ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน...

20
ปีท่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ๒๕๕๑

Transcript of ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน...

Page 1: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ๒๕๕๑

Page 2: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

“ประโยชน์หรือการสร้างสรรค์ในทางที่ดีนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการ

ลงมือทำ เมื่อยังไม่ลงมือทำประโยชน์ก็ยังไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นถึงหากจะมี

ความรู ้ความสามารถมากมายเพียงใด ถ้าไม่นำมาลงมือทำก็ปราศจาก

ประโยชน์”

“การลงมือหมายถึงการปฏิบัติด้วยวิธีต่างๆทุกอย่างเรามักปฏิบัติ

ด้วยมือจึงพูดเป็นสำนวนว่าลงมือ การลงมือหรือการปฏิบัตินั้นขึ้นอยู่กับ

การที่สมองหรือใจสั่ง คือ ใจสั่งเมื่อไร อย่างไรก็ทำเมื่อนั้น อย่างนั้น ฉะนั้น

ถ้าใจไม่สู้ คือ อ่อนแอลังเล เกียจคร้าน หรือไม่สุจริต ไม่เที่ยงตรง ก็จะไม่

ลงมือทำ หรือทำให้คั่งค้าง ทำให้ชั่ว ทำให้เสียหาย เป็นการเบียดเบียนตน

เบียดเบียนผู้อื่น ซึ่งไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นการสร้างสรรค์ หากแต่เป็นการ

บั่นทอนทำลายให้เกิดความเสียหายและเกิดโทษทุจริตนักปฏิบัติงานจึงต้อง

รู้จักปฏิบัติฝึกฝนใจของตนเองเป็นสำคัญ และเป็นเบื้องต้นก่อนคือ ต้องหัด

ทำใจให้หนักแน่นกล้าแข็งและเป็นระเบียบไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคไม่มักง่าย

เห็นแก่ความสะดวกสบาย และสำคัญที่สุดจะต้องใจเที่ยงตรงเป็นกลาง

และสุจริตอยู่เสมอโดยไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์เครื่องล่อใดๆ”

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา

ณ อาคารใหม่สวนอัมพร วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๒๙

Page 3: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

บทบรรณาธิการ

สารบัญ

กรมการศาสนา ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ๒๕๕๑ สายตรงศาสนา

เจ้าของ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมคณะที่ปรึกษา นายสดแดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา นายปกรณ์ตันสกุล รองอธิบดีกรมการศาสนา นายกฤษศญพงษ์ศิริ ผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม นายพิสิฐเจริญสุข ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์บรรณาธิการ นางสาวภัคสุจิ์ภรณ์จิปิภพ เลขานุการกรมการศาสนาผู้ช่วยบรรณาธิการนางพัทธ์ธีราวรมิศร์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป๗กองบรรณาธิการ ๑. นายสุเทพเกษมพรมณี ๒. นายชุมพลอนุกานนท์ ๓. นายวิเชียรอนันตศิริรัตน์ ๔. นายชวลิตศิริภิรมย์ ๕. นายประภาสแก้วสวรรค์ ๖. นางฉวีวรรณวงค์ศรี ๗. นางอมรศรีหอมาลัยกุล ๘. นางสาวดวงเด่นเด็นหลี ๙. นางสุปรียาฉลาดสุนทรวาที ๑๐.นางสาวสุทิศาเถื่อนถาด ๑๑. นายอรรถกรมณีจันทร์

สารประชาสัมพันธ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม Journal of the Religious Affairs Department

ก้าวสู่ทศวรรษใหม่ มุ่งมั่นพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้เมืองไทยเป็นเมืองคนดี

สารคดี บทความ บทวิจารณ์ ความคิดเห็น และข้อเขียนต่าง ๆ ที่ปรากฏในสายตรงศาสนาฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัว

ของผู้เขียน กรมการศาสนาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบไม่ว่ากรณีใด

โปรดให้ข้อเสนอแนะหรือส่งข่าวสาร เพื่อประชาสัมพันธ์งานของท่านได้ที่...

