(ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง)...

22
______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ 255(ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรฐานความปลอดภัย การทดสอบและตรวจสอบ คลังก๊าซธรรมชาติเหลว _______________ อาศัยอานาจตามความในข้อ ๔๔ แห่งกฎกระทรวงกาหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการ แจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ....และ ข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๔ ข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ แห่งกฎกระทรวง คลังก๊าซธรรมชาติเหลว พ.ศ. .... ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติ บางประการเกี่ยวกับการจากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และ มาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทาได้โดยอาศัยอานาจตามบทบัญญัติแห่ง กฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนีข้อ ๑ ผู้ที่ประสงค์จะประกอบกิจการคลังก๊าซธรรมชาติเหลวต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรฐานความปลอดภัย ตามประกาศนีข้อ ๒ ในประกาศนี“พื้นที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว” หมายความว่า พื้นที่ภายในเขื่อน หรือกาแพง หรือบ่อเก็บกักก๊าซ ธรรมชาติเหลวที่ล้อมรอบถังหรือกลุ่มถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวที่ผนังชั้นนอกไม่สามารถกักเก็บก๊าซ ธรรมชาติเหลวที่รั่วออกจากถังชั้นในได้ (impounding area) รวมถึงเครื่องทาไอก๊าซ หรือสารที่แลกเปลี่ยนความ ร้อนที่มีคุณสมบัติที่ติดไฟ หรือกระบวนการทาก๊าซธรรมชาติเหลว หรือพื้นที่ที่มีท่อส่งก๊าซธรรมชาติเหลวผ่านที่มี โอกาสเกิดการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติเหลว “มาตรการลดผลกระทบจากการแผ่รังสีความร้อน” หมายความว่า มาตรการป้องกันและแก้ไข ผลกระทบจากการแผ่รังสีความร้อนที่แนวเขตที่ดินให้มีค่าไม่เกินกว่าที่กาหนดไว้โดยแสดงผลการคานวณหรือผล การทดลองตามหลักวิชาการที่ใช้ในการออกแบบเพื่อลดผลกระทบจากการแผ่รังสีความร้อน “มาตรการลดผลกระทบจากการแพร่กระจายของไอก๊าซ” หมายความว่า มาตรการป้องกันและแก้ไข ผลกระทบจากการแพร่กระจายของไอก๊าซที่แนวเขตที่ดินให้มีค่าไม่เกินกว่าที่กาหนดไว้โดยแสดงผลการคานวณ หรือผลการทดลองตามหลักวิชาการที่ใช้ในการออกแบบเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่กระจายของไอก๊าซ “ทางสัญจรทางน้า” หมายความว่า ทางแม่น้าหรือทะเลที่ถูกกาหนดสาหรับการเดินเรือสาธารณะเพื่อ วัตถุประสงค์ในการขนส่งทางน้API” หมายความว่า สถาบันปิโตรเลียมของสหรัฐอเมริกา (American Petroleum Institute) NFPA” หมายความว่า สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National fire Protection Association) ASME” หมายความว่า สมาคมวิศวกรเครื่องกลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Society of Mechanical Engineers)

Transcript of (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง)...

Page 1: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

(ร่าง)

ประกาศกระทรวงพลังงาน

เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรฐานความปลอดภัย การทดสอบและตรวจสอบ คลังก๊าซธรรมชาติเหลว

_______________

อาศัยอ านาจตามความในข้อ ๔๔ แห่งกฎกระทรวงก าหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขเก่ียวกับการแจ้ง การอนุญาต และอัตราค่าธรรมเนียมเก่ียวกับการประกอบกิจการน้ ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ....และ ข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๔ ข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ แห่งกฎกระทรวง คลังก๊าซธรรมชาติเหลว พ.ศ. .... ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมน้ ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจ ากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระท าได้โดยอาศัยอ านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ผู้ที่ประสงค์จะประกอบกิจการคลังก๊าซธรรมชาติเหลวต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรฐานความปลอดภัย ตามประกาศนี้

ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “พ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว” หมายความว่า พ้ืนที่ภายในเขื่อน หรือก าแพง หรือบ่อเก็บกักก๊าซ

ธรรมชาติเหลวที่ล้อมรอบถังหรือกลุ่มถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวที่ผนังชั้นนอกไม่สามารถกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวที่รั่วออกจากถังชั้นในได้ (impounding area) รวมถึงเครื่องท าไอก๊าซ หรือสารที่แลกเปลี่ยนความร้อนที่มีคุณสมบัติที่ติดไฟ หรือกระบวนการท าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือพ้ืนที่ที่มีท่อส่งก๊าซธรรมชาติเหลวผ่านที่มีโอกาสเกิดการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติเหลว

“มาตรการลดผลกระทบจากการแผ่รังสีความร้อน” หมายความว่า มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบจากการแผ่รังสีความร้อนที่แนวเขตท่ีดินให้มีค่าไม่เกินกว่าที่ก าหนดไว้โดยแสดงผลการค านวณหรือผลการทดลองตามหลักวิชาการที่ใช้ในการออกแบบเพ่ือลดผลกระทบจากการแผ่รังสีความร้อน

“มาตรการลดผลกระทบจากการแพร่กระจายของไอก๊าซ” หมายความว่า มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบจากการแพร่กระจายของไอก๊าซที่แนวเขตท่ีดินให้มีค่าไม่เกินกว่าที่ก าหนดไว้โดยแสดงผลการค านวณหรือผลการทดลองตามหลักวิชาการท่ีใช้ในการออกแบบเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่กระจายของไอก๊าซ

“ทางสัญจรทางน้ า” หมายความว่า ทางแม่น้ าหรือทะเลที่ถูกก าหนดส าหรับการเดินเรือสาธารณะเพ่ือวัตถุประสงค์ในการขนส่งทางน้ า “API” หมายความว่า สถาบันปิโตรเลียมของสหรัฐอเมริกา (American Petroleum Institute)

“NFPA” หมายความว่า สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National fire Protection Association) “ASME” หมายความว่า สมาคมวิศวกรเครื่องกลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Society of Mechanical Engineers)

Page 2: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 2 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

หมวด ๑ บททั่วไป

____________

ข้อ ๓ ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG container) แบ่งเป็นประเภทและลักษณะต่างๆดังนี้ (๑) ถังกักเก็บชั้นเดียว (single containment container) มลีักษณะเป็นถังที่มีผนังชั้นเดียวหรือ

มีผนังถังสองชั้นที่เฉพาะผนังถังชั้นในเท่านั้นที่ถูกออกแบบให้สามารถกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวได้ (๒) ถังกักเก็บสองชั้น (double containment container) มลีักษณะดังนี้

(ก) เป็นถังกักเก็บชั้นเดียวที่ล้อมรอบด้วยก าแพงหรือที่เรียกว่าถังชั้นที่สองอยู่ห่างออกไปจาก ถังกักเก็บชั้นเดียวไม่เกิน ๖ เมตรในลักษณะเปิดโล่ง

(ข) ก าแพงหรือที่เรียกว่าถังชั้นที่สองสามารถกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวได้ในกรณีท่ีเกิดการ รั่วไหลจากถังกักเก็บชั้นเดียว

(๓) ถังกักเก็บปิดสมบูรณ์ (full containment container) มลีักษณะดังนี้ (ก) เป็นถังสองชั้นโดยที่ถังชั้นในถูกล้อมรอบด้วยถังชั้นนอกท่ีท าจากวัสดุที่สามารถกักเก็บ

ก๊าซธรรมชาติเหลวได้ในกรณีที่เกิดการรั่วไหลจากถังชั้นใน (ข) ถังชั้นนอกปิดด้วยหลังคาเหล็กกล้าหรือคอนกรีตที่ถูกออกแบบให้ไอก๊าซธรรมชาติที่เกิด

จากก๊าซธรรมชาติเหลวที่รั่วไหลออกมาจากถังชั้นในต้องปล่อยออกสู่ภายนอกโดยผ่านลิ้นระบาย (๔) ถังกักเก็บแบบเมมเบรน(membrane container)มีลักษณะเป็นถังท่ีถังชั้นในมีผนังถังท าจาก

โลหะเป็นชั้นบางๆที่สามารถกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวได้และผนังถังชั้นในต้องออกแบบให้ถ่ายน้ าหนักผ่านฉนวนไปสู่ผนังถังชั้นนอก

(๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed concrete container) มีลักษณะดังนี้ (ก) ท าจากคอนกรีตอัดแรง (ข) มีค่าความมั่นคงแข็งแรงจากการรับภาระต่างๆ ไม่เกินกว่าค่าความเค้นที่ยอมรับได้

ของคอนกรีต (๖) ถังกักเก็บแบบ ASME (ASME container) มีลักษณะดังนี้

(ก) ออกแบบตามมาตรฐาน ASME ( ASME :boiler and pressure vessel code for vehicle fueling and commercial and industrial applications) มีลักษณะเป็นผนังสองชั้น

(ข) ผนังถังชั้นในท าจากโลหะท่ีสามารถกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวได้ (ค) ผนังถังชั้นนอกท าจากเหล็กกล้าคาร์บอนโดยติดตั้งอุปกรณ์เพ่ือใช้ระบายความดันภายใน (ง) มีฉนวนอยู่ระหว่างผนังถังชั้นในและผนังถังชั้นนอกซ่ึงอาจเป็นฉนวนหรือสุญญากาศก็ได้ (จ) มีขนาดความจุไม่เกิน ๓๗๙,๐๐๐ ลิตร

ข้อ ๔ เครื่องท าไอก๊าซแบ่งเป็นประเภทและลักษณะต่างๆดังนี้ (๑) เครื่องท าไอก๊าซแบบ ambient vaporizer จะมีลักษณะเป็นเครื่องท าไอก๊าซที่ใช้ความร้อนจากธรรมชาติที่มีอุณหภูมิสูงกว่าเป็นแหล่งก าเนิดความร้อนในการเปลี่ยนสถานะให้กลายเป็นไอ เช่น อากาศโดยรอบ น้ าทะเล หรือน้ าร้อนจากใต้ดิน (๒) เครื่องท าไอก๊าซแบบ heated vaporizer จะมีลักษณะเป็นเครื่องท าไอก๊าซที่ใช้ความร้อนจากการเผาไหม้ หรือไฟฟ้า หรือ ความร้อนท่ีเหลือทิ้งจากการผลิตหรือการเผาไหม้ในเครื่องยนต์ เป็นแหล่งก าเนิดความร้อนในการเปลี่ยนสถานะให้กลายเป็นไอโดยแบ่งเป็นประเภทและมีลักษณะดังนี้

Page 3: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 3 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

