born01705.files.wordpress.com€¦  · Web view2013. 9. 18. ·...

31
เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ 1. เเเเเเเเเเเเเ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใ 3 ใใใใใใใ ใใใใ 150 ใใใใ ใใใใ 200 ใใใใ ใใใใใใใ 250 ใใใใ ใใใใใใใใใ ใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใ ใใใใใใใ เเเเเเ 4.1 ใใใใใใใใใใใใใใใใใ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ 1. ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ 2. ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ 3. ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ 4. ใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใ 2. เเเเเเเเ (Hammer)ใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใ PVC.

Transcript of born01705.files.wordpress.com€¦  · Web view2013. 9. 18. ·...

เครื่องมืองานไฟฟ้าในฟาร์ม

1. ค้อนเดินสายไฟ ใช้สำหรับตอกตะปูทั่วไปและตอกตะปูในการเดินสายไฟฟ้าแบบใช้เข็มขัดรัดสายหรือติดตั้งกล่องต่อสาย ค้อนที่ใช้เดินสายไฟควรเป็นค้อนขนาดเล็กกว่าค้อนช่างไม้ มีขนาดพอเหมาะและสะดวกในการใช้งาน ซึ่งมี 3 ขนาดคือ ขนาด 150 กรัม ขนาด 200 กรัม และขนาด 250 กรัม ลักษณะของหัวค้อน คือปลายด้านหนึ่งเรียบตรงปลายอีกด้านหนึ่งแบนแหลมเหมาะที่จะใช้ตอกในที่แคบ มีด้ามจับ เป็นไม้

รูปที่ 4.1 แสดงค้อนเดินสายไฟ

วิธีการใช้และบำรุงรักษา

1. ดูแลบำรุงรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ

2. รักษาหัวค้อนให้เรียบสม่ำเสมอกัน

3. ค้อนที่ชำรุดห้ามนำมาใช้งานอีก

4. อย่าใช้ค้อนงัด เกินกำลังจะทำให้ด้ามค้อนหักได้

2. ค้อนหงอน (Hammer)ใช้สำหรับตอกตะปูทั่วไปที่ไม่สามารถใช้ค้อนเดินสายไฟได้ ทำด้วยเหล็กด้านหน้าเรียบ ด้านบนเป็นหงอนใช้สำหรับถอนตะปู ด้ามจับเป็นไม้หรือ PVC.

รูปที่ 4.2 แสดงค้อนหงอน

วิธีการใช้และบำรุงรักษา

1. ดูแลบำรุงรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ

2. รักษาหัวค้อนให้เรียบสม่ำเสมอกัน

3. ค้อนที่ชำรุดห้ามนำมาใช้งานอีก

4. อย่าใช้ค้อนงัด เกินกำลังจะทำให้ด้ามค้อนหักได้

3. คีม (Plir) เป็นเครื่องมือที่ช่างไฟฟ้ามีความจำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานทางไฟฟ้า ลักษณะของคีมที่ดีจะต้องมีฉนวนหุ้มที่หนาและมิดชิดเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน คีมสำหรับงานไฟฟ้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะ คือ

3.1 คีมตัดและปอกสายไฟใช้สำหรับตัดสายไฟ,ปอกสายไฟ มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก การเลือกใช้งานควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของงานจะมีจำหน่วยในท้องตลาดทั่วไปมีทั้งราคาต่ำสุดจนถึงราคาสูง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับยี่ห้อและคุณภาพ

รูปที่ 4.3 แสดงคีมตัดและปอกสายไฟ

3.2 คีมปากจระเข้ เป็นคีมที่สำคัญสำหรับช่างไฟฟ้าเพราะมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ตัดสายไฟ, จับสายไฟ, ขันน๊อต, บิดสายสำหรับการต่อสายไฟฟ้า จับหัวน๊อต ฯลฯ

รูปที่ 4.4 แสดงคีมปากจระเข้

3.3 คีมปากยาว ลักษณะของคีมปากจะยื่นยาวเรียวแหลม เหมาะสำหรับการใช้งานจับวัสดุและอุปกรณ์ที่แคบ ๆ ได้ดี คีมปากยาว สามารถตัดสายไฟจับน็อตตัวเล็ก ๆ จับสายไฟหรือบิดสายไฟได้เหมือนกับคีมปากจระเข้ แต่ควรคำนึงถึงลักษณะของงานที่ปฏิบัติด้วย

รูปที่ 4.5 แสดงคีมปากยาว

3.4 คีมตัด, ปอกสายและย้ำหัว ใช้สำหรับตัดสายไฟ ปอกสายไฟ และย้ำสายไฟ ลักษณะของคีมจะใช้งานกับสายไฟชนิดที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เช่น สายสำหรับงานอิเลคทรอนิกส์ และงานเดินสายไฟยานยนต์ แต่คีมชนิดนี้สามารถใช้กับงานไฟฟ้าในฟาร์มได้ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน

รูปที่ 4.6 แสดงคีมตัด, ปอกสายไฟและย้ำหัว

วิธีการใช้และบำรุงรักษา

1. เมื่อเลิกใช้งานต้องทำความสะอาดเสมอ

2. ก่อนเก็บควรชโลมน้ำมันกันสนิม

3. อย่าเก็บไว้ในที่ชื้นจะทำให้เกิดสนิมได้ง่าย

4. ก่อนใช้ควรตรวจดูฉนวนหุ้มให้เรียบร้อย ถ้าชำรุดรีบซ่อมทันที

ถ้าไม่แน่ใจไม่ควรใช้งาน จะทำให้เกิดอันตรายได้

5. เลือกใช้คีมให้เหมาะสมกับงาน

4. ไขควง (Screw Drier) เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับช่างไฟฟ้าอีกประเภทหนึ่ง ใช้สำหรับถอดประกอบติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ภายในฟาร์มหรือบ้านพัก เช่น ต่อฟิวส์, ประกอบดวงโคม, ซ่อมแซมสวิทซ์ปลั๊ก ถอดตะปูเกลียว ฯลฯ ไขควงส่วนมากจะทำด้วยเหล็กเหนียว ส่วนปลายหรือปากจะชุปแข็งด้ามเป็นพลาสติกหรือยาง สามารถแบ่งได้หลายประเภทตามลักษณะที่ใช้งานคือ

4.1 แบบใช้งานไฟฟ้าทั่วไป (Standard type) เป็นแบบธรรมดาทั่วไป มีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สั้น ยาว แตกต่างกันตามลักษณะของงาน ส่วนด้านปลาย (ปาก)

ของไขควงมี 2 ลักษณะ คือ ปลายแบน (ปากแบน) หรือปลายแฉก (ปากแฉก)

รูปที่ 4.7 แสดงไขควบแบบใช้งานไฟฟ้าทั่วไป (ธรรมดา)

4.2 ไขควงแบบออฟเซต (Offset type) มีลักษณะงอเป็นมุมฉากมีที่จับตรงกลาง เหมาะในการใช้งานที่จำกัดซึ่งไขควงธรรมดาใช้ไม่ได้

รูปที่ 4.8 แสดงไขควงแบบออฟเซต

4.3 ไขควงวัดไฟ เป็นไขควงสำหรับทดสอบวงจรไฟฟ้าหรือ ใช้ถอด-ประกอบวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กใช้แรงขันไม่มาก จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ แบบธรรมดามีหลอดไฟอยู่ที่ด้าม และแบบตัวเลขหรือ แบบดิจิตอล

รูปที่ 4.9 แสดงไขควงวัดไฟ

วิธีการใช้และบำรุงรักษา

1. อย่าใช้ไขควงงัดแทนสกัดอาจทำให้หักงอได้ง่าย

2. อย่าใช้ด้ามไขควงแทนค้อน

3. เมื่อชำรุดควรซ่อมทันที

4. เลือกใช้ให้ถูกหรือเหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ

5. ควรเลือกใช้ไขควงที่มีฉนวนหุ้มหนาแข็งแรงเหมาะกับงานไฟฟ้า

6. เมือเลือกใช้งานควรทำความสะอาด เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

5. มีดคัดเตอร์ (Cutter) ใช้สำหรับปอกฉนวนของสายไฟฟ้า ตัด หรือบากวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือทำความสะอาดสายไฟฟ้า

รูปที่ 4.10 แสดงมีดคัดเตอร์

วิธีการใช้และบำรุงรักษา

1. หลังใช้งานเสร็จเช็ดทำความสะอาด เก็บในที่ไม่ชื้นเพื่อป้องกันการเกิดสนิม

2. การใช้มีดปอกสายไฟควรทำมุม 45 องศา กับสายไฟลักษณะเดียวกับการ

เหลาดินสอ

3. อย่ากดมีดให้ลึกมากจนเกินไปเพราะใบมีดอาจตัดลวดทองแดงภายในเสียหาย

ได้

6. เครื่องเจาะ สำหรับเจาะรูเพื่อยึดวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยน๊อตหรือสกรู หรือเจาะรูวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ไม่สามารถเจาะด้วยเครื่องมือทั่วไปได้เครื่องเจาะสามารถแบ่งได้หลายชนิด แต่ละชนิดจะเหมาะสมกับการใช้งานที่ต่างกัน ดังนี้

6.1 เหล็กหมาด หรือ เหล็กแหลม ใช้สำหรับเจาะวัสดุอ่อน ๆ บาง ๆ

รูปที่ 4.11 แสดงเหล็กหมาด

6.2 เหล็กสกัด มีลักษณะเหมือนสิ่ว ใช้สำหรับสกัดปูน,หรือเหล็กเพื่อติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้า

รูปที่ 4.12 แสดงเหล็กสกัด

6.3 บิดหล่าใช้สำหรับเจาะงานที่สว่านไฟฟ้าเจาะไม่สะดวก หรือเจาะงานที่ไม่แข็งแรงมากนัก เช่น แผงไม้ หรือแป้นไม้

