รายงานการวิจัย3.2...

76
รายงานการวิจัย เรื่อง ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน ควบคู่กับรูปแบบร่วมมือ: วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรองทอง ไคริรี ได้รับทุนอุดหนุนจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีงบประมาณ 2553

Transcript of รายงานการวิจัย3.2...

  • รายงานการวิจัย เรื่อง

    ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน ควบคู่กับรูปแบบร่วมมือ: วิทยาลัยนานาชาติ

    มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

    โดย

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรองทอง ไคริร ี

    ได้รับทุนอุดหนุนจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีงบประมาณ 2553

  • (1)

    บทคัดย่อ ชื่อรายงานการวิจัย : ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน

    ควบคู่กับแบบร่วมมือ:วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

    ชื่อผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรองทอง ไคริรี ปีที่ท าการวิจัย : 2553 …………………………………………………………………………

    โครงการวิจัยนี้เป็น การวิจัยเชิง กึ่งทดลอง ที่มีการทดสอบก่อนและการทดสอบหลัง เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนท่ีใช้รูปแบบ ใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานควบคู่กับแบบร่วมมือ ของหลักสูตรบริหารธุรกิจ และหลักสูตรศิลปะศาสตร์บัณฑิต ที่เปิดสอนในวิทยาลัยนานาชาติ รวม 3 รายวิชา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้เป็น นักศึกษา ในระดับชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 จ านวน 73 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการท าวิจัยต้ังแต ่ เดือนธันวาคม 2552 ถึง กันยายน 2553

    จากผลการทดสอบการวิจัยเชิงกึ่งทดลองพบว่ามีสาระส าคัญดังนี้

    1) ผลการทดสอบสมมุติฐานปรากฏว่าแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญ ที่ = .05 ทุกรายวิชา สรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอนท่ีใช้รูปแบบ PBL-CL ท าให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติดีขึ้นกว่าการสอนท่ีไม่ได้ใช้รูปแบบ PBL-CL

    2) การจัดการเรียนการสอนท่ีใช้รูปแบบ PBL-CL ท าให้ขีดความสามารถ ด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติดีขึ้น

    3) นักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติมีทัศนคติในทางบวกต่อการจัดการเรียนการสอนท่ีใช้รูปแบบ PBL-CL

    www.ssru.ac.th

  • (2)

    ABSTRACT

    Research Title : The effects of using problem-based learning and

    cooperative learning instructional model: International College, Suan Sunandha Rajabhat University perspective

    Researcher : Asst.Prof. Dr. Krongthong Khairiree

    Year : 2010

    ………………………………………………………………………… The main purpose of this Quasi-Experimental research is to study the effects

    of using problem-based learning and cooperative learning instructional model. The

    pretest and posttest design were employed in this study. The research was

    conducted in three subjects offered in Bachelor of Business Administration and

    Bachelor of Arts degree program at International College, Suan Sunandha Rajabhat

    University. The sample consisted of 73 students of International College, Suan

    Sunandha Rajabhat University. The duration of the research conducted was from

    December 2009 until September 2010.

    Research findings:

    The conclusion of research findings were:

    1) Based on statistic t-test, students in the classes using problem-based

    learning and cooperative learning instructional model were shown to have

    performed significantly better on the posttest than those classes using

    whole-classes instruction at = .05;

    2) The students in the classes using problem-based learning and

    cooperative learning instructional model were shown to have English

    competency better than those classes using whole-classes instruction;

    and

    3) Based on analysis of the attitude survey showed that students in the

    sample had positive attitude to problem-based learning and cooperative

    learning instructional model.

    __________________

    www.ssru.ac.th

  • (3)

    กิตติกรรมประกาศ

    โครงการวิจัยเรื่อง เรื่อง ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานควบคู่กับรูปแบบร่วมมือ : วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ” ส าเร็จได้ด้วยความร่วมมือจากบุคลากรหลายท่านให้ความกรุณาช่วยเหลือให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นและก าลังใจ

    ผู้วิจัยขอขอบคุณผู้ร่วมทีมวิจัยทุกท่าน ซึ่งได้แก่อาจารย์ สกลชัย เจริญชัย และอาจารย์รวิวรรณ โปรยรุ่งโรจน์ ที่ได้ร่วมวิจัยและน ารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ ใช้ปัญหาเป็นฐานและการสอนแบบร่วมมือไปทดลองใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน

    ผู้วิจัยขอขอบคุณพนักงานของวิทยาลัยนานาชาติทุกท่านที่ได้ให้ความร่วมมือและมีส่วนช่วยเหลือให้งานวิจัยน้ีส าเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    สุดท้ายนี้ ผู้วิจัยขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่ได้สนับสนุนให้ทุนท างานวิจัยในครั้งนี้

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรองทอง ไคริรี ผู้อ านวยการวิทยาลยันานาชาติ

    www.ssru.ac.th

  • (4)

    ค ำน ำ

    วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นหน่วยงานที่เทียบเท่าคณะ และ

    อยู่ในก ากับของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา วิทยาลัยนานาชาติ ได้ เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติระดับ ปริญญาตรีบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว B.B.A. (Hospitality and Tourism Management) และ สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ B.B.A. (International Business) และ หลักสูตรปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต ( Bachelor of Arts) สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว B.A. (Tourism Industry)

    พันธกิจที่ส าคัญประการหนึ่งของ วิทยาลัยนานาชาติ คือ การผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพมีความรู้ มีความสามารถทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติ และวิทยาลัยยังต้องมีหน้าที่ในการจัดท างานวิจัย เพื่อการ พัฒนาองค์ความรู้และเพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ดังนั้นวิทยาลัยนานาชาติ จึงได้จัดท าโครงการวิจัยนี้ ขึ้นเพื่อการศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานควบคู่กับรูปแบบร่วมมือ

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรองทอง ไคริรี ผู้อ านวยการวิทยาลยันานาชาติ ตุลาคม 2553

    www.ssru.ac.th

  • (5)

    สำรบัญ

    หน้ำ บทคัดย่อ ABSTRACT กิตติกรรมประกาศ ค าน า สารบัญ สารบัญตาราง สารบัญภาพ สารบัญแผนภูมิ

    (1) (2) (3) (4) (5) (7) (8) (9)

    บทท่ี 1 บทน า 1

    1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา 1 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 1.3 ขอบเขตการวิจัย 3 1.4 ทฤษฎี สมมุติฐาน และกรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย 3 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 3 1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ 4 บทท่ี 2 เอกสารและงานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง 5 2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

    หรือ การจัดการเรียนรู้แบบ CL 5

    2.2 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning : PBL) หรือ การจัดการเรียนรู้แบบ PBL

    12

    2.3 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PBL- CL 17 2.4 ผลงานวิจัยเก่ียวข้อง 18 2.5 กรอบความคิดในการวิจัย 20 บทท่ี 3 วิธีด าเนินการวิจัย 21 3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 21 3.2 แบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง (Quasi-experimental design) 21

    www.ssru.ac.th

  • (6) 3.3 ขั้นตอนด าเนินงานวิจัย 24 3.4 เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย 25 3.5 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 25 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 26 บทท่ี 4 ผลการวิจัย 27 4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติที่มีการ

    จัดการเรียนการสอนรูปแบบ PBL-CL 27

    4.2 ผลของ การจัดการเรียนการสอนท่ีใช้รูปแบบ PBL-CL ที่มีต่อ ขีดความสามารถด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ

    39

    4.3 ทัศนคติของนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติ ท่ีมีต่อการจัดการเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ PBL-CL

    40

    บทท่ี 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 48 5.1 สรุปผลการวิจัย 48 5.2 อภิปรายผล 52 5.3 ข้อเสนอแนะ 53 5.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 53 บรรณานุกรม 54 ภาคผนวก 57 ภาคผนวก ก 58 ภาคผนวก ข 60 ประวัติผู้ท ารายงานวิจัย 61

    www.ssru.ac.th

  • (7)

    สำรบัญตำรำง

    ตำรำงท่ี หน้ำ

    2.1 การวางแผนการเรียนรู้แบบ PBL: แบบผสม 14 4.1 แสดง ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน ของนักศึกษาสาขาวิชา

    อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในรายวิชา ITI2304 Buddhism in Thailand 28

    4.2 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนรายวิชา ITI 2304 Buddhism in Thailand โดยใชรู้ปแบบ PBL-CL ก่อนและหลังการใช้

    29

    4.3 แสดงร้อยละของข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาที่เรียนวิชา GST1101 Business Mathematicsจ าแนกตามเพศ และสาขาวิชา