(ก) เครื่องท าไอก๊าซ แบบ integral heated vaporizer จะมีลักษณะเป็นเครื่องท าไอก๊าซที่มีแหล่งก าเนิดความร้อนอยู่รวมกับเครื่องท าไอก๊าซเป็นหน่วยเดียวกันทั้งนี้ให้รวมถึงเครื่องท าไอก๊าซที่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มีการเผาไหม้เป็นแหล่งก าเนิดความร้อนภายในเครื่องท าไอก๊าซ (submerged combustion vaporizer)

(ข) เครื่องท าไอก๊าซแบบ remote heated vaporizerจะมีลักษณะเป็นเครื่องท าไอก๊าซที่มีแหล่งก าเนิดความร้อนอยู่แยกออกจากเครื่องท าไอก๊าซ แต่จะใช้น้ า ไอน้ า หรือตัวกลางอ่ืนๆ เป็นตัวส่งผ่านความร้อนมายังเครื่องท าไอก๊าซ

(๓) เครื่องท าไอก๊าซแบบ process vaporizer จะมีลักษณะเป็นเครื่องท าไอก๊าซที่ใช้แหล่งก าเนิดความร้อนจากขบวนการแลกเปลี่ยนความร้อน หรือขบวนการทางเคมีของกระบวนการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวมาใช้ในการแลกเปลี่ยนความร้อน

หมวด ๒

ระยะปลอดภัย _______________

ข้อ ๕ คลังก๊าซธรรมชาติเหลวที่มีการเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวมากกว่า ๒๖๕,๐๐๐ ลิตรและมีผลท าให้ต้องเพ่ิมระยะปลอดภัยจากผนังถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวหรือพ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวกับเขตพระราชฐาน สถานศึกษา ศาสนสถาน สถานพยาบาล และโบราณสถานจากที่ก าหนดไว้ตามกฎกระทรวง คลังก๊าซธรรมชาติเหลว พ.ศ. .... จะต้องมีผลการศึกษาแบบจ าลองทางคณิตศาสตร์ หรือ ผลการค านวณท่ีเหมาะสมกับขนาดของอันตรายโดยค านึงถึงการแผ่รังสีความร้อน การแพร่กระจายของไอและอ่ืนๆให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59 A และได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน

ข้อ ๖ การติดตั้งหรือก่อสร้างพ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว (impounding area) ต้องมีระยะปลอดภัย ดังนี้

(๑) ระยะปลอดภัยจากการแผ่รังสีความร้อนโดยมีผลการศึกษาแบบจ าลองทางคณิตศาสตร์ หรือ ผลการค านวณท่ีเงื่อนไขของความเร็วลม อุณหภูมิและค่าความชื้นสัมพัทธ์ให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A หรือมาตรฐานอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ ดังนี้

(ก) การแผ่รังสีความร้อนที่แนวเขตที่ดิน หากเกิดไฟไหม้ภายในพ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว (fire in an impounding area) จะต้องมีค่าของการแผ่รังสีความร้อนที่แนวเขตท่ีดินไม่เกิน ๕ กิโลวัตต์ต่อตารางเมตร

ในกรณีที่แนวเขตที่ดินด้านใดมีค่าของการแผ่รังสีความร้อนเกินกว่าที่ก าหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง แนวเขตท่ีดินด้านนั้นจะต้องมีมาตรการลดผลกระทบจากการแผ่รังสีความร้อนและจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานก่อน หรือกรมธุรกิจพลังงานพิจารณาแล้วว่านอกแนวเขตท่ีดินด้านนั้นไม่อาจมีสิ่งปลูกสร้างที่จะได้รับผลกระทบที่เกิดข้ึนได้

(ข) การแผ่รังสีความร้อนที่แนวเขตท่ีดิน หากเกิดไฟไหม้ที่มีระดับเหนือพ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว (fire over an impounding area) จะต้องมีค่าของการแผ่รังสีความร้อนที่แนวเขตที่ดินไม่เกิน ๓๐ กิโลวัตต์ต่อตารางเมตร

Page 4: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 4 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

ในกรณีที่แนวเขตที่ดินด้านใดมีค่าของการแผ่รังสีความร้อนเกินกว่าที่ก าหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง แนวเขตท่ีดินด้านนั้นจะต้องมีมาตรการลดผลกระทบจากการแผ่รังสีความร้อนและจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานก่อน หรือกรมธุรกิจพลังงานพิจารณาแล้วว่านอกแนวเขตท่ีดินด้านนั้นไม่อาจมีสิ่งปลูกสร้างที่จะได้รับผลกระทบที่เกิดข้ึนได้

(๒) ระยะปลอดภัยจากการแพร่กระจายของไอก๊าซของพ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวที่ล้อมรอบถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องมีการแพร่กระจายของไอก๊าซไม่เกิน ๒.๕ เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตรก๊าซต่ออากาศท่ีแนวเขตที่ดินโดยมีผลการศึกษาแบบจ าลองทางคณิตศาสตร์ หรือ ผลการค านวณให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A หรือมาตรฐานอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ

ในกรณีที่แนวเขตท่ีดินด้านใดมีค่าของการแพร่กระจายของไอก๊าซมีค่าเกินกว่าที่ ก าหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง แนวเขตท่ีดินด้านนั้นจะต้องมีมาตรการลดผลกระทบจากการแพร่กระจายของไอก๊าซและจะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานก่อน หรือกรมธุรกิจพลังงานพิจารณาแล้วว่านอกแนวเขตท่ีดินด้านนั้นไม่อาจมีสิ่งปลูกสร้างที่จะได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้

(๓) พ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวของถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องตั้งอยู่ในพ้ืนที่ที่เมื่อเกิดไฟไหม้ที่มีระดับเหนือพ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว(fire over an impounding area) แล้ว ความร้อนจากการแผ่รังสีไม่มีผลกระทบกับโครงสร้างของเรือขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวโดยมีผลการศึกษาแบบจ าลองทางคณิตศาสตร์ หรือ ผลการค านวณให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A หรือมาตรฐานอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ

(๔) ในกรณีถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวมีความจุรวมในแต่ละกลุ่มในพ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวไม่เกิน ๒๖๕,๐๐๐ ลิตร จะใช้ระยะความปลอดภัยของพื้นที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวตามข้อ(๑)(๒)(๓)หรือให้ใช้ตามตารางที่ ๑ ท้ายประกาศนี้ก็ได้ ถ้าหากว่ามีการติดตั้งอุปกรณ์ท่ีถูกออกแบบให้มีลิ้นปิดเปิดที่ถังได้โดยอัตโนมัติเมื่อมีสิ่งผิดปกติภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

(ก) ตรวจจับไฟไหม้ได้ (ข) เกิดการไหลเกินของก๊าซธรรมชาติเหลวจากถังมีผลท าให้เกิดการสูญเสียความดันภายในท่อ

หรืออ่ืนๆ (ค) ตรวจจับก๊าซรั่วได้ (ง) หรือเงื่อนไขอ่ืน ๆ ที่มีก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59 A

ข้อ ๗ การติดตั้งหรือก่อสร้างถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG container) ต้องมีระยะปลอดภัย ดังนี้

(๑) ระยะห่างต่ าสุดของถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว หรือถังเก็บสารแลกเปลี่ยนความร้อนที่มีคุณสมบัติติดไฟและสิ่งที่ใกล้เคียงท่ีอาจเป็นอันตรายได้ ต้องเป็นไปตามตารางที่ ๑ ท้ายประกาศนี้

(๒) ถังกักเก็บสองชั้นและถังกักเก็บปิดสมบูรณ์ ที่ถังชั้นนอกเป็นคอนกรีตต้องมีระยะความปลอดภัยเพ่ือจ ากัดความร้อนที่เกิดจากการแผ่รังสีของการเกิดไฟไหม้ที่มีผลกระทบกับถังท่ีอยู่ใกล้เคียงกันโดยให้เป็นไปตามท่ีก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A โดยพิจารณาจากอุณหภูมิ ความเร็วลมและความชื้นสัมพัทธ์ที่คาดว่าจะท าให้เกิดความร้อนสูงสุดกับโครงสร้างของถังที่อยู่ใกล้เคียงกันโดยมีค่าดังนี้

(ก) ไม่เกิน ๑๕ กิโลวัตต์ต่อตารางเมตร ส าหรับถังท่ีมีผนังและหลังคาท าจากเหล็กกล้า (ข) ไม่เกิน ๓๐ กิโลวัตต์ต่อตารางเมตร ส าหรับถังท่ีมีผนังท าจากคอนกรีต

การค านวณตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A หรือวิธีการอื่นที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ

Page 5: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 5 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

(๓) ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องมีพ้ืนที่ว่างโดยรอบของลิ้นปิดเปิดอย่างน้อย ๐.๙ เมตร เพ่ือวัตถุประสงค์ในการแยกเป็นแต่ละถัง (isolation valve)ส าหรับการติดตั้งแบบเป็นกลุ่มถัง

ข้อ ๘ การติดตั้งหรือก่อสร้างถังกักเก็บแบบ ASME ต้องมีระยะปลอดภัย ดังนี้ (๑) ระยะห่างต่ าสุดของถังส าหรับถังกักเก็บแบบ ASME ที่มีขนาดความจุรวมไม่เกิน ๓,๘๐๐ ลิตร

ต้องเป็นไปตามตารางที่ ๒ ท้ายประกาศนี้ (๒) ระยะห่างต่ าสุดของถังส าหรับถังกักเก็บแบบ ASME แบบเหนือพ้ืนดินที่มีขนาดความจุรวมเกิน

กว่า ๓,๘๐๐ ลิตร ต้องเป็นไปตามตารางที่ ๓ ท้ายประกาศนี้ (๓) ระยะห่างต่ าสุดของถังส าหรับถังกักเก็บแบบ ASME แบบใต้พ้ืนดินที่มีขนาดความจุรวมเกินกว่า ๓,๘๐๐ ลิตร ต้องเป็นไปตามตารางที่ ๔ ท้ายประกาศนี้ (๔) ถังกักเก็บแบบ ASME ต้องมีพ้ืนที่ว่างโดยรอบของลิ้นปิดเปิดอย่างน้อย ๐.๙ เมตร เพ่ือวัตถุประสงค์ในการแยกเป็นแต่ละถัง (isolation valve)ส าหรับการติดตั้งแบบเป็นกลุ่มถัง

ข้อ ๙ การติดตั้งหรือก่อสร้างเครื่องท าไอก๊าซ ต้องมีระยะความปลอดภัย ดังนี้ (๑) เครื่องท าไอก๊าซที่ใช้ของเหลวที่ติดไฟได้เป็นสารแลกเปลี่ยนความร้อนและแหล่งก าเนิดความ

ร้อนหรือถังเก็บสารแลกเปลี่ยนความร้อนนี้ต้องตั้งอยู่ห่างจากแหล่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟอย่างน้อย ๑๕ เมตร โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

