ชุมชนการเรียนรู้ทาง...

4
ภายหลงคำสงหวหนาคณะรกษาความสงบแหงชาต 10/2559 เร อง การข บเคล อนการปฏ รูปการศ กษาของกระทรวง ศกษาธการในภูมภาค และคำสงท 11/2559 เรองการบรหาร ราชการของกระทรวงศกษาธการในภูมภาค ทประกาศออกมา ในชวงคำของวนท 21 มนาคม 2559 ดูจะทำใหเกดบรรยากาศ “ฝนตลบ” และการตงคำถามเกยวกบโครงสรางและบทบาท ของการจ ดการศ กษาของหน วยงานในส งก ดกระทรวงศ กษาธ การ พอสมควร อยางไรกตามคำสงดงกลาวดูจะสนบสนนทศทาง การจดการศกษาเชงพนททหลายจงหวดรวมถงอำนาจเจรญ กำลงดำเนนการอยู มหกรรมเพมพูนปญญา สงเสรมชมชนการเรยนรูทาง วชาชพ สูการปฏรูปการเรยนรูเชงพนทจงหวดอำนาจเจรญ “รวมคด รวมทำ หนนนำ พฒนาการศกษาการเรยนรูของ คนอำนาจเจรญ” จดขนในวนองคารท 22 มนาคม 2559 ณ โดมเฉลมพระเกยรต โรงเรยนอนบาลอำนาจเจรญ จงหวด อำนาจเจรญ ดวยการลงแรงแขงขนของสภาการศกษาจงหวด อำนาจเจรญ นำโดย นายนรงฤทธิ์ จันทรเนตร ประธาน สภาการศกษาอำนาจเจรญ และนางสุภาพ บุญหลง ทปรกษา นายก อบจ.อำนาจเจรญ มปลดจงหวดอำนาจเจรญมาเปน ประธานในพธเปด วตถประสงคการประชมเพอกระตนใหเกด ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โจทย์ขับเคลื่อนการศึกษาเชิงพื้นที่อำนาจเจริญ พฒนะพงษ สขมะดน การแลกเปลยนเรยนรูและขยายผลการพฒนาชมชนแหงการ เรยนรูเพอพฒนาผูเรยน (Professional Learning Community- PLC) เปนการพฒนา “ครู” บนฐานความคดทวาครูดครูเกงมอยู ในพนท ใหครูไดเรยนรูจากประสบการณซงกนและกน ไมดงครู ออกจากหองเรยน การสร างช มชนการเร ยนรู หร อการพ ฒนาครูของอำนาจเจร เปนงานสวนหนงของการจดการศกษาเชงพนทมวตถประสงค เพอใหเกดการคดและการทำงานรวมกนวาคนอำนาจเจรญ อยากไดครูในแบบใดและจะรวมกนสรางครูในรูปแบบนนได อยางไร เปนความพยายามทจะสรางกลไกพฒนาครูของตนเอง พรอมๆ กบการสรางฐานขอมูลบคลากรทางการศกษาในพนท งานพ ฒนาครูในอำนาจเจร ญเร มต นจากการทำงานผ านเคร อข าย ครูจากโรงเรยน 8 แหงในระยะแรก ประกอบดวย โรงเรยนหวดง หนองคลอง โรงเรยนเจรญวทยา โรงเรยนบานดงมะยางหนอง นกหอ โรงเรยนบานคำเดอย โรงเรยนบานสมสะอาดเนนกง โรงเรยนโคกสวาสดหนองสองหองดอนแดง โรงเรยนเทศบาล 1 วดเทพมงคล และโรงเรยนบานดอนแดงนาโนน ในงานมหกรรม เพมพูนปญญาฯ ครูและผูบรหารจากโรงเรยนทง 8 แหง ไดมา รวมกนแลกเปลยนประสบการณในการสรางชมชนการเรยนรู โดยแตละแหงกมรูปแบบและวธการทแตกตางกนไปตามบรบท จั ง ห วั ด ป ฏิ รู ป ก า ร เ รี ย น รูเด่นในฉบับ.. ชมชนแหงการเรยนรู ครูบนดอย ระบบฐานขอมูลสารสนเทศเพอสนบสนนกจกรรม ลดเวลาเรยนเพมเวลารู ตดตามความเคลอนไหวของจงหวดปฏรูปการเรยนรูท ABE Network’s Corner ฉบับทีอานตอหนา 4 วันที่ 1 เมษายน 2559 19

Transcript of ชุมชนการเรียนรู้ทาง...

