gneiss 2 - interview

10
ปิ ดเทอมใหญ่ที่ผ่านมาคุณทำาอะไร? หากคำาตอบของคุณคือ การเรียน พิเศษภาษาอังกฤษ เที่ยวทะเลสวยๆ ฝึกงานบริษัทดังๆ หรือออกภาคสนาม สุดโหด ก็คงจะดูธรรมดาไปเสียแล้ว เพราะรู้ไหมว่ามีกิจกรรมที่น่าสนใจ มากกว่านั้น แถมยังให้คุณเดินทางไกลไปต่างประเทศอีกด้วยโดยที่ไม่ต้องส่ง ฝาชิงโชคใดๆ ทั้งสิ้น เพ็ญประภา วุฒิจักร (เอ้) แพรวผกา ชุมทอง (แพรว) และ มนพร เมษดาคม (พร) สามคู่ซี้นิสิตธรณีฯ ชั้นปีท่ 4 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี เรื่องเล่าน่าสนใจมาฝากชาว gneiss เกี่ยวกับกิจกรรมที่ทั้งสามคนได้ไปทำากันใน ช่วงปิดเทอมใหญ่ กิจกรรมที่ทำาให้ทั้งสามคนต้องเดินทางไปไกลถึงสหรัฐอเมริกา และได้ทำางานในมหาวิทยาลัยชื่อดังระดับโลกอย่าง Standford University “โครงการที่พวกเราได้เข้าร่วมในครั้งนี้คือ โครงการ SURGE หรือ Summer Research in Geosciences and Engineering ซึ่งจัดโดย School of Earth Sciences, Stanford University โดยปกติแล้วโครงการนี้จะเปิดให้เฉพาะ ปิดเทอมใหญ่ หัวใจโกอินเตอร์ gneiss interview

description

ปิดเทอมใหญ่ หัวใจโกอินเตอร์

Transcript of gneiss 2 - interview

Page 1: gneiss 2 - interview

ปดิเทอมใหญ่ที่ผ่านมาคุณทำาอะไร? หากคำาตอบของคุณคือ การเรียน

พิเศษภาษาอังกฤษ เที่ยวทะเลสวยๆ ฝึกงานบริษัทดังๆ หรือออกภาคสนาม

สุดโหด ก็คงจะดูธรรมดาไปเสียแล้ว เพราะรู้ไหมว่ามีกิจกรรมที่น่าสนใจ

มากกว่านั้น แถมยังให้คุณเดินทางไกลไปต่างประเทศอีกด้วยโดยที่ไม่ต้องส่ง

ฝาชิงโชคใดๆ ทั้งสิ้น

เพ็ญประภา วุฒิจักร (เอ้) แพรวผกา ชุมทอง (แพรว) และ มนพร

เมษดาคม (พร) สามคู่ซี้นิสิตธรณีฯ ชั้นปีที่ 4 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี

เรื่องเล่าน่าสนใจมาฝากชาว gneiss เกี่ยวกับกิจกรรมที่ทั้งสามคนได้ไปทำากันใน

ช่วงปิดเทอมใหญ่ กิจกรรมที่ทำาให้ทั้งสามคนต้องเดินทางไปไกลถึงสหรัฐอเมริกา

และได้ทำางานในมหาวิทยาลัยชื่อดังระดับโลกอย่าง Standford University

“โครงการที่พวกเราได้เข้าร่วมในครั้งนี้คือ โครงการ SURGE หรือ Summer

Research in Geosciences and Engineering ซึ่งจัดโดย School of Earth

Sciences, Stanford University โดยปกติแล้วโครงการนี้จะเปิดให้เฉพาะ

ปิดเทอมใหญ่หัวใจโกอินเตอร์

gneiss interview

Page 2: gneiss 2 - interview

นักศึกษาที่เรียนที่ Stanford University เข้าร่วมเท่านั้น แต่ปีนี้เป็นปีแรก

ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาจากทั่วอเมริกาสมัครเข้าร่วมได้” น้้องเอ้เริ่มต้น

ด้วยการเล่าถึงโครงการฝึกวิจัยทางธรณีวิทยาภาคฤดูร้อนให้เราฟังอย่าง

คร่าวๆ ก่อนที่น้องแพรวจะเสริมต่อว่า “ถือเป็นความโชคดีของพวกเราทั้ง

สามคนที่ปีนี้ทางภาควิชา (ธรณีฯ จุฬาฯ) ได้มีความร่วมมือกับทางอาจารย์

ที่ Stanford University และยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัท เชฟรอน

ประเทศไทยสำารวจและผลิต จำากัด จึงทำาให้พวกเรามีโอกาสได้เข้าร่วม

โครงการนี้ โดยในปีนี้โครงการ SURGE จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 มิถุนายน ถึง

13 สิงหาคม พ.ศ. 2554 รวมระยะเวลาประมาณ 2 เดือนค่ะ”

“ผู้เข้าร่วมต้องเป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาธรณีวิทยาและ

