o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... ·...

106
opÊ 2551-2554 Annual Report 2008-2011

Transcript of o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... ·...

Page 1: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

2551-2554Annual Report 2008-2011

Page 2: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ
Page 3: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ
Page 4: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ
Page 5: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

1Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

รายงานฉบับนี้ครอบคลุมผลการดำเนินงานพันธกิจหลักของคณะศิลปศาสตร์ ในรอบปีการศึกษา 2551-2554

ด้านการจัดการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนผลการ

ดำเนินงานพันธกิจสนับสนุนด้านการพัฒนานักศึกษา วิเทศสัมพันธ์ การบริหารจัดการ และการประกันคุณภาพ

ผลการดำเนินงานในรายงานฉบับนี้สะท้อนให้เห็นพัฒนาการและความก้าวหน้าในพันธกิจด้านต่างๆ ของ

คณะศิลปศาสตร์ โดยในรอบปีการศึกษา 2551-2554 คณะมีผลการดำเนินงานที่สำคัญหลายด้าน ด้านการจัดการ

ศึกษา คณะได้ปรับปรุงทุกหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 จัดหลักสูตร

ที่มีความร่วมมือกับต่างประเทศ ริเริ่มนโยบายพัฒนาสมรรถนะสากลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยจัดให้

นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ทุกคนมีประสบการณ์ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในประชาคมอาเซียน บัณฑิต

คณะศิลปศาสตร์ได้รับการประเมินความพึงพอใจในด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยนายจ้างในระดับมากที่สุด

อย่างต่อเนื่อง ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง คณะศิลปศาสตร์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นหน่วยงานที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ

ดา้นการเรยีนการสอนและคณุภาพบณัฑติ ประจำปกีารศกึษา 2554 ในระดบับณัฑติศกึษา ผลงานของนกัศกึษา

คณะศิลปศาสตร์ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นระดับปริญญาโทกลุ่มสังคมศาสตร์ ประจำปี 2551 และกลุ่ม

มนุษยศาสตร์ ประจำปี 2553 ด้านการวิจัย คณะพัฒนาระบบสนับสนุนการวิจัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ

และปลายน้ำ ทำให้การดำเนินงานด้านวิจัยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้คณะจัดประชุมวิชาการระดับ

นานาชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 และจัดทำวารสารศิลปศาสตร์

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ (TCI) แล้ว ด้านการบริการวิชาการ

แก่สังคม คณะจัดให้มีบริการวิชาการด้านภาษาต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะให้ความสำคัญกับการสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทย การส่งเสริม

ศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ และการสร้างสรรค์ศิลปะ โดยคณะจัดให้มีการแสดงละครเวทีประจำปี ตั้งแต่ปีการศึกษา

2551 เป็นต้นมา ด้านการบริหารจัดการ คณะพัฒนาระบบบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนนำเทคโนโลยี

และระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการให้รองรับพันธกิจด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

คณะศิลปศาสตร์ขอขอบคุณบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนทุกหน่วยงาน ที่ให้ความร่วมมือร่วมแรง

และร่วมใจสนับสนุนการดำเนินงานของคณะ ทำให้การขับเคลื่อนพันธกิจทุกด้านของคณะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ส่งผลให้คณะศิลปศาสตร์ได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก ในระดับที่ดีขึ้นตามลำดับ

หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาคมคณะศิลปศาสตร์ในการทบทวนและตรวจสอบภารกิจ

วางแผนพัฒนา ตลอดจนกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์การดำเนินงานของคณะศิลปศาสตร์ให้มีความเจริญก้าวหน้า

ต่อไป

(รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศา แซ่เตียว)

คณบดีคณะศิลปศาสตร์

สารจากคณบดี

Page 6: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

2Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

วิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าประสงค์วิสัยทัศน์

คณะศิลปศาสตร์ เป็นคณะชั้นนำทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับชาติและ

นานาชาติ

พันธกิจ

1. จัดการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

2. สร้างองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

3. บริการวิชาการเพื่อพัฒนาและตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคม

4. ทำนุบำรุง ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม เพื่อธำรงความเป็นไทยและสร้างเสริมความเข้าใจ

ระหว่างวัฒนธรรม

เป้าประสงค์

1. ผลิตบัณฑิตด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่มีความรู้ความสามารถ มีสมรรถนะสากลและ

คุณธรรมบนพื้นฐานความเป็นไทย มีทักษะชีวิต จิตสาธารณะและสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมี

ความสุข และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม

2. จัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อเสริมสร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

3. ผลิตงานวิจัยและผลงานทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับการเรียน

การสอนพหุวัฒนธรรม และชุมชนภาคใต้

4. บริการวิชาการในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพชุมชนและสังคม

5. ทำนุบำรุง ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อให้เกิดความรัก ความหวงแหนและ

ตระหนักในคุณค่า รวมทั้งเรียนรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของวัฒนธรรมที่หลากหลาย

6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะที่ตอบสนองพันธกิจ

Page 7: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

3Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

คณะศิลปศาสตร์

ฝ่ายบริหารทั่วไป

ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ

ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์

วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน สาขาวิชามนุษยศาสตร์*หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา(ภาษาไทย)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาชุมชนศึกษา

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม

(ภาคปกติและภาคพิเศษ)

สาขาวิชาสังคมศาสตร์*

สาขาวิชากีฬาพลศึกษาและนันทนาการ*

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา

(ภาษาอังกฤษ)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีน

(หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ

(ภาคปกติและภาคพิเศษ)

ภาควิชาสารัตถศึกษา ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง* สถาบันขงจื๊อ**

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ*

สาขาวิชาภาษาจีน*

สาขาวิชาภาษาต่างประเทศอื่นๆ*หมายเหตุ * เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งเป็นการภายใน ** มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ฝากการบริหาร ไว้ที่คณะศิลปศาสตร์

3. โครงสร้างองค์กร

Page 8: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

4Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ สารสนเทศ และบริการวิชาการ

คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ Study Abroad

คณะทำงานจดหมายข่าวรอบรั้วศิลปศาสตร์

คณะกรรมการดูแลระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

คณะกรรมการบริการวิชาการ

4. โครงสร้างการบริหารคณะศิลปศาสตร์

คณบดี

คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย สายบริหาร

คณะกรรมการติดตาม และกำกับการดำเนินงานประเมินและพัฒนาคุณภาพของระบบการบริหารจัดการ

คณะกรรมการจัดการความรู้

คณะกรรมการประจำคณะศิลปศาสตร์

รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

รองคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพ

รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา

คณะกรรมการวิชาการ คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้างสาย

สนับสนุนปฏิบัติการคณะกรรมการดำเนินการสอบ

คณะกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

คณะกรรมการ มอ. วิชาการ

คณะกรรมการกิจกรรม 5 สคณะกรรมการนักศึกษาฝึกงานภาคฤดูร้อน

คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา

คณะอนุกรรมการจัดวางระบบการควบคุมภายใน

คณะกรรมการสวัสดิการร้านค้า

คณะกรรมการการขับเคล่ือนความเข้มแข็งด้านภาษาอังกฤษคณะกรรมการตรวจการจ้าง

ทำความสะอาดอาคาร

หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป

หัวหน้าภาควิชาสารัตถศึกษา

หัวหน้าฝ่ายสนับสนุนวิชาการ

หัวหน้าศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง

หัวหน้าภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์

คณะกรรมการดำเนินงานสถาบันขงจื๊อ

แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะกรรมการบริหารทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

คณะกรรมการบริหารกองทุนคณะศิลปศาสตร์

คณะกรรมการกิจการนักศึกษา คณะกรรมการวิจัย

คณะกรรมการธรรมาภิบาลบัณฑิตศึกษา

คณะกรรมการบริหารงาน

บัณฑิตศึกษา

คณะกรรมการดำเนินงาน

วารสารศิลปศาสตร์

หมายเหตุ: คณบดีเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเรื่องงบประมาณ

Page 9: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

5Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

5. ประวัติและความเป็นมา แนวคิดในการขอจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ได้เริ่ม

มาตั้งแต่แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 5

และดำเนินการเรื่อยมาจนกระทั่งถึงแผนฯ ระยะที่ 7

(พ.ศ. 2536-2539) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้

เสนอทบวงมหาวิทยาลัยขอจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์

เพื่อรองรับและดำเนินการจัดการเรียนการสอนทางด้าน

วิชาศึกษาทั่วไป และสนองตอบต่อการผลิตบัณฑิตที่พึง

ประสงค์ของมหาวิทยาลัย โดยองค์กรที่จัดตั้งขึ้นนี้จะ

มุ่งเน้นการพัฒนาวิชาการ ในระดับบัณฑิตศึกษา พัฒนา

การวิจัย รวมทั้งการให้บริการวิชาการแก่ท้องถิ่น

ในปี พ.ศ. 2538 คณะกรรมการดำเนินการจัดตั้ง

คณะศิลปศาสตร์เสนอร่างโครงการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์

ให้มหาวิทยาลัยพิจารณาตามขั้นตอน และสภามหา-

วิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีมติเห็นชอบโครงการจัดตั้ง

คณะศิลปศาสตร์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2538 จากนั้น

ดำเนินการเสนอต่อทบวงมหาวิทยาลัย คณะกรรมการ

ทบวงมหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์

เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2540

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2540 รัฐมนตรีว่าการทบวง

มหาวิทยาลัยได้ลงนามอนุมัติให้มหาวิทยาลัยสงขลา-

นครินทร์ จัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ และมีพระราชกฤษฎีกา

จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทบวง

มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2540 (จัดตั้งคณะศิลปศาสตร์) โดย

ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม 114

ตอนที่ 47 ก วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2540 ซึ่งมีผลบังคับ

ใช้ในวันถัดมา และได้กำหนดปริญญา สาขาศิลปศาสตร์

กำหนดสีประจำสาขาในคณะศิลปศาสตร์เป็นสีแดงส้ม

โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116

ตอนที่ 53 ก วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2542

คณะศิลปศาสตร์ดำเนินการจัดการเรียนการสอน

วิชาศึกษาทั่วไปและหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์มาตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง

จนกระทัง่วนัที ่3 เมษายน 2547 สภามหาวทิยาลยัสงขลา-

นครินทร์ให้ความเห็นชอบการเปิดหลักสูตรศิลปศาสตร-

บัณฑิต สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา สามารถเปิด

รับนักศึกษาได้ในปีการศึกษา 2547 และในปีการศึกษา

2548 ได้เปิดหลักสูตรเพิ่มอีก 2 หลักสูตร คือหลักสูตร

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร

และหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนา

มนุษย์และสังคม (ภาคปกติและภาคพิเศษ) ในปีการศึกษา

2550 ได้เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชุมชน

ศึกษา ในปีการศึกษา 2551 ได้เปิดสอนหลักสูตร

ศลิปศาสตรมหาบณัฑติ สาขาวชิาการสอนภาษาองักฤษ

เป็นภาษานานาชาติ (ภาคปกติและภาคพิเศษ) สำหรับ

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์

ประยุกต์ สภาวิชาการให้ความเห็นชอบการปิดหลักสูตร

ในคราวประชมุ ครัง้ที ่111 (1/2553) เมือ่วนัที ่8 มกราคม

2553 สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับทราบในคราว

ประชุม ครั้งที่ 321 (2/2553) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์

2553 และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อนุมัติการปิด

หลักสูตร เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2553 และในปีการศึกษา

2553 ได้เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชา

ภาษาจีน (หลักสูตรนานาชาติ)

คณะศิลปศาสตร์แบ่งส่วนราชการออกเป็น 2

ภาควชิา คอื ภาควชิาภาษาและภาษาศาสตร ์และภาควชิา

สารัตถศึกษา โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับ

กฤษฎีกาเล่ม 116 ตอนที่ 76 ง หน้า 35 ข้อ 14 วันที่ 23

กันยายน พ.ศ. 2542 และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ได้มีคำสั่งที่ 1543/2542 ตัดโอนตำแหน่งและเงินเดือน

อาจารย์และข้าราชการจากภาควิชาภาษาต่างประเทศ

คณะวิทยาศาสตร์และภาควิชาสารัตถศึกษา คณะ

วิทยาการจัดการ มาสังกัดคณะศิลปศาสตร์ตั้งแต่วันที่

17 พฤศจิกายน 2542 เป็นต้นมา วันที่ 30 มกราคม 2545

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ประกาศแบ่งส่วนราชการ

ภายในของคณะศิลปศาสตร์เพิ่มเติมอีก 2 ฝ่าย คือ

ฝ่ายบริหารทั่วไปและฝ่ายสนับสนุนวิชาการ

ในช่วงปีงบประมาณ 2547 คณะศิลปศาสตร์

ยังดำเนินการโดยแยกกันอยู่เป็น 4 ส่วนคือ สำนักงานคณะ

อยู่ที่อาคารคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ชั้น 8 มีห้องเรียน

จำนวน 2 ห้อง และศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาอยู่ที่ ชั้น 7

ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองและห้องปฏิบัติการสื่อประสม

อยู่ที่ ชั้น 2 ของอาคารเดียวกัน ภาควิชาภาษาและ

Page 10: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

6Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ภาษาศาสตร ์อยูท่ีท่ำการเดมิครัง้สงักดัคณะวทิยาศาสตร์

ภาควิชาสารัตถศึกษาอยู่ที่ทำการเดิมครั้ งสังกัด

คณะวิทยาการจัดการ และสาขาวิชาพลศึกษาอยู่ที่

โรงยิมเนเซียมของมหาวิทยาลัย หลังจากการก่อสร้าง

อาคารคณะศิลปศาสตร์แล้วเสร็จ จึงได้ย้ายเข้าสู่อาคาร

ของคณะศลิปศาสตร ์ในวนัที ่15 ตลุาคม 2547 ยกเวน้

ห้องปฏิบัติการสื่อประสมและห้องเรียนซึ่งยังอยู่ที่อาคาร

คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม

กล่าวได้ว่าในปีงบประมาณ 2548 คณะศิลปศาสตร์

เริ่มดำเนินงานโดยมีอาคารที่ทำการและอาคารเรียน

เป็นของตนเอง อย่างไรก็ดี เนื่องจากการก่อสร้างอาคาร

ของคณะศิลปศาสตร์เกิดขึ้นในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผล

ให้ถูกปรับลดงบประมาณจำนวนเงินจากเดิม 110,400,000

บาท เป็นเงิน 99,800,000 บาท และไม่สามารถสร้าง

ได้เต็มรูปแบบ มีเพียงอาคารบริหารและอาคารเรียน

ซึ่งยังไม่สามารถใช้งานได้เต็มที่ เนื่องจากต้องกั้นห้อง

และปรับปรุงห้องเรียนเพิ่มเติม ในการนี้คณะได้ใช้เงิน

รายได้สะสมของคณะเองเพื่อปรับปรุงห้องและจัดหา

ครุภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอน การดำเนินการ

ในส่วนนี้ ทำต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 จนถึง

ปัจจุบัน ในระหว่างการดำเนินการสามารถใช้พื้นที่

บางส่วนจัดการเรียนการสอนได้ แต่ยังใช้ห้องเรียนอีก

บางส่วนของคณะการจัดการสิ่งแวดล้อมและคณะ

พยาบาลศาสตร์ จนกระทั่งภาคการศึกษาที่ 2/2548

จึงสามารถจัดการเรียนการสอนในอาคารเรียนของคณะ

ได้ประมาณร้อยละ 80 และได้ย้ายห้องปฏิบัติการ

สือ่ประสมมาจากคณะการจดัการสิง่แวดลอ้มเมือ่เดอืน

ตุลาคม 2548 พร้อมทั้งคืนห้องเรียนที่ ชั้น 7 ให้กับคณะ

การจัดการสิ่งแวดล้อม

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นมา คณะศิลป-

ศาสตร์สามารถจัดการเรียนการสอนในอาคารของ

คณะศิลปศาสตร์เองได้เกือบสมบูรณ์ ส่วนการจัดสอบ

รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานยังต้องขอใช้อาคารและ

เครื่องเสียงของคณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์

คณะวิทยาการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และอาคาร

เรียนรวมอยู่บ้าง

ในด้านการบริหารและการแบ่งส่วนราชการภายใน

ของคณะศิลปศาสตร์ซึ่งมีศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนารับ

ผิดชอบงานด้านบริการที่เกี่ยวกับงานวิจัยมาตั้งแต่เดิมนั้น

ต่อมามีการทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างการบริหาร

ภายในคณะ จึงได้ยุบศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาที่เป็น

การจัดตั้งภายในลงเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551

โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำคณะ

สำหรับการกำหนดวิสัยทัศน์ คณะศิลปศาสตร์

ได้มีการประเมิน วิเคราะห์ และปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง

เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานและพัฒนา

การของคณะศิลปศาสตร์ คณะได้ดำเนินการปรับเปลี่ยน

วิสัยทัศน์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำ

คณะเป็น “คณะศิลปศาสตร์ เป็นคณะชั้นนำทางวิชาการ

ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับชาติและ

นานาชาติ” เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2554

6. พัฒนาการของคณะศิลปศาสตร์ปี พัฒนาการ

2538 สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ความ

เห็นชอบโครงการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์

2540 ทบวงมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบการจัดตั้ง

คณะศิลปศาสตร์ โดยดำเนินการจัดการเรียน

การสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปให้แก่นักศึกษา

ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต

หาดใหญ่ และดำเนินการสอนหลักสูตร

ศลิปศาสตรมหาบณัฑติ สาขาวชิาภาษาศาสตร์

ประยุกต์

2542 คณะศิลปศาสตร์ แบ่งส่วนราชการออกเป็น 2

ภาควิชา คือ ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์

และภาควิชาสารัตถศึกษา

2545 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ประกาศ

แบ่งส่วนราชการภายในคณะศิลปศาสตร์

เพิ่มอีก 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหารทั่วไป และฝ่าย

สนับสนุนวิชาการ

2545 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อให้บริการ

สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศแก่คณาจารย์ บุคลากร

นักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ

Page 11: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

7Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ประชาชนทั่วไป ให้ได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้

ด้วยตนเองจากสื่อต่างๆ

2547 เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา

วิชาภาษาเพื่อการพัฒนา

2548 เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา

วิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร และหลักสูตร

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์

และสังคม (ภาคปกติและภาคพิเศษ)

2548 ก่อสร้างอาคารบริหารและอาคารเรียน

แล้วเสร็จคณะศิลปศาสตร์เริ่มดำเนินงาน

โดยมอีาคารทีท่ำการและ อาคารเรยีนรองรบัการ

ดำเนินงาน

2550 เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา

วิชาชุมชนศึกษา

2550 ปิดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา

วิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์

2551 เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษา

นานาชาติ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)

7. ทำเนียบคณบดี1. รองศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะศิลปศาสตร์ (13 กันยายน 2540-31 สิงหาคม 2543)2. รองศาสตราจารย์ ดร.รพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปศาสตร์ (1 กันยายน 2543-31 สิงหาคม 2547)3. รองศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา จรจิตร ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปศาสตร์ (1 กันยายน 2547-31 สิงหาคม 2551)4. รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศา แซ่เตียว ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศิลปศาสตร์ (1 กันยายน 2551-31 สิงหาคม 2555)

8. ผู้บริหารผู้บริหารคณะ (วาระการดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน 2551-31 สิงหาคม 2555)1. รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศา แซ่เตียว คณบดี2. รองศาสตราจารย์มนตรี มีเนียม รองคณบดีฝ่ายบริหาร3. รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญภา ชิระมณี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพดล นิ่มสุวรรณ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา (1 กันยายน 2551–31 ตุลาคม 2553)5. อาจารย์ดารณี กาญจนสุวรรณ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

(1 พฤศจิกายน 2553–31 สิงหาคม 2555)

2552 ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ เพื่อรองรับงาน

การจัดการเรียนการสอนรายวิชาพลศึกษา

และรองรับรายวิชาการจัดกิจกรรมเสริม

หลักสูตร 1-3 หน่วยกิต ชมรม สโมสรนักศึกษา

คณะศิลปศาสตร์

2553 เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา

วิชาภาษาจีน (หลักสูตรนานาชาติ)

2554 จัดตั้งสถานวิจัยเพื่อศึกษาการพัฒนาเอเชีย-

แปซิฟิก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2555 ปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา

วิชาภาษาเพื่อการพัฒนา โดยแยกเป็น 2

หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

(ภาษาและภาษาไทยประยุกต์) และหลักสูตร

ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ)

2555 ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง คณะศิลปศาสตร์

ได้รับเลือกให้เป็นหน่วยงานที่มีแนวปฏิบัติ

ที่เป็นเลิศด้านการเรียนการสอนและคุณภาพ

บัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2554

Page 12: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

8Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

6. รองศาสตราจารย์จุรีรัตน์ บัวแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา

7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำไพรัตน์ สุทธินนท์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพ

(1 กันยายน 2551–30 กันยายน 2552)

8. ดร.อุษา อินทรักษา รองคณบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพ

(1 ตุลาคม 2552–31 สิงหาคม 2555)

9. รองศาสตราจารย์ ดร.นิสากร จารุมณี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

(1 กันยายน 2551–31 มีนาคม 2552)

10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เปรมินทร์ คาระวี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ

(1 มกราคม 2552–31 ตุลาคม 2554)

11. อาจารย์ชุติมา สว่างวารี รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ สารสนเทศและบริการวิชาการ

(1 เมษายน 2552–31 สิงหาคม 2555)

หัวหน้าภาควิชา1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วันทนา ไกรฤกษ์ หัวหน้าภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์

(1 กันยายน 2551–31 กรกฏาคม 2553)

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิราพร จันจุฬา หัวหน้าภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์

(1 สิงหาคม 2553–31 กรกฎาคม 2555)

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตราภรณ์ เชิดชูพงษ์ หัวหน้าภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์

(1 สิงหาคม 2555–ปัจจุบัน)

4. ดร.กานดา จันทร์แย้ม หัวหน้าภาควิชาสารัตถศึกษา

(1 กรกฏาคม 2550–30 มิถุนายน 2552)

5. รศ.ดร.วันชัย ธรรมสัจการ หัวหน้าภาควิชาสารัตถศึกษา

(1 มิถุนายน 2552–30 กันยายน 2554)

6. ดร.กานดา จันทร์แย้ม หัวหน้าภาควิชาสารัตถศึกษา

(1 ตุลาคม 2554–ปัจจุบัน)

9. ผลการดำเนินงาน 9.1 ด้านการจัดการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาเขตหาดใหญ่ จัดการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์ เป็นแหล่งสร้างองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์

และสังคมศาสตร์ที่เป็นประโยชน์แก่ภูมิภาคเพื่อนำไป

สู่ระดับสากล และบริการวิชาการเพื่อพัฒนาและตอบ

สนองความต้องการของชุมชนและสังคม

คณะศิลปศาสตร์ ประกอบด้วย 2 ภาควิชา คือ

ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ และภาควิชาสารัตถศึกษา

จัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และเปิด

สอนหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโท

ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์

จัดการเรียนการสอนด้านภาษาต่างประเทศให้แก่นักศึกษาหลักสูตรต่างๆ ในทุกระดับการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนการพูด และการฟังภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่นเขมร จีน มลายู เกาหลี และภาษามือ นอกจากนี้

Page 13: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

9Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ในระดับปริญญาตรี ภาควิชายังผลิตบัณฑิตหลักสูตร

ศลิปศาสตรบณัฑติ สาขาวชิาภาษาเพือ่การพฒันา (วชิาเอก

ภาษาอังกฤษ) สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร และ

สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรนานาชาติ) ในระดับ

ปริญญาโท ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ ผลิตบัณฑิต

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอน

ภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (ภาคปกติและภาค

พิเศษ)

ภาควิชาสารัตถศึกษา

จัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ให้แก่นักศึกษาระดับ

ปริญญาตรีในหลักสูตรต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เพื่อ

เสริมสร้างให้นักศึกษามีความรอบรู้ มีทักษะ มีทัศนะ

กว้างไกล เข้าใจธรรมชาติแวดล้อม สภาพสังคม เข้าใจ

ตนเองและผู้อื่น พร้อมทั้งสามารถปรับตัวและดำรงชีวิต

อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ ในระดับ

ปริญญาตรี ภาควิชาผลิตบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตร-

บัณฑิตสาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา (วิชาเอกภาษาไทย)

และสาขาวิชาชุมชนศึกษา ในระดับปริญญาโท ภาควิชา

สารตัถศกึษา ผลติบัณฑติหลกัสตูรศลิปศาสตรมหาบณัฑิต

สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคปกติและภาค

พิเศษ)

9.1.1 การจัดการเรียนการสอนหมวด

วิชาศึกษาทั่วไป

คณะศิลปศาสตร์รับผิดชอบจัดการเรียนการสอน

รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อเสริมสร้างบัณฑิต

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ให้มี

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในปีการศึกษา 2551–2554

มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

จำนวนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่เปิดสอนภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์

กลุ่มวิชา/ปีการศึกษา

2551

(ภาค

การศึกษา)

2552

(ภาค

การศึกษา)

2553

(ภาค

การศึกษา)

2554

(ภาค

การศึกษา)

วิชาบังคับกลุ่มภาษาอังกฤษ/จำนวนภาคการศึกษาที่เปิดสอน

1. วิชา 890-100 Preparatory Foundation English

2 2 2 2

2. วิชา 890-101 Fundamental English Listening and Speaking

3 3 3 3

3. วิชา 890-102 Fundamental English Reading and Writing

3 3 3 3

รวม 8 8 8 8

Page 14: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

10Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

กลุ่มวิชา/ปีการศึกษา2551

(รายวิชา)

2552

(รายวิชา)

2553

(รายวิชา)

2554

(รายวิชา)

วิชาเลือกกลุ่มภาษาต่างประเทศ/จำนวนรายวิชาที่เปิดสอน

1. วิชาภาษาอังกฤษ 20 19 17 18

2. วิชาภาษาฝรั่งเศส 1 2 2 2

3. วิชาภาษาเยอรมัน - - 1 1

4. วิชาภาษาญี่ปุ่น 2 3 3 4

5. วิชาภาษาจีน 2 2 2 2

6. วิชาภาษามลายู 2 2 2 2

7. วิชาภาษาเกาหลี 3 5 5 5

วิชาเลือกอื่นๆ / จำนวนรายวิชาที่เปิดสอน

1. วิชาภาษามือ 1 1 1 1

รวม 31 34 32 34

ภาควิชาสารัตถศึกษา

กลุ่มวิชา/ปีการศึกษา

2551

(ภาค

การศึกษา)

2552

(ภาค

การศึกษา)

2553

(ภาค

การศึกษา)

2554

(ภาค

การศึกษา)

วิชาบังคับกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์/จำนวนภาคการศึกษาที่เปิดสอน

1. วิชา 895-171 ภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิต 2 2 2 2

รวม 2 2 2 2

กลุ่มวิชา/ปีการศึกษา2551

(รายวิชา)

2552

(รายวิชา)

2553

(รายวิชา)

2554

(รายวิชา)

วิชาเลือก/จำนวนรายวิชาที่เปิดสอน

1. กลุ่มวิชากีฬา พลศึกษา และนันทนาการ 15 17 15 14

2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 19 17 23 22

3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 14 16 16 15

รวม 48 50 54 51

Page 15: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

11Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์

กลุ่มวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554

วิชาบังคับกลุ่มภาษาอังกฤษ

1. วิชา 890-100 Preparatory Foundation English 1,483 1,501 2,169 2,695

2. วิชา 890-101 Fundamental English Listening

and Speaking4,278 3,917 3,092 3,251

3. วิชา 890-102 Fundamental English Reading

and Writing3,396 3,430 4,273 3,324

รวม 9,157 8,848 9,534 9,270

วิชาเลือกภาษาต่างประเทศ

1. กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ 4,758 4,444 4,632 4,391

2. กลุ่มวิชาภาษาฝรั่งเศส 71 61 63 29

3. กลุ่มวิชาภาษาเยอรมัน - - 8 19

4. กลุ่มวิชาภาษาญี่ปุ่น 524 413 362 280

5. กลุ่มวิชาภาษาจีน 399 355 314 307

6. กลุ่มวิชาภาษามลายู 309 360 292 334

7. กลุ่มวิชาภาษาเกาหลี 385 439 355 349

วิชาเลือกอื่นๆ

- วิชาภาษามือ 155 147 136 155

รวม 6,601 6,219 6,162 5,864

ภาควิชาสารัตถศึกษา

กลุ่มวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554

วิชาบังคับกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

1. วิชา 895-171 ภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิต 2,335 2,260 2,858 3,117

รวม 2,335 2,260 2,858 3,117

วิชาเลือก

1. กลุ่มวิชากีฬา พลศึกษา และนันทนาการ 4,597 5,164 4,422 5,376

2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6,018 5,199 6,533 5,182

3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 4,727 4,945 6,410 7,342

รวม 15,342 18,308 17,365 17,900

Page 16: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

12Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.1.2 การผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์จัดการเรียนการสอนในระดับ

ปริญญาตรี โดยมุ่งผลิตบัณฑิตด้านมนุษยศาสตร์และ

สังคมศาสตร์ เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศ และ

ตลาดแรงงานทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งใน

ภาครัฐและเอกชน

9.1.2.1 หลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

จำนวน 4 สาขาวิชา รายละเอียดดังนี้

1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา

ภาษาเพื่อการพัฒนา (วิชาเอกภาษาไทย/วิชาเอก

ภาษาอังกฤษ)

ในปีการศึกษา 2551 คณะศิลปศาสตร์ได้ปรับปรุง

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเพื่อ

การพัฒนา พ.ศ.2547 เป็นหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.

