การเขียนบทบรรณาธิการ -...

22
รุจน โกมลบุตร การเขียนบทบรรณาธิการและบทความ สำนักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร การเขียนบทบรรณาธิการ และบทความ ตัวอย่าง

Transcript of การเขียนบทบรรณาธิการ -...

Page 1: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

0.7 cm

รุจน โกมลบุตรรุจน โกมลบุตร

http://www.thammasatpress.com

ราคา 130 บาทหมวดวารสารศาสตร

การเขียนบทบรรณาธิการและบทความ การเขียนบทบรรณาธิการและบทความ

สำนักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

สำหรับบางคน การเขียนหนังสือเปนพรสวรรคที่ติดตัวมา เวทีการเขียนเปนชองทางในการ

“ปลอยของ” ที่ทาทาย และสนุกสนาน

แตก็ปฏิเสธไมไดวา สำหรับบางคน การเขียนหนังสือถือเปนยาขม โดยเฉพาะเมื่อเกิด

คำถามวา “ไมรูจะเริ่มยังไง” หรือ “จะเอาอะไรไปเขียนดี”

ตำราเลมนี ้มาจากประสบการณหลายปที ่ผู เขียนไดจากการสอนวิชา “การเขียนบท

บรรณาธิการและบทความ” คณะวารสารศาสตรและส่ือสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ซ่ึง

ผูเรียนสวนใหญมักจะอยูในกลุมนัก (อยาก) เขียนประเภทหลัง

เนื้อหาในตำราเลมนี้ดึงมาจากการขับเนนจุดเดนที่นักศึกษามักทำไดดีในชั้นเรียน และการ

ปดจุดออนที่นักศึกษามักจะทำผิดบอยๆ

ตัวอยางบทความเกือบทั้งหมดในตำราเลมนี้ มาจากแบบฝกหัดที่นักศึกษาทำสงผูเขียน ซึ่ง

แสดงใหเห็นวา ความสำเร็จในการเขียนก็เปน “พรแสวง” ไดเชนกัน

หากเราอดทนและฝกฝนใหมากพอ

การเขียนบทบรรณาธิการและบทความ

ISBN 978-616-314-055-5

9 7 8 6 1 6 3 1 4 0 5 5 5

ตัวอย่าง

Page 2: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

(4)

รุจน์ โกมลบุตร.

การเขียนบทบรรณาธิการและบทความ. ๑. บทบรรณาธิการ--ไทย. ๒. วารสารศาสตร์--การเขียน. PN4784 ISBN 978-616-314-055-5 ลิขสิทธิ์ของผูชวยศาสตราจารย์รุจน์ โกมลบุตร สงวนลิขสิทธิ์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖ จำนวน ๒๐๐ เล่ม จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารธรรมศาสตร์ ๖๐ ปี ชั้น U1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถนนพระจันทร์ กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๒๓-๙๒๓๒, ๐-๒๖๑๓-๓๘๐๑-๒ โทรสาร ๐-๒๒๒๖-๒๐๘๓ (สำนักงานศูนย์รังสิต โทร. ๐-๒๕๖๔-๒๘๕๙-๖๐) e-mail address: [email protected] พิมพ์ที่หางหุนสวนจำกัด เอ็มแอนด์เอ็มเลเซอร์พริ้นต์ นายสมชาย ดำขำ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา แบบปกโดยนายณรงค์ฤทธิ์ สิงห์ทอง

ราคาเลมละ ๑๓๐.- บาท

Frist Part_Writing_Edit 3.indd 4 8/10/2556 15:08:06

(4)

รุจน์ โกมลบุตร.

การเขียนบทบรรณาธิการและบทความ. ๑. บทบรรณาธิการ--ไทย. ๒. วารสารศาสตร์--การเขียน. PN4784 ISBN 978-616-314-055-5 ลิขสิทธิ์ของผูชวยศาสตราจารย์รุจน์ โกมลบุตร สงวนลิขสิทธิ์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖ จำนวน ๒๐๐ เล่ม จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารธรรมศาสตร์ ๖๐ ปี ชั้น U1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถนนพระจันทร์ กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๒๓-๙๒๓๒, ๐-๒๖๑๓-๓๘๐๑-๒ โทรสาร ๐-๒๒๒๖-๒๐๘๓ (สำนักงานศูนย์รังสิต โทร. ๐-๒๕๖๔-๒๘๕๙-๖๐) e-mail address: [email protected] พิมพ์ที่หางหุนสวนจำกัด เอ็มแอนด์เอ็มเลเซอร์พริ้นต์ นายสมชาย ดำขำ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา แบบปกโดยนายณรงค์ฤทธิ์ สิงห์ทอง

ราคาเลมละ ๑๓๐.- บาท

Frist Part_Writing_Edit 3.indd 4 8/10/2556 15:08:06

(4)

รุจน์ โกมลบุตร.

การเขียนบทบรรณาธิการและบทความ. ๑. บทบรรณาธิการ--ไทย. ๒. วารสารศาสตร์--การเขียน. PN4784 ISBN 978-616-314-055-5 ลิขสิทธิ์ของผูชวยศาสตราจารย์รุจน์ โกมลบุตร สงวนลิขสิทธิ์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖ จำนวน ๒๐๐ เล่ม จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารธรรมศาสตร์ ๖๐ ปี ชั้น U1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถนนพระจันทร์ กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๒๓-๙๒๓๒, ๐-๒๖๑๓-๓๘๐๑-๒ โทรสาร ๐-๒๒๒๖-๒๐๘๓ (สำนักงานศูนย์รังสิต โทร. ๐-๒๕๖๔-๒๘๕๙-๖๐) e-mail address: [email protected] พิมพ์ที่หางหุนสวนจำกัด เอ็มแอนด์เอ็มเลเซอร์พริ้นต์ นายสมชาย ดำขำ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา แบบปกโดยนายณรงค์ฤทธิ์ สิงห์ทอง

ราคาเลมละ ๑๓๐.- บาท

Frist Part_Writing_Edit 3.indd 4 8/10/2556 15:08:06

(4)

รุจน์ โกมลบุตร.

การเขียนบทบรรณาธิการและบทความ. ๑. บทบรรณาธิการ--ไทย. ๒. วารสารศาสตร์--การเขียน. PN4784 ISBN 978-616-314-055-5 ลิขสิทธิ์ของผูชวยศาสตราจารย์รุจน์ โกมลบุตร สงวนลิขสิทธิ์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือนตุลาคม ๒๕๕๖ จำนวน ๒๐๐ เล่ม จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารธรรมศาสตร์ ๖๐ ปี ชั้น U1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถนนพระจันทร์ กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร. ๐-๒๒๒๓-๙๒๓๒, ๐-๒๖๑๓-๓๘๐๑-๒ โทรสาร ๐-๒๒๒๖-๒๐๘๓ (สำนักงานศูนย์รังสิต โทร. ๐-๒๕๖๔-๒๘๕๙-๖๐) e-mail address: [email protected] พิมพ์ที่หางหุนสวนจำกัด เอ็มแอนด์เอ็มเลเซอร์พริ้นต์ นายสมชาย ดำขำ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา แบบปกโดยนายณรงค์ฤทธิ์ สิงห์ทอง

ราคาเลมละ ๑๓๐.- บาท

Frist Part_Writing_Edit 3.indd 4 8/10/2556 15:08:06

eISBN 978-616-314-107-1

ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ (e-book) กันยายน 2557

ตัวอย่าง

Page 3: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

(5)

สารบาญ

หน้า

สารบาญ (๕)

สารบาญตัวอย่าง (๗)

คำนำ (๘)

บทที่ ๑ ความหมายของบทความ ๑

๑.๑ ความหมายของบทความ ข่าว และสารคดี ๑

๑.๒ คุณสมบัติของบทความ ๒

๑.๓ ประเภทของบทความ ๔

๑.๔ สรุป ๑๔

๑.๕ แบบฝึกหัด ๑๕

บทที่ ๒ บทบรรณาธิการ ๑๘

๒.๑ ความหมายของบทบรรณาธิการ ๑๘

๒.๒ คุณสมบัติของบทบรรณาธิการ ๑๙

๒.๓ โครงสร้างบทบรรณาธิการ ๒๐

๒.๔ ความท้าทายของบทบรรณาธิการ ๒๓

๒.๕ สรุป ๒๔

๒.๖ แบบฝึกหัด ๒๔

บทที่ ๓ ความคิดกับการเขียน ๒๗

๓.๑ “คิด” ก่อนเขียน ๒๗

๓.๒ สรุป ๕๖

๓.๓ แบบฝึกหัด ๕๖

บทที่ ๔ การคิดอยางมีเหตุผล ๕๙

๔.๑ โครงสร้างของการโต้แย้งหรือการเสนอความเห็นอย่างมีเหตุและผล (Argument) ๕๙

๔.๒ การอ้างเหตุผลผิดหรือเหตุผลวิบัติ (Fallacy) ๖๐

Frist Part_Writing_Edit 3.indd 5 8/10/2556 15:08:07

ตัวอย่าง

Page 4: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

(6)

