Wood Ash Glaze

52

description

เคลือบขี้เถ้า ปี3 เทอม 2

Transcript of Wood Ash Glaze

Page 1: Wood Ash Glaze
Page 2: Wood Ash Glaze
Page 3: Wood Ash Glaze

สมาชิกในกลุ่ม

นายสาธิตอินดิบ 52060017

นายปัญญ์บุญครองสุข 52060264

นายอวิรุทธิ์แจ้งแสงทอง 52060267

นายสิทธิชาติศรีเมือง 52060315

นายณัฐชูยิ่งสกุลทิพย์ 52060404

นายภพพิศุทธ์สุขเกษมมงคล 52060410

Page 4: Wood Ash Glaze
Page 5: Wood Ash Glaze

5Wood Ash Glaze

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่จัดทำาขึ้นเพื่อประกอบการเรียนวิชาเคลือบ2ของนิสิต

ชั้นปีที่3สาขาวิชาเซรามิกส์คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาซึ่งวิชาเคลือบ

2นี้เป็นวิชาที่ต่อเนื่องจากการเรียนเคลือบ 1 ในภาคการเรียนที่แล้ว ซึ่งครั้งนี้การเรียน

ก็จะมีเนื้อหาที่เจาะลึกละเอียดกว่าเดิมมีการแบ่งกลุ่มกันคิดสูตรเคลือบที่มีชื่อเสียงแบบ

ต่างๆเช่นเคลือบCopperRed,Celadon,OilSpotและเคลือบขี้เถ้า

โดยหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงกิจกรรมการเรียนในวิชานี้ เป็นการทดลองพัฒนา

สูตรเคลือบขี้เถ้าจากไม้ชนิดต่างๆโดยมีขี้เถ้าฟาง,ขี้เถ้าแกลบและขี้เถ้าไม้เบญจพรรณ

มาใช้ในการทดลอง เนื้อหาในเล่มนี้ยังกล่าวถึงการคำานวณสูตรเคลือบแบบเอ็มไพริคัล

ที่มีความซับซ้อน การปรับสูตรเคลือบเพื่อความเหมาะสม ฯลฯ ที่ได้จากประสบการณ์

การปฏิบัติงานจริงในการเรียนการสอนวิชานี้

คำานำา

คณะผู้จัดทำา

Page 6: Wood Ash Glaze
Page 7: Wood Ash Glaze

7Wood Ash Glaze

สารบัญ

บทที่1เคลือบเซรามิกส์

บทที่2เคลือบขี้เถ้า

บทที่3วัตถุดิบที่ใช้ในเคลือบ

บทที่4การคำานวณหาสูตรเคลือบ

บทที่5การเตรียมเคลือบ

บทที่6การเผา

บทที่7ผลการทดลอง

-ความหมายของเคลือบ

-ความหมายของเคลือบขี้เถ้า

-สารประกอบออกไซด์ที่ใช้ในเคลือบ

-การคำานวณสูตรเคลือบแบบเอ็มไพริคัล

-ผลการทดลองเคลือบขี้เถ้าจากขี้เถ้าฟาง(ครั้งที่1)

-ประวัติความเป็นมาของเคลือบ

-คุณสมบัติของขี้เถ้า

-วัตถุดิบที่ใช้ในเคลือบ

-การหาสูตรเคลือบด้วยตารางสามเหลี่ยมด้านเท่า

-ผลการทดลองเคลือบขี้เถ้าจากขี้เถ้าฟาง(ครั้งที่2)

-การคำานวณสูตรส่วนผสมแบบร้อยละ -สูตรส่วนผสมร้อยละที่ได้จากตารางสามเหลี่ยม

-ผลการทดลองเคลือบขี้เถ้าจากขี้เถ้าแกลบ -ผลการทดลองเคลือบขี้เถ้าจากขี้เถ้าไม้เบญจพรรณ -ผลการทดลองเคลือบขี้เถ้าจากขี้เถ้าแกลบผสมขี้เถ้าไม้เบญจพรรณ

-ประเภทของเคลือบ

-การเตรียมขี้เถ้า -วิธีใช้เคลือบขี้เถ้า

778

10

11111212

14

1519

22

23262729

34

36

38

3943454647

6

Page 8: Wood Ash Glaze

บทที่ 1 เคลือบเซรามิกส์

Page 9: Wood Ash Glaze

9Wood Ash Glaze

ความหมายของเคลือบ

ประวัติของเคลือบ

เคลือบคือชั้นแก้วบางๆที่หลอมละลายติดอยู่กับผิวดินซึ่งขึ้นรูปเป็นภาชนะทรงต่างๆวัตถุดิบที่เป็น

น้ำายาเคลือบถูกบดจนละเอียดมากกว่าดินหลายเท่า ก่อนนำามาเคลือบบนผิวดินเผาเป็นชั้นหนา 1-1.5 มม.

เมื่อเคลือบแล้วต้องทิ้งผลิตภัณฑ์ให้แห้งเช็ดก้นผลิตภัณฑ์ให้สะอาดก่อนนำาเข้าเตาเผา

ผลิตภัณฑ์ที่เคลือบแล้วโดนเผาผ่านความร้อนในอุณหภูมิสูง วัตถุดิบที่เป็นแก้วในเคลือบเมื่อถึงจุด

หลอมละลายชั้นของเคลือบบนผิวดินจะกลายเป็นแก้วมันวาวติดอยู่กับผิวดิน

เคลือบช่วยให้การชำาระล้างภาชนะเป็นไปได้สะดวกเนื่องจากเคลือบมีคุณสมบัติลื่นมือ สามารถทำา

ความสะอาดได้ง่ายกว่าผิวดินที่มีลักษณะค่อนข้างหยาบเคลือบมีคุณสมบัติเป็นแก้วไม่ดูซึมน้ำาน้ำาเคลือบ

ส่วนใหญ่มีผิวมันซึ่งต่างกับลักษณะของผิวดินที่ด้านและหยาบกว่านอกจากนี้ชั้นของเคลือบบนผิวภาชนะ

ยังเพิ่มความแข็งแรงทนทานทำาให้ภาชนะดินเผาไม่บิ่นง่ายเมื่อกระทบกันบ่อยๆขณะล้างทำาความสะอาด

และสามารถใส่ของเหลวได้โดยไม่รั่วซึม

เครื่องปั้นดินเผาในยุคแรกๆ 5,000 ปี ก่อนประวัติศาสตร์ยังไม่มีการเคลือบ มักใช้วิธีขูดขีดตกแต่ง

ลวดลายลงบนผิวดิน เมื่อปั้นเป็นภาชนะหรือเป็นรูปทรงตามต้องการได้แล้วอาจใช้ดินสีต่างๆทาตกแต่ง

ตามแต่จะหาได้บางครั้งด้านนอกใช้ยางไม้หรือไขสัตว์ทาบนผิวภาชนะเพื่อกันซึม

เครื่องปั้นดินเผายุคก่อนประวัติศาสตร์เกืือบทั้งหมดมีวิวัฒนาการ จากภาชนะดินเผาอุณหภูมิต่ำา

ไม่มีการเคลือบซึ่งในปัจจุบันตามชนบทหรือท้องถิ่นห่างไกลความเจริญยังคงทำาเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน

สืบต่อกันมา

เคลือบชนิดแรกที่ค้นพบตามประวัติศาสตร์ คือเคลือบอุณหภูมิต่ำาสีฟ้าสด ซึ่งชาวอียิปต์นิิยมใช้

