คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... ·...

53
คู่มือ การแก้ไขปัญหาช้างป่าใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

Transcript of คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... ·...

Page 1: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

คู่มือ

การแก้ไขปัญหาช้างป่าใน 3 จังหวัดชายแดนใต ้

Page 2: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

1

ค าน า

หนังสือรวบรวมความรู้ “การแก้ไขปัญหาช้างปุาใน 3 จังหวัดชายแดนใต้” เป็นหนังสือที่ทีมงาน KM

จัดทําขึ้นเพ่ือรวบรวมข้อมูลพ้ืนที่ กลุ่มช้างปุา การแก้ไขปัญหาช้างปุาที่ผ่านมา การถอดบทเรียนและพัฒนา

วิธีการแก้ไขปัญหาช้างปุาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (การผลักดันและการเคลื่อนย้ายช้างปุา) ตั้งแต่ในอดีต

จนถึงปัจจุบัน เพ่ือให้เป็นเครื่องมือในการเข้าใจพ้ืนที่ ปัจจัยที่มีผลให้เกิดปัญหาช้างปุาใน 3 จังหวัดชายแดน

ภาคใต้ และเทคนิควิธีการในการแก้ไข เพ่ือให้เกิดการตีความและขยายผลให้ผู้ปฏิบัติสามารถนําไปใช้ให้มาก

ที่สุด แต่เนื่องจากปัญหาช้างปุายังต้องศึกษาข้อมูลพ้ืนที่ถิ่นที่อยู่อาศัยและประชากรช้างปุา สืบค้นข้อมูลและ

ผลงานวิจัย และพัฒนาเทคนิควิธีการอีกมาก หากข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ มีข้อแก้ไข หรือผิดพลาดประการใด

ทีมงาน KM ขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ และขอให้ช่วยเสริม เพ่ิมเติม และแก้ไขในโอกาสต่อไปให้กับเจ้าหน้าที่

ผู้ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาช้างปุาของสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานีด้วย

ทีมงาน KM สํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ท่ี 6 สาขาปัตตานี

กันยายน 2562

Page 3: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

2

สารบัญ

บทเรียนการแก้ไขปัญหาช้างป่าในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมา

1. ช้างปุาในพ้ืนที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3

2. พ้ืนที่ปุาในพ้ืนที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 5

3. การแก้ไขปัญหาช้างปุาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2558 7

การแก้ไขปัญหาช้างป่าตั้งแต่ปี 2559-2562

4. การติดตามและเฝูาระวังช้างปุา 8

5. การผลักดันช้างปุา 9

6. เคลื่อนย้ายช้างปุา 15

เทคนิค รูปแบบ และวิธีการผลักดัน และเคลื่อนย้ายช้างป่า

7. รูปแบบและเทคนิคการผลักดันช้างปุา 18

8. วิธีการเคลื่อนย้ายช้างปุา 27

9. การศึกษา “พ้ืนที่รองรับช้างปุา” กรณีต้องทําการเคลื่อนย้ายช้างออกจากพ้ืนที่ชุมชน 33

10. ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข 35

11. การศึกษาพ้ืนที่เพ่ือจัดทําเป็น “พ้ืนที่จัดการช้างปุา” เพ่ือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 38

กรณีเป็นช้างปุาเกเร หรือดุร้าย

12. การสร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างการมีส่วนร่วม และการสร้างเครือข่ายเฝูาระวัง 40

และแก้ไขปัญหาช้างปุา

13. สถานการณ์ปัญหาช้างปุาที่รุนแรงขึ้น และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข 42

14. การดําเนินการตามแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) 43

ภาคผนวก

Page 4: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

3

1. ช้างป่าใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ช้างปุาในพ้ืนที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มี 3 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มเขาเมาะแต กลุ่มฮาลา -บาลา และกลุ่มสันกาลาคีรี (แนวชายแดนประเทศไทย-มาเลเชียตั้งแต่อําเภอเบตงถึงบริเวณต้นแม่น้ําเทพา เกิดจากการสัมปทานปุาระบบตัดหมด clear cutting ตั้งแต่ตีนเขาถึงสันเขาสันกาลาคีรีฝั่งประเทศมาเลเซีย) และแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 10 กลุ่ม คือ กลุ่มเขาเมาะแต 1 กลุ่มย่อย (ประมาณ 15 -20 ตัว) กลุ่มฮาลา-บาลา 7 กลุ่มย่อย : กลุ่มบาลา (5 ตัว มีการเคลื่อนตัวข้ามชายแดนไทย-มาเลเซีย) กลุ่มโต๊ะโม๊ะ (5 ตัว มีการเคลื่อนตัวข้ามชายแดนไทย-มาเลเซีย) กลุ่มจุฬาภรณ์ 12 (5 ตัว มีการเคลื่อนตัวข้ามชายแดนไทย-มาเลเซีย) กลุ่มกาหลง-สกูปา (20 ตัว) กลุ่มคลองน้ําใส (25 ตัว) กลุ่มคลองฮาลา (25-30 ตัว) และกลุ่มสันติ 2 ( 30 ตัว) กลุ่มปุาสันกาลาคีรี : กลุ่มบ้านแหร-บ่ออ่าง (13 ตัว) กลุ่มคีรีเขต-ถ้ําทะลุ (7-9 ตัว)

ประมาณจํานวนประชากรช้างปุาได้ 150-200 ตัว

ที่มา : ข้อมูลจาก 1) การลาดตระเวนของเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ปุาฮาลา -บาลา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 (ประกอบกับข้อมูลการพบช้างเผือกประจํารัชการที่ 9 2 ช้าง คือ พระเศวตสุรคชาธารฯ พ.ศ. 2511 จากบริเวณตําบลบาลอ อําเภอรามัน จังหวัดยะลา และพระศรีนรารัฐราชกิริณีฯ พ.ศ. 2520 บริเวณปุาเทือกเขากือซา ตําบลจะแนะ อําเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส) 2) ประมาณจากการรายงานเหตุการณ์ช้างปุาออกนอกพ้ืนที่ปุาของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติบางลาง อุทยานแห่งชาติน้ําตกชีโป และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ปุาฮาลา-บาลา

ภาพแสดงกลุ่มช้างปุา 10 กลุ่มและบริเวณท่ีได้รับผลกระทบ

Page 5: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

4

แบ่งการเกิดผลกระทบต่อประชาชนเป็น 2 จังหวัด

จังหวัดนราธิวาส 5 กลุ่ม : กลุ่มเขาเมาะแต กลุ่มบาลา กลุ่มโต๊ะโม๊ะ กลุ่มจุฬาภรณ์ 12 และกลุ่มกาหลง-สกูปา จังหวัดยะลา 5 กลุ่ม : กลุ่มคลองน้ําใส กลุ่มคลองฮาลา กลุ่มสันติ 2 กลุ่มบ้านแหร -บ่ออ่าง และกลุ่มคีรีเขต-ถ้ําทะลุ

ลักษณะปัญหาของช้างป่าโดยท่ัวไปและที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 1. สร้างผลกระทบในลักษณะของช้างโขลง 2. สร้างผลกระทบในลักษณะของช้างกลุ่ม 2.1 กลุ่มช้างที่มีช้างเด็ก จะมีทั้งท่ีมีทั้งช้างเพศผู้และเมีย 2.2 กลุ่มช้างโทน จะมีแต่ช้างเพศผู้ 3. สร้างผลกระทบในลักษณะของช้างโทน 1 ตัว

ซึ่งส่วนใหญ่แล้วปัญหาช้างปุาที่เกิดขึ้นในพ้ืนที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้จะเป็นลักษณะช้างโทน 1 ตัว (ช้างแต่ละตัวมีนิสัยและพฤติกรรมไม่เหมือนกัน พื้นที่แต่ละแห่งมีสภาพพ้ืนที่ไม่เหมือนกัน แม้เป็นปัญหาช้างปุาที่เป็นลักษณะช้างโทน 1 ตัว เหมือนกัน แต่การแก้ปัญหาอาจต่างกันโดยสิ้นเชิง เจ้าหน้าที่ต้องปรับเปลี่ยนแผนการปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา ต้องมีความพร้อมและความอดทนสูง) มีช้างเพียงกลุ่มเดียวที่สร้างผลกระทบในลักษณะที่เป็นช้างทั้งโขลง คือ ช้างกลุ่มสันติ2 ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้มีการดําเนินการแก้ไขเนื่องจากต้องการให้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นท่ีทําความตกลงกันให้เป็นไปในทิศทางเดียวให้ได้เสียก่อนว่าจะให้เจ้าหน้าที่ดําเนินการผลักดันช้างทั้งโขลงกลับเข้าพ้ืนที่ปุาอันเป็นพ้ืนที่ที่เหมาะสมเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างปุาหรือไม่ เพราะต้องมีการวางแผนดําเนินการที่เป็นระบบ ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการจัดการกับภัยคุกคามช้างปุาภายในพื้นท่ีปุา (สําคัญท่ีสุดคือการเก็บกับดักสัตว์ปุา,บ่วงแร้ว)

Page 6: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

5

2. พื้นที่ป่าในพ้ืนที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

2.1 . พ้ืนที่ปุาในพ้ืนที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในพ้ืนที่กลุ่มปุาฮาลา-บาลาเป็นกลุ่มปุาที่มีพ้ืนที่ขนาดเล็ก (3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีพ้ืนที่ 6.8 ล้านไร่ มีพ้ืนที่ปุา 1.7 ล้านไร่ เป็นพ้ืนที่ปุาอนุรักษ์ 9.8 แสนไร่ ที่เหลือเป็นพ้ืนที่ปุาสงวนแห่งชาติและปุาในความรับผิดชอบของกรมปุาไม้ พ้ืนที่นิคมสร้างตนเอง พ้ืนที่ สปก. และที่ราชพัสดุ มีผืนปุาฮาลา-บาลาเป็นพ้ืนที่ที่ใหญ่ที่สุด (6.68 แสนไร่) อยู่ระหว่างจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส และต่อไปจนถึงปุาเบลุ่มในรัฐเปรัคทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย มีลักษณะเฉพาะและมีภูมิประเทศท่ีเป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน

ภาพแสดงพื้นที่ปุาใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 2.2 พ้ืนที่ปุาในกลุ่มปุาฮาลา-บาลาลดลง และมีลักษณะถูกแบ่งแยกตัดขาดเป็นตอนๆ เนื่องจาก

1) พ้ืนที่ปุาที่เป็นที่ราบมักไม่ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ปุา

มักจะถูกกันออกเพราะเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุก

2) นําไปจัดสรรให้ประชาชนใช้ประโยชน์ โดยเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยและเป็นพ้ืนที่ทํากินทางการ

เกษตร ซึ่งพ้ืนที่ราบจะเป็นที่รองรับสายน้ําจากเขาสูงหลายสายกลายเป็นแอ่งน้ํา ลําคลอง และแม่น้ํา เหมาะแก่

การตั้งเป็นชุมชนที่อยู่อาศัย ในขณะที่พ้ืนที่ราบเหล่านั้นก็เป็นพ้ืนที่ที่สัตว์ป่าโดยเฉพาะช้างป่าชอบและใช้ประโยชน์มากที่สุดเช่นกัน 2.3 พ้ืนที่ป่าที่เหลือเป็นเขาสูงสลับซับซ้อน มีความอุดมสมบูรณ์เป็นต้นก้าเนิดสายน้้าของแหล่งน้้าต่างๆ แต่มีพ้ืนที่ราบให้สัตว์ป่าได้ใช้ประโยชน์น้อยมาก

Page 7: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

6

2.4 มีการบุกรุกพ้ืนที่ป่า ตัดไม้ท้าลายป่า ล่าสัตว์ป่า และหาของป่า คือมีกิจกรรมการรบกวนทั้งภายในและภายนอกพ้ืนที่ป่า รบกวนเส้นทางเดินของสัตว์ป่าและด่านสัตว์ป่า

แผนที่รูปทรง (Land Form) พื้นที่ป่าใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

Page 8: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

7

3. ปัญหาช้างป่าและการแก้ไขในอดีตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2560

ในอดีตพ้ืนที่ปุาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก (ปุาฮาลา-บาลา เป็นชนิดปุาฝนในเขตร้อนชื้นหรือปุาดงดิบชื้นแบบอินโด-มาลายา มีเทือกเขาสันกาลาคีรีเป็นเทือกเขาต้นกําเนิด และมีเทือกเขาฮาลา เทือกเขาบาลา เทือกเขาบูโด เป็นเทือกเขาย่อย) จนกระท่ัง 1. มีนโยบายของรัฐบาลในการขอใช้พ้ืนที่ปุาจากกรมปุาไม้เพ่ือใช้เป็นพ้ืนที่นิคมสร้างตนเอง พ.ศ. 2515 จัดสรรให้คนยากไร้และไม่มีพ้ืนที่ทํากินเป็นนิคมพัฒนาภาคใต้จังหวัดยะลาและนราธิวาสครอบคลุมพ้ืนที่ปุาฮาลา-บาลา ต่อมามีการแยกพ้ืนที่นิคม ในปีพ.ศ. 2535 เป็นนิคมสร้างตนเองสุคิริน นิคมสร้างตนเองศรีสาคร นิคมสร้างตนเองกือลอง นิคมสร้างตนเองธารโต และนิคมสร้างตนเองเบตง 2. การไฟฟูาฝุายผลิตขอใช้พ้ืนที่จากกรมปุาไม้เพ่ือเยียวยาให้กับราษฎรต้องได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนบางลาง พ.ศ. 2524 3. ฝุายความมั่นคงได้ขอใช้พื้นที่ปุาสําหรับผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยที่มอบตัว เหล่านี้เป็นผลทําให้พื้นที่ปุาฮาลา-บาลาลดลงอย่างรวดเร็ว พ้ืนที่ปุาผืนใหญ่ถูกตัดขาดออกจากกันเป็นหย่อมปุา (ปุาชายเลนปัตตานี-นราธิวาส ปุาพรุบาเจาะ-พรุโต๊ะแดง ปุาเทือกเขาบูโด ปุาเขาเมาะแต ปุาฮาลา-บาลา และปุาแนวชายแดนเทือกเขาสันกาลาคีรี) อีกทั้งยังมีการบุกรุกพ้ืนที่ปุาจากราษฎรที่ต้องการมีสวนยางพาราและสวนผลไม้อยู่ตลอด สิ่งที่มนุษย์ได้ทําลงไปล้วนส่งผลกระทบต่อช้างปุาทั้งสิ้น พ้ืนที่ปุาลดลงและมีกิจกรรมอยู่ทั้งภายในและภายนอกพ้ืนที่ปุา เช่น ล่าสัตว์ปุา วางกับดักสัตว์ปุา หาของปุา การเข้าไปพักแรมในพ้ืนที่ปุา และยังประกอบกับปัญหาความไม่สงบในพ้ืนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีกลุ่มข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปใช้พ้ืนที่ปุาหรือแสวงหาประโยชน์ต่างๆ จึงเห็นได้ว่ามีปัจจัยมากมายที่กระตุ้นให้ช้างปุาออกนอกพ้ืนที่ปุา ลักษณะการออกจากพ้ืนที่ปุาของช้างปุา เริ่มแรกช้างปุาจะออกนอกพ้ืนที่ปุาเป็นครั้งคราว เป็นการเคลื่อนย้ายพ้ืนที่หากิน และมีปัญหาการถูกล่าเพื่อเอางาและจับเพื่อนําไปสวมสิทธิเป็นช้างบ้าน ปีพ.ศ. 2552 ปัญหาช้างปุาออกนอกพ้ืนที่ปุาสร้างผลกระทบและรบกวนประชาชนเริ่มเด่นชัดขึ้น มีการทําลายพืชผลทางการเกษตร โดยเกิดขึ้นทั้งในจังหวัดนราธิวาสและยะลา เป็นการออกนอกพ้ืนที่ปุาตามวงรอบของการหากินปีละ 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นช้างปุาเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เริ่มกินพืชผลไม้ทางการเกษตร ได้แก่ ทุเรียน ลองกอง กล้วย อ้อย มะพร้าว การออกจากพ้ืนที่ปุาเริ่มจากออกมายังบริเวณพ้ืนที่แนวรอยต่อเขตปุาและกลับเข้าพ้ืนที่ปุาในเวลากลางวัน เกิดการเรียนรู้เพ่ิมขึ้นทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เพ่ิมมากข้ึน โดยช้างปุาเริ่มพักและหลบซ่อนอาศัยอยู่ในพ้ืนที่สวนริมปุาโปฺะของราษฎร และเดินหากินขยายพ้ืนที่ไปจนถึงบริเวณหมู่บ้าน ช้างปุาเริ่มอยู่อาศัยในพ้ืนที่ราษฎรและหมู่บ้านนานขึ้นเนื่องจากสภาพพ้ืนที่สวนของราษฎรเอ้ืออํานวยแก่การหลบพักอาศัย (พ้ืนที่สวนส่วนใหญ่ปล่อยให้พืชคลุมดินไปจนถึงพืชยืนต้นขนาดเล็กขึ้นรก ลักษณะเป็นปุาโปฺะหรือปุาใส คือปุาที่ฟ้ืนคืนหลังจากมีการตัดถาง) ช้างปุาจึงสามารถดํารงชีวิตในพ้ืนที่ราษฎรได้นานเนื่องจากมีทั้งแหล่งอาหาร แหล่งน้ํา และแหล่งหลบและอาศัยที่สมบูรณ์ ทําให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างปุาในที่สุด