    31

    4.4 แสดง ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของนักศึกษารายวิชา GST1101 Business Mathematics

    32

    4.5 การทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนรายวิชา GST1101 Business Mathematics โดยใช้รูปแบบ PBL-CL กับไม่ได้ใช้รูปแบบ PBL-CL

    33

    4.6 แสดง ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของนักศึกษา สาขาธุรกิจระหว่างประเทศรายวิชา IBU 1201 Principle of Business

    34

    4.7 การทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนรายวิชา IBU1201 Principle of Business โดยใช้รูปแบบ PBL- CL ก่อนและหลังการใช้

    35

    4.8 แสดง ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของนักศึกษาสาขาวิชา การจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว รายวิชา IBU 1201 Principle of Business

    37

    4.9 การทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนรายวิชา IBU 1201 Principle of Business โดยใช้รูปแบบ PBL-CL ก่อนและหลังการใช้

    38

    5.1 สรุปผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ PBL-CL

    50

    www.ssru.ac.th

  • (8)

    สำรบัญภำพ

    ภำพท่ี หน้ำ

    2.1 กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ 10 2.2 การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ รูปแบบJigsaw 11 2.3 ขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL: Pure Model 13 2.4 ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 16 2.5 กรอบแนวคิดในการท าวิจัย 20 3.1 ผังรูปแบบแผนการวิจัยแบบก่ึงทดลองแบบ Pretest Posttest Design 22 3.2 ผังรูปแบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest Design 23 3.3 แสดงขั้นตอนการด าเนินงานวิจัย 24 4.1 ตัวอย่างแบบส ารวจ KWL (Know-Want-Learned) ของนักศึกษากลุ่ม

    ตัวอย่างที่เรียนรายวิชาพื้นฐาน GST1101 Business mathematics 47

    5.1 แสดงวงจร P-D-C-A ในการด าเนินงานวิจัย 49

    www.ssru.ac.th

  • (9)

    สำรบัญแผนภูม ิ

    แผนภูมิที่ หน้ำ

    4.1 แสดงร้อยละของคะแนน IELTS จากผลสอบวัดระดับขีดความสามารถด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างสาขาวิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ และสาขาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว วิทยาลัยนานาชาติ

    39

    4.2 แผนภูมิแท่งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติของนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติท่ีมต่ีอการจัดการเรียนการสอนท่ีใช้รูปแบบ PBL-CL

    41

    4.3 แผนภูมิแท่งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติของนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติท่ีมต่ีอกิจกรรมการท างานกับสมาชิกในกลุ่ม

    42

    4.4 แผนภูมิแท่งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติของนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติท่ีมต่ีอการเข้าชั้นเรียนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ PBL-CL

    43

    4.5 แผนภูมิแท่งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติของนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติท่ีมต่ีอการจัดการการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆโดยใช้รูปแบบ PBL-CL

    44

    www.ssru.ac.th

  • 1

    บทที่ 1

    บทน า

    1.1 ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา

    วิทยาลัยนานาชาติมีพันธกิจอย่างหนึ่งที่เป็นหน้าที่หลักของคือ “มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ และมีคุณภาพในด้านธุรกิจระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมการบริการ และวิชาชีพเฉพาะทาง” วิทยาลัยจะต้องผลิตบัณฑิตท่ีมีคุณภาพและบัณฑิตจะต้องมีมาตรฐานตรงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF: HEd) นอกจากน้ีบัณฑิตจะต้องมีความสามารถแข่งขันกับผู้อ่ืนได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ จึงมีความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณทิตที่มีคุณภาพ มีความรู้ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ มีขีดความสามารถ (competency) ที่ตรงตามมาตรฐาน และให้ผู้เรียนมีการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ

    ปัญหาที่ส าคัญของวิทยาลัย คือ การจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยที่มีปัญหาจากผู้เรียนและผู้สอน เนื่องจากผู้เรียนของวิทยาลัยนานาชาติมีระดับความสามารถและมีพื้นฐานการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ผู้สอนของวิทยาลัยนานาชาติมีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมีการใช้รูปแบบการสอนหลายรูปแบบด้วยกัน และยังไม่ได้จัดการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเท่าที่ควร ยังไม่ได้จัดการเรียนการสอนตรงตามท าแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติที่ว่า “…ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมในด้านการศึกษานั้น ควรจัดการเรียนการสอนแบบเด็กเป็นศูนย์กลาง และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจกระบวนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเรียนรู้อย่างมีความสุข…”

    เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนเป็นกระบวนการที่ส าคัญและเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ดังนั้น ปัญหาเร่งด่วนที่วิทยาลัยนานาชาติฯจะต้องด าเนินการในขณะนี้คือ การวางแผนจัดการเรียนการสอน เพื่อผลิตนักศึกษาให้มีคุณภาพและ มีขีดความสามารถตรงตามมาตรฐาน TQF นักศึกษาต้องมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน เป็นผู้ที่มีความสามารถ

    www.ssru.ac.th

  • 2

    เฉพาะบุคคลสูง สามารถท างานเป็นทีมร่วมกับผู้อ่ืนได้ นอกจากน้ียังเป็นบัณฑิตที่มีความสามารถในการท างานในภาครัฐ หรือเป็นผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้จะแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ด้วยการที่วิทยาลัยนานาชาติสามารถจัดรูปแบบการเรียนการสอนที่มีคุณภาพให้แก่นักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติ

    จากผลการวิจัยของวิทยาลัยนานาชาติ ที่ได้จัดท าในปีการศึกษา 2552 ที่ผ่านมา “เรื่อง การศึกษาประสิทธิผลของการปฏิรูปการเรียนรู้ท้ังวิทยาลัยนานาชาติ โดยใช้การจัดการเรียนการสอนรูปแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน ควบคู่กันไปกับการเรียนรูปแบบร่วมมือ ” ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่า การจัดการเรียนการสอนรูปแบบใช้ ปัญหาเป็นฐาน และรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ ดังนั้น วิทยาลัยนานาชาติ จึงได้พิจารณาทบทวนและมีความเห็นว่าควรจะต้องมีการท าการวิจัยเชิงทดลองการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน และรูปแบบร่วมมือต่อไป เพื่อค้นหาค าตอบเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ท่ีส่งผลให้เกิดการผลิตบัณฑิตท่ีมีคุณภาพและมีความสามารถตรงตามมาตรฐาน TQF และมาตรฐานสากล เพื่อที่จะน ามาปรับกระบวนการเรียนของผู้เรียน และ เปลี่ยนกระบวนการสอนของผู้สอน จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบในด้านการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยนานาชาติเพื่อผลิตบัณฑิตของวิทยาลัยให้มีคุณภาพ ในด้านการประกันคุณภาพของหลักสูตร และการบริหารการศึกษา จึงได้เสนอให้ด าเนินการโครงการวิจัยเชิงทดลอง “เรื่อง ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานควบคู่กับรูปแบบร่วมมือ : วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ” ขึ้นเพื่อหาค าตอบเกี่ยวกับ ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานควบคู่กับรูปแบบร่วมมือที่มีต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

    1.2.1 เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบPBL-CL ที่มีต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

    1.2.2 เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ PBL-CL ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติกับการสอนที่ไม่ได้ใช้รูปแบบ PBL-CL

    1.2.3 เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดการเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ PBL-CLที่มีต่อ ขีดความสามารถด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติกับการสอนที่ไม่ได้ใช้รูปแบบ PBL-CL

    www.ssru.ac.th

  • 3

    1.3. ขอบเขตการวิจัย

    1.3.1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนที่ใช้รูปแบบ PBL-CLของหลักสูตรบริหารธุรกิจ และหลักสูตรศิลปะศาสตร์บัณฑิตที่เปิดสอนในวิทยาลัยนานาชาติในระดับชั้นปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 รวม 3 รายวิชา

    1.3.2 ระยะเวลาที่ใช้ในการท าวิจัย เดือนธันวาคม 2552 ถึง กันยายน 2553 1.4 ทฤษฎี สมมุติฐาน และกรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย ค าถามวิจัย

    1) การจัดการเรียนการสอนท่ีใช้รูปแบบ PBL-CL ท าให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติดีขึ้นกว่าการสอนท่ีไม่ได้ใช้รูปแบบ PBL-CLหรือไม่?

    2) การจัดการเรียนการสอนท่ีใช้รูปแบบ PBL-CL ท าให้ขีดความสามารถด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติดีขึ้นหรือไม่?

