ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2...

34
2 บทท่ 1 ภาพรวมโครงการ “บ้านนกวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” 1.1 ความเป็นมาและวตถประสงค์ ในยุคโลกาภิวัตน์ การพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมนานาประเทศ ต้องพยายามพัฒนาศักยภาพของประชากร ด้วยการศึกษารวมทั้งพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ จากผลการประเมินระดับนานาชาติ เช่น Programme for International Student Assessment: PISA พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยยังต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย และประเทศไทยยังขาดนักวิทยาศาสตร์และ วิศวกรที่จะขับเคลื่อนการพัฒนา ซึ่งปัญหานี้ ทั้งภาครัฐ เอกชน หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งครูและผูปกครองจำเป็นต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะการพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ไม่อาจสำเร็จ ได้โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง งานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่า เด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก เพราะมีความสามารถ ในการเรียนรู้และจดจำสูงสุด เป็นวัยที่ต้องวางรากฐานที่ดีเพื่อให้มีทัศนคติและทักษะพื้นฐานที่ดีด้านวิทยาศาสตร์ หากครูผู้สอนในระดับปฐมวัยสามารถถ่ายทอดความรู้ มีเทคนิคและกระบวนการสอนที่สอดคล้องและเหมาะสม กับวัยเสริมเข้าไปในหลักสูตร จะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ และสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ ความ อยากรู้อยากเห็น ความช่างสังเกต และความสามารถในการจดจำวิชาต่างๆในอนาคตได้เป็นอย่างดี มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา และบริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด ได้ศึกษาโครงการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยา- ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในประเทศเยอรมนี จากโครงการ “Haus der Kleinen Forscher” (หรือบ้านนักวิทยา- ศาสตร์น้อย) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่ปลูกฝังนิสัยรักวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยขยายผลไปสู่โรงเรียนอนุบาลจำนวนมากในเวลาอันสั้น และสามารถควบคุม มาตรฐานได้อย่างดี นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับพ่อแม่ ผู้ปกครองอีกด้วย นับว่าเป็นการส่งเสริมการ เรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และบริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด จึงได้ร่วมมือกันริเริ่มโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับ เด็กปฐมมวัย โดยอาศัยเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆร่วมกันสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ของเยาวชนไทย ซึ่งโครงการนี้มุ่งวางรากฐานการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ให้นักเรียนฝึกสังเกต รู้จักตั้งคำถามและค้นหาคำตอบ ด้วยตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตขึ้น เป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร หรือเป็นทรัพยากรบุคคล ที่มีจิตวิทยาศาสตร์ และมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการ “บ้านนกวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วมโครงการคือ เด็กปฐมวัย (อายุระหว่าง 3-6 ปี) โดยเด็กจะได้รับ การฝึกฝนและสร้างทักษะด้านการสังเกตและเรียนรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างง่ายๆ ตลอดจนการเปิด โอกาสให้เด็กได้ลงมือทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง ซึ่งโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศ ไทย” จะเป็นหน่วยงานที่มีส่วนช่วยทำให้เด็กมีสิทธิและโอกาสทางการศึกษาทัดเทียมกับทุกคนในสังคม ตลอด จนช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย

Transcript of ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2...

Page 1: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

2

บทที่ 1

ภาพรวมโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย”

1.1 ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ ในยุคโลกาภิวัตน์การพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมนานาประเทศต้องพยายามพัฒนาศักยภาพของประชากร

ด้วยการศึกษารวมทั้งพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติ

จากผลการประเมินระดับนานาชาติ เช่นProgramme for InternationalStudentAssessment:PISAพบว่า

ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยยังต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยและประเทศไทยยังขาดนักวิทยาศาสตร์และ

วิศวกรที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาซึ่งปัญหานี้ ทั้งภาครัฐ เอกชนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งครูและผู้

ปกครองจำเป็นต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะการพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ไม่อาจสำเร็จ

ได้โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

งานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่า เด็กปฐมวัย (อายุ3-6ปี) เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก เพราะมีความสามารถ

ในการเรียนรู้และจดจำสูงสุด เป็นวัยที่ต้องวางรากฐานที่ดีเพื่อให้มีทัศนคติและทักษะพื้นฐานที่ดีด้านวิทยาศาสตร์

หากครูผู้สอนในระดับปฐมวัยสามารถถ่ายทอดความรู้มีเทคนิคและกระบวนการสอนที่สอดคล้องและเหมาะสม

กับวัยเสริมเข้าไปในหลักสูตรจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์และสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ความ

อยากรู้อยากเห็นความช่างสังเกตและความสามารถในการจดจำวิชาต่างๆ ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

มลูนธิสิมเดจ็พระเทพรตันราชสดุาและบรษิทันานมบีุค๊ส์จำกดัไดศ้กึษาโครงการสง่เสรมิการเรยีนรูว้ทิยา-

ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในประเทศเยอรมนีจากโครงการ“HausderKleinenForscher” (หรือบ้านนักวิทยา-

ศาสตร์น้อย)ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่ปลูกฝังนิสัยรักวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยขยายผลไปสู่โรงเรียนอนุบาลจำนวนมากในเวลาอันสั้น และสามารถควบคุม

มาตรฐานได้อย่างดีนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับพ่อแม่ผู้ปกครองอีกด้วยนับว่าเป็นการส่งเสริมการ

เรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง

ด้วยเหตุนี้มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯและบริษัทนานมีบุ๊คส์จำกัดจึงได้ร่วมมือกันริเริ่มโครงการ

“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับ

เด็กปฐมมวัยโดยอาศัยเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ของเยาวชนไทย

ซึ่งโครงการนี้มุ่งวางรากฐานการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ให้นักเรียนฝึกสังเกตรู้จักตั้งคำถามและค้นหาคำตอบ

ด้วยตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตขึ้น เป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรหรือเป็นทรัพยากรบุคคล

ที่มีจิตวิทยาศาสตร์และมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย”

ผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วมโครงการคือ เด็กปฐมวัย (อายุระหว่าง3-6ปี) โดยเด็กจะได้รับ

การฝึกฝนและสร้างทักษะด้านการสังเกตและเรียนรู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างง่ายๆ ตลอดจนการเปิด

โอกาสให้เด็กได้ลงมือทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองซึ่งโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศ

ไทย”จะเป็นหน่วยงานที่มีส่วนช่วยทำให้เด็กมีสิทธิและโอกาสทางการศึกษาทัดเทียมกับทุกคนในสังคม ตลอด

จนช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย

Page 2: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

3

ส่วนผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (LocalNetwork)จะเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่พัฒนาด้านการเรียนการสอน

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างแท้จริง โดยผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นสามารถประชาสัมพันธ์แก่สาธารณชนได้ว่า

เป็นผู้ที่ทำประโยชน์แก่สังคมและสามารถสร้างเครือข่ายกับสถาบันอื่นๆ ในสาขาเดียวกันได้ด้วย เพื่อที่ผู้นำ

เครือข่ายท้องถิ่นจะได้มีพันธมิตรในการขับเคลื่อนและสนับสนุนงานด้านต่างๆ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

มากขึ้นและมีความเข้มแข็ง

โรงเรียนอนุบาลที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับคำแนะนำและแนวทางปฏิบัติว่าสามารถนำการเรียนการสอน

วิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนปฐมวัยได้อย่างไร

ภาระหน้าที่ของโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”

โครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย"จะประสานงานกับโรงเรียนอนุบาลในระยะยาว เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนอนุบาล

โครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย"จะสนับสนุนการทำงานของครูและส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของผู้ปกครองในภาคปฏิบัติต่างๆ เช่นการทดลอง

โครงการ"บา้นนกัวทิยาศาสตรน์อ้ยประเทศไทย"จะสรา้งความเขม้แขง็ในการศกึษาดา้นวทิยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างบุคลากรสำหรับวงการวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

ในระยะยาว

1.2 กิจกรรมสำหรับโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนอนุบาลที่เข้าร่วมโครงการจะจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้มีโอกาสทดลองวิทยาศาสตร์อย่างสม่ำเสมอ

ทั้งนี้การทดลองต่างๆ จะไม่แยกส่วนในการเรียนรู้เพราะจะทำให้เด็กไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ได้ แต่จะ

เน้นให้การทดลองรวมอยู่ในบริบทของหัวข้อใหญ่ เช่น น้ำ อากาศ พลังงาน ครูควรพัฒนาวิธีการหา

คำตอบสำหรับเหตุการณ์และปัญหาในชีวิตประจำวันร่วมไปกับเด็กและคอยกระตุ้นให้เด็กคิดทบทวนถึงประ-

สบการณ์เรียนรู้ของตัวเอง

เป้าหมายในระยะยาวของ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”คือต้องการสนับสนุนการเพิ่มความรู้ความสามารถ

ของบุคลากรผู้สอน ดังนั้นจึงมีการฝึกฝนให้ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการหยิบยกปรากฏการณ์ทาง

ธรรมชาติและความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรอบตัวมาผสมผสานกับงานสอนของตนได้ด้วยตนเอง

โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”และหน่วยงานผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่

หลากหลาย อาทิเช่นจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำเอกสารแนะนำการทดลอง และแนวทางในการส่งเสริม

การทำโครงงานสำหรับนักเรียน

    การอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับครู 

ครู (SchoolTeachers)จะได้รับการอบรมอย่างน้อย2ครั้งนั่นคือการอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 1และ

การอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 2 เพื่อที่จะได้สามารถนำการทดลองที่สนุกสนานมากระตุ้นหรือส่งเสริมให้นักเรียน

Page 3: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

4

บทที่ 1

สนใจวิทยาศาสตร์หลังจากนั้นครูจะได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทางอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อปี เพื่อให้ครู

สามารถสร้างแผนการการสอนได้อย่างต่อเนื่อง โดยโรงเรียนอนุบาลสามารถส่งครูเข้าร่วมการอบรมได้อย่างน้อย

หนึ่งหรือสองคน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของโรงเรียนแต่ละแห่งส่วนวิทยากร (LocalTrainer)ที่จะอบรมให้ครูจะ

คัดเลือกมาจากผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นและโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”มีหน้าที่จัดฝึกอบรม

ให้กับวิทยากรที่จะไปจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับครู

การอบรมเชิงปฏิบัติการมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นความสนใจและถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีให้แก่ครู รวมทั้งเทคนิคและวิธีนำการทดลองไปใช้ในการเรียนการสอน นอกจากนี้ โครงการยังสร้าง

เครือข่ายระหว่างครูที่เข้ารับการอบรมให้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันครูจะได้รับการอบรมเกี่ยวกับ

พื้นฐานด้านการสอนเทคนิคและวิธีการสอนอย่างเข้มข้นซึ่งรูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งหมดสามารถ

ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นได้ตลอดเวลา

การอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 1  

การอบรมครั้งแรกนี้จะแนะนำหลักสูตรต่างๆ การแนะแนวทางการเรียนการสอนและตัวอย่างการทดลอง

ทางวิทยาศาสตร์ โดยหัวข้อแรกที่จะทำการทดลองคือเรื่อง “น้ำ”ซึ่งใช้ระยะเวลาการอบรม1วัน

การอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 2  

ภายหลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 13 เดือนจะจัดให้มีการอบรมขั้นที่ 2 โดยเริ่มจากการให้ครูได้

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้นำความรู้จากการอบรมปฏิบัติการขั้นที่ 1 ไปใช้สอนจริงหลังจากนั้นก็ทำการ

ทดลองทางวิทยาศาสตร์ในหัวข้อ “อากาศ”ควรใช้ระยะเวลาในการอบรมอย่างน้อยครึ่งวัน

การอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทาง  

ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นและโรงเรียนอนุบาลจะควรร่วมกันจัดอบรมอย่างน้อยปีละ1ครั้งซึ่งสามารถใช้หัวข้อ

การอบรมได้จากใบกิจกรรมการทดลอง

คำแนะนำ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการบรรจุอยู่ในบท

“กิจกรรมสำหรับผู้อบรม” ในหัวข้อ2.2

    สื่อการเรียนการสอนสำหรับครู 

โครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ได้พัฒนาสื่อการการสอนในรูปแบบของใบกิจกรรมการ

ทดลอง เอกสารประกอบการทำงานสำหรับครูผู้สอนไว้หลายหัวข้อ (เช่นน้ำอากาศพลังงาน)ในรูปแบบของใบ

กิจกรรมทดลองและกล่องโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” เพื่อใช้เก็บใบกิจกรรมทดลองบัตรทดลองแต่ละ

ใบจะนำเสนอการทดลองง่ายๆ ที่คัดเลือกมาแต่ละหัวข้อเพื่อให้ทำความเข้าใจได้ง่ายบัตรทดลองแต่ละใบจะ

ให้ข้อมูลว่าการทดลองนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอย่างไรใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างไรขั้นตอนการทดลองความคิด

ต่อยอดในการทดลองและข้อมูลเพิ่มเติมทางวิทยาศาสตร์

Page 4: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

5

ใบกิจกรรมทดลองและแนวทางการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จะเป็นเครื่องมือช่วยครูในการจัดการเรียนการ

สอนแต่ไม่ใช่ “ตำรา”ที่ครูจะต้องทำตามและยึดถืออย่างเคร่งครัดแต่ทางโครงการต้องการจะส่งเสริมให้ครูตอบ

คำถามของเด็ก ช่วยเด็กทำโครงงานและการทดลอง ดังนั้นเนื้อหาของโครงงานจึงควรเน้นหัวข้อเรื่องที่เด็ก

สามารถสัมผัสรับรู้และเข้าใจได้ตลอดจนพยายามให้เด็กรู้จักตั้งคำถามเองแม้ว่าครูต้องเป็นผู้คัดเลือกคำถามใน

ขั้นตอนสุดท้ายครูจึงเป็นผู้ที่คอยกระตุ้นและสนับสนุนให้เด็กให้ค้นพบสิ่งที่น่าสนใจใหม่ๆ และเพิ่มพูนความสนใจ

สำหรับเด็กตลอดจนทำให้พวกเขาเข้าใจปรากฏการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขามากขึ้น

คำแนะนำ โรงเรียนจะต้องหาวัสดุและอุปกรณ์ในการทำการทดลองเอง แต่ส่วนใหญ่อุปกรณ์

จะเป็นของที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่นหลอดดูกขวดพลาสติกเป็นต้น

    นักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรพี่เลี้ยง 

สำนักงานโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”มีความยินดีที่จะรับการสนับสนุนกิจกรรมจาก

องค์กรต่างๆ โดยการสนับสนุนเหล่านี้จะเป็นแรงจูงใจและจุดประกายให้เด็กๆ ได้เข้ามาสัมผัสบรรยากาศทาง

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีองค์กรสนับสนุนหรือผู้สนับสนุนสามารถกำหนดได้เองว่าจะสนับสนุนอะไรบ้าง เช่น

ช่วยตอบคำถามและให้ความรู้แก่ของครู ไปเยี่ยมโรงเรียนอนุบาล เพื่อเล่าชีวิตการทำงานให้คำแนะนำเกี่ยวกับ

การทดลองเพิ่มเติมทำงานร่วมกับครูในการทำการทดลองพร้อมๆ กับเด็กและช่วยบันทึกโครงงาน โดยการ

ถ่ายรูปบันทึกวีดีโอ เป็นต้น เราอาจพบผู้สนใจจะอาสาเป็นผู้สนับสนุนได้ในสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยบริษัทหรือ

พิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานที่เกษียณแล้วตลอดจนพ่อแม่ของเด็กๆ ในโรงเรียนอนุบาลที่เข้าร่วม

โครงการ โดยโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”จะจัดเตรียมเอกสารข้อมูลโครงการเพื่อใช้ในการ

ติดต่อหาผู้ที่จะมาเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรพี่เลี้ยง

    การรับรอง “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” ในโรงเรียนอนุบาล 

โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1ปี

การศึกษาและได้นำกิจกรรมทดลองไปใช้ในการเรียนการสอนจำนวน 20 การทดลองมีการทำโครงงาน

วิทยาศาสตร์อย่างน้อย2 โครงงานสามารถกรอกแบบฟอร์มยื่นผลการดำเนินงานเสนอต่อผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น

เพื่อขอรับเกียรติบัตรว่าเข้าร่วมโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทสไทย”อย่างสมบูรณ์ หลังจากนั้นผู้นำ

เครือข่ายท้องถิ่นจะส่งต่อเอกสารทั้งหมดไปยังสำนักงานโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” เพื่อ

พิจารณารับรองผลการดำเนินงานของโรงเรียนแต่แห่งและมอบ“เกียรติบัตร”และ “ตราบ้านนักวิทยาศาสตร์

