ชุดที่4 เล่ม1 เทคนิค วิธีการและสื่อ...

Post on 02-Dec-2014

16.063 views 5 download

description

 

Transcript of ชุดที่4 เล่ม1 เทคนิค วิธีการและสื่อ...

ชุดที่ 4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณ

ิตศาสตร์ เล่มที่ 1

เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

เอกสารชุดแนวทางพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

เล่มที่ 1

ชุดที่ 4

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

เอกสารชุดแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้

สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ชุดที่ 4 เทคนิค วิธีการและสื่อสำหรับ

นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

เล่มที่ 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

เรื่อง เทคนิค วิธีการและสื่อสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ด้านคณิตศาสตร์ เล่มที่ 1

ผู้จัดพิมพ์ กลุ่มการจัดการศึกษาเรียนร่วม

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ

จำนวนพิมพ์ 2,500 เล่ม

ปีที่พิมพ์ 2554

ISBN 978-616-202-380-4

คำนำ

เอกสารชุด “แนวทางพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้”

นี้ ได้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551 โดยในครั้งนั้นได้จัดทำเป็นเอกสาร 5 เล่ม คือ

เล่มที่ 1 ความรู้พื้นฐานและแนวทางพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เล่มที่ 2

การเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เล่มที่ 3 เทคนิค วิธีการและ

สื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน เล่มที่ 4 เทคนิค วิธีการและสื่อ

สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการเขียน และเล่มที่ 5 เทคนิค วิธีการและสื่อ

สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยที่ผ่านมาพบว่าเอกสารชุด

ดังกล่าว เป็นประโยชน์กับครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานักเรียนที่มี

ความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านต่างๆได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตามเพื่อให้เอกสารชุดนี้มีความเป็นปัจจุบันและมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงเห็นควรปรับปรุงเอกสารดังกล่าว โดยในการปรับปรุง

ครั้งนี้ นอกจากความเหมาะสมของเทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทาง

การเรียนรู้แล้ว ยังได้คำนึงถึงความสะดวกของครูและผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำไปใช้ด้วยเป็นสำคัญ

ด้วยเหตุนี้จึงได้จัดพิมพ์เอกสารชุดนี้ออกเป็น 1 เล่มกับอีก 4 ชุด เพื่อให้เอกสารแต่ละเล่มมีขนาด

ไม่หนาจนเกินไปโดยประกอบด้วยเอกสารต่างๆดังนี้

เอกสาร ความรู้พื้นฐานและแนวทางพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

เอกสารชุดที่ 1 การเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ประกอบด้วยเอกสาร 2 เล่ม

เอกสารชุดที่ 2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ด้านการอ่าน ประกอบด้วยเอกสาร 6 เล่ม

เอกสารชุดที่ 3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ด้านการเขียน ประกอบด้วยเอกสาร 3 เล่ม

เอกสารชุดที่ 4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ด้านคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยเอกสาร 5 เล่ม

สำหรับเอกสารนี้เป็นเล่มที่ 2 ในเอกสารชุดที่ 4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่

มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งในเอกสารจะกล่าวถึงสภาพปัญหา แนวทาง

พัฒนา เทคนิควิธีการและสื่อการเรียนการสอน รวมทั้งกิจกรรมการจัดการเรียนรู้และแบบฝึก ที่จะนำ

ไปสู่การแก้ไขปัญหาที่เกิดกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ ทั้งนี้ในการนำไปใช้ครูผู้สอน ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องอาจพิจาณาปรับเปลี่ยนได้

ตามความเหมาะสม

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำเอกสาร

ชุดนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อครูผู้สอน ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง

ทุกระดับซึ่งจะได้นำไปประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้อย่าง

เหมาะสม กล่าวคือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้แต่ละคนจะได้รับการช่วยเหลือและ

ส่งเสริมให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพซึ่งย่อมส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิต

ของผู้เรียน

(นายชินภัทรภูมิรัตน)

เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สารบัญ

เรื่อง หน้า

คำนำ

สารบัญ

บทนำ

ความสำคัญในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์.............. 1

ปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้................... 2

จุดประสงค์ในการพัฒนาการเรียนรู้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ด้านคณิตศาสตร์....................................................................................................... 3

ปัญหาและเทคนิคการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ด้านคณิตศาสตร์....................................................................................................... 4

นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ด้านคณิตศาสตร์....................................................................................................... 9

วิธีใช้เทคนิควิธีการและสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง

ทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์.................................................................................. 9

การวัดและประเมินผล.............................................................................................................. 11

การปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง

ทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์................................................................................. 11

สรุปการนำเทคนิควิธีการสื่อไปใช้กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ด้านคณิตศาสตร์....................................................................................................... 12

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ด้านคณิตศาสตร์

ปัญหาที่1.การบอกค่าและความหมายของจำนวนนับ............................................................. 14

กิจกรรมที่1จำนวนอะไรเอ่ย................................................................................ 15

กิจกรรมที่2หยิบ1,2,3…................................................................................... 21

กิจกรรมที่3ฉันหยิบได้....................................................................................... 26

กิจกรรมที่4คู่หนูอยู่ไหน..................................................................................... 31

ปัญหาที่2.การจำสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์......................................................................... 39

กิจกรรมจำฉันได้ไหม.......................................................................................... 40

เรื่อง หน้า

ปัญหาที่3.การจำแนกตัวเลขที่คล้ายกัน................................................................................ 49

กิจกรรมหาคู่ให้หนูหน่อย.................................................................................... 50

ปัญหาที่4.การนับเรียงลำดับจำนวน..................................................................................... 54

กิจกรรมที่1ฉันนับได้......................................................................................... 55

กิจกรรมที่2เปรียบเทียบจำนวน......................................................................... 60

กิจกรรมที่3เรียงเลขต่อกัน................................................................................. 63

ปัญหาที่5.การจำและเขียนตัวเลขแทนจำนวน....................................................................... 68

กิจกรรมที่1เติมให้เต็ม....................................................................................... 69

กิจกรรมที่2ร่องตัวเลข....................................................................................... 84

ปัญหาที่6. การอ่านและเขียนจำนวนที่มีหลายหลัก................................................................ 90

กิจกรรมที่1สีมหัศจรรย์...................................................................................... 91

กิจกรรมที่2มัดครบสิบ....................................................................................... 94

บรรณานุกรม........................................................................................................................ 98

ภาคผนวก............................................................................................................................. 99

การสอนด้วยวิธีTouchMath............................................................................... 100

ตัวอย่างสื่อ.......................................................................................................... 111

คณะทำงาน........................................................................................................................... 123

1

บทนำ

ความสำคัญในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LearningDisability : LD) หรือ แอลดี หมายถึงความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งอย่างทางกระบวนการพื้นฐานทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา การพูด การเขียน ซึ่งอาจแสดงออกถึงความบกพร่องในความสามารถทางการฟัง การคิด การพูด การอ่าน การเขียน การสะกดคำ หรือการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ความบกพร่องทางการเรียนรู้นับเป็นประเภทของความพิการหรือบกพร่องที่พบมากที่สุดในประชากรวัยเรียน โดยคิดเป็นประมาณร้อยละ 5 ของประชากรวัยเรียน และคิดเป็นประมาณร้อยละ 50 ของจำนวนนักเรียนที่มีความพิการหรือบกพร่องทุกประเภทรวมกัน ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นเด็กที่มีสติปัญญาปกติ ถ้าหากครูผู้สอนไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับความบกพร่องและลักษณะของปัญหาที่เด็กประสบแล้ว ย่อมส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนไม่ตอบสนองต่อการเรียนรู้และสภาพความบกพร่องที่ต้องการแก้ไขหรือพัฒนา และยังอาจส่งผลให้เด็กเหล่านี้ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง รวมทั้งอาจมีปัญหาพฤติกรรมหรือปัญหาอื่นๆตามมาได้ เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เป็นนามธรรมและประกอบด้วยสัญลักษณ์ดังนั้นอาจยากต่อการเรียนรู้และเข้าใจ โดยเฉพาะสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์อาจมีลักษณะความบกพร่องด้านดังกล่าวแตกต่างกันไปเช่นเด็กบางคนมีปัญหาในการรับรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ซึ่งส่งผลให้มีปัญหาในการเรียนคณิตศาสตร์ หรือเด็กบางคนมีปัญหาในการอ่านก็อาจส่งผลในการทำโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นต้น โดยความรุนแรงของปัญหาในด้านการเรียนคณิตศาสตร์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงเห็นความสำคัญในการเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยมุ่งหวังจะให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษาและให้เด็กเหล่านี้ได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป จึงได้จัดทำเอกสารวิธีการและสื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์

2

ปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรยีนรู้

นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ที่พบได้ในโรงเรียน

ทั่วไปจะมีความยากลำบากในเรื่องต่อไปนี้

1. ความคิดรวบยอดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น เรื่องขนาด ความยาว

น้ำหนัก ทิศทาง ตำแหน่ง รูปเรขาคณิต เวลา พื้นสัมผัส สี ลักษณะเส้น การจำแนก

การเปรียบเทียบจัดหมวดหมู่เรียงลำดับจำนวนเป็นต้น

2. ระบบจำนวน เช่น ค่าและความหมายของจำนวน ค่าประจำหลัก การกระจาย

จำนวนตามค่าประจำหลักเป็นต้น

3.ขั้นตอนกระบวนการในการคิดคำนวณ เช่น ไม่สามารถจำและหรือเขียน

สัญลักษณ์แทนการกระทำทางคณิตศาสตร์ ขั้นตอนในการบวก ลบ คูณหาร การทดและ

การกระจายจำนวนในการลบเป็นต้น

4.การนำทักษะทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นการเรียงลำดับที่ของ

ขนาดจำนวนการบอกความสัมพันธ์ของหน่วยการวัดเป็นต้น

5. การนับจำนวน การจำแนกตัวเลข จำนวนที่คล้ายคลึงกัน การบอกค่าของ

ตัวเลขในจำนวนต่างๆการอ่านจำนวนที่มีหลายหลัก

6.ภาษาคณิตศาสตร์ เช่นการบอกสัญลักษณ์การบวกการเปรียบเทียบขนาด

ตำแหน่งทิศทางเวลาน้ำหนักส่วนสูงความยาวเป็นต้น

7.ข้อเท็จจริงพื้นฐานของจำนวนเช่นไม่เข้าใจว่า7น้อยกว่า15เป็นต้น

8. การบอกความเหมือนหรือความต่างกันของวัตถุสิ่งของ รูปภาพ จำนวนที่

เท่ากันหรือต่างกัน

9.การเรียงลำดับจำนวนจากมากไปหาน้อยหรือน้อยไปหามาก

10.การเขียนตัวเลขกลับทิศทางเช่น6-9,3-8,1-7,12-21

11. การรับรู้ทางการได้ยินตัวเลข โจทย์ และคำถามทางคณิตศาสตร์ ทำให้ตอบ

ไม่ตรงคำถาม

12.การเขียนหลงบรรทัด

13.การใช้เส้นจำนวน

14.การนับเรียงวันใน1สัปดาห์เดือนใน1ปี

15.การนับเพิ่มการนับลดครั้งละเท่าๆกัน

3

16.การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์

17.การจำแนกรูปเรขาคณิตสองมิติและรูปเรขาคณิตสามมิติ

18. การหาความสัมพันธ์ของแบบรูป เช่น แบบรูปที่เป็นรูปภาพ จำนวน สี

สัญลักษณ์ต่างๆเป็นต้น

19.การอ่านแผนภูมิรูปภาพแผนภูมิแท่งกราฟแผนผังและทิศทาง

20.การหาเหตุผลเชิงปริมาณ

จุดประสงค์ในการพัฒนาการเรียนรู้ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

1.เพื่อผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนักเรียนที่มีความบกพร่อง

ทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

2.เพื่อให้ครูผู้สอนได้แนวทางในการแก้ปัญหานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการ

เรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

3.เพื่อให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ มีพัฒนาการ

ในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4

ปัญหาและเทคนิคการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

สาระ ปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ เทคนิคการแก้ปัญหา

1. จำนวนและ การดำเนินการ

1. การบอกค่าและความหมายของ จำนวนนับ

กิจกรรมที่1จำนวนอะไรเอ่ยกิจกรรมที่2หยิบ1,2,3…กิจกรรมที่3ฉันหยิบได้กิจกรรมที่4คู่หนูอยู่ไหน

2. การจำสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ กิจกรรมจำฉันได้ไหม

3.การจำแนกตัวเลขที่คล้ายกัน กิจกรรมที่หาคู่ให้หนูหน่อย

4.การนับเรียงลำดับจำนวน กิจกรรมที่1ฉันนับได้กิจกรรมที่2เปรียบเทียบจำนวนกิจกรรมที่3เรียงเลขต่อกัน

5.การจำและเขียนตัวเลขแทนจำนวน กิจกรรมที่1เติมให้เต็มกิจกรรมที่2ร่องตัวเลข

6.การอ่านและเขียนจำนวนที่มีหลายหลัก กิจกรรมที่1สีมหัศจรรย์กิจกรรมที่2มัดครบสิบ

7. การบวกจำนวนที่มีหนึ่งหลักและ สองหลัก

กิจกรรมที่1ใบไม้นำโชคกิจกรรมที่2การบวกเลขโดยการ สัมผัสกิจกรรมที่3บวกง่ายนิดเดียวกิจกรรมที่4ผลบวกน้อยกว่า10กิจกรรมที่5ผลบวกน้อยกว่า20กิจกรรมที่6การบวกแนวตั้งไม่มี ทดกิจกรรมที่7การบวกจำนวน สองหลักที่มีทดกิจกรรมที่8การทดด้วยลูกคิด

