Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn...

25
ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของสินค้าไทยและสินค้าอินโดนีเซีย ที่ส่งออกไปยังตลาดอาเซียน Revealed Comparative Advantage: Thailand and Indonesia product exports in ASEAN พบกานต์ อาวัชนาการ 1 และ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม 2 Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD บทคัดย่อ ประเทศไทยและอินโดนีเซีย จัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ อีกทั้งมี บทบาทที่สาคัญใน กลุ่มอาเซียน (ASEAN) และเนื่องจากในปี พ . . 2553 นี้ ถือได้เป็นปีท60 ในการสถาปนา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและอินโดนีเซีย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของสินค้ าที่ผลิตในประเทศ ไทย และสินค้าที่ผลิตในประเทศอินโดนีเซียที่ส่งออกไปยังตลาดอาเซียน โดยใช้ข้อมูลสินค้าในระบบ SITC Rev.3 ระดับ 2 digit ระหว่างปี . . 2548-2552 มาคานวณหาดัชนีความได้เปรียบโดยเ ปรียบเทียบที่ปรากฏ (Revealed Comparative Advantages Index: RCA) ผลการศึกษา พบว่า สินค้าของไทย ส่วนใหญ่ มีความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบ ในการส่งออกไปยังตลาด อาเซียนมากกว่าสินค้าของอินโดนีเซีย โดยในป2552 สินค้าไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบมากกว่าอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นจากปี 2005 ร้อยละ 12 ของรายการสินค้าทั้งหมด คิดเป็นสินค้าจานวน 42 รายการจากทั้งหมด 62 รายการ ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าในกลุ่มอาหารและสัตว์มีชีวิต (SITC code 1), กลุ่มวัตถุดิบที่กินไม่ได้ ยกเว้นเชื้อเพลิง (SITC code 2), วัตถุเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้ อง (SITC code 5), เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง (SITC code 7) และกลุ่มสินค้า การผลิตอื่นๆ (SITC code 8) ABSTRACT Because of 60-year anniversary relationship between Thailand and Indonesia, the both have big economy size and important role in ASEAN. This study aims to investigate comparative advantage of Thai and Indonesian products that export to ASEAN employing revealed comparative advantage index (RCA) for the period 2005 to 2009. The result shows that almost Thai commodities have comparative advantage more than Indonesia commodities. Compared with Indonesia, in 2009, Thailand has revealed comparative advantages for 42 of the 62 product groups. Most products appear in group of foods and live animals (SITC code 1), Crude materials, inedible, except fuels (SITC code 2), Chemicals and related products (SITC code 5), Machinery and transport equipment (SITC code 7) and Miscellaneous manufactured articles (SITC code 8). 1 เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต 2 อาจารย์ประจาคณะเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330 Faculty of Economics, Chulalongkorn University, Bangkok 10330 Email: [email protected], [email protected]

Transcript of Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn...

Page 1: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของสินค้าไทยและสินค้าอินโดนีเซีย ที่ส่งออกไปยังตลาดอาเซียน

Revealed Comparative Advantage: Thailand and Indonesia product exports in ASEAN

พบกานต์ อาวัชนาการ1 และ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม2 Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD

บทคัดย่อ

ประเทศไทยและอินโดนีเซีย จัดได้ว่า เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ อีกทั้งมีบทบาทท่ีส าคัญใน กลุ่มอาเซียน (ASEAN) และเน่ืองจากในปี พ .ศ. 2553 น้ี ถือได้เป็นปีที่ 60 ในการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและอินโดนีเซีย

การศึกษาครั้งน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของสินค้ าที่ผลิตในประเทศ ไทยและสินค้าที่ผลิตในประเทศอินโดนีเซียที่ส่งออกไปยังตลาดอาเซียน โดยใช้ข้อมูลสินค้าในระบบ SITC Rev.3 ระดับ 2 digit ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 มาค านวณหาดัชนีความได้เปรียบโดยเ ปรียบเทียบที่ปรากฏ (Revealed Comparative Advantages Index: RCA)

ผลการศึกษา พบว่า สินค้าของไทย ส่วนใหญ่ มีความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบ ในการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนมากกว่าสินค้าของอินโดนีเซีย โดยในปี 2552 สินค้าไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบมากกว่าอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นจากปี 2005 ร้อยละ 12 ของรายการสินค้าทั้งหมด คิดเป็นสินค้าจ านวน 42 รายการจากทั้งหมด 62 รายการ ซ่ึงส่วนใหญ่เป็นสินค้าในกลุ่มอาหารและสัตว์มีชีวิต (SITC code 1), กลุ่มวัตถุดิบที่กินไม่ได้ ยกเว้นเชื้อเพลิง (SITC code 2), วัตถุเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เก่ียวข้ อง (SITC code 5), เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง (SITC code 7) และกลุ่มสินค้าการผลิตอื่นๆ (SITC code 8)

ABSTRACT Because of 60-year anniversary relationship between Thailand and Indonesia, the both have big

economy size and important role in ASEAN. This study aims to investigate comparative advantage of Thai and Indonesian products that export to

ASEAN employing revealed comparative advantage index (RCA) for the period 2005 to 2009. The result shows that almost Thai commodities have comparative advantage more than Indonesia

commodities. Compared with Indonesia, in 2009, Thailand has revealed comparative advantages for 42 of the 62 product groups. Most products appear in group of foods and live animals (SITC code 1), Crude materials, inedible, except fuels (SITC code 2), Chemicals and related products (SITC code 5), Machinery and transport equipment (SITC code 7) and Miscellaneous manufactured articles (SITC code 8).

1 เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต 2 อาจารย์ประจ าคณะเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ 10330 Faculty of Economics, Chulalongkorn University, Bangkok 10330 Email: [email protected], [email protected]

Page 2: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

2

-

10,000

20,000

30,000

40,000

50,000

60,000

70,000

80,000

ไทยกบัอาเซียน

อินโดนีเซยีกับอาเซยีน

า ท่ี 1 แสดงม ลค่าการค้าระหว่างไทย / อินโดนีเซีย กับอาเซียนใน ่วงป 2544-2552 หน่วย: ล้านเหรีย สหรั

ที่มา: ดัดแปลง ากข้อม ลของ International Trade Center (2009)

1. ที่มาและความส าคั ของปั หา แม้ราชอาณาจักรสยามและอาณาจักรศรีวิชัยจะมีความสัมพันธ์ต่อกันมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 8

(Yuliana, 2008) แต่อย่างไรก็ตาม การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑู ตอย่างเป็นทางการระหว่าง ประเทศไทยและอินโดนีเซียก็ยังไม่เกิดขึ้น จนเม่ือวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2493 (ค.ศ.1950) และในปี 2553 นี้ ก็นับเป็นปีที่มีความส าคัญเนื่องจากเป็นปีครบรอบการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการของทั้ง 2 ประเทศ (Ministry of Foreign Affair, 2553b) ดังนั้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศโดยเฉพาะความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจจึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

ตลอด 60 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซียเป็นพันธมิตรทางเศร ษฐกิจที่ดีต่อกันเสมอมา และทั้งสองประเทศก็ประสบความส าเร็จทางด้านเศรษฐกิจในหลายๆ ด้าน แต่ความสัมพันธ์ที่นับว่ามีความส าคั ญมากที่สุดในทางเศรษฐกิจของทั้ง สองประเทศ คือ การร่วมมือกันก่อตั้ง สมาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ “อาเซียน ” (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) รว่มกับประเทศสมาชิกผู้ก่อต้ังอีก 3 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร ์และฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ.1967) (ASEAN Secretariate, 2009)

ทั้งนี้ มูลค่าการค้าของทั้ง ประเทศไทยและอินโดนีเซีย กับภูมิภาคอาเซียน มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากมู ลค่าการค้า ที่ระดับประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงทศวรรษที่ 1990 และมีมูลค่า เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับสูงสุดที่ระดับประมาณ 7 หม่ืนล้าน เหรียญสหรฐั ในปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) (พิจารณาภาพที่ 1) (International Trade Center, 2010) ซึ่งมูลค่าการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้เป็นผลมาจากการบังคับใช้มาตรการการลดภาษีศุลกากรระหว่างประเทศอาเซียนเพื่อสร้างเขตการค้าเสรีอาเซียน (Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)) ซึ่งเริ่มต้นการบังคับเรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992)

และจากแผนภาพที่ 1 เช่นกัน เราพบว่ามูลค่าการค้านี้เกิดการปรับตัวลดลงอย่างมีนัยส าคัญในปี พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มถดถอยลงของประเทศสมาชิกอาเซียนอันเป็นผลมาจากวิกฤตการเงินโลก (Global Financial Crisis)

Page 3: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

3

Asean21%

USA11%

Japan11%China

10%

Rest of the world47%

า ท่ี 2 แสดงสัดส่วนการส่งออกสินค้าของไทยไปยังประเท ค ่ค้าส าคั ในป 2552

ท่ีมา: ดัดแปลง าก UN Comtrade (2009)

Asean21%

USA9%

Japan16%China

10%

Rest of the world44%

า ท่ี 3 แสดงสัดส่วนการส่งออกสินค้าของอินโดนีเซียไปยังประเท ค ่ค้าส าคั ในป 2552

ท่ีมา : ดัดแปลง าก UN Comtrade (2009)