เคลือบลูกปัดและเครื่องปั้นดินเผามีอายุราว3,500ปีก่อนคริสตกาล

ถึงแม้ว่าการทำาเคลือบในยุคแรกๆ นั้นได้ถูกทำาขึ้นด้วยความยากลำาบาก ชิ้นงานเครื่องเคลือบดิน

เผาที่ดีๆจะถูกเก็บสะสมไว้ในปราสาทราชวังโดยกษัตริย์หรือขุนนางเท่านั้นแต่ในปัจจุบันเครื่องเคลือบดิน

เผาได้ถูกนำามาใช้ในชีวิตประจำาวันอย่างกว้างขวางเช่นเครื่องถ้วยชามสุขภัณฑ์กระเบื้องปูพื้นเป็นต้น

Page 10: Wood Ash Glaze

เคลือบขี้เถ้า10

การแบ่งประเภทของเคลือบ

เคลือบมีหลากหลายชนิด แต่ที่นิยมและพบเห็นบ่อยที่สุด คือเคลือบที่มีลักษณะมันวาว ซึ่งการ

จำาแนกชนิดของเคลือบนั้นจะใช้หลักเกณฑ์ต่างๆเป็นเกณฑ์ในการจำาแนกชนิดของเคลือบมีดังนี้

1. แบ่งตามอุณหภูมิที่ใช้ในการเผาสามารถดูได้จากความสามารถในการทนไฟหรืออุณหภูมิการ

สุกตัวของเคลือบนั้นๆซึ่งจะแบ่งไปตามช่วงอุณภูมิการเผาคือ

1.เคลือบอุณหภูมิต่ำาจะมีอุณหภูมิในการเผาตั้งแต่800-1100องศาเซลเซียส

2.เคลือบอุณหภูมิกลางจะมีอุณหภูมิในการเผาตั้งแต่1150-1200องศาเซลซียส

3.เคลือบอุณหภูมิสูงจะมีอุณหภูมิในการเผาตั้งแต่1230-1300องศาเซลเซียส

2. แบ่งตามวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการเตรียมน้ำาเคลือบ การแบ่งตามเกณฑ์นี้จะดูจากวัตถุดิบหลักที่

ใช้ผสมในการเตรียมน้ำาเคลือบ เช่นหากวัตถุดิบหลักเป็น “หินฟันม้า”จะเรียกว่า “เคลือบหินฟันม้า”ซึ่งที่

พบบ่อยๆก็คือ“เคลือบตะกั่ว”“เคลือบขี้เถ้า”“เคลือบฟริต”เป็นต้น

3. แบ่งตามลักษณะหลักการเผา เช่น หากน้ำาเคลือบที่เผาเสร็จแล้วมีลักษณะใส มองเห็นผิว

ผลิตภัณฑ์จะเรียกว่า“เคลือบใส”หากมีลักษณะด้านจะเรียกว่า“เคลือบด้าน”และยังมี“เคลือบกึ่งมันกึ่ง

ด้าน”เคลือบสีต่างๆเคลือบรานฯลฯ

Page 11: Wood Ash Glaze

11Wood Ash Glaze

เคลือบสีฟ้าสดของชาวอีิยิปต์เคลือบชนิดแรกบนโลก

Page 12: Wood Ash Glaze

บทที่ 2 เคลือบขี้เถ้า

Page 13: Wood Ash Glaze

13Wood Ash Glaze

ความหมายของเคลือบขี้เถ้า

คุณสมบัติของขี้เถ้า

เคลือบขี้เถ้าเป็นเคลือบที่เผาในอุณหภูมิสูงชนิดแรงท่ีมนุษย์รู้จักทำาขึ้นและยังคงนิยมใช้ต่อมาถึง

ปัจจุบัน แต่ในสมัยนี้ขี้เถ้าจากไม้ต่างๆ นับวันจะยิ่งหายากและราคาแพง เคลือบขี้เถ้าไม้จึงนิยมใช้เคลือบ

งานเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปะพื้นบ้านซึ่งยังนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น เช่น ผลิตภณฑ์

บีเซน ชิการากิ โตโกนาเม และมัชชิโกะ ในปัจจุบันเคลือบขี้เถ้าได้นิยมแพร่หลายไปถึงช่างปั้นอิสระในฝั่ง

ยุโรป

ผลิตภัณฑ์อุตสาหรกรรมไม่นิยมใช้เคลือบขี้เถ้า เนื่องจากขี้เถ้าเป็นสารประกอบที่สามารถ

เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ทำาให้เคลือบขี้เถ้าเป็นส่วนประกอบที่มีคุณภาพไม่คงที่ การผลิตในครั้งแรกและครั้ง

ต่อๆไปมักมีปัญหาเรื่องสีเคลือบไม่สม่ำาเสมอไม่แน่นอนดังนั้นในระบบอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาเคลือบ

สีต่างๆจึงไม่นิยมใช้ขี้เถ้าในสูตรเคลือบ

ขี้เถ้าจากพืชทุกชนิดมีส่วนประกอบของไฮโดรเจนและคาร์บอน เมื่อถูกเผาไหม้หมดไป ขี้เถ้าจะ

เหลือเพียงปริมาณเล็กน้อยเท่าน้น ซึ่งเป็นส่วนที่ทนไฟ สารเหล่านี้จะคงเหลืออยู่ในกองขี้เถ้าจากพืช ซึ่ง

ประกอบด้วยธาตุ6ตัวหลักซึ่งใช้ในสูตรเคลือบคือด่างเช่นแคลเซียมแมกนีเซียมโพแทสเซียมโซเดียว

ในปริมาณมากและมีส่วนประกอบของอะลูมินาและซิลิกาเล็กน้อย

ตัวอย่างผลวิเคราะห์ทางเคมีของขี้เถ้าไม้ชนิดของขี้เถ้า

ขี้เถ้าไม้ทั่วไป

ขี้เถ้าฟางข้าว

ขี้เถ้าไม่ไผ่

ขี้เถ้าไม้สน

ขี้เถ้าแกลบ

ขี้เถ้าตับจาก

SiO

30.99

82.18

86.40

24.39

96.00

76.96

Al O

8.91

1.36

0.0

9.71

1.00

5.42

Fe O

3.04

0.42

0.40

3.41

0.04

1.06

CaO

22.42

3.69

0.30

39.73

0.48

6.14

MgO

3.33

1.35

0.0

4.45

0.22

3.76

K 0

3.91

2.48

4.80

8.98

0.90

2.55

Na O

2.33

0.36

0.0

3.77

0.26

0.22

P O

1.91

0.68

0.0

2.78

0.02

1.58

MnO

1.26

0.0

0.0

2.74

0.19

0.67

2 2 2 2 2 2 533

Page 14: Wood Ash Glaze

เคลือบขี้เถ้า14

การเตรียมขี้เถ้า

วิธีใช้เคลือบขี้เถ้า

ขี้เถ้าไม้เมื่อได้มาแล้วให้เทใส่ถังกวนกับน้ำา2-3ครั้งเทน้ำาตอนบนที่มีเศษวัสดุและก้อนถ่านเล็กๆทิ้ง

2ครั้ง ต้องกวนแรงๆ เพื่อเอาเกลือหรือด่างที่มีความเค็มในขี้เถ้าทิ้งไปบ้าง เมื่อน้ำาขี้เถ้าเริ่มใสน้ำาหายเค็ม

กรองขี้เถ้าผ่านตะแกรงเบอร์60วางขี้เถ้าให้ตกตะกอนรินน้ำาตอนบนทิ้งนำาขี้เถ้าไปผึ่งแดดให้แห้งใส่ภา

