TPM for the Lean Factory THAI Version -13

8
Copyrighted Material of E.I.SQUARE PUBLISHING Worksheet ทั้งหลายในที่นี้มีทั้ง เอกสาร แบบฟอร์ม ตาราง และแผนภูมิหรือแผนภาพต่างๆ เพื่อใช้ในการ บันทึก วิเคราะห์ หรือนำเสนอข้อมูล ที่มีการใช้จริงในโรงงานอุสาหกรรมของญี่ปุ่นที่มีการทำ TPM คุณสามารถค้นหา ไปทีละหน้าจนกว่าจะพบกับรูปแบบที่คุณต้องการ หรืออาจจะใช้การอ่านภาพรวมในบทก่อนหน้านี้ (หน้า 239-257) เพื่อดูลำดับขั้นการใช้ของแต่ละ Worksheet ที่ไล่เลียงไปตามเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ทีละบท ในเกือบทุก Worksheet นอกจากมีตัวอย่างการใช้แล้ว ยังมีที่เป็นฟอร์มเปล่าไว้ให้คุณได้เติมลงไป ให้ตรงกับสถานการณ์ของ คุณ แต่ถ้าหากพบว่ามันค่อนข้างเข้ากันได้ยาก ก็ขอให้คุณใช้ Worksheet เหล่านี้ในฐานะเป็นต้นแบบหรือแนวทาง ในการสร้าง Worksheet ที่เหมาะสมของคุณเองขึ้นมา Worksheet สำหรับ “สร้างนวัตกรรมในการทำ TPM”

Transcript of TPM for the Lean Factory THAI Version -13

Page 1: TPM for the Lean Factory THAI Version -13

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

259Worksheet สำหรับ“สร้างนวัตกรรมในการทำ TPM”

Worksheet ทั้งหลายในที่นี้มีทั้ง เอกสาร แบบฟอร์ม ตาราง และแผนภูมิหรือแผนภาพต่างๆ เพื่อใช้ในการ

บันทึก วิเคราะห์ หรือนำเสนอข้อมูล ที่มีการใช้จริงในโรงงานอุสาหกรรมของญี่ปุ่นที่มีการทำ TPM คุณสามารถค้นหา

ไปทีละหน้าจนกว่าจะพบกับรูปแบบที่คุณต้องการ หรืออาจจะใช้การอ่านภาพรวมในบทก่อนหน้านี้ (หน้า 239-257)

เพื่อดูลำดับขั้นการใช้ของแต่ละ Worksheet ที่ไล่เลียงไปตามเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ทีละบท ในเกือบทุก Worksheet

นอกจากมีตัวอย่างการใช้แล้ว ยังมีที่ เป็นฟอร์มเปล่าไว้ให้คุณได้เติมลงไป ให้ตรงกับสถานการณ์ของ

คุณ แต่ถ้าหากพบว่ามันค่อนข้างเข้ากันได้ยาก ก็ขอให้คุณใช้ Worksheet เหล่านี้ในฐานะเป็นต้นแบบหรือแนวทาง

ในการสร้าง Worksheet ที่เหมาะสมของคุณเองขึ้นมา

Worksheet สำหรับ

“สร้างนวัตกรรมในการทำ TPM”

Page 2: TPM for the Lean Factory THAI Version -13

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

260 TPM สำหรับโรงงานแบบลีนTPM for the Lean Factory

Worksheet 1 ตารางการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ TPM และแผนการอบรม

ใช้รวบรวมหลักสูตร ผู้รับผิดชอบ ผู้เรียน ที่จำเป็น เพื่อความพร้อมก่อนเริ่มดำเนินการ (เพื่อปรับให้ทุกคน

ในองค์กรมี TPM ภาพเดียวกัน และสอดคล้องกับแนวปฏิบัติขององค์กร)

Worksheet 2 ผังโครงสร้างทีมงานในการดำเนินการ TPM

ใช้ระบุบุคคลต่างๆ ที่อยู่ในทีมงาน TPM ใครเป็นหัวหน้า ใครเป็นสมาชิก

Worksheet 3 แบบฟอร์มประเมินผลลัพธ์การประชุม

แบบฟอร์มนี้นอกจากช่วยบันทึกการประชุมแล้ว ยังช่วยให้การประชุมของทีม TPM มีประสิทธิผลและไม่

