Content Analysis)gs.nsru.ac.th/files/1/4กัลยาพร จง... · 2015-08-07 ·...

12
39 โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีท6 สานักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 * กัลยาพร จงภัทรทรัพย์ ** พัชราวลัย มีทรัพย์ *** บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากรอบแนวคิดของโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถการคิด วิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีท6 สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 การ รวบรวมข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ ใช้การสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการคิด วิเคราะห์ จานวน 25 เรื่อง เครื่องมือในการวิเคราะห์งานวิจัย ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ( Content Analysis) และสังเคราะห์งานวิจัยทีเกี่ยวของกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ผลการวิจัยปรากฏดังนีโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีท6 สานักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 ได้แก่ ความสามารถด้านเหตุผล เจตคติต่อการเรียน แรงจูงใจใฝ่ สัมฤทธิความเชื่ออานาจภายในตน บรรยากาศในชั้นเรียน และการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ซึ่งพบว่าปัจจัย ทั้งหมดมีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และปัจจัยบางตัวยังมีอิทธิพลทางอ้อมที่ส่งผ่านปัจจัย ตัวอื่นด้วย คาสาคัญ: โมเดลเชิงสาเหตุ, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ * บทความวิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา ** นิสิตมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม E - mail pukun @ hotmail.co.th *** อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

Transcript of Content Analysis)gs.nsru.ac.th/files/1/4กัลยาพร จง... · 2015-08-07 ·...

Page 1: Content Analysis)gs.nsru.ac.th/files/1/4กัลยาพร จง... · 2015-08-07 · สายยศ และอังคนา สายยศ. 2539: 41-44 ; อ้างอิงมาจาก

39

โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณโุลกเขต 1 *

กัลยาพร จงภัทรทรัพย์** พัชราวลัย มีทรัพย์***

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากรอบแนวคิดของโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 การรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ ใช้การสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการคิดวิเคราะห ์จ านวน 25 เร่ือง

เครื่องมือในการวิเคราะห์งานวิจัย ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสังเคราะห์งานวิจัยที่เก่ียวของกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ผลการวิจัยปรากฏดังนี ้ โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 ได้แก่ ความสามารถด้านเหตุผล เจตคติต่อการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่ออ านาจภายในตน บรรยากาศในชั้นเรียน และการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ซึ่งพบว่าปัจจัยทั้งหมดมีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และปัจจัยบางตัวยังมีอิทธิพลทางอ้อมที่ส่งผ่านปัจจัยตัวอื่นด้วย

ค าส าคัญ: โมเดลเชิงสาเหตุ, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

* บทความวิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา **

นิสิตมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม E - mail pukun @ hotmail.co.th ***

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

Page 2: Content Analysis)gs.nsru.ac.th/files/1/4กัลยาพร จง... · 2015-08-07 · สายยศ และอังคนา สายยศ. 2539: 41-44 ; อ้างอิงมาจาก

40

A Causal Model of Analytical Thinking Abilities of Prathomsuksa 6 Under the Office of Phitsanuloke 6 Educational Service Area Zone 1*

Kunlayaporn Jongphattarasup** Phutcharawalai Meesup***

Abstract This research aimed to study concept of a causal model of analytical thinking abilities of Prathomsuksa 6 under the office of Phitsanuloke 6 Educational Service Area Zone 1 . Research of analytical thinking abilities from dissertations 25 title .The intruments used in study were Research analysis tools content analysis and synthesis of research on the ability of students to analytical thinking abilities. The results of the research were found that: Dissertations synthetic research of analytical thinking abilities. A causal model of the analytical thinking ability of the Prathomsuksa 6 under the office of Phitsanuloke Educational Service Area Zone 1 such as resoning ability , learning attitude, achievement motive , the internal locus of control, classroom climate and rearing . It was found that all factors have a direct effect on the analytical thinking abilities . Some factors also have an indirect influence on the transmission of other factors.

Keywords: A causal of model, analytical thinking abilities

* Articles Thesis , Educational Research and Evaluation, 2015 ** Student in Master of Education Degree in Educational Research and Evaluation, Rajabhat Pibulsongkram University , 2015 , E - mail pukun @ hotmail.co.th *** Advisor

Page 3: Content Analysis)gs.nsru.ac.th/files/1/4กัลยาพร จง... · 2015-08-07 · สายยศ และอังคนา สายยศ. 2539: 41-44 ; อ้างอิงมาจาก

41

บทน า การคิดเป็นกระบวนการทางสมองของมนุษย์ซึ่งมีศักยภาพสูงมากจึงท าให้มนุษย์มีลักษณะแตกต่างไปจาก

