เสวนา “สรุปบทเรียนมหาอุทกภัย 2554” ·...

3
วารสารสิ่งแวดล้อม ปีท่ 16 เล่มที่ 1 57 เสวนา “สรุปบทเรียนมหาอุทกภัย 2554” กิจกรรมสิ่งแวดล้อม¨ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี ท่ผ่านมาเกิดขึ้นในหลายจังหวัดรวมทั้งกรุงเทพมหานคร แม้พื้นที่ส่วนใหญ่ ระดับน้ำาลดลงจนอยู่ในสภาพปรกติ แต่ยังมีหลายพื้นที่ที่ยังคงมีน้ำาท่วมขัง ทำาให้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของสังคม ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งถูกน้ำาท่วม และที่สำาคัญที่สุด คือ ประชาชนที่ต้องเป็นผู้ประสบภัยมากกว่า 2 ล้านคน ผลจากมหาอุทกภัยในครั้งนี้ได้ส่งผลให้มีประชาชนตกงานหลายหมื่นคน อีกทั้งยังมีผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การแก้ไขปัญหานำาท่วมในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่ายังขาดการทำางานร่วมกันอย่างมีเอกภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในหลายๆ ด้าน ประกอบกับขาดการประสานงานอย่างจริงใจและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการให้ความรู้แก่ประชาชน ซึ่งบางส่วนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และเข้าไม่ถึงข้อมูลจากทางภาครัฐในการเตรียมพร้อมรับมือนำาท่วมอย่างทันท่วงที นอกจากนี้แล้วปัญหาอีกประการหนึ่งคือ มาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยาจากทางภาครัฐยังมีความสับสน และขาดความ ชัดเจนเรื่องเกณฑ์การให้ความช่วยเหลืออีกด้วยจึงทำาให้ประชาชนเกิดความสับสน

Transcript of เสวนา “สรุปบทเรียนมหาอุทกภัย 2554” ·...

Page 1: เสวนา “สรุปบทเรียนมหาอุทกภัย 2554” · 2018-03-15 · วารสารสิ่งแวดล้อม ปีที่ 16

วารสารสิ่งแวดล้อม ปีที่ 16 เล่มที่ 1 57

เสวนา “สรุปบทเรียนมหาอุทกภัย 2554”

กิจกรรมสิ่งแวดล้อม¨สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี ที่ผ่านมาเกิดขึ้นในหลายจังหวัดรวมทั้งกรุงเทพมหานคร แม้พื้นที่ส่วนใหญ่ระดับน้ำาลดลงจนอยู่ในสภาพปรกติ แต่ยังมีหลายพื้นที่ที่ยังคงมีน้ำาท่วมขัง ทำาให้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของสังคม ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งถูกน้ำาท่วม และที่สำาคัญที่สุด คือ ประชาชนที่ต้องเป็นผู้ประสบภัยมากกว่า 2 ล้านคน ผลจากมหาอุทกภัยในครั้งนี้ได้ส่งผลให้มีประชาชนตกงานหลายหมื่นคน อีกทั้งยังมีผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การแก้ไขปัญหาน้ำาท่วมในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่ายังขาดการทำางานร่วมกันอย่างมีเอกภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในหลายๆ ด้าน ประกอบกับขาดการประสานงานอย่างจริงใจและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการให้ความรู้แก่ประชาชน ซึ่งบางส่วนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และเข้าไม่ถึงข้อมูลจากทางภาครัฐในการเตรียมพร้อมรับมือน้ำาท่วมอย่างทันท่วงที นอกจากนี้แล้วปัญหาอีกประการหนึ่งคือ มาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยาจากทางภาครัฐยังมีความสับสน และขาดความ ชัดเจนเรื่องเกณฑ์การให้ความช่วยเหลืออีกด้วยจึงทำาให้ประชาชนเกิดความสับสน

