การจัดการนวัตกรรม · Web viewแบบจำลองถ กพ...

73
บบบบบ 2 บบบบบบ บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ กกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกก กกกก 1975 กกกกก Tasman กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกก Robert Clifford กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกก Incat กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกก กกกกกกกกกก กกกก กกกกกก Inditex กกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกก กกกกกกกกก กกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก 2000 กกกก กก 52 กกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกก กกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกก กกกก กกกกกกกกก Karolinska กกกกกกกกกกก กกกกก กกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกก 1

Transcript of การจัดการนวัตกรรม · Web viewแบบจำลองถ กพ...

การจัดการนวัตกรรม

บทที่ 2

แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรม

การมองเห็นโอกาส ความร่วมมือหรือความสามารถต่างๆ และมองเห็นช่องทางในการก่อประโยชน์ให้กับองค์กร เป็นแรงขับเคลื่อนหนึ่งที่ทำให้เกิดนวัตกรรม เช่น ในปี 1975 สะพาน Tasman ที่ใช้ข้ามไปสู่เกาะแทสมาเนียในประเทศออสเตรเลีย เกิดการทรุดตัวลง ซึ่งขณะนั้น Robert Clifford ผู้ดำเนินธุรกิจบริษัทเรือข้ามฟากขนาดเล็ก ได้มองเห็นโอกาสในการลงทุน โดยเล็งเห็นว่าจะต้องมีความต้องการใช้บริการเรือข้ามฟากเพิ่มมากขึ้น และเขายังสร้างความแตกต่างในธุรกิจนี้โดยมีการจัดจำหน่ายเครื่องดื่มให้กับผู้โดยสารด้วย ด้วยความที่เป็นคนช่างคิดและมีชั้นเชิงต่างๆ ในการลงทุน ทำให้เขาได้ลงทุนก่อตั้งบริษัท Incat ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกในการออกแบบเรือแบบใหม่ที่ทำให้เขาสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดของเรือข้ามฟากได้กว่าครึ่งในตลาดโลก การลงทุนพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องนี้ ทำให้บริษัทสามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกได้

นวัตกรรมไม่เพียงแต่สร้างโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างหนทางใหม่ในการวางรากฐานในตลาดนั้นๆ ได้อีกด้วย เช่น บริษัท Inditex ผู้ดำเนินกิจการสิ่งทอในประเทศสเปนที่นอกจากมีการปรับตัวในกระบวนการผลิตต่างๆ แล้ว ยังปรับตัวในวิธีการบริหารจัดการองค์กรด้วย หลักปรัชญาของบริษัทนี้คือ ต้องมีการเชื่อมโยงกันระหว่างกระบวนการออกแบบ การผลิต และการจัดจำหน่าย และนอกจากนี้ร้านค้าในเครือทั้งหมดกว่า 2000 แห่ง ใน 52 ประเทศ จะรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับแนวโน้มรูปแบบเสื้อผ้าต่างๆ เพื่อนำมาพิจารณาในการออกแบบผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ ออกสู่ตลาด

นวัตกรรมไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่เพียงการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับรูปแบบการบริการด้วย เช่น โรงพยาบาล Karolinska ในกรุงสต๊อคโฮล์ม ประเทศสวีเดน ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงในด้านความรวดเร็ว คุณภาพ และประสิทธิภาพในการให้บริการผ่านทางนวัตกรรม นอกจากนี้ธุรกิจธนาคาร ในประเทศอังกฤษ UK First Direct Organization กลายเป็นธนาคารที่มีความสามารถในการแข่งขันมากที่สุด สามารถสร้างลูกค้ารายใหม่ได้ถึง 10,000 รายต่อเดือน โดยมีการให้บริการธุรกรรมทางโทรศัพท์ที่มีระบบ IT ที่ดีสนับสนุน และผู้ดำเนินธุรกิจค้าปลีกทางอินเตอร์เน็ตเช่น Amazon.com ได้เปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานโดยมีการนำเสนอขายผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น เช่น หนังสือและเพลง เป็นต้น

ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม

1. ทฤษฎีว่าด้วยระบบ (Systems Theory)

ทฤษฎีแรกเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมที่จะอธิบายคือ ทฤษฎีว่าด้วยระบบ มีนักวิจัยได้ อธิบายทฤษฎีนี้ไว้หลากหลายความหมาย เช่น Amabile (1998: 163) ได้กล่าวว่า กระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมขององค์กรเกิดขึ้นในระดับของระบบงาน หมายถึงกลุ่มคนขนาดใหญ่ทางานร่วมกันในหน่วยงานหรือแผนกต่างๆ ได้ศึกษาเพื่อหาหนทางในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ โดย นำเอาความคิดใหม่ๆ มาใช้และพากเพียรจนงานสำเสร็จลุล่วงไปได้ ในขณะที่ Hatch (1997)กล่าวว่า ทฤษฎีระบบ มีลักษณะที่สำคัญคือ การร่วมกัน ดำเนินงานของหน่วยงานย่อยหลายๆ หน่วยที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนเป็นหนึ่งเดียวกัน นอกจากนั้น Amabile (1998: 163) เสนอแนะว่าองค์กรที่นำทฤษฎีระบบมาประยุกต์ใช้ต้องให้ความสำคัญต่อปัจจัยนำเข้า (Inputs)กระบวนการภายในองค์กร (Internal Processes)และผลผลิต (Outputs) รวมทั้งการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเหล่านี้ด้วย จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า ทฤษฎีว่าด้วยระบบเครือข่ายทั่วไป (The General Systems Theory) ได้ถูกสร้างขึ้นมาโดย Ladwig von Bertalanffy ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ชีววิทยาชาวเยอรมันในช่วงทศวรรษที่ 1950 (Hatch, 1997) ทฤษฎีของ Bertalanffy นั้นเป็นความพยายามที่จะรวบรวมศาสตร์ต่างๆ เพื่ออธิบาย ปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์จากหน่วยเล็กที่สุดไปจนถึงระดับสังคม นั่นคือ การศึกษาสิ่งต่างๆที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกันโดยอาศัยระบบแบ่งระดับชั้น(A Hierarchy of Systems) (Hatch, 1997) ระบบที่อยู่ ในระดับสูงขึ้นไปจะประกอบด้วย ระบบต่างๆที่อยู่ในระดับต่ำากว่า (Cummings and Worley, 1997) เช่น องค์กรเป็นระบบหนึ่งซึ่งอยู่ในระบบสูงจะประกอบไปด้วยระบบย่อยต่างๆ เช่น ภาค/ส่วน (Divisions) และแผนก (Department) ซึ่งแต่ละระดับจะมีปฏิสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อกัน นักวิจัยกลุ่มหนึ่ง อาทิ Burgelman (1984), Cooper (1998), Klein andSorra (1996) Padmore et al. (1997) และ Tang (1999) ได้สร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งแบบจำลองถูกพัฒนาขึ้นมาจากตัวแบบเชิงเส้นตรงที่ทำให้เข้าใจง่ายไปจนถึง แบบจำลองของขั้นตอนหรือกระบวนการ ดังแสดงในภาพที่2.1 และ