ชนะมีฝาปิดเก็บไว้ ขี้เถ้าที่ไม่ได้ผ่านการล้างเมื่อนำามาใส่เคลือบจะกัดมือ เนื่องจากมีด่างของโซดาอยู่มาก

ทำาให้เป็นอันตรายต่อผิวหนังได้

เคลือบขี้เถ้ามีคุณสมบัติไหลตัวรุนแรงเมื่อถึงจุดหลอมละลายผลิตภัณฑ์ที่เคลือบด้วยเคลือบขี้เถ้ามัก

จะเคลือบหนาประมาณ2-3มม.ตอนส่วนบนส่วนตอนล่างเคลือบบางๆหรือเว้นไว้เมื่อเคลือบเผาถึงอุณห

ภูมิหลอมละลายเคลือบจะไหลย้อยลงมาเป็นเส้นๆเอง

ขี้เถ้าไม้เมื่อเผาแล้วมีสีจืดหรือสีขุ่นไม่สวยงาม จึงไม่เหมาะที่จะนำาไปทำาเป็นเคลือบใสคุณภาพดี

เนื่องจากมีมลทินเป็นสีจางๆ เคลือบขี้เถ้าจึงนิยมใช้ในสีธรรมชาติ สีเขียวอ่อนๆ หรือนำาไปทำาเคลือบสีโดย

เติมแร่เหล็กออกไซด์บดรวมกับขี้เถ้าก่อนใช้4-6%ทำาให้ขี้เถ้ามีสีเขียวเข้มขึ้นจนถึงสีเขียวขี้ม้าในบรรยากา

ศการเผารีดักชั่น จะได้สีเหลืองไหม้อมน้ำาตาลไหลเป็นเส้น ถ้าเคลือบไหลมากไปอาจเติมดินเพิ่ม 10% ใน

เคลือบขี้เถ้าได้

เคลือบขี้เถ้า

Page 15: Wood Ash Glaze

15Wood Ash Glaze

เคลือบขี้เถ้าไหลเป็นเส้น

Page 16: Wood Ash Glaze

บทที่ 3 วัตถุดิบที่ใช้ในการทำาเคลือบ

Page 17: Wood Ash Glaze

17Wood Ash Glaze

วัตถุดิบที่ใช้ในการทำาเคลือบ

สารประกอบออกไซด์ที่ใช้ในเคลือบ

วัตถุดิบที่ใช้ในการทำาเคลือบ จะกล่าวได้ในสองลักษณะ คือในลักษณะของสารประกอบออกไซด์

และในลักษณะของที่เป็นวัตถุดิบ

สารประกอบออกไซด์ หมายถึง สารประกอบของออกซิเจนกับธาตุอื่นๆซึ่งอาจจะเป็นโลหะ หรือ

อโลหะก็ได้ เช่น โซเดียมออกไซด์, โพแทสเซียมออกไซด์ เป็นต้น ซึ่งสารประกอบออกไซด์ที่ใช้ในการทำา

เคลือบนั้นสามารถแบ่งหน้าที่ออกเป็น3กลุ่มคือ

1. กลุ่มด่าง จะทำาให้ที่เป็น“ฟลักซ์”ในน้ำาเคลือบเป็นตัวทำาละลายซิลิก้าเพื่อให้เกิดเป็นเนื้อแก้วได้

ในอุณหภูมิที่ต่ำาลงและเป็นตัวหลักที่ทำาให้เกิดสีในน้ำาเคลือบกลุ่มด่างนั้นจะมี2ชนิดคือพวกที่เป็นอัลคา

ไลน์ ซึ่งจะเป็นกลุ่มด่างที่สามารถละลายน้ำาได้ และพวกที่เป็นอัลคาไลน์เอิร์ท นอกจากด่าง 2 กลุ่มนี้แล้ว

ยังสารประกอบอื่นๆอีกที่ทำาหน้าที่เป็นฟลักซ์เช่นซิงค์ออกไซด์,ตะกั่วออกไซด์เป็นต้น

2. กลุ่มกลาง เป็นกลุ่มสารที่ทำาหน้าที่ “ช่วยในการคงตัวของเคลือบ” ซึ่งจะทำาหน้าที่คล้ายกาว

ช่วยให้เคลือบเกาะติดกับผิวดินและป้องกันการไหลของเคลือบและยังเป็นตัวทนความร้อนทำาให้น้ำาเคลือบ

มีความหนืดสารประกอบออกไซด์ที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่อลูมิน่า,เฟอร์ริกออกไซด์เป็นต้น

3. กลุ่มกรด เป็นกลุ่มที่ทำาหน้าที่ “เป็นเนื้อแก้ว”ในเคลือบและเป็นตัวทำาให้เกิดสีทึบในน้ำาเคลือบ

ตัวอย่างวัตถุดิบในกลุ่มนี้ได้แก่ซิลิก้า,ไทเทเนียมไดออกไซด์เป็นต้น

Page 18: Wood Ash Glaze

เคลือบขี้เถ้า18

โซเดียมออกไซด์เป็นสารประกอบออกไซด์ที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีได้ง่าย ทำาหน้าที่เป็นฟลัก

ซ์ มีจุดหลอมละลายที่ต่ำาแต่สามารถเผาที่อุณหภูมิสูงได้เนื่องจากมีช่วงการเผาที่กว้าง น้ำาเคลือบที่มีโซเดีย

มออกไซด์ผสมอยู่มากนั้นมักจะเป็นน้ำาเคลือบที่มีสีสันสดสว่างเช่นน้ำาเคลือบสีเทอร์ควอยซ์

โซเดียมออกไซด์เป็นสารประกอบที่มีการขยายตัวสูง จึงมักทำาให้ผิวของเคลือบมีการรานตัว และที่

สำาคัญเคลือบที่ผสมโซเดียมในปริมาณมากๆจะเป็นไม่แข็งแรงไม่ทนต่อการขูดขีด

โซเดียมออกไซด์ในธรรมชาติส่วนมากมักจะละลายน้ำาได้ นอกจากโซเดียมออกไซด์ที่เป็นสารประ

กอบในรูปของแร่เฟลสปาร์ ดังนั้นในการเตรียมเคลือบที่ต้องการโซเดียมออกไซด์ จึงมักใช้ในรูปของโซเดีย

มเฟลสปาร์

แมกนีเซียมออกไซด์ทำาหน้าที่เป็นตัวทนไฟในน้ำาเคลือบไฟต่ำาและทำาให้เกิดทึบในเคลือบแต่ในน้ำา

เคลือบไฟสูงแมกนีเซียมออกไซด์จะทำาหน้าที่เป็นฟลักซ์ และลดสัมประสิทธิ์การหด-ขยายตัวในน้ำาเคลือบ

แก้ปัญหาแตกราน ทำาให้เคลือบมีลักษณะเรียบมันและค่อนข้างทึบแสง โดยเฉพาะเมื่อในบรรยากาศรีดัก

ชั่นหากใช้แมกนีเซียมออกไซด์มากเกินไปจะทำาให้เกิดเคลือบหดได้

นอกจากนี้แมกนีเซียมออกไซด์ยังมีผลต่อออกไซด์ให้สีบางชนิด เช่นถ้าใช้เคลือบที่มีแมกนีเซียมออก

ไซด์ร่วมกับโคบอลท์ออกไซด์จะได้เคลือบสีม่วงแทนที่จะเป็นสีน้ำาเงิน

แคลเซียมออกไซด์เป็นฟลักซ์อย่างดีในเคลือบไฟสูง หากจะนำามาใช้กับเคลือบไฟต่ำา จะต้องใช้

