แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

58
คํานํา

Transcript of แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

Page 1: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

คํานํา

Page 2: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

นับตั้งแตป ๒๕๒๔ เปนตนมา ทางสํานักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ราชนครินทร ไดเก็บรวบรวมขอมูลเชิงวิชาการเกี่ยวกับจังหวัดฉะเชิงเทรา ซ่ึงในป พ.ศ. ๒๕๒๖ ไดจัดพิมพเผยแพรในลักษณะเอกสารสําเนาเย็บเลม ช่ือ แนะนําจังหวัดฉะเชิงเทรา ฉบับอําเภอเมือง ในนามศูนยวัฒนธรรม วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา

ครั้นป พ.ศ. ๒๕๓๕ ทางสํานักฯ ซ่ึงขณะนั้นมีสถานภาพเปน ศูนยวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา ไดสํารวจเก็บขอมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดลอมทางศิลปกรรมในจังหวัดฉะเชิงเทรา ซ่ึงไดยอนกลับไปยังสถานที่ตาง ๆ ที่เคยสํารวจ เมื่อป ๒๕๒๔ - ๒๕๒๖ ไดเห็นความเปลี่ยนแปลง ทั้งในรูปแบบการพัฒนาและการปลอยใหเสื่อมโทรมไป ผุพังลงกับการทําลายทิ้งในสิ่งที่เปนภาพอดีต

ในป พ.ศ. ๒๕๔๗ นี้ สํานักศิลปวัฒนธรรมมีสถานภาพเปนหนวยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร ไดมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของภาพลักษณะในอดีต ที่บางแหงไมหลงเหลือใหปรากฏเห็นไดในปจจุบัน จึงไดรวบรวมเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับจังหวัดฉะเชิงเทราในอดีต และสถานที่นาสนใจในอําเภอเมืองมาจัดพิมพ เพื่อเผยแพรอีกครั้ง

เพื่อใหอนุชนรุนหลังและผูสนใจไดรับรู เขาใจ และเห็นคุณคาของภาพอดีต เร่ืองราวที่เปนประวัติศาสตรเคยเปรียบเทียบกับปจจุบัน และเพื่อสรางจิตสํานึกใหเกิดความรัก หวงแหนบุคคล เหตุการณ สถานที่ในทองถ่ินของตนอีกครั้ง เทาที่ศักยภาพแหงกาลเวลาและทุนทรัพยจะเอื้ออํานวย

ผศ.ประเสริฐ ศีลรัตนา อ.จินดา เนื่องจํานงค

Page 3: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

สารบัญ หนา

คํานํา แนวคดิบางประการในเรื่องหลักฐานทางประวัติศาสตรของเมืองฉะเชิงเทรา ๑

ประวัติเมืองฉะเชิงเทราจากหลักฐานที่เปนขอสันนิษฐาน ๔

๑. ประวัตเิมอืง ๕ ๒. ปญหาชื่อเมือง ๘

ประวัติเมืองฉะเชิงเทราที่ปรากฏหลักฐานอยางเดนชดั ๑๒

๑. ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี ๑๓ ๒. ในสมยักรุงรัตนโกสินทรเปนราชธานี ๑๖

ส่ิงที่นารูและนาสนใจในอําเภอเมืองฉะเชงิเทรา ๑๙

๑. กําแพงเมอืง ๒๐ ๒. วัดโสธรวรารามวรวิหาร ๒๗ ๓. ศาลากลางจังหวดัหลังเกา ๓๗ ๔. วัดพยัคฆอินทราราม (วัดเจดีย) ๔๓ ๕. วัดสัมปทวน (นอก) ๕๒ ๖. วัดสายชล ณ รังสี ๕๘ ๗. วัดจนีประชาสโมสร (เลงฮกยี)่ ๖๔ ๘. วัดอภุัยภาติการาม (ซําปอกง) ๗๐ ๙. วัดเทพนิมติร ๗๔ ๑๐. ศาลจังหวัดหลังเกา ๘๑ ๑๑. วัดปตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง) ๘๖ ๑๒. เรือนแพและชุมชนฝงแมน้ํา ๙๓ ๑๓. การสรางทางรถไฟสายตะวนัออก ๙๙

เหตุการณที่นาสนใจในอําเภอเมือง ๑๐๔

กบฎจีนตวัเหี่ย (อ้ังยี)่ ๑๐๔

บุคคลสําคัญ ๑๐๘

พระยาศรีสุนทรโวหาร (นอย อาจารยางกูร) ๑๐๘ บรรณานุกรม

Page 4: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

แนวคิดบางประการในเรื่องหลักฐานทางประวัติศาสตรของเมืองฉะเชิงเทรา เมืองฉะเชิงเทราในอดีต นบัตั้งแตเร่ิมตั้งกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานีหรือกอนหนานีห้ากจะสืบหาขอมูลทางประวัติศาสตรอยางแทจรงิ โดยอาศัยหลักฐานทั้งที่เปนลายลักษณอักษร หรือหลักฐานทางดานโบราณคดนีั้นนับเปนสิ่งที่หายาก จะมีก็แตเพยีงหลักฐานที่เปนคําบอกเลา กลาวขานสืบตอกันมาเสียเปนสวนใหญ ไมวาจะเปนเหตกุารณ ปรากฏการณหรือเร่ืองราวที่เกีย่วของกับวัตถุและสถานที่ ลวนไมสามารถจะยืนยัน ไดแนชัดลงไปวาจริงหรือเท็จประการใด จึงทําใหประวัติศาสตรเกี่ยวกับเมืองฉะเชิงเทรา ทั้งที่เปนประวัติความเปนมาของเมือง สถานที่ วัตถุ ฯลฯ ในชวงกอนกรงุรัตนโกสินทรเปนราชธานี สวนใหญยังอยูในลักษณะคลุมเครือ สาเหตุที่เปนเชนนี้อาจกลาวแยกไดคือ

๑. สาเหตุจากสภาพทางภมูิศาสตร โดยธรรมชาติของพื้นที่อันเปนที่ตั้งของเมอืงฉะเชิงเทราในอดีต ลักษณะทัว่ ๆ ไปมีความ

อุดมสมบูรณเต็มไปดวยทรัพยากรตามธรรมชาติ อันมปีา น้ํา ลําธาร และธัญญาหารกระจายอยูทั่วไป ซ่ึงมีผลกระทบทําใหความเปนอยูของคนในภูมิภาคแถบนี ้ เปนไปอยางเฉื่อยชาไมกระตือรือรน ดังนั้นการพฒันาทางดานสังคมจากสภาพพื้นที่ ๆ เปนปา กวาจะกลายมาเปนสภาพของชุมชนหรือเมือง ตองใชระยะเวลาอนัยาวนาน โดยยังปรากฏใหเห็นไดจากสภาพรอบ ๆ นอกไกลจากตวัเมอืงออกไป

๒. สาเหตุทางดานการเมือง จากสาเหตุทีก่ลาวมาในขอ ๑ นั้น สงผลกระทบมาถึงดานการเมืองดวย คือ เมือ่ผูคนที่

อาศัยอยูอยางกระจัดกระจายในภูมิประเทศแถบนี้ มีการพัฒนาการทางดานสังคมเปนไปอยางเชื่องชาใชเวลายาวนานกวาจะรวมตวักนัเปนชุมชนหรือเมือง จึงทําใหเหตุการณทางดานการเมืองไมมีปรากฏในชวงระยะแรก ๆ ซ่ึงหลักฐานในทางประวัติศาสตรทีเ่ปนลายลักษณอักษรอันไดแก พระราชพงศาวดารหรือพงศาวดารนัน้ สวนใหญมุงบันทึกเหตุการณสําคัญๆ ทางดานการเมืองมากกวาเรื่องอื่น ไมวาจะเปนการทําสงครามตีเมือง ปองกันเมือง ตลอดจนการเดินทัพไปตามภูมิประเทศที่เปนทําเลหรือเสนทางยุทธศาสตร จุดปะทะหรือดินแดนที่เปนหวัเมืองสําคัญ ฯลฯ เหลานี้ลวนมไิดมีปรากฏในดินแดนอันเปนที่ตั้งของเมืองฉะเชิงเทราเลย ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนตน ๆ หรือกอนหนานี้ อาจเปนเพราะผลกระทบจากสาเหตใุนขอ ๑ และเปนเพราะดานการเมืองกับตางประเทศในตอนตน ๆ กรุงศรีอยุธยานั้น ไปพัวพันกับประเทศพมาเสียเปนสวนใหญ ซ่ึงดินแดนประเทศพมานัน้อยูคนละเสนทางกับดินแดนอันเปนที่ตั้งของเมืองฉะเชงิเทรา ดังนั้นในพระราชพงศาวดารหรือพงศาวดารที่บันทกึเหตกุารณทางการเมือง ระหวางไทยกบัพมาจึงปรากฏช่ือของเมืองตางๆ ที่ตั้งอยูระหวางเมอืงหลวงคือกรงุศรีอยุธยากับประเทศพมาเสียเปนสวนมาก เนื่องจากเมืองเหลานี้เกีย่วของกับการทําสงครามอยูเสมอๆ คร้ันพอเขมรซึ่งเปนประเทศที่มีที่ตั้งอยูในทิศทางเดยีวกับเมืองฉะเชิงเทรา เร่ิมเขามาพัวพันกบัไทยทางดานการเมืองคือ กวาดตอนผูคน

Page 5: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

พลเมืองในแถบตะวนัออกไปเปนเชลย ฉะเชิงเทราจึงไดเร่ิมปรากฏเปนหลักฐานในพงศาวดาร คร้ันพอพมาถูกอังกฤษลาไปเปนประเทศในอาณานิคมในสมัยกรุงรัตนโกสินทรเปนราชธานี* ก็เทากับปดฉากการเมืองซีกดนิแดนแถบนัน้ แตมาเปดฉากในทางดานตะวันออกของประเทศ คือ การปราบปราม และรบพุงกับเขมรและญวน ถึงชวงนี้หลักฐานตางๆ ทัง้ที่เปนสถานที่ วัตถุ ลายลักษณอักษรจงึมีปรากฏใหเหน็อยางเดนชดัแมในปจจุบัน

๓. สาเหตุทางดานเศรษฐกจิ นอกจากสภาพภูมิศาสตรและการเมืองแลว ทางดานเศรษฐกจิก็มผีลเปนสาเหตุหนึ่งที่ทํา

ใหหลักฐานทางประวัติศาสตรของเมืองฉะเชิงเทราไมปรากฏเชนกัน คือ เมื่อความอุดมสมบูรณของทรัพยากรธรรมชาติในดนิแดนแถบนี ้ เอื้ออํานวยสุขในการดํารงชีวิตผูที่อาศัยก็ไมจําเปนตองไปดิ้นรนขวนขวายซื้อขายแลกเปลี่ยนกับใคร การคาขายแลกเปลี่ยนไมวาจะเปนกับผูคนตางถ่ินตางแดนตลอดจนกับชาวตางประเทศ สวนมากมักจะไดปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร ไมก็เปนหลักฐานทางดานโบราณคดี เชน หลักฐานที่เปนวัตถุ คือ ขาวของเครื่องใช เครื่องประดับ ฯลฯ หรือไมก็เปนยานพาหนะ เชน เรือ ฯลฯ แตเมืองฉะเชิงเทราก็ยังไมปรากฏหลักฐานทางดานนี้ อันอาจมาจากเหตผุลดังกลาวมาก็ได

จากปจจยัสําคญัทั้ง ๓ สาเหตุทีก่ลาวมานีแ้ลว ยังมีตัวแปรที่ทําใหหลักฐานทางประวัติศาสตรของเมืองฉะเชงิเทราเทาที่มีอยู ถูกทําลายลงไปอีก ซ่ึงตัวแปรเหลานี้มีทั้งที่เปนธรรมชาติและผูคนพลเมืองในฉะเชิงเทราเอง

ตัวแปรที่เปนธรรมชาตินั้นไดแกลําน้ําบางประกงเปนสําคัญ ที่กลาวเชนนี้เนื่องจากในอดีตการตั้งที่อยูอาศัยหรือชุมชนมักจะตั้งอยู ณ ที่ ๆ ซ่ึงมีน้ํา เนื่องจากน้ําเปนปจจยัสําคัญตอการดํารงชีวิตการตั้งชุมชนในดนิแดนที่ตั้งเมอืงฉะเชิงเทราก็คงไมพน ตั้งอยูในลักษณะเรยีงรายอยูตามสองฟากฝงของลําแมน้ําบางประกง และโดยธรรมชาติของน้ํายอมกัดเซาะและเปลี่ยนแปลงเสนทางการไหลอยูเสมอ ซ่ึงในแตละคราวอาจจะใชชวงเวลามากบางนอยบาง จากอดีตจนถึงปจจุบันเสนทางการไหลของลําน้ําบางประกง ไมทราบวาเปลี่ยนแปลงมาแลวกี่มากนอย แตส่ิงที่พอจะทราบไดก็คือการเปลีย่นแปลงทางน้ําในแตละครัง้ ยอมทําใหหลักฐานตาง ๆ ถูกกลืนทับถมลงไปในลําน้ําก็มิใชนอย

สวนตัวแปรที่เปนผูคนนั้น อาจทําลายหลักฐานทางประวตัศิาสตรไปโดยลักษณะรูเทาไมถึงการณ หรืออาจโดยเจตนาก็มไีมดอยไปกวาตวัแปรที่เปนธรรมชาติ * สงครามครั้งสุดทายระหวางอังกฤษและพมาเกิดขึ้นในป พ.ศ. ๒๔๒๘ ผลก็คอื พมาตองสญูเสียเอกราชและดนิแดนทั้งหมด ในท่ีสุดอังกฤษประกาศใหพมาเปนแควนหนึ่งภายใตการปกครองของอินเดีย องักฤษ ในวันท่ี ๑ มกราคม ๒๔๒๙ (จากหนา ๔๓ การพัฒนาคมนาคมทางบกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว โดย เกือ้กูล ยืนยงอนันต

Page 6: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

จากสาเหตแุละปจจยัที่เปนตวัแปรที่ยกมานี้ เปนเพยีงแนวคิดหนึ่งที่ตองการชี้ใหเหน็ถึงคําตอบที่วา “ทําไมหลักฐานตางๆ เกี่ยวกบัเมืองฉะเชิงเทราในชวงระยะแรก จึงหาไดยากและไมปรากฏอยางเดนชัดแนนอนดงัชวงระยะหลัง คือสมัยกรุงรัตนโกสินทรเปนตนมา” ซ่ึงบางทีก็อาจจะเปนหนาที่ของเราทานที่จะตองเก็บรวบรวมขอมูล หรือหลักฐานตางๆ เพื่อใหอนุชนรุนหลังไดศึกษาเพื่อความรูและความเขาใจใน “ฉะเชิงเทรา” วา มีความเปนมาอยางไร มีอะไรในฉะเชิงเทราที่นารูและนาสนใจ ฯลฯ โดยจะขอเสนอหลกัฐานเทาที่รวบรวมไดและแยกออกเปนหัวขอตาง ๆ เพื่องายตอการทําความเขาใจดังนี ้

Page 7: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ประวัติเมืองฉะเชิงเทรา

จากหลักฐานที่เปนขอสันนิษฐาน

๑. ประวัตเิมอืง ๒. ปญหาชื่อเมือง

Page 8: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

๑. ประวัติศาสตรเมืองฉะเชิงเทรา ประวัติเมืองฉะเชิงเทราเทาที่ปรากฏหลักฐาน ยังไมสามารถยืนยันไดแนนอนลงไปวา

ตั้งขึ้นเมื่อใด มีปรากฏก็แตเพียงขอสันนิษฐานโดยยึดเอาสภาพภูมิศาสตร ลักษณะเหตุการณและอ่ืน ๆ มาผสมผสานเขากับหลักฐานเทาที่มีอยู ตีความและกลาวขานสืบตอๆ กันมา ซ่ึงหลักฐานอันเปนประถมมูลแหงการสันนิษฐาน ถึงประวัติเมืองฉะเชิงเทราคงไดแก ขอความบันทึกจากพระราชพงศาวดารที่วา

“… ฝายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราชเจา ใหสถาปนาที่พระราชทานเพลิงนั้นเปนเจดียวิหาร เสร็จแลวใหนามวัดสบสวรรค และสมเด็จพระเจาอยูหัวตรัสวา ไพรบานพลเมืองตรี จัตวา ปากใตเขาพระนครนี้นอย หนีออกอยูดงหวยเขา ตอนไมไดเปนอันมาก ใหเอาบานทาจีนเปนที่ตั้งเมืองสาครบุรี ใหเอาบานตลาดขวัญเปนที่ตั้งเมืองนนทบุรี ใหแบงเอาแขวงเมืองราชบุรี แขวงเมืองสุพรรณบุรีเปนเมืองนครชัยศรี…” 1 2

จากบันทึกเหตุการณในพระราชพงศาวดารนี้ “สมเด็จพระเจาบรมวงศเธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงบรรยายที่ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗ ทรงสันนิษฐานวา แปดริ้วมีบทบาทอยูบาง คร้ังสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแหงกรุงศรีอยุธยาเพราะใชเปนที่ระดมพลเนื่องจากครั้งนั้น กรุงศรีอยุธยามีศึกสงครามอยูเสมอ หลังสงครามกับบุเรงนองที่ตองสูญเสียสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระอัครมเหสีไปแลว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็ “จัดระเบียบการเรียกระดมพลใหสะดวกขึ้นกวาแตกอน ในการนี้ใหตั้งเมืองชั้นในเพิ่มขึ้นหลายเมือง คือตั้งบานตลาดขวัญเปนเมืองนนทบุรีเมืองหนึ่ง ตั้งบานทาจีนเปนเมืองสุพรรณบุรีทางดานใต (ซ่ึงแกช่ือเปนเมืองสมุทรสาครในรัชกาลที่ ๔) เมืองหนึ่งตัดทองที่เขตเมืองสุพรรณบุรีทางดานใต กับทองที่เขตเมืองราชบุรีทางดานตะวันตกรวมกันตั้งเมืองนครไชยศรี (ซ่ึงเปลี่ยนเปนเมืองนครปฐมในรัชกาลปจจุบัน) เมืองหนึ่ง สันนิษฐานวาตัดทองที่เขตเมืองชลบุรีขางเหนือ กับทองที่เขตเมืองปราจีนบุรีขางใต ตั้งเมืองฉะเชิงเทราขึ้นอีกเมืองหนึ่ง” 3

และในป พ.ศ. ๒๔๙๖ นายตรี อมาตยกุล หัวหนากองวรรณคดีและประวัติศาสตร(ในขณะนั้น) ไดเขียนบทความเรื่อง “นําเที่ยวฉะเชิงเทรา” ลงในวารสารศิลปากร ปที่ ๖ เลมที่ ๖ เดือนพฤศจิกายน ตามที่สันนิษฐานกันมาวาเมืองนี้คงจะตั้งขึ้นในแผนดินพระมหาจักรพรรดิเพื่อเปนที่ระดมพลในเวลาสงครามเหมือนอยางเมืองนนทบุรี เมืองนครไชยศรีและเมืองสาครบุรีที่ตั้งขึ้นในสมัยนั้น เพราะปรากฏวาแผนดินพระมหาจักรพรรดิ ไมสามารถจะเรียกชายฉกรรจเขากองทัพไดเต็มอัตราศึก เนื่องจากพากันหลบหนีเขาปาเขาดงเปนจํานวนมาก จึงโปรดใหตั้งเมืองใหมขึ้นเพื่อเปนที่ระดมพลรวม ๓ เมือง ดวยกัน คือ เมืองนนทบุรีตั้งที่ตลาดขวัญ เมืองนครชัยศรี

1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยธุยา ฉบับพันจันทนุมาศ หนา ๖๐ 2 พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เลม ๑ หนา ๑๖๐ 3 วนิดา สถิตานนท ,แปดริ้ว อนุสาร อ.ส.ท. เดือนตุลาคม ๒๕๑๓ ฉบับแนะนํา ฉะเชิงเทรา. หนา ๑๓–๑๔

Page 9: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ตั้งที่บานทานาริมแมน้ํานครชัยศรี และเมืองสาครบุรีตั้งที่บานทาจีน แตการตั้งเมืองฉะเชิงเทรานั้นไมปรากฏในพงศาวดารเลย

เมืองฉะเชิงเทราคงจะตั้งขึ้นใหมในเวลาไมหางไกล กับที่ตั้งเมืองใหมทั้ง ๓ เมืองนี้มากนัก ประมาณวาคงจะตั้งขึน้เมื่อเสร็จศึกพมา ในคราวที่สมเด็จพระศรีสุริโยทัยขาดคอชางแลวคอืประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๙ เดิมเมืองซึ่งตั้งครั้งแผนพระมหาจักรพรรดินั้นเปนเมืองเปดไมมีปอมปราการใดอยางเดียวกบัเมืองนนทบรีุ เมืองนครชัยศรีและเมอืงสาครบุรีซ่ึงไดตั้งขึ้นในครั้งนั้นก็ไมมีปอมปราการเหมือนกัน…..” 4

การตีความหมายในพระราชพงศาวดารทั้งของสมเด็จพระยาดาํรงราชานุภาพและนายตรี อมาตยกุล ตามแนวคดินี้เทากับสันนิษฐานและเชื่อวา. “เมืองฉะเชิงเทราไดตั้งขึ้นในรัชการสมเดจ็พระมหาจกัรพรรดิ สําหรับเปนที่ระดมพลในเวลาสงคราม แตในหนังสือพงศาวดารไมมีตอนใดกลาวไวชัดแจงเชนนั้น มีขอความพอเปนเคาเพียงแตวาในแผนดินพระมหาจกัรพรรดิ จากการเตรียมปองกันประเทศครั้งใหม พ.ศ. ๒๑๐๔ โปรดเกลาใหขาหลวงออกสํารวจบญัชีสํามะโนครัว แลวคัดคนเขาทะเบียนเพิ่มเติมกําลังทหารทุกหัวเมืองชั้นใน และปรากฏวาผูคนตามหัวเมืองชัน้ใน เที่ยวตั้งภูมิลําเนาหากนิแยกยายกันอยู เวลาเกิดสงครามมูลนายจะเรียกเขาหมวดกองไมไดทันทวงที จึงไดตั้งเมืองในครั้งนั้นขึ้นอกี ๓ เมือง คือ นนทบุรี นครชัยศรี และสมุทรสาคร เพื่อใหมีผูวาราชการกรมการประจําในทองที่ สําหรับเรียกระดมพลในเวลามีสงคราม หวัเมืองชัน้ในอื่น ๆ คงไดจัดการตรวจเรียกจํานวนคนขึ้นใหมในครั้งนั้น…..” 5

จากขอความที่สันนิษฐานของทั้ง ๓ ทานนี้ ผูเขียนมีความรูสึกวาเมืองฉะเชิงเทราก็ด ี เมืองนนทบุรี นครชัยศรี และเมืองสาครบุรีก็ดี นาจะตั้งขึ้นมากอนหนาสมัยแผนดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแลว เหตุผลในชัน้แรกโดยสามัญสํานึกรูสึกวา “การตั้งเมืองใหมขึ้นในแตละเมืองควรมีเกณฑประกอบหลาย ๆ ประการ ดังเชนมีประชาชนอาศัยอยูในพื้นที่ๆ จะตองเปนเมืองใหมนัน้มากหรือเปนพื้นที ่ ๆ มีความสําคัญทางดานการเมือง ฯลฯ แตจากขอความในพระราชพงศาวดารและการตีความสันนิษฐานทีย่กมานี้ เชื่อวาการตั้งเมืองใหมขึ้นก็เพื่อจดุประสงคในการการเรียกระดมพล ดูเปนการขัดกับพระราชดํารัสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิที่วา “….ไพรบานพลเมือง ตรี จัตวา ปากใตเขาพระนครนี้นอย หนีออกอยูดงหวยเขา ตอนไมไดเปนอันมาก…” และถาจะมาวิเคราะหกันในอีกแงหนึ่ง จากขอความในพระราชพงศาวดารเชนกันวา

“พระเจาอยูหวัตรัสวา ไพรบานพลเมืองตรี จัตวา ปากใตเขาพระนครครั้งนี้นอย…” หมายถึง พวกพลเมืองและไพรบานตามหัวเมืองชัน้ตรี และชั้นจัตวาที่เขามารวมสูรบกับพมาในคร้ังนั้นไมมาก แสดงใหเห็นวาการแบงเขตการปกครองสวนภูมภิาค ไดแบงออกเปนหวัเมืองชั้นเอก โท ตรีและจัตวา ไดมีมากอนหนาสมัยแผนดนิสมเด็จพระมหาจกัรพรรดิแลว ดังหลักฐานทีว่า

4 ต. อมาตยกุล, นําเท่ียวฉะเชิงเทรา วารสารศิลปากร ปท่ี ๖ เลมท่ี ๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๖. หนา ๕๗–๖๒ 5 หนังสือสภาพจังหวัดฉะเชิงเทรา รวบรวมพิมพขึ้นโดยหลวงประจําจันทเขตร เมื่อ พ.ศ. ๑๔๗๗

Page 10: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

“สมัยแผนดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กรุงศรีอยุธยามีอาณาเขตกวางขวาง ถึงเวลาที่จะขยายเมืองหลวงใหกวางออกไป จึงตั้งหวัเมืองชั้นในขึ้นหัวเมืองชั้นในเหลานี้เรียกในครั้งนั้นวาเมืองนอย เรียกผูวาราชการวา ผูร้ัง (คือเหลาเมืองที่มากําหนดเปนเมืองจัตวาภายหลัง) สวนอยูรอบและใกลเคียงเมืองหลวง ใหเจากระทรวงในเมืองหลวงบังคบับัญชากระทรวงของตน ออกไปถึงหัวเมืองชั้นในเหลานั้นทุกเมือง…” 6

“ซ่ึงหัวเมืองชัน้ใน (จัตวา) กําหนดบรรดาเมืองที่อยูใกลวงราชธาน ี เปนเมืองจัตวาไดแกราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม นครชัยศรี นครสวรรค ชัยนาท สุพรรณบุรี สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี นครนายก เมืองเหลานีผู้วาราชการเมอืงเรียกวา “ผูร้ัง” ไมเรียกเจาเมือง เพราะไมมอํีานาจเดด็ขาดอยางเจาเมือง…” 7 8

ดังนั้นถาจะวิเคราะหและตีความกันตามหลักฐานนี้ ก็จะไดขอมูลที่วาบรรดาเมืองตางๆ ที่ตีความกันวาเมืองนนทบุรี เมืองสมุทรสาคร เมืองนครชัยศรี และเมืองฉะเชิงเทรา เพิ่งตั้งขึ้นในแผนดินพระมหาจักรพรรดินั้น มีมากอนหนานี้แลวเมื่อคร้ังรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไดทรงแกไขการปกครองจากที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ไดทรงวางระเบียบไว

สวนความในบันทึกตามพระราชพงศาวดารที่วา “….ใหเอาบานทาจีนเปนที่ตั้งเมืองสาครบุรี ใหเอาบานตลาดขวัญตั้งเมืองนนทบุรี ใหแบงเอาแขวงเมืองราชบุรี แขวงเมืองสุพรรณบุรีเปนเมืองนครชัยศรี…” นั้นหมายถึง เมื่อไพรพลที่แยกยายกระจัดกระจาย หนีหายอยูตามปาเขาเปนอันมาก จึงไดโปรดใหแตงตั้งหนวยสําหรับเปนที่เกณฑหรือระดมไพรพล

ถาวิเคราะหความในพระราชพงศาวดารตามแนวสันนิษฐานนี้ ก็อาจกลาวไดวา “ เมืองฉะเชิงเทรา” ตามที่สันนิษฐานกันวาตั้งขึ้นในแผนดินพระมหาจักรพรรดินั้น นาจะตั้งขึ้นหรือมีปรากฏมาตั้งแตสมัยแผนดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถหรือกอนหนานี้แลว ดังหลักฐานที่วา “เมืองฉะเชิงเทรา ปรากฏเรื่องราวครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาในแผนดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เปนเมืองในวงราชธานีจัตวา เมื่อปจอ พุทธศักราช ๑๙๙๘ ตรงกับจุลศักราช ๘๑๖ ผูรักษาเมืองเปนที่ออกพระวิเศษฤาชัยเมืองฉะเชิงเทรา นา ๘๐๐ ช้ันพระแดงเสนาฎขวา…” 9

๒. ปญหาเรื่องชื่อเมือง (“แปดริ้ว” และ “ฉะเชิงเทรา”)

6 พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา หนา ๔๕๕. 7 ประวัติศาสตรไทยยุคกอนประวตัิศาสตรถึงสิ้นอยุธยา โดยคณาจารยมหาวทิยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หนา ๒๘๘. 8 เอกสารโบราณคด ี แถลงงานประวัตศิาสตรโดยคณะกรรมการประวตัิศาสตร ซึ่งเสนอตอคณะกรรมการชําระประวัติศาสตร สํานักนายกรัฐมนตรี ตีพมิพเผยแพรโดยสํานักนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐. 9 ทําเนียบศักดินาทหารหัวเมือง (ชุมนมุกฎหมายประจําศก เลม ๑) หนา ๒๗๗.