วิศวกรรมปิโตรเลียมที่กำาลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3-4 โดยปีนี้มีนักศึกษา

จาก Stanford University 1 คน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำาอื่นๆ

ในสหรัฐอเมริกา 10 คน และนิสิตจากภาควิชาธรณีวิทยา และภาควิชา

วิศวกรรมปิโตรเลียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกภาคละ 3 คน รวมทั้งสิ้น

เป็น 17 คนครับ” น้องพรกล่าวเสริมท้าย

เมื่อถามถึงจุดประสงค์ของโครงการและการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการจาก

ประเทศไทย น้องพรเล่าให้ฟังต่อว่า “โครงการ SURGE มีจุดประสงค์เพื่อให้

นิสิตนักศึกษาในสาขาธรณีวิทยาและวิศวกรรมปิโตรเลียมได้มีโอกาสเข้าไป

เรียนรู้การทำางานวิจัยร่วมกับอาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาเอกของ

Stanford University โดยสาเหตุที่พวกเราได้มีโอกาสเข้าร่วมในโครงการ

นี้เริ่มมาจากการจัดสัมนาของอาจารย์จาก School of Earth Sciences,

Stanford University ที่ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน

ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยหนึ่งในคณะอาจารย์ที่เดินทางมาครั้งนี้คือ

Prof. Jerry Harris ซึ่งเป็นประธานการจัดโครงการ SURGE ทำาให้มีการพูดคุย

กันกับรศ.ดร.วิสุทธิ์ พิสุทธอานนท์ หัวหน้าภาควิชา (ธรณีฯ จุฬาฯ) ในขณะนั้น

เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการร่วมมือทางวิชาการระหว่างสองมหาวิทยาลัย โดย

รวมไปถึงการที่จะส่งนิสิตภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปเข้า

ร่วมโครงการ SURGE ด้วย”

“และผลที่ได้คือทาง Stanford University มีความยินดีที่จะให้นิสิตระดับ

ปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 อย่างพวกเราและนิสิตจากภาควิชาวิศวกรรมปิโตรเลียม

เข้าร่วมโครงการนี้ได้ หลังจากนั้นทางภาควิชาจึงทำาการคัดเลือกนิสิตก่อนใน

ขั้นต้น โดยนิสิตที่สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ได้จะต้องมีเกรดเฉลี่ยสะสม

ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และมีคะแนน CU-TEP ซึ่งเป็นการวัดระดับทางภาษา

อังกฤษของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มากกว่า 500 คะแนน ซึ่งมีนิสิตของภาค

วิชาธรณีวิทยาที่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าว 4 คน จากนั้นทั้ง 4 คนจะต้องส่ง resume

และ transcript พร้อมทั้งสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษกับอาจารย์ในภาควิชา

โดยคำาถามส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับส่ิงที่เราสนใจและงานวิจัยที่เราอยากจะไปทำา

ที่ Stanford University เพื่อดูว่าเรามีความชัดเจนแค่ไหน สนใจในด้านใดเป็น

พิเศษ หลังจากนั้นจะส่งรายชื่อคนที่ผ่านการสัมภาษณ์พร้อมทั้ง statement of

propose, resume, transcript และ recommendation letter จากอาจารย์

ไปให้กรรมการของ SURGE คัดเลือกอีกครั้งนึงค่ะ” น้องเอ้ช่วยเสริมถึงขั้นตอน

การคัดเลือก แต่ขั้นตอนยังไม่สิ้นสุดเพียงเท่านี้

“ระหว่างทำาเรื่องกับทางภาควิชาฯ (ธรณีฯ จุฬาฯ) พวกเราต้องเข้าไปกรอกใบ

สมัครที่เว็บไซต์ของโครงการ SURGE (http://oma.stanford.edu/surge.

html) ซึ่งหลังจากที่ทางภาควิชาได้ส่งรายชื่อให้ทาง Stanford University แล้ว

Leland Stanford Junior Museum : พิพิธภัณฑ์ของผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย

Page 3: gneiss 2 - interview

รออีกประมาณ 1 เดือน ทาง Stanford University ก็ประกาศรายชื่อผู้ที่

มีสิทธิ์ได้เข้าร่วมในโครงการในปีนี้ โดยหลักเกณฑ์ที่สำาคัญนอกเหนือจากการ

พิจารณาคุณสมบัติด้านต่างๆ ของนิสิตนักศึกษาคือ ต้องดูว่าสายวิชาที่เรา

สนใจจะทำาวิจัยนั้น มีอาจารย์สนใจและสามารถให้เราไปร่วมทำางานด้วยได้

หรือไม่ และในด้านค่าใช้จ่ายนั้น ทาง Stanford University จะให้ทุนนิสิต

นักศึกษาทุกคนที่เข้าร่วมโครงการนี้คนละ 7,000 เหรียญสหรัฐ โดยเราจะไม่

ได้รับเป็นเงินสด แต่จะถูกใช้ไปเป็นค่าหอพักและค่าอาหารทั้งสามมื้อ และ

พวกเรายังได้รับการสนันสนุนค่าใช้จ่ายในส่วนของการเดินทาง การทำาวีซ่า

และค่าใช้จ่ายอื่นๆอีก 3,500 เหรียญสหรัฐ จากบริษัท เชฟรอน ประเทศไทย

สำารวจและผลิต จำากัด ยกเว้นของพร ที่ได้จากบริษัท ปตท.สผ. จำากัด

(มหาชน) ค่ะ” น้องแพรวกล่าวเพิ่มเติม

ในขณะทำากิจกรรมน้องๆ แต่ละก็คนก็ได้แยกย้ายกันทำางานตามที่ตนเองได้

เสนอไว้ ซึ่งน้องเอ้ได้เล่าลักษณะการทำางานให้ฟังว่า

“เนื่องจากโครงการนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำางาน

วิจัยในหัวข้อที่ตนเองสนใจร่วมกับอาจารย์และนักศึกษาปริญญาเอกของ

Stanford University ดังนั้นกิจกรรมหลักคือการทำางานวิจัย ซึ่งจะเริ่ม

ตั้งแต่การพูดคุยกับทางอาจารย์ของ Stanford University ถึงสิ่งที่เราเรียน

มาและสิ่งที่เราสนใจ โดยจะคุยกันตั้งแต่ที่มาของหัวข้องานว่าทำาไมถึงควรจะ

ทำาเรื่องนี้ ความน่าสนใจคืออะไร และรายละเอียดเนื้อหาจะลงลึกไม่มากนัก

เพราะระยะเวลาการทำางานแค่สองเดือน โดยงานของแพรวกับเอ้เป็นงาน

เกี่ยวกับด้านธรณีฟิสิกส์ ส่วนของพรจะเป็นด้านธรณีเคมีค่ะ”

“การทำางานครั้งนี้เป็นลักษณะการเรียนรู้สิ่งใหม่ไปพร้อมๆ กับการทำางาน

เนื่องจากไม่เคยเรียนเรื่องนี้มาก่อนทำาให้ต้องทำางานหนักมาก ต้องขวนขวาย

อ่านงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพราะเวลาเพียงสองเดือนไม่เพียงพอที่จะ