5

สาระ ปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ เทคนิคการแก้ปัญหา

8. การเขียนประโยคสัญลักษณ์และหา คำตอบจากโจทย์ปัญหาการบวกง่ายๆ

กิจกรรมที่1คำที่มีความหมายกิจกรรมที่2ปัญหาพาสนุก

9. การลบจำนวนที่มีหนึ่งหลักและ สองหลัก

กิจกรรมที่1เหลือเท่าไรกิจกรรมที่2ดาวกระจาย

10.การเขียนประโยคสัญลักษณ์และหา คำตอบจากโจทย์ปัญหาการลบง่ายๆ

กิจกรรมที่1เกมใบ้คำกิจกรรมที่2ลบหรรษาพาสนุก

11.การคูณ กิจกรรมที่1นับเพิ่มกิจกรรมที่2ฝาแฝดออมทรัพย์กิจกรรมที่3มาคูณกันเถอะกิจกรรมที่4ผลไม้ที่ฉันชอบกิจกรรมที่5คูณโดยตารางกิจกรรมที่6คูณแบบTouchMathกิจกรรมที่7ฉันไปซื้อของ

12.การหาร กิจกรรมที่1ความหมายของ การหารกิจกรรมที่2ความสัมพันธ์การคูณ กับการหารกิจกรรมที่3โจทย์ปัญหาการหารกิจกรรมที่4แผนที่ความคิดพิชิต การหารกิจกรรมที่5การหารเลขคณิต แบบตาราง

13.การบวกลบเศษส่วน กิจกรรมที่1เศษส่วนสดใสด้วย สีสันกิจกรรมที่2มาบวกเศษส่วน กันเถอะกิจกรรมที่3ไม่เท่ากันก็บวกได้กิจกรรมที่4ลบเศษส่วนกันเถอะกิจกรรมที่5ไม่เท่ากันก็ลบได้

6

สาระ ปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ เทคนิคการแก้ปัญหา

2.การวัด 14.การเรียงลำดับวันในสัปดาห์การเรียง

ลำดับเดือนในรอบปี

กิจกรรมที่1กิจกรรมวันใดมาก่อน

กิจกรรมที่2เมื่อวานวันนี้พรุ่งนี้

กิจกรรมที่3เดือนใดมาก่อนหลัง

กิจกรรมที่4เดือนที่ผ่านมาเดือนนี้

เดือนต่อไป

กิจกรรมที่5เวลานี้เวลาอะไร

15.การบอกตำแหน่งและทิศทาง กิจกรรมที่1ฉันอยู่ที่ไหนเอ่ย

กิจกรรมที่2เธออยู่ไหน

กิจกรรมที่3โบนัสจัดห้อง

กิจกรรมที่4ทางเดินมหัศจรรย์

กิจกรรมที่5ไปทางไหนจ๊ะ

กิจกรรมที่6ทิศเหนือทิศใต้

ทิศไหนบอกมา

16.การเปรียบเทียบขนาดของวัตถุหรือ

สิ่งของและรูปภาพ

กิจกรรมที่1สิ่งที่มีความหมาย

กิจกรรมที่2ภาพนี้มีความหมาย

กิจกรรมที่3ต่อให้เป็น

กิจกรรมที่4มาเปรียบเทียบกัน

นะจ๊ะ

17. การชั่งและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมที่1ตาชั่งวิเศษ

กิจกรรมที่2ตาชั่งมหัศจรรย์

18. การตวงและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมที่1ตวงน้ำหรรษา

กิจกรรมที่2ตวงน้ำมหาสนุก

19.การวัดและการนำไปใช้ในชีวิต

ประจำวัน

กิจกรรมวัดได้ไม่ยาก

20.เงินและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมค่าของเงิน

7

สาระ ปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ เทคนิคการแก้ปัญหา

3.เรขาคณิต 21.รูปเรขาคณิตสองมิติ กิจกรรมที่1แยกฉันให้ถูก

กิจกรรมที่2ลีลาหาพวก

กิจกรรมที่3สี่เหลี่ยมอยู่ที่ไหน

22.การเขียนรูปเรขาคณิตสองมิติ กิจกรรม1สี่เหลี่ยมเดินเล่น

กิจกรรม2สองมิติหลากหลาย

กิจกรรม3สมมาตรได้อย่างไร

23.การบอกและจำแนกรูปเรขาคณิต

สามมิติ

กิจกรรมที่1ฉันคือรูปเรขาคณิต

สามมิติอะไร

กิจกรรมที่2พีระมิดยอดแหลม

กิจกรรมที่3สร้างรูปเรขาคณิต

กิจกรรมที่4ส่วนสูงรูปเรขาคณิต

สามมิติอยู่ที่ไหน

4.พีชคณิต 24.ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับแบบรูป

และความสัมพันธ์ของรูปด้านรูปร่าง

กิจกรรมบอกได้เติมได้

25.ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับแบบรูป

และความสัมพันธ์ของรูปด้านขนาด

กิจกรรมฉันอยู่ไหน

26.ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับแบบรูป

และความสัมพันธ์ของรูปด้านสี

กิจกรรมเติมสีสร้างสรรค์

27.ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับแบบรูป

และความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต

กิจกรรมต่อไปเป็นอะไรเอ่ย

28.ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับแบบรูป

และความสัมพันธ์ของจำนวน

กิจกรรมบอกได้ไหม

5.การวิเคราะห์

ข้อมูลและ

ความน่าจะเป็น

29.การเก็บรวบรวมและนำเสนอข้อมูล กิจกรรมตารางแสนกล

8

สาระ ปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ เทคนิคการแก้ปัญหา

30.การอ่านแผนภูมิ กิจกรรมที่1อ่านสักนิดคิด สักหน่อยกิจกรรมที่2อ่านได้ทำได้กิจกรรมที่3วงกลมมหัศจรรย์กิจกรรมที่4เกมชั่งเหรียญ

31.การเขียนแผนภูมิ กิจกรรมที่1แผนภูมิรูปภาพ แสนสนุกกิจกรรมที่2แท่งสี่เหลี่ยมหรรษา

32.ความสมเหตุสมผลในการคาดการณ์ กิจกรรมที่1คาดเดาเร้าใจกิจกรรมที่2ตามล่าหาความจริง

9

นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

1. การใช้สมุดกราฟเส้นตารางจัดเป็นสดมภ์เพื่อกำกับการเขียนตัวเลขให้ตรงหลัก

อ่านง่ายและสับสนน้อยลง

2. แบ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ออกเป็นส่วนๆ โดยการใช้สีตีกรอบหรือพับ

กระดาษเป็นส่วนๆให้นักเรียนทำกิจกรรมในแต่ละส่วนที่พับหรือตีกรอบให้เสร็จสมบูรณ์

3. เน้นข้อความหรือขีดเส้นใต้หรือการใช้สีเพื่อแยกความแตกต่างการดำเนินการ

ทางคณิตศาสตร์(+,-,x,÷)รวมทั้งข้อความที่บ่งชี้ถึงวิธีการดำเนินการโจทย์แต่ละข้อ

4. ให้นักเรียนได้ใช้อุปกรณ์ช่วยในการคิดคำนวณ เช่น ของจริง ของจำลอง

เส้นจำนวนลูกคิดแผนภูมิแผนภาพต่างๆเป็นต้น

5. การสอนการใช้เครื่องคิดคำนวณ(calculator)

วิธีใช้เทคนิค วิธีการและสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มี ความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

1. ให้นักเรียนประเมินความสามารถของตนเองในการเรียนคณิตศาสตร์ นักเรียน

จะได้ทราบว่าสิ่งใดทำได้สิ่งใดทำไม่ได้

2.สอนต่อจากสิ่งที่นักเรียนรู้แล้ว

3.ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดสิ่งที่จะเรียน(ตั้งจุดมุ่งหมายด้วย)

4. พยายามแสวงหาวิธีทำให้นักเรียนประสบผลสำเร็จและพึงระวังอย่าให้คณิตศาสตร์

ทำลายภาพพจน์ที่มีต่อตนเอง

5. ควรเน้นการเสริมวิชาการให้นักเรียนเป็นรายบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียน

ที่เรียนไม่ทันเพื่อน

6. แยกขั้นตอนการสอนออกเป็นขั้นย่อยๆหลายๆขั้นตอน(TaskAnalysis)

7. หากนักเรียนไม่ประสบความสำเร็จเมื่อครูสอนโดยใช้วิธีหนึ่ง ครูควรเปลี่ยน

วิธีสอนเพราะวิธีเดิมอาจนำไปสู่ความล้มเหลว

8. ใช้กิจกรรมหลายๆ กิจกรรมในการสอนความคิดรวบยอด จะช่วยให้นักเรียน

สามารถสรุปแนวคิดได้

10

9. ให้นักเรียนมีโอกาสได้เรียนรู้จากประสบการณ์หรือกิจกรรมตามความถนัด

แล้วจึงเพิ่มระดับความยากขึ้นตามระดับความสามารถ

10.เน้นย้ำซ้ำทวนกฎเกณฑ์ต่างๆโดยใช้ภาษาของนักเรียน

11.ใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรมเป็นเครื่องนำทางเมื่อนักเรียนเข้าใจความคิดรวบยอด

แล้วจึงเน้นกระบวนการคิดที่เป็นนามธรรม

12.สอนให้นักเรียนสามารถคาดคะเนหรือประเมินคำตอบ

13.การทำสัญญาร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน

14.ออกคำสั่งให้ง่ายชัดเจนเจาะจง

15.จับคู่เพื่อนรู้ใจให้ช่วยเหลือ

16.เน้นย้ำซ้ำทวนคำสั่งหลักการวิธีการขั้นตอน

17.เตรียมงานที่หลากหลายให้นักเรียนมีโอกาสได้เลือกปฏิบัติ

18.ก่อนลงมือปฏิบัติกิจกรรม ครูต้องแน่ใจว่า นักเรียนเข้าใจขั้นตอน วิธีการ

ภาระงานมิฉะนั้นการทำกิจกรรมอาจไม่มีความหมาย

19.ให้เวลาเรียนอย่างเพียงพอ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจใช้

เวลานานจึงจะเกิดทักษะ

20.แนะนำวิธีการสังเกตจดจำบันทึกข้อมูล

21.สำหรับนักเรียนบางคนอาจใช้เครื่องคิดคำนวณในการคิดคำนวณได้

22.ฝึกการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยไม่ใช้เครื่องคิดคำนวณ

23.จัดกลุ่มปัญหาที่คล้ายคลึงกันเข้าด้วยกัน แบ่งโจทย์ปัญหาออกเป็นส่วนๆ

ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ

24.ถ้านักเรียนมีปัญหาในการคัดลอกงานอาจให้เพื่อนหรือครูช่วยคัดลอกให้ก่อน

ที่จะให้นักเรียนทำงานตามภาระงานนั้นด้วยตนเอง

25.หลังจากอธิบายจากตัวอย่างให้นักเรียนทำงานที่คล้ายคลึงกับตัวอย่างก่อนที่

จะให้โจทย์พลิกแพลง

26.ให้นักเรียนพบความสำเร็จและเสริมแรงให้นักเรียนมีกำลังใจ

27.ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา

11

การวัดและประเมินผล

1.การสังเกตพฤติกรรม

2.การตรวจผลงานการปฏิบัติงาน

-ตรวจแบบฝึก

-บอกอธิบายวิธีการขั้นตอน

-การทดสอบ

-การตอบคำถาม

-การตรวจสอบรายการ

-การสอบถามเพื่อนและบุคคลที่เกี่ยวข้อง

การปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

1.ปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระหลักสูตรตามความเหมาะสมกับนักเรียนเฉพาะบุคคล

2.ปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติของครูต่อนักเรียน

3.ปรับเปลี่ยนวิธีในการเรียนรู้ของนักเรียน เช่น เพิ่มเวลาในการทำแบบฝึกหัด

เป็นต้น

4.ปรับเปลี่ยนวิธีการสอน เช่น จัดเนื้อหาหรือกิจกรรมออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ

เป็นต้น

5.ให้นักเรียนมีทางเลือกในการทำงานหรือกิจกรรม เช่น ใช้เครื่องคิดคำนวณ

ตอบปากเปล่าหรือการพิมพ์แทนการเขียนตอบ

6.เปลี่ยนระบบการเรียนการสอน เช่น สอนเป็นรายบุคคล ให้เพื่อนช่วยเพื่อน

ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นต้น

7.ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนามาแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

8.เรียนรู้จากสื่อของจริง เช่น การจัดลำดับสิ่งของการเปรียบเทียบ ขนาด สี

รูปร่างระยะทางเป็นต้น

12

9.การออกคำสั่งที่ชัดเจนเจาะจงสั้นไม่ซับซ้อน

10.การทำสัญญาร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน

11.จับคู่เพื่อน(Buddy)ให้แก่นักเรียน

สรุปการนำเทคนิค วิธีการ สื่อ ไปใช้กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

การที่ครูจะนำเทคนิค วิธีการ สื่อ สำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ไป

พัฒนานักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพครูควรปฏิบัติดังนี้

1.ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนจนรู้จุดเด่นจุดด้อยหรือสิ่งที่ผู้เรียนทำไม่ได้

2.เลือกปัญหาที่เร่งด่วนจำเป็นมาแก้ไขก่อน จากนั้นจึงแก้ปัญหาที่มีความสำคัญ

ในลำดับต่อๆไปไม่ควรแก้ไขหลายๆเรื่องไปพร้อมกัน

3.ในการออกแบบกิจกรรม หรือจัดการเรียนรู้ครูควรได้จัดลำดับขั้นเนื้อหาที่จะ

สอนออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ(TaskAnalysis)ตามระดับพื้นฐานความสามารถของผู้เรียน

4. ระหว่างการพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ครูควรบันทึก

พฤติกรรมของผู้เรียนระหว่างการพัฒนาและนำไปใช้วางแผนการพัฒนาให้เหมาะสมกับ

นักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

5. ครูควรเน้นการจัดประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง โดยยกตัวอย่าง

ประกอบให้มากและเน้นย้ำซ้ำทวนสิ่งที่เรียน

6. ครูควรทำความเข้าใจกับนักเรียนปกติ บุคคลรอบข้างของนักเรียนให้เข้าใจ

ข้อจำกัดของนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ และนำบุคคลเหล่านั้นเข้ามาร่วมเป็นผู้ช่วย

