คณะวิชาช่างยนต์1. เคร องม อต ดโลหะแผ น...

Post on 28-Jun-2020

3 views 0 download

Transcript of คณะวิชาช่างยนต์1. เคร องม อต ดโลหะแผ น...

คณะวิชาช่างยนต์

เสนอโดยอาจารย์ จักรพงษ์ แจ้งเมือง

1. เครื่องมือตัดโลหะแผ่น

1.1 กรรไกรตัดตรง(Straight Snip) เป็นกรรไกรชนิดที่มีการตัดขวางของคมตัดเป็นแนวเส้นตรงตลอดใช้ส าหรบงานตัดโลหะตามแนวเส้นตรงเท่านั้น

ภาพที่ 5.1 กรรไกรตัดตรง

1.2 กรรไกรตัดโค้ง(Circular Snip) เป็นกรรไกรชนิดที่มีการตัดขวางของคมตัดเป็นส่วนโค้ง เหมาะส าหรับงานตัดโลหะในแนวเส้นโค้ง

ภาพที่ 5.2 กรรไกรตัดโค้ง

1.3 กรรไกรผสม(Combination Snip) กรรไกรชนิดนี้จะมีภาคตัดขวางของคมตัด ใช้ส าหรับตัดชิ้นงานตามแนวเส้นตรงและแนวเส้นโค้ง

ภาพที่ 5.3 กรรไกรผสม

1.4 กรรไกรแบบแฮ็คบิล(Hack’s Bill Scroll Snip) เป็นกรรไกรชนิดที่มีลักษณะของปลายใบตัดโค้งเรียว ซึ่งเหมาะส าหรับงานตัดโค้งภายนอกและภายในที่มีขนาดเล็ก

ภาพที่ 5.4 กรรไกรแบบแฮ็คบิล

1.5 กรรไกรอะเวียช่ัน(Aviation) เป็นกรรไกรชนิดที่มีลักษณะของคมตัดเรียว เหมาะส าหรับตัดโลหะแผ่นที่เป็นมุมฉากเล็ก ๆ วงกลมเล็กและตัดเส้นตรงซิกแซก กรรไกรอะเวียชั่น แบ่งได้ 3 ชนิด คือ กรรไกรตัดซ้าย กรรไกรตัดตรง กรรไกรตัดขวา

ภาพที่ 5.5 กรรไกรอะเวียชั่นและคมตัดแบบฟัน

1.6 กรรไกรประกอบแขน(Compound Lever Snip) กรรไกรชนิดนี้จะเป็นแบบตัดตรง ซึ่งถูกออกแบบให้มีขนาดด้านบนเพื่อผ่อนแรง

ภาพที่ 5.6 กรรไกรประกอบแขนและการใช้งาน

1.7 กรรไกรคมตัดคู่(Double Cutting Snip) กรรไกรชนิดนี้เป็นแบบตัดตรง ซึ่งด้านบนจะมีคมตัด 2 คม ตัดคู่ขนานกัน กรรไกรชนิดนี้เหมาะส าหรับงานตัดต่อท่อกลม

ภาพที่ 5.7 กรรไกรคมตัดคู่และการใช้งาน

1.8 กรรไกรโยก(Bench Laver Shere) เป็นกรรไกรชนิดคมตัดตรงตั้งบนโต๊ะ ซึ่งลักษณะใบคมตัดนั้นจะออกแบบให้เป็นเส้นตรง เพื่อให้มุมและของที่ใช้ในการตัดคงที่ กรรไกรโยกเหมาะส าหรับงานตัดโลหะแผ่นที่มีความหนามาก

ภาพที่ 5.8 กรรไกรโยก

1.9 กรรไกรไฟฟ้า(Electric Sheet Metal Shear) กรรไกรชนิดนี้จะอาศัยก าลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าไปรับให้คมตัดขยับขึ้นลง ท าให้สามารถตัดชิ้นงานได้หลายลักษณะ เช่น การตัดตรง

2. เครื่องมือเคาะขึ้นรูป

2.1 ค้อนเคาะตะเข็บ(Setting Hammer) ค้อนชนิดนี้จะมีผิวหน้าของหัวค้อนเรียบ ส่วนด้านหางของค้อนจะตัดเฉียงด้านเดียว ใช้ในการขึ้นรูปขอบตะเข็บ

ภาพที่ 5.10 ค้อนเคาะตะเข็บและการใช้งาน

2.2 ค้อนเคาะขึ้นรูป(Raising Hammer) ค้อนชนิดนี้ใช้ส าหรับงานเคาะขึ้นรูปโลหะแผ่นให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ ดังนั้นรูปร่างลักษณะของหัวค้อนก็จะแตกต่างกันออกไป ตามรูปร่างของงานที่น ามาเคาะขึ้นรูป