Page 1: ชุมชนการเรียนรู้ทาง ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-01042559-110512-Cd8115.pdf · ภายหลังคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ภายหลังคำสั ่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ท่ี 10/2559 เร่ือง การขับเคล่ือนการปฏิรปูการศึกษาของกระทรวง

ศึกษาธิการในภูมิภาค และคำสั่งที่ 11/2559 เรื่องการบริหาร

ราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ที่ประกาศออกมา

ในช่วงค่ำของวันที่ 21 มีนาคม 2559 ดูจะทำให้เกิดบรรยากาศ

“ฝุ่นตลบ” และการตั้งคำถามเกี่ยวกับโครงสร้างและบทบาท

ของการจัดการศึกษาของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

พอสมควร อย่างไรก็ตามคำสั่งดังกล่าวดูจะสนับสนุนทิศทาง

การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ที ่หลายจังหวัดรวมถึงอำนาจเจริญ

กำลังดำเนินการอยู่

มหกรรมเพิ ่มพูนปัญญา ส่งเสริมชุมชนการเรียนรู ้ทาง

วิชาชีพ สู่การปฏิรูปการเรียนรู ้เชิงพื ้นที ่จังหวัดอำนาจเจริญ

“ร่วมคิด ร่วมทำ หนุนนำ พัฒนาการศึกษาการเรียนรู ้ของ

คนอำนาจเจริญ” จัดขึ้นในวันอังคารที่ 22 มีนาคม 2559 ณ

โดมเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ จังหวัด

อำนาจเจริญ ด้วยการลงแรงแข็งขันของสภาการศึกษาจังหวัด

อำนาจเจริญ นำโดยนายนรงฤทธิ์ จันทรเนตร ประธาน

สภาการศึกษาอำนาจเจริญและนางสุภาพ บุญหลงที่ปรึกษา

นายก อบจ.อำนาจเจริญ มีปลัดจังหวัดอำนาจเจริญมาเป็น

ประธานในพิธีเปิด วัตถุประสงค์การประชุมเพื่อกระตุ้นให้เกิด

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โจทย์ขับเคลื่อนการศึกษาเชิงพื้นที่อำนาจเจริญ พัฒนะพงษ์ สุขมะดัน

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผลการพัฒนาชุมชนแห่งการ

เรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน (Professional Learning Community-

PLC)เป็นการพัฒนา“ครู”บนฐานความคิดที่ว่าครูดีครูเก่งมีอยู่

ในพื้นที่ ให้ครูได้เรียนรู้จากประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ไม่ดึงครู

ออกจากห้องเรียน

การสร้างชุมชนการเรียนรูห้รือการพัฒนาครขูองอำนาจเจริญ

เป็นงานส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่มีวัตถุประสงค์

เพื ่อให้เกิดการคิดและการทำงานร่วมกันว่าคนอำนาจเจริญ

อยากได้ครูในแบบใดและจะร่วมกันสร้างครูในรูปแบบนั้นได้

อย่างไร เป็นความพยายามที่จะสร้างกลไกพัฒนาครูของตนเอง

พร้อมๆ กับการสร้างฐานข้อมูลบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่

งานพัฒนาครใูนอำนาจเจริญเร่ิมต้นจากการทำงานผ่านเครือข่าย

ครูจากโรงเรียน8แห่งในระยะแรกประกอบด้วยโรงเรียนหัวดง

หนองคลอง โรงเรียนเจริญวิทยา โรงเรียนบ้านดงมะยางหนอง

นกหอ โรงเรียนบ้านคำเดือย โรงเรียนบ้านสมสะอาดเนินกุง

โรงเรียนโคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง โรงเรียนเทศบาล 1

วัดเทพมงคล และโรงเรียนบ้านดอนแดงนาโนน ในงานมหกรรม

เพิ่มพูนปัญญาฯ ครูและผู้บริหารจากโรงเรียนทั้ง 8 แห่ง ได้มา

ร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสร้างชุมชนการเรียนรู้

โดยแต่ละแห่งก็มีรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างกันไปตามบริบท

จั ง ห วั ด ป ฏิ รู ป ก า ร เ รี ย น รู้

เด่นในฉบับ.. • ชุมชนแห่งการเรียนรู้ครูบนดอย

• ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนกิจกรรม

ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

• ติดตามความเคลื่อนไหวของจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ที ่