    3) ทัศนคติของนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติท่ีมต่ีอการจัดการเรียนการสอนท่ีใช้รูปแบบ PBL-CL เป็นอย่างไร?

    1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

    1) วิทยาลัยนานาชาติมีนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรูปแบบ PBL-CL

    2) บัณฑิตของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเป็นบัณฑิตที่มีขีดความสามารถตรงตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ

    3) วิทยาลัยนานาชาติสามารถสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความรู้ในการท าวิจัยเชิงกึ่งทดลอง 2 คน

    4) สามารถน าผลผลิตและนวัตกรรมการเรียนการสอนแบบ PBL-CL ที่ได้จากการท าวิจัยนี้ไปประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ในระดับชาติและระดับนานาชาติ

    www.ssru.ac.th

  • 4

    1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ

    รูปแบบการเรียนการสอน (instructional model) หมายถึง แบบแผนการด าเนินการสอนท่ีได้รับการจัดอย่างเป็นระบบสอดคล้องกับทฤษฎี และหลักการเรียนรู้ที่รูปแบบนั้นๆยึดถือ ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบหรือมีผลงานวิจัยรองรับว่ามีประสิทธิภาพ และ ลักษณะเฉพาะที่สามารถท าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตรงตามจุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นๆก าหนดไว้ (ทิศนา แขมมณี, 2549) ผลการเรียนรู้ (learning outcome) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลที่เป็นความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และเจตคติต่างๆ ส่วน ผลผลิต (product) หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นจากการด าเนินงานซึ่ง มีลักษณะเป็นชิ้นงานที่เห็นเป็นรูปธรรม (ทิศนา แขมมณี, 2549) การเรียนรู้รูปแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (Problem-Based Learning: PBL) รูปแบบการเรียนรู้แบบ PBL คือ เป็นการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้เกิดจากการที่ผู้สอนใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นคว้าหาค าตอบด้วยตนเองหรือช่วยกันหาค าตอบด้วยการท างานร่วมกันเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ปัญหาท่ีน ามาใช้จะเป็นปัญหาที่ มีค าตอบหลายค าตอบหรือไม่มีค าตอบที่ชัดเจน มักจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง การเรียนรู้แบบPBLนี้ ผู้เรียนสามารถก าหนดความต้องการเรียนรู้ การเลือกใช้แหล่งการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสม (กรองทอง ไคริรี, 2552) การเรียนรู้รูปแบบร่วมมือ (Cooperative Learning: CL) การเรียนรู้รูปแบบร่วมมือหมายถึง การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนและท างานด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ต้ังแต่ 2 คนขึ้นไป สมาชิกของกลุ่มจะมีความสามารถแตกต่างกันทั้งนี้เพื่อที่ช่วยเหลือกันและกัน มีขั้นตอนการน าไปใช้อย่างชัดเจน สมาชิกในกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์ในสังคมที่เน้นการให้เพื่อนสมาชิกช่วยกันในการเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมที่ให้มีการพึ่งพาอาศัยกัน มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการท างานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน (กรองทอง ไคริรี, 2552) การเรียนรู้รูปแบบ PBL-CL เป็นตัวย่อที่ใช้แทนข้อความว่า “การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (Problem-Based Learning: PBL) ควบคู่กับการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative learning: CL)”

    www.ssru.ac.th

  • 5

    บทที่ 2

    เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    พันธกิจที่ส าคัญอย่างหนึ่งของวิทยาลัยนานาชาติ คือ มุ่งผลิตบัณฑิต ให้มีความรู้และ มีคุณภาพมีขีดความสามารถ(competency) ตรงตามมาตรฐานของส านักงานการอุดมศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถด้านการท างานเป็นทีม และการใช้ภาษาอังกฤษ งานวิจัยนี้เป็นโครงการวิจัยเชิงทดลอง “เรื่อง ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานควบคู่กับรูปแบบร่วมมือ: วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ” เพื่อหาค าตอบเกี่ยวกับผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐานควบคู่กับรูปแบบร่วมมือที่มีต่อวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษา การจัดการเรียนรู้รูปแบบร่วมมือ (Cooperat ive learning) และ ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้รูปแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (Problem-Based Learning) มาเป็นแนวทางในการท าวิจัยเรื่องนี้ ดังมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) หรือ