ภาพที่ 5.11 ค้อนเคาะขึ้นรูปและหัวค้อนแบบต่าง ๆ

2.3 ค้อนย้ าหมุด(Riveting Hammer) ค้อนชนิดนี้ที่หน้าค้อนจะมีผิวโค้งเพียงเล็กน้อย ล าตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยมและลบมุมตรงนั้น 4 มุม ส่วนที่หางค้อนจะเรียว ส่วนปลายโค้งมน

ภาพที่ 5.12 ค้อนย้ าหมุดและการใช้งาน

2.4 ค้อนหัวแข็ง(Hard Head Hammer) ค้อนชนิดนี้ใช้ส าหรับงานหนัก เช่นการเคาะขึ้นรูปโลหะแผ่นหนา

ภาพที่ 5.13 ลักษณะค้อนหัวแข็ง

2.5 ค้อนหัวอ่อน(Soft Head Hammer) ค้อนชนิดนี้ท าจากวัสดุอ่อน เหมาะส าหรับงานเคาะ ดัด ตีขึ้นรูปโลหะแผ่นชนิดอ่อน

ภาพที่ 5.14 ค้อนหัวอ่อนและการใช้งาน

2.6 ค้อนไม้(Wood Hammer) ค้อนชนิดนี้ท าจากไม้เนื้อแข็งแต่มีความเหนียว เหมาะส าหรับงานเคาะขึ้นรูปโลหะแผ่นชนิดอ่อน

ภาพที่ 5.15 ค้อนไม้

3. คีม(Pliers)

ใช้ส าหรับงานโลหะแผ่นนั้นจะมีหน้าที่จับ ตัด พับ และบิดชิ้นงานในขณะขึ้นรูป แบ่งออกได้หลายชนิดตามลักษณะการใช้งาน

3.1 คีมปากแบน(Flat Nose Pliers) มีลักษณะแบนที่ส่วนปลายจะขึ้นรูปฟันเป็นหลัก ๆ ป้อนกันการเลื่อนขณะจับชิ้นงาน

ภาพที่ 5.16 คีมปากแบนและการใช้งาน

3.2 คีมพับตะเข็บด้วยมือ(Hand Seamer) คีมชนิดนี้จะมีปากกว้างกว่าคีมทั่วไป เหมาะส าหรับการพับขึ้นรูปชิ้นงานด้วยมือ

ภาพที่ 5.17 คีมพับตะเข็บแบบปรับระยะพับได้

3.3 คีมตัดบาก(Hand Notcher) ใช้ส าหรับตัดบากหรือตัดมุมของโลหะแผ่น ส าหรับงานที่ต้องพับมุมชิ้นงาน หรืองานขึ้นรูปชิ้นงานแบบต่าง ๆ

ภาพที่ 5.18 คีมตัดบาก

3.4 คีมตัดบากตะเข็บแบบหางเหยี่ยว คีมชนิดนี้ใช้ส าหรับตัดและพับปากของท่อโลหะแผ่นเพ่ือต่อยึดเข้าด้วยกัน

ภาพที่ 5.19 คีมตัดบากตะเข็บแบบหางเหยี่ยว

3.5 คีมท าจีบรอบปลายท่อ คีมชนิดนี้ใช้ส าหรับท าจีบหรือขึ้นลอนรอบปลายท่อโลหะแผ่น

ภาพที่ 5.20 แสดงคีมท าจีบรอบปลายท่อ

3.6 คีมล็อกพับตะเข็บ คีมชนิดนี้จะใช้จับชิ้นงานและพับขอบชิ้นงานช่วยล็อกเมื่อได้ต าแหน่งที่ต้องการ

ภาพที่ 5.21 คีมล็อกพับตะเข็บ

4. แท่นช่วยขึ้นรูป(Bench Stakes)

งานพับขึ้นรูปโลหะในลักษณะต่าง ๆ นั้นจ าเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือช่วยขึ้นรูป ซึ่งจะท าจากเหล็กที่มีความแข็งและเหนียว ลักษณะของแท่นช่วยขึ้นรูปจะแตกต่างกันไป เพื่อให้เหมาะสมกับการขึ้นรูปชิ้นงานแต่ละอย่าง

ภาพที่ 5.23 แท่นช่วยขึ้นรูปลักษณะต่าง ๆ4.1 Candle Mold Stake เหมาะส าหรับงานขึ้นรูปชิ้นงานทรงกลมขนาดเล็ก

ภาพที่ 5.24 แท่นขึ้นรูปแบบ Candle Mold Stake

4.2 Beakhorn Stake เหมาะส าหรับงานขึ้นรูปงานเหลี่ยมงานเคาะขึ้นตะเข็บชิ้นงาน

ภาพที่ 5.25 แท่นช่วยขึ้นรูปแบบ Beakhorn Stake

4.3 Blowhorn Stake เหมาะส าหรับงานขึ้นรูปกรวยขนาดใหญ่ และงานทรงกลม

ภาพที่ 5.26 แท่นช่วยขึ้นรูปแบบ Blowhorn Stake

4.4 Needlecase Stake เหมาะส าหรับการขึ้นรูปท่อเล็ก ๆ หรือการขึ้นรูปมุมของงานทรงเหลี่ยม ซึ่งมีขนาดของงานเล็ก ๆ ที่ต้องการความละเอียด