ABENetwork’sCorner

ฉบับที่

อ่านต่อหน้า4

วันที่ 1 เมษายน 2559 19

Page 2: ชุมชนการเรียนรู้ทาง ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-01042559-110512-Cd8115.pdf · ภายหลังคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

2

“บ้านแม่ลิด” โรงเรียนที่อยู่ในหุบเขาสูงของอำเภอแม่สะเรียง

จังหวัดแม่ฮ่องสอน แม้เส้นทางคมนาคมคดเคี้ยวยากลำบากอีกทั้ง

ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ใดๆ เข้าถึง แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคแต่อย่างใด

โรงเรียนแห่งนี ้จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึง ม.3

มุ่งเน้น 3 ทักษะหลักคือ ทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพ และทักษะ

ชีวิต มีผู้บริหารและคุณครูรวม 18 คน นักเรียนทั้งหมด 326 คน

นักเรียนทั้งหมดเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงขาว(สกอร์)อีกทั้งที่นี่ยังเป็น

ที ่พำนักพักนอนสำหรับนักเรียนกว่า 50 คน ที ่บ้านอยู ่ไกล ไม่

สามารถเดินทางไปกลับในแต่ละวันได้ นักเรียนบางคนต้องเดินจาก

บ้านมาโรงเรียนไกล 20-30 กิโลเมตร การย้ายเข้าออกของคุณครู

เฉลี่ยปีละ 1-2 คน ยังคงเป็นปัญหาจากความทุรกันดารยากลำบาก

ดังกล่าว

ผู ้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปร่วมเรียนรู ้กระบวนการพัฒนา

ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียน (Professional Learning

Community-PLC) ร ่วมกับผู ้บริหารและคุณครูที ่โรงเร ียนแห่งนี ้

ในวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2559 ทันทีที่เดินทางมาถึงโรงเรียนก็สัมผัส

ได้ถึงบรรยากาศของความสุขความอบอุ่น คุณครูที ่นี ่อยู ่ร ่วมกัน

แบบพี่น้องครอบครัว มีผู ้บริหารที ่พร้อมจะหนุนเสริมช่วยเหลือ

กิจกรรมในวันนี้เกิดขึ้นด้วยความสนใจของ ผอ.สายัญ โพธิ์สุวรรณ

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่ลิด ที่มุ่งมั่นตั้งใจจัดให้มี “ชุมชนการ

เรียนรู้ ชุมชนแห่งความรัก และชุมชนแห่งความสุข” ขึ้นที่นี ่

โดยมุ่งเน้นที่จะร่วมกันจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมี

คุณลักษณะสำคัญคือ ความมีจิตสาธารณะ ด้วยตระหนักว่า

คุณสมบัติน ี ้จะทำให้เด็กๆ ที ่น ี ่ม ีค ุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อ

ส่วนรวมมากกว่าการเรียนรู้เพียงเพื่อให้ตนเองอยู่รอด เปลี่ยนแนวคิด

การจัดการศึกษาที ่เน้นการแข่งขันไปสู ่กระบวนการเรียนรู ้เพื ่อ

ช่วยเหลือแบ่งป ันส ิ ่งด ีๆ สมัครสมานสามัคคีและมีจ ิตอาสา

นี่จึงเป็นจุดร่วมในการกำหนดเป้าหมายPLCของโรงเรียนแห่งนี้

กระบวนการ PLC เริ่มขึ้นด้วยการเปิดใจของทั้งผู้บริหารและ

ครู แต่ละคนได้มีโอกาสพูดคุยกับคนที่ตนเองคิดว่าสนิทน้อยที่สุด

เพื ่อทำความรู ้จักและสร้างความสัมพันธ์อันดีในการใช้ชีวิตและ

ทำงานร่วมกันมากขึ้น นอกจากแนะนำตนเองแล้วการดึงจุดเด่นที่

ตนเองคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำมาเล่า

ให้เพื่อนๆ ได้รับรู้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะนำไปสู่การช่วยเหลือเกื้อกูล

ถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกันจากจุดแข็งที่แต่ละคนมี

ผู้บริหารและคุณครูได้เรียนรู้ตัวอย่าง PLC จากโรงเรียนจำลอง

“ดงละครรำ” ร่วมกันวิเคราะห์ข้อเด่น ข้อด้อยจากตัวอย่างดังกล่าว

รวมถึงสิ่งที่คิดว่าจะสามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนาชุมชนแห่งการ

เรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนที่โรงเรียนบ้านแม่ลิดได้ กิจกรรมนี้ทำให้เห็น