ร่วมกับฟลักซ์ตัวอื่นๆด้วยเพื่อช่วยในการหลอมละลาย เช่น ตะกั่วออกไซด์, ซิงค์ออกไซด์ เป็นต้น การเติม

แคลเซียมออกไซด์ลงในเคลือบไฟต่ำาที่มีปริมาณของตะกั่วหรือโซเดียมอยู่มากจะทำาให้ผิิวเคลือบแข็งแรง

แคลเซียมออกไซด์เป็นส่วนประกอบที่นิยมใช้กันมากเนื่องจากมีราคาถูกและหาได้ง่าย

SodiumOxide(NaO)2

MagnesiumOxide(MgO)

CalciumOxide(CaO)

Page 19: Wood Ash Glaze

19Wood Ash Glaze

ซิงค์ออกไซด์ทำาหน้าที่เป็นฟลักซ์ที่ดี เพิ่มความแวววาวให้กับน้ำาเคลือบเมื่อเผาที่อุณหภูมิปานกลาง

ถึงอุณหภูมิสูง แม้จะใช้เพียงปริมาณเล็กน้อย และยังสามารถใช้ซิงค์ออกไซด์กับน้ำาเคลือบไฟต่ำาได้อีกด้วย

โดยนำาไปใช้แทนตะกั่วแม้จะไม่มีประสิทธิภาพในการเป็นฟลักซ์ได้ดีเท่า

การใส่ซิงค์ออกไซด์มีผลกระทบต่อการเกิดสีของออกไซด์ให้สีตัวอื่นๆด้วยเช่นหากใส่ซิงค์ออกไซด์

ร่วมกับเฟอร์ริก จะให้สีที่มีลักษณะที่ด้านและค่อนข้างคล้ำา, หากใส่ซิงค์ออกไซด์ร่วมกับคอปเปอร์ออกไซด์

จะให้สีเขียวเทอร์ควอยซ์สดสว่าง, หากใส่ซิงค์ออกไซด์ร่วมกับดีบุกออกไซด์แล้ว จะทำาให้เกิดเป็นสีชมพู

อ่อนหรือน้ำาตาลอ่อน

ลิเทียมออกไซด์มีคุณสมบัติเป็นฟลักซ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้ผิวเคลือบมันวาว มีคุณสมบัติ

คล้ายโซเดียมออกไซด์ และโพแทสเซียมออกไซด์ แต่ลิเทียมออกไซด์มีผลกับออกไซด์ให้สีบางชนิด ทำาให้สี

แปลกตาขึ้น และลิเทียมยังทำาให้เกิดการรานที่ผิวเคลือบ เพราะลิเทียมออกไซด์มีค่าการขยายตัวน้อยกว่า

โซเดียมออกไซด์และโพแทสเซียมออกไซด์ลิเทียมออกไซด์มีราคาค่อนข้างสูงจึงมักใช้ในปริมาณไม่มาก

ZincOxide(ZnO)

LithiumOxide(LiO)2

MagnesiumOxideSodiumCarbonate

CalciumOxide LithiumCarbonateZincOxide

Page 20: Wood Ash Glaze

เคลือบขี้เถ้า20

อลูมิน่าเป็นสารประกอบออกไซด์ที่มีอุณหภูมิสูงประมาณ2040องศาเซลเซียสดังนั้นเราจะใช้อลูมิ

น่าในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นในการเตรียมเคลือบอลูมิน่าทำาหน้าที่หลักสองอย่างคือหนึ่งช่วยให้เคลือบมี

ความหนืดเพิ่มขึ้น ลดการไหลตัวของน้ำาเคลือบในแนวดิ่ง และสองป้องกันการเกิดผลึกขณะเคลือบเกิดการ

เย็นตัวลงนอกจากนี้อลูมิน่ายังช่วยให้ผิวของเคลือบมีความแข็งทนทานและความต้านทานต่อแรงดึงเพิ่ม

มากขึ้น ถ้าไม่มีอลูมิน่าเป็นส่วนประกอบหรือเป็นส่วนประกอบที่น้อย ผิวของเคลือบจะไม่แข็งแรงและเป็น

ลายๆที่ผิวในทางตรงข้ามหากเราใช้อลูมิน่ามากเกินไปจะทำาให้เคลือบมีลักษณะทึบและด้านทั้งนี้ขึ้นอยู่

กับส่วนประกอบอื่นๆด้วย

ซิลิก้าเป็นสารประกอบออกไซด์พื้นฐานของเคลือบ เคลือบไฟต่ำาซึ่งเผาที่อุณหภูมิ 1050 องศา

เซลเซียส หรือต่ำากว่า ประกอบด้วยซิลิก้าและส่วนประกอบอื่นๆที่ใช้ผลิตเคลือบในอัตราส่วน 2:1 สำาหรับ

เคลือบไฟสูงซึ่งเผาที่อุณหภูมิ 1250องศาเซลเซียสหรือสูงกว่าประกอบด้วยซิลิก้าและส่วนประกอบอื่นๆที่

ใช้ผลิตเคลือบในอัตราส่วน3-4:1ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเคลือบไฟสูงซึ่งมีปริมาณของซิลิก้ามากกว่าจะมีความ

แข็งมากกว่าเคลือบไฟต่ำาอย่างไรก็ตามถ้าใช้ปริมาณซิลิก้ามากเกินไปเคลือบอาจจะไม่สุกในอุณหภูมิที่กำา

หนดหรืออาจะทำาให้ผิวของเคลือบเกิดการแตกรานเมื่อเย็นตัวลงนอกจากนั้นซิลิก้าไม่มีผลกระทบใดๆต่อสี

เคลือบ

Alumina(AlO)3

Silica(SiO)2

2

Alumina Silica

Page 21: Wood Ash Glaze

21Wood Ash Glaze

เฟลด์สปาร์จัดได้ว่าเป็นแร่ที่มีความสำาคัญสำาหรับการทำาเคลือบ ในเคลือบเกือบทุกชนิดจะมี

เฟลด์สปาร์เป็นส่วนประกอบโดยเฉพาะเคลือบที่เผาในอุณหภูมิสูงซึ่งจะทำาหน้าที่เป็นฟลักซ์ได้ดี

เฟลด์สปาร์มีหลายชนิดแต่ละชนิดจะประกอบไปด้วยสารประกอบกลุ่มด่างอลูมิน่าและซิลิก้าที่

พบได้ทั่วไปจะเป็น โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ และโซเดียมเฟลด์สปาร์ซึ่งทั้งสามชนิดจะมีคุณสมบติแตกต่าง

กันออกไป

โซดาเฟลด์สปาร์ เป็นเฟลด์สปาร์ที่มีส่วนผสมของโซเดียมสูงใช้ในการผลิตแก้วและเคลือบ ส่วน

ประกอบทางเคมีจะประกอบด้วยโซเดียมอยู่ระหว่างร้อยละ 1.9ถึง 12.9 เคลือบที่ต้องการโซเดียมมักจะใช้

โซดาเฟลด์สปาร์เป็นหลักเนื่องจากไม่ละลายน้ำาและมีราคาถูก

โซดาแอชหรือโซเดียมคาร์บอเนต จัดเป็นฟลักซ์ที่ดีตัวหนึ่ง แต่เนื่องจากโซดาแอชเป็นสารที่ละลาย

น้ำาได้จึงไม่นิยมนำาไปใช้สำาหรับการเตรียมน้ำาเคลือบ

วัตถุดิบที่ใช้ในเคลือบ

วัตถุดิบที่ใช้ในการเตรียมน้ำาเคลือบแต่ละชนิดมีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันการนำาไปใช้จึงมี