Page 9: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

8

ปัญหาช้างป่าใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ จึงมีสาเหตุหลักมาจากพื้นที่ลดลง มีกิจกรรมในพื้นที่ป่า ชุมชน (พ้ืนที่ชมชนมีองค์ประกอบให้ช้างอาศัยและด ารงชีวิตได้นาน คือมีแหล่งน้ า อาหาร และแหล่งหลบภัยที่สมบูรณ์ และท าให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ยาก และยากขึ้นด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยความไม่สงบ) และพฤติกรรมตามธรรมชาติของช้างป่าเอง

4. การติดตามและเฝ้าระวังช้างป่า

4.1 ช้างปุาที่ได้ทําการเคลื่อนย้ายไปยังพ้ืนที่รองรับใหม่ในอําเภอเบตง จังหวัดยะลา ได้เดินกลับมายังด่านช้างจุดเดิม คือ ด่านช้างบ้านสันติสุข-ไอร์วอ-กาหลง หมู่ที่ 1 ตําบลกาหลง อําเภอศรีสาคร มีรายงานการพบตัวช้างปุาวันที่ 24 ตุลาคม 2560 และวนเวียนหากินอยู่บริเวณบ้านกําปงบารู หมู่ที่ 10-ไอร์บือรา หมู่ที่ 5 ตําบลศรีสาคร อําเภอศรีสาคร โดยกลับเข้าพ้ืนที่ปุาเองเมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ข้อสันนิษฐาน ช้างตัวดังกล่าวเดินตามช้างเพศเมียกลับเข้าโขลง เนื่องจากมีข้อมูลการพบเห็นช้างเพศเมียบริเวณบ้านไอร์แตแต (บ้านย่อยไอร์บือรา หมู่ 5) ซึ่งห่างจากพ้ืนที่ปุาประมาณ 1 กิโลเมตร 4.2 ช้างตัวดังกล่าวได้เดินออกจากพ้ืนที่ปุาเข้าพ้ืนที่ชุมชนอีกครั้งเมื่อช่วงเดือนเมษายน 2561 โดยวนเวียนหากินอยู่บริเวณบ้านกําปงบารู หมู่ที่ 10-ไอร์บือรา หมู่ที่ 5 ตําบลศรีสาคร อําเภอศรีสาคร จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2561 หลังจากนั้นช้างได้ขยายพ้ืนที่หากินไปยังแหล่งน้ําแห่งใหม่ในท้องที่บ้านไอร์จือนะ หมู่ 5-ไอร์กูแป หมู่ที่ 2 ตําบลโคกสะตอ อําเภอรือเสาะ (ได้ทดสอบการผลักดัน 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 แต่ไม่เป็นผล เนื่องจากช้างได้เปลี่ยนพฤติกรรมไปมากแล้ว มีความดื้อ และก้าวร้าว อีกทั้งพ้ืนที่สวนส่วนใหญ่ราษฎรปล่อยให้เป็นปุารกยากแก่การผลักดัน) จนเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561 ช้างได้เดินทางมายังบ้านกําปงบารู (ช่วงเทศกาลรายอฮัจ) และวนเวียนหากินอยู่ในบริเวณพ้ืนที่ดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน ข้อสันนิษฐาน ใกล้เข้าสู่ฤดูฝนของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (ตุลาคม-ธันวาคม) ช้างจึงอาจเดินทางกลับเข้าพ้ืนที่ปุาเอง การดําเนินการตลอดระยะเวลาที่ช้างอยู่ในพ้ืนที่ราษฎร เจ้าหน้าที่ชุดติดตามและเฝูาระวัง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ปุาฮาลา-บาลา ได้ติดตามและรายงานพิกัดที่ช้างอยู่ในแต่ละวันโดยตลอด และเจ้าหน้าที่ส่ วนอนุรักษ์สัตว์ปุาได้ติดตามสถานการณ์และทําการศึกษาพ้ืนที่เพ่ือทําการผลักดันและเตรียมการเคลื่อนย้าย โดยสํานักบริหารพ้ืนที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี ได้มีหนังสือขออนุมัติเคลื่อนย้ายเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 เพ่ือขออนุมัตจิับและเคลื่อนย้ายไปยังพ้ืนที่โครงการเขาตะกรุบ จังหวัดสระแก้ว การดําเนินการเมื่อช้างเดินกลับมายังพ้ืนที่หากินเดิม (บ้านกําปงบารู) เจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ปุาได้ลงพ้ืนที่เพ่ือศึกษาพ้ืนที่และพฤติกรรมของช้างปุา ซึ่งมีแนวโน้มว่าช้างจะกลับเข้าพ้ืนที่ปุาในช่วงฤดูฝนนี้ เนื่องจากผู้ใหญ่บ้านกําปงบารู หมู่ที่ 10 ได้แจ้งข้อมูลว่า เมื่อประมาณวันที่ 27 สิงหาคม 2561 ช้างได้เดินทางไปยังบ้านไอร์แตแต หมู่ที่ 5 (ห่างพ้ืนที่ปุา 1 กิโลเมตร) แต่ถูกชาวบ้านยิงหนังสติ๊กขับไล่ ซึ่งคาดว่าเป็นการขับไล่ในทางตรงข้ามเส้นทางเข้าพ้ืนที่ปุา จึงทําให้ช้างต้องเดินกลับมาบ้านไอร์บือราอีกครั้ง จึงขอให้ผู้นําชุมชนประสานราษฎรในพื้นที่ให้เปิดพื้นที่ตามเส้นทางเดินกลับเข้าพ้ืนที่ปุาของช้าง ไม่ทําการรบกวน หรือทํากิจกรรมที่ก่อความรําคาญกับช้างปุา

Page 10: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

9

ปัญหาและอุปสรรค 1. ปัจจัยที่ทําให้ช้างอยู่อาศัยในพื้นที่คือ น้ํา อาหาร และแหล่งหลบภัย อุดมสมบูรณ์มาก แต่สามารถ

จัดการได้ โดยการตัดวงจรปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งให้ได้ ซึ่งปัจจัยที่ง่ายที่สุด คือ แหล่งหลบภัย ราษฎรจําเป็นที่จะต้องสางสวนให้โล่งเตียน แม้จะมีแหล่งน้ําและแหล่งอาหาร แต่ไม่มีแหล่งหลบภัย ช้างก็ไม่สามารถอยู่ในพ้ืนที่ได้

2. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในพ้ืนที่ยังขาดการประสานงานอย่างใกล้ชิดและการประชาสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องและท่ัวถึง เพ่ือสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติต่อราษฎรในพ้ืนที่

5. การผลักดันช้างป่า

5.1 ผลักดันช้างปุาบริเวณบ้านแหร หมู่ที่ 1 ตําบลบ้านแหร อําเภอธารโต ซึ่งออกจากพ้ืนที่ปุาบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย (ช่วงตําบลคีรีเขต อําเภอธารโต จังหวัดยะลา) เนื่องจากมาเลเซียมีการสัมปทานไม้ โดยพบช้างครั้งแรกบริเวณบ้านซาไก หมู่ 3 ตําบลบ้านแหร เมื่อช่วงเดือนมกราคม 2561 เป็นช้างปุาเพศผู้ อายุประมาณ 6-8 ปี ทําการผลักดันเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2561 จากบริเวณสวนยางพารา พิกัด 743420 E 677048 N ไปสิ้นสุดที่พิกัด 742942 E 677084 N เนื่องจากมีประชาชนคอยติดตามดูการผลักดันอย่างใกล้ชิดตลอดเส้นทางผลักดันแม้จะเป็นพ้ืนที่รกก็ตาม ทําให้ขวางเส้นทางการเดินของช้างและทําให้ช้างเกิดความเครี ยด จึงต้องยุติการผลักดันและทอดเวลาให้ช้างสงบสักระยะเวลาหนึ่ง 5.2 ผลักดันช้างปุาบริเวณบ้านบันนังกระแจะ หมู่ที ่5 ตําบลธารโต อําเภอธารโต วันที่ 16 พฤษภาคม 2561 เป็นช้างตัวเดียวกันกับที่ผลักดันเม่ือวันที่ 8 พฤษภาคม 2561 โดยทําการผลักดันบริเวณสวนยางพาราซึ่งมีลักษณะพ้ืนที่เป็นเนินเขา พิกัด 741972 E 679820 N แต่ต้องหยุดการผลักดันเนื่องจากบริเวณด้านล่างโดยรอบเป็นชุมชน หากทําการผลักดันต่ออาจทําให้ช้างเกิดความเครียดและอาจเดินเข้าสู่พ้ืนที่ชุมชน อย่างไรก็ตามการผลักดันอาจมีผลในการกดดันให้ช้างรู้สึกว่าพ้ืนที่ดังกล่าวไม่ปลอดภัยและอาจเดินกลับพื้นที่ปุาในช่วงเวลาค่ําคืน เนื่องจากช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเดือนบวชของพ่ีน้องชาวมุสลิม (14 พฤษภาคม-13 มิถุนายน 2561) การสัมปทานปุาไม้บริเวณชายแดนมาเลเซียจะหยุดทําการชั่วคราว จึงขอความร่วมมือจากผู้นําชุมชนประสานราษฎรที่อยู่ใน เส้นทางเดินกลับเข้าพ้ืนที่ปุา (บ้านมายอ-บ้านบาตูบูเต๊ะ-บ้านศรีนคร) ให้เปิดพ้ืนที่ งดกิจกรรมรบกวนช้างทุกรูปแบบ และทําการตรึงแนวเพ่ือไม่ให้ช้างเข้าพ้ืนที่ชุมชนหรือออกนอกเส้นทางกลับเข้าพ้ืนที่ปุา (โดยการจุด

Page 11: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

10

ตะเกียงน้ํามันโซล่า-เบนซิลเป็นแนว) ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี และช้างได้เดินกลับเข้าพ้ืนที่ปุาในค่ําคืนนั้นเอง

5.3 ผลักดันช้างปุาบริเวณบ้านไอร์จือนะ หมู่ที่ 5 วันที่ 30 พฤษภาคม 2561 เป็นการผลักดันช้างปุาพลายเมาะแตซึ่งออกจากพ้ืนที่ปุาเป็นครั้งที่ 4 (หลังจากเคลื่อนย้ายจากบ้านกําปงบารูไปปล่อยยังพ้ืนที่ปุาท้องที่บ้านจุฬาภรณ์ฯ10 ตําบลอัยเยอร์เวง อําเภอเบตง จังหวัดยะลา เมื่อ 30 สิงหาคม 2560 และออกจากพ้ืนที่ปุาบริเวณบ้านกาหลงอีกครั้งเมื่อธันวาคม 2560)เพ่ือทดสอบการผลักดันช้างที่มีความดื้อรั้นและก้าวร้าว เนื่องจากมีประสบการณ์อยู่ในพ้ืนที่ชุมชนเป็นเวลานานและหลายครั้ง บริเวณพิกัด 770633 E 693745 N ผลปรากฏว่าช้างมีการเคลื่อนตัวเล็กน้อยแต่ยังคงวนในปุายางที่รกที่เดิม จึงต้องยุติการผลักดันและสังเกตผลและปฏิกิริยาของช้างอีกครั้งในวันถัดไป ซึ่งวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 พบช้างจากจุดที่ผลักดันราว 800 เมตร บริเวณปุายางซึ่งรกกว่าเดิมซึ่งไม่สามารถทําการผลักดันเพราะเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก จากการติดตามการรายงานของเจ้าหน้าที่ การลงพ้ืนที่เพ่ือศึกษาพฤติกรรมช้างปุาและศึกษาพ้ืนที่ที่ช้าง วนเวียนอาศัยหากิน และศึกษาเส้นทางที่ช้างเดินตั้งแต่เริ่มออกจากพ้ืนที่ปุา สรุปสถานการณ์และปัญหาปัจจุบัน ได้ว่า 1. ปล่อยให้ช้างออกห่างจากพ้ืนที่ปุามากเกินไป (ไอร์จือนะ ห่างจากด่านสันติสุข -ไอร์วอ-กาหลง ประมาณ 15 กิโลเมตร 2. ปล่อยให้ช้างปุาอยู่ในพ้ืนที่ราษฎรนานเกินไป โดยไม่มีการผลักดันหรือกดดันให้ช้างกลัว (การกดดันต้องทําให้ช้างกลัว อย่าทําให้ช้างโกรธหรือรําคาญ) 3. เจ้าหน้าที่ขาดการประสานงานและการสร้างความรู้ความเข้าใจกับชุมชน 5.4 การผลักดันช้างปุาพลายเมาะแตซึ่งหากินอยู่ในพื้นที่อําเภอรือเสาะ-ศรีสาคร เป็นเวลากว่า 7 เดือน วันที่ 29 ตุลาคม -2 พฤศจิกายน 2561 เจ้าหน้าที่ชุดผลักดันอุทยานแห่งชาติน้ําตกชีโป เจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ปุา เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ปุาฮาลา-บาลา ฝุายปกครองและทหาร ได้สนธิกําลังผลักดัน สามารถผลักดันช้างไปใกล้บริเวณทางขึ้นด่านช้างได้แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถปฏิบัติการได้สําเร็จเนื่องจากไม่สามารถปิดกั้นเส้นทางไม่ให้รถวิ่งผ่านได้ จึงจําเป็นต้องทําการเคลื่อนย้าย ซึ่งอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปุา และพันธุ์พืช ได้อนุมัติให้เคลื่อนย้ายวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 และปฏิบัติการเคลื่อนย้ายได้สําเร็จ 3 -5 ธันวาคม 2561 จากบริเวณบ้านตอหลัง หมู่ที่ 3 ต.ตะมะยูง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ไปยังพ้ืนที่ปุาใน ขสป.ฮาลา-บาลา ท้องที่บ้านภูเขาทอง ต.ภูเขาทอง อ.สุคิริน จ.นราธิวาส 5.5 การผลักดันช้างปุาบ้านวังไทร ตําบลแม่หวาด อําเภอธารโต จังหวัดยะลา 5.5.1 ข้อมูลเกี่ยวกับช้างปุา เป็นช้างปุาเพศผู้ อายุประมาณ 8-10 ปี พบในพ้ืนที่ตั้งแต่เดือนกันยายน 2561 เป็นช้างปุาจากกลุ่มช้างสันติ 2 ว่ายน้ําข้ามเกาะพันไร่เข้าสู่บ้านบัวทองใต้มาตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม 2561 และเข้าสู่บ้านวังไทรในที่สุด ได้ทําการผลักดันเข้าพ้ืนที่ปุาพระนามาภิไธยเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2561 (เป็นพ้ืนที่ปุาที่ใกล้กว่าการผลักกลับเข้าโขลงช้างกลุ่มสันติ 2) โดยผู้นําชุมชน ฝุายปกครอง และ

