Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - 2

3
การใช้ DMAIC เพื่อปรับปรุงความเร็ว คุณภาพ และต้นทุน 11 ภาพรวม DMAIC (ออกเสียงว่า “เดอ-เม-อิก”) เป็นระเบียบวิธีการแก้ปัญหาที่มีแบบ แผนและใช้กันอย่างแพร่หลายในธุรกิจ ตัวอักษรแต่ละตัวเป็นตัวย่อแทน 5 ขั้นของ การปรับปรุงด้วย Six Sigma คือ Define-Measure-Analyze-Improve-Control (กำหนด นิยาม-วัดผล-วิเคราะห์-ปรับปรุง-ควบคุม) ขั้นต่างๆ เหล่านี้จะนำทีมงานด้วยหลักเหตุ และผลตั้งแต่การกำหนดนิยามปัญหาไปจนถึงการนำวิธีการแก้ปัญหาซึ่งเชื่อมโยงกับ สาเหตุที่อยู่เบื้องหลังไปใช้ และจัดทำเป็นข้อปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) เพื่อให้แน่ใจ ว่าวิธีการแก้ไขเหล่านั้นจะคงถูกใช้งานต่อไป บทที่ 1 การใช้ DMAIC เพื่อปรับปรุงความเร็ว คุณภาพ และต้นทุน Copyrighted Material of E.I.SQUARE PUBLISHING

Transcript of Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - 2

Page 1: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - 2

การใช้ DMAIC เพื่อปรับปรุงความเร็ว

คุณภาพ และต้นทุน 11

ภาพรวม

DMAIC (ออกเสียงว่า “เดอ-เม-อิก”) เป็นระเบียบวิธีการแก้ปัญหาที่มีแบบ

แผนและใช้กันอย่างแพร่หลายในธุรกิจ ตัวอักษรแต่ละตัวเป็นตัวย่อแทน 5 ขั้นของ

การปรับปรุงด้วย Six Sigma คือ Define-Measure-Analyze-Improve-Control (กำหนด

นิยาม-วัดผล-วิเคราะห์-ปรับปรุง-ควบคุม) ขั้นต่างๆ เหล่านี้จะนำทีมงานด้วยหลักเหตุ

และผลตั้งแต่การกำหนดนิยามปัญหาไปจนถึงการนำวิธีการแก้ปัญหาซึ่งเชื่อมโยงกับ

สาเหตุที่อยู่เบื้องหลังไปใช้ และจัดทำเป็นข้อปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) เพื่อให้แน่ใจ

ว่าวิธีการแก้ไขเหล่านั้นจะคงถูกใช้งานต่อไป

บทที่ 1

การใช้ DMAIC เพื่อปรับปรุงความเร็ว

คุณภาพ และต้นทุน

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING

Page 2: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - 2

12 เครื่องมือ Lean Six Sigma

จะใช้ DMAIC เมื่อใด

โครงสร้างของ DMAIC ส่งเสริมให้คิดอย่างสร้างสรรค์ภายในกรอบ เช่น การ

รักษากระบวนการพื้นฐาน ผลิตภัณฑ์ หรือบริการเอาไว้ ถ้ากระบวนการของคุณย่ำแย่

ขนาดที่ต้องเริ่มต้นใหม่จากศูนย์หรือถ้าคุณกำลังออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ หรือ

กระบวนการใหม่ ให้ใช้ Design for Lean Six Sigma (ออกแบบเพื่อ Lean Six Sigma

หรือ DMEDI) ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้

Cop

yrigh

ted M

ateria

l of E

.I.SQUARE P

UBLISHIN

G

Page 3: Lean Six Sigma Pocket Toolbook THAI Version - 2

การใช้ DMAIC เพื่อปรับปรุงความเร็ว

คุณภาพ และต้นทุน 13

การเลือกโครงการ DMAIC

หนังสือเล่มนี้มีสมมติฐานว่าผู้อ่านส่วนใหญ่จะทำงานในโครงการ DMAIC ที่

ผู้จัดการหรือผู้สนับสนุนเป็นผู้เลือกให้ (ถ้าไม่ได้เป็นเช่นนี้ และคุณมีส่วนในกระบวนการ

เลือกโครงการ ให้ดูสรุปสั้นๆ ที่หน้า 47 ตอนท้ายบทนี้

ทางเลือกในการนำ DMAIC มาใช้งาน

มีทางเลือกหลักอยู่ 2 ทางในการนำ DMAIC มาใช้งาน:

1. แนวทางแบบทีมประจำโครงการ

• Black Belt ถูกมอบหมายให้ทำงานในโครงการแบบเต็มเวลา

• สมาชิกทีมจะทำงานในโครงการแบบบางเวลา คือ งานของโครงการ

ถูกทำสลับกับงานปกติ

• สมาชิกทีมทุกคนมีส่วนร่วมในทุกช่วงของ DMAIC

• ระยะเวลาทั้งหมดอาจใช้เวลาตั้งแต่ 1 ถึง 4 เดือนตามขอบเขตของ

โครงการ (บางโครงการอาจกนิเวลานานกวา่นัน้ แตห่ากระยะเวลาสัน้กวา่

ก็จะดีกว่า เพราะผลประโยชน์ที่ได้รับจะเกิดขึ้นเร็วกว่า)

2. แนวทางแบบไคเซ็น

• เร็วมาก (1 สัปดาห์หรือสั้นกว่านั้น) ดำเนินงานผ่าน DMAIC ทั้งหมด

ยกเว้นการนำมาใช้งานแบบเต็มขั้น

• งานขั้นเตรียมในขั้นกำหนดนิยาม และในบางกรณีก็ขั้นวัดผลด้วย จะทำ

โดยคนกลุ่มย่อย (หัวหน้าทีมกับ Black Belt 1 คน เป็นต้น)

• งานที่เหลือทำโดยทั้งกลุ่มในเวลาไม่กี่วันหรือสัปดาห์หนึ่งที่พวกเขาจะได้

ทำงานกับโครงการนี้เพียงอย่างเดียว (ผู้เข้าร่วมจะถูกดึงออกมาจาก

งานประจำ)

ขั้นตอนพื้นฐานของ DMAIC (หน้า 16-39) ใช้ได้กับทั้ง 2 แนวทางนี้ คำแนะนำ

เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำโครงการไคเซ็น อยู่ในหน้า 39-48

Copyri

ghted

Mate

rial o

f E.I.S

QUARE PUBLIS

HING