คณะผู้เขียน - TPAtpa.or.th/publisher/admin/newbook/SampleFileT-1302.pdf ·...

7
คณะผู้เขียน ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ ชนัตต์ รัตนสุมาวงศ์ ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย นภดนัย อาชวาคม ฐิติมา จินตนาวัน อังคีร์ ศรีภคากร อลงกรณ์ พิมพ์พิณ 230.-

Transcript of คณะผู้เขียน - TPAtpa.or.th/publisher/admin/newbook/SampleFileT-1302.pdf ·...

Page 1: คณะผู้เขียน - TPAtpa.or.th/publisher/admin/newbook/SampleFileT-1302.pdf · คณะผู้เขียน ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ

คณะผู้เขียน

ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ • ชนัตต์ รัตนสุมาวงศ์

ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย • นภดนัย อาชวาคม • ฐิติมา จินตนาวัน

อังคีร์ ศรีภคากร • อลงกรณ์ พิมพ์พิณ

230.-

Page 2: คณะผู้เขียน - TPAtpa.or.th/publisher/admin/newbook/SampleFileT-1302.pdf · คณะผู้เขียน ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ

การเขยีนทางเทคนคิ (Technical Writing)

ในสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

■ บรรณาธกิารบรหิาร ทวยิา วณัณะวโิรจน์ หวัหน้ากองบรรณาธกิาร แทนพร เลศิวฒุภิทัร บรรณาธกิาร รนิดา คนัธวร ออกแบบปก ภาณุพันธ์ โนวยุทธ ออกแบบรูปเล่ม ดวงกมล แสงทองศรี, ธารินี คุตตะสิงคี ธุรการส�านักพิมพ์ อังคณา อรรถพงศ์ธร ■ พิมพ์ที่ : บริษัท พิมพ์ดีการพิมพ์ จ�ากัด

จดัพมิพ์โดย ส�านกัพมิพ์ ส.ส.ท.

5-7 ซอยสุขุมวทิ 29 ถนนสุขุมวทิ แขวงคลองเตยเหนอื เขตวฒันา กรุงเทพฯ 10110

โทร. 0-2258-0320 (6 เลขหมายอตัโนมตั)ิ, 0-2259-9160 (10 เลขหมายอตัโนมตั)ิ

เสนองานเขยีน • งานแปลได้ที่ www.tpa.or.th/publisher/new

ตดิต่อสั่งซื้อหนงัสอืได้ที่ www.tpabookcentre.com

จดัจ�าหน่ายโดย บรษิทั ซเีอด็ยเูคชั่น จ�ากดั (มหาชน)

อาคารทซีไีอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90

ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260

โทร. 0-2739-8000, 0-2739-8222 โทรสาร 0-2739-8356-9

www.se-ed.com

ข้อมลูทางบรรณานกุรมของส�านกัหอสมดุแห่งชาติ

ไพโรจน์ สงิหถนดักจิ.

การเขยีนทางเทคนคิ (Technical Writing) ในสาขาวทิยาศาสตร์และวศิวกรรมศาสตร์.-- กรงุเทพฯ : สมาคมส่งเสรมิเทคโนโลย ี

(ไทย-ญี่ปุ่น), 2556.

272 หน้า.

1. การเขยีนทางวชิาการ. 2. การเขยีนโครงการ. I. ชื่อเรื่อง.

808.066

ISBN 978-974-443-538-5

สงวนลขิสทิธิ์ตามพระราชบญัญตัลิขิสทิธิ์ พ.ศ. 2537 โดย สมาคมส่งเสรมิเทคโนโลย ี(ไทย-ญี่ปุ่น)

ห้ามลอกเลยีนไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งของหนงัสอืเล่มนี้ ไม่ว่าในรูปแบบใด ๆ

นอกจากจะได้รบัอนุญาตเป็นลายลกัษณ์อกัษร

“ถ้าหนงัสอืมขี้อผดิพลาดเนื่องจากการพมิพ์ ให้น�ามาแลกเปลี่ยนได้ที่สมาคมฯ” โทร. 0-2258-0320 ต่อ 1560, 1570

พมิพ์ครั้งที่ 1 มถิุนายน 2556

โดย...ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ และคณะ

ราคา 230 บาท

Page 3: คณะผู้เขียน - TPAtpa.or.th/publisher/admin/newbook/SampleFileT-1302.pdf · คณะผู้เขียน ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ

3.1บทน�ำ

เนื้อหาใน 2 บทแรกเป็นการเตรียมตัวและเตรียมข้อมูลส�าหรับการเขียน บทนี้จะ

กล่าวถงึขัน้ตอนในการเขยีนรวมทัง้แสดงตวัอย่างการเขยีนในขัน้ตอนต่างๆ หวัข้อที่3.2แนะน�า

กระบวนการเขียนเริ่มต้นตั้งแต่การเตรียมตัวส�าหรับการเขียนการหาข้อมูลการเขียนโครงร่าง

การปรับปรุงโครงร่าง การเขียนร่างแรก การปรับปรุงแก้ไขร่างแรกจนได้เป็นร่างสุดท้าย และ

การพิสูจน์อักษรจนได้งานเขียนฉบับสมบูรณ์ หัวข้อที่ 3.3 แสดงตัวอย่างการเขียนโครงร่าง

ของงานเขยีนการเขยีนร่างแรกและการปรบัปรงุแก้ไขงานเขียนซึง่ท�าได้จนกว่าผูเ้ขียนจะพอใจ

หัวข้อที่3.4น�าเสนอโครงสร้างของงานเขียนทางเทคนิคทั่วไปประกอบด้วยส่วนเริ่มต้นส่วน

กลาง และส่วนท้าย นอกจากนี้ยังน�าเสนอรูปแบบบทความวิชาการทางวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีตามแบบ IMRaD อีกด้วย ในหัวข้อสุดท้ายน�าเสนอตัวอย่างการเขียนบรรยายทาง

เทคนิคซึ่งผู้เขียนจะต้องอธิบายถึงลักษณะของชิ้นงานกระบวนการหรือวิธีการ

บทท่ี

3ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ

กระบวนการและโครงสร้าง

Process and Structure

Page 4: คณะผู้เขียน - TPAtpa.or.th/publisher/admin/newbook/SampleFileT-1302.pdf · คณะผู้เขียน ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ

38 การเขียนทางเทคนิค (Technical Writing) ในสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

3.2กระบวนกำรเขียน

บทที่ 2 ได้แสดงวิธีการเตรียมตัวของผู้เขียนก่อนเริ่มเขียนงานเขียนทางเทคนิค

ซ่ึงประกอบด้วยเนื้อหาหลัก ๆ คือ การวิเคราะห์ผู้อ่านและการตั้งวัตถุประสงค์ของงานเขียน

ในหัวข้อนี้จะแสดงกระบวนการเขียนตั้งแต่การเตรียมตัวก่อนเขียนจนกระทั่งได้ต้นฉบับที่

สมบูรณ์ ในที่นี้จะแบ่งขั้นตอนการเขียนออกเป็น 6 ขั้นตอนคร่าว ๆ ดังแสดงในรูปที่ 3.1

รายละเอียดของแต่ละขั้นตอนมีดังนี้

5. revise 1

1. pre-write

2. outline your writing

3. gather additional information

4. draft #1

revise

revise

draft #2

draft #3

revise 2

draft #n

final revise

final draft

6. proof reading

final manuscript

revise

รูปที่ 3.1 กระบวนการเขียน

3.2.1 pre-write

ขั้นตอนแรกของการเขียน คือ การเตรียมตัว และการเตรียมข้อมูลส�าหรับการเขียน

ขัน้ตอนนีไ้ด้อธบิายอย่างละเอยีดไว้ในบทก่อนหน้าแล้วในกระบวนการเตรยีมตวัผูเ้ขียนจะต้อง

ตั้งวัตถุประสงค์ของงานเขียนให้ชัดเจน ต้องระบุผู้อ่านว่ามีผู้อ่านกลุ่มใดบ้าง ใครเป็นผู้อ่าน

ส่วนใหญ่ที่ผู้เขียนจะต้องให้ความส�าคัญมากกว่า นอกจากนั้น ผู้เขียนจะต้องก�าหนดขอบเขต

ของงานเขียน โดยระบุว่าเนื้อหาส่วนใดจะน�ามารวมอยู่ในงานเขียน ส่วนใดจะไม่น�ามารวมใน

งานเขยีนสดุท้ายผูเ้ขยีนจะต้องเตรยีมใจความหลักหรอืข้อสรปุหลัก(thesisstatements)ของ