-

2,000

4,000

6,000

8,000

10,000

12,000

14,000

า ท่ี 4 แสดงม ลค่าการค้าระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย ใน ่วงป 2544-2552 หน่วย: ล้านเหรีย สหรั

น าเข้าจากอินโดนีเซียส่งออกไปยังอินโดนีเซียมูลค่าการค้ารวม

ที่มา: ดัดแปลง าก International Trade Center (2009)

และด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เขตการค้าเสรีอาเซียนเกิดขึ้นอย่างแท้จริง ในปัจจุบัน อาเซียนถือเป็นตลาดส่งออกที่ส าคัญที่สุดของทั้งสองประเทศ โดยในปี พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) ทั้งไทยและอิ นโดนีเซียมีการส่งออก ไปยังตลาดอาเซียนมากที่สุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด (ตามภาพที่ 2 และภาพที่ 3) (United Nation Commodities Trade Statistics Database, 2010)

Page 4: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

4

เมื่อพิจารณาจากมุมมองทางด้านการค้าระหว่างประเ ทศแล้ว มูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการค้าระหว่างไทย -อินโดนีเซีย ได้เพิ่มขึ้นจาก 1.485 พันล้านเหรียญสหรฐั ในปี พ .ศ. 2538 เป็น 11.734 พันล้านเหรียญสหรฐัในปี พ .ศ. 2551 หรือโดยเฉลี่ยแล้วมูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศนี้เพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยที่ระดับ 15% ต่อปี อย่างต่อเนื่องในช่วง 15 ปีที่ผา่นมา (พิจารณาภาพที่ 4) และในช่วง 3 ปีที่ผา่นมา (พ.ศ. 2550 – 2552) ประเทศไทยอยู่ในภาวะเกินดุลการค้ากับประเทศอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่องที่ระดับเฉลี่ย 871.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และท าให้อินโดนีเซีย เป็นประเทศคู่ค้าที่ส าคัญเป็นอันดับที่ 3 ในกลุ่มอาเซียนของไทย รองจาก มาเลเซียและสิงคโปร์ และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าจากทั่วโลกแล้ว อินโดนีเซียถือเป็นคู่ค้าที่มีความส าคัญเป็นอันดับที่ 9 ของไทย (Bank of Thailand, 2010b; Yuliana, 2008)

แม้ว่าประเทศไทยแล ะอินโดนีเซียจะเป็น คู่ค้าที่ส าคัญระหว่างกันแล้ว ทั้งสองประเทศยังอยู่ในฐานะคู่แข่งในการผลิตและส่งออกสินค้าไปยังตลาดอาเซียนโดยตรง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจาก มีอาเซียนเป็นตลาดเป้าหมายหลักเช่นเดียวกัน อีกทั้งประเทศทั้งสองเป็นประเทศที่มีระดับการพัฒนาการทางเศร ษฐกิจอยู่ในระดับเดียวกัน คือ ทั้งไทยและอินโดนีเซียต่างก็ เป็น ประเทศ ก าลังพัฒนา (Developing Country) ทั้งคู่ และทั้ง สองประเทศต่างก็ เป็นผู้รับการลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งมีประเทศผู้ลงทุนเป็นกลุ่มเดียวกัน รวมไปถึงการผลิต สินค้าทั้งเพื่อใช้ประโยชน์ภายในประเทศ และเพื่อ ส่งออกหลายๆ ประเภทมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน

ดังนั้นในบทความนี้ผู้วิจัยจะเน้นท าการศึกษา เพื่อเปรียบเทียบความได้เปรียบของ สินค้าที่ผลิตจากประเทศไทยและอินโดนีเซีย ในการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน โดยบทความนี้จะแบ่งการน าเสนอออกเป็น 4 ส่วน โดยในส่วนที่หนึ่งผู้วิจัยได้ชี้ให้เห็นถึงความส าคัญของเรื่องที่จะท าการศึกษา และในส่วนต่อไป ซึ่งเป็นส่วนที่ 2 ผู้วิจัยจะน าเสนอเกี่ยวกับแนวคิดความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่สองเป็นการน าเสนอการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยกับสินค้าอินโดนีเซีย ส่วนสุดท้ายเป็นสรุปและข้อเสนอแนะ

2. ทบทวนแนวคิด ทฤษฏี และวรรณกรรมข้อง (Revealed Comparative Advantage)

ความได้เปรียบโดยเปรียบ (Comparative Advantage) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี การค้าที่ส าคัญอย่างทฤษฎีของริคาร์เดียนและทฤษฎีเฮคเชอร์ -โอลิน ส าหรับ วิธีที่ใช้วัดความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ วิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยมมากนั้น คือ ดัชนีความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (Reveal Comparative Advantage: RCA) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า Balassa Index เนื่องจากได้รับการพัฒนาโดย Balassa (1965) โดยดัชนี RCA สามารถแสดงในรูปสมการ ดังนี้

ij nj

it nt

X XRCA

X X

โดย X คือ มูลค่าการส่งออก, i คือ ประเทศหนึ่งที่สนใจ, j คือ สินค้า, t คือ กลุ่มสินค้าทั้งหมด และ n คือ กลุ่มประเทศที่สนใจทั้งหมด

Page 5: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

5

RCA เป็นวิธีการวัดการส่งออกสินค้าประเภทหนึ่งเทียบกับการส่งออกทั้งหมด ของประเทศหนึ่ง และเทียบกับการส่งออกสินค้าประเภทนั้นของกลุ่มประเทศอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งหากค่าดัชนี 1RCA แสดงให้เห็นว่า ประเทศนั้นมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ และในทางตรงกันข้าม หาก ค่าดัชนี 1RCA แสดงให้เห็นถึงประเทศนั้นมีความเสียเปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Disadvantage)

อย่างไรก็ตาม RCA (หรือ Balassa index) นี้ ยังมีประเด็นถกเถียงกันอยู่ว่าอาจเป็นดัชนีที่ไม่มีความเหมาะสมมากเท่าใดนัก เนื่องจากไม่ได้ค านึงถึงด้านการน าเข้าไว้ในดัชนี RCA ดังกล่าว ต่อมา Vollarth (1991) ได้เสนอวิธีในการวัดความได้เปรียบโดยเปรียบที่ปรากฏ (RCA) ที่แตกต่างจาก Balassa index อีก 3 วิธี ได้แก่ ความได้เปรียบด้านการส่งออกโดยเปรียบเทียบในรูปของฟังก์ชัน Log (the logarithm of relative export advantage: ln RXA), ความได้เปรียบทางการค้าโดยเปรียบเทียบ (Relative Trade Advantage: RTA) และความสามารถในการแข่งขันที่ปรากฏ (Revealed Competitiveness: RC) ซึ่งสองวิธีหลังนั้น ได้ตระหนักถึงความส าคัญของการน าเข้าและน าเข้ามารวมในการค านวณหาดัชนีดังกล่าวดัวย

Ferto and Hubbard (2003) ได้ท าการทดสอบความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรของประเทศฮังการีเทียบกับกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปในช่วงปี 1992-1998 โดยข้อมูลในระบบ SITC 2 พิกัด มาค านวณหาดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ 4 แบบ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ในช่วงดังกล่าวนั้น ประเทศฮังการีมีความได้เปรียบในสินค้าเกษตรจ านวน 11 กลุ่มจากทั้งหมด 22 กลุ่ม

Utkula and Seymen (2004) ได้ท าการทดสอบความสามารถในการแข่งขันของประเทศตุรก ีเทียบกับประเทศในกลุ่ม EU ในช่วงปี 1990-2003 ซึ่งท าการศึกษาในระดับโลกและระดับทวิภาคี โดยใช้ข้อมูลตามระบบ SITC 2 พิกัดมาค านวณหาดัชนีความได้เปรียบทั้งหมด 7 แบบ ผลการศึกษาพบว่า ดัชนี RCA เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการศึกษาถึงความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ และประเทศตุรกีถือได้ว่าเป็นประเทศสมาชิกที่มีศักยภาพในการแข่งขันในกลุ่ม EU

ส าหรับการศึกษา ในกรณีของประเทศไทยนั้น สถาบันการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (2543) ได้ท าการศึกษาถึงความได้เปรียบในการส่งออกสินค้าของไทยไปยังตลาดโลก โดยใช้ข้อมูลตามพิกัดศุลกากร HS 2 พิกัดมาค านวณหาดัชนี RCA พบว่า สินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบมีอยู่ 24 หมวดสินค้าจากจ านวน 99 สินค้า นอกจากนั้น ยังมีงานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบการส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างๆ โดยใช้ดัชนี RCA แต่เป็นการศึกษา ที่เจาะลึก เฉพาะรายสินค้าเท่านั้น ได้แก่

ธีรภาพ วรรณรัตน์ (2551) ได้ท าการศึกษาการส่งออกสินค้าประเภทสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา พบว่า ประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งสินค้าสิ่งทอไปยังอเมริกา ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดของสินค้าค่อนข้างคงที่ โดยจีนและอินเดียมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น

อิฐรัตน์ ตาปวน (2552) ได้ท าการศึกษาการส่งออกสินค้าประเภทรองเท้าและผลิตภัณฑ์เครื่องหนังของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา พบว่า ประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบและมีส่วนแบ่งตลาดน้อยที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งส าคัญอย่างจีนและเวียดนาม

Page 6: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

6

นงนุช พันธกิจไพบูลย์ และวรญา ตันตอิมรพงษ์ (2552) ได้ท าการศึกษาถึงการส่งออกกล้วยไม้ไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น พบว่า ประเทศมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบลดลง และเผชิญภาวะการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากมาเลเซียและไต้หวัน

3. การวิเคราะห์ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยกับอินโดนีเซียโดยใ ้ Revealed

Comparative Advantage เนื่องจากว่าการเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันสินค้าส่งออกระหว่างประเทศโดยใช้

ข้อมูลด้านต้นทุนและประสิทธิภาพการผลิตท าได้ยาก ดังนั้น การวิเคราะห์ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าระหว่างประเทศมักจะนิยมใช้ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (Revealed Comparative Advantage Index: RCA)

ส าหรับการศึกษาในครั้งนี้ จึงได้ใช้วิธีการค านวณหาค่าความได้เปรียบโดยตามวิธี ของ Balassa (1965) ส าหรับสินค้าของไทยและอินโดนีเซียที่ส่งออกไปยังตลาดอาเซียน ซึ่งแสดงรูปแบบสมการที่ใช้ในขั้นตอนแรก ดังนี้

ค่าดัชนี RCA ของไทย ,

,

,

RCA

i TH

TH

TH ASEAN

i ASEAN

ASEAN

X

X

X

X

ค่าดัชนี RCA ของอินโดนีเซีย .