เรียนก่อนแล้วค่อยทำางานวิจัย อีกทั้งลักษณะการทำางานของอาจารย์ต่าง

ชาติคือ ท่านจะไม่มาสอนเรา แต่เรามีหน้าที่จะต้องศึกษาด้วยตัวเองก่อน

แล้วเกิดข้อสงสัยจึงไปถามท่าน ซึ่งฝึกให้เราเรียนรู้ที่จะตั้งคำาถามและหาคำา

ตอบด้วยตัวเองก่อน แล้วจึงไปขอความคิดเห็นหรือคำาแนะนำาจากอาจารย์

โดยส่วนตัวคิดว่าการเรียนรู้ที่จะตั้งคำาถามที่ดีเป็นสิ่งที่สำาคัญและสามารถ

ใช้ได้ทั้งในการทำางานวิจัยและการทำางานในอนาคต ที่สำาคัญไม่น้อยกว่า

กันคือความยากของงาน เพราะงานมันยากมันจึงท้าทาย รู้สึกตื่นเต้นที่ได้

เรียนรู้สิ่งใหม่ เหมือนได้เปิดโลกของเราให้กว้างขึ้น และสนุกที่ได้ทำางาน

ที่มันท้าทาย นอกจากนี้การทำางานเป็นแบบไม่มีคนมาคอยบังคับเวลาเข้า

งาน-ออกงาน ก็ทำาให้เราเป็นคนมีความรับผิดชอบมากขึ้น โดยเราจะต้อง

บริหารเวลาของตัวเอง มีการวางแผนว่าแต่ละวันเราจะต้องทำาอะไรบ้าง รู้

ว่าหน้าที่ของเราคืออะไร และเวลาเพียงสองเดือนกับงานวิจัยนั้น ไม่เรียกว่า

เหลือเฝือแต่ออกจะพอดีถึงน้อยไปด้วยซ้ำา แต่การทำางานภายในเวลาที่จำากัด

ก็ทำาให้เรามีแรงกระตุ้นอยู่ในใจตลอดเวลา ทำาให้ได้เรียนรู้การวางแผนและ

การทำางานให้มีประสิทธิภาพและสำาเร็จตามเป้าหมายภายในเวลาที่มี” น้อง

แพรว กล่าวเสริมถึงการทำางานที่บริหารงานด้วยตัวเอง

นอกจากการทำางานวิจัยที่เข้มข้นแล้ว สิ่งที่น่าสนใจของโครงการนี้ก็คือการ

ได้ท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งน้องพรได้พูดถึงการ

ท่องเที่ยวในขณะอยู่ที่สหรัฐอเมริกาให้ฟังอย่างน่าสนใจไว้ว่า “นอกจากการ

ทำางานวิจัยแล้ว พวกเรายังได้เข้าร่วมทริปต่างๆ ที่ทางโครงการจัดให้ ทั้งที่

เป็นทริปวิชาการ เช่น การไปดูงานที่ Los Trancos Open Space Preserve

การทำางานในห้องปฏิบัติการร่วมกับชาวต่างชาติ

Page 4: gneiss 2 - interview

ซึ่งเป็นที่ที่มีหลักฐานของการเลื่อนตัวของรอยเลื่อน San Andreas อย่าง

ชัดเจน การไปดูงานที่ Monterey Bay Aquarium Research Institute

เพื่อศึกษาการทำางานวิจัยทางทะเลในบริเวณนี้ และการไปดูงานที่ Jasper

Ridge Biological Preserve ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการทำางานวิจัยทั้งเกี่ยวกับ

นิเวศวิทยา ธรณีวิทยาและชีววิทยา ซึ่งทุกที่ที่ไปจะมีบรรยากาศแบบสบายๆ

เป็นกันเอง เน้นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นหลัก ทุกคนมีสิทธิพูด

มีสิทธิถาม ทำาให้ไม่รู้สึกน่าเบื่อ แต่รู้สึกสนุกและมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และ

ยังมีกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิชาการเช่นกัน เช่น การเล่นเกม Scavenger

Hunt ใน San Francisco โดยเกมนี้เป็นเกมแรกที่ทุกคนในโครงการจะถูก

แบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ แล้วทำากิจกรรมร่วมกัน ซึ่งทำาให้มีการพูดคุยและเรียนรู้

ซึ่งกันและกัน จัดเป็นการเริ่มต้นของการสานความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนที่ดี

รวมถึงการไปพายเรือคายัคบริเวณ Elkhorn slough ซึ่งทำาให้ได้ออกกำาลัง

กายพร้อมๆ กับการชมธรรมชาติและแมวน้ำาที่มีอยู่เยอะมากในบริเวณนั้น”

ช่วงท้ายของโครงการ ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนจะต้องนำาเสนอผลงานที่ตัวเอง

ทำาตลอดสองเดือนทั้งการนำาเสนอแบบบรรยายและการทำาโปสเตอร์ให้กับ

ผู้อื่น ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ และนักศึกษาในมหาวิทยาลัย

น้องพรได้เล่าถึงการเตรียมตัวและความรู้สึกก่อนการนำาเสนอไว้ว่า “ทุก

วันอังคารจะมีการประชุมกันกลุ่มย่อยๆ ประมาณ 4-5 คนกับผู้ช่วยของ

โครงการ ซึ่งแต่ละคนก็ทำางานวิจัยคนละเรื่อง แต่ทุกคนจะต้องนำาผลงาน

ที่ทำามาในแต่ละอาทิตย์มานำาเสนอความคืบหน้า ซึ่งเหมือนกับการเตรียม

ตัวทำาสไลด์นำาเสนอผลงานวันสุดท้ายนั่นเอง แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ เด็ก

ไทยจะมีการเตรียมตัวมากเป็นพิเศษ เพราะเราต้องพูดภาษาอังกฤษ และ

เป็นการพูดในเชิงวิชาการด้วย จึงจำาเป็นจะต้องตรวจสอบคำา เตรียมบท

พูด และซักซ้อมกันนับครั้งไม่ถ้วน และคืนก่อนวันนำาเสนอจริง เกือบทุก

คนทั้งคนไทยและต่างชาติมารวมตัวกันที่ห้องโถงของหอพัก โดยมีคนยืม

โปรเจกเตอร์มาและทำาการฉายสไลด์ซ้อมนำาเสนอกันแบบจริงจัง รวมทั้งมี

การถามคำาถามหลังจากการนำาเสนอของแต่ละคนด้วย ซึ่งถือเป็นการฝึกที่

ดีและสามารถลดความประหม่าในวันจริงไปได้มากเลยทีเดียวครับ” น้อง

แพรวเสริมบรรยากาศในวันนำาเสนอว่า “การนำาเสนอผลงานในวันจริงจะ

แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ การนำาเสนอในลักษณะของการบรรยายแบบปาก