Page 11: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ทั้งคําเรียก “แปดริ้ว” และ “ฉะเชิงเทรา” ในปจจุบันก็ยังหารากฐานที่มาของคําและความหมายที่แนนอนลงไปยังไมได เทาที่ปรากฏเปนเพียงหลักฐานอางอิงประกอบความเชื่อ หรือแนวทางการสันนิษฐานเทานั้น คือ

คําเรียกช่ือเมืองวา “แปดริ้ว”

คําเรียกแปดริ้วนี้ มีเพียงหลักฐานการบอกเลาสืบตอกันมาเทานั้น ตางก็ไมยืนยันถึงที่มาที่แทจริงเพียงอางอิงถึงการกลาวเลาขานกัน ซ่ึงพอที่จะแบงใหเห็นเปนแนวความคิดในสาเหตุแหงคําเรียกไดดังนี้

(ก) “…มีคําผูใหญบอกเลาตอกันมาวา เหตุที่เรียกแปดริว้ก็เพราะปลา (ชอน) ในเมืองนี้ชุกชุมมากและเปนปลาขนาดใหญ เมื่อแลเนื้อตากทําเปนปลาแหง จะทําเปนสี่ร้ิวหรือหาร้ิวไมไดจะตองทําเปนปลาแหงถึงแปดริ้ว…” 10

(ข) “….แตก็เคยมีผูเขียนวาเปนคําที่เพี้ยนมาจากคําจีน “แปะร้ิว” ซ่ึงแปลวา รอยร้ิวหรือรอยคลอง เนื่องจากจังหวดันี้มีลําคลองมากมายไหลมาจรดกับแมน้ําบางปะกง ซ่ึงอาจมีมากกวารอยคลอง ดวยขอสันนิษฐานนี้อาจเปนไปไดทางหนึ่งเหมือนกัน…” 11

(ค) และ “…นิทานพื้นบานเรื่อง พระรถ – เมรี นิทานเรื่องนีเ้ปนนิยายเร่ืองหนึ่งใน ปญญาสชาดก ซ่ึงคนในประเทศลาว เขมร และทองถ่ินทางภาคตะวันออกเฉียงเหนอืนิยมกนั เปนเร่ืองที่ผูใหญเลาใหเดก็ฟง ซ่ึงนอกจากเปนการหยอนใจสนุกๆ แลว ก็เปนการสอนศาสนาและศีลธรรมไปดวยในตวั คนลาวไดนํานิทานเหลานี้ไปใหเปนชื่อสถานที่ หรือตําแหนงทางภูมิศาสตรตาง ๆ ในทองที่อําเภอพนมสารคามและทองถ่ินอําเภอใกลเคียง ดังเชนเมืองโบราณที่บานคูเมืองในเขตตําบลเกาะขนุนก็เรียกวาเมืองสนาม เปนเมืองของนางหลมารซึ่งเปนแมเล้ียงของพระรถ เลากันวายกัษไดฆานางสิบสองแลวลากศพไปยังทาน้ํา บริเวณทีศ่พถูกลากไปจึงเรียกวา “ทาลาด” แลวก็ชําแหละศพออกเปนร้ิวๆ รวมแปดริว้ดวยกัน ทิ้งลอยไปตามลําน้ําทาลาดไปออกแมน้ําบางปะกง ไปยังเมืองฉะเชิงเทรา โดยเหตุนี้เมืองนี้จงึมีช่ือเรียกอีกอยางหนึ่งวา “แปดริ้ว” เพราะศพนางสบิสองลอยไปที่นั่น….” 12

ถึงแมวาที่มาของคําเรียกชื่อเมืองวาแปดริว้นี้ จะเปนเพยีงเรื่องเลาหรือกลาวกันตอ ๆ มาก็ตาม ความเชือ่ของคนสวนใหญก็คลอยตามเหตุผลเทานี้มาตลอด อาจเปนเพราะยงัไมสามารถหาเหตุผลอ่ืนมาอางอธิบายได และที่มาของคํา “แปดริว้” ที่ไดรับความเชือ่วานาจะเปนไปไดมากที่สุดเปนจะไดแกเหตุผลที่วา “ในยานนี้มีปลาชอนตัวโตมาก โตขนาดเอามาขอดเกล็ดทําร้ิวตากแหงไดถึงแปดริ้ว ซ่ึงนับเปนจํานวนริ้วที่มากกวาปลาชอนในแหงอ่ืนๆ”

10 ประชุมพระราชนพินธรัชกาลท่ี ๔ ภาคปกิณกะ ภาค ๑. 11 นพคุณ เจริญราช, เรื่องจังหวัดฉะเชิงเทรา หนังสือขาวสารการฝกอบรมเปรยีบเทียบคดีสรรพสามิต, หนา ๕๙. 12 เอกสารประกอบการอธิปรายเรื่อง ประวัติศาสตรจากการบอกเลา โดยศรีศักดิ์ วัลลิโภดมจากการสัมมนาทางวิชาการเรือ่ง วัฒนธรรมภาคตะวันออก มศว. บางแสน ๑๓–๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๔.

Page 12: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

คําเรียกชื่อเมืองวา “ฉะเชิงเทรา”

คําเรียกวา “ฉะเชิงเทรา” เปนคําที่ใชเรียกขานในทางราชการ สวนคาํเรียกแปดริ้วเปนคําที่ชาวบานใชเรียกกันทัว่ไป ช่ือ “ฉะเชิงเทรา” มีผูรูไดสันนิษฐานและใหเหตุผลประกอบ พอที่จะรวบรวมและแยกออกเปนแนวที่มาแหงความเชื่อไดดังนี ้

(ก) ….ในแนวขอสันนิษฐานคําวา “ฉะเชิงเทรา” เปนชื่อเรียกมาจากภาษาเขมร อันแปลวา “คลองลึก” ที่มาของขอสันนิษฐานนี ้ ก็เนื่องจากไดพบเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหวัรัชกาลที่ ๔ ไดทรงพระราชนิพนธไวมีขอความตอนหนึ่งวา “….ช่ือบานเมืองเหลานี้เปนไทยบางชื่อเขมรบาง เปนสองชื่อทั้งไทยและเขมรอยางเมืองฉะเชิงเทราเปนชื่อเขมร เมืองแปดริ้วเปนชื่อไทย….” 13 จากเคาความนี้ มหาฉ่ํา ทองคําวรรณ จึงไดแปลคําวา “ฉะเชิงเทรา” ในภาษาเขมรหมายความวากระไร แลวนําเอาแนวความคิดนี้ไปสอนในมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ แตก็ไมแพรหลายถึงบคุคลภายนอก จึงไดเผยแพรโดยนําขอเขียนที่เปนแนวทางการสันนษิฐานนี้ลงพิมพในหนังสือสามทหารฉบับปที่ ๑ เลม ๔ ประจําเดือนมีนาคม ๒๕๐๕ หนา ๓๙ ซ่ึงพอสรุปไดความวา

- คําวา “คลอง” เขมรโบราณเขียน “จทิง” พอสมัยตอมาเขียนเปน “ฉทิง” คํา ๆ นี้นาจะเพี้ยนมาเปน “ฉทรึง” หรือ “ฉะเชิง” คือ ฉทรึงหรือฉะเชงิเทากับคลอง

- คําวา “เทรา” เขมรเขียน “เชรา” อาน “โจว” เปนคําวิเศษณแปลวา ลึก - ดังนั้นคําวา “ฉทรึงเทราหรือฉะเชิงเทรา” นาจะแปลวา คลองลึก จากคําอธิบายของ มหาฉ่ํา ทองคําวรรณนี้ นายกจิจา วัฒนสินธุ ไดอธิบายเพิ่มเตมิตอขอ

สันนิษฐานแนวมหาฉ่ํา ในเรื่องประวัติเมอืงฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ วา “นอกจากคําอธิบายของมหาฉ่ํา ทองคําวรรณ แลว ขาพเจาใครขอแทรกคําอธิบายเพิ่มเตมิเกี่ยวกับชื่อเมืองฉะเชิงเทรา ดังตอไปนี ้

คําวาฉะเชิงเทรา ตามที่แปลวาคลองลึกนั้น อาจทําใหสงสัยวาไมนาจะมีสวนเกีย่วของกับเมืองฉะเชิงเทราเลย เพราะไมมีสัญลักษณอันใดที่จะใหเรียกเชนนัน้ สําหรับตัวขาพเจาเหน็วาคงจะเนื่องมาจาก หลักการตั้งชื่อเมืองแตเดมิมา มักตั้งโดยอาศัยเหตผุลทางภูมิศาสตร เชน ชลบุรี เพราะเปนเมืองชายทะเลอยางหนึ่ง หรือโดยอาศัยเหตุทีม่ีส่ิงสําคัญยิ่ง อยูในเมืองทีต่ั้งเปนมูลฐานอีกอยางหนึ่ง เชน นครปฐม ก็เพราะมีพระปฐมเจดียเปนปูชนียสถานสําคัญ ดังนี้ เปนตน

13 ประชุมพระราชนพินธรัชกาลท่ี ๔ ภาคปกิณกะ ภาคท่ี ๑

Page 13: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

อยางไรก็ตามการตั้งชื่อเมืองฉะเชิงเทราเขาใจวา ผูตั้งชือ่คงอาศัยเหตผุลอยางใดอยางหนึ่งดังไดกลาวมาแลว เฉพาะอยางยิ่งก็คือเหตผุลทางภูมิศาสตร เพราะเมืองฉะเชิงเทรานีต้ั้งอยูบนสองฝงแมน้ําบางประกง ซ่ึงเปนแมน้ําสําคัญที่สุดของหัวเมืองนี้….” 14

(ข) ….ในขอสันนิษฐานทีไ่มเห็นดวยกับความคิดที่วา คําฉะเชิงเทราจะมาจากภาษาเขมรคือแนวความคดิของ วาที่ พล.ต.ดําเนิร เลขะกุล ซ่ึงกลาววา

“…ช่ืออันแปลกประหลาดของเมือง “ฉะเชิงเทรา” มีผูใหความเห็นหลายคนวาคํานีเ้พี้ยนมาจากภาษาเขมรที่วา “สตึงเตรง” หรือ “ฉทรึงเชรา” แปลวาคลองลึก ผูเขียนยังไมเชื่อวา “ฉะเชิงเทรา” จะเพี้ยนมาจากคําวา “สตึงเตรง” หรือ “ฉทรึงเชรา” อยางที่ใคร ๆ คิดเพราะในเมือ่เมืองนี้ไดตั้งขึน้ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ อันเปนขณะที่ส่ิงตาง ๆ เปนไทยหมดสิ้นแลว แมเมืองตาง ๆ ที่ตั้งขึ้นใหมในเวลาเดยีวกันหรือใกลเคียงกันตามที่ยกมาอางกัน ก็มีช่ือเปนแบบไทย (อิทธิพลอินเดยี) ทั้งส้ินคือ นนทบุรี นครชัยศรี และสาครบุรี

นอกจากนั้น ตามที่พระราชพงศาวดารกรุงเกาฉบับหลวงประเสริฐ ที่นับถือกันวาแมนยํานักหนานั้นไดกลาววา เมื่อศกัราช ๗๓๔ (พ.ศ. ๑๙๑๔) สมเด็จพระบรมราชาธิราช “เสด็จไปเอาเมืองพังคาและเมืองแสงเชราไดเมือง” “แสงเชรา” (หรือแซงเชาหรือ แสงเชา) ออกเสียงใกลเคียงกับ “ฉะเชิงเทรา” มาก นาคิดวาจะเปนเมืองเดียวกันหรือไม อันเมืองพังคา (หรือพังคา) และเมอืงแสงเชานี้ สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานภุาพก็ทรงยอมรับวา ไมทรงทราบแนนวาเปนเมืองอะไรตอมา (ดูพระอธิบายในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเรขา )…” 15

จากขอสันนิษฐานทั้ง ๒ ที่ยกมาเปรยีบเทียบแสดงใหเห็นถึง ความแตกตางในแนวความเชื่อ ซ่ึงสามารถชี้ใหเหน็ไดวา

- มูลความเชื่อ ตางยึดถือเสียงเรียกหรือสําเนียงการออกเสียงเปนสําคัญไมวาจะเปน

“ฉทรึงเทรา” ก็ดี หรือ “แซงเชา” ก็ดี ตางก็มีขอเริ่มของการสันนิษฐานคลายคลึง

- หลักฐานอางอิง ตางยึดถือหลักฐานอางองิประกอบความเชื่อกันคนละที่มา คือ หลักฐาน

ของมหาฉ่ํา ทองคําวรรณไดแนวมาจากพระราชนิพนธของสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว

รัชกาลที่ ๔ สวนหลักฐานของวาที่ พล.ต.ดําเนิร เลขะกุล ไดแนวมาจากพระราช

พงศาวดารกรุงเกา ฉบับหลวงประเสริฐ

- เหตุผลประกอบความเชื่อ ของแตละแนวสันนิษฐานตางก็ยกเอาหลกัฐานทางประวัต ิ

ศาสตร มาประกอบ ในแนวสันนิษฐานของมหาฉ่ํา ทองคําวรรณ ที่วา “คําเรียก

ฉะเชิงเทรา” นี้ เพี้ยน มาจากคําเรียกในภาษาเขมร ก็ดวยในอดีตขอมมีอํานาจไดปกครอง

14 กิจจา วัฒนสินธุ ประวัติเมืองฉะเชิงเทรา, จากหนังสืออนุสรณนายกิจจา วฒันสินธุ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๓ โรงพิมพอักษรไทย กรุงเทพมหานคร, หนา ๑๕๒. 15 วาท่ี พล.ต.ดําเนิร เลขะกลุ, อนุสาร อ.ส.ท. ฉบับแนะนําฉะเชิงเทรา ประจําเดือนตลุาคม ๒๕๑๓, หนา ๖๙.

Page 14: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

แผนดินในภาคตะวันออกนี้จึงไดเรียกช่ือเมืองฉะเชิงเทราใหมีความหมายพรอมกันกับ

แมน้ําบางประกงวาเปน คลองลึก” สวนแนวสันนิษฐานของวาที่ พล.ต.ดําเนิร เลขะกุล

มีความเห็นวาฉะเชิงเทรานี้ ต้ังในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ อันเปนขณะที่สิ่งตาง ๆ

เปนไทยหมดสิ้นแลว การเรียกช่ือเมืองควรมีช่ือเรียกแบบไทย มิใชแบบเขมร

นอกจากขอสันนิษฐานทั้ง ๒ แนวความคิดที่ยกมานี้ คาดวายังมแีนวสันนิษฐานอืน่ ๆ อีกแตเทาที่ปรากฏเปนหลักฐานมีเพียง ๒ แนวความคิดนี้เทานั้น และดูเหมือนวาขณะนี้สวนราชการจังหวดัฉะเชิงเทรา ไดยึดถือความคิดตามแนวของมหาฉ่ํา ทองคําวรรณ เปนหลักอางอิง สวนแนวสันนิษฐานของวาที่ พล.ต.ดําเนิร เลขะกุล นั้น มิไดปรากฏหลักฐานการคนควาเพิม่เติมตอจากขอสันนิษฐานเดมิแตอยางใด

Page 15: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ประวัติเมืองฉะเชิงเทราที่ปรากฏหลักฐานอยางเดนชัด

๑. ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี ๒. ในสมยักรุงรัตนโกสินทรเปนราชธานี

Page 16: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

๑. ประวัติศาสตรเมืองฉะเชิงเทราในสมัยกรุงศรอียุธยา ๑.๑ ในแผนดนิพระมหาธรรมราชา ในหนังสือพงศาวดารออกชื่อเมืองฉะเชิงเทราเปนครั้งแรก ในแผนดิน พระมหาธรรมราชา

คือในเวลานั้นไทยกําลังบอบช้ํา เนื่องจากแพสงครามพมามาใหม ๆ พระยาละแวกกษัตริยเขมรเห็นเปนโอกาสอันงาม ที่จะไดผูคนพลเมืองของประเทศไทยไปเพิ่มพูนบารมีโดยไมตองลงทุนดวยเลือดเนื้อมากนัก จึงยกกองทัพมาทั้งทางบกและทางน้ํา เขากวาดตอนชาวเมืองจันทบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และนาเริ่ง (นครนายก) ไปเปนอันมาก 16 ดังปรากฏอยูในประชุมพงศาวดาร เลม ๓๘(ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๔ ) วา “รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช….ศักราช ๙๑๙ ปมะเส็งนพศก (พ.ศ. ๒๑๐๐) เดือนยี่ (ใน พ.ศ. ๒๑๐๐ นี้ เปนบันทึกพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) สวนฉบับหลวงประเสริฐวา ศักราช ๙๓๒ มะเมียศก ก็เปน พ.ศ. ๒๑๑๓) พระยาละแวกยกชางมาร้ีพลมาโดยทางนครนายก และไพรพลพระยาละแวกมาครั้งนั้นประมาณ ๓,๐๐๐….และพระยาละแวกก็ยกทัพกลับคืนไปกวาดเอาคนในบานนาและนครนายกไปยังเมืองละแวกเปนอันมาก ในขณะนั้น พระยาละแวกแตงพลมาลาดตระเวน ทั้งทางบกและทางเรือเปนหลายครั้ง และเสียชาวจันทบูรณ ชาวระยอง ชาวฉะเชิงเทรา ชาวนาเริ่งไปแกขาศึกละแวกเปนอันมาก…” 17

๑.๒ ในแผนดนิสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองฉะเชิงเทราไดปรากฏชื่อในพงศาวดารอีกครั้งหนึ่ง ในคราวที่สมเด็จพระนเรศวร

มหาราชทรงเตรียมการที่จะทรงยกทัพไปตีเมืองเขมรเมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๖ (ฉบับหลวงประเสริฐวา พ.ศ. ๒๑๓๖) เนื่องจากการทัพคร้ังนี้เปนสงครามใหญ มีกําลังและยุทโธปกรณมาก จึงทรงเตรียมการสงกําลังบํารุงลวงหนาอยางรอบคอบ ในการนี้ทรงกําหนดใหพระยานครนายก (เจาเมืองนครนายก) เปนแมกองรวมกับพระยาปราจีน (เจาเมืองปราจีนบุรี) พระวิเศษ (เจาเมืองฉะเชิงเทรา) และพระสระบุรี (เจาเมอืงสระบุรี) เกณฑคนไปสี่เมืองจํานวน ๑๐,๐๐๐ คน ตั้งขึ้นเปนกองเสบียงทางบก ยกไปตั้งคายปลูกยุงฉางรวบรวมเสบียงอาหารเตรียมไวที่ตําบลทํานบ (คงจะอยูใกล ๆ ชายแดนเขมร) เพื่อคอยจายเสบียงใหแกกองทัพหลวง ที่จะผานออกไปทางตําบลนั้นเปนการลวงหนา 18

ถึง ณ วันอังคาร เดือนอาย ขึ้น ๕ ค่ํา เพลารุงแลว ๒ นาฬิกา ๕ บาท สมเด็จพระพุทธเจาอยูหัวทั้งสองพระองค ก็ทรงเครื่องอาภรณวิจิตรอลังการประดับ สําหรับพิชัยยุทธ เสร็จครั้นไดเพชรฤกษมงคลอันประเสริฐ พระโหราลั่นฆองชัยพอพราหมณถวายเสียงสังข สมเด็จ

16 ต. อมาตยกุล, นําเท่ียวฉะเชิงเทรา วารสารศิลปากรปท่ี ๖ เลมท่ี ๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๖. 17 พงศาวดารกรุงศรอียุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ประชุมพงศาวดาร เลม ๓๘ โรงพิมพคุรุสภา ลาดพราว ๒๕๑๒, หนา ๑๕๑–๑๕๔. 18 วาท่ี พล.ต. ดําเนิร เลขะกุล, ฉะเชิงเทราเมืองเกาหรือไม อนุสาร อ.ส.ท. เดือนตุลาคม ๒๕๑๓ ฉบับแนะนําฉะเชิงเทรา, หนา ๗๐.

Page 17: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

พระนเรศวรบรมเชษฐาธิราชเจา ทรงพระยาไชยานุภาพเปนพระคชาธาร สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงพระยาปราบไตรจักรเปนพระคชาธารเขาโขลนทวาร พระสังฆราชนพรัตน ประน้ําพระพุทธมนต พระยานนทตัดไมขมนามโดยศาสตร พรอมดวยเสนามาตยนิกรทวยหาญแหแหนโดยกระบวนพยุหยาตราเปนขนัดแซงเอกฉัตรชุมซายขวาวาลวิชนีบังพระสุริยาลังการโกลาหล ศัพทสําเนียงแตรสังขฆองกลองอึงอลวนเสร็จ เสด็จกรีฑาพลเดินโดยสถลมมารคทางดานพระจาฤก ประทับแรมไปตามระยะก็ถึงตําบลคายทํานบ

ฝายพระยานครนายกพระยาปราจีน พระวิเศษเมืองฉะเชิงเทรา พระสระบุรี ผูอยูคายรักษาฉางขาวจึงมาเฝาทูลขอราชการและจํานวนขาวเสร็จส้ินทุกประการ จึงดํารัสใหพระสระบุรีคุมพล ๑,๐๐๐ อยูรักษาคายฉางขาว แลวใหแตงกองทัพออกไปลาดตระเวณฟงราชการใหถึงทัพหลวงแตพระยาปราจีน พระวิเศษ กับ พล ๙,๐๐๐ ยกไปเขากระบวนดวยทัพหลวงนั้น …” 19

เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงตีและยึดเมืองบริบูรณไดแลวจึงโปรดเลื่อนใหพระวิเศษเจาเมืองฉะเชิงเทรา ที่ปฏิบัติราชการเปนผลดียิ่งมาตลอด ขึ้นเปน “พระยาวิเศษ” และใหคุมกองกําลังเสบียงที่เหลือนั้น อยูรักษาเมืองบริบูรณ เพื่อคอยรวบรวมเสบียงสงไปสนับสนุนกองทัพที่จะเขาตีเมืองละแวก อันเปนที่หมายขั้นสุดทายตอไป (ความปรากฏอยูในหนา ๒๘๙–๒๙๐) หนังสือประชุมพงศาวดารเลม ๓๘

๑.๓ ในแผนดนิสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศนอมรินทร (พระเจาเอกทัต) “จาก พ.ศ. ๒๑๓๖ มาถึง พ.ศ. ๒๓๑๐ ช่ือฉะเชิงเทราปรากฏในพงศาวดารอีกครั้งหนึ่งเมื่อ

กรมหมื่นเทพพิพิธ (พระองคเจาแขก) ที่พระเจาเอกทัตโปรดฯ ใหคุมตัวไปเนรเทศไวที่เมืองจันทบุรีตั้งแต พ.ศ.2307 นั้น เห็นกรุงศรีอยุธยาที่ถูกกองทัพพมาลอมมาตั้งแต พ.ศ.2309 กําลังจะเพล่ียงพล้ํา จึงชักชวนผูคนชาวเมืองจันทบุรีมารวบรวมขึ้นเปนกองกําลังเพื่อที่จะยกไปตอสูพมา โดยเคลื่อนกําลังผานเมืองระยอง เมืองบางละมุง เมืองชลบุรี และเมืองฉะเชิงเทรา เขาไปตั้งมั่นอยูที่เมืองปราจีนบุรี แตเนื่องจากเปนการรวบรวมคนหลายถิ่นและขวัญไมดี กองทัพของกรมหมื่นเทพพิพิธจึงออนแอ เมื่อกองกําลังรักษาดานกําลัง ๒,๐๐๐ ที่ปากแมน้ําโยทะกาถูกพมาตีแตก ผูบังคับกองตายในที่รบ กองทัพนี้ก็เสียขวัญ กรมหมื่นเทพพิพิธกับพระยารัตนาธิเบศรแบงสมัครพรรคพวกหนี ผานชองบุพราหมณไปเมืองนครราชสีมา ปลอยใหชาวเมืองตาง ๆ รวมทั้งชาวฉะเชิงเทราที่อุตสาหมารวมรบดวย ตองผิดหวังพากันกลับบานเมืองของตนอยางนาเสียดาย…”

“….ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ กอนกรุงศรีอยุธยาจะเสียแกพมา พระยากําแพงเพชร (หรือสมเด็จพระเจาตากสินในเวลาตอมา) เห็นวาจะเสียกรุงแนแลว จึงคุมกําลังทหารประมาณ ๑,๐๐๐ หนีจากวัดพิชัยนอกกรุงศรีอยุธยา ตรงไปยังเมืองนครนายก ผานบานกบและเมืองปราจีนบุรี แลววกลงใต

19 พงศาวดารกรุงศรอียุธยา ฉบับพันจันทุมาศ (เจิม), ประชุมพงศาวดาร เลม ๓๘ โรงพิมพคุรสุภา ลาดพราว ๒๕๑๒, หนา ๒๗๗–๒๗๘.

Page 18: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

มาผานเมืองฉะเชิงเทรา วกไปยังเมืองชลบุรี แลวเลาะชายทะเลผานเมืองระยองเพื่อจะไปรวมกําลังที่เมืองจันทบุรี เหตุที่เคล่ือนกองกําลังวกเชนนี้ ก็คงจะเปนการเลี่ยงตําบลที่มีกองกําลังพมา แตถึงกระนั้นก็ไดรบกับกําลังพมาหลายครั้ง รวมทั้งกองทหารพมาที่ตั้งอยูปากน้ําเจาโลเมืองฉะเชิงเทราดวย แตดวยกําลังใจและความกลาหาญทําใหการรบมีชัยชนะพมา…” 20 ดังจะขอยกความในตอนรบพมาที่ปากน้ําโจโลมาเพื่อเสนอคือ “…ณ วัน………ค่ําใหยกพลทหารเขาไปในปาหยุดประทับที่สํานักหนองน้ํา หุงอาหารเสร็จแลว….ครั้นเพลาบายประมาณ ๔ โมง พมาไลแทงฟนคนซึ่งเมื่อยลาอยูนั้นวิ่งหนีมาตามทาง คร้ันไดทอดพระเนตรเห็น จึงใหนายบุญมีขึ้นมาใชสวนทางลงไปประมาณ ๒๐๐ เสน พบกองทัพพมายกขึ้นมาแตปากน้ําโจโลทั้งทัพบก ทัพเรือ มาขึ้นที่ทาขาม คร้ันเห็นธงเทียวเสียงฆองกลองรูวาเปนพมามั่นคงแลว ก็กลับมากราบทูลตามไดเห็นทุกประการ จึงรับสั่งใหพลทหารตั้งปนตับใหญนอยดาซุมอยู ๒ ขางทาง แลวใหคนหาบเสบียงครัวไปกอน แตพระองคกับทหารประมาณ ๑๐๐ เศษคอยรับพมา ครั้นเพลาบายโมงเศษยกกองทัพมาถึงจึงเสด็จนําหนาพลทหารดวยหลวงชํานาญไพรสนฑ พระเชียงเงิน นายบุญมี นายทองดี นายแสงทหาร ยกออกมารับลอพมานอกปนใหญนอยซ่ึงตั้งคาไวประมาณ ๖-๗ เสน พมายกทัพเรียงเร่ือยมาจําเพาะในพงแขม คร้ันเขามาใกลไดทีแลวก็ยิงปนนอยใหญพรอมกัน ถูกพมาลมตายเปนอันมากพมาที่ยังเหลืออยูนั้นอุดหนุนกันเขามาอีก จึงลอใหไลเขามายิงปนใหญนอยถูกพมาลมตายทับกันเปนอันมาก พมาหนุนเขามาอีก วางปนตับคํารบ ๓ คร้ัง พมาแตกกระจัดกระจายไป จึงรับส่ังใหทหารโหรองตีฆองกลองสําทับ พมาแตกจะคุมกันเขามิได…” 21

การรบมีชัยชนะพมาทกุครั้ง จนสามารถรวบรวมกําลังผูคนจนเปนกองทัพใหญและพระยากําแพงเพชรไดประกาศตนเปน “เจาตาก” และทรงเปน “สมเด็จพระเจาตากสิน” ในเวลาตอมา

20 วาท่ี พล.ต.ดําเนิร เลขะกุล, ฉะเชิงเทราเมืองเกาหรือไม อนุสาร อ.ส.ท. เดือนตุลาคม ๒๕๑๓ ฉบับแนะนําฉะเชิงเทรา, หนา ๗๐–๗๑. 21 พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี และจดหมายเหตุรวยวันทัพสมัยกรุงธนบรุี,ประชุมพงศาวดารเลมท่ี ๔๐ โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว ๒๕๑๒, หนา ๖-๗.