,

,

RCA

i ID

ID

ID ASEAN

i ASEAN

ASEAN

XX

X

X

โดยที่ ,i THX คือ มูลค่าการส่งออกสินค้า i ของไทยไปยังตลาดอาเซียน ,i IDX คือ มูลค่าการส่งออกสินค้า i ของอินโดนีเซียไปยังตลาดอาเซียน ,i ASEANX คือ มูลค่าการส่งออกสินค้า i ของประเทศสมาชิกทั้งหมดในอาเซียน

THX คือ ผลรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทย

ID

X คือ ผลรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดของอินโดนีเซีย

ASEANX คือ ผลรวมมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดภายในภูมิภาคอาเซียน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าค่าดัชนี RCA ที่ค านวณได้จะสะท้อนให้เห็นถึงความได้เปรียบ /เสียเปรียบ

โดยเปรียบเทียบที่ปรากฎตามข้อมูลการส่งออกและน าเข้าที่เกิดขึ้นจริงจากการค้าระห ว่างประเทศ แต่ส าหรับในงานศึกษานี้ ผู้วิจัยต้องการเปรียบเทียบความได้เปรียบ /ความสามารถในการแข่งขัน ระหว่างสินค้าที่ผลิตในไทยและอินโดนีเซียที่ส่งออกไปยังตลาดอาเซียน

Page 7: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

7

ดังนั้นในขั้นตอนที่ 2 จึงได้น าค่าดัชนี RCA ที่ค านวณได้ด้วยวิธีข้างต้น ของทั้ง 2 ประเทศมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นในรูปสมการดังนี้

,

,

,

RCA = i TH TH

TH ID

i ID ID

X X

X X

หากค่า RCA > 1 แสดงให้เห็นว่า สินค้า i ที่ผลิตจากประเทศไทยมีความได้เปรียบในการ

ส่งออกไปยังตลาดอาเซียนมากกว่าสินค้า i ที่ผลิตจากประเทศอินโดนีเซีย (แม้ว่าทั้งสินค้าจากไทยและอินโดนีเซียจะมีความได้เปรียบ/เสียเปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฎเหมือนกันทั้งคู่ ) ในทางตรงกันข้าม หากค่า RCA < 1 แสดงให้เห็นว่า สินค้า i ที่ผลิตจากประเทศไทยไม่มีความได้เปรียบในการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน เมื่อเทียบกับสินค้า i ที่ผลิตจากประเทศอินโดนีเซีย (แม้ว่าทั้งสินค้าจากไทยและอินโดนีเซียจะมีความได้เปรียบ/เสียเปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฎเหมือนกันทั้งคู่)

ในขั้นตอนสุดท้าย ผู้วิจัยจะท าการค านวณดัชนีความได้เปรียบอีก 3 รูปแบบ ได้แก่ ความได้เปรียบจากการค้าโดยเปรียบเทียบ (Relative Trade Advantage: RTA), ความได้เปรียบจากการส่งออกโดยเปรียบเทียบในรูปของ Logarithm (Log of Relative Export Advantage: RXA) และความสามารถในการแข่งขันที่ ปรากฎ (Revealed Competitiveness: RC) ตามงานศึกษาขอ ง Utkulu and Seymen (2004) เพื่อเปรียบเทียบกับค่าดัชนี RCA ที่ค านวณได้ในตอนต้น

3.1 ผลการศึกษา ส าหรับการศึกษาในครั้งนี้ ได้ใช้ข้อมูลการส่งออกและน าเข้าสินค้าระหว่างประเทศของประเทศ

ไทยและอินโดนีเซียที่ส่งออกไปยังตลาดอาเซียน ในช่วงปีพ.ศ. 2548-2552 ตามระบบ SITC (Standard International Trade Classification) Rev.3 2 พิกัด ซึ่งมีสินค้าทั้งสิ้นจ านวน 62 กลุ่ม

ผลการค านวณค่า RCA ของทั้งสินค้าไทยและอินโดนีเซียในขั้นตอนที่ 1 พบว่า ในปี 2552 ไทยที่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน มีจ านวน 33 กลุ่มสินค้า โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภท อาหารและสัตว์ มีชีวิต (SITC: 0), กลุ่มวัตถุดิบ ที่ยกเว้นเชื้อเพลิง (SITC: 2), ผลิตภัณฑ์เคมีและที่เกี่ยวข้อง (SITC: 5), สินค้าอุตสาหกรรม (SITC: 6) และเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง (SITC: 7) โดยสินค้าที่มีความได้เปรียบในการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของไทย ได้แก่ Sugar, sugr.preptns, honey (06), Crude rubber (23), Meat, meat preparations (01), Road vehicles (78) และ Textile fibres (26) ขณะที่อินโดนีเซียที่มีความได้เปรียบในการส่งออกไปยังอาเซียน มีจ านวน 28 กลุ่มสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็น สินค้าประเภท อาหารและสัตว์ มีชีวิต (SITC: 0), เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ยาสูบ (SITC: 1), กลุ่มวัตถุดิบ ที่ยกเว้นเชื้อเพลิง (SITC: 2), ผลิตภัณฑ์น้ ามัน ไขมันหรือขี้ผึ้งที่ได้จากพืชและสัตว์ (SITC: 4) และสินค้าอุตสาหกรรม (SITC: 6) ส าหรับสินค้าที่มีความได้เปรียบสูงสุ ด 5 อันดับแรก ได้แก่ Coal, coke, briquettes (32), Fixed veg. fats and oils (42), Coffee, tea, cocoa, spices (07), Non-ferrous metals (68) และ Metalliferous ore, scrap (28)

Page 8: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

8

ในกรณีที่เปรียบเทียบความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบระหว่างสินค้าไทยกับสินค้าอินโดนีเซี ย

ตามสมการในขั้นตอนที่ 2 พบว่า ในภาพรวม ของแต่ละอุตสาหกรรมนั้น ประเทศ ไทยเองมีความได้เปรียบในการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนที่มากกว่าอินโดนีเซีย ส าหรับกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมอาหารและสัตว์มีชีวิต (SITC: 0), กลุ่มวัตถุดิบ ที่ยกเว้นเชื้อเพลิง (SITC: 2), ผลิตภัณฑ์เคมีแล ะที่เกี่ยวข้อง (SITC: 5), เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง (SITC: 7) และการผลิตอื่นๆ (SITC: 8) และจากสินค้าทั้งหมด 62 กลุ่ม (จ าแนกประเภทผลิตภัณฑ์ที่ระดับ 2-digit ตามมาตรฐาน SITC rev.3) ผู้วิจัยพบว่า สินค้าไทยจ านวน 42 กลุ่ม มีความได้เปรียบในการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนสูงกว่าอินโดนีเซีย (พิจารณาได้จากค่าดัชนี RCA > 1) ขณะที่สินค้าอีก 21 กลุ่มนั้น อินโดนีเซียมีความได้เปรียบในการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนมากกว่าไทย (ค่าดัชนี RCA < 1)

เมื่อพิจารณาผลการค านวณค่าดัชนี RCA ผู้วิจัยยังสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 4 กลุ่ม ตามค่าที่ค านวณได้และการเปลี่ยนแปลงของดัชนีดังกล่าว ดังนี้

1. กลุ่มสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ และมีความได้เปรียบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตลอดช่วงปีพ.ศ. 2548-2552 (RCA > 1 และมีค่าเพิ่มขึ้น) มีจ านวนทั้งสิ้น 17 หมวดสินค้า (ตารางที่ 3) ดังนี ้

หมวด 01 Meat, meat preparations หมวด 04 Cereal, cereal preprtns. หมวด 06 Sugar, sugr.preptns, honey หมวด 11 Beverages หมวด 24 Cork and wood หมวด 26 Textile fibres หมวด 43 Animal, veg.fats, oils, nes หมวด 55 Essentl.oils, perfume, etc หมวด 58 Plastic, non-primary form