(ก) ถ้าเครื่องท าไอก๊าซมีมากกว่า ๑ เครื่องถูกติดตั้งหรือก่อสร้างในบริเวณเดียวกัน ให้ถือว่าเครื่องท าไอก๊าซหรือแหล่งก าเนิดความร้อนหรือถังเก็บสารแลกเปลี่ยนความร้อนที่อยู่ในบริเวณเดียวกันไม่เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟ

(ข) ถ้าท่ีตั้งของเครื่องท าไอก๊าซมีระบบปิดอัตโนมัติที่ท าให้เครื่องท าไอก๊าซไม่สามารถท างานได้ ในขณะที่เครื่องท าไอก๊าซก าลังท างานหรือระบบท่อของเครื่องท าไอก๊าซเย็นลงหรือถูกท าให้เย็นลงให้ถือว่ากระบวนการให้ความร้อนหรือหน่วยย่อยอ่ืน ๆ ของอุปกรณ์ท่ีมีไฟไม่ถือว่าเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟ

(๒) เครื่องท าไอก๊าซแบบ integral heated vaporizer ต้องตั้งอยู่ห่างจากแนวเขตที่ดินอย่างน้อย ๓๐ เมตร และอยู่ห่างอย่างน้อย ๑๕ เมตร จากสิ่งต่อไปนี้ (ก) บ่อกักเก็บต่างๆ ของก๊าซธรรมชาติเหลว สารท าความเย็นที่ติดไฟได้ ของเหลวติดไฟได้ หรือทางไหลของของเหลวดังกล่าวจากจุดรั่วไหลไปยังแหล่งกักเก็บของเหลวที่รั่วไหลนี้ (ข) ถังกักเก็บต่างๆ ของ ก๊าซธรรมชาติเหลว ของเหลวติดไฟได้ สารท าความเย็นที่ติดไฟได้ หรือก๊าซที่ติดไฟได้ หรืออุปกรณ์ท่ีไม่ติดไฟที่บรรจุสารดังกล่าว หรือจุดเชื่อมต่อส าหรับขนถ่ายสารดังกล่าว (ค) อาคารควบคุม ส านักงาน และโครงสร้างที่มีคนประจ าการอยู่หรือมีความจ าเป็นต่อการปฏิบัติงาน (๓) เครื่องท าความร้อนหรือแหล่งก าเนิดความร้อนส าหรับเครื่องท าไอแบบ remote heated vaporizer ต้องติดตั้งหรือก่อสร้างให้มีระยะความปลอดภัยตาม (๒) (๔) เครื่องท าไอก๊าซแบบ remote heated vaporizer และ ambient vaporizer และ process vaporizer ต้องตั้งอยู่ห่างจากแนวเขตท่ีดินอย่างน้อย ๓๐ เมตร (๕) เครื่องท าไอก๊าซที่ เชื่อมต่อกับถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวที่มีขนาดความจุไม่เกิน ๒๖๕,๐๐๐ ลิตร จะต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดินตามตารางที่ ๑ ท้ายประกาศนี้ โดยสมมุติให้เครื่องท าไอก๊าซ

Page 6: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 6 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

เป็นถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวโดยให้ใช้ถังที่มีความจุมากที่สุดที่มีการเชื่อมต่อกันเป็นระยะห่างของเครื่องท าไอก๊าซ (๖) เครื่องท าไอก๊าซต้องอยู่ห่างกันอย่างน้อย ๑.๕ เมตร

ข้อ ๑๐ การติดตั้งหรือก่อสร้างอุปกรณ์ท าก๊าซธรรมชาติเหลว ต้องมีระยะปลอดภัย ดังนี้ (๑) อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ภายในบรรจุก๊าซธรรมชาติเหลว สารท าความเย็น ของเหลวหรือก๊าซที่ติดไฟไดต้้องอยู่ห่างจากแหล่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟ แนวเขตที่ดิน ศูนย์ควบคุม ส านักงาน และโครงสร้างที่มีคนประจ าการอยู่หรือมีความจ าเป็นต่อการปฏิบัติงานอย่างน้อย ๑๕ เมตร ยกเว้นอาคารโรงสูบ อาคารสถานีไฟฟ้าย่อย อาคารอุปกรณ์หรือเครื่องวัด และอาคารอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ (๒) ถ้าศูนย์ควบคุมตั้งอยู่ในอาคารสูบอัดก๊าซที่ติดไฟได้ อาคารต้องเป็นโครงสร้างน้ าหนักเบา ไม่ติดไฟ (๓) อุปกรณ์ท่ีมีไฟ หรือ แหล่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟ ของอุปกรณ์ท าก๊าซธรรมชาติเหลว จะต้องอยู่ห่างจาก พื้นที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวหรือระบบระบายก๊าซธรรมชาติเหลวที่รั่วออกมาจากถัง อย่างน้อย ๑๕ เมตร

ข้อ ๑๑ การติดตั้งหรือก่อสร้างแท่นหรือท่ารับและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ต้องมีระยะปลอดภัย ดังนี้ (๑) ท่าเทียบเรือส าหรับรับและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องอยู่ห่างจากสะพานข้ามทางสัญจรทางน้ า

อย่างน้อย ๓๐ เมตร (๒) เครื่องมือหรืออุปกรณ์ของระบบท่อก๊าซส าหรับรับและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวของแท่นหรือท่า

ต้องอยู่ห่างจากสะพานอย่างน้อย ๖๐ เมตร (๓) จุดเชื่อมต่อของระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ของแท่นหรือท่ารับและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวของ

ก๊าซธรรมชาติเหลวหรือสารท าความเย็นที่ติดไฟได้ ต้องอยู่ห่างจากแหล่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟที่ไม่สามารถควบคุมได้ พ้ืนที่ของกระบวนการท าก๊าซธรรมชาติเหลว ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว อาคารต่างๆ ยกเว้นอุปกรณ์ที่จ าเป็นส าหรับการขนถ่าย ไม่น้อยกว่า ๑๕ เมตร

ข้อ ๑๒ ต้องท ารั้วล้อมรอบบริเวณถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวและแท่นรับและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวหรือที่แนวเขตท่ีดินด้วยวัสดุที่ไม่เป็นเชื้อเพลิงโดยมีความสูงไม่น้อยกว่า ๒.๕๐ เมตร และมีประตูที่ท าจากวัสดุที่มีความแข็งแรงและไม่เป็นเชื้อเพลิง ทั้งนี้รั้วดังกล่าวต้องมีระยะห่างจากผนังถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวหรือขอบแท่นรับและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวไม่น้อยกว่า ๑๕.๐๐ เมตร

หมวด ๓

การออกแบบ สร้าง ทดสอบและตรวจสอบก่อนและระหว่างการก่อสร้างหรือติดตั้ง _________________

ข้อ ๑๓ พ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวและระบบระบายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องมีการ

ออกแบบ สร้าง และปริมาณความจุ ให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A อย่างน้อยดังนี้ (๑) พ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวที่ล้อมรอบถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว จะต้องมีปริมาณ

ความจุของการกักเก็บต่ าสุดอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ (ก) กรณีล้อมรอบถังจ านวน ๑ ถัง ต้องมีปริมาณความจุของการกักเก็บ ๑๑๐ เปอร์เซ็นต์

ของปริมาณก๊าซธรรมชาติเหลวสูงสุดในถังที่ยอมให้เก็บได้

Page 7: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 7 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

(ข) กรณีล้อมรอบ มากกว่า ๑ ถัง ต้องมีปริมาณความจุของการกักเก็บ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ของปริมาณก๊าซธรรมชาติเหลวที่ยอมให้เก็บได้ทุกถังรวมกัน หรือ ๑๑๐ เปอร์เซ็นต์ของปริมาณก๊าซธรรมชาติเหลวที่ยอมให้เก็บได้สูงสุดในถังที่มีปริมาณความจุสูงสุดขึ้นกับว่าค่าใดมีค่าสูงกว่าให้ใช้ค่านั้น

กรณีเข่ือนถูกออกแบบมาให้สามารถรับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ให้สามารถใช้ปริมาณความจุของการกักเก็บ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ของปริมาณก๊าซธรรมชาติเหลวที่ยอมให้เก็บได้ทุกถังรวมกัน ได้

(๒) พ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวที่ล้อมรอบเฉพาะ เครื่องท าไอก๊าซ อุปกรณ์ท าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือพ้ืนที่ที่มีท่อส่งก๊าซธรรมชาติเหลวผ่านจะต้องมีปริมาณความจุของการกักเก็บต่ าสุดเท่ากับปริมาณสูงสุดของก๊าซธรรมชาติเหลว สารท าความเย็นหรือของเหลวที่ติดไฟได้ที่สามารถรั่วไหลลงสู่พ้ืนที่กักเก็บได้ในช่วงเวลา ๑๐ นาทีจากแหล่งที่เกิดการรั่วไหลใดๆ

ในกรณีที่มีความประสงค์จะออกแบบให้พ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวมีปริมาณความจุ ของการกักเก็บต่ าสุดน้อยกว่าที่ก าหนดไว้ตามวรรคหนึ่งโดยใช้เวลาการรั่วไหลน้อยกว่า ๑๐ นาที

จะต้องได้รับการพิสูจน์หรือตรวจสอบระบบการระบายก๊าซธรรมชาติเหลวออกจากพ้ืนที่กักเก็บหรือระบบการปิดการรั่วไหลว่าสามารถใช้เวลาน้อยกว่าได้หรือวิธีการอ่ืนที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน

(๓) ห้ามไม่ให้มีช่องระบายในพ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ยกเว้นในกรณีที่ต้องการให้มีการระบายก๊าซธรรมชาติเหลวที่เกิดจากการรั่วไหลออกจากพ้ืนที่วิกฤตอย่างรวดเร็วโดยช่องระบายดังกล่าวจะต้องมีขนาดที่เหมาะกับอัตราการไหลของก๊าซธรรมชาติเหลวและอัตราการเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอก๊าซ

(๔) ในกรณีที่ใช้ภาชนะท่ีมารองรับก๊าซธรรมชาติเหลวที่เกิดจากการรั่วไหลออกจากพ้ืนที่วิกฤตอย่างรวดเร็ว ภาชนะดังกล่าวจะต้องมีขนาดที่เหมาะกับอัตราการไหลของก๊าซธรรมชาติเหลวและอัตราการเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอก๊าซ

(๕) เขื่อน และ ก าแพง ต้องมีการก่อสร้างและออกแบบ อย่างน้อยดังนี้ (ก) เขื่อนและก าแพงจะต้องก่อสร้างด้วยดินบดอัดแน่น ,คอนกรีต,โลหะ หรือวัสดุอ่ืน (ข) เขื่อน ก าแพง ระบบระบายและสิ่งที่มีการเจาะผ่านต่างๆ จะต้องออกแบบให้คงทนกับ

แรงที่เกิดจากน้ าหนัก เมื่อการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติเหลว มีความสูงเต็มพ้ืนที่กักเก็บ และต้องออกแบบให้คงทนต่อผลกระทบจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว การเกิดไฟไหม้ และแรงตามธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว แรงลม และฝน