รูปที่ 4.13 แสดงบิดหล่า

6.4 สว่านไร้สาย ลักษณะการทำงานเหมือนกับสว่านไฟฟ้าทั่วไปไม่มีสายไฟใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (สามารถชาร์จระบบไฟฟ้าได้)ใช้สำหรับเจาะวัสดุอุปกรณ์, ขันน๊อตตะปูเกลียว เหมาะกับงานเจาะที่ใช้กำลังเจาะไม่มาก

รูปที่ 4.14 แสดงสว่านไร้สาย

6.5 สว่านไฟฟ้า สำหรับงานเจาะทั่วฯไป เช่น เจาะวัสดุอุปกรณ์, เจาะผนังปูน-ไม้ ใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์ กระแสสลับ บางรุ่นสามารถปรับระดับหรือเลือกการใช้งานได้

รูปที่ 4.15 แสดงสว่านไฟฟ้า

วิธีการใช้และบำรุงรักษา

1. เลือกใช้เครื่องเจาะให้ถูกชนิดและลักษณะของงาน

2. ใช้เสร็จแล้วทำความสะอาดชโลมน้ำมันกันสนิมก่อนเก็บ

3. ขันดอกสว่านให้แน่นก่อนใช้งาน

4. เลือกดอกสว่านให้ถูกต้องกับลักษณะของงาน

5. ขณะเจาะอย่าให้ดอกสว่านร้อนเกินไป

6. การเจาะด้วยสว่านไฟฟ้าไม่ควรล๊อกปุ่มกดสวิทซ์และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

7. ก่อนทำการเจาะปรับสวิทซ์เลือกใช้งานให้ถูกต้อง

7. ตลับเมตร (Measurements tape) ใช้สำหรับการวัดระยะต่าง ๆ ในการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือวัดระยะเพื่อคำนวณหาปริมาณจำนวนสายไฟ

รูปที่ 4.16 แสดงตลับเมตร

วิธีการใช้และบำรุงรักษา

1. ทำความสะอาดหลังใช้งาน

2. ระวังอย่าให้ตกหล่น

3. อย่าดึงตลับเมตรเกิดความยาวที่กำหนด

8. เลื่อย (Saw) เลื่อยมีหลายแบบหลายชนิดทั้งขนาดและรูปร่างสำหรับงานช่างไฟฟ้า เลื่อยที่เหมาะสมควรเป็นเลื่อยฟันละเอียด สำหรับการเลื่อยหรือ บากวัสดุอุปกรณ์ เช่น เลื่อยเหล็ก

รูปที่ 4.17 แสดงเลื่อย

วิธีการใช้และบำรุงรักษา

1. อย่าปล่อยให้ฟันเลื่อยเปียกน้ำ

2. เก็บไว้ในที่แห้งไม่ชื้นเลิกใช้งานชโลมน้ำมันกันสนิม

3. อย่างวางเลื่อยที่มีแดดร้อนจัด หรือใกล้ความร้อน

4. ใช้เลื่อยให้ถูกต้องกับลักษณะของงาน

9. หัวแร้งบัดกรี ใช้สำหรับบัดกรีสายไฟตรงรอยต่อให้เรียบสม่ำเสมอหัวแร้งบัดกรีมี

2 ชนิด คือ หัวแร้งธรรมดา (เผาด้วยเตา) ใช้สำหรับงานบัดกรีขนาดใหญ่ เช่น รางน้ำฝน เป็นต้นและอีกประเภทคือ หัวแร้งไฟฟ้า เหมาะสำหรับงานไฟฟ้าใช้ความร้อนไม่มาก เพราะมีความสะดวกและใช้สำหรับงานเล็ก ๆ ในการซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้า

รูปที่ 4.18 แสดงหัวแร้งบัดกรี รูปที่ 4.19 แสดงตะกั่วบัดกรี

วิธีการใช้และบำรุงรักษา

1. ส่วนที่จะบัดกรีต้องขูดทำความสะอาดเสียก่อน

2. เวลาบัดกรีต้องจับหัวแร้งให้แน่นคงที่

3. ควบคุมอย่าให้หัวแร้งบัดกรีร้อนจัดเกินไป

4. รักษาปลายของหัวแร้งให้สะอาดอยู่เสมอ

5. เมื่อใช้งานเสร็จแล้วต้องจุ่มน้ำกรดเจือจางแล้วจึงเก็บเข้าที่

10. บักเต้าตีเส้น ใช้สำหรับวางแนวตีเส้นในการเดินสายไฟฟ้าซึ่งช่างไฟฟ้าใช้งานได้สะดวกรวดเร็ว กว่าเครื่องมือตีเส้นประเภทอื่น ๆ และเส้นที่ได้มีความคม ตรง สวยงาม