Page 12: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

11

เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติบางลาง และออกจากพ้ืนที่ปุาอีกครั้งเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2561 จนนําไปสู่ก ารผลักดันในครั้งนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมเก่ียวกับช้างปุาตัวดังกล่าว คือ หูข้างซ้ายแหว่งและงาข้างขวาหัก 5.5.2 เส้นทางการผลักดัน 1) ผลักดันกลับทิศทางเดิมและโขลงช้างเดิม ซึ่งมีระยะทางไกล ต้องผลักดันทั้งทางบกและทางน้ําสลับกัน และพ้ืนที่ทางบกค่อนข้างยากลําบากต่อการปฏิบัติงาน 2) ผลักดันเข้าพ้ืนที่ปุาที่ใกล้ที่สุด คือปุาพระนามาภิไธย 1. ผลักดันทางบกอย่างเดียว ค่อนข้างไกลและเส้นทางส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ชัน 2. ผลักดันทางน้ําเพ่ือขึ้นฝั่งในพ้ืนที่บ้านในหลง หมู่ที่ 10 แล้วผลักดันต่อทางบกเพ่ือให้ช้างเข้าสู่พ้ืนที่ปุาพระนามาภิไธย ซึ่งระยะทางใกล้กว่าการผลักดันทางบก และช้างมีการการว่ายน้ําว่ายน้ําข้ามไปมาเพ่ือเดินทางระหว่างบ้านในหลงกับพ้ืนที่บ้านวังไทร (มีร่องรอย พิกัด และการพบเห็น) เจ้าหน้าที่ประเมินสถานการณ์แล้วจึงใช้เส้นทางการผลักดันตามข้อ 2 5.5.3 ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน 1) สภาพพ้ืนที่ปฏิบัติงานเป็นพ้ืนที่ริมเขื่อนบางลาง เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานทั้งภาคพ้ืนดินและน้้า ภาคพ้ืนดินเป็นเขาชันมีหุบน้้าโดยตลอดและค่อนข้างรก ช้างสามารถใช้พ้ืนที่ได้ดีทั้งทางบกและทางน้ํา เคลื่อนตัวได้เร็วแม้พ้ืนที่ชันมาก 2) การไม่ให้ความร่วมมือของประชาชนในการหยุดกิจกรรมเพ่ือเปิดพ้ืนที่อย่างแท้จริง ทําให้ช้างวกกลับหลายครั้ง ภารกิจจึงยืดเยื้อถึง 3 วันเต็ม อีกทั้งยังมีการเมืองท้องถิ่นแทรกแซงแย่งชิงมวลชนทําให้เกิดความขัดแย้งและไม่เชื่อฟังเจ้าหน้าที่ 3) การสื่อสารที่ถูกจํากัด ทั้งสัญญาณโทรศัพท์ที่มีน้อยมากและวิทยุสื่อสารมีจํานวนไม่เพียงพอ (ขอสนับสนุนเพิ่มเติมได้ในช่วงบ่ายวันที่ 3 ของการผลักดัน) 5.5.4 การดําเนินการและผลการผลักดัน วันที่ 1 และ 2 (17-18 มกราคม 2562) พ้ืนที่ปฏิบัติงานอยู่ในช่วงตั้งแต่บริเวณเกาะหนามงายไปถึงหน้าเกาะทวด สามารถทําให้ช้างปุาเคลื่อนตัว และสามารถผลักดันให้ลงสู่ริมน้ําเพ่ือหวังให้ว่ายน้ําข้ามไปยังพ้ืนที่บ้านในหลงได้หลายครั้ง แต่มีกิจกรรมและการสัญจรขวางการข้ามน้ําโดยตลอด วันที่ 2 ช้างมีการเคลื่อนตัวที่เร็วขึ้น ไม่พบร่องรอยการกินอาหารและการถ่ายมูล และเมื่อได้ยินเสียงหรือพบเจอสิ่งใดขวางเส้นทาง/ทิศทางเดินก็จะวกกลับและหนีอย่างรวดเร็ว วันที่ 3 (19 มกราคม 2562) ในค่ําคืนของวันที่ 2 ช้างได้เดินและว่ายน้ําข้ามหุบน้ําไปทางตะวันออกเฉียงใต้ (ทิศทางที่ออกมาจากปุาพระนามาภิไธย) และได้มีประชาชนจุดประทัดบอลไล่ช้างกว่า 100 ลูก เจ้าหน้าที่จึงต้องออกปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 4.00 น. โดยตรึงแนวไว้ไม่ให้ช้างย้อนกลับจนเวลา 8.00 น. จึงเริ่มทําการผลักดัน ซึ่งวันดังกล่าวมีการประชุม อรบ. และผู้นําชุมชนได้ขอกําลังเสริมไว้เพ่ือการตรึงแนว แต่ด้วยเจ้าหน้าที่พร้อมผู้นําชุมชนบ้านวังไทรต้องออกปฏิบัติงานแต่เช้าตรู่จึงไม่มีเวลาซักซ้อมความเข้าใจ การกดดันช้างปุาในช่วงเช้าจึงค่อนข้างควบคุมประชาชนได้ยาก ยิ่งทําให้ช้างตื่นตระหนก การผลักดันจึงเป็นการกดดัน

Page 13: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

12

ช้างที่ค่อนข้างหนัก และยิ่งไม่สามารถผลักดันให้ช้างว่ายข้ามน้ําไปยังบ้านในหลงได้ กลับวิ่งหนีอย่างรวดเร็วและสามารถหนีแม้ในช่องทางที่ยากลําบาก (ร่องน้ําสูงชัน) เจ้าหน้าที่ประเมินแล้ว การผลักดันต่อจะทําให้ช้างเครียดเกินไปจึงยุติการผลักดัน วันที่ 4 (20 มกราคม 2562) ด้วยประชาชนยังไม่ประจักษ์ว่าช้างกลับเข้าพ้ืนที่ปุาหรือพ้นไปจากพ้ืนที่ของตนแล้ว (แม้จะชี้แจงว่าขอเพียงชุมชนร่วมมือกันหยุดกิจกรรมเพ่ือเปิดพ้ืนที่ให้แก่ช้างปุาอย่างแท้จริง ช้างซึ่งถูกผลักดันจนรู้สึกพ้ืนที่ไม่ปลอดภัยแล้ว ก็จะเดินทางออกจากพ้ืนที่ชุมชนและกลับเข้าพ้ืนที่ปุาไปเองได้) จึงยังมีความกังวล เจ้าหน้าที่จึงติดตามผลอีก 1 วัน ปรากฏว่าพบช้างปุาบริเวณเกาะหนามหงาย (ย้อนกลับ) และพบตัวในเวลา 14.00 น. บริเวณหน้าเกาะทวด จึงทําการกดดันอีกครั้งแต่ไม่สามารถกดดันให้ช้างว่ายน้ําข้ามไปยังบ้านในหลงได้ จงึถอนกําลังในเวลา 17.00 น. และประชุมสรุปผลร่วมกับผู้ใหญ่บ้านวังไทร โดยขอความร่วมมือจากชุมชนให้เปิดพ้ืนที่ให้ช้างปุาเดินทางอย่างแท้จริง (ตลอด 4 วันที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานยังมีประชาชนฝุาฝืนไม่ให้ความร่วมมือโดยตลอด) ในค่ําคืนหลังจากยุติภารกิจผลักดัน ช้างปุาได้ว่ายน้ําข้ามไปยังบ้านในหลงบริเวณเกาะฤาษี ผู้ใหญ่บ้านวังไทรและประชาชนที่ร่วมดําเนินการตลอด 4 วัน จึงเข้าตรวจสอบและติดตามร่องรอยในเช้าวันรุ่งขึ้น (21 มกราคม 2562) จนเกิดเหตุช้างปะทะกับผู้ใหญ่บ้านวังไทรในระยะกระชั้นชิดได้รับบาดเจ็บสาหัส (ประชาชนบ้านในหลงยังไม่ให้ความร่วมมือในการงดกิจกรรมต่างๆ) และได้นําส่งโรงพยาบาลธารโตในเวลาต่อมา ซึ่งปัจจุบันมีอาการพ้นขีดอันตรายแล้ว 22 มกราคม 2562 เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติบางลางได้รายงานว่าช้างปุาตัวดังกล่าวได้เดินทางเข้าพ้ืนที่ปุาพระนามาภิไธยแล้ว โดยพบร่องรอยใกล้แนวเขตปุา (ตั้งแต่เกิดเหตุผู้ใหญ่บ้านวังไทรได้รับบาดเจ็บ ประชาชนในพ้ืนที่บ้านในหลงได้หยุดทํากิจกรรมทันที) จึงขอให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติบางลาง (หน่วยวังไทร) ฝุายปกครอง และประชาชนในพื้นท่ี เฝูาระวังบริเวณแนวเขตปุา โดยในช่วงแรกนี้ (2-4 สัปดาห์) ให้ปล่อยให้ช้างปุาได้พักและคลายความเครียด หลังจากนั้นให้เฝูาระวังไม่ให้ช้างออกนอกพ้ืนที่ปุามาไกลเกินไป หากพบช้างเดินทางออกนอกแนวเขตปุาให้รีบทําการผลักดันทันที

Page 14: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

13

เส้นทางการเดินทางออกจากกลุม่ช้างสันติ2 สู่บ้านวังไทร หมู่ที ่2 ต าบลแม่หวาด อ าเภอธารโต จังหวัดยะลา

กรกฎาคม-กันยายน 2561

การผลักดันช้างป่าบ้านวังไทร หมู่ที่ 2 ต าบลแม่หวาด อ าเภอธารโต จังหวัดยะลา 17-20 มกราคม 2562

Page 15: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

14

5.6 การไล่ต้อนและผลักดันช้างปุาบ้านอัยเยอร์ควีน หมู่ที่ 10 ตําบลอัยเยอร์เวง อําเภอเบตง จังหวัดยะลา

การไล่ต้อนเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562 เป็นการลงพ้ืนที่เพ่ือพบผู้นําและประชาชนในพ้ืนที่เพ่ือทําความเข้าใจในแนวทางการแก้ไขปัญหา และตรวจสอบพ้ืนที่และตัวช้างเพ่ือเตรียมการผลักดัน ทดสอบการผลักดันเพ่ือเรียนรู้นิสัยของช้างปุา ปรากฏว่าช้างปุาเดินเมื่อเจ้าหน้าที่เข้าใกล้ จึงทําการไล่ต้อนจนเข้าเขตแนวปุา แต่หลังจากนั้นพบว่าช้างได้กลับออกมาอีกหลังจากการไล่ต้อนเข้าพ้ืนที่ปุาเพียง 2 วัน

การผลักดันเม่ือวันที่ 31 สิงหาคม – 1 กันยายน 2562 ผลักดันโดยเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจผลักดันช้างปุาเข้าพ้ืนที่ปุา แต่ด้วยพื้นที่ชัน พฤติกรรมช้างปุาที่ดื้อรั้นไม่ยอมเข้าพ้ืนที่ปุาและเดินตามแนวสันเขาซึ่ง 2 ข้างสันเขาเป็นที่ลาดชัน เจ้าหน้าที่ไม่สามารถตีโอบเพ่ือบังคับทิศทางช้างปุาได้ สามารถผลักดันช้างเข้าพ้ืนที่ปุาได้ แต่ในอีก 2 วันต่อมา พบว่าช้างได้กลับออกจากพ้ืนที่ปุาอีก

อนึ่ง พ้ืนที่ดังกล่าวห่างจากจุดที่ช้างทําร้ายราษฎรเสียชีวิตเมื่อปี 2561 เพียง 2 กิโลเมตร จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า มีภัยคุกคามช้างปุาอยู่ในพื้นท่ีปุา และอาจเป็นช่วงฤดูผลไม้ทําให้ช้างปุาติดใจรสชาติจึงยังคงกลับออกมาจากปุาและอยู่ในพื้นท่ีสวนของราษฎรอีกครั้ง

การแก้ไขจึงจําเป็นต้องวางแผนให้เป็นระบบ วิเคราะห์พื้นที่ และวางแผนกําลังเจ้าหน้าที่ให้มากขึ้น

การไล่ต้อน 23 กรกฎาคม 2562

การผลักดันเมื่อ 31 สิงหาคม-1 กันยายน 2562

Page 16: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

15

6. เคลื่อนย้ายช้างป่า สํานักบริหารพ้ืนที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี ได้ทําการเคลื่อนย้ายช้างปุาแล้ว 5 ครั้ง เป็นช้างตัวเดียวกัน (ช้างพลายเมาะแต) 4 ครั้ง และการเคลื่อนย้ายช้างปุาที่ออกจากพ้ืนที่ปุาบริเวณชายแดนประเทศไทย-มาเลเซียออกจากพ้ืนที่ชุมชนบ้านบือซู ตําบลบันนังสตา อําเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

6.1 การเคลื่อนย้ายช้างปุาจากบ้านตอหลังไปบ้านตะเคียนต้นเดียว เป็นการออกจากพ้ืนที่ปุาครั้งแรกของช้างพลายเมาะแต โดยออกมาพร้อมกับช้างพลายอีก 1 ตัว ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า ได้รับรายงานการออกนอกพ้ืนที่ปุาครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 ที่บ้านน้ําวน-บ้านจือแร ตําบลตะมะยูง อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ปุาฮาลา -บาลา และอุทยานแห่งชาติน้ําตกชีโป ได้ร่วมกันติดตามและเฝูาระวัง จนกระทั่งช้างปุาทั้ง 2 ตัว เริ่มเดินหากินข้ามแม่น้ําสายบุรีกลับไปมาระหว่างบ้านตันหยงกูนา-บ้านตอหลัง-บ้านนังโล๊ะ-บ้านสาโฆะ ตําบลโคกสะตอ อําเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส การติดตามเฝูาระวังยังคงดําเนินการต่อไปเป็นระยะ และประสานผู้นําชุมชนเพ่ือประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวัง จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ชุดติดตามและเฝูาระวังได้พยายามผลักดันช้างปุาไปยังบ้านบาตง หมู่ที่ 3 ตําบลบาตง อําเภอรือเสาะ สําเร็จ และประสานให้ผู้นําชุมชนให้ช่วยเฝูาติดตามแทนในระหว่างที่เจ้าหน้าที่ออกจากพ้ืนที่ ทําให้กลุ่มบุคคลมั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ได้ออกจากพ้ืนที่ไปแล้ว จึงเข้ามายิงยาซึมช้างตัวที่โตกว่า (พลายเมาะแต) แล้วผูกขาไว้กับต้นสาคู และให้ข้อมูลว่าเจ้าหน้าที่ปุ าไม้มอบหมายให้ตนเองมานําช้างปุาออกไป ผู้ใหญ่บ้านจึงได้ประสานเจ้าหน้าที่ชุดติดตามฯเพ่ือสอบถามข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่จึงบอกว่าไม่จริงและให้ทําการขัดขวางไม่ให้กลุ่มคนดังกล่านําช้างออกไป เหตุเกิดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2559 เจ้าหน้าที่สังกัดสํานักบริหารพ้ืนที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี จึงเข้าควบคุมพ้ืนที่โดยการสั่งการของผู้อํานวยการสํานักฯและทําการเคลื่อนย้ายช้างปุาทั้ง 2 ตัว ในวันที่ 18 สิงหาคม 2559 ไปยังบ้านตะเคียนต้นเดียว หมู่ที่ 1 ตําบลศรีบรรพต อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส โดยเจ้าหน้าที่ชุดติดตามและเฝูาระวังช้างปุา อุทยานแห่งชาติน้ําตกชีโป ได้ทําการติดตามหลังจากเคลื่อนย้าย ผลปรากฏว่าหลังจากเคลื่อนย้าย 3 วัน ช้างทั้ง 2 ตัว ได้เดินทางออกจากพ้ืนที่ปล่อยลงมายังบ้านดาฮง หมู่ที่ 4 ตําบลเชิงคีรี อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส 6.2 การเคลื่อนย้ายจากตะมะยูงไปบ้าน9 เป็นการเคลื่อนย้ายช้างปุาเพศผู้ จํานวน 2 ตัว ดังกล่าวที่ได้เคลื่อนย้ายแล้วครั้งหนึ่งนั้น เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากกํานันตําบลตะมะยูง อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ว่ามีช้างปุา 2 ตัว อยู่ในพ้ืนที่หมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ชุดติดตามเขตรักษาพันธุ์สัตว์ปุาฮาลา-บาลา และอุทยานแห่งชาติน้ําตกชีโป ได้ร่วมกันติดตามอีกครั้ง ซึ่งช้างปุาได้เดินไปตามบ้านตะมะยูง-บ้านลาเวง-บ้านตามุง ไปจนถึงบ้านพงยะติ วันที่ 17 ตุลาคม 2559 เจ้าหน้าที่ชุดติดตามฯเขตรักษาพันธุ์สัตว์ปุาฮาลา-บาลา (ศูนย์ฯ3) ได้ไปติดตามช้างปุาบริเวณบ้านตามุง หมู่ที่ 2 ตําบลเชิงคีรี อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส จนช้างเดินทางมายังบ้านตอหลัง หมู่ที่ 3 ตําบลตะมะยูง อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส จนนําไปสู่การติดตามและการเคลื่อนย้ายครั้งที่ 2 จากบริเวณบ้านตะมะยูง ตําบลตะมะยูง อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ในวันที่ 15-16 มกราคม 2560 ไปปล่อยยังพ้ืนที่ปุาบริเวณบ้านจุฬาภรณ์ฯ9 ตําบลแม่หวาด อําเภอธารโต จังหวัดยะลา