๔.๓ สรุป ๖๓

๔.๔ แบบฝึกหัด ๖๔

บทที่ ๕ โครงสรางของบทความ ๖๘

๕.๑ ชื่อเรื่อง (Title) ๖๙

๕.๒ ส่วนนำ (Introduction) ๗๐

๕.๓ เนื้อเรื่อง (Body) ๘๐

๕.๔ ส่วนสรุป (Conclusion) ๘๐

๕.๕ สรุป ๘๕

๕.๖ แบบฝึกหัด ๘๕

บทที่ ๖ การเรียบเรียงบทความ ๙๐

๖.๑ การทำโครงเรื่อง (Outline) ๙๐

๖.๒ การใช้ภาษา ๙๒

๖.๓ การสื่อความหมาย ๙๖

๖.๔ การขัดเกลาบทความ ๑๐๑

๖.๕ สรุป ๑๐๒

๖.๖ แบบฝึกหัด ๑๐๓

บทที่ ๗ การจัดการขอมูลสำหรับการเขียนบทความ ๑๐๙

๗.๑ การหาข้อมูล ๑๐๙

๗.๒ การอ้างอิงข้อมูล ๑๑๒

๗.๓ สรุป ๑๑๔

๗.๔ แบบฝึกหัด ๑๑๕

บทที่ ๘ บทสรุป ๑๑๗

๘.๑ สรุป ๑๑๗

๘.๒ แบบฝึกหัด ๑๑๙

บรรณานุกรม ๑๒๐

แนะนำผูเขียน ๑๒๓

Frist Part_Writing_Edit 3.indd 6 8/10/2556 15:08:07

ตัวอย่าง

Page 5: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

(7)

สารบาญตัวอยาง

หน้า

ตัวอย่างที่ ๑.๑ บทความทั่วไป ๕

ตัวอย่างที่ ๑.๒ บทบรรณาธิการ ๗

ตัวอย่างที่ ๑.๓ บทความวิจารณ์ผลงานศิลปะ ๙

ตัวอย่างที่ ๑.๔ บทความบุคคล ๑๒

ตัวอย่างที่ ๒.๑ บทบรรณาธิการ ๒๑

ตัวอย่างที่ ๓.๑ บทความที่มีจุดประสงค์เสนอทางเลือก ๓๖

ตัวอย่างที่ ๓.๒ บทความที่มีจุดประสงค์ในการอธิบายขยายความ ๓๗

ตัวอย่างที่ ๓.๓ บทความที่มีจุดประสงค์เพื่อการสร้างความเชื่อมั่น ๓๙

ตัวอย่างที่ ๓.๔ บทความที่มีจุดประสงค์เพื่อการเชิญชวน ๔๑

ตัวอย่างที่ ๓.๕ บทความที่มีจุดประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นคุณค่า/ความสำคัญ ๔๓

ตัวอย่างที่ ๓.๖ บทความที่มีจุดประสงค์เพื่อเรียกร้อง ๔๕

ตัวอย่างที่ ๓.๗ บทความที่มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ฉุกคิด ๔๗

ตัวอย่างที่ ๓.๘ บทความที่มีจุดประสงค์เพื่อการเตือน ๔๙

ตัวอย่างที่ ๓.๙ บทความที่มีจุดประสงค์เพื่อคัดค้าน ๕๒

ตัวอย่างที่ ๕.๑ ส่วนนำที่สร้างความขัดแย้ง ๗๒

ตัวอย่างที่ ๕.๒ ส่วนนำที่ตั้งคำถาม ๗๕

ตัวอย่างที่ ๕.๓ ส่วนนำที่ล้อกับส่วนสรุป ๗๗

ตัวอย่างที่ ๕.๔ ส่วนสรุปที่เป็นประโยครวบยอด ๘๒

Frist Part_Writing_Edit 3.indd 7 8/10/2556 15:08:07

ตัวอย่าง

Page 6: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

(8)

คำนำ

ผู้เขียนเขียนตำราเรื่อง การเขียนบทบรรณาธิการและบทความ เพื่อเสริมสร้างแนวคิด

ให้นักศึกษาเห็นว่า หากจะเริ่มต้นการเป็นนักเขียนบทความที่ดี ควรจะต้องทำอะไรบ้าง และอะไร

ที่ควรระมัดระวัง

เนื้อหาในตำราเล่มนี้ มาจากองค์ประกอบ ๓ ส่วนหลักๆ ได้แก่

ส่วนแรก คือ การอ้างอิงจากตำราด้านการเขียน เอกสาร และการอ่านบทความต่างๆ

ส่วนที่สอง คือ ประสบการณ์การเขียนบทความของผู้เขียน ที่นำเสนอผ่านทางหนังสือพิมพ์

นิตยสาร และเว็บไซต์ต่างๆ เป็นระยะๆ มากว่า ๑๕ ปี

ส่วนที่สาม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุด คือ มาจากประสบการณ์การสอนนักศึกษาระดับ

ปริญญาตรี โดยเฉพาะในวิชา วส.๓๑๐ การเขียนบทบรรณาธิการและบทความ คณะวารสารศาสตร์

และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สอนวิชานี้ติดต่อกันมา ๘ ปีแล้ว

เหตุที่บอกว่า ประสบการณ์การสอนในวิชาดังกล่าวเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดใน

ตำราเล่มนี้เนื่องจาก ระหว่างที่ผู้เขียนอยู่หน้าชั้นเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนกับนักศึกษา หรือระหว่าง

การตรวจบทความที่นักศึกษาเขียนส่งเป็นแบบฝึกหัดคนละ ๘ ชิ้นต่อเทอมนั้น ได้สร้างการเรียนรู้

นอกตำรามากมายให้แก่ผู้เขียน อาทิ สอนอย่างไรนักศึกษาจะเข้าใจ สอนแบบไหนนักศึกษาจะมึนงง

อะไรที่ควรเน้น อะไรที่ไม่ต้องเน้น หรืออะไรที่ควรปล่อยให้นักศึกษาเรียนรู้เอง

สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ผู้เขียนได้เรียนรู้ว่านักศึกษามีความสนใจเรื่องอะไร จุดเด่นที่นักศึกษา

มักทำได้ดีคืออะไร จุดอ่อนที่นักศึกษามักจะทำผิดบ่อยๆ คืออะไร

ดังนั้นตำราฉบับนี้ จะมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้พัฒนาจุดเด่นของตัวเองให้ดีขึ้น และลดจุดอ่อน

ของตัวเองลง โดยอาศัยข้อมูลประสบการณ์การสอนนักศึกษารุ่นก่อนหน้านี้เป็นหลัก

ผู้เขียนขอขอบคุณคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ที่สนับสนุนทุนในการเขียนตำรา

ในครั้งนี้

ผู้เขียนขอขอบคุณสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่อนุมัติให้ตำราเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่ง

ของโครงการหนังสือวิชาการที่น่าพิมพ์

ผู้เขียนขอขอบคุณนักศึกษาที่เป็นเจ้าของข้อความบางส่วนในบทความ และเจ้าของบทความ

เต็มเรื่องจำนวน ๒๓ ชิ้น ที่อนุญาตให้นำผลงานเหล่านั้นมาเป็นตัวอย่างในตำราเล่มนี้

Frist Part_Writing_Edit 3.indd 8 8/10/2556 15:08:07

ตัวอย่าง

Page 7: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

(9)

ผู้เขียนขอขอบคุณนักศึกษาทุกคนในทุกวิชาที่ได้แลกเปลี่ยนกัน การตั้งหน้าตั้งตาคุยกัน

และรับฟังกัน ทำให้ทุกคนเรียนรู้และเติบโต รวมทั้งอาจารย์อย่างผู้เขียนด้วย

สำหรับนักศึกษาที่ต้องการเป็นนักเขียนที่ดี แม้ผู้เขียนจะส่งกำลังใจให้นักศึกษาประสบ

ความสำเร็จเพียงใดก็ตาม นั่นยังไม่สำคัญเท่ากับการที่นักศึกษาได้ลงมือเขียนด้วยตัวเอง

รุจน์ โกมลบุตร

Frist Part_Writing_Edit 3.indd 9 8/10/2556 15:08:07

ตัวอย่าง

Page 8: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

1

บทที่ ๑

ความหมายของบทความ

ในบทที ่๑ นีจ้ะไดอ้ธบิายถงึความหมาย

ของบทความ โดยเปรียบเทียบกับข่าว และ

สารคดี จากนั้นจะอธิบายถึงคุณสมบัติของ

บทความ และประเภทของบทความ

๑.๑ ความหมายของบทความ ข่าว และสารคดี

ได้มีนักวิชาการอธิบายความหมายของ

บทความไว้ดังนี้

เกศินี จุฑาวิจิตร (๒๕๕๒, น.๑๑๓)

อธิบายว่า บทความคือ ความเรียงหรือเรื่องเล่า

ประเภทหนึ่งที่ผู้เขียนมุ่งแสดงความรู้ ข้อมูล

ประสบการณ ์ แนวคิด ทัศนะและความคิดเห็น

เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อันเป็นประเด็นที่

คนทัว่ไปในสงัคมใหค้วามสนใจ หรอืเปน็ประเดน็

ที่ผู้เขียนมุ่งเสนอเพื่อให้สังคมหันมาสนใจ

Writing_ch 1_Edit 3.indd 1 8/10/2556 15:10:18

ตัวอย่าง

Page 9: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

2

การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์ (๒๕๔๒, น.๑๖๙) อธิบายว่า บทความคือ ความเรียงที่เขียนขึ้น