2551 ซึ่งมีวิชาเอกร่วมคือ วิชาเอกภาษาไทยคู่กับวิชา

เอกภาษาอังกฤษ ต่อมาในปีการศึกษา 2552 คณะ

ศิลปศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา เป็นหลักสูตรปรับปรุง

พ.ศ.2552 อีกครั้งหนึ่ง โดยแยกเป็นวิชาเอกภาษาไทย

และวิชาเอกภาษาอังกฤษ ดังนี้

- วิชาเอกภาษาไทย เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิต

ที่มีความรู้ภาษาไทยเพื่อให้เชี่ยวชาญทั้งในด้านวิชาการ

และในด้านทักษะ สามารถนำความรู้ด้านภาษาไทยไป

พัฒนาตนในสาขาวิชาชีพต่างๆ เช่น การสื่อสารมวลชน

การประชาสัมพันธ์ ครู อาจารย์ และนักวิชาการด้านภาษา

เลขานุการ การใช้ภาษาไทยในวงการธุรกิจ การสอน

ภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเปิด

โอกาสให้นักศึกษาพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศเพิ่ม

อีก 1 ภาษาในฐานะวิชาเลือก ได้แก่ ภาษาอังกฤษ

ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี เพื่อเสริมการ

เรียนรู้สำหรับการประกอบอาชีพที่ต้องใช้ภาษาเป็น

เครื่องมือการสื่อสารในโลกยุคปัจจุบัน

- วิชาเอกภาษาอังกฤษ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ

ทุกทักษะ เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพควบคู่กับ

การเรียนรู้วิชาโทในสาขาวิชาชีพสาขาใดสาขาหนึ่งตาม

ความสนใจ เช่น การแปล มัคคุเทศก์ ภาษาไทย

เพื่อการสื่อสารมวลชน ภาษาไทยธุรกิจ บริหารธุรกิจ

กฎหมาย และเศรษฐศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการ

ประกอบอาชีพในอนาคต และฝึกฝนทักษะภาษา

ต่างประเทศอื่นๆ เพิ่มเติมอีก 1 ภาษา ในฐานะวิชาเลือก

เช่น ภาษาจีน ภาษาเกาหลี และภาษาญี่ปุ่น

2. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา

ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร

เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความ

สามารถในการใช้ภาษาจีน โดยสอดแทรกความรู้ด้าน

วัฒนธรรม ความคิด และภูมิปัญญาของชาวจีน นักศึกษา

สามารถเลือกเรียนที่คณะศิลปศาสตร์ทั้ง 4 ปี หรือเลือก

เรียนโปรแกรม 3+1 คือ เรียนที่คณะศิลปศาสตร์ 3 ปี

การศึกษา (ในชั้นปีที่ 1, 2 และ 4) และในชั้นปีที่ 3

นักศึกษาจะเลือกเรียนที่สาธารณรัฐประชาชนจีน

เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา ที่ Fudan University, Sichuan

University หรือ Guangxi Normal University เพื่อจะ

ได้มีโอกาสใช้ภาษาในสถานการณ์จริง และเสริมความ

เข้มแข็งด้านการใช้ภาษาควบคู่ไปกับการเรียนรู้สภาพ

เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมจีนจากเจ้า

ของภาษา

3. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา

ชุมชนศึกษา เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการแสวงหาความรู้ ความเข้าใจขนบประเพณีภูมิปัญญา และตระหนักถึงคุณค่าของชุมชนด้วยกระบวนการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถจัดการความรู้ชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืนโดยมีรายวิชาที่เรียนรู้ร่วมกับชุมชนผ่านปฏิบัติการในพื้นที่จริง ทั้งนี้บัณฑิตสาขาวิชาชุมชนศึกษาสามารถเลือกประกอบอาชีพได้หลากหลายทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน เช่น สถาบันการศึกษา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานชุมชนสัมพันธ์ในองค์กรธุรกิจ นักวิจัยอิสระ และนักธุรกิจท่องเที่ยวชุมชนเป็นต้น

Page 17: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

13Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

4. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา

ภาษาจีน (หลักสูตรนานาชาติ)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน

(หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรใหม่ซึ่งรับนักศึกษา

รุ่นแรกในปีการศึกษา 2553 หลักสูตรนี้มุ่งผลิตบัณฑิต

ที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาจีนควบคู่ไปกับ

การเรียนรู้สภาพสังคม และวัฒนธรรมจีน นักศึกษา

จะเรียนที่คณะศิลปศาสตร์ 2 ปีการศึกษา คือ ชั้นปีที่ 1

และ 2 และในชั้นปีที่ 3 และ 4 นักศึกษาสามารถเลือก

เรียนที่ Shanghai Jiaotong University หรือ Beijing

Language and Culture University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย

ชั้นนำของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีความร่วมมือ

ทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยเรียน

กับคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาการสอนภาษาจีนสำหรับ

ชาวต่างประเทศ ทั้งนี้นักศึกษาจะมีโอกาสใช้ภาษาจีน

ในสถานการณ์จริง และเสริมสร้างความเข้มแข็งด้าน

การใช้ภาษาควบคู่ไปกับการเรียนรู้เศรษฐกิจ สังคม

ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมจีน นอกจากนี้นักศึกษาจะได้

พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษโดยการเรียนรายวิชาศึกษา

ทั่วไป

เมื่อสำเร็จการศึกษา นักศึกษาจะได้รับปริญญาบัตร

ทั้งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Shanghai

Jiaotong University หรือ Beijing Language and

Culture University ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนด

ในการสำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยดังกล่าว

ต่อมาในปี 2554 คณะศิลปศาสตร์ได้ดำเนินการ

ปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตรอีก

ครัง้หนึง่ เพือ่ใหเ้ปน็ไปตามกรอบมาตรฐานคณุวฒุริะดบั

อุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 โดยได้มีการปรับโครงสร้าง

หลักสูตรและเปลี่ยนชื่อบางหลักสูตรใหม่ และเปิดรับ

นักศึกษารุ่นแรก ในปีการศึกษา 2555 โดยมีรายละเอียด

การปรับเปลี่ยนเป็น 5 หลักสูตร ดังนี้

1. หลกัสตูรศิลปศาสตรบัณฑติ สาขาวชิาภาษา

และภาษาไทยประยุกต์ เป็นหลักสูตรที่แยกมาจาก

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2552 (วิชาเอกภาษาไทย) ภายใต้

ชื่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและ

ภาษาไทยประยุกต์ ที่เน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความ

เชี่ยวชาญวิชาภาษาไทย ทั้งด้านวิชาการและทักษะ

สามารถนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้กับวิชาชีพต่างๆ เช่น

การสื่อสารมวลชน การประชาสัมพันธ์ ครู อาจารย์

นักวิชาการ ด้านภาษา เลขานุการ การใช้ภาษาไทย

ในวงการธุรกิจ และการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ

เป็นต้น นอกจากนี้ ยังให้นักศึกษาเลือกศึกษาภาษา

ต่างประเทศเพิ่มอีก 1 ภาษา ในฐานะวิชาเลือก ได้แก่

ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษามลายู และ

ภาษาเกาหลี เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบวิชาชีพ

ที่ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารในสังคมโลกและสังคม

ไทยยุคประชาคมอาเซียน

2. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา

ภาษาอังกฤษ เป็นหลักสูตรที่แยกมาจากหลักสูตร

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2552 (วิชาเอกภาษาอังกฤษ)

เป็นสาขาวิชาใหม่ชื่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา

วิชาภาษาอังกฤษ ที่เน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้

ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษระดับสูงควบคู่กับ

การเรียนรู้วิชาโทในสาขาวิชาชีพตามความสนใจของ

ผู้เรียน เช่น กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ ภาษา

ไทยเพื่อการสื่อสารมวลชน และมัคคุเทศก์ เป็นต้น

เพือ่เปน็พืน้ฐานในการประกอบอาชพี และฝกึทกัษะภาษา

ต่างประเทศอื่นๆ เพิ่มเติมอีก 1 ภาษา โดยเฉพาะภาษาที่

ใช้ในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น ภาษามลายู ภาษาจีน

เป็นต้น

3. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา

ภาษาจีน ปรับปรุงมาจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร เป็นหลักสูตรที่เน้น

ทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียน

มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาจีนเพื่อเป็นเครื่องมือ

ในการติดต่อสื่อสารทั้งในการศึกษาและประกอบอาชีพ

นักศึกษาสามารถเลือกเรียนที่คณะศิลปศาสตร์ ทั้ง 4 ปี

การศึกษา หรือเลือกโปรแกรม 3+1 คือ เรียนที่คณะ

ศิลปศาสตร์ 3 ปีการศึกษา (ชั้นปีที่ 1, 2 และ 4) และ

ชั้นปีที่ 3 จะเรียนที่สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเวลา

1 ปีการศึกษา ที่ Fudan University, Sichuan University

Page 18: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

14Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

หรือ Guangxi Normal University เพื่อจะได้มีโอกาส

ใช้ภาษาในสถานการณ์จริง และเสริมความเข้มแข็ง

ด้านภาษาควบคู่ไปกับเรียนรู้สภาพเศรษฐกิจ สังคม

ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมจีนจากเจ้าของภาษา

4. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา

ชุมชนศึกษา เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้

ความสามารถในการแสวงหาความรู้ โดยเข้าใจขนบ

ประเพณี ภูมิปัญญา และตระหนักถึงคุณค่าของชุมชน

ด้วยกระบวนการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถ

จัดการความรู้ชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม

และยั่งยืน โดยมีรายวิชาที่เรียนรู้ร่วมกับชุมชนผ่านปฏิบัติ

การในพื้นที่จริง ทั้งนี้บัณฑิตสามารถเลือกประกอบอาชีพ

ได้หลากหลาย ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค

ประชาชน เช่น สถาบันการศึกษา สถาบันพัฒนา องค์กร

ชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานชุมชน

5. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา

ภาษาจีน (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตร 2+2

ที่มุ่งเน้นความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาจีน ควบคู่

9.1.2.2 จำนวนนักศึกษาและบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีโดยมุ่งผลิตบัณฑิตสาขามนุษย-

ศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศและตลาดแรงงานทั้งภายในและภายนอกประเทศ

ทั้งในภาครัฐและเอกชน 4 สาขาวิชา ในปีการศึกษา 2551-2554 มีจำนวนนักศึกษา ดังนี้

ไปกับการเรียนรู้สภาพสังคมและวัฒนธรรมจีน โดยผู้มี

สิทธิ์เข้าศึกษาต้องผ่านการเรียนระดับมัธยมศึกษา

ตอนปลาย และมีผลการเรียนเฉลี่ยกลุ่มสาระภาษาจีน

5 ภาคการศึกษาเฉลี่ยตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป หรือผ่านการ

ทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนที่เป็นที่ยอมรับในระดับ

นานาชาติ (HSK) ระดับ 3 ขึ้นไป โดยนักศึกษาจะเรียน

ที่คณะศิลปศาสตร์ ในชั้นปีที่ 1 และ 2 และในชั้นปีที่ 3

และ 4 นักศึกษาสามารถเลือกเรียนที่ Shanghai Jiaotong

University หรือ Beijing Language and Culture

University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของสาธารณรัฐ

ประชาชนจีนที่มีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์ โดยเรียนกับคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญสาขา

การสอนภาษาจีนสำหรับชาวต่างประเทศ เมื่อสำเร็จ

การศึกษา นักศึกษาจะได้รับปริญญาบัตรทั้งของ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Shanghai Jiaotong

University หรือ Beijing Language and Culture

University ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในการ

สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยดังกล่าว

สาขาวิชา/ปีการศึกษา 2551 2552 2553 2554

สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 98 94 90 91

สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา 134 121 - -

- สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา

(วิชาเอกภาษาอังกฤษ)

- - 54 65

- สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา

(วิชาเอกภาษาไทย)

- - 57 64

สาขาวิชาชุมชนศึกษา 91 83 87 98

สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรนานาชาติ) - - 15 24

รวม 323 298 303 342

Page 19: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

15Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

อัตราการจบการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ ในปีการศึกษา 2551, 2552, 2553

และ 2554 คิดเป็นร้อยละ 97.86, 100, 94.47 และ 96.59 ของนักศึกษาทั้งหมดตามลำดับ รายละเอียดดังนี้

สาขาวิชา/

ปีการศึกษา

2551 2552 2553 2554

จำนวน

นักศึกษา

ทั้งหมด

จำนวน

ผู้สำเร็จ

การศึกษา

จำนวน

นักศึกษา

ทั้งหมด

จำนวน

ผู้สำเร็จ

การศึกษา

จำนวน

นักศึกษา

ทั้งหมด

จำนวน

ผู้สำเร็จ

การศึกษา

จำนวน

นักศึกษา

ทั้งหมด

จำนวน

ผู้สำเร็จ

การศึกษา

สาขาวิชาภาษาจีน

เพื่อการสื่อสาร

70 67

(48.91%)

69 69

(48.59%)

67 63

(28.38%)

98 96

(30.77%)

สาขาวิชาภาษา

เพื่อการพัฒนา

70 70

(51.09%)

73 73

(51.41%)

84 83

(37.39%)

98 126

(40.38%)

สาขาวิชา

ชุมชนศึกษา

- - - 84 76

(34.23%)

91 90

(28.85%)

รวม 140 137

(97.86%)

142 142

(100%)

235 222

(94.47%)

323 312

(96.59%)

9.1.2.3 จุดเด่นของการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์เป็นคณะที่จัดการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ พลศึกษา ภาษาและภาษาศาสตร์

คณะมีพันธกิจเสริมสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถ มีสมรรถนะสากลและคุณธรรมบนพื้นฐานความเป็นไทย

มีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข คณะศิลปศาสตร์ส่งเสริมบรรยากาศ

การเรียนการสอน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต

หาดใหญ่ และบัณฑิตคณะศิลปศาสตร์ โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้ สิ่งเกื้อหนุนการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอน

ดังนี้

1. การประเมินการเรียนการสอน

ในทุกภาคการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ได้จัดให้นักศึกษาประเมินผลการเรียนการสอนในทุกรายวิชา ทั้งใน

ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท เพื่อนำผลมาปรับปรุงการเรียนการสอน และเป็นข้อมูลให้ผู้สอนใช้ในการปรับปรุง

รายวิชา คณะมีผลการประเมินการเรียนการสอน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552-2554 ในระดับที่น่าพึงพอใจ โดยมี

ผลเฉลี่ยทั้งในระดับคณะและระดับภาควิชาตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไป

Page 20: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

16Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ค่าเฉลี่ยผลการประเมินการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2551-2554

ปีการศึกษา/

ภาคการศึกษา

ภาควิชาภาษาและ

ภาษาศาสตร์ภาควิชาสารัตถศึกษา คา่เฉลีย่ทัง้คณะ ค่าเฉลี่ยรวม

ปีการศึกษา 2551 4.51

ภาคการศึกษา 1/2551 4.48 4.37 4.41

ภาคการศึกษา 2/2551 4.54 4.43 4.48

ภาคการศึกษา 3/2551 4.64 4.48 4.59

ปีการศึกษา 2552 4.46

ภาคการศึกษา 1/2552 4.46 4.39 4.41

ภาคการศึกษา 2/2552 4.46 4.40 4.41

ภาคการศึกษา 3/2552 4.60 4.45 4.48

ปีการศึกษา 2553 4.49

ภาคการศึกษา 1/2553 4.40 4.39 4.40

ภาคการศึกษา 2/2553 4.52 4.71 4.53

ภาคการศึกษา 3/2553 4.45 4.44 4.44

ปีการศึกษา 2554 4.49

ภาคการศึกษา 1/2554 4.45 4.42 4.43

ภาคการศึกษา 2/2554 4.42 4.41 4.41

ภาคการศึกษา 3/2554 4.67 4.58 4.61

Page 21: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

17Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

2. ห้องคอมพิวเตอร์

คณะศิลปศาสตร์มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์

จำนวน 2 ห้อง (ชั้น 1 อาคารบริหาร) โดยเปิดให้บริการ

วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-22.00 น. และมีห้อง

ELLIS (English Language Learning and Instruction

System) จำนวน 1 ห้อง เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูด

ภาษาอังกฤษ โดยได้รับการสนับสนุนโปรแกรม ELLIS

จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีห้องเรียน

ที่เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์การศึกษา เช่น คอมพิวเตอร์

จอ LCD เครื่องฉายภาพทึบแสง ประจำห้องเรียนทุกห้อง

และจุดเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระบบไร้สาย บริเวณอาคาร

บริหารและลานอาคารเรียนทุกชั้น โดยจัดให้บริการ

แก่นักศึกษาทุกระดับการศึกษา ทั้งนักศึกษาคณะ

ศิลปศาสตร์และนักศึกษาต่างคณะ

3. ความร่วมมือกับต่างประเทศ

คณะศิลปศาสตร์มีความร่วมมือทางวิชาการ

กับมหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาชนจีนในการผลิต

บัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน

เพื่อการสื่อสาร โปรแกรม 3+1 และสาขาวิชาภาษาจีน

(หลักสูตรนานาชาติ)

นอกจากนี้ คณะศิลปศาสตร์ยังมีความร่วมมือ

กับสถาบันในสาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลี มาเลเซีย

และออสเตรเลีย ในการจัดหลักสูตรระยะสั้น เพื่อให้

นักศึกษาลงทะเบียนเรียน และเทียบโอนหน่วยกิตกลับ

มายังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

4. โครงการพัฒนาสมรรถนะสากล

ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นมา คณะศิลป-

ศาสตร์มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะสากล

ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา

ทุกคนได้เรียนรู้ทักษะด้านการสื่อสารกับชาวต่างชาติ

และการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็น

พลเมืองในประชาคมอาเซียน ในปีพุทธศักราช 2558

ในปีการศึกษา 2554 คณะศิลปศาสตร์ได้มีการจัด

โครงการพัฒนาสมรรถนะสากล โดยเปิดโอกาสให้

นักศึกษาชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 ในสาขาวิชาภาษาเพื่อ

การพัฒนา สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร และสาขา

วิชาชุมชนศึกษา จำนวน 225 คน เดินทางไปทัศนศึกษา

ณ ประเทศมาเลเซีย และประเทศสิงคโปร์ หลังการเดิน

ทางกลับจากทัศนศึกษา คณะศิลปศาสตร์ได้จัดให้

นักศึกษาทุกคนเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประสบการณ์จากการทัศนศึกษา เพื่อนำเสนอประสบการณ์

ต่อเพื่อนนักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป

Faculty of L

ibera

l Arts

Page 22: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

18Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

5. ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง

ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-access Learning

Center) คณะศิลปศาสตร์เป็นกลไกสนับสนุนการจัดการ

เรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเป็นแหล่ง

วิทยาการของนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และ

ประชาชนทั่วไป โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

ระดับปริญญาตรี ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดำเนิน

การดังนี้

- ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาได้มีโอกาส

ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ

ความสามารถ และความถนัดที่แตกต่างกัน นอกเหนือ

จากเรียนรู้ในชั้นเรียน

- ส่งเสริมการเรียนการสอนรายวิชาที่เปิดสอน

ในคณะศิลปศาสตร์

- จัดหาสื่อเสริมการเรียนรู้ในชั้นเรียน เพื่อสนอง

ตอบการเรียนรู้ด้วยตนเองในด้านต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) VCD และ DVD

เพื่อการศึกษา รายการการศึกษาผ่านดาวเทียม

- จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และซึมซับทาง

ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

ในปีการศึกษา 2551-2554 ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้จัดบริการสื่อการเรียนรู้ประเภทต่างๆ ภายในศูนย์ฯ

สรุปได้ดังนี้

ประเภทปีการศึกษา/จำนวน (รายการ)

2551 2552 2553 2554

1. หนังสือ 1,500 1,585 1,813 2,105

2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 62 62 62 85

3. ซีดีความรู้เพื่อการศึกษา 600 656 781 860

4. วีซีดีภาพยนตร์ 200 259 284 314

5. นิตยสาร/วารสาร/หนังสือพิมพ์ 500 600 800 1,000

รวม 2,862 3,162 3,740 4,342

Page 23: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

19Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

นอกจากนี้ คณะศิลปศาสตร์ได้นำรายวิชาต่างๆ ที่คณะจัดการเรียนการสอนมาบูรณาการกับการจัดกิจกรรม

ในรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สรุปได้ดังนี้

ปกีารศกึษา หน่วยงาน

วิชาศึกษา

ทั่วไป

(วิชา)

จำนวน

นักศึกษา

(คน)

วิชาเอก

หลักสูตร

ศิลปศาสตรบัณฑิต

(วิชา)

จำนวน

นักศึกษา

(คน)

2551 ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ 77 15,758 49 2,658

ภาควิชาสารัตถศึกษา 98 17,677 46 3,120

2552 ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ 83 15,067 51 3,279

ภาควิชาสารัตถศึกษา 100 17,568 60 4,921

2553 ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ 78 15,696 62 4,010

ภาควิชาสารัตถศึกษา 108 20,223 61 5,265

2554 ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ 76 15,134 84 4,384

ภาควิชาสารัตถศึกษา 102 21,017 65 5,535

รวม 722 138,140 478 33,172

ในปีการศึกษา 2551-2554 ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน เสริมสร้างให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สรุปได้ดังนี้

ปีการ

ศึกษากิจกรรม งบประมาณ

จำนวน

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ค่าเฉลี่ย

ความพึงพอใจ

2551 1. โครงการคืนสู่ธรรมชาติ โดยท่านดอกเข็มป่า (จัดร่วมกับสถาบัน จิตปัญญาศึกษา)

15,000 40 4.35

2. โครงการรักภาษา 8,300 100 4.30

3. โครงการ ม.อ.วิชาการ ประจำปี 2551 5,200 500 4.48

4 .โครงการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต 5,000 - -

5. โครงการเผยแพร่วัฒนธรรมนานาชาติ ครั้งที่ 1 (ลิเกฮูลู)

16,900 100 4.16

6. กิจกรรมผ่อนคลายสบายใจกับมุมศิลปะ จำนวน 3 ครั้ง

- 30 4.70

7. โครงการเผยแพร่วัฒนธรรมนานาชาติ ครั้งที่ 2 (วัฒนธรรมแดนโสม)

7,100 120 4.22

8. โครงการเผยแพร่วัฒนธรรมนานาชาติ ครั้งที่ 3 (เทศกาลอีสเตอร์)

7,400 100 4.18

9. โครงการคืนสู่ธรรมชาติ (จัดร่วมกับเทศบาล เมืองคอหงส์)

15,000 60 4.46

10. โครงการเสริมสร้างความรู้ เพิ่มเติมจากในชั้นเรียน

16,200 100 -

รวม 96,100 1,150 4.35 (ระดับดี)

Page 24: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

20Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ปีการ

ศึกษา กิจกรรม งบประมาณจำนวน

ผูเ้ขา้รว่มกจิกรรม

ค่าเฉลี่ย

ความพึงพอใจ

2552 1. โครงการ PSU TOUR 24,000 45 4.11

2. โครงการสุขกายสุขใจไปกับศูนย์ Self ครั้งที่ 2

(เพ้นท์รองเท้า)

10,300 30 4.70

3. โครงการสุขกายสุขใจไปกับศูนย์ Self ครั้งที่ 3

(โนราห์บิค)

10,500 50 4.36

4. โครงการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต 5,400 50 ไม่มีการประเมิน

5. โครงการ ม.อ.วิชาการ ประจำปี 2552 23,000 500 4.55

6. โครงการสุขกายสุขใจไปกับศูนย์ Self ครั้งที่ 1

(จักสานกระจูด)

8,900 50 4.43

7. เผยแพร่วัฒนธรรมไทยและนานาชาติ ครั้งที่ 1

(เทศกาลฮาโลวีน ผีตาโขน และสารทเดือนสิบ)

9,000 156 4.15

8. เผยแพร่วัฒนธรรมไทยและนานาชาติ ครั้งที่ 2

(วัฒนธรรมแดนโสม)

8,500 226 4.04

9. เผยแพร่วัฒนธรรมไทยและนานาชาติ ครั้งที่ 3

(ลิเกฮูลู)

15,400 186 3.77

10. เผยแพร่วัฒนธรรมไทยและนานาชาติ ครั้งที่ 4

(ดนตรีไทย)

7,000 122 3.90

11. ชุมชนกับศิลปะการเพ้นท์รองเท้า

(จัดร่วมกับเทศบาลเมืองคอหงส์)

25,000 150 4.56

รวม 147,000 1,565 4.26 (ระดับดี)

Page 25: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

21Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ปีการ

ศึกษา กิจกรรม งบประมาณจำนวน

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ค่าเฉลี่ย

ความพึงพอใจ

2553 1. โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปะ

เพื่อชีวิต (4 ครั้ง)

16,800 90 4.61

2. โครงการสุขกาย สุขใจ ไปกับศูนย์

Self ครั้งที่ 3 (ศิลปะการถ่ายภาพ)

11,000 100 4.56

3. โครงการสุขกาย สุขใจ ไปกับศูนย์ Self

ครั้งที่ 1 “คืนสู่ธรรมชาติ” (ธรรมะกับศิลปะ)

12,900 25 4.21

4. โครงการสุขกาย สุขใจ ไปกับศูนย์ Self ครั้งที่ 4

(เทศกาลเล่านิทาน...Once upon a time)

67,300 250 4.31

5. โครงการ ม.อ.วิชาการ 53 25,000 500 4.15

6. โครงการสุขกาย สุขใจ ไปกับศูนย์ Self

ครั้งที่ 2 (โยคะ)

9,300 25 4.71

7. โครงการ Buddy Program (4 ครั้ง) 6,000 90 4.51

8. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเอง

เชิงวิชาการ ครั้งที่ 1 (แปลให้เป็น)

8,800 35 4.28

9. โครงการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยและ

นานาชาติ ครั้งที่ 2 (หนังตะลุง)

15,500 55 4.28

10. โครงการปั้นดินให้เป็นดาว 10,400 30 4.55

รวม 183,000 1,200 4.42 (ระดับดี)

Page 26: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

22Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ปีการ

ศึกษากิจกรรม

งบดำเนินการ

ในปงีบประมาณ

(บาท)

จำนวน

ผู้เข้าร่วม

กิจกรรม (คน)

ค่าเฉลี่ย

ความพึง

พอใจ

2554 1. โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปะเพื่อชีวิต

จำนวน 9 ครั้ง

41,000 300 4.52

2. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเอง

เชิงวิชาการ ครั้งที่ 2 (สร้างหนังสือสื่อภาษา)

11,600 35 4.48

3. โครงการ ม.อ.วิชาการ ประจำปี 2554 20,500 512 4.50

4. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเอง

เชิงวิชาการ ครั้งที่ 3 (ศิลปะการสร้างเว็บไซต์

อย่างง่ายด้วยตนเอง)

9,600 24 4.28

5. โครงการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยและ

นานาชาติ ครั้งที่ 1 และ 2 (ญี่ปุ่น

เกาหลี มลายู จีน)

54,300 430 4.37

6. โครงการมหัศจรรรย์แห่งชีวิตมีสุข

ตอน พัฒนาจิต พัฒนากาย

ด้วยพุทธธรรมจากเทือกเขาหิมาลัย

4,400 45 4.43

รวม 141,400 1,346 4.43 (ระดับดี)

Page 27: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

23Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.1.2.4 อัตราการได้งานทำของบัณฑิตระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ และความ

พึงพอใจของนายจ้าง อัตราการได้งานทำของบัณฑิตระดับปริญญาตรีประจำปีการศึกษา 2551 จากการสำรวจ 6 เดือน หลังจากสำเร็จการศึกษา โดยกองแผนงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่าบัณฑิตคณะศิลปศาสตร์ที่ได้งานทำร้อยละ 87.10 (ไม่นับรวมผู้ศึกษาต่อ) มีเงินเดือนเฉลี่ย 18,566.20 บาท สาขาวิชาที่มีจำนวนบัณฑิตได้งานทำสูงสุด (ร้อยละ 88.40) คือ สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร และสาขาวิชาที่มีจำนวนบัณฑิตได้งานทำต่ำสุด (ร้อยละ 86.20) คือ สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา

อัตราการได้งานทำของบัณฑิตระดับปริญญาตรีคณะศิลปศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2552 คือ ร้อยละ85.50 มีเงินเดือนเฉลี่ย 10,595.00 บาท สาขาวิชาที่มีจำนวนบัณฑิตได้งานทำสูงสุด (ร้อยละ 90.40) คือสาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร และสาขาวิชาที่มีจำนวนบัณฑิตได้งานทำต่ำสุด (ร้อยละ 81.50) คือสาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา สำหรับปีการศึกษา 2553 พบว่า อัตราการได้งานทำของบัณฑิตคณะศิลปศาสตร์ คือ ร้อยละ 82.22เงินเดือนของบัณฑิตที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระเฉลี่ย 11,740.81 บาท สาขาที่ได้งานทำสูงสุด (ร้อยละ 89.50) คือ สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา และสาขาวิชาที่ได้งานทำต่ำสุด (ร้อยละ 71.20) คือ สาขาวิชาชุมชนศึกษา

ตารางเปรียบเทียบอัตราการได้งานทำของบัณฑิตคณะศิลปศาสตร์ รุ่นปีการศึกษา 2551-2553

การได้งานทำ ปีการศึกษา 2551 ปีการศึกษา 2552 ปีการศึกษา 2553

อัตราการได้งานทำของ

บัณฑิต (ร้อยละ)

87.10 85.50 82.22

ระดับเงินเดือนเฉลี่ย (บาท) 18,566.20 10,595.00 11,740.81

สาขาวิชาที่ได้งานทำ

- สูงสุด

- ต่ำสุด

- ภาษาจนีเพือ่การสือ่สาร

- ภาษาเพื่อการพัฒนา

- ภาษาจนีเพือ่การสือ่สาร

- ภาษาเพื่อการพัฒนา

- ภาษาจนีเพือ่การสือ่สาร

- ชุมชนศึกษา

ในด้านความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตซึ่งสำรวจโดยกองแผนงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่านายจ้างมีความพึงพอใจในบัณฑิตคณะศิลปศาสตร์ในระดับสูงถึงสูงมากในทุกๆ ด้านที่สำรวจ กล่าวคือด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์

เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านทักษะทางปัญญา ด้านความรู้ความสามารถ ซึ่งสะท้อนให้เห็นคุณภาพของบัณฑิตคณะศิลปศาสตร์รายละเอียดของผลการสำรวจ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551-2553 สรุปได้ดังนี้

Page 28: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

24Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

คุณสมบัติที่ประเมิน

ระดับความพึงพอใจของนายจ้างต่อบัณฑิตคณะศิลปศาสตร์(คะแนนเต็ม 10)

บัณฑิตปีการศึกษา 2551

บัณฑิตปีการศึกษา 2552

บัณฑิตปีการศึกษา 2553

1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม มากที่สุด (8.80) มากที่สุด (8.21) มากที่สุด (8.59)

2. ด้านทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความ รับผิดชอบ

มากที่สุด (8.43) มากที่สุด (8.01) มากที่สุด (8.17)

3. ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสารและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

มากที่สุด (8.18) มากที่สุด (8.21) มากที่สุด 8.52)

4. ด้านทักษะทางปัญญา มาก (7.81) มาก (7.68) มากที่สุด (8.23)

5. ด้านความรู้ความสามารถ มากที่สุด (8.80) มากที่สุด (8.80) มากที่สุด (8.80)

9.1.3 การผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท โดยมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ด้านมนุษย-ศาสตร์และสังคมศาสตร์ และมีความสามารถในการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เพื่อตอบสนองความจำเป็นในการพัฒนากำลังคนทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ตลอดจนในระดับภูมิภาค

9.1.3.1 หลักสูตรระดับปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต 2 สาขาวิชา รายละเอียดดังนี้ 1. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคปกติและภาคพิเศษ)ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ได้เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคปกติและภาคพิเศษ) ตั้งแต่

ปีการศึกษา 2548 หลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตรที่เน้นศึกษาประเด็นปัญหาด้านการพัฒนาบุคคลและสังคมในพื้นที่ (Area-based Studies) โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญ นักศึกษามีโอกาสได้เรียนและปฏิบัติการวิจัยในภาคสนามมากพอที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงหลังสำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2553 คณะศิลปศาสตร์ได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคปกติและภาคพิเศษ)ให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 โดยผ่านความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในคราวประชุม ครั้งที่ 323(4/2553) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2553 และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรนี้ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2554

Page 29: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

25Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

2. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา

วิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ

(ภาคปกติและภาคพิเศษ)

ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์

ได้เปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

ภาษาศาสตร์ประยุกต์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 เป็นต้นมา

และได้เสนอเรื่องขอปิดหลักสูตรนี้ตั้งแต่ภาคการศึกษา

ที่ 1 ปีการศึกษา 2553 และได้รับอนุมัติการปิดหลักสูตร

จากที่ประชุมสภาวิชาการในคราวประชุม ครั้งที่ 111

(1/2553) เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2553 ที่ประชุมสภา

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในคราวประชุม ครั้งที่ 321

(2/2553) รับทราบการปิดหลักสูตร เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์