รูปที่ 4.20 แสดงบักเต้าตีเส้น

วิธีการใช้และบำรุงรักษา

1. เก็บบักเต้าไว้ในที่แห้งไม่ชื้นเพราะความชื้นมีผลต่อผงฝุ่นสี

2. ระวังอย่างให้บักเต้าตก หล่น

3. เปลี่ยนผงฝุ่นสีเป็นประจำกรณีเส้นไม่คมชัด

11. สปริงดัดท่อ ใช้ทำหรับดัดท่อ PVC. สำหรับร้อยสายไฟ กรณีการเดินสายไฟฟ้าแบบใช้ท่อร้อยสายไฟ (แบบปิด) จะมีหลายขนาดตามขนาดของท่อร้อยสายไฟ เช่น 20 มิลลิเมตร

25 มิลลิเมตร

รูปที่ 4.21 แสดงสปริงดัดท่อ

วิธีการใช้และบำรุงรักษา

1. เลือกใช้ขนาดสปริงดัดท่อให้เหมาะสมกับขนาดของท่อ

2. ใช้งานเสร็จแล้วทำความสะอาดชโลมน้ำมันกันสนิม

3. ไม่ควรวางสปริงดัดทำในที่ชื้น

12. เครื่องมือวัดไฟฟ้า ใช้สำหรับวัดค่าทางไฟฟ้าต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น โวลต์มิเตอร์ แอมมิเตอร์ มัลติมิเตอร์ แต่เครื่องมือที่เหมาะสมกับงานช่างไฟฟ้ามากที่สุด คือ มัลติมิเตอร์ เพราะ

ผู้ใช้สามารถเลือกวัดค่าทางไฟฟ้าได้หลายอย่าง เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าแรงดันไฟฟ้า ค่าความต้านทานไฟฟ้า มัลติมิเตอร์ประกอบเป็นเครื่องมือชิ้นเดียวกัน โดยสามารถปรับปุ่มเลือกใช้งานได้

รูปที่ 4.22 แสดงมัลติมิเตอร์ (Multimeter)

วัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าในฟาร์ม

การติดตั้งระบบไฟฟ้าในงานฟาร์ม หรือที่พักอาศัยนั้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ และทักษะในการเลือกใช้ จำแนกชนิด ลักษณะการใช้งานและบำรุงรักษาของวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าพื้นฐาน ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ หลายราคาแล้วแต่จะเลือกมาใช้งานตามสภาพกำลังเงิน

วัสดุอุปกรณ์พื้นฐานของไฟฟ้า ในงานฟาร์ม หรือทั่วไปที่สำคัญจำแนกได้ดังนี้

1. สายไฟฟ้า เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าให้ไหลไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ สายไฟฟ้าชนิด สายเปลือย และสายไฟฟ้าชนิดหุ้มฉนวน แต่สำหรับไฟฟ้าในงานฟาร์ม หรือที่พักอาศัยจะใช้เฉพาะสายไฟฟ้าประเภทหุ้มฉนวนและสามารถแยกประเภทตามลักษณะการใช้งานดังนี้

1.1 สายไฟฟ้าชนิด VAF เป็นสายไฟฟ้าชนิดหุ้มฉนวนP.V.C.( poly Vinyl chloride) 2 ชั้น ภายนอกเป็นฉนวนสีขาว ภายในมีลวดตัวนำ 2 หรือ 3 เส้น หุ้มด้วยฉนวน P.V.C. อีกชั้นหนึ่ง มีขนาดมาตรฐานที่ใช้ทั่วไปหลายขนาดด้วยกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น 2 x1.0 mm2 , 2 x 1.5 mm2, 2 x 4 mm2 , 2 x 6 mm2 , 3 x 1.5 mm2, 3 x 2.5 mm2 สายไฟฟ้าประเภทนี้เหมาะสำหรับการเดินสายไฟฟ้าในอาคารแบบเปิด (ใช้เข็มขัดรัดสาย)

รูปที่ 4.23 แสดงสายไฟฟ้า VAF

1.2 สายไฟฟ้าชนิด THW เป็นสายไฟฟ้าชนิดหุ้มฉนวนด้วย P.V.C. ชั้นเดียว ภายในมีลวดตัวนำทองแดงเส้นเดียวเหมาะสำหรับการเดินสายไฟในอาคารแบบปิด (เดินภายในท่อ) มีหลายขนาดและมีหลายสีสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น

รูปที่ 4.24 แสดงสายไฟฟ้า THW

1.3 สายไฟชนิด VFF เป็นสายไฟฟ้าชนิดหุ้มฉนวนด้วย P.V.C. ลักษณะภายใน มีลวดทองแดงขนาดเล็กหลายเส้นแยก 2 ชุด หุ้มด้วยฉนวน P.V.C. ชั้นเดียว สามารถม้วนเก็บได้ง่ายเหมาะสำหรับการใช้งานชั่วคราว มีหลายขนาด ตามลักษณะการใช้งาน เช่น 2 x 1.0 mm2, 2 x 1.5 mm2, 2 x 2.5 mm2