งานเขียน ส�าหรับการเขียนเป็นกลุ่มที่มีผู้เขียนหลายคนอาจจะต้องมีการระดมสมอง (brain-

storm) เพื่อให้ได้ใจความหลักของงานเขียน ซึ่งผู้เขียนควรเตรียมแนวคิดหลัก (main idea)

เพื่อสนับสนุนใจความหลักของตนเองไว้ด้วยงานอีกส่วนหนึ่งในกระบวนการเตรียมตัวส�าหรับ

Page 5: คณะผู้เขียน - TPAtpa.or.th/publisher/admin/newbook/SampleFileT-1302.pdf · คณะผู้เขียน ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ

บทที่3กระบวนการและโครงสร้าง 39

การเขียนคือ การหาข้อมูลส�าหรับการเขียน ถึงแม้ผู้เขียนจะเขียนเกี่ยวกับการศึกษาหรือการ

ทดลองที่ตนเองท�า ก็ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมที่ใช้เพื่อประกอบการเขียน ดังนั้น การหาข้อมูลจึง

เป็นงานหลักอีกอย่างหนึ่งในกระบวนการเตรียมตัวก่อนการเขียน

3.2.2 การเขียนโครงร่าง (outline)

การเขียนโครงร่างของงานเขียนจะช่วยควบคุมให้งานเขียนอยู่ในขอบเขต และเป็นไป

ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และยังช่วยให้ผู้เขียนแน่ใจว่าได้น�าเสนอแนวคิดและข้อสรุปตามที ่

ตั้งไว้ได้อย่างครบถ้วน ตรงตามวัตถุประสงค์ และมีขอบเขตเหมาะสมส�าหรับผู้อ่าน โครงร่าง

ของบทความที่ดีไม่ได้ประกอบด้วยหัวข้อย่อยที่ผู้เขียนต้องการเขียนเท่านั้น ต้องแสดงใจความ

หลกัและข้อมลูส�าคญัทีต้่องการน�าเสนอด้วยตวัอย่างโครงร่างของงานเขียนทางเทคนิคจะแสดง

ในหัวข้อต่อไป

3.2.3 การหาข้อมูลเพิ่มเติมและการปรับปรุงโครงร่าง

เมื่อเขียนโครงร่างได้แล้ว ผู้เขียนมักพบว่าโครงร่างที่ได้จากการเขียนรอบแรกยังไม่

สมบูรณ์ อาจจะขาดข้อมูลบางอย่างที่ท�าให้งานเขียนมีความน่าสนใจมากข้ึน ดังน้ันจึงต้องมี

การหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนข้อสรุปหลักของงานเขียนเมื่อได้ข้อมูลเพิ่มเติมแล้วผู้เขียน

จะต้องน�าข้อมูลดังกล่าวมารวมในโครงร่างที่เตรียมไว้ และต้องปรับปรุงโครงร่างให้เหมาะสม

โดยอาจจะต้องตัดเนื้อหาบางส่วนออกหรือมีการสลับหัวข้อเพื่อความเหมาะสม

3.2.4 การเขียนร่างแรก (first draft)

หลังจากได้โครงร่างงานที่สมบูรณ์พร้อมทั้งข้อมูลสนับสนุนแล้ว ผู้เขียนก็สามารถเริ่ม

เขียนงานได้ตามโครงร่างที่วางไว้ โดยปกติโครงร่างของงานเขียนจะแบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อหรือ

เป็นบทและแบ่งเป็นหัวข้อย่อยในหัวข้อหลักผู้เขียนสามารถเริ่มเขียนงานในหัวข้อต่างๆ ตาม

ใจความหลักที่ก�าหนดไว้โดยไม่จ�าเป็นจะต้องเขียนเนื้อหาในหัวข้อแรกที่อยู่ในโครงร่างก่อน

งานเขียนหลายประเภทจะมีบทคัดย่ออยู่ในหัวข้อแรก ๆ ซึ่งผู้เขียนไม่จ�าเป็นและไม่ควรเขียน

เนื้อหาของบทคัดย่อก่อนแต่ควรเขียนเป็นล�าดับท้ายๆหลังจากแน่ใจว่าเนื้อหาในหัวข้ออื่นมี

ความสมบูรณ์และไม่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว ผู้เขียนควรตระหนักว่างานเขียนที่เป็นร่างแรก