ภาพร่วมกันว่า PLC จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้บริหารและคุณครูทุกคนใน

โรงเรียนเห็นเป้าหมายร่วมกันตระหนักว่าอะไรคือปัญหาของผู้เรียนที่

จะต้องร่วมกันแก้ไข มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมเพ่ือแก้ปัญหาดังกล่าว

คุณครูช่วยกันออกแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนแลกเปลี่ยน

เรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่องตลอดการทำงาน โดยมีผู้บริหารเป็นผู้นำ

กระบวนการคอยหนุนเสริมช่วยเหลือ

จากตัวอย่างดังกล่าว คุณครูแต่ละช่วงชั้นได้มีการวิเคราะห์

ร่วมกันเพ่ือกำหนดจุดร่วมในการพัฒนาผูเ้รียน โดยเบ้ืองต้นครอูนุบาล

และช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3) ตั้งเป้าหมายร่วมกันที่จะพัฒนาผู้เรียนให้

อ่านออกเขียนได้ 100%คุณครูช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-ป.6) ตั้งเป้าหมายที่

จะพัฒนาให้นักเรียนกล้าพูดแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออก

คุณครูช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) ตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีจิต

สาธารณะ การตั้งเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนดังกล่าวนับเป็น

จุดเริ่มต้นและก้าวย่างที่สำคัญของการทำงานร่วมกันในกลุ่มครูและ

ผู้บริหารผ่านชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพจากนี้ต่อไป

หลังจากทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันด้วยความสุขทั้งวัน คุณครูได้

สะท้อนความคิดความรู้สึกว่า ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ น่าจะ

สร้างสัมพันธ์ที ่แนบแน่นมากขึ้น เด็กๆ ได้รับความใส่ใจมากขึ้น

ผลการเรียนจึงต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน และไม่น่าเชื่อว่า ชุมชนการ

เรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นเส้นทางที่ไม่ได้ยากเท่าที่เคยกลัว และน่าจะ

สร้างสิ่งดีดีอีกมากมาย สำหรับ ผอ.สายัญ ก็ได้ย้ำในช่วงท้ายก่อน

เสร็จสิ้นกิจกรรมว่าชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนนี้ จะเป็น

เครื ่องมือ/วิธีการที่ทำให้แต่ละคนได้สะท้อนและแสดงพลังความ

สามารถของตนเองออกมา ด้วยตระหนักว่าเพื่อนทุกคนมีคุณค่า

มีความสามารถ มีความหมาย กระบวนการนี้จะช่วยดึงพลังของ

พวกเราให้มาทำงานร่วมกัน เกิดวัฒนธรรมทำงานกันแบบพี่น้องที่

พร้อมเรียนรู้ แก้ไข ปรับปรุงพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เพื่อเป้าหมาย

สำคัญคือ“คุณภาพผู้เรียนที่ดี”

บ้านแม่ลิด เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่า ความยาก

ลำบากมิได้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผู้เรียนแต่อย่างใด และ

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียนสามารถเกิด

ขึ้นได้ไม่ว่าอยู่ที่ใด ขอเพียงผู้บริหาร คุณครูและบุคลากรทุกคนใน

โรงเรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจเอาจริงเอาจัง

พัฒนาคน... พัฒนางาน

ดร.ประพาฬรัตน์ คชเสนา

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ครูบนดอย

Page 3: ชุมชนการเรียนรู้ทาง ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-01042559-110512-Cd8115.pdf · ภายหลังคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

จากนโยบายการปรับเวลาเรียนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ศึกษาธิการ ให้ลดชั่วโมงเรียนของเด็กลง โดยเรียนภาควิชาการใน

สาระหลักเพียงแค่เวลา 14.30 น. จากนั้นให้เด็กนักเรียนทำกิจกรรม

นอกห้องเรียน เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในทุกด้าน ในรูปแบบ

ของกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการเรียนรู้แบบบูรณาการ นั่นก็คือ

นโยบาย ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ อันหมายถึง การลดเวลาเรียนภาค

วิชาการและการลดเวลาของการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็น

ผูรั้บความรู้เช่นการบรรยายการสาธิตการศึกษาใบความรู้ให้น้อยลง

และเพิ่มเวลาและโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง มีประสบการณ์