รูปที่ 4.25 แสดงสายไฟฟ้า VFF

1.4 สายไฟฟ้าชนิด VCT เป็นสายไฟฟ้าชนิดหุ้มฉนวน P.V.C. ลักษณะภายในมีลวดตัวนำทองแดงขนาดเล็ก ๆ รวมกันแล้วหุ้มฉนวน P.V.C. ชั้นแรก (ภายในอาจจะเป็นลวดทองแดง 2 ชุด 3 ชุด หรือ 4 ชุด) ชั้นนอกหุ้มด้วยฉนวน P.V.C. อีกชั้นหนึ่งมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน เช่น 2 x 1.5 mm2, 3 x 1.5 mm2, 2 x 2.5 mm2 , 2 x 4 mm2 , 3 x 1.5 mm2, 3 x 2.5 mm2 , 3 x 4 mm2 , 4 x 2.5 mm2 , 4 x 1.5 mm2 ฯลฯ

รูปที่ 4.26 แสดงสายไฟฟ้า VCT

2. เข็มขัดรัดสายไฟ ใช้สำหรับการเดินสายไฟฟ้าในอาคารแบบเปิด ปัจจุบันนิยมใช้มาก เพราะเรียบสนิทเป็นระเบียบมีความสวยงาม เข็มขัดรัดสายทำด้วยอลูมิเนียม ตรงกลางมีรู อาจจะมี 1 – 2 รู ขึ้นอยู่กับขนาดของเข็มขัด เข็มขัดรัดสายไฟมีขนาดเบอร์แตกต่างกัน มีตั้งแต่เบอร์ 0 ถึงเบอร์ 6 สามารถเลือกใช้งานได้ให้เหมาะสมกับขนาดของสายไฟฟ้าชนิด VAF

รูปที่ 4.27 แสดงเข็มขัดรัดสายไฟ

3. ตะปู ใช้สำหรับตอกยึดเข็มขัดกับผนังเพื่อเดินสายไฟฟ้า ตะปูที่ใช้สำหรับการเดินสายไฟฟ้ามีอยู่ 2 ชนิด คือ

3.1 ตะปู ตอกผนังไม้ เป็นตะปูความยาว 1/2 นิ้ว ทำด้วยเหล็กอ่อน

3.2 ตะปู ตอกผนังคอนกรีต เป็นตะปู ความยาว 3/4 นิ้ว ทำด้วยเหล็กแข็ง

รูปที่ 4.28 แสดงตะปูสำหรับเดินสายไฟฟ้า

4. สวิทช์ตัดตอน (Cut- out ) หรือสะพานไฟ ทำหน้าที่ตัดต่อกระแสไฟฟ้าและในบางประเภทสามารถเป็นอุปกรณ์ป้องกันความบกพร่องในการทำงานของระบบไฟฟ้าในวงจรได้ สะพานไฟที่ใช้ในฟาร์ม หรืออาคารบ้านเรือนจะติดตั้งบนแผงควบคุมระบบไฟฟ้า หรือบางลักษณะงานอาจจะใช้สำหรับการควบคุมวงจรกำลัง เช่น ปั๊มน้ำ แอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น ฯ ลฯ สวิทช์ตัดตอนมีหลายประเภทและลักษณะ สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งานดังนี้

4.1 สวิทช์ตัดตอนแบบธรรมดา ทำด้วยกระเบื้องเคลือบ ภายในติดตั้งฟิวส์ก้ามปูหรือ ฟิวส์เส้นลวดเพื่อป้องกันระบบไฟฟ้าบกพร่องหรือลัดวงจร การทำงานโดยวิธีการยกขึ้น-ยกลง

4.2 สวิทช์ตัดตอนแบบกึ่งอัตโนมัติ โครงสร้างทำด้วยกระเบื้องเคลือบมีฝาปิดพลาสติกแข็งครอบ ภายในมีวงจรควบคุม มีปุ่มกดทำให้ต่อวงจรไฟฟ้าได้ กรณีไฟฟ้าลัดวงจรปุ่มถูกดันขึ้นโดยอัตโนมัติ

4.3 สวิทช์ตัดตอนแบบอัตโนมัติ โครงสร้างภายในประกอบด้วย วงจรอิเลคทรอนิกส์ ควบคุมการทำงานที่เรียกว่า เซอร์กิต (Circuit) มีหลายลักษณะให้เลือกใช้งาน เช่น เบรกเกอร์ เซอร์กิตเบรกเกอร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดเพราะระบบการทำงาน มีความปลอดภัยมากที่สุดกรณีเกิดความบกพร่องของระบบไฟฟ้าการทำงานโดยวิธีการโยกปุ่ม on เพื่อต่อวงจรและ off เพื่อตัดวงจร

รูปที่ 4.29 แสดงสวิทช์ตัดตอนประเภทต่าง ๆ

5. ฟิวส์ (Fuse) เป็นอุปกรณ์ป้องกันตัดกระแสไฟฟ้าจากระบบกรณีเกิดความบกพร่องของระบบไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร หรือกระแสไฟฟ้าเกินกำลังของระบบ ฟิวส์เป็นตัวนำไฟฟ้าจะขาดหรือละลายทันทีเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินกว่าขนาดของกระแสที่กำหนดตามพิกัดของฟิวส์ ฟิวส์เป็นวัสดุที่ทำมาจากตะกั่วผสมกับดีบุกซึ่งมีจุดหลอมละลายต่ำ