Page 19: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

๒. ประวัติศาสตรเมืองฉะเชิงเทราในสมัยกรุงรตันโกสินทร ๒.๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจฬุาโลก ไดปรากฏชื่อเมืองฉะเชิงเทราขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยทรงโปรดเกลาฯ ใหหัวเมืองตาง ๆ ใหขึ้นกรมพระกลาโหม กรมมหาดไทย และกรมทาเสียใหมเพื่อสะดวกแกการปกครอง เมืองฉะเชิงเทรานั้นเดิมทีขึ้นอยูกับกรมพระกลาโหม ตอมาไดมาขึ้นกับกรมมหาดไทย ในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหมนี้ ทรงกําหนดใหขึ้นอยูกับกรมมหาดไทยตามเดิม

๒.๒ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๓ เมื่อเสร็จจากการปราบกบฎเวียงจนัทนแลว ไดเกิดปราบกบฎเขมรอีกซึ่งเขมรไดชักจูงเอาญวนเขามาพวัพันดวย จนถึงกับเกิดรบขึ้นกับญวน แตทรงมีแมทัพที่เขมแข็งอยูหลายทาน จึงสามารถปราบปรามและยับยัง้ขาศึกไวไดตัง้แตนอกพระราชอาณาเขต แตเพื่อความไมประมาทจึงทรงโปรดเกลาฯใหสรางและเสริมปอมขึ้นตามปากแมน้ําสําคัญ ๆ ตาง ๆ ขึ้นหลายแหง เชนที่เมอืงสมุทรปราการ สมุทรสงคราม จันทบุรี และเมืองฉะเชิงเทรา โดยโปรดเกลาฯ ใหกรมหลวง รักษรณเรศร เปนแมกองสรางปอมขึ้นปอมหนึ่งที่เมืองฉะเชิงเทราในป พ.ศ. ๒๓๗๗ แตไมปรากฏช่ือปอมอะไร และไมมีประวตัิการใชปอมนี้สูรบกับขาศึก กระทั่งป พ.ศ. ๒๓๙๑ เกดิเหตกุารณของจีนตั้วเหี่ย (อั้งยี)่ ขึ้นพวกจีนตัว้เหีย่ (อ้ังยี)่ คุมพวกเขาปลนโรงหีบออย และฆาพระยาวิเศษฤาชัยเจาเมืองตายในขณะคุมกาํลังเขาปราบ แลวยดึปอมเมอืงฉะเชิงเทราไว แตก็ถูกเจาพระยาพระคลังรวมกับเจาพระยาบดินทรเดชายกกําลังทหารปราบปรามลงไดราบคาบในเวลาอันรวดเร็ว ๒.๓ ในรัชสมยัพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหวัรัชกาลที่ ๔ ในรัชกาลนี้ไดทรงเปลี่ยนแปลงชื่อตําแหนงปลัดเมืองฉะเชิงเทรา จากเดมิที่วา “พระยาวิเชียรไชยชาญยุทธ” เปน “พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ” และทรงโปรดเกลาฯ ตั้งตําแหนงใหมขึ้น ๒ ตําแหนง คือ “พระกําภุชภกัดี (ปลัดเขมร) และ “หลวงวิสุทธิจีนชาติ” (ปลัดจีน) เพื่อใหดแูลชาวเขมรและชาวจีนที่มีอยูมากในเมืองนี้ สวนนายอําเภอนั้นพระราชทานบรรดาศักดิ์วา “หมื่นวิจารณกฤตจนี” และในรัชกาลนี้ไดโปรดเกลาฯ ใหยกบานทาซานขึ้นเปน “เมืองพนมสารคาม” ฝากขึ้นกับเมืองฉะเชิงเทราอีกทีหนึ่ง จึงไดพระราชทานบรรดาศักดิ์เจาเมืองพนมสารคามวา “พระพนมสารคามนรินทร” ซ่ึงในปจจุบนัเมืองพนมสารคามมีฐานะเปนอําเภอ ๆ หนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทราเทานั้น

๒.๔ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลเจาเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๕ ในรัชกาลนี้ไดโปรดเกลาฯ ใหจดัรวมเมืองตาง ๆ ขึ้นเปนมณฑล โดยยดึเอาลําแมน้ําอันเปนสายคมนาคมสําคัญ (ของสมัยนั้น) เปนหลักในการตั้งมณฑล มณฑลรุนแรกที่จะทรงตั้ง ใน

Page 20: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

พ.ศ. ๒๔๓๕ นั้นมีถึง ๔ มณฑล คือ มณฑลกรุงเกา มณฑลนครสวรรค มณฑลพิษณุโลก และมณฑลปราจีน แตก็ตั้งไดเพยีง ๒ มณฑล คือ มณฑลกรุงเกาและมณฑลปราจีนเพราะบังเอิญไทยไดเกดิเรื่องพพิาทขึ้นกับฝรั่งเศสในอินโดจีนเสียกอน สําหรับมณฑลปราจีน ไดถือเอาลําน้ําบางปะกงเปนหลักในการเลือกเมืองมารวมกัน อันไดแกเมืองปราจีนบุรี เมืองพนมสารคาม และเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งขึ้นเปนมณฑลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ และตั้ งที่ ว าการมณฑล ณ เมืองปราจีนบุ รี ตอมา เมื่ อโอนหัว เมืองในกรมท ามาขึ้นกระทรวงมหาดไทย จึงยายที่วาการมณฑลมาตั้งที่เมืองฉะเชิงเทรา ตั้งแตวันที่ ๘ มกราคม ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) โดยไดทรงพระราชปรารภวา “เมืองฉะเชิงเทราเปนเมืองที่มีราชการมากกวาเมืองอ่ืน ๆ ทั้งจะมีทางรถไฟผานไปและเปนเมืองอยูในทามกลางในมณฑล สมควรที่จะยายที่วาการมณฑลมาตั้งที่เมืองฉะเชิงเทรา จะเปนการสะดวกแกการปกครองและบังคับบัญชาการ” และเมื่อขยายอาณาเขตของมณฑลลงไปทางชายทะเลไดรวมเอาเมืองเพิ่มขึ้นอีก ๓ เมือง คือ เมืองพนัสนิคม เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุงรวมเปน ๗ เมืองดวยกันและยังคงเรียกวา มณฑลปราจนีอยูอยางเดิม ภายหลังไดยุบเมืองพนัสนิคมกับเมืองบางละมุงลงเปนอําเภอ ( เนื่องจากมีฐานะไมถึงขนาดที่จะเปนอําเภอได ) ขึ้นอยูกับเมืองชลบุรี ครั้น พ.ศ. ๒๔๗๔ ประเทศไทยตองประสบภาวะตกต่ําของเศรษฐกิจอยางแรงมณฑลปราจีนจึงไดรับโอนจังหวัด ๓ จังหวัดของมณฑลจันทบุรี ที่ถูกยุบเลิกไปเขามาไวดวย คือจังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดระยอง เดิมซึ่งมีอยูแลว (คือปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และนครนายก) รวมเปน ๗ จังหวัด ครั้นประเทศไทยไดเปลี่ยนระบอบการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ แลว มณฑลปราจีนบุรีก็ตองเลิกลมไปตาม พ.ร.บ. วาดวยระเบียบราชการบริหารแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๔๗๖ อนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นี้ ปรากฏวาไดเสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทราถึง ๓ คร้ังดวยกัน คือ ครั้งที่ ๑ ในราว พ.ศ. ๒๔๒๐ ไดเคยเสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทราเปนครั้งแรกแตสอบหลักฐานยังไมพบวาเสด็จไปเมื่อ วัน เดือน ป ใด เสด็จไปในเรื่องอะไรและทรงตรัสอะไรไว ณ ที่ใดบาง คงไดแตเคาความจากพระราชดํารัสตอบประชาชนมณฑลปราจีน เมื่อคราวเสด็จเปดทางรถไฟสาย กรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ร.ศ. ๑๒๖ ( พ.ศ. ๒๔๕๐) ที่วา “…เราหาโอกาสที่จะมาเยี่ยมในมณฑลนี้ไมไดบอย ๆ เชนมณฑลอื่น เหตุขัดของดวยทางไปมาไมใครสะดวกเหมาะแกฤดูกาล แตถึงเวลาที่เราไดมาเที่ยวในมณฑลนี้ ลวงมาชานานถึง ๓๐ ปเศษ แตความบริบูรณของภูมิประเทศที่เราไดเห็นนั้น ติดตาติดใจอยูเสมอมิไดลืมเลย…” คร้ังที่ ๒ เสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทราเพื่อ เปดทางสายรถไฟสาย กรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ร.ศ. ๑๒๖ (๒๔๕๐) การเสด็จประพาสในครั้งที่ ๒ นี้ ไดเสด็จมาประทับคืนแรมคืน ณ เรือนเทศาภิบาลมณฑลปราจีน (จวนผูวาราชการจังหวัดฉะเชิงเทราในปจจุบัน) และไดพระราชทานพระบรมฉายาลักษณและพระราชหัตเลขาไววา “จุฬาลงกรณ ปร. ใหไวสําหรับ

Page 21: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

เรือนเทศาภิบาลมณฑลปราจิณ ( เมืองฉะเชิงเทรา ) เปนที่ระลึกในการที่ไดมาอยู ณ ที่นี้ ไดความสขุสบายมาก ตั้งแตวันที่ ๒๙ มกราคม ร.ศ. ๑๒๗” ครั้งที่ ๓ เสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทรา โดยผานคลองรังสิตไปนครนายกและเสด็จเขาเมืองปราจีนกอน แลวเสด็จลองเรือจากเมืองปราจีนโดยทางเรือบางขนาก เขาปากน้ําเจาโลมาเมืองฉะเชิงเทรา เลยไปคลองทาถ่ัว กลับมาแวะวัดโสธร ลองเรือไปบางประกงออกปากอาวบางประกง กลับกรุงเทพมหานคร

๒.๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกฎุเกลาเจาอยูหวั รัชกาลที่ ๖ ปรากฏหลักฐานในหนังสือ เลาใหลูกฟง ของพระยาสัจจาภิรมยอุดมภักดี โดยเลาวาใน

ราวเดือนมกราคม ร.ศ. ๑๓๑ ( พ.ศ. ๒๔๕๕ ) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหวั รัชกาลที่ ๖ ไดเสด็จพระราชทานพระแสงราชศาสตราประจําเมืองฉะเชิงเทรา แดเสด็จในกรมเทศา ณ ที่วาการมณฑลปราจีน เมืองฉะเชิงเทรา เสร็จพิธีแลวก็เลยเสด็จไปเมืองชลบุรี ในการเสด็จมาครั้งนี้ สมเด็จกรมพระยาดาํรงราชานุภาพในตําแหนงเสนาบดกีระทรวงมหาดไทย ไดรวมเด็จไปดวย ไมปรากฏวามีพระราชดํารัสหรือพระราชหัตถเลขาไว ณ ที่ใด

๒.๖ ในรัชสมยัพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ไดเสด็จเยีย่มเยียนทกุขสุขราษฎรจังหวัดฉะเชิงเทรา เมือ่วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๔๘๙

พรอมดวยสมเด็จพระอนุชา (พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช) ในวันทีเ่สด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทรานั้น ไดเสด็จออกประทับเปนประธานคณะผูพิพากษา ณ ที่วาการศาลหลังเกา ในการพิพากษาคดีอาญาระหวางพนักงานอยัการจังหวดัฉะเชิงเทรา โจทก กับนางยอย จําเลย เร่ืองลักพาพวงกุญแจนาคของพลตํารวจสุเวช เชื่อภักดี คดีนั้นจําเลยสารภาพ จึงพพิากษาลงโทษมีกําหนด ๔ เดอืน แตเนื่องจากจําเลยสารภาพผิดแตโดยด ี มีประโยชนแกการพจิารณาจึงไดลดโทษกึ่งหนึ่งและเนือ่งจากจาํเลยไมเคยกระทําความผิดมากอน ประกอบทั้งจําเลยเปนหญิงที่ไรที่พึง่ ตองเลี้ยงดูบุตรเล็ก ๆ ถึง ๒ คน ศาลจึงรอการใหลงอาญาไวกอน

หลังจากเสดจ็ประพาสเมืองฉะเชิงเทรา ในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ตอมาในวนัที่ ๙ มิถุนายน ในปเดียวกัน ( พ.ศ. ๒๔๘๙ ) พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวรัชกาลที่ ๘ ก็ทรงเสด็จสวรรคต ในชวงระยะหลังเสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทราเพียง ๑๖ วนั. 22

22 จากวารสาร อ.ส.ท. ฉบับแนะนําฉะเชิงเทรา, หนา ๗๑–๗๔. และ หนังสืออนสุรณนายกิจจา วัฒนสินธุ, หนา ๑๘๔–๑๙๐.

Page 22: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

สิ่งที่นารูนาสนใจในอําเภอเมืองฉะเชิงเทรา

๑. สถานที่นาสนใจ ( ๑ ) กําแพงเมือง ( ๒ ) วัดโสธร ( ๓ ) ศาลากลางจังหวัดหลังเกา ( ๔) วัดพยัคฆอินทาราม ( วัดเจดีย ) ( ๕ ) วัดสัมปทวน ( นอก ) ( ๖ ) วัดสายชล ณ รังษี ( ๗ ) วัดจนีประชาสโมสร ( เลงฮกยี่ ) ( ๘ ) วัดอุภยัภาติการาม ( ซําปอกง ) ( ๙ ) วัดเทพนิมิตร ( ๑๐ ) ศาลจังหวัดหลังเกา ( ๑๑ ) วัดปตลุาธิราชรังสฤษฏิ์ ( วัดเมือง ) ( ๑๒ ) เรือนแพและชุมชนริมฝงแมน้ํา ( ๑๓ ) การสรางทางรถไฟสายตะวันออก

๒. เหตกุารณนาสนใจ

- กบฎจนีตั้วเหี่ย ( อ้ังยี่ ) ๓. บุคคลสําคัญ

- พระยาศรีสุนทรโวหาร ( นอย อาจารยางกูร )

Page 23: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

สิ่งที่นารูและนาสนใจในอาํเภอเมืองฉะเชิงเทรา

๑. สถานที่นาสนใจ สถานที่ที่นาสนใจในอําเภอเมืองฯนี้ มีทัง้โบราณสถานที่ไดรับการขึ้นบัญชีไวในประกาศราชกิจจานุเบกษา ของกรมศิลปากร และสถานที่อ่ืน ๆ โดยทัว่ไป ซ่ึงจะขอแยกเสนอเปนลําดบัดังนี้ ๑. กําแพงเมอืง

ตั้งอยูที่ตําบลหนาเมือง อําเภอเมืองฉะชิงเทรา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เลมที่ ๗๑ ตอน ๓ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๗ ซ่ึงมีรายละเอียดเกี่ยวกับกําแพงเมือง ดังนี้ คอื

เปนกําแพงกอดวยอิฐถือปูน กอสรางเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๗ รวมเปนเนื้อท่ีทั้งสิ้น ๑๙ ไร ๒ งานโดยดานเหนือยาว ๓ เสน ดานใตยาว ๓ เสน ทางทิศตะวันออกยาว ๖ เสน ๑๐ วา และดานทิศตะวันตกยาว ๖ เสน ๑๐ วา 23 สวนสาเหตุในการสรางกําแพงนี้ขึ้นมา ก็เนื่องจากสมัยกรุงเทพฯ นี้ ราชธานีไดยายลงมาอยูใกลปากแมน้ํามากกวาครั้งสมัยอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกทรงมีพระราชดําริเห็นวา กรุงเทพมหานครจะถูกขาศึกยกมาย่ํายีทางทะเลไดงายอีกทางหนึ่ง จึงจําเปนจะตองสรางเมืองและปอมขึ้นรักษาปากแมน้ําตาง ๆ ในกนอาวไทยที่เปดกวางอยูใหปลอดภัย แตโครงการนี้สําเร็จลงในรัชกาลนั้นแตเพียงสวนหนึ่ง คือ ไดสรางปอมวิทยาคมขึ้นบนฝงตะวันออกของแมน้ําเจาพระยาไดสําเร็จ ในรัชกาลที่ ๒ โปรดเกลาฯ ใหสรางเมืองนครเขื่อนขันธ ( ตอมาเรียก เมืองพระประแดง ) ขึ้นบนฝงตะวันตก เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๗ พรอมกันนั้นไดสรางปอมเพิ่มขึ้นอีก ๕ ปอม คือ ปอมแผลงไฟฟา ปอมมหาสังหาร ปอมศัตรูพินาศ ปอมจักรกรด และปอมพระจันทรพระอาทิตย ใน พ.ศ.๒๓๖๒ ไดขาววา ญวนขุดคลองลัดจากทะเลสาบมาออกอาวไทย เปนสิ่งบอกเหตุวา อะไรจะเกิดขึ้นขางหนา จึงโปรดเกลาฯ ใหกรมหมื่นเจษฎาบดินทร ( คือสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว ในรัชกาลตอมา ) กับเจาพระยาพระคลัง (คือสมเด็จเจาพระยาบรมมหาประยูรวงศ ในเวลาตอมา) เปนแมกองปรับปรุงแกไขใหเมืองสมุทรปราการเปนเมืองหนาดานของกรุงเทพฯ มีปอมปราการแข็งแรงสามารถยับยั้งขาศึกได แมกองทั้งสองจึงสรางปอมขึ้นบนฝงตะวันออกของแมน้ํา ในบริเวณเมืองอีก ๔ ปอม คือ ปอมประโคนชัย ปอมนารายณปราบศึก ปอมปราการ และปอมกายสิทธิ์ สรางไวบนฝงตะวันออกอีกปอมหนึ่ง คือ ปอมนาคราช และบนเกาะกลางปอมแมน้ําหนึ่ง ช่ือปอมผีเส้ือสมุทร พรอมกับคลองขุดลัดตั้งแตเมืองนครเขื่อนขันธมายังกรุงเทพฯอีกดวย

23 ทะเบียนโบราณวัตถุสถานทั่วราชอาณาจักร กรมศิลปากรจัดพิมพ พ.ศ.๒๕๑๖ หนา ๓๖๔

Page 24: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อเสร็จจากการปราบกบฎเวียงจันทนแลว ไดเกิดปราบขบถเขมรติดตามมากระชั้นชิดขึ้นมาอีก คราวนี้ไดมาชักจูงเอาญวนเขามาพัวพันดวย จนถึงกับเกิดรบขึ้นกับญวน แตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว ทรงมีแมทัพที่เขมแข็งอยูหลายทาน มีพระยาบดินทรเดชา เปนตน จึงสามารถปราบปรามและยับยั้งขาศึกไวไดตั้งแตนอกพระราชอาณาเขต แตเพื่อความไมประมาทในลางบอกเหตุ ไดโปรดเกลาฯ ใหสรางและเสริมปอมขึ้น ตามปากแมน้ําสําคัญ ๆ ตาง ๆ ในอาวไทยขึ้นหลายแหง คือ

พ.ศ. ๒๓๗๑ โปรดเกลาฯ ใหพระยาพระคลังสรางปอมปกกาตอเติมปอมประโคนชัยข้ึนแหงหนึ่ง และสรางปอมใหมขึ้นที่ตําบลบางจะเกรงเหนือเมืองสมุทรปราการอีกปอมหนึ่ง โปรดเกลาฯ ใหพระยาโชฎึก (ทองจีน) สรางปอมขึ้นที่ปากแมน้ําทาจีน เมืองสมุทรสาครอีกปอมหนึ่งช่ือ ปอมวิเชียรโชฎึก

พ.ศ. ๒๓๗๔ โปรดเกลาฯใหกรมอิศเรศรังสรรค (คือพระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหวั ในเวลาตอมา) สรางปอมรักษาปากแมน้ํากลอง ที่เมืองสมุทรสงครามปอมหนึ่งชื่อ ปอมพิฆาตขาศึก

พ.ศ. ๒๓๗๗ โปรดเกลาฯ ใหกรมขุนเดชอดิศร (ตอมาทรงเปนกรมสมเด็จพระเดชาดิศร) กับกรมหมื่นเสพยสุนทร และกรมหมื่นณรงคหริรักษ สรางปอมขึ้นอีกปอมหนึ่งที่บางปลากดฝงตะวันตกของแมน้ําเจาพระยา เหนือเมืองสมุทรปราการ ช่ือปอมคงกะพัน พรอมกันนั้นโปรดเกลาฯใหเจาพระยาคลัง สรางเมืองปอมขึ้นที่ตําบลเนินวง เมืองจันทบุรี ชาวบานเรียกวา “เมืองใหม” และใหเจาหมื่นราชามาตย (ตอมาเปนเจาพระยาทิพากรวงศ) ผูเปนบุตร สรางปอมขึ้นที่ปากแมน้ําจันทบุรีสองปอม ปอมบนฝงตะวันออก เรียกวา ปอมไพรีพินาศ และที่เชิงเขาแหลมสิงหฝงตะวนัตก เรียกวา ปอมพิฆาตปจจามิตร

และในปเดียวกันนี้ ไดโปรดเกลาฯ ใหกรมหลวงรักษรณเรศร เปนแมกลองสรางปอมขึ้นที่เมืองฉะเชิงเทราอีกปอมหนึ่ง แตไมไดเรียกชื่อวาอยางไร…24 และตั้งแตสรางปอมนี้มาก็ไมมีโอกาสใชในการตอสูรบปองกันขาศึกเลยสักครั้ง แตก็มีโอกาสรวมอยูในการปราบปรามอั้งยี่เมืองฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๑ ดวย (อานเหตุการณที่นาสนใจในอําเภอเมืองฉะเชิงเทรา ตอนตอจากนี้)

24 วาท่ี พล.ต.ดําเนิร เลขะกุล, ฉะเชิงเทราเมืองเกาหรือไม อนุสารอ.ส.ท. ฉบับแนะนําฉะเชิงเทรา ประจําเดือนตุลาคม ๒๕๑๓ , หนา ๗๑–๗๒.

Page 25: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

๒. วัดโสธร ตั้งอยูที่ตําบลหนาเมือง อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเลมที่ ๗๑ ตอน ๓ วันที่ ๕ มกราคม ๒๔๙๗ มีขอบเขตดานเหนือยาว ๖ เสน ๖วา ดานใตยาว ๕ เสน ๑๐ วา ดานทิศตะวันออกยาว ๔ เสน ๓ วา ดานทิศตะวันตกยาว ๓ เสน ๑ วา รวมเนื้อท่ีประมาณ ๒๑ ไร ๔๒ ตารางวา 25 มีรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติเร่ืองราวและสวนเกี่ยวของคือ

ประวัติวัดโสธร วัดนี้อยูหางจากศาลาจังหวัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใตระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร อยูริมแมน้ําบางปะกงและติดกับคายศรีโสธร ซ่ึงเปนที่ตั้งกองพันทหารชางที่ ๒ (ช.พัน ๒ ) ตามหนังสือประวัติพระพุทธโสธร รวบรวมโดยพระมหากอ เขมทสฺสี ขณะเมื่อยังเปนเจาคุณเขมารามมุณี ไดกลาววา เดิมวัดโสธรนี้มีช่ือวา “วัดหงส” เพราะที่วัดมีเสาใหญมีรูปหงสเปนเครื่องหมายติดอยูบนยอดเสาวัดนี้สรางในสมัยใดไมปรากฎ แตพอจะสันนิษฐานไดวาเปนวัดเกาวัดหนึ่ง สรางขึ้นปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี หรือตนสมัยกรุงธนบุรีราวป พ.ศ.๒๐๓๗ มูลเหตุที่วัดนี้ไดช่ือวา “โสทร หรือ โสธร” มีผูเฒาเลาสืบกันมาวา หงสซ่ึงอยูบนยอดเสาใหญถูกลมพายุพัดลงมา ครั้นหงสตกลงมาแลวก็เหลือแตเสาใหญ จึงมีบุคคลเอาธงขึ้นแขวนแทนเลยเรียกชื่อวัดนี้วา “วัดเสาธง” ตอมาเกิดลมพายุกลาพัดเสาธงหักโคนลงมาเปนสองทอน ประชาชนก็ถือเอาเครื่องหมายเสาธงหักเปนทอนนั้นตั้งชื่อวัดวา “วัดเสาทอน” 26 จวบจนถึงสมัยรัชกาลที่พระพ่ีนองชาย ๓ องค ลอยลองน้ํามาจากเมืองเหนือและในจํานวน พระ ๓ องคนั้น ไดอัญเชิญประดิษฐานไวที่วัดนี้หนึ่งองค คือ “หลวงพอโสธร” แตปางหลังกอนหลวงพอโสธร จะมีช่ืออยางไรก็ไมมีใครทราบ เมื่อไดพระรูปหลอมาไวบูชาจากจํานวน ๓ องคนั้นแลว ก็มีผูรูออกความเห็นวา วัดนี้มีช่ือเรียกไมแนนอน จึงพรอมใจกันเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหมวา แลว “วัดโสทร” อันหมายความวา วัดพระ ๓ องคพี่นองรวมอุทรเดียวกัน เมื่อเปลี่ยนชื่อวัดวา “โสธร” แลว หมูบานและคลองที่ขึ้นกับวัดก็ไดนามตามวัดไปดวย เดิมทีเดียววัดนี้ใชตัวหนังสือเขียนวา “โสทร” ไมไดเขียนวา “โสธร” ดังปจจุบันนี้ แตเนื่องดวยพระที่ไดมาคือ หลวงพอโสธร นั้น มีอานุภาพความศักดิ์เปนที่ปรากฏและรูปทรงสวยงามมากจึงไดเขียนและใชช่ือวัดวา “วัด โสธรฯ” ซ่ึงมีความหมายวา วัดพระศักดิ์สิทธิ์มาจนทกุวันนี้ คําวา โสธร นี้มีผูทรงคุณวุฒิใหความเหน็วา เปนนามศักดิ์สิทธิ์ (โส) เปนอักขระสําเร็จรูปปองกันสรรพทุกขโศกโรคภัยทั้งปวง (ธร เปนพยัญชนะอํานาจมีตบะเดชานุภาพ (ร) เปนอักขรมหานิยมเปนที่ช่ืนชมของเทวดาและมนุษย 27

วัดโสธร เปนวัดราษฎรมาตั้งแตเดิม เพิ่งไดรับพระราชทานยกขึ้นเปนพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีนามวา “วัดโสธรวรารามวรวิหาร” เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๐๑ ภายใน

25 ทะเบียนโบราณวัตถุสถานทั่วราชอาณาจักร กรมศิลปากรจัดพิมพ พ.ศ.๒๕๑๖ หนา ๓๖๕ 26 ประวัติเมืองฉะเชิงเทรา “โดยกิจจา วัฒนสิทธุ จากหนังสือกิจจา วัฒนสิทธุ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๓ โรงพิมพอักษรไทย กรุงเทพมหานคร, หนา ๑๖๗ - ๑๖๘ 27 อนุสรณงานสมโภชหลวงพอ พ.ศ.๒๕๑๘ โรงพิมพวิจิตรหัตถกร กรงุเทพฯ หนา ๒

Page 26: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

วัดที่เปนที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ซ่ึงเปนที่รูจักกันทั่วเมืองไทยและถือกันวาเปนพระคูบานคูเมืองของเมืองฉะเชิงเทรา นั่นคือ พระพุทธโสธร

พระพุทธโสธรหรือหลวงพอโสธร มาประดิษฐานอยูที่วัดโสธรมานานเทาใด สมัย พ.ศ. ใดไมมใีครทราบแนนอน มีแตเพยีงขอสันนิษฐานของผูทรงคุณวุฒิและคําบอกเลาลือตอ ๆ กันมา ซ่ึงจะนํามาแสดงใหเห็นดังตอไปนี้