2553

ในปีการศึกษา 2551 ภาควิชาภาษาและภาษา

ศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ได้ เปิดสอนหลักสูตร

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

เป็นภาษานานาชาติ (ภาคปกติและภาคพิเศษ) เป็น

หลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ

เป็นสื่อ มุ่งให้ความรู้ที่จำเป็นด้านการเรียนการสอน

ภาษาอังกฤษและการทำวิจัย เป็นหลักสูตรที่ให้คุณค่า

ของประสบการณ์การสอน ผลงาน หรือความสามารถ

ด้านภาษาที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการใน

วงการศกึษา ดว้ยการนำมาเทยีบเคยีงกบัรายวชิาทีส่มัพนัธ์

กับประสบการณ์ ผลงานหรือความสามารถทางภาษา

เพื่อยกเว้นการเรียนรายวิชาในหลักสูตรได้ ในทางกลับกัน

ผู้ที่ขาดประสบการณ์ด้านใดด้านหนึ่ง เช่น การสอน

ก็จะได้รับการฝึกฝนด้วยการปฏิบัติจริง เพื่อให้มีความ

สามารถและความพร้อมในการทำงาน ซึ่งกำลังเป็น

ที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน

ในปีการศึกษา 2555 คณะศิลปศาสตร์ได้ดำเนิน

การปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา

วิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (ภาค

ปกติและภาคพิเศษ) ให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐาน

คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 โดยผ่าน

ความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ในคราวประชุม ครั้งที่ 338 (2/2555) เมื่อวันที่ 17 มีนาคม

2555 และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

รับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรนี้เมื่อวันที่ 24

กันยายน 2555

9.1.3.2 จำนวนนกัศกึษาและมหาบณัฑติ คณะศิลปศาสตร์ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาโดยมุ่งผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคปกติและภาคพิเศษ) และสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (ภาคปกติและภาคพิเศษ) โดยมีจำนวนนักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา2551-2554 ดังนี้

สาขาวิชา

2551 2552 2553 2554

ชาวไทย

ชาวต่างชาติ

ชาวไทย

ชาวต่างชาติ

ชาวไทย

ชาวต่างชาติ

ชาวไทย

ชาวต่างชาติ

พัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคปกติ) 9 - 7 - 7 - 5

พัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคพิเศษ) 65 1 56 - 73 - 70

การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (ภาคปกติ)

3 1 9 - 3 - 2 3

การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (ภาคพิเศษ)

32 - 32 - 27 1 32 -

รวม 111 104 111 112

Page 30: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

26Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla U

niversityค

ณะศ

ิลป

ศาส

ตร์ ม

หาวิท

ยาลัยส

งขลาน

คริน

ทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ในปีการศึกษา 2551-2554 มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาทั้ง 2 หลักสูตร โดยนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (ภาคปกติและภาคพิเศษ) ใช้ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษาโดยเฉลี่ย 2.2 ปี และนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคปกติและภาคพิเศษ) ใช้ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษาโดยเฉลี่ย 2.9 ปี รายละเอียดดังนี้

สาขาวิชา/ปีการศึกษา

2551 2552 2553 2554

จำนวนนักศึกษา

จำนวนบัณฑิต

ระยะเวลาเฉลีย่ในการ

สำเร็จการศึกษา (ปี/คน)

จำนวนนักศึกษา

จำนวนบัณฑิต

ระยะเวลาเฉลีย่ในการ

สำเร็จการศึกษา(ปี/คน)

จำนวนนักศึกษา

จำนวนบัณฑิต

ระยะเวลาเฉลีย่ในการ

สำเร็จการศึกษา (ปี/คน)

จำนวนนักศึกษา

จำนวนบัณฑิต

ระยะเวลาเฉลีย่ในการ

สำเร็จการศึกษา(ปี/คน)

พัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคปกติ)

18 9(50%)

2.3 22 15(68.18%)

3.1 15 1(6.66%)

3 19 9(47.36%)

2.5

พัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคพิเศษ)

120 14 (11.66%)

2.4 179 42(23.46%)

3.3 207 88(42.51%)

2.7 190 65(34.21%)

2.9

การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ(ภาคปกติ)

- - - 4 3(75%)

2.0 13 5(38.46%)

2.2 13 2(15.38%)

2.0

การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (ภาคพิเศษ)

- - - 32 31(96.87%)

2.0 61 13(21.31%)

2.0 79 34(43.03%)

2.5

รวม 138 23 - 237 91 - 296 107 - 301 110 -

Page 31: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

27Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.1.3.3 โครงการพัฒนานักศึกษา งานบัณฑิตศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา การทำงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานวิจัยจากวทิยานพินธ/์สารนพินธใ์นทีป่ระชมุวชิาการทัง้ระดบัชาตแิละนานาชาติ ในปีการศึกษา 2554-2555 จึงได้จัดโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 2 โครงการดังนี้ 1. โครงการ “การเขียนบททบทวนวรรณกรรม” เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 เวลา 13.00-16.30 น.ณ ห้องราชาวดี คณะศิลปศาสตร์ จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 90 คน 2. โครงการ “ติวเข้มเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการนำเสนอผลงานวิจัย” เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2555

เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องลีลาวดี คณะศิลปศาสตร์จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 25 คน

9.1.3.4 จำนวนบทความจากวิทยา

นิพนธ์/สารนิพนธ์ ตามเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา ผลงานวิทยา-นิพนธ์หรือสารนิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือดำเนินการให้ผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ หรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) ในปีการศึกษา 2551-2554มีบทความจากวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารวิชาการและที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) รายละเอียดดังนี้

จำนวนบทความจากวิทยานิพนธ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารและ Proceedings

สาขาวิชา/ปีการศึกษา

2551 2552 2553 2554

วารสาร Proceedings วารสาร Proceedings วารสาร Proceedings วารสาร Proceedings

พัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคปกติ)

- 9 - 15 - 1 - 9

พัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคพิเศษ)

- 4 - 10 - 18 - 10

การสอนภาษาองักฤษเป็นภาษานานาชาติ (ภาคปกติ)

- - - 3 - 5 - 2

การสอนภาษาองักฤษเป็นภาษานานาชาติ(ภาคพิเศษ)

- - - 9 - 8 - 7

รวม 13 37 32 28

จำนวนบทความจากสารนิพนธ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารและ Proceedings

สาขาวิชา/ปีการศึกษา

2551 2552 2553 2554

วารสาร Proceedings วารสาร Proceedings วารสาร Proceedings วารสาร Proceedings

พัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคพิเศษ)

- 3 - - - 3 - 4

การสอนภาษาองักฤษเป็นภาษานานาชาติ(ภาคพิเศษ)

- - - 4 - 1 - 4

รวม 3 4 4 8

Page 32: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

28Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.1.3.5 ผลงานเด่นของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 1. วิทยานิพนธ์ดีเด่น เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตลอดจนอาจารย์/คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้มีความมุมานะพยายามสร้างผลงาน

วิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2544เป็นต้นมา บัณฑิตวิทยาลัยได้จัดให้มีการมอบรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น โดยในปีการศึกษา 2551-2554นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปศาสตร์ จำนวน2 ราย ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น รายละเอียดดังนี้

ปีการศึกษา

ชื่อ-สกุล ชื่อรางวัล ชื่อวิทยานิพนธ์อาจารย์/คณะกรรมการ

ที่ปรึกษาสาขาวิชา

2551 Mr. Michael Currie รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นระดับปริญญาโท ประจำปี 2551 กลุ่มสังคมศาสตร์

Measuring Language Learning or Distorting the Construct?: Study of Multiple ChoiceItems in a Test of English Structureand Reading

- รศ.ดร.ธัญภา ชิระมณี- รศ.ดร.ชิดชนก เชิงเชาว์

ภาษาศาสตร์ประยุกต์

น.ส.อริสรา ชูชื่อ รางวัลชมเชย ระดับปริญญาโทประจำปี 2551กลุ่มสังคมศาสตร์

ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยกระบวนท่ารำมโนห์ราที่คัดสรรต่อสมรรถภาพทางกาย

- รศ.ดร.รพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ- ผศ.นพ.วุฒิชัย เพิ่มศิริวาณิชย์ - อ.สุพัฒน์ นาคเสน

พัฒนามนุษย์และสังคม(ภาคปกติ)

2553 น.ส.ณกมล หนูดี รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นระดับปริญญาโทประจำปี 2553 กลุ่มมนุษยศาสตร์

Effects of CooperativeLearning on WritingAbility of ThaiSecondary SchoolStudents

- รศ.ดร.มณฑา จาฏุพจน์- รศ.ดร.อดิศา แซ่เตียว

การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ(ภาคปกติ)

2554 นายเชษฐา มุหะหมัด รางวัลชมเชยระดับปริญญาโทประจำปี 2554กลุ่มสังคมศาสตร์

การปรับกลยุทธวิธีในการดำรงชีพของชาวประมงมุสลิมขนาดเล็กในภาวะขาดแคลนทรัพยากร:กรณีศึกษาชุมชนชายทะเล ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา

- ผศ.ดร.อาแว มะแส- ผศ.ดร.เก็ตถวา บุญปราการ

พัฒนามนุษย์และสังคม(ภาคปกติ)

น.ส.พรรษา พรหมมาศ รางวัลวิทยานิพนธ์เกียรติคุณ ระดับปริญญาโทประจำปี 2554กลุ่มมนุษยศาสตร์

A Comparative Studyof Discourse Connectorsin ArgumentativeCompositionsProduced by Thai EFL Learnersand English-Native Speakers

ดร.เข็มทอง สินวงศ์สุวัฒน์ การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ(ภาคพิเศษ)

Page 33: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

29Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

2. สารนิพนธ์ดีเด่น

คณะศิลปศาสตร์ กำหนดให้มีการคัดเลือก

สารนิพนธ์เพื่อเข้ารับรางวัลสารนิพนธ์ดีเด่น ตั้งแต่

ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยเพื่อสารนิพนธ์ที่มีคุณภาพ

เผยแพร่สารนิพนธ์ดีเด่นประจำปี ยกย่องและประกาศ

เกียรติคุณนักศึกษาบัณฑิตศึกษาและอาจารย์/คณะ

กรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์ดีเด่น อีกทั้งเป็นการยกระดับ

คุณภาพงานวิจัยเพื่อสารนิพนธ์ของนักศึกษาระดับ

บัณฑิตศึกษาในปีการศึกษา 2552-2554 นักศึกษาระดับ

บัณฑิตศึกษา คณะศิลปศาสตร์ จำนวน 4 ราย ได้รับ

รางวัลสารนิพนธ์ดีเด่น รายละเอียดดังนี้

ปีการศึกษา

ชื่อ-สกุล ชื่อรางวัล ชื่อสารนิพนธ์อาจารย์/คณะกรรมการ

ที่ปรึกษาสาขาวิชา

2552 น.ส.โสภิดา ขาวหนูนา รางวัลสารนิพนธ์

ดีเด่น

ประเภทรางวัล

ระดับชมเชย

การประเมินแบบ

เรียนที่ใช้สอนทักษะ

การพูด สำหรับนักศึกษา

วิชาเอกภาษาอังกฤษ

ระดับมหาวิทยาลัย

ในจังหวัดสงขลา

รศ.ดร.มณฑา จาฏุพจน์ การสอนภาษา

อังกฤษเป็น

ภาษานานาชาติ

(ภาคพิเศษ)

นางปิยวรรณ ยุงคุณ รางวัลสารนิพนธ์

ดีเด่น

ประเภทรางวัล

ระดับชมเชย

ความสุขของบุคลากร

โรงพยาบาลสงขลา

รศ.ช่อลดา พันธุเสนา พัฒนามนุษย์

และสังคม

(ภาคพิเศษ)

นายวัฒนชัย ไชยจิตต์ รางวัลสารนิพนธ์

ดีเด่น

ประเภทรางวัล

ระดับชมเชย

ความรู้ เจตคติ และ

พฤติกรรมการสูบบุหรี่

ของเยาวชนใน

จังหวัดสตูล

- ผศ.สุเมธ พรหมอินทร์

- รศ.ดร.วันชัย ธรรมสัจการ

พัฒนามนุษย์

และสังคม

(ภาคพิเศษ)

2553 ไม่มีการคัดเลือกรางวัลสารนิพนธ์ดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2553

2554 นางโสพินญา สุวรรณ รางวัลสารนิพนธ์

ดีเด่น

ประเภทรางวัล

ระดับชมเชย

การใช้แผนที่ความคิด

พัฒนาการอ่านภาษา

อังกฤษเพื่อความเข้าใจ

: กรณีศึกษานักเรียนชั้น

ประถมศึกษาปีที่ 5

ผศ.ดร.ชลลดา เลาหวิริยานนท์ การสอนภาษา

อังกฤษเป็น

ภาษานานาชาติ

(ภาคพิเศษ)

Page 34: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

30Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

3. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับรางวัล ในปีการศึกษา 2551–2554 นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ได้รับรางวัลหรือการยกย่องด้านวิชาการ กิจกรรมเพื่อสังคมทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยและอื่นๆ ดังนี้

ที่ ชื่อ-สกุล หลักสูตร รางวัลที่ได้รับ หน่วยงานที่จัด

1 น.ส.จริญญา ศรีมณี ภาษาศาสตร์ประยุกต์ รางวลับทความวทิยานพินธ์ประเภทดีเด่น เรื่องCan Word-frequency Controlled Reading Enhance Incidental Vocabulary Acquisition?

การประชุมวิชาการ ระดับนานาชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ครั้งที่ 1 วันที่ 16 พฤษภาคม 2552ณ ห้องราชาวดี คณะศิลปศาสตร์

2 นางรัชฏาพร ศรีพิบูลย์ ภาษาศาสตร์ประยุกต์ รางวลับทความวทิยานพินธ ์ประเภทชมเชย เรื่อง Teaching and Learning Activities in English Classes for “Normal” and “Adult” Students at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University: Are They Similar or Diffeent?

การประชุมวิชาการ ระดับนานาชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1 วันที่ 16 พฤษภาคม 2552ณ ห้องราชาวดี คณะศิลปศาสตร์

3 นางนฤภัย สมฤดี พัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคพิเศษ)

รางวลับทความวทิยานพินธ ์ประเภทดี เรื่อง Treatment Adherence and Quality of Life among Thyroid Cancer Patients

การประชุมวิชาการ ระดับนานาชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ครั้งที่ 1 วันที่ 16 พฤษภาคม 2552ณ ห้องราชาวดี คณะศิลปศาสตร์

4 น.ส.นัยนา มากแก้วกุล พัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคพิเศษ)

รางวลับทความวทิยานพินธ์ประเภทชมเชย เรื่อง A Causal and Effect Model in Psychological Empowerment to Job Satisfaction of Community Development Workers in the Southern Border Provinces

การประชุมวิชาการ ระดับนานาชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ครั้งที่ 1 วันที่ 16 พฤษภาคม 2552ณ ห้องราชาวดี คณะศิลปศาสตร์

5 น.ส.ชวนพิศญ์ ยาดี พัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคพิเศษ)

รางวัลวิจัยชั้นเรียนยอดเยี่ยมเรื่อง การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยใช้เทคนิคจิตรกรรม : กรณีศึกษานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธิดานุเคราะห์อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

งานเปิดโลกการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา ครั้งที่ 3 วันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ 2552 ณ โรงเรียนหาดใหญ่เทคโนโลยี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ปีการศึกษา 2551

Page 35: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

31Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ที่ ชื่อ-สกุล หลักสูตร รางวัลที่ได้รับ หน่วยงานที่จัด

6 น.ส.อริสรา ชูชื่อ พัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคพิเศษ)

รางวัลการนำเสนอผลงานวิชาการดีเด่น เรื่อง ผลของโปรแกรมการออกกำลงักายด้วยกระบวนท่ารำมโนห์ราที่คัดสรรต่อสมรรถภาพทางกาย

งานประชุมวิชาการ ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 10 วันที่ 11-12 กันยายน 2551ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ปีการศึกษา 2552

ที่ ชื่อ-สกุล สาขาวิชา รางวัลที่ได้รับ หน่วยงานที่จัด

1 น.ส.สมจิตร์ อินทมโน พัฒนามนุษย์และสังคม(ภาคพิเศษ)

ประกาศเกียรติคุณยกย่องในด้านคุณธรรมจริยธรรม ทำคุณความดีตามพระปณิธานของพระบิดา “ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ประโยชน์ส่วนตนเป็นกิจที่สอง”ผู้ป่วยคนชราที่มารักษาตัวที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ วันที่ 16 ตุลาคม 2552

คณะศิลปศาสตร์

ปีการศึกษา 2553

ที่ ชื่อ-สกุล สาขาวิชา รางวัลที่ได้รับ หน่วยงานที่จัด

1 น.ส.อัสมา ทรรศนะมีลาภ การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (ภาคปกติ)

รางวัลบทความวิจัยด้านพัฒนาบริหารศาสตร์ประจำปี 2554 รางวัล ดีเยี่ยม ระดับชาติสาขาภาษาและการสื่อสาร เรื่อง ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยวิธีข้อมูลขับเคลื่อน เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดทางด้านไวยากรณ์ด้วยตนเองของนักเรียนที่มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษในระดับต่ำ

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วันที่1 เมษายน 2554

2 น.ส.ชวนพิชญ์ ยาดี พัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคพิเศษ)

รางวัลยอดเยี่ยมการประกวดผลงานวิจัยในชั้นเรียน เรื่องลดมลพิษด้วยการพัฒนาความคดิสรา้งสรรค ์โดยใชน้วตักรรมศลิปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธิดานุเคราะห์

ครูสมาคมโรงเรียนเอกชนจังหวัดสงขลาวันที่ 23 มิถุนายน2553

Page 36: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

32Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ปีการศึกษา 2554

ที่ ชื่อ-สกุล สาขาวิชา รางวัลที่ได้รับ หน่วยงานที่จัด

1 น.ส.ปิยาภรณ์ วิจิตร พัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคปกติ)

รางวลังานวจิยัประเภทชมเชยเรื่อง พฤติกรรมส่งเสริมสขุภาพของพนกังานสงูอายุในโรงงานอุตสาหกรรม

การประชุมวิชาการ ระดับนานาชาติและแสดงผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาร่วมกับสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยกรุงเทพและมหาวิทยาลัยศิลปากร วันที่ 23 มีนาคม2555

2 น.ส.พัชรสรณ์ ศิริรักษ์ พัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคปกติ)

รางวัลงานวิจัยประเภทชมเชยเรื่อง กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยด้านโภชนาการสู่ชุมชนกรณีศึกษา ครูภูมิปัญญาไทย จังหวัดสงขลา

การประชุมวิชาการ ระดับนานาชาติและแสดงผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาร่วมกับสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยกรุงเทพและมหาวิทยาลัยศิลปากร วันที่ 23มีนาคม 2555

3 นายณฐกร นิยมเดชา พัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคพิเศษ)

ลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่ ประจำปี 2555

สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ วันที่ 12 สิงหาคม2555 ณ อาคารใหม่สวนอัมพร กรุงเทพฯ

Page 37: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

33Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.2 ด้านการพัฒนานักศึกษา งานกิจการนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและภารกิจในการส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาได้รับการเรียนรู้ประสบการณ์เสริมจากด้านวิชาการ เพื่อเป็นการพัฒนาให้นักศึกษามีความสมบูรณ์พร้อมทั้งด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ สังคมและจิตใจ สมกับการเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ และเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของประเทศชาติ โดยในปีการศึกษา2551-2554 มีผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้ 9.2.1 ทุนสนับสนุนนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ได้จัดสรรทุนสนับสนุนนักศึกษาจำแนกเป็น 6 ประเภท ดังนี้ 1. ทุนนักศึกษาทำงานแลกเปลี่ยน เป็นทุนการศึกษาที่เน้นการพัฒนาทักษะการทำงานให้แก่นักศึกษา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีรายได้ระหว่างการเรียน และใช้เวลาว่างจากการเรียนให้เกิดประโยชน์ โดยนักศึกษา 1 คน สามารถทำงานได้ไม่เกิน60 ชั่วโมงๆ ละ 25 บาท ต่อภาคการศึกษา 2. ทุนเรียนดี เป็นทุนการศึกษาที่คณะศิลปศาสตร์จัดสรรให้กับนักศึกษาเป็นประจำทุกปีการศึกษา โดยจะมอบทนุในวนัไหวค้รขูองแตล่ะปใีหก้บันกัศกึษาทีม่ีผลการเรียนเป็นอันดับที่ 1 ของสาขาวิชาของแต่ละชั้นปี 3. ทุนกิจกรรม เป็นทุนการศึกษาที่คณะศิลปศาสตร์จัดสรรให้กับนักศึกษาเป็นประจำทุกปีการศึกษา โดยจะมอบทุนในวันไหว้ครูของแต่ละปีให้กับนักศึกษาที่ได้รับคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยให้เป็น

นักศึกษากิจกรรมดีเด่นและยึดประกาศมหาวิทยาลัยเป็นเกณฑ์ 4. ทุนสนับสนุนนักศึกษาขาดแคลน เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ที่มีฐานะทางบ้านลำบาก โดยคณะศิลปศาสตร์จะจัดสรรให้นักศึกษาทกุปกีารศกึษา ทัง้นีจ้ำนวนทนุในแตล่ะปกีารศกึษา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามจำนวนนักศึกษาที่ขอทุน 5. ทุนยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาในการยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษโดยมุ่งเน้นนักศึกษาที่มีฐานะทางบ้านลำบาก จะจัดสรรทุกภาคการศึกษา ทั้งนี้จำนวนทุนในแต่ละภาคการศึกษา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามจำนวนนักศึกษาที่ขอทุน 6. ทุน English Camp เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาทำกิจกรรมและพัฒนาตนเองในด้านภาษาอังกฤษร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นโครงการค่ายภาษาอังกฤษ ในภาคฤดูร้อน

7. ทุนสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งนายกสโมสรนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ เพื่อตอบแทนการทำงานของนายกสโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ และสร้างขวัญและกำลังใจให้กับนักศึกษาที่ทำกิจกรรม โดยการมอบทุนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับจำนวนค่าธรรมเนียมการศึกษาที่นักศึกษาต้องจ่ายภาคการศึกษาละ 6,250 บาทจำนวน 2 ภาคการศึกษา โดยเริ่มจัดสรรทุนประเภทนี้เป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2554

Page 38: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

34Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ในภาพรวม ในปีการศึกษา 2551–2554 คณะศิลปศาสตร์ ได้จัดสรรทุนประเภทต่างๆ ให้แก่นักศึกษารวม

ทั้งสิ้น 381 ทุน เป็นเงิน 1,182,295 บาท รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

ประเภททุนจำนวนทุน งบประมาณ

2551 2552 2553 2554 2551 2552 2553 2554

1. ทุนนักศึกษาทำงานแลกเปลี่ยน

28 38 27 36 35,575 48,950 35,395 39,875

2. ทุนเรียนดี 10 10 12 14 10,000 15,000 18,000 21,000

3. ทุนกิจกรรม 4 9 15 9 4,000 13,500 22,500 13,500

4. ทุนสนับสนุนนักศึกษาขาดแคลน

6 6 24 22 30,000 30,000 120,000 110,000

5. ทุนยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา

16 21 30 30 80,000 131,250 187,500 187,500

6. ทุน English Camp 13 - - - 16,250 - - -

7. ทุนสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งนายกสโมสรนักศึกษา

- - - 1 - - - 12,500

รวม 77 84 108 112 175,825 238,700 383,395 384,375

9.2.2 โครงการ/กิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา ในปีการศึกษา 2551–2554 คณะศิลปศาสตร์ ได้จัดโครงการ/กิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษาในด้านต่างๆดังนำเสนอเป็นตารางและกราฟได้ ดังนี้

ประเภทกิจกรรมจำนวนโครงการ

2551 2552 2553 2554

1. กิจกรรมด้านวิชาการที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ 10 19 20 23

2. กิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม 6 12 9 12

3. กิจกรรมด้านนันทนาการ 5 13 - -

4. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และรักษาสิ่งแวดล้อม 3 11 8 12

5. กิจกรรมส่งเสริมกีฬาและส่งเสริมสุขภาพ 4 5 7 8

6. กิจกรรมด้านการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม - - 12 18

รวมกิจกรรมแต่ละด้านที่จัด 28 60 56 73

หมายเหตุ : รายงานประเภทกิจกรรมตามคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (สกอ.) ซึ่งในปีการศึกษา 2551-2552 ไม่มีกิจกรรมด้านการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม และในปีการศึกษา 2553-2554 ไม่มีกิจกรรมด้านนันทนาการ

Page 39: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

35Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ในภาพรวม คณะศิลปศาสตร์จัดกิจกรรม/โครงการเพื่อการพัฒนานักศึกษาทุกชั้นปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551-2554 รวมทั้งสิ้น 131 โครงการ 217 กิจกรรม โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 2,873,853 บาท ดังนำเสนอเป็นตารางและกราฟได้ ดังนี้

ปีการศึกษา จำนวนโครงการจำนวนโครงการ

(จำแนกตามประเภทกิจกรรม)

งบประมาณ จำนวนผู้เข้าร่วมระดับ

ความพึงพอใจ (ร้อยละ)

2551 21 28 436,965 4,977 85.97

2552 39 60 658,157 13,007 84.30

2553 32 56 696,050 12,413 86.30

2554 39 73 1,082,681 13,006 87.29

รวม 131 217 2,873,853 43,403 85.97

หมายเหตุ: หนึ่งโครงการสามารถจำแนกได้หลายประเภทกิจกรรม

ปีการศึกษา 2551

ด้านวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรม

ด้านบำเพ็ญประโยชน์ ด้านกีฬา

ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านนันทนาการ

0

5

10

15

20

25

ปีการศึกษา 2552 ปีการศึกษา 2553 ปีการศึกษา 2554

Page 40: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

36Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.2.3 วินัยนักศึกษา งานกิจการนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ดำเนินการจัดโครงการอบรม/ประชุมนักศึกษา เพื่อป้องกันการกระทำผดิวนิยันกัศกึษา และประชาสมัพนัธก์ฎระเบยีบ ขอ้บงัคบัตา่งๆ วา่ดว้ยงานวนิยันกัศกึษา ใหน้กัศกึษาทราบ ในปีการศึกษา 2551-2554 สามารถสรุปผลการดำเนินงานด้านวินัยนักศึกษาได้ ดังนี้

ปีการศึกษา ลกัษณะความผดิจำนวนกรณีที่ได้รับรายงาน

จำนวนนักศึกษาที่ไดร้บัโทษทางวนิยั

โทษนักศึกษา

2551 ไม่มี - - ไม่มีนักศึกษากระทำผิด

2552 ลักทรัพย์ 1 1 พักการเรียน 1 ภาคการศึกษา แต่ได้รับมาตรการรอการลงโทษ

ทะเลาะวิวาท 1 2 คนที่ 1: พักการเรียน 1 ภาคการศึกษา แต่ได้รับมาตรการรอการลงโทษ

คนที่ 2: ภาคทัณฑ์ตลอดสภาพการเป็นนักศึกษา

ทุจริตการสอบ 2 2 คนที่ 1: พักการเรียน 1 ภาคการศึกษา

คนที่ 2: พักการเรียน 1 ภาคการศึกษา

2553 ทุจริตการสอบ 1 1 พักการเรียน 1 ภาคการศึกษา

2554 ทุจริตการสอบ 2 1 คนที่ 1: คณะกรรมการสอบสวนไม่เห็นสมควรเสนอโทษนักศึกษา เนื่องจากนักศึกษาไม่ส่อพฤติกรรมทุจริตการสอบ

คนที่ 2: พักการเรียน 1 ภาคการศึกษา

รวม 7 7

Page 41: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

37Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.2.4 ความสำเร็จของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

9.2.4.1 นักกิจกรรมตัวอย่าง

ในปีการศึกษา 2551-2554 งานกิจการนักศึกษาส่งนักกิจกรรม คณะศิลปศาสตร์เข้ารับการคัดเลือกเป็น

นักกิจกรรมตัวอย่างระดับมหาวิทยาลัยซึ่งมีนักศึกษาที่ได้รับรางวัล ดังต่อไปนี้

ปีการศึกษา 2551 1. น.ส.เยาวลักษณ์ วิสุทธิ์สิริ นักกิจกรรมดีเด่นด้านศิลปวัฒนธรรม

2. น.ส.จริยา แสงทวี นักกิจกรรมดีเด่นด้านวิชาการ

3. นายอภินันท์ พยุงวงษ์ นักกิจกรรมดีเด่นด้านวิชาการ

4. น.ส.กรกนก รุณย์คติ นักกิจกรรมดีเด่นด้านวิชาการ

5. นายนัฐวุฒิ จินดาวงศ์ นักกิจกรรมดีเด่นด้านบริหาร

6. น.ส.ซูรีนา ยีปาโล๊ะ นักกิจกรรมดีเด่นด้านประชาสัมพันธ์

ปีการศึกษา 2552 1. น.ส.สุชีรา เรืองผล นักกิจกรรมตัวอย่างด้านบำเพ็ญประโยชน์

2. น.ส.อลิศรา คีรีนะ นักกิจกรรมตัวอย่างด้านศิลปวัฒนธรรม

3. น.ส.ลลิตา อุดรพันธ์ นักกิจกรรมตัวอย่างด้านศิลปวัฒนธรรม

4. น.ส.เจนเนตร บัญรังสี นักกิจกรรมตัวอย่างด้านศิลปวัฒนธรรม

5. น.ส.กัลยาณี แซ่ออง นักกิจกรรมตัวอย่างด้านศิลปวัฒนธรรม

6. นายภัทร์ธีรลักษณ์ เจ๊ะหลี นักกิจกรรมตัวอย่างด้านศิลปวัฒนธรรม

7. น.ส.สวรรยา จารุวิภา นักกิจกรรมตัวอย่างด้านวิชาการ

8. น.ส.ณดา มณีพฤกษ์ นักกิจกรรมตัวอย่างด้านบริหาร

9. น.ส.กรกนก รุณย์คติ นักกิจกรรมตัวอย่างด้านบริหาร

ปีการศึกษา 2553 1. น.ส.ภัสสร แซ่ชิ้น นักกิจกรรมตัวอย่างด้านวิชาการ

2. น.ส.มาลินี เจริญเดช นักกิจกรรมตัวอย่างด้านศิลปวัฒนธรรม

3. น.ส.รวีนิภา โออินทร์ นักกิจกรรมตัวอย่างด้านศิลปวัฒนธรรม

4. น.ส.เสาวลักษณ์ โยธารักษ์ นักกิจกรรมตัวอย่างด้านศิลปวัฒนธรรม

5. นายวิศนุกร เรืองมณี นักกิจกรรมตัวอย่างด้านศิลปวัฒนธรรม

6. นายสากล พัสระ นักกิจกรรมตัวอย่างด้านศิลปวัฒนธรรม

7. น.ส.ศรัญญา สังเจียม นักกิจกรรมตัวอย่างด้านศิลปวัฒนธรรม

8. น.ส.สุธิดา อิ้วเส้ง นักกิจกรรมตัวอย่างด้านศิลปวัฒนธรรม

9. นายนันทวัฒน์ เนตรเจริญ นักกิจกรรมตัวอย่างด้านศิลปวัฒนธรรม

10. น.ส.จรัญญา นิเวศสันติ นักกิจกรรมตัวอย่างด้านศิลปวัฒนธรรม

11. นายอัศม์เดช มัชฌิมาภิโร นักกิจกรรมตัวอย่างด้านบำเพ็ญประโยชน์

12. น.ส.ปณิตา โสมแหละ นักกิจกรรมตัวอย่างด้านบริหาร

13. น.ส.มรกต เรืองมา นักกิจกรรมตัวอย่างด้านประชาสัมพันธ์

14. นายมีนวัฒน์ อินทรภัทดิ์ นักกิจกรรมตัวอย่างด้านประชาสัมพันธ์

15. นายนภัส ฉุ้นย่อง นักกิจกรรมตัวอย่างด้านประชาสัมพันธ์

Page 42: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

38Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ปีการศึกษา 2554 1. นายเชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์ นักกิจกรรมตัวอย่างด้านวิชาการ