คุณสมบัติของฟิวส์ที่ดี

1. เมื่อมีกระแสไหลเกิน 2.5 เท่าของฟิวส์ ฟิวส์จะขาดในเวลาจำกัด โดยหัว-ท้ายของ

ฟิวส์ไม่ขาดไปด้วย

2. สามารถทนกระแสไหลผ่านตัวมันได้ 1.1 เท่า ของขนาดทนกระแสของฟิวส์ เช่น

ฟิวส์ 10 แอมป์แปร์ ต้องสามารถทนกระแสได้ 11 แอมป์แปร์

3. การหลอมละลายของฟิวส์ต้องไม่ทำให้เกิดประกายไฟ หรือเปลวไฟซึ่งทำให้

อุปกรณ์เสียหายได้

ฟิวส์ที่มีใช้อยู่ในงานไฟฟ้าในบ้าน หรือในฟาร์มทั่วไปมีหลายชนิดดังนี้

5.1 ฟิวส์เส้นลวด ลักษณะเหมือนเส้นลวดเปลือยใช้กับสิวทช์ตัดตอนแบบธรรมดาโดย

ใช้น๊อตยึดหัวท้ายของฟิวส์ ฟิวส์มีขนาดหลายขนาด เช่น 10A 15A 20A 25A ฯลฯ สามารถเลือก

ใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน

รูปที่ 4.30 แสดงฟิวส์เส้นลวด

5.2 ฟิวส์ก้ามปู ลักษณะคล้ายกับก้ามปู ประกอบหรือติดตั้งอยู่ในสวิทช์ตัดตอนแบบธรรมดา เหมือนกับฟิวส์เส้นลวด มีขนาดหลายขนาดเหมือนกับฟิวส์เส้น

รูปที่ 4.31 แสดงฟิวส์ก้ามปู

5.3 ฟิวส์ปลั๊ก (Plug Fuse) มีลักษณะคล้ายจุกก๊อก ทรงกระบอก จะมีเส้นฟิวส์บรรจุอยู่ภายใน กระบอกเคลือบเซรามิค (Ceramic) ปลายด้านหนึ่งใหญ่กว่าปลายอีกด้านหนึ่ง ภายในจะบรรจุทราย เวลาใช้ฟิวส์ต้องใส่ลงในตลับฟิวส์ โดยวิธีการหมุนฝาครอบให้แน่น ตรงฝาครอบฟิวส์จะมีช่องดูสภาพภายในของฟิวส์ถ้าเส้นฟิวส์ขาด ปุ่มบอกสภาพของฟิวส์จะหลุดออกจากหลอดฟิวส์ และสามารถมองเห็นได้

รูปที่ 4.32 แสดงฟิวส์ปลั๊ก

5.4 ฟิวส์กระบอก ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกใช้กับสวิทช์ตัดตอนก่อนเข้าแผงควบคุม มีหลายขนาด เช่น 30A 60A 100A

รูปที่ 4.33 แสดงฟิวส์กระบอก

5.5 ฟิวส์หลอด ลักษณะรูปทรงกระบอก เป็นหลอดไฟเบอร์ หรือ หลอดแก้วตรง หัวท้ายเป็นโลหะปิด ภายในบรรจุเส้นฟิวส์ ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับฟิวส์ของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

มีหลายขนาด ขึ้นอยู่กับลักษณะของอุปกรณ์ไฟฟ้า

รูปที่ 4.34 แสดงฟิวส์หลอด

6. สวิทช์ไฟฟ้า(Switch) ทำหน้าที่ในการ ตัด- ต่อ วงจรไฟฟ้า โดยทั่วไปจะใช้กับวงจร

แสงสว่าง ภายในบ้านพัก หรือในฟาร์มทั่วไป มีหลายประเภทและหลายราคาขึ้นอยู่กับความเหมาะสมการใช้งาน เช่น สวิทช์ทางเดียว, สวิทช์ 2 ทาง, สวิทช์ 3 ทาง

รูปที่ 4.35 แสดงสวิทช์ไฟฟ้า

7. ปลั๊ก (Plug) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยทั่วไปจะมี 2 ลักษณะ คือ ปลั๊กตัวผู้ หรือเต้าเสียบ ลักษณะเป็นเดือย มีขาเสียบ 2-3 ขา และปลั๊กตัวเมีย หรือเต้ารับ ลักษณะเป็นรู มี 2-3 รู เพื่อรองรับเต้าเสียบ ปลั๊กมีหลายชนิด สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของงาน

รูปที่ 4.36 แสดงปลั๊กประเภทต่าง ๆ

8. หลอดไฟฟ้า (Lamp) ทำหน้าที่ให้แสงสว่างสำหรับสถานที่ปฏิบัติงาน หรือที่อยู่อาศัย การติดตั้งระบบส่องสว่างควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการจัดแสง และสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งนั้นก็คือการเลือกประเภทและชนิดของหลอดไฟฟ้า โดยปกติทั่วหลอดไฟฟ้าไปแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

8.1 หลอดไฟฟ้าชนิดมีไส้ (Filament Lamp) เป็นหลอดไฟฟ้าที่นิยมใช้ในรุ่นแรก ๆ หรือบางที่ก็เรียกว่าหลอดธรรมดา องค์ประกอบของหลอดประกอบด้วย หลอดแก้ว, ไส้หลอด, (ส่วนไส้หลอดทำจากทังสเตน) เส้นลวดที่ต่อเข้ากับขั้วหลอด, ลวดยึดไส้หลอด,และก้านหลอดยึดไส้, ปัจจุบันนิยมใช้ไม่มากนักเพราะให้กำลังส่องสว่างน้อยกว่าหลอดประเภทอื่น ในกรณีกำลังวัตต์เท่ากัน มีจำหน่วยในท้องตลาดมีหลายขนาด เช่น 40วัตต์ 60วัตต์ 80วัตต์ 100วัตต์ ฯลฯ อายุการใช้งานประมาณ 1000 ชั่วโมง หลอดประเภทนี้มีอยู่ 2 ลักษณะ คือชนิด แบบเขี้ยว และชนิดแบบเกลียว

รูปที่ 4.37 แสดงหลอดไฟฟ้าชนิดมีไส้

8.2 หลอดไฟฟ้าชนิดเรืองแสง (Fluorescent Lamp) หรือเรียกว่า หลอดฟลูออเรสเซนต์หลอดไฟฟ้าประเภทนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าหลอดไฟฟ้าธรรมดาถึง 4 เท่า ให้แสงสว่างที่เย็นตามากกว่า รวมทั้งอุณหภูมิความร้อนที่เกิดขึ้นจากหลอดน้อยกว่า ส่วนประกอบที่สำคัญของหลอดประกอบด้วย

1) ตัวหลอด

2) ขั้วหลอด

3) ไส้หลอด

4) สารบรรจุภายในหลอด เช่น อาร์กอน และไอปรอท

หลอดไฟฟ้าชนิดฟลูออเรสเซนต์ที่จำหน่วยในท้องตลาด มีหลายลักษณะเช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ธรรมดา หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบวงกลม (32 วัตต์) แบบยาวตรง (18,36 วัตต์) และหลอดฟลูออเรสเซนต์ แบบคอมแพค (Compact) หรือหลอดตะเกียบ

รูปที่ 4.38 แสดงหลอดไฟฟ้าชนิดฟลูออเรสเซนต์

8.3 หลอดไฟฟ้าชนิดอาศัยการอาร์ค หรือหลอดไฟชนิดคายประจุ หลอดประเภทนี้ใช้กระแสไฟฟ้ามากในการทำงานไม่นิยมใช้ในบ้านเรือนทั่วไป ส่วนใหญ่จะใช้เฉพาะจุดหรือพื้นที่ต้องการแสงสว่างมาก ๆ หลอดไฟฟ้าชนิดนี้มีหลายแบบ เช่น หลอดไอปรอท หลอดฮาโลเจน หลอดโซเดียม หรือหลอดแสงจันทร์

รูปที่ 4.39 แสดงหลอดไฟฟ้าชนิดอาศัยการอาร์ค

9. สตาร์ทเตอร์ ทำหน้าที่คล้ายเป็นสวิทช์อัตโนมัติ เพื่อเปิดและปิดวงจรของหลอด ฟลูออเรสเซนต์ เมื่อเริ่มต้นทำงานสตาร์ทเตอร์ทำหน้าที่เปิดวงจรเพื่ออุ่นไส้หลอดให้พร้อมที่จะทำงาน เมื่อไส้หลอดทำงานเรียบร้อยแล้วสตาร์ทเตอร์ก็ปิดวงจร

รูปที่ 4.40 แสดงสตาร์ทเตอร์

10. บัลลาส ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสมกับหลอดซึ่งแรงดันไฟฟ้าในตอนเริ่มต้นจะสูงมาก เพื่อจุดไส้หลอดให้ปลดปล่อยอิเลคตรอนออกมา หลังจากหลอดทำงานแล้ว บัลลาสจะเปลี่ยนหน้าที่โดยจะเป็นตัวจำกัดปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าหลอด

รูปที่ 4.41 แสดงบัลลาส

11. ตลับแยกสาย มีลักษณะกลมมีฝาเกลียวปิด หรือเป็นกล่องพลาสติคสี่เหลี่ยมจัตุรัส สามารถเจาะรูออกรอบ ๆ ได้ 4 รู ตลับแยกสายมีไว้สำหรับต่อสายภายในตลับ เพื่อให้ดูเรียบร้อยสวยงาม ในการต่อแยกสายไปใช้หลายจุด เช่น ปลั๊ก สวิทช์ ดวงโคม ฯลฯ แต่ในปัจจุบันตลับแยกสายไม่เป็นที่นิยมในการต่อจุดแยก ส่วนใหญ่จะนิยมเชื่อมต่อวงจรภายในแผงสวิทช์หรือปลั๊กแทน

