Walk Through The Past สืบสานลายเส้น...

2
Walk Through The Past 42 พระสยาม ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2557 สืบสานลายเส้น ‘วังบางขุนพรหม’ อาคารสถาปัตยกรรมแบบบาโรก (Baroque) และโรโกโก (Rococo) ต้งตระหง่านอยู่บริเวณริมแม่น�้าเจ้าพระยา มากว่าหนึ่งศตวรรษ ที่เติมแต่งด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และประโยชน์หน้าที่ให้กับประเทศชาติผ่านช่วงกาลเวลา และเรื่องราวต่าง ๆ การบ�ารุงรักษาสมบัติของชาติแห่งนี้ที่รู้จักกันในนาม ‘วังบางขุนพรหม’ ให้คงความสวยงามเฉกเช่น เมื่อครั้งแรกเริ่มก่อสร้างปี พ.ศ. 2448 จึงเป็นอีกความภูมิใจหนึ่งของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

Transcript of Walk Through The Past สืบสานลายเส้น...

Page 1: Walk Through The Past สืบสานลายเส้น ‘วังบางขุนพรหม’ · Walk Through The Past ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม

Walk Through The Past

42 พระสยาม ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2557

สืบสานลายเส้น ‘วังบางขุนพรหม’

อาคารสถาปัตยกรรมแบบบาโรก (Baroque) และโรโกโก (Rococo) ตั้งตระหง่านอยู่บริเวณริมแม่น�า้เจ้าพระยา มากว่าหนึ่งศตวรรษ ที่เติมแต่งด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และประโยชน์หน้าที่ให้กับประเทศชาติผ่านช่วงกาลเวลา และเรื่องราวต่าง ๆ การบ�ารุงรักษาสมบัติของชาติแห่งนี้ที่รู้จักกันในนาม ‘วังบางขุนพรหม’ ให้คงความสวยงามเฉกเช่น เมื่อครั้งแรกเริ่มก่อสร้างปี พ.ศ. 2448 จึงเป็นอีกความภูมิใจหนึ่งของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

Page 2: Walk Through The Past สืบสานลายเส้น ‘วังบางขุนพรหม’ · Walk Through The Past ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม

Walk Through The Past

ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2557 พระสยาม 43

‘ วั งบางขุ นพรหม’ สร ้ า งขึ้ นบนที่ ดิ นที่ พ ระบาทสม เด็ จ พระจลุจอมเกล้าเจ้าอยูห่วั รชักาลที ่5 พระราชทานให้แก่ สมเดจ็พระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสองค์ที ่33 ในพระองค์ และสมเดจ็พระนางเจ้าสขุมุาลมารศรี พระอคัรราชเทว ีซึง่สร้างเสรจ็เมือ่วนัที ่28 ธนัวาคม 2449 วงับางขนุพรหม แห่งนี้ได้ผ่านห้วงประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของประเทศไทย ภายหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 วังบางขุนพรหมได้เป็นที่ตั้งของกรมยุวชนทหาร สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ หน่วยงานราชการ อกีหลายแห่ง และเป็นทีท่�าการของ ธปท. เมือ่วนัที ่5 มนีาคม พ.ศ. 2488 จนกระทั่ง ธปท. ได้ย ้ายอาคารส�านักงานไปยังอาคารหลังใหม่ ในบริเวณพื้นที่เดียวกันเมื่อปี พ.ศ. 2525 ต�าหนักใหญ่วังบางขุนพรหม ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของ ธปท. และได้รับการปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

แม้วันเวลาได้ล่วงเลยมากว่าหนึ่งทศวรรษ ‘วังบางขุนพรหม’ ยังได ้ท�าหน้าทีอ่ย่างมัน่คงไม่เปลีย่นแปลงทัง้ในด้านการทตู จากในอดตีทีเ่คยเป็นสถานที่จัดงานสโมสรสันนิบาตต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองในหลายโอกาส จวบจนปัจจบุนัยงัคงท�าหน้าทีร่บัรองแขกส�าคญัของประเทศ เช่น พระราชวงศ์ และผูน้�าประเทศ รวมทัง้ยงัคงท�าหน้าทีเ่ป็นแหล่งเรยีนรูอ้ย่างมัน่คงไม่แปรเปลีย่น จากยคุแรก ๆ ทีเ่ป็นสถานทีใ่ห้ครชูาวต่างประเทศ ใช้จัดสอนวิชาต่าง ๆ ให้กับพระธิดาและเจ้านายฝ่ายในของวังอื่น ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีชื่อเรียกกันในสมัยนั้นว่า ‘บางขุนพรหมยนูเิวอร์ซติี’้ มาสูปั่จจบุนัทีเ่ป็นแหล่งเรยีนรูป้ระวตัศิาสตร์ทีส่�าคญัของไทย ที่เกี่ยวข้องกับวังบางขุนพรหม รวมถึงเรื่องราวเกี่ยวกับเงินตราและ การด�าเนินงานของ ธปท. ให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และประชาชนทั่วไป