(๖) ถังกักเก็บสองชั้น และ ถังกักเก็บสมบูรณ์ ต้องถูกออกแบบและก่อสร้างให้ถังชั้นที่สองมีโครงสร้างที่มีความคงทนในกรณีที่เกิดการรั่วไหลและเกิดไฟไหม้ภายในถังชั้นที่สองได้ตลอดช่วงเวลาที่ไฟยังคงไหม้อยู่ในกรณีต่อไปนี้

(ก) ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ในถังชั้นในแล้ว ก าแพงของถังชั้นที่สองจะต้องมีโครงสร้างที่มีความคงทนต่อการพังทลายหากถังชั้นในเสียหายและรั่วไหล

(ข) ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ในถังชั้นในหรือถังชั้นที่สองของถังที่อยู่ใกล้เคียงกันแล้ว ถังชั้นที่สองจะต้องมีโครงสร้างที่มีความคงทนต่อการพังทลายหากถังชั้นในเสียหายและรั่วไหล

(๗) ถังกักเก็บสองชั้น และ ถังกักเก็บปิดสมบูรณ์ ที่มีการต่อท่อของระบบระบายจุดที่ต่อเข้าไปในถังต้องอยู่สูงกว่าระดับของของเหลวในถัง

(๘) เขื่อน หรือก าแพงส าหรับถังกักเก็บที่มีความดันใช้งานไม่เกิน ๑๐๐ กิโลปาสคาล ต้องมีความสูงของเขื่อนและระยะห่างจากถังกักเก็บให้เป็นไปดังตัวอย่างรูปที่ ๑ ท้ายประกาศ

(๙) พ้ืนที่กักเก็บตลอดจนพ้ืนที่ของการระบายต้องก่อสร้างเพ่ือป้องกันการสะสมของน้ าได้ทั้งหมด

Page 8: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 8 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

ข้อ ๑๔ ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ต้องมีการออกแบบ สร้าง ทดสอบและตรวจสอบ ให้เป็นไปตามท่ีก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A หรือมาตรฐานอื่นที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ อย่างน้อยดังนี้ (๑) ต้องเป็นภาชนะหรือถังที่ออกแบบโดยสามารถใช้ในคลังก๊าซธรรมชาติเหลวได้โดยมีการ ออกแบบดังนี้ (ก) การออกแบบโดยทั่วไปให้เป็นไปตามนี้ ๑) มีความม่ันคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับแรงที่เกิดจากความดันใช้งานสูงสุดที่ยอมรับได้รวมถึงความดันต่างๆที่เกินกว่าการใช้งานปกติและต้องมีความม่ันคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับแรงที่เกิดจากค่าสุญญากาศสูงสุดที่ยอมรับได้ด้วย

๒) ถังชั้นในหรือส่วนต่างๆที่โดยปกติสัมผัสกับก๊าซธรรมชาติเหลวและวัสดุทั้งหมดที่สัมผัสกับก๊าซธรรมชาติเหลวหรือไอของก๊าซธรรมชาติเหลวที่มีอุณหภูมิต่ ากว่าลบ ๒๙ องศาเซลเซียสต้องเป็นเหล็กกล้าผสมนิเกิล ๙ เปอร์เซ็นต์ หรือวัสดุที่มีคุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพที่สามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิลบ ๑๖๘ องศาเซลเซียสหรือต่ ากว่าได้ และได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน

๓) ท่อที่อยู่ระหว่างถังชั้นในและถังชั้นนอกภายในฉนวนต้องออกแบบมาที่ความดันใช้งานสูงสุดของถังชั้นในโดยค านึงถึงความดันที่เกิดจากอุณหภูมิต่างๆด้วย โดยท่อทุกเส้นที่เป็นส่วนประกอบของถังรวมถึงท่อที่อยู่ภายในถังและฉนวนและท่อที่อยู่ภายนอกถัง ยกเว้นท่อที่ใช้ส าหรับก าจัดก๊าซเฉื่อย

๔) ต้องมีระบบป้องกันการเกิดการแยกชั้น (stratification prevention) โดยติดตั้งเครื่องมือในการวัดความหนาแน่น อุณหภูมิ ความดันของก๊าซธรรมชาติเหลวภายในถังโดยสามารถบรรจุก๊าซธรรมชาติเหลวได้ทั้งด้านบนและด้านล่างภายในถัง

๕) ถังชั้นนอกที่ท าด้วยเหล็กกล้าคาร์บอนหากเกิดการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติเหลวจากถังชั้นในแล้วถังชั้นนอกไม่สามารถกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวไว้ได้โดยท าหน้าที่เพียงหุ้มฉนวนไว้เท่านั้น จะต้องมีเขื่อน ก าแพง หรือคันดิน เพ่ือสามารถกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวที่รั่วไหลไว้ได้ทั้งหมด โดยไม่มีการแตกหักหรือเสียหายเนื่องจากคุณสมบัติของก๊าซธรรมชาติเหลวหรือความร้อนกรณีท่ีเกิดการติดไฟ

๖) ให้ใช้ความหนาแน่นของของเหลวในการออกแบบที่อุณหภูมิต่ าสุดที่ใช้ในการเก็บหรืออย่างน้อยเท่ากับ ๔๗๐ กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

(ข) ในกรณีพ้ืนที่ใดอยู่ในเขตที่อาจจะได้รับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ต้องออกแบบให้มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับแรงที่เกิดจากแผ่นดินไหวตามท่ีก าหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารด้วย

(ค) ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวที่ผลิตจากโรงงานต้องเป็นภาชนะท่ีออกแบบโดยสามารถใช้ในคลังก๊าซธรรมชาติเหลวได้โดยมีการออกแบบ สร้าง ตรวจสอบ และทดสอบตามมาตรฐาน ASME (boiler and pressure vessel code) โดยสามารถรับแรงต่างๆที่ก าหนดไว้ (ง) ต้องออกแบบถังชั้นนอกให้มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับแรงที่เกิดจากน้ าหนักแรงที่กระท าจากภายนอก แรงลมตลอดจนแรงต่างๆที่เกิดข้ึนขณะปฏิบัติงาน (จ) ให้มีฉนวนระหว่างถังชั้นในและถังชั้นนอก โดยมีคุณสมบัติไม่ติดไฟและสามารถทนต่อสถานะของก๊าซธรรมชาติเหลวได้ และไม่ละลายหรือเปลี่ยนรูปเมื่อถูกความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ภายในถัง กรณีท่ีใช้ฉนวนภายนอกจะต้องเป็นฉนวนที่ไม่ติดไฟป้องกันการไหลผ่านของไอก๊าซ ไม่มีความชื้น ไม่เคลื่อนตัวหรือหลุดง่าย โดยมีเปลือกนอกที่ท าจากเหล็กหรือคอนกรีตหุ้มฉนวนไว้ และฉนวนที่อยู่ใต้ถังจะต้องมีความแข็งแรงเพียงพอในการรับน้ าหนักต่างๆ ที่กระท าได้ (ฉ) ให้ติดตั้งอุปกรณ์วัดระดับของเหลวที่เป็นอิสระต่อกันอย่างน้อยสองตัวที่ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว โดยมีลักษณะดังนี้

Page 9: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 9 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

๑) ต้องออกแบบให้สามารถเปลี่ยนหรือทดแทนได้โดยไม่ต้องหยุดการใช้งานถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว

๒) ต้องออกแบบให้สามารถเตือนได้เมื่อระดับของของเหลวในถังสูงกว่าที่ออกแบบไว้

(ช) ให้ติดตั้งมาตรวัดความดันในจุดที่มีท่อทางออกเหนือกว่าระดับของเหลวและมีการบอกค่าความดันใช้งานสูงสุดไว้ด้วย

(ซ) ให้ติดตั้งอุปกรณ์ระบายความดัน (pressure relief device)ในจุดที่มีท่อทางออกเหนือกว่าระดับของเหลว ให้มีขนาดและสมรรถนะหรืออ่ืนๆให้เป็นไปตามที่ได้ออกแบบไว้ (ฌ) ให้ติดตั้งอุปกรณ์ระบายสุญญากาศ (vacuum relief device) ให้มีขนาดและสมรรถนะหรืออ่ืนๆให้เป็นไปตามที่ได้ออกแบบไว้ (ญ) ให้ติดตั้งตัววัดอุณหภูมิ (temperature indicator) ให้เป็นไปตามที่ได้ออกแบบไว้

(ฎ) ฐานรากรองรับถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องมีความม่ันคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ าหนักของถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวและน้ าหนักบรรทุกในอัตราสูงสุด รวมทั้งน้ าหนักอ่ืนๆที่กระท าต่อถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวนั้นได้โดยปลอดภัยและอย่างน้อยให้เป็นไปตามข้อก าหนด ดังนี้

๑) มีผลส ารวจคุณสมบัติของดินในบริเวณก่อสร้างถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวไม่น้อยกว่า ๒ จุด เพ่ือประกอบการค านวณความมั่นคงแข็งแรงของฐานรากรองรับถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว

๒) ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องออกแบบเพ่ือป้องกันพ้ืนดินเกิดเป็นน้ าแข็ง (ground freezing) โดยการติดตั้งอุปกรณ์ให้ความร้อนแก่ฐานรากหรือสร้างฐานรากบนเสาเข็มให้สูงขึ้น

หากใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนแก่ฐานรากตามวรรคหนึ่งจะต้องส ารวจตรวจสอบอุณหภูมิทุก ๖ เดือนหลังการใช้งานครั้งแรก และทุกปีหลังจากนั้น และต้องตรวจสอบเพิ่มเติม หากพบว่าบางพ้ืนที่เย็นผิดปกติ

๓) วัสดุที่ใช้ท าถังชั้นนอกจะต้องป้องกันการสัมผัสกับน้ าในดิน ส าหรับในส่วนที่สัมผัสกับดินจะต้องมีการป้องกันการผุกร่อนให้เป็นไปตามที่ได้ออกแบบไว้

๔) ในกรณีที่ภายในเขื่อนมีการติดตั้งถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวตั้งแต่ ๒ ถังข้ึนไป ฐานรากจะต้องมีความคงทนหรือมีการป้องกันจากการสัมผัสกับก๊าซธรรมชาติเหลวโดยตรง