งานบริหารทั่วไป

สำนักงานเลขานุการกรม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

๖๖๖ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ

เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร. ๐-๒๔๒๒-๘๗๗๖-๙

สืบเนื่องจากปก

หลังจากที่ได้รับพระราชทาน

บวรราชาภิเษกเป็น “พระบาท

สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว”

เม ื ่อว ันที ่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.

๒๓๙๔ ได ้ทรงย ้ายมาประทับ

ณ พระบวรราชว ัง (ป ัจจ ุบ ันคือ

บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

จนสิ้นพระชนม์ลงในวันที่ ๗ มกราคม

พ.ศ. ๒๔๐๘ ขณะที่ทรงมีพระชนมายุได้ ๕๘ พรรษา

การจัดทำวารสารสายตรงศาสนาเป็นหนึ่งในภารกิจ

ด้านการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เป็นสื่อกลาง

สร้างความเข้าใจอันดีภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ

และประชาชนทั่วไป ให้ทราบความเคลื่อนไหวและความสำเร็จ

ในการดำเนินงานของกรมการศาสนา

เนื้อหาในวารสารสายตรงศาสนาฉบับเดือนกันยายนนี้

จึงขอนำพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

มาลงในคอลัมน์ “จากฟ้าสู่ดิน” เพื ่อให้ท่านผู ้อ ่านได้ทราบ

นอกจากนี้ยังมีข่าวสารและกิจกรรมต่าง ๆ ของกรมการศาสนา

ในรอบเดือนที่ผ่านมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำหนังสือ

เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือการจัดโครงการ

ผลิตภาพยนตร์ธรรมะเรื่องสั้น ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นให้เด็กและ

เยาวชนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการรังสรรค์ผลงานเผยแพร่

คุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มและวัยของเด็ก เพื่อส่งเสริม

ให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมผ่านสื่อ

ที่เป็นภาพยนตร์ธรรมะเรื่องสั้น

หวังเป็นอย่างยิ ่งว่าวารสารสายตรงศาสนาฉบับนี ้

จะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรในหน่วยงาน และสื่อสัมพันธ์ในการ

สร้างความเข้าใจ พร้อมทั้งให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปที่สนใจ

ในภารกิจของกรมการศาสนา

หน้า พระบรมราโชวาท ๒ บทบรรณาธิการ ๓ จากฟ้าสู่ดิน

- พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔-๕ - การเทศน์มหาชาติ ๖-๗ โครงการเด่น

- โครงการผลิตภาพยนตร์ธรรมะเรื่องสั้น ๘-๑๐ มุมธรรมะ ๑๑-๑๒ การ์ตูนธรรมะ ๑๓-๑๔ ภาพกิจกรรม ๑๕-๒๐ ผลงานกรมการศาสนา

- โครงการปฏิบัติธรรม ๒๑-๒๒ - โครงการยกย่องเชิดชูเด็กไทยมีคุณธรรม… เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๑ จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ๒๓ - โครงการส่งท้ายปีเก่าวิถีไทย ต้อนรับปีใหม่วิถีพุทธ ปีงบประมาณ ๒๕๕๑ ๒๔-๒๕ อโรคยา ปรมาลาภา

- มะรุม พืชมหัศจรรย์ ๒๖-๒๗ ปกิณกะสารธรรม

- เรื่องของในหลวงที่เรา (อาจไม่เคยรู้) ๒๘-๓๐ ภาพกิจกรรม ๓๑-๓๒

Page 4: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา �

จากฟ้าสู่ดิน

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปิ ่นเกล้าเจ ้าอยู ่ห ัว

ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ

พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จ

พระศรีสุริเยนทราบรมราชินี และเป็นพระอนุชาร่วม

พระชนกชนนีกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงพระนามเด ิมว ่า “เจ้าฟ้าจุฑามณี” หร ือ