สัตว์โลกอื่นๆ การปรับตัวให้เข้ากับสังคมเพื่อการด ารงชีวิตอยู่รอดอย่างมีคุณภาพจ าเป็นต้องอาศัยกระบวนการคิดในทางที่สร้างสรรค์และมีประโยชน์เป็นส าคัญ จึงควรมีการเสริมสร้างความสามารถในด้านการคิดให้เกิดขึ้นกับคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่ควรได้รับการพัฒนาตั้งแต่วัยเยาว์ (ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ, 2551: 1) ด้วยเหตุนี้จึงมีความจ าเป็นที่จะต้องมีการปรับและเปลี่ยนจุดเน้นในการพัฒนาคนในสังคมไทย โดยเน้นการมีความรู้อย่างเท่าเทียม นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนของชาติเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย และมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ มีทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถท างานร่วมกับผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมโลกได้อย่างสันติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 – 2559: 39) กล่าวไว้ในส่วนยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน คนไทยได้รับการพัฒนาศักยภาพทุกช่วงวัยแต่ยังมีปัญหาด้านสติปัญญาคุณภาพการศึกษาและมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพผลการพัฒนาตามช่วงวัยพบว่ากลุ่มวัยเด็กระดับเชาว์ปัญญามีค่าเฉลี่ยเด็กวัยเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ ากว่าร้อยละ 50.0 มาตรฐานความสามารถของผู้เรียนในเร่ืองการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์มีวิจารณญาณและคิดสร้างสรรค์ค่อนข้างต่ า (ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2550: 53) ดังนั้นสถานศึกษาจึงต้องมีหลักสูตรที่เหมาะสม ครู อาจารย์ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นผู้เรียนเป็นส าคัญด้วยการจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้นักเรียนรู้จักการคิดวิเคราะห์ แสวงหาความรู้ ค้นคว้าหาค าตอบ ส่งผลให้ผู้ เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ รู้จักจ าแนกแยกแยะ ประเมินค่า มีทักษะ ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ รักการอ่านพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันส านักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาได้น ามาเป็นมาตรฐานการศึกษาเพื่อประเมินคุณภาพภายนอกของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากความส าคัญดังกล่าวกระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศนโยบายให้ปี 2556 เป็นปีแห่งการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยก าหนดเป้าหมายพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิดวิเคราะห์เรียนรู้ด้วยตนเอง มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และทักษะจ าเป็นส าหรับศตวรรษที่ 21 (ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน , 2557: 1 , 4)

การคิดวิเคราะห์เป็นพื้นฐานของการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ นอกจากนั้นยังพบว่าการคิดวิเคราะห์เพื่อให้เหตุผลในการคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ นั้นเป็นประโยชน์ต่อก าหนดการด ารงชีวิตของมนุษย์ เพราะฉะนั้นจึงจ าเป็นที่จะต้องมีการศึกษาในเร่ืองดังกล่าว เพื่อที่จะพัฒนาและปลูกฝังความคิดให้กับเด็กในวัยเรียน ตลอดจนส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะเกี่ยวกับกระบวนการคิด สามารถวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องราว ดังนั้นการที่จะท าให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์นั้นครูจึงต้องพยายามฝึกให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์และมีทักษะกระบวนการคิดเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กนักเรียนในระดับประถมศึกษาที่เป็นวัยที่ควรแก่การปลูกฝังให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์เพื่อให้ผู้เรียนน าทักษะเหล่านี้ไปใช้ในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีความคิดที่ก้าวไกลในการที่จะท าให้เด็กสามารถพัฒนาการคิดได้นั้นจะต้องมีสิ่งที่กระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ จากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีทางสติปัญญาของ Bloom (1956: 201) อธิบายว่า การที่นักเรียนจะมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้ดีนั้นต้องอาศัยความสามารถทางสมองพื้นฐาน ได้แก่ ความรู้ ความจ า ความเข้าใจ การน าไปใช้ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะการคิดวิเคราะห์เป็นวิธีการคิดที่เกิดจากความสงสัยบางประการ จึงท าให้บุคคลมีความพยายามในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลมาอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หรือต้องการประเมินสิ่งต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ การคิดวิเคราะห์ต้องใช้ความสามารถในการสังเกต การตีความ การสืบค้น และการหาความสัมพันธ์ที่ดีเพื่อค้นหาความเป็นไปของเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้อง (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2546: 22) นอกจากนี้นักการศึกษาไทยยังกล่าวว่า การคิดวิเคราะห์เป็นพื้นฐานที่จ าเป็นส าหรับการคิดในมิติ

Page 4: Content Analysis)gs.nsru.ac.th/files/1/4กัลยาพร จง... · 2015-08-07 · สายยศ และอังคนา สายยศ. 2539: 41-44 ; อ้างอิงมาจาก

42

อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการคิดในเชิงเปรียบเทียบ การคิดเชิงสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงบูรณาการ (พัชราวลัย มีทรัพย์, 2554: 122 อ้างอิงจาก เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2549) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ณาตยา อุทยารัตน์ (2549) ที่พบว่า นักเรียนที่มีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนในระดับสูง จะมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูง

จากความส าคัญของความสามารถในการคิดวิเคราะห์ดังกล่าว ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เนื่องจากนักเรียนในระดับนี้จะมีความพร้อมด้านการคิด สามารถคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ สามารถคิดย้อนกลับ เริ่มคิดแบบนามธรรม (ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ, 2551: อ้างถึงใน พัชราวลัย มีทรัพย์,2554: 45) ซึ่งควรได้รับการสนับสนุนการคิดวิเคราะห์ เนื่องจากเป็นกระบวนการคิดขั้นพื้นฐานที่เป็นขั้นตอนหนึ่งของการคิดระดับสูง อันจะน าไปสู่การตัดสินใจในเร่ืองต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ได้แก่ ความสามารถด้านเหตุผล เจตคติต่อการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่ออ านาจภายในตน บรรยากาศในชั้นเรียนและการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง เนื่องจากตัวแปรดังกล่าวมีแนวคิดและทฤษฎีที่เป็นหลักการ มีผลการวิจัยสนับสนุนเพื่อ ให้ได้แนวทางในวิธีพัฒนาสมองและพัฒนาทักษะความสามารถการคิดวิเคราะห์ตามช่วงวัยอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพด้านความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนซึ่งเป็นพื้นฐานของการคิดขั้นสูงต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษากรอบแนวคิดของโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง/กรอบแนวคิดการวิจัย การวิจัยคร้ังนี้เป็นการศึกษาเก่ียวกับโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ความสามารถการคิดวิเคราะห์ตามหลักการตามแนวคิดของทฤษฎีของ Bloom (ล้วน สายยศ และอังคนา สายยศ. 2539: 41-44 ; อ้างอิงมาจาก Bloom(1976: 271) ได้ให้ความหมายของความรู้ว่า ความรู้เป็นสิ่งที่เก่ียวข้องกับการระลึกถึงเฉพาะเร่ืองหรือเรื่องทั่ว ๆ ไป ระลึกถึงวิธีกระบวนการหรือสถานการณ์ต่าง ๆ โดยเน้นความจ า หลักการ ความสามารถด้านเหตุผล งานวิจัยของ (เบ็ญจพร ภิรมย.์ 2552) พบว่า การให้เหตุผลความส าคัญและมีความหมายมากส าหรับผู้เรียนและครูผู้สอนในการเรียนการสอน การให้เหตุผลของผู้เรียนท าให้ครูทราบถึงกระบวนการการคิดของผู้เรียนว่าคิดอย่างไรและการพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการให้เหตุผลก็จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนที่มีลักษณะรู้จักใช้การคิดไตร่ตรอง วิจารณญาณในการตัดสินใจและสรุปผล โดยอาศัยเหตุผลประกอบและยังเป็นพื้นฐานของการคิด ของการเรียนในระดับชั้นที่สูงในเนื้อหาวิชาการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นคนมีเหตุผลอยู่ในสังคมระบอบประชาธิปไตยได้อย่างมีความสุข เจตคติเกิดจาการเรียนรู้ (กัณหา เทพดุสิต . 2554) พบว่า เป็นความรู้สึกภายในที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมลักษณะของเจตคติทางบวกหรือทางลบ เจตคติมีลักษณะมั่นคงทนทาน แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยสิ่งเร้าภายนอกและการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ของ McClelland (1961: 36) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เป็นความปรารถนาที่จะกระท าสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ส าเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยพยายามแข่งขันมาตรฐานดันดีเลิศ มีความสบายใจเมื่อประสบความส าเร็จ และมีความวิตกกังวลเมื่อประสบความล้มเหลว สอดคล้องกับ อาภรณ์ บุญมาก (2552: 26) ว่าแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ไว้ว่า เป็นความปรารถนาหรือความมุ่งมั่นของบุคคลที่จะกระท าสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ส าเร็จตามเป้าหมายอันสูงที่ตั้งไว้ โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและมีความหมายพยายามที่จะเอาชนะและจะท าให้ดีกว่าบุคลอื่นหรือพยายามท าให้ดีกว่าบุคคลอื่นๆ พยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ มีความสบายใจเมื่อประสบส าเร็จและมีความวิตกกังวลเมื่อพบกับความล้มเหลว ความเชื่ออ านาจภายในตน ใช้ทฤษฎี Strickland (1977 : 58 ; อ้างอิงจาก กัณหา เทพดุสิต . 2554 : 32) กล่าวว่า ความเชื่ออ านาจภายในตนว่า เป็นความพยายามของบุคคลที่มีความคาดหวังในความส าเร็จของพฤติกรรมที่จะกระท า ขึ้นอยู่กับความสามารถของตนเอง นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง ลักษณะของผู้ที่มีความเชื่ออ านาจภายในตนไว้

Page 5: Content Analysis)gs.nsru.ac.th/files/1/4กัลยาพร จง... · 2015-08-07 · สายยศ และอังคนา สายยศ. 2539: 41-44 ; อ้างอิงมาจาก

43

ว่าเป็นผู้ที่มีการตัดสินใจที่มั่นคง และเด็ดเดี่ยว ท างานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหา ท างานเป็นระบบระเบียบ มีความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม และมีความตั้งใจศึกษาหาความรู้เพื่อปรับปรุงตนเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ เห็นคุณค่าและความพยายามของตนเอง มีสังคมที่ดีในหมู่เพื่อน บรรยากาศในชั้นเรียน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน สภาพบรรยากาศที่เอื้อประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู ้ย่อมส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง เป็นวิธีการที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองกระท ากับเด็กเพื่อตอบสนองความต้องการจ าเป็นในด้านร่างกายและด้านจิตใจที่ท าให้เด็กได้มีชีวิตอยู่และเจริญเติบโต ได้แก่ การเลี้ยงดู การให้ความรกัความอบอุ่น การอบรมสั่งสอนการให้การศึกษา เป็นต้น เพื่อให้เป็นสมาชิกที่ดี ของสังคมและด าเนนิชวีิตในสงัคมอย่างมีความสุข