ขยายผล

(Deploy)

พัฒนา

(Develop)

ค้นพบ

(Discover)

2.2 ภาพที่ 2.1 แบบจำลองเชิงเส้นตรง (Linear Model) ของกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรม

ที่มา: Padmore, T., Schuetze, H., & Gibson, H. (1998). Modeling systems of innovation

1

2

3

4

5

ภาพที่ 2.2 แสดงขั้นตอนกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น กว่าขั้นตอนในภาพที่2.1 โดยเพิ่มขั้นตอนให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback Loops) ไว้ด้วย

Feedback คือ ข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ต่างๆ ที่เกิดจากการทำงานของระบบ ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับการควบคุมการทำงานของระบบในอนาคต (Cummings & Worley, 1997) นอกจากนี้แบบจำลองของขั้นตอนในภาพที่ 2.2 จะใช้เพื่ออธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ เช่น การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การสร้างความคิดรวบยอด การออกแบบและการทดสอบ การผลิตและการจัดจำหน่าย รวมถึงการตลาด (Padmore et al., 1997 ; Tang, 1999)อย่างไรก็ตามแบบจำลองที่ได้กล่าวมาข้างต้นมีข้อด้อยอยู่ ประการแรก คือ แบบจำลองเหล่านั้นมุ่ง

อธิบายถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้ต้องตัดนวัตกรรมด้านกระบวนการ (Process Innovations)ออกไปและมักจะเป็นการพัฒนาจากการใช้แนวคิดจากภายนอกองค์กร ประการที่สอง แบบจำลองเหล่านั้นให้ความสำคัญเพียงเล็กน้อยกับสภาพแวดล้อมภายนอก

2. ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน (Institutional Theory)

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมลำดับที่สอง คือ ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน ซึ่งมีนักวิจัยที่ ศึกษาแนวคิดทฤษฎีนี้ อาทิ Spraggon and Bodolica (2008)อธิบายว่า ทฤษฎีว่าด้วยสถาบันให้ ความสำคัญต่อการศึกษาบทบาทของอิทธิพลทางสังคมและแรงกดดัน เพื่อให้เกิดความเห็นพ้อง ต้องกันของคนในสังคมที่จะปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานขององค์กร บริบทของสถาบันจะทำหน้าที่ ปรับแต่งและให้แรงเสริมทางสังคมแก่พฤติกรรมด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยผ่านกรอบ ความคิดทางสังคมเกี่ยวกับบรรทัดฐาน (Norms) กระบวนการ (Procedures)และข้อสันนิษฐาน ซึ่ง เป็นที่รู้กันเป็นอย่างดีเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์และธุรกิจ หากพิจารณาถึงองค์ประกอบต่างๆ ของ มุมมองด้านสถาบัน จะพบว่าความเห็นพ้องต้องกันที่มีต่อความคาดหวังทางสังคม มีส่วนช่วยสร้าง ความสำเร็จและความอยู่รอดขององค์กรธุรกิจปฏิบัติตามความคาดหวังของสังคม เนื่องจากองค์กร ธุรกิจจำเป็นต้องแลกเปลี่ยน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามกฎหมายและทรัพยากรที่มีค่าเป็นจำนวนมาก ยิ่งขึ้น ซึ่งสร้างความมั่นคงที่ยั่งยืนให้แก่องค์กรได้ การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างมิได้พัฒนาจาก หลักการของความพอเพียง (The Efficiency Rationales)และการแข่งขันในตลาด (Marketplace Competition) แต่เกิดจากขอบเขตของสถาบันที่กำหนดโดยรัฐบาลซึ่งไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนองค์กร ให้เป็นตัวแทนด้านเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Economic Agents) นักวิชาการที่ศึกษา ด้านสถาบันมีความสนใจเป็นอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการที่โครงสร้างขององค์กร (Corporate Structures) และกระบวนการต่างๆ (Processes) ได้ถูกทำให้กลายเป็นสถาบัน หรือ กลมกลืนกันได้อย่างดี (Homogenized) เมื่อเวลาผ่านไป อันที่จริง แนวโน้มของธุรกิจที่จะเห็นพ้อง ต้องกัน โดยยึดถือบรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) และขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเป็น อิทธิพลในสภาพแวดล้อมของสังคม ได้นำไปสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Homogeneity) ในระดับสูงระหว่างองค์กร ดังที่ Di Maggio and Powell (1983) ได้กล่าวว่า “ความเห็นพ้องต้องกัน (Homogeneity) ที่เห็นได้ในรูปแบบ (Forms)และการปฏิบัติ (Practices)ขององค์กรเกิดขึ้นจาก กลไก 3 ประการ ได้แก่ (1) ความเห็นพ้องต้องกันที่เกิดจากการถูกบังคับโดยอิทธิพลทาง การเมืองและการแสวงหาซึ่งสิทธิกฎหมาย (2) กระบวนการเลียนแบบซึ่งจูงใจให้บางองค์กร เลียนแบบองค์กรอื่น ซึ่งเป็นที่รับรู้ได้ว่ามีสิทธิทางกฎหมายหรือประสบความสำเร็จมากกว่าใน กิจการ/ธุรกิจของพวกเขา และ (3) แรงกดดันที่เกิดจากบรรทัดฐาน ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจาก “ความ เป็นนักวิชาชีพ” (Professionalization) เช่น การรับรองผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาหรือเครือข่าย ระหว่างบริษัท (Inter-firm Networks) ซึ่งเชื่อมโยงองค์กรต่างๆ ไว้ด้วยกัน ทฤษฎีว่าด้วยสถาบัน (Institutional Theory) มีข้อสันนิษฐานว่าสถาบันทั้งหลายแสดง ให้เห็นลักษณะร่วมสองประการ คือ สถาบันทั้งหลายมักหยุดยั้งการปฏิบัติต่อ ไว้ด้วยกัน

3. ทฤษฏีที่อาศัยทรัพยากรเป็นฐาน (Resource-based Perspective)