2. น.ส.สุวลี จิตมาส นักกิจกรรมตัวอย่างด้านบำเพ็ญประโยชน์

3. น.ส.วิชุตา อินทกูล นักกิจกรรมตัวอย่างด้านบำเพ็ญประโยชน์

4. น.ส.ซุมซุมาน ภักดี นักกิจกรรมตัวอย่างด้านบำเพ็ญประโยชน์

5. นายอัศวเทพ ศุภเจริญกูล นักกิจกรรมตัวอย่างด้านบำเพ็ญประโยชน์

6. น.ส.หทัยชนก หนูกลับ นักกิจกรรมตัวอย่างด้านศิลปวัฒนธรรม

7. น.ส.ชนัญญา สังวาลย์ นักกิจกรรมตัวอย่างด้านบริหาร

8. นายอัศม์เดช มัชฌิมาภิโร นักกิจกรรมตัวอย่างด้านบริหาร

9. น.ส.ชุติมา วรรณวงศ์ นักกิจกรรมตัวอย่างด้านบริหาร

ในภาพรวม ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551-2554 นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ได้รับคัดเลือกเป็นนักกิจกรรมตัวอย่างระดับมหาวิทยาลัยในด้านต่างๆ รวมทั้งสิ้น 39 คน จำแนกได้ ดังนี้

ประเภทกิจกรรมจำนวนนักกิจกรรมตัวอย่าง

รวม2551 2552 2553 2554

ด้านศิลปวัฒนธรรม 1 5 9 1 16

ด้านวิชาการ 3 1 1 1 6

ด้านบริหาร 1 2 1 3 7

ด้านบำเพ็ญประโยชน์ 0 1 1 4 6

ด้านประชาสัมพันธ์ 1 0 3 0 4

รวม 6 9 15 9 39

Page 43: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

39Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.2.4.2 การเข้าร่วมประกวด/แข่งขันในกิจกรรมต่างๆ ของสโมสรนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ในปีการศึกษา 2551-2554 สโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ได้ส่งโครงการเข้าร่วมประกวดแข่งขันในกิจกรรมต่างๆ และได้รับรางวัล ดังต่อไปนี้

ปีการศึกษา โครงการที่ได้รับรางวัล รางวัลที่ได้รับ

2551 1. โครงการ 13 กันยา สถาปนาแดนศิลป์

โครงการดีเด่นด้านบำเพ็ญประโยชน์ ประจำปี 2551

2. โครงการเข็มรวมช่อ โครงการดีเด่นด้านกิจกรรมรับน้องเชิงสร้างสรรค์ ประจำปี 2551

3. โครงการไหว้ครู 1. รางวัลชนะเลิศการประกวดพานดอกไม้ประเภทความคิด สร้างสรรค์2. รางวัลชนะเลิศการประกวดพานธูปเทียนประเภทความคิด สร้างสรรค์

4. โครงการกีฬาน้องใหม่ 1. รางวัลชนะเลิศคะแนนรวมการแข่งขันกีฬาน้องใหม่

2. รางวัลชนะเลิศสแตนด์เชียร์และเชียร์สปิริตการแข่งขันกีฬา น้องใหม่

5. โครงการกีฬา 14 คณะ 1. รางวัลชนะเลิศขบวนพาเหรด การแข่งขันกีฬาศรีตรัง2. รางวัลชนะเลิศกรีฑา การแข่งขันกีฬาศรีตรัง

6. โครงการประเพณี ลอยกระทง

1. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดนางนพมาศ2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดกระทงใบตอง3. รางวัลชมเชยขบวนพาเหรดประเภทสนุกสนาน

2552 1. โครงการไหว้ครู 1. รางวัลชนะเลิศการประกวดพานดอกไม้

2. รางวัลชนะเลิศการประกวดพานธูปเทียน

2. โครงการกีฬาน้องใหม่ 1. รางวัลชนะเลิศยิงปืน

2. รางวัลชนะเลิศเทเบิลเทนนิส

3. โครงการกีฬา 14 คณะ รางวัลชนะเลิศวอลเลยบ์อล การแข่งขันเชื่อมความสัมพันธ์ 14 คณะ

4. โครงการประเพณี ลอยกระทง

1. รางวัลชนะเลิศการประกวดนางนพมาศ

2. รางวัลชมเชยขบวนพาเหรดประเภทสนุกสนาน

2553 1. โครงการโต้วาทีน้องใหม่ รางวัลชนะเลิศโต้วาทีน้องใหม่

2. โครงการกีฬาน้องใหม่ 1. รางวัลชนะเลิศกีฬาฟุตบอลการแข่งขันกีฬาน้องใหม่

2. รางวัลชนะเลิศกีฬา Softball การแข่งขันกีฬาน้องใหม่

2554 1. โครงการกีฬาน้องใหม่ 1. รางวัลชนะเลิศกีฬาเซปักตะกร้อการแข่งขันกีฬาน้องใหม่

2. รางวัลชนะเลิศกีฬาสแตนด์เชียร์การแข่งขันกีฬาน้องใหม่

3. รางวัลชนะเลิศกีฬาฟุตบอลการแข่งขันกีฬาน้องใหม่

2. โครงการรณรงค์ การแต่งกาย

รางวัลอันดับ 3 โครงการเฟ้นหาคนดี “ใจดี กายงาม เชิดชูนามสงขลานครินทร์”

Page 44: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

40Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ที่ ชื่อ-สกุล สาขาวิชา รางวัลที่ได้รับ หน่วยงานที่จัด

1 น.ส.ณฐพร เทพพิทักษ์ ภาษาเพื่อการพัฒนา ทุน “2008 Global

Undergraduate

Exchange Program”

ศึกษาต่อ ณ Utica

College รัฐ New York

เป็นเวลา 1 ปี

สถานทูตอเมริกาประจำ

ประเทศไทย

2 นายสุชาติ ทิพย์รัตน์ ภาษาจนีเพือ่การสือ่สาร รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง

นักศึกษาต่างชาติดีเด่น

แห่งมหาวิทยาลัย

ครูกว่างซี

มหาวิทยาลัยครูกว่างซี

สาธารณรัฐประชาชนจีน

3 น.ส.รัตนาภรณ์ ไชยโรจน์ ภาษาเพื่อการพัฒนา การประกวดย่อ

นวนิยาย จากผลงาน

ศิลปินแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการ

วัฒนธรรมแห่งชาติ

ระดับภาคใต้

4 น.ส.จุฑามาศ มณีทอง ภาษาจนีเพือ่การสือ่สาร รองชนะเลิศอันดับ 2

การแข่งขัน การตอบปัญหา

ภาษาอังกฤษ

ระดับปริญญาตรี

ประเภทบุคคล

สัปดาห์ศิลปศาสตรวิชาการ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลศรีวิชัย สงขลา

5

6

น.ส.ปาลิตา แก่นพลอย

น.ส.มารียา เจริญวงศ์

ภาษาเพื่อการพัฒนา รองชนะเลิศอันดับ 1

การแข่งขัน การตอบปัญหา

ภาษาอังกฤษ

ระดับปริญญาตรี

ประเภททีม

9.2.4.3 ผลงานนักศึกษารายบุคคล คณะศิลปศาสตร์ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงศักยภาพตามความถนัดและความสนใจ ตลอดจนเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นการทำประโยชน์ต่อสังคม ในปีการศึกษา 2551–2554 มีนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้

ปีการศึกษา 2551

Page 45: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

41Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ปีการศึกษา 2552

ที่ ชื่อ-สกุล สาขาวิชา รางวัลที่ได้รับ หน่วยงาน

1 นายสุชาติ ทิพย์รัตน์ ภาษาจนีเพือ่การสือ่สาร รองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขัน“สะพานสู่ภาษาจีน” ครั้งที่ 8 รอบชิงชนะเลิศ ระดับประเทศ

สถานทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาชนจีนร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ

2 นายสุชาติ ทิพย์รัตน์ ภาษาจนีเพือ่การสือ่สาร ชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขัน“สะพานสู่ภาษาจีน” ครั้งที่ 8

สถาบันขงจื๊อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร ์ระดบัเขตภาคใต้

3

4

5

นายชาคร อินเหมือนนายนันทวัฒน์ เนตรเจริญนายนฤชาติ งามจันทร์ดา

ภาษาเพื่อการพัฒนา ชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันโต้วาทรีะดับอุดมศึกษาหัวข้อ “วัยมันส์..เท่าทันโทรคม”

สมาคมผู้บริโภคสงขลา ร่วมกับชมรมวาทศิลป์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

6 นายชาคร อินเหมือน ภาษาเพื่อการพัฒนา รองชนะเลิศอันดับ 2 การประกวดผลงานกลอนในวันเชิดชูครู สงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

7 น.ส.กรรณิกา ทองคง ภาษาจนีเพือ่การสือ่สาร ชนะเลิศกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ระดับภาคใต้

กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

ปีการศึกษา 2553

ปีการศึกษา 2554

ที่ ชื่อ-สกุล สาขาวิชา รางวัลที่ได้รับ หน่วยงาน

1 นายณัฐวุฒิ จินดาวงศ์ ภาษาจนีเพือ่การสือ่สาร รางวัลนักศึกษาแต่งกายถูกระเบียบ

กองกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2 น.ส.มรกต เจียรวงศ์ตระกูล ภาษาจนีเพือ่การสือ่สาร รางวัลนักศึกษาแต่งกายถูกระเบียบ

ที่ ชื่อ-สกุล สาขาวิชา รางวัลที่ได้รับ หน่วยงาน

1 น.ส.อวิกา สุญาสิทธิ์ ภาษาเพื่อการพัฒนา ทุนการศึกษาของ Chung-Ang University for Spring Semester2012

Chung-Ang University สาธารณรัฐเกาหลี

2 น.ส.วิมลรัตน์ ถนอมพงษ์ชัย ชุมชนศึกษา รองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันทักษะการพิมพ์ภาษาจีนระดับอุดมศึกษา ภาคใต้

สถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระดับเขตภาคใต้

รางวัลชมเชยการแข่งขันร้องเพลงภาษาจีน ระดับอุดมศึกษาภาคใต้

ชนะเลศิการแขง่ขนัพดูภาษาจนีกลาง ระดับอุดมศึกษา ภาคใต้

ชนะเลิศการแข่งขันสะพานสู่ภาษาจีน

Page 46: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

42Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ที่ ชื่อ-สกุล สาขาวิชา รางวัลที่ได้รับ หน่วยงาน

3 น.ส.สุขใจ แซ่ลิ่ม ภาษาจนีเพือ่การสือ่สาร รองชนะเลิศอันดับ 3 การแข่งขันทักษะการพิมพ์ภาษาจีน ระดับอุดมศึกษา ภาคใต้

สถาบันขงจื๊อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระดับเขตภาคใต้

รางวัลชมเชย การแข่งขันร้องเพลงภาษาจีน ระดับอุดมศึกษา ภาคใต้

4 น.ส.สุจินดา แซ่ลิ่ม ภาษาจนีเพือ่การสือ่สาร รองชนะเลิศอันดับ 3 การแข่งขันทักษะการพิมพ์ภาษาจีน ระดับอุดมศึกษา ภาคใต้

5 น.ส.ปุณณฉัตร จ้อยร่อย ภาษาจนีเพือ่การสือ่สาร รองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันร้องเพลงภาษาจีน ระดับอุดมศึกษา ภาคใต้

6 นายเกรียงไกร คมขำ ชุมชนศึกษา ผู้ปฎิบัติงานดีเด่นในรอบปี ของจังหวัดชายแดนภาคใต้

ศูนย์อำนวยการบริหาร จังหวัดชายแดนภาคใต้

เยาวชนดีเด่น ปี 2554 สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

7 น.ส.เกศสุดา ไทยประดิษฐ์ ภาษาจนีเพือ่การสือ่สาร รองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับประเทศ การประกวดสุนทรพจน์ภาษาจีน การแข่งขันสะพานสู่ภาษาจีน

งานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ ประจำประเทศไทย (Hanban) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

8 น.ส.อลิสา แหละบัง ภาษาเพื่อการพัฒนา รางวัลชมเชยการประกวดบทความเรื่อง ความเข้าใจเรื่อง การเมืองนำการทหาร ในการแก้ปัญหา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเภทนักศึกษาอุดมศึกษา

ศูนย์สันติสุข กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า

ปีการศึกษา 2554

นอกจากนี้ ในปีการศึกษา 2553 โครงการในรายวชิากจิกรรมเสรมิหลกัสตูร 1 ของนกัศกึษาชัน้ปทีี ่1 คณะศิลปศาสตร์ ได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดกิจกรรมระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 1 โครงการ คือ

โครงการ “สื่อกับน้อง” อาจารย์ที่ปรึกษาคือ ดร.สิตามูสิกรังษี และนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร เป็นผู้ดำเนินโครงการจำนวน 20 คน ดังรายชื่อต่อไปนี้

Page 47: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

43Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ลำดับ ชื่อ-สกุล 1 น.ส. ปวีณา รัตนพันธ์ 2 น.ส. ป้องแก้ว เชาว์พาณิชย์เจริญ 3 น.ส. ปิ่นทิพย์ วิชัยโรจน์ภิรมย์ 4 น.ส. เปมิกา คาระวี 5 นาย พงษ์ทัช จิตวิบูลย์ 6 น.ส. พรรณสวลี ณ มณี 7 นาย พสก งานสม 8 นาย พัชรพล วรสิทธิกร 9 น.ส. พันทิรา ศิริวิลาวัณย์ 10 น.ส. พัสตราภรณ์ ภิญโญประการ 11 น.ส. พิชญาภา เพ็ชรสิทธิ์ 12 น.ส. พิสชา เชาวน์วุฒิกุล 13 นาย ภัทราวุธ นวลศรี 14 น.ส. ภูษิตา ไฝทอง 15 น.ส. รัญญาภัทร์ กสิกรรม 16 น.ส. รุจิเรข หนูรัตน์ 17 น.ส. ลัดดาวรรณ ถิ่นกาญจน์

18 นาย วชิระพงศ์ พูลสวัสดิ์ 19 น.ส. วรรณทิพย์ ทาทอง 20 น.ส. วรรณวิสาข์ หนูนรินทร์

9 .2 .4 .4 ชุมนุมต่ างๆ ของคณะศิลปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ส่ ง เสริ ม ให้นั กศึ กษามีประสบการณ์นอกเหนือจากประสบการณ์ด้านวิชาการ เพือ่พฒันานกัศกึษาทัง้ดา้นสตปิญัญา รา่งกาย อารมณ์สังคม และจิตใจ โดยสนับสนุนให้นักศึกษาที่มีความถนัดและความสนใจตรงกันร่วมกันทำกิจกรรมในรูปแบบชุมนุมต่างๆ ในปีการศึกษา 2551 คณะศิลปศาสตร์มีชุมนุมจำนวน 2 ชุมนุม ต่อมาในปีการศึกษา 2552และ 2553 จำนวนชุมนุมได้เพิ่มขึ้นเป็น 10 ชุมนุม และลดลงเหลือ 8 ชุมนุม ในปีการศึกษา 2554 รายละเอียดผลการดำเนินการด้านการส่งเสริมการจัดตั้งชุมนุมและจำนวนกิจกรรมของชุมนุมต่างๆ ในปีการศึกษา 2551-2554 มีดังนี้

ชุมนุมจำนวนกิจกรรมที่จัด

ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 ปี 2554

1. ชุมนุมดนตรีสากล 2 4 4 4

2. ชุมนุมนาฏศิลป์ 4 5 5 5

3. ชุมนุม C for C/ชุมนุมภาษาจีน - 3 3 3

4. ชุมนุม Sun-Dance - 2 2 2

5. ชุมนุมถ่ายภาพ - 2 2 2

6. ชุมนุมกีฬา - 3 3 3

7. ชุมนุมชุมชนสัมพันธ์ - 3 3 3

8. ชุมนุมพุทธศาสนา - 2 2 -

9. ชุมนุมลูกทุ่งไทย - 2 2 -

10 ชุมนุมศิลป์รักษ์ปักษ์ใต้ - 2 2 -

11. ชุมนุมภาษาอังกฤษ - - - 2

รวม 6 28 28 24

หมายเหตุ: ชุมนุม C for C เปลี่ยนชื่อเป็นชุมนุมภาษาจีนในปีการศึกษา 2554

Page 48: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

44Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.3 ด้านการวิจัย 9.3.1 ระบบสนับสนุนการวิจัย คณะศิลปศาสตร์ตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัย ได้กำหนด “การวิจัยที่เชื่อมโยงกับการเรียนการสอน พหวุฒันธรรม และชมุชนภาคใต”้ เปน็ทศิทางการวจิยัของคณะ และไดจ้ดัตัง้กองทนุวจิยัคณะศลิปศาสตร์ขึ้นเพื่อสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยของบุคลากรและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมและเพิ่มผลผลิตด้านการวิจัยของคณะ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์ และคณะกรรมการวิจัยคณะศิลปศาสตร์ คณะกรรมการแต่ละชุดมีหน้าที่ ดังนี้ คณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์ 1. ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์ โดยไม่ขัดกับนโยบายของคณะศิลปศาสตร์และมหาวิทยาลัย 2. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีกองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์ 3. พิจารณางบการเงินประจำปีของกองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์ 4. แต่งตั้งผู้สอบบัญชีของกองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์ 5. จัดหารายได้เข้ากองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์ 6. ควบคุมและติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์ รายงานที่ประชุมคณบดีและสภามหาวิทยาลัยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง คณะกรรมการวิจัยคณะศิลปศาสตร์ 1. กลั่นกรองข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อเสนอขอรับทุนอุดหนุน 2. หากลไกและดำเนินการเพื่อสนับสนุน/ส่งเสริมการทำวิจัยของบุคลากรคณะฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยกองทุนวิจัยของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2544 ได้กำหนดให้หน่วยงานที่มีพันธกิจด้านการเรียนการสอน ดา้นการวจิยั หรอืวจิยัวทิยานพินธร์ะดบับณัฑติศกึษา จดัตัง้กองทุนวิจัยของหน่วยงาน โดยใช้ชื่อหน่วยงานเป็นชื่อกองทุนวิจัย คณะศิลปศาสตร์จึงได้จัดตั้งกองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. ส่งเสริมการวิจัย สนับสนุนโครงการวิจัย 2. พัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย 3. สนับสนุนให้บุคลากรมีประสบการณ์การทำวิจัยต่างประเทศ 4. สนับสนุนรางวัลให้งานวิจัยที่ประสบผลสำเร็จ 5. สนับสนุนการจดทะเบียนสิทธิบัตร 6. สนับสนุนการจัดหลักสูตรร่วมระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการวิจัย 7. สนับสนุนอาจารย์ชาวต่างประเทศเป็นที่ปรึกษาวิจัยและวิทยานิพนธ์ 8. วัตถุประสงค์อื่นที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย

ในการส่งเสริมการวิจัยของบุคลากรและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์ได้จัดให้มีระบบสนับสนุนการวิจัยอย่างครบวงจร การดำเนินการวิจัยตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รายละเอียดดังนี้

3. จัดกิจกรรมเพื่อสร้างบรรยากาศการวิจัยในคณะ 4. ให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในกิจกรรมต่างๆ ด้านการวิจัย 5. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่างๆ แก่คณะฯ ด้านการวิจัย 6. งานอื่นๆ ทางด้านวิจัยตามที่ได้รับมอบหมาย

การดำเนินการวิจัย การสนับสนุนบุคลากรการสนับสนุนนักศึกษา

ระดับบัณฑิตศึกษา

ต้นน้ำ - ทุนสำหรับเขียนโครงร่างงานวิจัย - ทุนสำหรับทำวิจัย - ทุนร่วมกับมหาวิทยาลัย - จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการวิจัย

- ทุนสมทบสำหรับนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์- ทุนสมทบนักศึกษาต่างชาติระดับบัณฑิตศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์- ทุนวิจัยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาร่วมกับหน่วยงานภายนอก

Page 49: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

45Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.3.2 ผลการดำเนินงานกองทุนวิจัยคณะ

ศิลปศาสตร์

ในปีงบประมาณ 2551-2554 คณะศิลปศาสตร์

ได้ใช้งบประมาณกองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์เพื่อ

ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมด้านการวิจัยมากขึ้น งบประมาณ

ดังกล่าวครอบคลุมทั้งด้านการบริหารจัดการกองทุน

ทุนส่งเสริม/สนับสนุนด้านการวิจัยของบุคลากร

ทุนส่งเสริม/สนับสนุนด้านการวิจัยของนักศึกษาระดับ

บัณฑิตศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ผลการดำเนินงานสรุป

ได้ดังนี้

การดำเนินการวิจัย การสนับสนุนบุคลากรการสนับสนุนนักศึกษา

ระดับบัณฑิตศึกษา

กลางน้ำ - ทุนสำหรับการเดินทางไปเข้าร่วมประชุม และนำเสนอผลงาน- ทุนสำหรับค่าแปลบทความเพื่อตีพิมพ์ ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน ข้อมูล- English Clinic เพื่อเป็นที่ปรึกษาด้าน การเขียนภาษาอังกฤษตามหลักวิชาการ- Research Clinic เพื่อเป็นที่ปรึกษาด้านวิจัย

- ทุนสมทบเป็นค่าใช้จ่ายการนำเสนอ ผลงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์/ สารนิพนธ์- การจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ปลายน้ำ - รางวัลการเผยแพร่ผลงาน - รางวัลสำหรับงานวิจัยที่ดำเนินการแล้ว เสร็จตามเวลาที่กำหนด - รางวัลสำหรับบทความที่ไดร้บัการอ้างอิง

- รางวัลวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ที่ได้รับ การยกย่องดีเด่น- รางวัลสำหรับนักศึกษาที่ได้รับรางวัล การนำเสนอผลงานวิจัย - รางวัลผลงานของนักศึกษาที่ได้รับการ จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาทุนสมทบ การจัดประชุมสัมมนา/ศึกษาดูงานทาง วิชาการเพื่อพัฒนาบัณฑิตศึกษา

Page 50: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

46Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla U

niversityค

ณะศ

ิลป

ศาส

ตร์ ม

หาวิท

ยาลัยส

งขลาน

คริน

ทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

สรุปผลการดำเนินงานกองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

ที่ กิจกรรม/รายการ

ปีงบประมาณ 2551 ปีงบประมาณ 2552 ปีงบประมาณ 2553 ปีงบประมาณ 2554

งบประมาณ

ตามแผน

งบประมาณ

ที่จัดสรร

งบประมาณ

ตามแผน

งบประมาณ

ที่จัดสรร

งบประมาณ

ตามแผน

งบประมาณ

ที่จัดสรร

งบประมาณ

ตามแผน

งบประมาณ

ที่จัดสรร

1 ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุน 124,044.00 111,976.00 268,284.00 234,330.00 274,282.00 166,580.00 276,668.00 278,131.00

2 ทุนส่งเสริม/สนับสนุนด้านการวิจัย

ของบุคลากรคณะศิลปศาสตร์

3,350,000.00 803,695.50 3,755,000.00 702,947.25 2,822,500.00 842,607.00 2,994,500.00 1,841,361.50

3 ทุนส่งเสริม/สนับสนุนด้านการวิจัย

ของนักศึกษาบัณฑิตศึกษาคณะ

ศิลปศาสตร์

430,000.00 188,953.00 1,065,000.00 430,547.00 937,500.00 923,156.50 1,350,000.00 1,016,164.00

4 เงินสำรองจ่ายเกี่ยวข้องกับงาน

วิจัย

45,894.54.00 - 105,780.00 13,000.00 79,118.00 - 15,132.00 -

รวมทั้งสิ้น 3,949,938.54 1,104,624.50 5,194,064.00 1,380,824.25 4,113,400.00 1,932,343.50 4,636,300.00 3,135,656.50

Page 51: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

47Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.3.3 การพัฒนานักวิจัยและเสริมสร้างบรรยากาศการวิจัย

ในปีงบประมาณ 2551-2554 งานวิจัย คณะศิลปศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการวิจัย

และพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยให้แก่บุคลากรและนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 22 โครงการ ดังนี้

ปีงบประมาณ

ชื่อเรื่อง/หัวข้อ วัตถุประสงค์

2551 1. โครงการรังสรรค์รูปแบบบทความ ทางวิชาการให้ได้หลายบทความจาก หนึ่งงานวิจัย และการสรรค์สร้างสิ่ง ใหม่สู่งานวิจัยเชิงปริมาณ

1. เพื่อให้นักวิจัยได้องค์ความรู้เรื่องหลักการเขียน บทความจากงานวิจัยให้ได้หลายบทความ2. เพื่อให้นักวิจัยได้องค์ความรู้การสร้างงานวิจัยเชิงปริมาณ3. เพื่อให้เกิดแนวคิดในการเขียนบทความที่หลากหลาย

2552 2. โครงการแนวทางการขอทุนจาก หน่วยงานภายนอก

1. เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรขอทุนจากหน่วยงานภายนอก2. เพื่อให้บุคลากรได้รับความรู้และแนวทางในการขอทุน จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

3. โครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพ บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ “หลักการ เขียนโครงการวิจัยเบื้องต้น ครั้งที่ 1”

1. เพื่อให้บุคลากรในสายงานสนับสนุนได้รับความรู้ เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง2. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานวิจัยที่จะนำไป สู่การพัฒนางานในความรับผิดชอบ

4. โครงการฝึกอบรมเทคนิคการ ออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณเบื้องต้น

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับเทคนิคในการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ และสามารถนำมาปรับใช้ในงานวิจัยได้

5. โครงการเสวนาเพื่อสร้างความ รว่มมอืของคณาจารยค์ณะศลิปศาสตร์ ในการเตรียมพร้อมสู่การเป็นสถาบัน แห่งการวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์

1. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างคณาจารย์ภายใน คณะศิลปศาสตร์ในการดำเนินการตามนโยบาย2. เพื่อหาข้อสรุปในการดำเนินการตามนโยบาย ที่จะเป็นศูนย์กลางแห่งการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์3. เพื่อหาแนวทางและความร่วมมือในการจัดตั้งหน่วย วิจัย

6. โครงการเสวนา Qualitative Rsearch Methodology

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และมีทักษะในการวิจัย เชิงคุณภาพ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงาน ภายใต้ความรับผิดชอบของตนได้

Page 52: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

48Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ปีงบประมาณ

ชื่อเรื่อง/หัวข้อ วัตถุประสงค์

2552 7. โครงการเสวนาทิศทางการวิจัยและ แนวโน้มการวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษา สู่ชุมชนท้องถิ่น

1. เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้จุดอ่อน จุดแข็งและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อนำไปสู่การ ร่วมมือกันในการสร้างความเข้มแข็งในด้านการวิจัย การบริการสังคมชุมชนและการทำนุบำรุงศิลป- วัฒนธรรม2. เพื่อสร้างความร่วมมือในการติดต่อประสานงานวิจัย (node) ระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับชุมชนท้องถิ่น3. เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมด้วยโจทย์วิจัยกับชุมชนด้วยการ วิจัยที่ตรงกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

2553 8. จิบน้ำชาเล่างานวิจัย ครั้งที่ 1 1. เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรสายสนับสนุนนำการวิจัยมา ช่วยแก้ปัญหางานในหน้าที่2. เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการรวมกลุ่มผลิตผลงาน วิจัยสำหรับบุคลากรสายสนับสนุน

9. พัฒนาศักยภาพการทำงานวิจัยของ อาจารย์ระดับปริญญาเอกรุ่นใหม่

1. เพื่อเตรียมความพร้อมขั้นพื้นฐานให้แก่อาจารย์ ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกรุ่นใหม่ในการ ก้าวไปสู่การทำงานวิจัยในระดับที่สูงขึ้น2. เพื่อกระตุ้นให้อาจารย์ระดับปริญญาเอกรุ่นใหม่เตรียม พัฒนาโจทย์วิจัย

10. โครงการลิขสิทธิ์สำหรับผลงานทาง วิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์

1. เพื่อชี้แจงให้บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ทราบถึงประเภท ขั้นตอนและวิธีการจดลิขสิทธิ์ผลงานทางวิชาการ2. เพื่อเพิ่มจำนวนผลงานที่ได้รับการจดลิขสิทธิ์ของ บุคลากรคณะศิลปศาสตร์

11. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูล SPSS for Research

1. เพื่อให้คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สามารถใช้โปรแกรม SPSS สำหรับการวิเคราะห์ ข้อมูล และแปลผลการวิจัย2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถทำการวิจัยในชั้นเรียนโดย ใช้หลักวิชาการและใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ อย่างถูกต้อง3. เพื่อเป็นการเสริมความรู้ที่มีอยู่และเพิ่มพูนความรู้ ใหม่ให้ผู้ใช้งานโดยใช้โปรแกรม SPSS

Page 53: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

49Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ปีงบประมาณ

ชื่อเรื่อง/หัวข้อ วัตถุประสงค์

2553 12. โครงการเชิงปฏิบัติการการพัฒนางาน ประจำสู่งานวิจัยสถาบัน Routine to Research (R2R)

1. เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้รับความรู้ในการ พัฒนางานประจำสู่งานวิจัยและการพัฒนา สิ่งประดิษฐ์2. เพื่อให้บุคลากรมีทักษะในการทำวิจัยจาก งานประจำในหน้าที่ความรับผิดชอบ3. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุน สร้างผลงานวิจัยที่นำไปสู่การเลื่อนตำแหน่ง ต่อไป

13. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการสืบค้น ข้อมูล E-data และการจัดการบรรณานุกรม โดยโปรแกรมสำเร็จรูป EndNote

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจและเพิ่ม ทักษะในการทำบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม EndNote2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้และ ทักษะไปประกอบการทำงานให้มีคุณภาพ และรวดเร็วขึ้น3. เพื่อเป็นการเสริมความรู้ที่มีอยู่และเพิ่มพูน ความรู้ใหม่ให้ผู้ใช้งานโดยใช้โปรแกรม EndNote4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจและรู้เทคนิคในการ ค้นคว้าหาข้อมูลในระบบ E-Data

14. โครงการนำเสนอรายงานความก้าวหน้า 1. เพื่อให้นักวิจัยได้เสนอรายงานความก้าวหน้า2. เพื่อให้นักวิจัยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านวิจัย

15. โครงการสานความร่วมมือสู่งานวิจัย 1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทางด้านวิจัย กับสถาบันต่างประเทศ2. เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินโครงการวิจัยที่ กำลังสร้างความร่วมมือมีความคล่องตัวใน การบริหารจัดการระหว่างมีการลงพื้นที่สำรวจ ในประเทศไทย3. เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยคณะศิลปศาสตร์ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิจัยกับ นักวิจัย University of Novi Sad

