TPM for the Lean Factory THAI Version -6

6
Copyrighted Material of E.I.SQUARE PUBLISHING 5 ในบทนี้จะกล่าวถึงเรื่องราวของผู้จัดการแผนกคนหนึ่งนามสมมติ A จากบริษัท K บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสาร ว่าเขาทำงานหนักอย่างไรในการนำการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า หรือ Instant Maintenance มา ปฏิบัติ ด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังที่กล่าวไว้ในบทก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติของเขาก็ไม่ได้เหมือนขั้นตอนเหล่านั้น แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่กระนั้นประสบการณ์ของเขาก็เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านที่แสวงหาแนวทางปฏิบัติจริง เราจึงได้นำเสนอ ในที่นี้ ซึ่งเกือบจะเป็นการถ่ายทอดแบบคำต่อคำ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเงื่อนไขหรือข้อจำกัดในปัจจุบัน ถ้าปัญหาเครื่องจักรส่วนใหญ่ของคุณมีสาเหตุที่ระบุได้อย่างชัดเจน คุณก็สามารถพบมันได้ทันที เพียงแค่ลงไปสำรวจ ณ สายการผลิต แต่สำหรับปัญหาที่แทบระบุสาเหตุไม่ได้ วิธีดั้งเดิมต่อไปนี้ยังสามารถใช้ได้ เพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล 1. แผนภูมิการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์และปริมาณ (P-Q Analysis Chart) (ตัวอย่างในตารางที่ 5-1 หน้า 93) 2. ผังการไหลตามการวางผังโรงงาน (Layout Flow Diagram) (ตัวอย่างในภาพที่ 5-1 หน้า 90) 3. การวิเคราะห์เส้นทางกระบวนการผลิต (Process Path Analysis) (ตัวอย่างในภาพที่ 5-2 หน้า 91) 4. ตารางกำลังการผลิตของกระบวนการ (ตัวอย่างในแบบฟอร์มที่ 42 หน้า 354-355) 5. แผนภูมิการวิเคราะห์การปฏิบัติงานของเครื่องจักรอุปกรณ์ (ตารางที่ 4-1 หน้า 71) 6. แบบฟอร์มการวิเคราะห์สาเหตุของการหยุดเล็กน้อย (ตารางที่ 4-2 หน้า 72-73) กรณีศึกษาการบำรุงรักษา แบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

Transcript of TPM for the Lean Factory THAI Version -6

Page 1: TPM for the Lean Factory THAI Version -6

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

89กรณีศึกษาการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

5

ในบทนี้จะกล่าวถึงเรื่องราวของผู้จัดการแผนกคนหนึ่งนามสมมติ A จากบริษัท K บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสาร

ว่าเขาทำงานหนักอย่างไรในการนำการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า หรือ Instant Maintenance มา

ปฏิบัติ ด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังที่กล่าวไว้ในบทก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติของเขาก็ไม่ได้เหมือนขั้นตอนเหล่านั้น

แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่กระนั้นประสบการณ์ของเขาก็เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านที่แสวงหาแนวทางปฏิบัติจริง เราจึงได้นำเสนอ

ในที่นี้ ซึ่งเกือบจะเป็นการถ่ายทอดแบบคำต่อคำ

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเงื่อนไขหรือข้อจำกัดในปัจจุบัน

ถ้าปัญหาเครื่องจักรส่วนใหญ่ของคุณมีสาเหตุที่ระบุได้อย่างชัดเจน คุณก็สามารถพบมันได้ทันที เพียงแค่ลงไปสำรวจ

ณ สายการผลิต แต่สำหรับปัญหาที่แทบระบุสาเหตุไม่ได้ วิธีดั้งเดิมต่อไปนี้ยังสามารถใช้ได้ เพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล

1. แผนภูมิการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์และปริมาณ (P-Q Analysis Chart) (ตัวอย่างในตารางที่ 5-1 หน้า 93)

2. ผังการไหลตามการวางผังโรงงาน (Layout Flow Diagram) (ตัวอย่างในภาพที่ 5-1 หน้า 90)

3. การวิเคราะห์เส้นทางกระบวนการผลิต (Process Path Analysis) (ตัวอย่างในภาพที่ 5-2 หน้า 91)