“เจ้าฟ้าน้อย” เสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังเดิม

เมื ่อวันที ่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๑ หลังจากที ่

สมเด็จพระราชบิดาได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ

เจ้าฟ้าน้อยจึงได้ตามเสด็จพระบรมชนกนาถและ

พระราชชนนี มาประทับในพระบรมมหาราชวัง และ

ได้รับการเฉลิมพระนามเป็น “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ

เจ้าฟ้าจุฑามณี” หรือ “เจ้าฟ้าอสุนีบาต”

เม ื ่อเจ ้าฟ ้าน ้อย ซ ึ ่งในขณะนั ้นดำรง

พระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้า

กรมขุนอ ิศเรศร ังสรรค ์ เจร ิญพระชนมายุได ้

๑๖ พรรษา ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๖๗ ได้เสด็จมา

ประทับ ณ พระราชวังเดิม และประทับที่นี่ จนถึงปี

พ.ศ. ๒๓๙๔

พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี

พระอัจฉริยภาพในด้านต่าง ๆ อาทิ การทหาร การช่าง

วิทยาศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา การละคร

การดนตรี และด้านวรรณกรรม อีกทั ้งทรงรอบรู ้

ทางด้านการต่างประเทศอีกด้วย ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ

จากมิชช ันนาร ีอเมร ิก ันจนแตกฉาน และทรงมี

พระสหายเป็นชาวต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงสามารถช่วยราชการด้าน

การต่างประเทศได้เป็นอย่างดี โดยทรงเป็นที่ปรึกษา

ในการทำสนธิสัญญาต่าง ๆ

ที่มา : ตัดย่อจากข้อเขียนของ ไกรฤกษ์ นานาศิลปวัฒนธรรม วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙ ปีที่ ๒๗ ฉบับที่ ๔

Page 5: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา �

พระบาทสมเด็จพระปิ ่นเกล้าเจ้าอยู ่ห ัว

ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเป็นกิจว ัตร

ตามหมายกำหนดการพระราชพ ิ ธ ี

ฝ ่ายพระบวรราชวัง และยังได้ทรงปฏิส ังขรณ์

วัดหงส์รัตนาราม ต่อจากสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา

บรมราชินี โดยทรงบูรณะทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร

ศาลาการเปรียญ ศาลาราย สะพานหน้าวัด และ

ส่วนอื่น ๆ อีกมากมาย จึงมีธรรมเนียมถือกันมาว่า

พระราชกิจจานุกิจ ด้านการศาสนา

ว ัดน ี ้ เป ็นว ัดในพระบาทสมเด ็จพระป ิ ่นเกล ้า

เจ้าอยู่หัว นอกจากนั้นยังได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดอื่น ๆ

อีกด้วย อาทิ วัดศรีสุดาราม วัดโมลีโลกยาราม

ว ัดบวรสถานสุทธาวาส และว ัดชนะสงคราม

เป็นต้น

พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรง-

ราชานุภาพ ได้บันทึกไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า

เจ้าอยู่หัว ได้เคยทรงผนวชที่วัดระฆังโฆสิตาราม

เมื่อทรงผนวชได้ทรงอุตสาหะวิริยะ หัดเทศน์กัณฑ์

มหาราช ซึ่งเป็นกัณฑ์ที่โปรดมาก

พระบาทสมเด็จพระนั ่งเกล้าเจ ้าอยู ่ห ัว

ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบาทสมเด็จ

พระปิ ่นเกล้าเจ ้าอยู ่ห ัว ขณะดำรงพระยศเป็น

เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ สร้างวัดส้มเกลี้ยง

ขึ้นใหม่แทนวัดเดิม ซึ่งญวนทหารปืนใหญ่ที่อยู่ใน

บังคับบัญชาของพระองค์ได้ร ื ้อ เพื ่อเอาอิฐไป

สร้างบ้านเรือนและวัดของตนที่เสียหาย พระองค์

จึงทรงสร้างวัดส้มเกลี้ยงขึ้นใหม่ โดยโปรดให้ย้ายไป

สร้างทางด้านทิศเหนือ พ้นเขตจากชุมชนบ้านญวน

เข้ารีตออกไป และสันนิษฐานว่าทรงสร้างวัดนี ้

ต่อมา เมื่อได้รับบวรราชาภิเษก แต่การก่อสร้างมา

แล้วเสร ็จในร ัชกาลที ่ ๕ ซ ึ ่งพระบาทสมเด ็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู ่หัว ได้โปรดเกล้าโปรด