หมวด 59 Chemical materials nes หมวด 62 Rubber manufactures, nes หมวด 66 Non-metal.mineral manfct หมวด 69 Metal manufactures, nes หมวด 71 Power generating. Machines หมวด 74 General industl.mach.nes หมวด 75 Office machines, adp mach หมวด 78 Road vehicles

ทั้งนี้ สัดส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ต่อการส่งออกทั้งหมดของไทยค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าในหมวด 78 Road vehicles, 75 Office machines, adp mach, 74 General industrial mach และ 71 Power generating mach ซึ่งสินค้าทั้งหมดในกลุ่มนี้มีมูลค่าส่งออกรวม คิดเป็นร้อยละ 43 ของมูลค่าส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทยที่ส่งออกไปยังอาเซียน ขณะที่สินค้าหมวด 01 Meat, meat preparations และ 11 Beverage มีการเปลี่ยนแปลงค่า RCA ที่มากกว่าสินค้าในหมวดอื่นๆ

Page 9: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

9

2. กลุ่มสินค้าไทยที่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ แต่ความได้เปรียบนั้นมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงปีพ.ศ. 2548-2552 (RCA > 1 แต่มีค่าลดลง) มีทั้งสิ้น 14 สินค้า (ตารางที่ 3) เมื่อพิจารณา

หมวด 02 Dairy products, bird eggs หมวด 03 Fish, crustaceans, mollusk หมวด 08 Animal feed stuff หมวด 09 Misc. edible products etc หมวด 23 Crude rubber หมวด 33 Petroleum, petrol.product หมวด 51 Organic chemicals

หมวด 54 Medicinal, pharm.products หมวด 57 Plastics in primary form หมวด 61 Leather, leather goods หมวด 73 Metalworking machinery หมวด 83 Travel goods, handbags etc หมวด 87 Scientific equipment nes หมวด 89 Misc manufctrd goods nes

เมื่อพิจารณาสัดส่วนการส่งออก พบว่า หมวดสินค้าที่มีสัดส่วนการส่งออกที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกรวมของไทย ได้แก่ 33 Petroleum, 23 Crude rubbers, 57 Plastic in primary form และ 51 Organic chemicals

3. กลุ่มสินค้าไทยที่เคยมีความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบและเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ลดลง อย่าง

ต่อเนื่องตลอดช่วงปีพ .ศ. 2548-2552 จนสูญเสียความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบ (RCA > 1 และมีค่าลดลงจนกระทั่ง RCA < 1) มี 4 หมวดสินค้า (ตารางที่ 3)

หมวด 34 Gas, natural, manufactured หมวด 41 Animal oils and fats หมวด 67 Iron and steel หมวด 79 Other transport equipment

เมื่อพิจารณาสัดส่วนการส่งออกสินค้า พบว่าหมวด 67 Iron and Steel และ79 Other transport equipment สินค้าแต่ละกลุ่ม มีสัดส่วนการส่งออกประม าณร้อยละ 2 ของการส่งออกรวมของไทยไปยังอาเซียน ขณะที่หมวด 34 Gas, natural, manufactured และ หมวด 41 Animal oils and fats มีสัดส่วนการส่งออกที่ค่อนข้างต่ ามาก

4. กลุ่มสินค้าไทยเคยสูญเสียความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ แตม่ีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงปีพ.ศ. 2548-2552 จนกลายเป็นมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (RCA < 1 และมีค่าเพิ่มขึ้นจน RCA > 1) มี 12 หมวดสินค้า มีดังนี ้ หมวด 00 Live animals หมวด 05 Vegetables and fruit หมวด 21 Hides, skins, furskin raw ides หมวด 27 Crude fertilizer, mineral

หมวด 52 Inorganic chemical หมวด 53 Dyes, colouring materials หมวด 63 Cork, wood manufactures หมวด 65 Textile yarn, fabric, etc.

Page 10: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

10

หมวด 72 Special.indust.machinery หมวด 77 Electrical machinery appar,

parts, nes หมวด 81 Prefab buildgs, ftt etc.

หมวด 82 Furniture, bedding, etc.

เมื่อพิจารณาสัดส่วนการส่งออกพบว่า สินค้าส่วนใหญ่ คือ 9 หมวดมีสัดส่วนการส่งออกที่ต่ าในการส่งออกรวมของไทย ยกเว้นสินค้าหมวด 77 Electrical machinery appar, parts, nes ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกมากที่สุดของสินค้าในกลุ่มนี้ คิดเป็นร้อยละ 10.75 รองลงมาเป็นสินค้าหมวด 65 Textile yarn, fabric และหมวด 72 Special.indust.machinery ที่มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 2.28 และ 1.4 ของการส่งออกไทย ตามล าดับ

หากตระหนักถึงความส าคัญของค่าดัชนี RCA ที่ค านวณได้ พบว่า 1. กลุ่มสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ มากกว่าสินค้าจากอินโดนีเซียสูงสุด 5

อันดับแรก ได้แก่ Meat, meat preparations (01), Beverages (11), Sugar, sugr.preptns, honey(06), Cereal, cereal preprtns. และ Hides, skins, furskin raw ides (21) ทั้งนี้ อาจสรุปได้ว่า สินค้าเหล่านั้นถือเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการแข่งขันส าหรับส่งออกไปยังตลาดอาเซียน และมีสอดคล้องกับมูลค่าการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าประเภท Sugar, sugr.preptns, honey (06) และ Cereal, cereal preprtns. เป็นสินค้าหลักอันดับที่ 7 และ 9 ที่ส่งออกไปยังตลาดอาเซียน

2. กลุ่มสินค้าที่ไทยไม่มีความได้เปรียบเมื่อเที ยบกับสินค้าจากอินโดนีเซีย 5 อันดับแรก ได้แก่ Coal, coke, briquettes (32), Gas, natural, manufactured (34), Fixed veg. fats and oils (42), Tobacco, tobacco manufact (12), Coffee, tea, cocoa, spices (07) และ Non-ferrous metals (68) เนื่องจากไทยเป็นผู้น าเข้าสินค้าประเภทนี้เป็นจ านวนมาก ขณะที่อินโดนีเซียเป็นผู้ส่งออกหลักในสินค้าดังกล่าว โดยเฉพาะ Coal, coke, briquettes (32), Gas, natural, manufactured (34) และ Fixed veg. fats and oils (42)

3. กลุ่มสินค้าไทยที่มีศักยภาพในการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ Meat, meat preparations (01), Beverages (11), Hides, skins, furskin raw ides (21), Sugar, sugr.preptns, honey (06) และ Cereal, cereal preprtns. (04)

ส าหรับผลการค านวณค่าดัชนีความได้เปรียบในรูปแบบของ RTA, RXA และ RC พบว่า ค่าที่

ค านวณได้ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับค่าดัชนี RCA ที่ค านวณได้ในตอนแรก (ซึ่งแสดงในตารางที่ 6)

Page 11: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

11

3.2 การทดสอบ Stability of RCA จากค่าสถิติดังกล่าวทั้งค่าเฉลี่ยและสัมประสิทธ์ความแปรผันของดัชนี RCA แสดงให้เห็นว่า ค่า

ดัชนี RCA นั้น ค่อนข้างมีเสถียรภาพในช่วงปี 2548-2552 วิธีหนึ่งที่น ามาประยุ กต์ใช้เพื่อทดสอบความมีเสถียรภาพของดัชนี RCA ก็คือ การสังเกตการ

เปลี่ยนแปลงของดัชนี RCA ตามวิธีที่ใช้ในงานศึกษาของ Ferto and Hubbard, 2003 โดยพิจารณาถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์แสดงถึงความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Reveal Comparative

Advantage: RCA) ณ ปีที่ t ขณะที่แสด งให้เห็นความเสียเปรียบโดยเปรียบเทียบ (Revealed Comparative Disadvantage: RCD) ในปี t+1 หรือในทางตรงกันข้าม ซึ่งการสังเกตโดยเปรียบเทียบดังกล่าว สามารถใช้เป็นตัวช้ีวัดความมีเสถียรภาพของดัชนี RCA อย่างง่ายได้

ตารางที่ 1 : Stability of Reveal Comparative Advantage 2548RCA and 2552RCD 2548RCD and 2552RCA 2548 2552 2005 2009 RCA index 3.11 2.11 12.88 17.51

จากตารางที่ 1 กลุ่มผลิตภัณฑ์ของไทยที่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (RCA) เมื่อเทียบกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ของอินโดนีเซียในปี 2548 แต่กลับสูญเสียความได้เปรียบ (RCD) ดังกล่าวไปในปี 2552 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.11 และ 2.11 ของมูลค่าส่งออกทั้งสิ้นในปี 2548 และ 2552 ตามล าดับ นอกจากนั้น กลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรง กันข้าม นั่นคือ กลุ่มที่สูญเสียความได้เปรียบในปี 2548 แต่กลับมามีความได้เปรียบในปี 2552 คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 12.88 และ 17.51 ในปี 2548 และ 2552 ตามล าดับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ว่ารูปแบบความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏของไทย ที่เทียบกับอินโดนีเซีย ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยส าคัญชัดเจนเท่าใดนัก ตารางที่ 2 : The Distribution of the Balassa Index, RCA 2548 2549 2550 2551 2552 Mean 1.76 3.06 2.61 3.67 2.87 Maximum 12.53 56.24 35.32 92.77 50.68 Percent of RCA