จากการเลาสืบตอ ๆ กันมา ประวัติความเปนมาของหลวงพอโสธรนี้ มีผูเลาสืบ ๆ กันมาหลายกระแส ไดสอบถามผูเฒาผูแกหลายทาน ซ่ึงไดรับฟงจากบรรพบุรุษเลาใหฟงตอกันวา หลวงพอโสธรลอยน้ํามา มีคําปรารภวาลวงกาลนานมาแลวยังมีพระพี่นองชายสามองคอยูทางเมืองเหนือ มีอิทธิปาฏิหาริยแสดงฤทธิ์ได ไดอภินิหารลองลอยตามแมน้ํามาจากทิศเหนือ เพื่อใหคนทางทิศใตไดเห็น ในที่สุดก็มาผุดขึ้นที่แมน้ําบางปะกงที่ตําบลสัมปทวนและแสดงปาฏิหาริยลอยน้ําและทวนน้ําไดทั้งสามองค ประชาชนชาวสัมปทวนไดพบเห็น จึงชวยกันเอาเชือกพรวนมนิลาลงไปผูกมัดที่องคพระพุทธรปูทัง้สามองคนั้น แลวชวยกันฉุดลากขึ้นฝงดวยจํานวนผูคนประมาณ ๕๐๐ คน ก็ฉุดขึ้นไมได เชือกขาดไมสําเร็จตามความประสงคพากันเลิกไป คร้ันแลวพระพุทธรูปหลอทั้งสามองคก็จมน้ําหายไป สถานที่พระสามองคลอยน้ําและทวนน้ําไดนี้เลยใหช่ือวา “สามพระทวน” ตอมาเรียกวา“สัมปทวน” ไดแกแมน้ําหนาวัดสัมปทวน อ.เมือง แปดริ้ว ทุกวันนี้ ตอจากนั้นพระทั้งสามองคก็ลอยตามแมน้าํบางประกงเลยผานหนาวัดโสธรไปถึงคุงน้ําใตวัดโสธร แสดงฤทธิ์ผุดขึ้นใหชาวบานบางนั้นเห็น ชาวบานไดชวยกันฉุดขึ้นฝงทํานองเดียวกับชาวสัมปทวน แตก็ไมสําเร็จจึงเรียกหมูบานและคลองนั้นวา “บางพระ” มาจนทุกวันนี้ จากนั้นพระพุทธรูปทั้งสามองคก็ไดแผลงฤทธิ์ลอยทวนน้ําวนอยูที่หัวเล้ียวตรงกองพันทหารชางที่ ๒ จังหวัดฉะเชิงเทรา และแสดงปาฏิหาริยจะเขาไปในคลองเล็ก ๆ ตรงขามกองพันทหารชางนั้น สถานที่พระลอยวนอยูนั้นเรียกวา “แหลมหัววน” และคลองนั้นก็ไดนามวาคลองสองพี่นอง (สองพี่สองนอง) หลังจากนั้นองคพี่ใหญไดแสดงปาฏิหาริยไปลอยอยูในแมน้ําเจาพระยาตอนสามเสน ประชาชนประมาณสามแสนคนชวยกันฉุดอาราธนาขึ้นฝงไมสําเร็จ แลวลองเลยไปผุดขึ้นที่ลําน้ําแมกลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ประชาชนชาวประมงอาราธนาขึ้นประดิษฐานอยูที่วัดบานแหลม ทุกวันนี้เปนที่บูชานับถือกันวาเปนพระศักดิ์สิทธิ์เทา ๆ กับหลวงพอโสธร สวนองคสุดทองลองลอยไปผุดขึ้นที่วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และชาวบางพลีไดอัญเชิญประดิษฐานอยูที่วัดบางพลีใหญในอําเภอบางพลี ก็ปรากฏวามีคนเคารพนับถือมาก พระพุทธรูปหลอองคกลางนั้นก็คือหลวงพอโสธร เมื่อลอยตามน้ํามาจากหัววนดังกลาวแลว มาผุดขึ้นที่ทาหนาวัดโสธร กลาวกันวาประชาชนจํานวนมากทําการฉุดลากขึ้นไมสําเร็จ แตไดมีอาจารยผูหนึ่งมีความรูทางไสยศาสตรทําพิธีตั้งศาลเพียงตาบวงสรวงแลวเอาไดสายสิญจนคลองกับพระหัตถหลวงพอโสธร อัญเชิญขึ้นมาบนฝงนําไปประดิษฐานในวิหารสําเร็จตามความประสงคแลวก็จัดใหมีการฉลองสมโภชและใหนามหลวงพอวา “หลวงพอโสธร”

Page 27: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

องคหลวงพอโสธรจริงในสมัยที่ไดมาแตเดมินั้น เปนพระพุทธรูปหลอดวยทองสมัฤทธิ์ปางสมาธิเพ็ชร หนาตัดกวางศอกเศษ ทรงสวยงาม ตอมาพระสงฆในวัดเห็นวา กาลตอไปในภายหนาฝูงชนที่มตีัณหาและโลภะแรงกลา มีอัธยาศัยเปนบาปลามกหมดศรัทธาหาความเลื่อมใสมิได จักนําเอาไปเปนประโยชนสวนตวัเสียไมเปนการปลอดภัย จึงพอกปูนเสริมใหใหญหุมองคจริงไวภายในดังปรากฏในปจจุบัน

จากความเห็นของนักโบราณคดี

๑. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๕ ไดรับการยกยองวา ทรงพระปรีชาสามารถในทางปกคลองเปนยอดเยีย่ม ทรงเปนนักโบราณคดี นกัประวัตศิาสตรและอ่ืน ๆ ไดทรงบันทึกไวในจดหมายถึงมกุฎราชกุมารเมื่อเสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี ร.ศ. ๑๒๗ ความตอนหนึ่งวา “…พระพุทธรูป ( คือพระพทุธโสธร) วาทําดวยศิลาแลง ( ศิลาแลงในที่นี้นาจะเพีย้นมาจาก ศิลาแดง คือ หินทรายแดง) ทั้งนั้นองคที่สําคัญวาเปนหมอดนีัน้คือองคที่อยูกลาง ดูรูปตักและเอวงามทําเปนทํานองเดยีวกับพระพุทธเทวปฏิมากร แตตอนบนกลายไปเปนดวยฝมือผูที่ไปปน วาลอยน้ํามาก็เปนความจริงเพราะเปนพระศิลาคงจะไมไดทําในทีน่ี้…” พระบรมราชวินิจฉัยของสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว พอจะสรุปไดวา พระพุทธโสธรนี้เปนศิลา (แลง) ไมไดทําในจังหวัดฉะเชิงเทรา และคงจะมาจากที่อ่ืน นอกจากพระบรมราชวินิจฉัยดังกลาวแลว ยังมนีักโบราณคดีอีกสองทานไดใหทศันะ เกี่ยวกับองคพระพุทธโสธรดังตอไปนี้คือ ๒. หลวงรณสิทธิพิชัย เมื่อครั้งดํารงตําแหนงอธิบดีกรมศิลปากรไดบันทึกไววา ในเรื่องสํารวจของโบราณในเมืองไทย เกี่ยวกับพระพุทธโสธรนี้วา “…หลวงพอโสธรเปนพระพุทธรูปปางสมาธิ หนาตักกวาง ๑.๖๕ เมตร สูง ๑.๙๘ เมตร เปนพระพุทธรูปที่บูรณะขึ้นในปลายสมัยศรีอยุธยาหรือตนสมัยรัตนโกสินทร และชางผูบูรณะนั้น เขาใจวาจะเปนผูมีฝมือชางผูเคยมีภูมิลําเนาอยูทางอีสาน ประวัติที่ขาพเจาจะพึงกลาวไดนั้นมีเพียงเทานั้น และที่กลาวนี้ก็กลาวโดยอาศัยวัตถุที่เห็นเทานั้น….”

เหตุผลที่สันนิษฐานวาพระพุทธโสธร ไดบูรณะหรือสรางขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือตนสมัยรัตนโกสินทรนั้น ในฐานะที่ นายมานิต วัลลิโภดม ภัณฐารักษเอกของกรมศิลปากรในปจจุบันไดรวมเดินทางไปสํารวจโบราณวัตถุกับหลวงรณสิทธิพิชัยในครั้งนั้นดวย ไดช้ีแจงวาที่สันนิษฐานเชนนั้นก็โดยสังเกตจากวงพระพักตร ชายสังฆาฏิ ทรวดทรงและลีลา ในการสรางโดยเฉพาะชางฝมือทางภาคอีสาน การสรางพระพุทธรูปไมสูจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากมายนัก

๓. นายตรี อมาตยกุล หัวหนากองประวัติศาสตร กรมศิลปากรปจจุบัน (ชวง พ.ศ.๒๕๑๔) ไดใหทัศนะไวในเรื่องนําเที่ยวฉะเชิงเทรา กลาวไวตอนหนึ่งวา “….พระพุทธโสธรเปนพระพุทธรูปปางสมาธิ ลงรักปดทอง มีขนาดสูง ๑ เมตร ๙๘ ซม. หนาตักกวาง ๑ เมตร ๖๕ ซม. เทาที่ตรวจดูรูปทรงภายนอกซึ่งลงรักปดทองไว ปรากฏวาเปนพระพุทธรูปฝมือชางแบบลานชางหรือซ่ึง

Page 28: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

เรียกกันเปนสามัญวา “พระลาว” พระพุทธรูปแบบนี้นิยมทํากันมากที่เมืองหลวงพระบาง ในประเทศอินโดจีนฝร่ังเศสและทางภาคอีสานของประเทศไทย….”

พระบรมราชวินิจฉัยของสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว และความเห็นของนักโบราณคดีอีกสองทานที่ไดกลาวมานานแลว พอจะสรุปไดวา หลวงพอโสธรไมไดสรางขึ้นในจังหวัดฉะเชิงเทราแตไดนํามาจากที่อ่ืนเพราะพระพุทธโสธรทําดวยศิลาแลง พระพุทธรูปเปนฝมือแบบชาวลานชาง หรือที่เรียกวา “พระลาว” ไดบูรณะหรือสรางขึ้นในปลายกรุงศรีอยุธยาหรือตนสมัยกรุง รัตนโกสินทร

จากขอสันนิษฐานของทานผูทรงคุณวุฒ ิตามพุทธประวัติของพระพทุธโสธรจัดพิมพโดย นายทองใบ ภูพันธ ณ สํานักวัดพิกุลเงิน

อําเภอบางกองใหญ จังหวดัธนบุรี เมื่อวนัที่ ๑๓ กุมภาพันธ ๒๔๙๒ ไดบรรยายขอสันนิษฐานไวดังตอไปนี้ โดยไดจากการสัมภาษณกับ ทานเจาคุณเทพกวี อดีตเจาคณะมณฑลปราจีน วัดเทพศิรินทราวาสวา ขณะที่ทาน (เจาคุณเทพกวี) ดํารงตําแหนงเปนเจาคณะมณฑลปราจีน พ.ศ. ๒๔๗๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๒ ไดความตองกันเปนสวนมากวา พระพุทธโสธรที่ประดิษฐานอยูใน พระอุโบสถวัดโสธรปจจุบันนี้ เดิมทีเสด็จปาฏิหาริยลอยมาตามกระแสน้ํา จากทางเหนือลําแมน้ําบางปะกง เปนพระพุทธรูปปางสมาธิแกะดวยไมหยาบ ๆ ขนาดหนาตักกวางประมาณ ๑ คืบเศษไมมีพุทธลักษณะงดงามอะไร ขอที่วาจะลอยน้ํามาจากแหงหนตําบลไหน ตั้งแตเมื่อใดนั้นยังไมมีใครสอบสวนไดความ สวนที่วาพระพุทธโสธรเสด็จลอยตามน้ํามาจริงหรือไมนั้น ทานเชื่อวา พระพุทธโสธรเสด็จลอยน้ํามาจริง เพราะพระพุทธรูปองคนี้เปนพระพุทธรูปที่สรางขึ้นดวยไม ซ่ึงตามธรรมดา ก็ควรเชื่อวาลอยน้ําได และทานยังมีเหตุผลพอจะสันนิษฐานไดวา พระพุทธโสธรองคนี้เปนพระพุทธรูปที่แกะดวยไมโพธ์ิ เขาใจวาสรางขึ้นโดยฝมือชาวเวียงจันทน หรือชาวนครเชียงรุง หรือลาวโซงอยางใดอยางหนึ่ง เพราะเคยทราบมาวา พวกลาวชาวพื้นเมืองที่กลาวนี้นิยมสรางพระพุทธรูปดวยไมโพธิ์ และนาคิดวาพระพุทธรูปเสด็จลอยน้ํามาจากเหนือลําแมน้ําบางปะกง และไดสันนิษฐานตอไปวา นาจะลอยมาจากตําบลใดตําบลหนึ่ง ในทองที่อําเภอพนมสารคาม อยูตอนเหนือของจังหวัดฉะเชิงเทราขึ้นไป โดยทองที่สองฟากฝงแมน้ําบางปะกงตอนนี้ ในระหวางสมัย รัชกาลที่ ๓ ในแผนดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว ตั้งแตป พ.ศ. ๒๓๖๗ ถึง พ.ศ. ๒๓๙๔ ตอเนื่องกันจนถึงตนสมัยรัชกาลที่ ๔ ในแผนดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ประเทศไทยมีสงครามติดพันกับแควนตาง ๆ ในความอารักขาของอินโดจีน ฝร่ังเศส เชน เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุง และลาวโซง เหลานี้เร้ือรังอยูนาน เมื่อกองทัพฝายใดตีดินแดนของขาศึกได ก็กวาดตอนผูคนพลเมืองตลอดจนเสบียงอาหาร ชาง มา โค กระบือ และอาวุธยุทโธปกรณในดินแดนของขาศึกที่ยึดได สงเขามาควบคุมรักษาไวในดินแดนของตนและใหครอบครัวเชลยเหลานั้นไดตั้งรกรากทํามาหากินอยูเปนหมูเปนพวก อยูในเขตที่อันมีกําหนดจนกวาสงครามจะสงบ และมีการเจรจาเปลี่ยนเชลยกันภายหลัง โดยเฉพาะอยางยิ่งทองที่ตําบลตาง ๆ ในอําเภอพนมสารคามนี้ แตกอนพ้ืนที่ราบ

Page 29: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

เปนปากระยาเลยนานาชนิด อุดมสมบูรณไปดวยแรธาตุตาง ๆ เชน แรตะกั่ว แรเหล็ก และอ่ืน ๆ อยูเปนอันมาก ในทองที่กลาวมานี้มีครอบครัวลาวเวียงจันทน ลาวเชียงรุง และลาวโซง ถูกกองทัพไทยในสมัยยุคสงครามที่กลาวขางตน กวาดตอนมาในฐานะเชลยศึกตั้งรกรากทํามาหากินอยูหลายรอยครัวเรือน ตลอดจนถึงสมัยยุคปจจุบัน ก็ยังปรากฏวามีครอบครัว ลูก หลาน เหลน ตั้งถ่ินฐานบานชองกลายเปนคนพื้นเมืองไปเลย เขาใจวาครอบครัวที่ถูกกวาดตอนมาเปนเชลยนี่เอง ไดสรางพระพุทธโสธรขึ้นดวยไมโพธ์ิ หรือมิฉะนั้นก็อาจสรางมาจากเมืองเวียงจันทน หรือแควนลาวแควนใดแควนหนึ่งที่กลาวขางตน เมื่อเจาของถูกกองทัพไทยกวาดตอนเอาตัวมา ก็เลยอาราธนาเอาพระพุทธรูปองคนี้มาดวย เพื่อชวยปองกันอันตรายภัยพิบัติอันจะพึงบังเกิดขึ้นเมื่อตอนตน ตองพลัดพรากจากบานเกิดเมืองมารดร ตอมาจะโดยบังเอิญหรือโดยเจตนาอยางไรก็ยากที่จะสันนิษฐาน พระพุทธรูปจึงเสด็จลอยตามน้ํามาจนถึงวัดแหลมหัววน ซ่ึงเปนที่ตั้งกองพันทหารชางที่ ๒ อยูในปจจุบัน และในที่สุดพระสงฆและชาวบานไปพบพระพุทธโสธรลอยน้ําอยู จึงอาราธนาขึ้นมาประดิษฐานไว ณ พระอุโบสถวัดโสธรแลวเลยถวายพระนามไปตามชื่อของวัดโสธรแตนั้นเปนตนมา

และความอีกตอนหนึ่งวา “……ในระหวางฉัน (เจาคุณเทพกวี อดีตเจาคุณมณฑลปราจีน) ยังดํารงตําแหนงเจาคณะมณฑลอยู ทราบจากคนพื้นเมืองฉะเชิงเทราที่มีอายุสูง ๆ วา พระพุทธโสธร นั้น เมื่อมีกิตติศัพทแพรหลายเล่ืองลือไปตามทองถ่ินตาง ๆ แลว พระภิกษุสงฆในวัดโสธร ตลอดจนทายกทายิกาผูมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในอภินิหารอันศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธโสธร ตางพากันปริวิตกเกรงกลัวไปวา สักวันหนึ่งอาจมีผูลักลอบเอาพระพุทธโสธรไปเสียที่อ่ืน ฉะนั้นจึงพรอมใจกันจัดสรางพระพุทธรูปจําลองแบบไมธรรมดาขึ้น แลวนําเอาไปสวมครอบปดบังพระองคจริงของพระพุทธโสธรไวเสียภายใน เพื่อเปนการพรางตา และตอมาจะเปนดวยเห็นวาพระพุทธรูปจําลองดวยไมที่ทํามาแลวครั้งกอน ยังไมเปนการปลอดภัยเพียงพอที่จะปองกันไมใหโจรผูรายมาลักหรือจะอยางไรไมปรากฏชัด จึงไดมีการทําพระพุทธรูปแบบไมชนิดเดียวกันกับครั้งกอน แตมีขนาดใหญกวาขึ้นอีกเปนครั้งที่สอง และแลวก็ปฏิบัติเชนเดียวกันกับที่ทํามาแลวคราวแรก คือ เอาสวมครอบซอนพระพุทธรูปจําลองครั้งแรกลงไปอีกชั้นหนึ่ง ในกาลตอมาจะเกิดความคิดพิเศษอะไรขึ้นมากกวาครั้งกอน ๆ จึงปรากฏวาคราวนี้ไดใชปูนพอกทับพระพุทธรูปจําลองเมื่อคร้ังที่สองเสียแนนหนาใหญโตจนประจักษแกผูที่ไปนมัสการปจจุบันนี้วา พระพุทธรูปโสธรมีขนาดหนาตักกวางถงึ ๓ ศอกเศษ ซ่ึงความจริงพุทธศาสนิกชนรุนเรา ๆ หาไดเคยเห็นพระพุทธโสธรองคจริงไม….”

ประวัติขององคหลวงพอโสธรจะมีมาอยางไร ไดสรางบูรณะขึ้นในสมัยใด เปนพระพุทธรูปที่ทําดวยศิลาแลงหรือไม ทําขึ้นในจังหวัดฉะเชิงเทราหรือมาจากที่อ่ืนนั้น ยอมนําความยุงยากมาสูผูเรียบเรียงเปนอันมาก เพราะปราศจากหลักฐานที่ขีดเขียนไวแนนอน สวนมากเปนเรื่องบอกเลาสืบตอกันมา ยิ่งนานวันคําบอกเลาอาจเพิ่มเติมหรือขยายความออกไปไดอีก ทัศนะที่ไดจาก

Page 30: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

คําบอกเลาจึงมีน้ําหนักที่รับฟงไดนอยที่สุด หรือแทบจะรับฟงไมไดเลย ที่ไดนําเขียนลงไว ณ ที่นี้ดวย ก็เพื่อใหประวัติของหลวงพอโสธรสมบูรณครบถวนเทานั้น 28

๓. ศาลากลางจังหวดัหลังเกา ตั้งอยูที่ตําบลหนาเมือง อําเภอเมืองฉะเชงิเทรา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เลมที่ ๙๔

ตอนที่ ๓๙ วนัที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ มีประวัติโดยสังเขป ดังนี้ เปนอาคารชั้นเดียวผนังกออิฐถือปูน ยกพื้นสูงประมาณ ๑.๐๐ เมตร เหนือพื้นดินคาน ตง

และโครงสรางหลังคาเปนไมเนื้อแข็ง มุงดวยกระเบื้องซีเมนตส่ีเหล่ียมแบบกระเบื้องวาว สรางขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๕ ป พ.ศ. ๒๔๔๙ และ โปรดเกลาฯ ใหใชเปนที่ทําการมณฑลปราจีนในสมัยนั้น ตอมาในป พ.ศ. - ไดใชเปนที่ทําการศาลกลางจังหวัดฉะเชิงเทรา และครั้งสุดทายในป พ.ศ. ๒๕๐๖ ไดใชเปนที่ตั้งสํานักงานเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ในป พ.ศ. ๒๕๑๘ สํานักงานเทศบาลไดยายไปตั้งที่ทําการใหม เทศบาลไดใหเอกชนเชาชวงที่ดินบริเวณนี้ 29 และผลของสัญญาการเชาชวงที่ดินนี่เอง ทําใหโฉมหนาของอาคารศาลากลางหลังเกาในอดีต กลับกลายมาเปนหางสรรพสินคา และบริเวณที่รอบ ๆ ตัวอาคารก็มีการปลูกสรางอาคารพาณิชยโดยรอบ ซ่ึงเปนการชอบดวยกฎหมายแลวหลังจากมีคดีฟองรองกันระหวางเอกชนผูเชาชวงเปนโจทกยื่นฟองเทศบาล ในเรื่องการทําผลประโยชนในที่ ๆ เชานี้ ซ่ึงปรากฏวาในวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๒๐ ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราไดพิพากษาคดีแพงใหเทศบาลสงมอบที่ดินที่ปลูกสรางอาคารศาลากลางหลังเดิม กับที่ดินฟากถนนดานหนาศาลากลางหลังเดิมใหโจทก เขาทําการปลูกสรางอาคารพาณิชย

และวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๒๑ ศาลจังหวัดฉะเชิงเทราไดอานคําพิพากษาศาลอุทธรณ ใหเทศบาลสงมอบที่พิพาทใหกับโจทกกอสรางอาคารตามที่กําหนดไวในใบสัญญา ซ่ึงเทศบาลก็ไดยื่นฎีกาขอทุเลาการบังคับคดี ตอศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๒๒ ตอมาในวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ทั้งสองฝายยินยอมทําสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรายินยอมสงมอบที่ดินโจทกตามสภาพปจจุบัน ซ่ึงเดิมกรมธนารักษไดวางผังตามที่กรมศิลปากรขอกันที่ดินไวเปนเขตโบราณสถานใหปลูกสรางอาคารพาณิชยดังที่เห็นอยูในปจจุบัน

๔. วัดพยัคฆอินทราราม (วดัเจดยี) ตั้งอยูที่ตําบลบานใหม อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เลมที่ ๙๙ ตอน

ที่ ๑๗๒ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๕ พื้นที่โบราณสถานประมาณ ๑ ไร ๑๔ ตารางวา ประกอบดวยส่ิงสําคัญ คือ วิหารพระพุทธบาท , เจดียใหญ ๑ องค และเจดยีเล็ก ๒ องค 30

28 กิจจา วัฒนสินธุ “ประวัติเมืองฉะเชงิเทรา” จากหนังสอือนุสรณนายกิจจา วัฒนสินธุ ๑๗ มนีาคม ๒๕๒๓ โรงพิมพอักษรไทย กรุงเทพมหานคร หนา ๑๗๐ - ๑๗๔. 29 จากทะเบียนโบราณสถาน หนวยศิลปากรท่ี ๕ จังหวัดฉะเชิงเทรา 30 ทะเบียนโบราณสถาน หนวยศิลปากรท่ี ๕ จังหวัดฉะเชิงเทรา

Page 31: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

วัดพยัคฆอินทราราม (วัดเจดีย) เทาที่ปรากฎหลักฐานจากแผนเงินที่พบในรอยแตกตรงคอระฆังของเจดียใหญ ทราบวาสรางในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๕ โดยนายเสือหรือพระเกรียงไกรกระบวนยุทธ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา กับภรรยา ช่ือ อิน โดยสรางเจดียองคใหญขึ้นในป พ.ศ. ๒๔๑๖ พรอม ๆ กับการสรางพระอุโบสถวัดโสธร โดย นายชางหรือพระวิเศษฤๅชัยเจาเมืองฉะเชิงเทรา ผูพี่ชายของนายเสือ เจดียที่สรางขึ้นนั้นแลวเสร็จในเวลาอีก ๒ ป ตอมาคือ ป พ.ศ. ๒๔๑๘ สวนวัดนั้นมาสรางเสร็จราว พ.ศ. ๒๔๒๔ การตั้งชื่อวา “วัดพยัคฆอินทราราม” นั้น คงจะใชช่ือ “เสือ” ซ่ึงแปลวา “พยัคฆ” บวกเขากับชื่อ “อิน” ภรรยาผูสรางเปน “พยัคฆอินทราราม”

การพบจารึกแผนเงินนั้น พบในสมัยพระอธิการนคร จนฺทโชโต เปนเจาอาวาส ซ่ึงทานไดเขียนกลาวไววา “ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ขณะที่ขาพเจาทําการสอนพระปริยัติธรรมแกนวกะภิกษุอยูนั้น ไดมองไปที่พระเจดียองคใหญเกิดความรูสึกวาจะถากถางหญาที่ขึ้นปกคลุมอยูใหหมดไปและนวกะภิกษุทั้งหลายก็มีความเห็นรวมกัน จึงไดใหคนในวัดพรอมเด็กวัดชวยกันหักรางถางหญาและตัดตนไมใหญนอยตาง ๆ คร้ันแลวไดใหพระภิกษุ ๒ รูป ดูที่รอยแตกตรงคอระฆังเจดียซ่ึงชํารุดเปนโพรงอยูนานแลว เมื่อเอามือสอดเขาไปก็ไดพบส่ิงของตาง ๆ ที่บรรจุไวในนั้น ซ่ึงก็มีอยูไมมากนักเขาใจวาคงจะสูญไปเสียมากแลวไดใหนํามาเก็บรักษาไว แตเดิมก็ไมทราบวามีพระบรมสารีริกธาตุ จนไดพบแผนเงินจารึกประวัติวา ไดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไวดวย….” 31

จากป พ.ศ.๒๔๙๕ ที่พบส่ิงตาง ๆ มาปจจุบัน คงเหลือแตพระบรมธาตุกับแผนเงนิจารึกขนาด ๘ ๒๗.๕ ซ.ม. ซ่ึงจารึกขอความไวทั้งสองดานอานความตามอักษรที่ปรากฏไดดังนี ้ “ขาพระพุทธเจาชื่อนายชางเปนพี่ ช่ือนายเสือเปนนอง รวมบิดามารดาอุทรเดียวกันเดิมเปนเชื้อวงศพงษเจาเมืองกรมการมาแตคร้ังกรุงศรีอยุธยายังไมเสียกับพมา ญาติวงศทําราชการมาเนือง ๆ มาตั้งแตเมืองฉะเชิงเทราตั้งปากน้ําโจโล แลวยกมาตั้งแปดริ้ว แลวยกไปตั้งโสธร ไดรับราชการไมขาดเชื้อวงศ เมื่อแผนดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว ขา ฯ นายชางผูพี่ไดเปนที่หลวงจาเมือง นายเสือผูเปนนองไดเปนที่หลวงมงคลมหาดไทย คร้ันแผนดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ขาฯ นายชางไดเปนที่พระกําพุชภักดีปลัด นายเสือไดเปนที่หลวงบูรีพิทักษยกบัตร ในแผนดินนั้นทําราชการมีความชอบ ขาฯ นายชางไดไปทีพ่ระพนมษารณรินเจาเมือง พนมสารคาม* นายเสือไดเปนที่พระกําพุชภักดีปลัดเมืองฉะเชิงเทรา** ครั้นแผนดินพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ขาฯ นายชางไดเปนที่พระวิเศษฤาชัยเจาเมือง นายเสือไดเปนทีพ่ระเกรียงไตรกระบวนยุตปลัดเมืองฉะเชิงเทรา*** เต็มวาสนาสมบัติบริบูรณ ณ ประกา เบญจศก ๕ พุทธศักราชลวงได ๒๔๑๖ พรรษา จุลศักราชลวงได ๑๒๓๕ ป ขาฯ พระวิเศษฤาชัยสรางพระอุโบสถที่วัดโสธร พูนดินเปนถนนตั้งแตเมืองฉะเชิงเทรา ๒๖ เสนถึงอุโบสถวัดโสธร มีภรรยาปลูกศาลาขุดสระกึ่งกลางถนน พระเกรียงไตรกระบวนยุตกับ

31 พระอธกิารนคร จนฺทโชโต ประวัติวดัเจดีย ร.พ.มหามงกุฏฯ หนาวัดบวรนิเวศ, กรุงเทพฯ ๒๔๙๘ หนา ๗.