กระหม่อมให้กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ พระโอรส

พระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ ่นเกล้า

เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างสืบมาจนแล้วเสร็จ

Page 6: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา �

การเทศน์มหาชาติ

เทศน์มหาชาติ คือ เทศนาเวสสันดรชาดก เป็นบุญพิธีที่นิยมจัดให้มีกันมาแต่โบราณ ส่วนมากจัดให้มีในวัดเป็นหน้าที ่ของชาวบ้านและวัดนั้น ๆ จะตกลงร่วมกันจัด ปกตินิยมให้มีหลังฤดูทอดกฐินผ่านไปแล้วจนตลอดฤดูเหมันต์ นิยมจัดเป็นงาน สองวัน คือ วันเทศน์เวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์ วันหนึ่ง และวันเทศน์จตุราริยสัจจกถา ท้ายเวสสันดรชาดก อีกวันหนึ่ง วันแรกเริ่มงานด้วยพิธีทำบุญตักบาตรพระทั้งวัด หรือเลี้ยงพระตามจำนวนที่เห็นสมควร แล้วเริ่มเทศน์เวสสันดรชาดกตามแบบเทศน์ต่อกันไปจนสุด ๑๓ กัณฑ์ ถึงเวลากลางคืนบางแห่งจัดปี ่พาทย์ประโคมระหว่างกัณฑ์หนึ่ง ๆ ตลอดทั้ง ๑๓ กัณฑ์ด้วย วันรุ ่งขึ ้น ทำบุญเลี้ยงพระอีก แล้วมีเทศน์ จตุราริยสัจจกถาในระหว่างเพลจบแล้วเลี้ยงพระเพลเป็นอันเสร็จพิธี ระเบียบพิธีในการเทศน์มหาชาติ ที่นิยมกันเป็นหลักใหญ่ ๆ ดังนี้ ๑) ตกแต่งบริเวณพิธีให้มีบรรยากาศคล้ายอยู่ในบริเวณป่า ตามท้องเรื่องเวสสันดรชาดก โดย นำเอาต้นกล้วย ต้นอ้อย และกิ่งไม้มาผูกตามเสา

และบริเวณรอบ ๆ ธรรมาสน์ ประดับธงทิว และ ราชวัติ ฉัตร ตามสมควร ๒) ตั ้งขันสาครใหญ่ หรือจะใช้อ่างใหญ่ ที่สมควรก็ได้ใส่น้ำสะอาดเต็ม สำหรับปักเทียนบูชาประจำกัณฑ์ ในระหว่างที่พระเทศน์ น้ำในภาชนะ ที่ตั้งนี้เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ถือว่าเป็นน้ำพระพุทธมนต์ ที ่สำคัญ ภาชนะใส่น้ำนี ้ตั ้งหน้าธรรมาสน์ กลางบริเวณพิธี ๓) เตรียมเทียนเล็ก ๆ จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม แล้วนับแยกจำนวนเป็นมัด มัดหนึ่งมีจำนวนเท่าคาถาของกัณฑ์หนึ่ง แล้วทำเครื่องหมายไว้ให้ทราบว่ามัดไหน สำหรับบูชาคาถากัณฑ์ใด เมื่อถึงคราวเทศน์กัณฑ์นั้นก็จะเอาเทียนมัดนั้นออกจุดบูชาติดรอบ ๆ ภาชนะน้ำ ต่อกันไปจนจบกัณฑ์ให้หมดมัดพอดี ครบ ๑๓ กัณฑ์ถ้วน จำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม เท่าจำนวนคาถา บางแห่ง นิยมทำธงเล็ก ๆ ๑,๐๐๐ คัน แบ่งจำนวนเท่าคาถาประจำกัณฑ์เช่นอย่างเทียน แล้วปักธงบูชาระหว่างกัณฑ์บนหยวกกล้วย แต่การใช้ธงไม่เป็นที่นิยม เช่น เทียน การจุดเทียนหรือปักธงบูชากัณฑ์ดังกล่าว เป็นหน้าที่ของเจ้าภาพผู้รับกัณฑ์นั้น ๆ การเทศน์เวสสันดร มีวิธีเทศน์เป็นทำนองโดยเฉพาะ จะต้องได้ร ับการฝึกอบรมศึกษาจาก ท่านผู ้ทรงคุณวุฒิทางนี ้เป็นพิเศษ ส่วนการเทศน์ จตุราริยสัจจกถา มีระเบียบพิธีอย่างเทศน์ในงานดังกล่าว แล้วข้างต้น