เสียเวลาเปล่า เนื่องจากมีการประเมิน

Worksheet 4 แบบฟอร์มมอบหมายการตรวจวินิจฉัยการเพิ่มผลิตภาพ

ใช้บันทึกแผนงานของคณะกรรมการตรวจวินิจฉัยการเพิ่มผลิตภาพ ในการมอบหมายการลงพื้นที่ให้กับคณะ

กรรมการแต่ละคน ซึ่งโดยปกติคณะกรรมการชุดนี้จะประกอบด้วยผู้บริหารตั้งแต่ประธานบริษัทลงมาจนถึงผู้จัดการ

แผนก

Worksheet 5 แบบฟอร์มสำรวจ TPM ณ สายการผลิต

ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ณ สายการผลิต ทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง

Worksheet 6 แบบฟอร์มสรุปข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง

ใช้ในการนำเสนอแนวคิดการปรับปรุงที่ได้มาจากการศึกษาของทีมงานต่อสาธารณะ เพื่อให้ประหนึ่งเป็น

พันธะสัญญาและมองเห็นแนวทางร่วมกันของทุกคนในทีม แต่การเขียนต้องเฉพาะเจาะจงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

Worksheet 7 บอร์ดช่วยในการบริหารกิจกรรม TPM

บอร์ดช่วยในการบริหารกิจกรรม TPM จริงๆ แล้วมันไม่ใช่ worksheet แต่เป็นป้ายขนาดใหญ่เพื่อแสดง

กิจกรรมในการดำเนินการ TPM และสถิติผลลัพธ์ด้านการเพิ่มผลิตภาพ ณ พื้นที่นั้นๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากถ้าใน

ทุกๆ พื้นที่มีบอร์ดนี้ ทุกคนจะได้ทราบว่า TPM ของเขาส่งผลอย่างไรกับ TPM ของบริษัทหรือประสิทธิผลโดยรวมของ

เครื่องจักรอุปกรณ์ (OEE)

Worksheet 8 ตารางบันทึกการผลิตรายชั่วโมง

วัตถุประสงค์การใช้ของตารางนี้ก็เพื่อที่จะเปรียบเทียบปริมาณการผลิตที่วางแผนไว้กับที่ผลิตได้จริง นอกจาก

นั้น ยังสามารถใช้เพื่อบันทึกเปรียบเทียบเวลาเดินเครื่องจักรกับเวลาเดินเครื่องจักรสุทธิ (เวลาเดินเครื่องจักรที่เกิดการ

ผลิต) (ตัวอย่างจากบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์)

Worksheet 9 แบบฟอร์มสรุปอัตราการเดินเครื่อง ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง และอัตราคุณภาพ

ใช้รวม 3 องค์ประกอบของการวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

กับเครื่องจักรที่มีอิทธิพลต่อ OEE ของทั้งสายการผลิตหรือทั้งโรงงาน อย่างไรก็ตาม ต้องทำให้มันง่ายและสะดวก และ

สามารถรู้ได้ทันทีว่าต้องปรับปรุงอะไรบ้างเมื่อบันทึกเสร็จ (ตัวอย่างจากบริษัท Y)

Page 3: TPM for the Lean Factory THAI Version -13

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

261Worksheet สำหรับ“สร้างนวัตกรรมในการทำ TPM”

Worksheet 10 ตารางสรุปเวลาว่างของเครื่องจักรรายเดือน (เวลารอคอยหรือเครื่องจักรเดินตัวเปล่า)

เวลารอคอยหรือเวลาที่เครื่องจักรเดินตัวเปล่า เป็นเวลาสูญเปล่าที่วิเคราะห์ยาก เพราะมีหลายปัจจัยที่

เกี่ยวข้อง ตารางนี้สามารถช่วยให้คุณเห็นว่ากิจกรรมใดบ้างที่ทำให้เครื่องจักรต้องรอคอยหรือเดินตัวเปล่า ซึ่งจะเป็นจุด

เริ่มต้นของการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหา รายการในแถวบนสุดของตาราง คุณสามารถปรับให้เข้ากับโรงงานของคุณ

ได้ (ตัวอย่างจากบริษัท Y)

Worksheet 11 เอกสารการวางแผนกระบวนการผลิต

เอกสารนี้ จริงๆ คือการนำแผนภูมิกระบวนการมากำกับไว้ด้วยวิธีการจัดการในทุกขั้นตอน เพื่อให้ทุกขั้นตอน

ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยืนยันคุณภาพ ที่ต้องกำกับไว้ว่าเมื่อใดและอย่างไร

Worksheet 12 แผนภูมิกระบวนการบริหารคุณภาพ

นี่คือแผนภูมิกระบวนการควบคุมคุณภาพที่เป็นประโยชน์มากในการจัดทำเอกสารระบบควบคุมกระบวนการ

สำหรับ ISO 9000

Worksheet 13 แบบสำรวจการปฏิบัติงาน (ด้วยวิธีการสุ่มงาน)

แบบสำรวจด้วยการสุ่มงานนี้เป็นอย่างง่าย มีการแบ่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ล่วงหน้าโดยแบ่งเป็น 3

หมวดใหญ่ การปฏิบัติงานที่เกิดมูลค่า การปฏิบัติงานที่กึ่งเป็นความสูญเปล่า (ไม่เกิดมูลค่าแต่มีความจำเป็น) และ

การปฏิบัติงานที่เป็นความสูญเปล่า ส่วนรายละเอียดของแต่ละหมวดผู้ใช้สามารถใส่รายละเอียดได้ในคอลัมน์ถัดไป

Worksheet 14 แบบวัดความสมดุลของสายการผลิต

ใช้คำนวณความสูญเปล่าเชิงปริมาณเนื่องจากการรอคอยหรือเดินตัวเปล่าของบางสถานีงาน เหตุเพราะ

ความไม่สมดุลของสายการผลิตในรูปของจำนวนพนักงานที่ส่งผลถึงเวลาแรงงานที่ต้องการในแต่ละสถานีงาน และ

ไม่ว่าจะทางกราฟิกหรือคณิตศาสตร์ พื้นที่กราฟสามารถบอกเราได้ถึงประสิทธิภาพของการจัดสมดุลสายการผลิต

(ตัวอย่างจากสายการผลิตที่ลำเลียงด้วยสายพาน)

Worksheet 15 แบบฟอร์มตรวจเช็คสายการประกอบหลัก

ใช้ในขณะที่ทำการประกอบ เพื่อให้การประกอบชิ้นส่วนสำคัญที่ต้องการความประณีตสูง เป็นไปตาม

มาตรฐานการปฏิบัติงาน

Worksheet 16 แบบฟอร์มวิเคราะห์สาเหตุความบกพร่องและการแนวทางดำเนินการ

ใช้สรุปสาเหตุและมาตรการแก้ไขเมื่อเครื่องจักรทำงานผิดพลาดหรือพนักงานเกิดความยากลำบาก ซึ่งคุณ

สามารถใช้แบบฟอร์มนี้วิเคราะห์ไปทีละขั้นตอนจนครบทั้งกระบวนการ

Worksheet 17 แบบประเมิน 5ส

เป็นแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Mynac เพื่อใช้ประเมินสถานการณ์ 5ส ของบริษัททุกเดือน ราย-

ละเอียดต่างๆ ที่เป็นหัวข้อหรือเกณฑ์การประเมิน สามารถปรับเปลี่ยนให้ตรงกับมาตรฐาน 5ส ของคุณได้ (หมายเหตุ:

ตัวอย่างนี้ไม่มีแบบประเมินเปล่า และท่านสามารถดูแบบประเมินเต็มได้ที่ตาราง 3-3 หน้า 63-67)

Page 4: TPM for the Lean Factory THAI Version -13

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

262 TPM สำหรับโรงงานแบบลีนTPM for the Lean Factory

Worksheet 18 ผังพาเรโตเพื่อการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์และปริมาณ

บ่อยครั้งที่ผังพาเรโตถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา โดยทำหน้าที่ลำดับความสำคัญของปัญหาตาม

ความถี่ นอกจากนั้น ยังใช้ลำดับความสำคัญของผลิตภัณฑ์ตามปริมาณความต้องการ หรือที่เรียกว่าการวิเคราะห์

ผลิตภัณฑ์และปริมาณอย่างที่มีอยู่ในหนังสือเล่มนี้ได้อีกด้วย

Worksheet 19 รายงานประสิทธิภาพของสายการผลิตประจำเดือน

รายงานนี้ใช้เพื่อให้คุณได้ติดตามประสิทธิภาพของสายการผลิตในรูปแบบที่สังเกตและเข้าใจได้ง่าย เพื่อ