น้อย”ให้กับโรงเรียนเหล่านั้นซึ่งการรับรองนี้จะมีผลสองปีนับตั้งแต่วันที่ได้รับเกียรติบัตร

    เว็บไซต์

เว็บไซต์ของโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” คือwww.littlescientists.com ซึ่งมีราย

ละเอียดของโครงการและข้อมูลที่จำเป็นสำหรับครูผู้ปกครองนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นและ

วิทยากรตัวอย่างเช่นมีคำอธิบายเกี่ยวกับการทดลองทุกการทดลองสำหรับครูภาพรวมในการทำงานของผู้นำ

Page 5: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

6

บทที่ 1

เครือข่ายท้องถิ่นและปฏิทินกิจกรรม โดยในหัวข้อ 3.1 ของคู่มือนี้จะให้ข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับบริการต่างๆ บน

เว็บไซต์

1.3 แผนผังองค์กร โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ประกอบด้วยสำนักงานโครงการและผู้นำเครือข่าย

ท้องถิ่นซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานระหว่างสำนักงานโครงการกับโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนอนุบาลทั่ว

ประเทศจึงมีโอกาสทราบข้อมูลกิจกรรมของโครงการผ่านผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นในพื้นที่ของตน

แต่ละเครือข่ายจะมีโรงเรียนอนุบาลในความดูแลประมาณ 30 แห่ง 

สำนักงานโครงการ 

“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” 

หน่วยงานผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น

โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนอนุบาล

หน่วยงานผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น หน่วยงานผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น

หน้าที่ของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย 

สำนักงานโครงการจะมีหน้าที่ผลักดันและดูแลโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ในภาพ

รวมโดยมีทีมงานจะดูแลกำกับทิศทางโครงการทั้งประเทศให้เป็นไปตามนโยบายมีการนำข้อมูลที่ได้รับรายงาน

มาปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่องสร้างกิจกรรมและหลักสูตรใหม่ๆ และรวบรวมผลดำเนินงาน

โครงการให้เป็นภาพรวมเดียวกันสำนักงานโครงการยังปฏิบัติหน้าที่เสริมคือ เป็นผู้ประสานงานของผู้นำเครือข่าย

ท้องถิ่น รวมทั้งติดตามและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมโครงการในโรงเรียนอนุบาลทุกแห่งที่เข้าร่วม

โครงการ

หน้าที่ของโครงการได้แก่

สร้างและพัฒนารูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการ:ในช่วงโครงการนำร่องสำนักงานโครงการจะ

เป็นผู้พัฒนารูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการและนำไปใช้ในการฝึกอบรมวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นและจะได้

พัฒนารูปแบบโดยอ้างอิงจากประสบการณ์ของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นต่อไป

 อบรมวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น:ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นแต่ละแห่งจะแต่งตั้งวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น

(LocalTrainers:LT)ของตนจำนวน2คน โดยวิทยากรหลัก (CoreTrainers)จากโครงการจะเป็นผู้จัดการ

อบรมเชิงปฏิบัติการให้ทั้งในเรื่องของกระบวนการเรียนการสอน เนื้อหาและเทคนิคการสอนการทำกิจกรรม

วิทยาศาสตร์กับเด็กซึ่งวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นสามารถให้คำแนะนำเรื่องการอบรมแก่วิทยากรหลักได้ตลอดทั้งป ี

Page 6: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

7

 สื่อการเรียนการสอน:สำนักงานโครงการมีหน้าที่พัฒนาและผลิตสื่อการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียน

อนุบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบกิจกรรมทดลองและกล่องนักวิทยาศาสตร์น้อยที่เก็บรักษาใบกิจกรรมทดลอง

นอกจากนี้สำนักงานโครงการยังรับผิดชอบการจัดพิมพ์คู่มือผู้อบรมแผ่นพับสำหรับนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงหรือ

เอกสารประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ในหัวข้อ2.4จะเป็นภาพรวมเกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ ที่มีไว้ให้โรงเรียนอนุบาลและผู้นำ

เครือข่ายท้องถิ่นและกระบวนการขั้นตอนจัดส่งเอกสาร

 การจัดส่งเอกสาร: สำนักงานโครงการจะจัดส่งเอกสารที่จำเป็นไปยังผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งจะ

แจกจ่ายเอกสารไปยังโรงเรียนอนุบาลที่อยู่ในเครือข่ายต่อไป

 นักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง: โครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” เปิดรับอาสาสมัครเพื่อ

ทำงานในโรงเรียนอนุบาลแต่ละแห่ง โดยทำหน้าที่ในบทบาทของนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรพี่เลี้ยงในการให้คำ

แนะนำเรื่องการประชาสัมพันธ์และเชิญชวนผู้ที่สนใจมาสนับสนุนโครงการ

 ดูแลและพัฒนาเว็บไซต์: www.littlescientists.comมีข้อมูลกิจกรรมการทดลองและข้อมูลเกี่ยวกับ

โครงการและปฏิทินกิจกรรมซึ่งผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นสามารถใช้เว็บไซต์ในการเสนอผลงานของตนเองสามารถ

ประชาสัมพันธ์กิจกรรมได้ด้วย

 งานประชาสัมพันธ์: โครงการมีหน้าที่รณรงค์ให้สังคมเห็นถึงความสำคัญของโครงการบ้านนัก

วิทยาศาสตร์น้อยและดูแลภาพลักษณ์ของโครงการที่ปรากฏสู่สายตาสาธารณชนทั่วประเทศอย่างเป็นเอกภาพ

เช่นการจัดงานแถลงข่าวและ/หรือส่งข่าวประชาสัมพันธ์ให้สื่อมวลชนเมื่อมีการก่อตั้งผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นใหม่

(LocalNetwork)ท่านสามารถติดต่อขอข้อมูลประชาสัมพันธ์ได้ที่โครงการ

 สร้างเครือข่าย:การประชุมเครือข่ายทำให้ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”สามารถเชื่อมโยง

เครือข่ายและแลกเปลี่ยนคณะกรรมการกันได้ตลอดเวลา

 เสริมความแข็งแกร่งทางวิชาการ: “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ร่วมมือกับนักวิชาการนัก

วิจัยการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ รับประกันความถูกต้องน่าเชื่อถือของเนื้อหาในโครงการและกิจกรรม

    บทบาทของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น

ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (LocalNetworks) เป็นหน่วยงานหลักของโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

ประเทศไทย” ในภูมิภาคต่างๆ มีหน้าที่ดูแลโรงเรียนอนุบาลที่เข้าร่วมโครงการซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่าง

สำนักงานโครงการและโรงเรียนอนุบาลต่างๆ ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะเป็นที่พบเจอและทำงานร่วมกันของผู้มี

บทบาทในแวดวงการศึกษาที่หลากหลายเช่นชุมชนเจ้าของโรงเรียนอนุบาลโรงเรียนอนุบาลแต่ละแห่งสถาบัน

ศึกษาและสถาบันการฝึกอบรม โรงเรียนอาชีวศึกษาบุคคลที่สนใจพิพิธภัณฑ์และศูนย์วิทยาศาสตร์ต่างๆ

บริษัทและมูลนิธิต่างๆ สถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยภาระงานอย่างหนึ่งของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นคือพยายาม

เชื่อมโยงให้มีการทำงานในหลายๆ องค์กรสร้างเครือข่ายโรงเรียนอนุบาลทุกแห่งที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมและ

สร้างเครือข่ายอาสาสมัครที่สนใจทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการได้

ในบบที่ 2จะอธิบายบทบาทของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นอย่างละเอียดอีกครั้งต่อไปนี้เป็นภาพรวมภาระ

หน้าที่ของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น

การหาโรงเรียนอนุบาล: ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นรับผิดชอบเรื่องการประสานงานและจัดการบริหาร

กิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนอนุบาลเข้าร่วมในช่วงต้นของการดำเนินการควรจะมีโรงเรียนอนุบาลอย่างน้อย30แห่ง

Page 7: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

8

บทที่ 1

ที่แสดงความสนใจเข้าร่วมโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”สำนักงานโครงการจะสนับสนุน

หน่วยงานผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นในการหาโรงเรียนอนุบาลเพิ่มขึ้น โดยการจัดทำเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ

และร่างจดหมายเพื่อการติดต่อกับโรงเรียนอนุบาลโดยท่านสามารถแจ้งให้โรงเรียนเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ได้ที่เว็บไซต์www.littlescientists.com

 คัดเลือกวิทยากร:ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะแต่งตั้งวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อจัดอบรมให้แก่ครู โดย

ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะพิจารณาแต่งตั้งบุคลากรที่เหมาะสมและสามารถจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในระยะยาว

ได้วิทยากรควรมีความรู้ด้านการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยและวิทยาศาสตร์มีประสบการณ์ทำงานกับเด็ก

และการจัดอบรมสำหรับครูอนุบาลซึ่งผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นแต่ละแห่งจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนของการ

อบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับครูในเครือข่ายของตน

 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับครู: ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะเป็นผู้จัดกิจกรรมการอบรมเชิง

ปฏิบัติการให้ครูของโรงเรียนอนุบาลตามข้อกำหนดทั้งการอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 1 และการอบรมเชิง

ปฏิบัติการขั้นที่2 โดยผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะเป็นผู้กำหนดเวลาและสถานที่และเชิญครูมาเข้าร่วมการอบรมใน

การอบรมแต่ละครั้งโรงเรียนอนุบาลต้องส่งครูเข้าร่วมการอบรมอย่างน้อย2คน เพื่อนำความรู้ไปใช้ในระยะยาว

ยกเว้นในโรงเรียนอนุบาลที่มีขนาดเล็กมากจึงอนุญาตให้มีครูที่เข้าร่วมการอบรมต่ำกว่าที่กำหนดไว้ได้ผู้เข้าอบรม

เชิงปฏิบัติการในแต่ละครั้งจะมีจำนวนตั้งแต่10-15คนและมากที่สุด20คนและทุกๆ ปีจะมีการจัดอบรมเชิง

ปฏิบัติการเฉพาะทางขึ้นอีกหนึ่งครั้ง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มเติม

 การส่งมอบสื่อและเอกสารประกอบการเรียนการสอน:สำนักงานโครงการจะจัดสื่อและเอกสาร

ประกอบการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนอนุบาลได้แก่กล่องนักวิทยาศาสตร์น้อยใบกิจกรรมทดลอง,แนวทาง

การสำหรับทำโครงงานคู่มือครูแผ่นพับประชาสัมพันธ์แบบฟอร์มต่างๆ เพื่อใช้ในการทำงานของผู้นำเครือข่าย

ท้องถิ่นหน้าที่ของหน่วยงานประสานงานเครือข่ายคือการประสานงานเพื่อขอสื่อและเอกสารการเรียนการสอนที่

จำเป็นในโครงการสำหรับไปแจกจ่ายครูผู้สอนสำหรับการจัดอบรม

 ติดต่อนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรพี่เลี้ยง: โครงการปรารถนาอย่างยิ่งให้โรงเรียนอนุบาลแต่ละแห่ง

มีนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรพี่เลี้ยงอย่างน้อย1คน เพื่อช่วยเหลือครูในการถ่ายทอดเนื้อหาวิทยาศาสตร์แก่เด็ก

วิธีการคือการไปเยี่ยมเยียนโรงเรียนอนุบาลที่ตนเองเป็นพี่เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอโดยเว้นระยะเวลาอย่างเหมาะสม

ช่วยกระตุ้นครู ช่วยตอบปัญหาและทำการทดลองร่วมกับเด็กผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะร่วมกับโรงเรียนอนุบาล

ค้นหานักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรพี่เลี้ยงจากผู้ปกครองหรือมหาวิทยาลัยสถาบันวิจัยหรือบริษัทต่างๆ ในท้องถิ่น

ของตน

 เข้าร่วมกิจกรรมเทศกาลบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย: งานนี้จะจัดขึ้นปีละ1ครั้งตาม

คำแนะนำ เพื่อการแจกจ่ายสื่อและเอกสารประกอบการเรียนการสอน

เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์สูงหน่วยงานผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น

ควรดูแลให้มีการใช้สื่อและเอกสารอย่างประหยัดและประสิทธิภาพมากที่สุด

โดยสื่อและเอกสารประกอบการเรียนการสอนดังกล่าวจะไม่ได้รับอนุญาต

ให้นำไปจำหน่ายต่อหรือใช้เพื่อการพาณิชย์ใด ๆ ทั้งสิ้น

Page 8: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

9

กำหนดการที่สำนักงานโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” เป็นผู้กำหนดซึ่งทางโครงการจะ

ประชาสัมพันธ์ให้ทราบล่วงหน้างานนี้มีความสำคัญมากและเป็นโอกาสดีที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้มาพบเจอกัน

ดังนั้นผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นและโรงเรียนอนุบาลที่เข้าร่วมโครงการไม่ควรพลาดเข้าร่วมงานนี้เป็นอย่างยิ่ง

 จัดกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มเติมให้โรงเรียนอนุบาล: โครงการมีความยินดีให้ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจัดหา

กิจกรรมเพิ่มเติมให้ครู เด็กและผู้ปกครองด้วยตนเองซึ่งอาจจะเป็นการอบรมหรือสัมมนาเพิ่มเติมการจัดประชุม

โดยสม่ำเสมอ วันที่มีกิจกรรมทดลองร่วมกันหรือวันนัดพบผู้ปกครอง โดยกิจกรรมเหล่านี้ต้องไม่ขัดแย้งกับ

แนวทางหลักของ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”

 การประเมินคุณภาพและรับรองโรงเรียนอนุบาลเป็น “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”:ผู้นำเครือข่าย

ท้องถิ่นจะร่วมประเมินคุณภาพการอบรม เอกสารการทำงานและการรับรองโรงเรียนอนุบาลโดยจะสุ่มตรวจสอบ

ความสมบูรณ์ของเอกสารที่จำเป็นต่อการรับรองและส่งมอบต่อให้สำนักงานโครงการผู้มอบใบเกียรติบัตรรับรอง

ให้โรงเรียนอาจเป็นผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นหรือผู้สนับสนุนของโรงเรียนอนุบาลจากนั้นทางผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะ

รายงานต่อสำนักงานโครงการปีละครั้ง เกี่ยวกับสถานภาพและผลการดำเนินงานของโรงเรียนอนุบาลที่เข้าร่วม

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการประเมินดูได้ในหัวข้อ2.8

 งานประชาสัมพันธ์: ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นสามารถดำเนินการประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการได้

และแจ้งให้พื้นที่ชุมชนท้องถิ่นได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”

นอกจากนี้เครือข่ายยังสามารถหานักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรพี่เลี้ยงได้ในท้องถิ่นขอความอนุเคราะห์จากหน่วย

งานต่างๆ และประชาสัมพันธ์กิจกรรมผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นควรแจ้งให้สำนักงานโครงการทราบเกี่ยวกับกิจกรรม

ประชาสัมพันธ์ของเครือข่ายตนและส่งตัวอย่างมาเป็นหลักฐาน

1.4 ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมและระบบการเงินของเครือข่าย

    ค่าใช้จ่ายในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 

ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นมีหน้าที่จัดกิจกรรม“การอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 1”และ“การอบรมเชิงปฏิบัติการ

ขั้นที่ 2”สำหรับครูในหัวข้อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามมาตรฐานที่อธิบายมาแล้วก่อนหน้านี้ นอกจากนี้

อาจจะจัดอบรมเพิ่มเติมประจำปีมีการส่งมอบและแจกจ่ายสื่อการเรียนการสอนหมั่นไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนที่

เข้าร่วมโครงการอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการประเมินคุณภาพและเข้าร่วมงานเทศกาลนักวิทยาศาสตร์น้อย

ประเทศไทย

ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นสามารถริเริ่มสร้างสรรค์จัดกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นได้อย่าง

ไม่มีขอบเขตจำกัดไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจจกรรมการทดลองยามบ่ายสำหรับเด็กวันนัดพบผู้ปกครองหรือร่วมมือ

กับสถาบันวิทยาศาสตร์ในท้องถิ่นในการไปเยี่ยมชมห้องทดลอง โรงงานบำบัดน้ำเสียหรือโรงงานไฟฟ้า เป็นต้น

ซึง่ชว่งเวลาทีเ่หมาะสำหรบัการจดัอบรมเชงิปฏบิตักิารขัน้ที่1และขัน้ที่2ใหก้บัโรงเรยีนอนบุาลประมาณ30แหง่

จะใช้เวลาประมาณ20วันทำการในปีแรกและระยะเวลาสำหรับการจัดงานอบรมเพิ่มเติมจะใช้เวลาประมาณ

2-3วันวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นต้องเผื่อเวลาสำหรับการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งสองครั้งนี้สำหรับโรงเรียน