4. ตารางกำลังการผลิตของกระบวนการ (ตัวอย่างในแบบฟอร์มที่ 42 หน้า 354-355)

5. แผนภูมิการวิเคราะห์การปฏิบัติงานของเครื่องจักรอุปกรณ์ (ตารางที่ 4-1 หน้า 71)

6. แบบฟอร์มการวิเคราะห์สาเหตุของการหยุดเล็กน้อย (ตารางที่ 4-2 หน้า 72-73)

กรณีศึกษาการบำรุงรักษา

แบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

Page 2: TPM for the Lean Factory THAI Version -6

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

90 TPM สำหรับโรงงานแบบลีนTPM for the Lean Factory

ข้อมูลที่ได้จากการใช้เครื่องมือเหล่านี้ ช่วยให้ผู้ทำการสำรวจรับทราบเงื่อนไขหรือข้อจำกัดในปัจจุบัน ถ้าเป็นไปได้ ผู้

ทำการสำรวจควรพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ให้ถึงขั้นตีความได้ทันทีหลังการบันทึกเสร็จ โดยไม่จำเป็นต้องแปลงให้

อยู่ในรูปของกราฟิกต่างๆ อีก เช่น กราฟวงกลม ผังพาเรโต (Pareto Chart) เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 สรุปปัญหาของแต่ละเครื่องจักรและสายการผลิต

บริษัท K มีแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลการหยุดของเครื่องจักรอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งในตอนแรกพัฒนาขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์

อื่น แต่สามารถนำมาใช้ได้ในกรณีนี้ (ตารางที่ 5-2) ในภาพที่ 5-3 คือบันทึกปัญหาของเครื่องใส่ชิ้นส่วน (Inserter) ตาม

ชนิดของเครื่องจักร เป็นรายเดือน ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ภายหลังการปรับปรุง ปัญหาต่างๆ ได้ลดลง

1. วันหนึ่งถ้าคุณสามารถแยกแยะได้ว่า เครื่องจักรนี้มีปัญหามาก เครื่องจักรนั้นมีปัญหาน้อย ให้คุณพิจารณาต่อไป

ว่าเครื่องจักรทั้งสองนี้มีอะไรที่ต่างกัน โดยการลงไปดูหน้างาน

2. ในกรณีนี้พบว่า สาเหตุหลักของปัญหาการหยุดเล็กน้อยของเครื่องจักรเกือบทั้งหมด เกิดในช่วงฉุกละหุกเนื่องจาก

การขาดชิ้นส่วนป้อนเข้า และเพราะเหตุการณ์ที่ฉุกละหุกนี้เอง จึงไม่มีการบันทึกสาเหตุ และไม่ได้นำมาพิจารณา

ภาพที่ 5-1 ผังการไหลตามการวางผังโรงงาน

Page 3: TPM for the Lean Factory THAI Version -6

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

96 TPM สำหรับโรงงานแบบลีนTPM for the Lean Factory

ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์กลไกการเกิดการหยุดเล็กน้อยและสาเหตุ

1. อันดับแรก สำรวจสถานที่จริง

G ลงไปดูที่เครื่องจักรในขณะเกิดการหยุด เพื่อดูว่าสถานการณ์เช่นใดทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้?

G ตรวจเช็คสิ่งแวดล้อมโดยรอบเช่น ฝุ่นผง เศษโลหะ ความสกปรกหรือสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ว่าจะเข้ามาสู่เครื่องจักร

ได้หรือไม่?

G พิจารณาจุดต่างๆ ของเครื่องจักรที่ต้องมีการสวมอัดเข้าด้วยกัน ว่าเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับพิกัดความเผื่อตาม

มาตรฐาน

2. วิเคราะห์กลไกการทำงานโดยอาศัยการเติมแบบฟอร์มการวิเคราะห์แบบ P-M ในตารางที่ 5-3

ขั้นตอนที่ 4 สร้างภาพความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ กลไก

และสาเหตุ ให้เห็นชัดเจน

ใช้การวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการตั้งคำถาม “ทำไม” (Why-Why Analysis)

เทคนิคการตั้งคำถาม “ทำไม” ใช้เพื่อทำให้เห็นภาพความสัมพันธ์จากสาเหตุแท้จริงที่เป็นรากเหง้าของปัญหา (Root