Page 17: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

16

6.3 การเคลื่อนย้ายช้างปุาบ้านกําปงบารู เพศผู้ อายุประมาณ 15-20 ปี (ผลงานต่อเนื่อง 30 สิงหาคม 2560) อาศัยหากินอยู่บริเวณตําบลศรีสาคร บ้านกําปงบารู หมู่ 10-บ้านไอร์บือรา หมู่ 5 กว่า 4 เดือน (พบครั้งแรก วันที่ 1 พฤษภาคม 2561 และมีเหตุการณ์ราษฎร (เด็กชาย) ถูกช้างทําร้าย วันที่ 17 กรกฎาคม 2561 บ้านไอร์สาเมาะ หมู่ที่ 4 ตําบลโคกสะตอ อําเภอรือเสาะ) จากบริเวณสวนยางราษฎรบ้านกําปงบารู หมู่ที่ 10 พิกัด 774671 E 688509 N ไปสู่พ้ืนที่ปุาแห่งใหม่บริเวณปุาตาม พรบ.ปุาไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งอยู่ในระหว่างสํารวจเพ่ือผนวกเป็นพ้ืนที่อุทยานห่งชาติบางลาง พิกัด 748611 E 647362 N ตําบลอัยเยอร์เวง อําเภอเบตง จังหวัดยะลา มีชุมชนบ้านจุฬาภรณ์ฯ 10 อยู่ใกล้บริเวณดังกล่าวซึ่งมีความเข้าใจและขอให้เจ้าหน้าที่เฝูาระวังและติดตามจนกว่าช้างจะเข้าสู่พ้ืนที่ปุาลึกและไม่สร้างผลกระทบต่อชุมชน 6.4 การเคลื่อนย้ายช้างปุาบ้านบือซู หมู่ที่ 6 ตําบลบันนังสตา อําเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ซึ่งพบช้างในพ้ืนที่ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2561 เป็นช้างตัวเดียวกันกับที่ทําการผลักดันบริเวณบ้านแหร (8 พฤษภาคม 2561) และบ้านบันนังกระแจะ (16 พฤษภาคม 2561) โดยมีข้อมูลการพบเห็นช้างครั้งแรกหลังเดือนรอมฎอน (16 มิถุนายน 2561) บริเวณบ้านแหร หมู่ที่ 1-บ้านบัวทอง หมู่ที่ 2 ตําบลบ้านแหร อําเภอธารโต เป็นพ้ืนที่รับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติบางลางแต่ไม่สามารถเข้าดําเนินการได้เต็มที่ เนื่องจากเป็นพ้ืนที่เสี่ยงภัยสถานการณ์ความไม่สงบ เจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ปุาจึงเข้าพ้ืนที่เพ่ือคลี่คลายสถานการณ์ โดยชุมชนมีความต้องการให้ย้ายช้างออกจากพ้ืนที่เท่านั้น ซึ่งเจ้ าหน้าที่พิจารณาเหตุผลความจําเป็นและลําดับความสําคัญแล้ว เห็นว่าต้องย้ายช้างออกจากพ้ืนที่ เนื่องจาก 1. ช้างออกห่างจากพ้ืนที่ปุามาไกลมาก (กว่า 25 กิโลเมตร) 2. อยู่ในใจกลางชุมชน ซึ่งบริเวณพ้ืนที่พักอาศัยของราษฎรส่วนใหญ่จะทําการเกษตร ในรูปแบบมีสวนยางอยู่บริเวณหลังบ้าน ส่วนใกล้ตัวบ้านจะปลูกพืชผลไม้ ทั้ง 2 ปัจจัย จึงทําให้ยากต่อการผลักดันช้างกลับพื้นที่ปุา ประกอบกับ 3. ช้างอยู่ในใจกลางพ้ืนที่ชุมชนมานานเกือบ 1 เดือน ทําให้ชุมชนเกิดความเครียดเป็น อย่างมาก ท่านอธิบดีฯได้อนุมัติให้จับและเคลื่อนย้ายช้างปุาตัวดังกล่าว เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2561 และได้ทําการเคลื่อนย้ายช้างออกจากพ้ืนที่ วันที่ 3 สิงหาคม 2561 จากบริเวณสวนยางพาราของราษฎร พิกัด 747342 E 684710 N ไปยังพื้นท่ีรองรับใหม่ พิกัด 748611 E 647362 N ในอําเภอเบตง จังหวัดยะลา 6.5 เคลื่อนย้ายจากตอหลังไปบาลา เป็นการออกจากพ้ืนที่ปุาครั้งที่ 4 ของช้างพลายเมาะแต โดยเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2560 เจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ปุา ได้รับแจ้งจากประชาชนในพ้ืนที่บ้านไอร์วอว่ามีช้างปุาเข้ามาอยู่ในพ้ืนที่ เจ้าหน้าที่จึงเข้าตรวจสอบ วันที่ 13 ธันวาคม 2560 และแจ้งประสานไปยังเจ้าหน้าที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ปุาฮาลา-บาลา เพ่ือปฏิบัติการติดตามและเฝูาระวังช้างปุา ช้างปุาได้เดินทางไปยังบ้านไอร์แตแต -บ้านไอร์บือรา-บ้านกําปงบารู อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส เจ้าหน้าที่ชุดติดตามฯได้ติดตามเฝูาระวังในพ้ืนที่ โดยเจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ปุาได้ติดตามสถานการณ์โดยตลอด พบว่าช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ช้างปุาได้เดินทางกลับเข้าพ้ืนที่ปุาไป

Page 18: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

17

เอง โดยเดินทางบริเวณบ้านไอร์แตแต หมู่ที่ 5 ตําบลศรีสาคร อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส กลับลงมาพ้ืนที่ชุมชนอีกครั้งบริเวณระหว่างบ้านกาหลง-บ้านไอร์วอ ในวันที่ 5 เมษายน 2561 เคลื่อตัวจากบริเวณที่ออกจากพ้ืนที่ปุาระหว่างบ้านกาหลง-บ้านไอร์วอ ต.กาหลง อ.ศรีสาคร ไปยังบ้านไอร์บือรา-บ้านไอร์แตแต-บ้านกําปงบารู ตําบลศรีสาคร อําเภอศรีสาคร -บ้านไอร์สาเมาะ-บ้านไอร์กูแป-บ้านซาอูบี บ้านซอแด ตําบลโคกสะตอ อําเภอรือเสาะ วันที่ 29 ตุลาคม -2 พฤศจิกายน 2561 เจ้าหน้าที่ชุดผลักดันอุทยานแห่งชาติน้ําตกชีโป เจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์สัตว์ปุา เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ปุาฮาลา-บาลา ฝุายปกครองและทหาร ได้สนธิกําลังผลักดัน สามารถผลักดันช้างไปใกล้บริเวณทางขึ้นด่านช้างได้แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถปฏิบัติการได้สําเร็จเนื่องจากไม่สามารถปิดกั้นเส้นทางไม่ให้รถวิ่งผ่านได้ จึงจําเป็นต้องทําการเคลื่อนย้าย ซึ่งอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ ได้อนุมัติให้เคลื่อนย้ายวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 และปฏิบัติการเคลื่อนย้ายได้สําเร็จ 3-5 ธันวาคม 2561 จากบริเวณบ้านตอหลัง หมู่ที่ 3 ตําบลตะมะยูง อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ไปยังพ้ืนที่ปุาในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ปุาฮาลา-บาลา ท้องที่บ้านภูเขาทอง ตําบลภูเขาทอง อําเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

Page 19: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

18

เทคนิค รูปแบบ และวิธีการผลักดันและเคลื่อนย้ายช้างป่า

7. การผลักดันช้างป่า สรุปบทเรียนการผลักดันที่ผ่านมา

5.1 ผลักดันช้างปุาบริเวณบ้านแหร ตําบลบ้านแหร อําเภอธารโต จังหวัดยะลา 7 - 8 พฤษภาคม 2561

5.2 ผลักดันช้างปุาบริเวณยังบ้านบันนังกระแจะ หมู่ที่ 5 ตําบลธารโต จังหวัดยะลา 16 พฤษภาคม 2561

5.3 ผลักดันช้างปุาบริเวณบ้านไอร์จือนะ หมู่ที่ 5 วันที่ 30 พฤษภาคม 2561

5.4 ผลักดันช้างปุาพลายเมาะแตอําเภอรือเสาะ-ศรีสาคร 29 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2561

5.5 ผลักดันช้างปุาบ้านวังไทร ตําบลแม่หวาด อําเภอธารโต จังหวัดยะลา

5.6 ไล่ต้อนและผลักดันช้างปุาบ้านอัยเยอร์ควีน หมู่ที่ 10 ตําบลอัยเยอร์เวง อําเภอเบตง จังหวัดยะลา

กรณี สภาพพ้ืนที ่ พฤติกรรมช้างป่า อื่นๆ

1.บ้านแหร 1.ราบ 2.รก

1.ไม่มีข้อมลูการไล่หรือขับไล่ของชุมชน แต่ช้างปุาอาศัยอยู่ในพ้ืนท่ีเป็นเวลานาน จึงมีการเรยีนรู้ในระดับหนึ่งแล้ว ไม่ยอมใหไ้ลต่้อนได้โดยง่าย

1.ไม่ได้รับความร่วมมือในการเปดิพื้นที่ให้เจ้าหน้าท่ีปฏิบตัิงาน มีการติดตามดูการทํางานของเจ้าหน้าท่ีตลอดเวลา

2.บ้านบันนังกระแจะ

1.ราบ 2.รก เป็นช้างตัวเดียวกับท่ีทําการผลักดนัท่ีบ้านแหร 1.ได้รับความร่วมมือในการเปดิพื้นที่ (งดกิจกรรมขวางทางช้างปุา) จากชุมชนโดยผู้นําชุมชนประสานงานได้เป็นอย่างดี

3.บ้านบ้านไอร์จือนะ

1.ราบ 2.รกทึบ 1.ดื้นรั้น ก้าวร้าว 2.ฉลาดเนื่องจากเรียนรูม้าอย่างมากมาย

1.ปล่อยให้ช้างอยู่นพ้ืนท่ีนาน 2.แหล่งน้ําแหล่งอาหารสมบูรณ ์3.แหล่งหลบภัย/พัก มาก 4.ทดสอบการผลักดัน

4.ช้างปุาพลายเมาะแตอําเภอรือเสาะ-ศรีสาคร

1.ราบ 2.รกทึบ 1.ดื้นรั้น ก้าวร้าว 2.ฉลาดเนื่องจากเรียนรูม้าอย่างมากมาย

เป็นการผลักดันอยา่งเต็มรูปแบบโดยใช้เจ้าหน้าท่ีที่มีประสบการณ์จากอช.น้ําตกชีโป แม้ยังไมส่มบรูณเ์ต็มระบบมากนักเนื่องจากการประสานงานในการปดิกั้นเส้นทางและการตรึงแนวยังไมม่ีดพีอ

5.บ้านวังไทร

1.ชัน 2.รก 3.กว้าง พื้นที่ริมเขื่อน ปฏิบัติงานทั้งภาคพื้นดินและน้ํา พื้นดินเป็นเขาชันมีหุบน้ําตลอดและรก

1.ช้างค่อนข้างดื้อรั้น มีข้อมูลว่าเปน็ช้างจากกลุ่มสันติ 2 ว่ายน้ําข้ามเขื่อนมายังบ้านวังไทร เป็นเวลานานแล้ว 2.ช้างสามารถใช้พื้นที่ได้ดีทั้งทางบกและทางน้ํา เคลื่อนตัวได้เร็วแม้พื้นท่ีชันมาก

ใช้เจ้าหน้าท่ีที่มีประสบการณผ์ลักดัน จัดตั้งเป็นชุดเฉพาะกิจผลักดันช้างปุา สบอ.6 ปน

6.บ้านอัยเยอร์ควีน

1.ชัน 2.รก 3.กว้างมาก

1.ช้างค่อนข้างใหม่ แต่ดื้อรั้น ไม่ยอมเข้าพื้นที่ปุา 2.ช้างวิ่งตามแนวสันเขาท่ี 2 ข้างเป็นที่ลาดชัน ทําให้ไม่สามารถผลักดัน โอบบีบบงัคับทิศทางช้างปุาได ้

1.ใกล้พื้นที่ท่ีช้างปุาเหยียบคนตาย 2 กิโลเมตร เมื่อปี 2560 2.คาดว่ามีการรบกวนอยู่ภายในพ้ืนท่ีปุา 3.ช่วงฤดูผลไม้ โดยเฉพาะทุเรยีน ทําให้ยังเป็นสิ่งล่อ ให้ช้างออกมานอกพ้ืนท่ีปุา

Page 20: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

19

สภาพพ้ืนที่ปฏิบัติการผลักดันช้างป่า

ผลักดันพื้นที่บ้านแหร-บ้านเจาะชีโป ตําบลบ้านแหร อําเภอธารโต จังหวัดยะลา

ผลักดันพื้นที่บ้านปันนังกระแจะ ตําบลธารโต อําเภอธารโต จังหวัดยะลา

ผลักดันพื้นที่บ้านวังไทร ตําบลแม่หวาด อําเภอธารโต จังหวัดยะลา

Page 21: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

20

ผลักดันพื้นที่บ้านไอร์กูแป บ้านไอร์จือนะ บ้านจือแร บ้านไอร์สาเมาะ ต าบลคกสะตอ อ าเภอรือเสาะ – บ้านกําปงบารู บ้านไอร์บือรา บ้านไอร์แตแต บ้านไอร์วอ ต าบลศรีสาคร อ าเภอศรีสาคร

ภาพการวางแผนผลักดัน/เส้นทางการผลักดันบ้านไอร์กูแป บ้านไอร์จือนะ บ้านจือแร บ้านไอร์สาเมาะ ตําบลคกสะตอ อําเภอรือเสาะ – บ้านกําปงบารู บ้านไอร์บือรา บ้านไอร์แตแต บ้านไอร์วอ ตําบลศรีสาคร อําเภอศรีสาคร

พื้นที่ผลักดัน 30 พค.-1 มิย.61

พิกัดช้างปุาเดือนมิถุนายน

2561

พิกัดช้างปุาเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน 2561

2561

สภาพพื้นที่ราบแต่รกถึงรกทึบในจดุซ่อนตัว

Page 22: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

21

เริ่มผลักดัน 29 ตุลาคม 2561 บริเวณบ้านไอร์กูแป เวลา 9.15 น.