อนุบาล30แห่งไว้รวมทั้งหมดประมาณ16วันและวิทยากรต้องใช้เวลาเตรียมงานการอบรมแต่ละครั้งเพิ่มขึ้นอีก

8วันหากผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นใดดูแลโรงเรียนอนุบาลมากกว่า30แห่งก็ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

Page 9: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

10

บทที่ 1

    การจัดการระบบการเงินของเครือข่ายท้องถิ่น

สำนักงานโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินจากหน่วย

งานสนับสนุนในรูปเงินบริจาคหรือการบริจาควัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งงบประมาณเหล่านี้นำมาเป็นค่าจัดเตรียมสื่อ

การสอนและเอกสารสำหรับโรงเรียนอนุบาลและเป็นค่าอบรมให้แก่วิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น (Local Trainer)

เนื่องจากสำนักงานโครงการไม่ได้มีงบประมาณให้กับผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นดังนั้นจึงขอแนะนำให้ท่านหาผู้

สนับสนุนหรือพันธมิตรสำหรับเครือข่ายท้องถิ่นของท่านซึ่งท่านอาจจะขอการสนับสนุนในรูปของเงินบริจาคหรือ

วัสดุอุปกรณ์ก็ได้ส่วนเจ้าหน้าที่ประจำของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะรับทำหน้าที่ให้กับเครือข่ายอื่นด้วย ในกรณี

ที่มีหลายๆ เครือข่ายท่านสามารถดูรายละเอียดแนวทางในการหาเงินสนับสนุนเพิ่มเติมในท้องถิ่นได้ในบทB-10

(“การระดมทุน”)

โรงเรียนอนุบาลจะได้รับสื่อการเรียนการสอนในรูปของใบกิจกรรมการทดลองและกล่องนักวิทยาศาสตร์

น้อย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดรวมทั้งแนวทางการทำโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับวัสดุอุปกรณ์ในการ

ทำการทดลองส่วนใหญ่เป็นสิ่งของที่พบเห็นในชีวิตประจำวันและสามารถหาได้ง่ายจึงแทบไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วน

นี้ค่าใช้จ่ายของแต่ละเครือข่ายท้องถิ่นขึ้นอยู่กับค่าสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีอยู่แล้วของแต่ละเครือข่ายซึ่งค่าใช้

จ่ายหลักมักจะเป็นค่าสถานที่สำหรับจัดอบรมค่าตอบแทนวิทยากรค่าอาหารสำหรับผู้เข้าอบรมค่าไปรษณีย์และ

ค่าจัดส่งเอกสารแต่เราสามารถลดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ด้วยการใช้วิธีง่ายๆ ดังนี้

ค่าใช้จ่าย  วิธีลดค่าใช้จ่าย 

ค่าตอบแทนวิทยากร ใช้บุคลากรที่มีอยู่แล้ว

ค่าอาคารสถานที่ ขอสปอนเซอร์หรือหาพันธมิตรเพิ่ม

จัดอบรมเพิ่มเติมในโรงเรียนอนุบาลโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่เหมาะสม

ค่าอุปกรณ์อาหาร

และเครื่องดื่ม

ให้ผู้เข้าร่วมนำแก้วพลาสติก,ภาชนะแก้วมาที่งานเอง

ขอสปอนเซอร์ด้านอุปกรณ์

เก็บค่าวัสดุอุปกรณ์จากผู้เข้าอบรมตามจริง

ค่าใช้จ่ายสำนักงานอื่นๆ ให้โรงเรียนอนุบาลเป็นผู้ไปรับใบกิจกรรมทดลองใหม่จากสำนักงานโครงการ

สื่อสารกับโรงเรียนอนุบาลผ่านทางอีเมล์

เบิกค่าใช้จ่ายบางส่วนกับโครงการ(เฉพาะที่เบิกได้)

โครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ไม่ได้จัดสรรงบประมาณสำหรับค่าตอบแทนวิทยากรให้

กับผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นดังนั้นจึงขอให้ทางผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นเป็นผู้พิจารณาและรับผิดชอบเรื่องค่าตอบแทน

วิทยากรตามความเหมาะสม(รายละเอียดการขอสปอนเซอร์จากบริษัทท้องถิ่นได้ในหัวข้อ2.10)

Page 10: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

11

1.5 แนวทางการเรียนการสอน

หลักสูตรอบรมเพิ่มเติมและเอกสารประกอบการเรียนการสอนของโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”

ได้พัฒนาและดำเนินการตามแนวทางการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (co-construction)และการประเมิน

การคิดของเด็ก (metacognition)หัวข้อวิทยาศาสตร์ต่างๆ ถูกนำมากลั่นกรองในรูปของวิธีทำการทดลองและข้อ

เสนอโครงงานที่ครูจะนำมาใช้สอนได้แนวคิดนี้ได้รับการพัฒนาโดยความร่วมมือของศ.ดร.วาซิลิออสฟเธนาคิด

และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับมูลนิธิDeutschenTelekomดอยท์เชอ เทเลคอมโดยอิงแผนการศึกษาของรัฐ

ต่างๆ ในเยอรมนีแนวคิดนี้มีจุดมุ่งหมายนอกเหนือไปจากการถ่ายทอดความเชื่อมโยงกันของวิทยาศาสตร์แล้วยัง

ต้องการพัฒนานิสัย (ท่าที)การเรียนพื้นฐานด้านบวกในเด็กและส่งเสริมการสร้างแนวคิดทางบวกด้วยตัวเองใน

ฐานะผู้เรียน

กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (co-construction):สภาวะแวดล้อมของการเรียนรู้แบบco-constructionจะ

นำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันในการทำงานจริงที่เด็กจะสามารถนำไปเชื่อมโยงความหมายกับโลกของตัวเองได้ เด็ก

และครูจะร่วมกันสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันแนวคิดconstructivismกล่าวว่า เด็กคือผู้เริ่มสร้างความรู้ของ

ตัวเองแนวคิดนี้ได้รับการพัฒนาต่อไปโดยพวก social constructivism (co-construction) ซึ่งเน้นการปฏิ

สัมพันธ์ทางสังคมระหว่างบุคคลว่าเป็นกุญแจหลักไปสู่การสร้างความรู้และสาระสำคัญ(เป้าหมาย)ซึ่งให้ความ

สำคัญกับการเรียนรู้ผ่านการทำงานร่วมกันการวิจัยความหมายผ่านเด็กๆ และลดการเรียนแต่ความรู้ข้อเท็จจริง

ล้วนๆ กระบวนการศึกษาแบบนี้นำไปสู่ข้อสันนิษฐานดังต่อไปนี้ :

เด็กมีศักยภาพ

เด็กน่าจะสามารถพัฒนาศักยภาพของตนได้

เด็กต้องเรียนรู้ศักยภาพใหม่ๆ

แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายทอดความรู้ที่ใช้แต่การถ่ายโอนความรู้จากผู้มีประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนหรือการทำ

กิจกรรมของผู้เรียนฝ่ายเดียวรวมทั้งการสร้างความรู้ด้วยตัวเองนั้น ไม่เหมาะกับยุคสมัยอีกต่อไปและพิสูจน์ให้

เห็นในอดีตแล้วว่าไม่ได้ผลผลจากการวิจัยยืนยันว่าการเรียนแบบco-constructionจะนำไปสู่ผลการเรียนรู้ที่ดี

กว่าวิธีเรียนรู้แบบค้นพบด้วยตัวเองหรือด้วยการให้แต่ละบุคคลสร้างความหมายด้วยตัวเอง (ดูเปรียบเทียบ

Crowley&Siegler,1999)

เด็กเรียนรู้ผ่านการทำงานร่วมกับเด็กด้วยกันและผู้ใหญ่ผ่านคำอาจจะเป็นของคนอื่นผ่านการสืบค้นและ

คิดทบทวนด้วยตัวเอง เนื้อหาใหม่ๆ ที่เด็กพบอยู่ในชีวิตประจำวันเป็นประจำจะถูกนำมาศึกษาและประกอบ

(เชื่อมโยง)ร่วมกัน เด็กจะเรียนรู้มุมมองหลายๆ มุมเพื่อจะแก้ปัญหาร่วมกันผู้อื่นแลกเปลี่ยนความคิดและนำไป

สู่การเปิดโลกทัศน์ของตัวเองให้กว้างขึ้น

เพื่อจะส่งเสริมการหาความรู้ เด็กจะได้รับการสนับสนุนให้เก็บสังเกตและอธิบายข้อมูลตัวเลขและคำ

อธิบายต่างๆ ไปสอบถามผู้อื่นซึมซับความรู้ที่กลั่นกรองมาแล้วและทบทวนแต่เนื่องจากความรู้ที่ได้ไม่ใช่ความรู้

ข้อเท็จจริงล้วนๆ อย่างที่อธิบายมาแล้วเบื้องต้นแต่การค้นหาความหมายของแต่ละคน เด็กๆ จึงได้รับการ

สนับสนุนให้พัฒนาความคิดของตัวเองและแสดงออกแลกเปลี่ยนความคิดและอภิปรายกับผู้อื่นผู้ใหญ่ไม่ได้มี

บทบาทเป็นผู้สอนในชุมชนเรียนรู้นี้ แต่มีหน้าที่ช่วยสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับเด็กครูจะร่วมกันแก้ปัญหา

พร้อมกับเด็กถ่ายทอดความหมายและความเข้าใจในสิ่งต่างๆ อภิปรายและพูดคุยเรื่องเหล่านี้กับเด็กการเรียน

Page 11: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

12

บทที่ 1

รู้ความหมายร่วมกันของผู้ใหญ่และเด็กจะช่วยให้เด็กมองเห็นว่าการเรียนรู้ร่วมกันนั้นน่าตื่นเต้นและสร้างผลดี

มากมายเพียงใด

เด็กได้เรียนรู้ว่าพวกเขาสามารถแบ่งปันความหมายอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดให้กันและกันได้

ความเข้าใจของพวกเขาจะขยายและลึกซึ้งขึ้นและเด็กได้เรียนรู้ว่า โลกสามารถอธิบายได้หลายแบบปรากฏ-

การณ์และปัญหาต่างๆ ก็สามารถแก้ไขได้หลายวิธีเช่นกัน

กระบวนการเรียนรู้แบบco-constructionจำเป็นต้องอาศัยเงื่อนไขบางอย่าง/หลากหลายในตัวเด็กและครู

เพื่อจะตอบสนองกระบวนการเรียนรู้แบบco-construction เด็กจำเป็นต้องพัฒนาทัศนคติในแง่บวกต่อตัวเองมา

ก่อนแล้วความมั่นใจและเชื่อมั่นในตัวเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อจะได้สามารถกล้าเสนอและยืนยันความคิดและวิธี

มองของตัวเองต่อผู้อื่นได้ นอกจากนี้ เด็กยังต้องสามารถสื่อสารทั้งทางคำพูดและท่าทางกับผู้อื่นได้เหมาะสมตาม

วัย เพื่อจะแสดงความคิดของตัวเองได้

ครูต้องมองและยอมรับเด็กในฐานะผู้ร่วมสร้างความรู้และวัฒนธรรมให้ได้ครูควรให้กำลังใจเด็กเสมอใน

การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมซึ่งทำให้ครูต้องพร้อมจะสนทนาและสื่อสารกับเด็กต้องสามารถตั้งคำถามและ

คิดทบทวนกระบวนการเรียนรู้ของตัวเองและของเด็กอีกทั้งมีความกล้าที่จะนำคำถามเปิดเผยของตัวเองเข้ามาใช้

ในกระบวนการด้วย

แนวคิด co-construction จะต้องคำนึงถึงเรื่องวัฒนธรรมความแตกต่างทางเพศและเด็กที่มีความ

ต้องการพิเศษ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนในกระบวนการอย่างเท่าเทียมกันครูจะต้องเอาใจใส่และยอมรับทั้งการ

แสดงออกด้วยคำพูดและท่าทางแม้แต่แสดงออกโดยความเงียบของเด็กก็ถือเป็นวิธีการหนึ่งในกระบวนการเรียน

รู้เช่นกัน

    เรียนรู้ผ่านโครงงาน (project approach)  (Katz & Cuard, 1989)

โครงงานถูกมองเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของหลักสูตรการสอนปฐมวัยแต่ไม่ใช่ในฐานะวิธีการเรียนที่

ละเอียดครอบคลุม โครงงานไม่ใช่รูปแบบการสอนใหม่ในการเรียนการสอนขั้นปฐมวัยและมีหน้าที่ช่วยเติมเสริม

การเรียนการสอนปกติมากกว่า โครงงานคือการศึกษาหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งในระยะยาวซึ่งตามหลักแล้วเป็นหัวข้อที่

ทั้งกลุ่มหรือกลุ่มย่อยเลือกมาศึกษาในการทำโครงงานจำเป็นต้องมีทักษะและศักยภาพทางปัญญาความรู้และ

สังคมมากมายด้วยวิธีนี้เด็กสามารถเรียนความรู้ใหม่แนวคิดใหม่ในหลายสาขากิจกรรมที่อาจทำระหว่างโครง

งานได้แก่การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตสอบถามทดลองเด็กอาจวาดรูประบายสี เล่าและบันทึกความรู้

ที่รวบรวมมา

สิ่งที่สำคัญในการทำโครงงานคือการกำหนดหัวข้อการเลือกโครงงานต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์บางอย่าง

และได้รับการพิจารณามาอย่างละเอียดดีแล้ว โครงงานต้องทำให้เด็กได้ใช้ความพยายามค้นคว้าวิจัยด้วยตัวเอง

ครูจะร่างโครงงานแบบco-constructionไปพร้อมกับเด็กครูและเด็กจะช่วยกันพิจารณาว่าต้องตอบคำถามอะไร

บ้างทำการทดลองอะไรและต้องทำอะไรนอกเหนือจากนี้หรือไม่ และจะบันทึกกระบวนการทั้งหมดอย่างไร

ดังนั้นหัวข้อกว้างๆ อย่าง “น้ำ”จึงไม่เหมาะกับการศึกษาแต่ควรจะแบ่งเป็นสาขาย่อยที่มีความสำคัญกับเด็ก

ซึ่งมีที่มาและคัดเลือกจากโลกที่เด็กรู้จักหัวข้อโครงงานจึงอาจเป็น “ระบบน้ำประปาในครัวเรือนหรือวงจรน้ำ”

การศึกษาหัวข้อโครงงานที่เด็กสนใจจะเป็นโอกาสทำให้เด็กเข้าใจความรู้สึกที่ได้คิดทบทวนความรู้และค้นพบด้วย

Page 12: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

13

ความพยายามของตนเอง ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานความพร้อมในการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่เด็กข้อดีอีกอย่าง

ของการเลือกหัวข้อที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในชีวิตเด็กคือ เด็กจะสามารถใช้ประสบการณ์และความคิด

ของตัวเองในการทำโครงงานได้ดีกว่าทำหัวข้อแปลกๆ ที่ไม่รู้จัก

ยิ่งเด็กอายุน้อย เขาจะยิ่งสร้างความรู้ผ่านกระบวนการที่เน้นการปฏิบัติและมีปฏิสัมพันธ์ เด็กจะได้รับความ

รู้มากมายจากการลงมือทำด้วยตัวเองจากประสบการณ์ตรงและจากปฏิสัมพันธ์ เนื้อหาโครงงานจึงควรมุ่งเน้น

เรื่องทันสมัยหรือเรื่องที่เด็กน่าจะสนใจแม้ว่าสุดท้ายครูจะเป็นผู้คัดเลือกหัวข้อก็ตามครูสามารถสนับสนุนเด็กให้

ค้นพบความสนใจในสาขาใหม่และส่งเสริมความสนใจนั้น เป็นการช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งแวดล้อมของเขาได้มากขึ้น

เด็กเล็กจะไม่แยกความคิดอ่านและความสนใจตามสาขาวิชาดังนั้นโครงงานจึงควรมีลักษณะเป็นสหวิชาที่

ประสานวิชาต่างๆ เข้าด้วยกัน

Katz & Chord (1989)กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้ในการเลือกเนื้อหาโครงงานไว้ดังนี้

 หัวข้อโครงงานต้องสามารถสังเกตได้โดยตรงในสิ่งแวดล้อม(ในโลกความจริง)ของเด็ก

 เด็กบางคนหรือเด็กส่วนใหญ่(ตามแต่หัวข้อ)เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ มาแล้ว

 เด็กสามารถศึกษาค้นคว้าหัวข้อนี้ได้ด้วยตัวเอง(โดยไม่เกิดอันตรายใดๆ )

 ทรัพยากรต้องมีอยู่ในท้องถิ่นอย่างเหมาะสมและหาได้ง่ายอยู่แล้ว

 หัวข้อโครงงานสามารถปรับให้เข้ากับสื่อนำเสนอได้หลายรูปแบบ(เช่นเล่นละครวาดภาพการทดลองฯลฯ)