จะยงัไม่สมบรูณ์ต้องมกีารปรบัเปลีย่นให้เหมาะสมอกีจงึไม่ควรเสียเวลากบัหวัข้อใดหวัข้อหน่ึง

มากจนเกนิไปเนือ่งจากเนือ้หาดงักล่าวอาจถกูปรบัเปล่ียนได้เสมอจงึอาจมองว่าการเขยีนร่าง

Page 6: คณะผู้เขียน - TPAtpa.or.th/publisher/admin/newbook/SampleFileT-1302.pdf · คณะผู้เขียน ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ

40 การเขียนทางเทคนิค (Technical Writing) ในสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

แรกเป็นการน�าความคิดทั้งหมดของผู้เขียนวางลงในงานเขียนตามโครงร่างที่เตรียมไว้ โดยไม่

ต้องค�านึงถึงความต่อเนื่อง ความเหมาะสมครบถ้วนของเนื้อหา และความถูกต้องของการใช้

ภาษาเท่าไรนัก

3.2.5 การปรับปรุงแก้ไข (revise)

เมื่อได้ร่างแรกของงานเขียนแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ การปรับปรุงแก้ไขร่างแรกให้

สมบูรณ์มากขึ้น อาจถือได้ว่าการปรับปรุงแก้ไขเป็นขั้นตอนที่ส�าคัญที่สุดในการเขียนบทความ

งานเขยีนจะออกมาดไีด้กต้็องมกีารปรบัปรงุแก้ไขอย่างมปีระสทิธภิาพตามข้อพจิารณาดงัต่อไปนี้

1. ตรวจสอบว่าใจความหลักหรือข้อสรุปหลักแต่ละหัวข้อถูกน�าเสนออย่างครบถ้วน

สมบรูณ์หรอืไม่หากมีใจความหลกัใดยงัไม่ชัดเจนผูเ้ขยีนจะต้องแก้ไขให้ชดัเจนยิง่ขึน้

2. พจิารณาว่าแนวคดิในการน�าเสนอตวัอย่างรปูภาพประกอบภาพรวมของย่อหน้า

ลักษณะของประโยคและการใช้ภาษามีความเหมาะสมในการถ่ายทอดใจความหลักที่ต้องการ

น�าเสนอเพียงใดมีสิ่งใดที่สามารถแก้ไขให้เหมาะสมและสมบูรณ์มากขึ้นได้

3. พจิารณาว่าเนือ้หาในแต่ละย่อหน้ามรีายละเอยีดครบถ้วนไม่น้อยเกนิไปจนผูอ่้าน

ไม่เข้าใจและไม่มากเกินไปจนท�าให้เนื้อหาไม่อยู่ในประเด็นที่ต้องการสื่อสาร

4. ตรวจสอบว่าเนื้อหาทั้งหมดไม่ขัดแย้งกันเอง มีความสอดคล้องกัน และมีการ

น�าเสนอเนื้อหาในหัวข้อต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่องไม่มีการเปลี่ยนเนื้อหาหรืออารมณ์ของเนื้อหา

มากจนเกินไป

5. หากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างแรกมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือมีส่วนที่ผู้เขียนต้องการ

เพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนในรายละเอียด อาจต้องหาข้อมูลเพ่ิมเติมเพ่ือให้งานเขียนมีความ

สมบูรณ์มากขึ้น

6. การปรับปรุงแก้ไขเป็นกระบวนการที่ต้องท�าซ�้าหลายๆ รอบจนกว่าผู้เขียนจะเห็น

ว่าไม่มีข้อแก้ไขแล้ว หรือจนกว่าจะไม่มีเวลาปรับปรุงแก้ไขแล้ว การปรับปรุงแก้ไขรอบสุดท้าย

จึงเป็นการตรวจสอบว่าเนื้อหาในงานเขียนมีความสมบูรณ์และถูกต้องแล้ว รวมถึงตรวจสอบ

ว่าเนื้อหาในแต่ละส่วนสอดคล้องกับใจความหลักในโครงร่างหรือไม่ ไม่มีการโจรกรรมทาง

วรรณกรรม เนื้อหาไม่ขัดแย้งกันและมีความต่อเนื่อง เนื้อหาแต่ละย่อหน้าและแต่ละหัวข้อ