โดยมีหลักฐานข้อเท็จจริง และในเนื้อหานั้น ผู้เขียนได้สอดแทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์หรือ

สร้างสรรค์เอาไว้ด้วย

ปราณี สุรสิทธิ์ (๒๕๔๙, น.๑๐๘) อธิบายว่า บทความคือ ข้อเขียนแบบความเรียงประเภท

หนึ่ง ที่ผู้เขียนเขียนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะเสนอความเห็น หรือทัศนะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

แก่ผู้อ่าน โดยมีหลักฐานข้อเท็จจริง สามารถอ้างอิงเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์ปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ ได้

ที่สำคัญผู้เขียนจะต้องแทรกข้อคิด ความเห็นในเชิงวิจารณ์หรือเชิงสร้างสรรค์ไว้ด้วย ดังนั้นการ

เขียนบทความให้มีคุณภาพ จึงต้องศึกษาหาความรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนอย่าง

ถ่องแท้ เพื่อกันความผิดพลาดอันเกิดได้จากการไม่รู้จริง

มาลี บุญศิริพันธ์ (๒๕๔๘, น.๓๐๑) อธิบายว่า บทความคือความเรียงที่ผู้เขียนพยายาม

เรียบเรียงเนื้อหา ความคิด แล้วถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ ด้วยลีลาภาษาที่เหมาะสม เป็นข้อเขียน

ที่ประกอบด้วยข้อเท็จจริงบวกกับข้อคิดเห็นที่เชื่อถือได้ ที่ผู้เขียนแสดงออกเกี่ยวกับเรื่องราวใดๆ

ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่า บทความคือ ข้อเขียนที่เน้นการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียน

โดยมีข้อมูลสนับสนุน ทั้งนี้มีเป้าหมายหลักเพื่อโน้มน้าวใจผู้อ่านให้คล้อยตาม นอกจากนี้ในบาง

กรณีผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ที่ทำงานภาคสนาม อาจนำความเห็นของตัวเองมานำเสนอเป็นบทความ

เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นมุมมองบางประการที่เกี่ยวเนื่องกับข่าว เพราะผู้สื่อข่าวไม่สามารถนำเสนอความ

เห็นของตัวเองในข่าวได้ เนื่องจากข่าวต้องเป็นรายงานข้อเท็จจริงเท่านั้น ไม่สามารถสะท้อนความเห็น

ของผู้สื่อข่าวและบุคคลในกองบรรณาธิการ

สำหรับความหมายของข่าว คือ การรายงานข้อเท็จจริง ให้สาธารณะได้รับทราบ ข้อเท็จจริง

ที่เกิดขึ้นนั้นมีหลายลักษณะ เช่น เหตุการณ์ สถานการณ์ ความคิดเห็นของบุคคล การคาดการณ์

ฯลฯ ทั้งนี้ข้อเท็จจริงจะต้องมีความสดใหม่ มีความสำคัญ และมีความน่าสนใจในสายตาของผู้รับสาร

ส่วนสารคดี แม้ว่าจะเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเช่นเดียวกับข่าว แต่ต่างกัน

ตรงที่สารคดีมีจุดประสงค์ในการนำเสนอเพื่อสร้างความรื่นรมย์ให้แก่ผู้รับสารจากภาษาที่ใช้นำเสนอ

วิธีการนำเสนอ และตัวเนื้อหา รวมทั้งสารคดียังมีความเป็นอัตวิสัย นอกจากนี้สารคดีแม้ไม่ต้อง

สดใหม่เหมือนข่าว แต่ยังต้องมีความทันสมัยอยู่ด้วย

กล่าวได้ว่า ข่าวนำเสนอข้อเท็จจริงที่สดใหม่ โดยปราศจากความเห็นของผู้เขียน ส่วน

สารคดีเน้นเสนอข้อเท็จจริงและมุ่งให้ความรื่นรมย์ ขณะที่บทความเน้นการเสนอความเห็นของผู้เขียน

โดยมีข้อเท็จจริงสนับสนุนความเห็นนั้น

๑.๒ คุณสมบัติของบทความ

มีผู้อภิปรายถึงคุณสมบัติของบทความไว้หลายที่หลายแห่ง เช่น เกศินี จุฑาวิจิตร (๒๕๕๒,

น.๑๑๙-๑๒๑) เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (๒๕๓๔, น.๒๖-๓๐) ฉัตรา บุนนาค (๒๕๔๒, น.๑๘) ปราณี

Writing_ch 1_Edit 3.indd 2 8/10/2556 15:10:18

ตัวอย่าง

Page 10: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

3

สุรสิทธิ์ (๒๕๔๙, น.๑๐๙) และ สิริวรรณ นันทจันทูล (๒๕๔๓, น.๑๔๗) ฯลฯ เมื่อพิจารณา

ข้ออภิปรายดังกล่าวร่วมกับประสบการณ์ในการบรรยายวิชา วส.๓๑๐ การเขียนบทบรรณาธิการและ

บทความ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บทความที่ดีจะมี

คุณสมบัติสำคัญๆ ดังต่อไปนี้

๑.๒.๑ ให้มุมมองใหม่และน่าสนใจ งานบทความที่ให้มุมมองที่ผู้อ่านโดยทั่วไปคาดเดา

ได้ ถือว่าเป็นบทความที่ไม่ได้ให้มุมมองใหม่ๆ แก่ผู้อ่าน ทำให้บทความนั้นขาดความน่าสนใจ

นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการประวัติศาสตร์ และนักเขียน (๒๕๔๒, น.๒๓) อภิปราย

เอาไว้ว่า นักเขียนควรให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ในประเด็นที่จะเขียน หากพบว่าประเด็นที่

จะเขียนน่าจะเป็นสิ่งผู้อ่านรู้อยู่แล้ว สิ่งที่ควรทำก็คือ “อย่าเขียน”

ตัวอย่างของการเขียนประเด็นที่ไม่ใหม่ จนอาจทำให้บทความขาดความน่าสนใจ เช่น

เมื่อเกิดเหตุการณ์คนเสียชีวิตในอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ เพราะหาทางหนีไฟไม่พบ เป็นเหตุให้

ทางหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องออกมากวดขันเรื่องการบริหารจัดการทางหนีไฟของอาคารสูง

ซึ่งผู้เขียนได้เขียนบทความแสดงความคิดเห็นว่า มาตรการของหน่วยงานรัฐทำขึ้นบนพื้นฐานของ

“วัวหายแล้วล้อมคอก” แม้ว่าจะเป็นประเด็นที่เตือนหน่วยราชการให้เพิ่มความเอาจริงเอาจังในการ

ทำงาน แต่ก็อาจถือว่าไม่ได้ให้มุมมองใหม่แก่ผู้อ่าน หากผู้เขียนนำเสนอมุมมองที่ไม่ใหม่แก่ผู้อ่าน

เป็นประจำ จะมีผลทำให้ผู้อ่านไม่สนใจที่จะอ่านหรือติดตามบทความของผู้เขียนคนนั้นๆ ในระยะยาว

สิ่งที่ผู้เขียนหยิบยกมาพัฒนาเป็นประเด็นในบทความเพื่อสื่อสารแก่ผู้อ่านนั้น ควรจะ

มีความน่าสนใจสำหรับผู้อ่าน เช่น มีความใกล้ตัว มีผลกระทบ หรือสามารถเชื่อมโยงกับผู้อ่าน

ได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ฯลฯ

๑.๒.๒ มีเอกภาพ (Unity)หมายถึง ข้อเขียนตั้งแต่ชื่อเรื่อง ส่วนนำ เนื้อเรื่อง และส่วน

สรุป ที่มีความสอดคล้องกันจนผู้อ่านสามารถเข้าใจประเด็นหลักที่นำเสนอได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ไม่มี

ส่วนใดที่ออกนอกเรื่อง ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นหลัก หรือมีความขัดแย้งกันเอง

๑.๒.๓ มีความถูกต้อง(Accuracy) ข้อมูล ภาษา รวมถึงการสะกดคำต้องมีความถูกต้อง

ความถูกต้องในทุกด้านจะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่ข้อเขียนได้

๑.๒.๔ มีความชัดเจน(Clarity) การสื่อความตลอดทั้งเรื่องจะต้องมีความกระจ่าง ชัดเจน

ไม่กำกวม หรือทำให้ผู้อ่านเข้าใจไขว้เขว หรือสงสัย

๑.๒.๕ มีความกะทัดรัด (Conciseness) ข้อเขียนที่ดีจะต้องมีความกระจ่างชัดเจน ขณะ

เดียวกันก็มีความยาวที่ต้อง “ทำให้สั้นที่สุด” กล่าวคือ ผู้อ่านโดยส่วนมากไม่นิยมการอ่านข้อความ

ที่ยาว ข้อความที่ใจความนิดเดียว แต่นำเสนอเยิ่นเย้อ อาจทำให้ผู้อ่านบางคนรู้สึกหงุดหงิดได้