การแก้ไขปัญหาที่ทันท่วงที (เช่น รีบปรับแต่งหรือออกแบบกระบวนการใหม่) โดยรายงานนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของ

รายงานการปฏิบัติงานประจำวัน (บันทึกเป็นรายเครื่องจักรหรืออุปกรณ์)

Worksheet 20 ตารางการวิเคราะห์การปฏิบัติงานของเครื่องจักรอุปกรณ์

การทำให้ผลการปฏิบัติงาน ณ ปัจจุบันของเครื่องจักรถูกสังเกตได้โดยง่าย และนำไปสู่การทำความเข้าใจ

ต่อไป ถือเป็นสิ่งสำคัญ แผนภูมินี้จะช่วยคุณสรุปสถานการณ์ของแต่ละเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ภายใต้เงื่อนไขที่เป็น

อยู่ เป็นรายเดือน

Worksheet 21 ตารางบันทึกสาเหตุของการหยุดเล็กน้อยของเครื่องจักร

ใช้เพื่อติดตามการหยุดเล็กน้อยโดยเฉพาะ ในลักษณะของการช่วยแยกแยะ สาเหตุ ความถี่ และเวลา ซึ่ง

คุณสามารถสรุปเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือนก็ได้

Worksheet 22 ตารางสรุปของเสียของแต่ละสายการผลิต

ปัญหาเครื่องจักรที่ส่งผลให้เกิดของเสียมากมายอย่างไม่คาดคิด จะต้องถูกนำไปพิจารณาให้กระจ่างโดยใช้

ตารางนี้ร่วมกับรายงานบันทึกปัญหาเครื่องจักร (Worksheet 30)

Worksheet 23 แบบฟอร์มการวิเคราะห์การหยุดเล็กน้อยของเครื่องจักร (เครื่องจักรที่ต้องเดินป้อนด้วยมือ)

เมื่อใดก็ตามที่คุณเฝ้าดูการทำงานของเครื่องจักรที่ต้องเดินป้อนด้วยมือ สิ่งหนึ่งที่คุณต้องสังเกตได้คือ การ

หยุดเล็กน้อยที่มีอยู่บ่อยๆ และมาจากหลายสาเหตุ คุณจึงต้องมีแบบฟอร์มสรุปการหยุดเล็กน้อยเหล่านั้นแยกตาม

สาเหตุ

Worksheet 24 แบบฟอร์มการวิเคราะห์แบบ Why-Why

ใช้ทำความชัดเจนกับปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับการหยุดเล็กน้อยและของเสีย ว่ามีกลไก

การเกิดอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุ เพื่อหาวิธีกำจัดต่อไป เมื่อมีการหยุดเล็กน้อยของเครื่องจักร หรือมีของเสียเกิดใน

กระบวนการ ให้ตั้งคำถาม “ทำไม?” ซ้ำหลายๆ ครั้ง จดคำตอบของทุกครั้งไว้ และตั้งคำถามต่อไป เจาะลึกลงเรื่อยๆ

ตามลูกศร

Worksheet 25 แผนการปรับปรุงเพื่อแก้ปัญหาเครื่องจักร

แผนการปรับปรุงเพื่อการแก้ปัญหาอย่างถาวรที่ปรากฏในแบบฟอร์มนี้ เป็นผลลัพธ์ที่ได้มาจากการวิเคราะห์

แบบ Why-Why (Worksheet 24)

Page 5: TPM for the Lean Factory THAI Version -13

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

263Worksheet สำหรับ“สร้างนวัตกรรมในการทำ TPM”

Worksheet 26 แผนปรับปรุงอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนที่เป็นต้นเหตุของปัญหา

ใช้เพื่อช่วยให้พนักงานระดับปฏิบัติการผู้ใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์เหล่านั้น สามารถปฏิบัติตามและรายงาน

ความคืบหน้าในการปรับปรุงที่เขาทำ ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคลหรือเป็นทีม

Worksheet 27 แบบฟอร์มการบำรุงรักษาประจำวัน

ใช้เพื่อสร้างความชัดเจนในการบำรุงรักษาประจำวันตามปกติที่จะถูกนำไปปฏิบัติโดยผู้ใช้เครื่องและควบคุม