ทฤษฎีต่อมาที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม คือ ทฤษฎีที่อาศัยทรัพยากรเป็นฐาน โดยแนวคิดของทฤษฎีนี้จะวิเคราะห์บทบาทของทรัพยากรและศักยภาพด้านต่างๆ ขององค์กร ซึ่งช่วยให้องค์กร สามารถสร้างผลตอบแทนอันมหาศาล และสร้างข้อได้เปรียบที่สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน (Sustainable Competitive Advantage) สำหรับทรัพยากรนั้น นักวิจัยมองว่าเป็นจุดแข็ง (Strength) ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ต่างๆ ขององค์กรซึ่งมีตัวตนหรือจับต้องได้ (Tangible) เช่น เครื่องมือเฉพาะด้าน โครงสร้างภายในองค์กร ทรัพย์สินทางการเงิน เทคโนโลยี เป็นต้น หรือทรัพยากรที่จับ ต้องไม่ได้(Intangible) เช่น ความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน ต้นทุนของมนุษย์ ความรู้เฉพาะด้าน ทักษะการบริหารจัดการ ไมตรีจิต การปฏิบัติงานประจำวัน เครื่องหมายการค้า ยี่ห้อเป็นต้น ส่วน ศักยภาพ (Capabilities)คือ ศักยภาพโดยรวมขององค์กร (Organization’s Collective Capability) ในการปฏิบัติงานเฉพาะด้าน (Lieberman & Montgomery,1998) ในกรณีที่เป็นทรัพยากรที่ไม่มีตัวตนหรือจับต้องไม่ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบท องค์กรจะ ประสบกับความลำบากอย่างมาก ในการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ในบริบทที่แตกต่างกัน ทฤษฎีที่อาศัย ทรัพยากรเป็นฐาน ตั้งสมมติฐานว่า ความยั่งยืนของข้อได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)จะเกิดขึ้นได้ถ้าศักยภาพทั้งหลายซึ่งก่อให้เกิดข้อได้เปรียบดังกล่าวได้รับการสนับสนุน ด้วยทรัพยากร ที่คู่แข่งทางธุรกิจไม่สามารถผลิตซ้ำได้อีก (Barriers to Imitation) ซึ่งช่วยหยุดยั้ง ปรากฏการณ์เลียนแบบที่นักทฤษฏีว่าด้วยสถาบันได้กล่าวไว้ (Rumelt,1994) Miller andShamsie (1996) วิเคราะห์ลักษณะพื้นฐานสองประการที่ทำให้ทรัพยากร บางประเภทไม่สามารถถูกลอกเลียนได้ คือการที่ทรัพยากรเหล่านี้ได้รับการปกป้องจากลิขสิทธิ์ ทางทรัพย์สิน (Property Rights) เช่น สัญญา ใบอนุญาต และสิทธิบัตร และประการที่สอง คือ ผู้ ลอกเลียนแบบไม่มีความรู้ความชำนาญพอที่จะลอกเลียนแบบได้ลักษณะของทรัพยากรเหล่านี้จะมี ความโดดเด่นมากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของการแข่งขันที่ ธุรกิจที่ไม่สามารถสร้างสรรค์ นวัตกรรมได้ ทรัพยากรที่อาศัยการปกป้องจากลิขสิทธิ์ก็จะมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองข้อ ได้เปรียบที่สามารถแข่งขันได้ของธุรกิจในขณะที่สภาพแวดล้อมของธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงและ ไม่สามารถพยากรณ์ได้และนวัตกรรมก็ยังถูกทดแทนด้วยสิ่งใหม่ที่สร้างสรรค์โดยธุรกิจคู่แข่ง ทรัพยากรที่อาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน (Knowledge-based Resources) จะมีประโยชน์สูงสุดสำหรับ การสร้างความมั่นคงที่ยั่งยืนให้กับความสำเร็จขององค์กร

4. ทฤษฏีว่าด้วยต้นทุนทางสังคม/เครือข่าย (Social Capital / Network Theory)

ทฤษฎีสุดท้ายที่จะนำเสนอ คือ ทฤษฎีว่าด้วยต้นทุนทางสังคม/เครือข่าย สาเหตุที่ ให้ความสำคัญกับทฤษฎีนี้เกิดจากการก่อกำเนิดของเศรษฐกิจแนวใหม่ ตลาดเสรี และการพัฒนาการที่ไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยีสารสนเทศ การเกิดขึ้นของเครือข่าย (Network) เป็นลักษณะ เด่นที่อธิบายว่าองค์กรร่วมสมัย (Contemporary Organization) นั้นมีลักษณะอย่างไร Nohric (1992) ได้อธิบายว่า ทฤษฏีว่าด้วยเครือข่ายขององค์กรมีพื้นฐานมาจากหลักเกณฑ์ 4 ประการ คือ (1) องค์กรเป็นเครือข่ายทางสังคม (Social Networks) ซึ่งถูกเชื่อมโยงโดยสัมพันธภาพทางสังคม ซึ่ง อาจจะมีลักษณะเป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการก็ได้ที่มีอยู่ภายในและระหว่างองค์กรต่างๆ (2) สภาพแวดล้อมขององค์กร คือเครือข่ายของบริษัท/ธุรกิจ อื่นๆ ที่คงอยู่ในตาข่าย (webs) ของ ความสัมพันธ์ที่มากมายซับซ้อนกันซึ่งเรียกว่า สาขาขององค์กร (Organizational Fields) (3) การ ปฏิบัติงานของผู้กระทำ (Actors) ได้รับการอธิบายจากตำแหน่งงานในเครือข่ายงาน ที่ซึ่งตำแหน่ง สำคัญเป็นเสมือนแหล่งข้อมูลอันมีค่า และอำนาจที่มีอิทธิพลต่อสมาชิกคนอื่นๆ ของเครือข่าย (4) พันธะผูกพันในเครือข่ายได้รับการสร้างขึ้นจากสัมพันธภาพทางสังคม เป็นความผูกพันที่สร้างขึ้นมาใหม่ และเป็นความผูกพันที่พัฒนาขึ้นมา อันเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานของปัจเจกพนักงาน หรือกลุ่มพนักงาน

Power (1990) กล่าวว่า การจัดสรรทรัพยากรดำเนินการโดยผ่านเครือข่ายพนักงานซึ่งมี บทบาทของการปฏิบัติงานแบบต่างตอบแทน ตามความชอบ และการสนับสนุนซึ่งกันและกัน เครือข่ายมีประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนความรู้ที่มีคุณค่า และความสามารถความชำนาญทางเทคนิค ในขณะเดียวกันก็เพิ่มพูนการใช้ความรู้ และกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการสรรค์สร้างนวัตกรรม นอกจากนี้เครือข่ายยังแสดงให้เห็นความสามารถของบริษัทในการแบ่งปันความรู้และเรียนรู้ทักษะ ใหม่ๆ อีกด้วย