Cause) มาจนถึงตัวปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นก็หาทางกำจัดมันออกไป ตัวอย่างเช่น หากเกิดการหยุดเล็กน้อยเนื่องจากการใส่

ไดโอด (Diode) ผิดพลาด อันดับแรกต้องวาดภาพและเขียนเหตุการณ์ไว้ด้านบนซ้ายของแบบฟอร์ม ทำนองเดียวกับในภาพ

ที่ 5-4 ซึ่งเป็นกรณีชิ้นส่วนของแม่พิมพ์ชิ้นหนึ่งสึกหรอที่บริเวณปลาย

จากนัน้ เริม่การเตมิคำในตารางทัง้ 9 ชอ่ง ชอ่งแรกคอืมมุบนซา้ย ดว้ยการเตมิขอ้ความสำหรบัคำถาม “ทำไม” ครัง้ที ่ 1

จุดประสงค์คือเพื่อยืนยันปัญหาที่เกิดขึ้น คำถามก็คือ ทำไมการใส่ไดโอดจึงผิดพลาด และมันถูกพบที่ใด และเพื่อการยืนยัน

ปัญหาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เทคนิคที่เรียกว่า 4W-1H (Who, What, Where, When และ How) จึงถูกนำมาใช้

ใครเป็นคนพบ? คุณ RT

พบอะไร? ไดโอดขนาด 5 มิลลิเมตร (DR1)

ที่ไหน? ขั้นตอนการใส่

อย่างไร? ใส่ไดโอดไม่เข้า

เมื่อใด? วันที่ 27 ธันวาคม

การใช้วิธีนี้ เช่นเดียวกับการสืบสวนอาชญากรรม เมื่อไม่ประจักษ์หลักฐานให้ทราบได้ทันทีว่าเกิดอะไรขึ้น ข้อเท็จ

จริงเป็นอย่างไร สิ่งเดียวที่คุณทำได้ก็คือการสอบถาม

ในคำถาม “ทำไม” ครั้งที่ 2 คำถามก็คือ “ทำไม ความผิดพลาดในการใส่ไดโอดขนาด 5 มิลลิเมตร จึงเกิดขึ้น?”

คำตอบของคุณควรอธิบายปรากฏการณ์จริงตามที่มันเกิดขึ้น นั่นคือ มันเกิดขึ้นเพราะไดโอดไม่พอดีกับรูที่ฐาน หรือจะเรียกว่า

ตำแหน่งผิดพลาดก็ได้

ในคำถาม “ทำไม” ครั้งที่ 3 เป็นคำถามที่สืบเนื่องจากการถามครั้งที่ 2 เพื่อที่จะเจาะลึกให้ใกล้ต้นตอของปัญหามาก

ขึ้น “ทำไมจึงเกิดตำแหน่งผิดพลาดขึ้น?” คำตอบง่ายมาก “ช่วงขาของไดโอดกว้างกว่าช่วงของรูทั้งสอง”

Page 4: TPM for the Lean Factory THAI Version -6

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

99กรณีศึกษาการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

ภาพที่ 5-6 การวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการตั้งคำถาม “ทำไม” กรณีความผิดพลาดจากตัวประคอง

Page 5: TPM for the Lean Factory THAI Version -6

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

103กรณีศึกษาการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

ภาพที่ 5-9 ระบบถังคู่ (Two-Bin System) สำหรับชิ้นส่วนต่างๆ ที่ต้องใช้ในการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

จัดทำแบบฟอร์มสรุปการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้าสำหรับ

แต่ละกรณี

ในภาพที่ 5-10 ถึงภาพที่ 5-14 เป็นตัวอย่างเกี่ยวกับกรณีของสลักตัวประคองตะกั่ว ตัวตัดสายเทปตะกั่ว ชิ้นส่วน

ที่เป็นยางยูริเทน คานสำหรับขึ้นรูป และตัวประคองในการใส่ชิ้นส่วน

ทดสอบการใช้กับเหตุการณ์จริง

ก่อนที่จะประกาศใช้การบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้าในโรงงานของคุณ คุณต้องทดสอบมัน

ด้วยตัวของคุณเอง และอย่าลืมว่าเป้าหมายของทุกครั้งอยู่ที่เวลาไม่เกิน 3 นาที ซึ่งคุณจะบรรลุมันได้ คุณจำเป็นต้องมีเครื่องมือ