๑.๒.๖ มคีวามคงเสน้คงวา (Consistency) รปูแบบ และการนำเสนอทกุอยา่งในบทความ

จะต้องมีความสมํ่าเสมอ เป็นแบบเดียวกันตลอดทั้งเรื่อง เช่น การเขียนเลขไทยหรือเลขอารบิก การ

ใช้หน่วยวัด (เช่น คริสต์ศักราช พุทธศักราช นิ้ว เซนติเมตร ไมล์ กิโลเมตร) การใช้คำนำหน้านาม

(นาย คุณ คุณลุง หรือการละคำนำหน้า) หรือระดับของภาษาที่ต้องเสมอกันตลอดทั้งเรื่อง ฯลฯ

Writing_ch 1_Edit 3.indd 3 8/10/2556 15:10:18

ตัวอย่าง

Page 11: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

4

๑.๒.๗ มีความต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึง การลำดับเรื่องหรือนำเสนอเรื่องอย่าง

เป็นระบบ เข้าใจง่าย ไม่วกวน เช่น เริ่มจากอธิบายลักษณะปัญหา สาเหตุของปัญหา ผลกระทบ

จากปัญหา แล้วจบลงด้วยแนวทางการไขปัญหา ฯลฯ การลำดับเรื่องทำได้หลายลักษณะ เช่น ตาม

ลำดับเวลา ตามเหตุผล และตามกระบวนการ เป็นต้น

๑.๒.๘ ใช้ภาษาที่เหมาะสม (LanguageAppropriateness) ถ้อยคำ และระดับภาษา

ที่ใช้ต้องมีความเหมาะสมกับประเด็น กลุ่มผู้อ่าน และกาลเทศะ

๑.๒.๙ ให้ความรู้แก่ผู้อ่าน งานเขียนที่ดี จะต้องมีการค้นคว้าข้อมูลมาสนับสนุนเนื้อเรื่อง

ของตัวเองให้มีความทันสมัย น่าเชื่อถือ ซึ่งจะทำให้เนื้อหามีความน่าสนใจมากขึ้น

๑.๓ ประเภทของบทความ

หลังจากที่นักศึกษาได้เข้าใจความหมายและคุณสมบัติของบทความแล้ว ส่วนต่อไปนี้จะว่า

ด้วยเรื่องประเภทของบทความ ในที่นี้ขอแจกแจงประเภทของบทความที่สำคัญๆ ดังนี้

๑.๓.๑บทความทั่วไป หมายถึงบทความที่ผู้เขียนหยิบยกเอาหัวข้อที่คิดว่าน่าสนใจ หรือ

เหตุการณ์ที่เป็นสถานการณ์ปัจจุบัน มาเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นให้ผู้อ่านคล้อยตามผู้เขียน

(ดูตัวอย่างที่ ๑.๑)

๑.๓.๒บทบรรณาธิการ หมายถึง บทความประเภทหนึ่งที่แสดงความคิดในนามกอง

บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเหตุการณ์สำคัญที่มักจะเป็นสถานการณ์ปัจจุบัน กล่าวกันว่า

บทบรรณาธิการคือ “ธงชัยเฉลิมพล” ของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งๆ เพราะเป็นข้อคิดเห็นที่เฉียบคม

ของกองบรรณาธิการต่อสถานการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ความเห็นของผู้เขียนคนหนึ่งคนใด

(ดูตัวอย่างที่ ๑.๒)

โครงสร้างของบทบรรณาธิการจะต่างจากบทความทั่วไป กล่าวคือบทความทั่วไปจะเริ่มต้น

ด้วยส่วนนำ ตามด้วยเนื้อเรื่อง และส่วนสรุป แต่บทบรรณาธิการจะมี ๔-๕ ย่อหน้า ได้แก่ ย่อหน้าแรก

คือส่วนนำ ย่อหน้าที่ ๒ คือการระบุประเด็นที่ต้องการอภิปราย ย่อหน้าที่ ๓ (และหรือ ๔) เป็นการ

ขยายความความคิดเห็น และย่อหน้าสุดท้ายคือส่วนสรุปหรือข้อเสนอแนะ ทั้งนี้จะอธิบายถึง

บทบรรณาธิการโดยละเอียดในบทที่ ๒ ถัดไป

๑.๓.๓บทความวิจารณ์ผลงานศิลปะ หมายถึง บทความที่ผู้เขียนมุ่งแสดงความคิดเห็น

ต่อผลงานศิลปะว่ามีคุณค่าต่อการชมหรือไม่ อย่างไร ผลงานศิลปะมีหลายประเภท เช่น นิทรรศการ

ละคร ภาพยนตร์ ภาพถ่าย หรือหนังสือ ฯลฯ โดยทั่วไปนอกจากการวิจารณ์ให้เห็นจุดเด่นจุดด้อย

ในเชิงรูปแบบ หรือเทคนิคการนำเสนอแล้ว ยังสามารถวิจารณ์ถึงเนื้อหาของผลงานด้วยว่ามีคุณค่า

ต่อผู้ชมหรือไม่ อย่างไร (ดูตัวอย่างที่ ๑.๓)

อย่างไรก็ตามการวิจารณ์ผลงานศิลปะ โดยเฉพาะการวิจารณ์ละคร ภาพยนตร์ หรือหนังสือ

ผู้เขียนต้องระมัดระวังไม่เปิดเผยเนื้อหามากจนอาจทำให้ผู้อ่านเสียอรรถรสในการชมผลงานศิลปะ

Writing_ch 1_Edit 3.indd 4 8/10/2556 15:10:18

ตัวอย่าง

Page 12: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

5

เหล่านั้นเองในภายหลัง หรือในกรณีที่วิจารณ์ละคร ภาพยนตร์ หรือหนังสือที่หาชมไม่ได้อีกแล้ว

(เช่น ละครที่เลิกแสดงไปแล้ว ภาพยนตร์หรือหนังสือที่หาไม่ได้ในท้องตลาด) ก็ต้องระมัดระวังว่า

บทความนั้นไม่ได้มีจุดประสงค์โดยตรงเพื่อให้ผู้อ่านไปหาผลงานเหล่านั้นมาชม แต่อาจจะเขียนเพื่อ

จุดประสงค์อื่น เช่น แสดงข้อคิดที่ได้จากผลงานนั้น ฯลฯ

๑.๓.๔บทความบุคคล หมายถึง บทความที่เป็นการบอกเล่าประสบการณ์ของผู้เขียน หรือ

ประสบการณ์ของคนอื่นที่ผู้เขียนรับรู้มา เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปการเรียนรู้บางอย่างที่เกิดขึ้นกับผู้เขียน

และต้องการสื่อสารไปยังผู้อ่าน (ดูตัวอย่างที่ ๑.๔)

ในการแบ่งประเภทของบทความนั้น การุณันทน์ รัตนแสนวงษ์ (๒๕๔๒, น.๑๗๐-๑๗๔)

เกศินี จุฑาวิจิตร (๒๕๕๒, น.๑๑๔-๑๑๙) ฉัตรา บุนนาค (๒๕๔๒, น.๑๙-๒๔) ปราณี

สุรสิทธิ์ (๒๕๔๙, น.๑๑๓-๑๓๖) มาลี บุญศิริพันธ์ (๒๕๔๘, น.๓๐๙-๓๑๒) ยงยุทธ รักษาศรี และ

พรสิทธิ์ พัฒธนานุรักษ์ (๒๕๓๐, น.๔๗๗-๔๗๙) และ สิริวรรณ นันทจันทูล (๒๕๔๓,

น.๑๒๔) ฯลฯ ได้อภิปรายถึงประเภทของบทความไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งยังมีบทความประเภท

อื่นๆ อยู่ด้วย เช่น บทความวิชาการ บทความรายงาน บทความวิเคราะห์ข่าว บทความเชิงสัมภาษณ์

บทความเชิงแสดงวิธีการ บทความเชิงแสดงบุคลิกภาพ ฯลฯ นักศึกษาสามารถศึกษาบทความ

ประเภทอื่นๆ จากเอกสารดังกล่าวเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ ๑.๑ บทความทั่วไป ตัวอย่างที่ ๑.๒ บทบรรณาธิการ ตัวอย่าง

ที่ ๑.๓ บทความวิจารณ์ผลงานศิลปะ และตัวอย่างที่ ๑.๔ บทความบุคคล

ตัวอย่างที่ ๑.๑ บทความทั่วไป

“ภูมิคุ้มกัน” ของประเทศไทย ธนพล ศักดิ์สมุทรานันท์

“ถ้าคุณเชื่อว่ารัฐบาลแต่ละรัฐบาลนั้นมีหน้าที่ในการดูแลประชาชน โดยที่

ต้องเก็บข้อมูลบางเรื่องไว้ให้เป็นความลับบ้าง ผมคิดว่าคุณก็คงจะเห็นด้วยว่า Julian

Assange ควรถูกจับกุมตัว”