Page 32: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

อินภรรยาสรางเจดียสถานที่เนินสะแกบานสัมปทวน ครั้น ณ เดือน ๗ ปกุล สัปตศก ๗ การที่สรางพระอุโบสถ ทําถนนขุดสระ และการที่สรางเจดียสถานสําเร็จแลวพรอมกัน คิดธุระทรัพยที่สรางพระอุโบสถและถนนขุดสระทําศาลา เปนเงินตรา ๓๕ ช่ัง พระเกรียงไตรกระบวนยุตคิดธุระทรัพยที่สรางเจดียสถานธุระทรัพยเงินตรา ๓๕ ช่ังเหมือนกัน พอเปนกุศลเทพยเจาดลบันดาลใหไดพบพระบรมธาตุองคหนึ่ง มีรัศมีตาง ๆ พระบรมธาตุองคนี้เดิมนายขําผูเปนที่หลวงรักษานิกร ไดพระบรมธาตุปาฏิหาริยลงมาตรงหนาวดัพระเชตุพน นายขําเอามาใหกับพระ 32 วิเศษบัว ๆ ตาย พระบรมธาตุตกอยูกับบตุรชื่อภู ๆ จึงเอาพระบรมธาตุมาใหสมความปรารถนา จึงชักชวนพระหลวง ขุนหมื่น กรมการอนาประชาราษฎร จัดกระบวนแหพระบรมธาตุทางเรือข้ึนมาสถิตยบรรจุไวในพระเจดียที่พระเกรยีงไตรกระบวนยุตกับอนิภรรยา สราง ณ บานสมัปทวน การสําเร็จแต ณ วัน………… ค่ํา (คําอาน,วนัศุกร แรม ๗ ค่ํา เดือน ๗) พุทธศักราชลวงได ๒๔๑๘ พรรษา จุลศักราชลวงได ๑๒๓๗ ป ปกลุสัปตศก ขอตั้งสัจจาอธิษฐาน ตั้งแตบัดนี้ไปในอนาคตกาลเบื้องหนา สัพพทุกขาปมญุจเร โพธิยาวะตะเมโหต ุ นิพพานปจจโยโหตุ ขาฯ.นายเกิดผูเขยีนขอใหสําเร็จความปรารถนาเทอญ 33

* เมืองพนมสารคาม คือ บานทาซานเดิม ไดโปรดเกลาฯ ยกใหเปนเมืองในสมัยแผนดินพระบาทสมเด็จพระ จอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๔ และพระราชทานบรรดาศักดิ์เจาเมืองพนมสารคามวา “พระพนมสารคามนรินทร” ** พระยากําพชุภกัดี คือ ตําแหนงปลัดเมืองฉะเชงิเทรา ท่ีตั้งขึ้นใหมในสมัยรัชกาลท่ี ๔ เพื่อดแูลราษฎรชาวเขมร คูกับ “หลวงวิสุทธิจีนชาต”ิ ตําแหนงปลัดเมืองฉะเชิงเทรา ท่ีคอยดูแลชาวจนีท่ีมีอยูมากในเมืองฉะเชิงเทรา *** พระเกรียงไตรกระบวนยุต เปนคําอานตามอักษรท่ีปรากฏในแผนเงินจารึก ท่ีถูกในปจจบัุน คือ “พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ” เปนตําแหนงปลัดเมืองฉะเชิงเทรา ท่ีรัชกาลท่ี ๔ ไดเปลี่ยนมาจากชื่อเดิม คือ “พระยาวิเชียรไชยชาญยุทธ”

32 ขอความจารกึบนแผนเงินดานหนา 33 ขอความจารกึบนแผนเงินดานหลัง

Page 33: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

๕. วัดสัมปทวน (นอก) วัดสัมปทวน(นอก)หรือวัดสวนพริก (นอก) เดิม ตั้งอยูตําบางแกว อําเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

นับไดวาเปนวัดที่เกาแกวัดหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา สรางขึ้นในราวสมัยกรุงธนบุรีหรือสมัยตนกรุง รัตนโกสินทร ประวัติของวัดนี้ไดถูกรวบรวมและเขียนขึ้นในราว พ.ศ. ๒๔๗๙ โดยทานเจาคุณพุทธิรังษีมุนีวงศ (ฮอ พรหมโชโต ชาตะ ๒๔๒๑ – มรณะ ๒๔๙๕) เจาอาวาสวัดสัมปทวน (นอก) และเปนเจาคณะจังหวัดฉะเชิงเทราในขณะนั้น ไดเชิญผูเฒาผูแกในละแวกนั้นอันมีผูใหญแดง ผูใหญเทา ผูใหญโปย และนายโหมง ทานกํานันหลาย ซ่ึงทานเหลานี้อายุในขณะนั้นมีอายุ ๗๐–๘๐–๙๐ ปแลว มาประชุมถามไถใหเขาเหลานั้นเลาใหฟง ซ่ึงเขาเหลานั้นรูเองบาง ไดรับฟงจาก ปู ยา ตา ทวดของเขาเลาใหฟงบาง โดยมีนายนิทัศน จารวัฒน เปนผูจดบันทึกไดความวา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาราชธานีของไทยไดเสียทีแกพมาขาศึกแลว บานเมืองระส่ําระสาย พมาขาศึกไดเผาบานเมือง วัดวาอาราม เสียหายยับเยิน และไดกวาดตอนผูคนพลเมืองไปเปนเชลยศึกเสียเปนอันมาก เชลยเหลานั้นมีนายอยูกับนายอินเปนเชลยอยูในจํานวนนั้นดวย ถูกพมาใชใหเล้ียงมาอยูจนกระทั่งสมเด็จพระเจาตากสิน ยกทัพไปตีพมา ขาศึกแตกพายไป ในระหวางที่สมเด็จพระเจาตากสินตีพมาอยูนั้น นายอยูกับนายอินไดหนีมาพํานักอาศัยอยูในหมูบานสวนพริก นายอยูกับนายอินเปนคนดีมีความประพฤติเรียบรอย มีนิสัยและอัธยาศัยดีเขากับคนในหมูบานสวนพริกไดดีทั้งเปนผูเล่ือมใสในบวรพุทธศาสนา ไดชักชวนชาวบานสรางวัดขึ้นวัดหนึ่งในหมูบานสวนพริก นั่นคือวัดสัมปทวน (ใน) หรือวัดไชยพฤกษธารามในปจจุบัน ลงมือสรางเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๑๓–๒๓๑๕ สรางเสร็จในเวลา ๓ ป ชาวบานเรียกกันวา “วัดสวนพริก” เมื่อสรางเสร็จแลวนายอยูกับนายอินไดอุปสมบทเปนพระภิกษุ โดยพระภิกษุอยูไดเปนเจาอาวาส ตอมาพระภิกษุอินไดแยกมาสรางวัดขึ้นอีกวัดหนึ่ง มาสรางที่ริมฝงแมน้ําบางปะกงในหมูบานสวนพริกนั่นเอง คือวัดสวนพริก(นอก) หรือวัดสัมปทวน(นอก)ในปจจุบัน การที่ไดแยกมา สรางวัดใหมนี้ก็เนื่องจากพระภิกษุทั้ง ๒ รูปมีความเห็นวา ตอไปขางหนาผูคนพลเมืองจะตองเพิ่มมากขึ้นทุกวันและชาวบานริมฝงแมน้ําตรงขามจะไดมาบําเพ็ญกุศลไดสะดวกสบายกวาจะไปทําบุญที่วัดสวนพริกเดิมเพราะหนทางเดินก็คอนขางไกล ทางเดินก็ยังลําบาก ในตอนนั้นยังไมไดขุดคลองเหมือนเดี๋ยวนี้ตอมาผูคนพลเมืองเพิ่มมากขึ้น ปาดงพงพีก็เตียนไปมาก ชาวบานทําไร ทํานา ทําสวนกวางขวางออกไปจึงชวยกันขุดคลองขึ้นสองคลอง คือคลองสัมปทวนและคลองบางแกวในปจจุบัน 34

วัดสวนพริก ทั้งนอกและในแตเดิมนั้น ตอมาไดเปล่ียนชื่อเรียกเปน “วัดสัมปทวน” ก็เนื่องจากเรื่องราวที่เลาสืบตอกันมา เกี่ยวกับองคหลวงพอโสธรมีความสัมพันธกับสถานที่แหงนี้คือเปนบริเวณที่องคพระแสดงปาฏิหาริยลอยน้ําและทวนน้ําไดทั้งสามองค ชาวบานไดพบเห็นจึงชวยกับฉุดลากขึ้นฝง แตไมสําเร็จ (ดูรายละเอียดในประวัติหลวงพอโสธร) พระพุทธรูปทั้งสามองคนั้น

34 นิทัศน จารวัฒน, ประวัติวัดสัมปทวน(นอก) เกษมรัติการพิมพ ฉะเชิงเทรา ๒๕๒๑, หนา ๑๐–๑๒.

Page 34: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ก็จมหายไป ชาวบานถือเอาเหตุที่พระพุทธรูปทั้งสามองคมาลอยทวนน้ํา ตรงกลางแมน้ําบริเวณหนาวัดสวนพริกนั้นเรียกชื่อ “สามพระทวน” ตอมาเรียกกันผิดเพี้ยนเลยกลายเปน “สัมปทวน” ทั้งบริเวณและวัดจึงมีช่ือเรียกวาสัมปทวนดวยเหตุนี้ ที่สําคัญที่สุดและนาสนใจของวัดสัมปทวน (นอก) เห็นจะไดแกลายปูนปนประดับที่ตัวอุโบสถซึ่งสรางขึ้นในสมัยพระพุทธิรังษีมุนีวงศ (ฮอ) เปนเจาอาวาส ตัวอุโบสถสรางดวยคอนกรีตทั้งหลังแมแตเครื่องบนก็ไมไดใชไมเลยนอกจาก บานประตูหนาตางเทานั้น ภายหลังจึงไดเอาไมสักมาตัดคลายกระเบื้องสี่เหล่ียมผืนผาเล็ก ๆ ปูอัดทับปูนซีเมนตอีกชั้นหนึ่ง ใตพื้นขุดดินเปนบอส่ีเหล่ียมผืนผาเทากับความยาวของตัวอุโบสถ ใตถุนจึงกลายเปนอุโมงค แตเจาะชองกลม ๆ ไวใหอากาศถายเทได เสาอุโบสถและพื้นนอกของอุโบสถใสหินสีแลวขัดคลายหินออน หลังคามุงดวยกระเบื้องเคลือบ (กระเบื้องส่ังจากฮองกง) ชอฟาใบระกาหลอดวยซีเมนตเปนหัวพญานาคทุกหัวและประดับดวยกระจกสี มุขอุโบสถดานหนาปนเปนรูปนารายณถือพระขันธยืนเหยียบบาหนุมานตอนบนหนามุข ตอนลางปนเปนรูปเทวดานางฟาอยูในลายกนกไทย มุขดานหลังปนเปนพระถังซําจั๋งพรอมดวยทหารเอก กําลังเดินทางจะไปเอาพระไตรปฎกที่เมืองไซที ในเรื่องไซอิ๋วตามพงศาวดารจีนดานซายทางทิศเหนือตามชวงคูหาชายคาระหวางเสา ปนเปนรูปชาดกเรื่องพระเวสสันดรทั้ง ๑๓ กัณฑ ดานขวามือทางทิศใตเปนรูปสภาพพื้นที่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา และบริเวณที่สรางวัดสวนพริก (สัมปทวน) เมื่อสมัย ๒๐๐ ปเศษ ในระหวาง พ.ศ.นั้นถึง พ.ศ. นั้น ๆ เปนชอง ๆ แลวเขียนอักษรไว ซ่ึงส่ิงที่กลาวมานี้ทานเจาคุณพุทธิรังษีมุนีวงศเปนผูคิดและสั่งเขียนแบบให นายเขียนกี่ แซโงว กับบุตร ๆ มาทําการกอสราง (นายเขียนกี่ แซโงว เปนชางไม ชางปูนและชางปนฝมือดี)การกอสรางเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๗๙ จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๐

Page 35: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

๖. วัดสายชล ณ รังส ีตั้งอยูที่ตําบลบานใหม อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา ทราบจากประวัติวัดสัมปทวน(นอก)วา

สรางในรุนราวคราวเดียวกับวัดพยัคฆอินทราราม (วัดเจดีย) คือประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๖ โดยนายเหรากับคุณเปยมภรรยาเปนผูสราง ชาวบานเรียกกันวา “วัดสายชล ณ รังสี” เพราะวัดนี้ตั้งอยูริมแมน้ําบางปะกง ตรงหัวแหลมสายน้ําไหลใกลตล่ิง ชาวบานเรียกชื่อวัดนี้อีกชื่อหนึ่งวา “วัดแหลมบน” สาเหตุที่เรียกวาวัดแหลมบนนั้นก็เพราะวายังมีวัดอีกวัดหนึ่ง อยูทางใตลงไปและตั้งอยูริมแมน้ําในลักษณะเดียวกัน ซ่ึงชาวบานเรียกวัดนั้นวา “วัดแหลมลาง” 35

ส่ิงสําคัญในวัดสายชล ณ รังสี นี้คือพระอุโบสถ ซ่ึงทราบวามีการปฏิสังขรณมาแลวคร้ังหนึ่ง แตไมทราบแนชัดวาเมื่อใด เปนพระอุโบสถพื้นราบกออิฐถือปูนหลังคาเครื่องไมมุงกระเบื้องรอบพระอุโบสถมีลานประทักษิณ ที่ดานขางมีกลุมเจดียขนาดเล็กดูวาไมเกาแกมากนักกลุมหนึ่งแตที่สําคัญที่สุดของวัดนี้คือภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสภาพดีพอใช แมวาสวนบนและสวนลางจะถูกทาสีทับ แตก็พอศึกษาเรื่องราวได

ฝมือการวาดเปนแบบชางลาว แตประณีตกวาที่วัดเมืองกาย (ตําบลเมืองเกา อําเภอพนมสารคาม) มาก ภาพเลาเรื่องพุทธประวัติแบงเลาเปนตอน ๆ ลักษณะสถาปตยกรรมที่ปรากฏในรูปภาพนั้นเหมือนกับที่วัดเมืองกาย คือ ปราสาทยอดแหลมลายยอด ภาพอาคาร บางภาพเปนภาพสถาปตยกรรมตามสมัยนิยมนอกจากนี้ยังมีลักษณะของบานเรือนอยูอาศัยของราษฎรสามัญบางภาพแสดงความเปนอยูแสดงลักษณะการแตงกายของคนไทยในสมัยนั้นในภาพตอนเสด็จปรินิพพานนั้น แทนที่จะแสดงภาพเชนปางปรินิพพานทั่ว ๆ ไป กลับแสดงภาพโลงทองบนบัลลังกตลอดจนตอนถวายพระเพลิงก็เชนเดียวกันทําเปนโลงทองมีเปลวไปอยูดานบน อยูในวิหารดูแปลกตา

สีที่ใชวาดภาพ ใชพื้นสีแดงอมน้ําตาลเขียนภาพดวยสีเขียว เทา ดํา น้ําเงิน ทอง แสดและเหลือง โดยใชสีดําตัดเสน 36

35 นิทัศน จารวัฒน, ประวัติวัดสัมปทวน(นอก) เกษมรัติการพิมพ ฉะเชิงเทรา ๒๕๒๑, หนา ๑๒–๑๓. 36 รายงานสํารวจแหลงโบราณคดี จังหวัดฉะเชิงเทราและชลบุร,ี หนวยศิลปากรที่ ๕ จังหวัดฉะเชิงเทรา ปงบประมาณ ๒๕๒๕

Page 36: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

๗. วัดจีนประชาสโมสร (เลงฮกยี่) “วัดจีนประชาสโมสร” หรือที่ชาวจีนเรียกวา “วัดเลงฮกยี่” ตั้งอยูที่ตําบลบานใหม อําเภอ

เมืองฉะเชิงเทรา เปนพระอารามแหงมหายานนิกายที่เกาแกและสําคัญที่สุดวัดหนึ่ง สรางขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ (ราว พ.ศ. ๒๔๔๙ หรือกอนหนานี้) โดยนายเทียนอิง แซล้ี (ล้ีเทียนอิง) ตนตระกูล “วงศเธียรทอง”และ “ศรีเฑียรอินทร” พรอมภรรยาชื่อ “เปยม” ไดบริจาคที่ดินสรางวัดนี้ครั้งแรก ๕ ไร ๓ งาน ๘๐ ตารางวา โดยนมัสการพระคุณเจา “สกเห็ง” ใหเปนผูอํานวยการสราง 37 ซ่ึงสรางขึ้นภายหลังวัดมังกรกมลาวาส (วัดเลงเนยยี่) ที่กรุงเทพฯ เพียงเล็กนอย

พระคุณเจาสกเห็ง หรือ “พระอาจารยจีนวังสสมาธิวัตร สกเห็งเถระ” ปฐมบูรพาจารยแหงวัดจีนประชาสโมสร ไดเปนลูกศิษยวัดมังกรกมลาวาสมากอน ดังนั้นแนวความคิดในการกอสรางสิ่งตาง ๆ ภายในวัดนี้ จึงคลายกับวัดมังกรกมลาวาสมาก คือ เมื่อผานประตูใหญวิหารเขาไปขางใน ก็พบรูปปนขนาดใหญของจตุโลกบาลแตงเครื่ององคเปนนายทหารจีน จัดไวตรงทางเขาวิหารเลงฮกยี่ พนจากจตุโลกบาลไปเพียงเล็กนอยก็จะถึงเทวรูปจีนอีกองคหนึ่ง แตงกายนักรบเชนกันกําลังยืนเหยียบจรเขอยู ถัดเขาไปมีพระพุทธรูปแบบจีนสัมฤทธิ์ขนาดใหญ ๓ องคทราบวานํามาจากประเทศจีนทั้งส้ิน พระพุทธรูปทั้งสามองคนี้ทางวัดไดตกแตงสวยงามเปนพิเศษไดสรางประภามณฑลรอบพระเศียรดวยไฟนีออนเปดปดวอบแวบ ราวกับวาเปลงฉัพพรรณรังสีออกมาจากองคพระเอง

นอกจากนี้ยังมีรูปพระกวนอิม, จั๊บโปยลอหั่น (พระอรหันตสิบแปดองคครั้งพุทธกาล) รูปคนแกล๊ักโจว, รูปตี้จังฮวงพูสะ (พระกษิติตรรภโพธิสัตว) ผูครองนรกไถถอนทุกขมนุษยชาติและรูปปนของบุคคลสําคัญในประวัติศาสตรและตํานานจีน ไวใหคนมานมัสการและขอความชวยเหลืออีกหลายคน เชน รูปหมอฮูโตที่มีช่ือเสียงในการผาตัดและรักษาโรคอยูในเรื่องสามกก รูปปนของกวนอูซ่ึงเปนที่รูจักกันดี ที่นาสนใจเปนพิเศษก็คือ ศพหลวงจีนนั่งตายปดทองอยูในตูกระจก ๒ องค คือ หลวงจีนตั้กฮี้ซ้ือเจาอาวาสองคที่ ๓ และพระอาจารยจีนวังสสมาธิวัตร (หลวงจีนเชียงหงี) เจาอาวาสองคที่ ๖ ซ่ึงชาวจีนถือวา “สําเร็จ” วิปสสนา เร่ืองนี้สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพทรงกลาวไวในสาสนสมเด็จวา

“เรื่องที่ศพสมภารเจาวัดใสโกศนั้น จะเปนเพราะเหตุใด แตแรกหมอมฉันก็ไมทราบจนเมื่อเผาศพพระอาจารยจีนวังสสมาธิวัตร (แมว) เห็นศพใสโกศ สืบถามหาเหตุจึงไดทราบตระหนกัมาจากพวกถือลัทธิมหายาน วาทานผูเชี่ยวชาญวิปสสนาธุระนั้น เวลาอาพาธเมื่อรูสึกตัววาจะมรณะ มักสั่งใหผูพยาบาลพยุงตัวขึ้นนั่งสมาธิเขาสมาบัติ ใหขาดใจตายอยูในฌาน ถึงมรณะดวยอาการเชนนั้น เรียกวา “สําเร็จ” ถือกันวาที่จะเปลี่ยนทานผูสําเร็จจากสมาธิหาควรไม จึงทําโกศใสศพเพื่อใหนั่งคงสมาธิอยู….” ศพของหลวงจีนเจาอาวาสของวัดจีนประชาสโมสรที่ปดทองใสตูกระจก

37 ท่ีระลึกงานพธิีพุทธาภิเษก สมโภชตกึพุทธภาวนาสถาน ณ วัดจีนประชาสโมสร “เลงฮกยี”่ จังหวัดฉะเชิงเทรา, ๕ เมษายน ๒๕๒๓ หนา ๕.

Page 37: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ไว ก็เนื่องดวยความเชื่อถือดังกลาวแลว เฉพาะศพหลวงจีนเชียงหงีนั้นมีคนมานมัสการมาก จึงตองจําลองรูปศพดวยปลาสเตอรไวใหปดทองนอกตูเปนพิเศษอีกองคหนึ่ง

ภายในวัดจนีในพุทธศาสนาฝายมหายานนี ้ มีส่ิงนาศึกษาอยูไมนอยเลย จึงไดนํามาเลาไว แตก็เก็บมาเพยีงบางสวนเทานั้น

๘. วัดอุภัยภาติการาม (ซําปอกง) วัดอุภัยภาติการามหรือที่ชาวจีนเรียกกันวา “วัดซําปอกง” ตั้งอยูที่ตําบลบานใหมอําเภอ

เมืองฉะเชิงเทรา อยูหางจากวัดจีนประชาสโมสรราว ๑ กิโลเมตร ซ่ึงปรากฎประวัติวาสรางในสมัยแผนดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อ ร.ศ. ๑๒๕ (พ.ศ. ๒๔๔๙) โดยขุนพิพิธพานิชกรรม ไดสละที่ดินตําบลบานใหม อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา สรางวิหารเปนที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขึ้น

รุงขึ้นในป ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ไดเสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทรา เพื่อเปดทางรถไฟ สายกรุงเทพ – ฉะเชิงเทรา และไดทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดําเนินมายังวิหารเปนที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดวย ทรงมีพระศรัทธาบริจาคเงิน ๒๐๐ บาท พระราชทานสมทบ ในการสรางอารามและปฏิสังขรณพระพุทธศาสนา กับไดพระราชทานนามวัดนี้วา “วัดอุภัยภาติการาม” สวนพระพุทธรูปพระราชทานนามวา “พระพุทธไตรรัตนนายก” ดังหลักฐานที่ปรากฏอยูในใบแผนปลิวซ่ึงพิมพขึ้นในป ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) ความบางตอนวา-.

“ฎีกา ขาพเจา หลงจูฮี้ หลงจูแดง แผกุศลมายังทานทั้งหลายทราบ ดวยขาพเจาไดจําลองรูปพระเจานางเชิง คือจีนเรียกวาสําปอกงมาจากกรุงเกา ที่วิหารนั้นตําบลบานใหมตลาดลางแขวงเมืองฉะเชิงเทรา เปนที่ สักการะบูชาสรางมาแตศกกอน เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๑๒๖ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว แลไดเสด็จพระราชดําเนินไปที่วัดนั้น ไดทรงพระกรุณา โปรดเกลาฯพระราชทานเงิน ๒๐๐ บาท ปฏิสังขรณวัดนั้น มีพระบรมราชานุญาตพระราชทานนามวา วัดอุภัยภาติการาม พระพุทธรูปมีนามพระไตรรัตนนายก บัดนี้จะมีการสมโภชปดทองพระพุทธรูป พระไตรรัตนนายกเพิ่มเติมอีก กําหนดการ ณ วันที่ ๘ เมษายน ศก ๑๒๗ รวม ๕ วัน….” 38

วัดอุภัยภาติการามนี้ แตเดิมเปนพระอารามแหงมหายานนิกายเคยอยูภายใตการปกครองดูแลจาก พระคุณเจาเชียงหงี (อดีตเจาอาวาส สมัย ร.๕ แหงวัดจีนประชาสโมสร) คร้ันเมื่อพระคุณเจาเชียงหงีไดถึงแกมรณภาพในป พ.ศ. ๒๔๙๗ วัดนี้ก็ขาดการดูแลถูกปลอยใหเส่ือมสภาพลงและอยูในสภาพวัดรางมานับสิบป

คร้ันตอมาเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๑๒ นายพิชัย สุรัตพิพิธ บุตรขุนพิพิธพานิชกรรมพรอมดวยสัปบุรุษ ไดทําหนังสือยื่นเรื่องราวถึงกรมศาสนา โดยผานเจาคณะใหญอนัมนิกาย เพื่อให รับรองสภาพวัดอุภัยภาติการาม ให เปนการถูกตองตามกฎหมาย ซ่ึงกรมศาสนา

38 จากสําเนาใบฎีกาท่ีเจาอาวาสพระอธกิารฮกฮี ฝาหยุน ไดเก็บรักษาไว

Page 38: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

กระทรวงศึกษาธิการไดรับรองสภาพวัดอุภัยภาติการาม เปนนิติบุคคลถูกตองตามกฎหมายเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๑๒39 วัดนี้จึงไดรับการบูรณะซอมแซมใหฟนคืนสภาพขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยความอุปถัมภของคณะสงฆอนัมนิกาย ภายใตการควบคุมดูแลจากพระอธิการฮกฮี ฝาหยุน และไดรับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ จากความเปนมาดังนี้จึงนับเปนสาเหตุแหงการกลับกลาย จากวัดจีนแหงมหายานนิกายเปนวัดญวนแหงอนัมนิกาย

ส่ิงที่นาสนใจในวัดนี้ คือ องคพระประธาน “พระไตรรัตนนายก” (ซําปอกง) ซ่ึงมีขนาดหนาตักกวางราว ๖ เมตรเศษ และสูงราว ๗ เมตรเศษ ซ่ึงอาจนับไดวาเปนวัดที่มีองคพระประธานใหญที่สุดในจังหวัดนี้ ซ่ึงจําลองมาจากวัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และประวัติอันเปนวัดที่พระพุทธเจาหลวงรัชกาลที่ ๕ ไดเคยเสด็จพระราชดําเนินมาโปรดเกลาฯ พระราชทานนามวัด และนามพระประธาน.