<1 44 42 42 42 32 <2 76 74 74 73 71 <3 85 84 87 87 85 <4 90 92 89 92 90

Page 12: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

12

นอกจากนั้น ได้ท าการทดสอบความมีเสถียรภาพตามงานศึกษาของ Hinloopen และ Van Marrewijk (2003); Utkulu และ Seymen (2004) โดยใช้วิธีทดสอบการเปลี่ยนแปลงในการกระจายของ RCA Index ในช่วงปี 2548-2552 ซึ่งผลการค านวณในตาราง ที่ 2 พบว่า การกระจายมีแนวโน้มที่จะเลื่อนไปทางขวา ซึงเป็นผลมาจากการลดลงของสัดส่วนดัชนีที่มีมูลค่าต่ ากว่า 1 โดยค่าเฉลี่ยของ RCA ดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 1.76 ไปเป็น 2.87 (หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 63) และค่าสูงสุดของ RCA เพิ่มขึ้นจาก 12.53 ไปเป็น 50.68 ประกอบกับสัดส่วนของ RCD ที่แสดงถึงที่แสดงการไม่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ RCD (RCA<1) มีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 44 ในปี 2548 เหลืองเพียงร้อยละ 32 ผลการค านวณดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในปี 2552 สินค้าที่ผลิตในไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสินค้าที่ผลิตจากอินโดนีเซีย ซึ่งสอดคล้องกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทยไปยังตลาดอาเซียนในปี 2005 ที่เพิ่มขึ้นจาก 23,968 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปเป็น 32,524 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2552

4. สรุปผลการ ึกษาและข้อเสนอแนะ 4.1 สรุปผลการศึกษา บทความนี้ได้น าเสนอถึงการวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันของสินค้าที่ผลิต

จากประเทศไทยและอินโดนีเซียที่ส่งออกไปยังตลาดอาเซียนในช่วงปี พ .ศ. 2548-2552 โดยใช้ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบที่ปรากฏ (Revealed Comparative Advantage index: RCA) ผลการศึกษา พบว่า ในปี 2552 สินค้าที่ผลิตในประเทศไทยส่วนใหญ่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบมากกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศอินโดนีเซีย โดยคิดเป็นจ านวนสินค้า 42 รายการจากทั้งหมด 62 รายการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าในกลุ่มอาหารและสัตว์มีชีวิต, กลุ่มวัตถุดิบที่กินไม่ได้ ยกเว้นเชื้อเพลิง, วัตถุเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง, เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง และกลุ่มสินค้าการผลิตอื่นๆ (SITC code 8) ส าหรับสินค้าที่มีค่า RCA สูงที่สุด คือ สินค้าจ าพวก Meat, meat preparations และ Beverages ขณะเดียวกันสินค้าทั้งสองดังกล่าวก็มีความได้เปรียบเพิ่มมากขึ้นสูงที่สุดอีกด้วยในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ได้มีการทดสอบความมีเสถียรภาพของค่าดัชนี RCA ดังกล่าวที่ค านวณได้ แม้ว่าผลของทดสอบการเปลี่ยนแปลงในการกระจายค่าดัชนี พบว่า การกระจายมีแนวโน้มเลื่อนไปทางขวา แสดงถึงว่าสินค้าไทยน่าจะมีความได้เปรียบเพิ่มมากขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนี RCA นั้นไม่ได้มีรูปแบบอย่างมีนัยส าคัญชัดเจนเท่าใดนัก

4.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แม้ว่าสินค้าที่ผลิตจากไทยส่วนใหญ่จะมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบมากกว่าสินค้าจาก

อินโดนีเซีย แต่สินค้าไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นจากสินค้าของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะสินค้าราคาถูกจากจีนและเวียดนาม อันเป็นผลสืบเนื่องจากการเปิดเสรีการค้าภายใต้กรอบเจรจาต่างๆ โดยเฉพาะเขตการค้าเสรี AFTA รวมไปถึง ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับ ระเบียบทางการค้า กระบวนการศุลกากร ที่มีความล่าช้า และค่าจ้างแรงงานของไทยที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลให้

Page 13: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

13

ความสามารถการแข่งขันในอนาคตของสินค้าไทยลดลงได้ หากประเทศไทยต้องการเพิ่มความสามารถในการส่งออกให้สูงขึ้น จึงควรมีการปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ดังนี้

1. ส าหรับกลุ่มสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ เช่น กลุ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง, อาหารและสิ่งมีชีวิต และเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ควรมีการตรวจสอบควบคุมสินค้าให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานสากล รวมไปถึงหาวิธีการลดต้นทุนในการผลิต เพื่อรักษาความได้เปรียบนั้นไว้ นอกจากนั้นแล้วรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศทั้งในและนอกกลุ่มอาเซียนให้เข้ามาลงทุนท าการผลิตสินค้าเหล่านี้ในประเทศไทยเพื่อใช้ความได้เปรียบเหล่านี้ในการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน

2. ส าหรับกลุ่มสินค้าที่ไทยไม่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ อย่างเช่น กลุ่มพลังงานเชื้อเพลิง โดยเฉพาะ ก๊าซและทรัพยากรธรรมชาตินั้ น ซึ่งประเทศไทยได้มีการน าเข้ามาคิดเป็นจ านวนมาก ฉะนั้น ควรมีการการปรับปรุง คิดค้น และเสาะแสวงหาพลังงานอื่นทดแทน รวมไปถึงการรณรงค์ให้ประหยัดหรือ ลดปริมาณการใช้ ลงด้วย และในทางตรงกันข้ามรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้นักลงทุนไทยออกไปลงทุนขยายกิจกา รของตนในประเทศอินโดนีเซียเพื่อขยายก าลังการผลิต และใช้ความได้เปรียบของประเทศอินโดนีเซียในการผลิตเพื่อส่งออกกลับมายังประเทศไทยด้วยต้นทุนที่ต่ ากว่า และใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียน

3. จัดตั้งหน่วยงานและสถาบันที่เกี่ยวข้องในการท าหน้าที่ดูแลผลิ ตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการส่งออกให้มีคุณภาพมาตรฐานที่ดี รวมไปถึงการสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาสินค้า (R&D) มากยิ่งขึ้น และการท าตลาดให้สินค้าไทยเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

Page 14: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

14

าคผนวก (Appendix) ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบที่ปรากฎ (RCA) ของสินคา้ไทยและสินค้า

