“สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”nvi.ddc.moph.go.th/newsletter/4.1.53.pdf ·...

12

Transcript of “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”nvi.ddc.moph.go.th/newsletter/4.1.53.pdf ·...

Page 1: “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”nvi.ddc.moph.go.th/newsletter/4.1.53.pdf · ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม
Page 2: “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”nvi.ddc.moph.go.th/newsletter/4.1.53.pdf · ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม
Page 3: “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”nvi.ddc.moph.go.th/newsletter/4.1.53.pdf · ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม

1ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม 2553

ในระยะกว่า 20 ปีที่ ผ่ านมา ประเทศไทยได้มี

ความพยายามที่จะผลักดันนโยบายและแผนยุทธศาสตร์

วัคซีนแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและผลิตวัคซีน

ที่จำเป็นสำหรับประเทศไทยและภูมิภาค ความพยายามดังกล่าว

ประสบผลสำเร็จในปี 2548 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อ

นโยบายและแผนยุทธศาสตร์วัคซีนแห่งชาติที่คณะกรรมการวัคซีน

แห่งชาติและคณะอนุกรรมการทั้ง4คณะจัดทำขึ้น

นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา การขับเคลื่อนนโยบาย

และแผนยุทธศาสตร์วัคซีนแห่งชาติมีการดำเนินการอย่างไม่เป็น

รูปธรรมมากนัก เนื่องด้วยยังไม่มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่

ประสานพหภุาคี และตดิตามการดำเนนิงานกบัหนว่ยงานทีเ่กีย่วขอ้ง

อย่างใกล้ชิด ตลอดจนทำหน้าที่บริหารจัดการการวิจัยพัฒนาและ

การผลิตวัคซีนของประเทศให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การพัฒนา

ดา้นวคัซนีเกดิความเชือ่มโยงกนัระหวา่งหนว่ยงานตา่งๆ ทีเ่กีย่วขอ้ง

อันจะทำให้การพัฒนาสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่ อง

ในภาพรวม

ในปีงบประมาณที่ผ่ านมา กระทรวงสาธารณสุข

โดยสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติจึงได้เสนอ (ร่าง)

พระราชบัญญัติสถาบันวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. .... ต่อคณะกรรมการ

วัคซีนแห่งชาติ และได้มีมติเห็นชอบ โดยให้นำเรื่องเสนอ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี

ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดทำเอกสารหลักเกณฑ์ในการ

ตรวจสอบความจำเป็นในการตราพระราชบัญญัติฯ

แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าการเสนอ

กฎหมายโดยการตราเป็นพระราชบัญญัติมักจะใช้ระยะเวลา

พิจารณาจากทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเป็นเวลานาน

ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนางานด้านวัคซีนของประเทศไม่ทันต่อ

“สถาบันวัคซีนแห่งชาติ” ความหวังของการพัฒนางานด้านวัคซีนของประเทศ

•สมฤดีจันทร์ฉวีและดร.นพ.จรุงเมืองชนะ

Page 4: “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”nvi.ddc.moph.go.th/newsletter/4.1.53.pdf · ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม

2 จดหมายข่าวสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

สถานการณ์และสภาพปัญหาคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติจึงมีมติ

ให้ยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขับเคลื่อน

นโยบายและแผนยุทธศาสตร์วัคซีนแห่งชาติ โดยให้มีการจัดตั้ง

สถาบันวัคซีนแห่งชาติขึ้น เรื่ องดังกล่าวได้ เสนอรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามแล้วเมื่อวันที่15กันยายน2553

และคณะรั ฐมนตรี ได้ มี มติ เ ห็ นชอบในหลั กการ เมื่ อ วั นที่

30พฤศจิกายน2553

สถาบันวัคซีนแห่งชาติภายใต้ระเบียบสำนักนายก

รัฐมนตรีฯ นี้ จะทำหน้าที่ เป็นหน่วยงานกลางด้านวัคซีน

ไปพลางก่อน เพื่อทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์

วัคซีนแห่งชาติ การประสาน ส่งเสริม สนับสนุนหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวัคซีน การบริหารจัดการความรู้ ข้อมูล

ข่าวสารด้านวัคซีน การประสานและจัดหาแหล่งทุนสนับสนุน

การดำเนินงานด้านวัคซีน และติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

ตามนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ฯ โดยมีคณะกรรมการ

บริหารสถาบันวั คซีนแห่ งชาติทำหน้ าที่ ก ำหนดนโยบาย

ด้านการบริหารสถาบัน และกำกับดูแลการดำเนินกิจการของ

สถาบันให้สามารถผลักดันงานด้านวัคซีนให้เป็นไปตามนโยบาย

และแผนยุทธศาสตร์ฯ

นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ซึ่งจะทำ

หน้าที่กำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ฯ ของบประมาณ

ประจำปี แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน

และเสนอแนะให้มีกฎหมาย หรือให้มีการแก้ไข เพิ่มเติม

หรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านวัคซีน

ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้ประเทศไทยสามารถสร้าง

ศักยภาพด้านการวิจัยพัฒนาและการผลิตวัคซีนที่จำเป็นต่างๆ

อันจะทำให้ประเทศมีความมั่นคง สามารถพึ่งตนเองได้ด้านวัคซีน

“สถาบันวัคซีนแห่งชาติ” ภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ

ในช่วงต้น และภายใต้ (ร่าง) พระราชบัญญัติฯ ในระยะต่อไป

จะเป็นกลไกสำคัญที่จะผลักดัน และขับเคลื่อนการดำเนินงาน

ด้านวัคซีนโดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ไปในทิศทางเดียวกัน

และส่งเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

Page 5: “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”nvi.ddc.moph.go.th/newsletter/4.1.53.pdf · ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม

3ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม 2553

1 ประวัติศาสตร์การระบาด เวลาเกือบสองปีที่ผ่านมาคงไม่มีโรคใดที่สร้างความสนใจ

และตื่นตัวแก่ประชาชนมากเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุใหม่

2009 ที่ระบาดต่อเนื่องข้ามปี จนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศ

ให้การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุดังกล่าวเป็นการระบาด

ใหญ่ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก(pandemic)

ความจริงการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่นั้นเกิดขึ้นอยู่

ทุกปีในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เรียกว่าการระบาดประจำปีหรือ

ตามฤดูกาล (annual หรือ seasonal influenza) ซึ่งช่วงเวลาที่มี

การระบาดของโรคระหว่างซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้จะแตกต่างกัน

ถือว่าเป็นการระบาดในวงจำกัด(epidemic)

โรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัส Influenza นั้น

เริ่มคุกคามมนุษย์ตั้งแต่เมื่อใดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จาก

บันทึกทางประวัติศาสตร์ทำให้สันนิษฐานได้ว่าอาจเกิดขึ้นมานาน

กว่า 400ปีก่อนคริสตกาลแล้ว ในช่วงเวลาศตวรรษที่ผ่านมาพบว่า

มีการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่เกิดขึ้นถึง 4 ครั้ง แต่ละครั้ง

ก่อให้ เกิดการสูญเสียชีวิตและสูญเสียทางเศรษฐกิจ /สั งคม

เป็นจำนวนมาก ครั้งที่ร้ายแรงที่สุดเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2461-2462

เรียกว่า Spanish flu มีสาเหตุจากไวรัส H1N1 ในครั้งนั้น

การระบาดได้คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากถึง 40 ล้านคนทั่วโลก

ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่ 1 เสียอีก

ครั้งต่อมาเกิดขึ้นในพ.ศ. 2500-2501 เรียกว่า Asian flu เกิดจาก

ไวรัส H2N2 มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 1 แสนคน ครั้งที่สาม

HongKongfluเกิดเมื่อพ.ศ.2511-2512ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลก

ราว 7 แสนคน และครั้งล่าสุดที่เพิ่งผ่านพ้นไปก็คือไข้หวัดใหญ่

สายพันธ์ุใหม่ 2009 ที่มีผู้เสียชีวิตประมาณ 18,311 คนทั่วโลก

(ข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายน2552-กรกฎาคม2553จากองค์การ

อนามัยโลก)

เรียนรู้เรื่องไข้หวัดใหญ่จากการระบาด/ ความสูญเสียสู่การพัฒนาวัคซีน

•วรวรรณกลิ่นสุภาและพญ.อรรถยาลิ้มวัฒนายิ่งยง

Page 6: “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”nvi.ddc.moph.go.th/newsletter/4.1.53.pdf · ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม

4 จดหมายข่าวสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

2 วิวัฒนาการการพัฒนาวัคซีนจากอดีตถึงปัจจุบัน ปัจจุบันมียารักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้งที่เป็นยารักษาตาม

อาการและยาต้านไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรคแต่สำหรับการป้องกัน

การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ “วัคซีน” ถือเป็นเครื่องมือที่มี

ประสิทธิภาพและให้ผลดีที่สุด มีบทบาทสำคัญในการควบคุมและ

ลดความรุนแรงของการระบาด ลดอัตราป่วยและตาย รวมทั้ง

ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม

วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีการพัฒนาและใช้แพร่หลายมานาน

กว่า 60 ปี และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและ

ความปลอดภัย การพัฒนาวัคซีนเริ่มต้นจากการค้นพบสำคัญ

ใน พ.ศ. 2476 โดย Patrick Playfair Laidlaw และคณะ

แห่งมหานครลอนดอน ที่สามารถเพาะแยกเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้

โดยใช้สัตว์ฟันแทะferretและหนูขาว

ต่อมาในพ.ศ. 2481 Jonas Salk ร่วมกับ Thomas

FrancisJr.ได้ร่วมกันพัฒนาวัคซีนรุ่นแรกซึ่งผลิตโดยใช้เทคโนโลยี

การเพาะเลี้ยงไวรัสด้วยไข่ไก่ฟักและนำไปใช้อย่างแพร่หลาย

ในกองทัพระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 วัคซีนชนิดนี้ถือเป็น

จุดเริ่มต้นของการพัฒนาวัคซีนในยุคต่อมา

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในยุคแรก เป็นวัคซีนชนิด

เชื้อตาย ซึ่งไม่ได้ผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ที่ใช้เทคโนโลยี

ที่ก้าวหน้าเช่นในปัจจุบัน ทำให้วัคซีนในยุคนั้นก่อให้เกิดอาการ

ไม่พึงประสงค์ทั้งชนิดเฉพาะที่และทั่วทุกระบบ ในอัตราที่สูง

โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ในช่วงเวลานั้น นักวิจัยตั้งสมมติฐานว่า

อาการไม่พึงประสงค์ดังกล่าวเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

ตอ่มาเมือ่เทคโนโลยกีารผลติมคีวามกา้วหนา้ขึน้ มกีารนำ

เทคนิคการทำให้บริสุทธิ์ที่ดีมาใช้ ทำให้สามารถพัฒนาวัคซีน

ที่มีความบริสุทธิ์มากขึ้น อาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ที่เกิดภายหลัง

ได้รับวัคซีนลดลงมาก ทำให้ทราบว่า แท้ที่จริงแล้วอาการ

ไม่พึงประสงค์จากวัคซีนในยุคก่อนเกิดจากการปนเปื้อนของโปรตีน

และสารต่างๆ ที่ไม่ได้ถูกแยกออกไปด้วยกระบวนการทำให้

บริสุทธิ์ที่ดีพอ

ต่อมากระบวนการพัฒนาวัคซีนก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ

มีการใช้เทคนิคการแยกไวรัสทั้งตัวเป็นส่วนเล็กๆ (splitting)

ด้วยสารเคมีหลายชนิด ผ่านกระบวนการแยกส่วน มี H และ N

เป็นแอนติเจนสำคัญและมี external antigen เหลือตกค้างอยู่บ้าง

แต่เป็นส่วนน้อย ทำให้อาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีนลดลง วัคซีน

ชนิดนี้เรียกว่า split virion vaccineและอีกชนิดหนึ่งคือ วัคซีนที่มี

ความบริสุทธิ์มากขึ้นแยกเอาแอนติเจนส่วนภายในออกไปเหลือไว้

เพียงsurfaceAgทำให้อาการไม่พึงประสงค์ต่ำกว่าsplitvaccine

แม้ว่าประสิทธิภาพด้านการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันอาจด้อยไปบ้าง

ได้แก่ purified surface-antigen vaccine และ virosomal

vaccine

Page 7: “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”nvi.ddc.moph.go.th/newsletter/4.1.53.pdf · ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม

5ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม 2553

3 วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ ใช้อยู่ ในปัจจุบัน จากการพัฒนาวัคซีนตั้ งแต่อดีตถึงปัจจุบัน วัคซีน

ไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ทั่วไปแบ่งเป็น2ชนิดได้แก่

1. วัคซีนเชื้อตาย (inactivated influeza vaccine)

ซึ่งแบ่งออกได้เป็น4ชนิดคือ

- whole-cell virus vaccine เป็นวัคซีนที่นำเอา

ไวรัสทั้งตัวไปทำให้หมดสภาพในการติดเชื้อ วัคซีนรูปแบบนี้

ถูกยกเลิกไปในพ.ศ.2544เนื่องจากมีผลข้างเคียงมาก

- subvirion (split virion) เป็นวัคซีนที่ประกอบด้วย

ส่วนต่างๆของไวรัส เกิดจากการนำเชื้อไวรัสมาแยกออกจาก

อนุภาคเดิม

- purifiedsurface-antigenvaccineเกิดจากไวรัส

ที่ถูกแยกเอาเฉพาะ surface antigen ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

ได้แก่ Haemagglutinin (HA) และ Neuraminidase (NA) มาใช้

เป็นวัคซีน

- virosomal vaccine เป็นวัคซีนที่นำเชื้อไวรัส

ไปผ่านกระบวนการเอาสารพันธุกรรมที่อยู่ข้างในออก เหลือเพียง

แต่ส่วนที่เป็นเปลือกหุ้มไวรัส

2. วัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (live-attenuated vaccine)

เป็นวัคซีนที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ในการก่อโรค แต่ยังสามารถกระตุ้น

ภูมิคุ้มกันโดยไม่เพิ่มจำนวนในร่างกายของผู้ที่ได้รับวัคซีน และนำ

เข้าสู่ร่างกายโดยการพ่นเข้าทางจมูก

สำหรับวัคซีนเชื้อตายทั้ง 4 ชนิดนั้น การทดสอบ

ภาคสนามในอาสาสมัครจำนวนมากและการใช้เพื่อการป้องกันโรค

ในประชากรทั่วไปพบว่าวัคซีนชนิด split virionมีประสิทธิภาพสูง

กวา่วคัซนีเชือ้ตายชนดิอืน่อยา่งไรกต็าม ในดา้นอาการไมพ่งึประสงค์

ภายหลังได้รับวัคซีนมีข้อมูลบ่งชี้ว่าวัคซีนเชื้อตายชนิดที่มีแต่

surface antigen ก่อปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์น้อยกว่า ไม่ว่าจะใช้

ในประชากรกลุ่มใด ในส่วนวัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ ให้โดย

การพ่นจมูกเลียนแบบการติดเชื้อในธรรมชาติ มีประสิทธิภาพ

ในการป้องกันโรคในระดับหนึ่ง ซึ่งมีผลการศึกษาเฉพาะในผู้ที่

มีอายุระหว่าง 5-49 ปี สำหรับประชาชนในกลุ่มอายุนอกเหนือ

จากนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษา ต้องรอผลการประเมินเพิ่มเติมต่อไป

Page 8: “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”nvi.ddc.moph.go.th/newsletter/4.1.53.pdf · ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม

6 จดหมายข่าวสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

4 ความก้าวหน้าในการผลิตวัคซีนในเชิงอุตสาหกรรม การพฒันาวคัซนีไขห้วดัใหญน่ัน้ หากเปน็วคัซนีไขห้วดัใหญ่

ตามฤดูกาลจำเป็นต้องผลิตวัคซีนใหม่ทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับ

สายพันธ์ุของไวรัสที่เปลี่ยนไปเนื่องจากเชื้อสามารถกลายพันธ์ุ

ได้ง่าย และคาดว่าจะเป็นสายพันธ์ุที่ระบาดของปีนั้นและปีถัดไป

ทั้ งของซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ โดยวัคซีนที่ผลิตและใช้