เหลือพัฒนานักเรียนกลุ่มเป้าหมายต่อไป

7. ครูควรให้เวลากับนักเรียนในการคิด หรือทำกิจกรรม โดยพิจารณานักเรียน

เป็นหลักไม่ควรเร่งรีบใจร้อนเกินไป

8. ครูควรให้แรงเสริมเชิงบวกให้มากที่สุด การชมเชย ยกตัวอย่าง ให้รางวัลพิเศษ

จะช่วยให้นักเรียนมีกำลังใจและมีเจตคติที่ดีและร่วมกิจกรรมอย่างมีความสุข

13

เทคนิค วิธีการ สื่อ นวัตกรรมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง

ทางการเรียนรู้ที่นำเสนอในเอกสารเล่มนี้ เป็นเพียงการนำเสนอทางเลือกให้ครูได้ใช้เป็น

แนวทางการพัฒนาเทคนิค วิธีการ สื่อ นวัตกรรมของครู หรือครูจะนำไปใช้กับนักเรียน

โดยตรงหรือเลือกใช้เฉพาะกิจกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียนและบริบทของโรงเรียนซึ่งครู

ควรได้นำไปปรับเพิ่มหรือลดให้เหมาะสมกับนักเรียนเป็นสำคัญเสียก่อน

สำหรับเอกสารเล่มนี้เป็นเอกสารเล่มที่ 1 ในชุดที่ 4 เทคนิค วิธีการและสื่อ

สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยจะประกอบด้วย

ปัญหาและเทคนิคการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้าน

คณิตศาสตร์เกี่ยวกับปัญหาต่อไปนี้

ปัญหาที่1 การบอกค่าและความหมายของจำนวนนับ

ปัญหาที่2การจำสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

ปัญหาที่3การจำแนกตัวเลขที่คล้ายกัน

ปัญหาที่4การนับเรียงลำดับตัวเลข

ปัญหาที่5การจำและเขียนตัวเลขแทนจำนวน

ปัญหาที่6 การอ่านและเขียนจำนวนที่มีหลายหลัก

14

สาระที่ 1 จำนวนและดำเนินการ

ปัญหาที่ 1. การบอกค่าและความหมายของจำนวนนับ

กิจกรรมที่ 1 จำนวนอะไรเอ่ย แก้ปัญหาไม่ทราบค่าและความหมายของจำนวน

กิจกรรมที่ 2 หยิบ 1 2 3 แก้ปัญหาไม่ทราบค่าและความหมายของจำนวน

กิจกรรมที่ 3 ฉันหยิบได้ แก้ปัญหาไม่ทราบค่าและความหมายของจำนวน

กิจกรรมที่ 4 คู่หนูอยู่ไหน แก้ปัญหาไม่ทราบค่าและความหมายของจำนวน

15

ปัญหา การบอกค่าและความหมายของจำนวนนับ1-5 ระดับชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่1–3 กิจกรรมที่ 1 จำนวนอะไรเอ่ย จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกจำนวนสิ่งของหรือบัตรภาพและใช้สัญลักษณ์แทนจำนวนได้ 2.เล่นเกมจับคู่ภาพกับจำนวนได้ 3.นักเรียนบอกค่าจำนวนในแบบฝึกทักษะได้ 4.นักเรียนมีความพอใจในการร่วมกิจกรรม สื่อ/อุปกรณ์ 1.ของจริง 2.ของจำลอง 3.บัตรภาพ 4.บัตรตัวเลขTouchMath 5.แบบฝึกทักษะ วิธีการดำเนินกิจกรรม 1.สนทนาและซักถามเกี่ยวกับชื่อสิ่งของต่างๆที่จัดเตรียมไว้ 2.ครูสาธิตโดยการหยิบสิ่งของตามจำนวนครูนับและให้นักเรียนนับตามจากนั้นครูหยิบบัตรตัวเลขที่เป็น TouchMath ที่เท่ากับจำนวน (ครูศึกษา TouchMath ในภาคผนวก) 3. ครูหยิบบัตรตัวเลขครั้งละ 1 บัตร ให้นักเรียนหยิบสิ่งของที่มีจำนวนเท่ากับตัวเลข พร้อมกับอ่านบัตรตัวเลขตามที่ครูกำหนดให้ โดยให้นักเรียนเรียนรู้ 1 2 3 4 5 ตามลำดับเช่น

อ่านว่า สาม

16

4. ครูนำบัตรภาพให้นักเรียนดู นักเรียนหยิบบัตรตัวเลขที่มีค่าเท่ากับบัตรภาพพร้อมกับอ่าน 5.นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตั้งแต่ข้อ3–4ซ้ำๆอีกแต่เปลี่ยนจำนวน1-5 6.ให้นักเรียนเล่นเกมจับคู่ระหว่างบัตรภาพกับบัตรตัวเลข Touch Math 1-5 ใครจับคู่ได้มากที่สุดเป็นผู้ชนะ 7.ให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ การวัดและประเมินผล - สังเกตการบอกสิ่งของหรือบัตรภาพและใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน - สังเกตการเล่นเกมจับคู่บัตรภาพกับบัตรตัวเลข - ตรวจแบบฝึกทักษะ - สังเกตความพอใจของนักเรียนในการร่วมกิจกรรม เกณฑ์การประเมิน - บอกจำนวนภาพที่กำหนดให้และใช้สัญลักษณ์แทนจำนวนได้ให้ภาพละ 1คะแนน - จับคู่บัตรภาพกับสิ่งของได้คู่ละ1คะแนน - บอกจำนวนในแบบฝึกทักษะให้ข้อละ1คะแนน - นักเรียนมีความพอใจในการร่วมกิจกรรมเช่นมีความตั้งใจในการร่วมกิจกรรม

อ่านว่า ห้า

17

แบบบันทึกการสังเกตบอกสิ่งของและสัญลักษณ์แทนจำนวน แบบบันทึกการสังเกตการบอกค่าและความหมาย

แบบบันทึกผล “กิจกรรมจำนวนอะไรเอ่ย”

ที่ ชื่อ - สกุล จำนวน สรุป

1 2 3 4 5 6 7 8 9 ผ่าน ไม่ผ่าน

เลขที่ ชื่อ - สกุล ความพึงพอใจ

การบอกสิ่งของ

และสัญลักษณ์

แทนจำนวน

การจับคู่บัตร

ภาพกับบัตร

ตัวเลย

แบบฝึกทักษะ สรุป

ผ่าน ไม่ผ่าน ผ่าน ไม่ผ่าน ผ่าน ไม่ผ่าน ผ่าน ไม่ผ่าน ผ่าน ไม่ผ่าน

18

สื่อ Touch Math การรับรู้ทางการใช้สายตาการฟังและการสัมผัสตัวเลขแต่ละตัวจะมีลักษณะพิเศษคือ - มีจุดอยู่บนเส้นตัวเลขตามจำนวนตัวเลขนั้นเช่น ตัวเลข 1 มีจุด1จุด มีค่าเป็น1 ตัวเลข 2 มีจุด2จุด มีค่าเป็น2 ตัวเลข 3 มีจุดจุด มีค่าเป็น3 ตัวเลข 4 มีจุด4จุด มีค่าเป็น4 ตัวเลข 5 มีจุด5จุด มีค่าเป็น5- เลข6ขึ้นไปมีจุดและมีวงกลมล้อมจุดในการนับครูสอนให้นับเลขที่มีวงกลมซ้อน2ครั้ง (จุด2ชั้น) ตัวเลข 6 มีจุด2ชั้น3จุด มีค่าเป็น6 ตัวเลข 7 มีจุด2ชั้น3จุด จุดชั้นเดียว1จุด มีค่าเป็น7 ตัวเลข 8 มีจุด2ชั้น4จุด มีค่าเป็น8 ตัวเลข 9 มีจุด2ชั้น4จุด จุดชั้นเดียว1จุด มีค่าเป็น9 หมายเหตุ 1.ในเด็กLDจะไม่ได้มองถึงตัวเลขแต่จะมองแค่จุดเท่านั้น 2.ครูผู้สอนควรเน้นสีที่มีความแตกต่างกันระหว่างตัวเลขกับจุดที่กำกับอย่างเห็นชัดเจน 3.จุดที่มี2ชั้นควรมีความแตกต่างอย่างเห็นชัดเจน 4.ในขณะนับครูควรให้เด็กสัมผัสจุดไปพร้อมกับการนับ จุด1ชั้นสัมผัสจุด1ครั้งนับ1 จุด2ชั้นสัมผัสจุด2ครั้งนับ1–2(แต่ต้องนับตามลำดับของจุด)เช่น

2 3

2 2

3 2

3 5 5, 6

, 2

3, 9

7, 8 5, 6

, 2 3,

7, 8 5, 6

, 2 3,

5, 6

7 , 2

3,

5, 6

7 , 2

3,

19

แบบฝึกทักษะที่ 1 เรื่อง ค่าจำนวนสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปภาพที่มีจำนวน 3 จำนวน

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่.............. คำชี้แจงให้ทำเครื่องหมายXลงบนภาพที่มีจำนวนเท่ากับ3 ตัวอย่าง

20

แบบฝึกทักษะที่ 2 เรื่อง การบอกค่าและความหมายของจำนวนนับ 1 - 5

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่.............. คำชี้แจงให้นักเรียนจับคู่ภาพกับตัวเลขที่มีค่าเท่ากัน ตัวอย่าง

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

2

3 2

2

3

2

3 5

21

ปัญหา การบอกค่าและความหมายของจำนวนนับ

ระดับชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่1–3

กิจกรรมที่ 2 หยิบ1...2...3...

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. นักเรียนบอกค่าและความหมายของจำนวนได้ถูกต้อง

2. นักเรียนมีความพอใจในการร่วมกิจกรรม

สื่อ/อุปกรณ์

1. ลูกคิด

2. ถาดลูกคิด/หลักลูกคิด

3. บัตรตัวเลข1-10

4. แบบฝึกทักษะ

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1. ให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลมแล้วสนทนาซักถามเกี่ยวกับสื่อที่ครูเตรียมไว้สำหรับ

การจัดกิจกรรมว่ามีอะไรบ้าง

2. ครูสาธิตการเล่นให้นักเรียนดู โดยครูเปิดเพลงและปรบมือตามจังหวะ ครูปิด

เพลง แล้วพูดว่า “หยิบเลข 3” พร้อมกับชูบัตรเลข 3 ให้นักเรียนดูแล้วครูก็หยิบลูกคิด

3ลูกใส่ถาด/หลัก

3. นักเรียนปฏิบัติตามคำสั่งครู โดยครูบอกจำนวน นักเรียนหยิบลูกคิดตาม

จำนวนที่ครูบอกแล้วเปลี่ยนให้นักเรียนเป็นผู้สั่งบ้าง

4.ทบทวนเรื่องจำนวนโดยครูบอกจำนวน1-10นักเรียนชูบัตรจำนวน1-10

พร้อมกับอ่านจำนวนพร้อมกับชมเชยนักเรียนที่ปฏิบัติกิจกรรมได้ถูกต้อง

5.ให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ

22

การวัดและประเมินผล

- สังเกตการบอกค่าและความหมายของจำนวน1-10ได้ถูกต้อง

- ตรวจแบบฝึกทักษะ

- สังเกตความพอใจในการร่วมกิจกรรมเกณฑ์การประเมิน

เกณฑ์การประเมิน

- บอกค่าและความหมายของจำนวน1-10ได้ให้จำนวนละ1คะแนน

- ทำแบบฝึกได้ถูกต้องให้ข้อละ1คะแนนทั้ง2รายการต้องได้ร้อยละ60จึงจะ

ผ่านการประเมิน

ข้อเสนอแนะ

1.ใช้สื่ออื่นแทนลูกคิดได้เช่นลูกปัดลูกหินเมล็ดพืชเป็นต้น

2.จำนวนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของนักเรียน

3.ครูควรสร้างแบบฝึกทักษะให้สอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรม

หมายเหตุ ครูควรจะสอน1-5ก่อนแล้วจึงสอน6-10

23

แบบบันทึกผล “กิจกรรมหยิบ 1...2...3... ”

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

ที่ รายการ ผลการประเมิน หมายเหตุ

ผ่าน ไม่ผ่าน

1. การบอกค่าและความหมายของจำนวน

2. แบบฝึกทักษะ

3. นักเรียนมีความพอใจในการทำกิจกรรม

สรุปผ่านไม่ผ่าน

แบบบันทึกการสังเกตการบอกค่าและความหมาย

ที่ ชื่อ - สกุล จำนวน สรุป

1 2 3 4 5 6 7 8 9 ผ่าน ไม่ผ่าน

24

แบบฝึกทักษะที่ 1 เรื่อง หยิบ 1 2 3....

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจงให้นักเรียนจับคู่ภาพกับตัวเลขที่มีค่าเท่ากัน ตัวอย่าง 1. 2. 3. 4.