เปล่าพร้อมสไลด์ประกอบ และการบรรยายแบบโปสเตอร์ ส่วนการบรรยาย

Yosemite National Park ซึ่งเป็นการ uplift ของหินแกรนิตขนาดใหญ่

The Dish อีกหนึ่ง Landmark ที่สำาคัญของมหาวิทยาลัย

ปราสาท Disney ซึ่งได้ไปเที่ยวหลังจากจบโครงการ

Page 5: gneiss 2 - interview

แบบปากเปล่านั้นจะใช้เวลาประมาณ 6-8 นาทีสำาหรับการนำาเสนอและ 2 นาที

สำาหรับการถามคำาถาม แบ่งเป็นครึ่งเช้าและครึ่งบ่าย ไม่มีการให้คะแนน ไม่มี

การตำาหนิ แต่ตอนนั้นจำาได้ดีว่าทุกคนค่อนข้างตื่นเต้นมากเพราะต้องออกไปพูด

ต่อหน้าคนประมาณ 40 คน ซึ่งเป็นคนเก่งๆ ทั้งนั้น ทั้งอาจารย์ ทั้งนักศึกษา

ปริญญาเอก กลัวตัวเองจะพูดไม่รู้เรื่อง กลัวจะพูดผิด แต่ก็พยายามตั้งสติ ทำา

สมาธิ และคิดว่าเราทำางานนี้มาตลอดสองเดือน อยู่กับมันมาตลอดเวลา มีการ

แก้ปัญหามานับไม่ถ้วน ดังนั้นเราต้องมั่นใจในตัวเอง เราเป็นคนที่รู้ดีที่สุดว่าเรา

ทำาอะไร อย่างไร และได้ผลอะไร เมื่อคิดอย่างนี้ได้ก็ออกไปนำาเสนออย่างมั่นใจ

พยายามพูดให้ชัดถ้อยชัดคำา และพูดให้หนักแน่น คนฟังจะได้เชื่อถือเรา แม้

ช่วงแรกๆ จะค่อนข้างตื่นเต้น เกือบจะลืมคำาพูดที่ได้ซักซ้อมมา แต่พอผ่านไป

ซักพักก็พูดได้อย่างไหลลื่น ซึ่งผลที่ออกมานั้นก็ถือว่าดี-ดีมากๆ เพราะทุกคน

เข้าใจว่าเราต้องการจะสื่ออะไรไปให้ ผู้ฟังได้ประโยชน์จากการนำาเสนอของเรา

ส่วน Poster presentation จะเป็นการบรรยายตามโปสเตอร์ที่เราทำาพูดให้

คนที่สนใจในงานของเราหรืออาจจะพลาดส่วนใดส่วนหน่ึงท่ีเรานำาเสนอไปใน

สไลด์ โดยโปสเตอร์ของทุกคนจะตั้งอยู่รอบๆ ห้องนำาเสนอผลงาน แต่ละคนจะ

ไปยืนประจำาโปสเตอร์คอยอธิบายและตอบคำาถามให้ผู้ที่สนใจ ซึ่งในส่วนนี้จะใช้

เวลาในช่วงพักกลางวันประมาณ 1 ชั่วโมงค่ะ” ผลจากการทำากิจกรรมได้ทำาให้

เกิดความรู้ความเข้าใจในการทำางานวิจัยทางธรณีวิทยาและประสบการณ์การ

ทำางานร่วมกับชาวต่างชาติ ซึ่งน้องเอ้ได้กล่าวไว้ว่า “ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้

อย่างแรกที่ได้แน่ๆ คือความรู้ใหม่ๆ ที่เราไม่สามารถหาได้ในห้องเรียน

เพราะเป็นความรู้เชิงลึกและมีความแปลกใหม่ และได้เรียนรู้หลักการ

ทำางานวิจัยที่มีประโยชน์มากๆ นั่นคือ การเรียนรู้ที่จะตั้งคำาถามที่เป็น

ประโยชน์ ซึ่งการตั้งคำาถามถือเป็นก้าวแรกที่สำาคัญในการทำางานวิจัย

และการทำางานจริง เพราะการตั้งคำาถามที่ดีจะทำาให้เราได้คำาตอบที่มี

ประโยชนน์ นอกจากนี้การทำางานแบบเน้นการพูดคุยแสดงความคิด

เห็นทำาให้เรากล้าคิดและกล้าที่จะพูดสิ่งที่เราคิดและไตร่ตรองแล้วออก

มาก มีความมั่นใจในตนเอง แต่ก็พร้อมที่จะรับฟังคนอื่น เรียนรู้การ

ทำางานเป็นทีมร่วมกับอาจารย์และนิสิตนักศึกษาคนอื่นๆ เรียนรู้ที่จะ

อยู่ร่วมกับคนที่มาจากต่างวัฒนธรรม ต่างเชื้อชาติ ซึ่งการพูดคุยแลก

เปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ตลอดถึงวัฒนธรรมกับคนอื่นๆ ทำาให้

โลกทัศน์ของเรากว้างขึ้น มองเห็นโลกในมุมที่ต่างไปจากเดิม รู้จักนำา

ข้อดีของคนอื่นมาประยุกต์ใช้กับเราและลดข้อเสียของเราออกไปเท่าที่

ทำาได้ เรียนรู้การอยู่ด้วยตัวเอง เพราะที่นั่นไม่มีคนมาคอยควบคุมเรา

เราต้องดูแลตัวเอง ทุกอย่างต้องจัดการเอง บริหารเอง ซึ่งทำาให้เราเป็น

ผู้ใหญ่มากขึ้น และที่สำาคัญเราได้เพื่อนใหม่ที่ถึงแม้ว่าจะเป็นชาวต่าง

ชาติ แต่ตลอดเวลาสองเดือนก็ทำาให้เราสนิทกัน พูดคุยกันได้ทุกเรื่อง

และยังติดต่อกันมาตลอดถึงทุกวันนี้”