รูปที่ 4.42 แสดงตลับแยกสาย

12. แป้นไม้, แป้นพลาสติค ทำด้วยไม้หรือพลาสติค ทรงสี่เหลี่ยมมีหลายขนาด เช่น

8 นิ้ว x 10นิ้ว , 10นิ้ว x 12นิ้ว , 6 นิ้ว x 8 นิ้ว , ฯลฯ ใช้สำหรับติดตั้งหรือรองอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น สวิทช์ ปลั๊ก เบรกเกอร์ คัทเอาท์ ฯลฯ ในบางกรณีแป้นไม้ หรือ พลาสติคสามารถใช้แทนตลับ

แยกสาย

รูปที่ 4.43 แสดงแป้นไม้, แป้นพลาสติค

13. บ๊อกสวิทช์,ปลั๊ก สำหรับติดตั้งหน้ากากสวิทช์และปลั๊ก แยกได้เป็น 2 ลักษณะคือ บ๊อกใช้สำหรับฝังในผนังปูน อาจทำด้วยเหล็กหรือพลาสติค และอีกประเภทหนึ่งคือ บ๊อกติดภายนอกผนังปูน (บ๊อกลอย) ส่วนใหญ่ทำด้วยพลาสติค

รูปที่ 4.44 แสดงบ๊อกสวิทช์-ปลั๊ก

14. หน้ากาก สวิทช์-ปลั๊ก สำหรับติดตั้งสวิทช์และปลั๊ก ปัจจุบันเป็นที่นิยมเพราะติดตั้งได้ง่าย เรียบร้อยกว่าสวิทช์-ปลั๊ก รุ่นแรก ๆ แยกได้ 3 ลักษณะ คือ หน้ากาก 1 ช่อง, หน้ากาก 2 ช่อง

และหน้ากาก 3 ช่อง ใน 1 ช่องนั้น สามารถติดปลั๊กหรือสวิทช์ได้เพียง 1 ตัวเท่านั้น

รูปที่ 4.45 แสดงหน้ากาก สวิทช์ – ปลั๊ก

15. เทปพันสายไฟ เป็นเทปพลาสติคหรือผู้ทำหน้าที่เป็นฉนวนใช้พันสายไฟบริเวณจุดต่อของสายเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเทปที่ดีควรเป็นฉนวนที่ดี อ่อน เหนียว และกาวของเทปมีความเหนียวคงทน เมื่อพันสายไฟแล้วแนบกับสายได้ดี

รูปที่ 4.46 แสดงเทปพันสายไฟ

16. ท่อสำหรับเดินสายไฟ เป็นท่อ P.V.C สำหรับใส่สายไฟเข้าไปภายใน ปัจจุบันนิยมใช้ท่อเดินสายไฟภายในอาคารเพราะสะดวกในการติดตั้ง และสามารถซ่อมแซมระบบสายไฟได้ง่าย มีหลายขนาด ที่นิยมใช้ คือขนาด 20 มิลลิเมตร 25 มิลลิเมตร และ 30 มิลลิเมตร ลักษณะของท่อ P.V.C ที่ใช้สำหรับงานไฟฟ้ามี 2 สี คือ ท่อสีขาว สำหรับเดินสายไฟภายในอาคารทั่วไป ท่อสีเหลือง เหมาะสำหรับเดินสายไฟฟ้าฝังดินหรือเดินสายไฟภายในโรงงาน

รูปที่ 4.47 แสดงท่อสำหรับเดินสายไฟ

17. อุปกรณ์สำหรับท่อเดินสายไฟ อุปกรณ์ที่กล่าวถึงในที่นี้เป็นอุปกรณ์ทั่วไป สำหรับการติดตั้งระบบการเดินสายไฟฟ้าแบบปิด (ร้อยท่อ) ทำหน้าที่ในการยึด-ต่อ อุปกรณ์และท่อเข้าด้วยกัน เพื่อให้แข็งแรงและสวยงาม เช่น

17.1 ข้อต่อตรง สำหรับต่อท่อเข้าด้วยกัน

17.2 คอนเนกเตอร์ สำหรับต่ออุปกรณ์และท่อเข้าด้วยกัน

17.3 ข้อต่ออ่อน สำหรับต่อท่อที่เยื้องหรืออยู่คนละแนวกัน

17.4 ข้องอ สำหรับต่อท่อที่หักเลี้ยวเป็นมุมฉาก

17.5 สามทาง สำหรับต่อแยกท่อได้ 3 ทาง

17.6 เข็มขัดรัดท่อ สำหรับยึดท่อ

รูปที่ 4.48 แสดงอุปกรณ์สำหรับท่อเดินสายไฟ