“แต่ถ้าคุณเชื่อว่าแต่ละรัฐบาลในโลกนั้นไม่มีสิทธิ์ที่จะเก็บความลับจาก

ประชาชนของตนเองเลย ไม่มีสิทธิ์จะสงวนข่าวกรองที่เป็นความลับไว้เฉพาะ

สำหรับผู้นำประเทศอ่าน ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีของแต่ละประเทศมีสิทธิ์

ที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารเท่าๆ กับประชาชนทั่วไป วันนี้คุณคงต้องไปร่วมชุมนุมที่

ออสเตรเลีย หรืออังกฤษ เพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพให้กับ Julian Assange”

Writing_ch 1_Edit 3.indd 5 8/10/2556 15:10:18

ตัวอย่าง

Page 13: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

18

บทที่ ๒

บทบรรณาธิการ

ในบทที่ ๒ จะได้อธิบายถึงความหมาย

ของบทบรรณาธกิาร คณุสมบตัขิองบทบรรณาธกิาร

โครงสร้างของบทบรรณาธิการ และความท้าทาย

ของบทบรรณาธิการท่ามกลางสถานการณ์ที่คน

สนใจอ่านบทบรรณาธิการน้อยลง

๒.๑ ความหมายของบทบรรณาธกิาร

บทบรรณาธิการเป็นบทความประเภท

หนึ่ง เพราะเป็นข้อเขียนที่มุ่งแสดงความเห็น

แต่ต่างจากบทความอื่นๆ ตรงที่บทความทั่วไป

จะแสดงความเหน็ของผูเ้ขยีน แตบ่ทบรรณาธกิาร

หรือบทนำจะเป็นการแสดงความคิดเห็นของ

กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ (Voice of the

Paper) ต่อเหตุการณ์สำคัญๆ ที่มักจะเป็น

สถานการณ์ปัจจุบัน จึงมีการกล่าวกันว่าบท

บรรณาธิการคือ “ธงชัยเฉลิมพล” ของหนังสือ-

พมิพ ์ เพราะเป็นการสะท้อนความคิดเห็น จุดยืน

ท่าที และข้อเสนอของกองบรรณาธิการต่อ

Writing_ch 2_Edit 3.indd 18 7/10/2556 16:22:42

ตัวอย่าง

Page 14: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

19

สถานการณ์สำคัญที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น โดยไม่ต้องมีการลงนามผู้เขียนเพราะเป็นข้อเขียน

ที่สะท้อนความเห็นของหนังสือพิมพ์ทั้งกองบรรณาธิการ

โดยทั่วไปบทบรรณาธิการจะมาจากที่ประชุมประจำวันของกองบรรณาธิการ ที่ประชุม

จะพิจารณาว่ามีเหตุการณ์ใดที่ควรหยิบยกมาเขียนเป็นบทบรรณาธิการได้บ้าง เมื่อทราบหัวข้อแล้ว

ที่ประชุมจะช่วยกันพิจารณาว่าหัวข้อดังกล่าวมีประเด็นอะไรที่เป็นประเด็นสำคัญ ควรที่จะนำมา

พัฒนาให้เป็นบทบรรณาธิการเพื่อเสนอต่อผู้อ่าน การแลกเปลี่ยนกันในที่ประชุมจะทำให้ประเด็น

มีความแหลมคม น่าสนใจ จากนั้นจะมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดนำประเด็นที่ตกลงกันไว้แล้วนั้น

ไปเขียนเป็นบทบรรณาธิการในนามของหนังสือพิมพ์ต่อไป ดังนั้นหากจะใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง

ในบทบรรณาธิการ จึงใช้คำว่า “เรา” หรือ “พวกเรา” ไม่ใช่ “ผม” หรือ “ดิฉัน” และไม่ต้องมีคำลงท้าย

“ครับ” “ค่ะ” เนื่องจากเป็นงานเขียนในนามกองบรรณาธิการ ไม่ใช่ในนามบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

๒.๒ คุณสมบัติของบทบรรณาธิการ

นอกจากคุณสมบัติทั่วไปของบทความแล้ว บทบรรณาธิการที่ดี จะมีคุณสมบัติสำคัญ

เพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

๒.๒.๑ สามารถสะท้อนความคิดเห็น จุดยืน และท่าทีของกองบรรณาธิการต่อประเด็น

สำคัญในสถานการณ์ปัจจุบันได้อย่างแหลมคม เป็นที่สนใจของผู้อ่าน

๒.๒.๒ ใช้ภาษาแบบแผน เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจน สามารถนำเสนอข้อมูลเพื่อ

ประกอบความคิดเห็นได้อย่างตรงไปตรงมา และมีความน่าเชื่อถือให้แก่ตัวบทบรรณาธิการ ทั้งนี้

การเขียนบทบรรณาธิการจะงดการเน้นโดยการใช้ตัวเอน ตัวหนา การขีดเส้นใต้ หรืออัญประกาศ

เพื่อให้บทบรรณาธิการสามารถนำเสนอเนื้อหาและความเห็นอย่างตรงไปตรงมา เว้นแต่อาจใช้ตัวหนา

ที่บรรทัดแรกของทุกย่อหน้า เพื่อประโยชน์ในการจัดหน้าให้สวยงามเท่านั้น

๒.๒.๓ มีโครงสร้างการเขียน แต่ละย่อหน้าของบทบรรณาธิการจะมีหน้าที่อย่างชัดเจน

และมีจำนวนบรรทัดในแต่ละย่อหน้าที่เท่าๆ กัน หรือใกล้เคียงกัน (ดูรายละเอียดใน ๒.๓ โครงสร้าง

บทบรรณาธิการ)

๒.๒.๔ จัดวางอยู่ในหน้าบรรณาธิการ (Editorial Pages) หน้าบรรณาธิการอาจจะมี

๑-๒ หน้าแล้วแต่กรณี ประกอบไปด้วยการ์ตูนล้อ บทความทั่วไป จดหมายจากผู้อ่าน และ

บทบรรณาธิการ ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่มุ่งแสดงความคิดเห็นต่อข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม

ปัจจุบันทั้งสิ้น

Writing_ch 2_Edit 3.indd 19 7/10/2556 16:22:42

ตัวอย่าง

Page 15: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

20

๒.๓ โครงสร้างบทบรรณาธิการ

การศึกษาของ มาลี บุญศิริพันธ์ (๒๕๒๗) พบว่าบทบรรณาธิการมี ๖ ย่อหน้า ดังนี้

ย่อหน้าที่ ๑ ประเด็นข่าว หรือเกริ่น (เท้าความ)

ย่อหน้าที่ ๒ อธิบายประเด็น / ภูมิหลังของเหตุการณ์

ย่อหน้าที่ ๓ ประเด็นปัญหา

ย่อหน้าที่ ๔ ความคิดเห็น / วิเคราะห์ปัญหา

ย่อหนาที่ ๕ เหตุผลสนับสนุน หรือแสดงผลกระทบของปัญหา

ย่อหน้าที่ ๖ แนวทางแก้ปัญหา / ข้อเสนอแนะ หรือทัศนะของหนังสือพิมพ์

อย่างไรก็ตามการเขียนบทบรรณาธิการในปัจจุบันมิได้เป็นไปตามโครงสร้างดังกล่าว

อีกต่อไป บางฉบับนำเสนอเป็นย่อหน้าสั้นๆ ย่อหน้าละ ๑-๓ บรรทัด มีจำนวนนับสิบย่อหน้าต่อ

บทบรรณาธิการ ๑ เรื่อง รวมทั้งยังมีการใส่ตัวเอน หรือตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ หรืออัญประกาศ

ลงไปในบางส่วนของข้อความเพื่อต้องการเน้น ซึ่งถือว่าไม่สอดคล้องกับหลักการของการเขียน

บทบรรณาธิการ

ขณะที่หนังสือพิมพ์บางฉบับจะนำเสนอเรื่องละ ๔-๕ ย่อหน้า ความยาวแต่ละย่อหน้ามี

ความใกล้เคียงกัน โดยปราศจากการเน้นโดยใช้การใส่ตัวเอน หรือตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ หรือ

อัญประกาศ โดยแต่ละย่อหน้า จะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

ย่อหน้าที่ ๑ การเกริ่นนำหัวข้อ

ย่อหน้าที่ ๒ การระบุประเด็นที่ต้องการสื่อสาร

ย่อหน้าที่ ๓ การขยายความประเด็นหรือความเห็น

ย่อหน้าที่ ๔ (หากมี) การขยายความประเด็นหรือความเห็น

ย่อหน้าสุดท้าย สรุป หรือข้อเสนอแนะ

ตวัอยา่งที ่๒.๑ ตอ่ไปนี ้คอืตวัอยา่งการเขยีนบทบรรณาธกิาร ตามโครงสรา้งของบทบรรณาธกิาร

ในปัจจุบัน

Writing_ch 2_Edit 3.indd 20 7/10/2556 16:22:42

ตัวอย่าง

Page 16: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

59

บทที่ ๔

การคิดอย่างมีเหตุผล

ในการใชบ้ทความเพือ่โนม้นา้วใจผูอ้า่น

นั้น ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้โน้มน้าวใจผู้อ่านได้เป็น

