Cuba volume3

7
Vacation as Vocation (3) Cuba - Mexico - America โดย แง งามอณโช

description

บันทึกการเดินทาง เมกา-เม็กซิโก-คิวบา ตอนที่สามจ้าาาา

Transcript of Cuba volume3

Page 1: Cuba volume3

Vacation as Vocation (3)Cuba - Mexico - America

โดย แบ๊งค์ งามอรุณโชติ

Page 2: Cuba volume3

อนุทินการเดินทางฉบับที่สาม:

3

ผมผ่านน่านฟ้าของไอซ์แลนด์ พื้นล่างขาวโพลนแยกไม่ออกระหว่างเมฆและน้ำแข็ง แต่เนื้อแท้ของมันก็ยังคงแตกต่างกัน เมฆย่อมเป็นมฆ น้ำแข็งย่อมเป็นน้ำแข็ง จะเป็นอื่นไปไม่ได้ ภาพลักษณ์ลวงตาเราได้เสมอ และผมก็ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว...

เพนน์ ผู้โดดเดี่ยว,และ แฟงคลินผู้ได้แต่มอง

1

Page 3: Cuba volume3

ผมใช้เวลาที่เหลืออยู่บนเครื่องเขียนอนุทินการเดินทางทั้งฉบับที่สองและฉบับนี้, ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะระลึกถึงเรื่องราวอะไรซักเรื่อง หากมันไม่ใช่ความทรงจำที่เจ็บปวด การเดินทางบนเครื่องบินแม้จะไม่แสนสุข แต่ก็ยังถือว่าไม่ผ่านเกณฑ์ ดังนั้น บันทึกไว้ก่อนเป็นดี ก่อนมันจะเลือนหาย

ระหว่างที่ผมพยายามเรียบเรียงอนุทินออกมา เด็กน้อยด้านหน้าดูเหมือนอยากจะผูกมิตรกับผมเสียเหลือเกินหมั่นหันมาเล่นด้วย รบเร้าให้ผมถ่ายภาพให้ ได้ดูภาพตัวเองในกล้องแล้วก็หัวเราะชอบใจ เอาหนะเจ้าหนูน้อย อยู่นิ่งเสียบ้างเถอะ ไม่งั้นพี่จะเขียนอนุทินไม่เสร็จเอานะ

ผมวางแผนการเดินทางคร่าวๆ หลังจากออกจากระบบตรวจคนเข้าเมืองก็ขึ้น Air train โดยซื้อตั๋วไปเปลี่ยนเส้นทางที่สถานี Jamaica เลือกขบวนสาย E ไปลงสถานีปลายทางที่ Penn Station จากสถานีดังกล่าวผมจะขึ้นรถไฟที่ชื่อ Amtrak ไปถึง Philly, แผนการตรงไปตรงมา ไม่ยากเย็น, หากไม่มีอะไรผิดพลาดเพื่อนของผมสองคน ยุ้ย และป๊อป คงจะรอรับอยู่ที่นั่น

“ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะระลึกถึงเรื่องราวอะไรซักเรื่อง หากมันไม่ใช่ความทรงจำที่เจ็บปวด”

2

Subway: Penn. Station

Page 4: Cuba volume3

วางแผนเสร็จก็ได้เวลาทานอาหารบนเครื่องพอดี ผมรับเป็นสปาเกตตีครีมเห็ด ทานกับไวน์ขาวขาว เคล้าเพลงของ Bach ไปด้วย ทานหมดรวดเร็ว... บาคยังไม่ทันกินน้ำ

เครื่องลงจอดที่ Terminal4 ผมถูกลำเลียงไปตามกระบวนการมาตรฐาน น่าเบื่อหน่าย... ยื่นวีซา แสกนลายนิ้วมือ --- เมืองไทยใช้หนึ่งนิ้ว อเมริกาขอสี่นิ้ว More is bet-ter จริงๆประเทศนี้ --- เจ้าหน้าที่ออกอารมขัน “ถามว่าจะเที่ยวถึงเมื่อไหร่” ผมตอบว่าคงอยู่นับถอยหลังขึ้นปีใหม่ที่ Time Square แล้วกลับบ้านเลยวันรุ่งขึ้น, แกสวนทันใด “อย่าเล่นปีใหม่แบบไทยที่นี่นะ สาดน้ำกลางหิมะ คงหนาวแย่” โอ้ แกรู้จริง

หลังจากนั้นรับกระเป๋า เดินทางตามป้ายไปหา Air train ตามที่วางแผนไว้โดยการเลี้ยวขวา ขวา ขึ้น ซ้าย ซ้าย ซี่เลค สตาร์ท (อย่างกับสูตรเกม “คอนทรา” สมัยเด็กๆ) ผมก็มาถึงรถไฟสาย Jamaica Station ผลปล่อยตัวเองให่ไหลตามเส้นางรถไฟไปเรื่อยๆ