ได้...........................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

3 4 2 1 5

25

เพลง จำนวนนับ 1 – 10 ทำนองเพลงหนูไปด้วย

121234แม่อยู่ที่นี่นะแม่456

พี่ไม่หลอกบอกให้ไม่โกหกแม่45678910

เอ้อเอ่อเออเออเอิงเอย(ซ้ำ)

เพลง จำนวนนับ 1 – 10 ทำนองเพลงAreyousleeping

1234(ซ้ำ)567(ซ้ำ)อีกทั้ง8และ910

นับอีกทีนับอีกที

26

ปัญหา การบอกค่าและความหมายของจำนวนนับ

ระดับชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่1–3

กิจกรรมที่ 3 ฉันหยิบได้

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.นักเรียนใช้บัตรเลขไทยเลขฮินดูอารบิกแทนจำนวนสิ่งของได้

2.นักเรียนจับคู่เลขไทยกับเลขฮินดูอารบิกกับภาพในแบบฝึกทักษะได้

สื่อ/อุปกรณ์

1.ของจริงเช่นดินสอยางลบก้อนหินฯลฯ

2.ของจำลองเช่นหุ่นจำลองรูปภาพสัตว์สิ่งของ

3.รูปภาพเช่นบัตรภาพสัตว์สิ่งของแสดงจำนวน

4.บัตรตัวเลข1-10เลขไทยและเลขฮินดูอารบิก

5.แบบฝึกทักษะ

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1.ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาและซักถามเกี่ยวกับชื่อสิ่งของต่างๆ ที่ครูจัด

เตรียมไว้

2.ครูหยิบบัตรตัวเลขไทยหรือเลขฮินดูอารบิกทีละหนึ่งบัตรชูให้นักเรียนดู แล้ว

ออกคำสั่งให้นักเรียนไปหยิบสิ่งของหรือบัตรภาพที่ครูเตรียมไว้ให้ตรงกับจำนวนพร้อมกับ

บอกจำนวนนั้น

3.นักเรียนฝึกร้องเพลงจำนวนนับ1-10(ภาคผนวก)

4.นักเรียนจับคู่ปฏิบัติกิจกรรมตามข้อ2โดยครูตรวจสอบความถูกต้อง

5.สรุปกิจกรรมโดยใช้เพลงจำนวนนับและนักเรียนทำท่าทางประกอบเพลง

6.นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ

27

การวัดและประเมินผล

- สังเกตการใช้บัตรเลขไทยเลขฮินดูอารบิกแทนจำนวนสิ่งของหรือภาพได้

- ตรวจแบบฝึกทักษะ

- สังเกตความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรม

เกณฑ์การประเมิน

- ใช้บัตรเลขไทยและบัตรเลขฮินดูอารบิกแทนจำนวนสิ่งของหรือภาพได้ถูกต้อง

ให้จำนวนละ2คะแนน

- ทำแบบฝึกทักษะได้ถูกต้องให้ข้อละ 1 คะแนน ทั้ง 2 รายการต้องได้คะแนน

ร้อยละ60จึงจะผ่านการประเมิน

- นักเรียนมีความพอใจในการร่วมกิจกรรม

ข้อเสนอแนะ

1.สิ่งของที่นำมาให้นักเรียนนับอาจเปลี่ยนได้ตามความสนใจของนักเรียน

2.ถ้าจำนวนนักเรียนมากกว่า1คนอาจให้มีการแข่งขันเพื่อความสนุกสนาน

3.ปรับเปลี่ยนตัวเลขและจำนวนตามความยากง่ายและระดับความสามารถของ

นักเรียน

4.ครูควรสร้างแบบฝึกทักษะให้สอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรม

28

แบบบันทึกผล “ กิจกรรมฉันหยิบได้ ”

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

ที่ รายการ ผลการประเมิน หมายเหตุ

ผ่าน ไม่ผ่าน

1. การใช้บัตรตัวเลขฮินดูอารบิกตัวเลขไทยแทนจำนวนสิ่งของ

2. จับคู่ตัวเลขฮินดูอารบิก กับภาพที่มีค่าเท่ากัน

3. จับคู่ตัวเลขไทยกับภาพที่มีค่าเท่ากัน

4. นักเรียนมีความพอใจในการทำกิจกรรม

สรุปผ่านไม่ผ่าน

29

แบบฝึกทักษะที่ 1

เรื่อง ฉันหยิบได้

คำชี้แจง ให้นักเรียนโยงเส้นจับคู่ภาพกับตัวเลขไทย ตัวเลขฮินดูอารบิกกับภาพที่มีค่า เท่ากัน

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

30

แบบฝึกทักษะที่ 2 เรื่อง ฉันหยิบได้

คำชี้แจงให้นักเรียนโยงเส้นระหว่างตัวเลขไทยตัวเลขฮินดูอารบิกกับภาพ

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

31

ปัญหา บอกค่าและความหมายของจำนวนนับ

ระดับชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่1–3

กิจกรรมที่ 4 คู่หนูอยู่ไหน

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.นักเรียนบอกค่าของจำนวนได้

2.นักเรียนจับคู่จำนวนที่เป็นเลขไทย จำนวนที่เป็นเลขฮินดูอารบิกกับภาพใน

แบบฝึกได้

3.นักเรียนมีความพอใจในการร่วมกิจกรรม

สื่อ/อุปกรณ์

1.บัตรภาพ

2.บัตรจำนวน1–10(ตัวเลขไทยและตัวเลขฮินดูอารบิก)

3.เพลงจับคู่

4.แบบฝึกทักษะ

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1.ครูนำบัตรภาพบัตรจำนวนให้นักเรียนดูพร้อมทั้งบอกจำนวนของภาพ

2.ครูติดบัตรภาพบนกระดาษให้ตัวแทนนักเรียนหาบัตรจำนวนที่เป็นตัวเลขไทย

และบัตรจำนวนที่เป็นตัวเลขฮินดูอารบิกเพื่อแสดงจำนวนของภาพ

3.แบ่งนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม 1 ถือบัตรภาพ กลุ่ม 2 ถือบัตรจำนวนที่เป็น

ตัวเลขไทยและกลุ่ม3ถือบัตรจำนวนที่เป็นตัวเลขฮินดูอารบิก

4.นักเรียนชูบัตรภาพขึ้นมา1ภาพแสดงให้นักเรียนกลุ่ม2และกลุ่ม3ดู

5.นักเรียนกลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 ร่วมกันหาบัตรจำนวนที่ถูกต้อง เพื่อแสดงจำนวน

ของภาพให้เพื่อนดู(ถ้าทำถูกให้คะแนนสะสม)หรือให้ดาวจนครบทุกคนแล้วรวมคะแนน

6. นักเรียนทุกคนร้องเพลงจับคู่พร้อมกับรำวง ครูแจกบัตรจำนวนที่เป็นตัวเลขไทย

หรือตัวเลขฮินดูอารบิกหรือตัวอักษรให้นักเรียนคนละ 1 บัตร (อย่างใดอย่างหนึ่ง) เมื่อ

เพลงจบให้นักเรียนจับกลุ่มจำนวนที่มีค่าเท่ากันเช่น2-๒-สอง,4-๔-สี่

7.ให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ

32

การวัดและประเมินผล - สังเกตการบอกค่าจำนวนโดยการจับคู่ภาพกับบัตรจำนวนในการเล่นเกม - ตรวจแบบฝึกทักษะ - สังเกตความพอใจของนักเรียนในการร่วมกิจกรรม เกณฑ์การประเมิน - บอกค่าจำนวนโดยการจับคู่ภาพกับจำนวนได้ถูกต้องให้ครั้งละ1คะแนน - จับคู่ในแบบฝึกทักษะได้ข้อละ 1 คะแนนทั้ง 2 รายการต้องได้คะแนนร้อยละ60ขึ้นไปจึงจะผ่านการประเมิน - นักเรียนมีความพอใจในการร่วมกิจกรรม เช่น ตั้งใจ กระตือรือร้น และร่วม กิจกรรมทุกขั้นตอนให้ผ่านการประเมิน ข้อเสนอแนะ 1.ในการนำบัตรจำนวนมาใช้ควรให้เหมาะสมกับระดับความสามารถของแต่ละบุคคล 2.ฝึกทักษะซ้ำหลายๆครั้งโดยเปลี่ยนกิจกรรมให้หลากหลาย 3.ครูควรจะสร้างแบบฝึกทักษะให้สอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรม 4.ให้แรงเสริมตามความเหมาะสม

33

แบบบันทึกการสังเกตการบอกค่าของจำนวน 1 - 10

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่.............. คำชี้แจง ให้นักเรียนทำ3ลงในช่องที่บอกค่าจำนวนได้ถูกต้อง และทำXลงในช่องที่บอกค่าจำนวนได้ไม่ถูกต้อง

จำนวน บอกค่าของจำนวน

เลขฮินดูฮารบิก เลขไทย

หนึ่ง

สอง

สาม

สี่

ห้า

หก

เจ็ด

แปด

เก้า

สิบ

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

34

ภาคผนวก

ตัวอย่างบัตรภาพ ตัวอย่างบัตรจำนวน ทำบัตรจนครบ1–10และ๑–๑๐

เพลงจับคู่

คู่ไหน คู่ไหน คิดเร็วไวหาคู่พลัน

อย่ามัวรอช้า เวลาจะไม่ทัน

ระวังจะเดินชนกัน ไหนคู่ฉันนั่นไง

35

บัตรภาพ บัตรจำนวน

36

บัตรภาพ บัตรจำนวน

37

แบบฝึกทักษะที่ 1 เรื่อง คู่หนูอยู่ไหน

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่.............. คำชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่จำนวนและภาพ

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

5

8

7

9

6

38

แบบฝึกทักษะที่ 2 เรื่อง คู่หนูอยู่ไหน

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง นักเรียนวาดภาพเท่ากับจำนวนที่กำหนดให้

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

10

5, 6

, 2

3,

9

7, 8 5, 6

, 2 3,

7, 8 5, 6

, 2 3,

5, 6

7 , 2

3,

39

ปัญหาที่ 2. การจำสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

กิจกรรม จำฉันได้ไหม

แก้ปัญหาการจำสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ไม่ได้

40

ปัญหา การจำสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ระดับชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่1-3 กิจกรรม จำฉันได้ไหม จุดประสงค์การเรียนรู้ 1.นักเรียนบอกจำนวน1–10ตัวเลขไทยและตัวเลขฮินดูอารบิกได้ถูกต้อง 2.นักเรียนสามารถเขียนตัวเลขแทนจำนวนในแบบฝึกทักษะได้ 3.นักเรียนมีความพอใจในการร่วมกิจกรรม สื่อ/อุปกรณ์ 1.แผนภูมิตัวเลขฮินดูอารบิก 2.บัตรตัวเลขฮินดูอารบิกเลขไทย 3.แผ่นเกมตัวเลข 4.ปากกาสีต่างๆหรือสีเมจิกสีไม้สีเทียน 5.แบบฝึกทักษะ วิธีการดำเนินกิจกรรม 1.ครูติดบัตรตัวเลขบนกระดานดำให้นักเรียนอ่านตัวเลขครูและนักเรียนทบทวนการจำตัวเลขลักษณะของตัวเลขเช่น เลข1เหมือนปากไก่ เลข2เหมือนคอเป็ด เลข3เหมือนเต่า เลข4เหมือนเรือใบ

41

เลข5เหมือนปากหมี เลข6เหมือนกระต่าย เลข7เหมือนงู เลข8เหมือนลิง เลข9เหมือนปลาหัวโต เลข10มี1กับ0 เลขไทย เลข๑เหมือนแมวนอน เลข๒เหมือนยีราฟ

42

เลข๓เหมือนช้าง เลข๔เหมือนจระเข้ เลข๕เหมือนหางแมว เลข๖เหมือนแมวน้ำ เลข๗เหมือนกระรอก เลข๘เหมือนปลาวาฬ เลข๙เหมือนปลา เลข๑๐เหมือนปลากับไข ่

43

2.นักเรียนเล่นเกมจำฉันได้ไหม ครูชี้แจงกฎกติกาและวิธีเล่นให้นักเรียนทราบ

ก่อนเล่นเกม

2.1ครูและนักเรียนติดแผนภูมิตัวเลขที่ไม่เรียงลำดับบนกระดานดำ

2.2แจกแผ่นเกมตัวเลขให้กับนักเรียนทุกคน

2.3ครูชี้ไปที่ตัวเลขตัวใดบนแผนภูมิตัวเลข ให้นักเรียนแข่งขันกันหาตัวเลข

นั้นจากแผ่นเกมตัวเลขใครพบก่อนให้ใช้ปากกาสีวงกลมล้อมรอบตัวเลขนั้น

2.4 จัดกิจกรรมจนหมดตัวเลขที่นักเรียนวงกลมรอบ แล้วครูตรวจสอบความ

ถูกต้องและให้คะแนน

3.นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ

การวัดและประเมินผล

- สังเกตการบอกจำนวน1–10ตัวเลขไทยฮินดูอารบิกได้ถูกต้อง

- ตรวจแบบฝึกทักษะ

เกณฑ์การประเมิน

- บอกจำนวน 1 – 10 ตัวเลขไทย ตัวเลขฮินดูอารบิกได้ถูกต้อง ให้ข้อละ 1

คะแนนและต้องได้คะแนนร้อยละ60ขึ้นไปจึงจะผ่านการประเมิน

ข้อเสนอแนะ

1.การทำแผนภูมิตัวเลขควรขนาดใหญ่มองเห็นชัดเจน

2.ให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม

3.ขณะเล่นเกมควรเสริมเพลงประกอบการเล่นเพื่อความสนุกสนาน

4.ครูควรจะสร้างแบบฝึกทักษะให้สอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรม

44

ภาคผนวก

แผ่นเกมตัวเลข วิธีใช้แผ่นเกมตัวเลข

1.ครูชูบัตรภาพหรือบัตรตัวเลขไทยหรือตัวหนังสือให้นักเรียนดู

2. นักเรียนวงกลมล้อมรอบจำนวนที่มีค่าเท่ากับจำนวนที่ครูชูให้ดู ใครวงกลม

ล้อมรอบได้ถูกต้องได้จำนวนละ1คะแนน

45

แบบฝึกทักษะที่ 1 เรื่อง สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวน

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจงให้ทำเครื่องหมายXภาพที่มีจำนวนเท่ากับตัวเลขที่กำหนดให้ ตัวอย่าง

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

46

แบบฝึกทักษะที่ 2 เรื่อง สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวน

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจงให้ใส่เครื่องหมาย3 ในที่ตรงกับตัวเลขแสดงจำนวนภาพที่ถูกต้อง ตัวอย่าง ได้......................................คะแนน

สรุป ผ่านไม่ผ่าน

3

47

แบบฝึกทักษะที่ 3 เรื่อง สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวน

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่.............. คำชี้แจงให้ล้อมรอบตัวเลขตามจำนวนภาพที่นับได้

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

48

แบบฝึกทักษะที่ 4 เรื่อง สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวน

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจงให้ลากเส้นทับรอยประตามลูกศรชี้

49

ปัญหาที่ 3. การจำแนกตัวเลขที่คล้ายกัน

กิจกรรม หาคู่ให้หนูหน่อย

แก้ปัญหาการจำแนกตัวเลขไม่ได้

50

ปัญหา ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจำแนกตัวเลขที่คล้ายกัน