๙. วัดเทพนิมิตร ตั้งอยูที่ตําบลหนาเมือง (สมัยกอนเปนตําบลบานใหม) อําเภอเมืองฉะเชิงเทราเปนวัดเจา

คณะจังหวดัและเจาคณะอําเภอฝายธรรมยตุิกาย เดิมเขาใจวาเปนที่พํานักสงฆมากอน เพราะที่ดินแปลงนี้ ตามหนังสือประวัติพระครูศิริ

ปญญามุนีกลาวไววา อุบาสิกาอิ่มไดถวายที่ดินนีใ้หทานอาจารยทวม (ตอมาเปนพระครูทวม)ไว แตเปนเนื้อที่เทาใดและเหตุใดจงึไมไดสรางเปนอารามขึ้น ไมทราบได

ตอมาในป พ.ศ. ๒๔๑๑ พระออน เทวนิโภ (ภายหลังเปนพระครูศิริปญญามุนี) พํานักอยูที่วัดสัมพันธวงศ กรุงเทพฯ ไดเดนิทางมาพํานักอยู ณ ที่นี้ และมวีิริยะแรงกลาที่จะสรางวัดขึ้น จึงไดแสดงธรรมเทศนาแกทายกทายิกาในละแวกนั้น จนมีผูศรัทธาชักชวนกนัซื้อที่ดนิถวายอกี และยกเยาเรือนถวายเปนกุฏิสงฆ พระออน เทวนิโภ ไดลงมือสรางกุฏิสงฆใหเปนระเบียบเพยีงพอแกพระภกิษุสามเณร สรางหอฉันท หอสวดมนต และศาลาเล็ก ๆ อีก ๒ หลัง จนป พ.ศ. ๒๔๑๘ ไดเร่ิมสรางพระอุโบสถขึ้น เสร็จในราว พ.ศ. ๒๔๒๒ แลวขนานนามวา “วัดเทพนมิิตร” และมอบใหพระอาจารยทวมปกครองวัดแทน

ปจจุบันวัดเทพนิมิตรมีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๕ ไรเศษ ตัง้อยูในเขตเทศบาลเมืองฉะเชงิเทรามีการศึกษาทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี ทั้งยงัเปนวดัเจาคณะจังหวัดและเจาคณะอําเภอฝายธรรมยุตนิกาย โดยมีพระราชเมธากรกว ี (สุเมโธ สุบิน ปธ. ๙ ) เปนเจาคณะจังหวัดฉะเชิงเทราและชลบุรีฝายธรรมยุต สวนเจาคณะอําเภอมพีระครูธรรมสารวิจิตร (ธรรมชิต ธมมชิโต นธ.เอก) เปนเจาคณะฝายธรรมยุต

ส่ิงที่นาสนใจในวัดนี้ไดแก พระประธานประจําพระอุโบสถ เปนพระเกาแกมีอายหุลายรอยป พระครูศิริปญญามุนี(ออน เทวนโิภ) ไดมาจากวัดแหงหนึ่งทางจังหวดัราชบุรี เนื้อทองสัมฤทธิ์ลงรักปดทอง ปางสมาธิ สังฆาฏิ จีวร ลายดอกพิกุล กลาวกันวา ถาใครจะทํางานบุญใน

39 บางตอนจากคํากลาวรายงาน ในพธิีเปดงานผูกพธัสีมา วันท่ี ๒๗ มกราคม ๒๕๑๔

Page 39: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

วัดหรือนอกวดัก็ดี ถาหากฝนจะตกหรือเปนฤดูฝน เมื่อไดบนบานทานแลว ฝนจะไมตกเลยแมฟาจะครึ้มฝนก็ไมตก หรือผูที่ไมอยากเปนทหารถาไดบนบานทานแลว ก็มักจะรอดพนจากการถูกเกณฑทหารไปได (ชาวบานเรียกพระประธานองคนี้วา “หลวงพอโต” และนิยมบนดวยประทดั)

อนึ่งวัดนี้ไดรับพระราชทานพระรูปหลอรัชกาลที่ ๘ รูปหนึ่ง เปนทองแดงลักษณะกลมเสนผานศูนยกลาง ๔๔ ซม. เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ ซ่ึงปจจุบันพระบรมรูปหลอนี้ประดิษฐานไวดานหนา พระอุโบสถวัดเทพนิมิตร 40

๑๐. ศาลจังหวัดหลังเกา (อาคารที่ทําการพุทธสมาคมในปจจุบัน) ศาลจังหวัดหลังเกาหรือในปจจุบันคือที่ทําการของพุทธสมาคม ตั้งอยูที่ตําบลหนาเมือง

อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา ซ่ึงมีประวัติความเปนมาดังนี้ ในป พ.ศ. ๒๔๔๙ พระพินิจดุลอัฎ อธิบดีผูพิพากษาศาลมณฑลปราจีน ไดมีหนังสือเรียน

ไปยังพระยาจักรปาณี ศรีศิลวิสุทธิ์ ปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรมวา ศาลเมืองฉะเชิงเทรา(หลังกอนซ่ึงไมปรากฏหลักฐานวาตั้งอยู ณ ที่ใด) ชํารุดทรุดโทรมมาก ดังนั้นพอปตอมาคือ พ.ศ. ๒๔๕๐ ทางกระทรวงยุติธรรมจึงอนุมัติงบประมาณใหสรางศาลใหม ๑ หลัง โดยใหพระพินิจดุลอัฏเปนผูดําเนินการ โดยตกลงจางเหมาจีนกิมทําการกอสราง เร่ิมทําการสรางในป พ.ศ. ๒๔๕๐ นั้นเอง

อาคารที่ทําการกอสรางนั้นเปนตึก กออิฐถือปูนชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง กวาง ๒๐.๗๐ เมตร ยาว ๓๕.๔๐ เมตร ใชเปนที่ทําการศาลมณฑลปราจีนทางมุขซาย และเปนที่ทําการศาลเมืองฉะเชิงเทราทางมุขขวา ตอมา พ.ศ. ๒๔๗๑ ทั้งมุขซายและมุขขวาชุดเอียงไมเปนที่ปลอดภัย กระทรวงยุติธรรมไดดําเนินการซอมแซมและขยายอาคารนี้ โดยตอมุขหนากวาง ๒ เมตร ยาว ๑๕ เมตร มุขหลังกวาง ๖ เมตร ยาว ๑๕ เมตร แลวจัดมุขหลังเปนหองพิจารณา ๑ หอง และหองผูพิพากษา ๑ หอง เมื่อยุบศาลมณฑลปราจีนแลว ภายหลังไดตั้งสํานักงานอธิบดีผูพิพากษาภาค ๒ ขึ้น ก็ไดจัดมุขซายดานหลังนี้เปนสํานักงานอธิบดีผูพิพากษาภาค ๒ สวนหองพิจารณาดานหนา ใชเปนหองพิจารณาของศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา แตเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและคดีความ อาคารศาลที่ขยายแลวยังคับแคบไมสะดวกแกการปฏิบัติราชการ ทั้งประกอบดวยอาคารเดิมกอสรางมา ๖๐ ปเศษ ตัวอาคารทรุดโทรม ผนังอิฐแตกราว หลังคารั่วเกินกําลังที่จะแกไขปรับปรุงได กระทรวงยุติธรรมจึงไดดําเนินการของงบประมาณ สรางอาคารที่ทําการศาลจังหวัดฉะเชิงเทราและสํานักงานอธิบดีผูพิพากษาภาค ๒ ขึ้นใหม โดยยายไปอยูใกลเคียงกับศาลากลางจังหวัดใหมในที่ดินราชพัสดุ ซ่ึงสํานักผังเมืองไดจัดทําที่ตั้งศาลจังหวัดหลังใหม กําหนดใหปลูกหันหนาไปทางสนามหนาศาลากลาง และรัฐบาลก็อนุมัติงบประมาณใหในป พ.ศ. ๒๕๑๑ 41

40 งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร ๒๐๐ ป ๒๕๒๕ จังหวัดฉะเชิงเทรา, หางหุนสวนจํากัดยูนิตี้พับบลิเคชั่น กรุงเทพฯ, หนา ๗๘–๗๙. 41 จากสําเนาเอกสารของฝายประชาสัมพันธศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา

Page 40: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

และเมื่อที่ทําการศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งสํานักงานอธิบดีผูพิพากษาภาค ๒ ไดจัดสรางใหมสําเร็จเรียบรอยแลว ทางราชการศาลก็ยายไปอยูที่อาคารหลังใหม ทําใหอาคารหลังเกาวางลง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตรไดยื่นขอเชาชวงจากกรมธนารักษเพื่อเปนที่ตั้งสํานักงานของธนาคารฯ โดยมีเงื่อนไขวา ธนาคารเพื่อการเกษตร ฯ จะปลูกบานพักอธิบดีผูพิพากษาภาค ๒ หนึ่งหลัง ซ่ึงตอมาเจาหนาที่กรมธนารักษไดติดตอเปนการภายในกับปลัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อขอความเห็นในการที่พุทธสมาคมฉะเชิงเทราจะขอเชาที่ดินและสิ่งปลูกสรางอันเปนที่ตั้งศาลจังหวัดฉะเชิงเทราเดิม โดยไมมีการชดเชยเหมือนเชนธนาคารฯ ซ่ึงก็ไดรับคําช้ีแจงวา เมื่อกระทรวงยุติธรรมเลิกใชและสงคืนแลว ก็สุดแตกรมธนารักษจะดําเนินการตามอํานาจและหนาที่ ตอมากรมธนารักษไดแจงวา กระทรวงการคลังไดส่ังอนุมัติใหพุทธสมาคมฉะเชิงเทราเชาที่ดินและสิ่งปลูกสรางอันเปนที่ตั้งศาลจังหวัดฉะเชิงเทราเดิมในวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๑๒ และทางคณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดฉะเชิงเทราไดทําการซอมแซมอาคารที่ชํารุดทรุดโทรม พรอมทั้งจัดสรางรั้วถาวรขึ้นและไดทําการเปดปาย “พุทธสมาคมฉะเชิงเทรา” โดย ฯพณฯ ศาสตราจารยสัญญา ธรรมศักดิ์ องคมนตรี และนายกพุทธสมาคมแหงประเทศไทย เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๒42 จึงเปนอันวาศาลจังหวัดหลังเกาก็ไดกลายสภาพมาเปนที่ทําการของพุทธสมาคมตั้งแตบัดนั้นเปนตนมา เหตุการณสําคัญเกี่ยวกับศาลจังหวัดหลังเกาที่นารูก็คือ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ พรอมดวยสมเด็จพระอนุชา (พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช) ไดเสด็จออกประทับเปนประธานคณะผูพิพากษา ในการพิจารณาคดีอาญา (อานรายละเอียดในประวัติเมืองฉะเชิงเทราในสมัยกรุงรัตนโกสินทรเปนราชธานี สมัยพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวรัชกาลที่ ๘) ซ่ึงนับเปนเหตุการณสําคัญที่นารูเหตกุารณหนึ่ง อันเกี่ยวของกับสวนราชการศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา.

๑๑. วัดปตุลาธิราชรังสฤษฎิ ์(วัดเมือง) วัดปตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ หรือชาวบานเรียกวา “วัดเมือง” เปนวัดที่สําคัญและเกาแกวัดหนึ่ง

ของจังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยูที่ ตําบลหนาเมือง อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา ติดกับโรงเรียนดัดดรุณี (โรงเรียนสตรีประจําจังหวัด) และที่ทําการสํานักงานไฟฟาสวนภูมิภาค จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามประวัติเลากันตอมาวา

วัดนี้ “กรมหลวงรักษรณเรศร” หรือหมอมเกสร ไดทรงสรางขึ้นไปคราวเสด็จออกมาสรางปอมเมืองฉะเชิงเทรา ตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว (ดูรายละเอียดใน

42 บุญปลอด วรโชต ิ, ความสัมพันธระหวางพุทธสมาคมแหงประเทศไทย ท่ีกรุงเทพฯ กับ พุทธสมาคมท่ีจังหวัดฉะเชิงเทรา พุทธสารฉะเชิงเทรา ฉบับปฐมฤกษ โรงพิมพนุกูลกิจ ถนนบํารงุเมือง พระนคร, ๒๕๑๒ หนา ๑๑๕–๑๑๖.

Page 41: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

เร่ืองประวัติกําแพงเมืองฉะเชิงเทรา) เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๗ และเนื่องจากสรางขึ้นพรอมกับปอมและกําแพงเมือง ชาวบานจึงพลอยเรียกวัดนี้งาย ๆ วา “วัดเมือง”

ตอมาในป พ.ศ. ๒๓๙๑ เดือน ๕ ซ่ึงยังอยูในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ เกิดเหตุการณกบฎอั้งยี่ขึ้นที่ฉะเชิงเทรา ถึงขั้นฆาเจาเมืองคือ พระยาวิเศษฤาชัย (จัน) ตาย พรอมทั้งยกพวกเขายึดเอาปอมเมืองฉะเชิงเทราไวเปนที่มั่น อีกทั้งเอาไฟเผาวัดเมือง คงเหลือแตพระอุโบสถและวิหาร ตั้งแตนั้นมาจึงเปนวัดรางไปชั่วระยะหนึ่ง

กระทั่งสมเด็จเจาพระยามหาประยูรวงศยกพลจากเมืองสมุทรสาคร มาปราบกบฎอั้งยี่ราบคาบ และไดตั้งใหพระยาวิเศษฤาชัย (บัว) เปนเจาเมืองฉะเชิงเทรา วัดเมืองจึงไดรับการปฏิสังขรณขึ้นใหมโดยทานเจาเมืองฉะเชิงเทรา

มาในสมัยแผนดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อคราวเสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทราในครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๔๕๐ เพื่อเปดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ– ฉะเชิงเทรา ไดพระราชทานนามวัดนี้ใหมวา “วัดปตุลาธิราชรังสฤษฎิ์” (แปลวาวัดที่ลุงของพระเจาแผนดินทรงสราง) และในรัชกาลนี้ สมัยพลตรี พระเจาบรมวงศเธอ กรมขุนมรุพงษศิริพัฒน เมื่อทรงพระ อิสริยยศเปนพระเจานองยาเธอ (ในรัชกาลที่ ๕) กรมหมื่นดํารงตําแหนงขาหลวงพิเศษ และ สมุหเทศาภิบาลสําเร็จราชการมณฑลปราจีน (พ.ศ. ๒๔๖๖ - ๒๔๕๘) ไดทรงตัดถนนชายลําน้ํา บางปะกงที่เรียกวา “ถนนมรุพงษ” จึงทําใหวัดตองแยกออกเปน ๒ คณะ คือ ตอนริมลําน้ําบางปะกงเรียก “คณะลาง” และตอนริมพระอุโบสถเรียกวา “คณะบน” ตอมาสมัยมหาอํามาตยตรี พระยา อินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองยอย เศวตศิลา) เปนสมุหเทศาภิบาลมณฑลปราจีน (พ.ศ. ๒๔๗๒ - ๒๔๗๔) ไดยายคณะลางกับคณะบนเปนคณะเดียวกัน พอป พ.ศ. ๒๔๗๕ สวนของวัดตอนชายน้ําเปนที่ธรณีสงฆทําประโยชนใหแกวัดตอมา 43 44

โบราณสถานที่ปรากฏอยูในบริเวณวดัขณะนี้ม ีพระอุโบสถ มีกําแพงแกว ๓ ดาน ดานหลังเปนร้ัวเฉย ๆ เพราะติดกับพระวิหารตรงมุม

ดานหนาของกําแพงแกวสรางวิหารคดเล็ก ๆ ไวทั้งสองขาง แตไมมีพระพุทธรูปสักองคเดียวตัวพระอุโบสถมีระเบียงหนาหลัง หลังคาลดชั้นแยกจากหลังคาตัวพระอุโบสถ ทําใหเห็นหนาบันซอนสองช้ัน ช้ันบนประดับลายดอกเบญจมาศไมจําหลัก ช้ันลางประดับลายเบญจมาศเหมือนกันเวนแตวาเปนลายปูนปน นาเสียดายชอฟาใบระกาของเดิมซึ่งเปนไมผุพังไป ไดใชแบบปูนปนฝมือหยาบไปซอมไว พระประธานปูนปนหนาตักราว ๑ วา ฝมือพอใช ถัดไปดานหลังพระอุโบสถเปนบริเวณที่ตั้งของพระวิหาร กําแพงแกวสูงมาก บนมุมที่ปรางคทรงชะลูดและสรางเรียบ ๆ ไมไดตกแตงอะไรใหวิจิตรพิสดาร ตัวพระวิหารตั้งขวางทิศกับพระอุโบสถ มีขนาดใหญและสูงกวาพระอุโบสถ หนาหลังคาตอระเบียงออกมา ดานหลังประดิษฐานพระศรีอาริยซ่ึงทําเปนรูปพระสงฆศีรษะโลน

43วัดท่ีมีความสําคัญทางประวัติศาสตร, ท่ีระลึกพระกฐินพระราชทาน ทอด ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๓, หนา ๖๙–๗๐. 44 กิจจา วัฒนสินธุ, ประวัติเมืองฉะเชิงเทรา. อนุสรณนายกจิจา วัฒนสินธุ ๑๗ มีนาคม ๒๓๒๓, หนา ๑๕๙–๑๖๐

Page 42: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

เฉย ๆ ไมมีเครื่องทรงอยางพระศรีอาริยที่พบตามวัดบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้เพราะความมุงหมายของการแสดงออกตางกัน พระประธานในพระวิหารขนาดยอม ๆ และเปนอยางธรรมดา นาสังเกตวา ระหวางพระวิหารกับพระอุโบสถมีตนจันใหญใบดกอยูตนหนึ่ง คงจะปลูกในคราวสรางวัด ซ่ึงเปนเวลา ๑๔๙ ปมาแลว 45 และในปจจุบันหากสังเกตในบริเวณวิทยาลัยอาชีวศึกษา ซ่ึงตั้งอยูฟากตรงขามกับวัดจะเห็นมีเจดียองคหนึ่งสูงราว ๖-๗ เมตร อยูที่ริมรั้วของวิทยาลัย นั่นคือ พระเจดียของวัดปตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ที่ถูกถนนตัดผาน แยกพระเจดียไปอยูนอกวัดตั้งแตสมัยพลตรี พระเจาบรมวงศเธอ กรมขุนมรุพงษศิริพัฒน ดํารงตําแหนงขาหลวงพิเศษและสมุหเทศาภิบาลสําเร็จราชการมณฑลปราจีน นั่นเอง

๑๒. เรือนแพและชุมชนริมฝงแมน้ํา ในปจจุบัน การคมนาคมทางบกนับไดวาใหความสะดวกและรวดเร็วกวาทางน้ําเปนอยาง

มาก แตก็มีบอยครั้งที่บุคคลเปนจํานวนมากปรารถนาจะใชเสนทางลําน้ํา ในการเดินทางเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศและเปนการพักผอนไปในตัว กับทั้งมีกลุมคนผูตองการหลีกหนีจากความสับสนวุนวายจากรถและควันเสีย มุงสูชนบทหรือตางจังหวัดเพื่อใชชีวิตบางชวงตอน ใหลองลอยกลับเขาสูอดีต ดวยการลองลําน้ําชมสภาพความเปนอยูของชุมชนริมน้ํา

หากจะกลาวถึงการตั้งชุมชนในอดีตใหเปนลักษณะวิชาการ เพื่อประกอบความรูเกี่ยวกับการเที่ยวชมเรือนแพและชุมชนริมน้ําแลว ก็จะขอยกขอความบางตอนจากโครงการคนควาวิจัยเร่ืองเรือนไทยเดิม ของผูชวยศาสตราจารยฤทัย ใจจงรัก ใหรูถึงที่มาและสาเหตุแหงการตั้งชุมชน ดังนี้

“สภาพของหมูบานทั่วไปเกิดรวมตัวกันขึ้นโดยธรรมชาติตามสภาพภูมิศาสตรซ่ึงเปนปจจัยในการประกอบอาชีพเปนสวนใหญ คนไทยเรามีอาชีพเพาะปลูก เล้ียงสัตว เชน การทําไร ทํานา ทําสวน อาชีพเชนนี้จําเปนตองอาศัยน้ํา เปนองคประกอบสําคัญโดยตรง นอกจากจะใชน้ําชวยในการเพาะปลูกแลว ยังจําเปนตองใชน้ําสําหรับกิน-อาบ และเปนทางคมนาคม จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งดวย การคมนาคมสมัยนั้นทางน้ํากับทางบก ซ่ึงทางน้ําสะดวกและใชกันมากกวาทางบก ดังนั้นเพื่อความสะดวกดังกลาวขางตน หมูบานชนิดที่ ๑ จึงเกิดขึ้นริมน้ําลําคลอง เรียกวา หมูบานริมลําน้ํา (River unear village) เราจะไดยินชื่อหมูบานเหลานี้ขึ้นตนดวยคําวา “บาง” เชน บางหญาแพรก, บางกอกนอย, บางหัวเสือ, บางปลามา, บางประกอก, บางปลาสรอย เปนตน บาง ในที่นี้หมายถึงหมูบาน รานคา ปลูกเรียงรายไปตามแมน้ําลําคลองหรือใกลทะเล เมื่อมีหมูบานเกิดขึ้นสิ่งจําเปนอยางอื่น ๆ ก็เกิดตามไดแก ตลาดและวัด

ตลาดเปนศูนยกลางการแลกเปลี่ยนสินคาซึ่งกันและกัน เชน ครอบครัวหนึ่งมีขาวก็นําเอาไปแลกกับเสื้อผา อีกครอบครัวหนึ่งมีผัก-ปลา ก็นําไปแลกกับเกลือ ดังนี้เปนตน ภายหลังจึงไดใช

45 วาท่ี พล.ต.ดําเนิร เลขะกุล, ฉะเชิงเทราเมืองเกาหรือไม อนุสาร อ.ส.ท. เดือนตุลาคม ๒๕๑๓ ฉบับแนะนําฉะเชิงเทรา, หนา ๗๔ - ๗๕.

Page 43: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

เงินตราเปนส่ือกลางแทน เหตุจําเปนที่กลาวมานี้ เปนผลผลักดันใหเกิดรานคาริมน้ําลําคลองขึ้น หมูบานริมน้ําที่เกิดขึ้นมีลักษณะยาวติดตอกันเปนพืดไปตามลําคลองหรือแมน้ํา ดานหลังเปนสวน ถัดสวนออกไปเปนทุงนาหรือไร การขยายตัวของหมูบานขยายไปตามแนวลําน้ําทางยาว ฉะนั้นหมูบานแบบนี้จึงยากตอการพัฒนาและการปกครอง ศูนยกลางของหมูบานทั่วไปไดแก วัด แตวัดมักจะเกิดขึ้นหลังจากชาวบานกินดีอยูดูแลวนั่นเอง ถึงแมวาวัดจะเกิดขึ้นภายหลัง แตวัดก็มีความสําคัญตอหมูบานมาก เพราะวัดเปนศูนยกลางของหมูบานและมีอิทธิพล ที่จะเปนตัวประสานยึดเหนี่ยวใหหมูบานดํารงอยูไดเปนกลุมกอน หมูบานริมลําน้ําที่กลาวมาทั้งหมดนี้ ถามีปริมาณมาก ขยายใหญรวมตัวกันเขามีขอบเขตคันคูจะกลายเปนเมือง และเปนเมืองที่มีลักษณะที่เรียกวา “เมืองอกแตก” หมายถึง เมืองที่มีแมน้ําหรือลําคลองขนาดใหญผากลาง เชน เมืองสุพรรณบุรี…” 46 สวนอําเภอเมืองฉะเชิงเทราในอดีตก็มีลักษณะการรวมตัวของชุมชนดังเหตุผลที่ยกมานี้ จากคําบอกลาของผูสูงอายุไดเลาวา แตกอนบริเวณริมแมน้ําแถบตําบลบานใหมเรียงรายละไปตลอดจนถึงบริเวณริมฝงแมน้ําวัดแหลมลาง คราคร่ําดวยเรือพาย เรือแพ แลเรือลองสินคา อาทิเชน เรือแจวมีประทุน ฯลฯ ดวยเหตุผลดังที่ได เกริ่นไวขางตนวาเปนเพราะอดีต เสนทางคมนาคมทางบกยังไมสะดวกสบายดังทางน้ํา ตัวอยางที่พอเห็นไดก็คือจากประวัติการเสด็จประพาสของพระเจาอยูหัวรัชกาลที่ ๕ จึงกอใหเกิดสภาพเปนชุมชนริมฝงแมน้ําขึ้น และฉะเชิงเทราในสภาพที่เปนอยูปจจุบัน เรือนแพ บานหรือรานคาริมน้ํากับเปนเพียงเงาสะทอนหรือภาพหลอนของอดีตเทานั้น เนื่องจากนับวันจะกลายสภาพไปเปนสิ่งที่หาดูไดยากสําหรับคนรุนตอไป และบางหลังก็ตอเสาเสรมิฐานแปรสภาพจากเรือนแพกลายเปนบานริมน้ําก็มี สวนที่ยังลอยตัวบนผิวน้ําก็กําลังจะเสื่อมสลาย กระจายอยูใหเห็นจนนับไดไมกี่หลัง ดังนั้นเมื่อเอยถึงเมืองฉะเชิงเทรา ก็อดไมไดที่จะกลาวถึง “เรือนแพและชุมชนริมฝงแมน้ํา” หนึ่งในจํานวนไมกี่จังหวัดในประเทศไทย เชน อยุธยา พิษณุโลก ราชบุรี ฯ ที่ยังมีสภาพชุมชนในอดีตหลงเหลือใหเห็นอยูในปจจุบัน

๑๓. ประวัติการสรางทางรถไฟสายตะวันออก (เดิม) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๕ ไดทรงปรับปรุงสภาพ

การคมนาคมภายในประเทศ ดวยวัตถุประสงคใหญ ๆ พอที่จะสรุปได ๓ ประการ คือ ๑. เพื่อความสะดวกในการกระชับการปกครองภายในประเทศ ๒. เพื่อสงเสริมทางดานเศรษฐกิจ ๓. เพื่อความสะดวกในการคมนาคม ดังนั้น การคมนาคมทางตะวันออกระหวางกรุงเทพฯ กับหัวเมืองตามชายฝงทะเล อาวไทย

หรือระหวางกรุงเทพฯ กับเมืองฉะเชิงเทรา และปราจีนนั้น เปนเสนทางที่มีความสําคัญทั้งในแงยุทธศาสตร และการคามาตั้งแตในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัฐบาลสมัยตอ ๆ

46 ผูชวยศาสตราจารยฤทัย ใจจงรัก, โครงการคนควาวิจัยเรื่อง เรอืนไทยเดิม คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดพิมพเผยแพร พ.ศ. ๒๕๑๘ หนา ๑๑–๑๓.

Page 44: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

มาไดสงเสริมโดยการขุดคลอง เพื่ออํานวยความสะดวกในการคมนาคมแถบนั้น ครั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว เมื่อมีการพัฒนาทางการรถไฟแลว มีผูสนใจขอสัมปทานสายนี้มาก เพราะเปนเสนทางระยะสั้นที่มีผูคนอาศัยตั้งบานเรือนอยูมาก อีกทั้งยังเปนชุมทาง ทางการคาที่มาจากเขมร และบางสวนจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือดวย ดังนั้นภายหลังจากทางรถไฟสายสมุทรปราการ ซ่ึงเปนกิจการคมนาคมขนสงทางบกของเอกชนเปดเดินรถและประสบความสําเร็จแลวมีผูสนใจขอสัมปทานสรางทางรถไฟตอไปยังตะวันออกนี้มากขึ้น ในป พ.ศ. ๒๓๓๙ มีผูขอสัมปทานสรางทางรถไฟไปทางตะวันออกถึง ๓ ราย คือ

๑. พระยามหาโยธา และพระนิเทศชลธ ีขอสัมปทานเสนทางตั้งแตกรุงเทพฯ บริเวณปากคลองพระโขนง ถึงเมืองฉะเชิงเทรา ตอไปยังพนมสารคามและสนามชัยเขต โดยยื่นหนังสือขอวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๓๙

๒. พระยาชลยุทธโยธิน ขอสัมปทานเสนทางตั้งแตกรุงเทพฯ ไปแหลมแทน โดยยื่นหนังสือขอวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๔๓๙

๓. พระยางําเมือง, หลวงดํารงดิฐการ และนายเบนเนต ขอสัมปทานเสนทางตั้งแตกรุงเทพฯ ถึงฉะเชิงเทรา โดยยืน่หนังสือขอวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๓๙

แตขณะนั้นรัฐบาลยังไมสนใจที่จะพัฒนาทางรถไฟทางดานตะวันออก ทั้งนี้ เนื่องจากวารัฐบาลตองพวงกับการสรางทางรถไฟสายนครราชสีมา และอีกประการหนึ่ง การคมนาคมทาง ตะวนัออก ก็มีคลองไปมาสะดวกพอควร ภายหลังจากรัฐบาลสรางทางสายนครราชสีมาแลว ในป พ.ศ. ๒๔๔๓ รัฐบาลไดเร่ิมโครงการสํารวจเสนทางทางตะวนัออก เพื่อเปนขอมูลวารัฐบาลควรจะสรางเอง หรืออนุมัติสัมปทานแกเอกชนตอไป ดังนั้นในป พ.ศ. ๒๔๔๔ เจากรมรถไฟจึงเดินทางเพื่อสํารวจตั้งแตกรุงเทพฯ ถึงศรีราชา และเสนอรายงานตอรัฐบาลวาควรสรางทางรถไฟสายนี้ ๔ ระยะ คือ กรงุเทพฯ ถึงฉะเชิงเทรา, ฉะเชงิเทรา ถึงพนสันิคม, พนัสนิคมถึง ชลบุรี และชลบุรี ถึงบางพระ รวมเปนระยะทาง ๑๓๗ กิโลเมตร ประมาณเงินคากอสราง ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท ถาจะตอไปถึงศรีราชาเปนทางอีก ๕ กิโลเมตร แตตองใชเงินคากอสรางมาก เพราะสภาพภูมิประเทศเปนภูเขา พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวมพีระบรมราชโองการ ใหสรางทางรถไฟสายเพยีงบางพระเทานั้น

แตแลวทางรถไฟสายตะวันออกจากกรุงเทพ ฯ ถึงบางพระ ซ่ึงกําหนดจะสรางในป พ.ศ. ๒๔๔๕ ก็ตองลมเลิก ดวยเหตุที่วารัฐบาลจําเปนจะตองสรางทางสายเหนือ ตอมาในป พ.ศ. ๒๔๗๗ ทางรถไฟสายตะวันออกไดรับการกระตุนเตือนจากขาราชการไทย โดยเจาพระยาสุรศักดิ์มนตรีไดมีหนังสือทูลเกลาฯ ขอใหรัฐบาลสรางทางรถไฟสายตะวันออก ดวยเงินพระคลังขางที่ ถาไมทรงโปรดใหพระคลังขางที่สรางเสร็จแลว เจาพระยาสุรศักดิ์มนตรี ขอสัมปทานสรางทางรถไฟตั้งแตกรุงเทพ ฯ ถึงศรีราชา รัฐบาลไดนําเรื่องเขาสูที่ประชุมเสนาบดีเพื่อพิจารณา เสนาบดีสภามีมติวารัฐบาลควรจะสรางทางนี้เอง

Page 45: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ดังนั้นในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๔๘ กรมการรถไฟจึงไดเร่ิมสรางทางรถไฟสายตะวันออก ตั้งแตกรุงเทพฯ โดยแยกจากทางรถไฟสายนครราชสีมาที่สะพานยมราช มาตามคลองบางกะป คลองประเวศบุรีรมย และแมน้ําบางปะกง จนถึงเมืองฉะเชิงเทรา ระยะทางยาว ๖๓.๔ กิโลเมตร ดวยรางขนาดกวาง ๑.๔๓๕ เมตร และเปดเดินรถไดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ การสรางทางสายตะวันออกตองยุติเพียงแคเมืองฉะเชิงเทรา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลมีภาระกิจที่จะตองพัฒนาทางรถไฟสายอื่น ๆ ที่มีความสําคัญกวา คือสรางทางรถไฟสายเหนือ เพราะเกิดกบฏเงี้ยวที่เมืองแพรขึ้น ทําใหรัฐบาลตองสรางทางสายเหนือเพื่อกระชับการปกครองหัวเมืองฝายเหนือ 47

พิธีเปดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา ที่เร่ิมสรางในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๔๘ และเสร็จเมื่อราวปลายป พ.ศ. ๒๔๙๙ นั้น ไดเปดเดินรถในวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๐ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๕ ซ่ึงขณะนั้น พระเจาบรมวงศเธอ กรมขุนมรุพงษศิริพัฒน เปนสมุหเทศาภิบาล เปนผูกลาวตอนรับ และไดทรงมีพระราชดํารัสตอบ ดังมีขอความตอไปนี้ “ดูกรประชาชนทั้งหลาย เราไดฟงคําแสดงความจงรักภักดีและอํานวยพรของเจาทั้งหลาย ซ่ึงเทศาภิบาล(กรมขุนมรุพงษ) ไดรับฉันทานุมัติกลาวแทนในเวลานี้ดวยคําไพเราะเปนที่พึงใจ จริงอยูเปนที่นาเสียดายมาก ซ่ึงเราหาโอกาสที่จะมาเยี่ยมในมณฑลนี้ไมไดบอย ๆ เชนมณฑลอื่น เหตุขอของดวยทางไปมาไมใครเปนที่สะดวกเหมาะแกฤดูกาล แตถึงเวลาที่เราไดมาเที่ยวในมณฑลนี้ลวงมาชานานถึง ๓๐ ปเศษ แตความบริบูรณของภูมิประเทศที่เราไดเห็นนั้นติดตาติดใจอยูเสมอมิไดลืมเลย จึงเปนเหตุใหมีความคิดวา ประโยชนอยางอุดมที่ไดเกิดขึ้นในมณฑลนี้จะสําเร็จเปนผลแกประชาชนราษฎรทั้งปวงยิ่งขึ้น ดวยมีทางไปมาแตที่นี้ถึงพระนครโดยสะดวกความเห็นอันนี้มิใชเปนความเห็นใหมเปนพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวแตรัชกาล กอน ๆ ไดทรงเห็นประโยชนอันนี้ จึงไดมีการขุดคลองใหเรือไปมาสะดวกขึ้น ในรัชกาลที่ ๓ จนถึงแผนดินปจจุบันนี้ แตยังมีชองที่จะเปนการสะดวกดีกวานั้น โดยทางรถไฟอันไดสรางขึ้นและเปนอันสําเร็จลงในวันนี้ เรามีความยินดีที่จะไดทําการอันเปนที่มั่นใจวาจะเปนประโยชนแกแผนดินและอาณาประชาราษฎรทั้งปวง คือ เปดทางรถไฟในเวลาวันนี้อยูแลว แตยิ่งเพิ่มพูนความยินดีพอใจมากขึ้นที่ไดมาพบเห็นอาณาประชาชนทั้งปวงอันมีใจจงรักภักดี ตั้งหนาคอยรับรองโดยความพอใจที่จะไดพบปะตัวเรา ทั้งไดเห็นการปกครองซึ่งไดจัดไวเปนการสําเร็จประโยชนดีอยางยิ่งสมดังความปรารถนา ถึงวาไมไดเคยมีความสงสัยเลยวาเทศาภิบาลผูนี้ ซ่ึงนับวาเปนผูจัดการสําเร็จไดจริงมา

47 เกื้อกลู ยืนยงอนันต, การพัฒนาการคมนาคมทางบกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว เอกสารนิเทศการศึกษา ฉบับท่ี ๑๙๔ หนวยศึกษานิเทศก กรมฝกหัดครูเจริญวิทยการพิมพ บางลําพู กรุงเทพฯ, ๒๕๒๐.