Page 54: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

50Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ปีงบประมาณ

ชื่อเรื่อง/หัวข้อ วัตถุประสงค์

2554

16. โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ระยะที่ 1-2 (ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์)

17. โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ระยะที่ 3-4 (ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์)

1. เพื่อให้คณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ รับการพัฒนาทักษะในการทำวิจัยและ นำเสนอผลงานวิจัย2. เพื่อให้คณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องมี แนวทางในการเสนอผลงานวิจัยที่มีมาตรฐาน สากล ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ3. เพื่อให้คณาจารย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง สามารถนำผลงานไปขอตำแหน่งทางวิชาการ4. เพื่อให้คณาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง สามารถนำ ความรู้ความสามารถไปแนะนำให้กับผู้อื่น ต่อไปได้5. เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับภาควิชาในการ บริหารจัดการ และการเรียนการสอนเกี่ยวกับ หลักสูตรภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร 3+1 การบริการ วิชาการ การจัดสอบและมาตรฐานข้อสอบ PSU-GET และการเรียนการ สอนรายวิชาภาษา อังกฤษพื้นฐาน รายวิชาใหม่ 2 วิชา

18. โครงการเทคนิคการสร้างเครื่องมือและ รวบรวมข้อมูลเพื่องานวิจัย

1. เพื่อให้บุคลากรของคณะและนักศึกษาระดับ บณัฑติศกึษา เขา้ใจเทคนคิการสรา้งเครือ่งมอื และรวบรวมข้อมูลเพื่องานวิจัย2. เพื่อให้บุคลากรของคณะและนักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา สามารถนำความรู้ไปใช้ในการ สร้างเครื่องมือและรวบรวมข้อมูลเพื่องานวิจัย3. เพื่อให้เกิดงานวิจัยและสร้างบรรยากาศการ วิจัยภายในคณะ

19. โครงการเสวนาแลกเปลี่ยนแนวคิดเพื่อการ ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหา- วิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ

1. เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งทุนของมหาวิทยาลัย2. เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดประเด็นในการขับ เคลื่อนมหาวิทยาลัยให้ไปสู่การเป็น มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ

20. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการสืบค้นข้อมูล E-data และการจัดการบรรณานุกรมโดย โปรแกรมสำเร็จรูป End Note

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจและเพิ่มทักษะ ในการทำบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม EndNote2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้และทักษะไป ประกอบการทำงานให้มีคุณภาพและรวดเร็วขึ้น3. เพื่อเป็นการเสริมความรู้ที่มีอยู่และเพิ่มพูน ความรู้ใหม่ให้ผู้ใช้งานโดยใช้โปรแกรม EndNote4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจและรู้เทคนิคในการ ค้นคว้าหาข้อมูลในระบบ E-Data

Page 55: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

51Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ปีงบประมาณ

ชื่อเรื่อง/หัวข้อ วัตถุประสงค์

21. โครงการปรับกระบวนทัศน์การทำวิจัย : แนวทางการทำวิจัยในปัจจุบัน

1. เพื่อให้บุคลากรของคณะและนักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษามีความรู้เกี่ยวกับแนวทางการ ทำวิจัยในปัจจุบัน

22. โครงการสำรวจพื้นที่เพื่อพัฒนาเกาะบุโหลน อย่างยั่งยืน

1. เพื่อสำรวจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชน ในเกาะบุโหลน อ.ละงู จ.สตูล2. เพื่อสำรวจความต้องการของประชาชนใน เกาะบุโหลน อ.ละงู จ.สตูล

9.3.4 จำนวนนักวิจัยที่ได้รับทุน (Active Researcher)

ในปีการศึกษา 2551-2554 คณะศิลปศาสตร์มีจำนวนอาจารย์ที่ได้รับทุนวิจัยสรุปได้ดังนี้

ปีการศึกษา

2551

ปีการศึกษา

2552

ปีการศึกษา

2553

ปีการศึกษา

2554

จำนวนอาจารย์ประจำ

(ไม่รวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ)

71.00 คน 75.00 คน 72.00 คน 68.50 คน

จำนวน Active Researcher

ภาควิชาสารัตถศึกษา 38.46 % 44.44 % 55.17 % 71.43 %

ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ 33.33 % 6.25 % 11.63 % 9.88 %

คณะศิลปศาสตร์ 35.21 % 20.00 % 29.17 % 35.04 %

Page 56: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

52Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 เป็นต้นมา คณะ

ศิลปศาสตร์ได้ดำเนินงานตามนโยบายและได้ส่งเสริม

ให้บุคลากรในทุกระดับเห็นความสำคัญของการวิจัย

ส่งผลให้บุคลากรของคณะมีความก้าวหน้าด้านวิจัย

อย่างเป็นรูปธรรม เช่น ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย

จากหน่วยงานภายในและภายนอกสถาบัน ได้รับรางวัล

ด้านต่างๆ ตลอดจนได้รับการว่าจ้างให้ทำวิจัยเพื่อ

แก้ไขปัญหาเฉพาะทาง เป็นต้น ผลการดำเนินงานที่

กล่าวมาแล้วนั้น นำไปสู่ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ

2551–2554 ในด้านต่างๆ

9.3.5 โครงการวิจัยและแหล่งทุน

ในปีงบประมาณ 2551-2554 บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนได้ดำเนินการโครงการวิจัยโดยได้รับ

ทุนจากทั้งแหล่งทุนภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รายละเอียดดังนี้

แหล่งทุน

ปี 2551 ปี 2552 ปี 2553 ปี 2554

จำนวน

โครงการ

จำนวนเงิน จำนวน

โครงการ

จำนวนเงิน จำนวน

โครงการ

จำนวนเงิน จำนวน

โครงการ

จำนวนเงิน

ภายใน

เงินรายได้คณะ 5 405,000.00 1 119,960.00 9 745,080.00 6 798,320.00

เงินรายได้

มหาวิทยาลัย- - - - 2 321,480.00 2 720,180.00

งบประมาณ

แผ่นดิน1 366,900.00 3 1,017,500.00 - - - -

ภายนอก 4 6,104,002.50 - - 2 1,190,190.00 4 3,007,700.00

รวมทั้งสิ้น 10 6,875,902.50 4 1,137,460.00 13 2,256,750.00 12 4,526,200.00

โครงการวิจัยปีงบประมาณ 2551

ผู้วิจัย ชื่อโครงการวิจัย แหล่งทุน เงินทุน

ผศ.ดร.เก็ตถวา บุญปราการและคณะ

กลยุทธ์การต่อสู้ต่อรองในภาวะความขาดแคลนของชาวประมงพื้นบ้านทะเลสาบสงขลา

งบประมาณแผ่นดิน 366,900

ผศ.วันทนา ไกรฤกษ์และคณะ

การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา พ.ศ. 2547 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

85,000

น.ส.เขมณัฏฐ์ มาศวิวัฒน์ ความคิดเห็นของบุคลากรในการบริหารจัดการของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

70,000

ดร.พนิดา สุขศรีเมืองและคณะ

ความสามารถในการเรียนรายวิชา 890-101ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 และรายวิชา 890-102ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ผ่านการเรียนรายวิชา 890-100 ภาษาอังกฤษเตรียมความพร้อมในปีการศึกษา 2546-2548

กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

100,000

Page 57: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

53Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ผู้วิจัย ชื่อโครงการวิจัย แหล่งทุน เงินทุน

ผศ.สุเมธ พรหมอินทร์และคณะ

ยุทธวิธีการวางทีมและการทำคะแนนในการแข่งขันเซปักตะกร้อในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 35

กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

120,000

ผศ.สุเมธ พรหมอินทร์ สมรรถภาพทางกายของนักศึกษาหลักสูตรศิลป-ศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชุมชนศึกษา คณะศิลป-ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ภาควิชาสารัตถศึกษา 30,000

ผศ.ดร.ปรัชมน อักษรจรุง และคณะ

บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านการท่องเที่ยว: กรณีของเกาะลิบง อ.กันตัง และบ้านนาหมื่นศรี อ.นาโยงจ.ตรัง

สถาบันเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวไทย

532,743

รศ.ดร.วันชัย ธรรมสัจการ โครงการประเมินผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบของโครงการวิจัยท้องถิ่นที่ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

2,367,800

ผศ.ดร.ชลลดา เลาหวิริยานนท์และคณะ

การพัฒนาความสามารถในการสอนของครูภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

1,015,340

รศ.อรุณี วิริยะจิตร และคณะ (ผู้ร่วมวิจัย :รศ.ดร.อดิศา แซ่เตียว)

การประเมินผลการใช้หลักสูตรและกระบวนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ

2,188,119.50

โครงการวิจัยปีงบประมาณ 2552

ผู้วิจัย ชื่อโครงการวิจัย แหล่งทุน เงินทุน

รศ.ดร.วันชัย ธรรมสัจการและคณะ

กระบวนการปรับเปลี่ยนองค์กรการเงินชุมชนสู่ธนาคารหมู่บ้าน: บทเรียนในอดีตและปัจจุบันเพื่ออนาคต

งบประมาณแผ่นดิน 348,500

ผศ.ดร.เก็ตถวา บุญปราการและคณะ

การก่อตั้งธนาคารปลากับการเสริมอำนาจขององค์กรชุมชนชาวประมงเพื่อพัฒนากลุ่มการเลี้ยงปลาในกระชังในทะเลสาบสงขลา

งบประมาณแผ่นดิน 360,000

รศ.จุรีรัตน์ บัวแก้ว และ ผศ.จิราพร จันจุฬา

วิถีพลังแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านกระบวนการเรียนรู้นอกระบบของชุมชนเชื้อสายจีนในจังหวัดสงขลา

งบประมาณแผ่นดิน 309,000

อ.ธีรวัฒน์ สุริยปราการ และ ผศ.สุเมธ พรหมอินทร์

ความสัมพันธ์ระหว่างผลการแข่งขันกับรูปแบบการเล่นเซปักตะกร้อ ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 38

กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

119,960

Page 58: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

54Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

โครงการวิจัยปีงบประมาณ 2553

ผู้วิจัย ชื่อโครงการวิจัย แหล่งทุน เงินทุน

นางวชิราพร แซ่ลิ่ม การใช้ทรัพยากรห้องสมุดเพื่องานวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

50,000

นายนพพร จันทร์แป้น การพัฒนาเครื่องฉายภาพทึบแสง 3 มิติ กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

50,000

ผศ.ดร.เกษตรชัยและหีม

การพัฒนาแบบคัดกรองและโปรแกรมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรังแกของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา

กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

150,000

ผศ.นพดล นิ่มสุวรรณและผศ.สุเมธ พรหมอินทร์

ความสัมพันธ์ระหว่างรูปกาย ขนาด และองค์ประกอบของร่างกายกับผลสัมฤทธิ์การแข่งขันของนักกีฬาซอฟท์บอลในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 39

กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

150,000

ผศ.สุเมธ พรหมอินทร์และนายมัณฑรา ยันตศิริ

พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและสมรรถภาพทางกายของคนเครือข่ายสุขภาพชุมชนตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

145,080

ผศ.ดร.ศรีสุพร ช่วงสกุล ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชุมชนควนรู ภาควิชาสารัตถศึกษา 50,000

ผศ.สุเมธ พรหมอินทร์ ผลกระทบจากรูปแบบการเล่นที่มีต่อผลการแข่งขันเซปักตะกร้อในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 38

ภาควิชาสารัตถศึกษา 50,000

นายมัณฑรา ยันตศิริ พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ปี 2552

ภาควิชาสารัตถศึกษา 50,000

ผศ.คมสันต์ วงศ์วรรณ์ วงเครื่องสายประสม : กรณีศึกษา คณะพัทธรรมบรรเลง อำเภอปากพยูน จังหวัดพัทลุง

ภาควิชาสารัตถศึกษา 50,000

รศ.ปัญญา เทพสิงห์ และผศ.ดร.เก็ตถวา บุญปราการ

ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นชายแดนไทย-มาเลย์: กรณีศึกษาชุมชนโล๊ะจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

เงินรายได้มหาวิทยาลัย

160,740

ผศ.จิราพร จันจุฬา ระบบการบริหารจัดการที่นำไปสู่ความสำเร็จของท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย

214,190

ผศ.ดร.เกษตรชัย และหีมและนายจารุวัจน์ สองเมือง(มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา)

ระบบและกลไกประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ระยะที่ 2

สำนักงานโครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาการศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้

976,000

Page 59: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

55Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

โครงการวิจัยประจำปีงบประมาณ 2554

ชื่อ-สกุล ชื่อโครงการ/ชื่อบทความ/ชื่อผลงาน แหล่งทุน เงินทุน

ผศ.จิราพร จันจุฬา การศึกษาข้อผิดพลาดในงานเขียนภาษาเกาหลีแบบพรรณนาของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์ และแนวทางการพัฒนา

กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

100,000

ดร.ชนกพร อังศุวิริยะ การศึกษาชื่ออาหารในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตามแนวทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์

กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

100,000

ดร.เรวดี อึ้งโพธิ์ การสืบทอดดนตรีชาวเล: กลุ่มอูรักลาโว้ย กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

100,000

ดร.อุทิศ สังขรัตน์ ประเพณีทำบุญสองศาสนา: ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในชุมชนตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง

ภาควิชาสารัตถศึกษา 50,000

ดร.กานดา จันทร์แย้มและคณะ

Differences between Thai and Serbian Student Population in Ethical Orientation and Affective Experiences as Predictiors of Their Ethical Orientations

งบประมาณเงินรายได้มหาวทิยาลยัและกองทนุวิจัยคณะศิลปศาสตร์

300,000

รศ.ศิริรัตน์ ธานีรณานนท์ และคณะ

ความยากจนดักดานในภาคใต้: การทบทวนสถานการณ์ในหนึ่งทศวรรษ

งบประมาณเงินรายได้มหาวทิยาลยัและกองทนุวิจัยคณะศิลปศาสตร์

520,250

อ.เจษฎา นิลสงวนเดชะ การศึกษาภาพและคำมงคลจากภาพพิมพ์และแกะสลักไม้อวยพรตรุษจีน: กรณีศึกษาหมู่บ้านหยางหลิ่วซิง มหานครเทียนจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน

เงินรายได้มหาวิทยาลัย 199,930

ผศ.ดร.ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนครและ ดร.อุทิศ สังขรัตน์

แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา

กองทุนวิจัยคณะศิลปศาสตร์

148,320

ผศ.ดร.เกษตรชัย และหีมและคณะ

บทบาทผู้นำมุสลิมในการดูแลเยาวชนตามวิถีแห่งศาสนาอิสลามเพื่อเสริมสร้างสันติสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

งบเงินอุดหนุนเฉพาะกิจโครงการวจิยัเชงิบรูณาการสำหรับมหาวิทยาลัย 9 แห่งปีงบประมาณ พ.ศ.2554

1,396,700

ผศ.ดร.เกษตรชัย และหีมและคณะ

พฤติกรรมการรังแกผู้อื่นของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

704,000

ผศ.ดร.ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนครและคณะ

สถานะและการปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

407,000

Page 60: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

56Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

โครงการศึกษาวิจัย (ทำสัญญาจ้างที่ปรึกษา)

ปีงบประมาณ

ชื่อโครงการ หัวหน้าผู้วิจัย/ผู้ร่วมโครงการจำนวน

เงิน

2551 โครงการศึกษาสำรวจข้อมูลด้านการขนส่งและจราจรเพื่อจัดทำแผนแม่บทในเมืองภูมิภาค จังหวัดพัทลุง (สัญญาเลขที่ 27/2551)

ศ.ดร.พิชัย ธานีรณานนท์ (คณะวิศวกรรมศาสตร์) และคณะ (ผู้ร่วมวิจัย: รศ.ศิริรัตน์ ธานีรณานนท์)

2,833,000

โครงการศึกษาประยุกต์ใช้ตัวแบบหน่วยสืบสวนอุบัติเหตุจากการขนส่งและจราจรเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ (พื้นที่ศึกษา: ภาคใต้)(สัญญาเลขที่ 26/2551)

2,462,000

2552 โครงการศึกษาสำรวจข้อมูลด้านการขนส่งและจราจรเพื่อจัดทำแผนแม่บทในเมืองภูมิภาค จังหวัดสงขลา (สัญญาเลขที่18/2552)

ศ.ดร.พิชัย ธานีรณานนท์ (คณะวิศวกรรมศาสตร์) และคณะ (ผู้ร่วมวิจัย: รศ.ศิริรัตน์ ธานีรณานนท์)

2,398,000

โครงการสำรวจ/ออกแบบจุดกระจายและศูนย์บริการการขนส่ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สัญญาเลขที่ 01/2552)

1,986,900

โครงการศึกษาการกำหนดอายุการใช้งานรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก (สัญญาเลขที่ คค 0404/2049/2552)

4,489,000

2553 โครงการศึกษาวิจัยเรื่องการสืบสวนเชิงลึกสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจากการขนส่งและจราจร : พื้นที่การศึกษาภาคใต้(สัญญาเลขที่- ลว 23 กย.53)

ผศ.เลียง คูบุรัตถ์ (คณะวิศวกรรมศาสตร์) และคณะ (ผู้ร่วมวิจัย: รศ.ศิริรัตน์ ธานีรณานนท์)

2,000,000

2554 การจัดทำแผนธุรกิจโครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้-ทุ่งสง (สัญญาเลขที่ 111/2553)

ศ.ดร.พิชัย ธานีรณานนท์ (คณะวิศวกรรมศาสตร์) และคณะ (ผู้ร่วมวิจัย: รศ.ศิริรัตน์ ธานีรณานนท์)

450,000

โครงการศึกษาสรุปบทเรียนของชุมชนนักปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (สัญญาเลขที่ 53/2554)

ดร.วีระกุล ชายผา (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) และคณะ (ผู้ร่วมวิจัย: ผศ.ดร.ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร)

500,000

Page 61: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

57Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.3.6 การจัดตั้งสถานวิจัย คณะศิลปศาสตร์ร่วมกับมหาวิทยาลัยจัดตั้งเครือข่ายวิจัยเพื่อส่งเสริมการวิจัยอย่างมีทิศทางที่ชัดเจนและรองรับบัณฑิตศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างองค์ความรู้ การนำผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ไขปัญหา พัฒนาชุมชนหรือสังคม และการตอบสนองวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยจำนวน 2 สถานวิจัย ดังนี้ 1. สถานวิจัยเพื่อศึกษาการพัฒนาเอเชียแปซิฟิก(Research Center for Asia Pacific DevelopmentStudies) ได้รับอนุมัติจัดตั้งโดยมติเห็นชอบของที่ประชุมคณบดี ในคราวประชุม ครั้งที่ 4/2554 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม2554 สถานวิจัยดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2554 ถึงวันที่ 29 พฤษภาคม 2559โดยมีคณะกรรมการดำเนินงาน ดังนี้

ผศ.ดร.ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร ผู้อำนวยการ ผศ.ดร.เกษตรชัย และหีม รองผู้อำนวยการ รศ.ดร.วันชัย ธรรมสัจการ กรรมการและผู้ประสานงาน รศ.ดร.ปัญญา เทพสิงห์ กรรมการและผู้ประสานงาน ดร.อุทิศ สังขรัตน์ กรรมการและเลขานุการ

ทศิทางการวจิยัในชว่ง 5 ป ีของสถานวจิยัเพือ่ศกึษาการพัฒนาเอเชียแปซิฟิก มีดังนี้ - การศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนามนุษย์ เช่นแรงงาน การศึกษา และพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การวิจัยเพื่อพัฒนามนุษย์ และการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ - การศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนา เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศภูมิภาค และเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย - การศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและชุมชนศึกษาในด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและสังคมแบบยั่งยืน - ศึกษาวิจัยเชิงพฤติกรรมศาสตร์ เช่น ปัญหาสังคม วัยรุ่น รวมไปถึงสังคมวิทยาทางการแพทย์ เพื่อนำ

ไปสู่การแก้ปัญหาทางสังคมอย่างถูกต้อง และนำไปสู่การพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทย - ศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เช่น ปัญหาการท่องเที่ยว ทั้งในส่วนผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยว และศึกษานโยบายและแนวทางการปฏิบัติของรัฐเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว 2. สถานวิจัยการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศพื้นที่ภาคใต้แบบบูรณาการ ได้รับอนุมัติจัดตั้งโดยมติเห็นชอบของที่ประชุมคณบดี ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2555เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2555 โดยสถานวิจัยดังกล่าวมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555ถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 โดยมี ดร.อุทิศ สังขรัตน์สังกัดภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ร่วมอยู่ในคณะกรรมการดำเนินงาน ในฐานะกรรมการและผู้ประสานงาน

ทิศทางการวิจัยในช่วง 5 ปี ของสถานวิจัยการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศพื้นที่ภาคใต้แบบบูรณาการ มีดังนี้ - การวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชน โดยกระบวนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ภายใต้มิติด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านการท่องเที่ยว การจัดการ การใช้ทรัพยากรที่ดิน การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำ การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ - การวิจัยเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศ ภูมิภาคอาเซียน และเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย - การวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและชุมชนในด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วิถีความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา - การวิจัยเชิงพฤติกรรมการใช้ประโยชน์และการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - การวิจัยเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ท้องถิ่นสู่การจัดการอย่างเป็นระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการผนวกมิติด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การท่องเที่ยว และมิติด้านชุมชนสังคมคือพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรในเชิงการอนุรักษ์เพื่อให้เกิดเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างชัดเจน

Page 62: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

58Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

- การวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบด้านการบริหารจัดการ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนภาคใต้ได้อย่างยั่งยืน

นอกจากการสนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายวิจัยโดยมหาวิทยาลัยแล้ว คณะศิลปศาสตร์เล็งเห็นว่าแนวทางการดำเนินงานดังกล่าวเป็นกลไกที่สามารถรวมกลุ่มนักวิจัย ทำให้เกิดการผลิตงานวิจัยเฉพาะทางสามารถเชื่อมโยงให้คณะมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้กำหนดทุนพัฒนากลุ่มวิจัยขึ้นเพื่อผลักดันให้เกิดความเข้มแข็งทางวิชาการร่วมกันตลอดจนพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นเครือข่ายวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงให้เกิดการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและบูรณาการการวิจัยกับบัณฑิตศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม

9.3.7 การจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์กำหนดจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสำหรับการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการให้แก่อาจารย์นักวิชาการ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และบุคคลทั่วไปอีกทั้งเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กับนักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยในการจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติดังกล่าว คณะมีความร่วมมือกับสมาคมนักเขียนแห่งชาติ ประเทศมาเลเซีย (National WritersAssociation Malaysia) และในรอบปีงบประมาณ2552-2554 คณะศิลปศาสตร์ได้จัดการประชุมเป็นประจำทุกปี ผลการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้

โครงการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

วัน เดือน ปีที่จัดจำนวนบทความ จำนวนผู้เข้าร่วม

ในประเทศ ต่างประเทศ ในประเทศ ต่างประเทศ

ครั้งที่ 1 16 พฤษภาคม 2552 20 3 131 3

ครั้งที่ 2 10 เมษายน 2553 70 7 151 39

ครั้งที่ 3 2 เมษายน 2554 34 8 106 9

ครั้งที่ 4 21 เมษายน 2555 47 9 228 17

Page 63: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

59Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.3.8 วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ คณะศิลปศาสตร์ ได้จัดทำวารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในการดำเนินงาน คณะศิลปศาสตร์ ได้แต่ งตั้ งกองบรรณาธิการเพื่อควบคุมดูแลกระบวนการดำเนินงานและคุณภาพทางวิชาการของวารสาร โดยมีภาระหน้าที่ดังนี้ 1. ประชาสัมพันธ์การส่งบทความวิจัยและผลงานทางวิชาการ 2. คัดเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร 3. คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเพื่ออ่านบทความวิจัยและผลงานทางวิชาการ 4. ตรวจสอบความถูกต้องของอักษรก่อนจัดทำรูปเล่ม

5. ควบคุมและดูแลให้วารสารออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง 6. งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย วารสารศิลปศาสตร์ จัดทำขึ้นฉบับแรก (ฉบับปฐมฤกษ์) ในปี พ.ศ. 2552 และมีกำหนดออกปีละ 2ฉบับคือ ประจำเดือนมกราคม–มิถุนายน และประจำเดือนกรกฎาคม–ธันวาคม จวบจนปีงบประมาณ 2554คณะศิลปศาสตร์ได้จัดทำวารสารศิลปศาสตร์แล้วเป็นจำนวน 5 ฉบับ คณะศิลปศาสตร์มีนโยบายจัดทำวารสารศิลปศาสตร์ให้มีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานวารสารวิชาการกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และผลักดันให้วารสารศิลปศาสตร์เขา้สูฐ่านขอ้มลูระดบัชาต ิ(TCI) จากผลการประเมนิคณุภาพวารสารของศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย (Thai-JournalCitation Index Centre) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555วารสารศิลปศาสตร์ ได้รับการจัดให้อยู่ในวารสารกลุ่มที่ 2 คือ วารสารที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพและอยู่ในฐานข้อมูล TCI กองบรรณาธิการได้ดำเนินการประชุมหารือและนำผลการประเมินมาร่วมวางแผนเพื่อพัฒนาและยกระดับให้วารสารศิลปศาสตร์ก้าวสู่กลุ่มที่1 ต่อไป

9.3.9 การเผยแพร่ผลงานวิจัยของบุคลากรคณะศิลปศาสตร์ ในปีการศึกษา 2551-2554 บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารและProceedings ระดับชาติและระดับนานาชาติ รวมทั้งสิ้น 51 บทความ เฉลี่ยปีการศึกษาละ 12.75 บทความ

ปีการศึกษาวารสาร Proceedings

ระดับชาติ ระดับนานาชาติ ระดับชาติ ระดับนานาชาติ

2551 2 - - 2

2552 4 3 - 7

2553 6 6 - 3

2554 6 7 1 4

รวม 18 16 1 16

Page 64: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

60Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.3.10 การเผยแพร่ผลงานวิจัยของบุคลากรร่วมกับนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ในปีการศึกษา 2551-2554 บุคลากรสายวิชาการคณะศิลปศาสตร์ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยร่วมกับนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ในวารสารและ Proceedings ระดับชาติและระดับนานาชาติ รวมทั้งสิ้น 119 บทความเฉลี่ยปีการศึกษาละ 29.75 บทความ

ปีการศึกษาวารสาร Proceedings

ระดับชาติ ระดับนานาชาติ ระดับชาติ ระดับนานาชาติ

2551 - - 6 7

2552 - - 24 17

2553 3 1 12 19

2554 1 - 15 14

รวม 4 1 57 57

9.3.11 บทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ในปีการศึกษา 2551-2554 บทความวิจัยของบุคลากรสายวิชาการคณะศิลปศาสตร์ได้รับการอ้างอิงในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ จำนวน 2 บทความ รวม 5 ครั้ง รายละเอียดดังนี้ 1. บทความเรื่อง A Deep Look into LearningStrategy Use by Successful and UnsuccessfulStudents in the Chinese EFL Learning Contextตีพิมพ์ในวารสาร RELC Journal, 39 (3), 2008, pp.338-358 ผู้เขียน Ni Qingquan, Monta Chatupote &Adisa Teo ได้รับการอ้างอิงในฐานข้อมูล Scopusจำนวน 2 ครั้ง 2. บทความเรื่อง Impact of the Konstanz Method of Dilemma Discussion on Moral Judgmentin Allied Health Students: A Randomized Controlled Study ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Allied Health, 35, (2), June 2006, pp. 101-108 ผู้เขียน SanguanLerkiatbundit, Parichat Utaipan, ChonladaLaohawiriyanon & Adisa Teo ได้รับการอ้างอิงในฐานข้อมูล Scopus จำนวน 3 ครั้ง

9.3.12 งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ ในปีการศึกษา 2551–2554 บุคลากรสายวชิาการ คณะศลิปศาสตร ์มกีารนำผลงานวจิยัไปใชป้ระโยชน์เชิงสาธารณะ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้

1. การใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะของโครงการ

ศึกษาวิจัยโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนภาคใต้ โดยหน่วยงาน

ที่นำไปใช้ประโยชน์คือ ชุมชนบ้านคลองเรือ จ.ชุมพร

เจ้าของผลงาน ได้แก่ ผศ.พยอม รัตนมณี (คณะวิศว-

กรรมศาสตร์) และคณะทำงานซึ่งประกอบด้วย น.ส.