 ผู้ปกครองสามารถมีส่วนร่วมได้

 หัวข้อโครงงานสามารถนำไปบูรณาการกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและทั่วๆ ไปได้

 หัวข้อควรเป็นที่สนใจของเด็กในกลุ่มให้ได้มากที่สุดหรือเป็นหัวข้อที่ครูเห็นว่าเหมาะที่จะนำไปพัฒนาต่อยอด

 โครงงานต้องสอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษา

 ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ทักษะพื้นฐาน(ขึ้นอยู่กับอายุของเด็ก)

ต้องกำหนดขอบเขตหัวข้อโครงงานให้ชัดเจนเช่นไม่หนักเกินไปและไม่คลุมเครือเกินไป

โครงงานจะแบ่งออกเป็นหลายระยะ(ระยะเริ่มต้นหรือเตรียมตัวระยะดำเนินการและระยะคิดทบทวน)

    Metacognition – เด็กเรียนรู้ที่จะเรียน 

ในการพัฒนาศักยภาพในการเรียนอย่างครบวงจรจะมีการพูดถึงระดับในการรู้คิดในการทดลองบ่อยมาก

วิธีการรู้คิดดูจะเป็นแนวทางเหมาะสมที่จะให้เด็กได้มีศักยภาพในการเรียนอย่างเป็นระบบตั้งแต่วัยเด็กซึ่งก็คือ

ศักยภาพที่ส่งเสริมการเรียนหรือรับความรู้กระบวนการเรียนรู้ไม่ได้ถูกมองเป็นเพียงการรับความรู้เท่านั้นแต่เป็น

รูปแบบที่ไม่หยุดนิ่งของการสร้างความรู้สิ่งสำคัญไม่ใช่แต่การเรียนหน่วยความรู้แยกกันแต่เป็นการเรียนความรู้ที่

จัดระเบียบแล้ว“อย่างชาญฉลาด”ด้วยวิธีนี้ เด็กจะสามารถเรียนทั้งเนื้อหาและการเรียนรู้ได้ด้วย

การรู้คิดหมายถึงความรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองรู้ สิ่งที่ตัวเองค้นพบและวิธีหาความรู้ของตนเองผู้

เรียนจะตระหนักถึงความรู้การค้นพบและกลวิธีการเรียนของตัวเอง

Page 13: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

14

บทที่ 1

การตั้งคำถามที่มาจากชีวิตจริงในชีวิตประจำวันหรือในแต่ละกรณีเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนแทนขั้นตอน

สำเร็จรูปการสร้างความรู้ร่วมกันมีความสำคัญในขณะที่การถ่ายทอดความรู้ลดความสำคัญน้อยลงตั้งแต่ใน

ช่วงปฐมวัย เราก็สามารถแนะนำเด็กให้กลวิธีและเทคโนโลยีแบบรู้คิดนักการศึกษาปฐมวัยชาวสวีเดนอินกริด

พรามลิงศึกษาวิธีการใช้แนวทางแบบรู้คิดในโรงเรียนอนุบาลคำถามว่าเด็กเรียนอย่างไร เด็กคิดอะไรและเด็ก

เรียนรู้อย่างไรทำให้เธอเกิดความคิดว่า เด็กตั้งแต่ปฐมวัยสามารถคิดทบทวนโดยความช่วยเหลือของครูว่าพวกเรา

เรียนรู้และเรียนอย่างไร เพื่อจะส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ เด็กเรียนรู้จากการลงมือทำเองจากประสาทสัมผัส

จากการคิดไตร่ตรองและจากการฝึกฝน เด็กคิดว่าหลายเรื่องที่ครูสอนทุกวันในโรงเรียนอนุบาลไม่ใช่การเรียน

ความสนุกและแรงจูงใจของเด็กเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการเรียนแต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้อย่างมี

ประสิทธิภาพ เด็กต้องเข้าใจความหมายเบื้อหลังกิจกรรมต่างๆ ด้วย

ปัญหาของการเรียนในโรงเรียนอนุบาลอยู่ที่เด็กไม่สามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนเข้ากับ

โลกภายนอกได้ซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะความรู้และความเข้าใจดั้งเดิมของเด็กไม่ถูกนำมาเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียน

เด็กมักจะคิดว่าการเรียนคือการลงมือทำและมองเนื้อหาที่ครูถ่ายทอดด้วยคำพูดไม่ใช่การเรียนแนวคิดการเรียน

ของเด็กและครูจึงมักไม่สอดคล้องกันการจัดการเรียนแบบรู้คิดมีเป้าหมายคือให้เด็กพัฒนาความเข้าใจต่อ

ปรากฏการณ์ในโลกรอบตัวและให้พวกเขาตระหนักว่าสิ่งที่ต้องเรียนรู้คือจะได้ศักยภาพเกี่ยวกับวิธีการเรียนได้

อย่างไร

เพื่อจะสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องศึกษาสามแง่มุมคือ เนื้อหาโครงสร้างเนื้อหา

และกระบวนการเรยีนรู้ ในทางปฏบิตัจิรงิหมายความวา่ปรากฏการณใ์นโลกรอบตวัทกุอยา่งทีต่อนแรกเดก็อาจมอง

เป็นเรื่องธรรมดาล้วนแล้วสามารถนำมาเป็นหัวข้อศึกษาได้ ไอเดียและความคิดต่างๆ ของเด็กต่อปรากฏการณ์จะ

ถูกนำมาใช้ทำเป็นหัวข้อและใช้ประโยชน์บรรยากาศจะมุ่งเน้นการเรียนและไม่เน้นผลงาน โครงสร้าง (ของ

หัวข้อ)ควรจะทำให้เด็กมองเห็นความสัมพันธ์ทั้งหมดแต่ละแง่มุมของหัวข้อจะถูกนำมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันกับ

ความรู้ที่กว้างขึ้นทำให้สามารถมองเห็นความเชื่อมโยงที่ซับซ้อนการรับรู้ระบบที่ซับซ้อนอาจทำให้เด็กเกิดคำถาม

มากขึ้นซึ่งอาจนำไปสู่การทำโครงงานใหม่ต่อไป

เมื่อจบโครงงานจะมีการสรุปเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งอาจทำในรูปการจัดบอร์ดบันทึกภาพถ่าย

งานฉลองจบโครงงานการแสดงจากกลุ่มอื่นๆ และ/หรือของผู้ปกครองสิ่งสำคัญในระยะคิดทบทวนคือ เด็กจะ

ต้องตระหนักว่าพวกเขาเรียนอะไรไปและได้รับความรู้เหล่านี้มาด้วยวิธีใดนอกจากการพูดคุยแล้ว เราสามารถ

บันทึกกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยการบันทึกเอกสารซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เด็กได้บันทึกประสบการณ์ของตัวเองได้

แต่ยังเป็นการกระตุ้นครูให้คิดไตร่ตรองเกี่ยวกับโครงงานของตัวเอง เป้าหมายการเรียนที่กำหนดมาก่อนหน้านี้จะ

ถูกทบทวนและตรวจสอบอีกครั้ง นอกจากนี้ผู้ปกครองยังได้รับโอกาสที่จะทำความเข้าใจกระบวนการของโครง

งานด้วย

การใช้แนวทางรู้คิดนำไปสู่การเปลี่ยนแนวคิด “การเรียนคือการลงมือทำ”กลายเป็น “การเรียนคือการรู้”

เด็กจะสามารถพัฒนาแนวการเรียนรู้ของตัวเองและปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ๆ ได้ เด็กจะพัฒนาเทคนิคการตีความมี

การส่งเสริมให้เด็กตระหนักถึงกระบวนการเรียนรู้แนวทางการรู้คิดจะนำไปสู่ความเข้าใจหัวข้อศึกษาที่ลึกซึ้งขึ้น

และจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของการเรียนอย่างเป็นระบบ

Page 14: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

15

การหาแนวทางนี้มาใช้มีข้อจำกัดตรงที่เด็กจำเป็นต้องเรียนรู้กลวิธีที่จะประเมินตัวเองและการกระทำของตัว

เองเหมือนตัวเองเป็นคนควบคุมให้ได้ก่อนพวกเขาจำต้องเรียนการใช้ความรู้ที่ได้มาและสามารถถ่ายทอดความรู้

ได้ เด็กจะสามารถแก้ปัญหาที่มีพื้นฐานจากประสบการณ์ตัวเองและการพัฒนาด้านการเรียนรู้ของพวกเขาเท่านั้น

ซึ่งหมายความว่าการจัดการเรียนตามแนวทางรู้คิดซึ่งมีเป้าหมายส่งเสริมความรับรู้เกี่ยวกับการเรียนจะสามารถ

ทำได้กับเด็กตั้งแต่ประมาณ5ขวบขึ้นไป เด็กเล็กกว่าก็สามารถได้ประโยชน์จากโครงสร้างของโครงงานแต่อาจ

จะไม่สามารถทบทวนการกระทำของตัวเองจากแง่มุมระดับประเมินตัวเองได้

    สรุปแนวทาง

 เด็กและครูช่วยกันสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน (co-construction) 

ก. ครูจะร่วมหาไอเดียและกระบวนการพร้อมกับเด็ก

ข. เด็กเรียนรู้ร่วมกันและแลกเปลี่ยนความคิด

ค. การทดลองไม่ได้จำกัดเป็นเพียง“การทำตาม”การทดลอง

 เด็กรู้ตัวว่าพวกเขากำลังเรียน เรียนเรื่องอะไร และเรียนอย่างไร (metacognition) 

ก. ครูและเด็กไม่ได้ศึกษาแต่เนื้อหาและกิจกรรมแต่ศึกษากระบวนการเรียนรู้ด้วย

ข. ปรากฏการณ์มีที่มาจากโลกของเด็กและนำไปสอดใส่ในความเชื่อมโยงที่ซับซ้อน

ค. การบันทึกกิจกรรมจะช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก

1.6 ผู้สนับสนุนโครงการ

หน่วยงานร่วมดำเนินการได้แก่มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาบริษัทนานมีบุ๊คส์จำกัดและสถาบัน

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

หน่วยงานสนับสนุนโครงการ ได้แก่ สถาบันเกอเธ่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สำนักงานงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดที่นำร่องสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.)

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)บริษัทB.GRIMGROUPบริษัทในเครือซีพีและกลุ่มบริษัท

การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยจำกัด(มหาชน)

1.7 ติดต่อสอบถาม

โครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย"มีหน้าที่จัดทำแผนและแนวทางสำหรับการเรียนการสอน

ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรวมถึงการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนการประเมินคุณภาพนอกจากนี้จะมี

เจ้าหน้าที่จากโครงการไปติดต่อกับผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นและติดตามผลการอบรมต่างๆ ทั้งจากที่โครงการ "บ้าน

นักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย" เป็นผู้จัดเองและหน่วยงานผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นเป็นผู้จัดขึ้น

Page 15: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

16

บทที่ 1

  ถ้าท่านมีคำถามต่างๆ เกี่ยวกับโครงการอาทิเช่น

 การจัดการอบรมในท้องถิ่น 

 รายละเอียดโครงการนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง 

 อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน 

 การประชาสัมพันธ์ต่างๆ 

 การจัดอบรมครู 

 รายละเอียดการอบรมและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 

 การประเมินคุณภาพ 

ทีมงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทยมีความเต็มใจเป็นอย่างยิ่งที่จะตอบข้อสงสัยต่างๆ

ของท่านนอกจากนี้ท่านสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของโครงการที่ www.littlescientists

.com ซึ่งมีรายชื่อเจ้าหน้าที่โครงการซึ่งพร้อมให้คำแนะนำแก่ท่านและที่อยู่ติดต่อ

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย  

    อาคารนานมีบุ๊คส์เฮ้าส์ 

เลขที่11สุขุมวิท31(สวัสดี)ถนนสุขุมวิท

แขวงคลองเตยเหนือเขตวัฒนากรุงเทพฯ10110

โทร.0-2662-3000 โทรสาร.0-2662-0919

e-mail:[email protected]

Page 16: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

17

บทบาทของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น

ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network: LN) เป็นหน่วยงานหลักของโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์

น้อย ประเทศไทย” ตามภูมิภาคต่างๆ  โดยจะนำกิจกรรมต่างๆ จากโครงการไปสู่โรงเรียนในเครือข่าย  

ซึ่งในบทนี้จะอธิบายถึงบทบาทของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นอย่างละเอียด 

    หากมีคำถามเพิ่มเติม ท่านสามารถสอบถามได้โดยตรงได้ที่สำนักงานโครงการ  “บ้านนัก

วิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” 

2.1 ชักชวนโรงเรียนอนุบาลให้เข้าร่วมโครงการ

    ประสานงาน ติดต่อ และให้ข้อมูล 

    ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะรับผิดชอบในการประสานงานและติดต่อโรงเรียนอนุบาลในภูมิภาคนั้นๆ ให้เข้าร่วม

โครงการ โดยเครือข่ายแต่ละเครือข่ายควรดูแลโรงเรียนอนุบาลที่เข้าร่วมโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

ประเทศไทย”อย่างน้อย30แห่งขณะเริ่มโครงการเครือข่ายท้องถิ่นสามารถให้ข้อมูลแก่ชุมชนเกี่ยวกับกิจกรรม

ของ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ขอทราบที่อยู่ของผู้รับผิดชอบหรือชักชวนบุคลากรจากหน่วยงาน

เด็กเยาวชนหรือสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมและต้องวางแผนงานด้วยว่าจะขยายเครือข่ายหรือสร้างเครือข่ายใหม่

อย่างไรท่านจะแจ้งข้อมูลให้ผู้อุปถัมภ์โรงเรียนอนุบาลที่มีอยู่มากมายทราบด้วยวิธีการใดและเชิญชวนให้พวกเขา

เข้ามามีส่วนร่วมในเครือข่ายท้องถิ่นของท่านได้อย่างไรท่านสามารถหานักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรพี่เลี้ยงที่จะมา

ช่วยเหลือครูในโรงเรียนอนุบาลได้จากที่ไหน นอกจากนี้ท่านอาจร่วมกับพันธมิตรพัฒนากิจกรรมอื่นๆ ให้โรงเรียน

อนุบาล เช่นจัดวันทัศนศึกษาแต่ก่อนที่จะมาถึงขั้นนี้ท่านควรรอให้การจัดตั้งผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นเสร็จสมบูรณ์

เสียก่อนหมายความว่ามีโรงเรียนอนุบาลเข้าร่วมโครงการครบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เสียก่อน

ในช่วงเริ่มต้นผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นควรประสานงานกับโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”

ให้โรงเรียนอนุบาล30แห่งตอบรับเข้าร่วมโครงการเสียก่อนและในการก่อตั้งเครือข่ายควรแจ้งข่าวให้สื่อท้องถิ่น

ทราบด้วย

คำแนะนำ โครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ได้จัดทำเอกสารที่หลากหลาย

เพื่อช่วยท่านในการจัดตั้งผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (LocalNetwork:LN) โดยเป็นข้อมูล

เบื้องต้นให้แก่หน่วยงานอื่นๆ เช่นชุมชน เจ้าของ โรงเรียนอนุบาล เป็นต้นและเรามี

แผ่นพับข้อมูลประชาสัมพันธ์มอบให้ด้วย นอกจากนี้ โครงการยังมีจดหมายข่าวเพื่อเป็น

ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการสำหรับโรงเรียนอนุบาล

Page 17: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

18

บทที่ 2

    การรวบรวมข้อมูลโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ 

ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายท่านควรทำการบันทึกรายชื่อของโรงเรียนอนุบาลและครูที่เข้าร่วมโครงการ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรบันทึกใบตอบรับการเข้าร่วมโครงการและการอบรมเชิงปฏิบัติการด้วย รวมทั้งติดตาม

สถานการณ์การทำงานของโรงเรียนอนุบาลแต่ละแห่งและรายงานในภาพรวมของผลการดำเนินโครงการใน

เครือข่ายของท่านให้สำนักงานโครงการรับทราบปีละ1ครั้ง รวมทั้งจำนวนของโรงเรียนอนุบาลที่เข้าร่วมความ

ก้าวหน้าในการดำเนินงานตามหัวข้อต่างๆ ในสถาบันแต่ละแห่งและแผนการรณรงค์สำหรับปีถัดไปโดยการจัด

ทำระบบการบันทึกข้อมูลลงในตารางโดยใช้โปรแกรมExcel     เอกสารประชาสัมพันธ์ 

ทีมงาน“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ได้รวบรวมแฟ้มงานและจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ไว้

ให้ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นแต่ท่านควรแจกเอกสารอย่างมีเป้าหมายที่แน่นอนซึ่งหากมีปัญหาประการใดหรือ

ต้องการเอกสารอะไรเพิ่มเติมท่านสามารถติดต่อสำนักงานโครงการได้ตลอดเวลา

    ขั้นตอนการจัดตั้งผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network)