Page 2: เสวนา “สรุปบทเรียนมหาอุทกภัย 2554” · 2018-03-15 · วารสารสิ่งแวดล้อม ปีที่ 16

วารสารสิ่งแวดล้อม ปีที่ 16 เล่มที่ 158

สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้มี การกำาหนดจัดงานเสวนาวิชาการเรื่อง “สรุปบทเรียน มหาอุทกภัย 2554” ในวันพฤหัสที่ 26 มกราคม 2555 เวลา 08.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสถาบัน 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวัตถุ ประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ คือ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้รับทราบถึงบท เรียนจากปัญหาน้ำาท่วมกับการป้องกันในอนาคตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้ทราบนโยบาย และการแก้ปัญหาด้านการจัดการความช่วยเหลือ ประชาชนอย่างมีเอกภาพปราศจากความขัดแย้งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการให้ข่าวสารข้อมูลที่เป็นจริงต่อประชาชนอย่างจริงใจ ถูกวิธี รวดเร็ว รวมทั้งทันต่อสถานการณ์เพื่อช่วยให้ประชาชนมีความพร้อมรับมืออย่างทันท่วงที สำาหรับวิทยากรในการเสวนาครั้ง ได้รับเกียรติจาก ดร.รอยล จิตรดอน (ผู้อำานวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำาและการเกษตร องค์การมหาชน) นายชลิต ดำารงศักดิ์ (อธิบดีกรมชลประทาน) นาย วิบูลย์ สงวนพงศ์ (อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวง มหาดไทย) และ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ (รองผู้ว่าราชการกรุงเทพ มหานคร) การเสวนาในครั้งนี้ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คาดว่าผู้เข้าร่วมเสวนาจะได้รับรู้ และเข้าใจถึงสาเหตุการเกิด

น้ำาท่วม และบทเรียนด้านต่างๆ พร้อมให้ผู้ร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันแก้ไขและเตรียมรับมือกับภัยน้ำาท่วมในอนาคต

ท่านใดที่สนใจเข้าร่วมการเสวนาครั้งนี้ สามารถติดต่อได้ที่ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 02 218 8135 โทรสาร 02 218 8124

444444444444444

Page 3: เสวนา “สรุปบทเรียนมหาอุทกภัย 2554” · 2018-03-15 · วารสารสิ่งแวดล้อม ปีที่ 16

วารสารสิ่งแวดล้อม ปีที่ 16 เล่มที่ 1 59

การจัดประชุมครั้งที่ 5 เครือข่ายเอเซีย-แปซิฟิค (Asia Pacific Network: APN)

สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเครือข่ายเอเซีย-แปซิฟิค จัดประชุมวิชาการ ครั้งที่ 5 ในประเด็นการจัดการน้ำาโดยมีหัวข้อการประชุมเรื่อง เรื่อง Sustainable Urban Water Quality Management in Southeast Asia: Implementation of Research Development Tools เมื่อวันอังคารที่ 20 ธันวาคม 2554 มีสมาชิกเครือข่ายจากประเทศเกาหลี ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา และไทย เข้าร่วมประชุม โดย ผศ.ดร.พงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์ ผู้อำานวยการสถาบันฯ เป็นผู้กล่าวรายงานการดำาเนินการ และ ดร.วัลลภ สุวรรณดี ผู้แทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้กล่าวเปิดงาน โดยการประชุมจะเป็นการนำาเสนอผลงานที่ได้รับการสนับสนุน จาก APN และเน้นในเรื่องการจัดการคุณภาพน้ำา ซึ่งการประชุมครอบคลุมทั้งเนื้อหาด้านเทคโนโลยีและนโยบายที่ คาดหวังว่าจะนำาไปสู่การจัดการน้ำาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคนี้ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม โดย ผศ.ดร. จันทรา ทองคำาเภา รองผู้อำานวยการ จะดำาเนินงานร่วมกับเครือข่าย APN ต่อไป

444444444444444