(๒) ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวที่ท าจากโลหะต้องเป็นภาชนะหรือถังที่ออกแบบโดยสามารถใช้ในคลังก๊าซธรรมชาติเหลวได้โดยมีการออกแบบตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A หรือมาตรฐานอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบดังนี้ (ก) กรณีท่ีออกแบบส าหรับความดันใช้งานไม่เกิน ๑๐๐ กิโลปาสคาล ให้ออกแบบ สร้าง ตรวจสอบ และทดสอบตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน API 620 (ข) กรณีที่ออกแบบส าหรับความดันใช้งานเกินกว่า ๑๐๐ กิโลปาสคาล ให้ออกแบบ สร้าง ตรวจสอบ และทดสอบอย่างน้อยดังนี้ ๑) ต้องเป็นภาชนะที่มีผนังสองชั้นที่ผนังชั้นในสามารถใช้กับก๊าซธรรมชาติเหลวได้ โดยมีผนังชั้นนอกหุ้มฉนวนไว้ ๒) ถังชั้นในต้องก่อสร้างโดยการเชื่อมด้วยไฟฟ้าให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน ASME Sec VIII และสามารถรับความดันได้ดังนี้

Page 10: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 10 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

๒.๑) ในกรณีที่ใช้สุญญากาศเป็นฉนวน ความดันที่ใช้ในการออกแบบต้องเท่ากับผลรวมของความดันใช้งาน ความดันที่เกิดจากสุญญากาศและน้ าหนักสถิตย์ของก๊าซธรรมชาติเหลว ๒.๒) ในกรณีที่ฉนวนไม่เป็นสุญญากาศ ความดันที่ใช้ในการออกแบบต้องเท่ากับผลรวมของความดันใช้งาน และน้ าหนักสถิตย์ของก๊าซธรรมชาติเหลว ๒.๓) ถังชั้นในต้องออกแบบให้สามารถรับแรงรวมอันเกิดจากความดันภายใน น้ าหนักสถิตย์ของก๊าซธรรมชาติเหลว ความดันสถิตย์ของฉนวน แรงอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ท าให้ถังชั้นในและถังชั้นนอกเกิดความเค้นอันเนื่องมาจากการยืดและหดตัวของถัง และแรงที่เกิดจากแผ่นดินไหว ๓) ถังชั้นนอกต้องก่อสร้างโดยการเชื่อมให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน ASME Sec VIII และมีลักษณะดังนี้ ๓.๑) วัสดุที่ใช้ต้องเป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน ASME Sec VIII หรือมาตรฐาน ASME Sec II ๓.๒) ในกรณีที่ฉนวนเป็นสุญญากาศ ถังชั้นนอกต้องออกแบบให้รับความดันจากภายนอกตามที่ก าหนดไว้ใน มาตรฐาน ASME Sec VIII หรือ มาตรฐาน CGA 341 (standard for insulated cargo tank specification for cryogenic liquids) ๓.๓) ส่วนหัวและส่วนที่เป็นทรงกลมของถังชั้นนอกต้องขึ้นรูป และประกอบกันโดยการเชื่อมด้วยไฟฟ้าให้เป็นไปตามท่ีก าหนดไว้ในมาตรฐาน ASME Sec VIII ๓.๔) ส่วนประกอบทั้งหมดต้องออกแบบให้รับแรงจากความดันสูงสุดได้ ๓.๕) ให้ติดตั้งอุปกรณ์นิรภัยแบบระบายหรืออุปกรณ์อ่ืน เพ่ือลดความดันภายใน โดยมีพ้ืนที่การระบายอย่างน้อย ๐.๐๐๓๔ ตารางเซนติเมตร ต่อปริมาตรความจุของถังเป็นลิตรของถังชั้นใน แต่ทั้งนี้ต้องมีพ้ืนที่การระบายไม่เกินกว่า ๒,๐๐๐ ตารางเซนติเมตร โดยต้องท างานที่ความดันไม่เกินความดันภายในของถังชั้นนอก หรือความดันภายนอกของถังชั้นใน หรือ ๑๗๒ กิโลปาสคาล ขึ้นกับว่าค่าใดเป็นค่าท่ีน้อยที่สุด ๓.๖) ต้องมีการป้องกันไม่ให้ถังชั้นนอกมีอุณหภูมิต่ ากว่าที่ได้ออกแบบไว้ ๓.๗) ฐานรองรับถังและขาถังต้องออกแบบให้คงทนต่อแรงที่เกิดจากการขนส่ง การติดตั้ง แผ่นดินไหว แรงลม และแรงที่เกิดจากการขยายตัวเนื่องจากความร้อน ๓.๘) ฐานรากและฐานยึดถังต้องทนไฟไหม้ได้อย่างน้อย ๒ ชั่วโมง ๓.๙) ฉนวนที่ใช้ต้องมีคุณสมบัติทนไฟอัตราไม่น้อยกว่า ๒ ชั่วโมง และต้องไม่เสียรูปทรงจากการดับเพลิงในช่วงเวลาดังกล่าว ๓.๑๐) ท่อที่อยู่ระหว่างถังชั้นในและถังชั้นนอกภายในฉนวนต้องออกแบบมาที่ความดันใช้งานสูงสุดของถังชั้นในโดยค านึงถึงความเค้นที่เกิดจากอุณหภูมิต่างๆด้วย

(๓) ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวที่ท าจากวัสดุอ่ืนๆ เช่น คอนกรีตอัดแรง (prestressed concrete)จะต้องมีคุณสมบัติสามารถกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวที่รั่วไหลไว้ได้โดยไม่มีการแตกหักหรือเสียหายเนื่องจากคุณสมบัติของก๊าซธรรมชาติเหลวหรือความร้อนกรณีที่เกิดการติดไฟและต้องเป็นภาชนะหรือถังที่ออกแบบโดยสามารถใช้ในคลังก๊าซธรรมชาติเหลวได้ (๔) ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องมีการท าเครื่องหมายแสดงข้อมูลโดยมีรายละเอียดและวิธีการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบ

(๕) ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องสร้าง ทดสอบและตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบโดยต้องด าเนินการทดสอบและตรวจสอบอย่างน้อย ดังนี้

(ก) การทดสอบและตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุ (mechanical test)

Page 11: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 11 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

(ข) การทดสอบและตรวจสอบแนวเชื่อมด้วยกรรมวิธีไม่ท าลายสภาพเดิม (nondestructive test)

(ค) การตรวจพินิจด้วยสายตา (visual inspection) (ง) การทดสอบด้วยความม่ันคงแข็งแรงของการก่อสร้างหรือติดตั้งด้วยการอัดความดันด้วยน้ า

หรือรับน้ าหนักด้วยน้ า (hydraulic or hydrostatic test) (จ) การทดสอบการรั่วด้วยก๊าซเฉื่อย (pressure leak test) หรือการทดสอบโดยใช้กล่อง

สุญญากาศ (vacuum box test)

ข้อ ๑๕ ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวแบบ ASME ต้องมีการออกแบบ สร้าง ทดสอบและตรวจสอบ ให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59 A หรือมาตรฐานอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบโดยต้องด าเนินการทดสอบและตรวจสอบอย่างน้อย ให้เป็นไปตามข้อ ๑๔(๕)

ข้อ ๑๖ เครื่องท าไอก๊าซ ต้องมีการออกแบบ สร้าง ทดสอบและตรวจสอบ ให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A หรือมาตรฐานอื่นท่ีกรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ ดังนี้

(๑) ในกรณีที่อุณหภูมิของแหล่งก าเนิดความร้อนตามธรรมชาติของเครื่องท าไอก๊าซแบบ ambient vaporizer มีอุณหภูมิมากกว่า ๑๐๐ องศาเซลเซียส ให้ใช้เครื่องท าไอก๊าซที่เป็นแบบตัวแลกเปลี่ยนความร้อนและแหล่งก าเนิดความร้อนแยกส่วนห่างออกจากกัน โดยให้ออกแบบ และสร้าง เป็นเครื่องท าไอก๊าซแบบ remote heated vaporizer

(๒) เครื่องท าไอก๊าซต้องออกแบบ สร้าง ทดสอบและตรวจสอบ ให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ใน มาตรฐาน ASME Sec VIII ตวัแลกเปลี่ยนความร้อน (vaporizer heat exchanger) ต้องออกแบบให้มีความดันใช้งานอย่างน้อยเท่ากับความดันสูงสุดที่ท่อทางออกของเครื่องสูบก๊าซธรรมชาติเหลว หรือถังที่มีความดันก่อนต่อเข้ากับเครื่องท าไอก๊าซ ขึ้นกับว่าค่าใดสูงกว่า

(ก) ระบบท่อของเครื่องท าไอก๊าซ และสารแลกเปลี่ยนความร้อนต้องออกแบบ สร้าง ทดสอบ และตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบโดยมีลักษณะดังนี้ ให้ติดตั้งลิ้นปิดเปิดที่ท่อทางเข้าและท่อทางออกของเครื่องท าไอก๊าซแต่ละเครื่อง

(ข) ลิ้นที่ท่อทางออกของเครื่องท าไอก๊าซแต่ละเครื่อง รวมถึงระบบท่อก๊าซ และลิ้นแบบระบายที่ติดตั้งก่อนลิ้นที่ท่อทางออกของเครื่องท าไอก๊าซ ต้องออกแบบ และสร้าง ให้สามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิ ลบ๑๖๒ องศาเซลเซียสได้

(ค) ให้ติดตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติเพ่ือป้องกันการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติเหลวหรือไอก๊าซที่จ่ายเข้าสู่ระบบที่มีอุณหภูมิไม่เป็นไปตามอุณหภูมิของระบบที่ออกแบบไว้ โดยมีตัวควบคุมแยกออกจากตัวควบคุมการไหล และจะต้องใช้ในกรณีฉุกเฉินได้

(ง) การระบายก๊าซธรรมชาติเหลวหรือก๊าซที่สะสมอยู่ระหว่างลิ้น ให้เดินท่อไปยังบริเวณท่ีไม่มีแหล่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟและไม่มีคนอยู่

(๓) ให้ติดตั้งอุปกรณ์ระบายความดันบนเครื่องท าไอก๊าซให้มีค่าความดันที่ตั้งไว้ อัตราการระบาย และอุณหภูมิการใช้งานให้เป็นไปตามท่ีก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59 A หรือวิธีการอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ

ข้อ ๑๗ อุปกรณ์ท าก๊าซธรรมชาติเหลว ต้องมีการออกแบบ สร้าง ทดสอบและตรวจสอบ ให้เป็นไปตามท่ีก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A หรือมาตรฐานอื่นที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ ดังนี้

Page 12: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 12 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

(๑) เครื่องสูบและเครื่องสูบอัด (ก) ต้องท าจากวัสดุที่สามารถใช้งานได้ท่ีอุณหภูมิและความดัน ที่ออกแบบไว้ (ข) ต้องติดตั้งลิ้นปิดเปิดที่เครื่องสูบ และเครื่องสูบอัดแต่ละเครื่องเพ่ือให้สามารถปิดเปิดได้

เพ่ือการซ่อมบ ารุง (ค) ในกรณีที่เครื่องสูบหรือเครื่องสูบอัดแบบ centrifugal ถูกติดตั้งขนานกัน ให้ติดตั้งลิ้น