เริ่มแรกคือสอบถามข้อมูลรายละเอียดกับสำนักงานโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”หาโรงเรียนอนุบาลที่มีแนวโน้มจะเข้าร่วมติดต่อโรงเรียนอนุบาลเหล่านั้นและให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “บ้านนัก

วิทยาศาสตร์น้อย”

ประสานงานและติดต่อหน่วยงานอื่น ๆ (ชุมชนหน่วยงานเยาวชนผู้อุปถัมภ์โรงเรียนอนุบาล)

หากเป็นไปได้ ควรจัดทำรายชื่อผู้ที่สามารถติดต่อเป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงและความร่วมมืออื่น ๆ

(พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์บริษัทต่าง ๆ มหาวิทยาลัยสถาบันวิจัย)

บันทึกและเก็บข้อมูลใบสมัครของโรงเรียนอนุบาลที่เข้าร่วมโครงการและหากเป็นไปได้ควรบันทึกลงใน

โปรแกรมExcel (ชื่อผู้รับผิดชอบที่อยู่ครูที่เข้าร่วมโครงการเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ)

หาวิทยากรที่มีศักยภาพติดต่อแต่งตั้งและแจ้งรายชื่อรวมทั้งประวัติให้สำนักงานโครงการทราบ ทำข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักงานโครงการให้เสร็จสมบูรณ์แจ้งวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น (LocalTrainer) เกี่ยวกับการอบรม train-the-trainer โดยวิทยากรหลัก

(CoreTrainer)โดยตกลงเรื่องกำหนดการเข้าร่วมและการส่งเอกสารใบตอบรับ

หลังจากรับการอบรม train-the-trainer ร่วมกับวิทยากรหลักจากนั้นก็ตกลงเรื่องกำหนดการสำหรับการ

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่1สำหรับครู

หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนดำเนินงานต่อ ๆ ไปให้โรงเรียนอนุบาลที่เข้าร่วม(แจ้งกำหนดการอบรมเชิง

ปฏิบัติการครั้งแรกเงื่อนไขการตอบรับฯลฯ)

จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มเติมจัดทำข่าวประชาสัมพันธ์การก่อตั้งเครือข่ายท้องถิ่น (โดยปรึกษากับโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

ประเทศไทย”และส่งข่าวไปยังสื่อต่าง ๆ )

Page 18: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

19

2.2 หน้าที่และการคัดเลือกวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น     การคัดเลือก

หน้าที่ของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นได้แก่การค้นหาบุคลากรที่มีความสามารถ2คน (ไม่รวมทีมงาน)และ

มอบหมายให้เป็นวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น (LocalTrainers)อบรมครูในภูมิภาคท่านสามารถตั้งเป้าว่าจะมี

วิทยากร2คนสำหรับโรงเรียนอนุบาล30แห่งและ3คนสำหรับโรงเรียนอนุบาล50แห่งและ4คนสำหรับ

โรงเรียนอนุบาล70แห่ง

“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”จะรับหน้าที่อบรมวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นผู้ที่เหมาะสมกับ

หน้าที่ควรมีความรู้ด้านการสอนปฐมวัยและวิทยาศาสตร์มีประสบการณ์สอนจริงกับเด็กและมีประสบการณ์ด้าน

การศึกษาผู้ใหญ่ซึ่งอาจจะเป็น

ที่ปรึกษาเฉพาะด้านของหน่วยงานเยาวชนและเจ้าของโรงเรียนอนุบาลหรือวิทยากรจากสถาบันการสอน

มหาวิทยาลัยเปิด เป็นต้น

เจ้าหน้าที่การศึกษาพิพิธภัณฑ์จากพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีหรือวิทยาศาสตร์

นักวิทยาศาสตร์หรือนักการศึกษา

ครูเกษียณอายุ

ในบางกรณีเจ้าของโรงเรียนอนุบาลชุมชนหรือพิพิธภัณฑ์อาจพร้อมจะให้เจ้าหน้าที่ของตนมาทำหน้าที่

เป็นวิทยากรในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งทางเลือกอื่นที่ท่านสามารถเสาะหาวิทยากรได้ก็คือการติดต่อผ่านคณะ

ครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสมาคมครูมหาวิทยาลัยต่างๆ สถาบันวิจัยหรือบริษัทต่างๆ

สิ่งที่สำคัญคือ วิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นควรจะมีแรงจูงใจและความพร้อมที่จะทำงานสูงติดตัวมาด้วย

วิทยากรควรพร้อมจะอบรมครูอย่างสม่ำเสมอในช่วงเวลาอย่างน้อยสองปี เนื่องจากเครือข่ายที่มั่นคงจะนำโรงเรียน

อนุบาลแห่งใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ก่อนอื่นท่านควรพูดคุยคำถามเหล่านี้กับผู้ที่คาดว่าจะเป็นวิทยากร

วิทยากรจะเตรียมและนำการสัมมนาสำหรับครู (ประมาณ50-60คน)ด้วยตนเองได้หรือไม่และเคยอยู่ใน

สถานการณ์ที่ต้องทำหน้าที่เป็นวิทยากรหรือไม่

วิทยากรสามารถถ่ายทอดความสนุกในการทำการทดลองและค้นคว้าให้กับครูที่มีท่าทีไม่มั่นใจในเรื่อง

วิทยาศาสตร์ได้หรือไม่

วิทยากรจะสามารถนำแนวทางการเรียนการสอนของ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”มาใช้ใน

การอบรมครูซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์มากและนำการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องนั้นได้หรือไม่

“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ได้พัฒนาแบบฟอร์มประวัติเพื่อหาข้อมูลล่วงหน้าของบุคคลที่จะ

มาทำงานร่วมกับโครงการ นอกจากนี้เรายังสามารถเตรียมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้เข้ากับภูมิหลังที่แตกต่างกัน

ของผู้เข้าอบรมได้ดีขึ้นท่านสามารถส่งแบบฟอร์มประวัติมาพร้อมกับเอกสารตกลงร่วมงานมาที่สำนักงาน“บ้าน

นักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ข้อมูลต่างๆ จะถูกเก็บเป็นความลับและไม่มีการส่งต่อไปยังบุคคลที่สาม

Page 19: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

20

บทที่ 2

    คำแนะนำในการจ่ายค่าตอบแทนวิทยากร

ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะเป็นผู้ตกลง/ต่อรองเรื่องค่าตอบแทนวิทยากรและเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

เนื่องจากสำนักงานโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ไม่ได้จัดสรรงบประมาณให้ในส่วนนี้

    หน้าที่ของวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น 

หน้าที่ของวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นคือการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ครูจากโรงเรียนอนุบาลตามหลักสูตรที่

พัฒนาขึ้นโดย“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” โดยในแต่ละครั้งมีครูเข้าร่วมประมาณ50-60คนโดยการอบรมเชิง

ปฏิบัติการขั้นที่ 1 จะใช้ระยะเวลา1 วันส่วนการอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 2 ใช้เวลาอบรมอย่างน้อยครึ่งวัน

เพื่อให้เนื้อหาของการอบรมได้นำไปใช้ในระยะยาวโรงเรียนอนุบาลแต่ละแห่งจึงควรส่งครูมาเข้าร่วมอบรมจำนวน

2คน

    รูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ

การอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 1     

    หลักสูตรอบรมจำนวน1วันที่พัฒนาขึ้นโดยโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้น

ความสนใจของครูในเรื่องวิทยาศาสตร์ โดยเน้นถ่ายทอดแนวทางการเรียนการสอนและอบรมการทดลองในหัวข้อ

แรกเรื่องคือ“น้ำ

การอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 2 

ประมาณ3 เดือนหลังจากการอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่1ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ

ขั้นที่ 2ขึ้นซึ่งใช้เวลาอย่างน้อยครึ่งวัน โดยเนื้อหาของการอบรมนั้นให้มีส่วนของการอภิปรายเกี่ยวกับประสบ-

การณ์ของครูจากโรงเรียนอนุบาลต่างๆ ที่ได้นำความรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 1 ไปใช้ในการเรียนการ

สอนและเรียนรู้การทดลองหัวข้อที่สองคือเรื่อง“อากาศ”

การอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทาง 

    ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทางเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย1ครั้งทุกปี เพื่อถ่ายทอด

ความรู้ใหม่ๆ ให้แก่ครูปี โดยหัวข้อการอบรมควรสอดคล้องกับแนวทางของ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศ

ไทย”

ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะเป็นผู้แต่งตั้งวิทยากรส่วนสำนักงานโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศ

ไทย”จะรับหน้าที่อบรมวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งได้จัดทำคู่มือวิทยากรให้กับผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นวิทยากร

เครือข่ายท้องถิ่นส่วนการอบรม train-the-trainerใช้เวลาหลายวันและมีการส่งเจ้าหน้าที่จากสำนักงานใหญ่ไป

สังเกตการณ์และช่วยเหลือในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งแรกวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นจะได้รับเอกสารการ

ทำงานอื่นๆ อีก เช่นชุดโปสเตอร์สำหรับจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ นอกจากนี้ทางสำนักงานโครงการบ้านนักวิทยา-

ศาสตร์น้อยประเทศไทยจะเป็นผู้ดูแลวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นโดยจัดให้มีการประชุมวิทยากรอย่างสม่ำเสมอ

วิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นจะเป็นผู้กำหนดและจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยผู้นำ

เครือข่ายท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งในบางครั้งผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นก็สามารถเรียกเก็บ

ค่าใช้จ่ายจากผู้เข้าอบรมได้ตามความเหมาะสม

Page 20: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

21

2.3 การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 

หน้าที่ของเครือข่ายท้องถิ่นคือการวางแผนงานสัมมนาและเตรียมจัดงาน เครือจ่ายจะปรึกษากับผู้อบรม

เพื่อกำหนดเวลาและสถานที่ เชิญครูและส่งใบตอบรับ

    กำหนดการ 

ผู้ประสานงานเครือข่ายพร้อมผู้อบรมจะกำหนดเวลาฝึกอบรมบุคลากรครู อย่าลืมว่าต้องวางแผนระยะยาว

เพื่อให้ครู โดยเฉพาะในโรงเรียนเล็กๆ สามารถจัดเวลามาเข้ารับการอบรมได้โรงเรียนจะได้ไม่มีปัญหาในการขาด

ผู้สอนดังนั้นจึงควรแจ้งโรงเรียนอนุบาลล่วงหน้าก่อนวันสัมมนาอย่างน้อย8สัปดาห์ เพื่อให้การจัดการอบรม

ประสบความสำเร็จและควรระวังไม่ให้มีจำนวนผู้เข้ารับการอบรมเกิน15คนหรือสูงสุด20คน

    สถานที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 

ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้เข้าอบรมจำนวน50-60คนวิทยากรสามารถช่วยผู้นำเครือข่าย

ท้องถิ่นเลือกสถานที่ได้โดยอธิบายถึงความต้องการอย่างละเอียด เช่นควรมีก๊อกน้ำพื้นผิวล้างออกหรือทำความ

สะอาดได้ง่ายพื้นไม่ควรปูพรมระบายอากาศได้ดี เป็นต้นหรืออาจจะไปขอใช้ห้องจัดอบรมสัมมนาของหน่วย

งานต่างๆ เช่น โรงเรียนมหาวิทยาลัยหน่วยงานราชการก็ย่อมทำได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะเห็น

สมควรหรือพิจารณาแล้วว่าเหมาะสม

    เคล็ดลับ

สำหรับการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่1ซึ่งจัด1วันเต็มนั้น นอกจากจัดเตรียมอาหารว่างแล้วท่านควร

คิดถึงเรื่องสถานที่รับประทานอาหารกลางวันของผู้เข้าอบรมด้วยซึ่งอาจเป็นโรงอาหารใกล้ๆ มิฉะนั้นคุณควร

แจ้งครูก่อนล่วงหน้าว่าพวกเขาต้องจัดเตรียมอาหารกลางวันเอง

    ผู้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ

ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นมีหน้าที่รับผิดชอบเชิญครูมาเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการแจ้งกำหนดการและสถานที่

ล่วงหน้า เพื่อให้โรงเรียนอนุบาลมีเวลาอย่างน้อย8สัปดาห์ ในการจัดการเรียนการสอนเมื่อครูมาเข้าร่วมการ

อบรมในขณะเดียวกันทางผู้จัดงานก็จะได้มีเวลาบันทึกใบตอบรับและส่งจดหมายยืนยันได้ทันเวลาและเก็บ

ข้อมูลผู้เข้าอบรม     ไฟล์งานอำนวยความสะดวก 

ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นควรจัดทำตารางExcel เพื่อบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลโดยทำตารางที่ช่วยให้ท่าน

สามารถบันทึกข้อมูลการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการของครูในแต่ละครั้งได้

ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะได้รับแบบฟอร์มเกียรติบัตรสำเร็จรูปจากโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

ประเทศไทย”ที่ท่านสามารถพิมพ์ชื่อผู้เข้าอบรมและพิมพ์ออกมาได้ทันที

Page 21: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

22

บทที่ 2

2.4 เอกสารการทำงาน

โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” ได้พัฒนาเอกสารการทำงานสำหรับโรงเรียนอนุบาล

และเอกสารสำหรับงานบริหารของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น โดยหน้าที่ของผู้นำเครือข่ายท้องถื่นคือประสานงาน

ติดต่อขอรับเอกสารกับทางสำนักงานโครงการและนำไปแจกจ่ายให้วิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นและโรงเรียนอนุบาล

เท่าที่จะทำได้ โรงเรียนอนุบาลไม่ควรติดต่อขอรับเอกสารต่างๆ จากทางสำนักงานโครงการโดยตรง เพราะทาง

โครงการจะส่งเอกสารผ่านทางผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นเท่านั้น

ในส่วนของการปรับปรุงหลักสูตรการอบรมและเอกสารของโครงการอย่างต่อเนื่องผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น

มีหน้าที่ทำแบบสอบถามอย่างสม่ำเสมอโดยเว้นระยะห่างพอสมควรและร่วมประชุมกับทีมงานโครงการ “บ้าน

นักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” เพื่อแจ้งผลการดำเนินการหรือชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาตามความ

เหมาะสม

    เอกสารสำหรับโรงเรียนอนุบาล 

ครูจะได้รับชุดอุปกรณ์พื้นฐาน1ชุดต่อโรงเรียนอนุบาล1แห่งในงานอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 1 ซึ่ง

ประกอบด้วย กล่องนักวิทยาศาสตร์น้อย ใบกิจกรรมการทดลองหัวข้อน้ำ1ชุดและแฟ้มเอกสารเพื่อขอการ

รับรอง

ใบกิจกรรมการทดลอง: ในแต่ละหัวข้อเรื่อง (เช่นน้ำอากาศหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์)จะมีการ

ทดลองประมาณ 8-10 การทดลองจัดพิมพ์ขนาดประมาณA4และเคลือบพลาสติกอย่างดี โดยวิทยากร

เครือข่ายท้องถิ่นจะมอบใบกิจกรรมการทดลองชุดแรกคือเรื่อง “น้ำ” ให้ครูในการอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 1

และมอบชุดที่สองคือเรื่อง“อากาศ”ในการอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 2ซึ่งผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะติดต่อขอรับใบ

กิจกรรมการทดลองในหัวข้อต่อๆไปจากสำนักงานโครงการอย่างสม่ำเสมอโดยเว้นระยะห่างพอสมควร และจะส่ง

ต่อใบกิจกรรมการให้โรงเรียนอนุบาลที่เข้าร่วมต่อไป

แนวทางการทำโครงงาน: นอกจากใบกิจกรรมการทดลองโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศ

ไทย”ยังได้จัดทำแนวทางการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ให้ด้วยการทำโครงงานนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะการทดลอง

อย่างเดียว แต่จะกระตุ้นเด็กให้ตั้งคำถามกับปรากฏการณ์ที่พบเห็นในประจำวันด้วย และคิดทบทวน

ประสบการณ์การเรียนรู้ของตัวเองแต่ทางโครงการก็ต้องการสนับสนุนจากครูที่จะพัฒนาโครงงานของท่านเองโดย

ใช้การสังเกตจากชีวิตประจำวันของเด็ก นอกจากนี้ท่านยังสามารถเสนอโครงการที่ได้จากประสบการณ์จริงของ

ครูได้อีกด้วย

กล่องนักวิทยาศาสตร์น้อย:คือกล่องใช้เก็บใบกิจกรรมการทดลองครูจะได้รับกล่องนักวิทยาศาสตร์

น้อยพร้อมใบกิจกรรมการทดลองชุดแรกในการอบรมเชิงปฏิบัติขั้นที่1

แฟ้มเอกสารขอการรับรอง: โรงเรียนอนุบาลสามารถยื่นเรื่องขอการรับรองฐานะเป็น “บ้านนัก