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่1-3

กิจกรรม หาคู่ให้หนูหน่อย

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.นักเรียนสามารถจับคู่ตัวเลขที่เหมือนกันได้

2.นักเรียนร่วมกิจกรรมได้อย่างมีความสุข

สื่อ/อุปกรณ์

1.ของจริงเช่นดินสอยางลบหนังสือสมุด

2.ชุดบัตรภาพ

3.ชุดบัตรตัวเลข

4.เพลงจับคู่

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1.ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของสิ่งของ เช่น ดินสอกับ

ยางลบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

2.ครูนำบัตรภาพที่เหมือนกันให้นักเรียนดู ให้นักเรียนช่วยกันบอกลักษณะที่

เหมือนกันของภาพ

3.ครูนำบัตรตัวเลข1–9ให้นักเรียนดูและช่วยกันบอกความแตกต่างของตัวเลข

เช่นเลข1–2ให้นักเรียนเล่นเกมหาคู่ให้หนูหน่อยใช้ผู้เล่นตั้งแต่2คนขึ้นไป

4.นำบัตรตัวเลขวางคว่ำเรียงเป็นแถว2แถวแถวละ2ใบ

5.ให้ผู้เล่นคนที่1เปิดบัตรใบที่1และใบที่2ดูว่าเหมือนกันหรือไม่ถ้าไม่เหมือน

กันวางคว่ำไว้ที่เดิม แต่ถ้าเหมือนกันถือว่าได้ 1 คู่ มีสิทธิที่จะเปิดดูต่อไปถ้าไม่เหมือนกัน

นักเรียนคนต่อไปจะเป็นผู้เล่นผู้เล่นเกมที่ได้คู่มากที่สุดเป็นผู้ชนะ

5.1 ครูแจกบัตรให้กับนักเรียน2ชุดโดยเป็นบัตรตัวเลข1ชุดและบัตรจำนวน

1ชุดแล้วให้นักเรียนจับคู่ตัวเลขและจำนวนที่เหมือนกันและครูตรวจสอบความถูกต้อง

5.2นักเรียนร้องเพลงจับคู่

51

การวัดและประเมินผล

- สังเกตการจับคู่ตัวเลขที่เหมือนกัน

- สังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรม

เกณฑ์การประเมิน

- การจับคู่ตัวเลขได้ถูกต้องให้คู่ละ1คะแนน

- ร่วมกิจกรรมอย่างกระตือรือร้นและอยู่ในกฎระเบียบกติกา

ข้อเสนอแนะ

1.อุปกรณ์ที่นำมาจำแนกตัวเลขอาจเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสภาพนักเรียนที่

มีปัญหา

2.ครูควรตั้งเกณฑ์การผ่านการประเมินตามรายการประเมินย่อย ตามความ

สามารถของนักเรียนเป็นรายบุคคล

3.ครูผู้สอนต้องคอยดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดและให้การเสริมแรงเมื่อนักเรียน

ทำได้

52

แบบบันทึกการสังเกต

เพลงจับคู่

คู่ไหน คู่ไหน คิดเร็วไวหาคู่พลัน

อย่ามัวรอช้า เวลาจะทัน

ระวังจะเดินชนกัน ไหนคู่ฉันนั่นไง

เลขที่ ถูกทั้งหมด ถูกมากกว่า ถูก50% น้อยกว่า ร่วม ไม่ร่วม ไม่ร่วม ไม่ร่วม

60% ร้อยละ50 กิจกรรม 1ครั้ง 2ครั้ง กิจกรรม

ทุกครั้ง

4 3 2 1 4 3 2 1

สรุปผล

การจับคู่ ร่วมกิจกรรม

53

ตัวอย่างบัตรภาพ ชุดที่ 1

ตัวอย่างบัตรตัวเลข

ตัวอย่างบัตรจำนวน

1 2 3 4 5 6 7 8 9

1 2 3 4 5 6 7 8 9

21 23 12 34 56 65 32 69 38

21 23 12 34 56 65 32 69 38

54

ปัญหาที่ 4. การเรียงลำดับจำนวน

กิจกรรมที่ 1 ฉันนับได้ แก้ปัญหาการนับจำนวน 1 – 10 ไม่ได้

กิจกรรมที่ 2 เปรียบเทียบจำนวน แก้ปัญหาการเปรียบเทียบค่าของจำนวนไม่ได้

กิจกรรมที่ 3 เรียงเลขต่อกัน แก้ปัญหาการเรียงลำดับจำนวนไม่ได้

55

ปัญหา การนับเรียงลำดับจำนวน

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่1-3

กิจกรรมที่ 1 ฉันนับได้

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.นักเรียนนับจำนวนด้วยปากเปล่า1–10ได้

2.นักเรียนเติมจำนวนในแบบฝึกทักษะได้

3.นักเรียนสนุกสนานในการปฏิบัติกิจกรรม

สื่อ/อุปกรณ์

1.เพลงนับจำนวน

2.เพลง1234

3.เพลงกบ

4.เพลงนกกระจิบ

5.เพลงปลาฉลาม

6.แบบฝึกทักษะ

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1.ให้นักเรียนร้องเพลงโดยพูดตามครูทีละวรรค 1 - 2 ครั้ง หลังจากนั้น ครูร้อง

เพลงให้นักเรียนร้องตามพร้อมๆกันฝึกให้นักเรียนร้องเพลงจนคล่อง

2.ครูสาธิตท่าทางประกอบเพลงและให้นักเรียนทำตามดังนี้

12345ทำท่าดังนี้ให้นักเรียนกำมือและยกนิ้วออกมาทีละนิ้ว

จับปูม้ามาได้1ตัวแสดงท่ากำมือและแบมือแล้วยกนิ้วขึ้นมา1นิ้ว

678910ทำท่าทางกำมือที่เหลือและยกนิ้วออกมาทีละนิ้วจนครบสิบนิ้ว

ปูมันหนีบฉันต้องสั่นหัวทำท่าทางใช้มือขวาจับที่หัวแม่มือข้างซ้าย

กลัวฉันกลัวปูมันหนีบฉันที่หัวแม่มือ

3.เมื่อนักเรียนทำท่าประกอบเพลงได้แล้ว ให้นักเรียนยืนหรือนั่งเป็นวงกลม

ร้องเพลงพร้อมกันและแสดงท่าทางประกอบเพลง

56

4. สรุปบทเรียนโดยการพูดปากเปล่า 1 – 10 ตามครูแล้วจึงให้นักเรียนนับเรียง

จำนวนปากเปล่า1–10

5.ให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะการเรียงลำดับจำนวน1-10

การวัดและประเมินผล

- ทดสอบการนับเลขปากเปล่า1-10

- ตรวจแบบฝึกทักษะ

เกณฑ์การประเมิน

- นับจำนวนปากเปล่า1–10ได้ทั้งหมดผ่านการประเมิน

- เติมจำนวนในแบบฝึกทักษะได้ถูกต้องให้จำนวนละ 1 คะแนน และต้องได้

คะแนนร้อยละ60ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ

1.กิจกรรมนี้สอนต่อเนื่องโดยใช้เพลงอื่นสลับเช่นเพลงจำนวนนับเพลง1234

เพลงกบ เพลงนกระจิบ ให้นักเรียนคิดท่าทางประกอบเพลงด้วยตนเองจะทำให้มีความ

สนุกสนานมากขึ้น

2.ครูควรจะสร้างแบบฝึกทักษะเพิ่มเติมตั้งเกณฑ์การผ่านการประเมินตาม

รายการประเมินย่อยตามความสามารถของนักเรียนเป็นรายบุคคล

57

เพลงจำนวนนับ

12345จับปูม้ามาได้1ตัว

678910ปูมันหนีบฉันต้องสั่นหัว

กลัวฉันกลัวปูมันหนีบฉันที่หัวแม่มือ

เพลง 1 2 3 4

ทำนองเมาะลำเริง

1212345มาอยู่ที่นี่นะแม่456

พี่ไม่หลอกบอกให้ไม่ตกแม่45678910

เพลง 1 2 3 4

ทำนองAreyouSleeping

1 2 3 4 1 2 3 4

567567อีกทั้ง8และ910(ซ้ำ)นับอีกทีนับอีกที(0ก็มี0ก็มี)

เพลงกบ

1234(ซ้ำ)มาดูซี(ซ้ำ)ตัวฉันนี้เป็นลูกกบอ๊บอ๊บอ๊บ(ซ้ำ)

เพลงนกกระจิบ

นั่นนกกระจิบบินมาลิบๆ12345

อีกฝูงหนึ่งบินล่องลอย

58

เพลง 1 2 3 ปลาฉลาม

1234ปลาฉลามขึ้นบก

456จิ้งจกยัดใส้

ไอแอมซอรี่จั๊กจี้หัวใจ

เพลง 1 – 10 สนุกครื้นเครง

ทำนองเพลงนิ้วโป้งอยู่ไหน

หนึ่งสองสามสี่(ซ้ำ)

ห้าหกเจ็ด(ซ้ำ)

อีกทั้งแปดและเก้าสิบ(ซ้ำ)

นับอีกที(ซ้ำ)

59

แบบฝึกที่ 1 ฉันนับได้

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง เรียงลำดับจำนวน0–5โดยเติมจำนวนในช่องว่าง

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

60

ปัญหา การเรียงลำดับจำนวน

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่1-3

กิจกรรมที่ 2 เปรียบเทียบจำนวน

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.นักเรียนสามารถเปรียบเทียบจำนวนที่มีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าได้

2.นักเรียนบอกจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่าจำนวนที่กำหนดให้ได้

สื่อ/อุปกรณ์

1.รูปภาพจำนวน

2.บัตรจำนวน1–10

3.แบบฝึกทักษะ

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1.ทบทวนด้วยการร้องเพลงจำนวนนับ

2.ครูชูบัตรภาพส้มแล้วนักเรียนเลือกบัตรจำนวนให้มีค่าเท่ากับบัตรภาพ จากนั้น

ครูชูบัตรภาพมะม่วงนักเรียนเลือกบัตรจำนวนให้มีค่าเท่ากับบัตรภาพนั้นเช่น

3.นักเรียนโยงเส้นจับคู่ส้มกับมะม่วง แล้วถามว่าส้มมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า

จากนั้นครูถามจำนวน3มากกว่าหรือน้อยกว่า4แล้วสรุปว่าจำนวนที่เหลือมีค่ามากกว่า

4.ครูและนักเรียนดำเนินกิจกรรมข้อ2–3อีกหลายๆครั้ง

5.นักเรียนทำแบบฝึกทักษะเปรียบเทียบจำนวน1-10

61

การวัดและประเมินผล - สังเกตการเปรียบเทียบจำนวนที่มีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า - ตรวจแบบฝึกทักษะ เกณฑ์การประเมิน - เปรียบเทียบจำนวนขณะร่วมกิจกรรมได้ถูกต้องครั้งละ1คะแนน - บอกจำนวนที่มีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าในแบบฝึกทักษะได้ถูกต้อง ให้ข้อละ 1คะแนน ทั้ง2รายการต้องได้คะแนนร้อยละ60ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน

ชื่อ–ชื่อสกุล การเปรียบเทียบ แบบฝึกทักษะ สรุปผล จำนวน (5คะแนน)

ผ่าน ไม่ผ่าน (5คะแนน)

แบบบันทึกการสังเกต

62

แบบบันทึกการสังเกต แบบฝึกทักษะที่ 1 เปรียบเทียบจำนวน

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง ให้นักเรียนกากบาททับจำนวนที่มีค่าน้อยกว่า ตัวอย่าง

ได้......................................คะแนน

สรุป ผ่านไม่ผ่าน

3 5

4 4

6 7

9 5

8 6

7 7

63

ปัญหา การนับเรียงลำดับจำนวน

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่1-3

กิจกรรมที่ 3 เรียงเลขต่อกัน

จุดประสงค์การเรียนรู้

นักเรียนเรียงตัวเลขจากน้อยไปหามากหรือจากมากไปหาน้อยได้ถูกต้อง

สื่อ/อุปกรณ์

1.บัตรตัวเลข0–10จำนวน2–3ชุดๆละ1สี

2.แบบฝึกทักษะ

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1.ครูแจกบัตรตัวเลขให้นักเรียนคนละ1ชุด(0–10)

2.อธิบายการเล่นเกมโดยครูสาธิตการเล่นเกมก่อนดังนี้

ครูจะเป็นคนเรียงบัตรตัวเลขตัวแรกก่อนต่อไปให้นักเรียนวางบัตรตัวเลขของ

นักเรียนต่อจากบัตรตัวเลขของครูทีละคนโดยเรียงจากจำนวนที่มีค่าน้อยไปหาจำนวนที่มี

ค่ามากครูสาธิตให้นักเรียนดูเช่น

ถ้ามีนักเรียน1คนครูกับนักเรียนผลัดกันวางบัตรตัวเลขต่อกันไปเรื่อยๆ

ครู นักเรียน นักเรียน นักเรียน นักเรียน

คนที่1 คนที่2 คนที่3 คนที่4

64

3. เล่นเกม โดยวางบัตรตัวเลขตัวแรกเปลี่ยนไปโดยวางจากตัวเลขที่มีค่าน้อยไป

หาตัวเลขที่มีค่ามาก(การเริ่มวางบัตรคนแรกอาจเป็นครูหรือนักเรียนเป็นผู้วางบัตรคนแรก

ก็ได้)