Grand Canyon ซึ่งได้ไปเที่ยวหลังจากจบจากโครงการ

Page 6: gneiss 2 - interview
Page 7: gneiss 2 - interview
Page 8: gneiss 2 - interview

หากพูดถึง Standford University แล้ว แน่นอนว่าเป็นมหาวิทยาที่ใคร

หลายคนใฝ่ฝัน เนื่องจากมีชื่อเสียงระดับโลก และมีศิษย์เก่าชื่อดังมากมาย

น้องแพรวเล่าถึงบรรยากาศของมหาวิทยาลัยให้เราฟังว่า “Stanford Uni-

versity เป็นมหาวิทยาลัยที่สวยและใหญ่มาก โดยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ

สองของโลก การเดินทางของคนที่นี่มีทุกรูปแบบ ตั้งแต่การขับรถยนต์ รถ

จักรยาน สเก็ตบอร์ด โรลเลอร์เบต สกู๊ตเตอร์ และการเดิน อาคารส่วน

ใหญ่สูงประมาณ 4-6 ชั้น ตกแต่งเหมือนอาคารชายทะเลปนๆ แบบโมรอก

โค เรียกได้ว่าดูสวยมีเสน่ห์และขลังไปพร้อมๆ กัน โดยตั้งแต่วันแรกที่มา

ประทับใจทางเข้าของมหาวิทยาลัยมาก เพราะจะเป็นถนนเส้นตรงขนาบ

ข้างด้วยต้นปาล์ม มองตรงไปจะเห็นโบสถ์ของมหาวทิยาลัยที่มีฉากหลังเป็น

ภูเขา เรียกได้ว่าสวยงามมาก สภาพความเป็นอยู่ที่นั่น เราทุกคนจะพักใน

หอพักที่เรียกว่าบ้าน เช่น Jenkins house, Griffin house โดยแต่ละบ้าน

จะแบ่งเป็นห้องใหญ่ เช่น Griffin 101 และแต่ละห้องใหญ่จะมีห้องโถงที่มี

โซฟาและมีพื้นที่ให้ทุกคนมานั่งเล่น พูดคุย พักผ่อน และแบ่งออกเป็นห้อง

นอนย่อยๆ อีกหลายห้อง โดยแต่ละห้องงจะมีเตียงนอนพร้อมฟูก โต๊ะเขียน

หนังสือ ชั้นวางหนังสือและตู้เสื้อผ้า ส่วนห้องน้ำาและห้องอาบน้ำานั้นจะใช้

ร่วมกันทุกคนที่พักในห้องใหญ่เดียวกัน จะเห็นว่าสภาพความเป็นอยู่ค่อน

ข้างสะดวกสบาย และจะพักปนกันทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ทำาให้เราได้

เพื่อนใหม่และฝึกภาษาอังกฤษไปในตัวได้ในทุกๆ วัน นอกจากนี้ในหอพัก

ยังมีเครื่องซักผ้าและอบผ้าไว้ให้บริการฟรีตลอด 24 ชั่วโมงด้วยค่ะ”

การไปอยู่ต่างประเทศ สิ่งที่สำาคัญอย่างหนึ่งคือ เรื่องของอาหารการกิน ซึ่ง

ดูเหมือนจะไม่เป็นอุปสรรคใดๆ เนื่องจากมีการสนับสนุนจากโครงการเป็น

อย่างดี ตรงนี้น้องพรได้เล่าว่า “ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับบัตรทาน

ข้าวที่โรงอาหารฟรี ซึ่งจะมีให้ครบทั้ง 3 มื้อ และเป็นแบบบุฟเฟ่ต์ทั้งหมด

ซึ่งอาหารก็จะมีความหลากหลายและไม่ซ้ำากันในแต่ละวัน ยกเว้นมื้อเช้าที่

อาหารจะค่อนข้างเหมือนเดิมในทุกวัน โดยทุกมื้อจะเน้นหนักไปที่อาหาร

อเมริกัน นอกจากนี้ในบางวัน พวกเราคนไทยทั้ง 6 คนและเด็กต่างชาติบาง

คนก็จะชวนกันปั่นจักรยานเข้ามาไปในตัวเมืองหน้ามหาวิทยาลัย เพื่อเปลี่ยน

บรรยากาศมาทานอาหารเกาหลี อาหารไทย อาหารเมดิเตอร์เรเนียนกันบ้าง

ส่วนในเรื่องของการเดินทางนั้นมีหลากหลายแบบ ถ้าจะเดินทางระยะทาง

ไกลๆระหว่างเมืองก็จะใช้บริการ Caltrain ซึ่งก็คือรถไฟโดยสารที่วิ่งผ่าน

เมืองสำาคัญๆ ของรัฐแคลิฟอร์เนีย อัตราค่าโดยสารต่อรอบอยู่ที่ประมาณ

7-14 เหรียญสหรัฐ แล้วแต่ระยะทาง แต่ถ้าระยะทางใกล้ก็สามารถขึ้นรถ

Marguerite ที่หน้าตาคล้ายๆ รถเมล์บ้านเราได้ แต่การเดินทางที่ง่ายและ

เป็นที่นิยมที่สุดคือ รถจักรยาน ซึ่งทางโครงการ SURGE ได้ทำาการเช่ารถ

จักรยานไว้ให้นิสิตนักศึกษาที่มาเข้าร่วมทุกคนใช้”