วิทยาศาสตร์น้อย”ได้ที่ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น เมื่อเข้าร่วมการอบรมการอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งสองครั้งแล้วและมี

หลักฐานยืนยันว่าได้ทำการทดลอง20ครั้งและทำโครงงาน2โครงงาน

Page 22: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

23

    เอกสารสำหรับผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น

แผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการ:ในแผ่นพับนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายและภาระหน้าที่ของโครงการ

ซึ่งท่านสามารถแจกแผ่นพับนี้ให้กับผู้ที่สนใจเช่นผู้ปกครองหน่วยงานที่อาจเครือข่ายพันธมิตร เป็นต้น)

แฟ้มการบริหารเครือข่าย: “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ได้จัดทำข้อมูลในรูปแบบไฟล์งาน

Excelที่จะช่วยในการประสานงานเครือข่ายท่านสามารถบันทึกข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโรงเรียนอนุบาลที่เข้าร่วม

โครงการนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นซึ่งจะช่วยให้ท่านมองเห็นภาพรวมสถานะของเครือข่าย

ได้ตลอดเวลา

แบบฟอร์มจดหมายทั่วไป: เป็นแบบฟอร์มจดหมายทั่วไปที่ท่านสามารถนำไปปรับใช้ได้ด้วยการเติม

ข้อมูลติดต่อและนำไปใช้ในการออกจดหมาย

แบบฟอร์มสั่งเอกสารและสื่อการเรียนการสอน: เป็นแบบฟอร์มสำหรับผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อใช้

ในการส่งเอกสารและสื่อการเรียนการสอนกับ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”จึงขอความร่วมมือว่าใน

การติดต่อทุกครั้งโปรดใช้แบบฟอร์มนี้ และส่งทางโทรสาร 0-2662-0919หรือทางอีเมล littlescientists@

nanmeebooks.com 

จดหมายเชิญเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ: แบบฟอร์มจดหมายเชิญเข้าร่วมการอบรมและ

แบบสอบถาม

จดหมายยืนยันตอบรับการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ: ผู้ประสานงานเครือข่ายสามารถใช้แบบ

ฟอร์มจดหมายนี้เพื่อแจ้งยืนยันตอบรับการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการของครูได้

จดหมายถึงผู้ปกครอง: แบบฟอร์มจดหมายเพื่อแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโครงการและข้อมูลรายละเอียด

การเป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง

แฟ้มงานแถลงข่าว: เครือข่ายท้องถิ่นสามารถขอแฟ้มงานแถลงข่าวเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับพันธมิตร

เจ้าของโรงเรียนอนุบาลหรือสื่อได้ที่ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”

    เอกสารสำหรับวิทยากร 

หลังจากโครงการนำร่อง “บ้านนักวิทยาศาสตร์ประเทศไทย” ได้รับทราบรายชื่อของวิทยากรเครือข่าย

ท้องถิ่นที่จะทำหน้าที่อบรมครูสำนักงานโครงการจะส่งคู่มือวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นฉบับล่าสุดไปให้ทันที โดยมี

เงื่อนไขว่าวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นทุกคนต้องอ่านคู่มือมาก่อนเข้ารับการอบรมจากวิทยากรหลักคู่มือนี้จะมีการ

ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยตลอดเวลาและทางสำนักงานโครงการจะสั่งส่วนแก้ไขเพิ่มเติมไปให้วิทยากรเครือข่าย

ท้องถิ่นโดยอัตโนมัต ิ

คำแนะนำสำคัญ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เอกสารค่อนข้างสูงผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจึง

ควรใช้เอกสารให้มีประสิทธิภาพที่สุด เอกสารที่จัดเตรียมโดยโครงการไม่สามารถนำ

ไปจำหน่ายหรือใช้เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ

Page 23: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

24

บทที่ 2

    สรุปคำแนะนำสำหรับกระบวนการสั่งเอกสาร  ใช้แบบฟอร์มทุกครั้งที่สั่งเอกสาร

เราจะส่งคู่มือวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นให้แก่ทุกคนทันที เมื่อได้รับการยืนยันจากผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น

หลังจากผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นยืนยันกำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการก็สามารถจัดอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่

1 ได้ในทันทีและหลังจากผ่านการอบรมครั้งแรกแล้ววิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นจะมีความสามารถในการ

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่2ได้เป็นอย่างดี

วิทยากรควรสั่งอุปกรณ์พื้นฐานจากสำนักงานโครงการเรียบร้อยอย่างน้อย14วันก่อนวันที่จะจัดอบรมเชิง

ปฏิบัติการ โรงเรียนอนุบาลทุกแห่ง (ไม่ใช่ครูทุกคน!)จะได้รับอุปกรณ์พื้นฐานจากวิทยากรในวันอบรมเชิง

ปฏิบัติการ

วิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นจะแจกใบรับรองการเข้าร่วมอบรมให้แก่ครูในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2

ซึ่งครูทุกคนจะได้ใบรับรอง2ฉบับฉบับแรกสำหรับการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1และอีกฉบับ

สำหรับการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 ดังนั้น วิทยากรจึงต้องเตรียมแบบฟอร์มเปล่า2ฉบับ

สำหรับครู1คน     บทบาทของนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง นอกจากนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของครูแล้วบทบาทที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการ

หาโอกาสไปเยี่ยมโรงเรียนอนุบาลในเครือข่ายของตนเพื่อทำการทดลองร่วมกับเด็กหรือเล่าประสบการณ์ในการ

ทำงานของตนให้เด็กๆฟังหรือชักชวนเด็กๆให้ไปเที่ยวยังที่ทำงานของตนหรือเข้าร่วมงาน“วันนัดพบผู้ปกครอง”

(parents’night) โดยนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงสามารถพิจารณาได้เองว่าจะเข้าร่วมกิจกรรมไหนถึงระดับใดซึ่งควร

จะตกลงกับโรงเรียนอนุบาลให้ชัดเจนตั้งแต่เริ่มเข้ารับหน้าที่นี้และนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงควรจะต้องตกลงกับครู

ในการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรมล่วงหน้าก่อนเสมอ

    การสรรหานักวิทยาศาสตรพ์ี่เลี้ยง 

    หน่วยงานที่ท่านสามารถติดต่อหาผู้ที่สนใจจะมาเป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงได้นั้น ได้แก่มหาวิทยาลัย

สถาบันวิจัยบริษัทต่างๆ หรือพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เป็นต้นบุคคลเหล่านั้นอาจจะเป็นเจ้าหน้าที่หรือพนักงานใน

ปัจจุบันหรือพนักงานที่เกษียณอายุแล้ว นอกจากนี้ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน

สนับสนุนก็สามารถเป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงได้ ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวในการคัดเลือกนักวิทยาศาสตร์

พี่เลี้ยงแต่ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์หรือรู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะสามารถตอบคำถามของ

ครูได้นักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงไม่จำเป็นต้องตอบคำถามทุกข้อได้ในทันทีแต่สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

และติดต่อกับโรงเรียนอนุบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้จากประสบการณ์ของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยใน

ประเทศเยอรมนีพบว่านักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงจะทุ่มเทแรงกายและแรงใจมากที่สุดเมื่อลูกของตัวเองเรียนอยู่ใน

โรงเรียนอนุบาลแห่งนั้น ดังนั้นทางสำนักงานโครงการจึงเตรียม“จดหมายถึงผู้ปกครอง” เพื่อแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับ

การเป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงให้ผู้ปกครองทราบ ปกติพ่อแม่และผู้ปกครองมักพร้อมที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์

พี่เลี้ยงหากนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงไม่ได้มีความสัมพันธ์กับโรงเรียนอนุบาลนั้นๆ เมื่อจะมีการมอบหมายงานท่านก็

ต้องชี้แจงรายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วน

Page 24: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

25

ต่อไปนี้คือตัวอย่างวิธีการประชาสัมพันธ์เพื่อหานักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นแห่งหนึ่ง

ในประเทศเยอรมนี

ที่มา:หนังสือพิมพ์MagdeburgerVolkstimme27072007

พาดหัวข่าว–นักวิทยาศาสตร์น้อย2,700คนฝันอยากมี “นักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงที่จะมาช่วยเรา”

2.5 เทศกาลบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย 

โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”จะจัดงานสำหรับโรงเรียนอนุบาลต่างๆ ที่เข้าร่วม

โครงการขึ้นเป็นประจำทุกปี นั่นคืองาน “เทศกาลบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ซึ่งทางสำนักงาน

โครงการจะแจ้งรายละเอียดและประชาสัมพันธ์ให้ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นทราบล่วงหน้า โดยภายในงานจะเน้นจัด

กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการทดลองทางวิทยาศาสตร์นิทรรศการด้านการเรียนการ

สอนการสัมมนา เป็นต้นกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้ครูและเด็กๆ รู้สึกชอบวิทยาศาสตร์และยังเป็น

โอกาสดีที่ผู้ปกครองนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงหน่วยงานดำเนินการและหน่วยงานสนับสนุนต่างๆ ได้มาพบเจอกัน

เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมาว่ามีสิ่งใดบ้างที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

2.6 กิจกรรมเพิ่มเติมและการสร้างเครือข่าย

ตามที่ได้อธิบายไปในบทก่อนหน้านี้แล้วว่ากิจกรรมหลักของโครงการคือการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ

การจัดเตรียมเอกสารทำงานดำเนินการหานักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงจัดทำเว็บไซต์และจัดงาน“เทศกาลบ้านนัก

วิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นสามารถจัดกิจกรรมอื่นๆ นอก

เหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นได้ตามแต่ที่ท่านจะเห็นสมควรได้ทางโครงการไม่จำกัดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ของท่านแต่อย่างใด

ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมที่ท่านสามารถทำได้ในฐานะของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นในโครงการ

“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”

    กิจกรรมเพิ่มเติมสำหรับครู 

การแลกเปลี่ยนประสบการณ์: การติดต่อสื่อสารกับครูเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะทำให้ท่านรู้ความ

ต้องการของครูอย่างแท้จริง โดยท่านสามารถจัดกิจกรรมง่ายๆ ได้ เช่นการจัด “ประชุมนักวิทยาศาสตร์น้อย”

เป็นประจำ

จัดกิจกรรม “วันนัดพบผู้ปกครอง”: ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่ายหรือวิทยากรท่านสามารถ

สนับสนุนครูได้ด้วยการแนะนำโครงการใน“วันนัดพบผู้ปกครอง”ซึ่งท่านสามารถนำใบกิจกรรมการทดลองติดตัว

ไปด้วยและให้ผู้ปกครองลองทำการทดลองเองหรืออภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการเรียนการสอนของโครงการกับ

ผู้ปกครอง

Page 25: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

26

บทที่ 2

    กิจกรรมเพิ่มเติมสำหรับเด็กและผู้ปกครอง

การทดลองยามบ่าย:  เด็กส่วนใหญ่จะสนุกสนานกับการทดลองและรู้สึกว่าที่ได้ทำไปยังไม่จุใจ

ท่านสามารถส่งเสริมความกระตือรือร้นนี้ได้ด้วยการจัดการทดลองยามบ่ายสำหรับเด็ก เช่น จัดที่บริเวณ

สนามหญ้าของโรงเรียนโดยจัดเตรียมการทดลองไว้ตามฐานต่างๆและจัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมให้เด็กเลือกเอง

ว่าต้องการจะทำการทดลองเรื่องอะไรซึ่งผู้ปกครองหรือนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงก็คอยดูแลและให้คำแนะนำแก่เด็ก

ในแต่ละฐาน

ทัศนศึกษา: เด็กมักตื่นเต้นกับการทัศนศึกษาครั้งแรกเสมอท่านอาจพาเด็กไปยังพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่มี

ในท้องถิ่นที่ยินดีร่วมมือกับเครือข่ายของท่านในการจัดรายการทัศนศึกษาพิเศษสำหรับเด็กอายุ3-6ขวบ

เชิญชวนพ่อแม่ให้เข้ามามีส่วนร่วม: พ่อแม่เป็นพันธมิตรที่สำคัญของโรงเรียนอนุบาลในการปลูกฝัง

ให้เด็กชอบวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้นท่านจึงควรเชิญชวนพ่อแม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ

เช่นการแนะนำโครงการกับสมาคมผู้ปกครอง นอกจากนี้ท่านยังสามารถขอร้องให้ผู้ปกครองให้การสนับสนุน

โรงเรียนด้วยการจัดทัศนศึกษาสร้างห้องทดลองที่ใหญ่ขึ้นให้กับโรงเรียนรวมทั้งการบริจาคอุปกรณ์ที่ใช้ในการ

ทดลอง

    การสร้างเครือข่ายกับพันธมิตรอื่น

การส่งเสริมการเรียนการสอนด้านปฐมวัยเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนในสังคม ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่

เชิญชวนหน่วยงานและองค์การต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมใน“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”โดยหน่วย

งานที่ เหมาะสมมากที่สุดได้แก่ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัย หรือบริษัทที่มีแผนกค้นคว้าวิจัย

มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยอาชีวะศึกษาประจำภูมิภาคแม้แต่บริษัทที่ใช้กระบวนการเทคโนโลยีซึ่งเกี่ยวข้องกับ

ชีวิตประจำวันของเด็ก (เช่น โรงงานผลิตไฟฟ้า) ก็อาจจะเป็นพันธมิตรได้ หน่วยงานเหล่านี้สามารถให้การ

สนับสนุน“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ได้หลายวิธี เช่นส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของตนให้

เป็นนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรพี่เลี้ยง เสนอตัวเป็นสถานที่จัดทัศนศึกษาให้กับโรงเรียนอนุบาลบริจาควัสดุ

อุปกรณ์หรือสนับสนุนด้านการเงินให้ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น เป็นต้น

บางทีในละแวกเครือข่ายท้องถิ่นของท่านอาจมีสมาคมหรือโครงการที่มีเป้าหมายคล้ายกันอยู่แล้ว (เช่น

สถาบันเพื่อการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและบริษัทเอกชนต่างๆ )ท่านก็สามารถติดต่อเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์

และร่วมพิจารณาว่าจะร่วมมือกันส่งเสริมการเรียนการสอนด้านปฐมวัยได้อย่างไร

    สร้างเครือข่ายภายในโครงการ      “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ทั่วประเทศ 

สำนักงานโครงการพยายามส่งเสริมให้การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลในบรรดาผู้ที่ทำงานด้วยกันทั้ง

วิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นและผู้ประสานงานเครือข่าย เพื่อจะได้มีโอกาสทำความรู้จักกันในการประชุมที่จัดขึ้นทุกปี

และแลกเปลี่ยนความรู้ในเชิงวิชาการให้ความเห็นและคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ กับทางสำนักงานโครงการ

ซึ่งการประชุมนี้อาจจัดในช่วงเวลาเดียวกับที่มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทางก็ได้

Page 26: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

27

2.7 การประเมินคุณภาพและรับรองโรงเรียนอนุบาลเป็น      “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” 

“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ต้องการนำกิจกรรมที่มีคุณภาพสูงมานำเสนอให้แก่โรงเรียน

อนุบาลที่เข้าร่วมโครงการทุกแห่งกิจกรรมที่ช่วยให้ครูนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสอนเด็กด้วยวิธีง่ายๆ

ดังนั้นสำนักงานโครงการจึงจำเป็นต้องขอความเห็นจากผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (LocalNetwork)และโรงเรียน

อนุบาลในกิจกรรมแต่ละรูปแบบรวมทั้งรูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการรวมทั้งเอกสารการทำงานในขณะ

เดียวกันทางโครงการก็ต้องการตรวจสอบว่ากิจกรรมที่จัดให้โรงเรียนอนุบาลนั้นมีการนำไปใช้ได้จริงและมีผลตอบ

รับเป็นอย่างไรบ้างซึ่งโรงเรียนอนุบาลที่เข้าร่วมโครงการสามารถยื่นเรื่องขอรับตรา“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”ได้

ก็ต่อเมื่อทำกิจกรรมต่างๆตามหลักเกณฑ์ที่ทางโครงการกำหนดตามหลักแล้วโรงเรียนอนุบาลจะใช้เวลาน้อยที่สุด

1ปีการศึกษานับตั้งแต่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นที่ 1ซึ่งเงื่อนไขของการจะเป็น “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

ประเทศไทย”ได้นั้นมีดังนี้

 เข้าร่วมการสัมมนา:ครูอย่างน้อยหนึ่งคนเข้าร่วมงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการของ“บ้านนักวิทยาศาสตร์

น้อย”อย่างต่อเนื่องการสัมมนาขั้นต้นและเชิงลึก เป็นการอบรมบังคับซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการนำการทดลองและ

โครงงานมาสอนในโรงเรียนอนุบาล

 ทำการทดลองอย่างน้อย 20 การทดลอง: สำนักงานใหญ่ได้จัดเอกสารบันทึกและทบทวนพร้อมแฟ้ม

เอกสารรับรองให้ครูแฟ้มเอกสารรับรองเป็นเอกสารหลักในอุปกรณ์พื้นฐานของโรงเรียนอนุบาลซึ่งครูจะได้รับจาก

ผู้อบรมในการสัมมนาขั้นต้นแบบสอบถามมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ครูได้คิดทบทวนและทำให้เป็นความเคยชินทั้ง

เครือข่ายท้องถิ่นและสำนักงานใหญ่เบอร์ลินจะมีสิทธิขอดูเอกสารบันทึกและเอกสารทบทวนของโรงเรียนอนุบาล

ได้ เมื่อโรงเรียนอนุบาลต้องการสมัครเป็น“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”ดูแฟ้มขอใบรับรองในภาคผนวกC

 ทำและบันทึกโครงงานอย่างน้อยสองโครงงาน: การบันทึกควรแสดงให้เห็นว่าการทดลองถูกนำ

มาสอดแทรกในโครงงานอย่างไรและเด็กได้เรียนรู้ความเชื่อมโยงทางวิทยาศาสตร์อย่างไรการบันทึกทำได้โดยใช้

แคตตาล็อกคำถามที่สามารถเสริมด้วยรูปถ่ายงานประดิษฐ์ภาพวาดฯลฯ โดยเฉพาะระหว่างการทำโครงงาน

ควรให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดศักยภาพในการเรียนอย่างเป็นระบบให้แก่เด็ก (ดูแบบทดสอบที่ภาคผนวกC)

การทดลองที่ทำในกรอบของโครงงานสามารถนำมารวมในแฟ้มเอกสารรับรองหรือสลับกันได้

ผู้บริหารของโรงเรียนอนุบาลจะกรอกเอกสารการสมัครและส่งไปที่สำนักงานประสานงานเครือข่ายการยื่น

เอกสารการสมัครเป็นการยืนยันของโรงเรียนอนุบาลว่าได้ทำการทดลองและบันทึกกิจกรรมตามที่กำหนดไว้20

การทดลองและโครงงาน2โครงงานไว้แล้ว

เนื่องจากสำนักงานใหญ่เอาใจใส่ต่อการนำไอเดียไปปฏิบัติจริงในโรงเรียนอนุบาลและต้องการควบคุม

คุณภาพสำนักงานจึงจะสุ่มตรวจสอบเอกสารใบรับรองของโรงเรียนอนุบาลแต่ละแห่งที่ยื่นขอป้ายรับรองแม้แต่

เครือข่ายท้องถิ่นก็มีสิทธิ์ขอดูเอกสารของโรงเรียนอนุบาลเพื่อการประกันคุณภาพ

Page 27: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

28

บทที่ 2

    คำจำกัดความ “การทดลอง”

การทดลองหมายถึงกิจกรรมที่ใช้เวลาไม่นานและจะดำเนินการตามหัวข้อจำนวนหัวข้ออาจเพิ่มขึ้นจาก

ไอความคิกที่เกิดขึ้นในตอนนั้นของเด็กหรืออาจจะเกิดจากการเตรียมตัวอย่างมีเป้าหมายของครูการทดลองจะ

ต้องมีกิจกรรมเชื่อมโยงกันให้เด็กมองเห็นได้เพื่อศึกษาปรากฏการณ์บางอย่างแล้วเด็กจะเป็นคนตัดสินเองว่าจะ

ใช้ความเชื่อมโยงที่ได้พบมานำไปใช้ในกิจกรรมอื่นหรือไม่ เนื่องจากการสังเกตการณ์/คำถามของเด็กและการ

ทดลองจะเกิดต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว เด็กจะมีฐานะเป็นเพื่อนร่วมศึกษาและสนุกกับการเรียนรู้

ในสถานการณ์ประจำวันเช่นนี้ครูสามารถค้นหาคำตอบของคำถามไปพร้อมกับเด็กได้เสมอว่าพวกเขา

เรียนรู้อย่างไรค้นพบสิ่งใหม่และจะค้นพบเรื่องนั้นให้มากขึ้นได้อย่างไร

จาก“โครงงานเล็กๆ ” เหล่านี้อาจพัฒนากลายเป็น“โครงการวิจัย”ขนาดใหญ่ขึ้นก็ได้ เด็กจะทำงานเป็นก

ลุ่มในระยะเวลาที่นานขึ้นกับสื่อต่างๆ กันเพื่อศึกษาหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง (ดูโครงงาน)

ตัวอย่าง 

เด็กสังเกตบนโต๊ะอาหารเช้าว่าน้ำตาลละลายในน้ำชาครูจะหยิบยกการสังเกตนี้มาเป็นหัวข้อและร่วม

ทดลองพร้อมกับเด็กว่าอะไรบ้างที่ละลายในน้ำ

เด็กขุดหลุมโคลนทิ้งไว้ในสวนวันรุ่งขึ้นพวกเขาอยากไปเล่นที่นั่นต่อแต่ไม่มีน้ำเหลืออยู่ในหลุมอีกแล้วครู

จึงนำการสังเกตนี้มาศึกษาพร้อมกับเด็กโดยให้เด็กทดลองว่าวัสดุใดที่เก็บกักน้ำไว้ได้และต่อยอดความคิดต่อว่า

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

ผู้นำเครือข่าย

ท้องถิ่น 

โรงเรียน 

อนุบาล 

สิ่งที่ต้องปฏิบัติ 

รวบรวมใบสมัครและส่งต่อไปยังโครงการบ้าน

นักวิทยาศาสตร์น้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของเกียรติบัตรสำหรับ

โรงเรียนอนุบาล

แต่ละแห่ง

สิ่งที่ต้องปฏิบัติ 

การเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างน้อย2ครั้ง

กรอกข้อมูลต่างๆ ในแบบฟอร์มทำการทดลอง

20การทดลอง

ทำโครงงาน2โครงงานกรอกรายละเอียดในใบสมัครและตอบคำถาม

สิ่งที่ต้องปฏิบัติ 

ตรวจสอบใบสมัครตรวจสอบความถูกต้องของเกียรติบัตรสำหรับ

โรงเรียนอนุบาล

แต่ละแห่ง

ออกเกียรติบัตร

ส่งและแจกจ่ายเกียรติบัตร

กรอกข้อมูล

และส่งใบสมัคร

ส่งเกียรติบัตร

ส่งใบสมัคร

โครงการบ้าน 

นักวิทยาศาสตร์น้อย 

ขั้นตอนต่าง  ๆ   สู่การเป็นบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

Page 28: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

29

บนฐานก่อสร้างมีจัดการประกวดการก่อสร้างว่าใครสามารถสร้างหอคอยได้สูงที่สุดครูจะกระตุ้นให้เด็ก

ช่วยกันคิดว่าหอคอยแบบไหนที่ตั้งได้มั่นคงที่สุดและมันมีอะไรแตกต่างจากหอคอยอื่นๆ

    คำจำกัดความ “โครงงาน”

โครงงานในโรงเรียนอนุบาลหมายถึงการศึกษาระยะยาวที่เกี่ยวกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งที่ครูและเด็กช่วยกัน

วางแผนการคัดเลือกหัวข้อควรเป็นไปตามความสนใจของเด็กแต่เป็นเรื่องที่ครูเห็นว่าเหมาะแก่การนำมาศึกษา

โครงงานอาจใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ทำให้เกิดการทุ่มเทศึกษาไม่ใช่เฉพาะกับเนื้อหาเท่านั้นแต่ยังก่อ

ให้เกิดการคิดทบทวนตามแนวทางการประเมินการคิด (Metacognition)ซึ่งเด็กจะมีส่วนร่วมโดยตรงในการ

พัฒนาและคิดรูปแบบโครงงานโครงงานสามารถทำได้หลายรูปแบบและใช้กิจกรรมต่างๆ เช่นการพูดคุยการ

ค้นคว้าและการทดลองสัมภาษณ์หรือทัศนศึกษาเป็นต้น

หนึ่งในเป้าหมายของทุกโครงงานคือการที่เด็กมีโอกาสจะใช้ทักษะและแนวคิดหลากหลายและได้เรียนรู้

สิ่งที่เขาสนใจเป็นการส่วนตัว (Katz&Chard,2000น.210)

การศึกษาโครงงานที่วางแผนระยะยาวจะเปิดโอกาสให้เด็กเข้าใจหัวข้อนั้นอย่างลึกซึ้ง เข้าใจความสัมพันธ์

และได้รับความรู้ที่พวกเขาจะนำไปใช้ในกิจกรรมในอนาคตได้ประสบความสำเร็จระหว่างทำงานโครงงานครูควร

กระตุ้นให้เด็กคิดไตร่ตรองทบทวนเกี่ยวกับความคิดของตัวเองที่มีต่อหัวข้อโครงงานนั้นและแลกเปลี่ยนความคิด

กันกับเด็ก เด็กจะเห็นซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่ามีความคิดหลากหลายรูปแบบ เด็กแต่ละคนต่างก็มีวิธีของตัวเองในการ

มองของสิ่งหนึ่งครูจะช่วยให้เด็กตระหนักถึงการเรียนรู้ของตัวเองและคิดทบทวนในระดับรู้คิดไปพร้อมกับเด็ก

  ตัวอย่าง 

จากการสังเกตน้ำตาลละลาย เราสามารถใช้หัวข้อเรื่องการละลายมาศึกษาอย่างละเอียด เพื่อให้เด็กได้

เรียนรู้เกี่ยวกับความเชื่อมโยงทางวิทยาศาสตร์ มีสิ่งของอะไรบ้างที่ละลายในน้ำได้หมดและทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

แล้วมันสามารถละลายในของเหลวอย่างอื่นได้หรือไม่นอกจากความสามารถในการละลายของวัตถุสถานะของ

สสาร(ของแข็งของเหลวก๊าซ)ก็สามารถใช้เป็นหัวข้อโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นได้

อาจมีโครงงานหนึ่งที่การทดลองเรื่องการละลายเป็นแค่หัวข้อย่อยและถูกนำไปสอดแทรกในโครงงาน

ต่อยอด เช่น เรื่องการรับประทานอาหารอย่างถูกสุขอนามัยน้ำตาลอยู่ที่ไหนบ้างน้ำตาลมากแค่ไหนจึงดีต่อ

สุขภาพแล้วเราจะได้น้ำตาลมาได้อย่างไรและมีน้ำตาลอยู่แล้วตลอดเวลาหรือเปล่ามีรสหวานชนิดอื่นอีกไหม

และมีรสชาติแบบอื่นอีกหรือไม่ เด็กๆ ชอบรสไหนมากที่สุดทำไมต้องแปรงฟันหลังจากรับประทานทานของหวาน

เป็นต้น

การสังเกตหลุมในวันที่มีแดดอาจทำให้เด็กเห็นว่าน้ำไม่เพียงแต่ซึมลงไปในพื้นดินได้เท่านั้นแต่ยังระเหย

กลายเป็นไอได้อีกด้วยจากจุดนี้ทำให้เกิดโครงงานเกี่ยวกับวัฏจักรของน้ำในธรรมชาติและยังศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยว

กับระบบนิเวศได้อีกด้วย

หอคอยบนฐานก่อสร้างอาจขยายผลกลายเป็นโครงงาน“เราจะสร้างบ้านได้อย่างไร”ครูสามารถอภิปราย

กับเด็กว่าสิ่งใดที่ทำให้เกิดเป็นบ้านขึ้นได้แล้วลองไปสำรวจอาคารหลายๆ แห่งบริเวณรอบๆ โรงเรียนสอบถาม

สถาปนิกว่าการสร้างบ้านหอคอยหรือตึกสูงต้องคำนึงถึงอะไรบ้างและไปดูสถานที่ก่อสร้างจริง เป็นต้น

Page 29: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

30

บทที่ 2

2.8 งานประชาสัมพันธ์

สำนักงานโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”พยายามสร้างรากฐานการศึกษาปฐมวัยเรื่อง

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและดูแลภาพลักษณ์ของโครงการต่อสาธารณชนให้เป็นเอกภาพ นอกจากนี้ยังเป็น

ผู้ดูแลงานประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ

ส่วนผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์และติดต่อสื่อในภูมิภาคของตนตามกำลังความ

สามารถผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นจะแจ้งให้สำนักงานโครงการทราบเกี่ยวกับกิจกรรมประชาสัมพันธ์ของตนและ

ส่งตัวอย่างเป็นหลักฐานไปให้หากมีการสัมภาษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการถ่ายภาพยนตร์ทีวี “บ้านนัก

วิทยาศาสตร์น้อย”ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมทุกครั้ง

เครือข่ายท้องถิ่นควรใช้ชื่อและโลโก้ของโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”และมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎที่

อธิบายไว้ต่างหาก(StyleGuide) เมื่อใช้เครื่องหมาย

    โอกาสในการประชาสัมพันธ์ 

การก่อตั้งเครือข่าย/ความร่วมมือ การรับมอบเงินสนับสนุน เริ่มดำเนินโครงงานในโรงเรียนอนุบาลเป็นครั้งแรก “เทศกาลบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย” การรับรองโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเป็น“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”

ผู้นำเครือข่ายทุกเครือข่ายจะทำงานอย่างเป็นเอกเทศดังนั้นจึงยังมีวิธีการประชาสัมพันธ์อื่นๆ อีกมากมาย

2.9 การระดมทุนช่องทางอื่น ๆ   

หน้าที่หลักของผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นคือทำให้โรงเรียนอนุบาลรู้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของ “บ้านนัก

วิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย” นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ดูแลโรงเรียนอนุบาลติดต่อและแต่งตั้งวิทยากรเครือข่าย

ท้องถิ่นที่จะมาหน้าที่อบรมครูบ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการหรือชุมชนเป็นคนรับหน้าที่ผู้

ประสานงานโครงการ โดยที่หน่วยงานต้นสังกัดอนุญาตให้ใช้เวลานอกเหนือจากงานประจำอื่นๆ วิทยากรของ

โรงเรียนอนุบาลที่เข้าร่วมอาจเป็นเทรนเนอร์ และสามารถรับหน้าที่นี้ในกรอบงานของตนเองได้ แม้แต่บุคคล

ธรรมดาเช่นผู้เกษียณอายุก็อาจเป็นอาสาสมัครทำงานนี้ได้

แต่ในบางกรณี เครือข่ายท้องถิ่นอาจจำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างให้ผู้อบรมจากภายนอกสำหรับการทำงานใน

กรอบของโครงการ นอกจากนี้ ในเวลาที่มีปัญหาก็อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เช่นค่าเช่าและค่าโทรศัพท์สำหรับกรณีนี้

ทางโครงการได้รวบรวมเคล็ดลับและคำแนะนำวิธีหาผู้อุปถัมภ์ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” ในภูมิภาคแม้ว่าจะ

เป็นในระดับท้องถิ่น

Page 30: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

31

    พื้นฐานของการระดมทุน

คำว่า “ระดมทุน”หมายถึงการหาผู้สนับสนุนภารกิจขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรอย่างเป็นระบบเพื่อ

ช่วยสนับสนุนทรัพยากรในการทำงานขององค์กรนั้นๆ ดังนั้นการระดมทุนจึงหมายถึงกิจกรรมทั้งหมดที่ทำให้ได้

รับการอุปถัมภ์ เงินบริจาคหรือสิ่งของหรืออาจเป็นการสนับสนุนที่ไม่ใช่ในรูปวัตถุหมายความว่าเงินไม่จำเป็นต้อง

เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการระดมทุนเสมอไปการสนับสนุนในรูปอื่นก็อาจเป็นประโยชน์ได้เช่นกัน

การบริจาคสิ่งของ(เช่นคอมพิวเตอร์ เพื่อบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลที่อยู่ในความดูแล) เจ้าหน้าที่อาสา

สมัคร (เช่นผู้สนับสนุน) เครือข่ายและข้อมูลติดต่อ (เช่นพิพิธภัณฑ์ที่ยินดีจะทำงานร่วมกับ “บ้านนักวิทยา-

ศาสตร์น้อย” ในท้องถิ่น)หรือแม้แต่ความช่วยเหลือด้านการเมือง (เช่น เพื่อจะได้รับทรัพยากรที่จำเป็นต่อการ

สร้างเครือข่ายท้องถิ่น)

เงื่อนไขสำคัญที่สุดสำหรับความสำเร็จในการระดมทุนคือการประชาสัมพันธ์ที่ดียิ่ง “บ้านนักวิทยาศาสตร์

น้อย” เป็นที่รู้จักและมีความสำคัญในภูมิภาคมากก็จะยิ่งมีโอกาสที่จะได้บริษัทและมูลนิธิต่างๆ มาเป็นผู้

สนับสนุนงานประชาสัมพันธ์และการติดต่อสื่อระดับประเทศเป็นหน้าที่ของสำนักงานใหญ่แต่เครือข่ายท้องถิ่นก็