อย่างดีคือ การโต้แย้งหรือการให้ความเห็นอย่าง

มีเหตุผล ในบทนี้จะได้อธิบายสองเรื่องสำคัญคือ

โครงสร้างของการโต้แย้ง ที่จะช่วยให้การโต้แย้ง

เกิดความชัดเจน และการอ้างเหตุผลผิด หรือ

เหตุผลวิบัติ (Fallacy) ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

เพราะจะทำให้การโต้แย้งขาดน้ำหนัก

๔.๑ โครงสรา้งของการโตแ้ยง้ หรอืการเสนอความเห็นอย่างมีเหตุและผล (Argument)

การโต้แย้ง หรือการนำเสนอความ

เห็นอย่างมีเหตุและผล คือการนำเสนอความเห็น

ด้วยเหตุและผล โครงสร้างของการโต้แย้ง

ประกอบไปด้วยข้ออ้าง (Reasons) และข้อสรุป

(Conclusion) โดยจะใช้ข้ออ้างเพื่อพยายาม

สนับสนุนหรือพิสูจน์ข้อสรุป เช่น

Writing_ch 4_Edit 3.indd 59 7/10/2556 16:25:04

ตัวอย่าง

Page 17: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

60

“(ข้อสรุป) เธอควรพักผ่อนให้มาก (ข้ออ้าง) เธอกำลังเป็นหวัดอยู่”

โครงสร้างของการโต้แย้งจะมีคำว่า “เพราะ”/ “เพราะว่า” “เพราะฉะนั้น”/ “ดังนั้น” / “แสดงว่า”

หรือ “เนื่องจาก” เป็นคำที่เชื่อมโยงระหว่างข้ออ้างกับข้อสรุป เช่น

“(ข้อสรุป) เราไม่ควรดื่มเหล้าบ่อยๆ เพราะ (ข้ออ้าง) ทำให้ตับแข็ง”

“(ข้ออ้าง) ฝนกำลังตกหนัก ดังนั้น (ข้อสรุป) เธอจึงไม่ควรออกไปข้างนอกตอนนี้”

“เนื่องจาก (ข้ออ้าง) สมชายถูกจับได้ว่าทุจริตในการสอบ (ข้อสรุป) เขาจึงถูกพักการเรียน”

๔.๒ การอ้างเหตุผลผิดหรือเหตุผลวิบัติ (Fallacy)

การอ้างเหตุผลผิด หรือเหตุผลวิบัติ (Fallacy) เป็นการอ้างเหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะ

จะทำให้ข้อโต้แย้งขาดน้ำหนัก ไม่มีความน่าเชื่อถือ การรู้จักการอ้างเหตุผลผิด หรือเหตุผลวิบัติ

จะช่วยให้นักศึกษาสามารถประเมินความเป็นเหตุเป็นผลของข้อมูลต่างๆ ที่จะนำมาใช้ประกอบการ

เขียนบทความ และในฐานะผู้เขียน นักศึกษาก็ยังใช้เรื่องนี้เพื่อให้สามารถเรียบเรียงบทความได้อย่าง

เป็นเหตุเป็นผลได้อีกด้วย

นักวิชาการหลายคน เช่น กีรติ บุญเจือ (๒๕๔๗) จอน อึ๊งภากรณ์ (๒๕๕๔) มานพ นักการ-

เรียน (๒๕๔๕) วิทยา ศักยาภินันท์ (๒๕๕๔) สมภาร พรมทา (๒๕๕๑) Francis Dauer (1989) และ

Alan Hausman และคณะ (2007) ได้อภิปรายถึงการอ้างเหตุผลผิด หรือเหตุผลวิบัติ รวมถึงได้

จำแนกประเภทไว้หลากหลายลักษณะ ในที่นี้จะขอเรียบเรียงเฉพาะประเภทที่สามารถพบเห็นได้

บ่อยๆ ดังต่อไปนี้

๔.๒.๑ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันหรือต่อเนื่องกันไม่ได้หมายความว่าจะต้อง

สัมพันธ์กันในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ (Correlation not Causation) หมายความว่าการนำเรื่องที่

เกิดพร้อมกันหรือต่อเนื่องกันมาเป็นข้ออ้างและข้อสรุป เช่น “ทุกครั้งที่พรรค ‘ก’ เป็นรัฐบาล จะเกิด

ปัญหาการทุจริตมากมาย แสดงว่าพรรค ‘ก’ มีเจตนาจะทุจริตเสมอ”

กรณีเช่นนี้หากจะสรุปว่า พรรค “ก” ในปัจจุบันมีเจตนาทุจริต ผู้พูดก็ต้องแสดงหลักฐาน

ว่า นโยบายหรือมาตรการใดของพรรค “ก” ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเมือง ซึ่งจะมีน้ำหนักกว่า

การพยายามเชื่อมว่า ในเมื่อพรรค “ก” เคยทุจริตในอดีต ปัจจุบันก็จะต้องทุจริต ซึ่งไม่จำเป็นต้อง

เกี่ยวข้องกัน

๔.๒.๒ การขยายกรณีตัวอย่างให้เป็นข้อสรุปทั่วไป (Generalization) หรือการด่วน

สรุป หมายถึงการอ้างข้อมูลที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป เช่น “การที่พิสูจน์ได้แล้วว่า

ท่านรัฐมนตรี ‘ข’ โกง ก็แสดงว่ารัฐมนตรีคนอื่นๆ ในพรรคเดียวกันก็ต้องสมรู้ร่วมคิดด้วย”

กรณีนี้หากจะสรุปว่ารัฐมนตรีคนอื่นๆ ในพรรคสมรู้ร่วมคิด ก็ต้องหาพยานหลักฐานมา

อภิปรายให้ครอบคลุมรัฐมนตรีคนนั้นๆ ไม่ใช่การอ้างว่า หากพบว่ารัฐมนตรีคนหนึ่งโกง รัฐมนตรีคน

อื่นในรัฐบาลก็ต้องโกงหมด

Writing_ch 4_Edit 3.indd 60 7/10/2556 16:25:04

ตัวอย่าง

Page 18: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

61

หรือ “แรงงานต่างชาติชอบใช้ความรุนแรง เมื่อวานฉันเห็นเขาเอามีดฆ่านายจ้าง”

การสรุปเช่นนี้คือการเอากรณีตัวอย่างเพียงกรณีเดียวมาอ้างเพื่อหาข้อสรุป ซึ่งเป็นการ

ใช้ข้ออ้างที่ขาดความหนักแน่น

วิทยา ศักยาภินันท์ (๒๕๕๔, น.๑๘๖) อภิปรายว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าการด่วนสรุปบางทีก็มา

จากอคติหรือความเชื่อ เช่น ผู้ชายแข็งกระด้าง นักการเมืองขี้โกง ตำรวจชอบรีดไถ คนเข้าวัดเป็นคนดี

ฯลฯ

๔.๒.๓ การจำกัดทางเลือก (Restricting the Options) หมายถึงการที่แสดงให้เห็นว่า

ทางเลือกมีอยู่น้อยมาก ทั้งๆ ที่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เช่น “หากรัฐบาลไม่ใช้มาตรการจำนำข้าว

ก็แปลว่าสังคมไทยต้องการปล่อยให้ชาวนาอดตายกันหมด”

กรณีแบบนี้แสดงว่า ผู้สื่อสารกำลังพยายามจำกัดทางเลือกให้เหลือเพียงทางใดทางหนึ่ง

เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจผิดว่า ไม่สามารถมีทางเลือกอื่นๆ เหลืออยู่อีกเลยยกเว้นต้องเดินหน้ามาตรการ

จำนำข้าวต่อไปเท่านั้น

หรือ “หากเราไม่ใช้กำลังในการสยบความรุนแรงในสถานการณ์ปัญหาภาคใต้ เราก็ยกดิน

แดนให้พวกเขาไปเลยก็แล้วกัน”

กรณีแบบนี้ผู้สื่อสารพยายามจำกัดทางเลือกเพื่อให้เห็นว่า หากไม่ใช้กำลังเข้าแก้ปัญหา ก็

ไม่มีทางอื่นในการแก้ไขปัญหาอีกแล้ว

๔.๒.๔ การโจมตีคู่ต่อสู้นอกประเด็นที่ถกเถียง (Ad Hominem) หมายถึงการไม่ได้

โต้แย้งไปที่ประเด็นที่ถกเถียง แต่กลับโต้แย้งไปนอกประเด็น โดยเฉพาะการไปโจมตีคู่ต่อสู้ เช่น

“สังเกตดูเถอะ พวกที่คัดค้านนโยบายนี้ มักจะเป็นพวกขาประจำ ดังนั้นเราไม่ต้องไปสนใจหรอก” หรือ

“ที่พวกคุณคัดค้านแบบนี้เรื่อยมา ถามหน่อยเถอะว่า พวกคุณเป็นคนไทยหรือเปล่า”

การสื่อสารเช่นนี้ถือว่าไม่ได้ตอบข้อสงสัยของผู้คัดค้าน แต่ใช้การโจมตีผู้คัดค้านแทน

(ว่าเป็น “ขาประจำ” หรือ “ไม่ใช่คนไทย”) ทางที่ควรคือ ผู้ตอบต้องชี้ให้เห็นว่า ข้อเท็จจริงเป็นไปอย่าง