จากฟ้าสู่ดิน

Page 7: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา �

ประเพณีงานเทศน์มหาชาติ งานเทศน์มหาชาตินี ้ นิยมทำกันหลังออกพรรษา

พ ้นหน้ากฐ ินไปแล้ว อาจทำในว ันข ึ ้น ๘ ค ่ำ

กลางเดือน ๑๒ หรือในวันแรม ๘ ค่ำก็ได้ ซึ่งในช่วงนี้

น้ำเริ ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์

จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง

แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน ๔ เรียกว่า

“งานบุญผะเหวด” ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญ

ลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกัน

ในเดือน ๕ ต่อเดือน ๖ ก็มี งานเทศน์มหาชาตินั้น

จะทำในกาลพิเศษจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัด

ฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่ง

นิยมทำในเดือน ๑๐

การเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด

๑๓ กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็น

พระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมา

ประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะและออกบวชจนตรัสรู ้

เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังตำนานต่อไปนี้

ตำนานเทศน์มหาชาติ ๑๓ กัณฑ์ การเทศน์มหาชาติ ค ือ การมหากุศล

ที ่เตือนบุคคลให้น้อมรำลึกถึงการบำเพ็ญบุญ คือ

ความดีที่ยิ่งยวด อันมีการสละความเห็นแก่ตัว เพื่อ

ผลประโยชน์สูงอันไพศาลของมวลมนุษยชาติเป็นสำคัญ

เป็นเทศกาลที่คงความหมายอย่างแท้จริง

การเทศน์ทุกกัณฑ์จะมีผู ้เป็นเจ้าภาพจัด

กัณฑ์เทศน์ถวาย เมื่อพระที่รับกัณฑ์เทศน์ขึ้นเทศน์

เจ้าภาพจะจุดเทียนบูชาคาถาหว่านข้าวตอกข้าวสาร

การเทศน์ในสมัยก่อนพระเจ้าของกัณฑ์จะอ่านจาก

อักษรธรรม (อักษรลาว) ซึ ่งจารลงบนใบลานเป็น

แผ่นยาว คำว่า “จาร” มาจากภาษาเขมร แปลว่า

การเขียนด้วยเหล็กแหลมบนใบลาน แต่ปัจจุบัน

จะนิยมพิมพ์ลงบนใบลานเป็นตัวหนังสือไทยปัจจุบัน

เป็นเรื ่องราวในแต่ละกัณฑ์ ทั้งนี ้เพื ่อความสะดวก

สำหร ับพระร ุ ่นใหม่ เม ื ่อจบกัณฑ์จะตีฆ ้องเป ็น

สัญญาณ การเป็นเจ้าของกัณฑ์ในหมู่บ้านในชนบท

อาจแบ่งเจ้าภาพเป็นคุ้ม เทศน์มหาชาติมี ๑๓ กัณฑ์

ดังนี้ คือ

กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร

กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์

กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์

กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศ

กัณฑ์ที่ ๕ ชูชก

กัณฑ์ที่ ๖ จุลพน

กัณฑ์ที่ ๗ มหาพน

กัณฑ์ที่ ๘ กัณฑ์กุมาร

กัณฑ์ที่ ๙ กัณฑ์มัทรี กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ

กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช

กัณฑ์ที่ ๑๒ ฉกษัตริย์

กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์

Page 8: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา �

โครงการเด่น

โครงการผลิตภาพยนตร์ธรรมะเรื่องสั้น

๑. หลักการและเหตุผล ตัวละคร อันจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของสังคมไทย

ที ่จะช่วยลดช่องว ่างระหว่างเด ็ก เยาวชน และ

ครอบครัว ชุมชนจึงได้จัดโครงการผลิตภาพยนตร์

ละครธรรมะเรื่องสั้นขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็ก

และเยาวชนได้ศึกษาค้นคว้าคิดค้นที ่จะส่งเสริม

คุณธรรมจริยธรรมเผยแพร่ให้บุคคลอื่นเข้าใจ และ

สามารถทำให้เด็กและเยาวชนผู้ที ่เกี ่ยวข้องซึมซับ

สิ่งที่คิดค้นด้านคุณธรรมจริยธรรมได้อย่างดี พร้อมที่

จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันภายในชุมชน

ของตนได้อย่างเหมาะสมและอย่างถูกต้อง

๒. วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื ่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้มี

ความรู ้ด ้านค ุณธรรมจร ิยธรรมผ ่านส ื ่อท ี ่ เป ็น

ภาพยนตร์ธรรมะเรื่องสั้น

๒.๒ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายโดยเฉพาะ

กลุ่มเด็กและเยาวชนในการพัฒนางานด้านคุณธรรม

จริยธรรม

กรมการศาสนา ดำเน ินการจ ัดผลิต

ภาพยนตร์ละครธรรมะเป็นภาพยนตร์เรื ่องสั้น โดย

เน้นให้เด็กและเยาวชนมีวิธีคิดค้นคุณธรรมอย่าง

สร้างสรรค์และสามารถสร้างสรรค์ผลงานเผยแพร่

คุณธรรมจริยธรรมเหมาะสมกับกลุ่มและวัยของเด็ก

นำเสนอเพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม

และวัฒนธรรมให้แก่เด็กและเยาวชนในแถบฝั่งทะเล

อ ันดาม ันท ี ่ประสบป ัญหาท ั ้ งด ้านวาตภ ัยและ

การคุกคามทางด้านศาสนา จึงควรนำคุณธรรมจริยธรรม

และความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมมาสอดแทรกประยุกต์

ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และครอบครัวของเด็ก

และเยาวชน โดยจัดทำภาพยนตร์ธรรมะในเช ิง

สร้างสรรค์ให้ตรงกับความสนใจหรือต้องการของกลุ่ม

เป ้าหมายดังกล่าว โดยให้กล ุ ่มเป ้าหมายเป็น

ผู้ดำเนินการจัดทำด้วยตนเอง ตั้งแต่เนื้อหาของเรื่อง

การเขียนบท ขั ้นตอนในการถ่ายทำ การกำหนด

Page 9: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา �

๓. เป้าหมาย - เชิงปริมาณ

๑. เด็กและเยาวชนได้รับความรู้เกี่ยวกับ

การผลิตภาพยนตร์ธรรมะเรื่องสั้น จำนวน ๑๒๐ คน

๒. จำนวนผลผลิตภาพยนตร ์ธรรมะ

เรื่องสั้นอย่างน้อยจังหวัดละ ๑๐ เรื่อง

- เชิงคุณภาพ

๑. เด็กและเยาวชนได้รับการอบรมและ

มีความรู้ความสามารถ จนสามารถส่งผลงานเข้าร่วม

ประกวดได้

๒. มีสื่อที่เป็นผลผลิตภาพยนตร์ธรรมะ

เรื่องสั้น สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน

เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมได้

๔. วิธีดำเนินการ ๔.๑ ขออนุมัติหลักการ ๔.๒ เชิญจังหวัดเข้าร่วมการประชุมวางแผนการดำเนินงาน