Page 46: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ในมณฑลหนึ่งแลว จะมาจัดการในมณฑลนี้ไมสําเร็จแตสักขณะหนึ่งก็ดี แตเมื่อมาเห็นความจริงอันปรากฏแกตา ประกอบกับการที่ไดฟง ก็มีความพอใจยิ่งขึ้น เมื่อโอกาสซึ่งประชาชนเมืองนี้จะไดไปมาติดตอกับพระมหานคร มีทางที่จะบรรทุกสิ่งอันเปนผลเกิดขึ้นดวยน้ําแรงไปยังตลาดโดยสะดวกดังนี้แลวเราจึงขอเตือนประชาชนทั้งหลายใหอุตสาหะตั้งหนาทํามาหากินใหทวียิ่งขึ้น จะไดมีทรัพยสมบัติเพิ่มพูนมั่งคั่งขึ้นกวาแตกอน และขออํานวยพรไวใหราษฎรทั้งหลายทํามาหากินโดยสะดวกดี มีผลเพิ่มพูนยิ่งขึ้นกวาแตกอน เปนที่ตั้งแหงความเจริญสุขสมบัติทั้งปวงทุกประการเทอญ…” 48

๒. เหตุการณที่นาสนใจ เหตุการณที่นาสนใจในอําเภอเมืองฉะเชิงเทรานี้ เทาที่คนหาหลักฐานและสืบทราบในขณะปจจุบัน มีเพียงเหตุการณเดียวที่เกิดขึ้นในสมัยแผนดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวรัชกาลที่ ๓ นั่นคือเหตุการณของพวกจีนตั้วเหี่ยหรือที่เรียกกันวา “อ้ังยี่” กอนที่จะทราบถึงเหตุการณที่พวกอั้งยี่กอการจลาจลขึ้นในเมืองฉะเชิงเทรา ควรจะไดทราบถึงมูลเหตุที่อ้ังยี่เกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทรเสียกอน ซ่ึงเรื่องอั้งยี่ที่เกิดขึ้นในสมัยกรุง รัตนโกสินทรนี้ สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพทรงนิพนธไวในหนังสือเร่ือง “นิทานโบราณคดี” ละเอียดพิสดารแลวจึงขอคัดมาลงไวดังตอไปนี้ “อ้ังยี่แรกมีขึ้นในเมืองไทยเมื่อรัชกาลที่ ๓ มูลเหตุที่จะเกิดอ้ังยี่ขึ้นนั้น เนื่องมาแตอังกฤษเอาฝนอินเดียเขาไปขายในเมืองจีนมากขึ้น พวกจีนตามเมืองชายทะเลพากันสูบฝนติดแพรหลาย จีนเขามาหากินในเมืองไทย ที่เปนคนสูบฝนก็เอาฝนเขามาสูบแพรหลายกวาแตกอนเลยเปนปจจัยใหมีไทยสูบฝนมากขึ้น แมจะถึงชั้นผูดีที่เปนเจาและขุนนางพากันสูบฝนติดก็มี ก็ในเมืองไทยมีกฎหมายหามมาแตกอนแลว มิใหใครสูบฝนหรือซ้ือฝนขาย เมื่อปรากฏวามีคนสูบฝนขึ้นแพรหลายเชนนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว จึงดํารัสใหตรวจจับฝนตามกฎหมายอยางกวดขัน แตพวกจีนและไทยที่สูบฝนติดมีมาก ก็จําตองลอบหาซื้อฝนสูบ เปนเหตุใหคนลอบขายฝนขึ้นราคาขายไดกําไรงาม จึงมีพวกจีนคิดคาฝนดวยตั้ง “อ้ังยี่” วางสมัครพรรคพวกไวตามหัวเมืองชายทะเล ที่ไมมีการตรวจตรา คอยรับฝนจากเรือสําเภาที่มาจากเมืองจีน แลวเอาปลอมปนกับสินคาอื่นสงเขามายังกงสีใหญ ซ่ึงตั้งขึ้นตามที่ล้ีลับในหัวเมืองใกล ๆ กรุงเทพฯ ลอบขายฝนเปนรายยอยเขามายังพระนคร ขาหลวงสืบรูออกไปจับ ถาซองไหนมีพรรคพวกมาก ก็ตอสูจนถึงเกิดเหตุรบพุงกันหลายครั้ง มีปรากฏในหนังสือพงศาวดารวา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ เกิดอั้งยี่ที่ในแขวงจังหวัดนครชัยศรี และจังหวัดสมุทรสาคร แตปราบไดโดยไมตองรบพุงครั้งหนึ่ง

48 กิจจา วัฒนสินธุ ประวัติเมืองฉะเชิงเทรา อนุสรณนายกจิจา วัฒนสินธุ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๓ โรงพิมพไทยอักษร กรุงเทพฯ ๒๕๒๓ , หนา ๑๘๕–๑๘๖.

Page 47: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ตอนั้นมา ๒ ปถึง พ.ศ. ๒๓๘๗ พวกอ้ังยี่ตั้งซองขายฝนขึ้นที่ในปาแสมริมชายทะเล ณ ตําบลแสมดํา ในระหวางปากแมน้ําบางปะกงกับแขวงจังหวัดสมุทรปราการ ตอสูเจาพนักงานจับฝน ตองใหกรมทหารปากน้ําไปปราบ ยิงพวกอั้งยี่ตายหลายคนและจับตัวหัวหนาได อ้ังยี่จงึสงบอกีคร้ังหนึ่ง ตอมาอีก ๓ ปถึง พ.ศ. ๒๓๙๐ พวกอ้ังยี่ตั้งซองขายฝนขึ้นอีกที่ตําบลลัดกรุด แขวงเมืองสมุทรสาคร คร้ังนี้พวกอั้งยี่มีพรรคพวกมากกวาแตกอน พระยามหาเทพ (ปาน) ซ่ึงเปนหัวหนาพนักงานจับฝน ออกไปจับเอง ถูกพวกอั้งยี่ยิงตาย จึงโปรดใหสมเด็จเจาพระยาบรมมหาประยูรวงศเมื่อยังเปนเจาพระยาพระคลังคุมกําลังไปปราบ ฆาพวกอั้งยี่ตายประมาณ ๔๐๐ คน และจับตัวหัวหนาได จึงสงบ ปราบพวกอั้งยี่ที่ลัดกรุดไดไมถึงเดือน พอเดือน ๕ พ.ศ. ๒๓๙๑ พวกอั้งยี่ก็กําเริบขึ้นที่เมืองฉะเชิงเทรา คราวนี้ถึงเปนกบฎ ฆาพระยาวิเศษฤาชัย ผูวาราชการจังหวัดตาย แลวพวกอั้งยี่เขายึดเอาปอมเมืองฉะเชิงเทราไวเปนที่มั่น โปรดใหสมเด็จเจาพระยาบรมมหาประยูรวงศยกพลจากเมืองสมุทรสาครไปปราบ พวกอั้งยี่ที่เมืองฉะเชิงเทราตอสูพายแพ พวกจีนถูกฆาตายกวา ๓,๐๐๐ คน อ้ังยี่ที่เมืองฉะเชิงเทราจึงสงบ ตอมาอีก ๒ ป ก็ส้ินรัชกาลที่ ๓ 49

สาเหตุท่ีเกิดกบฎอั้งยี่ในเมืองฉะเชิงเทรา เร่ืองมีวา ในเมืองฉะเชิงเทรามีอ้ังยี่อยูกกหนึ่ง ช่ือ กกเสงทง มียี่เฮียบูเปนหัวหนาและตั้วเฮียนัยวาเปนผูหญิงอยูเมืองนครชัยศรีกับยี่เฮียมั้ง เหตุเกิดเนื่องจากศาลเจาทางหมูบาน…มีงิ้ว พวกจีนโรงหีบออยพากันไปดูงิ้ว ขามสะพานคลองจุกเฌอ ที่เชิงสะพานมีบานคนไทยและมีสุนัขดุไลกัด พวกจีนจึงชวยกันไลตีสุนัข เจาของสุนัขโกรธจึงเอาเลื่อยไปเลื่อยเสาสะพานขามคลองไว พวกจีนไมรู ขากลับจากดูงิ้วขามสะพาน ๆ หักจึงรูเขา เลยเกิดเปนปากเสียงกันถึงกับตีกัน พวกจีนตีคนไทยตายแลวเลยเถิด 50 เร่ืองราวลุกลามขึ้น สวนหาเหตุเร่ืองราวท่ีปรากฏในพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ (เลม ๒) ฉบับเจาพระยาทิพากรวงศ มีวา “ลุศักราช ๑๒๑๐ (หรือ พ.ศ. ๒๓๙๑) ปวอกสัมฤทธิศก เปนปที่ ๒๕ โปรดเกลาฯ ใหตราออกไปถึงทานเจาพระยาพระคลังใจความวา อายจินเชียงทอง อ

ายจีนบู คนคิดกันเปนตั้วเหี่ย (คํา “ตั้วเหี่ย” นี้มาเปลี่ยนเรียก “อ้ังยี่”ในรัชกาลที่ ๕ ) ขึ้นที่เมืองฉะเชิงเทรา เมื่อ ณ วันเสาร เดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ํา (หรือวันที่ ๘ เมษายน) อายจีนบู อายจีนเชียงทอง อายจีนลัก เล้ียงโตะกัน วันอาทติยเดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ํา(หรือวันที่ ๙ เมษายน) พวกตั้วเหี่ยเขาตีโรงหีบหลงจูเลาฮี แลวฆาจีนฮอ พี่ชายหลงจูเลาฮี ซ่ึงเปนขุนกําจัดจีนหาญตาย ๑ คน พระยาวิเศษฤาชัยออกไปรบตั้วเหี่ย ๆ ฆาพระยาวิเศษฤาชัยตายในที่รบ (ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ยังไมมีโปลิสหรือตํารวจภูธรเปนพนักงานสําหรับตรวจ

49 ต. อมาตยกุล, นําเท่ียวจังหวัดฉะเชิงเทรา โรงพิมพขาวพานิชย เชงิสพานปฐมบรมราชานุสรณ ฝงพระนคร ๒๔๙๖, หนา ๗-๘. 50 เปนขอมูลจากการบอกเลา และเขียนบันทึกขึ้นโดย นายกิจจา วัฒนสินธุ

Page 48: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

หรือจับผูราย เจาเมืองตองทําการปราบปรามดวยกําลังปญญาของตัวเอง ถาพลาดทาเสียที เจาเมืองอาจตองถึงแกชีวิต การที่เจาเมืองฉะเชิงเทรา ตองถูกจีนตั้วเหี่ยฆาตายในที่รบยอมเปนตัวอยางอันดีสําหรับเรื่องนี้ ตอมาเมื่อมีการปกครองระบอบเทศาภิบาลแลว จึงไดมีกรมการอําเภอและตํารวจภูธรประจําอยูทองที่ตาง ๆ ดังที่เปนอยูในปจจุบัน) วันจันทร เดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ํา จีนตั้วเหี่ยตีเมืองฉะเชิงเทราได เขาตั้งอยูกําแพงเมือง (ความตอนนี้จากขอมูลท่ีไดเปนคําบอกเลาของญาติผูใหญของคุณกิจจา วัฒนสินธุ ไดกลาวถึงวา เจาเมืองขณะนั้นเดิมชื่อวา บัว ถูกจีนตั้วเหี่ยจับผาอกเอาตับผัดกินแลวก็ขึ้นครองเมืองฉะเชิงเทรา หัวหนาจีนตั้วเหี่ยไดพูดเปนภาษาจีน ๒-๓ คํา ทําใหพวกจีนดวยกันไมพอใจมา คําพูดที่แปลเปนภาษาไทย ไดความดังนี้ “ไมนึกเลยวาเราอาบู จะไดมาครองเมืองเปนเจา ทางเมืองจีนคงยังไมรู” พูดแลวก็หัวเราะลั่น นอกจากนั้นยังจะเอาภริยาของเจาเมืองมาทําภริยาอีก พอตกค่ําภริยาเจาเมืองจึงเอาแพรเพราะดํามาคลุมตัว ทําเปนสุนัขดําหนีไป) พระยามหาเทพซึ่งถูกปนกลับมาอยูได ๓ วัน ถึงอนิจกรรม จึงโปรดเกลาโปรดกระหมอมใหหาทานพระยาพระคลังยกไพรพลกลับออกไปเมืองฉะเชิงเทราโดยเร็วทานเจาพระยาพระคลังเห็นวา อายพวกจีนเมืองนครชัยศรีก็ยังไมเรียบรอย จึงใหจมื่นราชามาตยคุมคนในกองพระยามหาเทพ ไปตั้งอยูทากระบือแขวงเมืองสาครบุรี เมืองนครชัยศรีตอกัน เจาพระยาพระคลังใหยกไปเมืองฉะเชิงเทรา เมื่อ ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ํา (วันที่ ๑๓ เมษายน) ไปทางคลองหัวสําโรง เกณฑให พระอินทรอาสาคุมลาวเมืองพนัสนิคมไปทางบก (เหตุการณตอนตอจากนี้ ขอมูลจากคําบอกเลาซึ่งนายกิจจาไดบันทึกไว คือ เจาพระยาพระคลังไดยกไปปราบทางเรือ เรือรบจอดอยูวัด โสธรหรือวัดโรงทหาร (ช.พัน ๒ ปจจุบัน)

เจาพระยาบดนิทรเดชาชวยพระยาพระคลังปราบจีนตั้วเหี่ย จากพงศาวดารรัชกาลที่ ๓ กลาวถึงตอนโปรดเกลาฯ ใหพระยาพระคลังยกไพรพลจากเมือง

สมุทรสาครไปปราบกบฎที่ฉะเชิงเทรา และจากปากคําบอกเลาวา เจาพระยาพระคลังไดยกไปปราบทางเรือ และจอดเรืออยูแถวโรงทหาร (ช.พัน ๒) หรือแถบวัดโสธรในปจจุบัน ทานไดออกคําส่ังวา ถาเปนพวกจีนแลวใหฆาใหหมดไมเลือกหญิงชาย เด็ก ผูใหญ ใหจบัฆาใหหมด คําส่ังนี้ทําใหพวกจีนที่ไมรูเร่ืองพลอยรับบาปตองลมตายไปตาม ๆ กัน

ขณะเดียวกนันั้นเจาพระยาบดินทรเดชา ยกทัพกลับจากเมืองเขมร “มาถึงเมืองฉะเชิงเทราเมื่อวันจนัทร เดือน ๕ ขึน้ ๑๕ ค่ํา ทันทัพเจาพระยาพระคลังซ่ึงยกขึ้นไปปราบพวกจนีตั้วเหี่ยที่เมืองฉะเชิงเทรา ซ่ึงพักกองทัพอยูเหนือเมือง (การที่เจาพระยาบดินทรเดชา ยกทัพกลับจากเมืองเขมรมาทันทัพเจาพระยาพระคลังพอดีนั้น เขาใจวาพระยาพระคลังจะตองขอรองใหชวย เพราะทางเดนิทัพไมตองผานเมอืงฉะเชิงเทรา เนื่องจากทานรักใครกัน ทั้งเปนราชการแผนดิน) เจาพระยาพระคลังยกขึ้นไปทางเรือ ใหจมื่นไวยวรนาถเขาตพีวกตัว้เหี่ยอยูที่นอกกําแพงเมืองซึ่งตั้งอยูตามโรงหีบ พระอินทอาสานําลาวเมืองพนัสนิคมยกมาทางบก (จากบันทกึคําบอกเลา ๆ วา พวกจีนทีห่นีไปทางพนสันิคมถูกฆาตายเกือบหมด เหลือแตพวกผูหญิงก็จับเอาไปแลกน้ําตาล แลกเกลือที่ชลบุรี บางก็ถูกขายลงเปนทาส คาตัวคนหนึ่งอยางสูง ๓ ตําลึง พวกลาวทางพนัสทารุณมาก คือ พวกผูชายที่ยังไมถูกฆา

Page 49: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ก็จับเอาหวายมารอยที่เอ็นรอยหวาย แลวพาจูงไปเขาตบั คือ แลวเอาดาบฟนคอไปตามตับวาใครจะฟนคอคนขาดไดมากกวากัน)

พวกจีนตัว้เหีย่ที่หลบหลีกอยูในโรงหีบไมเห็นตวั พระอินทอาสาใหเอาไฟจดุเผาโรงเสียหลายโรง พวกจีนทนอยูไมไดก็ออกมาสูรบกับลาวจนจนีแตกหนีไป จีนเชียงทองเห็นวาจะสูมิได ก็ใหทานผูหญิงหุน ภรรยาพระยาศรีราชอากร มากราบเรียนทานเจาพระยาพระคลังวา จนีเชยีงทอง หาไดรูเห็นเปนตั้วเหี่ยดวยไม จีนบูและพวกตัว้เหีย่ทั้งปวงยกยองใหเปนเจานาย คร้ันไมยอมกจ็ะฆาเสีย กลัวตายก็ตองยอม บดันี้จีนเชียงทองจะจับตวัจนีบูมาลุแกโทษ เจาพระยาพระคลังก็รับยอมใหเกลี้ยกลอม จีนเชียงทองคมุสมัครพรรคพวกไปจับจนีบูที่ในกําแพงเมือง เอามาสงทานเจาพระยาพระคลัง ๆ จึงใหเจาหมื่นไวยวรนาถคุมตวัจีนบู จนีเชียงทอง จีนขุนพฒัน (ลัก) จีนหลงจูชี หลงจูยี ่หลงจูตัด เขากรุงเทพมหานคร

ฝายพวกตั้วเหีย่หานายใหญมิไดก็ระส่ําระสาย คร้ัน ณ เดือน ๕ แรม ๕ ค่ํา ก็ทิ้งเมืองหนีเอาตัวรอด กองทพัไทยจับไดตวัจีนหวยเสี้ยวตั้วเหีย่ เอี้ยงยีเ่หี่ย เนาซาเหีย่ โปยี่เหีย่ เสงชาเหี่ย ตูยีเ่หีย่ จีนเกา จนีกี่เฉาเอย จีนโผ หลงจูอะ จีนกี เถาแกสวนออยก็ถูกนายทัพนายกองไทยฆาตายเสยีมาก พวกชาวบานซึ่งหลบหนีอยูในปารูวา พวกจีนตัว้เหีย่แตกแลว ก็พากนัออกมาพบเจก็จีนที่ใดก็ฆาเสียส้ิน ไมรูวาจะเปนจีนตัว้เหีย่หรือมิใชตั้วเหีย่

คร้ังนั้นพวกจนีไมมีที่พึ่ง หาผูใดจะชวยธุระมิได ก็พากนัผูกคอตายเสยีเปนอันมาก ที่ไมฆาตัวตายก็โกนผม เอาผาเหลืองหมโพธ์ิหมพระพุทธรูปเอามานุงหม (คนจีนในสมยันั้นไวหางเปยทกุคน ทําใหรูไดงายวาคนจีนหรือคนไทย) ดวยธรรมเนยีมจีนโทษผิดถึงตายแลว ถาโกนผมบวชเสียไดกอนแลว ก็ไมมีโทษถึงเปนขาศึกกันไมทําอันตราย ธรรมเนียมไทยไมถือดังนัน้ก็ฆาฟนเสียส้ิน พวกจีนหนีเดนิบกมาถึงเมืองชลบุรี ลาวเมืองพนัสนิคมอยูตนทาง ก็สกดัฆาพวกจีนอยูที่นั่น ศพกองอยูแหงละ ๙ ถึง ๓๐ คน เร่ียรายอยูที่ทุงนาปารกเปนอนัมาก ฆาแลวก็ถอดเอาเสื้อกางเกงตัดเอาไถ (ที่ใสเงิน) ผาทองคนเอาเงินในไสพุง บางคนก็ไดบาง เกดิเปนผลประโยชนขึ้นเปนพิเศษ ที่รอดหนีมาถึงเมืองชลบุรีได พระยาชลบุรีก็ใหจับฆาเสีย พวกจนีตายครั้งนั้นหลายพัน ศพลอยในลําน้ําเมืองฉะเชิงเทราติดเนื่องกันไปทุกคุงน้ํา จะนับประมาณมิได (จากบันทึกบอกเลาวา สวนพวกทีห่นีไปทางฝงกรุงเทพฯ คนไทยไมทําอันตราย และไดชวยใหหนีหลุดไปได คําส่ังทางกรุงเทพฯ กวาจะมาถึงและหามไมใหฆากัน กป็รากฏวาผูคนไดลมตายไปมากตอมาก)

เจาพระยาบดนิทรเดชา เจาพระยาพระคลังเสร็จราชการแลว จงึพรอมกันยกทัพกลับกรุงเทพมหานคร เมื่อวันเดอืน ๖ ขึ้น ๓ ค่ํา ตั้งกองชําระเอาแตที่เปนตัวนายไปประหารชีวิตเสีย นอกนั้นเปนแตคนปลายเหตเุขาน้ําสบถก็ใหสักแกมเปนอักษรจีน อักษรไทยวา พวกตั้วเหี่ย ปลอย

Page 50: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ไป มีคํากลาวชาวเมืองพูดกนัวา เจาพระยาพระคลัง เดือน ๔ เลนตรุษเมืองนครชัยศรี เดือน ๕ เลนสงกรานตเมืองฉะเชิงเทรา…..” 51

๓. บุคคลท่ีนาสนใจ บุคคลสําคัญทานหนึ่งซึ่งถือกําเนิด ณ บานโสธร อําเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เปนผูทําคุณประโยชนใหแกประเทศชาติอยางใหญหลวง โดยเฉพาะอยางยิ่งทางดานการสอนภาษาไทย จนไดรับพระราชทานบรรดาศักดิ์เปนพระยาศรีสุนทรโวหาร ญาณปรีชามาตย บรมนาถนิตยภักดี พิริยะพาหะ นับไดวาเปนเกียรติประวัติที่สําคัญยิ่งของจังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งควรจะไดรับการกลาวถึงไวในเรื่องสิ่งที่นารูและนาสนใจ ในอําเภอเมืองฉะเชิงเทรานี้ดวยบุคคลที่นาสนใจทานนี้ คือ

พระยาศรีสุนทรโวหาร (นอย อาจารยางกูร) ทานถือกําเนิด ณ บานในคลองโสธร แขวงเมืองฉะเชิงเทราเมื่อวันศุกรที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๕ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ํา เดือน ๘ ปมะเมีย จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๘๔ บิดาชื่อ ทองดี มารดาชื่อ บัว ทานเปนบุตรคนที่ ๖ เมื่อทานอายุได ๖ ป ๗ ปนั้น ทานไดเลาเรียนหนังสือไทยกับหลวงบันเทาทุกขราษฎร (ไทย) กรมการเมืองฉะเชิงเทราซึ่งเปนพี่ชายใหญของทาน เมื่อคร้ังที่หลวงบันเทาทุกขราษฎรยังบวชเปนภิกษุอยูที่วัดโสธร ครั้นเมื่อทานอายุได ๑๓ ป พี่ชายใหญของทานจึงไดพากันเขามาพักอยูกับทานสามเณร(ทัด) ซ่ึงเปนนาชายของทานที่ไดเขามาบวชอยูที่วัดสระเกศวรวิหาร ทานสามเณรทัดไดชักนําใหทานเลาเรียนวิชาหนังสือไทยกับทานกรรมวาจาจีน เรียนหนังสือขอมกับทานพระครูวิหารกิจานุการ (กรรมวาจาจีน) แลวไดเรียนสารสงเคราะห ในสํานักสมเด็จพระสังฆราช (ดอน) เรียนมงคลทีปนี ในสํานักพระอุปทยาจารยศุข เรียนมูลกัจจายนในสํานักสมเด็จพระพุทธาจารย (สน) เรียนกังขา วิตะระณีในสํานักพระอาจารยเกิด วัดแหลม เรียนมหาวงศในสํานักพระครูดวง และไดเลาเรียนพระ คัมภีรอ่ืน ๆ ในสํานักพระครูปาน พระใบฎีกาแกว พระอาจารยคง พระอาจารยดวง ฝายอาจารยคฤหัสนั้นทานไดรํ่าเรียนวิภัตติกะกาคัณฐาภรณสัดถสาร วะชิระสารในสํานักทานอาจารยแสง เรียนวุตโตไทยในสํานักหมอมเจาอน บานถนนโรงครก เสาะหาอาจารยศึกษาวิชาหนังสือขอม หนังสือไทยในสํานักอาจารยตาง ๆ ดังนี้มาตั้งแตอายุทานได ๑๔ ป แลวทานจึงไดเขาบวชเปนสามเณรอีก ๘ ป รวมเวลาที่ทานไดเลาเรียนอยูถึง ๑๑ ป

51 ประวัติเจาพระยาบดินเดชา (สิงห สิงหเสนี) สมุหนายกในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว รัชกาลท่ี ๓ อนสุรณในงานฉลองอนุสาวรียรูปหลอเจาพระยาบดินทรเดชา ๒๔ มิถุนายน ๒๕๒๑ กรุงเทพการพิมพ กรุงเทพฯ, หนา ๑๕๗–๑๕๙. หมายเหตุ ความในวงเล็บท่ีแทรกอธิบายนั้น เปนขอมลูบันทึกจากคําบอกเลาโดยนายกิจจา วฒันสินธุ จากหนังสืออนุสรณในกิจจา วัฒนสินธุ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๓ พิมพท่ีหางหุนสวนจํากัด โรงพิมพอกัษรไทย กรุงเทพมหานคร ๒๕๒๓, หนา ๑๘๑ - ๑๘๒.