ตรง คิดวิเคราะห์ ทำงานเป็นทีม และเรียนรูด้้วยตนเองอย่างมีความสุข

จากกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นกรอบวิสัยทัศน์

ด้านการศึกษา เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมเข้าสู่การเรียนรู้ในศตวรรษ

ที่ 21ของไทยนั้นสอดคล้องกับของหลายประเทศที่เป็นผู้นำด้านการ

ศึกษาของโลก ซึ ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั ้นพื ้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการลดเวลา

เรียนเพิ่มเวลารู้ดังรูปด้านล่างนี้

ดังนั ้น สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู ้และคุณภาพ

เยาวชน (สสค.) และทีมวิจัยระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ คณะ

วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงได้ร่วมพัฒนาระบบฐาน

ข้อมูลสารสนเทศสำหรับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ขึ้นมา เพื่อให้

สอดคล้องต่อนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และเพื่อรองรับต่อ

การใช้งานของสถานศึกษา เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไป

อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในการบันทึกกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

ระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ดร.วรลักษณ์ คงเด่นฟ้า

3

รณรงค์สื่อสาร จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้

ครูสามารถเข้าไปจัดการข้อมูลได้ตามที่วางแผนงานไว้ โดย

สามารถเพิ่มกิจกรรมหรือแก้ไขกิจกรรมได้หลังจากนั้นสามารถ

เพิ ่มเด็กเข้าสู ่กิจกรรมได้โดยสามารถระบุได้ว่าจะเพิ ่มเด็ก

นักเรียนเป็นห้องหรือคละห้อง

และในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ครูผู้สอนสามารถ

เข้าไปประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรมของเด็กนักเรียนได้ โดย

การประเมินผลจะประเมินในแต่ละจุดประสงค์ว่า ผ่านการ

ประเมินหรือไม่ผ่านการประเมิน

สุดท้ายนี ้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู ้และ

คุณภาพเยาวชน (สสค.) และทีมวิจัยระบบฐานข้อมลูสารสนเทศ

คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรหวังว่า ระบบฐาน

ข้อมูลสารสนเทศสำหรับกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้นี้ จะ

สามารถเป็นเครื่องมือในการจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนได้

เป็นอย่างดี และหวังว่าจะช่วยลดภาระการทำงานของครูผู้ดูแล

กิจกรรมลงได้ และเพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างการเรียนรู้ของ

นักเรียนให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามนโยบายของกระทรวง

ศึกษาธิการ ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยและเตรียม

นักเรียนให้พร้อมเข้าสู่ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่าง

มั่นคง

รูปแสดงหน้าประเมินผลกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

รูปแสดงหน้าบันทึกกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

Page 4: ชุมชนการเรียนรู้ทาง ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-01042559-110512-Cd8115.pdf · ภายหลังคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

อำนาจเจริญ : 22 มีนาคม 2559 สภาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญจัดงานมหกรรม

เพิ่มพูนปัญญา ส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สู่การปฏิรูปการเรียนรู้เชิงพื้นที่

จังหวัดอำนาจเจริญ งานนี้ 2 พ่อใหญ่ของการปฏิรูปการเรียนรู้ฯ ทั้งอดีตประธานคณะ

ทำงานฯนายสมนึก มีทอง และประธานฯ คนปัจจุบันนายนรงฤทธิ์ จันทรเนตร

ทั้งยังมีนพ.ชัยพรทองประเสริฐกำลังสำคัญอีกคนมากันพร้อมหน้า

สุราษฎร์ธานี : เสร็จสิ ้นเป็นที ่เรียบร้อยแล้วสำหรับการจัดทำ “คู ่มือครูหลักสูตร

พุทธทาสศึกษา” เริ่มจัดทำตั้งแต่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 มาแล้วเสร็จเอา 21 มีนาคม

2559หัวขบวนทั้ง3ท่าน นายธีรวัฒน์ รัตนกุล นายชัยวัฒน์ แก้วบัวทองและนาย

สุชาติ เหล่ากอ ลงแรงแข็งขันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือนี้จะง่ายต่อการนำไปใช้กับ

โรงเรียนนำร่องทั้ง12แห่ง

ตราด : 23 มีนาคม 2559 ชาวตราดจัดงาน “ตราดรำลึก” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระ

มหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือ “เสด็จพ่อ ร.5” ที่

ได้นำตราดกลับคืนมาเป็นดินแดนของสยามประเทศจากการล่าอาณานิคมของตะวันตกใน

สมัยนั้น ในโอกาสครอบรอบ 110 ปี คณะทำงานจัดการศึกษาเชิงพื้นที่โดยนายธันยา

หาญพลได้นำวาระทางการศึกษาผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมตราดรำลึกด้วย