สำาหรับกิจรรมในช่วงเสาร์-อาทิตย์ก็มีให้ทำาอย่างอยู่ตลอด ดังที่น้องเอ้ได้เล่า

ให้ฟังว่า “นอกจากประสบการณ์การทำางานทั้งวันตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์

ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ พวกเราก็ไม่เคยได้หยุดพักเลย อาทิตย์ที่ทางโครงการจัด

ทริปให้ ก็จะเข้าร่วมทุกๆ ครั้ง และถ้าอาทิตย์ไหนไม่มีก็ต้องมีการจัดทริปกัน

เองตลอด ทั้งจัดโดยเด็กไทยและจัดโดยเด็กต่างชาติ ตั้งแต่ไปใกล้ๆ เข่น ไป

ปั่นจักรยานที่ San Francisco เพื่อไป Golden Gate และร่วมเชียร์เพื่อน

ต่างชาติที่ร่วมวิ่งในการแข่งการกุศลใน San Francisco และที่ไปไกลๆ เช่น

ขับรถกันไป Yosemite National Park ซึ่งเป็นทริปสองวันหนึ่งคืน โดยเช่า

รถยนต์สองคันและมีรถยนต์ของเพื่อนต่างชาติอีก 1 คัน เป็นทริปที่สนุก

มาก เพราะ Yosemite National Park เป็นสถานที่ที่สวยงาม ได้ใกล้ชิด

ธรรมชาติ และเต็มไปด้วยเรื่องราวทางธรณีวิทยา นอกจากนี้ยังมีการจัด

ปาร์ตี้วันเกิดเซอร์ไพรส์เพื่อนต่างชาติ มีการจัดปาร์ตี้กองไฟริมทะเลสาบ

ตอนกลางคืน ที่ทุกคนจะมายืนปิ้งมาร์ชเมลโลกับช็อกโกแลตกิน พร้อมกับ

เล่นเกมกัน วันสุดท้ายจำาได้ว่าทุกคนมานั่งรวมกันที่ห้องโถงหอพัก เพื่อพูด

คุย เล่นเกม ร้องเพลงและเต้นกันจนหลับไป เรียกได้ว่าเป็นประสบการณ์

สองเดือนที่มีคุณค่าและสุดยอดมากจริงๆ ค่ะ”

น้องทั้งสามได้กล่าวทิ้งท้ายถึงสิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการนี้ไว้อย่าง

น่าสนใจไว้ว่า “สิ่งสำาคัญอย่างหนึ่งที่ได้กลับมาแน่ๆ คือความรู้ใหม่ๆ เชิง

วิชาการเกี่ยวกับเรื่องที่เราสนใจที่เราไม่เคยเรียนลึกในรายละเอียดมาก่อน

และนอกเหนือไปจากความรู้คือ ประสบการ์อันมีค่าที่มีประโยชน์ต่อพวก

เราทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า ตลอดสองเดือนที่ผ่านมา พวกเราได้เรียน

รู้อะไรหลายอย่าง ได้เรียนรู้หลักการทำางานวิจัย เรียนรู้การค้นคว้าด้วย

ตนเอง เรียนรู้การตั้งคำาถามที่ดีและมีประโยชน์ เรียนรู้การค้นหาคำาตอบและ

ทางแก้ไขด้วยตัวเองก่อน แล้วจึงหาโอกาสปรึกษาผู้รู้ ไม่ใช่รอแต่จะถามคน

อื่นตลอดเวลา มีความมั่นใจและกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและพร้อมที่จะ

ฟังคนอื่น จากการทำางานที่ยากและถูกจำากัดด้วยเงื่อนไขของเวลาและภาษา

ทำาให้พวกเราได้รู้ศักยภาพของตัวเราเองว่า จริงๆ แล้วพวกเราก็ทำาได้ เพียง

แค่เรารักในสิ่งที่เราทำา แล้วทำาอย่างตั้งใจ งานยากไม่เคยทำาให้น่าเบื่อ แต่

ทำาให้มันท้าทาย และทำาให้เราสนุกไปกับการทำางานในทุกขั้นตอน และไป

กระต้นให้เรามีความกระตือรือร้นที่จะแก้ไขทุกปัญหาที่เกิดขึ้น และเรียนรู้

ว่าไม่มีอะไรยากเกินไปหากเราตั้งใจจริง ส่วนในเรื่องของภาษานั้นถือว่าได้

ประโยชน์มาก เพราะเดิมเราอาจจะพูดได้แต่เราไม่กล้า เวลาฟังก็กลัวไป

ก่อนว่าจะไม่เข้าใจ แต่จากสองเดือนในต่างแดนนี้ ทำาให้เรากล้าที่พูดและ

กล้าที่จะฟังมากขึ้น เราอาจจะไม่ได้พูดถูกต้องตามหลักไวยกรณ์ตลอดเวลา

แต่เราสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจได้ และเข้าใจที่คนอื่นสื่อสารมาได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่