Page 51: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ครั้นพออายุได ๒๑ ปครบบวช จึงไดเขาอุปสมบทเปนภิกษุอยูในวัดสระเกศวรวิหารไดศึกษาปริยัติธรรมเรียนคําภีรวิสุทธิมัคกับพระวิเชียรปรีชา (กล่ิน) เจากรมราชบัณฑิตย ที่พระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท ตอมาได ๓ พรรษาจึงไดเขาแปลปริยัติธรรมในที่ประชุมพระราชาคณะที่วัดราชบูรณะ กรมไกรษรวิชิตเปนผูกํากับเปนครั้งที่ ๑ ไดเปนเปรียญเอก ๕ ประโยค มีนิตยภัตร เดือนละ ๘ บาท ในขณะนัน้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหวั เปนทีท่รงโสมมนัสยินดีเปนที่ยิ่งดวยเดิมที่วัดสระเกศฯ ในสมัยนัน้ขาดเปรียญมาหลายสิบปแลว คร้ังนี้ทานมาเปนเปรียญขึ้นในวดัสระเกศทรงเฉลิมพระราชศรัทธาโปรดเกลาฯ ใหบูรณะปฏิสังขรณวัดใหม ร้ือกุฏิเกาฝาจากฝาไมไผออก แลวกอสรางกฏิุตึกใหมใหเปนที่เสนาสนะอันงดงาม และกอภเูขาทองในปนั้นดวย ตอมาทานไดมีความอุตสาหะไปเที่ยวเลาเรียนพระปริยัติธรรม ในสํานักพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวเมื่อยังทรงผนวชอยูนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวก็ไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหรับไวเปนสานุศิษยฝายอันเตวาสิก แลวจึงโปรดเกลาใหพระธรรมการบดี (ศกุ) เมื่อยังบวชเปนพระญาณรักขิตนั้น เอาเปนภาระธุระส่ังสอนตอมา นอกจากนี้แลวทานยังไดเลาเรียนในสํานักพระอาจารยอ่ืน ๆ ตอมาอีก ๓ พรรษารวมเปน ๖ พรรษาจึงไดเขาแปลพระปริยัติธรรมในที่ประชุมพระราชาคณะ พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวเมื่อยังทรงผนวชและไดทรงกํากับแปลพระปริยัติธรรม กับสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงษ ที่วัดเชตุพลวิมลมังคลารามอีกครั้งหนึ่ง ไดขึ้นอีก ๒ ประโยค รวมเปน ๗ ประโยค ครั้งภายหลังทานไดศึกษาพระปริยัติธรรมในสํานักอาจารยตาง ๆ อีก ๓ พรรษา รวมที่ทานไดดํารงสมณเพศอยูในแผนดินพระนั่งเกลาเจาอยูหัว ๙ พรรษา พอส้ินรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่ ง เกลา เจ าอยูหัวแลว คร้ันตกมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยู ทานก็ไดรับราชการสมณะศักดิ์ ถวายพระธรรมเทศนาเปนที่ถูกพระอัธยาศัยโดยมาก และทรงเมตตารับเขาในพวกสานุศิษยขาหลวงเดิม พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว จึงไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหสถาปนาทานขึ้นเปนพระประสิทธิสุตคุณที่พระราชาคณะอยูในวัดสระเกศฯ พระราชทานตาลปตรแฉกหักทองขวางเปนเครื่องยศ มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๔ ตําลึง มีถานา ๓ องค คือประลัด ๑ สมุหะ ๑ ใบฎีกา ๑ เปนเกียรติยศ ตั้งแต ณ วันที่ ๔ แรม ๘ ค่ํา ปชวด จัตวาศก พ.ศ. ๒๓๙๕ ทานไดดํารงสมณะเพศอยูในราชการพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว ๙ พรรษา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ๒ พรรษา รวมเปน ๑๑ พรรษา จึงเจาไปถวายพระพรลาสิกขาบท ตอพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว เปนที่ทรงพระเมตตา มีพระราชประสงคที่จะใหทานดํารงสมณะศักดิ์ตอไป จึงไดทรงทดัทานหามปรามไว มิใครจะโปรดใหสึก

Page 52: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ตอมาภายหลังไดกราบทูลออนวอนเปนหลายครั้ง จึงไดทรงพระกรณุาโปรดเกลาฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตใหลาสกิขาบท เมื่อ ณ วันที่ ๒ เดอืน ๒ แรม ๓ ค่ํา ปฉลู เบญศก ศักราช ๑๒๑๕ คร้ันเมื่อลาสิกขาบทออกจากวัดสระเกศแลว ไดออกมาพักอาศยัอยูที่วังพระเจาราชวรวงษเธอ กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ ซ่ึงทานเปนที่คุนเคยกนัมาครั้งตั้งแตคร้ังยังบวชเปนภิกษอุยู ครั้นแลว ทานเจาพระยามหินทรศักดิ์ดํารงค แตเมื่อทานยังเปนเจาหมื่นสรรพเพชภักดีหัวหมื่นมหาดเล็กอยูนั้น ไดนําทานเขาไปถวายตัวทําราชการฉลองพระเดชพระคุณอยูในกรมมหาดเล็กเวรศักดิ พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ไดทรงใชสอยการหนังสือไทยแลหนังสือขอม แคลวคลองตองตามพระราชอัธยาศัยทุกส่ิงทุกประการ จึงพระราชทานใหเบี้ยหวัดปละ ๕ ตําลึง พระราชทานสมปกสายบัวเปนเครื่องยศ ทานไดรับราชการในกรมมหาดเล็กมาได ๑ ป จึงไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯใหเปนที่ขุนประสิทธิอักษรศาสตร ผูชวยกรมพระอาลักษณ ถือศักดินา ๘๐๐ และในเวลานั้นเจากรมฯ อักษรพิมพการวางอยู จึงโปรดเกลาฯ ใหวาที่เจากรมฯ อักษรพิมพการ ไดรับพระราชทานเบี้ยหวัดปละ ๕ ตําลึง และผาสมปกลองจวนเปนเครื่องยศ ทานไดรับราชการเปน ๒ ตําแหนง คือทั้งในกรมพระอาลักษณ และกรมอักษรพิมพการดวย พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวเปนที่ทรงพระเมตตากรุณาโปรดปรานมาก ไดรับพระราชทานรางวัลหีบถม ๑ และเงินตราเสื้อผาอยูเนือง ๆ มิไดขาด เมื่อจวนจะสิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหวันั้น ไดทรงพระกรณุา โปรดเกลาฯ ใหเขาไปรักษาอุโบสถเมื่อเวลาทรงศีลที่หอพระสิหิงค โดยเปนที่ไววางพระราชหฤทัยในทาน มิไดทรงรังเกียจสิ่งหนึ่งสิ่งใดเสมอกับศิษยกับอาจารยเหมือนกัน และเมื่อเสด็จพระราชดําเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตําบลหวากอ คร้ังนั้นก็ไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหตามเสด็จพระราชดําเนินดวย แลวทานไดรับราชการตาง ๆ มาจนสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว โดยความจงรักภักดีมิไดมีความผิดรายเปนขอสําคัญสิ่งใด ใหเปนที่ขุนเคืองใตฝาละอองธุลีพระบาทเลย คร้ันมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว ไดโปรดเกลาฯ ใหเล่ือนตําแหนงยศเปน ขุนสารประเสริฐ ปลัดทูลฉลองกรมพระอาลักษณถือศักดินา ๑ ,๖๐๐ พระราชทานสมปกลองจวนเปนเครื่องยศ และพระราชทานเบี้ยหวัดปละ ๒ ช่ัง ไดรับราชการกํากับพนักงานกองตรวจคัดสอบทานหนังสือขางที่เปนเรื่องตาง ๆ อยูในพระเจาราชวรวงษเธอกรมขุนบดินทรไพศาลโสภณ ที่พระที่นั่งราชฤดี ไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ พระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๐ บาท คร้ังนั้นพระเจานครเชียงใหมไดนําชางเผือกผูผานสําคัญมาถวายในคราวแรกเปนชางสําคัญที่ ๑ ในสมัยนั้น จึงโปรดเกลาฯ ขนานนามวา “ พระเสวตวรวรรณ” และใหแตงฉันทสําหรับพราหมณกลอมเมื่อเวลาสมโภช ทานก็ไดรีบเรงแตงขึ้นทูลเกลาฯ ถวายใหทันพระราชประสงคโดยสําเร็จบริบูรณ เปนความชอบในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว จึงไดทรงพระกรุณา

Page 53: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

โปรดเกลาฯ พระราชทานรางวัลเปนเงินตราชั่ง ๕ ตําลึง แลวภายหลังมีชางสําคัญเขามาสูพระบรมโพธิสมภารอีกหลายชางคือ พระมหารพีพรรณคชพงษ พระเสวตรสุวภาพรรณและชางเผือกสําคัญอ่ืน ๆ อีกหลายชาง ทานก็ไดรับการฉลองพระเดชพระคุณในการขนานนามชางและแตงฉันทกลอมเสมอทุกครั้ง และทุก ๆ ชางมา ไดรับพระราชทานรางวัลตามสมควร

ครั้นเมื่อ ณ วัน ๔ เดือน ๑ แรม ๒ ค่ํา ปมะแม ตรีศก จุลศักราช ๑๒๓๓ ทานไดคิดแบบสอนหนังสือไทย คือ มูลบทบรรพกิจ เลม ๑, วาหะนิตินิกร ๑ เลม ๑, อักษรประโยค ๑ เลม ๑, สังโยคพิธาน เลม ๑ และพิศาลการัตน เลม ๑ ขึ้นทูลเกลาถวาย ใหเอาตนฉบับแบบหนังสือไทยทั้ง ๕ เร่ืองนั้นลงพิมพที่โรงพิมพหลวง สําหรับจะไดจําหนายพระราชทานใหแกผูเลาเรียนตอไป ฝายความชอบที่เปนผูตนคิดแบบเรียนแบบสอนนั้น ไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหเล่ือนตําแหนงยศขึ้นเปนหลวงสารประเสริฐ ปลัดทูลฉลองกรมอาลักษณ ๆ ยังมิไดเคยมีตําแหนงเปนหลวงมากอนเลย แลวพระราชทานสมปกเชิงปูมกับเสื้อแพรเขียวเปนเครื่องยศ พระราชทานเบี้ยหวัดเงินป ๆ ละ ๒ ช่ัง

คร้ันปวอก จัตวาศก ๑๒๓๔ ไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหมาเปนครูสอนหนังสือไทยในกรมมหาดเล็ก คือ สอนพวกนายทหารและมหาดเล็กชั้นเล็ก ๆ ซ่ึงพระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง) เปนตนคิดจัดการตั้งโรงเรียนขึ้นในออฟฟศทหารมหาดเล็ก ในพระบรมมหาราชวังเปนครั้งแรก

คร้ันประกา เบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕ จึงไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหตั้งเปน โรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง แลวจึงโปรดเกลาฯ ใหเปนอาจารยใหญ ส่ังสอนพระเจานองยาเธอพระเจานองนางเธอ ที่ยังทรงพระเยาวอยู และหมอมเจา หมอมราชวงศ และบุตรหลานขาราชการผูใหญผูนอยทั้งปวงทั่วไป โดยแบบหนังสือไทยซึ่งทานไดคิดทูลเกลาฯ ถวายไวทั้ง ๕ ฉบับนั้น ไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ พระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๖๐ บาท

ภายหลังทานไดคิดแบบหนังสือไทยเพิ่มขึ้นอีกหลายฉบับ คือ ไวยพจนพิจารณ เลม ๑ อนันตะวิภาคย เลม ๑ เขมรากษรมาลา เปนแบบหนังสือขอม เลม ๑ นิติสารสาธก เลม ๑ ปกิระณําพจนาตถ เลม ๑ และแบบโคลงฉันทอีกหลายเรื่อง ในขณะนั้นไดทรงพระกรุณา โปรดเกลาฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณช้ันที่ ๔ ช่ือ ภัทราภรณ เปนเกียรติยศในความชอบ เมื่อ ณ วัน ๕ เดือน ๖ ขึ้น ๑๒ ค่ํา ประกา เบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕

คร้ันตอมาภายหลัง พระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟก) เจากรมอาลักษณถึงแกกรรมลงจึงโปรดเกลาฯ วาจะทรงแตงตั้งใหทานเปนพระศรีภูริปรีชาเสนาบดีศรีสารลักษณ เจากรมอาลักษณ ถือศักดินา ๕,๐๐๐ ทานจึงไดกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอรับพระราชทานถือศักดินา ๓,๐๐๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว จึงไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ตั้งใหทานเปนที่พระศรีสุนทรโวหาร เจากรมอาลักษณ ถือศักดินาแต ๓,๐๐๐ ตามที่ไดกราบบังคมทูลนั้น แลวพระราชทานโตะถมกาถมเปนเครื่องยศ และเบี้ยหวัดปละ ๓ ช่ัง ตั้งแต ณ วันที่ ๖ เดือน ๙ ขึ้น ๕ ค่ํา ปกุนสัปตศก จุลศักราช ๑๒๓๗

Page 54: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ครั้นเมื่อ ณ วันที่ ๗ เดือน ๖ ขึ้น ๙ ค่ํา ปกุนนพศพ จุลศักราช ๑๒๓๙ ไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ตั้งใหทานเปนองคมนตรีที่ปรึกษาราชการ และในขณะนั้นขุนหลวงพระยาไกรษี ซ่ึงไดรับราชการดํารงตําแหนงสภาเลขานุการในที่ประชุมที่ปรึกษาราชการแผนดินและที่ประชุมองคมนตรีนั้นถึงแกกรรมลง ทานก็ไดรับราชการตําแหนงเลขานุการในสภาทั้ง ๒ นั้นสืบมาดวย

เมื่อเดือน ๓ ปเถาะ เอกศก จุลศักราช ๑๒๔๑ พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ทรงพระราชศรัทธาในการที่จะปฏิสังขรณซอมแซมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซ่ึงรกรางคางมาหลายปแลวนัน้ใหเปนอันสําเร็จบริบูรณขึ้น จึงไดทรงพระราชดําริพรอมดวยพระบรมวงศานุวงศ มีสมเด็จพระเจานองยาเธอ และพระเจานองยาเธอ เปนอันมาก ทรงกะปนหนาที่แยกกันเปนดาน ๆ ออกไป แลวเขียนรูปภาพเปนเรื่องรามเกียรติ์ ตามพระระเบียงรอบพระอุโบสถ แลวไดโปรดเกลาฯ ใหเกณฑขาราชการที่เปนจินตกวีรับแตงโคลงรามเกียรติ์มาจารึกเปนหอง ๆ ไป

ขณะนั้นไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหทานเปนแมกองตรวจโคลงที่ขาราชการมาแตงทูลถวายโดยรอบพระอารามนั้น แลวทานก็ไดรับแตงทูลเกลาฯ ถวายเปนหนาที่ ที่กะแบงใหทานก็มีหลายหองเหมือนกัน

อนึ่ง เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหตั้งโรงเรียนขึ้นที่พระราชวังเดิมสวนสุนันทา อุทธยานนั้น ก็ไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ตั้งใหทานเปนกรรมสัมปาทิกชวยจัดการโรงเรียนนั้นดวย แลวภายหลังทานไดแตงหนังสือเปนคํากลอนเลม ๑ ช่ือวา ปกิระณําพจนาตถ ขึ้นทูลเกลาฯ ถวายเปนที่ถูกพระราชอัธยาศัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณชางเผือกชั้นที่ ๓ ช่ือ นภาภรณ อีกดวง ๑ เปนเกียรติยศในความชอบ เมื่อ ณ วัน ๕ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ํา ปมะโรง ยังเปนเอกศก จุลศักราช ๑๒๔๑

คร้ันเมื่อ ณ วัน ๒ เดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ํา ปมะเมียจัตวาศก จุลศักราช ๑๒๔๔ การพระราชปฏิสังขรณวัดพระศรีรัตนศาสดารามเปนอันสําเร็จบริบูรณแลว จึงไดโปรดเกลาฯ ใหมีการสมโภชวัดนั้นเสร็จแลว จึงไดโปรดเกลาฯ พระราชทานบําเหน็จรางวัลในความชอบตาง ๆ แกพระบรมวงศานุวงศ และขาราชการที่ไดรับหนาที่เปนนายดานทําการตาง ๆ ในบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น เพื่อเปนที่ระลึก สวนในหนาที่ของทานซึ่งเปนแมกองตรวจโคลงแตงโคลงนั้นก็มีความชอบในราชการ จึงไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหเล่ือนตําแหนงขึ้นเปน พระยาศรีสุนทรโวหาร ญาณปรีชามาตย บรมนารถนิตยภักดี พิริพาหะ คงถือศักดินา ๓,๐๐๐ แลวทรงพระกรุณาโปรดเกลา พระราชทานโตะทองกาทอง เปนเครื่องยศ รับพระราชทานเบี้ยหวัดปละ ๔ ช่ัง ตั้งแต ณ วัน ๔ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ํา ปมะเมีย ยังเปนตรีศก จุลศักราช ๑๒๔๓

ภายหลังทานไดคิดแตงแบบเรียนหนังสือไทยเปนคําโคลงฉันทตาง ๆ เปนคําอธิบายชี้แจงถอยคําและตัวสะกดในแบบไวยพจนพิจารณเลม ๑ ใหช่ือวา ไวยพจนประพันธ ขึ้นทูลเกลาฯ ถวายถูกตองตามพระราชอัธยาศัย เปนความชอบในราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา วาเปนผูมีความรูพิเศษในหนังสือไทยเปนเกียรติยศ เมื่อ ณ วัน ๗ เดือน ๒ ขึ้น ๕ ค่ํา ปมะเมีย จัตวาศก ๑๒๔๔

Page 55: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ตอมาทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหเลิกสอนหนังสือไทยที่โรงเรียนหลวงแลวใหมาเปนอาจารยถวายพระอักษร สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจาฟาวชิรุณหิศ และ สมเด็จพระบรม โอรสา ธิราชเจาฟามหาวชิราวุธ สยามมกุฏราชกุมาร และสมเด็จพระเจาลูกเธอเจาฟาและพระเจาลูกเธอเปนอันมาก แลวโปรดเกลาฯ ใหเปนกรรมสัมปาทิก (คือ ผูยังการงานใหถึงพรอม คือบุคคลที่ไดรับเลือกหรือตั้งเปนคณะเพื่อประโยชนในทํานองเปนผูอํานวยการ เปนการประจําคลายกรรมการ หรือสมาชิกผูเปนเจาหนาที่ จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓) สําหรับสอบไลวิชาหนังสือไทยชั้นสูงในที่ประชุมเสมอทุก ๆ ปไป ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ พระราชทานเงินเดือน ๆ ละ ๑๒๐ บาท

อนึ่งทานก็ไดรับพระราชทานตราตั้งเปนกรรมสัมปาทิกในหอพระสมุดวชิรญาณ ในปที่ ๕ ของหอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อ ณ วัน ๖ เดือน ๑๑ ขึ้น ๕ ค่ํา ประกา สัปตศก ๑๒๔๗ ตลอดกําหนด และโปรดเกลาฯ ใหเปนกรรมสัมปาทิก ในการตีพิมพพระไตรปฏก และไดรับราชการจรตาง ๆ เปนอันมาก

คร้ันถึงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๐๘ ทรงพระราชดําริเห็นวา ทานเปนคนรับราชการตาง ๆ มานาน มีความชอบในราชการและมีอายุสูงแลว และเปนพระอาจารยในสมเด็จพระบรม โอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร และพระบรมวงศานุวงศ และขาราชการเปนอันมาก สมควรที่จะไดรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยภรณสําหรับตระกูล ช่ือ ทุติยะจุลจอมเกลาฯ และพานหมาก คนโฑทอง กระโถนทอง เปนเครื่องยศ ใหสมกับความชอบในราชการ

การกุศลซึ่งทานไดบําเพ็ญใหเห็นปรากฏเปนถาวรไวนั้น คือ ทานไดแตงหนังสือไวดวย คติโลก คติธรรม ช่ือ มหาสุปสสีชาดก เร่ือง ๑ ธรรมเทศ เร่ือง ๑ กับไดบริจาคทรัพทยสรางสะพานและสวมที่วัดชุมพลนิกายาราม ที่เกาะบางปะอิน และไดสรางถนน สะพาน ตั้งแตประตูพฤติบาศ ตลอดไปถึงวัดโสมมัสวิหาร

คร้ันเดือน ๑๐ ปเถาะตรีศก จุลศักราช ๑๒๕๓ ตรงกับวันที่ ๒๑ กันยายน ร.ศ. ๑๑๐ ทานปวยมีอาการไขเสนใหสะบัดรอนสะบัดหนาว พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ พระราชทานหมอหลวงมารักษา และใหหมอเชลยศักดิ์มารักษาดวย แตอาการของทานหาคลายไม จึงโปรดเกลาฯ ใหพระยาอมรสาตรประสิทธ์ิศิลปมารักษา มีอาการใหเหนื่อยหอบเปนกําลัง รับประทานอาหารไมใครได คร้ันถึง ณ วัน ๖ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ํา ปเถาะ ตรีศก ๑๒๕๓ ตรงกับวันที่ ๑๖ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๐ ทานไดส่ังให น.ห.หลวงมหาสิทธิโวหาร ปลัดนั่งศาลกรมพระอาลักษณและผูชวยราชการกรมไปรษณีย นําดอกไมธูปเทียนมาทูลเกลาฯ ถวายในสมเด็จพระเจาอยูหัว กราบถวายบังคมลาเวลาบาย ๕ โมงเศษ ก็ถึงแกอนิตยกรรม

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว เปนที่ทรงพระเมตตาอาลัยในทานวา เปนผูมีคุณวุฒิในวิชาหนังสือไทย หนังสือขอม และเปนผูที่นิพนธคิดพระนามและชื่อตาง ๆ โดยพิศดาร และรอบรูในวิชาการอื่น ๆ อีกเปนอันมาก และเปนผูมีสัตยธรรมมั่นคง จงรักภักดีตอใตฝาละอองธุลีพระบาท มีความอุตสาหะตั้งใจทําราชการฉลองพระเดชพระคุณโดยความกตัญูกตเวทีโดยแท มิไดมีความผิด

Page 56: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

ส่ิงหนึ่งส่ิงใดใหเปนที่ขุนเคืองใตฝาละอองธุลีพระบาทเลย และไดรับราชการในตําแหนงพระอาจารยแหงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมารดวย จึงโปรดเกลาฯ พระราชทานโกฐโถมีเครื่องพรอมใหเปนเกียรติยศ….52

52 น.ห. หลวงมหาสิทธิโวหาร, แบบเรียนหลวง โรงพิมพชวนพิมพ กรุงเทพฯมหานคร ๒๕๒๔ , หนา (๔) – (๑๕).

Page 57: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

บรรณานุกรม กิจจา วัฒนสนิธุ, อนุสรณนายกจิจา วฒันสินธุ โรงพิมพอักษรไทย กรุงเทพฯ, ๒๕๒๓. เกียรติศักดิ์ บรูพาเดชะ , รายงานขอราชการอําเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ.

๒๕๒๔. เกื้อกูล ยืนยงอนันต, การพัฒนาการคมนาคมทางบก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา

เจาอยูหวั เอกสารนิเทศการศึกษา ฉบับที่ ๑๙๔ หนวยศกึษานิเทศก กรมฝกหัดครู ๒๕๒๐ เจริญวิทยการพิมพ บางลําพู กรุงเทพฯ , ๒๕๒๐.

คณะกรรมการประวัติศาสตร, เอกสารโบราณคดีแถลงงานประวัติศาสตร ซ่ึงเสนอตอ คณะกรรมการชําระประวัติศาสตร สํานักนายกรัฐมนตร,ี สํานักนายกรัฐมนตรี พิมพ

คณาจารยมหาวิทยาลัยศรนีครินทรวิโรฒ, ประวัติศาสตรไทยยุคกอนประวัติศาสตรถึงส้ินอยุธยา กรุงสยามการพิมพ, กรุงเทพฯ ๒๕๑๙.

คํากลาวรายงานในพิธีเปดงานผูกพัธสีมา วดัอุภัยภาตกิาราม วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๑๔. งานสมโภชกรงุรัตนโกสินทร ๒๐๐ ป ๒๕๒๕ จังหวัดฉะเชิงเทรา , หางหุนสวนจํากัดยูนิตี้พับ

ลิเคชั่น กรุงเทพฯ , ๒๕๒๕. ต. อมาตยกุล, นําเที่ยวฉะเชิงเทรา วารสารศิลปากร ปที่ ๖ เลมที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๖. โรงพิมพ

ขาวพานิชย เชงิสะพานปฐมบรมราชานุสรณ ฝงพระนคร, ๒๔๙๖. ที่ระลึกงานพธีิพุทธาภิเษก สมโภชตึกพุทธภาวนาสถาน ณ วดัจีนประชาสโมสร “เลงฮกยี”่ จังหวดั

ฉะเชิงเทรา , ๒๕๒๓. ที่ระลึกพระกฐินพระราชทาน ทอด ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวดัฉะเชิงเทรา , วัดที่มีความ

สําคัญทางประวัติศาสตร , เกษมรัติการพมิพ ฉะเชิงเทรา , ๒๕๒๓. ทําเนียบศกัดินาทหารหัวเมือง (ชุมนุมกฎหมายประจําศก เลม ๑) ทะเบียนโบราณวัตถุสถานทัว่ราชอาณาจกัร, กรมศิลปากรจัดพิมพ พ.ศ. ๒๕๑๖. นพคุณ เจริญราช, เร่ืองจังหวัดฉะเชิงเทรา หนังสือขาวสารการฝกอบรมเปรียบเทียบคด ี

สรรพสามิต. น.ห. หลวงมหาสิทธิโวหาร , แบบเรียนหลวง โรงพิมพชวนพิมพ กรุงเทพฯ , ๒๕๒๔. นิทัศน จารวฒัน , ประวัตวิัดสัมปทวน (นอก) เกษมรตัิการพิมพ ฉะเชิงเทรา , ๒๕๒๑. ประชุมพระราชนิพนธรัชกาลที่ ๔. ภาคปกณิกะ ภาค ๑. ประชาสัมพันธศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา , สําเนาเอกสารประวัติอาคารศาลจังหวัดหลังเกา. ประวัติเจาพระยาบดินทรเดชา (สิงห สิงหเสน)ี สมุหนายกในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหวั

รัชกาลที่ ๓ อนุสรณในงานฉลองอนุสาวรียรูปหลอเจาพระยาบดินทรเดชา กรุงเทพฯ การพิมพ กรุงเทพฯ , ๒๕๒๑.

Page 58: แนะนำอำเภอเมือง ฉะเชิงเทรา

บรรณานุกรม (ตอ)

พงศาวดารกรุงธนบุรี และ จดหมายเหตุรายวันทัพสมัยกรุงธนบุรี, ประชุมพงศาวดาร เลม ๔๐

โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว กรุงเทพฯ , ๒๕๑๒. พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ประชมุพงศาวดาร เลม ๓๘ โรงพิมพคุรุสภา

ลาดพราว กรุงเทพฯ, ๒๕๑๒. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพนัจันทนุมาศ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา

เผยแพร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐. พระอธิการนคร จนทโชโต, ประวัตวิัดเจดยี โรงพิมพมหามงกุฎฯ หนาวัดบวรนิเวศฯ กรุงเทพฯ

๒๔๙๘. ผูชวยศาสตราจารยฤทัย ใจจงรัก,โครงการคนควาวิจยัเร่ืองเรือนไทยเดมิ คณะสถาปตยกรรมศาสตร

มหาวิทยาลัยศลิปากรจัดพิมพเผยแพร , ๒๕๑๘. แผนเงินจารกึวัดพยัคฆอินทาราม (วัดเจดยี) ๒๔๑๘. ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม, เอกสารประกอบการอภิปรายเรื่องประวัติศาสตรจากการบอกเลา จากการ

สัมมนาทางวิชาการเรื่องวัฒนธรรมภาคตะวันออก มศว. บางแสน, ๒๕๒๔. ตุลาคม ๒๕๒๓.

สํานักงานศึกษาธิการจังหวดัฉะเชิงเทรา, แผนระยะยาวระดับมัธยมศกึษา ๒๕๑๘ - ๒๕๒๖ ๓๐ หลวงประจําจนัทเขตร, สภาพจังหวัดฉะเชงิเทรา พิมพรวบรวมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗. หนวยศิลปากรที่ ๕ จังหวดัฉะเชิงเทรา , รายงานสํารวจแหลงโบราณคดี จังหวัดฉะเชิงเทรา และ

ชลบุรี ปงบประมาณ ๒๕๒๕. หนวยศิลปากรที่ ๕ จังหวดัฉะเชิงเทรา, ทะเบียนโบราณสถาน.หนวยศิลปากรที่ ๕ จังหวดัฉะเชิงเทรา , รายงานสํารวจแหลงโบราณคดี จังหวัดฉะเชิงเทรา และ

ชลบุรี ปงบประมาณ ๒๕๒๕. หลงจูฮี๊ หลงจูแดง , ใบฎีกากําหนดงานสมโภชปดทองพระพุทธรูปวดัอุภัยภาตกิาราม ๒๔๕๑. อนุสรณงานสมโภชหลวงพอโสธร พ.ศ. ๒๕๑๘ โรงพิมพจิตรหัตถกร กรุงเทพฯ ๒๕๑๘. อนุสาร อ.ส.ท. เดือนตุลาคม ๒๕๑๓ ฉบับแนะนําฉะเชิงเทรา.