Spraggon and Bodolica (2008)ได้วิเคราะห์ว่าต้นทุนทางสังคมประกอบด้วยมิติต่างๆ 3 มิติ คือ (1) มิติด้านโครงสร้าง (Structural) (2) มิติด้านความสัมพันธ์ (Relational) และ (3) มิติด้าน ความคิด (Cognitive) มิติด้านโครงสร้าง หมายถึง แบบแผนของความสัมพันธ์ในบรรดาสมาชิก ของเครือข่าย เช่น การมีตัวตน หรือการขาดหายไปของสมาชิก และการก่อร่างสร้างตัวของเครือข่าย ในด้านความหนาแน่น ความต่อเนื่อง และจัดตำแหน่งตามลำดับชั้นของสมาชิกในเครือข่าย ส่วน มิติด้านความสัมพันธ์ หมายถึง ลักษณะของความผูกพันของพนักงานและมิตรภาพที่พนักงานได้ พัฒนาขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปและจากการปะทะสังสรรค์กันตลอดเวลา ในขณะที่มิติด้านความคิด จะ ครอบคลุมทรัพยากรประเภทดังกล่าว ซึ่งช่วยให้สมาชิกของเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติงานด้วยความถูกต้อง

2.2 การจัดการนวัตกรรม (Innovation Management)

การจัดการนวัตกรรม ถือว่าเป็นตัวเชื่อมประสานความรู้ของพนักงานเข้าด้วยกัน เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุดทั้งในด้านการเชื่อมโยง และใช้ความรู้ต่างๆ จากภายใน และภายนอกองค์กร นำมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วให้เกิดแก่องค์กร ประกอบกับความสำเร็จของการจัดการนวัตกรรมจะเกิดขึ้น ก็ต่อเมื่อสมาชิกในองค์กรรวมตัวกัน และมีกลไกที่ทำหน้าที่ในการกำกับการทำงานของระบบ ภายใต้การนำองค์ประกอบและองค์ ความรู้ต่างๆ ของการจัดการนวัตกรรมมาใช้อย่างเหมาะสม หัวข้อที่ผ่านมา ได้ทบทวนวรรณกรรมที่แสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมมีคุณค่าต่อ องค์กรในด้านการผลิตสินค้า การบริการ และกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร สำหรับหัวข้อ ต่อไปนี้ มีวัตถุประสงค์ในการน าเสนอเกี่ยวกับ (1)แนวคิดการจัดการนวัตกรรม (2) ประเภท การจัดการนวัตกรรม (3)องค์ประกอบของการจัดการนวัตกรรม และ(4)ความสำเร็จในการจัดการ นวัตกรรม มีรายละเอียดดังนี้ 2.2.1 แนวคิดการจัดการนวัตกรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับ การจัดการนวัตกรรม ในทิศทางเดียวกัน ก่อนอื่น จะนำเสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการจัดการนวัตกรรมในปัจจุบันซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง อย่างมากมายและรวดเร็ว

2.3 ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนวัตกรรม ในหัวข้อที่ผ่านมา

ได้อธิบายถึงความสำเร็จของการจัดการนวัตกรรมในองค์กร ในหัวข้อนี้ จะนำเสนอตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนวัตกรรม แต่เพื่อให้เห็นภาพรวมของ ตัวแปรด้านการจัดการนวัตกรรม จึงได้รวบรวมจากการค้นคว้าทางทฤษฎี

2.4 ผลการดำเนินงานด้านการจัดการนวัตกรรม

ในหัวข้อที่ 2.3 ได้เสนอวรรณกรรมที่เกี่ยวกับตัวแปรที่เกี่ยวข้องการจัดการ นวัตกรรมไปแล้ว เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรม ในหัวข้อต่อไปนี้ จะเสนอผลการดำเนินงานด้านการจัดการนวัตกรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้ นักวิชาการจำนวนมากได้นำเสนอมิติ หรือตัวบ่งชี้เพื่อใช้การศึกษาเรื่อง ผลการ ดำเนินงานด้านการจัดการนวัตกรรม ซึ่งตัวบ่งชี้ดังกล่าวมีความหลากหลายเช่นเดียวกับนิยามของคำ ว่าการจัดการนวัตกรรม จึงได้รวบรวมข้อมูลตัวบ่งชี้ที่สำคัญของผลการดำเนินงานด้านการจัดการนวัตกรรม จากผลการศึกษาของนักวิชาการจำนวนหนึ่งแสดงไว้ใน ตารางที่ 2.7 ซึ่งจะแสดง ข้อมูลรายชื่อนักวิชาการที่ศึกษาแนวทางการวัด การประเมิน และผลสรุปที่สำคัญ พบว่า มิติหรือตัว บ่งชี้ของผลการดำเนินงานด้านการจัดการนวัตกรรมแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 2.4.1 ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานด้านการจัดการนวัตกรรมในระดับองค์กร จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า ปัจจัยมากมายด้านบริหารจัดการของนวัตกรรมของ องค์กร ได้ถูกนำมาโยงกับการปฏิบัติงาน (Performance)ของนวัตกรรมขององค์กรในงานวิจัยที่มี มาก่อน (Damanpour, 1991 ; Wan et al., 2003) ตัวชี้วัดเป็นจำนวนมากของผลการดำเนินงานด้าน การจัดการนวัตกรรมในระดับองค์กร ได้ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างเครื่องมือตรวจวัดเพื่อแสดงให้เห็น อย่างชัดเจนถึงการปฏิบัติงานที่แท้จริงขององค์กรในบริษัท หลังจาก ที่ได้มีการประเมินตัวชี้วัด หลายตัวของเครื่องมือตรวจวัดการปฏิบัติงานของนวัตกรรมขององค์กร ดังตารางที่ 2.7 จึง ได้สรุป แนวทาง (Approaches) และตัวชี้วัด (Indicators)ของผลการดำเนินงานด้านการจัดการ นวัตกรรมในระดับองค์กรและจำแนกตัวชี้วัดเหล่านี้ออกเป็น 3 กลุ่ม