ตลอดเส้นทางผมได้ยินประกาศจาก Transportation Security Administration ซึ่งบ่งชี้ว่าประเทศนี้เหมือนอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินตลอดเวลา เช่น “If see some thing, say something” หรือ มีการประกาศว่า “Remain alerts” คงเหนื่อยพิลึกที่จะต้องระแวดระวัง... ยังไม่นับรวมระบบรักษาความปลอดภัยมากมาย ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง ไม่รู้สิ, สำหรับผม, บางทีการฟื้นความสัมพันธ์กับศตรู เปลี่ยนแปลงการกระทำของตนเองที่เป็นต้นเหตุความโกรธแค้น อาจจะเป็นหนทางระยะยาวที่เหมาะสมมากกว่า

เฮ้อ, ไอ้เราก็ไม่ใช่โอบามา คิดไปก็ป่วยการเปล่า...

ผมเผลอหลับไปบน Amtrak โชคเข้าข้างหากช้าเพียงนิด รถไฟคงเคลื่อนต่อไป Washington DC และเรื่องคงยุ่งยากกว่าที่คิด, โดยสรุป ผมตื่นทันและมาถึงตรงเวลาที่นัดหมายไว้พอดี ไม่เลยป้าย ไม่หลง ไม่ออกนอกเส้นทาง ไม่นานนักเพื่อนทั้งสอง... ยุ้ยและป๊อป ก็ปรากฏตัว

3Subway: Penn. Station

Page 5: Cuba volume3

โอ้ ผมช่างไร้มารยาท กล่าวถึงเพื่อนหนุ่มสาวทั้งสองคนไปหลายทีแล้วโดยไม่ได้แนะนำให้ผู้อ่านรู้จัก

ยุ้ยเป็นเพื่อนผมที่เศรษฐศาสตร์จุฬาฯ รุ่น 37 คงไม่กล่าวเกินเลยไปหากจะบอกว่า ด้านการเรียนแล้วยุ้ยคือคนที่เก่งที่สุดของรุ่น หลังเรียนจบเธอเดินทางไปเรียนต่อที่ Cambridge และมาลงเอยปริญญาเอกที่ University of Pennsylvania ส่วนป๊อปนั้นเป็นเพื่อนของยุ้ยอีกทีหนึ่ง เราพบกันตอนเดินทางครั้งล่าสุดไป Jordan - Turkey (2013), ปัจจุบันเรียนอยู่ Wharton Business School ทักษะด้านการจัดการเป็นเลิศ

ทั้งสองพาผมไปที่พัก... แน่นอนว่า ผมพักกับป๊อป ห้องเช่าของป๊อปตั้งอยู่ที่ถนน Chestnut 19th ส่วนของยุ้ยอยู่ถนน Walnut 18th ห่างกันเพียงบลอคเดียวเท่าน้ัน กล่าวถึงตรงนี้ น่าสนใจว่า Philly ดูเป็นเมืองที่หลงทางได้ยากทีเดียว ถนนจะแบ่งออกเป็นเส้นเหนือ-ใต้ ออก-ตก โดยเส้นหนึ่งจะเป็น “ชื่อ” เช่น Chestnut, Walnut, Mar-ket, Broad เป็นต้น ส่วนอีกเส้นหนึ่งจะเป็น “ตัวเลข” อาทิ 2th, 3th,... ขอเพียงแค่ผมท่องให้แม่นว่าสถานที่ซึ่งตัวเองเดินเริ่มต้นอยู่ “ชื่อ-เลข” ไหน, ก็กลับได้หายห่วง

คืนนี้ทั้งสองยังไม่ว่าง เพราะยุ้ยมีติวสอบวิชาสถิติให้เพื่อนหมอชาวเกาหลี ส่วนป๊อปเองก็อ่านสอบตัวสุดท้ายที่จะมาถึงในวันรุ่งขึ้น ก่อนจะออกไปอ่านสอบที่บ้านเพื่อน ป๊อปลงมืออุ่นอาหารให้ผมทานคร่าวๆ เป็นข้าวต้มมัดใส้กล้วย กับไวน์แดงโลกใหม่ซักที่... เยี่ยมไปเลย ผมเองก็ลืมไปว่าหิวมาก

ในระหว่างที่เพื่อนทั้งสองของผมกำลังยุ่งๆ ค่ำคืนนี้... เรื่องยุ่งสุดของคือนอนหลับ หลับลึกมืดมิด... มืดเป็นพิเศษ, ราตรีสวัสดิ์อเมริกา พรุ่งนี้เรามีเรื่องต้องสะสางกัน

..........