ต่างๆ ที่ได้รับการปรับปรุง เช่น ประแจชนิดต่างๆ

Page 6: TPM for the Lean Factory THAI Version -6

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

109กรณีศึกษาการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

ขั้นตอนที่ 6 สาธิตเทคนิคการบำรุงรักษาแบบใหม่นี้ ให้กับพนักงาน

ส่วนของการสาธิตหรือการสอนเหล่านี้ควรจัดขึ้นด้วยแนวคิดที่ว่า ทุกคนสามารถเป็นทั้งครูและนักเรียน (การเรียนรู้

แบบ 2 ทาง) ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณประกาศคำสั่งให้พนักงานเข้าอบรมเรื่องการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้

ล่วงหน้าสำหรับกรณีของสลักตัวประคอง เมื่อถึงเวลาคุณก็ดำเนินการสอนผ่านการสาธิต แต่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจประเด็นของ

คุณทั้งหมด ทั้งด้านวิธีการทำงานและเวลาที่ใช้ คนที่มีข้อเสนอแนะที่ดีกว่าก็มี ซึ่งแน่นอนว่าต้องมาจากพนักงานผู้ซึ่งมีสัญชาต-

ญาณเชิงช่างอยู่ในตัว (สมมติชื่อ B) คนที่มีความเชี่ยวชาญแต่ฟังเฉยๆ อย่างตั้งใจและมีความเห็นน้อยมากต่อการสาธิตของ

คุณก็มี (สมมติชื่อ C) นอกจากนั้น บางทีคุณอาจต้องมีการบันทึกวีดีโอในขณะทำการสาธิตด้วย

แล้วการสาธิตการบำรุงรักษาแบบใหม่ของคุณในแต่ละครั้งจะเป็นไปอย่างชำนิชำนาญ และเนื่องจากว่าคุณมีส่วน

ร่วมตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบวิธีใหม่เหล่านี้ จะยิ่งทำให้คุณไม่สับสน และในที่สุด การบำรุงรักษาแต่ละครั้งของคุณที่เคย

ใช้เวลาครึ่งหรือ 1 ชั่วโมง จะลดลงเหลือ 3 นาที หรือถ้าผิดจากนี้ ก็ไม่น่าจะเกิน 15 นาที

สมมติว่า คุณไม่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติจริงกับเครื่องจักรและอุปกรณ์มากนัก และทั้งหมดก็ยุ่งเกินกว่าจะมา

ทำการสาธติเมือ่เกดิเครือ่งเสยีขึน้มาจรงิๆ ในกรณนีีค้ณุสามารถอบรมนอกเวลาใหก้บัพนกังานคนทีค่ณุเชือ่มัน่ในตวัเขา (สมมติ

ชื่อ D) ไว้ทำหน้าที่แทน และเมื่อเกิดเหตุการณ์ คุณก็เรียกเขามาทำการสาธิตว่าทำอย่างไรถึงจะรวดเร็ว อย่างชำนิชำนาญ

และเป็นตัวอย่างให้ทุกคนได้เห็น

วันหนึ่งเมื่อช่วงเวลาของการสาธิตจบลง ให้คุณเรียกพนักงาน B และ C ผู้ซึ่งเคยมองการสาธิตอย่างผู้เชี่ยวชาญ

เข้ามาแล้วบอกพวกเขาว่า “ถึงตาคุณแล้ว” จากนั้นก็เฝ้าดูพวกเขาในทุกขั้นตอน หากมีการผิดพลาดก็เข้าไปแก้ไข

ด้วยการสร้างบรรยากาศและภาวะแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความเชื่อมั่นในการเรียนรู้แบบ 2 ทาง คุณจะสอน

วิธีการบำรุงรักษาแบบใหม่นี้ให้สนุกสนานได้ หรือแม้กระทั่งให้เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะก็ยังได้ และด้วยการปฏิบัติทั้ง

6 ขั้นตอนนี้ซ้ำๆ ทำให้บริษัท K สามารถขยายการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้าไปได้ทั่ว

ทุกเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ในภาพที่ 5-15 เป็นการทบทวนหัวข้อของทั้ง 6 ขั้นตอน

ภาพที่ 5-15 ขั้นตอนการกำจัดการหยุดเล็กน้อยของเครื่องใส่ชิ้นส่วนอัตโนมัติของบริษัท K