วิธีด าเนินการวิจัย การวิจัยคร้ังนี้ก าหนดขอบเขตไว้ดังนี ้ 1. ศึกษางานวิจัยเพื่อหาปจัจัยทีเ่ก่ียวข้องกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน 2. ท าตารางการสังเคราะห์ตัวแปรที่สนใจศึกษา จากงานวิจยัจ านวน 25 เร่ือง 3. วิเคราะห์เนื้อหางานวิจัยเพื่อค้นหาตัวแปรที่จะน ามาสรา้งโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4. วิเคราะห์เนื้อหา สรุปจากผลงานวิจยัที่น ามา คัดตวัแปรเพื่อสร้างโมเดลเชงิสาเหตุการคิดวิเคราะห์จากการดูค่าอิทธิพลของงานวิจัยทีส่ง่ผลทางตรง ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยการวิจยัครั้งนี้ คือ โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที ่6 ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพษิณุโลก เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบบนัทึกการสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เก่ียวข้องกับความสามารถในการคิดวิเคราะห ์

การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยด าเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล จากงานวิจัยที่ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการคิด

วิเคราะห์ จ านวน 25 เล่ม เพื่อค้นหาตัวแปรที่จะน ามาสร้างเป็นโมเดลเชิงสาเหตุความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

การวิเคราะห์ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) งานวิจัยที่เกี่ยวกับความสามารถในการคิดวิเคราะห ์

สรุปผลการวิจัย ผลจากการศึกษางานวิจัย การทบทวนเอกสารที่เก่ียวข้องกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ดังต่อไปนี้

Page 6: Content Analysis)gs.nsru.ac.th/files/1/4กัลยาพร จง... · 2015-08-07 · สายยศ และอังคนา สายยศ. 2539: 41-44 ; อ้างอิงมาจาก

44

1. ความสามารถด้านเหตุผล 2. เจตคติต่อการเรียน 3. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 4. ความเชื่ออ านาจภายในตน 5. บรรยากาศในชั้นเรียน และ 6. การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง ซึ่งในการสังเคราะห์งานวิจัยพบความสัมพันธ์ในตัวแปรทีส่นใจปัจจัยที่มีความสัมพนัธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังต่อไปนี ้ ความสามารถด้านเหตุผล งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือ มีอิทธิพลทางตรง (ภีรนันท์ กล้าหาญ.2548) มีความสัมพันธ์ทางบวก (รัตนา คิดดี.2548) มีความสัมพันธ์ทางบวก (สุทัด ช่างนอก.2549) มีความสัมพันธ์ทางบวก (กนกทอง มหาวงศนันท์.2550) มีความสัมพันธ์ทางบวก (ยรรยง ภูกองพลอย.2550) มีความสัมพันธ์ทางบวก(วนิดา ทองดอนอ่ า.2551) มีความสัมพันธ์ทางบวก (วิยะดา ประทุมรัตน์.2551) มีความสัมพันธ์ทางบวก (นิตยา สุดตาจันทร์.2552) มีอิทธิพลทางตรง (เบ็ญจพร ภิรมย์.2552) มีอิทธิพลทางตรง (อัมพร สมปาน.2552) มีความสัมพันธ์ทางบวก (นิภาพร หาญพิพัฒน์.2553) เจตคติต่อการเรียน งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือ มีความสัมพันธ์ทางบวก (พรทิพย์ ศิริภัทราชัย.2548) มีความสัมพันธ์ทางบวก(จุฑาทิพย์ ชาติสุวรรณ์.2548) มีความสัมพันธ์ทางบวก(สุทัด ช่างนอก.2549) มีความสัมพันธ์ทางบวก (เพ็ญพิศ ทรัพย์วิไล.2549) มีความสัมพันธ์ทางบวก (วุฒิไกร เที่ยงดี.2549) มีอิทธิพลทางอ้อม (กนกทอง มหาวงศนันท์.2550) มีความสัมพันธ์ทางบวก (เกิดศิร ิทองนวล.2550) มีอิทธิพลทางตรง (ภูริณัฐ กระแสโสม.2550) มีอิทธิพลทางตรง (สุชาดา ปั้นโฉม.2551) มีความสัมพันธ์ทางบวก (วิยะดา ประทุมรัตน์.2551) มีอิทธิพลทางอ้อม (อัมพร สมปาน.2552) มีความสัมพันธ์ทางบวก(นิตยา สุดตาจันทร์.2552) มีความสัมพันธ์ทางบวก (นิภาพร หาญพิพัฒน์.2553) มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม (กัณหา เทพดุสิต.2554) มีอิทธิพลทางตรง (สุภาพร แดนสมปัดสา.2555) แรงจูงใจใฝส่ัมฤทธิ์ งานวจิัยที่เกี่ยวข้อง คือ มีอิทธิพลทางตรง (กัญญภัค พุฒตาล.2549) มีความสัมพันธ์ทางบวก (วุฒไิกร เที่ยงด.ี2549) มีความสัมพันธ์ทางบวก (เกิดศริ ิทองนวล.2550) มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม (สุชาดา ปั้นโฉม. 2551) มีอิทธิพลทางตรง (วิทยท์ิชัย พวงค า.2551) มีอิทธิพลทางตรง (อาภรณ์ บุญมาก.2552) มีอิทธิพลทางตรง (กัณหา เทพดุสติ.2554) มีความสัมพนัธ์ทางบวก (นิภาพร หาญพิพฒัน์.2553) มีอิทธิพลทางตรง (สุภาพร แดนสมปัดสา..2555) ความเชื่ออ านาจภายในตน งานวิจัยที่เก่ียวข้อง คือ มีอิทธิพลทางตรง (วิยะดา ประทุมรัตน์.2551) มีอิทธิพลทางตรง (วิทย์ทิชัย พวงค า. 2551) มีอิทธิพลทางตรง (อาภรณ์ บุญมาก.2552) มีอิทธิพลทางตรง (อัมพร สมปาน. 2552) มีความสัมพันธ์ทางบวก (นิภาพร หาญพิพัฒน์.2553) มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม (กัณหา เทพดุสิต .2554) บรรยากาศในชั้นเรียน งานวิจัยที่เก่ียวข้อง คือ มีความสัมพันธท์างบวก (วุฒไิกร เที่ยงด.ี 2549) มีความสัมพันธ์ทางบวก (พรชัย เฉิดเจือ.2549) มีความสัมพนัธ์ทางบวก (ปทุมพร ศรีอิสาณ.2549) มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมแบบลบ (กัญญภัค พุฒตาล. 2549) มีความสัมพันธ์ทางบวก (ยรรยง ภูกองพลอย. 2550) มีความสัมพันธ์ทางบวก (เกิดศิร ิทองนวล.2550) มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม (ภูริณัฐ กระแสโสม.2550) มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม (กัณหา เทพดุสิต. 2554) มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อม (สุภาพร แดนสมปัดสา . 2555)

การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง งานวิจยัที่เกี่ยวข้อง คือ มีความสัมพนัธ์ทางบวก (กัญญาภคั พุฒตาล. 2549) มีความสัมพันธ์ทางบวก (บงกาล จันทร์หัวโทน .2551) มีความสัมพนัธ์ทางบวก (อรวรรณ เอ่ียมกิจไพศาล.2552) มีอิทธิพลทางตรง (เบญ็จพร ภิรมย.์2552)อิทธิพลทางอ้อม(กัณหา เทพดุสิต. 2554), มีอิทธิพลทางตรง (สุชาดา ปั้นโฉม. 2551) มีความสัมพันธ์ทางบวก (นิภาพร หาญพิพัฒน์. 2553) ซึ่งสามารถเขียนเป็นโมเดลเชงิสาเหตุของความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ได้ดังแผนภาพ 1

Page 7: Content Analysis)gs.nsru.ac.th/files/1/4กัลยาพร จง... · 2015-08-07 · สายยศ และอังคนา สายยศ. 2539: 41-44 ; อ้างอิงมาจาก

45

แผนภาพ 1 โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สพป.พล.1

การอบรม

เลี้ยงดู

(RER)

อ านาจ

ภายในตน

(INC)

แรงจูงใจฯ

ACM

คิดวิเคราะห์

ATA บรรยากาศฯ

CLC เจตคติฯ

LEA

เหตุผล

REA

DER

AUR

LFR

PHF

MEF

AFF

RCI IST ACB INB

MRT ENE INR KRD

COC AFC BEC CLA ANA INF

ANE

ANR

AOP

AFP

H1 H2

H3

H4 H5

H6 H7 H8

H9

H10 H11

H12

H13

H14

Page 8: Content Analysis)gs.nsru.ac.th/files/1/4กัลยาพร จง... · 2015-08-07 · สายยศ และอังคนา สายยศ. 2539: 41-44 ; อ้างอิงมาจาก

46

อภิปรายผล จากการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุความสามารถในการการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 พบผลจากการวิจัยดังนี้