2.5 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและการพัฒนาสมมติฐาน

จากผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า องค์กรธุรกิจที่มีนวัตกรรมองค์กรในระดับสูงจะส่งผล ให้องค์กรธุรกิจมีผลการปฏิบัติงานในระดับที่สูงขึ้นด้วย (Breda & Eileen, 2006; Daniel & Sanz, 2008; Rothwell, 1992) ซึ่งสอดคล้องกับ Porter (1990) ที่เสนอแนะว่า การสร้างความได้เปรียบเชิง การแข่งขันอย่างยั่งยืน และความคงอยู่ขององค์กรธุรกิจเกี่ยวข้องโดยตรงกับจำนวนนวัตกรรมของ องค์กร จากเนื้อหาที่ผ่านมาอนุมานได้ว่า องค์กรธุรกิจใดไม่สามารถสร้างนวัตกรรมขององค์กรให้ เกิดขึ้นได้ องค์กรธุรกิจนั้นย่อมล่มสลาย (Spraggon & Bodolica, 2008) ดังที่ Morris and Kuratko (2002) ได้กล่าวว่า องค์กรทั้งหลายทั่วโลกทุกวันนี้ต้องเผชิญกับความท้าทายที่ร่วมกัน คือความ จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงการปฏิบัติงานของตน เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่าง รวดเร็ว ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในกรอบแนวคิด รวมถึงสามารถพัฒนาสมมติฐาน และ ทดสอบสมมติฐานตลอดจนการอธิบายผลของการศึกษาครั้งนี้ได้ จึงได้รวบรวมข้อมูลโดย วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างผู้บริหารในบริษัท ที่มีการจัดการนวัตกรรมในองค์กรเพิ่มเติม ซึ่งเป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนวัตกรรมในบริบทขององค์กรธุรกิจ ในประเทศไทย แล้วนำความเห็นของผู้บริหารจากการสัมภาษณ์ และจากการทบทวนวรรณกรรม ทั้งในและต่างประเทศ มาประกอบและพิจารณาเลือกตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนวัตกรรมที่ ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ ได้แบ่งตัวแปรออกเป็น 2 ระดับได้แก่ ตัวแปรระดับพนักงาน คือ 1) การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า 2) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน ตัวแปรระดับองค์กร คือ 1) ภาวะผู้นำการ เปลี่ยนแปลง 2) บรรยากาศการสร้างนวัตกรรม ในหัวข้อต่อไป นำเสนอวรรณกรรมที่ เกี่ยวข้องและการพัฒนาสมมติฐานการวิจัย

2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

1. การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่ากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน จากผลการศึกษาเกี่ยวกับการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า ที่ศึกษาพบว่า การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า มีความสัมพันธ์ในทางบวกต่อความพึงพอใจในการทำงาน (Organ & Ryan, 1995:775) ซึ่งส่งผลให้เกิดความเต็มใจที่จะร่วมมือกับระบบขององค์กร ด้านของผลการ ปฏิบัติงานพบว่า การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงาน (Podsakoff, Ahearne, & MacKenzie, 1997:262) และมีผลต่อคุณภาพชีวิตใน การทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Schnake and Dumler (1997) ที่ศึกษาพบว่า พนักงานที่มี พฤติกรรมการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า มีแนวโน้มว่ามีความพึงพอใจในการทำงานใน ระดับสูงและได้รับการประเมินจากหัวหน้าว่าเป็นผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดี และ Organ and Ryan (1995) ศึกษาพบว่า พฤติกรรมการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า ในด้านการช่วยเหลือผู้ร่วมงาน (Altruism) มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เฉลี่ยเท่ากับ 0.23 และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ Bateman and Organ (1983) ที่ศึกษาและพบว่า ความพึงพอใจของพนักงาน มีอิทธิพลในระดับสูง ต่อพฤติกรรมการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า นอกจากนั้นยังมีนักวิจัยกลุ่มอื่น อาทิ Pugh and Dietz (2008) ที่ศึกษาพบว่า พฤติกรรมการเป็น ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า เป็นตัวแปรคั่นกลาง (Mediator Variable) ระหว่างความพึงพอใจในการ ปฏิบัติงานกับผลการดำเนินงานขององค์กร สำหรับในประเทศไทยมีผลการศึกษาของ เมธี ศรีวิริยะ เลิศกุล (2542) ซึ่งศึกษาพนักงานในบริษัทขนาดใหญ่ พบว่า การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า มี ความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.14 – 0.22 ในขณะที่ วิริณธิ์งธรรมนารถสกุล (2544) ศึกษาพบว่า พนักงานในโรงพยาบาลเอกชนที่มีความพึง พอใจในงานสูงจะส่งผลโดยตรงต่อพฤติกรรมการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าโดยมีค่า สัมประสิทธิ์อิทธิพลรวมเท่ากับ 0.37 และจากการศึกษาของ สฎายุธีระวณิชตระกูล (2549) พบว่า ความพึงพอใจของอาจารย์มีอิทธิพลเชิงสาเหตุในทิศทางเดียวกับ การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร (การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า) โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.58 ที่ระดับนัยสำคัญ 95% จากการทบทวนวรรณกรรมที่กล่าวมานั้น จึงคาดว่า ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของพนักงาน มีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลทางบวกต่อการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า (Bateman & Organ, 1983; Organ & Ryan, 1995: 775-802; Podsakoff, Ahearne, & MacKenzie, 1997: 262; Schnake & Dumler, 1997; Pugh & Dietz, 2008; เมธีศรีวิริยะเลิศกุลม, 2542; วิริณธิ์ ธรรมนารถ สกุล, 2544; สฎายุ ธีระวณิชตระกูล, 2548

2.7 สรุป

การศึกษาในบทที่ 2 มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่ง หัวข้อสำคัญในการศึกษาออกเป็น 5 ตอน ได้แก่ (1) แนวคิดทฤษฎีนวัตกรรม ประกอบด้วยเนื้อหา ส่วนแรกเกี่ยวกับทฤษฎีว่าด้วยระบบ ทฤษฏีเกี่ยวกับสถาบัน ทฤษฏีอาศัยทรัพยากรเป็นฐาน และทฤษฏีเครือข่ายทางสังคม ต่อมาเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ ความหมายของนวัตกรรม ประเภทของ นวัตกรรม และความสำคัญของนวัตกรรมต่อองค์กร ตามลำดับ (2) การจัดการนวัตกรรม ประกอบด้วย เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการจัดการนวัตกรรม ต่อมาเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ ประเภท การจัดการนวัตกรรม องค์ประกอบของการจัดการนวัตกรรม และ ความสำเร็จในการจัดการ นวัตกรรม ตามลำดับ (3) ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนวัตกรรม ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการ สร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานประกอบด้วย ตัวแปรระดับพนักงาน ได้แก่ การเป็นทรัพยากร มนุษย์ที่มีคุณค่า มีตัวบ่งชี้ 5 ตัว คือ การให้ความช่วยเหลือ ความสำนึกในหน้าที่ ความอดทนอด กลั้น การคำนึงถึงผู้อื่น และการให้ความร่วมมือ ต่อมาคือ ตัวแปรความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของพนักงาน มีตัวบ่งชี้ 2 ตัว คือ ความพึงพอใจภายในงาน และ ความพึงพอใจภายนอกงาน ตัวแปร ต่อมาตัวแปรระดับองค์กร ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีตัวบ่งชี้ 4 ตัว คือ การมีอิทธิพลอย่าง มีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญา และ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจก บุคคล ต่อมาคือ บรรยากาศการสร้างสรรค์นวัตกรรม มีตัวบ่งชี้ 4 ตัว คือ ความมีอิสระในการ ดำเนินงาน ความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วม ความพยายามเพื่อความเป็นเลิศ และการสนับสนุนใน การสร้างสรรค์ (4) ผลการดำเนินงานด้านการจัดการนวัตกรรม ประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ ตัวบ่งชี้การจัดการนวัตกรรมในระดับองค์กร และตัวบ่งชี้การจัดการนวัตกรรมระดับพนักงานที่วัด จากพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน ได้แก่ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของพนักงาน ความมีนวัตกรรมของพนักงาน พฤติกรรมการปฏิบัติงานเชิงรุก และพฤติกรรมการแสวงหาโอกาส (5) วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและการพัฒนาสมมติฐานมีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นการรวบรวมวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในการวิจัยและได้สร้างสมมติฐานการวิจัยจากวรรณกรรมดังกล่าว