ในปัจจุบันเป็นวัคซีนแบบ trivalent ที่ประกอบไปด้วยไวรัสชนิด A

2 สายพันธ์ุ และชนิด B 1 สายพันธ์ุ ซึ่งกำหนดโดยองค์การ

อนามัยโลก แต่หากเป็นกรณีระบาดใหญ่ อาจใช้สายพันธ์ุที่กำลัง

ระบาดอยู่ในขณะนั้นสายพันธ์ุเดียวเรียกว่า monovalent ทั้งนี้

ผู้ผลิตวัคซีนสามารถติดต่อเพื่อรับวัคซีนต้นแบบที่ใช้สำหรับผลิต

ในระดับอุตสาหกรรมได้ที่ WHO G loba l I n f l uenza

Programme,National Institute forBiologicalStandardsand

Control ประเทศอังกฤษ, US-CDC และ St.Jude Children’s

ResearchHospitalประเทศสหรัฐอเมริกา

การผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในระดับอุตสาหกรรม ไม่ว่า

จะเป็นชนิดเชื้อตายหรือเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ต่างก็ผลิตจากเทคโนโลยี

ไข่ไก่ฟัก (egg-based technology) ทั้งสิ้น ทำโดยเพาะเชื้อใน

ไข่ไก่ฟักปลอดเชื้อแล้วเอาเฉพาะส่วนที่ เป็นของเหลวในรก

(allantoic fluid) มาผลิตเป็นวัคซีน เทคโนโลยีนี้ใช้ในการผลิต

วัคซีนไข้หวัดใหญ่มากว่า 50 ปี จึงมีคุณภาพและปลอดภัย แต่มี

ข้อจำกัดด้านกำลังการผลิตไข่ไก่ฟักปลอดเชื้อ และไม่สามารถใช้

วัคซีนนี้ได้ในคนที่แพ้ไข่ นอกจากเทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว ยังมี

เทคโนโลยีอื่นที่มีประสิทธิภาพแต่ต้องการการพัฒนาให้สมบูรณ์

และมีข้อมูลด้านเทคนิคการเพาะเลี้ ยงและความปลอดภัย

มากเพียงพอ ได้แก่ เทคโนโลยีเซลล์เพาะเลี้ยง (cell-based

technology) เป็นการเพิ่มจำนวนไวรัสในเซลล์ชนิดต่างๆ เช่น

MDCK และ Vero cell ซึ่งเป็นเซลล์จากไตของสุนัขและลิง

ตามลำดับ และสุดท้ายเป็นเทคโนโลยีการใช้ Baculovirus

เป็นการนำยีนของไวรัสไข้หวัดใหญ่ในส่วนที่แสดงออกเป็นโปรตีน

ที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย มาตัดต่อเข้ากับพันธุกรรมของ

แบคิวโลไวรัส แล้วนำแบคิวโลไวรัสที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม

แล้วใส่เข้าไปในเซลล์แมลงที่เป็นเจ้าบ้าน (host) ของแบคิวโลไวรัส

ผลคือทำให้เซลล์ของแมลงผลิตโปรตีนของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เป็น

ส่วนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย แล้วนำมาใช้เป็นวัคซีน

โรคไข้หวัดใหญ่ได้สร้างปัญหาให้กับสังคมแต่จะมากหรือ

น้อยนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสายพันธ์ุไวรัสที่ก่อโรค และ

ความกว้างของพื้นที่ที่ไวรัสแพร่กระจาย ดังนั้นแต่ละประเทศจึง

ต้องเตรียมการรับมือกับโรคไข้หวัดใหญ่ทั้งที่ระบาดตามฤดูกาล

และเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินที่มีการระบาดใหญ่เพื่อลดความสูญเสีย

ที่จะเกิดขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีมาตรการเฝ้าระวังโรค

การเตรียมเวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เตรียมความพร้อมใน

การควบคุมการระบาดฉุกเฉิน ประชาสัมพันธ์ความรู้ความเข้าใจ

ให้กับประชาชน รวมทั้งต้องมีการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ

และเป็นระบบด้วย

อ้างอิงจาก - ระบาดบันลือโลก ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ

นพ.ประเสริฐทองเจริญ

- เอกสารข้อเสนอเชิงนโยบาย “ยุทธศาสตร์

การเตรียมพร้อมด้านวัคซีนไข้หวัดใหญ่กรณี

เกิดการระบาดใหญ่ของประเทศไทย”

- เว็บไซต์http://www.who.int

Page 9: “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”nvi.ddc.moph.go.th/newsletter/4.1.53.pdf · ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม

7ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม 2553

รคมาลาเรียเป็นโรคติดเชื้อปรสิตที่เป็นปัญหาสาธารณสุข

ที่สำคัญในหลายประเทศ ในแต่ละปีจะมีผู้ เสียชีวิต

จากโรคมาลาเรียกว่า 1 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ผู้ เสียชีวิต