คนึงนิตย์ ลิ่มจิรขจร นายอดุลย์ เบ็ญนุ้ย นายเจษฎาพงศ์

แสงอัมพร และรศ.ดร.วันชัย ธรรมสัจการ (คณะศิลป-

ศาสตร์)

2. การใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ (ด้านพัฒนา

คุณภาพการศึกษา) ของโครงการขยายเครือข่ายการ

จัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านภาษา

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตพื้นที่การศึกษาภาคใต้

ปีการศึกษา 2547 โดยมีหน่วยงานที่นำไปใช้ประโยชน์

คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้ ต.นาพรุ อ.พรหมคีรี

จ.นครศรีธรรมราช เจ้าของผลงานได้แก่ รศ.ดร.อดิศา

แซ่เตียว รศ.ดร.ธัญภา ชิระมณี และ รศ.ดร.นิสากร

จารุมณี

Page 65: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

61Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

3. การใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ (ด้านพัฒนา

ศักยภาพการทำงานของครู) โครงการวิจัยเรื่องการ

พัฒนาความสามารถในการสอนของครูภาษาอังกฤษ

ระดับประถมศึกษา โดยหน่วยงานที่นำไปใช้ประโยชน์

คือ โรงเรียนบ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง)

เจ้าของผลงาน ได้แก่ ผศ.ดร.ชลลดา เลาหวิริยานนท์

อ.อัญชนา รักทอง และอ.สมฤดี คงพุฒ

9.3.13 การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา บุคลากรสายวิชาการคณะศิลปศาสตร์ จำนวน2 ราย และนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ จำนวน 2 รายได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/ลิขสิทธิ์) รวมทั้งสิ้น 8 รายการ รายละเอียดดังนี้ บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ จำนวน 2 ราย ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/ลิขสิทธิ์) จำนวน 3 รายการ ดังนี้ 1. นางณญาดา อินทสโร ลิขสิทธิ์เลขที่ 245182 ประเภทผลงาน วรรณกรรม ลักษณะงาน สิ่งเขียน บทความวิจัยเรื่อง ระดับความพึงพอใจของ นักศึกษาต่อการเรียนการสอนรายวิชาเลือก ภาษาอังกฤษ ของภาควิชาภาษาและภาษา ศาสตร์ 2. รศ.จุรีรัตน์ บัวแก้ว ลิขสิทธิ์เลขที่ 236246 ประเภทผลงาน วรรณกรรม ลักษณะงาน หนังสือ เรื่อง ผ้าลีมา (ผ้าจวนตานี) ของจังหวัด ชายแดนภาคใต้ 3. รศ.จุรีรัตน์ บัวแก้ว ลิขสิทธิ์เลขที่ 236245 ประเภทผลงาน วรรณกรรม ลักษณะงาน หนังสือ เรื่อง วัง 7 หัวเมือง (ปัตตานี)

นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร ประธานชมรมนาฏศิลป์และดนตรีไทย ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/ลิขสิทธิ์) จำนวน 2 รายการ ดังนี้ 1. นายภัทร์ธีรลักษณ์ เจ๊ะหลี ลิขสิทธิ์เลขที่ 223095 ประเภทผลงาน นาฏกรรม ลักษณะงาน ท่ารำ ชื่อผลงาน ระบำศรีสงขลานครินทร์ 2. นายภัทร์ธีรลักษณ์ เจ๊ะหลี ลิขสิทธิ์เลขที่ 223096 ประเภทผลงาน ดนตรีกรรม ลักษณะงาน ทำนองและคำร้อง ชื่อผลงาน เพลงระบำศรีสงขลานครินทร์ ในการพัฒนาผลงานดังกล่าวข้างต้น นักศึกษามีอาจารย์ภาควิชาสารัตถศึกษาเป็นที่ปรึกษาโครงการ2 ท่าน คือ อ.บุษกร โกมนตรี ให้คำปรึกษาด้านเนื้อร้องและ อ.สุณิสา ศิริรักษ์ ให้คำปรึกษาด้านทำนองและดนตรี โดยคณะศิลปศาสตร์ให้การสนับสนุนงบประมาณค่าเครื่องแต่งกาย ผลงานจากวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคพิเศษ) ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/ลิขสิทธิ์) จำนวน 3 รายการ ดังนี้ 1. นายสุพัฒน์ นาคเสน และน.ส.อริสรา ชูชื่อ ลิขสิทธิ์เลขที่ 187064 ประเภทผลงาน นาฏกรรม ลักษณะงาน ท่ารำ ชื่อผลงาน: โปรแกรมการออกกำลังกายด้วย กระบวนท่ารำมโนราห์เพื่อเพิ่มสมรรถภาพ ทางกายด้านสุขภาพ 2. งานโสตทัศนวัสดุ ลิขสิทธิ์เลขที่ 187063 ชื่อผลงาน: ซีดีรำมโนห์ราเพื่อเพิ่มสมรรถภาพ ทางกายด้านสุขภาพ 3. งานดนตรีกรรม ลิขสิทธิ์เลขที่ 187065 ลักษณะงาน : ทำนอง ชื่อผลงาน: เพลงดนตรีรำมโนห์ราเพื่อการ ออกกำลังกาย ทำนองเพลงโค

Page 66: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

62Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.3.14 การผลิตตำราและสื่อการสอน ในปีการศึกษา 2551-2554 บุคลากรสายวิชาการคณะศิลปศาสตร์ได้รับทุนเพื่อจัดทำผลงานทางวิชาการ

ประเภทผลงาน ชื่อผลงาน ผู้จัดทำ

ตำรา 895-149 การแข่งขันตะกร้อ ผศ.สุเมธ พรหมอินทร์

การใช้ห้องสมุดและการเขียนรายงาน ผศ.นงค์นุช ตังควัฒนกุล

896-231 หลักการใช้ภาษาไทย ผศ.ดร.วีรวัฒน์ อินทรพร

895-222 มนุษย์กับวรรณกรรม ผศ.ดร.วีรวัฒน์ อินทรพร

หนังสือ หลักการใช้ภาษาไทย 1 ผศ.ดร.วีรวัฒน์ อินทรพร

การจัดการแข่งขันและการตัดสินกีฬา

เซปักตะกร้อ

ผศ.สุเมธ พรหมอินทร์

ดนตรีตะวันตก ผศ.คมสันต์ วงศ์วรรณ์

CAI 890-251 ภาษาท่าทางในการสื่อสาร อ.วิรงรอง เทพสุริยวงศ์

890-251 ภาษาอังกฤษฝึกจิตคิดวิเคราะห์ อ.วิรงรอง เทพสุริยวงศ์

890-361 Job Interviews for PSU

Students in Different Job Areas

ผศ.ดร.วราภรณ์ ศรีเพ็ชรพันธุ์

LMS 890-271 ทักษะการเรียนภาษาอังกฤษผ่าน

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ผศ.ดร.วราภรณ์ ศรีเพ็ชรพันธุ์

890-102 การอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ

พื้นฐาน

ดร.พนิดา สุขศรีเมือง และคณะ

892-334 ภาษาอังกฤษข้ามวัฒนธรรม ผศ.ไซนี แวมูซอ

890-100 ภาษาอังกฤษเตรียมความพร้อม ดร.จอมใจ สุทธินนท์ และคณะ

892-372 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจ 2 ผศ.ดร.วราภรณ์ ศรีเพ็ชรพันธุ์

9.3.15 ผลงานเด่น ในปีการศึกษา 2551-2554 บุคลากรสายวิชาการคณะศิลปศาสตร์ได้สร้างผลงานเด่นที่ได้รับรางวัล จำนวน2 ท่าน ดังนี้ 1. ดร.กานดา จันทร์แย้ม สังกัดภาควิชาสารัตถศึกษา ได้รับรางวัล Best Practice Participantจากผลงานเรื่อง The Relationship between WorkingConditions and Mental Health of Employees inFactory จากการประชุมวิชาการ The Eighth InternationalConference on Occupational Stress & Healthณ ประเทศสเปน

2. รศ.ดร.วันชัย ธรรมสัจการ ได้รับรางวัลผลงานที่มีประโยชน์ต่อชุมชน เรื่อง โครงการศึกษาวิจัยโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนภาคใต้ ได้รับรางวัลประเภททั่วไป จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วันที่ 26 ตุลาคม 2553 3. ผศ.ดร.ชลลดา เลาหวิริยานนท์ ร่วมกับอ.อัสมา ทรรศนะมีลาภ (คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ) ได้รับรางวัลระดับดีเด่นในโครงการประกวดผลงานวิชาการดีเยี่ยม ผลงานวิชาการดี และผลงานวิชาการชมเชยด้านพัฒนบริหารศาสตร์ ประจำปี 2554

เพื่อการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยทุนเขียนตำราและหนังสือ จำนวน 7 ทุน ทุนผลิตสื่อ CAI จำนวน 3 ทุนและทุนผลิตสื่อ LMS จำนวน 5 ทุน รายละเอียดดังนี้

Page 67: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

63Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

จากผลงานเรื่อง ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยวิธีข้อมูลขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดทางด้านไวยากรณ์ด้วยตนเองของนักเรียนที่มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษในระดับต่ำ

9.4 ด้านการบริการวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ โดยงานบริการวิชาการ และความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ภายในคณะ ได้แก่ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ ภาควิชาสารัตถศึกษางานวิเทศสัมพันธ์ และสถาบันขงจื๊อแห่งมหาวิทยาลัย-สงขลานครินทร์ ได้ดำเนินการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนนักเรียน นักศึกษา บุคลากรของรัฐ และบุคคลที่สนใจทั่วไป โดยรูปแบบการบริการวิชาการจำแนกเป็น 3ประเภท คือ การฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนา การจัดทดสอบและการแปลเอกสาร รายละเอียดดังนี้ 1. บริการฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนา คณะศิลปศาสตร์มีการให้บริการวิชาการตามความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่คณะศิลปศาสตร์เปิดสอนโดยมีรายละเอียดการให้บริการดังนี้ 1.1 การให้บริการวิชาการในรูปแบบให้เปล่าเป็นการให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไป คณาจารย์ นักศึกษาโดยผู้เข้าอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เช่นโครงการอบรมภาษาจีน ภาษามลายู และภาษาอังกฤษสำหรับผู้ให้บริการในเขตอำเภอหาดใหญ่ เป็นต้น 1.2 การให้บริการวิชาการโดยเรียกเก็บค่าลงทะเบียน เป็นการให้บริการที่ผู้รับบริการต้องจ่ายค่าลงทะเบียน ตามระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2. บริการจัดทดสอบ คณะศิลปศาสตร์ให้บริการจัดทดสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และผู้สนใจทั่วไปได้แก่ การจัดทดสอบ PSU-GET (Prince of SongklaUniversity Graduate English Test) ปีละ 4 ครั้ง ซึ่งมีผูเ้ขา้รบับรกิารไมต่ำ่กวา่ปลีะ 4,000 คน โดยจะจดัสอบทกุเดือนมกราคม มีนาคม พฤษภาคม และตุลาคม 3. บริการแปลเอกสาร คณะศิลปศาสตร์ ให้บริการแปลเอกสารภาษาต่างๆ ดังนี้ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษามลายูภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเขมร

ว่าด้วยการบริการวิชาการปี พ.ศ. 2551 ได้แก่ โครงการศิลปศาสตร์สัญจร โครงการว่ายน้ำภาคฤดูร้อน โครงการอบรมสถิติขั้นพื้นฐาน โครงการ Study Abroad เป็นต้น 1.3 การให้บริการวิชาการลักษณะการว่าจ้าง เป็นการให้บริการที่หน่วยงานภายนอกขอให้คณะเป็นผู้จัดโครงการให้และหน่วยงานที่ร้องขอรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามระเบียบมหาวิทยาลัย-สงขลานครินทร์ว่าด้วยการบริการวิชาการปี พ.ศ. 2551โครงการเหล่านี้ได้แก่โครงการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมสอบ TOEIC ให้แก่เจ้าหน้าที่ของธนาคารแหง่ประเทศไทย สำนกังานภาคใต ้และพนกังานบรษิทัโครงการอบรมภาษาญี่ปุ่นสำหรับบุคลากรบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โครงการอบรมภาษาอังกฤษหรือภาษาจีนสำหรับผู้ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ ณ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ เป็นต้น

ในรอบปีการศึกษา 2551-2554 คณะศิลปศาสตร์มีผลการดำเนินงานด้านบริการวิชาการทุกประเภทสรุปได้ดังนี้

ประเภทบริการวิชาการ

2551 2552 2553 2554

โครงการ กิจกรรม โครงการ กิจกรรม โครงการ กิจกรรม โครงการ กิจกรรม

บริการฝึกอบรม/ประชุม/สัมมนา- โครงการให้เปล่า

6 6 5 5 14 14 11 11

- โครงการเก็บเงินค่าลงทะเบียน 33 35 33 45 31 48 33 49

- โครงการว่าจ้าง 7 11 5 5 6 6 6 6

Page 68: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

64Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ในส่วนการดำเนินงานแปลเอกสารภาษาต่างๆ เช่น แปลภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ หรือแปลภาษาต่างประเทศต่างๆ เป็นภาษาไทยนั้น มีผู้มาใช้บริการด้านแปลเอกสารของคณะศิลปศาสตร์เพิ่มขึ้นทุกปีดังจะเห็นได้จากตารางและกราฟแสดงจำนวนชิ้นงานแปลตั้งแต่ปีการศึกษา 2551–2554 ดังนี้

ปีการศึกษา จำนวนงานแปล(ชิ้นงาน)

2551 123

2552 134

2553 273

2554 292

ค่าเฉลี่ย 4 ปี 206

กราฟแสดงการให้บริการแปลเอกสารตั้งแต่ปีการศึกษา 2551–2554 (จำนวนชิ้นงาน)

หมายเหตุ: กิจกรรม หมายถึง จำนวนกลุ่มผู้เรียนหรือผู้รับบริการต่อครั้งของการจัดโครงการ

ประเภทบริการวิชาการ

2551 2552 2553 2554

โครงการ กิจกรรม โครงการ กิจกรรม โครงการ กิจกรรม โครงการ กิจกรรม

บริการจัดทดสอบ - จัดทดสอบ PSU-GET,EPT CU-TEP

5 5 4 4 5 5 4 4

บริการงานแปลเอกสาร 1 123 1 134 1 273 1 292

รวม 52 180 48 193 57 346 55 362

050

1002553

2553

2553

2553

150200

123 134

273 292

250300350

Page 69: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

65Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ในการจัดโครงการบริการวิชาการให้แก่สังคมในเขตภาคใต้นั้น คณะศิลปศาสตร์ได้ดำเนินการประเมินผลความพึงพอใจต่อโครงการ โดยในรอบปีการศึกษา 2551–2554 ผลการประเมินโดยเฉลี่ยในภาพรวมสรุป

ปีการศึกษา ระดับความพึงพอใจ (ร้อยละ)

2551 86.79

2552 84.86

2553 90.16

2554 90.32

เฉลี่ย 88.03

คณะศิลปศาสตร์ได้ให้บริการวิชาการแก่สังคมและชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ มีส่วนช่วยเหลือสังคมและชุมชนในภาคใต้โดยเป็นที่พึ่งทางด้านวิชาการ ซึ่งคณะได้ใช้งบประมาณเงินรายได้ของคณะหรือได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดิน เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมบริการวิชาการแก่สังคมโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย (โครงการให้เปล่า)ในรอบปีการศึกษา 2551-2554 คณะได้ใช้งบประมาณจากทั้งแหล่งงบประมาณเงินรายได้และงบประมาณแผ่นดินเพื่อสนับสนุนโครงการบริการวิชาการประเภทให้เปล่า สรุปได้ดังนี้

ปีการศึกษางบประมาณสนับสนุนโครงการบริการวิชาการ

แก่สังคมแบบให้เปล่า (บาท)

2551 142,280

2552 117,620

2553 367,100

2554 189,400

รวม 816,400

ในส่วนการให้บริการวิชาการประเภทสร้างรายได้นั้น คณะศิลปศาสตร์ได้ให้บริการวิชาการแก่สังคมและชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ โดยการให้บริการวิชาการในลักษณะโครงการเก็บเงินค่าลงทะเบียนจากผู้เข้ารับการอบรมว่าจ้างจากหน่วยงานภายในและภายนอกคณะ การจัดทดสอบ PSU-GET, EPT, CU-TEP และบริการด้านการแปลเอกสาร ในรอบปีการศึกษา 2551–2554 คณะมีรายรับสุทธิ (รายรับหลังหักค่าใช้จ่าย) สรุปได้ดังนี้

ปีการศึกษา รายรับสุทธิ (บาท)

2551 1,299,830

2552 1,270,417

2553 1,616,025

2554 1,940,820

รวม 6,127,092

Page 70: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

66Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

กราฟแสดงรายได้สุทธิจากการให้บริการวิชาการแบบเก็บเงินค่าลงทะเบียน ปีการศึกษา 2551–2554

9.5 ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะศิลปศาสตร์ ได้บูรณาการการเรียนการสอนการบริการวิชาการ และการวิจัย เข้ากับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อปลูกจิตสำนึกให้นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากร ได้ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยในขณะเดียวกัน คณะก็ได้ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมสากล ที่เป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันของประชากรโลก ในปีการศึกษา 2551–2554 คณะศิลปศาสตร์ได้จัดกิจกรรมเพื่อสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทยส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ และสร้างสรรค์ศิลปะรายละเอียดดังนี้ 9.5.1 การสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทยคณะศิลปศาสตร์ได้จัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่ในแตล่ะปกีารศกึษา เพือ่สรา้งความสมัพนัธร์ะหวา่งกนัของ

นักศึกษา และสร้างจิตสำนึกให้นักศึกษามีความภาคภูมิใจในคณะและสถาบัน ด้วยการดำเนินกิจกรรม ที่ปราศจากความรุนแรง ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพในสิทธิส่วนบุคคล จัดกิจกรรมวันไหว้ครู เพื่อแสดงความผูกพันใกล้ชิดระหว่างศิษย์กับครู ที่สะท้อนถึงความกตัญญูรู้คุณของสังคมไทยที่มีต่อผู้มีพระคุณ และความเมตตาของครูที่มีต่อศิษย์ จัดกิจกรรมวันสถาปนาคณะศิลปศาสตร์ 13 กันยายน เพื่อให้บุคลากรคณะได้รำลึกถึงการก่อตั้งคณะศิลปศาสตร์ และได้ตระหนักถึงความสำคัญของหน่วยงานอันจะสร้างขวัญและสิริมงคลแก่ผู้ปฏิบัติงาน จัดกิจกรรมวันมหิดล 24 กันยายน ร่วมกับมหาวิทยาลัยเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย

500,000

1,000,000

1,500,000

2,000,000

1,299,830 1,270,417

2551 2552 2553 2554

1,616,025

1,940,820

2,500,000

Page 71: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

67Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

กิจกรรมวันมหิดล

กิจกรรมวันสงกรานต์

คณะศิลปศาสตร์จัดกิจกรรมสืบทอดประเพณีที่ดีงามให้อยู่กับสังคมไทย ได้แก่ การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์ เพื่อแสดงความเคารพนบนอบผู้ใหญ่ผู้มีพระคุณ เป็นการแสดงความกตัญญู ขอขมาและขอรับพรเพื่อเป็นสิริมงคลในวันปีใหม่ไทย กิจกรรมแห่เทียนพรรษา นักศึกษาคณะศิลป-ศาสตร์ ร่วมหล่อและแห่เทียนพรรษาเพื่อสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยในวันเข้าพรรษา ขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 กิจกรรมวันลอยกระทง จัดร่วมกับมหาวิทยาลัยโดยนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร ร่วมกันประดิษฐ์กระทง ร่วมขบวนแห่ ประกวดนางนพมาศ

กิจกรรมวันไหว้ครู

กิจกรรมวันสถาปนาคณะ

Page 72: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

68Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

กิจกรรมวันลอยกระทง

นอกจากนี้ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง คณะศิลปศาสตร์ ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และสร้างความตระหนักในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมไทยให้แก่นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาทิจดัโครงการเผยแพรว่ฒันธรรมไทย ผตีาโขน สารทเดอืนสบิหนังตะลุง โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปะเพื่อชีวิตโครงการสุขกายสุขใจไปกับศูนย์ Self ในหัวข้อ “คืนสู่ธรรมชาติ” (ธรรมะกับชีวิต) โครงการมหัศจรรย์แห่งชีวิตมีสุข ตอน พัฒนาจิต พัฒนากายด้วยพุทธธรรมจากเทือกเขาหิมาลัย เป็นต้น

9.5.2 การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ เพื่อให้นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรคณะศิลปศาสตร์ ได้เข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลาย คณะ ไดด้ำเนนิกจิกรรมผา่นงานสารสนเทศ งานกจิการนกัศกึษาภาควิชา และศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนี้

เทศกาลอาหารนานาชาติ

กิจกรรมเผยแพร่วัฒนธรรมนานาชาติ ญี่ปุ่นเกาหลี มลายู จีน กิจกรรมอ่านกวีนิพนธ์นานาชาติเทศกาลอาหารนานาชาติ กิจกรรมรักภาษา เล่านิทานและกิจกรรมการแปล

Page 73: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

69Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

กิจกรรมศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง

9.5.3 การสร้างสรรค์ศิลปะ คณะศิลปศาสตร์ ได้ดำเนินกิจกรรมละครเวทีประจำคณะศิลปศาสตร์ ด้วยเล็งเห็นว่าละครเวทีเป็นศิลปะร่วมสมัยที่มีพลังในการสร้างอุดมการณ์ ความรู้ความคิด และจินตนาการให้แก่สังคม การสร้างสรรค์ละครเวทีจะต้องบูรณาการศาสตร์และศิลปะหลายแขนงโดยมีวรรณกรรมเป็นแขนงหลักในแง่ของบทละครและมีนาฏกรรม จิตรกรรม คีตกรรมเป็นองค์ประกอบร่วมเพื่อเสริมให้มีความสมบูรณ์โดดเด่นยิ่งขึ้น สร้างสุนทรียารมณ์แก่ผู้ดู น้อมนำจิตใจให้คล้อยตามจินตนาการที่ผู้เขียนบทละครได้สร้างสรรค์

นอกจากการประสานกลมกลืนศาสตร์และศิลปะแล้ว ในแง่ของการสร้างสรรค์ ละครเวทียังเป็นสนามฝึกประสบการณ์จำลองให้แก่ผู้ทำงานอีกทางหนึ่ง เพราะการสร้างสรรค์ละครเวทีจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งส่วนที่ปรากฏต่อสายตาผู้ชมคือ การแสดงฉาก แสง สี เสียง และที่ไม่ปรากฏคือ ด้านการประสานงานฝ่ายต่างๆ ดังนั้น จึงนับเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ทางวิชาการและทักษะของการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ละครเวทีถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนรายวิชามนุษย์กับวรรณกรรม และรายวิชาวรรณกรรมกับการแสดง นักศึกษาได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ของการทำงานร่วมกัน นับเป็นการเรียนรู้ชีวิตและสังคมนอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียน ดังนั้น คณะศิลป-ศาสตร์จึงจัดให้มีการแสดงละครเวทีของคณะเป็นประจำทุกปี เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และสร้างวัฒนธรรมการดูละคร ตลอดจนส่งเสริมรสนิยมอันดีในการเสพศิลปะละครอันช่วยจรรโลงจิตใจให้ประณีตขึ้น ในปีการศึกษา2551–2554 คณะศิลปศาสตร์ได้จัดกิจกรรมละครเวทีประจำปี รวม 4 เรื่อง ได้แก่ ซูสีไทเฮา ราโชมอน รักที่ต้องมนตรา และทรอย โดยมี รศ.มนตรี มีเนียม เป็นผู้ดำเนินโครงการ

โครงการละครเวที

Page 74: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

70Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ในส่วนของการสร้างสรรค์ศิลปะที่เป็นการบูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน การวิจัย และงานกิจการนักศึกษานั้น ในปีการศึกษา 2551–2553 นักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ มีผลงานสร้างสรรค์ศิลปะที่ได้รับการจดลิขสิทธิ์ รวมทั้งสิ้น 5 ชิ้นงาน ดังรายงานในผลการดำเนินงานด้านการวิจัย ในเรื่องการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

9.6 ด้านวิเทศสัมพันธ์ ในรอบปีการศึกษา 2551-2554 คณะศิลปศาสตร์ได้มีการดำเนินงานด้านวิเทศสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการเจรจาและขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย

ต่างประเทศ การพัฒนาหลักสูตรนานาชาติเพื่อรองรับนักศึกษาต่างชาติ ตลอดจนการส่งเสริมการจัดโครงการร่วมกับหน่วยงาน/มหาวิทยาลัยต่างประเทศ ซึ่งมีผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

9.6.1 ชาวต่างประเทศที่เดินทางมาเยือนคณะศิลปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความร่วมมือและดำเนินกิจกรรมกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ เพื่อสรรหาความร่วมมือที่จะช่วยยกระดับการศึกษาและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการด้านอื่นๆ ต่อไป โดยในปีการศึกษา 2551-2554 คณะศิลปศาสตร์มีโอกาสต้อนรับคณะผู้มาเยือนจากต่างประเทศดังนี้

Page 75: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

71Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

สถาบัน/ประเทศ วัตถุประสงค์ในการมาเยือนจำนวนผู้มาเยือน

2551 2552 2553 2554 รวม

Universiti Sains Malaysia/ ประเทศมาเลเซีย

เจรจาความร่วมมือทางวิชาการ 7 4 3 4 18

Shanghai Jiao Tong University/สาธารณรัฐประชาชนจีน

เจรจาความร่วมมือทางวิชาการ 4 - - - 4

Jiangxi Normal University/สาธารณรัฐประชาชนจีน

เจรจาความร่วมมือทางวิชาการ 7 - - - 7

โครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรตาม MOU

1 1 - - 2

Guangxi Normal University/สาธารณรัฐประชาชนจีน

เจรจาการดำเนินงานของสถาบันขงจื๊อ

3 - - - 3

South China Agricultural University/สาธารณรัฐประชาชนจีน

โครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรตาม MOU

2 - 1 1 4

University of Queensland/ เครือรัฐออสเตรเลีย

เจรจาความร่วมมือทางวิชาการ - 2 - - 2

โรงเรียน Gymnasium No.19 Kazan State University/สหพันธรัฐรัสเซีย

การบรรยายพิเศษ เรื่อง การสอนและการผลิตสื่อการสอนภาษาอังกฤษ

- - 1 - 1

National University of Singapore/สาธารณรัฐสิงคโปร์

เจรจาความร่วมมือทางวิชาการ - - 2 - 2

University of Novi Sad/สาธารณรัฐเซอร์เบีย

เจรจาความร่วมมือทางวิชาการ - - 7 - 7

National Cheng Kung University/ประเทศไต้หวัน

เจรจาความร่วมมือทางวิชาการ - - 2 - 2

University of Miyazaki/ ประเทศญี่ปุ่น

เจรจาความร่วมมือทางวิชาการ - - - 1 1

Guangxi University/สาธารณรัฐประชาชนจีน

เจรจาความร่วมมือทางวิชาการ - - - 3 3

State University of Gorontalo/ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ศึกษาดูงานเรื่องการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

- - - 42 42

Harbin Engineering University/สาธารณรัฐประชาชนจีน

เจรจาความร่วมมือทางวิชาการ - - - 3 3

รวม 24 7 16 54 101

Page 76: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

72Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

กล่าวโดยสรุป ในปีการศึกษา 2551-2554 คณะศิลปศาสตร์ได้ต้อนรับคณะผู้มาเยือนจากต่างประเทศจำนวน 101 คน จาก 14 มหาวิทยาลัย ใน 9 ประเทศรวม 21 ครั้ง เฉลี่ยมีคณะผู้มาเยือนจากต่างประเทศประมาณ 5 ครั้ง/ปีการศึกษา โดยจุดประสงค์หลักในการมาเยือนคือเพื่อเจรจาความร่วมมือทางวิชาการ ซึ่งคณะผู้มาเยือนจากมหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความถี่ในการมาเยือนคณะศิลปศาสตร์มากที่สุด ตามด้วยมหาวิทยาลัยจากประเทศมาเลเซีย และจากข้อมูลในปีการศึกษา 2554 คณะศิลปศาสตร์ได้มีโอกาสเจรจาความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศแห่งใหม่ถึง4 มหาวิทยาลัย นับเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นศักยภาพ

9.6.2 จำนวนนักศึกษาต่างชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริมบรรยากาศความเป็นสากลให้กับคณะและมหาวิทยาลัย คณะศิลปศาสตร์สนับสนุนการรับนักศึกษาต่างชาติ ทั้งนี้ นอกเหนือจากการเรียนการสอนในหลักสูตรปกติแล้ว คณะศิลปศาสตร์ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาตรีและในระดับปริญญาโทหลักสูตรที่มีความพร้อมได้เปิดรับนักศึกษาชาวต่างชาติเข้าศึกษาอีกด้วย ในปีการศึกษา2551-2554 คณะศิลปศาสตร์มีนักศึกษาต่างชาติทั้งหมด6 คน รายละเอียดดังนี้

และความพร้อมของคณะศิลปศาสตร์ในการขยายความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยแห่งใหม่ในอนาคตต่อไป

สาขาวิชาและภาควิชาที่เข้าศึกษา ประเทศจำนวนนักศึกษาต่างชาติ

2551 2552 2553 2554 รวม

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ/ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์

สาธารณรัฐประชาชนจีน 1 - 1 1 3

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ - - - 1 1

สาธารณรัฐอินเดีย - - - 1 1

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม/ภาควิชาสารัตถศึกษา

พระราชอาณาจักรกัมพูชา 1 - - - 1

รวม 2 0 1 3 6

จะเห็นได้ว่าครึ่งหนึ่งของนักศึกษาชาวต่างประเทศที่ศึกษาที่คณะศิลปศาสตร์เป็นนักศึกษาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และเกือบทุกปีจะมีนักศึกษาชาวจีนเข้าศึกษาที่คณะศิลปศาสตร์ จากสถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคณะศิลปศาสตร์เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่

นักศึกษาชาวจีนให้ความสนใจและเชื่อมั่นในคุณภาพการจัดการศึกษา นอกจากนี้ จำนวนนักศึกษาชาวต่างประเทศที่คณะศิลปศาสตร์มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ดังข้อมูลในปีการศึกษา 2554 ที่มีนักศึกษาชาวต่างประเทศ3 คน จาก 3 ประเทศ เลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาที่คณะศิลปศาสตร์

Page 77: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

73Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.6.3 นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ที่เดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศ คณะศิลปศาสตร์มุ่งพัฒนาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารโดยได้มีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศในการเปิดหลักสูตรและจัดโครงการที่

นักศึกษาสามารถเลือกเรียนภาษาต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์จริง และเสริมความเข้มแข็งด้านการใช้ภาษา ควบคู่ไปกับการเรียนรู้สภาพเศรษฐกิจ สังคมตลอดจนศิลปวัฒนธรรมต่างประเทศจากเจ้าของภาษารายละเอียดข้อมูลความร่วมมือทางวิชาการมีดังนี้

หลักสูตร มหาวิทยาลัย/ประเทศจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วม

2551 2552 2553 2554 รวม

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร (โปรแกรม 3+1)

Sichuan University/สาธารณรัฐประชาชนจีน

15 21 32 25 93

Guangxi Normal University/สาธารณรัฐประชาชนจีน

29 - 7 12 48

Fudan University/สาธารณรัฐประชาชนจีน

- 16 6 11 33

โครงการ Study Abroad Jiangxi Normal University/สาธารณรัฐประชาชนจีน

4 - 16 - 20

Universiti Sains Malaysia/ประเทศมาเลเซีย

41 - 5 - 46

Guangxi Normal University/สาธารณรัฐประชาชนจีน

- - 5 - 5

โครงการ Student ExchangeProgram 2012 (Spring Semester)

Chung-Ang University/ประเทศเกาหลี

- - 1 1 2

โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับ Kyung Hee University

Kyung Hee University/ประเทศเกาหลี

- - 1 - 1

โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาฝึกงานกับ Guangdong Universityof Technology

Guangdong University ofTechnology/สาธารณรัฐประชาชนจีน

- - 2 - 2

รวม 89 37 75 49 250

โดยสรุป ในปีการศึกษา 2551-2554 คณะศิลปศาสตร์มีนักศึกษาเดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยต่างประเทศตามความร่วมมือทางวิชาการทั้งหมด 250 คนณ 8 มหาวิทยาลัย ใน 3 ประเทศ โดยมีจำนวนนักศึกษาที่เดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ในสาธารณรัฐ

ประชาชนจีนมากที่สุด ทั้งนี้เพราะคณะศิลปศาสตร์มีความร่วมมือด้านหลักสูตรกับมหาวิทยาลัยในสาธารณ-รัฐประชาชนจีน อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าจำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนในแต่ละปีการศึกษานั้นแตกต่างกันไปตามความสนใจของนักศึกษาในแต่ละปี

Page 78: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

74Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.6.4 โครงการที่จัดร่วมกับหน่วยงาน/มหาวิทยาลัยต่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์กับหน่วยงาน/มหาวิทยาลัยต่างประเทศในปีการศึกษา 2551–2554 คณะศิลปศาสตร์ได้ร่วมกับหน่วยงาน/มหาวิทยาลัยต่างประเทศจัดโครงการและ

นิทรรศการ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกที่สนใจได้ทำความรู้จักกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ตลอดจนการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมที่น่าสนใจของประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งหมด 6 โครงการ รายละเอียดดังนี้

โครงการ มหาวิทยาลัย/ประเทศจำนวนครั้ง

2551 2552 2553 2554 รวม

โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างนักศึกษา Universiti Sains Malaysia และคณะศิลปศาสตร์

Universiti Sains Malaysia/ประเทศมาเลเซีย

1 - - - 1

การบรรยายพิเศษ เรื่อง Korea - Asean Commemorate Summit

สถานทูตเกาหลีประจำประเทศไทย - 1 - - 1

นิทรรศการภาพถ่าย "EUFaces in Thailand"