อินโดนีเซีย รายกลุ่มสินค้า ในปี พ.ศ. 2548 และ 2552

Code Name RCATHAI RCA INDO

2548 2552 2548 2552

0 Food and live animals 2.08 2.01 1.55 1.44

00 Live animals 0.17 1.50 1.93 1.53

01 Meat, meat preparations 1.84 3.28 0.15 0.04

02 Dairy products, bird eggs 2.06 1.30 0.63 0.46

03 Fish, crustaceans, mollusc 1.53 1.05 2.00 2.33

04 Cereal, cereal preprtns. 2.02 2.40 0.47 0.28

05 Vegetables and fruit 1.57 1.44 1.94 1.46

06 Sugar, sugr.preptns, honey 4.60 4.40 0.48 0.45

07 Coffee, tea, cocoa, spices 0.24 0.27 5.41 4.81

08 Animal feed stuff 3.22 2.49 0.78 0.82

09 Misc. edible products etc 2.23 1.73 0.85 1.13

1 Beverages and tobacco 0.70 0.83 1.43 1.35

11 Beverages 1.31 1.21 0.15 0.10

12 Tobacco, tobacco manufact 0.15 0.23 2.48 2.98

2 Crude materials, inedible,, except fuels 2.50 2.43 2.66 2.01

21 Hides, skins, furskin raw ides 0.08 0.36 0.22 0.01

22 Oil seed, oleaginus fruit 0.20 0.37 3.92 1.17

23 Crude rubber 4.76 3.95 1.60 1.87

24 Cork and wood 0.68 0.77 0.66 0.75

25 Pulp and waste paper 0.73 0.80 2.57 1.42

26 Textile fibres 3.76 3.03 0.93 0.95

27 Crude fertilizer, mineral 2.07 1.03 2.19 1.26

28 Metalliferous ore, scrap 0.30 0.87 6.29 3.54

29 Crude animal, veg.materl. 1.06 0.88 2.08 2.75

3 Mineral fuels, lubricants and related materials 0.73 0.65 0.72 0.87

32 Coal, coke, briquettes 0.02 0.06 9.20 7.92

Page 15: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

15

Code Name RCATHAI RCA INDO

2548 2552 2548 2552 33 Petroleum, petrol.product 0.70 0.65 0.51 0.62

34 Gas, natural, manufactured 1.56 0.08 0.52 0.45

4 Animal and vegetable oils, fats and waxes 0.58 0.51 4.33 4.72

41 Animal oils and fats 1.05 0.70 0.73 1.11

42 Fixed veg. fats and oils 0.43 0.41 4.82 5.04

43 Animal, veg.fats, oils, nes 1.32 1.05 1.26 0.99

5 Chemicals and related products, n.e.s. 1.33 1.33 0.89 0.81

51 Organic chemicals 1.16 0.94 0.74 0.89

52 Inorganic chemical 0.90 1.04 2.48 1.57

53 Dyes, colouring materials 0.70 0.73 0.85 0.75

54 Medicinal, pharm.products 1.23 1.11 0.75 0.73

55 Essentl.oils, perfume, etc 1.83 2.34 1.32 0.81

56 Fertilizer, except grp272 0.98 0.70 2.07 0.73

57 Plastics in primary form 1.57 1.34 0.47 0.50

58 Plastic, non-primary form 1.44 1.48 1.40 1.02

59 Chemical materials nes 1.07 1.10 0.89 0.77

6 Manufactured goods classified chiefly by material 1.31 1.18 2.31 2.02

61 Leather, leather goods 3.57 2.93 1.35 1.27

62 Rubber manufactures, nes 2.60 2.79 1.37 0.98

63 Cork, wood manufactures 1.20 2.01 2.06 1.26

64 Paper, paperboard, etc. 1.25 1.22 3.33 2.92

65 Textile yarn, fabric, etc. 1.72 1.65 2.49 1.67

66 Non-metal.mineral manfct 1.99 2.10 1.40 0.87

67 Iron and steel 1.14 0.79 0.97 1.06

68 Non-ferrous metals 0.49 0.31 4.82 4.21

69 Metal manufactures, nes 1.16 1.29 0.75 0.74

7 Machinery and transport equipment 0.89 1.03 0.75 0.66

71 Power generating. machines 1.92 1.55 1.08 0.84

72 Special.indust.machinery 0.40 0.57 0.57 0.48

73 Metalworking machinery 0.37 0.60 0.21 0.37

74 General industl.mach.nes 1.06 1.31 0.92 0.67

Page 16: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

16

Code Name RCATHAI RCA INDO

2548 2552 2548 2552 75 Office machines, adp mach 0.93 0.64 0.82 0.51

76 Telecomm.sound equip etc. 0.37 0.54 0.83 0.68

77 Electrical machinery appar, parts, nes 0.52 0.64 0.56 0.43

78 Road vehicles 3.10 3.11 1.30 1.17

79 Other transport equipment 2.64 1.71 0.96 2.15

8 Miscellaneous manufactured articles 0.70 0.75 0.68 0.59

81 Prefab buildgs, ftt etc. 1.60 1.46 1.72 0.40

82 Furniture, bedding, etc. 1.31 1.29 1.48 1.04

83 Travel goods, handbags etc 0.56 0.29 0.38 0.18

84 Clothing and accessories 0.99 0.67 1.95 1.33

85 Footwear 0.83 0.63 2.70 1.71

87 Scientific equipment nes 0.50 0.62 0.13 0.22

88 Photo.apparat.nes; clocks 0.20 0.23 0.33 0.55

89 Misc manufctrd goods nes 0.78 0.85 0.58 0.51

9 Articles not classified elsewhere in the SITC 1.07 0.11 0.52 0.37

ตารางที่ 4 แสดงค่าดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (RCA) ของสินค้าที่ผลิตใน

ไทยเทียบกับสินค้าที่ผลิตในอินโดนีเซีย รายกลุ่มสินค้า ระหว่างปี พ.ศ. 2548-2552 Code Name 2548 2549 2550 2551 2552 0 Food and live animals 1.34 1.21 1.33 1.39 1.40

00 Live animals 0.09 0.13 0.10 0.98 1.96

01 Meat, meat preparations 12.53 31.02 35.32 92.77 50.68

02 Dairy products, bird eggs 3.27 3.46 4.07 2.84 3.12

03 Fish, crustaceans, mollusc 0.76 0.70 0.63 0.45 0.60

04 Cereal, cereal preprtns. 4.26 5.78 7.25 8.69 6.35

05 Vegetables and fruit 0.81 0.87 0.84 0.99 1.31

06 Sugar, sugr.preptns, honey 9.67 6.03 13.08 9.78 12.13

07 Coffee, tea, cocoa, spices 0.04 0.04 0.04 0.06 0.10

08 Animal feed stuff 4.15 3.24 1.90 3.03 2.95

09 Misc. edible products etc 2.62 2.12 1.61 1.53 1.83

Page 17: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

17

Code Name 2548 2549 2550 2551 2552 1 Beverages and tobacco 0.49 0.58 0.55 0.62 0.68

11 Beverages 8.47 18.14 16.32 12.02 21.29

12 Tobacco, tobacco manufact 0.06 0.06 0.08 0.08 0.06

2 Crude materials, inedible,, except fuels 0.94 1.36 1.09 1.20 1.29

21 Hides, skins, furskin raw ides 0.39 56.24 15.21 29.91 5.71

22 Oil seed, oleaginus fruit 0.05 0.74 0.33 0.32 0.28

23 Crude rubber 2.98 2.27 2.05 2.11 2.75

24 Cork and wood 1.03 1.75 2.09 1.02 1.18

25 Pulp and waste paper 0.28 0.41 0.57 0.56 0.34

26 Textile fibres 4.04 3.40 2.94 3.20 5.26

27 Crude fertilizer, mineral 0.95 0.94 0.97 0.82 2.32

28 Metalliferous ore, scrap 0.05 0.14 0.25 0.24 0.13

29 Crude animal, veg.materl. 0.51 0.48 0.47 0.32 0.51

3 Mineral fuels, lubricants and related materials 1.01 0.83 0.68 0.74 0.53

32 Coal, coke, briquettes 0.00 0.00 0.00 0.01 0.00

33 Petroleum, petrol.product 1.37 1.03 0.88 1.04 1.08

34 Gas, natural, manufactured 2.97 3.28 2.82 0.18 0.01

4 Animal and vegetable oils, fats and waxes 0.13 0.10 0.11 0.11 0.07

41 Animal oils and fats 1.44 1.18 4.80 0.63 0.79

42 Fixed veg. fats and oils 0.09 0.07 0.10 0.08 0.03

43 Animal, veg.fats, oils, nes 1.05 0.56 0.44 1.06 1.51

5 Chemicals and related products, n.e.s. 1.48 1.59 1.13 1.63 1.60

51 Organic chemicals 1.57 1.20 0.57 1.07 1.21

52 Inorganic chemical 0.36 0.59 0.76 0.67 1.10

53 Dyes, colouring materials 0.82 0.89 0.93 0.96 1.27

54 Medicinal, pharm.products 1.64 1.60 1.46 1.51 1.50

55 Essentl.oils, perfume, etc 1.39 1.56 1.46 2.88 1.93

56 Fertilizer, except grp272 0.47 2.63 0.26 0.97 0.38

57 Plastics in primary form 3.35 3.46 3.06 2.71 2.79

58 Plastic, non-primary form 1.02 1.16 1.43 1.46 1.66

59 Chemical materials nes 1.21 1.87 1.75 1.43 1.71

6 Manufactured goods classified chiefly by material 0.57 0.58 0.66 0.59 0.77

Page 18: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

18

Code Name 2548 2549 2550 2551 2552 61 Leather, leather goods 2.65 1.38 1.37 2.30 2.56

62 Rubber manufactures, nes 1.90 2.34 2.40 2.85 3.15

63 Cork, wood manufactures 0.59 0.85 1.43 1.59 2.41

64 Paper, paperboard, etc. 0.38 0.40 0.39 0.42 0.49

65 Textile yarn, fabric, etc. 0.69 0.78 0.84 0.99 1.37

66 Non-metal.mineral manfct 1.42 1.75 2.18 2.42 2.89

67 Iron and steel 1.18 0.67 1.28 0.74 0.99

68 Non-ferrous metals 0.10 0.13 0.13 0.07 0.10

69 Metal manufactures, nes 1.55 1.71 1.51 1.75 1.91

7 Machinery and transport equipment 1.19 1.34 1.62 1.55 1.65

71 Power generating. machines 1.77 1.46 1.80 1.84 2.31

72 Special.indust.machinery 0.70 0.67 0.99 1.20 1.10

73 Metalworking machinery 1.74 1.75 2.00 1.64 1.54

74 General industl.mach.nes 1.15 1.16 2.83 1.96 1.87

75 Office machines, adp mach 1.14 1.73 1.23 1.25 1.56

76 Telecomm.sound equip etc. 0.45 0.37 0.47 0.80 0.72

77 Electrical machinery appar, parts, nes 0.92 1.33 1.56 1.48 1.68

78 Road vehicles 2.39 2.30 2.82 2.66 3.29

79 Other transport equipment 2.75 1.27 1.56 0.80 0.54

8 Miscellaneous manufactured articles 1.04 0.99 0.94 1.27 1.15

81 Prefab buildgs, ftt etc. 0.93 2.83 1.60 3.69 1.43

82 Furniture, bedding, etc. 0.88 0.88 1.17 1.25 1.13

83 Travel goods, handbags etc 1.48 1.25 1.52 1.59 1.41

84 Clothing and accessories 0.51 0.52 0.46 0.51 0.54

85 Footwear 0.31 0.27 0.33 0.37 0.56

87 Scientific equipment nes 3.82 1.11 1.55 2.90 2.52

88 Photo.apparat.nes; clocks 0.60 0.53 0.42 0.42 0.64

89 Misc manufctrd goods nes 1.34 1.48 1.17 1.65 1.29

9 Articles not classified elsewhere in the SITC 2.07 0.75 0.39 0.30 0.05

Page 19: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

19

ตารางที่ 5 แสดงการเปรียบเทียบค่าดัชนีความได้เปรียบตามวิธี RCA, RTA, ln RXA และ RC ของไทยเทียบกับอินโดนีเซีย รายกลุ่มสินค้า ในปี พ.ศ. 2548 และ 2552