สมัครสมาชิก สสค. ดาวน์โหลดไฟล์จดหมายข่าว “สานปัญญา” ได้ที่ www.QLF.or.th

ติดตามข่าวสาร สสค. ที่ Quality Learning Foundation QLFThailand

แจ้งเปลี่ยนที่อยู่สมาชิก/สอบถาม โทร. 02-6191811

ต่อจาก หน้า 1

ABE Network’s Corner

ของตนเองแต่ล้วนมีเป้าหมายที่การพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ

เช่น การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ การฝึกคิดวิเคราะห์

หรือการเรียนที่เน้นการฝึกปฏิบัติ เป็นต้น ความสำเร็จสู่ผู้เรียน

จากโรงเรียนที่ร่วมโครงการในระยะแรกนี้กำลังจะขยายไปสู่

โรงเรียนอีก11แห่งในระยะต่อไป

การสร้างชุมชนการเรียนรู้เป็นหนึ่งในโจทย์ขับเคลื่อนการ

จัดการศึกษาเชิงพื้นที่ของจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งก่อนหน้านี้

ประมาณ 3 เดือน จังหวัดอำนาจเจริญได้มีการก่อตั้งสภา-

การศึกษาจังหวัดขึ้นเป็นที่รวมของความร่วมมือ นักคิดและ

คนทำงานไม่เฉพาะเพียงนักการศึกษาแต่ขยายวงไปสู่องค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการ องค์กรชุมชน สื่อมวลชน

หน่วยงานสาธารณสุข ยุติธรรม เป็นต้น สภาการศึกษาจังหวัด

อำนาจเจริญจึงเป็นกลไกความร่วมมือที ่เกิดขึ ้นเพื ่อมุ ่งหวัง

ยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของเด็กเยาวชนในพื้นที่ การสร้าง

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของสภาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญแม้

จะเป็นเสมือนการ “ซ้อมมือ” การทำงานร่วมกันของสภาการ

ศึกษาจังหวัดกับโรงเรียนในพื้นที่แล้ว ในขณะเดียวกันก็เป็นการ

พิสูจน์ให้เห็นคุณค่าการคงอยู ่ของกลไกความร่วมมือนี ้ด้วย

พร้อมๆกับการขยายผลโรงเรียนในเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู ้

สภาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญกำลังรวบรวมข้อมูลและ

ความเห็นจัดทำเป็นร่างแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดเสนอต่อ

ผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อบรรจุเข้าไว้ในแผนยุทธศาสตร์จังหวัด

เพื่อให้การขับเคลื่อนการศึกษาของจังหวัดของทุกหน่วยงานใน

พื้นที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยคาดว่าจะสามารถ

ดำเนินงานได้ทันการตั้งงบประมาณของจังหวัดในปีงบประมาณ

2560นี้

ในช่วงท้ายของมหกรรมเพิ ่มพูนปัญญาฯ นายนรงฤทธิ ์

จันทรเนตร ประธานสภาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ ได้

ขอบคุณครูและผู้บริหารสถานศึกษาในเครือข่ายทุกแห่งที่เข้า

ร่วมโครงการ สมาชิกสภาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญและ

หน่วยงานสนับสนุนโดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนจังหวัด

อำนาจเจริญท่ีร่วมกันเป็นเจ้าภาพทำให้การทำงานลุล่วงไปด้วยดี

รวมถึง รศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์ และคณะ และนางสาว

ประพาฬรัตน์ คชเสนา นักวิชาการจาก สสค. ที่ได้ร่วมเป็น

พี่เลี้ยงให้คำแนะนำการดำเนินงาน พร้อมทั้งได้กล่าวถึงบทบาท

ของสภาการศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญว่า “สภาการศึกษา

จังหวัดอำนาจเจริญได้คิดและทำงานการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่

มาระยะหนึ่งแล้ว หลังจากนี้จะทำงานเป็นเพื่อนคู่คิดไปพร้อมๆ

กับคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด หรือ “กศจ.” ที่รัฐบาลเพิ่ง

มีคำสั่งแต่งตั้งขึ้น เพื่อให้การดูแลเด็กเยาวชนคนอำนาจเจริญ

เป็นเรื่องของคนอำนาจเจริญอย่างแท้จริง”