European Union (EU)- - 1 - 1

โครงการแนะแนวการศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น (The JapanEducation Fair in Songkhla)

- สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย- องค์การสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น- สำนักข่าวสารญี่ปุ่น - สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นใน พระบรมราชูปถัมภ์ - เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ- มหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น

- - 1 1 2

โครงการอ่านบทกวีนานาชาติ Universiti Kebangsaan Malaysia/ประเทศมาเลเซีย

- 1 1 2 4

โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-อินโดนีเซีย

Universitas Muhammadiyah Malang/สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

- - - 1 1

รวม 1 2 3 4 10

Page 79: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

75Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.6.5 สถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เปิดดำเนินการในเดือนธันวาคม พ.ศ.2549 ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้ความร่วมมือและการสนับสนุนระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Guangxi Normal Universityสาธารณรัฐประชาชนจีน วัตถุประสงค์ของสถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัย-สงขลานครินทร์ คือการเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมจีนโดยมีภารกิจดังต่อไปนี้ 1. จัดการเรียนการสอนภาษาจีนด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ 2. จัดอบรมการสอนภาษาจีนให้แก่ครูสอนภาษาจีนระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา 3. จัดการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) 4. อบรมหลักสูตรภาษาจีนประเภทต่าง ๆ ให้แก่บุคลากรและบุคคลภายนอก

5. เปิดหลักสูตรภาษาจีนซึ่งได้รับการยอมรับหน่วยกิตจากภาควิชาภาษาจีนของมหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน 6. ร่วมกับสาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ จัดกิจกรรมในโอกาสต่างๆ เช่น สัปดาห์ ม.อ.วิชาการ และเทศกาลสำคัญต่างๆ ของจีน 7. เผยแพร่เอกสารการสอนภาษาจีนของสาธารณรัฐประชาชนจีนและจัดหาอาจารย์ชาวจีน มาสอนภาษาจีนที่ประเทศไทย 8. ร่วมพัฒนาตำราภาษาจีนที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนภาษาจีนของท้องถิ่นนั้นๆ 9. จัดกิจกรรมด้านวิชาการและกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับภาษาจีน 10. จัดกิจกรรมเผยแพร่ภาพยนตร์จีนและรายการต่างๆ ทางโทรทัศน์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน 11. ให้บริการข้อมูลและประสานงานการไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยในสาธารณรัฐประชาชนจีน

Page 80: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

76Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ในปี 2551 และ 2552 สถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัย-สงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจากสำนักส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (TheOffice of Chinese Language Council International:Hanban) จำนวน 2 รางวัล ดังนี้ 1) รางวัล 2008 Overseas Chinese Test Centerof the Year ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับสถาบันขงจื๊อซึ่งเป็นศูนย์ทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (HSK) ที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น โดยพิจารณาจากประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และจำนวนผู้สมัครสอบที่เพิ่มขึ้น 2) รางวัลสถาบันขงจื๊อดีเด่น ประจำปี 2552(Confucius Institute of the Year 2009) ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับสถาบันขงจื๊อที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นที่สุดของทุกประเทศๆ ละ 1 รางวัล ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีสถาบันขงจื๊อทั้ งหมด 12 สถาบัน สถาบันขงจื๊อ

มหาวทิยาลยัสงขลานครนิทร ์ไดร้บัมอบรางวลันีใ้นงานประชุมสถาบันขงจื๊อโลก ครั้งที่ 4 (Fourth ConfuciusInst i tu te Conference) ที่จัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 10-15 ธันวาคม 2552 กล่าวโดยสรุป สถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันและส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมจีนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเน้นการพัฒนาทั้งผู้สอนและผู้เรียน นอกเหนือจากหลักสูตรอบรมภาษาจีนแล้ว สถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้จัดกิจกรรมและการแสดงทางวัฒนธรรมมากมายอันเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยดึงดูดและกระตุ้นให้บุคคลทั่วไปหันมาให้ความสนใจการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาและศิลป-วัฒนธรรมจีนอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสถาบันขงจื๊อ

Page 81: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

77Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.7 ด้านการบริหารจัดการ 9.7.1 บุคลากร

ในรอบปีการศึกษา 2551-2554 คณะศิลปศาสตร์ มีบุคลากรดำเนินงานตามภารกิจด้านต่างๆ ของคณะ

ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ จำแนกตามปีการศึกษา ดังนี้

ปีการศึกษา 2551

ประเภทบุคลากร

หน่วยงาน

ข้าราชการ พนักงาน

มหาวิทยาลัย

พนักงานเงินรายได้/

ลูกจ้างชั่วคราว

ลูกจ้าง

ประจำ

รวม

สาย

วิชาการ

สาย

สนับสนุน

สาย

วิชาการ

สาย

สนับสนุน

สาย

วิชาการ

สาย

สนับสนุน

ภาควิชาภาษาและ

ภาษาศาสตร์

22 1 21 1 6 2 53

ภาควิชาสารัตถศึกษา 26 1 4 1 3 3 38

ฝ่ายบริหารทั่วไป 9 9 2 20

ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ 4 4 10 2 20

รวม 48 15 25 6 18 15 4 131

ปีการศึกษา 2552

ประเภทบุคลากร

หน่วยงาน

ข้าราชการ พนักงาน

มหาวิทยาลัย

พนักงานเงินรายได้/

ลูกจ้างชั่วคราว

ลูกจ้าง

ประจำ

รวม

สาย

วิชาการ

สาย

สนับสนุน

สาย

วิชาการ

สาย

สนับสนุน

สาย

วิชาการ

สาย

สนับสนุน

ภาควิชาภาษาและ

ภาษาศาสตร์

22 1 23 1 9 2 58

ภาควิชาสารัตถศึกษา 25 1 7 1 2 3 39

ฝ่ายบริหารทั่วไป 9 11 2 22

ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ 3 4 15 2 24

รวม 47 14 30 6 11 31 4 143

Page 82: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

78Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ปีการศึกษา 2553

ประเภทบุคลากร

หน่วยงาน

ข้าราชการ พนักงาน

มหาวิทยาลัย

พนักงานเงินรายได้/

ลูกจ้างชั่วคราว

ลูกจ้าง

ประจำ

รวม

สาย

วิชาการ

สาย

สนับสนุน

สาย

วิชาการ

สาย

สนับสนุน

สาย

วิชาการ

สาย

สนับสนุน

ภาควิชาภาษาและ

ภาษาศาสตร์

21 1 24 1 9 2 58

ภาควิชาสารัตถศึกษา 22 1 8 1 4 36

ฝ่ายบริหารทั่วไป 9 11 2 22

ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ 3 5 15 2 25

รวม 43 14 32 7 9 32 4 141

ปีการศึกษา 2554

ประเภทบคุลากร

หน่วยงาน

ข้าราชการ พนักงาน

มหาวิทยาลัย

พนักงานเงินรายได้/

ลูกจ้างชั่วคราว

ลูกจ้าง

ประจำ

รวม

สาย

วิชาการ

สาย

สนับสนุน

สาย

วิชาการ

สาย

สนับสนุน

สาย

วิชาการ

สาย

สนับสนุน

ภาควิชาภาษาและ

ภาษาศาสตร์

20 1 26 2 11 2 62

ภาควิชาสารัตถศึกษา 21 1 10 2 1 2 37

ฝ่ายบริหารทั่วไป 9 22 2 33

ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ 3 5 15 2 25

รวม 41 14 36 9 12 41 4 157

จำนวนบุคลากรสายวิชาการชาวไทยและชาวต่างชาติ

ปีการศึกษาสายวิชาการ

รวมชาวไทย ชาวต่างชาติ

2551 82 9 91

2552 77 11 88

2553 73 11 84

2554 77 12 89

รวม 309 43 352

Page 83: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

79Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

บุคลากรสายวิชาการจำแนกตามวุฒิการศึกษา

วุฒิ

ปีการศึกษา

ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์

ภาควิชาสารัตถศึกษา รวม คน (ร้อยละ)

ตรี โท เอก ตรี โท เอก ตรี โท เอก

2551 8 26 9 22 8 8(10.96)

48(65.75)

17(23.29)

2552 7 24 14 23 9 7(9.09)

47(61.04)

23(29.87)

2553 6 25 14 17 13 6(8.00)

42(56.00)

27(36.00)

2554 7 25 14 19 12 7(9.09)

44(57.14)

26 (33.77)

รวม 28 100 51 0 81 42 28(9.27)

181(59.93)

93(30.79)

หมายเหตุ: นับเฉพาะข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย

กราฟแสดงจำนวนบุคลากรสายวิชาการจำแนกตามวุฒิการศึกษา ปีการศึกษา 2551-2554

หมายเหตุ: นับเฉพาะข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย

ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ ภาควิชาสารัตถศึกษา

30 25 20 15 10

5

0ตรี ตรีโท โทเอก เอก

2551

2552

2553

2554

Page 84: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

80Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

บุคลากรสายวิชาการจำแนกตามการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

ตำแหน่ง

ปีการศึกษา

ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์

ภาควิชาสารัตถศึกษา

รวมคน (ร้อยละ)

อ. ผศ. รศ. อ. ผศ. รศ. อ. ผศ. รศ.

2551 25 18 13 12 5 38(52.05)

30(41.10)

5(6.85)

2552 27 14 4 16 11 5 43(55.84)

25(32.47)

9(11.69)

2553 28 13 4 14 11 5 42(56.00)

24(32.00)

9(12.00)

2554 30 12 4 15 11 5 45(58.44)

23(29.87)

9(11.69)

รวม 110 57 12 58 45 20 168(55.63)

102(33.77)

32(10.60)

หมายเหตุ: นับเฉพาะข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย

กราฟแสดงจำนวนบุคลากรสายวิชาการจำแนกตามการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ปีการศึกษา 2551-2554

หมายเหตุ: นับเฉพาะข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย

35

30 25 20 15 10

5

0อ. อ.

ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ ภาควิชาสารัตถศึกษา

ผศ. ผศ.รศ. รศ.

2551

2552

2553

2554

Page 85: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

81Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.7.2 การพัฒนาบุคลากร 9.7.2.1 การพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ คุณวุฒิของอาจารย์เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจด้านการเรียนการสอนและการวิจัยคณะศิลปศาสตร์ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้

อาจารย์ได้รับการพัฒนาให้มีคุณวุฒิสูงขึ้น ในปีการศึกษา2551-2554 คณะมีอาจารย์ลาศึกษาต่อรวมทั้งสิ้น 21ราย จำแนกเป็นลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอก จำนวน17 ราย และระดับปริญญาโท จำนวน 4 ราย โดยส่วนใหญ่ศึกษาต่อต่างประเทศ รายละเอียดดังนี้

บุคลากรสายวิชาการลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอก

รายชื่อ สาขาวิชา มหาวิทยาลัย ประเทศ แหล่งทุน

1. ผศ.ศุลีมาน วงศ์สุภาพ Asian Studies,Politics andSociology

La Trobe University ออสเตรเลีย ทุนมหาวิทยาลัยและทุนInternationalPostgraduateResearchScholarship

2. อ.เรวดี อึ้งโพธิ์ Ethnomusicology Otto-Friedrich University

เยอรมันนี Ph.D. 50%

3. อ.พนิดา สุขศรีเมือง การสอนในสถาบันอุดมศึกษา

Oklahoma StateUniversity

สหรัฐอเมริกา Ph.D. 50%

4. อ.ปรียา คำเจริญ การสอนในสถาบันอุดมศึกษา

Oklahoma StateUniversity

สหรัฐอเมริกา Ph.D. 50%

5. อ.อุษา อินทรักษา การสอนในสถาบันอุดมศึกษา

Oklahoma StateUniversity

สหรัฐอเมริกา Ph.D. 50%

6. อ.สิตา มูสิกรังษี การสอนในสถาบันอุดมศึกษา

Oklahoma StateUniversity

สหรัฐอเมริกา Ph.D. 50%

7. อ.จอมใจ สุทธินนท์ การสอนในสถาบันอุดมศึกษา

Oklahoma StateUniversity

สหรัฐอเมริกา Ph.D. 50%

8. อ.ธีริศรา ผลเกิด Culture and Artsof Chinese

Yunnan University สาธารณรัฐประชาชนจีน

สาธารณรัฐประชาชนจีน

9. อ.สมฤดี คงพุฒ Linguistics Macquarie University ออสเตรเลีย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

10. ผศ.ไซนี แวมูซอ Education Auckland Universityof Technology

นิวซีแลนด์ Ph.D. 50%

11. อ.พธสน ใจห้าว English Languageand AppliedLinguistics

BirminghamUniversity

สหราชอาณาจักร Ph.D. 50%

Page 86: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

82Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

รายชื่อ สาขาวิชา มหาวิทยาลัย ประเทศ แหล่งทุน

12. ผศ.กุณฑลีย์ ไวทยะวณิช วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ไทย Ph.D. 50%

13. ผศ.คมสันต์ วงค์วรรณ์ ดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ไทย Ph.D. 50%

14. รศ.ปัญญา เทพสิงห์ ศิลปวัฒนธรรมวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ไทย Ph.D. 50%

15. ผศ.มาลี สบายยิ่ง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ไทย Ph.D. 50%

16. อ.บุษกร โกมลตรี ศิลปวัฒนธรรมวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ไทย Ph.D. 50%

17. ผศ.นพดล นิ่มสุวรรณ การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ไทย Ph.D. 50%

บุคลากรสายวิชาการลาศึกษาต่อระดับปริญญาโท

รายชื่อ สาขาวิชา มหาวิทยาลัย ประเทศ แหล่งทุน

1. อ.บุญทิวา แซ่ลิ่ม การสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ

Xiamen University สาธารณรัฐประชาชนจีน

สถาบันขงจื๊อ

2. อ.เอกชัย แสงจันทร์ทะนุ Teaching Chineseto Speakers ofOther Languages

Guangxi NormalUniversity

สาธารณรัฐประชาชนจีน

สถาบันขงจื๊อ

3. อ.ทิศาชล แซ่ฟุ้ง Teaching Chineseto Speakers ofOther Languages

Sichuan University สาธารณรัฐประชาชนจีน

สถาบันขงจื๊อ

4. อ.ณัฐพร แซ่เตีย Teaching Chineseto Speakers ofOther Languages

Sichuan University สาธารณรัฐประชาชนจีน

สถาบันขงจื๊อ

Page 87: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

83Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

นอกจากส่งเสริมให้บุคลากรสายวิชาการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นแล้ว คณะได้สนับสนุนให้บุคลากรสายวิชาการที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกขอรับทุนโครงการพัฒนาผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่าที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ของมหาวิทยาลัย

ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการส่งเสริมให้อาจารย์ผลิตผลงานวิจัยตลอดจนตำราและสื่อการสอน อันเป็นการผลักดันให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้เร็วขึ้น ในปีการศึกษา 2551-2554 มีบุคลากรสายวิชาการขอรับทุนดังกล่าว จำนวน 3 ราย ดังนี้

ชื่อ-สกุล ภาควิชา โครงการวิจัย โครงการพัฒนาการเรียนการสอน

อนุมัติทุน

1. ดร.วีรวัฒน์ อินทรพร สารัตถศึกษา สรรพลี้หวน : การศึกษาในแง่สังคมวิทยาวรรณคดี

ผลิตสื่อการสอน VCR รายวิชา 896-333 มิติด้านภาษาและวัฒนธรรมในวรรณกรรมไทย

2551

2. ดร.ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร

สารัตถศึกษา แนวทางในการกำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของการจัดการท่องเที่ยว ในจังหวัดภูเก็ต

โครงการผลิตตำรา/หนังสือรายวิชา 897-101 การพัฒนาเศรษฐกจิและสงัคมแบบยัง่ยนื

2553

3.ดร.เกษตรชัย และหีม สารัตถศึกษา การพฒันาแบบคดักรองและโปรแกรมป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรังแกของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดสงขลา (สัดส่วนร้อยละ 70)

ผลิตสื่อการสอน PowerPointวิชา 897-303 การจัดทำและวางแผนโครงการ

2554

9.7.2.2 การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน นอกจากพันธกิจหลักในด้านการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีบุคลากรสายวิชาการเป็นผู้ดำเนินงานแล้วคณะศิลปศาสตร์มีนโยบายในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน เพื่อให้มีความรู้ในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นมีความสามารถตามสมรรถนะ เพิ่มศักยภาพและ

ประสิทธิภาพในการทำงาน ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานตามภารกิจต่างๆ ของคณะให้สัมฤทธิ์ผลด้วยดี โดยในระหว่างปีการศึกษา 2551–2554 คณะจัดให้มีโครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน ดังนี้

ปีการศึกษา โครงการ

2551 1. โครงการเทคนิคการบริหารเวลาและจิตบริการ2. โครงการสัมมนาบุคลากรสายสนับสนุนคณะศิลปศาสตร์ ประจำปี 25513. โครงการเทศน์มหาชาติ4. โครงการให้ความรู้ด้านระบบไฟฟ้าและระบบลิฟท์แก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย5. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัย

Page 88: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

84Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ปีการศึกษา โครงการ

2552 1. โครงการสัมมนาบุคลากรสายสนับสนุนคณะศิลปศาสตร์ ประจำปี 25522. โครงการอบรมความรู้คอมพิวเตอร์3. โครงการกิจกรรม 5 ส Big Cleaning Day และกีฬาสัมพันธ์4. โครงการศึกษาดูงานด้านอาคารสถานที่และยานพาหนะ

2553 1. KM การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร2. เทคนิคการเขียนโครงการพัฒนางาน3. โครงการสัมมนาบุคลากรสายสนับสนุนคณะศิลปศาสตร์ ประจำปี 25534. โครงการทำงานอย่างไรให้มีความสุข5. โครงการบรรยายพิเศษ เรื่อง จิตอาสา6. โครงการอบรม E-doc V.2 7. โครงการการเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานโดยใช้โปรแกรม Visio8. โครงการการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน9. โครงการอบรมความรู้คอมพิวเตอร์ Trick การใช้คอมพิวเตอร์ ครั้งที่ 110. โครงการกิจกรรม 5 ส Big Cleaning Day และกีฬาสัมพันธ์11. โครงการนพลักษณ์12. โครงการการรวบรวมข้อมูล SAR

2554 1. โครงการสัมมนาบุคลากรสายสนับสนุนคณะศิลปศาสตร์ ประจำปี 25542. โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาหน่วยงานเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmark) ระหว่างคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์3. โครงการอบรม E-doc V.2 ปรับปรุงใหม่4. โครงการการเขียนและการเกษียณหนังสือราชการ 5. โครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร6. โครงการทักษะการพูด7. โครงการอบรมความรู้คอมพิวเตอร์Trick การใช้คอมพิวเตอร์ ครั้งที่ 28. โครงการกิจกรรม 5 ส Big Cleaning Day และกีฬาสัมพันธ์9. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการโปรแกรมประชุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

Page 89: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

85Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.7.2.3 การคัดเลือกอาจารย์ตัวอย่างและผลงานดีเด่นของคณะศิลปศาสตร์ ในปีการศึกษา 2551-2554 คณะศิลปศาสตร์มีการคัดเลือกอาจารย์ตัวอย่าง และผลงานดีเด่น เพื่อเป็นการยกย่องและประกาศเกียรติคุณอาจารย์คณะศิลปศาสตร์ ผู้มีความมานะพยายามอุทิศตนเพื่อการเรียนการสอนและสร้างผลงานที่มีคุณภาพ ผลการคัดเลือก ดังนี้

ปีการศึกษา 2551 1. อาจารย์ตัวอย่างด้านการเรียนการสอน ผศ.ดร.นิสากร จารุมณี 2. อาจารย์ตัวอย่างด้านการวิจัย รศ.ศิริรัตน์ ธานีรณานนท์ 3. อาจารย์ตัวอย่างด้านการบริการวิชาการ อ.รัชนี กัลยาคุณาวุฒิ และ ผศ.นพดล นิ่มสุวรรณ 4. ผลงานดีเด่นสาขาการวิจัย งานวิจัยเรื่อง การประเมินความยากจนแบบมีส่วนร่วมใน ประเทศไทย รศ.ศิริรัตน์ ธานีรณานนท์ และคณะ

ปีการศึกษา 2552 1. อาจารย์ตัวอย่างด้านการเรียนการสอน ผศ.ดร.นิสากร จารุมณี 2. อาจารย์ตัวอย่างด้านการบริการวิชาการ อ.รัชนี กัลยาณคุณาวุฒิ

ปีการศึกษา 2553

คณะกรรมการประจำคณะศิลปศาสตร์มีมติไม่เสนอชื่ออาจารย์ตัวอย่างและผลงานดีเด่น

ปีการศึกษา 2554 ดังนี้

1. อาจารย์ตัวอย่างด้านการเรียนการสอน รศ.ดร.มณฑา จาฏุพจน์

2. อาจารย์ตัวอย่างด้านการวิจัย ผศ.ดร.ชลลดา เลาหวิริยานนท์

ทั้งนี้ รศ.ดร.มณฑา จาฏุพจน์ ได้รับการคัดเลือกเป็นอาจารย์ตัวอย่างด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์ ประจำปีการศึกษา 2554

9.7.2.4 การเสนอชื่ออาจารย์เพื่อเข้ารับเกียรติบัตรจากมหาวิทยาลัยในวันเชิดชูครูสงขลา-

นครินทร์

ในปีการศึกษา 2551-2554 คณะศิลปศาสตร์ มีการเสนอชื่ออาจารย์เพื่อเข้ารับเกียรติบัตรจาก

มหาวทิยาลยัในวนัเชดิชคูรสูงขลานครนิทร ์เพือ่รว่มเชดิชแูละประกาศเกยีรตคิณุอาจารยค์ณะศลิปศาสตรผ์ูอ้ทุศิตน

เพื่อการสอนรายละเอียดดังนี้

Page 90: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

86Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ปี

การศึกษาอาจารย์ที่ได้รับการเสนอชื่อ

2551 1. อาจารย์ปัจจุบันที่ได้รับการเสนอชื่อโดยนักศึกษาในฐานะที่เป็นที่รัก ชื่นชม และศรัทธา

- อ.รัชนี กัลยาณคุณาวุฒิ

- ผศ.อำไพรัตน์ สุทธินนท์

- ผศ.รัสมี จิวสุวรรณ

2. อาจารย์ที่คณะได้คัดเลือกเป็นอาจารย์ตัวอย่างด้านการเรียนการสอนของคณะ ในปี พ.ศ. 2550

- ผศ.ดร.อดิศา แซ่เตียว

- ผศ.ดร.นันทา ชิระมณี

- ผศ.สุธารี ประเสริฐสรรพ์

- รศ.ดร.สุจิตรา จรจิตร

- อ.รัชนี กัลยาณคุณาวุฒิ

- ผศ.คมสันต์ วงค์วรรณ์

2552 1. อาจารย์ปัจจุบันที่ได้รับการเสนอชื่อโดยนักศึกษาในฐานะที่เป็นที่รัก ชื่นชม และศรัทธา

- อ.รัชนี กัลยาณคุณาวุฒิ

- อ.ดารณี กาญจนสุวรรณ

- อ.ธีริศรา ผลเกิด

2. อาจารย์ที่คณะได้คัดเลือกเป็นอาจารย์ตัวอย่างด้านการเรียนการสอนของคณะ ในปี พ.ศ. 2551

- ผศ.ดร.นิสากร จารุมณี

2553 1. อาจารย์ปัจจุบันที่ได้รับการเสนอชื่อโดยนักศึกษาในฐานะที่เป็นที่รัก ชื่นชม และศรัทธา

- อ.รัชนี กัลยาณคุณาวุฒิ

- อ.ดารณี กาญจนสุวรรณ

- ผศ.ลักษมี แซ่ชี

2. อาจารย์ที่คณะได้คัดเลือกเป็นอาจารย์ตัวอย่างด้านการเรียนการสอนของคณะ ปี พ.ศ. 2552

- ผศ.ดร.นิสากร จารุมณี

Page 91: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

87Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ปี

การศึกษาอาจารย์ที่ได้รับการเสนอชื่อ

2554 1. อาจารย์ปัจจุบันที่ได้รับการเสนอชื่อโดยนักศึกษาในฐานะที่เป็นที่รัก ชื่นชม และศรัทธา - อ.ฐิติวรรณ ชีววิภาส - ดร.ชนกพร อังศุวิริยะ - Mrs. Lin Fu2. อาจารย์ปัจจุบันหรืออาจารย์ที่เกษียณอายุราชการแล้ว เสนอชื่อโดยศิษย์เก่าในฐานะที่เป็นที่รักชื่นชม และศรัทธา - อ.รัชนี กัลยาณคุณาวุฒิ

และอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของคณะศิลปศาสตร์ คือ รองศาสตราจารย์

ดร.อดิศา แซ่เตียว ได้รับรางวัลนักศึกษาเก่าที่ประสบความสำเร็จในอาชีพ

(สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ - ภาษาอังกฤษเพื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

ในวาระที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ก่อตั้งมาครบ

50 ปี ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553

9.7.2.5 การคัดเลือกบุคลากรดีเด่นของคณะศิลปศาสตร์

ในปีการศึกษา 2551-2554 คณะศิลปศาสตร์มีการคัดเลือกบุคลากรดีเด่น เพื่อยกย่องและประกาศเกียรติคุณ

บุคลากรคณะศิลปศาสตร์ ผู้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เสียสละ อุทิศตนและสร้างประโยชน์ให้หน่วยงาน

ผลการคัดเลือกมีดังนี้

ปี บุคลากรดีเด่น

2551 กลุ่มที่ 1 ข้าราชการ ระดับ 6-8กลุ่มที่ 2 ข้าราชการ ระดับ 1-5กลุ่มที่ 3 ลูกจ้างประจำ กลุ่มที่ 4 พนักงานมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 5 พนักงานเงินรายได้

นางสลักใจ ศรีธราดลน.ส.กัลยา พัชบูรณ์นางสุนันท์ ดวงสุวรรณน.ส.ชุติมา ศรีชายนายชัยยะ สุวรรณมณี

2552 กลุ่มที่ 1 ข้าราชการ ระดับ 6-8กลุ่มที่ 2 ข้าราชการ ระดับ 1-5กลุ่มที่ 3 ลูกจ้างประจำ กลุ่มที่ 4 พนักงานมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 5 พนักงานเงินรายได้

น.ส.เพ็ญประภา ลีภัทรกิจนางนภสร ภักดีนายจัด อินทสโรไม่เสนอชื่อน.ส.สมลักษณ์ นราวัฒนะ

2553 กลุ่มที่ 1 ข้าราชการตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะกลุ่มที่ 2 กลุ่มข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไปกลุ่มที่ 3 ลูกจ้างประจำ กลุ่มที่ 4 พนักงานมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 5 พนักงานเงินรายได้

นางสมใจ ยันตศิรินายนพพร จันทร์แป้นนางสุนันท์ ดวงสุวรรณไม่เสนอชื่อน.ส.สมลักษณ์ นราวัฒนะ

2554 กลุ่มที่ 1 ข้าราชการตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะกลุ่มที่ 2 ข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไปกลุ่มที่ 3 ลูกจ้างประจำ กลุ่มที่ 4 พนักงานมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 5 พนักงานเงินรายได้

นายครรชิต มงคลสินธุ์ไม่เสนอชื่อนายจัด อินทสโรนายกฤษดา ฤทธิ์เดชนายมัณฑรา ยันตศิริ

Page 92: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

88Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.7.2.6 การคัดเลือกคนดีศรีศิลปศาสตร์

ในรอบปีการศึกษา 2551-2554 คณะศิลปศาสตร์มีการคัดเลือกคนดีศรีศิลปศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์

เพื่อคัดเลือกผู้ที่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เสียสละอุทิศตน สร้างประโยชน์แก่หน่วยงาน/คณะ ประกาศเกียรติคุณ

เชิดชูเกียรติ ส่งเสริมและสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรดีเด่นและบุคลากรของคณะศิลปศาสตร์ ผลการคัดเลือก

มีดังนี้

ปี คนดีศรีศิลปศาสตร์

2551 1. ประเภทผู้ปฏิบัติงานดีเด่น

- นายชัยยะ สุวรรณมณี ตำแหน่งนายช่างไฟฟ้า ฝ่ายบริหารทั่วไป คณะศิลปศาสตร์

2. ประเภทขวัญใจเพื่อนและผู้รับบริการ

- นายชัยยะ สุวรรณมณี ตำแหน่งนายช่างไฟฟ้า ฝ่ายบริหารทั่วไป คณะศิลปศาสตร์

3. ประเภทผู้มาปฏิบัติงานสม่ำเสมอ

- นายนพพร จันทร์แป้น ตำแหน่งช่างอิเล็กทรอนิกส์ ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ คณะศิลปศาสตร์

2552 1. คนดีศรีศิลปศาสตร์ ประเภทผู้ปฏิบัติงานดีเด่น

- นายจัด อินทสโร ตำแหน่งพนักงานบริการอัดสำเนา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ คณะศิลปศาสตร์

2. คนดีศรีศิลปศาสตร์ ประเภทขวัญใจเพื่อนและผู้รับบริการ

- นายณัฏฐพล สงเคราะห์ ตำแหน่งพนักงานธุรการ ฝ่ายบริหารทั่วไป คณะศิลปศาสตร์

3. คนดีศรีศิลปศาสตร์ ประเภทผู้มาปฏิบัติงานสม่ำเสมอ

- นายพล ขวัญสง่า ตำแหน่งพนักงานเก็บเอกสาร ฝ่ายบริหารทั่วไป คณะศิลปศาสตร์

- นายมัณฑรา ยันตศิริ ตำแหน่งครูภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์

- นายกิตติปัทม์ แสงงาม ตำแหน่งนักวิชาการอุดมศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคปกติ)

2553 1. คนดีศรีศิลปศาสตร์ ประเภทผู้ปฏิบัติงานดีเด่น

- นางสมใจ ยันตศิริ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปชำนาญการ ฝ่ายบริหารทั่วไป

คณะศิลปศาสตร์

2. คนดีศรีศิลปศาสตร์ ประเภทขวัญใจเพื่อนและผู้รับบริการ

- นายฉัตรชัย หนูกลัด ตำแหน่งนายช่างเทคนิค ฝ่ายบริหารทั่วไป คณะศิลปศาสตร์

3. คนดีศรีศิลปศาสตร์ ประเภทผู้มาปฏิบัติงานสม่ำเสมอ

- นายนพพร จันทร์แป้น ตำแหน่งช่างอิเล็กทรอนิกส์ชำนาญงาน ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ

คณะศิลปศาสตร์

- นายพล ขวัญสง่า ตำแหน่งพนักงานเก็บเอกสาร ฝ่ายบริหารทั่วไป คณะศิลปศาสตร์

- น.ส. สุมาท ขาวกระจ่าง ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม (ภาคพิเศษ)