ความสามารถด้านเหตุผล พบว่า นักเรียนที่มีความสามารถด้านเหตุผลสูงจะมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูง เนื่องจากความสามารถด้านเหตุผลเป็นองค์ประกอบพื้นฐานทางสมองในด้านการใช้ความคิด การที่บุคคลได้รับการฝึกฝนและพัฒนาความสามารถด้านเหตุผลเป็นประจ า จะท าให้เป็นผู้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แยกแยะเหตุผลได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับงานวิจัยของยรรยง ภูกองพลอย (2550 : 96) ความสามารถด้านเหตุผล และบุคลิกภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 , นิตยา สุดตาจันทร์ (2552 : 89) ความสามารถเชิงเหตุผล มีสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แสดงว่า ความสามารถเชิงเหตุผล แนวโน้มที่จะมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงด้วย อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01, อัมพร สมปาน (2552 : 96) ความสามารถด้านเหตุผล เป็นตัวแปรที่ส่งผลทางตรงต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แสดงว่า นักเรียนที่มีความสามารถด้านเหตุผลสูงจะมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงด้วย เนื่องจากความสามารถด้านเหตุผลเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสมองในด้านการให้เหตุผลซึ่งเป็นส่วนส าคัญในการคิด การที่บุคคลได้รับการฝึกฝนและพัฒนา ความสามารถด้านเหตุผลเป็น ประจ า จะท าให้เป็นผู้มีความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะหาเหตุผลได้เป็นอย่างดี , เบ็ญจพร ภิรมย์. (2552 : 134) เป็นตัวแปรที่ส่งผลทางตรงต่อความสามารถการคิดวิเคราะห์ นักเรียนที่มีความสามารถด้านเหตุผลสูงจะมีความสามารถการคิดวิเคราะห์สูงด้วย, นิภาพร หาญพิพัฒน์ (2553) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถการคิดวิเคราะห์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของสมรรถภาพทางสมองด้านเหตุผลกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มีนัยส าคัญทางสถิติ โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 0.33 ถึง 1.06 เจตคติต่อการเรียน พบว่า เจตคติต่อการเรียนเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงในทิศทางบวกและมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ผ่านตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เนื่องจาก เจตคติเป็นเป็นพื้นฐานส าคัญในการก าหนดพฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียนที่เกิดขึ้นได้ทั้งในด้านบวกและด้านลบ ซึ่งท าให้บุคคลกล้าเผชิญหรือหลีกเลี่ยงกับสิ่งเร้า (สุรางค์ โค้วตระกูล. 2552 : 397) โดยเจตคติเกิดขึ้นจากประสบการณ์เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีความคงทนแต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามทฤษฎีความสมดุล (BalanceTheory) ของ Hieder (ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์. 2553 : 264 ; อ้างอิงมาจาก Hieder. 1958) นักเรียนที่มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนจะมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความมั่นใจในตนเอง รู้จักวางแผนเพื่อด าเนินการต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย ดังนั้น นักเรียนที่มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนย่อมมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงและมียุทธศาสตร์ในการเรียนรู้ และมักเป็นผู้ที่ประสบผลส าเร็จในการเรียนซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของอาภรณ์ บุญมาก (2552 : 72-74) พบว่า เจตคติต่อการเรียนเป็นตัวแปรระดับห้องเรียนที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ อย่างมีนัยส าคัญที่ระดับ .05 สอดคล้องกับผลการวิจัยของ เบ็ญจพร ภิรมย์ (2552 : 134) พบว่า เจตคติต่อการเรียนเป็นตัวแปรที่ส่งผลทางตรงต่อความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พบว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงในทิศทางบวกต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เนื่องจากแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เป็นแรงผลักดันภายในตัวบุคคลให้สามารถกระท าการใด ๆ เพื่อให้ตนเองประสบผลส าเร็จ ซึ่งเป็นไปตามตามทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของแมคเคลแลนด์ (อุษณา เจริญไวย. 2549 : 188) นักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงย่อมมีความมุ่งมั่นภายในตัวนักเรียนที่จะกระท ากิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว มีความทะเยอทะยาน รู้จักวางแผนอย่างมีเป้าหมายและพยายามที่จะเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆเพื่อให้ได้รับความส าเร็จ (McCleland. 1953 : 207 - 250) สอดคล้องกับผลการวิจัยของศิริลักษณ์ ศรีรุ่งเรือง (2552 : 83), บงกาล จันทร์หัวโทน (2551 : 79-80) และสุชาดา ปั้นโฉม (2551 : 63-64) ที่พบว่าแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการคิดวิเคราะห์และเป็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

Page 9: Content Analysis)gs.nsru.ac.th/files/1/4กัลยาพร จง... · 2015-08-07 · สายยศ และอังคนา สายยศ. 2539: 41-44 ; อ้างอิงมาจาก