1 ครูนักเรียน

2 ครูนักเรียน

3 ครูนักเรียน

4 ครูนักเรียน

5 ครูนักเรียน

6 ครูนักเรียน

7 ครูนักเรียน

8 ครูนักเรียน

65

4. เมื่อนักเรียนเรียงตัวเลขจากน้อยไปหามากได้แล้ว ครูเปลี่ยนให้นักเรียนเรียงจาก

ตัวเลขที่มีค่ามากไปหาตัวเลขที่มีค่าน้อยบ้างโดยวิธีเดียวกนักับกิจกรรมที่3

10 ครูนักเรียน

9 ครูนักเรียน

8 ครูนักเรียน

7 ครูนักเรียน

6 ครูนักเรียน

5 ครูนักเรียน

4 ครูนักเรียน

3 ครูนักเรียน

66

ในการปฏิบัติกิจกรรมครูกับนักเรียนสลับกันวางต่อตัวเลขก็ได้หรือจะให้นักเรียน

เล่นกันเองก็ได้โดยครูคอยตรวจสอบความถูกต้อง

5.นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ

การวัดและประเมินผล

- เรียงจำนวนจากค่ามากไปหาจำนวนที่มีค่าน้อย

- เรียงจำนวนจากค่าน้อยไปหาจำนวนที่มีค่ามาก

เกณฑ์การประเมิน

- เรียงจำนวนจากค่ามากไปหาจำนวนที่มีค่าน้อยได้ถูกต้องให้ข้อละ1คะแนน

- เรียงจำนวนจากค่าน้อยไปหาจำนวนที่มีค่ามากได้ถูกต้องให้ข้อละ1คะแนน

ทั้ง2รายการต้องได้คะแนนร้อยละ60ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์การประเมิน

67

ตัวอย่างแบบฝึกทักษะที่ 1

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่.............. คำชี้แจงนักเรียนเรียงลำดับจากจำนวนที่มีค่าน้อยไปหาจำนวนที่มีค่ามาก 1. 2. 3. คำชี้แจงนักเรียนเรียงลำดับจากจำนวนที่มีค่ามากไปหาจำนวนที่มีค่าน้อย 4. 5. 6. ได้......................................คะแนน

สรุป ผ่านไม่ผ่าน

68

ปัญหาที่ 5. การจำและเขียนตัวเลขแทนจำนวน

กิจกรรมที่ 1 เติมให้เต็ม แก้ปัญหาการเขียนตัวเลขไม่ได้

กิจกรรมที่ 2 ร่องตัวเลข แก้ปัญหาการเขียนตัวเลขไม่ได้

69

ปัญหา การจำและเขียนตัวเลขแทนจำนวน ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่1-3 กิจกรรมที่ 1 เติมให้เต็ม จุดประสงค์การเรียนรู้ 1.นักเรียนบอกจำนวนและเขียนตัวเลขแทนจำนวนได้ถูกต้อง 2.นักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม สื่อ/อุปกรณ์ 1.ดินสอกระเป๋า 2.ร่องอักษรที่เป็นสัญลักษณ์แทนจำนวน 3.บัตรตัวเลข 4.แบบฝึกทักษะ วิธีการดำเนินกิจกรรม 1.ครูนำบัตรตัวเลข 1 และ 2 มาสนทนากับนักเรียนถึงความหมายของจำนวน ให้นักเรียนยกตัวอย่างประกอบเช่น ชูดินสอ1แท่ง มีกระเป๋า2ใบ 2.ครูนำร่องอักษรที่เป็นสัญลักษณ์แทนจำนวนตัวเลข 1 และ 2 ให้นักเรียนพิจารณา ครูแนะนำว่าครูจะใช้นิ้วมือลากตามร่องอักษรโดยเริ่มจาก จุด แล้วสาธิตให้นักเรียนสังเกต

70

3.นักเรียนแต่ละคนใช้นิ้วลากร่องอักษรตามแบบฝึกทักษะ ครูคอยสังเกตทิศทาง

การเคลื่อนของนิ้วมือถ้ามีนักเรียนทำผิดทิศทางครูแนะนำจนกว่าจะทำได้ถูกต้อง

4.นักเรียนทดลองเขียนบนอากาศทั้งเลข1และ2ครูสังเกตทิศทาง

5.ครูนำแบบฝึกการเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวนมาอธิบายวิธีการทำแบบฝึกให้

นักเรียนปฏิบัติครูสังเกตการปฏิบัติตามขั้นตอน

6.ครูนำตัวเลขอื่นๆมาทำกิจกรรมในทำนองเดียวกันนี้

7.ครูนำบัตรตัวเลข(0-9)มาให้นักเรียนสุ่มแล้วให้เขียนบนกระดาน

8.นักเรียนทำแบบฝึกทักษะฝึกการเขียนตัวเลขแทนจำนวน

การวัดและประเมินผล

- ตรวจการบอกจำนวนและเขียนตัวเลขแทนจำนวน

เกณฑ์การประเมิน

- บอกจำนวนและเขียนตัวเลขแทนจำนวนได้ถูกต้องข้อละ 1 คะแนนและต้องได้

คะแนนร้อยละ60ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์

ข้อเสนอแนะ

ครูผู้สอนต้องดูแลนักเรียนในการฝึกเขียนอย่างใกล้ชิด การฝึกทักษะการเขียนอาจ

ฝึกทักษะเพิ่มเติมในจำนวนต่างๆมากขึ้นพร้อมทักษะการอ่านจำนวนไปพร้อมกัน

71

ตัวอย่าง แบบฝึกการเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวน

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่.............. คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนตัวเลขตามรอยประที่กำหนด

ลากเส้นภายในตัวเลข

ลากเส้นตามรอย

ลากเส้นตามรอย

ลากเส้นตามรอย

ลากเส้นตามรอย

6 6 6

72

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

แบบฝึกเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวน

คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนตัวเลขตามรอยประที่กำหนด

ได้......................................คะแนน

สรุป ผ่านไม่ผ่าน

1

1 1 1 1 1 1

73

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนตัวเลขตามรอยประที่กำหนด

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

2

2 2 2 2 2 2 2 2 2

74

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนตัวเลขตามรอยประที่กำหนด

3

3 3 3

3 3 3

3 3 3

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

75

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนตัวเลขตามรอยประที่กำหนด

4

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

4 4 4

4 4 4

4 4 4

76

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนตัวเลขตามรอยประที่กำหนด

5

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนตัวเลขตามรอยประที่กำหนด ได้......................................คะแนน

สรุป ผ่านไม่ผ่าน

5 5 5 5

5 5 5

5 5

77

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนตัวเลขตามรอยประที่กำหนด

6

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

6 6

6 6

6 6

78

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่.............. คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนตัวเลขตามรอยประที่กำหนด

7

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

7 7 7 7 7 7 7 7 7

79

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนตัวเลขตามรอยประที่กำหนด

8

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

8 8 8

8 8 8 8 8 8

80

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนตัวเลขตามรอยประที่กำหนด

9

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

9 9

9 9

9 9

81

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่.............. คำชี้แจงให้นักเรียนเขียนตัวเลขตามรอยประที่กำหนด

0

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

0 0 0

0 0 0

0 0 0

82

จงเขียนตัวเลขแทนภาพในช่องว่าง

ภาพ ตัวเลข เขียนตัวเลข

2

5

6

9

3

83

ภาพ ตัวเลข เขียนตัวเลข

2

5

6

9

3

84

ปัญหา การจำและการเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวน

ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่1-3

กิจกรรมที่ 2 ร่องตัวเลข

จุดประสงค์การเรียนรู้

นักเรียนเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวนได้

สื่อ/อุปกรณ์

1.ร่องตัวเลขขนาดประมาณ6นิ้วทำด้วยแผ่นพลาสติกหรือแผ่นยางพารา

2.ดินสอ

3.สีไม้สีเทียนสีชอล์ก

4.กระดาษสีขาวขนาดเอ4

5.แบบฝึก

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1. ครูชูบัตรภาพจำนวน 2 ให้นักเรียนดูแล้วครูนำร่องตัวเลข 2 ให้นักเรียนดูแล้ว

สนทนาซักถามว่าคือตัวเลขอะไร ให้นักเรียนตอบพร้อมกันหรือตอบเป็นรายบุคคล

(ครูอาจนำแผ่นตัวเลขวางบนกระดาษสีเข้มเพื่อให้นักเรียนเห็นตัวเลขได้ชัดเจน)เช่น

2.ครูอธิบายและสาธิตการเขียนตัวเลข1–10ตามร่องตัวเลข

3.นักเรียนวางแผ่นร่องตัวเลขลงบนกระดาษสีขาว

4.นักเรียนใช้ดินสอเขียนตัวเลขตามร่องตัวเลขต่างๆ แล้วยกแผ่นร่องตัวเลขออก

เมื่อเขียนเสร็จแล้วจะได้รูปแบบตัวเลขบนกระดาษขาวขนาดเอ4

85

5.ระบายสีตัวเลขที่นักเรียนเขียนด้วยสีเทียนสีไม้หรือชอล์ก

6.นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ

การวัดและประเมินผล

- ตรวจการเขียนตัวเลขและระบายสี

- ตรวจแบบฝึกทักษะ

เกณฑ์การประเมิน

- การเขียนตัวเลขได้ถูกต้องและระบายสีสวยงามและสะอาดให้5คะแนน

- การเขียนตัวเลขได้ถูกต้องและระบายสีไม่สวยงามและสะอาดให้3คะแนน

- การเขียนตัวเลขได้ถูกต้องและระบายสีไม่สวยงามและไม่สะอาดให้1คะแนน

- การเขียนตัวเลขได้ถูกต้องให้1คะแนน

- ทำแบบฝึกได้ถูกต้องและสะอาดทั้งหมดให้10คะแนน

- นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมได้ครบทุกกิจกรรม ผ่านแต่ถ้าไม่ครบทุกกิจกรรม

ไม่ผ่าน

ข้อเสนอแนะ

1. อาจปรับเปลี่ยนวิธีการเขียนด้วยดินสอและระบายสีเป็นการปั้นดินน้ำมันและ

วางเส้นทางเดินของดินน้ำมันเรียงเมล็ดพืชปั้นแป้งโรยทรายหรือเจาะแผ่นขนมปัง

2.ฝึกเขียนตัวเลขที่นักเรียนมักเขียนผิด

3. ครูอาจตั้งเกณฑ์การผ่านการประเมินรายข้อย่อยตามความเหมาะสมของ

นักเรียนเป็นรายบุคคล

86

แบบประเมินผลงาน “การเขียนสัญลักษณ์แทนจำนวน”

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

ที่ รายการ ผลการประเมิน หมายเหตุ

ผ่าน ไม่ผ่าน

1. เขียนตัวเลขตามรูปแบบ

2. ทำงานเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด

3. ผลงานสะอาดเรียบร้อยสวยงาม

4. ความตั้งใจในการปฏิบัติงาน

สรุปผ่านไม่ผ่าน

87

ตัวอย่างแบบฝึกทักษะที่ 1 เรื่อง การลากเส้นภายในตัวเลขฮินดูอารบิก “3”

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่.............. คำชี้แจงให้ลากเส้นภายในเลขสาม

88

ตัวอย่างแบบฝึกทักษะที่ 2 เรื่อง การลากเส้นตามรอยประตัวเลขฮินดูอารบิก “3”

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจงให้ลากเส้นตามรอยประเลขสาม

89

ตัวอย่างแบบฝึกทักษะที่ 3 เรื่อง การลากเส้นตามรอยและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก “3”

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่.............. คำชี้แจงให้ลากเส้นตามรอยและเขียนเลขสาม

90

ปัญหาที่ 6. การอ่านและเขียนจำนวนที่มีหลายหลัก

กิจกรรมที่ 1 สีมหัศจรรย์ แก้ปัญหาการอ่านจำนวนที่มีหลายหลักไม่ได้

กิจกรรมที่ 2 มัดครบสิบ แก้ปัญหาการรู้จักค่าของจำนวนในแต่ละหลักไม่ได้

91

ปัญหา การอ่านและเขียนจำนวนที่มีหลายหลัก ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่1-3 กิจกรรมที่ 1 สีมหัศจรรย์ จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนอ่านจำนวนได้ถูกต้องไม่สลับหลัก สื่อ/อุปกรณ์ 1.กรอบสีค่าประจำหลักเช่นสีเหลืองแทนหลักหน่วยสีแดงแทนหลักสิบเป็นต้น 2.บัตรตัวเลขลักษณะหนึ่งบัตรมีตัวเลขหนึ่งตัวบัตรหนึ่งชุดมีเลข0–9 วิธีการดำเนินกิจกรรม 1.ครูนำกรอบสีหลักหน่วยมาวาง แล้วทำบัตรตัวเลขใส่ลงไปในกรอบสีหลักหน่วยแล้วอ่านค่าของจำนวนนั้นให้นักเรียนฟัง 2.ครูนำกรอบสีจำนวนหลักสิบ มาวางคู่กับกรอบสีหลักหน่วยให้ถูกหลัก แล้วนำบัตรตัวเลข 2 มาวางเรียงกันให้เป็นจำนวน 2 หลัก แล้วให้นักเรียนอ่านจำนวนก่อน ต่อจากนั้นครูนำบัตรตัวเลขใส่ลงในกรอบสีให้ถูกหลักให้นักเรียนอ่านให้นักเรียนเปรียบเทียบการอ่านจำนวนของตัวเองครั้งแรกกับครั้งหลังว่าต่างกันหรือไม่ถ้านักเรียนอ่านผิดครูแก้โดยการให้นักเรียนสังเกตสีตามหลักเลข

3

3

3

3

2

2

หน่วย

หน่วย

หน่วยหน่วย สิบสิบ

92

กรอบสีแต่ละหลักใช้สีแตกต่างกันเช่นหลักหน่วยใช้สีแดงหลักสิบใช้สีเหลือง

3.นักเรียนทำกิจกรรมซ้ำจนนักเรียนสามารถอ่านจำนวนได้ถูกต้องไม่สลับหลัก

4.เมื่อนักเรียนอ่านจำนวน 2 หลัก ได้ถูกต้องไม่สลับหลักฝึกการอ่านจำนวน

3 หลัก โดยทำกรอบสีหลักร้อยเพิ่ม กรอบสีหลักร้อยต้องไม่ซ้ำกับกรอบสีหลักหน่วย

หลักสิบแล้วดำเนินกิจกรรมทำนองเดียวกัน

การวัดและประเมินผล

- สังเกตการอ่านจำนวนได้ถูกต้องตามหลัก

เกณฑ์การประเมิน

- อ่านจำนวนได้ถูกต้องตามหลักครั้งละ 1คะแนนและต้องได้คะแนนร้อยละ 60

ขึ้นไปจึงจะผ่านเกณฑ์

- สังเกตความพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

ข้อเสนอแนะ

1.ครูสามารถเลือกกรอบสีต่างๆได้ตามความเหมาะสมแต่สีในกรอบสีแต่ละหลัก

ต้องแตกต่างกัน

2.กรอบสีสามารถนำไปประยุกต์ในการสอนเรื่องอื่นๆ ที่นักเรียนมีความสับสน

เกี่ยวกับตำแหน่งได้

93

แบบสังเกตการปฏิบัติกิจกรรม “สีมหัศจรรย์”