Code Name RCA > 1 2548

RCA > 1 2552

RTA > 0 2548

RTA > 0 2552

ln RXA > 0 2548

ln RXA > 0 2552

RC > 0 2548

RC > 0 2552

0 Food and live animals 1.34 1.40 0.69 0.35 0.29 0.34 0.73 0.29

00 Live animals 0.09 1.96 -61.81 -17.96 -2.44 0.67 -6.57 -2.32

01 Meat, meat preparations 12.53 50.68 12.48 50.58 2.53 3.93 5.56 6.25

02 Dairy products, bird eggs 3.27 3.12 3.22 3.06 1.18 1.14 4.32 3.97

03 Fish, crustaceans, mollusc 0.76 0.60 -19.40 -8.01 -0.27 -0.50 -3.27 -2.66

04 Cereal, cereal preprtns. 4.26 6.35 3.75 5.61 1.45 1.85 2.13 2.14

05 Vegetables and fruit 0.81 1.31 0.52 0.83 -0.21 0.27 1.02 1.00

06 Sugar, sugr.preptns, honey 9.67 12.13 9.65 12.01 2.27 2.50 5.96 4.60

07 Coffee, tea, cocoa, spices 0.04 0.10 -1.50 -1.89 -3.11 -2.29 -3.54 -2.98

08 Animal feed stuff 4.15 2.95 3.95 2.61 1.42 1.08 3.00 2.16

09 Misc. edible products etc 2.62 1.83 0.69 -0.46 0.96 0.61 0.31 -0.22

1 Beverages and tobacco 0.49 0.68 -0.97 -0.17 -0.71 -0.39 -1.09 -0.22

11 Beverages 8.47 21.29 7.50 20.75 2.14 3.06 2.16 3.67

12 Tobacco, tobacco manufact 0.06 0.06 -1.72 -0.95 -2.78 -2.80 -3.36 -2.81

2 Crude materials, inedible,, except fuels 0.94 1.29 -1.04 0.14 -0.06 0.25 -0.74 0.12

21 Hides, skins, furskin raw ides 0.39 5.71 -32.50 -5.41 -0.94 1.74 -4.43 -0.67

22 Oil seed, oleaginus fruit 0.05 0.28 -1.95 -0.40 -2.99 -1.27 -3.68 -0.88

23 Crude rubber 2.98 2.75 2.47 2.06 1.09 1.01 1.76 1.38

24 Cork and wood 1.03 1.18 -51.62 -23.16 0.03 0.16 -3.93 -3.03

25 Pulp and waste paper 0.28 0.34 -0.22 -0.04 -1.26 -1.09 -0.57 -0.11

26 Textile fibres 4.04 5.26 3.80 5.08 1.40 1.66 2.83 3.39

27 Crude fertilizer, mineral 0.95 2.32 0.74 2.12 -0.05 0.84 1.54 2.49

28 Metalliferous ore, scrap 0.05 0.13 -1.39 -0.63 -3.04 -2.06 -3.40 -1.78

29 Crude animal, veg.materl. 0.51 0.51 -1.79 -5.75 -0.68 -0.68 -1.51 -2.51

3 Mineral fuels, lubricants and related materials 1.01 0.53 0.52 -0.25 0.01 -0.64 0.73 -0.38

32 Coal, coke, briquettes 0.00 0.00 -32.17 -98.59 -6.24 -6.78 -9.71 -11.37

Page 20: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

20

Code Name RCA > 1 2548

RCA > 1 2552

RTA > 0 2548

RTA > 0 2552

ln RXA > 0 2548

ln RXA > 0 2552

RC > 0 2548

RC > 0 2552

33 Petroleum, petrol.product 1.37 1.08 1.05 0.71 0.32 0.08 1.46 1.07

34 Gas, natural, manufactured 2.97 0.01 -77.21 -51.18 1.09 -5.18 -3.30 -9.12

4 Animal and vegetable oils, fats and waxes 0.13 0.07 -1.46 -1.17 -2.02 -2.71 -2.48 -2.92

41 Animal oils and fats 1.44 0.79 -1.58 -0.81 0.37 -0.23 -0.74 -0.70

42 Fixed veg. fats and oils 0.09 0.03 -0.76 -0.47 -2.41 -3.39 -2.25 -2.71

43 Animal, veg.fats, oils, nes 1.05 1.51 -1.93 -0.26 0.04 0.41 -1.05 -0.16

5 Chemicals and related products 1.48 1.60 0.66 0.79 0.39 0.47 0.59 0.68

51 Organic chemicals 1.57 1.21 0.87 0.47 0.45 0.19 0.80 0.49

52 Inorganic chemical 0.36 1.10 -1.60 -0.02 -1.02 0.10 -1.69 -0.01

53 Dyes, colouring materials 0.82 1.27 -0.09 0.49 -0.20 0.24 -0.10 0.49

54 Medicinal, pharm.products 1.64 1.50 0.57 0.10 0.50 0.41 0.42 0.07

55 Essentl.oils, perfume, etc 1.39 1.93 0.57 0.77 0.33 0.66 0.53 0.50

56 Fertilizer, except grp272 0.47 0.38 -1.75 -1.89 -0.75 -0.98 -1.55 -1.79

57 Plastics in primary form 3.35 2.79 2.56 2.19 1.21 1.03 1.44 1.53

58 Plastic, non-primary form 1.02 1.66 -0.54 0.75 0.02 0.50 -0.42 0.61

59 Chemical materials nes 1.21 1.71 0.50 0.89 0.19 0.54 0.53 0.73

6 Manufactured goods classified by material 0.57 0.77 -1.10 -0.49 -0.57 -0.26 -1.08 -0.49

61 Leather, leather goods 2.65 2.56 -0.08 1.78 0.98 0.94 -0.03 1.19

62 Rubber manufactures, nes 1.90 3.15 1.20 2.46 0.64 1.15 1.00 1.53

63 Cork, wood manufactures 0.59 2.41 -1.02 1.70 -0.53 0.88 -1.01 1.21

64 Paper, paperboard, etc. 0.38 0.49 -1.25 -0.96 -0.98 -0.72 -1.47 -1.09

65 Textile yarn, fabric, etc. 0.69 1.37 -1.71 0.40 -0.37 0.32 -1.24 0.34

66 Non-metal.mineral manfct 1.42 2.89 -0.25 1.87 0.35 1.06 -0.16 1.04

67 Iron and steel 1.18 0.99 0.84 0.70 0.16 -0.01 1.24 1.23

68 Non-ferrous metals 0.10 0.10 -5.53 -5.60 -2.29 -2.26 -4.02 -4.01

69 Metal manufactures, nes 1.55 1.91 -1.08 0.28 0.44 0.64 -0.53 0.16

7 Machinery and transport equipment 1.19 1.65 -0.87 0.64 0.17 0.50 -0.55 0.49

71 Power generating. machines 1.77 2.31 1.03 1.60 0.57 0.84 0.87 1.18

72 Special.indust.machinery 0.70 1.10 0.20 0.76 -0.35 0.09 0.34 1.18

Page 21: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

21

Code Name RCA > 1 2548

RCA > 1 2552

RTA > 0 2548

RTA > 0 2552

ln RXA > 0 2548

ln RXA > 0 2552

RC > 0 2548

RC > 0 2552

73 Metalworking machinery 1.74 1.54 -0.57 -0.08 0.55 0.43 -0.28 -0.05

74 General industl.mach.nes 1.15 1.87 0.31 1.39 0.14 0.63 0.32 1.35

75 Office machines, adp mach 1.14 1.56 -7.94 -1.71 0.13 0.44 -2.07 -0.74

76 Telecomm.sound equip etc. 0.45 0.72 -4.38 -0.22 -0.80 -0.32 -2.38 -0.26

77 Electrical machinery appar, parts, nes 0.92 1.68 -6.24 -0.07 -0.08 0.52 -2.05 -0.04

78 Road vehicles 2.39 3.29 1.88 2.69 0.87 1.19 1.55 1.70

79 Other transport equipment 2.75 0.54 2.28 0.19 1.01 -0.61 1.77 0.44

8 Miscellaneous manufactured articles 1.04 1.15 -3.66 -2.13 0.04 0.14 -1.51 -1.05

81 Prefab buildgs, ftt etc. 0.93 1.43 0.57 1.09 -0.07 0.36 0.94 1.44

82 Furniture, bedding, etc. 0.88 1.13 -0.32 0.42 -0.13 0.12 -0.31 0.47

83 Travel goods, handbags etc 1.48 1.41 0.79 0.99 0.39 0.35 0.76 1.20

84 Clothing and accessories 0.51 0.54 -1.27 -0.73 -0.68 -0.61 -1.25 -0.85

85 Footwear 0.31 0.56 -1.95 -1.25 -1.18 -0.58 -1.99 -1.17

87 Scientific equipment nes 3.82 2.52 0.48 0.31 1.34 0.92 0.13 0.13

88 Photo.apparat.nes; clocks 0.60 0.64 -1.45 -1.31 -0.50 -0.44 -1.22 -1.11

89 Misc manufctrd goods nes 1.34 1.29 -6.95 -3.88 0.29 0.26 -1.82 -1.39

9 Articles not classified elsewhere in the SITC 2.07 0.05 -892.2 -9.12 0.73 -2.92 -6.07 -5.14

ตารางที่ 6 แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์การแปรผันของดัชนี RCA ราย

กลุ่มสินค้า ในช่วงปี พ.ศ. 2548-2552

Code Name Mean RCA S.D.