การศึกษาพ้ืนที่เพ่ือวางแผนยิงยาซึม จับ และนําเคลื่อนย้ายในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน-ต้นเดือนธันวาคม 2561

พื้นที่ยิงยาซึม 4 ธันวาคม 2561

Page 23: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

22

ผลักดันบ้านอัยเยอร์ควีน หมู่ที่ 10 ตําบลอัยเยอร์เวง อําเภอเบตง จังหวัดยะลา

รูปแบบและเทคนิคการผลักดันช้างป่า

การผลักดันช้างปุาตามคู่มือการติดตามและผลักดันช้างปุาของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปุา และพันธุ์

พืช มี 2 รูปแบบตามลักษณะพ้ืนที่ คือ แบบแถวหน้ากระดาน (สําหรับพ้ืนที่ราบ) และ แบบแถวตอน (สําหรับ

พ้ืนที่ชันและรก) แต่พ้ืนที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ชันและรกจึงใช้การผลักดันแบบแถวตอน และ

ศึกษาปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสม โดยอาศัยพ้ืนฐานของยุทธวิธีทางทางหารในการจู่โจม สื่อสาร และการ

ปะทะ ได้เป็น 2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบตัว V 2) รูปแบบตัว L เพ่ือเพ่ิมความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่และ

ประสิทธิภาพในการผลักดัน

ขั้นตอนการผลักดันช้างป่า

1. สํารวจสภาพภูมิประเทศบริเวณโดยรวมของพ้ืนที่ที่จะทําการผลักดัน

2. กําหนดเส้นทางในการผลักดัน (โดยปกติแล้วจะใช้เส้นทางท่ีช้างออกมาจากพ้ืนที่ปุาเป็นหลัก)

3. สํารวจจุดที่ช้างปุาข้ามถนน คลอง (เพ่ือเปิดเส้นทางให้ช้างปุาเดินและปิดเส้นทางไม่ให้ช้างปุา

ย้อนกลับ)

4. ศึกษาพฤติกรรมช้างปุาที่จะทําการผลักดัน เช่น ระดับการเรียนรู้พฤติกรรมมนุษย์และการใช้ชีวิต

นอกพ้ืนที่ปุา ความดื้อรั้น ดุร้าย เพราะช้างปุาแต่ละตัวมีประสบการณ์แตกต่างกัน เรียนรู้แตกต่างกัน

พฤติกรรมแตกต่างกัน ประกอบกับพ้ืนที่แต่ละแห่งที่เกิดปัญหาช้างปุาแม้ในกลุ่มปุาเดียวกันก็มีสภาพพ้ืนที่และ

บริบทแวดล้อมอันส่งผลให้เกิดปัญหาที่แตกต่างกัน

5. กําหนดวันที่จะทําการผลักดันชัดเจน

การไล่ต้อน 23 กรกฎาคม 2562 สภาพพื้นที่ ลักษณะภมูิประเทศในการผลักดันเมื่อ 31 สิงหาคม-1 กันยายน

2562

Page 24: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

23

6. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพ้ืนที่ทราบ (เพ่ือขอความร่วมมือในการเปิดเส้นทาง งดกิจกรรมใน

บริเวณท่ีจะทําการผลักดัน เพื่อปิดพื้นท่ีให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เปิดพ้ืนที่ให้ช้างปุามุ่งหน้าเข้าพ้ืนที่ปุา และเพ่ือ

ความปลอดภัยของประชาชน)

7. ขอความร่วมมือจากหน่วยกําลังในพ้ืนที่ (ทหาร อส. ชรบ. และผู้นําชุมชน) ในการปิดเส้นทาง และ

สนับสนุนเจ้าหน้าที่ชุดผลักดัน

8. จัดทําแผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map 1:50,000) บริเวณท่ีทําการผลักดัน

9. จัดทําแผนที่สังเขปแสดงเส้นทางบริเวณที่ทําการผลักดัน ถนน คลอง และหมู่บ้าน ที่จะทําการ

ผลักดันช้างปุาผ่านเข้าพ้ืนที่ปุา

10. จัดตั้งศูนย์บัญชาการควบคุมและประสานการปฏิบัติการ (ต้องเป็นพ้ืนที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์หรือ

สัญญาณ internet)

11. จัดประชาชนที่มีความชํานาญในพ้ืนที่ (สามารถทราบข้อมูลการครอบครองที่ดินแต่ละแปลง

บริเวณพ้ืนที่รก และพ้ืนที่ลุ่ม) เข้าร่วมปฏิบัติงานกับเจ้าหน้าที่ชุดผลักดันช้างปุา

12. จัดประชุมชี้แจงภารกิจให้ทุกหน่วยที่ร่วมปฏิบัติเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน มอบหมายให้

แต่ละชุดที่มีหน้าที่ตามที่ได้กําหนดและตกลงร่วมกันแล้วจัดตั้งผู้ควบคุมการปฏิบัติ มีผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ

(ผบ.ฉก.) เป็นผู้สั่งการเพียงผู้เดียว โดยมีหัวหน้าชุดแต่ละชุดคอยให้คําปรึกษาและประสานการปฏิบัติ

13. ชุดผลักดันต้องเป็นชุดเฉพาะกิจ เจ้าหน้าที่ทุกนายมีจิตใจ ความรู้ และทักษะพร้อมปฏิบัติ งานทุก

สถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงเกินคาดการณ์ได้ตลอดเวลา (และเพราะเจ้าหน้าที่ชุดเฝูาระวังและติดตามช้าง

ปุาประจํา ช้างปุาได้เรียนรู้ ทั้งกลิ่น เสียง คุ้นชิน และอาจไม่เกรงกลัวเจ้าหน้าที่ชุดนั้น จนไม่สามารถผลักดัน

ช้างปุาตัวนั้นได้แล้ว)

วิธีปฏิบัติการผลักดัน

1. ค้นหาตัวช้างปุาให้พบ

2. ตรวจนับจํานวนช้างปุาให้ชัดเจน

3. รายงานให้ ผบ.ฉก. ทราบ และประเมินสถานการณ์โดยให้ใช้แผนที่ภูมิประเทศและแผนที่ดาวเทียว

(google earth) ศึกษาพ้ืนที่ และกําหนดทิศทางการผลักดัน

4. ผู้บัญชาการปฎิบัติการเฉพาะกิจ (ผบ.ฉก.) แจ้งทุกหน่วยปฏิบัติทราบถึงแนวทางและทิศทางการผลักดัน

5. ผู้บัญชาการปฎิบัติการเฉพาะกิจ (ผบ.ฉก.) สั่งการชุดผลักดันช้างปุาเริ่มปฏิบัติการ

Page 25: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

24

6. ชุดผลักดันช้างปุาทําการผลักดันและคอยแจ้งพิกัด เส้นทางการตามรอย (Tracking) การผลักดัน

เป็นระยะ ประเมินสถานการณ์การเดินของช้างปุา เมื่อได้ระยะเวลาหรือสถานการณ์ที่สมควรพักให้แจ้ง ผบ.

ฉก. และทําการพักการผลักดัน

ชุดผลักดัน ประกอบด้วย

1. เจ้าหน้าที่ท่ีมีทักษะและประสบการณ์การทํางานผลักดันช้างปุา จํานวน 7-9 คน

2. ประชาชนในพื้นท่ีซึ่งมีความรู้ความชํานาญในพ้ืนที่บริเวณท่ีทําการผลักดันเป็นอย่างดี

3. อุปกรณ์การผลักดันและอาวุธปูองกันตัว

รูปแบบการผลักดัน

การผลักดันรูปแบบตัว V เป็นการผลักดันให้ช้างปุาไปทิศทางข้างหน้า สเค้าท์หน้าซ้ายและขวาคอย

แกะร่องรอย สังเกตการณ์ คุ้มกัน 2 คนหน้า คอยระวังคุ้มกันสเค้าท์หน้า คุ้มกัน 2 คนหลังคอยรังวังและคุ้มกัน

หัวหน้าชุดและสเค้าทห์ลัง

การมีสเค้าท์หน้า 2 ชุด เป็นความจําเป็นอย่างมากที่จะต้องมี 2 ชุด เพราะจะต้องสับเปลี่ยนการ

นําหน้าเป็นระยะเพ่ือลดความเครียดและความกดดันในการผลักดันและติดตามช้างปุา เพ่ิมศักยภาพในการ

ปฏิบัติ

1. การผลักดันรูปแบบตัว V

เป็นการให้ช้างเดินไปข้างหน้า โดยมีสเค้าท์ (scout : กองสอดแนม,สังเกตุการณ์) ทั้งซ้ายและขวา

คอยสังเกตการณ์และพฤติกรรมช้างปุา เจ้าหน้าที่ตําแหน่งคุ้มกัน (cover) คอยเฝูาระวังและและปูองกันช้างปุา

หันหลังกลับมาเพ่ือเข้าทําร้าย (charge : จู่โจม) เจ้าหน้าที่ หัวหน้าชุดผลักดันผู้ตัดสินใจและสั่งการจะคอย

ประสาน ผบ.ฉก. และส่งพิกัด เส้นทางการตามรอย (Tracking) และคอยรับคําสั่งจาก ผบ.ฉก. (เหมาะสําหรับ

พ้ืนที่ที่เป็นภูเขา และพ้ืนที่ที่ไม่รกมากนัก)

Page 26: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

25

2. 1 การผลักดันรูปแบบตัว L

การผลักดันแบบตัว L เพ่ือให้ช้างปุาเปลี่ยนทิศทางไปทางซ้าย

การผลักดันแบบตัว L เพ่ือให้ช้างปุาเปลี่ยนทิศทางไปทางขวา

เป็นการผลักดันให้ช้างปุาเปลี่ยนทิศทางตามที่กําหนด ปูองกันช้างปุาเข้าพ้ืนที่ชุมชน กั้นไม่ให้ช้างปุา

แหกด่าน/หลบหลีกการผลักดัน ไปยังพื้นท่ีใหม่ รูปแบบตัว L นี้ใช้ได้ทุกพ้ืนที่

ทั้งนี้ รูปแบบการผลักดันสามารถเปลี่ยนไปตามสภาพพ้ืนที่และเหตุการณ์ ซึ่งอยู่ในดุลพินิจของหัวหน้า

ชุดผลักดัน

คุณลักษณะของเจ้าหน้าที่ชุดผลักดัน

1. ต้องมีความสนใจ ใสใจ และศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติงานผลักดันช้างปุาและพฤติกรรมช้างปุา

2. ต้องมีทักษะความชํานาญในการปฏิบัติงานผลักดันช้างปุาและการเผชิญหน้ากับสัตว์ปุาโดยเฉพาะ

ช้างปุา

3. ต้องเป็นผู้มีจิตใจกล้าหาญ มีสติ และไหวพริบที่ดี (ใจเย็นและนิ่งไม่หวาดหวั่นด้วยมีทักษะการหลบ

หลีกและปูองกันตัว)

Page 27: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

26

4. มีวินัยในการปฏิบัติงาน (พ้ืนฐานการมีวินัยแบบทหาร)

5. มีทักษะการใช้อาวุธที่ดีเยี่ยม

6. มีทักษะในการแกะรอยช้างปุา มีทักษะเท่าทันสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิตในปุา

7. มีความเสียสละและอดทนสูง เป็นผู้ทํางานเป็นหนึ่งเดียวกับเพ่ือนร่วมชุดปฏิบัติงาน (Team) ได้

เป็นอย่างด ี

อุปกรณ์ในการผลักดัน

1. ไฟแช็ค

2. ประทัดบอล

3. หนังสติ๊ก

4. อาวุธคุ้มกัน (cover) สําหรับคุ้มกันและปูองกันภัยให้กับเพ่ือนร่วมชุด (Team)

5. ไฟฉาย

คุณลักษณะของหัวหน้าชุดผลักดัน

1. เป็นผู้มีน้ําใจ

2. เป็นผู้มีจิตใจสุขุม (ใจเย็น)

3. มีความรู้เรื่องช้างปุาเป็นอย่างดี

4. มีความรู้เรื่องเทคโนโลยี

5. มีไหวพริบและปฏิภาณ

6. เป็นผู้ได้รับความไว้วางใจและเป็นศูนย์รวมความเชื่อม่ันของผู้ปฏิบัติงานร่วมชุด (Team)

7. เป็นผู้ตัดสินใจเด็ดขาด บนพื้นฐานของความรู้และความชํานาญในการแก้ไขปัญหาช้างปุา

8. กล้ายืนประจันหน้ากับช้างปุาในระยะที่ปลอดภัย พร้อมส่งเสียงข่มขู่ให้ช้างหยุด และหากช้างไม่

หยุดก็พร้อมใช้อาวุธปืนยิงสกัดตามขั้นตอนของหลักการใช้อาวุธสกัดกั้น เพ่ือให้ช้างเปลี่ยนทิศหรือหนีกลับหลัง

เทคนิคและหลักการผลักดันช้างป่า

1. รู้จักวิธีและทักษะการเผชิญหน้ากับช้างปุา การเข้าพ้ืนที่ บริเวณ หรือจุดที่ช้างปุาอยู่

2. การสังเกตพฤติกรรมของช้างปุาว่ามีอาการอย่างไร

3. รู้จังหวะการผลักดันและหยุดพัก

Page 28: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

27

4. เมื่อช้างปุาหันกลับมาสู้ชุดผลักดัน จะต้องเข้าหาที่กําบัง (การปฏิบัติงานผลักดันช้างปุาสิ่งที่ต้อง

คํานึงคือจะต้องไม่ประมาท โดยจะต้องสังเกตรอบบริเวณเพ่ือหาต้นไม้ใหญ่เป็นที่กําบัง) แล้วทําการกดข่มช้าง

ปุาให้หยุดด้วยยุทธวิธีส่งเสียงและยิงปืน

5. การถอยต้องเป็นการถอยเพ่ือตั้งหลัก ไม่ตกใจตื่นกลัว ถ้าถอยหนีโดยตื่นกลัวจะทําให้ช้างปุารับ

สัญชาตญาณได้ว่าตนข่มเจ้าหน้าที่ได้แล้ว และช้างจะไม่กลัวเจ้าหน้าที่ผู้ผลักดัน และอาจวิ่งเข้าทําร้ายได้

6. หลักการผลักดัน คือ ทําให้กลัว อย่าทําใหโ้กรธ แต่อย่าให้เกินถึงขั้นทําให้ช้างหวาดระแวง

การผลักดันช้างปุาใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่ดําเนินการผลักดันมาส่วนใหญ่เป็นการผลักดันช้าง

โทนเท่านั้น ยังไม่มีการผลักดันช้างทั้งโขลง/ฝูง เพราะสภาพพ้ืนที่ส่วนใหญ่ช้างโทนจะออกนอกพ้ืนที่ปุามาอยู่ใน

พ้ืนที่ประชาชนเป็นเวลานาน (เจ้าหน้าที่ชุดติดตามและเฝูาระวังของหน่วยงานในพ้ืนที่ยังไม่สามารถดําเนินการ

ผลักดันให้ช้างปุาไม่ออกมาไกลพ้ืนที่และและอยู่ในพ้ืนที่ประชาชนเป็นเวลานานเกินไปได้) มากกว่าช้างโขลง

ช้างโทนจะใช้พ้ืนที่สวนรก (ปุาโปฺะ) ของประชาชนเป็นที่หลบซ่อนตัว แต่ช้างโขลง (ช้างกลุ่มสันติ 2) จะออก

จากพ้ืนที่ปุามาใช้พ้ืนที่ของประชาชนหรือพาดเกี่ยวพ้ืนที่ที่ประชาชนใช้ประโยชน์ในเวลากลางคืนแล้วกลับเข้า

พ้ืนที่ปุาในช่วงเช้า

8. การเคลื่อนย้ายช้างป่า

ขั้นตอนและวิธีการ

1. ศึกษาพฤติกรรมช้างปุาที่จะทําการเคลื่อนย้าย

1.1 นิสัย ความก้าวร้าว ดื้อรั้น ดุร้าย

1.2 เส้นทางการเดินหากิน ต้องเก็บข้อมูลโดยละเอียด

1.3 ที่หลบซ่อน ที่หลบพัก

1.4 ระยะที่สามารถเข้าใกล้ตัวช้างได้มากที่สุด

อนึ่ง บุคคลมีทักษะ ความชํานาญ และสติที่ตั้งมั่นและพร้อมสมบูรณ์ไม่เท่ากัน ระยะที่สามารถ