สามารถสนับสนุนให้โครงการเป็นที่รู้จักมากขึ้นในภูมิภาคของคุณพบคำแนะนำในบทB-9

กลุ่มเป้าหมายหลักของการระดมทุนคือประชาชนทั่วไปบริษัทและมูลนิธิต่อไปนี้คุณจะพบคำแนะนำ

และเคล็ดลับเพื่อหาบริษัทเป็นสปอนเซอร์ แน่นอนคุณสามารถลงมือปฏิบัติการเพื่อหาเงิน/บริจาคหรือการ

ช่วยเหลือจากประชาชนทั่วไป

บริจาคหรือสปอนเซอร์

ในการบริจาคผู้ให้/บริจาคจะไม่ได้รับอะไรตอบแทนจากองค์กรสำหรับทรัพยากรที่ให้

มาตัวอย่างเช่นการลดค่าเข้าร่วมกิจกรรมก็อาจถือเป็นการตอบแทนที่มีค่าเหมือนเงิน ซึ่งจะ

ไม่รวมกับการหักเงินค่าบริจาคแต่หากพูดถึงสปอนเซอร์บริษัทที่ให้ทรัพยากรจะได้รับสิ่ง

ตอบแทนตามที่ระบุไว้ในสัญญาสปอนเซอร์ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือทางการเงินขององค์กรไม่

ค้ากำไรเท่านั้นแต่ยังเป็นช่องทางโฆษณาแบบหนึ่งของบริษัทอีกด้วย

คำแนะนำ  ข้อจำกัดทางกฎหมายของเครือข่ายท้องถิ่น ในฐานะเครือข่ายของ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” เครือข่ายท้องถิ่นส่วนใหญ่

จะไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลอิสระ แต่ส่วนใหญ่ในเครือข่ายจะมีสถาบันชุมชนหรือ

เจ้าของโรงเรียนอนุบาลที่สามารถรับเงินบริจาคหรือของสปอนเซอร์ได้และนำไปใช้

ในการดำเนินงาน“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”ในท้องถิ่น

Page 31: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

32

บทที่ 2

    หาสปอนเซอร์

ก่อนที่เครือข่ายท้องถิ่นจะเริ่มติดต่อหาสปอนเซอร์ในภูมิภาคคุณควรวางแผนขั้นตอนของคุณอย่างละเอียด

เพื่อใช้เวลาและทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้อย่างแรกคุณควรทำบัญชีรายชื่อขององค์กร

หรือคนที่มีโอกาสเป็นสปอนเซอร์และเรียงลำดับความสำคัญหลังจากนั้นกำหนดเป้าหมายและมาตรการที่เป็น

รูปธรรมมากที่สุดในการติดต่อ

เกณฑ์ในการรวบรวมรายชื่อและเรียงลำดับความสำคัญของผู้มีโอกาสเป็นสปอนเซอร์ เช่น

บริษัทใดที่เหมาะสมกับโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” เพื่อจะหาความเหมาะสมคุณควรดูว่า

บริษัทอยู่ในสาขาอะไรนำเสนอภาพลักษณ์ของบริษัทอย่างไรและทำงานสังคมด้านอะไรมาแล้วบ้างจุดเชื่อมโยง

อีกจุดอาจเป็นโครงสร้างพนักงาน เช่นบริษัทอาจมีพนักงานหนุ่มสาวจำนวนมากที่มีลูกอยู่ในโรงเรียนอนุบาลหรือ

โรงเรียนอนุบาล

บริษัทมีศักยภาพที่จะสนับสนุน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”ในภูมิภาคของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หรือไม่: เกณฑ์ในที่นี้ ต้องพิจารณาจากขนาดและรายได้ของบริษัทหากคุณคาดหวังการสนับสนุนทางการเงิน

มากกว่าแต่สินค้าที่เหมาะสมระดับชื่อเสียง:หรือการได้ข้อมูลติดต่อที่สำคัญก็อาจเป็นประโยชน์สำหรับงานของ

คุณได้

มีสายสัมพันธ์ส่วนตัวกับบริษัทสายสัมพันธ์ส่วนตัว เช่นกับพนักงานในบริษัทสามารถช่วยให้คุณพบ

ผู้รับผิดชอบที่ถูกคนใช้แนวทาง/กลวิธีได้ถูกต้องและหยั่งความเป็นไปได้บางทีคุณอาจได้รับโอกาสให้เข้าไปนำ

เสนอโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”ที่บริษัท

นอกเหนือจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์พิจารณาเหล่านั้นแล้วคุณควรหาข้อมูลพื้นฐานเตรียมไว้: เช่นชื่อ

ที่ถูกต้องของบริษัทที่อยู่ผู้รับผิดชอบและวันก่อตั้งบริษัท

การติดต่อจะมีโอกาสไหมและมันจะขึ้นอยู่กับการที่บริษัทเคยมีประวัติเป็นผู้อุปถัมภ์โครงการที่คล้ายคลึง

กันมายาวนานหรือไม่ หากมีสายสัมพันธ์ส่วนตัวแล้วโอกาสของคุณจะมีมากขึ้นหรือเปล่า คำถามเหล่านี้

ไม่สามารถตอบแบบเหมารวมได้ทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามการติดต่อโดยมีเป้าหมายที่แน่นอนก็เป็นเรื่องสำคัญ

มากที่สุด

    ติดต่อสปอนเซอร์

ประเด็นสำคัญสำหรับการติดต่อบริษัทโดยมีเป้าหมายแน่นอน

หาว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ!คุณจะเพิ่มโอกาสให้ตัวเองมหาศาลหากคุณโทรศัพท์ถามล่วงหน้าว่า ใคร

เป็นผู้รับผิดชอบที่คุณควรคิดต่อด้วย และชื่อตำแหน่งชัดเจนของเขาคืออะไร จดหมายที่จ่าหน้าถึง “ผู้จัดการ”

หรือ“ท่านผู้อำนวยการ”แสดงให้เห็นถึงความไม่เอาใจใส่และไม่มีความรู้เกี่ยวกับบริษัท หากคุณไม่สนใจบริษัท

นั้นทำไมเขาต้องมาสนใจคุณด้วย

แนะนำโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”สั้นๆ และชัดเจนคุณควรนำเสนอเป้าหมายและกิจกรรม

ของ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”รวมทั้งบทบาทของคุณในการดำเนินโครงการในภูมิภาคของคุณด้วยคำพูดสั้นๆ

ตรงจุดและเน้นให้เห็นความแตกต่างของโครงการที่แตกต่างจากโครงการอื่นและไม่เหมือนใครแผนกประชา-

สัมพันธ์สามารถช่วยเหลือคุณได้เป็นกรณีไป

Page 32: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

33

ทำไมจึงต้องติดต่อบริษัทนี้! การค้นคว้าเกี่ยวกับจุดร่วมจะช่วยคุณได้ยิ่งคุณศึกษาเกี่ยวกับบริษัทอย่าง

ละเอียดคุณจะสามารถอธิบายได้อย่างน่าเชื่อถือว่าทำไมบริษัทนี้จึงเหมาะจะเป็นสปอนเซอร์ของ “บ้านนัก

วิทยาศาสตร์น้อย”มากเป็นพิเศษ

บอกสิ่งที่ต้องการ!อย่าพูดความต้องการของคุณแบบอ้อมๆแต่บอกสั้นๆว่าคุณต้องการการสนับสนุน

แบบไหนมาตรการที่วางแผนอย่างเป็นรูปธรรมและเข้าใจง่าย (เช่นค่าจ้างผู้อบรม,การทัศนาจรของโรงเรียน

อนุบาล,ค่าเช่าที่จัดงานสัมมนาหรือวัสดุสำหรับงานสัมมนาครู)จะช่วยกระตุ้นความสนใจและมีโอกาสประสบ

ความสำเร็จมากที่สุด

อะไรที่คุณจะเสนอให้บริษัทเป็นการตอบแทนได้! การขอสปอนเซอร์ไม่ใช่การเดินเข้าไปอย่าง “ผู้ขอ”

แต่สปอนเซอร์เป็นการให้และรับ ดังนั้นบอกให้ชัดเจนว่าบริษัทจะได้ผลประโยชน์จากการเป็นสปอนเซอร์อย่างไร

บ้าง เช่นคุณอาจจะนำโลโก้ของบริษัทใส่ไว้ในหัวจดหมาย แนะนำเจ้าหน้าที่ให้รู้จักการทดลองและโครงงาน

ต่างๆ ในโรงเรียนอนุบาลหรือประกาศชื่อสปอนเซอร์ในวันรณรงค์หรือในงานกิจกรรมอื่นๆ แต่อย่าลืมทำตามกฎ

การใช้เครื่องหมายและโลโก้ (บทC-4)คุณสามารถประกาศชื่อสปอนเซอร์เวลาส่งข่าวไปให้สื่อแต่เรื่องนี้ต้องมี

การตกลงกับ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย”ทุกครั้งสปอนเซอร์สามารถได้ประโยชน์จากภาพลักษณ์ที่ดีและระดับ

ความชื่อเสียงของโครงการเมื่อสาธารณชนรับรู้ว่าบริษัทเป็นผู้สนับสนุนระดับภูมิภาคของโครงการ

    การดูแลและเชื่อมสัมพันธ์กับสปอนเซอร์ 

เมื่อคุณได้บริษัทเป็นสปอนเซอร์แล้วคุณก็ควรดูแลรักษาความสัมพันธ์เพื่อผูกพันสปอนเซอร์ไว้กับโครงการ

“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย” ในระยะยาว เพื่อจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสปอนเซอร์ (และโดยเฉพาะกับผู้บริจาค)

คุณควรแสดงความขอบคุณสำหรับการสนับสนุน และแจ้งให้สปอนเซอร์ทราบเกี่ยวกับความคืบหน้าและข่าวสาร

ใหม่ๆ ของโครงการอย่างสม่ำเสมอหากสปอนเซอร์เรียกร้องให้มีมาตรการพิเศษบางอย่างคุณต้องทำรายงานเพื่อ

แจ้งว่าเสียงตอบรับดีอย่างไรหากสปอนเซอร์ (หรือผู้บริจาค)ไม่ได้กำหนดว่าต้องใช้เงิน (ความช่วยเหลือ) เพื่อจุด

ประสงค์ใดเป็นพิเศษคุณต้องแจ้งให้พวกเขาทราบภายหลังด้วยว่าคุณได้ใช้เงิน (ความช่วยเหลือ)ของเขาอย่างไร

คุณควรเชิญผู้อุปถัมภ์มาถ่ายรูปด้วยกันที่สถานที่จริงเลย!

สุดท้ายสิ่งที่เป็นประโยชน์คือการเตรียมข้อมูลที่ถูกต้องไว้ให้พร้อมเสมออย่ารอให้ถึงวันคริสต์มาส เพื่อใช้

เป็นโอกาสแสดงความขอบคุณต่อสปอนเซอร์ของคุณ แต่ไปแสดงความยินดีในวันครบรอบบริษัทหรือเมื่อบริษัท

ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ แม้แต่ขั้นตอนนี้ก็ยังใช้กฎเดิมคือแสดงความเอาใจใส่บริษัทสปอนเซอร์!

เคล็ดลับ

แม้ว่าความพยายามในครั้งแรกกับบริษัทหนึ่งอาจไม่สำเร็จก็อย่าเพิ่งยอมแพ้หากคำ

ปฏิเสธไม่รุนแรงเกินไปและบริษัทนั้นยังน่าสนใจสำหรับท่านอยู่ก็ควรพยายามต่อไปด้วยวิธีที่

น่าสนใจมากขึ้น

Page 33: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

34

บทที่ 3

ภาคผนวก

3.1 เว็บไซต์     

ที่เว็บไซต์ของโครงการwww.littlescientists.comมีข้อมูลที่น่าสนใจจำนวนมากเกี่ยวกับโครงการบ้านนัก

วิทยาศาสตร์น้อยสำหรับครูผู้ปกครองนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงและผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นและผู้ที่สนใจโดยมีราย

ละเอียดตามหัวข้อต่างๆ บนหน้าแรกของเว็บไซต์ดังนี้

การทดลองประจำสัปดาห์/การทดลองเพิ่มเติม 

โครงการไม่ได้ต้องการเพียงให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทดลองแก่ครูผู้สอนผู้ปกครองและพ่อแม่อุปถัมภ์เท่านั้น

แต่ยังต้องการกระตุ้นให้เกิดการทำการทดลองด้วยตนเองที่บ้านด้วย โดยในหัวข้อนี้จะแนะนำการทดลองประจำ

สัปดาห์ซึ่งมีคำอธิบายการทดลองตามลำดับขั้นตอนอย่างละเอียดรวมถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

ทีมงานของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยได้เรียบเรียงการทดลองในหัวข้ออากาศและน้ำส่วนการทดลองใน

หัวข้ออื่นๆ สามารถค้นหาได้จากการทดลองเพิ่มเติมโดยนักเขียนท่านอื่น

การแนะนำโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 

ในหัวข้อนี้จะแนะนำโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยรวมถึงวัตถุประสงค์และข้อเสนอต่างๆ ของโครงการ

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของโรงเรียนอนุบาลที่ได้ร่วมทำกิจกรรมของโครงการและรายชื่อของทีมงาน รวมทั้ง

กิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ครูและผู้ปกครอง 

ในหัวข้อนี้เป็นรายละเอียดและภาพรวมของการทดลองในสองหัวข้อแรกคืออากาศและน้ำที่สามารถ

ทำการทดลองได้ทั้งที่โรงเรียนอนุบาลและที่บ้านซึ่งในอนาคตอาจเพิ่มการทดลองใหม่ๆ เพื่อต่อยอดความรู้ต่อไป

พร้อมทั้งปรับปรุงการทดลองอยู่เสมอๆ นอกจากนี้ยังเป็นที่รับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทดลองเรื่องใหม่ๆ อีกด้วย

ถ้าโรงเรียนอนุบาลแห่งใดต้องการเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยสามารถเข้าไปอ่านราย

ละเอียดและรายชื่อหน่วยงานผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นที่รับผิดชอบและแจ้งความประสงค์แก่หน่วยงานนั้น

นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งข้อมูลแก่ผู้ปกครองและเครือญาติที่ต้องการเข้าร่วมทำงานกับโครงการบ้านนัก

วิทยาศาสตร์น้อย

นักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง 

พ่อแม่อุปถัมภ์จะเป็นผู้สนับสนุนให้โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยดำเนินไปได้ด้วยดีสำหรับผู้ที่สนใจ

สามารถเข้าไปดาวน์โหลดเอกสารรายละเอียดและกรอกใบสมัครเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์ได้ที่เว็บไซต์

ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น 

หน่วยงานในท้องถิ่นแห่งใดที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยสามารถอ่านรายละเอียด

เพิ่มเติมได้จากส่วนนี้ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานรวมทั้งข้อมูลเครือข่ายว่ามีหน่วยงานใด

ในท้องถิ่นของท่านที่เข้าร่วมกับทางโครงการแล้ว

ข่าวประชาสัมพันธ์ 

ในส่วนนี้มีทั้งข่าวการประชาสัมพันธ์หน่วยงานผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นแห่งใหม่ โรงเรียนอนุบาลที่ได้รับรางวัล

จากทางโครงการข่าวเกี่ยวกับโครงการจากสื่อต่างๆ และข้อมูลใหม่ๆ ที่น่าสนใจ

Page 34: ภาพรวมโครงการpathum1.go.th/UserFiles/files/Local Networkบ้าน...2 บทท 1ภาพรวมโครงการ “บ านน กว ทยาศาสตร

35

การสนับสนุนโครงการ 

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์และเงินทุนจากทุกๆ

ท่านรวมทั้งสามารถบริจาคผ่านทางสายด่วนของทางโครงการ

บริการอื่นๆ 

เว็บไซต์ของโครงการจะมีรายละเอียดที่ท่านสามารถหาข้อมูลการจัดงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้จาก

ปฏิทินการจัดงานหรือข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือและภาพยนตร์ รวมถึงห้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างวิทยากร

อบรมและครูผู้สอนหรือการส่งความคิดเห็นเกี่ยวกับเว็บไซต์ถึงผู้ดูแลผ่านทางอีเมลเป็นต้น

3.2 แบบฟอร์มเอกสารต่าง ๆ     

ทีมงานโครงการ“บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย”ได้จัดทำแบบฟอร์มเอกสารต่างๆ ขึ้นเพื่ออำนวย

ความสะดวกให้แก่ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นในการทำงานตัวอย่างเช่น ใบสมัครเข้าร่วมโครงการจดหมายถึงผู้

ปกครองจดหมายเชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการแบบฟอร์มตอบรับการเป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงแบบฟอร์ม

บันทึกผลการทดลองเป็นต้นซึ่งท่านสามารถติดต่อขอรับได้จากทีมงานโครงการ