โดยหัวหน้างาน โดยรายการบำรุงรักษาที่ปรากฏในแบบฟอร์มต้องมาจากความพยายามในการป้องกันปัญหาที่เกิด

เป็นประจำในการปฏิบัติงานประจำวัน

Worksheet 28 ป้ายอำนวยความสะดวกในการบำรุงรักษา

เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยการบำรุงรักษาประจำวันและการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อม

ไว้ล่วงหน้า อยู่ด้วยกันอย่างเป็นระบบ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย แต่บางครั้งรูปแบบนี้ก็ต้องถูกปรับเพื่อให้เหมาะสมกับ

ธรรมชาติของอุปกรณ์ของคุณ

Worksheet 29 แบบฟอร์มการตรวจเช็คก่อนเริ่มทำงานในแต่ละกะ

ใช้เพื่อความมั่นใจว่าทุกจุดที่ต้องการการตรวจสอบประจำวันจะไม่ถูกละเลย โดยทุกกะต้องทำการตรวจสอบ

ก่อนเริ่มงาน การตรวจสอบจะกระทำไปทีละจุดตามที่ระบุไว้ในแบบฟอร์ม (มีป้ายบ่งชี้ที่ติดอยู่ที่ตัวอุปกรณ์) พร้อมกับ

การพิจารณาว่าแต่ละจุดจำเป็นต้องซ่อม อยู่ระหว่างซ่อม ต้องการการปรับแต่ง หรือปกติดี แล้วบันทึกไว้ เพื่อนำมา

ทบทวนอีกครั้งในตอนสิ้นเดือน

Worksheet 30 รายงานบันทึกปัญหาเครื่องจักร

ใช้เพื่อบันทึกสาเหตุและวิธีการแก้ไขในปัญหาเครื่องจักรที่เกิดขึ้นที่คุณพบได้

Worksheet 31 เอกสารประกอบหรอืคูม่อืการบำรงุรกัษาแบบทนัททีนัใดโดยเตรยีมพรอ้มไวล้ว่งหนา้ (แบบที ่1)

ใช้เพื่อทำความเข้าใจกับพนักงานถึงขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติเมื่อต้องทำการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดย

เตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า ให้เสร็จสิ้นภายใน 3 นาทีหรือน้อยกว่า เอกสารนี้ต้องอยู่ในบริเวณที่เห็นชัดและใกล้ที่สุดเท่าที่

จะเป็นไปได้ เช่น เก็บไว้ในสายการจัดวางอุปกรณ์เพื่อความพร้อมในการตั้งเครื่องจักรหรือเปลี่ยนรุ่นการผลิต หรือบาง

ครั้งอาจจะติดหรือแขวนไว้เลยที่ตัวเครื่องจักร หากว่ามันใช้บ่อยจริงๆ

Worksheet 32 เอกสารประกอบหรอืคูม่อืการบำรงุรกัษาแบบทนัททีนัใดโดยเตรยีมพรอ้มไวล้ว่งหนา้ (แบบที ่2)

เอกสารประกอบหรือคู่มือแบบนี้จะได้มาจากการสำรวจการหยุดเล็กน้อยของเครื่องจักรในสถานที่จริง ใช้เพื่อ

ทำให้พนักงานเห็นภาพชัดเจนถึงสาเหตุและวิธีดำเนินการ

Worksheet 33 แบบฟอร์มบันทึกสาเหตุการหยุดของเครื่องจักร CNC ที่รวมการทำงานของเครื่องมือกล

หลายชนิดไว้ด้วยกัน

ใช้เพื่อรวบรวมการหยุดของเครื่องจักร CNC ที่รวมการทำงานของเครื่องมือกลหลายชนิดไว้ด้วยกัน แยก

ตามสาเหตุ เพื่อให้คุณได้เข้าใจว่าสาเหตุใดเป็นสาเหตุที่ไม่น่าพอใจที่สุด ตัวอย่างนี้เหมาะสำหรับเครื่องจักรที่เดิน

ป้อนด้วยมือ

Page 6: TPM for the Lean Factory THAI Version -13

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

264 TPM สำหรับโรงงานแบบลีนTPM for the Lean Factory

Worksheet 34 แบบฟอร์มบันทึกปรากฎการณ์และกลไกการเกิด

ใช้เพื่อบันทึกปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เกิดการหยุดเล็กน้อยของเครื่องจักรตามวันเดือนปีที่พบ ใช้ควบคู่ไป