Page 93: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

89Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.7.3 อาคารสถานที่

คณะศิลปศาสตร์ ได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน

จำนวน 99,800,000 บาท ในการก่อสร้างอาคารที่ทำ

การคณะ บนพื้นที่ 11,800 ตารางเมตร ประกอบด้วย

อาคารบริหารและอาคารเรียน แล้วเสร็จในปี 2547 โดย

มีห้องเรียน จำนวน 29 ห้อง ห้องปฏิบัติการสื่อประสม

จำนวน 5 ห้อง ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 2

หอ้ง และหอ้ง ELLIS จำนวน 1 หอ้ง ชว่งเวลา 8 ปทีีผ่า่นมา

โครงสร้างพื้นฐานบางส่วนเกิดการชำรุดไปตามสภาพ

การใช้งาน และบางส่วนก็จำเป็นต้องปรับปรุงเพิ่มเติม

เพื่อความสะดวกและปลอดภัยแก่บุคลากรและนักศึกษา

คณะศิลปศาสตร์

ในปีงบประมาณ 2551-2554 คณะศิลปศาสตร์

ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

ปรับปรุงห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ ก่อสร้างอาคาร

อเนกประสงค์ และติดตั้งกล้องวงจรปิดภายในอาคาร

คณะ โดยใช้งบประมาณเงินรายได้ ดำเนินการดังนี้

ปีงบประมาณ งบประมาณเงินรายได้ (บาท)

2551 854,928.98

2552 706,005.00

2553 9,237,920.80

2554 679,313.00

การพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน คณะได้ดำ เนินการพัฒนาและปรับปรุ ง

โครงสร้างพื้นฐานในตัวอาคารคณะศิลปศาสตร์ ดังนี้

ปรับปรุงซ่อมแซมระบบสุขาภิบาลเดินท่อเมน

ประปาอาคาร

ก่อกำแพงป้องกันน้ำท่วมลานจอดรถชั้น B

ซ่อมเปลี่ยนโครงสร้างฝ้าเพดานห้องควบคุมไฟฟ้า

ชั้น 1 อาคารบริหาร

ปรับปรุงเดินสายและอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติมใน

ห้องประชุมลีลาวดี

ปรับปรุงซ่อมแซมห้องสุขาคนพิการและห้องสุขา

ชั้น 1-2 อาคารเรียน

ปรับปรุงห้องละหมาดให้ถูกสุขลักษณะ

ปรับปรุงติดตั้งผ้าใบกันสาด บริเวณโรงอาหาร

เพื่อป้องกันฝนสาดในฤดูฝน

การปรับปรุงห้องเรียน ห้องพักอาจารย์ และห้องปฏิบัติการ ในส่วนของห้องเรียน ห้องพักอาจารย์ และห้อง

ปฏิบัติการ คณะศิลปศาสตร์ได้ดำเนินการปรับปรุงและ

พัฒนาเพื่อรองรับอาจารย์และนักศึกษาที่เพิ่มจำนวน

มากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงและซ่อมแซมห้องเรียนที่มีรอยร้าวและ

รั่วซึม ชั้น 4 และชั้น 5 อาคารเรียน ได้แก่ ห้อง LA401

LA501 LA506 และ LA509

ปรับปรุงกั้นห้องพักอาจารย์ ชั้น 4 อาคารบริหาร

จำนวน 7 ห้อง จากเดิมมีอยู่ 90 ห้อง รวมเป็น 97 ห้อง

ปรับปรุงห้องเรียนศิลปะมวยไทย ชั้น 1 อาคาร

เรียนเป็นห้องประชุมลีลาวดี จุผู้เข้าประชุม 62 คน ภายใน

ห้องประชุมมีโสตทัศนูปกรณ์ครบถ้วนในระดับมาตรฐาน นอกจากการปรับปรุงห้องเรียนและห้องปฏิบัติ

การแล้ว คณะศิลปศาสตร์ยังดำเนินการปรับปรุงด้าน

โสตทัศนูปกรณ์ในห้องเรียน เพื่อให้การเรียนการสอน

มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือ ปรับปรุงคอมพิวเตอร์ จอรับ

ภาพ เครื่องฉายภาพทึบแสง 3 มิติ เครื่องขยายเสียง

พร้อมไมโครโฟน เครื่องเล่นเทป คิดเป็นร้อยละ 97 จาก

รายการโสตทัศนูปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีในห้องเรียนทั้งหมด

การก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ คณะศิลปศาสตร์ ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร

อเนกประสงค์บนพื้นที่ 1,704 ตารางเมตร ในวงเงิน

6,610,000 บาท เพิ่มขึ้นอีก 1 อาคาร ประกอบด้วย

อาคารชั้นเดียวและสนามกีฬากลางแจ้ง เพื่อรองรับ

การเรียนการสอนของสาขาวิชากีฬา พลศึกษา และ

นันทนาการ และห้องชมรมของสโมสรนักศึกษาคณะ

ศิลปศาสตร์ ในตัวอาคารมีห้องเพื่อใช้ในกิจกรรมต่างๆ

จำนวน 6 ห้อง คือ ห้องโถง สำหรับการเรียนศิลปะ

มวยไทยและเทเบลิเทนนสิ หอ้งเกบ็อปุกรณก์ารเรยีนการสอน

วิชาพลศึกษาและห้องบรรยาย ห้องชมรมดนตรีสากล

รวมทั้งห้องสำหรับสโมสรนักศึกษาอีก 3 ห้อง

Page 94: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

90Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

การติดตั้งกล้องวงจรปิด เนื่องจากอาคารคณะศิลปศาสตร์ มีลักษณะ

เป็นอาคารเปิดโล่ง คณะฯ จึงติดตั้งวงจรปิดเพื่อตรวจ

ตราความปลอดภัย โดยติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณที่

เป็นมุมอับและล่อแหลมเพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม 9 จุด

ในปี 2550 เพิ่มอีก 15 จุด ในปี 2553 และเพิ่มอีก 14 จุด

ในปี 2554

นอกจากนี้ คณะยังได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลง

สถานที่ติดตั้งแขนกั้นการเข้า-ออกของรถยนต์และรถ

จักรยานยนต์ เดิมจากบริเวณทางเข้า-ออก ชั้น B เป็น

ติดตั้งแขนกั้นการเข้า-ออกใหม่ บริเวณถนนเข้าออก

ลานจอดรถ ชั้น B ใกล้กับด้านหน้าอาคารบริหาร

เพือ่ความสะดวกและปลอดภยัในการจราจรของนกัศกึษา

และบุคลากรคณะศิลปศาสตร์

แม้ว่าคณะจะดำเนินการพัฒนาและปรับปรุง

โครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ

และก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ในรอบปีที่ผ่านมา

แต่ก็มีความเพียงพอในระยะสั้น คณะศิลปศาสตร์จึง

จำเป็นต้องวางแผนในส่วนของอาคารสถานที่เพื่อรองรับ

การเติบโตของคณะในระยะยาว

9.7.4 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ

คณะศิลปศาสตร์ได้นำระบบสารสนเทศของ

มหาวิทยาลัย ด้านการบริหารจัดการ การเรียนการสอน

ระบบพัสดุการเงินและการคลัง เกณฑ์พึงรับ-พึงจ่ายใน

ลักษณะสามมิติ ระบบบริหารจัดการทรัพยากรการเรียนรู้

ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล และระบบการบริหารงาน

ทั่วไป มาใช้เพื่อสนับสนุนพันธกิจของคณะและในขณะ

เดียวกันในระหว่างปีการศึกษา 2551–2554 คณะ

ศิลปศาสตร์ได้ดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สำคัญ

เพิ่มเติมเพื่อตอบสนองพันธกิจของคณะ รวมทั้งสิ้น 15

ระบบ รายละเอียดดังนี้

ปีการศึกษา 2551

1. ระบบ PSU-GET ซึ่งเป็นระบบจัดเก็บข้อมูล

การลงทะเบียนการสอบวัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษ

และตรวจสอบผลการสอบผ่านระบบ

2. ระบบฐานข้อมูลวัสดุ เป็นระบบสารสนเทศ

เพื่อจัดเก็บข้อมูลวัสดุและเบิกวัสดุ Online

3. ระบบลงรับหนังสือ สำหรับลงทะเบียนหนังสือ

เข้าจากหน่วยงานต่างๆ ลงในฐานข้อมูลซึ่งสามารถ

ค้นหาและสรุปรายงานในรูปแบบประจำปี

ปีการศึกษา 2552

1. ระบบรายงานผลการดำเนินการแผนกิจกรรม

Online เป็นระบบสารสนเทศเพื่อสร้างแผนกิจกรรม

ภาพรวมของคณะตลอดปีงบประมาณซึ่งเป็นประโยชน์

ต่อการบริหารจัดการระยะเวลาในการจัดโครงการและ

กิจกรรมต่างๆ ไม่ให้ซ้ำซ้อนและมีการกระจายตัวระหว่าง

ปีงบประมาณ พร้อมทั้งสรุปการเบิกจ่ายงบประมาณ

ประเภทต่างๆ ที่สามารถเปรียบเทียบได้ทั้งแผนการใช้

งบประมาณ รวมทั้งมีการจัดเก็บสถิติเพื่อติดตามผลการ

ดำเนินการโครงการ ปัญหาและอุปสรรค เพื่อใช้เป็น

แนวทางในการบริหารจัดการในปีงบประมาณถัดไป

2. ระบบการจองหอ้งประชมุ Online เปน็ระบบ

สารสนเทศที่ช่วยในการบริการการจองห้องประชุม อาหาร

และเครื่องดื่มในการประชุม

Page 95: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

91Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

3. ระบบช่วยจัดกรรมการคุมสอบ เป็นระบบสารสนเทศเพื่อช่วยในการจัดกรรมการคุมสอบในแต่ละปีการศึกษา

4. ระบบ web board อาจารย์ที่ปรึกษา เป็นระบบสารสนเทศที่คณะพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษาโดยใช้web board เป็นสื่อ อาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาสามารถส่งข้อความถึงกันได้ ซึ่งระบบจะมีการส่ง e–mailแจ้งเตือนไปยังอาจารย์ที่ปรึกษาหรือนักศึกษาที่เป็นผู้รับข้อความนั้นๆ นอกจากนั้นระบบยังมีส่วนประกาศข่าวสารเพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้ประกาศข่าวสารให้นักศึกษาในที่ปรึกษาได้ทราบและสามารถดูข้อมูลนักศึกษาในที่ปรึกษาได้

ปีการศึกษา 2554 1. การจัดการประชุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์(e-meeting) เป็นระบบสารสนเทศเพื่อช่วยในการจัดการเอกสารในการประชุม ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล Onlineและลดการใช้กระดาษ

9.7.5 ด้านการเงินและงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2551–2554 คณะศิลปศาสตร์ได้ดำเนินการขับเคลื่อนภารกิจด้านต่างๆ ตามวิสัยทัศน์พันธกิจ และเป้าประสงค์ของคณะ โดยสอดคล้องกับนโยบายและแนวทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัย ทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งการบริหารจัดการภายในคณะ โดยมีงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณเงินรายได้ที่ได้รับการจัดสรรประจำปี ดังนี้

2. การออกเลขหนังสือ Online เป็นระบบสารสนเทศเพื่อให้บุคลากรสามารถออกเลขหนังสือได้โดยไม่ต้องผ่านงานสารบรรณ ซึ่งช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ช่วยให้มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และสามารถสืบค้นได้รวดเร็วขึ้น 3. ระบบสายตรงคณบดี เป็นระบบสารสนเทศสำหรับบุคลากรคณะในการติดต่อ สื่อสาร แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยตรงถึงคณบดี 4. ระบบคุมเงินยืมทดรองจ่ายเพื่อหมุนเวียนคณะศิลปศาสตร์ เป็นระบบในการควบคุมการลงบัญชีการรบั-จา่ยบัญชปีระจำวนัและหมนุเวยีนคณะศลิปศาสตร์โดยสามารถผ่านรายการบัญชีไปยังทะเบียนคุมบัญชีต่างๆ ได้

ปีการศึกษา 2553 1. ระเบียบวาระการประชุมและมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะศิลปศาสตร์ Online เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับสืบค้นระเบียบวาระการประชุมและมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะได้อย่างรวดเร็วและเพิ่มช่องทางการรับทราบแนวทางการดำเนินงานของคณะให้แก่บุคลากร 2. โปรแกรมครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์ เป็นระบบสารสนเทศเพื่อใช้บันทึกบัญชีครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์และสามารถดึงข้อมูลมาใช้ในการรายงานตรวจสอบพัสดุประจำปี 3. ระบบฐานข้อมูลศิษย์เก่าเป็นระบบสารสนเทศที่คณะพัฒนาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลศิษย์เก่า โดยศิษย์เก่าสามารถปรับปรุงข้อมูลส่วนตัวของตนในปัจจุบันและค้นหารายชื่อศิษย์เก่าตามรุ่นและสาขาวิชา รวมทั้งสามารถติดตามและฝากประชาสัมพันธ์ข่าวสารได้จากระบบ

5. ระบบแจ้งเงินโอนผ่านระบบ e-mail เป็นระบบที่ช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้รับบริการทราบข้อมูลการโอนเงินได้ถูกต้อง รวดเร็ว และมีการจัดเก็บการโอนเงินอย่างเป็นระบบ สามารถค้นหาข้อมูลหรือเรียกดูรายงานย้อนหลัง

งบประมาณแผ่นดินและงบประมาณเงินรายได้ที่ได้รับการจัดสรรในปีงบประมาณ 2551-2554

ปี

งบประมาณ

งบประมาณ

แผ่นดิน

งบประมาณ

เงินรายได้

รวม

(บาท)

สัดส่วน (ร้อยละ)

งบประมาณแผน่ดนิ : งบประมาณเงนิรายได้

2551 33,708,800 24,532,200 58,241,000 58:42

2552 42,600,600 32,243,100 74,843,700 57:43

2553 35,273,900 36,516,000 71,789,900 49:51

2554 36,750,900 41,148,400 77,899,300 47:53

Page 96: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

92Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

งบประมาณแผ่นดินที่ได้รับการจัดสรร ในปีงบประมาณ 2551-2554

ประเภทรายจ่าย 2551 2552 2553 2554

งบบุคลากร 27,992,900 36,547,700 32,263,700 31,172,000

งบดำเนินงาน

ค่าตอบแทน

ใช้สอยวัสดุ

1,314,600 1,235,600 1,235,600 1,235,600

สาธารณูปโภค 40,000 40,000 40,000 40,000

งบเงินอุดหนุน 2,479,300 3,126,300 1,734,600 4,303,300

งบลงทุน 1,882,000 1,651,000 - -

รวม 33,708,800 42,600,600 35,273,900 36,750,900

งบประมาณแผ่นดินและงบประมาณเงินรายได้ที่ได้รับการจัดสรรในปีงบประมาณ 2551-2554

90,000,00080,000,00070,000,00060,000,00050,000,00040,000,00030,000,00020,000,00010,000,000

2551งบประมาณเงินรายได้ 24,532,200 32,243,100 36,516,000 41,148,400

33,708,800 42,600,600 35,273,900 36,750,90058,241,000 74,843,700 71,789,900 77,899,300

งบประมาณแผ่นดินงบประมาณภาพรวม

2552 2553 2554

Page 97: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

93Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

งบประมาณเงินรายได้ที่ได้รับการจัดสรร ในปีงบประมาณ 2551-2554

ประเภทรผายจ่าย 2551 2552 2553 2554

งบบุคลากร 3,299,800 4,652,500 5,628,700 5,843,400

งบดำเนินงาน

ค่าตอบแทน

ใช้สอยวัสดุ

6,586,400 7,963,600 8,451,600 9,512,700

สาธารณูปโภค 800,000 900,000 900,000 900,000

งบเงินอุดหนุน 11,013,000 12,331,300 16,422,300 18,955,800

งบลงทุน 2,833,000 6,395,700 5,113,400 5,936,500

รวม 24,532,200 32,243,100 36,516,000 41,148,400

9.8 ด้านการประกันคุณภาพ 9.8.1 การประเมินคุณภาพภายในระดับคณะ

ประจำปีการศึกษา 2551-2554

คณะศิลปศาสตร์ดำเนินงานตามภารกิจหลัก

ของคณะ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ

และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้วยวงจรคุณภาพ

PDCA-Par เพื่อให้บรรลุผลตามแผนการดำเนินงาน

เป้าหมาย และตัวชี้วัดหลักตามแผนกลยุทธ์ มีการลงนาม

Commit KPIs ระหว่างอธิการบดีและคณบดีมีคณะ

กรรมการประกันคุณภาพการศึกษา คณะศิลปศาสตร์

ทำหน้าที่พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพ

ในปีการศึกษา 2551-2552 คณะศิลปศาสตร์

ขับเคลื่อนระบบและกลไกประกันคุณภาพโดยยึดตัว

บ่งชี้คุณภาพ 9 องค์ประกอบของสำนักงานคณะกรรมการ

การอุดมศึกษา (สกอ.) และอีก 2 องค์ประกอบตามบริบท

ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมทั้งหมด 11 องค์

ประกอบ คณะดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง

(SAR: Self-assessment Report) และได้รับรองมาตรฐาน

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในคณะศิลปศาสตร์ ปีการศึกษา 2551-2552

ลำดับ

ที่ชื่อมาตรฐาน

2551 2552

คะแนน

ประเมิน

ระดับ

คุณภาพ

คะแนน

ประเมิน

ระดับ

คุณภาพ

1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์

และแผนการดำเนินการ

4.67 ดีมาก 5.00 ดีมาก

2 การเรียนการสอนและคุณภาพบัณฑิต 4.19 ดี 4.01 ดี

3 กิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา 5.00 ดีมาก 4.75 พอใช้

4 การวิจัย 2.50 ควรปรับปรุง 3.32 ดี

5 การบริการวิชาการแก่สังคม 4.38 ดี 4.38 ดีมาก

Page 98: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

94Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ลำดับ

ที่ชื่อมาตรฐาน

2551 2552

คะแนน

ประเมิน

ระดับ

คุณภาพ

คะแนน

ประเมิน

ระดับ

คุณภาพ

6 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 4.00 ดี 4.67 ดีมาก

7 การบริหารและการจัดการ 4.87 ดีมาก 4.92 ดีมาก

8 การเงินและงบประมาณ 3.33 พอใช้ 3.83 ดี

9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ 4.25 ดี 4.50 ดี

ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 9 องค์ประกอบ 3.93 ดี 4.18 ดี

10 ความสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยกับสังคมและ

ชุมชนภาคใต้

5.00 ดีมาก 5.00 ดีมาก

11 วิเทศสัมพันธ์ 5.00 ดีมาก 5.00 ดีมาก

ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 11 องค์ประกอบ 4.02 ดี 4.24 ดี

ผลการประเมินระดับคณะ รับรองมาตรฐาน

คณะศิลปศาสตร์มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นตาม

ลำดับ ดังจะเห็นได้จากผลการประเมินระดับคณะ ในปี

การศึกษา 2551 เท่ากับ 4.02 (ระดับดี) และผลการ

ประเมินในปีการศึกษา 2552 เท่ากับ 4.24 (ระดับดี)

มีองค์ประกอบที่ผลการดำเนินงานดีขึ้นหลายองค์ประกอบ

ได้แก่ การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม การทำนุบำรุง

ศิลปวัฒนธรรม การเงินและงบประมาณ โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งองค์ประกอบด้านการวิจัย ซึ่งเกิดจากการร่วม

แรงร่วมใจของบุคลากรทุกฝ่าย ทำให้ผลการประเมิน

ในปีการศึกษา 2551 ซึ่งอยู่ในระดับ ควรปรับปรุง (2.50)

พัฒนาขึ้นเป็นระดับดี (3.32) ในปีการศึกษา 2552

แผนภูมิแสดงผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน คณะศิลปศาสตร์ ปีการศึกษา 2551-2552

2551

4.19

5.00

2.50

4.384.00

4.87

3.33

4.25

5.00 5.00

4.02

5.00

4.50

3.83

4.924.67

4.38

3.32

4.75

4.01

5.00

4.24

5.00

2552

5.00

4.00

3.00

2.00

1.00

0.00

องค์ประก

อบที่ 1

องค์ประก

อบที่ 2

องค์ประก

อบที่ 3

องค์ประก

อบที่ 4

องค์ประก

อบที่ 5

องค์ประก

อบที่ 6

องค์ประก

อบที่ 7

องค์ประก

อบที่ 8

องค์ประก

อบที่ 9

องค์ประก

อบที่ 10

องค์ประก

อบที่ 11

ผลการประเ

มินเฉลี่ย

4.67

คะแน

Page 99: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

95Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

อนึ่ง ในปีการศึกษา 2553-2554 มีการปรับ

เปลี่ยนเกณฑ์การประเมินคุณภาพ คณะศิลปศาสตร์

ขบัเคลือ่นระบบและกลไกประกนัคณุภาพ ตามตวับง่ชีข้อง

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

(องค์การมหาชน) (สมศ.) และสำนักงานคณะกรรมการ

พัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และในปีการศึกษา 2553

และ 2554 คณะได้รับรองมาตรฐาน

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในคณะศิลปศาสตร์ ปีการศึกษา 2553-2554

ลำดับ

ที่ชื่อองค์ประกอบ

2553 2554

คะแนน

ประเมิน

ระดับ

คุณภาพ

คะแนน

ประเมิน

ระดับ

คุณภาพ

1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์

และแผนดำเนินการ

4.59 ดีมาก 4.00 ดี

2 การผลิตบัณฑิต 3.93 ดี 3.78 ดี

3 กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา 4.50 ดี 4.50 ดี

4 การวิจัย 3.29 ดี 3.48 ดี

5 การบริการวิชาการแก่สังคม 4.50 ดี 4.50 ดี

6 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 4.33 ดี 4.67 ดีมาก

7 การบริหารและการจัดการ 4.71 ดีมาก 4.87 ดีมาก

8 การเงินและงบประมาณ 5.00 ดีมาก 5.00 ดีมาก

9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ 4.06 ดี 4.14 ดี

98 สำนักงาน ก.พ.ร.

(ผลการสอบผ่านภาษาอังกฤษ)

0.00 ควรปรับปรุง

อยา่งเรง่ดว่น

2.52 พอใช้

99 นโยบายรัฐบาล “สถานศึกษา 3 ดี”( 3D) 5.00 ดีมาก 5.00 ดีมาก

ผลการประเมินเฉลี่ย (สกอ.และ สมศ.) 4.12 ดี 4.14 ดี

ผลการประเมินระดับคณะ รับรองมาตรฐาน

ผลการประเมินระดับคณะในปีการศึกษา 2553

เท่ากับ 4.12 (ระดับดี) และพัฒนาขึ้นเป็น 4.14 (ระดับดี)

ในปีการศึกษา 2554 ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2554 องค์

ประกอบที่ผลการดำเนินงานดีขึ้นกว่าปีการศึกษา 2553

คือ การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และระบบ

และกลไกการประกันคุณภาพ

Page 100: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

96Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.8.2 การประเมินคุณภาพภายนอก โดย

สมศ. รอบที่ 3

ด้วยความร่วมแรงร่วมใจขับเคลื่อนภารกิจของ

บุคลากรทุกภาคส่วน ทั้งผู้บริหารตลอดจนบุคลากร

สายวิชาการและสายสนับสนุน คณะศิลปศาสตร์ได้ผ่าน

การรับรองคุณภาพภายนอกโดย สมศ. มาแล้ว 2 ครั้ง

คือ ในปี พ.ศ. 2544 และ 2548 สำหรับปัจจุบันอยู่ใน

รอบการประเมินครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2555 ระหว่างวันที่

15-24 กุมภาพันธ์ 2555 โดยคณะกรรมการประเมิน

คณุภาพภายนอกรอบ 3 ไดม้าตรวจเยีย่มคณะฯ ในวนัที ่

22 กุมภาพันธ์ 2555 จากผลการประเมินฉบับร่าง

คณะกรรมการประเมนิคณุภาพใหก้ารรบัรอง คณะศลิปศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตามตัวบ่งชี้พันธกิจหลัก

10 ตัวบ่งชี้ ในระดับดี (4.00) และตัวบ่งชี้ 16 ตัวบ่งชี้

(18 ประเด็น) ในระดับดี (4.22)

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบสามคณะศิลปศาสตร์ ปีการศึกษา 2553

ตัวบ่งชี้ คะแนนประเมิน ระดับคุณภาพ

กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน

ด้านคุณภาพบัณฑิต

1. บัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี 4.27 ดี

2. คุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โทและเอก ตามกรอบมาตรฐาน

คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

4.15 ดี

3. ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์

หรือเผยแพร่

4.54 ดีมาก

4. ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกที่ได้รับการตีพิมพ์

หรือเผยแพร่

- -

2553

2554

5.00

4.00

3.00

2.00

1.00

0.00

องค์ประก

อบที่ 1

องค์ประก

อบที่ 2

องค์ประก

อบที่ 3

องค์ประก

อบที่ 4

องค์ประก

อบที่ 5

องค์ประก

อบที่ 6

องค์ประก

อบที่ 7

องค์ประก

อบที่ 8

องค์ประก

อบที่ 9

องค์ประก

อบที่ 98

องค์ประก

อบที่ 99

ผลการประเ

มินเฉลี่ย

4.003.78

3.48

4.50 4.504.67

4.875.00 5.00

4.144.14

2.52

4.59

3.93

3.29

4.50 4.50 4.33

4.715.00 5.00

4.124.06

แผนภูมิแสดงผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน คณะศิลปศาสตร์ ปีการศึกษา 2553-2554

คะแน

Page 101: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

97Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ตัวบ่งชี้ คะแนนประเมิน ระดับคุณภาพ

ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

5. งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ 4.90 ดีมาก

6. งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ 1.31 ตอ้งปรบัปรงุเรง่ดว่น

7. ผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ 0.82 ตอ้งปรบัปรงุเรง่ดว่น

ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม

8. ผลการนำความรู้และประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการมา

ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและ/หรือการวิจัย

5.00 ดีมาก

9. ผลการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือองค์กร

ภายนอก

5.00 ดีมาก

ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

10. การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม 5.00 ดีมาก

11. การพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรม 5.00 ดีมาก

คะแนนเฉลี่ยผลการประเมิน 11 ตัวบ่งชี้ (1) 4.00 ดี

ด้านการบริหารและการพัฒนาสถาบัน

12. การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสถาบัน ไม่ประเมิน

13. การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถาบัน 4.47 ดี

14. การพัฒนาคณาจารย์ 2.95 พอใช้

ด้านการพัฒนาและประกันคุณภาพภายใน

15. ผลประเมินการประกันคุณภาพภายในรับรองโดยต้นสังกัด 4.12 ดี

กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์

16. ผลการพัฒนาตามอัตลักษณ์ของสถาบัน

16.1 ผลการบริหารสถาบันให้เกิดอัตลักษณ์

16.2 ผลการพัฒนาบัณฑิตตามอัตลักษณ์

5.00

4.36

ดีมาก

ดี

17. ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็น

เอกลักษณ์ของสถาบัน

5.00 ดีมาก

กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม

18. ผลการชี้นำ ป้องกัน หรือแก้ปัญหาของสังคมในด้านต่างๆ

18.1 ผลการชี้นำ ป้องกัน หรือแก้ปัญหาของสังคมในประเด็นที่ 1

ภายในสถาบัน

18.2 ผลการชี้นำ ป้องกัน หรือแก้ปัญหาของสังคมในประเด็นที่ 2

ภายนอกสถาบัน

5.00

5.00

ดีมาก

ดีมาก

คะแนนเฉลี่ยผลการประเมิน 18 ตัวบ่งชี้ (2) 4.22 ดี

Page 102: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

98Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

ตัวบ่งชี้ที่คณะศิลปศาสตร์มีผลการดำเนินงาน

อยู่ในระดับดีมาก 10 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ ด้านคุณภาพบัณฑิต

1 ตัวบ่งชี้ คือ ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาระดับ

ปริญญาโทที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ด้านงานวิจัย

และงานสร้างสรรค์ 1 ตัวบ่งชี้ คือ งานวิจัยหรืองาน

สร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ด้านการบริการ

วิชาการแก่สังคม 2 ตัวบ่งชี้ คือ ผลการนำความรู้และ

ประสบการณ์จากการให้บริการวิชาการมาใช้ในการ

พัฒนาการเรียนการสอนและ/หรือการวิจัย และผลการ

เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือองค์กร

ภายนอก ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 2 ตัว

บ่งชี้ คือ การส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและ

วัฒนธรรม และการพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะ

และวัฒนธรรม ด้านกลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ (2 ตัวบ่งชี้)

และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม (2 ตัวบ่งชี้) ซึ่งดำเนิน

การร่วมกับมหาวิทยาลัย สำหรับตัวบ่งชี้ที่อยู่ในระดับดี

จำนวน 5 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ด้านคุณภาพบัณฑิต

คือ บัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพ

อิสระภายใน 1 ปี และคุณภาพของบัณฑิตปริญญาตรี โท

และเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

แห่งชาติ องค์ประกอบด้านการบริหารและการพัฒนา

สถาบัน คือ การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร

สถาบัน องค์ประกอบด้านการพัฒนาและประกันคุณภาพ

ภายใน 1 ตัวบ่งชี้ คือ ผลประเมินการประกันคุณภาพ

ภายในรับรองโดยต้นสังกัด ด้านกลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์

(1 ตัวบ่งชี้) คือ ผลการพัฒนาบัณฑิตตามอัตลักษณ์

ทั้งนี้ คณะกรรมการประเมินคุณภาพภายนอก

ระบุว่าคณะศิลปศาสตร์มีจุดแข็งในเรื่องความร่วมมือ

กับต่างประเทศทางด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน

และการจัดโครงการพัฒนานักศึกษาซึ่งดำเนินการ

อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักศึกษาได้รับการประเมินด้าน

คุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับดี อย่างไรก็ตาม

คณะยังมีจุดที่ควรพัฒนาในด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้

ประโยชน์ในเชิงพัฒนาหรือแก้ปัญหาของชุมชนให้มากขึ้น

ตลอดจนส่งเสริมให้มีการผลิตผลงานวิชาการ เช่น

บทความทางวิชาการ หนังสือ หรือตำรา เพื่อนำไปสู่

การพัฒนาอาจารย์ให้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการมากขึ้น

Page 103: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

99Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla Universityคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รายงานประจำปี 2551 - 2554

9.8.4. ผลงานจากการประกันคุณภาพ

จากการที่คณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน

และภายนอก ตรวจเยี่ยมคณะศิลปศาสตร์ คณะกรรมการฯ

ชื่นชมการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง

(Self-access Learning Center) ว่าเป็นหน่วยงานที่มี

บรรยากาศที่ดี มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันและ

สวยงาม เจ้าหน้าที่มีจิตบริการ มีการทำงานเชิงรุกและ

บูรณาการกับการเรียนการสอน ส่งผลให้ศูนย์การเรียนรู้

ด้วยตนเอง คณะศิลปศาสตร์ได้รับคัดเลือกให้เป็น

หน่วยงานที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการเรียนการสอน

และคุณภาพบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2554 จาก

โครงการ “การบูรณาการการเรียนการสอนและการจัด

กิจกรรมในรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง” และศูนย์

การเรียนรู้ด้วยตนเองมีกำหนดนำเสนอผลงาน ในโครงการ

เวทีคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในวันที่ 26

กันยายน 2555 นับเป็นรางวัลที่ช่วยเสริมสร้างกำลังใจ

ความร่วมแรงร่วมใจของบุคลากร เพื่อขับเคลื่อนการ

พัฒนาผลการดำเนินงานของคณะฯ ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

Page 104: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ
Page 105: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ
Page 106: o p Ê 2551-2554fs.libarts.psu.ac.th/webcontent/Document/Doc2559/08August/1_LA-annual... · ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 โดยวารสารฉบับดังกล่าวได้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับชาติ

คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตหาดใหญ

www.libarts.psu.ac.th