ส่วนใหญ่ จะเป็นผู้ป่วยเด็ก นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมาน

จากการป่วยและติดเชื้อเป็นจำนวนหลายร้อยล้านคนทั่วโลก

ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก

การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียเป็นความหวัง

สำคัญที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันควบคุมโรคทั้งนี้ในระยะ

เวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา นับจากที่มีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่บ่งชี้ว่า

การพัฒนาวัคซีนมีโอกาสประสบผลสำเร็จ นักวิทยาศาสตร์และ

หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในวงจรการพัฒนาวัคซีนได้พัฒนา

ความร่วมมือและจัดทำแผนที่เดินทางเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนา

วัคซีนมาลาเรียขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาวัคซีนให้ประสบ

ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ร่วมกันวางไว้

ในวารสารฉบับนี้จะขอนำความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่ง

ที่ เป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับ

การพัฒนาวัคซีนมานำเสนอให้ผู้อ่านได้รับทราบการค้นพบครั้งนี้

เป็นการพบ pathway อีกทางหนึ่งในการเข้าสู่เม็ดเลือดแดง

ของเชื้อมาลาเรีย ซึ่งองค์ความรู้นี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญ

ในการนำไปพัฒนายาและวัคซีนต่อไป

ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า

เชื้อมาลาเรียใช้โปรตีน glycophorin ในการเข้าไปในเซลล์

เม็ดเลือดแดง อย่างไรก็ตาม งานวิจัยล่าสุดโดยศาสตราจารย์

อลันคาวแมน(ProfessorAlanCowman)และคณะวิจัยสถาบัน

Walter and Eliza Hall Institute มหาวิทยาลัย Edinburgh

การค้นพบ pathway ใหม่ ในการเข้าสู่เซลล์มนุษย์ของเชื้อมาลาเรีย

โ •เกศินีมีทรัพย์

Page 10: “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”nvi.ddc.moph.go.th/newsletter/4.1.53.pdf · ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม

8 จดหมายข่าวสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

ค้นพบว่า เชื้อมาลาเรียมี pathway อื่นที่จะเข้าสู่เม็ดเลือดแดงได้

โดยไม่ต้องใช้ glycophorin แต่ใช้ PfRh4-CR1 pathway

ซึ่ งเชื้อมาลาเรียอาศัยโมเลกุล PfRh4 บนตัวมันไปจับกับ

complement receptor 1 (CR1) ซึ่งเป็นโปรตีนทั่วไปที่พบบนผิว

ของเซลล์เม็ดเลือดแดง เพื่อนำเชื้อมาลาเรียเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง

PfRh4-CR1 pathway นี้ เป็นทางเข้าสู่เซลล์ที่สำคัญทางหนึ่ง

ของเชือ้มาลาเรยี หากสามารถปดิกัน้ทางเขา้สูเ่ซลลโ์ดย glycophorin

และ PfRh4-CR1 pathway จะสามารถลดการติดเชื้อของ

เซลล์ต่างๆ ได้ถึงร้อยละ 90 ซึ่งในขณะนี้คณะผู้วิจัยกำลังพัฒนา

วัคซีนโดยคัดเลือกส่วนผสมของโปรตีนต่างๆที่เหมาะสมเพื่อชักนำ

ให้ระบบภูมิคุ้มกันจดจำและสร้างแอนติบอดีสำหรับป้องกัน

การบุกรุกของเชื้อมาลาเรียเข้าสู่เซลล์

การคน้พบนี้เปน็โอกาสดทีี่จะนำไปสูก่ารวจิยัวทิยาศาสตร์

พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อมาลาเรีย/การพัฒนาวัคซีนที่พร้อม

ที่จะทดสอบวัคซีนมาลาเรียในระดับคลินิกต่อไปด้วย

แปลจาก ht tp : / /www.sc ienceda i ly .com/re leases/2010/09/

100924095831.htm

Page 11: “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”nvi.ddc.moph.go.th/newsletter/4.1.53.pdf · ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม
Page 12: “สถาบันวัคซีนแห่งชาติ”nvi.ddc.moph.go.th/newsletter/4.1.53.pdf · ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน ธันวาคม