ที่ผู้คัดค้านกล่าวหาหรือไม่ อย่างไร โดยนำพยานหลักฐานที่ชัดเจนมาหักล้าง

๔.๒.๕ คุณก็เป็นเสียเอง (Tu Quoque) หมายถึง การนำข้ออ้างที่ผู้โต้แย้งไม่สามารถ

ทำได้ มาเป็นข้อสรุปว่าดังนั้นข้ออ้างนั้นก็เป็นไปไม่ได้ เช่น “สมัยที่พรรคของคุณเป็นรัฐบาล พวกคุณ

ก็เคยทำไว้เช่นนี้ แต่พอพรรคของเรามาเป็นรัฐบาลบ้าง พวกคุณกลับโจมตีเราที่ทำแบบเดียวกับที่

พรรคของคุณเคยทำ ดังนั้นสิ่งที่คุณโจมตีเราจึงฟังไม่ขึ้นเอาเสียเลย”

กรณีเช่นนี้ หากสิ่งที่ทำเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ไม่ว่าใครทำก็ไม่ถูกเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่

ของผู้พูดที่ต้องแก้ต่างกับผู้คัดค้านว่า สิ่งที่ทำและกำลังถูกโต้แย้งอยู่นั้น เป็นสิ่งที่ชอบหรือไม่ อย่างไร

๔.๒.๖ เหตุผลลื่นไหลไปไกล (Slippery Slope) หมายถึงการกล่าวอ้างเกินจริง เช่น

“หากรัฐบาลไม่ดำเนินมาตรการจำนำข้าว ชาวนาจะอดอยากเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า เกิดหนี้สิน

รุงรัง ชาวนาต้องหันไปขายยาบ้า ยาบ้าจะระบาดไปทั่วประเทศ หรือไม่ก็ต้องไปเป็นโจร การปล้นจี้

Writing_ch 4_Edit 3.indd 61 7/10/2556 16:25:05

ตัวอย่าง

Page 19: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

90

บทที่ ๖

การเรียบเรียงบทความ

ในบทที่ ๖ จะได้อธิบายถึงเรื่องการ

เรียบเรียงบทความ ซึ่งประกอบไปด้วยการทำ

โครงเรื่อง การใช้ภาษา การสื่อความหมาย และ

การขัดเกลาบทความ

๖.๑ การทำโครงเรื่อง (Outline)

การทำโครงเรื่อง จะเกิดขึ้นหลังจาก

ผู้เขียนคิดแผนการเขียนแล้ว (ได้แก่ ประเด็น

คืออะไร กลุ่มเป้าหมายคือใคร จุดประสงค์คือ

อะไร ใช้โทนแบบใด และเขียนผ่านสื่ออะไร)

จากนั้นจะเป็นเวลาที่ผู้เขียนจะทำโครงเรื่องว่าจะ

ลำดับข้อมูลอย่างไร เพื่อให้บรรลุผลตามแผนที่

ได้คิดไว้

นักเขียนบางคนจะทำโครงเรื่องบน

กระดาษ แต่บางคนก็อาจจะทำโครงเรื่องไว้ในหัว

เมื่อคิดโครงเรื่องได้ชัดเจนแล้วจึงลงมือเขียนไป

ตามโครงเรื่องนั้น

Writing_ch 6_Edit 3.indd 90 8/10/2556 15:12:09

ตัวอย่าง

Page 20: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

91

การทำโครงเรื่องจะมีประโยชน์ในหลายด้าน เช่น

(๑) เพื่อช่วยในการเรียบเรียงเนื้อหาก่อน-หลังได้อย่างต่อเนื่อง ราบรื่น กระชับ และชัดเจน

(๒) เพื่อช่วยในการตรวจสอบด้านข้อมูล หากผู้เขียนทำโครงเรื่องอย่างละเอียดพอ ผู้เขียน

อาจจะตรวจสอบในระดับย่อหน้าได้เลยว่า ข้อมูลแต่ละย่อหน้าที่ต้องนำเสนอคืออะไร ผู้เขียนมีข้อมูล

นั้นครบถ้วนหรือยัง ข้อมูลในแต่ละย่อหน้ามีความซ้ำซ้อนกันเองจนเยิ่นเย้อ หรือมีการนำเสนอนอก

ประเด็นหรือไม่ หากจะหยอด “ลูกเล่น” กับผู้อ่าน จะหยอดไว้ส่วนไหน ด้วยวิธีการใด

(๓) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เขียนได้ประเมินก่อนลงมือเขียนว่า ด้วยโครงสร้างการเขียนที่

ออกแบบไว้ มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่บทความที่ต้องการจะเขียนจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจ คล้อย

ตาม และไปถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ หากต้องการปรับปรุงให้ดีขึ้น สามารถทำอะไรได้บ้าง

(๔) ช่วยประหยัดเวลาในการเรียบเรียง การทำโครงเรื่องก่อนการเขียน จะช่วยให้ผู้เขียน

สามารถประหยัดเวลาในการเรียบเรียงบทความ เพราะผู้เขียนได้ออกแบบโครงเรื่องไว้ชัดเจนก่อน

แล้ว อย่างไรก็ตามผู้เขียนก็ต้องทบทวนอีกครั้งเมื่อเขียนเสร็จว่า บทความมีความสมบูรณ์ตามที่

ต้องการหรือไม่ อย่างไร โดยทั่วไปหากเรียบเรียงตามโครงเรื่องที่ออกแบบไว้ดีแล้ว มักจะมีส่วนที่ต้อง

ปรับปรุงแก้ไขเมื่อเขียนเสร็จแล้วไม่มากนัก แต่หากเขียนโดยไม่ทำโครงเรื่องไว้ก่อน หรือทำโครงเรื่อง

ที่ไม่ละเอียดพอ แล้วพบว่าบทความไม่ค่อยสมบูรณ์เมื่อเขียนเสร็จ ก็มักจะต้องใช้เวลาแก้ไขมากกว่า

เพราะเป็นการเขียนที่ปราศจากการออกแบบโครงเรื่องที่ละเอียดพอไว้ล่วงหน้า

สำหรับตัวอย่างการทำโครงเรื่อง ขอให้อ่านบทความเรื่อง “ทำไมไทยต้องปฏิเสธ PTT”

(ตัวอย่างที่ ๕.๒) จะพบโครงเรื่องดังต่อไปนี้

(๑) ส่วนนำ ใช้แนวตั้งคำถามว่า “ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก”

หรือ TPP จะทำให้ประเทศได้หรือเสียประโยชน์

(๒) ส่วนเนื้อหา มีโครงเรื่องย่อยๆ ดังต่อไปนี้

- อธิบายภูมิหลังของ TPP ได้แก่ จุดประสงค์ และความแตกต่างกับเขตการค้าเสรี

(Free Trade Area)

- อธิบายภูมิหลังที่สหรัฐฯ เข้ามาเกี่ยวข้องกับ TPP

- การระบุจุดยืนของผู้เขียนว่าไม่เห็นด้วยกับ TPP พร้อมเหตุผล ๓ ประการ

• ประการแรก ไทยทำ FTA กับคู่ค้าที่สำคัญอยู่แล้ว (ระบุชื่อประเทศ)

• ประการที่สอง TPP จะทำให้ไทยเสียประโยชน์ด้านสิทธิบัตรยาแก่สหรัฐฯ (ให้

ข้อมูลตัวเลขที่เกี่ยวข้อง)

• ประการที่สาม TPP เป็นช่องทางให้สหรัฐฯ คานอำนาจในภูมิภาคกับจีน ซึ่งอาจ

กระทบต่อความสัมพันธ์ไทยและจีนได้

- ระบุข้อเสนอให้รักษาคู่ค้าในภูมิภาคคือจีนและญี่ปุ่น (ให้ข้อมูลตัวเลขเปรียบเทียบ

มูลค่าคู่ค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น จีน และสหรัฐฯ)

(๓) ส่วนสรุป ใช้แนวการย้ำข้อเสนอ โดยให้ไทยถอนตัวจากการเจรจา TPP

Writing_ch 6_Edit 3.indd 91 8/10/2556 15:12:09

ตัวอย่าง

Page 21: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

92

จะเห็นได้ว่าการทำโครงเรื่อง ไม่ว่าจะร่างบนกระดาษ หรือร่างไว้ในหัว จะเป็นเครื่องมือ

สำคัญที่ทำให้งานเขียนมีความสมบูรณ์ สื่อสารได้กระชับ ชัดเจน ตรงประเด็น ให้ข้อมูลแก่ผู้อ่าน

ได้ครบถ้วน ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้นำพาผู้อ่านไปถึงจุดประสงค์ที่ต้องการได้ในที่สุด นอกจากนี้การ

ทำโครงเรื่องแม้จะเป็นส่วนที่ต้องใช้เวลาในการคิดวางแผน แต่โดยรวมแล้วจะช่วยประหยัดเวลาใน

การเรียบเรียงและแก้ไขงานได้มากกว่าการเรียบเรียงโดยไม่ได้คิดโครงเรื่องไว้ แล้วต้องปรับแก้ใน

ภายหลัง

๖.๒ การใช้ภาษา

การใช้ภาษาเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้การเรียบเรียงเนื้อหาบทความบรรลุตามจุดประสงค์