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

ที่ รายการ ผลการประเมิน หมายเหตุ

ผ่าน ไม่ผ่าน

1. อ่านจำนวนได้ถูกต้องไม่สลับหลัก

2. มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม

3. มีความพอใจในการร่วมกิจกรรม

สรุปผ่านไม่ผ่าน

94

ปัญหา การอ่านและเขียนจำนวนที่มีหลายหลัก

ระดับชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่1-3

กิจกรรมที่ 2 มัดครบสิบ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.นักเรียนบอกค่าตัวเลขในแต่ละหลักได้

2.นักเรียนเขียนจำนวนในรูปกระจายได้

3.นักเรียนมีความพอใจในการร่วมกิจกรรม

สื่อ/อุปกรณ์

1.หลอดกาแฟยางรัด

2.กระป๋องหลักเลข(หลักสิบหลักหน่วย)

3.บัตรตัวเลขฮินดูอารบิก

4.แบบฝึกทักษะ

วิธีการดำเนินกิจกรรม

1.นักเรียนจับคู่กับเพื่อนแล้วช่วยกันนับหลอดกาแฟที่ครูแจกให้

2.นับหลอดกาแฟให้ครบสิบหลอดแล้วใช้ยางรัดไว้ มัดละสิบจนหมดหลอดส่วนที่

เหลือไม่ครบสิบไม่ต้องมัด

3.ครูแนะนำกระป๋องหลักเลขหลักหน่วยและหลักสิบ

4.ให้นักเรียนนำหลอดกาแฟสองมัดใส่ลงในกระป๋องหลักสิบทั้งหมดมีค่า20

หลักสิบ หลักหน่วย

20 7

95

5.นำหลอดกาแฟที่ไม่ครบสิบคืออีก7ใส่ลงในกระป๋องหลักหน่วยนั่นคือหลอด

จะมีค่าเป็น7

6 ครูแนะนำการอ่านค่าของตัวเลขในกระป๋องทั้งสองกระป๋องมีค่าเท่ากับ 2 สิบ

กับ7หน่วยอ่านว่า27(ยี่สิบเจ็ด)

7.ให้นักเรียนแต่ละคู่แข่งขันกันใส่หลอดกาแฟลงในกระป๋องหลักเลข ตามจำนวน

ที่ครูกำหนด เช่น321948ฯลฯจากนั้นครูแนะนำให้นักเรียนบอกในรูปของการกระจาย

เช่น32=30+2,19=10+9,48=40+8

8.นักเรียนแต่ละคนปฏิบัติกิจกรรมดังนี้

8.1หยิบบัตรตัวเลข1ใบ

8.2นำหลอดกาแฟใส่ลงในกระป๋องหลักเลขเพื่อแสดงค่าของจำนวนในข้อ8.1

8.3จากข้อ8.2เขียนแสดงในรูปกระจายลงในแบบบันทึก

9.นักเรียนทำกิจกรรมซ้ำ

10.นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ

การวัดและประเมินผล

- ตรวจการบอกค่าตัวเลขในแต่ละหลัก

- ตรวจการเขียนจำนวนในรูปกระจาย

- สังเกตความพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

เกณฑ์การประเมิน

- บอกค่าตัวเลขในแต่ละหลักได้ถูกต้องข้อละ4คะแนน

- การเขียนจำนวนในรูปกระจายได้ถูกต้องข้อละ1คะแนนทั้ง2รายการต้องได้ร้อยละ60ขึ้นไปจึงผ่านเกณฑ์การประเมิน - ความพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

96

แบบฝึกทักษะที่ 1 เรื่อง การรู้ค่าประจำหลัก

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่..............

คำชี้แจง เติมคำตอบในช่องว่าง

ตัวอย่าง 25 5 อยู่ในหลัก หน่วย มีค่า 5

2 อยู่ในหลัก สิบ มีค่า 20

1. 32 2 อยู่ในหลัก ______ มีค่า _______

3 อยู่ในหลัก _______ มีค่า _______

2. 70 0 อยู่ในหลัก _______ มีค่า _______

7 อยู่ในหลัก _______ มีค่า _______

3. 87 7 อยู่ในหลัก _______ มีค่า _______

8 อยู่ในหลัก _______ มีค่า _______

4. 18 8 อยู่ในหลัก _______ มีค่า _______

1 อยู่ในหลัก _______ มีค่า _______

5. 24 4 อยู่ในหลัก _______ มีค่า _______

2 อยู่ในหลัก _______ มีค่า _______

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

97

แบบฝึกทักษะที่ 2 เรื่อง การรู้ค่าประจำหลัก

ชื่อ......................................................................................ชั้น.................เลขที่.............. คำชี้แจง เขียนจำนวนในรูปการกระจาย

ตัวอย่าง 39 30 + 9

1. 48 ______ + _______

2. 56 ______ + _______

3. 26 ______ + _______

4. 83 ______ + _______

5. 20 ______ + _______

ได้......................................คะแนน สรุป ผ่านไม่ผ่าน

98

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการใช้แบบทดสอบความบกพร่องทางการเรียนรู้

ด้านคณิตศาสตร์.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์การศาสนา.

ดารณี ศักดิ์ศิริผล และคณะ. (2552).แบบฝึกอ่านเขียนเรียนรู้กับลุงฮูก ชุดที่ 5 การหาร

และโจทย์ปัญหา เล่ม 1 ความหมายของการหารและความสัมพันธ์กับการคูณ.

กรุงเทพมหานคร:บริษัทโกลบอลเอ็ดจำกัด.

ดารณี ศักดิ์ศิริผล และคณะ. (2552).แบบฝึกอ่านเขียนเรียนรู้กับลุงฮูก ชุดที่ 1 จำนวน

และตัวเลข เล่ม 2 การเขียนตัวเลขไทยแทนจำนวน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท

โกลบอลเอ็ดจำกัด.

ดารณี ศักดิ์ศิริผล และคณะ. (2552).แบบฝึกอ่านเขียนเรียนรู้กับลุงฮูก ชุดที่ 1 จำนวน

และตัวเลข เล่ม 1 จำนวนนับ 1 ถึง 10 และ 0. กรุงเทพมหานคร: บริษัท

โกลบอลเอ็ดจำกัด.

ผดุง อารยะวิญญู. (2544). เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์

แว่นแก้ว.

ผดุงอารยะวิญญู.(2546).วิธีสอนเด็กเรียนยาก.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แว่นแก้ว.

ไพเราะ พุ่มมั่น. (2537). กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดรวบยอด.

กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แว่นแก้ว.

ไพเราะ พุ่มมั่น. (2546). กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิดรวบยอด.

กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แว่นแก้ว.

หน่วยศึกษานิเทศก์.คู่มือครูแนวการจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

ด้าน คณิตศาสตร์.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนISBN.97480051-3.

Jeffrey P. Bakken, Ph.D.Strategy Instruction Ideas for Students with Learning

Disabilities.IllinoisStateUniversity.

Lerner, J.W. (1985). Learning Disabilities: Theories, Diagnosis, and Teaching

Strategies. Boton:HoughtonMifflinCompany.

99

ภาคผนวก

100

การสอนด้วยวิธี Touch Math วิธีที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัส

TouchMathเป็นการใช้ประสาทสัมผัสหลายด้านผสมผสานกันเป็นการออกแบบ

เพื่อการได้ยิน การมองเห็น และการสัมผัส/การเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหวนักเรียนได้เห็น

พูด ได้ยิน และสัมผัส โดยการสัมผัสจุดบนตัวเลขต่างๆ จึงทำให้เขาเรียนรู้ได้ดีกว่าเพราะ

เขาเรียนรู้ผ่านหลากหลายช่องทางการเรียนรู้

ให้นักเรียนได้เคลื่อนที่หรือเดิน

Touch Math ก็คือ การสัมผัสจุด เมื่อได้สัมผัสจะทำให้เกิดการเรียนรู้ไปในตัว

การนับที่เป็นรูปแบบการสัมผัสจุด เป็นสื่อการสอนที่ใช้ได้ผลกับนักเรียนโดยมีหลักการ

เรียนรู้เป็นรูปธรรม เป็นภาพที่ชัดเจนหรือเป็นสัญลักษณ์ ในการสัมผัสจุดนักเรียนสามารถ

ใช้ดินสอเขียนตามลงไปบนกระดาษหรือการใช้นิ้วมือลากตามจุดได้ นี่เป็นการเรียนรู้ที่

สำคัญของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

การใช้สื่อการมองเพื่อการช่วยเหลือ

การสอนในระดับแรกด้วยวิธี Touch Math เป็นการสอนให้นักเรียนใช้การมอง

ซึ่งเป็นการพัฒนาเรื่องทิศทาง ซ้าย ขวา ลดการมองตัวเลขแบบกลับหัวกลับหาง ทำให้

การคำนวณง่ายขึ้นและลดการคำนวณ นักเรียนมีทัศนคติที่ดี มีความมั่นใจ มีความ

กระตือรือร้น ในการทำเลขที่มีความสลับซับซ้อนหรือยากขึ้นไป วิธีนี้ เหมาะสำหรับเด็ก

อายุ 6 ปี หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่อาจจะกลัวตัวเลขที่เต็มหน้ากระดาษ

แต่หน้ากระดาษของเราจะไม่ยุ่งเหยิง เพราะจะใช้ตัวพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่ที่เหมาะสม และ

ตัวเลขที่เป็นปัญหา การสอน Touch Math เป็นเรื่องสนุกและไม่ซับซ้อน ทำให้เด็กทำ

คณิตศาสตร์ได้

การใช้การสัมผัส/การนับที่เป็นรูปแบบนั้นเด็กเล็กๆสามารถเรียนรู้จำนวนได้จาก

จุดที่แสดง

101

ขั้นตอนในการใช้ตัวเลขโดยการใช้การสัมผัส (Touch Math) 1. การฝกึประสาทสมัผสัระหวา่งตากบัมอื โดยการใชก้จิกรรมระบายส ี(color code) ตัวอย่าง ชื่อ........................................................................

ข้อเสนอแนะให้นักเรียนลงสีตามจุดที่กำหนดให้และถามนักเรียนว่าเมื่อลงสีตามจุดแล้ว

เป็นรูปภาพอะไร

สีเขียว สีส้ม

102

2. เรียนรู้โดยนำรูปภาพ เป็นตัวนำสายตา และให้นักเรียนเปรียบเทียบกับตัวเลขที่มีภาพนำสายตา (Touchpoint Object) กับตัวเลขจุด (TouchPoint) ที่อยู่ด้านล่างที่มีลักษณะเหมือนกัน เพื่อให้นักเรียนสามารถจำภาพสัญลักษณ์ตัวเลข แล้วค่อยถอดจุดออกจากตัวเลขเหลือเฉพาะสัญลักษณ์ตัวเลขธรรมดา ตัวอย่าง

หนึ่ง สอง

103

2

3 5

2

3 2

3. การนับตัวเลขโดยการใช้การสัมผัส (Touch Math) ตั้งแต่ 6 ถึง 9 อาจใช้วงกลมรอบจุดแล้วให้นับซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อป้องกันจำนวนจุดที่มีจำนวนมากเกินไปบนตัวเลขนั้นๆ ตัวอย่าง 4. การนับจุดของตัวเลข Touch Math

2

5, 6

9

7, 8 7, 8 5, 6

5, 6 5, 6

7

3 , 2

, 2

, 2 , 2

3,

3, 3, 3,

104

5. การเขียนตัวเลข ตัวอย่าง

105

106

6. การรู้ค่าตัวเลข ตัวอย่าง จับคู่ตัวเลขให้ตรงกับรูปภาพ

107

7. การบวกโดยการนับภาพบนตัวเลข ของ Touch Math Object จะมีภาพบนตัวเลขเท่าจำนวนตัวเลข ตัวอย่าง

ชื่อ.......................................................................ชั้น.......................เลขที่.....................

คำชี้แจง จงหาผลบวกให้ถูกต้อง

รวม

108

ชื่อ.......................................................................ชั้น.......................เลขที่.....................