ความจำาเป็นจะต้องรู้จักคุณสมบัติของวัตถุดิบแต่ละชนิดและเลือกใช้อย่างเหมาะสม

วัตถุดิบที่นำามาใช้ในงานเซรามิกส์ทั่วไปนั้นจะต้องผ่านกระบวนการบดละเอียดเพื่อความสะดวกกับ

การนำามาใช้โดยมาราฐานความละเอียดของวัตถุดิบกำาหนดไว้ประมาณ200เมช

ตัวอย่างวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการเตรียมเคลือบ เช่น ควอซท์, ดิน, เฟลสปาร์, ไวติ้ง, แมกนีเซีัยม

คาร์บอเนต, โดโลไมต์, แบเรียมคาร์บอเนต,ทัลคัม เป็นต้นซึ่งวัตถุดิบเหล่านี้จะให้สารประกอบออกไซด์

ต่างๆที่ประกอบกันอยู่ในตัวมันการเลือกใช้วัตถุดิบต่างๆจึงต้องคำานึงถึงคุณสมบัติทางเคมีด้วย

SodaFeldspar(NaO,AlO,6SiO)2 2 23

SodaAsh(NaCO)2 3

Page 22: Wood Ash Glaze

เคลือบขี้เถ้า22

โดโลไมต์เป็นสารประกอบของแมกนีเซียมคาร์บอเนตและแคลเซียมคาร์บอเนต ใช้เป็นส่วนผสมทั้ง

ในน้ำาเคลือบและเนื้อดิน ทำาหน้าที่เป็นฟลักซ์ร่วมกับฟลักซ์ชนิดอื่น โดโลไมต์หากใช้เป็นส่วนประกอบของ

น้ำาเคลือบโดยมีปริมาณมากถึง20%ขึ้นไปมีผลทำาให้ผิวเคลือบมีลักษณะด้าน

แมกนีเซียมคาร์บอเนตหรือแมกนีไซด์เป็นวัตถุดิบที่ให้แมกนีเซียมออกไซด์ในน้ำาเคลือบนอกจาก

แมกนีเซียมคาร์บอเนตจะเป็นฟลักซ์ในอุณหภูมิสูงแล้ว ยังเป็นวัตถุดิบที่สามารถลดสัมประสิทธิ์การหดและ

ขยายตัวของเคลือบได้ดีอีกด้วย

ไวติงหรือหินปูน เป็นสารประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนต เป็นวัตถุดิบที่ให้แคลเซียมออกไซด์ใน

น้ำาเคลือบไวติงเป็นฟลักซ์อุณหภูมิสูงและหากใส่เกิน25%จะเป็นสาเหตุให้ผิวเคลือบมีลักษณะด้าน

ลิเทียมคาร์บอเนตเป็นวัตถุดิบที่มีราคาสูง ใช้ในน้ำาเคลือบเพื่อจะทำาให้เคลือบมีสีสันที่สดใส และยัง

เพิ่มความแข็งแรงให้กับผิวของเคลือบอีกด้วย นอกจากนี้ ลิเทียมคาร์บอเนตยังสามารถทำาให้ช่วงอุณหภูมิ

การเผากว้างขึ้นอีกด้วย

Dolomite(MgCO,CaCO)3 3

MagnesiumCarbonate(MgCO)3

Whiting(CaCO)3

LithiumCarbonate(LiO)2

Page 23: Wood Ash Glaze

23Wood Ash Glaze

ดินเป็นส่วนประกอบทางเคมีของอลูมินาซิลิก้า และน้ำาซึ่งทั้งอลูมิน่าและซิลิก้าเป็นส่วนประกอบที่

สำาคัญในน้ำาเคลือบดินที่ใช้ในการทำาเคลือบนิยมใช้ดินที่มีความขาวโดยเฉพาะเคลือบที่ต้องการความขาว

และความใส

นอกจากนี้ดินยังทำาหน้าที่ช่วยสารประกอบอื่นๆในน้ำาเคลือบให้เกิดการกระจายตัว และยังทำา

หน้าที่เป็นตัวให้น้ำาเคลือบยึดเกาะกับผิวผลิตภัณฑ์ป้องกันเคลือบร่อนหลุดได้ง่าย

ควอซต์เป็นสารประกอบของซิลิก้า เรียกอีกอย่างว่าหินเขี้ยวหนุมาน เป็นวัตถุดิบที่ให้ซิลิก้าสูงถึง

98-99%มีค่าความแข็งอยู่ที่7ทำาให้การบดย่อยให้ละเอียดทำาได้ยาก

เฟอร์ริกออกไซด์ เป็นออกไซด์ให้สีที่นิยมใช้กันมาก เฟอร์ริกออกไซด์ให้สีออกน้ำาตาล ไล่เฉดอ่อน

แก่ ไปตั้งแต่สีฟางข้าว จนกระทั่งถึงดำา ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใช้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้ไม่เกิน 15% นอกจา

กนี้เฟอร์ริกยังสามารถให้สีเขียวศิลาดลได้อีกด้วยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบรรยากาศในการเผาและปริมาณเฟอร์ริก

ที่ผสมในเคลือบ

Kaolin(AlO,2SiO,2HO)2 23 2

Quartz(SiO)2

FerricOxide(FeO)2

3

Feldspar Dolomite Quartz

Page 24: Wood Ash Glaze

บทที่ 4 การคำานวณหาสูตรเคลือบ

Page 25: Wood Ash Glaze

25Wood Ash Glaze

การคำานวณสูตรเคลือบแบบเอ็มไพริคัล

ในบทนี้จะยกตัวอย่างการแปลงสูตรเคลือบแบบส่วนผสมไปเป็นสูตรเคลือบแบบเอ็มไพริคัล โดยยก

ตัวอย่างสูตรเคลือบดังนี้

SodiumFeldspar 56%

Dolomite 19%

MagnesiumCarbonate 4%

ZincOxide 6%

Kaolin 2%

Quartz 13%

ขั้นตอนที่ 1

ต้องทำาการหาค่าโมลของวัตถุดิบแต่ละชนิดก่อนโดยการใช้สูตร

โมล มวล(g)

น้ำาหนักโมเลกุล

=

SodaFeldspar มวล=56 น้ำาหนักโมเลกุล= 524.6 โมล=0.107

Dolomite มวล=19 น้ำาหนักโมเลกุล= 184.4 โมล=0.103

MagnesiumCar. มวล=4 น้ำาหนักโมเลกุล= 84.3 โมล=0.047

ZincOxide มวล=6 น้ำาหนักโมเลกุล= 81.4 โมล=0.074

Kaolin มวล=2 น้ำาหนักโมเลกุล= 258 โมล=0.008

Quartz มวล=13 น้ำาหนักโมเลกุล= 60.1 โมล=0.216

Page 26: Wood Ash Glaze

เคลือบขี้เถ้า26

ขั้นตอนที่ 2

จำาแนกกลุ่มวัตถุดิบตามคุณสมบัติทางเคมีและแทนค่าจำานวนโมล

ขั้นตอนที่ 3

จัดให้อยู่ในรูปของสูตรเอ็มไพริคัล

MgO

CaO

ZnO

Na O2 SiO2Al O2 30.107 0.115 0.874

0.150

0.103

0.074

MgO CaO ZnONa O2 SiO2Al O2 3

Soda Feld. (0.107) 0.107 - - - 0.107 0.642

Dolomite (0.103) - 0.103 0.103 - - -

Magnesium Car. (0.047) - 0.047 - - - -

Zinc Oxide (0.074) - - - 0.074 - -

Kaolin (0.008) - - - - 0.008 0.016

Quartz (0.216)