นอกจากนี้ ด้วยความเป็นเอกลักษณ์ของตัวอาคารที่ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบบาโรกและโรโกโก ตกแต่งผนังปูนปั้นอันวิจิตร มลีวดลายประดบัอนังดงามทีส่ดุแห่งหนึง่ในประเทศไทย อาท ิเส้นโค้งของ ผนังภายนอกด้านทิศตะวันออกของวัง เส้นโค้งของชายคา รูปลักษณะช่องเปิดและลายปนูป้ัน ซึง่ล้วนเป็นลวดลายทีไ่ด้รบัอทิธพิลจากตะวนัตก ในสมัยต่าง ๆ กัน โดยออกแบบให้สอดคล้องกับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และประโยชน์ใช้สอยตามธรรมเนียมวังของเจ้านาย ในสมัยนั้น

ความสวยงามและเอกลกัษณ์ของตวัอาคารยงัเป็นสถานทีใ่ห้นกัเรยีน นักศึกษา เข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับงานด้านสถาปัตยกรรมไทย โดยเมื่อช่วงก่อนปีใหม่ 2557 ผศ.ดร. พีรศรี โพวาทอง อาจารย์ประจ�าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้น�าคณะนิสิตปีที่ 1 จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จฬุาลงกรณ์มหาวทิยาลยั มาสเกตช์ภาพ องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมวังบางขุนพรหม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวิชามรดกสถาปัตยกรรมไทยที่เน้นให้นิสิตตระหนักถึงคุณค่าของ

ที่มา : บางส่วนจากหนังสือ 100 ปี วังบางขุนพรหม กรุงเทพฯ : ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2549 สารจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

สถาปัตยกรรมไทย อาจารย์ได้พดูถงึสาเหตขุองการเลอืกวงับางขนุพรหมว่า “ในแง่ประวัติศาสตร์ทางสถาปัตยกรรม วังบางขุนพรหมนับว่าเป็นตวัอย่างของอาคารทีม่คีวามชดัเจนมากด้านสถาปัตยกรรมในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ต่อต้นรัชกาลที่ 6 การที่ได้มาที่นี่จึงท�าให้นิสิตได้เห็นงานสถาปัตยกรรมหลายอย่าง เช่น วังบางขุนพรหม มีทั้งสถาปัตยกรรม ส่วนเดมิและส่วนทีต่่อเตมิ ทีเ่รยีกว่า นโีอ-คลาสสกิ (Neo-Classic) หรอื นีโอ-บาโรก (Neo-Baroque) ขณะที่หากเดินมาต�าหนักสมเด็จ จะเห็นอาร์ตนูโว (Art Nouveau) ท�าให้นิสิตได้เรียนรู้ค่อนข้างเร็ว และเห็น สไตล์หลาย ๆ อย่างในเวลาอันจ�ากัด”

ที่ส�าคัญ อาจารย์ยังต้องการเน้นให้นิสิตเห็นคุณค่าของตัวอาคาร โดยพยายามชี้ให้เห็นว่าสถาปัตยกรรมโบราณที่อยู ่มาจนทุกวันนี้ นอกจากจะสวยงามแล้ว ยังต้องมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ นิสิต ต้องฝึกวิเคราะห์และแยกแยะได้ การได้มาดูของจริงจะท�าให้เข้าใจสดัส่วน วสัด ุและในฐานะทีเ่ป็นสถาปนกิจะต้องเข้าใจคณุค่าของอาคารว่าเป็นอย่างไร ซึ่งอาจารย์มองว่า ธปท. เป็นหน่วยงานภาครัฐที่เห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์ จึงบูรณะอาคารมาอย่างต่อเนื่อง

นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีโอกาสมาเรยีนรูใ้นครัง้นี ้กล่าวว่า “การได้มาสเกตช์ภาพวงับางขนุพรหม ท�าให้ได้เรยีนรูส้ดัส่วน รปูแบบ ตลอดจนศลิปะของสถาปัตยกรรมในอดตี รวมถึงภูมิปัญญาของสถาปนิกในสมัยก่อน ซึ่งจะเป็นแรงบันดาลใจ ให้สถาปนิกสามารถน�าไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบในอนาคตได้”

ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ พัฒนาอย่างยั่งยืนแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเปิดให้เข้าชมเป็นรายบุคคล หมู่คณะ โดยไม่เกบ็ค่าเข้าชม ตัง้แต่วนัจนัทร์ถงึวนัศกุร์ ระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น. ยกเว้นวันหยุดธนาคาร รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2283-5286, 0-2283-6723 หรือ www.bot.or.th