มีประโยชน์มากทั้งในปัจจุบันและในอนาตค นอกจากนี้สิ่งที่สำาคัญอีกอย่าง

หนึ่งคือ มิตรภาพทั้งกับอาจารย์และนักศึกษาคนอื่นๆ เพราะพวกเราต้อง

ทำางานด้วยกันตลอด ต้องคุย ต้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์

ซึ่งทำาให้เราโลกของเราเปิดกว้างขึ้น เข้าใจคนอื่นมากขึ้น และเข้าใจตัวเอง

ดีขึ้น เราเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นและทำางานร่วมกัน เรียกได้ว่าเป็นสอง

เดือนที่มีค่ากับชีวิตเป็นอย่างมาก” น้องเอ้เล่าถึงสิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วม

โครงการครั้งนี้

“ตลอดสองเดือนที่ผ่านมา พวกเราได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง ได้เรียนรู้หลัก

การทำางานวิจัย เรียนรู้การค้นคว้าด้วยตนเอง เรียนรู้การตั้งคำาถามที่ดีและมี

ประโยชน์ เรียนรู้การค้นหาคำาตอบและทางแก้ไขด้วยตัวเองก่อน..”

Page 9: gneiss 2 - interview

หอนาฬิกาและ Hoover Tower ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

ในร้านหนังสือของมหาวิทยาลัย (Stanford Bookstore)

โบสถ์ของมหาวิทยาลัย

ตึกธรณีวิทยา

Page 10: gneiss 2 - interview

“สิ่งที่พวกเราอยากจะฝากทิ้งท้ายเอาไว้คือ พวกเราทุกคนไม่ว่าจะเรียนอะไร

เราควรรู้ว่าเราชอบอะไร เราถนัดอะไร เราทำาอะไรได้ดี แล้วหาเป้าหมายให้

กับตัวเราเอง วันนี้เป้าหมายอาจเลือนลางไม่ชัดเจน แต่ขอให้พยายามทำาให้

เต็มที่ และพัฒนาศักยภาพของตัวเองตลอดเวลา สร้างโอกาสให้ตัวเองก่อน

อย่ามัวรอให้คนอื่นหยิบยื่นโอกาสให้เราเพียงอย่างเดียว พยายามเข้าร่วม

กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ทั้งในเรื่องเรียนและเรื่องเล่น และทำามันอย่างเต็ม

ที่ วันนึงเราจะพบว่าเป้าหมายไม่ได้ไกลเกินเอื้อม คนเราทำาได้ทุกอย่างถ้าเรา

ตั้งใจจริงและไม่ยอมแพ้ไปซะก่อน พวกเราก็ขอเป็นกำาลังใจให้กับทุกๆ คนที่

ยังมีเป้าหมายในชีวิตที่ยังทำาไม่สำาเร็จ ให้สามารถก้าวผ่านขวากหนามต่างๆ

ไปได้ด้วยดี และมีบาดแผลน้อยที่สุดค่ะ” น้องแพรวกล่าว

“ท้ายที่สุด พวกเราขอขอบพระคุณทุกท่าน ทุกองค์กรที่มีส่วนให้โครงการนี้

เกิดขึ้นได้ ทั้ง School of Earth Sciences, Stanford University, ภาควิชา

ธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำารวจและ

ผลิต จำากัด และบริษัท ปตท.สผ. จำากัด (มหาชน) ที่ให้การสนับสนุนในส่วน

ของค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเข้าร่วมโครงการ ระหว่างการเข้าร่วมและหลัง

การเข้าร่วมโครงการ พวกเราได้มีช่วงเวลาสองเดือนที่มีค่ามากที่สุดในชีวิต

และตระหนักดีว่าโอกาสที่ตัวเองได้รับนั้นสำาคัญเพียงใด และจะดียิ่งขึ้นเมื่อ

พวกเราได้มีโอกาสถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปให้กับคนอ่ืนๆ

และพวกเราก็หวังว่าเด็กไทยจะได้รับโอกาสที่ดีๆ แบบนี้อีกครั้งในปีต่อๆ ไป

ขอขอบพระคุณครับ” น้องพรกล่าวปิดท้าย .. gneiss

หอนาฬิกาและ Hoover Tower ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

น้องแพรว

น้องพร

น้องเอ้