ผมตื่นมาบนโซฟานิ่มนุ่ม เวลา 8.30am ของวันที่ 17 ธันวาคม ป๊อปยังไม่กลับห้อง เตียงยังคงเรียบตึงอย่างที่มันเป็นเมื่อผมมาถึง ไร้แอ่งอุ่นที่เกิดจากคนนอนขดตัว เตียงเหยียดตรงเย็นยะเยียบเมือนคนตายรอแพทย์มาโพสต์มอตั่ม สยดสยองอย่างถึงที่สุด

ผมสลัดความคิดแล้วเข้าไปอาบน้ำอุ่น หลังจากนั้น ห่อหุ้มตัวเองด้วยลองจอห์นกันหนาว สวมทับด้วยเสื้อและกางเกงจีนส์ Uniqlo และปิดท้ายด้วยเสื้อ Over coat กันลมที่พี่ข้าว สุธัมมะ ธรรมศักดิ์ ยกให้หลังการท่องเที่ยว Ne-pal (2013)

ผม, ป๊อป กับยุ้ย เรานัดกันดื่มกาแฟยามเช้าที่ La Colombe, ร้านโปรดของเธอ รสชาติดี หอมและคั่วแบบอ่อน ไม่เข้มจนเกินไป คุยกันเรื่องสัพเพเหระ ก่อนที่ป๊อปจะขอกลับขึ้นไปอ่านหนังสือ และยุ้ยพาผมไปเดินเท่ยวรอบเมือง

เราผ่านสวนกลางเมืองที่ชื่อ Britten Park, บัดนี้ต้นไม้ผลัดใบของมันลงหมดแล้ว เหลือเพียงกิ่งก้านหงิกงอแบบในหนังของทิม เบอตัน (Tim Burton) เรื่อง Night-mare Before Christmas ลมหนาวบาดหน้าเป็นพักๆ จนผมสงสัยว่าอาจจะเป็นรอยบากได้หากหันหน้าโต้ลมทั้งวัน

หลังจากเดินมาไม่นาน เราก็ถึงถนนหมายเลข 14th ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Broad (Street of the Art) ถนนเส้นนี้เป็นถนนสายศิลปะการแสดง เราจะพบโรงละครจำนวนมาก และโรงเรียนสอนศิลปะได้บนถนนนี้ โดยจะมีอาคารเทศบาลเมือง (Municipal building - City Hall) ตั้งคร่อมอยู่

อาคารหลังนี้นั้นมีจุดเด่นอยู่ที่ ปลายยอดสุดของอาคาร มีรูปปั้นของวิลเลียม เพนน์ (William Penn) ผู้เป็นเจ้าของที่ดินใน Pennsylvania และมอบมันเพื่อสร้างเมืองขึ้นมา แต่เดิมเล่ากันว่า ห้ามมีการสร้างตึดสูงกว่ารูปปั้นของเพนน์ ทว่า ปัจจุบันก็ได้เลิกระเบียบข้อนี้ไปแล้ว

4

Page 6: Cuba volume3

City Hall: Evening

City Hall: Morning

Page 7: Cuba volume3

เมื่อเดินจนหิวได้ที่ ยุ้ยอาสาพาไปทานอาหารเอธิโอเปียนแถวมหาวิทยาลัย เป็นร้านอาหารเล็กๆ ที่ทาผนังด้วยสีเหลืองอ่อน ตกแต่งไม่หรูหราแต่ดูอบอุ่นเรียบง่าย คนบริหารเป็นหญิงชาวเอธิโอเปียนดูใจดี เราสั่งอาหารสามอย่างได้แก่ แกะ, ไก่ และชุดผักเครื่องเคียง วิธีการทานคือนำเอาแป้งที่เนื้อคล้ายๆ ขนมถ้วยฟูมาตีให้เป็นแผ่น มีรสเปรี้ยวเล็กน้อย ฉีกแผ่นแป้งให้พอดีคำ แล้วมาห่ออาหารส่วนที่ต้องการกิน นำเข้าปากเคี้ยวหยับๆ อร่อย... แน่นอนว่าวิธีการนี้ต้องใช้มือกิน No ช้อน, No ซ่อม

หลังทานมื้อนี้เสร็จ ยุ้ยพาผมเดินชมอาคารต่างๆ ในเมืองมหาลัย เราเดินทะลุ Wharton ออกไปด้านหลัง เราผ่านอาคารของสังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ศิลปะการออกแบบ มาจนกระทั่งถึงตึก Collage Hall ซึ่งมีรูปปั้นของ Benjamin Franklin นั่งตระหง่านอยู่เบื้องหน้า, เขาเหม่อมองไปทิศทางเดียวเป็นเวลาหลายร้อยปี แววตาน่าเบื่อหน่าย

หิมะเริ่มตกแล้ว... โรยร่างเปราะบางของมันลงมาอย่างเศร้าสร้อย ผมและยุ้ย เราตัดสินใจกลับบ้านกัน

6

Ethiopian restaurant

Cafe: La Colombe