ป้องกันการไหลกลับ (check valve) ที่เครื่องสูบหรือเครื่องสูบอัดที่ติดตั้งขนานกันแต่ละเครื่อง (ง) เครื่องสูบและเครื่องสูบอัดต้องมีอุปกรณ์ระบายความดัน (pressure relief device) ที่

ทางออกเพ่ือป้องกัน ไม่ให้ระบบท่อและอุปกรณ์มีความดันเกินกว่าที่ได้ออกแบบไว้ (จ) เครื่องสูบแต่ละเครื่องต้องมีลิ้นระบายเพ่ือป้องกันเครื่องสูบมีความดันเกินกว่าที่ได้

ออกแบบไว้ในช่วงระหว่างที่มีอัตราการเย็นตัวสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้

(๒) ถังกักเก็บสารท าความเย็นที่ติดไฟได้ ถังกักเก็บของเหลวที่ติดไฟได้ หม้อน้ า (boiler) ถังความดัน (pressure vessel) เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน และอ่ืนๆ ให้มีการออกแบบสร้าง ทดสอบและตรวจสอบ และติดตั้งให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบ

ข้อ ๑๘ แท่นหรือท่ารับและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ต้องมีการออกแบบ สร้าง ทดสอบและตรวจสอบให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59 A หรือมาตรฐานอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ ดังนี้

(๑) ท่ารับและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องออกแบบ สร้าง ทดสอบและตรวจสอบให้เป็นไปมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบ

(๒) แท่นรับและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องท าจากวัสดุที่ไม่ติดไฟและให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบ

(๓) พ้ืนทีข่องแท่นรับและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องมีขนาดของพ้ืนที่พอเพียงส าหรับยานพาหนะในการรับและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว

(๔) แท่นรับและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องออกแบบและสร้าง โดยมีการป้องกันไม่ให้ระบบท่อก๊าซ เครื่องสูบ และเครื่องสูบอัดก๊าซได้รับการเสียหายจากรถขนส่งหรือรถไฟขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว

ข้อ ๑๙ ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ ต้องมีการออกแบบ สร้าง ทดสอบและตรวจสอบ ให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A หรือมาตรฐานอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ

ข้อ ๒๐ อาคารและโครงสร้างที่อยู่ใกล้กับถังก๊าซธรรมชาติเหลวและสารท าความเย็นที่มีคุณสมบัติติดไฟได้ ต้องมีคุณลักษณะและการระบายอากาศและอ่ืนๆให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A หรือมาตรฐานอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ

หมวด ๔

การติดตั้งหรือก่อสร้าง _________________

ข้อ ๒๑ การติดตั้งถังกักเก็บแบบ ASME จะต้องมีปริมาณความจุรวมสูงสุดภายในคลังก๊าซธรรมชาติเหลว ไม่เกิน ๑,๐๖๐,๐๐๐ ลติร

Page 13: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 13 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

ข้อ ๒๒ ถังกักเก็บแบบ ASME แบบกลบหรือแบบใต้พ้ืนดินต้องป้องกันการแยกส่วนของฉนวนกันความร้อนที่อุณหภูมิ ๐ องศาเซลเซียสจากการแทรกซึมของดิน และหากมีการใช้ระบบที่ให้ความร้อนในการป้องกันจะต้องติดตั้งให้สามารถเปลี่ยนตัวให้ความร้อนและหัวตรวจวัดอุณหภูมิได้สะดวกพร้อมทั้งมีการป้องกันหรือลดการผุกร่อนของส่วนประกอบต่างๆที่สัมผัสกับดิน

ข้อ ๒๓ ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ที่มีขนาดมากกว่า ๕๐๐ ลิตร ห้ามวางอยู่ในอาคาร

ข้อ ๒๔ ต้องติดตั้งอุปกรณ์ท าไอก๊าซธรรมชาติเหลวที่ภายในบรรจุก๊าซธรรมชาติเหลว สารท าความเย็นที่ติดไฟได้หรือก๊าซที่ติดไฟได้ ดังนี้

(๑) ให้ติดตั้งภายนอกอาคาร เพื่อความสะดวกในการดับเพลิงและการแพร่กระจายของของเหลวและก๊าซหากเกิดการรั่วไหล

(๒) หากมีการติดตั้งในอาคาร อาคารจะต้องมีลักษณะให้เป็นไปตามข้อ ๒๐

ข้อ ๒๕ ต้องติดตั้งหรือก่อสร้างระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์รวมถึงฐานรองรับท่อ ให้เป็นไปตามท่ีก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A หรือมาตรฐานอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ

ข้อ ๒๖ ต้องท าเครื่องหมายที่ท่อก๊าซให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A หรือมาตรฐานอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ

ข้อ ๒๗ ต้องมีการป้องกันการผุกร่อนระบบท่อก๊าซให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59Aหรือมาตรฐานอื่นที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ

หมวด ๕ การทดสอบและตรวจสอบ

พื้นที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว เครื่องท าไอก๊าซ อุปกรณ์ท าก๊าซธรรมชาติเหลว ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์หลังการก่อสร้างหรือติดตั้ง

_________________ ข้อ ๒๘ พ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว เครื่องท าไอก๊าซ อุปกรณ์ท า

ก๊าซธรรมชาติเหลว ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ เมื่อติดตั้งหรือก่อสร้างเสร็จแล้วก่อนใช้งานหรือที่ได้รับความเสียหายที่อาจก่อให้เกิดอันตราย หรือที่ต้องทดสอบตามวาระระหว่างการใช้งานต้องได้รับการทดสอบและตรวจสอบให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A หรือมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบ หรือมาตรฐานอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบโดยต้องด าเนินการทดสอบและตรวจสอบอย่างน้อย ดังนี้

(๑) เมื่อติดตั้งหรือก่อสร้างเสร็จแล้วก่อนใช้งาน (ก) การตรวจพินิจด้วยสายตา (visual inspection) (ข) การทดสอบด้านความมั่นคงแข็งแรงของการก่อสร้างหรือติดตั้งด้วยการอัดความดันด้วย

น้ าหรือรับน้ าหนักด้วยน้ า(hydraulic or hydrostatic test) (ค) การทดสอบการรั่วด้วยก๊าซเฉื่อย (pressure leak test) หากไม่มีการทดสอบการรั่วด้วย

วิธีการอ่ืนขณะท าการก่อสร้าง เช่น การทดสอบโดยใช้กล่องสุญญากาศ (vacuum block test)

Page 14: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 14 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

(ง) ตรวจสอบการท างานต่างๆของอุปกรณ์ว่าสามารถท างานได้อย่างถูกต้องก่อนการลดอุณหภูมิและบรรจุก๊าซธรรมชาติเหลว(commissioning)

(จ) ทดสอบและตรวจสอบการท างานของอุปกรณ์ป้องกันความดันตามที่ได้ออกแบบไว้

(๒) เมื่อได้รับความเสียหายที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต้องด าเนินการทดสอบและตรวจสอบตามมาตรฐานที่ได้ออกแบบไว้

(๓) เมื่อทดสอบตามวาระระหว่างการใช้งาน (ก) การตรวจพินิจด้วยสายตา (visual inspection) (ข) การทดสอบด้านความมั่นคงแข็งแรงของการก่อสร้างหรือติดตั้งด้วยการอัดความดันด้วยน้ า

หรือรับน้ าหนักด้วยน้ า(hydraulic or hydrostatic test) ถา้มาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบก าหนดไว้ว่าต้องทดสอบตามวาระระหว่างการใช้งาน

(ค) การทดสอบการรั่วด้วยก๊าซเฉื่อย (pressure leak test) หรือวิธีการอ่ืน เช่น การทดสอบโดยใช้กล่องสุญญากาศ (vacuum box test) ถ้ามาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบก าหนดไว้ว่าต้องทดสอบตามวาระระหว่างการใช้งาน

(ง) ทดสอบและตรวจสอบการท างานของอุปกรณ์ป้องกันความดันเกินกว่าตามที่ได้ออกแบบไว้ทุกปี ส าหรับถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว และ ทุกๆ ๕ ปี ส าหรับระบบท่อและอุปกรณ์อ่ืนนอกเหนือจากถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติ

ข้อ ๒๙ ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว เครื่องท าไอก๊าซ อุปกรณ์ท าก๊าซธรรมชาติเหลว ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ท่ีได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุหรือไฟไหม้ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายที่ไม่ผ่านการทดสอบห้ามน ามาใช้งานจนกว่าผู้รับใบอนุญาตจะด าเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จก่อนพร้อมทั้งท าการทดสอบและตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบและได้รับการรับรองจากวิศวกรทดสอบและตรวจสอบ

หมวด ๖ การติดตั้งเครื่องมือวัดและระบบไฟฟ้า

_________________ ข้อ ๓๐ ต้องติดตั้งเครื่องมือวัดและอุปกรณ์ต่างๆให้เป็นไปตามท่ีก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59Aหรือมาตรฐานอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบโดยต้องติดตั้งอย่างน้อยดังนี้

(๑) ให้ติดตั้งอุปกรณ์วัดระดับของเหลวที่ถังเก็บสารท าความเย็นหรือสารอ่ืนๆ ที่ติดไฟได้ ให้ติดตั้งอุปกรณ์วัดความดัน (pressure gauging) ที่ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ถังเก็บสารท าความเย็น และถังเก็บของเหลวที่ติดไฟได้ในจุดที่เหนือกว่าระดับสูงสุดของของเหลวในถัง

(๒) ให้ติดตั้งอุปกรณ์วัดสุญญากาศ (vacuum gauging) ในส่วนที่เป็นสุญญากาศของถังกักเก็บ ระบบท่อ และอุปกรณ์เพ่ือใช้ในการตรวจวัด

(๓) ให้ติดตั้งตัววัดอุณหภูมิ (temperature indicator) ที่ท่อทางเข้าและทางออกของเครื่องท าไอก๊าซและที่สารแลกเปลี่ยนความร้อนเพ่ือตรวจสอบประสิทธิภาพของการเปลี่ยนสถานะและที่ระบบวัดอุณหภูมิของฐานรากของถังกักเก็บและอุปกรณ์ต่างๆที่มีโอกาสเกิดการจับตัวเป็นน้ าแข็งของน้ าในพ้ืนดิน

Page 15: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 15 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

(๔) ให้ติดตั้งระบบปิดฉุกเฉินที่ถังกักเก็บ เครื่องท าไอก๊าซ และอุปกรณ์ท าก๊าซธรรมชาติเหลวโดยออกแบบให้สามารถท างานได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟดับระบบลมของเครื่องมือปิดฉุกเฉินเกิดการขัดข้องจนกว่าจะได้รับการซ่อมแซมหรือแก้ไขปัญหาจากผู้ปฏิบัติงาน

ข้อ ๓๑ ต้องติดตั้งระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆให้เป็นไปตามท่ีก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A หรือมาตรฐานอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบโดยอย่างน้อยดังนี้