กับการวิเคราะห์แบบ Why-Why (Worksheet 24)

Worksheet 35 แบบฟอร์มการวิเคราะห์แบบ P-M

ใช้เพื่อให้กระบวนการวิเคราะห์แบบ P-M ถูกจัดลำดับเป็นขั้นเป็นตอนอยู่ในแบบฟอร์ม และนำไปปรับปรุง

เครื่องจักรเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต นอกจากนั้น ใครก็ตามที่อ่านแบบฟอร์มนี้ จะเข้าใจสถานการณ์ชัดเจนมากขึ้น

Worksheet 36 ผังแสดงเหตุและผล

ใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการระดมสาเหตุที่เป็นไปได้ให้ออกมาอย่างเป็นระบบ มีความเชื่อมโยงจากสาเหตุหนึ่ง

ไปยังอีกสาเหตุหนึ่ง บางครั้งเราก็เรียกว่าผังก้างปลาตามรูปร่างของมัน และบ่อยครั้งที่ก้างหลักจะเริ่มด้วย 4 ปัจจัย

ในการผลิต ประกอบด้วย เครื่องจักร วิธีการ วัสดุ และคน

Worksheet 37 บัตรรายการการบำรุงรักษาอุปกรณ์

ใช้บันทึกสถานะในการบำรุงรักษาเครื่องจักร หรืออาจใช้เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ แต่ถ้าปัญหายังเกิดซ้ำ

อาจใช้เพื่อการบำรุงรักษาแบบทันทีทันใดโดยเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า

Worksheet 38 รายงานการแก้ปัญหาเครื่องจักรที่เป็นไปตามแผนและเกิดขึ้นฉับพลัน

รายงานเครื่องจักรเสียที่ไม่มีรายละเอียดบางครั้งไม่มีประโยชน์เลย เช่น รายงานที่ไม่ระบุสาเหตุ เพราะไม่

สามารถขยายผลไปสู่ต้นตอของปัญหาได้ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ออกแบบรายงานที่เป็นแบบฟอร์มเปล่าเพื่อให้ง่ายต่อ

การบันทึกข้อมูล

Worksheet 39 แบบฟอร์มวิเคราะห์การปฏิบัติงานในการตั้งเครื่องจักรหรือเปลี่ยนรุ่นการผลิต

ใช้บันทึกเวลาอย่างต่อเนื่องในทุกๆ การเคลื่อนไหวด้วยนาฬิกาจับเวลา เป้าหมายก็คือเพื่อหาเวลาที่ใช้จริงๆ

ในการทำงาน และบ่อยครั้งการปรับปรุงการตั้งเครื่องจักรหรือเปลี่ยนรุ่นการผลิตจะขาดแบบฟอร์มนี้ไม่ได้ และถือเป็น

“อาวุธลับ” อย่างหนึ่งของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการ (ตัวอย่างจากบริษัท Y)

Worksheet 40 ตารางถ่ายทอดแผนการปรับปรุง

ใช้สำหรับถ่ายทอดการปรับปรุงโดยการแตกเป้าหมายใหญ่ออกเป็นเป้าหมายย่อยให้แต่ละส่วนที่เกี่ยวข้อง

รับผิดชอบ ในตัวอย่างเป็นการถ่ายทอดเป้าหมายการปรับปรุงการเปลี่ยนอุปกรณ์อัตโนมัติ กราฟมุมบนซ้ายเป็นเวลา

ที่ใช้ที่ต้องการลดลง (จาก 17 นาทีในเดือนเมษายน เหลือ 9 นาที ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม) ในกราฟที่อยู่

ด้านล่าง นำเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนอุปกรณ์อัตโนมัติมาแตกเป็น 3 ส่วน พร้อมแสดงให้เห็นว่าตลอดเวลาแต่ละส่วน

ลดลงอย่างไร ส่วนอีก 3 กราฟด้านบนแสดงการลดลงของเวลาไปตามระดับของการปรับปรุง และส่วนของการ