เข้าถึงตัวช้างปุาจะอาจไม่เท่ากัน

2. ศึกษาสภาพภูมิประเทศในพ้ืนที่จะทําการยิงยาซึมช้างปุา จับ ชักลากและนําขึ้นรถบรรทุกเพ่ือ

เคลื่อนย้าย

2.1 สภาพพ้ืนที่ ที่ราบ ที่โล่ง ที่รกทึบ ที่ลุ่ม

2.2 สภาพอากาศ โดยหากต้องดําเนินการในช่วงฤดูฝนต้องคํานึงถึงปัจจัยเกี่ยวข้องเพ่ิมขึ้นอีกมาก

2.3 ตรวจสอบเส้นทางหลัก รอง และลําลอง ที่รถบรรทุกสามารถเข้าถึงพ้ืนที่ยิงยาซึมหรือพ้ืนที่ที่

ช้างซึมได้ใกล้ที่สุด

Page 29: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

28

2.4 กําหนดจุดหรือบริเวณท่ีจะทําการยิงยาซึมช้างปุา จํานวนไม่น้อยกว่า 2 จุด

2.5 กําหนดเส้นทางชักลากช้างปุาออกจากจุดที่ช้างซึม จับและผูกขาเพ่ือชักลากขึ้นรถบรรทุกไว้คร่าวๆ

3. ติดต่อประสานงานรถบรรทุกและรถขุดตักดิน (ปรับพื้นดิน)

3.1 ต้องเป็นรถบรรทุกขนาดรถสิบล้อเท่านั้น

3.2 รถขุดตักใช้รถแบคโฮ

3.3 ประสานผู้นําชุมชนเพ่ือประสานเจ้าของพ้ืนที่เพ่ือขอทําการขุดและปรับพื้นดิน

4. เตรียมพื้นท่ีบริเวณจุดปล่อยช้างปุาในพ้ืนที่รองรับใหม่

4.1 ปรับระดับพ้ืนที่บริเวณจุดปล่อยให้เสมอท้ายรถบรรทุกเพ่ือที่ช้างปุาสามารถเดินออกจากท้าย

รถบรรทุกและเดินเข้าสู่พื้นที่ปุาได้

4.2 เตรียมแสงสว่างบริเวณจุดปล่อยให้เพียงพอ

4.3 ศึกษาเส้นทางจากบริเวณที่จะทําการยึงยาซึมช้างปุา จับและนําขึ้นรถบรรทุก เพ่ือนํา

เคลื่อนย้ายไปยังจุดปล่อย

4.4 คํานวณระยะทางและระยะเวลาที่จะใช้ในการเดินทาง

4.5 จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ประจําจุดปล่อย

4.6 ทําความเข้าใจกับผู้นําชุมชนและประชนชนที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณพ้ืนที่ปุาที่จะทําการปล่อยช้างปุา

5. ประสานงานกับส่วนราชการในพ้ืนที่ปฏิบัติการ (บริเวณที่ช้างสร้างผลกระทบและจะทําการยิงยา

ซึม เส้นทางนําเคลื่อนย้าย และบริเวณท่ีจะทําการปล่อยช้างปุา)

5.1 ทหาร (ท้ังคุ้มครองความปลอดภัยและควบคุมฝูงชน)

5.2 อาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.)

5.3 ชุดคุ้มครองและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน (ชรบ. โดยประสานผ่านผู้นํา)

5.4 และกองกําลังตามเส้นทางที่จะทําการเคลื่อนย้ายเพ่ือรักษาความปลอดภัยและพร้อมควบคุม

สถานการณ ์

5.5 เจ้าหน้าที่ในสังกัดสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ท่ี 6 สาขาปัตตานี

6. จัดประชุมเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

6.1 ชี้แจงแนวปฏิบัติและข้ันตอนการปฏิบัติ

6.2 มอบหมายหน้าที่

6.3 มอบหมายหัวหน้าชุดควบคุมการปฏิบัติหน้าที่

- ชุดติดตามร่องรอยช้างปุา/ค้นหาช้างปุา

- ชุดคุ้มครองและสัตว์บาลยิงยาซึม

Page 30: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

29

- ชุดเจ้าหน้าที่ผูกขาช้าง

- ชุดเจ้าหน้าที่เปิดและสางเส้นทางชักลาก

- ชุดเจ้าหน้าที่ชักลากช้างออกจากจุดยิงยาซึม

- ชุดเจ้าหน้าที่ปรับเตรียมพ้ืนที่ช้างข้ึนรถสิบล้อ

- ชุดเจ้าหน้าที่ผูกไม้ทําคานและคอกเพ่ือตรึงช้างไว้กับรถบรรทุก

- ชุดเจ้าหน้าที่เตรียมอาหารและน้ําดื่ม

- ชุดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

- ชุดเคลื่อนที่เร็วพร้อมทีมสัตวแพทย์

- ชุดปิดกั้นเส้นทาง

- ชุดควบคุมฝูงชน

วิธีการ

1. ชุดติดตามร่องรอยช้างปุา/ค้นหาช้างปุา แจ้งพิกัดท่ีช้างอยู่

2. ชุดคุ้มครองและสัตว์บาลยิงยาซึมเข้าพ้ืนที่ยิงยาซึม

3. ชุดเคลื่อนที่เร็วพร้อมทีมสัตวแพทย์เข้าพ้ืนที่ที่ช้างซึม

4. ชุดเจ้าหน้าที่ผูกขาช้างเข้าทําการผูกขาช้างทั้ง 4 ข้าง และคออีก 1 เส้น เพ่ือทําการชักลากขึ้น

รถบรรทุก

5. ชุดเจ้าหน้าที่เปิดและสางเส้นทางชักลากทําการเปิดเส้นทางที่จะชักลากช้างปุาขึ้นรถบรรทุก

6. ชุดเจ้าหน้าที่ผูกไม้ทําคานและคอกเพ่ือตรึงช้างไว้กับรถบรรทุกเริ่มปฏิบัติการผูกไม้คานและทําคอก

ตรึงช้างไว้กับรถบรรทุก

7. ชุดเจ้าหน้าที่ปรับเตรียมพ้ืนที่ช้างขึ้นรถสิบล้อทําการปรับพ้ืนดินให้เสมอท้ายรถสิบล้อเพ่ือให้ช้าง

สามารถเดินขึ้นรถสิบล้อได้

อนึ่ง กรณีดําเนินการในช่วงฤดูฝน ควรระวังล้อรถสิบล้อติดหล่ม ควรเตรียมไม้หรือวัสดุรองปูองกัน

และช่วยให้รถไม่ติดหล่ม

8. ชุดเจ้าหน้าที่ชักลากช้างออกจากจุดยิงยาซึม เข้าพ้ืนที่และพร้อมชักลาก โดยมีหัวหน้าชุดเป็นผู้

ควบคุมให้การชักลากเพ่ือให้ช้างเดินเป็นไปโดยสะดวก

9. เมื่อช้างปุาขึ้นรถสิบล้อแล้ว ให้ชุดเจ้าหน้าที่ผูกไม้ฯทําการผูกไม้ปิดท้ายรถสิบล้อ และเตรียมพร้อม

ออกเดินทางเคลื่อนย้าย

10. ออกเดินทางเคลื่อนย้ายช้างปุาไปยังจุดปล่อยในพ้ืนที่รองรับแห่งใหม่

Page 31: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

30

เทคนิคในการเคลื่อนย้ายช้างป่า

1. สํารวจพื้นที่ให้ละเอียดก่อนปฏิบัติการ

- สํารวจจุดที่ช้างข้ามถนน ให้กําหนดจุด/พื้นที่บริเวณนั้นเป็นจุด/พื้นท่ียิงยาซึม

- บีบ/บังคับให้ช้างใช้พ้ืนที่บริเวณที่มีจุดที่ช้างข้ามถนน หรือ เปิดพ้ืนที่ (หยุดการดําเนินกิจกรรม)

ให้พ้ืนที่มีความสงบจากกิจกรรมของมนุษย์ หรือ ปิดพื้นท่ีไม่ให้มีใครเข้าพ้ืนที่ที่กําหนดให้เป็นจุด/พื้นที่ยิงยาซึม

2. การกําหนดพื้นที่และวันปฏิบัติการยิงยาซึมควรรู้แต่ในทางลับไม่เผยแพร่

- ปิดพื้นท่ีห้ามประชาชนเข้าพ้ืนที่

- กําหนดเวลาปฏิบัติการในช่วงเช้าตรู่

- ชุดติดตามร่องรอยและค้นหาอย่างมืออาชีพ เงียบและนิ่งที่สุด และรายงานพิกัดที่ช้างอยู่ให้ชุดยิง

ยาซึมทราบ

- ชุดคุ้มกันสัตว์บาลยิงยาซึมจําเป็นที่จะต้องคัดสรรผู้มีทักษะในการระมัดระวังตัว ช่างสังเกต และ

มีทักษะในการใช้อาวุธปืน ใจนิ่งไม่ตื่นเต้น มีความกล้าหาญ เรียนรู้พฤติกรรมช้างและเข้าใจเป็นอย่ างดี มีการ

ตัดสินใจที่เด็ดขาด รู้เทคนิควิธีการยิงสกัดช้างปุา เข้าใจวิธีหลบหลีก

อนึ่ง เทคนิควิธีการและทักษะดังกล่าวข้างต้น ล้วนเป็นพื้นฐานในวิชาการและยุทธวิธีทางทหาร

- ใช้จํานวนคนปฏิบัติการให้น้อยที่สุด (แต่ให้มีกําลังเตรียมพร้อมเสริม เนื่องจากช้างปุาแต่ละตัวมี

พฤติกรรมไม่เหมือนกันและพ้ืนที่แต่ละแห่งมีสภาพไม่เหมือนกัน) 2-3 คนเท่านั้น

- เข้าพ้ืนที่เฉพาะชุดเจ้าหน้าที่ที่ต้องเข้าพ้ืนที่ปฏิบัติการยิงยาซึมเท่านั้น (ชุดติดตาม ชุดยิงยาซึม

และชุดคุ้มครอง) ส่วนที่เหลือประจําที่ตั้งศูนย์อํานวยการซึ่งไม่ไกลมาก ใช้ระยะเวลาเดินทาง 10-15 นาที

(เพ่ือให้พ้ืนที่เงียบสนิท) และชุดเจ้าหน้าที่ปิดกั้นเส้นทางและควบคุมฝูงชนอยู่ประจําจุดเพ่ือปิดกั้นเส้นทาง

ควบคุมพ้ืนที่ และควบคุมฝูงชนได้ทันที (ส่วนใหญ่ใช้เจ้าหน้าที่ทหารในพื้นที่)

อุปกรณ์

1. เชือกผูกขาช้างปุา เป็นเชือกชนิดเชือกใยยัก ขนาด 30 มิลลิเมตร ปริมาณยาว 25 เมตร

2. เชือกผูกไม ้เป็นเชือกชนิดเชือกใยยัก ขนาด 10 มิลลิเมตร ปริมาณ 2 ม้วน/20 กิโลกรัม

Page 32: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

31

3. เชือกผูกขาช้างปุา เป็นเชือกชนิดเชือกใยยัก ขนาด 7 มิลลิเมตร ปริมาณ 5 กิโลกรัม

4. ไม้ทํารั้วบนรถสิบล้อ

4.1 เสา จํานวน 6 ต้น ยาว 250 เมตร ขนาดความโต 60 เซนติเมตร

4.2 ไม้คาน จํานวน 2 ต้น ยาว 6 เมตร ขนาดความโต 45 เซนติเมตร

4.3 ไม้คาน จํานวน 3 ต้น สําหรับกั้นด้านหลัง (ปิดท้าย) ยาว 3 เมตร ขนาดความโต 45 เซนติเมตร

5. ไม้ไผ่ปลายแหลมเพื่อบังคับไม่ให้ช้างสะบัดหัวและงวง และเพ่ือบังคับให้เดินไปตามทิศทางและแรง