(๑) อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสายไฟต่างๆที่ใช้ในคลังก๊าซธรรมชาติเหลวต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบ

(๒) การติดตั้งระบบสายดิน และระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบ

หมวด ๗

การรับรองการติดตั้งและการก่อสร้าง _________________

ข้อ ๓๒ การรับรองการติดตั้งและการก่อสร้าง พ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว เครื่องท าไอก๊าซ อุปกรณ์ท าก๊าซธรรมชาติเหลว แท่นหรือท่ารับและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ตลอดจนรั้ว ก าแพงหรือสิ่งก่อสร้างอ่ืนๆตามหมวด ๓ และหมวด ๔ สามารถกระท าโดยวิศวกรทดสอบและตรวจสอบหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ แต่วิศวกรทดสอบและตรวจสอบดังกล่าวต้องไม่เป็นรายเดียวกันกับผู้ที่ท าการทดสอบและตรวจสอบนั้น

หมวด ๘ การรับ การจ่าย การถ่ายเท และการขนย้าย

ก๊าซธรรมชาติเหลว สารท าความเย็น ของเหลวและก๊าซที่ติดไฟได้ _________________

ข้อ ๓๓ การรับ การจ่าย การถ่ายเท และการขนย้ายก๊าซธรรมชาติเหลว สารท าความเย็น ของเหลวและก๊าซที่ติดไฟได้รวมถึงการไล่ก๊าซธรรมชาติเหลวออกจากถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว และระบบท่อต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59 A หรือมาตรฐานอื่นที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ

ข้อ ๓๔ ผู้รับใบอนุญาตจะต้องจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวลงในถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวหรือจ่ายก๊าซธรรมชาติลงสู่ระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมธุรกิจพลังงานเท่านั้น

ข้อ ๓๕ แท่นจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว หรือจุดรับหรือจุดจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องมีระบบสายดินเชื่อมต่อขณะที่มีการรับหรือจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว

ข้อ ๓๖ ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดท าข้ันตอนในการรับหรือจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวไว้ในบริเวณรับหรือจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวและหรือแท่นจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว

หมวด ๙

Page 16: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 16 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

การป้องกันและระงับอัคคีภัย _________________

ข้อ ๓๗ คลังก๊าซธรรมชาติเหลวต้องมีระบบปิดฉุกเฉิน (emergency shutdown system) เพ่ือปิดหรือตัดการจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ของเหลวที่ติดไฟได้ สารท าความเย็นที่ติดไฟได้หรือก๊าซที่ติดไฟได้โดยมีการติดตั้งให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59 A หรือมาตรฐานอื่นท่ีกรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ

ข้อ ๓๘ คลังก๊าซธรรมชาติเหลวต้องจัดให้มีสัญญาณเตือนภัย โดยรับสัญญาณจากการตรวจจับก๊าซที่ติดไฟได้ที่รั่วไหล (gas detection) และตรวจจับการเกิดไฟได้ (fire detection) โดยติดตั้งในพื้นที่ท่ีมีโอกาสเกิดการรั่วไหลให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59 A ทั้งนี้อุปกรณ์แจ้งเหตุดังกล่าวต้องมีจ านวนไม่น้อยกว่า ๒ จุดและบริเวณอาคารส านักงานอีก ๑ จุด หรือตามท่ีกรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ และต้องทดสอบสัญญาณเตือนภัยอย่างสม่ าเสมออย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง

ข้อ ๓๙ คลังก๊าซธรรมชาติเหลวต้องมีระบบดับเพลิงและระบบควบคุมเพลิงให้เป็นไปตามท่ีก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59 A หรือวิธีการอ่ืนที่กรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบโดยต้องมีอย่างน้อยดังนี้

(๑) ต้องติดตั้งระบบท่อน้ าดับเพลิง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๐๐ มิลลิเมตร และมีหัวจ่ายน้ าดับเพลิงไม่น้อยกว่า ๒ จุด

ส าหรับคลังก๊าซธรรมชาติเหลวที่มีระบบท่อน้ าดับเพลิงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า ๒๐๐ มิลลิเมตร จะต้องติดตั้งท่อรับน้ าจากภายนอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๐๐ มิลลิเมตร และมีหัวท่อรับไม่น้อยกว่า ๒ หัว หรือมีขนาดเท่ากับขนาดของท่อน้ าประปาส าหรับดับเพลิงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งต้องจัดให้มีข้อต่อเพ่ือรับน้ าดับเพลิง ให้มีชนิดเดียวกับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย

(๒) ต้องมีเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งหรือน้ ายาดับเพลิง ซึ่งสามารถใช้ดับเพลิง อันเกิดจากก๊าซธรรมชาติเหลวได้ และเครื่องดับเพลิงดังกล่าวต้องมีขนาดความจุไม่น้อยกว่า ๖.๘๐ กิโลกรัม โดยให้จัดวางเครื่องดับเพลิงให้กระจายตามจุดต่างๆ เพ่ือให้ผู้ใช้เข้าถึงเครื่องดับเพลิงได้โดยสะดวก และมีรายละเอียดดังนี้

(ก) บริเวณกลุ่มที่ตั้งเครื่องสูบก๊าซธรรมชาติเหลวต้องมีไม่น้อยกว่า ๒ เครื่องต่อจ านวนเครื่องสูบก๊าซธรรมชาติเหลว ๑ เครื่อง

(ข) บริเวณแท่นจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวหรือจุดรับก๊าซธรรมชาติเหลวต้องมีไม่น้อยกว่า ๒ เครื่องต่อจุดรับ หรือช่องจ่ายหนึ่งช่อง

(ค) บริเวณท่าเทียบเรือ ซึ่งรับหรือจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวต้องมีไม่น้อยกว่า ๒ เครื่อง และให้มีขนาดความจุไม่น้อยกว่า ๕๐ กิโลกรัม อีก ๑ เครื่อง ต่อจุดรับหรือจ่าย

(ง) ในกรณีท่ีมีเชื้อเพลิงชนิดอ่ืนในบริเวณนั้น เครื่องดับเพลิง ต้องมีระดับความสามารถในการดับเพลิง (Fire Rating) ขั้นต่ าที่ใช้ได้กับเชื้อเพลิงชนิดนั้นด้วย

(๓) ต้องจัดให้มีสารละลายโฟมชนิดขยายตัวสูง(high expansion foam) ที่มีการขยายตัวไม่น้อยกว่า ๒๐๐ เท่า หรือที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการดับเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเหลว โดยมีรายละเอียดและปริมาณและวิธีการให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA หรือมาตรฐานอื่นท่ีกรมธุรกิจพลังงานเห็นชอบ

(๔) คลังก๊าซธรรมชาติเหลวต้องจัดให้มีระบบจ่ายน้ าส าหรับดับเพลิงให้เพียงพอต่อการระงับอัคคีภัย (๕) เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งหรือน้ ายาดับเพลิง และน้ ายาโฟมเข้มข้นต้องตรวจสอบคุณภาพ

โดยการสุ่มตัวอย่าง อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง และส่งรายงานการตรวจสอบคุณภาพให้กรมธุรกิจพลังงานทราบ เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง หรือน้ ายาดับเพลิงและน้ ายาโฟมเข้มข้น ต้องมีคุณภาพพร้อมที่ใช้งาน

ได้ตลอดเวลา

Page 17: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 17 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

(๕) ส าหรับท่อน้ าดับเพลิงและท่อโฟม ให้ทาสีตลอดทั้งเส้น ท่อน้ าดับเพลิงให้ใช้สีแดง ท่อโฟมให้ ใช้สีเหลือง

ข้อ ๔๐ ต าแหน่งที่ตั้งเครื่องสูบน้ าดับเพลิงและอุปกรณ์ ที่ใช้ในการดับเพลิงต้องห่างจากบริเวณแท่นจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว กลุ่มถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวและจุดรับหรือจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ไม่น้อยกว่า ๓๐.๐๐ เมตร

ข้อ ๔๑ ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดท าแผนระงับเหตุเพลิงไหม้ และมีการฝึกซ้อมแผนระงับเหตุเพลิงไหม้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้งและต้องจัดท ารายงานการฝึกซ้อมแผนระงับเหตุเพลิงไหม้ ให้กรมธุรกิจพลังงานทราบ และเก็บรายงานการฝึกซ้อมไว้ไม่น้อยกว่า ๑ ปี

ข้อ ๔๒ ผู้รับใบอนุญาตต้องจัดท า รายงานการประเมินความเสี่ยง (risk assessment) โดยให้เป็นไปตามท่ีกรมธุรกิจพลังงานประกาศก าหนด

หมวด ๑๐ การปฏิบัติเม่ือเกิดอุบัติเหตุ

_________________

ข้อ ๔๓ เมื่อเกิดอุบัติเหตุภายในคลังก๊าซธรรมชาติเหลวมีผลท าให้ก๊าซธรรมชาติรั่วไหลหรือเกิดเหตุเพลิงไหม้ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้แทนผู้รับใบอนุญาตต้องแจ้งการเกิดอุบัติเหตุต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานหรือ ผู้ที่อธิบดีมอบหมายทันที และรายงานการเกิดอุบัติเหตุเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน ๒ วัน นับจากเวลาที่สิ้นสุดการเกิดอุบัติเหตุ แบบรายงานการเกิดอุบัติเหตุให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้

ข้อ ๔๔ ในกรณีที่คลังก๊าซธรรมชาติเหลว ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจนอาจจะมีผลกระทบต่อความแข็งแรงของถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว เครื่องท าไอก๊าซ อุปกรณ์ท าก๊าซธรรมชาติเหลว ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ส่วนควบ และมีโอกาสเกิดการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติเหลว ของเหลวที่ติดไฟได้ สารท าความเย็นที่ติดไฟได้หรือก๊าซที่ติดไฟได้ ผู้รับใบอนุญาตจะต้องด าเนินการป้องกันและระงับอัคคีภัยให้เป็นไปตามที่ก าหนดไว้ในมาตรฐาน NFPA 59A และเป็นไปตามแผนระงับเหตุเพลิงไหม้ที่ได้ฝึกซ้อมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ข้อ ๔๕ กรณีที่มีความจ าเป็นต้องถ่ายเทก๊าซธรรมชาติเหลวนั้น ให้ถ่ายเทก๊าซธรรมชาติเหลวไปยังถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว หรือถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ที่ได้รับอนุญาตจากกรมธุรกิจพลังงาน โดยต้องปฏิบัติตามตามหลักเกณฑ์วิธีการถ่ายเทก๊าซธรรมชาติเหลว เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ก าหนดไว้ในคู่มือวิธีปฏิบัติกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินส าหรับถังขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลวที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานแล้ว

หมวด ๑๑ การเลิกประกอบกิจการคลังก๊าซธรรมชาติเหลว หรือการเลิกใช้ ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว เครื่องท า