อธิบายตรงกลาง ทีมงานใช้อธิบายรายละเอียดของกิจกรรมที่ทำตามการปรับปรุงทั้ง 3 ส่วน

Page 7: TPM for the Lean Factory THAI Version -13

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

265Worksheet สำหรับ“สร้างนวัตกรรมในการทำ TPM”

Worksheet 41 แบบฟอร์มการวิเคราะห์เวลางานมาตรฐานของคนและเครื่องจักร - การตั้งเครื่องจักรหรือ

เปลี่ยนรุ่นการผลิต

แบบฟอร์มสำหรับงานมาตรฐานลักษณะที่เห็นอยู่นี้ใช้เพื่อทำให้ทราบเวลาที่ใช้ของคนและเครื่องจักรใน

กระบวนการตั้งเครื่องจักรหรือเปลี่ยนรุ่นการผลิต และในทำนองเดียวกัน ไม่ว่าจะนำไปวิเคราะห์งานมาตรฐานใด

แบบฟอร์มนี้เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นว่าจะส่งให้การปรับปรุงไปได้สูงแค่ไหน เปรียบเสมือนสปริงบอร์ดของนักกีฬา

กระโดดน้ำ

Worksheet 42 ตารางกำลังการผลิต

วิธีใช้ตารางนี้

หมายเลข 1, 2 และ 3: บันทึกขั้นตอนการทำงานและหมายเลขเครื่องจักรที่ใช้ตามลำดับ

หมายเลข 4: บันทึกเวลาที่ใช้การทำงานที่ทำด้วยมือ (ไม่รวมเวลาเดิน) เวลาเดินอัตโนมัติ (เครื่องจักรทำงาน)

และเวลาที่ใช้ทั้งหมด (เวลาที่ทำด้วยมือ + เวลาเดินอัตโนมัติ)

หมายเลข 5: บันทึกเวลาของพนักงานที่ใช้ในการเปลี่ยนเครื่องมือ

หมายเลข 6: บันทึกกำลังการผลิตของแต่ละขั้นตอนในช่วงเวลาในวงเล็บ (= ชั่วโมงทำงาน ÷ เวลา

ที่ใช้ต่อชิ้น + เวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนเครื่องมือต่อชิ้น)

Worksheet 43 แบบฟอร์มการวิเคราะห์เวลางานมาตรฐานของคนและเครื่องจักร

สูตร

(เวลาของคนต่อชิ้น + เวลาของเครื่องจักรต่อชิ้น) / แท็คไทม์ = จำนวนคน

เป็นเครื่องมือที่ง่ายมากในการตั้งเงื่อนไขการทำงานที่เหมาะสมของเครื่องจักร

หมายเลข 1 และ 2: บันทึกขั้นตอนการทำงานตามลำดับพร้อมกำกับด้วยหมายเลขเครื่องจักรที่ใช้

หมายเลข 3: บันทึกเวลาที่ใช้การทำงานที่ทำด้วยมือ และเวลาเดินอัตโนมัติ จากตารางกำลังการผลิต

หมายเลข 4: เวลาปฏิบัติงาน:

ลากเส้นทึบแสดงเวลาทำงานด้วยมือ

ลากเส้นประแสดงเวลาเครื่องเดินอัตโนมัติ

ลากเส้นหยักแสดงเวลาที่ใช้เดิน

หมายเลข 5: บันทึกแท็คไทม์ และลากเส้นแท็คไทม์ในแนวตั้งลงบนกราฟด้วยปากกาสีแดง

หมายเลข 6: เมื่อมาถึงขั้นตอนสุดท้าย ให้บันทึกเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนย้อนกลับไปจนถึงขั้นตอนแรก

หมายเลข 7: ถ้าความยาวของทุกเส้นในวงจรมาจบตรงเส้นแท็คไทม์พอดี แสดงว่าเหมาะสม ถ้ายาวกว่า

แสดงว่ากระบวนการต้องการการปรับปรุง และถ้าสั้นกว่าแสดงว่าเกิดการรอคอยหรือการเดินตัวเปล่าของเครื่องจักร

ในกระบวนการ

Page 8: TPM for the Lean Factory THAI Version -13

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

266 TPM สำหรับโรงงานแบบลีนTPM for the Lean Factory

หมายเลข 8: ถา้ความยาวของเสน้ใดเกนิเสน้แทค็ไทม ์ใหก้ลบัมาลากตอ่โดยเริม่จากศนูยต์ามทีเ่หน็ในตวัอยา่ง