นวัตกรรมกับความได้เปรียบทางการแข่งขัน

องค์กรมากมายประสบความสำเร็จและอยู่รอดได้เพราะการสร้างนวัตกรรม ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับองค์กร การที่องค์กรสามารถรวบรวมความรู้ ทักษะทางเทคโนโลยี และประสบการณ์ต่างๆ ในการสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งแปลกใหม่ ในสินค้าและบริการ รวมถึงด้านการส่งมอบให้ถึงมือลูกค้าด้วย ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลดีต่อระดับองค์กรเท่านั้น แต่ยังทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเติบโตตามไปด้วย

นวัตกรรมก่อให้เกิดประโยชน์ในหลายๆ ด้านได้มีหลักฐานทางการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการออกสินค้าใหม่จะช่วยให้องค์กรสามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดไว้ได้ นอกจากนี้สำหรับสินค้าที่ถึงจุดอิ่มตัวและสามารถครองตลาดได้แล้ว การเน้นแข่งขันที่ราคาถูกเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จะต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ นอกจากด้านราคา เช่น เน้นที่การออกแบบให้ตรงใจลูกค้า และปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสำหรับสินค้าที่มีช่วงอายุของผลิตภัณฑ์สั้น เช่น ทีวีหรือคอมพิวเตอร์ที่มีการออกรุ่นใหม่ๆ เกือบทุกเดือน หรือรถยนต์ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ที่มีการออกรถรุ่นใหม่ๆ ทุก 2 ปี องค์กรต้องมีการแข่งขันกับเวลา ไม่เพียงแต่ต้องนำเสนอสินค้าใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังต้องทำให้เร็วกว่าคู่แข่งขันด้วย

ในขณะเดียวกัน การพัฒนาสินค้าใหม่ก็เป็นความสามารถที่ท้าทายขององค์กร เพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ได้สร้างโอกาสและกฎเกณฑ์มากมาย อีกทั้งกฎหมายอาจเปิดช่องทางใหม่ๆ หรือปิดกั้นการพัฒนานวัตกรรม เช่น ความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น คู่แข่งอาจมีการพัฒนาหรือออกสินค้าใหม่ๆ ที่ทำให้องค์กรต้องตอบโต้ต่อคู่แข่งผ่านทางนวัตกรรมของสินค้า

นวัตกรรมของกระบวนการก็เป็นกลยุทธ์สำคัญเช่นกันในการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ การทำในสิ่งที่ไม่มีใครทำได้ หรือทำในสิ่งที่ดีกว่าคนอื่น นั่นแหละคือพลังของความได้เปรียบ เช่น ชาวญี่ปุ่นในตอนปลายศตวรรษที่ 20 ได้มีบทบาทสำคัญในหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ จักรยานยนต์ การต่อเรือ และอิเล็คทรอนิคส์ ผลจากนวัตกรรมในด้านกระบวนการ เช่นระบบการผลิตของโตโยต้า ฮอนด้า หรือนิสสัน ที่ทำให้บริษัทเหล่านี้มีผลการดำเนินงานเหนือผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นๆ ทั้งเรื่องคุณภาพ และผลิตภาพ

การนำเสนอบริการที่ดีกว่า เร็วกว่า ถูกกว่า และมีคุณภาพสูงกว่า ทำให้องค์กรสามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะยาว เช่นซิตี้แบงค์เป็นธนาคารแห่งแรกที่นำเสนอบริการ ATM และมีการพัฒนาจนกระทั่งกลายเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีนี้ ยังมีธุรกิจอื่นๆ อีกมากมายที่มีการนำนวัตกรรมด้าน IT เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการองค์กรที่สามารถสร้างความสำเร็จให้กับองค์กรได้

นวัตกรรมจะทำให้เราค่อยๆ ก้าวห่างออกจากคู่แข่งทีละน้อย ซึ่งหากองค์กรใดไม่สามารถคิดค้นนวัตกรรมได้ ในขณะที่องค์กรอื่นๆ มีการคิดค้น เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงกระบวนการดำเนินการต่างๆ อยู่ตลอดเวลา จะเป็นการเสี่ยงต่อผลการดำเนินงานขององค์กรนั้นๆ เช่นผู้นำในธุรกิจธนาคารได้เปลี่ยนมือสู่ผู้ที่สามารถจัดการกับข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ได้ โดยการนำเอานวัตกรรมความก้าวหน้าทาง IT มาใช้ให้เกิดประโยชน์

ความท้าทายที่เกิดจากอินเตอร์เน็ต ไม่เพียงแต่จะกระทบกับธุรกิจธนาคารหรือธุรกิจค้าปลีกเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อทุกธุรกิจด้วย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญต่อการอยู่รอดขององค์กรขนาดเล็ก เช่นบริษัทนำเที่ยวที่มีการนำอินเตอร์เน็ตมาเป็นเครื่องมือในการบริหารงาน วิธีการดำเนินงานของบริษัทนั้นจะง่ายและสะดวกสบายเพียงใด เพราะเพียงแค่คลิกที่เวบไซต์ก็สามารถได้รับข้อมูล ข่าวสาร และรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการแจกแผ่นพับ หรือตั้งโต๊ะที่มีเจ้าหน้าที่บริการรับจองตั๋ว ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าธุรกิจท่องเที่ยวจึงประสบความสำเร็จอย่างมากในธุรกิจดอทคอม

จะเห็นว่าธุรกิจที่มีพื้นฐานทางอินเตอร์เน็ตมีความก้าวหน้าและได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก ประเด็นสำคัญคือต้องรู้ว่าอะไรคือ เทคโนโลยีที่โดดเด่น (Dominant technology) ของเรา รู้กลุ่มลูกค้า หรือเงื่อนไขทางการตลาดและสังคมต่างๆ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์และเพื่อความยั่งยืนขององค์กร ทำให้สามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันได้