คำชี้แจง จงหาผลบวกให้ถูกต้อง

109

8. การบวกเลขด้วยตัวเลขจุด ตัวอย่าง5บวก7ในระยะแรกให้นับจุดของเลข5มี5จุดจากนั้นนับต่อที่เลข7โดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นคำตอบคือ12 จากนั้นเริ่มถอดจุดในตัวบวกออกเพื่อให้เด็กคิดเอง สุดท้ายเริ่มถอดจุดทั้งตัวตั้งและตัวบวกเป็นตัวเลข

3 4

1 2

5 6

8

7

9

11 10

12

110

9. การลบเลข ตัวอย่าง9 -7 ในระยะแรกให้นับจุดของตัวต้ังคือเลข9จากตำแหน่งสุดท้ายโดย หักออก7คำตอบคือ2 จากนั้นเริ่มถอดจุดในตัวลบออกเพื่อให้เด็กคิดเอง สุดท้ายเริ่มถอดจุดทั้งตัวตั้งและตัวลบเป็นตัวเลขเหมือนกับการบวก 10. การคูณโดยการนับจุดบนตัวเลข การคูณเป็นการบวกตัวตั้งซ้ำกี่เท่า ซึ่งนักเรียนอาจจะใช้กิจกรรมนับเม็ดลูกคิดมาก่อนเพื่อให้เข้าใจความหมายของการคูณ ตัวอย่าง7x2คือ7บวกตัวเอง2ครั้งดังนั้นเด็กจะนับตัวตั้ง2รอบคำตอบคือ14 จากนั้นเริ่มถอดจุดในตัวคูณออกเพื่อให้เด็กคิดเอง สุดท้ายเริ่มถอดจุดทั้งตัวตั้งและตัวคูณเป็นตัวเลข เหมือนกับการบวก จากนั้นอาจจะนำตารางการคูณมาช่วยในการคิดอีกก็ได้(หาข้อมูลเพิ่มเติมจากTouchMath.com)

14

12 13 5 6

7 1 2 8 9

10 11 3 4

1 2 3 4

5 6 7 8

9

111

ตัวอย่างสื่อสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวนตัวเลข ชุดCarry and Borrow Line ช่วยสอนค่าของตัวเลขและการบวกลบจำนวนที่มีสองหลัก เส้นจำนวน จะช่วยให้เด็กจัดระบบตัวเลขอย่างเป็นแบบแผน อุปกรณ์คณิตศาสตร์แท่งจำนวน MeasureLine เป็นบรรทัด12หน่วยเพื่อการคำนวณ อุปกรณ์คณิตศาสตร์แท่งจำนวน เศษส่วน เป็นแท่งหลักเศษส่วนเพื่อการคำนวณ

112

เศษส่วน ชุด เส้นจำนวนเศษส่วน FractionLine อุปกรณ์ที่สอนให้เด็กเข้าใจรูปเศษส่วน กระดาษเส้นจำนวน เศษส่วน เพื่อการคำนวณ เศษส่วนพิซซ่า ลูกเต๋าเศษส่วน บัตรเศษส่วน

113

จำนวนเงิน ชุดCoin-U-Lator อุปกรณ์ที่บอกค่าของเหรียญเงินการนับเงิน ร้านขายของจำลอง ตารางแลกเงิน

114

เวลา นาฬิกาวงกลม จะมี2ขนาดสอนเรื่องเวลาการบอกเวลา บัตรเวลา

115

การคำนวณ เครื่องคิดเลขขนาดใหญ่ ง่ายต่อการมองการหาตัวเลขและการกดปุ่มคำนวณ ตาราง 100 ช่องเกี่ยวกับการบวก ลบ คูณ ช่วยในการคำนวณการบวกการลบการคูณ

ตัวบล็อคต่อคำนวณ

ลูกคิดแท่งหลัก ใช้คำนวณเลขตามหลัก

ไม้คิดคำนวณการบวกลบคูณหาร

116

บัตรภาพประโยคสัญลักษณ์ กระดาษหาคำตอบและแผ่นพลาสติกสี

117

กราฟ พื้นที่ บล็อคพื้นที่ตาราง

118

รูปเรขาคณิต กระดานสร้างรูปเรขาคณิต แท่งต่อรูปทรงเรขาคณิต

119

การวัด ไม้บรรทัด ร้อยละ

120

การชั่งน้ำหนัก

121

คณะทำงานปรับเอกสาร

เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

ที่ปรึกษา

1.นายชินภัทรภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.นายสมเกียรติชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3.นายเสน่ห์ขาวโต รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4.นายชัยพฤกษ์เสรีรักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

5.นางเบญจาชลธาร์นนท์ ข้าราชการบำนาญ(อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ)

6.นางสุจินดาผ่องอักษร ที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส

7.นายธีระจันทรรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้ตรวจพิจารณาเอกสาร

1.นางสุจินดาผ่องอักษร ที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส

2.นางดารณีศักดิ์ศิริผล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

3.นางเกตุมณีมากมี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม ่

ผู้กำหนดกรอบในการปรับเอกสาร

1.นางสุจินดาผ่องอักษร ที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส

2.นางผ่องศรีสุรัตน์เรืองชัย สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

3.นางสาวเจษฎากิตติสุนทร สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

คณะผู้ปรับเอกสาร

1.นางเรืองรองศรแก้ว โรงเรยีนบา้นอโุมงค์

สำนกังานเขตพืน้ทีก่ารศกึษาสมทุรปราการเขต1

2.นางเรไรตาปนานนท์ โรงเรียนวัดพระยาปลาสังกัดกรุงเทพมหานคร

3.นางสายสวาทอรรถมานะ รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา9

4.นายยุทธนาขำเกื้อ รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา4

5.นางสาวพรรณานรินทร ศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง

6.นางนภัสวรรณอุปศรี โรงเรียนวัดสระแก้ว

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต1

122

7.นางกนิษฐาลี้ถาวร โรงเรียนวัดด่านสำโรง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต1

8.นางวรรณิภาภัทรวงศ์สินธุ์ โรงเรียนชุมชนบ้านหนองบัวระเหว

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิเขต3

9.นางจุฬาภรณ์ด้วงบาง โรงเรียนบ้านคลองน้ำเย็น

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัยเขต1

10.นางกฤติยากริ่นใจ โรงเรียนชุมชนบ้านหลุมรัง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรีเขต2

11.นางอารีรัตน์สงวนทรัพย์ โรงเรียนบ้านโคกเจริญ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา

12.นายสมชายกาซอ โรงเรียนชุมชนบ้านสะนิง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานีเขต1

13.นางสาวสุกัญญาจิวัฒนาชวลิตกุล โรงเรียนบ้านกอแนะเหนือ

14.นางผ่องศรีสุรัตน์เรืองชัย สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

15.นางสาวเจษฎากิตติสุนทร สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

บรรณาธิการ

นางสาวพรรณีคุณากรบดินทร์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ภาพปก

นางทองพูนสร้อยดอกจิก โรงเรียนบ้านท่าทุ่ม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรีเขต1

123

คณะทำงาน

พัฒนาเทคนิควิธีการและสื่อสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ 267/2547 และ 670/2548

คณะกรรมการที่ปรึกษา

1. นางพรนิภาลิปพะยอม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. นายดิเรกพรสีมา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3. นายชินภัทรภูมิรัตน รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4. นางเบญจาชลธาร์นนท์ ที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส

5. นายวิริยะนามศิริพงศ์พันธุ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

คณะกรรมการดำเนินงาน

1. นางเบญจาชลธาร์นนท์ ที่ปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส ประธานกรรมการ

2. นายธีระจันทรรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รองประธานกรรมการ

3. นางสุจินดาผ่องอักษร ผู้เชี่ยวชาญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รองประธานกรรมการ

4. นางสมบูรณ์อาศิรพจน์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลาง กรรมการ

5. นางสมพรหวานเสร็จ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา9จังหวัดขอนแก่น กรรมการ

6. นางศรีจิตต์ขวัญแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา4จังหวัดตรัง กรรมการ

7. นางสาวอารีย์เพลินชัยวาณิช ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา7จังหวัดพิษณุโลก กรรมการ

8. นางยุพินคำปัน ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา8จังหวัดเชียงใหม่ กรรมการ

9. นางอรอินทร์คลองมิ่ง ผู้ช่วยอำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา11จังหวัดนครราชสีมา กรรมการ

10. นางสาวบุษบาตาไว ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุโขทัย กรรมการ

11. นายนะรงษ์ชาวเพ็ชร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุรินทร์ กรรมการ

12. นางสาววัลยาสุทธิพิบูลย์ ศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลางกรุงเทพมหานคร กรรมการ

13. นายอำนวยทิมมี ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัยเขต1 กรรมการ

14. นางสาวเพ็ญพรรณกรึงไกร ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต2 กรรมการ

15. นางอัจฉราวรรณมะกาเจ ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต1 กรรมการ

16. นางจินตนาอัมพรภาค ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัยเขต1 กรรมการ

17. นางสุพรรณีอ่อนจาก โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธารามสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร กรรมการ

18. นางจุฬาภรณ์ด้วงบาง โรงเรียนบ้านคลองน้ำเย็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัยเขต1 กรรมการ

19. นางสาวเรไรตาปนานนท์ โรงเรียนวัดพระยาปลาสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร กรรมการ

20. นางเรืองรองศรแก้ว โรงเรียนบ้านอุโมงค์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต1 กรรมการ

21. นางละออจันทรเดช โรงเรียนอนุบาลปทุมธานีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต1 กรรมการ

124

22. นางสุจริตเทอดกิติวรางค์ โรงเรียนอนุบาลพังงาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา กรรมการ

23. นางทรรศนีย์ปั้นประเสริฐ โรงเรียนบ้านหนองไก่แก้วสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรีเขต2 กรรมการ

24. นางจงจิตร์เนตรวงษ์ โรงเรียนอนุบาลร้อยเอ็ดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ดเขต1 กรรมการ

25. นางอารมย์บุญเรืองรอด โรงเรียนหนองสองตอนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรีเขต1 กรรมการ

26. นางประทุมช้างอยู่ โรงเรียนวัดพิกุลเงินสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต2 กรรมการ

27. นางละมัยชิดดี โรงเรียนบ้านเมืองปักสามัคคีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต3 กรรมการ

28. นายดำรงวุฒิดอกแก้ว โรงเรียนวัดพระหลวงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่เขต2 กรรมการ

29. นางเล็กฤทัยคำศรีระภาพ โรงเรียนชุมชนคำตานาหนองสูงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานีเขต3 กรรมการ

30. นางโสภิศแสงสีศรี โรงเรียนวัดปากคลอง(ศุทธยาลัยอุทิศ)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต1 กรรมการ

31. นายสุมนตรีคำขวา โรงเรียนบ้านสำนักพิมานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต5 กรรมการ

32. นางอัธยากาญจนดิษฐ์ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา77(บ้านโนนสันติ)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพรเขต1 กรรมการ

33. นางทิพวรรณมีผิว โรงเรียนวัดสกุณารามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท กรรมการ

34. นางพจงจิตต์กษมาภรณ์ โรงเรียนวัดพรหมสาครสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี กรรมการ

35. นางสัณห์สิรินาคยา โรงเรียนวัดประยุรวงศาวาสสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต3 กรรมการ

36. นางเยาวนิตย์พรหมเรือง โรงเรียนนิคมสงเคราะห์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระนอง กรรมการ

37. นางวรรณิภาภัทรพงศ์สินธุ์ โรงเรียนชุมชนบ้านหนองบัวระเหวสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิเขต3 กรรมการ

38. นางฐิติยาภรณ์หล่อสุวรรณ โรงเรียนอนุบาลศรีเทพ(สว่างวัฒนา)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์เขต3 กรรมการ

39. นางประไพจิตบรรเทา โรงเรียนชุมชนบึงบาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต2 กรรมการ

40. นางกฤติยากริ่มใจ โรงเรียนชุมชนบ้านหลุมรังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรีเขต2 กรรมการ

41. นางสำรวยพันธุรัตน์ โรงเรียนประชาผดุงวิทย์(ฟ้องฟุ้งอุทิศ) กรรมการ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต1

42. นางสาววงเดือนอภิชาติ โรงเรียนราชวินิตสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต1 กรรมการ

43. นางทิพย์วรรณเตมียกุล โรงเรียนวัดพรหมสาครสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี กรรมการ

44. นางเสาวนีย์เพ็ชรสงค์ โรงเรียนวัดไตรสามัคคีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต1 กรรมการ

45. นางนภัสวรรณอุปศรี โรงเรียนวัดสระแก้วสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต1 กรรมการ

46. นางสมสนิทนามราช โรงเรียนเทศบาลสวนสนุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่นเขต1 กรรมการ

47. นางสาวลออเอี่ยมอ่อน โรงเรียนหนองหลวงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชรเขต1 กรรมการ

48. นางพรนิภาตอสกุล โรงเรียนอนุบาลชัยภูมิสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิเขต1 กรรมการ

49. นางบุปผาล้วนเล็ก โรงเรียนบ้านท่าฝาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่เขต2 กรรมการ

50. นางจุฬาภรณ์ด้วงบาง โรงเรียนบ้านคลองน้ำเย็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัยเขต1 กรรมการ

51. นางกนิษฐาลี้ถาวร โรงเรียนวัดด่านสำโรงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต1 กรรมการ

52. นางสาวสำเนียงศิริเกิด โรงเรียนวัดบางโฉลงในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต2 กรรมการ

53. นางเริงหทัยนิกรมสุข โรงเรียนวัดไตรสามัคคีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการเขต1 กรรมการ

54. นายพะโยมชิณวงศ์ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม กรรมการ

55. นายชูศักดิ์ชูมาลัยวงศ์ โรงเรียนพิจิตรปัญญานุกูล กรรมการ

56. นายพิชิตฤทธิ์จรูญ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร กรรมการ

125

57. นางเจนจิราเทศทิม วิทยาลัยราชสุดามหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ

58. นางสาวเกยูรวงศ์ก้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรรมการ

59. นางสาวดุสิตาทินมาลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต กรรมการ

60. นางทิพย์วรรณแจ่มไพบูลย์ ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทราเขต1 กรรมการ

61. นางสาวปนัดดาวงค์จันตา ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา9จังหวัดขอนแก่น กรรมการ

62. นายทิวัตถ์มณีโชติ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ

63. นางผ่องศรีสุรัตน์เรืองชัย สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ

64. นางสาวอนงค์ผดุงชีวิต สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ

65. นางสิริกานต์วีระพันธ์ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ

66. นางสาวธาริสาเรือนไทย สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ

67. นางสาวสุภาพรทับทิม สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ

68. นางสาวสุชาดากังวานยศศักด์ิ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ

69. นางสาวลัดดาจุลานุพันธ์ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการ

70. นางกมลจิตรดวงศรี สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและเลขานุการ

71. นางยุพินพนอำพน สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

72. นางชนาทิพย์วัฒนวงศ์ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

73. นางสาวเจษฎากิตติสุนทร สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

74. นางสาวอัญทิการ์ศุภธรรม สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

75. นางสาวจิรัฐยาแก้วป่อง สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

76. นางยุวดีกังสดาล สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

77. นางสาวสิริเพ็ญเอี่ยมสกุล สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ชุดที่ 4 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณ

ิตศาสตร์ เล่มที่ 1

เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์

เอกสารชุดแนวทางพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

เล่มที่ 1

ชุดที่ 4

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