รวม

-

0.017

-

0.150

-

0.103

-

0.074

-

0.115

0.216

0.874

Page 27: Wood Ash Glaze

27Wood Ash Glaze

ขั้นตอนที่ 4

กฎของสูตรเอ็มไพริคัลนั้น ผลรวมของกลุ่มด่างจะต้องมีค่าเท่ากับ 1 หากผลรวมของกลุ่มด่างไม่

เท่ากับ1ให้ใช้ผลรวมที่ได้จากกลุ่มด่างหารทั้งหมดจะได้ดังนี้

จะได้สูตรเอ็มไพริคัลดังนี้

MgO

CaO

ZnO

Na O2 SiO2Al O2 30.107/0.434 0.115/0.434 0.874/0.434

0.150/0.434

0.103/0.434

0.074/0.434

MgO

CaO

ZnO

Na O2 SiO2Al O2 30.247 0.265 2.014

0.346

0.237

0.171

การเขียนสูตรเคลือบแบบเอ็มไพริคัลนั้น นอกจากจะสามารถบอกองค์ประกอบทางเคมีแล้ว ยังสามารถบอกได้ถึงช่วง

อุณหภูมิการเผา.ลักษณะความมันวาวของเคลือบได้อีกด้วย

การพิจารณาช่วงอุณหภูมิที่ใช้เผา

ให้พิจารณาจากอัตราส่วนของผลรวมกลุ่มด่างต่อผลรวมกลุ่มกรดหากได้เท่ากับ2-2.5จะเป็นเคลือบไฟต่ำา,หากเป็น

4-7จะเป็นเคลือบไฟปานกลางจนถึงไฟสูง

การพิจารณาลักษณะความเมันวาวของเคลือบ

ให้พิจารณาจากอัตตราส่วนค่าโมลของอลูมิน่ากับค่าโมลของซิลิก้าหากอัตราส่วนอลูมิน่า:ซิลิก้า=1-4ผิวเคลือบ

จะมีลักษณะด้าน,5-6กึ่งมันกึ่งด้าน,7-12มัน,15-20จะเป็นเคลือบผลึก

Page 28: Wood Ash Glaze

เคลือบขี้เถ้า28

การหาสูตรเคลือบด้วยตารางสามเหลี่ยม

ในที่นี้เราจะใช้ประโยชน์จากตารางสามเหลี่ยมด้านเท่ามาใช้คิดหาด่าง3ชนิดนั่นคือLithiumOx-

ide,ZincOxide,CalciumOxideโดยจะกำาหนดด่างที่มีความคงที่อยู่2ชนิดนั่นคือSodiumOxide(0.25

โมล)และMagnesiumOxide(0.35โมล)และจะนำาไปคำานวณเป็นสูตรส่วนผสมแบบร้อยละ

โดยจากตารางสามเหลี่ยมจะกำาหนดให้AคือCalciumOxide,BคือZincOxideและCคือLithumOxide

Page 29: Wood Ash Glaze

29Wood Ash Glaze

CalciumOxide ZincOxide LithiumOxide

1 0 100 0

20 60 20

40 0 60

0 80 20

20 40 40

60 40 0

0 60 40

20 20 60

60 20 20

0 40 60

20 0 80

60 0 40

0 20 80

40 60 0

80 20 0

0 0 100

40 40 20

80 0 20

20 80 0

40 20 40

100 0 0

23456789101112131415161718192021

แต่เพื่อเป็นการประหยัดวัตถุดิบที่ใช้ในการทดลองเคลือบครั้งนี้จะใช้สูตรเฉพาะจุดที่7,8,9,10,11,16,17,

18,21เท่านั้น

การคำาณวนหาสูตรส่วนผสมแบบร้อยละ

เมื่อเราได้สูตรสารประกอบมาแล้ว จะนำามาคำานวณหาสูตรส่วนผสมแบบร้อยละ โดยการนำามา

แทนค่าในส่วนที่เป็นด่างขอสูตรเอ็มไพริคัลโดยจะให้สารประกอบที่เป็นด่างทั้งหมดรวมกันเท่ากับ1ดังตัว

อย่างนี้

MgO

CaO

ZnO

Na O2 SiO2Al O2 30.25 0.265 2.014

0.35

0.24

0.16

Page 30: Wood Ash Glaze

เคลือบขี้เถ้า30

จากนั้นจึงนำาวัตถุดิบที่เหมาะสมมาใส่โดยให้พอดีกับค่าโมลของสารประกอบต่างๆ(ยกตัวอย่างจุดที่16)

MgO CaO ZnONa O2 SiO2Al O2 3

Soda Feld. (0.25) 0.25

-

0.25 0.35 0.24 0.16 0.268 2.060-

0.35

-

0.24

-

0.16

0.25

0.018

1.500

0.560

Dolomite (0.24) -

-

0.24

0.11

0.24

-

-

0.16

-

0.018

-

0.560

Magnesium Car. (0.11) -

-

0.11

-

-

-

-

0.16

-

0.018

-

0.560

Zinc Oxide (0.16) -

-

-

-

-

-

0.16

-

-

0.018

-

0.560

Kaolin (0.018) -

-

-

-

-

-

-

-

0.018

-

0.036

0.524

Quartz (0.524) -

-

-

-

-

-

-

-

-

-

0.524

-

เมื่อได้ค่าโมลของวัตถุดิบที่ต้องการมาแล้ว จึงนำามาคิดหาค่ามวลของวัตถุ โดยการนำา ค่าโมล มาคูณกับ

น้ำาหนักโมเลกุลของวัตถุดิบ

SodaFeldspar โมล=0.25 น้ำาหนักโมเลกุล=524.6 มวล=131.15

Dolomite โมล=0.24 น้ำาหนักโมเลกุล=184.4 มวล=44.256

MagnesiumCar. โมล=0.11 น้ำาหนักโมเลกุล=84.3 มวล=9.273

ZincOxide โมล=0.16 น้ำาหนักโมเลกุล=81.4 มวล=13.024

Kaolin โมล=0.018 น้ำาหนักโมเลกุล=258 มวล=4.644

Quartz โมล=0.524 น้ำาหนักโมเลกุล=60.1 มวล=31.492

Page 31: Wood Ash Glaze

31Wood Ash Glaze

จากตารางสามเหลี่ยมนำาจุดที่7,8,9,10,11,16,17,18,21มาคำานวณเป็นสูตรส่วนผสมแบบร้อย

ละเพื่อนำามาทดลองได้ดังนี้

เมื่อได้ค่ามวลของวัตถุดิบแต่ละชนิดมาแล้ว จึงนำามาคิดเป็นสูตรส่วนผสมแบบร้อยละ โดยนำาค่ามวลของ

แต่ละวัตถุดิบมาหารด้วยผลรวมของน้ำาหนักทั้งหมดและคูณด้วยร้อยจะได้สูตรส่วนผสมแบบร้อยละดังนี้