47

ความเชื่ออ านาจภายในตน พบว่า ความเชื่ออ านาจภายในตนเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงในทิศทางบวกและมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ผ่านตัวแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เนื่องจากนักเรียนที่มีความเชื่ออ านาจภายในตนจะเป็นคนที่สนใจการเรียน ดังนั้น จึงท าให้ประสบผลส าเร็จในการเรียน ความส าเร็จที่เกิดจากความสามารถของตนจะเป็นแรงกระตุ้นให้บุคคล มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง องค์ประกอบด้านปัญญา พฤติกรรมและองค์ประกอบส่วนบุคคลเพื่อน าตนไปสู่ความส าเร็จ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีการเรียนรู้สังคมของ Bandura (1986 : 24) ดังนั้น คนที่มีความเชื่ออ านาจภายในตนจึงเป็นคนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงด้วย จึงมักเป็นคนที่ท างานด้วยความมุ่งมั่น และมีความมานะพยายามเพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมายส่งผลให้สามารถคิดวิเคราะห์ในสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรอบคอบ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ รัตนา คิดดี (2548 : 67) ที่ศึกษาพบว่า ความเชื่ออ านาจภายในตนเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 บรรยากาศในชั้นเรียน พบว่า บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโดยส่งอิทธิพลทางอ้อมผ่านตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และตัวแปรเจตคติต่อการเรียน เนื่องจากองค์ประกอบของบรรยากาศในชั้นเรียนประกอบด้วยสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการคิด ห้องเรียนมีความอบอุ่นเป็นกันเองนักเรียนมีโอกาสที่จะแสดงความคิดระหว่างเพื่อนร่วมชั้น และครูสร้างสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหาปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยฝึกสมองให้นักเรียนเกิดการคิดวิเคราะห์มากขึ้น นอกจากนี้องค์ประกอบของบรรยากาศในชั้นเรียนที่เน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ความผูกพันฉันท์มิตรระหว่างครูและนักเรียนและการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แข่งขันในการเรียน รวมถึง สภาพห้องเรียนที่สะอาดเป็นระเบียบ การจัดมุมสนใจต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้นักเรียนตื่นตัวและส่งเสริมให้มีพัฒนาการด้านการคิดวิเคราะห์มากขึ้น สอดคล้องกับผลการวิจัยของ กัญญภัค พุฒตาล (2549 : 101-106) พบว่าบรรยากาศในชั้นเรียน ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการคิดวิเคราะห์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เช่นเดียวกับผลการวิจัยของวุฒิไกร เที่ยงดี (2549 : 71) พบว่าบรรยากาศในชั้นเรียนเป็นตัวแปรที่สัมพันธ์กับความสามารถการคิดวิเคราะห ์อัมพร สมปาน (2552 :76) บรรยากาศในชั้นเรียน ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับงานวิจัยของนิภาพร หาญพิพัฒน์ (2553 : 117) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถการคิดวิเคราะห์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ กัณหา เทพดุสิต. (2554) ตัวแปรแฝงบรรยากาศในชั้นเรียน โดยแบ่งเป็นมีอิทธิพลทางตรง เท่ากับ 0.195 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง พบว่า การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโดยส่งผ่านตัวแปรความเชื่ออ านาจภายในตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เนื่องจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่เลี้ยงดูเด็กด้วยการให้ความรักความอบอุ่น รู้จักใช้เหตุผล เปิดโอกาสให้เด็กได้มีอิสระในการตัดสินใจในการกระท าของตนเอง สดคล้องกับงานวิจัยของสุชาดา ปั้นโฉม (2551 : 63) ที่พบว่า การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวเป็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการคิดวิเคราะห์ในวิชาคณิตศาสตร์ จึงสอดคล้องผลการวิจัยของ สุชาดา ปั้นโฉม (2551) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถการคิดวิเคราะห์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 , นิภาพร หาญพิพัฒน์ (2553) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถการคิดวิเคราะห์อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยของผู้ปกครองกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มีนัยส าคัญทางสถิติ โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 0.16 ถึง 0.32 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยของการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยของผู้ปกครองกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มีนัยส าคัญทางสถิติ โดยมีค่าอยู่ระหว่าง - 0.43 ถึง - 0.11 เป็นความสัมพันธ์ทางลบ , อรวรรณ เอี่ยมกิจไพศาล (2552) การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยของผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง (r = .734) และการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยตามใจ มีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง (r = .398) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่การอบรมแบบเผด็จการ มีความสัมพันธ์ทางลบ (r = - 597) มีอ านาจในการพยากรณ์ร้อยละ 89.60

Page 10: Content Analysis)gs.nsru.ac.th/files/1/4กัลยาพร จง... · 2015-08-07 · สายยศ และอังคนา สายยศ. 2539: 41-44 ; อ้างอิงมาจาก

48

ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะทั่วไป จากการศึกษางานวิจัยพบตัวแปรทุกตัวมีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คือ ความสามารถด้านเหตุผล เจตคติต่อการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่ออ านาจภายในตน บรรยากาศในชั้นเรียน และการอบรมเลี้ยงดูของ ควรพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยส่งเสริมและพัฒนาด้านความสามารถด้านเหตุผล เจตคติต่อการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่ออ านาจภายในตน และบรรยากาศในชั้นเรียน สนับสนุนให้ครูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในกาจัดการศึกษาได้เข้ารับการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพของนักเรียน สนับสนุนการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่กระตุ้นให้นักเรียนกระตือรือร้น สนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน สื่อและอุปกรณ์ที่ครบครัน รวมทั้งพ่อแม่และผู้ปกครองควรอบรมเลี้ยงดูลูกโดยการให้ความรัก ความอบอุ่น มีความห่วงใยใกล้ชิด เอาใจใส่เด็กด้วยการให้ก าลังใจและช่วยเหลือในทุก ๆด้าน ส่งเสริมให้เด็กมีอิสระในการคิดและตัดสินใจ หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเองอย่างมีเหตุผลให้โอกาสให้เด็กได้ปรับปรุงตนเอง และแสดงความยินดี ชื่นชมเมื่อท างานนั้นประสบความส าเร็จ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้ในที่สุด 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการตรวจสอบความตรงของโมเดลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 2.2 ควรศึกษาทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบพารามเิตอร์ในโมเดลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดส านักงานเขตพื้นทีก่ารศึกษาประถมศึกษาพิษณโุลก เขต 1 ระหว่างโรงเรียนที่มีขนาดตา่งกัน

เอกสารอ้างอิง กัญญภัค พุฒตาล. (2549). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปจัจัยที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์และการคิด สังเคราะห์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3. ปริญญาการศึกษามหาบณัฑติ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร. กัณหา เทพดุสิต. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดอุดรธานี: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. (การวิจัยการศึกษา).มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม . เกรียงศักดิ ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงวิเคราะห.์ กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย. เกิดศิริ ทองนวล. (2550). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. (การวิจัยการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ณาตยา อุทยารัตน.์ (2549).พัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มี ระดับการ รับรู้ความสามารถของตนเองด้านการเรียนต่างกันในโรงเรียนกลุ่มรัตนโกสินทรกรุง เทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต.(การวัดผลศึกษา) . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ. นิภาพร หาญพิพฒัน์. (2553). การวิเคราะห์พหุระดับปจัจัยทีส่่งผลต่อความสามารถในการคิด วิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดเชียงราย. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. (วิจัยและสถิติการศึกษา) .เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม.่ นิตยา สุดหาจันทร์. (2552). ปจัจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนช่วงชั้น ที่ 2 สังกัดส านักงานเขตพื้นทีก่ารศึกษาขอนแก่น เขต 5 : การวิเคราะห์พหุระดับ. ปริญญา การศึกษามหาบัณฑติ.(การวิจัยการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Page 11: Content Analysis)gs.nsru.ac.th/files/1/4กัลยาพร จง... · 2015-08-07 · สายยศ และอังคนา สายยศ. 2539: 41-44 ; อ้างอิงมาจาก