ดึงของชุดชักลากฯ 2 อัน ขนาดยาว 3 เมตร

6. วิทยุลื่อสาร

7. ไฟส่องสว่าง (spotlight) บริเวณจุดปล่อย

การเตรียมเชือกและไม้ทําคาน/คอก

ไฟส่องสว่าง (spotlight) บริเวณจุดปล่อย

Page 33: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

32

ศูนย์อ านวยการ

ปฏิบัติการ เคลื่อนย้ายช้างป่า

แผนผังการปฏิบัติงาน

อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รายงาน

ผู้อ านวยการส านักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี รายงาน

ชุดเข้าพื้นที่ปฏิบัติการ ชุดเตรียมพร้อมประจ าจุด/ ศูนย์อ านวยการ

ทีม GIS ประสาน การปฏิบัต ิ

รถบรรทุก พร้อมไม้คาน/ท าคอก

เชือกผูกขาช้างป่า

ชุดติดตามร่องรอยช้างปุา/ค้นหาช้างปุา 3-4

นาย

ชุดยิงยาซึม 2 นาย/ปืน

ชุดคุ้มครอง 3 นาย/ปืน

ชุดผูกขาช้าง 5 นาย

ชุดผูกไม้ทําคอก 7 นาย

ชุดชักลาก 100 นาย

ชุดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 2 ชุด

ชุดเคลื่อนที่เร็วพร้อมทีมสัตวแพทย์

ทีมสัตวแพทย์

ชุดปิดกั้นเส้นทาง 2 ชุด

ทีมเตรียม/ปรับพื้นที่

วิทยุสื่อสาร

ไฟส่องสว่างบริเวณจุดปล่อย

รถแบคโฮ

ทีมอาหารและเครื่องดื่ม

Page 34: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

33

9. การศึกษา “พื้นที่รองรับช้างป่า” กรณีต้องท าการเคลื่อนย้ายช้างออกจากพื้นที่ชุมชน โดยพิจารณาจาก 1) สภาพพ้ืนที่ปุาเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของช้างปุา (อุดมสมบูรณ์และช้างไม่ต้องปรับตัวมากนัก) 2) ความห่างไกลจากบริเวณเดิมที่ช้างปุาสร้างผลกระทบต่อประชาชน 3) ความห่างไกลจากจุดปล่อยครั้งที่ผ่านมา (เพ่ือไม่ให้ช้างกลับมายังจุดเดิมหรือกลับมาได้ยาก) 4) ความเหมาะสมของบริเวณจุดปล่อย 5) เส้นทางเข้าถึงจุดปล่อย 6) การยอมรับของชุมชน 7) ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที ่ซึ่งพ้ืนที่ปุาในกลุ่มปุาฮาลา-บาลาจะอยู่บริเวณเทือกเขาฮาลาและเทือกเขาบาลาซึ่งเป็นพ้ืนที่ปุาที่เป็นผืนเดียวกับปุาเบลุ่มในประเทศมาเลเซีย และพ้ืนที่ปุาตามแนวเทือกเขาสันกาลาคีรีซึ่งปัจจุบันทางฝั่งประเทศไทยเหลือพ้ืนที่ปุาสมบูรณ์อยู่ตามแนวรอยต่อชายแดนไทย-มาเลเซียเป็นพ้ืนที่แคบๆเท่านั้น จึงพิจารณาศึกษาพ้ืนที่ปุาตามแนวเทือกเขาสันกาลาคีรีช่วงใกล้เขตจังหวัดสงขลา และพ้ืนที่ปุาในเทือกเขาฮาลาที่ไกลกว่าจุดเดิม (บ้านจุฬาภรณ์ 10) ให้มากที่สุด ดังนี้ 1. บริเวณปุาสงวนแห่งชาติปุากาบัง ในหมู่ 7 บ้านคลองปุด พิกัด 720693 695784 และหมู่ 8 บ้านคลองชิง พิกัด 725133 694073 ตําบลบาละ อําเภอกาบัง จังหวัดยะลา 1.1 บริเวณบ้านคลองปุดมีความเหมาะสมในจุดปล่อย เส้นทางเข้าถึงจุดปล่อย และความห่างไกลชุมชน แต่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยก่อการร้ายอาจเป็นอันตราต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทั้งในช่วงเวลานําช้างมาปล่อยและช่วงเวลาติดตามเฝูาระวังให้แน่ใจว่าช้างได้เข้าสู่พื้นที่ปุาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 1.2 บริเวณบ้านคลองชิงจุดปล่อยและเส้นทางการเข้าถึงยังไม่เหมาะสม อีกทั้งใกล้พ้ืนที่ชุมชนและเป็นพ้ืนที่เสี่ยงภัยก่อการร้าย 2. บริเวณปุาสงวนแห่งชาติปุาเบตง ในหมู่ 1 บ้านซาโห่ ตําบลธารน้ําทิพย์ อําเภอเบตง จังหวัดยะลา พิกัด 735550 625673 และพิกัด 736099 624802 ซึ่งพิจารณาแล้วบริเวณพิกัด 736099 624802 มีความเหมาะสมในจุดปล่อย เส้นทางเข้าถึงจุดปล่อยมีความห่างไกลชุมชน และเจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย โดยมีความห่างไกลจากจุดปล่อยครั้งที่ผ่านมา (บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10) ประมาณ 25-30 กิโลเมตรในระยะขจัด และพ้ืนที่ปุาในเทือกเขาฮาลาจากบริเวณดังกล่าวมีความชันและมีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน อย่างไรก็ตามแม้ว่าช้างจะไม่ชอบที่สูงชันแต่ก็สามารถเดินในพ้ืนที่เขาสูงได้ โดยช้างจะเดินเฉียงเพ่ือไต่ระดับความลาดเอียง การปล่อยช้างปุาจากบริเวณนี้จึงยังคงมีความเสี่ยงที่ช้างจะเดินกลับพ้ืนที่ในอําเภอศรีสาครเป็นอย่างมาก แต่เจ้าหน้าที่ผู้ทําการศึกษาพ้ืนที่มีแนวคิดที่จะทําการผลักดันให้ช้างเข้าพ้ืนที่ปุาแก่ให้ลึกที่สุดเพ่ือให้ช้างเดินทางเข้าพ้ืนที่ปุาเบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ซึ่งอาจทําให้ช้างได้พบกับพ้ืนที่หากินใหม่และสังคมช้างใหม่ที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของช้างปุาให้เป็นปกติขึ้นได้ ทั้งนี้เป็นการคาดคะเนผลลัพธ์ที่อาจมีความเป็นไปได้อยู่บ้างแต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะเป็นไปตามผลลัพธ์นั้นอย่างแน่นอน และการเคลื่อนย้ายช้างปุาในแต่ละครั้งต้องใช้เวลา กําลังพล และงบประมาณเป็นจํานวนมาก อีกทั้งช้างปุาตัวดังกล่าวได้เคยถูกเคลื่อนย้ายมาแล้ว การทําการเคลื่อนย้ายในครั้งนี้จึงจําเป็นที่จะต้องดําเนินการเพ่ือขจัดปัญหาให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียว เพ่ือสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนว่าเจ้าหน้าที่สามารถจัดการปัญหาและดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับประชนชนได้ อันจะมีผลทําให้เกิดการยอมรับและความร่วมมือในการดําเนินการต่างๆในอนาคตต่อไป

Page 35: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

34

ศึกษาพ้ืนที่รองรับช้างปุา (เคลื่อนย้ายไปปล่อย) บริเวณปุาสงวนแห่งชาติปุากาบัง บ้านคลองปุดและบ้านคลองชิง

ศึกษาพ้ืนที่รองรับช้างปุา (เคลื่อนย้ายไปปล่อย) บริเวณปุาสงวนแห่งชาติปุาเบตง บ้านซาโห่และบ้านซันซีโห่

ศึกษาพ้ืนที่รองรับช้างปุา (เคลื่อนย้ายไปปล่อย) โดยวิธีนําขึ้นแพขนาดใหญ่ไปปล่อยบริเวณปากคลองฮาลา เขื่อนบางลาง

เตรียมพื้นท่ีปล่อยช้างปุาบริเวณปุาตาม พรบ.ปุาไม้ 2584 ท้องที่ตําบลอัยเยอร์เวง อําเภอเบตง จังหวัดยะลา

การประสานผู้นําชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงพื้นท่ีที่จะทําการเคลื่อนย้ายช้างปุามาปล่อย ผู้ใหญ่บ้านจุฬาภรณ์ฯ 10 ตําบลอัยเยอร์เวง อําเภอเบตง จังหวัดยะลา

Page 36: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

35

10. ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข 1. กลุ่มป่าฮาลา-บาลาเป็นกลุ่มป่าที่มีพ้ืนที่ขนาดเล็ก (จังหวัดชายแดนภาคใต้มีพ้ืนที่ 6.8 ล้านไร่ มีพ้ืนที่ป่า 1.7 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 9.8 แสนไร่ ที่เหลือเป็นพ้ืนที่ป่าสงวนแห่งชาติและป่าในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ พ้ืนที่นิคมสร้างตนเอง พ้ืนที่ สปก. และที่ราชพัสดุ มีผืนป่าฮาลา-บาลาเป็นพ้ืนที่ที่ใหญ่ที่สุด (6.68 แสนไร่) อยู่ระหว่างจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส และต่อไปจนถึงป่าเบลุ่มในรัฐเปรัคทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย มีลักษณะเฉพาะและมีภูมิประเทศท่ีเป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน) 2. พ้ืนที่ป่าในกลุ่มป่าฮาลา-บาลาลดลง และมีลักษณะถูกแบ่งแยกตัดขาดเป็นตอนๆ เนื่องจาก 1) พ้ืนที่ป่าที่เป็นที่ราบมักไม่ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จะถูกกันออกเพราะเป็นพ้ืนที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุก 2) น้าไปจัดสรรให้ประชาชนใช้ประโยชน์ โดยเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยและเป็นพ้ืนที่ท้ากินทางการเกษตร ซึ่งพ้ืนที่ราบจะเป็นที่รองรับสายน้้าจากเขาสูงหลายสายกลายเป็นแอ่งน้้า ล้าคลอง และแม่น้้า เหมาะแก่การตั้งเป็นชุมชนที่อยู่อาศัย ในขณะที่พ้ืนที่ราบเหล่านั้นก็เป็นพ้ืนที่ที่สัตว์ป่าโดยเฉพาะช้างป่าชอบและใช้ประโยชน์มากที่สุดเช่นกัน 3. พ้ืนที่ป่าที่เหลือเป็นเขาสูงสลับซับซ้อน มีความอุดมสมบูรณ์เป็นต้นก้าเนิดสายน้้าของแหล่งน้้าต่างๆ แต่มีพ้ืนที่ราบให้สัตว์ป่าได้ใช้ประโยชน์น้อยมาก 4. มีการบุกรุกพ้ืนที่ป่า ตัดไม้ท้าลายป่า ล่าสัตว์ป่า และหาของป่า คือมีกิจกรรมการรบกวนทั้งภายในและภายนอกพ้ืนที่ป่า รบกวนเส้นทางเดินของสัตว์ป่าและด่านสัตว์ป่า 5. สัตว์ผู้ล่าคือเสือลดจ้านวนลงจากการถูกล่า ประชากรช้างป่าจึงเพ่ิมจ้านวนขึ้น (ข้อมูลโขลงช้าง 1 โขลงบริเวณบ้านสันติ 2 ในปี 2558 พบจ้านวน 24 ตัว แต่เมื่อ 29 มิถุนายน 2561 จากเหตุช้างป่าท้าร้ายราษฎรเสียชีวิต พบมีจ้านวนมากกว่า 30 ตัว โดยมีลูกเล็กด้วย) ประกอบกับรูปแบบสังคมและนิเวศวิทยาช้างป่าจะมีช้างเพศเมียเป็นผู้น้าโขลง ส่วนช้างเพศผู้เมื่อโตเต็มวัยจะออกจากฝูงไปอยู่ตามล้าพังหรืออยู่รวมกับช้างเพศผู้ตัวอ่ืนและใช้พ้ืนที่หากินกว้างประมาณ 70-300 ตารางกิโลเมตร (1 ตารางกิโลเมตร = 625 ไร่) จะเดินตามฝูงและกลับเข้าฝูงเมื่อผสมพันธุ์ โดยช้างเพศผู้ 1 ตัวสามารถผสมพันธุ์กับช้างเพศเมียได้หลายตัว และในชีวิตของช้างเพศเมีย (18-50 ปี) สามารถให้ลูกได้เฉลี่ย 3-4 ตัว (ตั้งแต่ละครั้งท้องห่างกันอย่างน้อย 3 ปี) 6. พ้ืนที่ท้ากินทางการเกษตรของชุมชนอยู่ติดชิดแนวเขตป่าและมีสภาพรกเป็นป่าโป๊ะหรือป่ายาง ประกอบด้วยปัจจัยเอ้ืออ้านวยให้ช้างด้ารงชีวิตอยู่ได้ยาวนานและปลอดภัย คือมีแหล่งน้้าและแหล่งหลบภัยเสมือนในพ้ืนที่ป่า และมีแหล่งอาหารจากสวนผลไม้ของราษฎรที่หากินง่าย มีจ้านวนมาก และหวานอร่อย 7. ความรู้ (ฐานข้อมูลสภาพพ้ืนที่ พฤติกรรมช้างป่า เทคโนโลยี เทคนิควิธีการ และข้ันตอนปฏิบัติงาน) และความช้านาญ (ความมุ่งมั่นตั้งใจและการตัดสินใจ) ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงานยังไม่มากพอที่จะแก้ไขปัญหาในพ้ืนที่ได้ ปัจจัยข้างต้นท้าให้เห็นได้ชัดว่าอย่างไรก็ตามพ้ืนที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ต้องเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า แต่การแก้ไขปัญหาช้างป่าไม่มีวิธีการที่เบ็ดเสร็จ และจ้าเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง ปัจจุบันสามารถแก้ปัญหาในระยะสั้น (การ

Page 37: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

36

ผลักดัน) และระยะกลาง (การเคลื่อนย้าย) ส่วนในระยะยาว เช่น การปรับเปลี่ยนวิถีชุมชนให้อยู่ร่วมกับช้างป่า การปรับเปลี่ยนรูปแบบพืชอาหารทางการเกษตร การลดจ้านวนประชากรช้างป่า ฯลฯ ยังต้องใช้เวลาในการท้าการศึกษา ทดลอง และความร่วมมืออย่างจริงจังและยั่งยืนอีกนาน ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว ส้านักบริหารพ้ืนที่อนุรักษ์ท้องที่และหน่วยงานในพ้ืนที่ก็ต้องเป็นหน่วยงานหลักที่จะต้องด้าเนินการ อาจเป็นการท้าไปพลางก่อนแต่ก็ไม่สามารถคาดการได้ว่าใช้เวลาเท่าไหร่ ซึ่งอย่างไรเสียในระยะเวลา 10 ปีนี้เจ้าหน้าที่ประจ้าส้านักบริหารพ้ืนที่อนุรักษ์ท้องที่ก็จะต้องท้าท้ังการเก็บข้อมูล การศึกษาข้อมูล การปรับปรุงเทคนิคและวิธีการ การประชาสัมพันธ์ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ตลอดไปจนในระยะยาว ซึ่งล้วนต้องใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีความจริงใจและจริงจังที่จะแก้ไขปัญหาเพ่ือความปลอดภัยกับทั้งคนและช้างป่า ตลอดจนทรัพยากรสัตว์ป่าทั้งหมด จนกว่าส่วนกลางคือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนโยบายของรัฐ จะสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าได้ทั้งระบบ แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวข้างต้นในระยะสั้น (การผลักดัน) และระยะกลาง (การเคลื่อนย้าย) ได้บรรยายแยกไว้ด้วยมีรายละเอียดที่ยังต้องใช้เวลาในการศึกษาและถอดเป็นบทความให้มีความถูกต้องเป็นไปตามหลักวิชาการ ซึ่งจะเร่งด้าเนินการเสนออย่างต่อเนื่องต่อไป ส้าหรับการแก้ปัญหาในระยะยาวนั้น ประกอบไปด้วย 1. การเพ่ิมพ้ืนที่ป่าให้ได้มากที่สุด โดยแม้จะเป็นพ้ืนที่เสื่อมโทรมหรือถูกบุกรุกแล้วก็ตาม และผนวกพ้ืนที่ป่าในพ้ืนที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นพ้ืนที่ป่าอนุรักษ์ทั้งหมด รวมถึงการประสานการปฏิบัติกรณีช้างอยู่นอกพ้ืนที่ป่าอนุรักษ์ เนื่องจากปัจจุบันกรมได้มีหนังสือสั่งการให้มีหน้าที่ดูแลช้างป่านอกเขตพ้ืนที่ป่าอนุรักษ์ด้วยแต่ยังไม่ได้มีการมอบอ้านาจให้ปฏิบัติงาน (ความร่วมมือร่วมระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ ส้านักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร และกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ) 2. สร้างพ้ืนที่แนวกันชนซึ่งเป็นพื้นที่ราบกว้างอย่างน้อย 1 กิโลเมตร 3. การลาดตระเวนแบบ Smart patrol ป้องกันการบุกรุกท้าลายทรัพยากรและส้ารวจทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าไปในคราวเดียวกัน การเคลื่อนย้ายช้างป่าไปยังพ้ืนที่รองรับใหม่ในกลุ่มป่าอ่ืน หรือเคลื่อนย้ายช้างป่ากับต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย ประเทศเวียดนาม ฯลฯ 5. พ้ืนที่สวนรกอันเป็นปัจจัยแหล่งหลบภัย เป็น 1 ใน 3 ปัจจัยที่ท้าให้ช้างป่าอาศัยอยู่ในพ้ืนที่ได้นานประชาชนต้องให้ความร่วมมือในการสางพ้ืนที่สวนให้มีความโปร่งมากขึ้น หรือตัดสางให้เหลือตอแหลมสูงซึ่งช้างป่าจะไม่เข้าพ้ืนที่ลักษณะเช่นนี้ ตลอดจนพื้นที่ท่ีช้างหลบพักอาศัยในแต่ละวัน เมื่อช้างออกหากินให้ท้าการสางทันที (ช้างนอนที่ไหนให้ท้าลายแหล่งที่นอนนั้น) 6. ส่งเสริมการปลูกพืชที่ไม่เป็นอาหารช้างป่า 7. เพ่ิมความรู้ความช้านาญให้กับเจ้าหน้าที่ 8. การสร้างพ้ืนที่จัดการช้างป่าในกลุ่มป่าฮาลา-บาลา (ได้เสนอพ้ืนที่เกาะ 1,000 ไร่ ในเขื่อนบางลาง) ในกลุ่มป่าใกล้เคียง (สบอ.6 สงขลา ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง อุทยานแห่งชาติเขาบรรทัด

Page 38: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

37

โดยอาจต้องท้าการเพ่ิมพ้ืนที่ป่าหรือผนวกพ้ืนที่เพ่ิมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น) และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ควรจัดให้มีพื้นที่จัดการช้างป่าในส่วนภูมิภาคทุกภาค 9. การควบคุมประชากรช้างป่า อันอาจจะเป็นการด้าเนินการในระดับนโยบายต่อไปในอนาคต ปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และหน่วยงานในสังกัดต้องเผชิญกับปัญหาช้างป่าออกนอกพ้ืนที่ป่าหลายพื้นท่ี โดยในระดับกลุ่มป่ามีกลุ่มป่าที่มีปัญหาอยู่ในระดับวิกฤติถึง 9 กลุ่มป่า โดยเฉพาะกลุ่มป่าตะวันออกซ่ึงปรากฏให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต้องใช้ก้าลังพลและงบประมาณเพ่ือแก้ไขปัญหาอย่างมากมายมาโดยตลอด การรอให้กรมแก้ไขเมื่อปัญหาได้ขยายวงกว้างไปแล้วอาจไม่ทันการเพราะความสูญเสียในทรัพย์สินและชีวิตสามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะ และปัญหาช้างป่าเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนต้องอาศัยการศึกษาพ้ืนที่และปัจจัยแวดล้อมอย่างละเอียด การท้างานที่ละเอียดถี่ถ้วน มีวินัยและใจรักอย่างยิ่ง และเมื่อการแก้ไขปัญหาช้างป่าให้ส้าเร็จได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชน ก็จ้าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอัญเชิญพระบรมราโชวาทในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นหัวใจในการท้างาน คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา การท้างานร่วมกับชุมชนนั้นหน่วยงานรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐต้องจริงใจที่จะแก้ไขปัญหาและท้าให้ประชาชนอุ่นใจว่าเจ้าหน้าที่สามารถช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้ได้