Joseph Schumpeter – บิดาแห่งนวัตกรรม

Joseph Schumpeter นักเศรษฐศาสตร์ที่มีการเขียนบทความต่างๆ มากมาย และยังเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศออสเตรเลีย ได้กล่าวว่า ผู้ประกอบการต่างก็หาทางใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในการผลิตสินค้า บริการ หรือกระบวนการแบบใหม่ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับองค์กร ทำให้องค์กรมีกำไรจากการเป็นผู้ผูกขาด (monopoly profit) แต่ก็ยังมีนักลงทุนบางคนที่พยายามจะลอกเลียนแบบเทคโนโลยีของผู้อื่น ซึ่งก็ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ตลอดเวลาเช่นกัน เพื่อหนีการลอกเลียนแบบนี้ เกิดเป็นวงจรเช่นนี้เรื่อยไป จนกระทั่งถึงจุดสมดุลที่ความสามารถในการผูกขาดหมดไป ณ จุดนี้สิ่งต่างๆ จะวนกลับมาเป็นวัฏจักร ผู้ประกอบการดั้งเดิมหรือคนที่มองหานวัตกรรมใหม่ๆ อาจทำให้เกิดรูปแบบการแข่งขันใหม่ๆ จากการคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ Schumpeter เรียกว่าเป็น การทำลายที่สร้างสรรค์ ( creative destruction) ที่มีการคิดสิ่งใหม่ๆ ที่ทำลายสิ่งที่มีอยู่เดิม โดยทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างกำไรเพิ่มขึ้นให้กับองค์กร

ตารางที่ 1.1 นวัตกรรมที่สร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ (Strategic Advantages through Innovation)

นวัตกรรมที่เกิดขึ้น

ความได้เปรียบที่เกิดขึ้น

ตัวอย่าง

สินค้าและบริการใหม่ๆ

นำเสนอสินค้าและบริการที่องค์กรอื่นยังไม่สามารถทำได้

Walkman ปากกาหมึกซึม เครื่องล้างจาน การทำธุรกรรมผ่านทางโทรศัพท์ และการซื้อขายออนไลน์ เป็นต้น

กระบวนการใหม่ๆ

นำเสนอในกระบวนการที่องค์กรอื่นไม่สามารถทำได้ เช่น เร็วขึ้น ถูกลง

Amazon, Dell, Internet Banking

ความซับซ้อน (Complexity)

นำเสนอสิ่งที่ซับซ้อนยากต่อการเลียนแบบ

เครื่องยนต์สำหรับเครื่องบิน ที่มีคู่แข่งน้อยรายที่สามารถทำได้

การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

นำเสนอสิ่งที่ผู้อื่นไม่สามารถทำได้ ยกเว้นการจ่ายค่าขออนุญาตการใช้สิทธิ

ยาประเภทต่างๆ เช่น Prozac และ Viagra

การเพิ่มปัจจัยในการแข่งขัน

ขยายขอบเขตของการแข่งขัน จากราคาสู่ราคาและคุณภาพและทางเลือกที่หลากหลาย

รถยนต์ของญี่ปุนที่เริ่มจากราคา สู่ ราคาและคุณภาพ สู่ราคาคุณภาพ ทางเลือกที่หลากหลายและย่นระยะเวลาในการออกสินค้าใหม่ โดยที่ปัจจัยเดิมไม่ได้หายไปด้วย

เวลาที่เหมาะสม

การเป็นเจ้าแรกในตลาดสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้มาก

ผู้ตามมีข้อดีที่ไม่ต้องเผชิญกับความเสี่ยง มีการเรียนรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น และทำให้ดีขึ้น อีกทั้งยังรวดเร็วในการติดตามและพัฒนาสินค้า

Amazon.com และ Yahoo

Palm pilot และ PDA ที่เป็นผู้ตามที่ประสบความสำเร็จ

การออกแบบที่เป็น Platform

นำเสนอสิ่งที่เป็น Platform ที่สามารถพัฒนาส่วนประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือพัฒนารุ่นใหม่ๆ ออกมาได้

Walkman เช่น มินิดิสก์ ซีดี ดีวีดี MP 3, เครื่องบินโบอิ้ง, microprocessor ของ

Intel และ AMD

เปลี่ยนกฎโดยสิ้นเชิง

นำเสนอสินค้าหรือกระบวนการที่ไม่เคยมีมาก่อนและทำให้สิ่งที่มีอยู่เดิมล้าหลังในทันที

คอมพิวเตอร์ แทนเครื่องพิมพ์ดีด และไฟฟ้าแทนแก๊ส

ปรับปรุงบางกระบวนการ

ปรับปรุงให้แต่ละส่วนของการทำงานเป็นระบบเดียวกันให้ได้ เช่น การสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ หรือการoutsource หรือร่วมมือกับบริษัทต่างๆ

Dell ในธุรกิจคอมพิวเตอร์ และโตโยต้า ในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

การถ่ายโอนระหว่างผลิตภัณฑ์

รวมสินค้าหรือประบวนการที่มีอยู่เดิม เพื่อทำให้เกิดสินค้าหรือกระบวนการใหม่ที่รองรับตลาดที่แตกต่างออกไป

เช่น ล้อที่ทำจาก Polycarbonate ที่มีการดัดแปลงมาจากล้อของเล่นเด็กที่มีน้ำหนักเบา

ประเภทของนวัตกรรม

นวัตกรรมสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (‘4Ps’ of innovation) ดังนี้

1. Product innovation : การเปลี่ยนแปลงในผลิตภัณฑ์ หรือบริการขององค์กร

เช่น การออกแบบรถรุ่นใหม่ที่มีระบบป้องกันให้กับเด็กทารก หรือระบบ Home entertainment แบบใหม่

1. Process innovation : การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือกระบวนการนำเสนอผลิตภัณฑ์

เช่น ในขณะการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตและเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ หรือระบบ Home entertainment รวมทั้งหรือการเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารจัดการในระบบประกันภัย

1. Position innovation : การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าหรือบริการ

เป็นการเปลี่ยนตำแหน่งของผลิตภัณฑ์โดยการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ต่อลูกค้าเช่น Lucozade ที่แต่เดิมเป็นเครื่องดื่มสำหรับเด็กช่วยให้ฟื้นไข้เร็ว แต่ต่อมาผู้ผลิตได้นำเสนอรูปแบบการใช้ Lucozade ใหม่โดยนำเสนอในรูปแบบเครื่องดื่มบำรุงร่างกาย สำหรับนักกีฬา

1. Paradigm innovation : การมุ่งให้เกิดนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงกรอบความคิด

เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการผลิตรถยนต์อย่างสิ้นเชิง จากการที่แต่เดิมมีการผลิตด้วยมือที่มีราคาแพง ผู้มีฐานะร่ำรวยเท่านั้นที่สามารถมีไว้ครอบครองได้ มาเป็นการผลิตจำนวนมากแบบ mass production ที่มีราคาที่เหมาะสม ใครก็ได้สามารถที่จะใช้รถยนต์ของ Ford ได้ ซึ่งต่อมาก็ได้มีการนำวิธีการผลิตแบบ mass production นี้มาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม

หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงานของธุรกิจการบินสู่การบริการสายการบินต้นทุนต่ำ การให้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเตอร์เน็ต ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ การเปลี่ยนแปลงกรอบแนวคิดในการดำเนินงาน (Paradigm innovation)

การเปลี่ยนแปลงจาก Incremental innovation สู่ Radical innovation

กระบวนการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมมีหลายระดับ แบ่งตามระดับความยาก-ง่ายในการคิดค้นนวัตกรรมนั้นๆ โดยจะมีตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเรียกว่า Incremental innovation ที่มีการพัฒนาหรือปรับปรุงสินค้าหรือบริการที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเช่น การออกแบบรถรุ่นใหม่ๆ แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุใหม่หมดทั้งคัน เปลี่ยนจากใช้เหล็กเป็นใช้วัสดุอื่นที่ดีกว่า หรือการเปลี่ยนระบบเครื่องยนต์โดยสิ้นเชิงจะเรียกว่าเป็น Radical innovation บางครั้งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นี้ ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงทั่วไปโดยอาจจะอยู่ในอุตสาหกรรม หรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง แต่บางครั้งก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและรวดเร็วเป็นการเปลี่ยนพื้นฐานของสังคมไปอย่างสิ้นเชิงเช่น เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม หลังจากมีการผลิตเครื่องจักรไอน้ำ หรือการเปลี่ยนแปลงทางด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม เช่นทุกวันนี้ที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จากรูปที่ 1.1 ที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงในระดับ incremental จนถึงระดับ radical ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทั้งระดับองค์ประกอบ (component level) หรือกระทั่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ (system level)

รูปที่ 1.1 Dimensions of Innovation

Mapping Innovation Space

นวัตกรรมทั้ง 4 ประเภทนั้น (4Ps of Innovation) สามารถเกิดได้ตลอดช่วงเวลา ตั้งแต่ Incremental จนถึง Radical สามารถอธิบายได้ดังรูปที่ 1.2 จะเห็นว่าพื้นที่วงกลมในรูปนั้น หมายถึง ระยะที่แต่ละองค์กรสามารถพัฒนานวัตกรรมประเภทต่างๆ ได้ ซึ่งทำให้องค์กรจะต้องพิจารณาและกำหนดกลยุทธ์ทางนวัตกรรมให้ดีว่าจะมุ่งไปทางใดที่จะเกิดประโยชน์ต่อองค์กรมากที่สุด

การจัดการกระบวนการนวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งก็แตกต่างกันสำหรับการจัดการนวัตกรรมแต่ละประเภท เช่น การจัดการกระบวนการพัฒนาและปรับปรุงสินค้าหรือกระบวนการแบบ Incremental ก็จะแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงแบบ Radical ซึ่งความแตกต่างหรือความยากง่ายของการจัดการนั้นๆ จะขึ้นอยู่กับว่านวัตกรรมนั้นมีความใหม่ต่อผู้คิดค้นเพียงใด เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ถือเป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น Shell หรือ IBM แต่สำหรับบริษัทขนาดเล็กเช่น ผู้ผลิตอาหารหรือตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ที่แค่ติดตั้งคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพียงเท่านี้ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายมากแล้ว

รูปที่1.2 Innovation Space

ความสำคัญของ Incremental Innovation

ถึงแม้ว่านวัตกรรมจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องแต่ส่วนมากจะเป็นแบบ incremental คือค่อยๆ เปลี่ยนหรือมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเป็นการปรับปรุงระบบหรือกระบวนการทำงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มากกว่าที่จะมีการเปลี่ยนแปลงแบบรุนแรง (radical) เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งจากการศึกษา พบว่าการเปลี่ยนแปลงแบบ incremental นี้ก่อให้เกิดประโยชน์สะสมในระยะยาวมากกว่าการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน

ปัจจุบัน การพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับองค์กร ซึ่งทำให้เกิดสินค้าหรือกระบวนการใหม่ๆ ขึ้น เกิดการขยายตัวในการลงทุนมากขึ้นทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ การเปลี่ยนแปลงแบบ Incremental นี้เปรียบเสมือนกับการเสริมรากฐานที่สำคัญของการเรียนรู้ เกิดพัฒนาการรเรียนรู้จากการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งสามารถเพิ่มผลิตภาพขององค์กรได้

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็น Platform หรือ Robust เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้การพัฒนานวัตกรรมแบบ Incremental เกิดผลดีต่อองค์กร เพราะหากได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็น platform หรือเป็น family แล้ว การคิดค้นนวัตกรรมทีละเล็กทีละน้อยจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์อีกมากมายที่อยู่ใน family นั้น ซึ่งเป็นการยืดระยะเวลาของช่วงชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น การออกแบบ Robust design ของ Boeing airlines และเครื่องยนต์ Rolls-Royce jet แม้แต่การลงทุนในอุตสาหกรรม Semiconductor เช่น Intel และ AMD ก็มีออกแบบและผลิตอุปกรณ์ที่เป็น Family เช่น Pentium, Celeron , Athlon และ Duron เป็นต้น แต่ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดคืด Walkman ที่เป็นวิทยุขนาดพกพา เริ่มพัฒนามาจากระบบวิทยุและเทป และได้พัฒนามาเรื่อยๆ จนเป็น minidisk, CD, DVD และเครื่องเล่น MP 3 ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีการพัฒนากระบวนการทำงานของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลาจากความคิดที่เป็น Platform ต้นแบบ

นโบายและการผลิตสินค้าที่เป็นแบบ Family นั้นเป็นทางหนึ่งที่สร้างรายได้ให้แก่บริษัท ซึ่งจะเป็นผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการที่ต้องใช้จ่ายเงินลงทุนสูงมากในการวิจัยและพัฒนา เช่น บริษัท P&G ลงทุนในการพัฒนา Cyclodextrin สำหรับสินค้าต้นแบบที่เป็นผงซักฟอก แต่เมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็น Familiy ขึ้น ซึ่งประกอบด้วย สารควบคุมกลิ่น, สบู่และกลิ่นหอม, การควบคุม Off-flavor ในอาหาร, สารฆ่าเชื้อโรค, สารฟอกขาว และน้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น

นวัตกรรมคือกระบวนการแห่งฐานความรู้ (Innovation as a knowledge-based Process)

นวัตกรรมเป็นการสร้างสิ่งใหม่ๆ ที่ต้องอาศัยการบูรณาการความรู้ต่างๆ เข้าด้วยกัน ความรู้เหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น อาจเป็นความรู้ทางเทคนิคที่มีอยู่แ