Worksheet 44 แผนภูมิกิจกรรมการลดของเสีย

ของเสียเป็นศูนย์ คือความปรารถนาชั่วนิรันดรของโรงงาน และเป็นหัวข้อหลักในการรณรงค์ให้เกิดการปรับ-

ปรุงเสมอ แผนภูมินี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจของเสียที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการผลิตที่กระทำอยู่ทุกวัน โดยแสดงให้อยู่

ในรูปที่เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

Worksheet 45 แบบฟอร์มการตรวจสอบประจำวัน

ใช้เพื่อบันทึกรายการตรวจสอบประจำวันของเครื่องจักร แม่พิมพ์ขึ้นรูปพลาสติก แม่พิมพ์ขึ้นรูปโลหะ อุปกรณ์

นำร่อง หรืออุปกรณ์และเครื่องมืออื่นๆ (ในตัวอย่างเป็นของแม่พิมพ์ขึ้นรูปพลาสติก) และมันจะมีความสะดวกในการ

ใช้มากถ้าคุณนำมันไปขยายเป็นขนาดโปสเตอร์และติดไว้ที่ผนังโรงงาน

Worksheet 46 แบบฟอร์มการค้นหาการหยุดเล็กน้อย (สำหรับอุปกรณ์อัตโนมัติ)

ใช้เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกับ Worksheet 23 แต่มีรายละเอียดมากกว่า นึกถึงการหยุดเล็กน้อยของเครื่องจักร

ในโรงงานของคุณที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาว่าจะมีรายการใดบ้างเติมเข้าไปในแบบฟอร์ม

Worksheet 47 แบบฟอร์มการตรวจวินิจฉัยการดำเนินการ TPM ที่ผู้บริหารระดับสูงใช้ประเมิน และผู้ถูก

ประเมินใช้ประเมินตนเอง

ใช้สำหรับผู้บริหารในการบันทึกและส่งผลการตรวจวินิจฉัยการดำเนินการ TPM ในแบบฟอร์มเป็นการ

ประเมินแบบคะแนนเต็ม 5 และมีช่องคำติชมหรือข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงไว้ด้วย ซึ่งการได้รับข้อเสนอแนะหรือ

คำติชมนี้ อาจมีบางคนที่ไม่ชอบ แต่เป็นส่วนน้อย

Worksheet 48 แบบฟอร์มติดตามการปรับปรุงสายการผลิต

การปรับปรุงสายการผลิตไม่ใช่ความรับผิดชอบของผู้จัดการเท่านั้น ความร่วมมือของพนักงานก็มีความ

จำเป็นอย่างมาก คุณต้องคิดหาหัวข้อการปรับปรุง ช่วงเวลาที่ใช้ดำเนินการ และผู้รับผิดชอบ แล้วสื่อสารมันออกไป

ด้วยวิธีการที่ง่ายสำหรับทุกคน เพื่อให้ทุกคนให้ความร่วมมือได้ อย่างน้อยก็ใช้แบบฟอร์มนี้ติดในสถานที่ทำงานให้ได้

ทราบทั่วกันว่าวันนี้และอนาคตอันใกล้นี้ต้องทำอะไร

Worksheet 49 แบบประเมินการนำเสนอผลงานของทีม TPM

ใช้เพื่อให้คะแนนในการนำเสนอผลงานของทีม TPM การประเมินจะช่วยให้ทีมพัฒนาทักษะการจัดการกับ

ปัญหาในสถานที่ทำงาน และ การทำรายงานสถานการณ์และผลลัพธ์การปรับปรุง

Worksheet 50 แบบประเมินการประกวดผลงานของทีม TPM ในสายการผลิต

ใช้เพื่อให้คะแนนในการประกวดแข่งขันการปรับปรุงพื้นที่ใน 8 รายการที่ปรากฏอยู่ในคอลัมน์ซ้ายสุด โดย

ต้องมีการลงทะเบียนค่าก่อนการปรับปรุงไว้ล่วงหน้า เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลที่ได้หลังการปรับปรุง ความแตกต่าง

ของค่าก่อนและหลังการปรับปรุง จะถูกนำไปคำนวณเป็นคะแนน 0 ถึง 5 ตามแนวทางที่ระบุไว้ด้านขวา