Page 39: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

38

11. การศึกษาพื้นที่เพื่อจัดท าเป็น “พื้นที่จัดการช้างป่า” เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกรณีเป็นช้างป่าเกเร หรือดุร้าย ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการช้างปุาประการหนึ่งของพ้ืนที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้คือกลุ่มปุาฮาลา-บาลาเป็นกลุ่มปุาที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ในพ้ืนที่ยังมีปัญหาการลักลอบตัดไม้ทําลายปุาและล่าสัตว์ปุา ทําให้เสือซึ่งเป็นสัตว์ผู้ล่าลดจํานวนลงส่งผลให้ประชากรช้างปุาเพ่ิมมากข้ึน การสร้างพ้ืนที่จัดการช้างปุาในกลุ่มปุาฮาลา-บาลาจึงอาจมีความจําเป็นและอาจเป็นวิธีการแก้ปัญหาวิธีการหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาช้างปุาใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้พบข้อมูลพ้ืนที่ที่มีความน่าสนใจและมีความเป็นไปได้ที่จะจัดทําเป็นพื้นที่จัดการช้างปุา ดังนี้ 1. พื้นที่กลางน้ าในเขื่อนบางลาง ขนาด 1,000 ไร่ อยู่ในเขตพ้ืนที่อุทยานแห่งชาติบางลาง โดยก่อนมีการสร้างเขื่อนบางลางพ้ืนที่ดังกล่าวเป็นพ้ืนที่ทํากินของราษฎรนิคมกือลอง ทางราชการได้ชดเชยราษฎรที่ได้รับผลกระทบโดยการจัดพ้ืนที่ทํากินให้ใหม่ในพ้ืนที่นิคมธารโต แต่ต่อมาพบว่าพ้ืนที่เกาะขนาด 1,000 ไร่นั้นยังมีการใช้ประโยชน์พ้ืนที่โดยการทําสวนยางพารา จํานวน 100 ราย และยังพบว่ามีการออกเอกสารที่ดินเขตนิคม (น.ค.) ให้ราษฎรจํานวนหนึ่งอีกด้วย พ้ืนที่ดังกล่าวจึงเป็นพื้นที่ที่มีข้อพิพาทอยู่ในปัจจุบัน ความน่าสนใจของพ้ืนที่จึงประกอบด้วย 1. พ้ืนที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติบางลาง 2. การใช้ประโยชน์ของราษฎร 100 ราย มีความเป็นไปได้ว่าเป็นการเข้าใช้ประโยชน์โดยมิชอบ เนื่องจากทางราชการได้ชดเชยราษฎรที่ได้รับผลกระทบโดยการจัดพื้นที่ทํากินให้ใหม่ในพ้ืนที่นิคมธารโตทุกรายแล้ว 3. เอกสารที่ดินเขตนิคม (น.ค.) ที่ทางราชการออกให้ มีความเป็นไปได้ว่าเป็นการออกให้โดยมิชอบ 4. ขนาดพ้ืนที่ (1,000 ไร่) มีความเหมาะสมต่อการจัดทําเป็นพื้นที่จัดการช้างปุา 5. พืชผลทางการเกษตรในพื้นที่เป็นสวนยางพาราที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป หากจะจัดทําเป็นพ้ืนที่จัดการช้างปุาก็ไม่จําเป็นที่จะต้องตัดไม้ยางเหล่านั้นออก เพียงแต่ปรับสภาพพ้ืนที่ให้เหมาะแก่การอยู่อาศัยของช้างปุาและสัตว์ปุา การเสริมแหล่งอาหาร แหล่งโปุง และแหล่งน้ํา ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นสถานที่กักกันและปรับพฤติกรรมช้างปุาดุร้ายแล้ว ยังสามารถใช้เป็นแหล่งศึกษาทดลองเรื่องช้างปุา การวิจัยพืชอาหารช้างปุา พฤติกรรมช้างปุา และการวิจัยด้านสัตว์ปุาได้อีกมากมาย 6. เส้นทางเข้าถึงพ้ืนที่มีความสะดวก แต่ในส่วนของการเดินทางไปยังพ้ืนที่เกาะต้องมีการออกแบบให้มีความเหมาะสมและปลอดภัยต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และสัตว์ปุา

Page 40: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

39

2. พื้นที่เหมืองเก่าบริเวณบ้านช่องเขา ตําบลถ้ําทะลุ อําเภอบันนังสตา โดยมีภูเขาชันล้อมรอบ และมีพ้ืนที่ราบอยู่ตรงใจกลาง มีขนาดพ้ืนที่ประมาณ 1,000 ไร่ แต่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาหลักเกณฑ์การจัดทําพ้ืนที่โครงการจัดการช้างปุาเขาตะกรุบ 3. พ้ืนที่บ้านฉลองชัย หมู่ที่ 5 ตําบลเขื่อนบางลาง อําเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ซึ่งราษฎรในพ้ืนที่ประสบปัญหาช้างปุามาเป็นเวลานาน มีช้างกลุ่มใหญ่ประจําพ้ืนที่ ทําให้ราษฎรในพ้ืนที่บางส่วนมีแนวความคิดที่จะขอเวนคืนพ้ืนที่ จํานวน 150 ครัวเรือน เนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ สภาพพ้ืนที่มีแหล่งน้ําสมบูรณ์ มีถนนเข้าถึงพ้ืนที่ มีพืชอาหารช้างปุาที่ดีและสมบูรณ์เพียงพอ

Page 41: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

40

12. การสร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างการมีส่วนร่วม และการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาช้างป่า 12.1 การศึกษาดูงานการแก้ไขปัญหาช้างป่า ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ระหว่างวันที่ 24 – 27 เมษายน 2561 โดยได้นําเจ้าหน้าที่และราษฎรในพ้ืนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุช้างปุา ในพ้ืนที่จังหวัดนราธิวาส ไปศึกษาดูงานเพ่ือสร้างความรู้ความเข้าใจในปัญหาและการแก้ไข โดยใช้งบประมาณของจังหวัดนราธิวาส มีสํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้จัดและสํานักบริหารพ้ืนที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานีเป็นหน่วยงานร่วม

การศึกษาดูงานการแก้ไขปัญหาช้างป่า ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก ทั้งในภาคบรรยายความรู้และการศึกษาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ร่วมกับชุมชนท้าการผลักดันช้างป่า นอกจากนี้ในช่วงท้ายของโครงการได้มีการจัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางในส่วนของวิธีการขับไล่และผลักดันช้างกลับเข้าพ้ืนที่ป่า ด้วยพ้ืนที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้มีสภาพพ้ืนที่และปัจจัยแวดล้อมอ่ืนๆที่แตกต่างกับอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลายประการ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีได้ให้ความสนใจในประเด็นความแตกต่างของพ้ืนที่เช่นกัน และยินดีให้ค้าปรึกษาหากเกิดข้อสงสัยหรือข้อจ้ากัดในการใช้วิธีการต่างๆในพ้ืนที่ 3 จังหวัดชายแดนใต ้

Page 42: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

41

12.2 การสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาช้างป่า แผ่นประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างการมีส่วนร่วม และสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาช้างป่า และการจัดการความรู้ (KM) การแก้ไขปัญหาช้างป่าในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

การสร้างเครือข่ายราษฎรบ้านตามุง ต าบลเชิงคีรี อ าเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส

Page 43: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

42

13. สถานการณ์ปัญหาช้างป่าที่รุนแรงขึ้น เกิดข้ึนเนื่องจาก 1. การมภีัยคุกคามช้างปุาในพ้ืนที่ปุา การวางกับดักบ่วงแร้ว และการมีกลุ่มบุคคลล่าสัตว์ปุา 2. การล่าช้างปุา 3. การใช้สารเคมีในการทําการเกษตร 4. การประสานการปฏิบติกับเจ้าหน้าที่กองกําลังในพื้นที่ยังไม่เป็นไปอย่างเข้มงวด 5. การสร้างความเข้าใจกับพ้ืนที่ประชาชนได้รับผลกระทบจากช้างปุายังไม่ทั่วถึงและเข้าใจอย่าง

แท้จริง ทําให้ปัญหาบานปลาย 6. เจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ ขาดทักษะ ที่สามารถประเมินสถานการณ์ พฤติกรรมช้าง และปฏิบัติได้

อย่างถูกต้องแม่นยํา ข้อ 2 และ 3 เป็นกรณีช้างปุาที่ได้ทําการเคลื่อนย้ายมาแล้ว 4 ครั้ง ถูกล่าเอางาเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม

2562 ที่บริเวณบ้านลาไม ตําบลบองอ อําเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส และกรณีพบซากช้างปุาเนื่อเปื่อยจนไม่สามารถแยกเพศได้ (เน่าเปื่อยกว่า 70%) เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2562 บริเวณบ้านบ่อ 9 ตําบลบาละ อําเภอกาบัง จังหวัดยะลา และช้างปุาที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 บริเวณบ้านกาเต็ง (บ้านสันติ 2) ตําบลแม่หวาด อําเภอธารโต จังหวัดยะลา

ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข 1. การมอบหน้าที่ให้ปฏิบัติงานนอกพ้ืนที่รับผิดชอบ เช่น กรณีพบซากช้างปุาเน่าเปื่อยในบริเวณพ้ืนที่

ปุาสงวนแห่งชาติ ตําบลบาลา อําเภอกาบัง จังหวัดยะลา 2. ทีมสัตวแพทย์สัตวบาล ประจําสํานักบริหารพื้นที ่2. ทีมนิติวิทยาศาสตร์ เช่น กรณีช้างปุาถูกล่าเอางาเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2562 ที่บริเวณบ้านลาไม

ตําบลบองอ อําเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส การประสานตํารวจพิสูจน์หลักฐานเพ่ือร่วมตรวจพิสูจน์ ปิดล้อมพ้ืนที่เกิดเหตุเพ่ือไม่ให้มีการทําลาย

พยานหลักฐาน และการแอบแฝงตัวของผู้ร้ายเข้ามาในกลุ่มฝูงชน 3. รถ Mobile Unit ที่มเีครื่องมือพร้อมปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ 4. กรณีพ้ืนที่พิเศษ (พ้ืนที่เสี่ยงภัย) จําเป็นต้องสร้างทีมเฉพาะ เนื่องจากเจ้าหน้าที่บางรายไม่พร้อม

เสี่ยงภัย 5. การฝึกเจ้าหน้าที่ชุดพิเศษ (ชุดคุ้มกัน cover) ด้วยการฝึกวินัยทหารและยุทธวิธีทางทหาร สื่อสาร

การข่าว การจู่โจม และปูองกันตัว

ท้ายที่สุดแล้ว งบประมาณ การเพิ่มจ านวนบุคลากร ยานพาหนะและเครื่องมืออุปกรณ์ที่มี

ประสิทธิภาพ ยังเป็นสิ่งที่จ าเป็นและต้องการอย่างยิ่งเพื่อการแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีก่อนเกิดเหตุไม่

คาดคิดขึ้น

Page 44: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

43

14. การด าเนินการตามแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) 1. การบ่งชี้ความรู้ 1.1 จัดประชุมเพ่ือพิจารณาองค์ความรู้ที่จําเป็นในการปฏิบัติงาน 1.2 จัดทําแผนการจัดการความรู้ ปี 2562 1.3 จัดตั้งคณะทํางานฯ KM Team 1) หนังสือสํานักบริหารพ้ืนที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี ด่วนที่สุด ที่ ทส 0960.103/543 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2562 ประชุมพิจารณาองค์ความรู้ของสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี 2. การสร้างและแสวงหาความรู้ 2.1 รวบรวมรายละเอียดประเด็นความรู้

1) จากบทเรียนการแก้ไขปัญหาช้างปุาในพ้ืนที่ 3 จชต.ที่ผ่านมา 3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ 3.1 รวบรวมความรู้ให้เป็นระบบและจําแนกออกเป็นองค์ความรู้ย่อย 1) จากการตรวจเอกสารทางวิชาการ และสอบถามผู้รู้ 4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 4.1 บูรณาการความรู้ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย -เอกสาร/คู่มือองค์ความรู้ย่อย 1) จากคู่มือความรู้เรื่องช้างปุาและข้อควรปฏิบัติตนเมื่อพบช้างปุา 2) คู่มือการติดตามและผลักดันช้างปุา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปุา และพันธุ์พืช 5. การเข้าถึงความรู้ 5.1 การถ่ายทอดความรู้ และการเผยแพร่ความรู้ -Internet เผยแพร่ทางเพจสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ท่ี 6 สาขาปัตตานี -วิทยากร -โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การจัดการความรู้ (KM) การแก้ไขปัญหาช้างปุาในพ้ืนที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ 6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ 6.1 การแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น หนังสือสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ท่ี 6 สาขาปัตตานี ที่ ทส 0960.6/2762 ลงวันที่ 25 กันยายน 2562 เรื่อง ขอเชิญประชุมคณะทํางานรวบรวมความรู้ (KM) ประจําปี พ.ศ. 2562 ควบการประชุมงบประมาณ มีผู้อํานวยการส่วนและกลุ่มร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 7. การเรียนรู้ 7.1 เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาช้างปุาในสังกัด สบอ.6ปน นําไปใช้ในการปฏิบัติงานและปรับปรุงงาน 1) การตรึงพ้ืนที่เพ่ือไล่ต้อน ผลักดันให้ช้างปุาบริเวณบ้านในหลง หมู้ที่ 10 ตําบลแม่หวาด อําเภอธารโต จังหวัดยะลา กลับเข้าพ้ืนที่ปุาทางระบบไลน์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2562

Page 45: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

44

2) การประชุมราษฎรเครือข่ายช้างปุาบริเวณบ้านตามุง ตําบลเชิงคีรี อําเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส 3) การผลักดันช้างปุาบ้านอัยเยอร์ควีน หมู่ที่ 8 ตําบลอัยเยอร์เวง อําเภอเบตง จังหวัดยะลา เมื่อ 31 สิงหาคม – 1 กันยายน 2562

Page 46: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

45

ภาคผนวก

\

Page 47: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

46

หนังสือสํานักบริหารพ้ืนที่อนุรักษ์ท่ี 6 สาขาปัตตานี ด่วนที่สุด ที่ ทส 0960.103/543 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์

2562 ประชุมพิจารณาองค์ความรู้ของสํานักบริหารพ้ืนที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี

Page 48: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

47

แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan)

Page 49: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

48

Page 50: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

49

คําสั่งสํานักบริหารพ้ืนที่อนุรักษ์ท่ี 6 สาขาปัตตานี ที่ 51/2562 เรื่อง แต่งตั้งคระทํางานรวบรวมความรู้ (KM)

ประจําปี พ.ศ.2562 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2562

Page 51: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

50

หนังสือคู่มือความรู้เรื่องช้างปุาและข้อควรปฏิบัติตนเมื่อพบช้างปุา

หนังสือคู่มือการติดตามและผลักดันช้างปุา

Page 52: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

51

คําสั่งสํานักบริหารพ้ืนที่อนุรักษ์ท่ี 6 สาขาปัตตานี ที่ 187/2561 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561

เรื่อง จัดตั้งชุดเฉพาะกิจผลักดันช้างปุา

Page 53: คู่มือpattaniwp.dnp.go.th/images/หนังสือเวียน/การแก้... · ภายในและภายนอกพ นท ป า รบกวนเส

52

คําสั่งสํานักบริหารพ้ืนที่อนุรักษ์ท่ี 6 สาขาปัตตานี ที่ 45/2562 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2562

เรื่อง จัดตั้งชุดเฉพาะกิจผลักดันช้างปุา (เพ่ิมเติม)