SodiumFeldspar 56%

Dolomite 19%

MagnesiumCarbonate 4%

ZincOxide 6%

Kaolin 2%

Quartz 13%

SodiumFeldspar 57%

Dolomite 6%

MagnesiumCarbonate 10%

ZincOxide 11%

Kaolin 2%

Quartz 14%

สูตรส่วนผสมแบบร้อยละจากตารางสามเหลี่ยม

สูตรที่7

Page 32: Wood Ash Glaze

เคลือบขี้เถ้า32

SodiumFeldspar 57%

Dolomite 6%

MagnesiumCarbonate 10%

ZincOxide 8%

LithiumCarbonate 3%

Kaolin 2%

Quartz 14%

SodiumFeldspar 57%

Dolomite 6%

MagnesiumCarbonate 10%

ZincOxide 6%

LithiumCarbonate 5%

Kaolin 2%

Quartz 14%

SodiumFeldspar 57%

Dolomite 6%

MagnesiumCarbonate 10%

ZincOxide 3%

LithiumCarbonate 8%

Kaolin 2%

Quartz 14%

สูตรที่8

สูตรที่9

สูตรที่10

Page 33: Wood Ash Glaze

33Wood Ash Glaze

SodiumFeldspar 57%

Dolomite 6%

MagnesiumCarbonate 10%

LithiumCarbonate 10%

Kaolin 2%

Quartz 14%

SodiumFeldspar 56%

Dolomite 19%

MagnesiumCarbonate 4%

ZincOxide 6%

Kaolin 2%

Quartz 14%

SodiumFeldspar 56%

Dolomite 19%

MagnesiumCarbonate 4%

ZincOxide 3%

LithiumCarbonate 3%

Kaolin 2%

Quartz 14%

สูตรที่11

สูตรที่16

สูตรที่17

Page 34: Wood Ash Glaze

เคลือบขี้เถ้า34

SodiumFeldspar 56%

Dolomite 19%

MagnesiumCarbonate 4%

LithiumCarbonate 5%

Kaolin 2%

Quartz 14%

SodiumFeldspar 54%

Dolomite 27%

Whiting 4%

Kaolin 2%

Quartz 14%

สูตรที่18

สูตรที่21

Page 35: Wood Ash Glaze
Page 36: Wood Ash Glaze

บทที่ 5 การเตรียมเคลือบ

Page 37: Wood Ash Glaze

37Wood Ash Glaze

การชุบ การชุบเคลือบนั้นถือเป็นวิธีที่ใช้กันมา

อย่างยาวนานที่สุดและเป็นที่นิยมที่สุด เพราะสามารถชุบ

ได้ทีเดียวทั้งชิ้น และได้ความหนาที่สม่ำาเสมอกันที่สุด แต่

การชุบแบบนี้ก็มีข้อจำากัดคือต้องมีปริมาณน้ำาเคลือบมาก

พอที่จะชุบผลิตภัณฑ์ลงไปได้ในครั้งเดียว

การเทราด การเทราดนั้นเหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่

มีขนาดใหญ่ ไม่สามารถชุบเคลือบได้ทั้งใบ นิยมใช้กับ

การเคลือบภายในของผลิตภัณฑ์ ข้อเสียของวิธีนี้คือจะ

ทิ้งรอยของชิ้นเคลือบที่ไม่เท่ากันไว้

การระบาย เป็นการนำาแปรงหรือพู่กันจุ่มน้ำาเคลือบ

แล้วมาระบายบนผิวผลิตภัณฑ์ วิธีนี้นับว่าเป็นวิธีที่ควบคุม

ความสม่ำาเสมอได้ยากที่สุด เพราะจะทิ้งรอยของฝีแปรงไว้

นิยมใช้ในการเคลือบเพื่อตกแต่ง ไม่เหมาะกับงาน

อุตสาหกรรมที่ต้องการความแน่นอน

การพ่น เหมาะกับการเคลือบผลิตภัณฑ์ที่มี

ขนาดใหญ่และต้องการความคุมความหนา

สม่ำาเสมอกันอย่างเช่นสุขภัณฑ์เป็นต้น

Page 38: Wood Ash Glaze

บทที่ 6 การเผา

Page 39: Wood Ash Glaze

39Wood Ash Glaze

การเผา

การเผาดิบ

การเผาเคลือบ

การเผาเป็นกระบวนการที่สำาคัญมากกระบวนการหนึ่ง เป็นปัจจัยที่สำาคัญต่อลักษณะของเคลือบสี

ฯลฯ เช่น หากเคลือบสูตรเดียวกัน แต่เผาด้วยอุณหภูมิต่างกัน หรือเผาด้วยบรรยากาศที่ต่างกัน เคลือบที่

ออกมาก็จะมีความแตกต่างกัน

ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเผาดิบแล้วจะมีความพรุนตัวสูงเนื่องจากการเผาดิบเผาในอุณหภูมิต่ำา750-

800 องศาเซลเซียส ทำาให้ผลิตภัณฑ์ สามารถดูดซึมน้ำาเคลือบได้ดี เหมาะสำาหรับผู้ไม่ชำานาญในการชุบ

เคลือบเมื่อชุบเสียสามารถนำาผลิตภัณฑ์ไปล้างเคลือบออกผึ่งให้แห้งแล้วนำามาเคลือบใหม่

การเผาดิบเคลือบคือการเผาเพื่อให้เนื้อดิน และน้ำาเคลือบถึงจุดสุกตัวที่ต้องการ โดยปัจจัยที่ทำาให้

เคลือบและเนื้อดินสุกตัวไม่ดูดซึมน้ำาอีกต่อไปคืออุณหภูมิที่ใช้ในการเผา ส่วนปัจจัยที่ทำาให้เกิดสีต่างๆ

ของเคลือบนั้นจะขึ้นอยู่กับทั้งอุณหภูมิ และบรรยากาศการเผา ซึ่งบรรยากาศการเผาก็จะแบ่งได้อีกเป็น 3

ประเภทคือการเผาแบบOxidation,การเผาแบบReductionและการเผาแบบNeutral

1. บรรยากาศออกซิเดชั่น (Oxidation)คือการเผาที่มีการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์และใช้ออกซิเจน

มากเกินพอซึ่งเมื่อเกิดการเผาไหม้แล้วจะมีออกซิเจนเหลืออยู่

2. บรรยากาศรีดักชั่น (Reduction)คือการเผาที่มีการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ในเตาเผามีออกซิเจน

ไม่เพียงพอซึ่งเมื่อเกิดการเผาไหม้แล้วจะมีคาร์บอนมอนอกไซด์เหลืออยู่

3. บรรยากาศนิวทรัล ( Neutral Firing )คือการเผาไหม้ที่สมบูรณ์และไม่มีออกซิเจนเหลืออยู่เลย

การเผาไหม้มีออกซิเจนที่พอดี

Page 40: Wood Ash Glaze

บทที่ 7 ผลการทดลอง

Page 41: Wood Ash Glaze

41Wood Ash Glaze

ผลการทดลองเคลือบขี้เถ้าจากฟาง(ครั้งแรก)

การทดลองเคลือบขี้เถ้าจากฟางนั้น จะใช้สูตรเคลือบที่ได้คำานวณไว้ตามบทที่ 4 ออกมาเป็นสูตร

ต่างๆ จำานวน 9 สูตร จากนั้นนำามาใส่ขี้เถ้าฟางลงไป 30% และ 60% จากนั้นนำาไปเผาที่อุณหภูมิ 1230