ของผู้เขียนได้ สิ่งที่ควรพิจารณาในเรื่องการใช้ภาษา มีดังต่อไปนี้

๖.๒.๑ ตัวสะกด การสะกดที่ถูกต้องจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือต่อผู้เขียนและตัวบทความ

ดังนั้นผู้เขียนต้องตรวจสอบตัวสะกดให้ถูกต้อง เช่น อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ อีเมล บล็อก เฟซบุ๊ก

ทวิตเตอร์ ล็อกอิน ดิสก์ วิดีโอ เทคนิค คลินิก เคาน์เตอร์ แอปเปิล คอร์รัปชัน เวิลด์ ซอกเกอร์

โบว์ลิง ซูเปอร์ เอเชีย แอนติบอดี โลกาภิวัตน์ ฯลฯ

๖.๒.๒ คำไม่เข้าพวก เช่น “สิ่งที่ทำให้โลกสิ้นสุดมีหลายอย่าง เช่น แผ่นดินไหว ภัยพิบัติ

และน้ำท่วมโลก ฯลฯ”

คำว่า “ภัยพิบัติ” เป็นคำไม่เข้าพวก เพราะ “ภัยพิบัติ” มีความหมายกว้างกว่า “แผ่นดินไหว”

และ “น้ำท่วมโลก”

หรือ พ่อแม่ย่อมเป็นห่วงบุตร

“พ่อแม่” และ “บุตร” เป็นคำที่มีศักดิ์ต่างกัน ควรเปลี่ยนเป็นพ่อแม่ย่อมเป็นห่วงลูก หรือบิดา

มารดาย่อมเป็นห่วงบุตร

๖.๒.๓ การเล่นคำการเล่นคำจะช่วยให้บทความมีความน่าอ่านมากขึ้น เช่น

“แน่นอนที่สุดพี่คูไม่ได้หล่อเหลาเหมือนชายหนุ่มชวนฝันคนอื่นๆ พี่คูไม่เคยไปแข่งขันชนะ

เลิศที่ต่างประเทศ พี่คูไม่ได้มีประวัติลากยาวไปสามบรรทัดกว่า พี่คูเป็นเพียงชายหนุ่มคนหนึ่งที่

แปลกแต่จริงที่สุด

เท่านี้ฉันก็ว่าพี่คูช่าง ‘คูล’ เหลือเกิน” (อ่านบทความเต็มเรื่องได้ที่ ๕.๖ แบบฝึกหัด)

ข้อเขียนข้างต้นเป็นการเล่นคำว่า “คู” เพื่อแสดงการเน้นย้ำ และยังเล่นคำกับคำว่า “ ‘คูล’

เหลือเกิน” ทำให้บทความมีความน่าอ่าน

๖.๒.๔การหลากคำ การนำคำซ้ำไปอยู่ใกล้ๆ กันโดยไม่ได้ตั้งใจ จะทำให้รู้สึกซ้ำซาก เช่น

“ผมมีหน้าที่พาสื่อมวลชนไล่เก็บภาพนักวิ่งมาราธอนทั่วสวนลุมฯ นั่นคงไม่ใช่เรื่องยาก

ถ้างานนี้จัดที่อื่น เพราะคงหายวดยานให้สื่อนั่งซ้อนไล่เก็บภาพได้ไม่ยาก”

Writing_ch 6_Edit 3.indd 92 8/10/2556 15:12:09

ตัวอย่าง

Page 22: การเขียนบทบรรณาธิการ - SE-EDcloud.se-ed.com/Storage/PDF/978616/314/9786163141071PDF.pdfการเข ยนบทบรรณาธ การและบทความ.

93

คำว่า “ไล่เก็บภาพ” และ “ยาก” ซ้ำกันสองครั้ง ซึ่งทำให้เกิดความซ้ำซาก ควรหลากคำ

เช่น ใช้คำว่า “ถ่ายรูป” และคำว่า “ลำบาก” แทนการใช้คำเดิมซ้ำ

อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี การออกแบบในการนำคำซ้ำไปอยู่ใกล้ๆ กัน จะช่วยในการ

ย้ำความหมายได้ เช่น ฉันรักแม่ในฐานะที่แม่เป็นแม่ และแม่รักฉันในฐานะที่ฉันเป็นฉัน

๖.๒.๕ การใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ ผู้เขียนมีวิธีการใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ ได้หลายวิธี

เริ่มตั้งแต่ การละเว้น หรือการใช้คำสรรพนามต่างๆ เช่น ผม กระผม ฉัน ดิฉัน เรา หรือผู้เขียน ฯลฯ

ทั้งนี้ก็ต้องดูตามบริบทที่เกี่ยวข้อง เช่น รูปแบบ หรือโทนของการเขียน ฯลฯ

อย่างไรก็ตามสรรพนามที่น่าสนใจคือคำว่า “ข้าพเจ้า” คำคำนี้มีแนวการใช้สองแนวที่

ตรงกันข้ามกันสิ้นเชิง คือ การเขียนที่ใช้ภาษาแบบแผนสูง ซึ่งจะมีความเป็นทางการ และมีระยะ

ห่างระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่าน อีกทางหนึ่งที่ตรงกันข้ามกัน คือการเขียนที่ใช้ภาษาไม่เป็นแบบแผน

และมีความเป็นกันเองสูงมาก นักเขียนบทความบางคนใช้คำว่า “ข้าพเจ้า” ในกรณีหลัง ซึ่งจะเป็น

สไตล์การเขียนเฉพาะบุคคล ดังนั้นการเลือกใช้คำว่า “ข้าพเจ้า” จึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะเป็น

คำที่ทำให้เกิดความพอดีได้ไม่ง่ายนัก

๖.๒.๖ การทำประโยคให้สั้น การเขียนประโยคสั้นๆ จะทำให้งานน่าอ่านมากขึ้นกว่า

การเขียนด้วยประโยคยาว มีอนุประโยคขยายความยาวเหยียด บางทีการเขียนประโยคยาวๆ มีส่วน

ขยายมากๆ นอกจากจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกเหนื่อยในการลากสายตา หรือ (บางคนอาจ) เหนื่อยจาก

การกลั้นหายใจเอาไว้จนกว่าจะได้อ่านให้จบประโยคแล้ว การเรียบเรียงประโยคยาวๆ ยังอาจ

ทำให้ข้อความยาวๆ นั้นไม่เป็นประโยค เพราะผู้เขียนลืมใส่คำกริยาแท้ เช่น

“ตั้งแต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์นำโครงการจำนำข้าวกลับมาใช้ใหม่ โดยประกาศรับซื้อข้าวในราคา

สูงกว่าราคาตลาด เพื่อช่วยเหลือชาวนา ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของชาติให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ

หวงักระตุน้เศรษฐกจิโดยรวม ทา่มกลางเสยีงวพิากษว์จิารณจ์ากหลายฝา่ย รวมทัง้คนในพรรคเพือ่ไทย

ที่แสดงความห่วงใยโครงการนี้ที่มีความเสี่ยงทางการเงินสูง”

ข้อความยืดยาวข้างต้น ไม่มีคำกริยาแท้ จึงไม่เป็นประโยค อาจจะเนื่องมาจากผู้เขียนมี

ส่วนขยายมากเกินไปจนไม่ทันรู้ตัวว่าข้อความนั้นยังไม่มีคำกริยาแท้ วิธีแก้ปัญหาการเขียนข้อความ

ยาวๆ ที่อาจจะลืมใส่คำกริยาแท้ก็คือ ทอนข้อความยาวๆ นั้นให้เป็นประโยคสั้นๆ หลายๆ ประโยค

เช่น “รัฐบาลทำโครงการจำนำข้าวทำเพื่อช่วยเหลือชาวนา หวังให้กระดูกสันหลังของชาติมีคุณภาพ

ชีวิตที่ดีขึ้น และหวังกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม โครงการฯ จะซื้อข้าวจากชาวนาในราคาสูงกว่าราคา

ตลาด ทำให้รัฐบาลมีความเสี่ยงทางการเงินสูง ดังนั้นตั้งแต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์นำโครงการฯ นี้กลับมา

ใช้ จึงมีเสียงวิจารณ์จากหลายฝ่าย รวมทั้งคนในพรรคเพื่อไทยที่แสดงความห่วงใย”

๖.๒.๗ การทำย่อหน้าให้สั้น การมีย่อหน้าขนาดสั้น โดยการขึ้นย่อหน้าบ่อยๆ จะทำให้

บทความแลดู “เบา” และน่าอ่านกว่างานเขียนที่มีย่อหน้ายาวๆ ขอให้ดูบทความเรื่อง “ฝาผนังบางๆ

กับอคติบางๆ” ในตัวอย่างที่ ๕.๓ หรือบทความเรื่อง “ความพยายามอยู่ที่ไหน แรงบันดาลใจอยู่ที่นั่น”

ในตัวอย่างที่ ๕.๔ ซึ่งแสดงให้เห็นการทำย่อหน้าสั้นๆ

Writing_ch 6_Edit 3.indd 93 8/10/2556 15:12:09

ตัวอย่าง