ครบถ้วนสมบูรณ์ ผู้อ่านไม่น่าจะมีข้อสงสัยใด ๆ ได้อีก เมื่อจบกระบวนการปรับปรุงแก้ไข

ผูเ้ขยีนจะได้งานเขียนทีเ่รยีกว่า“ร่างสดุท้าย(finaldraft)”เป็นอนัเสรจ็ส้ินกระบวนการปรบัปรงุ

แก้ไข

Page 7: คณะผู้เขียน - TPAtpa.or.th/publisher/admin/newbook/SampleFileT-1302.pdf · คณะผู้เขียน ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ

บทที่3กระบวนการและโครงสร้าง 41

3.2.6 การพิสูจน์อักษร (proof reading)

เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการปรับปรุงแก้ไขจะได้งานเขียนที่มีเนื้อหาครบถ้วนมีตัวอย่าง

และข้อสนบัสนนุทีน่่าเชือ่ถอืมีการสือ่ความทีเ่หมาะสมตรงตามเจตนาของผูเ้ขยีนอย่างไรกต็าม

งานเขยีนดงักล่าวจะยงัไม่สมบรูณ์ต้องผ่านกระบวนการตรวจทานทีเ่รยีกว่า“การพสูิจน์อกัษร”

โดยปกติการพิสูจน์อักษรมักท�าโดยผู้พิสูจน์อักษร (proof reader) หรือท�าโดยผู้เขียนเอง ใน

ขั้นตอนการพิสูจน์อักษรจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเนื้อหาอีกแล้ว จะเป็นการตรวจ

สอบเกี่ยวกับตัวสะกด เครื่องหมายวรรคตอน การเว้นวรรค การใช้ภาษา (grammar) และ

รูปแบบ(format)ของงานเขียนเท่านั้นในกระบวนการการจัดท�าสิ่งพิมพ์ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ

หรือวารสารจะมีผู้ที่ท�าหน้าที่เป็นบรรณาธิการ (editor) ซึ่งบางครั้งหน้าที่ของบรรณาธิการ

และผู้พิสูจน์อักษรอาจมีลักษณะคล้ายกันจนท�าให้เกิดความสับสน บรรณาธิการจะท�าหน้าที่

พิจารณาเนื้อหาของงานเขียนหลายๆ งานในหนังสือหรือวารสารเล่มหนึ่งๆ โดยบรรณาธิการ

จะควบคุมเนื้อหาในภาพรวมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสิ่งพิมพ์นั้น ๆ ในขณะที่ผู้พิสูจน์

อักษรจะท�าหน้าที่ในการตรวจทานเรื่องภาษาของงานเขียนชิ้นหน่ึง ๆ ดังน้ัน บุคคลทั้งสอง

จะมีหน้าที่แยกกันอย่างชัดเจน

หัวข้อนี้ได้แสดงขั้นตอนการเขียนที่เริ่มจากการเตรียมตัวก่อนการเขียน จนกระทั่งได้

ร่างสุดท้ายก่อนการพิสูจน์อักษรซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเตรียมต้นฉบับในหัวข้อต่อไป

จะแสดงตัวอย่างการเขียนโครงร่างและการปรับปรุงแก้ไข

3.3ตัวอย่ำงโครงร่ำงและกำรปรับปรุงแก้ไข

3.3.1 โครงร่าง

ในหัวข้อนีจ้ะแสดงตวัอย่างการเขยีนโครงร่าง และข้อแนะน�าส�าหรบัการเขียนโครงร่าง

ของงานเขียนบ่อยครัง้ทีน่สิตินกัศกึษามักเข้าใจว่าการเขยีนโครงร่างคอืการวางแผนว่างานเขยีน

ของตนจะมหีวัข้ออะไรบ้างแต่ความจรงิแล้วผูเ้ขยีนควรระบใุจความหลกัในหวัข้อนัน้ๆ ด้วยโดย

ใจความหลักจะต้องแสดงรายละเอียดพอสมควรเพื่อให้เห็นภาพรวมของงานเขียนทั้งหมด

ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงการเขียนรายงานผลการศึกษาเกี่ยวกับความคุ้มค่าของการใช้แบตเตอรี่

ในรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าขนาดที่ใช้ในปัจจุบัน รวมถึงการแสดงความเห็นของผู้เขียนถึง

ขนาดของแบตเตอรี่ที่ควรใช้