C.V. (per cent)

0 Food and live animals 1.34 0.08 5.71 00 Live animals 0.65 0.82 125.84 01 Meat, meat preparations 44.46 30.23 67.99 02 Dairy products, bird eggs 3.35 0.46 13.84 03 Fish, crustaceans, mollusc 0.63 0.12 18.71 04 Cereal, cereal preprtns. 6.46 1.65 25.56 05 Vegetables and fruit 0.96 0.20 21.09 06 Sugar, sugr.preptns, honey 10.14 2.73 26.94 07 Coffee, tea, cocoa, spices 0.06 0.03 45.98 08 Animal feed stuff 3.05 0.80 26.34

Page 22: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

22

Code Name Mean RCA S.D.

C.V. (per cent)

09 Misc. edible products etc 1.94 0.44 22.64 1 Beverages and tobacco 0.58 0.07 12.30 11 Beverages 15.25 5.06 33.18 12 Tobacco, tobacco manufact 0.07 0.01 14.63 2 Crude materials, inedible,, except fuels 1.18 0.17 14.21 21 Hides, skins, furskin raw ides 21.49 22.43 104.34 22 Oil seed, oleaginus fruit 0.34 0.25 72.24 23 Crude rubber 2.43 0.41 16.92 24 Cork and wood 1.41 0.48 34.03 25 Pulp and waste paper 0.43 0.13 30.14 26 Textile fibres 3.77 0.93 24.67 27 Crude fertilizer, mineral 1.20 0.63 52.40 28 Metalliferous ore, scrap 0.16 0.08 52.53 29 Crude animal, veg.materl. 0.46 0.08 17.32 3 Mineral fuels, lubricants and related materials 0.76 0.18 23.59 32 Coal, coke, briquettes 0.00 0.00 145.02 33 Petroleum, petrol.product 1.08 0.18 16.80 34 Gas, natural, manufactured 1.85 1.61 87.15 4 Animal and vegetable oils, fats and waxes 0.10 0.02 23.61 41 Animal oils and fats 1.77 1.73 97.62 42 Fixed veg. fats and oils 0.07 0.02 33.25 43 Animal, veg.fats, oils, nes 0.92 0.43 46.79 5 Chemicals and related products, n.e.s. 1.49 0.21 14.03 51 Organic chemicals 1.12 0.36 32.20 52 Inorganic chemical 0.69 0.27 38.91 53 Dyes, colouring materials 0.97 0.18 18.04 54 Medicinal, pharm.products 1.54 0.07 4.73 55 Essentl.oils, perfume, etc 1.84 0.62 33.34 56 Fertilizer, except grp272 0.94 0.98 104.21 57 Plastics in primary form 3.07 0.33 10.82 58 Plastic, non-primary form 1.35 0.25 18.74 59 Chemical materials nes 1.59 0.27 16.82 6 Manufactured goods classified chiefly by material 0.63 0.09 13.48 61 Leather, leather goods 2.05 0.63 30.78 62 Rubber manufactures, nes 2.53 0.48 19.13 63 Cork, wood manufactures 1.37 0.71 51.81 64 Paper, paperboard, etc. 0.41 0.04 10.59 65 Textile yarn, fabric, etc. 0.94 0.27 28.68 66 Non-metal.mineral manfct 2.13 0.57 26.87 67 Iron and steel 0.97 0.27 27.37 68 Non-ferrous metals 0.11 0.02 21.93 69 Metal manufactures, nes 1.68 0.16 9.44

Page 23: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

23

Code Name Mean RCA S.D.

C.V. (per cent)

7 Machinery and transport equipment 1.47 0.20 13.65 71 Power generating. machines 1.84 0.30 16.51 72 Special.indust.machinery 0.93 0.23 25.16 73 Metalworking machinery 1.74 0.17 9.74 74 General industl.mach.nes 1.80 0.69 38.63 75 Office machines, adp mach 1.38 0.25 18.05 76 Telecomm.sound equip etc. 0.56 0.19 33.35 77 Electrical machinery appar, parts, nes 1.39 0.29 21.09 78 Road vehicles 2.69 0.39 14.62 79 Other transport equipment 1.38 0.86 62.31 8 Miscellaneous manufactured articles 1.08 0.13 12.24 81 Prefab buildgs, ftt etc. 2.10 1.13 54.02 82 Furniture, bedding, etc. 1.06 0.17 16.13 83 Travel goods, handbags etc 1.45 0.13 8.91 84 Clothing and accessories 0.51 0.03 5.88 85 Footwear 0.37 0.11 30.77 87 Scientific equipment nes 2.38 1.08 45.48 88 Photo.apparat.nes; clocks 0.52 0.10 19.52 89 Misc manufctrd goods nes 1.39 0.19 13.38 9 Articles not classified elsewhere in the SITC 0.71 0.80 111.89

Page 24: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

24

เอกสารอ้างอิง ASEAN Secretariat. (2008). ASEAN Economic Integration Blueprint. Retrieved June 30, 2010,

from http://www.aseansec.org/5187-10.pdf. ASEAN Secretariat. (2009). About ASEAN: Overview. Retrieved June 30, 2010, from

http://www.aseansec.org/about_ASEAN.html ASEAN Secretariat. (2010a). ASEAN Investment Report 2009. Retrieved June 30, 2010, from

http://www.aseansec.org. ASEAN Secretariat. (2010b). ASEAN Trade in Services. Retrieved June 30, 2010, from

http://www.aseansec.org/23986.htm Asian Development Bank. (2010). ADB's Partnership with IMT-GT. Retrieved June 30, 2010,

from http://www.adb.org/IMT-GT/partnership.asp Bank of Thailand (2010), EC_XT_003 Trade Classified by Country (US$). Retrieved June 30,

2010, from http://www2.bot.or.th/statistics/ Balassa, B. (1965). Trade Liberalisation and Revealed Comparative Advantage. The Manchester

School, 33, 99-123. Department of International Economic Affairs. (2007). Indonesia – Malaysia – Thailand Growth Triangle: IMT – GT. Retrieved June 30, 2010, from www.mfa.go.th/business/1687.php Ferto, I. and Hubbard, L. J. (2003). Revealed Comparative Advantages and Competitiveness in

Hungarian Agri-Food Sectors. European Trade Study Group 6th Annual Conference. Nottingham, England, September, 2004.

International Trade Center. (2010). Trade Map: Trade Statistics for International Business Development. Retrieved July 7, 2010, from http:// www.trademap.org

Ministry of Foreign Affairs. (2010a). 15th ASEAN Summit: Data on Member Countries. Retrieved July 2 , 2010, from http://www.mfa.go.th/web/2670.php?id=21414

Ministry of Foreign Affairs. (2010b). Republic of Indonesia. Retrieved 30 June 2010, from http://www.mfa.go.th/web/848.php?id=126

Office of Industrial Economics. (2008). News Conclusion on 8 February 2008. Retrieved July 8, 2010, from http://www.oie.go.th/newspaper/08022551.doc

Setthasiriphaiboon, Piyarat, (2009). Thailand, Indonesia to sign fishery, food, auto pact by 1st half. Retrieved July 2, 2010, from http://www.bilaterals.org/spip.php?article14528

Srisangnam, P. and Sermcheep, S. (2010). Thailand’s Business Opportunities from ASEAN Free Trade Agreement. Chapter 4: Indonesia, Kasikorn Research Center, Bangkok.

Page 25: Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhDs3.amazonaws.com/zanran_storage/...Popkarn Arwatchanakarn and Piti Srisangnam, PhD ค ย อ ประเทศไทยและอ

25

Utkulu, U. and Seymen, D. (2004). Revealed Comparative Advantage and Competitiveness: Evidence for Turkey vis-à-vis the EU/15. Retrieved July 13 , 2010, from http://www.etsg.org/ETSG2004/Papers/seymen.pdf.

Vildan Serin and Abdulkadir Civan. (2008). Revealed Comparative Advantage and Competitiveness: A case study for Turkey toward the EU. Journal of Economics and Socila Research 10(2), 25-44.

Yuliana N. (2008). Overview of Indonesia – Thailand Economic Relations ธีรภาพ วรรณรัตน์ . (2551). การวิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบการส่งออกสิ่งทอและ

เครื่องนุ่งห่มของไทยไปตลาดสหรัฐอเมริกา . รายงานการค้นคว้าแบบอิสระระดับมหาบัณฑิต , คณะเศรษฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นงนุช พันธกจิไพบูลย์ และวรญา ตันติอมรพงษ.์ (2552). อุปสงค์กล้วยไม้ไทย และความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของการส่งออกกล้วยไม้ไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น. ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2553, จากhttp://department.utcc.ac.th/research/component/content/article/158-proceeding-2009-thai/1677--qq-academic-week-.html

สถาบันการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย . (2543). โครงการจัดท ารูปแบบของการศึกษาผลกระทบภาคอุตสาหกรรมอันเนื่องมาจากการเปิดเสรีแบบทวิภาคี . ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2553, จาก http://www.tdri.or.th/reports/unpublished/fta/chap-2.3%20_trade_.pdf

อิฐรัตน์ ตาปวน. (2551). การวิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบการส่งออกรองเท้าและผลิตภัณฑ์เครื่องหนังของไทยไปตลาดสหรัฐอเมริกา. รายงานการค้นคว้าแบบอิสระระดับมหาบัณฑิต , คณะเศรษฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.