๔.๓ กำหนดเนื้อหาในการอบรมเรื่องการผลิต

ภาพยนตร์ธรรมะเรื่องสั้น ๔.๔ จัดสรรงบประมาณให้จังหวัดดำเนินการประชุมอบรม

๔.๕ ดำเนินการประชุมอบรม โดยคัดเลือก เด็กและเยาวชนจากสถานศึกษาเข้าร่วมประชุมอบรม

ผลิตภาพยนตร์ธรรมะเรื่องสั้น

๔.๖ เด ็กและเยาวชนดำเน ินการผล ิต

ภาพยนตร์ธรรมะเรื่องสั้น

๔.๗ ดำเนินการถ่ายทำขั้นตอนในการผลิต

ภาพยนตร์ธรรมะเรื่องสั้น

๔.๘ จัดประกวดผลงานภาพยนตร์ธรรมะ

เรื่องสั้น ๔.๙ ประกาศผลและมอบรางวัล

๔.๑๐ เผยแพร่ผลงานภาพยนตร์ธรรมะเรื่อง

สั้นสู่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ๔.๑๑ สรุปผลการประชุม

๕. ผลผลิต ๕.๑ จำนวนภาพยนตร ์ธรรมะเร ื ่องส ั ้น อย่างน้อยจำนวน ๑๐ เรื่อง ๕.๒ เครือข่ายในการสนับสนุนงานคุณธรรมจริยธรรมหลากหลายรูปแบบเพื ่อดำเนินกิจกรรม ร่วมกัน

Page 10: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา 10

๖. ผลลัพธ์ ๖.๑ เด ็กและเยาวชนมีความรู ้ เก ี ่ยวก ับ

การผลิตภาพยนตร์ธรรมะ

๖.๒ มีสื่อเชิงคุณธรรมจริยธรรมในรูปแบบ

ภาพยนตร์ธรรมะเพิ่มขึ้น

๖.๓ ม ีเคร ือข ่ายในการดำเน ินงานด้าน

คุณธรรมจริยธรรมในรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้น

๗. ระยะเวลา ครั้งที่ ๑ ภาคใต้ ระหว่างวันที่ ๑-๔ สิงหาคม

๒๕๕๑

ครั้งที่ ๒ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่าง

วันที่ ๕-๘ กันยายน ๒๕๕๑

๘. สถานที่ดำเนินการ

- ภาคใต้ จังหวัดนำร่อง กระบี่ ภูเก็ต พังงา

ระนอง และตรัง

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนำร่อง

ขอนแก่น อุดรธานี กาฬสินธุ ์ มหาสารคาม และ

หนองคาย

๙. ผู้รับผิดชอบโครงการ

สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา

กระทรวงวัฒนธรรม

๑๐. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจ เห็น

คุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมโดยการผลิตสื่อสำหรับ

ส่งเสริมในรูปแบบของภาพยนตร์ธรรมะ

Page 11: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา 11

มุมธรรมะ

Page 12: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา 12

ที่มา : หนังสือ

“พ่อเตือนลูก”

เรียบเรียงโดย

ปัญญานันทภิกขุ

เมื่อวันที่ ๑๐

เมษายน ๒๕๓๐

Page 13: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา 13

การ์ตูนธรรมะ

เรื่อง ทางเลือก

Page 14: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา 14

จากเค้าโครงเรื่องของทางเลือก

ภาพ นายนิพนธ์ ช่วงโสม

Page 15: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา 15

ภาพกิจกรรม

สักการะสมเด็จพระพุฒาจารย ์ นายสมศักด ิ ์ เก ียรต ิส ุรนนท์

ร ัฐมนตร ีว ่าการกระทรวงว ัฒนธรรม

พร้อมด้วย นายสด แดงเอียด อธิบดี

กรมการศาสนา และนายปกรณ์ ตันสกุล

รองอธ ิบด ีกรมการศาสนา เข ้าเฝ ้าฯ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) กรรมการ

มหาเถรสมาคมและเจ้าอาวาสวัดสระเกศ

ในโอกาสที ่ เข ้าร ับตำแหน่งร ัฐมนตร ี

ว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๑

กันยายน๒๕๕๑ณวัดสระเกศ

การบริหารความเสี่ยง กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดประชุมเรื่อง การบริหารความเสี่ยงให้กับข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา

เมื่อวันที่๙กันยายน๒๕๕๑ณห้องประชุมชั้น๑๕กรมการศาสนา

Page 16: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา 16

อบรมพัฒนาความรู ้ นายกฤษศญพงษ์ ศิริ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณธรรม

จริยธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมพัฒนาความรู ้

เกี ่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการให้กับ

องค์กรเคร ือข ่ายและบุคลากรของกรมการศาสนา โดย

นางวนิดา สักการโกศล ผู ้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการ

ข้อมูลข่าวสารของราชการ เป็นวิทยากรบรรยาย เมื่อวันศุกร์ที ่

๕กันยายน๒๕๕๑ณห้องประชุมกรมการศาสนาชั้น๑๕

Page 17: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา 17

การจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรต ิ นายสด แดงเอ ียด อธ ิบด ีกรมการศาสนา

เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำ

หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่ห ัว

โดยกรมการศาสนาร่วมกับองค์การศาสนา จัดทำขึ้นระหว่าง

วันที่๔-๖กันยายน๒๕๕๑ณโรงแรมรอยัลซิตี้

Page 18: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา 18

เจ้าภาพกัณฑ์เทศน ์ นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา เป็นตัวแทนของกระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์ในกัณฑ์คาถาพันร่วมกับ

กระทรวงคมนาคม เทศน์โดยพระอาจารย์ลำดวน ธนิโก วัดไก่เตี ้ย กรุงเทพฯ ในงานเทศน์มหาชาติและปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ

ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๑ พรรษา ปี ๒๕๕๑ ณ หอประชุมพุทธมณฑล เมื่อวันที่ ๑๐

กันยายน๒๕๕๑

Page 19: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา 19

บรรยายพิเศษ นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา มอบนโยบายการดำเนินงานและบรรยายพิเศษเรื่อง “บทบาทเครือข่ายกับการส่งเสริม

ศีลธรรมคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมไทย”โดยได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายส่งเสริมศีลธรรมคุณธรรมและจริยธรรมณอาคาร

มหาเจษฎาบดินทร์ วัดยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔ กันยายน ๒๕๕๑ โดยเชิญผู้แทนองค์กรเครือข่ายที่ดำเนินงาน

เกี่ยวกับการส่งเสริมศีลธรรมคุณธรรมและจริยธรรมมาร่วมประชุมเพื่อรับทราบนโยบายและแนวทางในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา

เปิดการประชุม นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา เป็นประธาน

ในพิธีเปิดโครงการอบรมหลักสูตรพระไตรปิฎกกับวิถีชีวิต

ครั้งที่ ๒ โดยกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ

หอพระไตรปิฎกนานาชาติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกัน

จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙กันยายน๒๕๕๑ณวัดพระธาตุช้างค้ำ

วรวิหารอำเภอเมืองจังหวัดน่าน

Page 20: ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๒ เดือนกันยายน ......พระสหายเป นชาวต างประเทศเป นจำนวนมาก

สายตรงศาสนา 20

กรมการศาสนาอบรมบุคลากร นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา เป็นประธานในพิธ ีเป ิดโครงการเสริมสร้างสมรรถภาพชีว ิต เพื ่อประสิทธิภาพ

การทำงานหลักสูตร “การอบรมบุคลากรที่บรรจุตั้งแต่ปี ๒๕๔๕-๒๕๕๑ และบุคลากรพี่เลี้ยง” โดยมีนางสาวภัคสุจิ ์ภรณ์ จิปิภพ

เลขานุการกรมการศาสนา เป็นผู ้กล่าวรายงาน ซึ ่งโครงการดังกล่าวมีข้าราชการและเจ้าหน้าที ่กรมการศาสนา จำนวน ๖๐ คน

เข้ารับการอบรมระหว่างวันที่๑๙-๒๑กันยายน๒๕๕๑ณโรงแรมดุสิตปริ๊นเซสจังหวัดนครราชสีมา