ไอก๊าซ อุปกรณ์ท าก๊าซธรรมชาติเหลว ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ _________________

Page 18: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 18 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

ข้อ ๔๖ ผู้รับใบอนุญาตที่ประสงค์จะเลิกประกอบกิจการคลังก๊าซธรรมชาติเหลว หรือการเลิกใช้ ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว เครื่องท าไอก๊าซ อุปกรณ์ท าก๊าซธรรมชาติเหลว ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ เมื่อไม่มีความประสงค์จะใช้งานนานเกิน ๖ เดือน โดยการเลิกใช้ ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว เครื่องท าไอก๊าซ อุปกรณ์ท าก๊าซธรรมชาติเหลว ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ จะต้องได้รับการรับรองจากวิศวกรทดสอบและตรวจสอบว่าไม่มีก๊าซค้างอยู่

การแจ้งเลิกประกอบกิจการคลังก๊าซธรรมชาติเหลว หรือการแจ้งเลิกใช้ ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว เครื่องท าไอก๊าซ อุปกรณ์ท าก๊าซธรรมชาติเหลว ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ ให้ผู้รับใบอนุญาตแจ้งต่อผู้อนุญาตพร้อมหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งเพ่ือให้ความเห็นชอบก่อน

เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ห้ามประกอบกิจการคลังก๊าซธรรมชาติเหลว หรือใช้ ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว เครื่องท าไอก๊าซ อุปกรณ์ท าก๊าซธรรมชาติเหลว ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์อีกจนกว่าจะได้รับการอนุญาตใหม่

ข้อ ๔๗ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นก าหนดสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ พ.ศ. .... รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

Page 19: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 19 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

แบบรายงานการเกิดอุบัติเหตุ

ช่ือผู้รับใบอนุญาตหรือผู้แทนผู้รับใบอนุญาต................................................................. เลขท่ี ...................... ตรอก / ซอย .....................................................ถนน ...................................................หมู่ที.่........... ต าบล/แขวง.................................................อ าเภอ/เขต.............................................จังหวัด ........................................... รหัสไปรษณีย์ ..................... โทรศพัท์ .....................................................โทรสาร ............................................................. ใบอนุญาตเลขท่ี.........................วนัหมดอายุ....................... บริษัทประกันภยั ................................................................................. หมายเลขกรมธรรม์ ................................................

วัน/เดือน/ปี ท่ีเกิดอุบัติเหตุ ........................................................................... เวลาที่เกิดอุบตัิเหตุ .........................................

วัน/เดือน/ปี ท่ีอุบัติเหตสุิ้นสดุ ...................................................................... เวลาที่อุบัติเหตุสิ้นสุด....................................... สถานท่ีเกิดเหตุ .....................................................................................เขตพื้นที่ ส.น. ........................................................ สาเหตุการเกดิอุบัติเหตุ ....................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................... รายละเอียดเหตุการณ์ ........................................................................................................................................................ .......................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................... ความเสยีหาย .................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................... การแก้ไข ........................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................................... อื่นๆ................................................................................................................................................................................... ..........................................................................................................................................................................................

Page 20: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 20 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

ลงลายมือชื่อ ............................................. ผู้รับใบอนุญาต ( ) ต าแหน่ง ...........................................................

วันที่ ........ เดือน ....................... พ.ศ. ........

ภาคผนวก ตารางแนบท้ายประกาศ

ตารางท่ี ๑ ระยะปลอดภัยส าหรับถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวและสิ่งใกล้เคียงที่อาจได้รับอันตราย

ความจุรวมของ ถังเก็บและจ่ายกา๊ซธรรมชาติเหลว

(ลิตร)

ระยะห่างต่ าสดุจากขอบของระบบกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวกับแนวเขต

ที่ดิน (เมตร)

ระยะห่างต่ าสดุระหว่างถังเก็บและจา่ยก๊าซธรรมชาติ

เหลว (เมตร) ตั้งแต่ ๕๐๐ ถึง ๑,๙๐๐

๓.๐ ๑.๐

มากกว่า ๑,๙๐๐ ถึง ๗,๖๐๐ ๔.๖ ๑.๕ มากกว่า ๗,๖๐๐ ถึง ๖๓,๐๐๐

๗.๖ ๑.๕

มากกว่า ๖๓,๐๐๐ ถึง ๑๑๔,๐๐๐ ๑๕.๐ ๑.๕ มากกว่า ๑๑๔,๐๐๐ ถึง ๒๖๕,๐๐๐ ๒๓.๐ ¼ ของผลบวกของเส้นผ่าน

ศูนย์กลางถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาตเิหลวท่ีอยู่ใกลเ้คียงกัน แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๑.๕

เมตร

มากกว่า ๒๖๕,๐๐๐ ๐.๗ เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางถังเก็บและจ่ายกา๊ซธรรมชาติเหลวแตต่้องไม่

น้อยกว่า ๓๐ เมตร

หมายเหตุ ถ้าติดตั้งถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลวแบบเป็นกลุ่มแล้วมีผลรวมความจุมากกว่า ๑,๙๐๐ ลิตร ระยะต่ าสุดต้องเป็นไปตามตารางข้างบนโดยค านึงผลรวมความจุแต่ละกลุ่มแทนความจุต่อถัง ถ้าติดตั้งกลุ่มถังมากกว่าหนึ่งกลุ่มข้ึนไปห้ามน าระยะห่างต่ าสุดระหว่างถังมาใช้ โดยแต่ละกลุ่มถังจะต้องมีระยะห่างกันอย่างน้อย ๗.๖ เมตร

ตารางท่ี ๒ ระยะปลอดภัยส าหรับถังกักเก็บแบบ ASME ที่มีขนาดความจุรวมไม่เกิน ๓,๘๐๐ ลิตร

ความจุรวมของ ถังกักเก็บแบบ ASME (ลิตร)

ระยะห่างต่ าสดุจากถังกับแนวเขตที่ดิน (เมตร)

ไม่เกิน ๔๗๐ ๐ มากกว่า ๔๗๐ ถึง ๓,๘๐๐ ๓.๐

Page 21: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 21 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

ตารางที่ ๓ ระยะปลอดภัยส าหรับถังกักเก็บแบบ ASME ที่มีขนาดความจุรวมเกินกว่า ๓,๘๐๐ ลิตร แบบเหนือพ้ืนดินและสิ่งใกล้เคียงท่ีอาจได้รับอันตราย

ความจุรวมของ

ถังกักเก็บแบบ ASME แบบเหนือพื้นดิน (ลิตร)

ระยะห่างต่ าสดุจากขอบของระบบกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวกับแนวเขต

ที่ดิน (เมตร)

ระยะห่างต่ าสดุระหว่างถังกักเก็บแบบ ASME (เมตร)

มากกว่า ๓,๘๐๐ ถึง ๗,๖๐๐ ๔.๖ ๑.๕ มากกว่า ๗,๖๐๐ ถึง ๕๖,๘๐๐ ๗.๖ ๑.๕ มากกว่า ๕๖,๘๐๐ ถึง ๑๑๔,๐๐๐ ๑๕.๐ ๑.๕ มากกว่า ๑๑๔,๐๐๐ ถึง ๒๖๕,๐๐๐ ๒๓.๐ ¼ ของผลบวกของเส้นผ่าน

ศูนย์กลางถังกักเก็บแบบ ASME ที่อยู่ใกล้เคียงกัน แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๑.๕ เมตร

มากกว่า ๒๖๕,๐๐๐ ๐.๗ เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางถังเก็บและจ่ายกา๊ซธรรมชาติเหลวแตต่้องไม่

น้อยกว่า ๓๐ เมตร หมายเหตุ ระยะห่างต่ าสุดของถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว หรือถังเก็บสารแลกเปลี่ยนความร้อนที่มีคุณสมบัติติดไฟและสิ่งที่ใกล้เคียงท่ีอาจเป็นอันตรายได้ ต้องเป็นไปตามตารางที่ ๑ ท้ายประกาศนี้หรือกรมธุรกิจพลังงานอาจเห็นชอบให้มีระยะห่างจากอาคารหรือก าแพงที่ท าจากคอนกรีตหรือก่ออิฐน้อยกว่าที่ก าหนดตามตารางที่ ๑ ท้ายประกาศนี้ได้ แต่ทั้งนี้ต้องมี ระยะห่างไม่น้อยกว่า ๓.๐ เมตร จากช่องเปิดของอาคารดังกล่าว ตารางที่ ๔ ระยะปลอดภัยส าหรับถังกักเก็บแบบ ASME ที่มีขนาดความจุรวมเกินกว่า ๓,๘๐๐ ลิตร แบบใต้พ้ืนดินและสิ่งใกล้เคียงที่อาจได้รับอันตราย

ความจุรวมของ

ถังกักเก็บแบบ ASME แบบใต้พื้นดิน (ลิตร)

ระยะห่างต่ าสดุจากขอบของระบบกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวกับแนวเขต

ที่ดิน (เมตร)

ระยะห่างต่ าสดุระหว่างถังกักเก็บแบบ ASME (เมตร)

น้อยกว่า ๑๕,๘๐๐ ๔.๖ ๔.๖ ตั้งแต่ ๑๕,๘๐๐ ถึง ๗.๖ ๔.๖

Page 22: (ร่าง)elaw.doeb.go.th/document_doeb/255_0001.pdf · 2017. 8. 2. · (ร่าง) ประกาศกระทรวงพลังงาน ... (๕) ถังกักเก็บแบบคอนกรีตอัดแรง(prestressed

- 22 -

______________________________________________________________________________________________________ แก้ไข วันที ่๒๕ กุมภาพันธ ์255๙

๑๑๔,๐๐๐ มากกว่า ๑๑๔,๐๐๐ ๑๒.๒ ๔.๖

รูปที่ ๑ หมายเหตุ ก คือ ระยะห่างจากผนังถังชั้นในของถังกักเก็บและจ่ายก๊าซกับขอบด้านในที่ใกล้ที่สุดของเขื่อนหรือก าแพง ของพ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ข คือ ระยะความสูงโดยวัดจากระดับสูงสุดของก๊าซธรรมชาติของเหลวกับขอบบนของเขื่อนหรือก าแพง ของพ้ืนที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ก จะต้องเท่ากับหรือมากกว่าผลรวมของ ข กับหน่วยความสูงเทียบเท่ากับของแรงที่เกิดจากความดันไอ เหนือระดับก๊าซธรรมชาติเหลว

ข้อยกเว้น เมื่อความสูงของเขื่อนหรือก าแพงเท่ากับหรือมากกว่าระดับสูงสุดของก๊าซธรรมชาติของเหลว แล้ว ก อาจจะมีค่าเท่าใดก็ได้

ก dd

ข ก

เขื่อนหรือก าแพง

ระดับก๊าซธรรมชาติเหลวสูงสุด