ภาพที่ 5.27 แท่นช่วยขึ้นรูปแบบ Needlecase Stake

4.5 Creasing Stake เหมาะส าหรับงานเข้าตะเข็บรูปกรวยยาว งานเข้าขอบลวดและงานที่เป็นรูปเรียวต่าง ๆ

ภาพที่ 5.28 แท่นช่วยขึ้นรูปแบบ Creasing Stake

4.6 Hollow Mandrel Stake เหมาะส าหรับงานขึ้นรูปขอบของงานกลม งานเคาะขึ้นรูปทรงเหลี่ยมและงานเข้าตะเข็บท่อ

ภาพที่ 5.29 แท่นช่วยขึ้นรูปแบบ Hollow Mandrel Stake

4.7 Double Seaming Stake เหมาะส าหรับงานเคาะขึ้นรูปตะเข็บด้านนอกงานทรงกลม

ภาพที่ 5.30 แท่นช่วยขึ้นรูปแบบ Double Seaming Stake

4.8 Double Seaming With Four Heads ประกอบด้วยหัวขึ้นรูป 4 หัว เปลี่ยนตามลักษณะการใช้งาน ใช้ส าหรับเคาะขึ้นรูปตะเข็บ 2 ชั้น ของงานทรงกระบอกแนวตั้ง

ภาพที่ 5.31 แท่นช่วยขึ้นรูปแบบ Double Seaming Stake With Four Heads

4.9 Solid Mandrel Stake เหมาะส าหรับงานขึ้นรูปทรงสี่เหลี่ยม ทรงโค้ง และงานขึ้นรูปตะเข็บที่มีความยาวมาก ๆ

ภาพที่ 5.32 แท่นขึ้นรูปแบบ Solid Mandrel Stake

4.10 Conductor Stake เหมาะส าหรับงานขึ้นรูปทรงกลม งานย้ าหมุดและงานย้ าตะเข็บท่อขนาดเล็ก

4.11 Bevel Edge Stake เหมาะส าหรับงานขึ้นรูปทรงเหลี่ยมขนาดใหญ่

ภาพที่ 5.34 แท่นขึ้นรูปแบบ Bevel Edge Stake

4.12 Hatchet Stake เหมาะส าหรับการตัดหรือพับโลหะแผ่นที่ต้องการมุมของส่วนโค้งน้อย

ภาพที่ 5.35 แท่นขึ้นรูปแบบ Hatchet Stake

4.13 Common Square Stake เหมาะส าหรับงานขึ้นรูปงานทรงเหลี่ยม และพับตะเข็บชิ้นงาน

ภาพที่ 5.36 แท่นขึ้นรูปแบบ Common Square Stake

4.14 Copper Smith Stake เหมาะส าหรับงานทรงเหลี่ยมและงานทรงกลม

ภาพที่ 5.37 แท่นขึ้นรูปแบบ Copper Smith Stake

4.15 Bottom Stake เหมาะส าหรับงานพับขอบที่เป็นวงกลม

ภาพที่ 5.38 แท่นขึ้นรูปแบบ Bottom Stake

5. เครื่องมือท ารูเจาะ(Punch Tools)

5.1 เหล็กเจาะรูแท่งตัน(Solid Punch) ใช้ส าหรับตอกเจาะรูโลหะแผ่นที่หนาไม่มากนัก หรืออาจจะเป็นโลหะอ่อน

ภาพที่ 5.39 เหล็กเจาะรูแท่งตันและการใช้งาน

5.2 เหล็กเจาะรูแท่งกลวง(Hollow Punch) เหมาะส าหรับงานที่มีความหนาไม่มากนัก หรืออาจจะเป็นโลหะอ่อนแผ่นบางก็ได้

ภาพที่ 5.40 เหล็กเจาะรูแท่งกลวงและการใช้งาน

5.3 เครื่องกดเจาะด้วยมือ(Hand Punch) เป็นเครื่องมือที่ใช้ตัดเจาะรูกลม

ภาพที่ 5.41 ส่วนประกอบของเครื่องกดเจาะด้วยมือทั้ง 2 แบบ

5.4 เครื่องเจาะรูแบบหมุน(Hand-Operated Turret Punch) เครื่องมือชนิดนี้จะติดตั้งชุดเจาะหลายชุดไว้บนแท่นหมุนรูปวงกลม

ภาพที่ 5.42 เครื่องเจาะหมุน

6. เหล็กย้ าตะเข็บ(Hand Groove)

ภาพที่ 5.43 เหล็กย้ าตะเข็บและการใช้งาน

7. เหล็กย้ าหัวหมุด(Rivet Set)

ภาพที่ 5.44 เหล็กย้ าหัวหมุดและการใช้งาน