49

เบ็ญจพร ภิรมย.์ (2552). ปัจจยัเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ช่วง ชั้นที่ 3 สังกัดส านักงานเขตพืน้ที่การศึกษาศีรสะเกษ เขต 1.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑติ. (การวิจัยการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. บงกาล จันทร์หัวโทน. (2552). ตัวแปรคัดสรรบางประการที่สัมพันธ์กับความสามารถในการคิด วิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต .(การวิจัยการศึกษา) . มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปวีณรัตน์ มณีวรรณ.์ การศึกษาตัวแปรที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 จังหวัดกาญจนบุรี โดยการวิเคราะห์พหุระดับ. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต.(การวัดผล ศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2548. ปทุมพร ศรีอิสาน. (2549). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาเอกพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต. (การวิจัยการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ประพันธ์ศิร ิ สุเสารัจ. (2551).การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน.์ (2543). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาต ิฉบับที ่11 (พ.ศ.2555 – 2559 : 39) พรชัย เฉิดเจือ. (2549).ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการคิดวิพากษ์ของนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพสังกัดส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ : การวิเคราะห์พหุระดับ.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. (การวิจัยการศึกษา). มหาสารคาม มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. พัชราวลัย มีทรัพย.์ (2554).โครงสร้างการคิดของนักเรียนประถมศึกษา.ปริญญาครุศาสตดุษฎีบัณฑิต. (วิจัยและจิตวิทยาการศึกษา). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภูริณัฐ กระแสโสม. (2550). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 1. ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต. (การวิจัยการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ยรรยง ภูกองพลอย. (2550). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกาฬสินธุ.์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑติ. (การวิจัยการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลยัมหาสารคาม. รัตนา คิดดี. (2548). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส านักงาน เขตพื้นที่การศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 4. ปริญญามหาบัณฑิต. (การวัดผลการศึกษา).สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ. วิยะดา ประทุมรัตน์. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดหนองบัวล าภู.ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต. (การวิจัยการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทย์ทิชัย พวงค า. (2551). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น.ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. (วิจัยและจิตวิทยาการศึกษา). กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . วุฒิไกร เที่ยงดี. (2549). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ : การวิเคราะห์พหุระดับ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. (การวิจัยการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Page 12: Content Analysis)gs.nsru.ac.th/files/1/4กัลยาพร จง... · 2015-08-07 · สายยศ และอังคนา สายยศ. 2539: 41-44 ; อ้างอิงมาจาก

50

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2539).เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ :ชมรมเด็ก. ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. (2551). การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินการคิดของผู้เรียนระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. ศูนย์ทดสอบและประเมินเพื่อพัฒนาการศึกษาและวิชาชีพคณะครุศาสตร์. กรุงเทพ ฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิริลักษณ์ ศรีรุ่งเรือง. (2552).การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความสามารถใน การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. ปริญญา นิพนธ์มหาบัณฑิต.(การวัดผลศึกษา) . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สุชาดา ปั้นโฉม. (2551).ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปจัจัยทีส่่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ในวิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในโรงเรียนเอกชนกลุ่ม 3 เขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต.(การวัดผลศึกษา) .มหาวทิยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ ประสานมิตร. สุรางค ์ โค้วตระกูล. (2552).จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที ่8. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลยั. ส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพืน้ฐาน. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน สื่อความ.กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพส์ านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. อัมพร สมปาน.(2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดศรีสะเกษ : การเปลี่ยนแปลงระยะยาว .ปริญญาการศึกษามหาบณัฑิต. (การวิจัยการศึกษา).มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. อาภรณ ์ บุญมาก. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 : การวิเคราะห์พหุระดบั. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. (การวิจัยการศึกษา). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. อุษณา เจริญไวย. (2549). การประยุกต์ใชจ้ิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้. เลย : คณะครุศาสตร ์มหาวิทยาลัย ราชภัฏเลย. อรวรรณ เอ่ียมกิจไพศาล. (2552). ศึกษาปัจจัยบางประการทีส่่งผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที ่6 เขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 .ปริญญาครุศาสตรมหาบณัฑิต. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา). เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย . Bloom. (1956). Taxonomy of Educational Objectives Book1: Cognitiv Domain.P. 201 – 207 Bandura, A.T. Social Learning of Thought. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, 1977. ........... Social Foundations of Thought and Action : A Social Cognitive Theory.Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, 1986. .............Self -efficacy in Changing Societies. UK : Cambridge University Press, 1955. McClelland, D.C. and others. The Achivement Motive. New York : Appleton Century