องศาสเซลเซียสทั้งบรรยากาศการเผาแบบออกซิเดชั่นและการเผาแบบรีดักชั่น

ผลการทดลองที่ได้เป็นดังต่อไปนี้

ผลการทดลองสูตรที่7,8,9,10,11,16,17,18,21

Additionขี้เถ้าฟาง30%บรรยากาศการเผาOxidationFiring1230องศาเซลเซียส

Page 42: Wood Ash Glaze

เคลือบขี้เถ้า42

ผลการทดลองสูตรที่7,8,9,10,11,16,17,18,21

Additionขี้เถ้าฟาง60%บรรยากาศการเผาOxidationFiring1230องศาเซลเซียส

Page 43: Wood Ash Glaze

43Wood Ash Glaze

ผลการทดลองสูตรที่7,8,9,10,11,16,17,18,21

Additionขี้เถ้าฟาง30%บรรยากาศการเผาReductionFiring1230องศาเซลเซียส

Page 44: Wood Ash Glaze

เคลือบขี้เถ้า44

ผลการทดลองสูตรที่7,8,9,10,11,16,17,18,21

Additionขี้เถ้าฟาง60%บรรยากาศการเผาReductionFiring1230องศาเซลเซียส

Page 45: Wood Ash Glaze

45Wood Ash Glaze

ผลการทดลองสูตรที่7,8,9,10,11,16,17,18,21

Additionขี้เถ้าฟาง30%,SodaAsh4%,FerricOxide3%ReductionFiring1280องศาเซลเซียส

จากการทดลองในครั้งแรก จะเห็นได้ว่าโดยรวมแล้ว เคลือบนั้นด้าน ไม่สุกตัว ซึ่งอาจเกิดเพราะ

อุณหภูมิไม่ถึงจุดสุกตัวและมีสีสันที่ไม่สวยงามจึงได้ทำาการปรับสูตรโดยการAdditionSodaAsh เพิ่ม

เข้าไปอีก4%และFerricOxideอีก3%จากนั้นนำาไปเผาที่อุณหภูมิ1280องศาเซลเซียสด้วยบรรยากา

ศการเผาแบบReduction

ผลการทดลองที่ได้เป็นดังต่อไปนี้

ผลการทดลองเคลือบขี้เถ้าจากฟาง(ครั้งที่สอง)

Page 46: Wood Ash Glaze

เคลือบขี้เถ้า46

ผลการทดลองสูตรที่7,8,9,10,11,16,17,18,21

Additionขี้เถ้าฟาง60%,SodaAsh4%,FerricOxide3%ReductionFiring1280องศาเซลเซียส

เมื่อนำาเคลือบมาใส่ Soda Ash, Ferric Oxide และนำาไปเผาที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นในบรรยากาศรีดัก

ชั่น จะเห็นได้ว่าเคลือบมีลักษณะไหลตัวมากขึ้นและมีความมันวาวมากขึ้น (มีลักษณะกึ่งมัน-กึ่งด้าน) มีสี

เขียวแก่-เขียวขี้ม้าและจุดดำาๆอยู่ในเคลือบเป็นจำานวนมาก

สรุปผลการทดลอง

Page 47: Wood Ash Glaze

47Wood Ash Glaze

ลักษณะของเคลือบขี้เถ้า ที่ใช้ขี้เถ้าแกลบเป็นส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่่ามีลักษณะการไหลตัวที่มาก

พอสมควรและมีความใสออกสีเขียวเข้มจางๆและในเนื้อเคลือบนั้นจะมีจุดสีดำาเล็กๆกระจายอยู่แต่ไม่มาก

เท่ากับเคลือบขี้เถ้าไม้ฟาง

สรุปผลการทดลอง

ผลการทดลองสูตรที่7,8,9,10,11,16,17,18,21

Additionขี้เถ้าแกลบ60%,SodaAsh4%,FerricOxide3%ReductionFiring1280องศาเซลเซียส

ผลการทดลองเคลือบขี้เถ้าแกลบ

การทดลองเคลือบขี้เถ้าแกลบนั้นจะใช้สูตรเคลือบที่ได้คำานวณไว้ตามบทที่4ออกมาเป็นสูตรต่างๆ

จำานวน9สูตรจากนั้นนำามาใส่ขี้เถ้าแกลบ60%,SodaAsh4%,FerricOxide3%จากนั้นนำาไปเผาที่

อุณหภูมิ1280องศาสเซลเซียสในบรรยากาศการเผาแบบรีดักชั่น

ผลการทดลองที่ได้เป็นดังต่อไปนี้

Page 48: Wood Ash Glaze

เคลือบขี้เถ้า48

ผลการทดลองเคลือบขี้เถ้าไม้เบญจพรรณ

การทดลองเคลือบขี้เถ้าไม้เบญจพรรณนั้นจะใช้สูตรเคลือบที่ได้คำานวณไว้ตามบทที่4ออกมาเป็น

สูตรต่างๆจำานวน9สูตรจากนั้นนำามาใส่ขี้เถ้าไม้เบญจพรรณ60%,SodaAsh4%,FerricOxide3%จาก

นั้นนำาไปเผาที่อุณหภูมิ1280องศาสเซลเซียสในบรรยากาศการเผาแบบรีดักชั่น

ผลการทดลองที่ได้เป็นดังต่อไปนี้

ผลการทดลองสูตรที่7,8,9,10,11,16,17,18,21

Additionขี้เถ้าไม้เบญจพรรณ60%,SodaAsh4%,FerricOxide3%

ReductionFiring1280องศาเซลเซียส

ลักษณะของเคลือบขี้เถ้า ที่ใช้ขี้เถ้าไม้เบญจพรรณเป็นส่วนประกอบหลัก 60&

นั้นจะเห็นได้ว่าเคลือบมีการไหลตัวสูงมาก(ไหลจนลงมากองที่ฐานของTest

Piece)และมีสีออกเขียวอ่อนมีการรานตัวอย่างเห็นได้ชัด

สรุปผลการทดลอง

Page 49: Wood Ash Glaze

49Wood Ash Glaze

ผลการทดลองเคลือบขี้เถ้าแกลบผสมขี้เถ้าไม้เบญจพรรณ

การทดลองเคลือบขี้เถ้าแกลบผสมขี้เถ้าไม้เบญจพรรณนั้น จะใช้สูตรเคลือบที่ได้คำานวณไว้ตามบท

ที่ 4 ออกมาเป็นสูตรต่างๆ จำานวน 9 สูตร จากนั้นนำามาใส่ขี้เถ้าแกลบ 30%, ขี้เถ้าไม้เบญจพรรณ 30%,

SodaAsh4%,FerricOxide3%จากนั้นนำาไปเผาที่อุณหภูมิ1280องศาสเซลเซียสในบรรยากาศการเผา

แบบรีดักชั่น

ผลการทดลองที่ได้เป็นดังต่อไปนี้

ผลการทดลองสูตรที่7,8,9,10,11,16,17,18,21

Additionขี้เถ้าแกลบ30%,ขี้เถ้าไม้เบญจพรรณ30%,SodaAsh4%,FerricOxide3%

ReductionFiring1280องศาเซลเซียส

ลักษณะของเคลือบขี้เถ้า ที่ใช้ขี้เถ้าแกลบผสมกับขี้เถ้าไม้เบญจพรรณอย่างละ 30% นั้น มีลักษณะ

การไหลตัวที่มากพอสมควรใสมีสีเขียวอ่อนบางสูตรจะมีตำาหนิในเคลือบเป็นผลึกสีขาวปะปนอยู่บ้าง

สรุปผลการทดลอง

Page 50: Wood Ash Glaze
Page 51: Wood Ash Glaze

51Wood Ash Glaze

เคลือบเซรามิกส์1 :ผศ.เสกสรรค์ตัณยาภิรมย์

รวมสูตรเคลือบเซรามิกส์ :อ.ไพจิตรอิงศิริวัฒน์

เคลือบดินเผา :อ.ศุภกาปาลเปรม

บรรณานุกรม

Page 52: Wood Ash Glaze