าของข้อมูลที่มีความถี่สูงสุด และความถี่สูงสุดนี้จะต้องสูงกว่าความถี่ของค่าของข้อมูลอื่น ๆ ที่เหลือ ฉะนั้น ถ้าค่าของข้อมูลทุกค่าในข้อมูลชุดหนึ่งมีความถี่เท่ากันหมด แสดงว่าข้อมูลชุดนั้นไม่มีฐานนิยม หรืออาจกล่าวได้ง่าย ๆ ว่า ฐานนิยมคือค่าสังเกตของข้อมูลที่มีความถี่สูงที่สุด ทั้งนี้ข้อมูลสามารถมีฐานนิยมมากกว่า 1 ค่าได้ โดยถ้าข้อมูลชุดหนึ่ง มีฐานนิยมเพียง 1 ค่า เรียกว่า Unimodal ถ้าข้อมูลชุดหนึ่งมีฐานนิยม 2 ค่า เรียกว่า Bimodal และถ้าข้อมูลชุดหนึ่งมีฐานนิยมมากกว่า 2 ค่า เรียกว่า Multimodal อย่างไรก็ตามพบข้อสังเกตว่า ประการแรกในการหาค่าฐานนิยมสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณนั้น ถ้ามีค่าของข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดและสูงกว่าความถี่ของค่าของข้อมูลอื่นๆ ที่เหลือมากกว่า 1 ค่า โดยที่ค่าเหล่านั้นอยู่ติดต่อเนื่องกัน จะถือว่าฐานนิยมในกรณีดังกล่าวมีเพียงค่าเดียวคือค่าเฉลี่ยของค่าของข้อมูลเหล่านั้น และในกรณีที่ต้องการหาค่าฐานนิยมสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณที่แจกแจงความถี่และแบ่งเป็นช่วงโดยใช้สูตรข้างต้นนั้น ทำได้โดยรวมช่วงข้อมูลที่อยู่ติดกันเข้าด้วยกัน ประการต่อมา ข้อมูลบางชุดอาจมีค่าสังเกตที่มีความถี่สูงสุดซ้ำกันหลายค่า จะถือว่าค่าสังเกตเหล่านั้นเป็นฐานนิยม หรือข้อมูลบางชุดอาจจะมีความถี่เท่ากันทุกค่าก็ได้ในกรณีนี้ถือว่าข้อมูลชุดนั้นไม่มีฐานนิยม และประการที่สาม ถ้าข้อมูลชุดใดมีฐานนิยมหลายค่ามากเกินไป ข้อมูลชุดนั้นไม่เหมาะที่จะใช้ฐานนิยมเป็นค่าวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

2) การวิเคราะห์ด้วยสถิติอนุมาน หรือ สถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) สถิติอนุมาน เป็นสถิติที่นำมาใช้ในการอ้างอิงไปหาค่าความเป็นจริงของประชากร สถิติอนุมานถูกนำไปใช้ใน 2 เรื่อง คือ การประมาณค่าทางสถิติ และการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งในการวิจัยมักนิยมนำสถิติอนุมานมาใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งสมมติฐานการวิจัยที่มักใช้บ่อยในทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

สถิติพาราเมตริก (Parametric Statistics) - เป็นกลุ่มสถิติที่ต้องคำนึงถึง หรือเคร่งครัดใน ข้อตกลงเบื้องต้นสำหรับสถิติแต่ละชนิด เช่น Z-test, t-test, F-test,

สถิตินอนพาราเมตริก (Nonparametric Statistics) - เป็นกลุ่มสถิติที่ผ่อนคลายในข้อตกลงเบื้องต้นสำหรับสถิติแต่ละชนิด เช่น X2, Mann-Whitney U Test, Sign Rank Test, Median Test

วิธีการคำนวณสถิติต่างๆ ด้วยโปรแกรม SPSS ทำได้ดังนี้

2.1 การทดสอบสมมติฐานที่เป็นค่าเฉลี่ย กรณีประชากรกลุ่มเดียว ใช้สถิติ t-test 

โปรแกรม SPSS จะใช้คำสั่ง

Analyze > Comp