    การจัดการเรียนรู้แบบ CL

    การเรียนรู้รูปแบบร่วมมือ(CL) เป็นการเรียนรู้ท่ีจัดให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนและท างานด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆต้ังแต่2 คนขึ้นไป สมาชิกของกลุ่มจะมีความสามารถแตกต่างกันทั้งนี้เพื่อที่ช่วยเหลือกันและกัน ในการเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่มในด้านวิชาการ กระบวนทักษะทางสังคม และมีขั้นตอนการน าไปใช้อย่างชัดเจน สมาชิกในกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์ในสังคมที่เน้นการให้เพื่อนสมาชิก

    www.ssru.ac.th

  • 6

    ช่วยกันในการเรียนรู้ และมีการจัดกิจกรรมที่ให้มีการพึ่งพาอาศัยกัน มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดมีการท างานร่วมกันเป็นกลุ่มมีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และ มีการแบ่งหน้าที รับผิดชอบงานร่วมกัน

    นักการศึกษาไทยได้น าทฤษฎีการเรียนรู้แบบ Cooperative learning มาใช้และตั้งชื่อเป็น “รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ” ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเกิดจากกลุ่มนักการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริการ่วมกันคิดค้นหาวิธีการจัดการเรียนรู้ รูปแบบร่วมมือ มีนักการศึกษาจากนานาประเทศได้ให้ความหมายหลายอย่างด้วยกัน คุมมิงส์ (Cumming, 1993) อธิบายจัดการเรียนรูรู้ปแบบร่วมมือเป็นวิธีการจัดบรรยากาศการเรียนในห้องส าหรับเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ อาร์สและนิวแมน (Artzt & Newman, 1990) มีความเห็นตรงกับคุมมิงส์ตรงที่ว่า การเรียนรู้จัดการเรียนรูรู้ปแบบร่วมมือเป็นการเรียนรู้แบบกลุ่มเพื่อท ากิจกรรมร่วมกัน แก้ไขปัญหาต้องท างานจนเกิดความส าเร็จ และประการส าคัญต้องมีกระบวนทักษะทางสังคมร่วมด้วย การเรียนรู้รูปแบบร่วมมือเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากน้ียังเป็น การส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการท างานร่วมกันเป็นหมู่คณะตามระบอบระชาธิปไตย และเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ท่ีท าให้สามารถปรับตัวอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

    กลุ่มนักการศึกษาที่มีบทบาทที่ส าคัญในการเผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบ Cooperative learning นี้คือ สลาวิน (Slavin, 1995) จอห์นสัน จอห์นสันและโฮลูเบค (Johnson, Johnson & Holubec :1990, 14) มีความเห็นพ้องต้องกันว่า จุดมุ่งหมายของการเรียนแบบ Cooperative learning คือ การเรียนรู้แบบกลุ่มเพื่อท ากิจกรรมร่วมกัน แก้ไขปัญหาและท างานร่วมกันจนเกิดความส าเร็จ และประการส าคัญต้องมีกระบวนทักษะทางสังคมร่วมด้วย เพื่อที่จะท าให้สมาชิกแต่ละคนมีความสามารถมากยิ่งๆขึ้น บทบาทของสมาชิกที่ท างานด้วยกันในกลุ่มมีหน้าที่สองอย่างด้วยกันคือ รับผิดชอบการเรียนของตนเองและในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกในกลุ่มให้เรียนรู้ด้วย รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือนี้มีรูปแบบ การต้ังชื่อวิธีการ ลักษณะหรือขั้นตอนแตกต่างกันไปตามหลักการแนวคิดของนักการศึกษาที่เป็นผู้ออกแบบ ที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นหลักการแนวคิดรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือของ สลาวิน (1995) และ จอห์นสันและจอห์นสัน (1987) ที่น ามาใช้ในการวิจัยนี้เท่าน้ัน

    www.ssru.ac.th

  • 7

    2.1.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CL ตามหลักการแนวคิดของสลาวิน สลาวิน (Slavin,1995) ได้น าเสนอวิธีจัดการเรียนการสอนแบบตามหลักการและ

    แนวคิดของCooperative learning ที่มีชื่อว่า Student Team Learning ข้ึนท่ีJohns Hopkins University สหรัฐอเมริกา รูปแบบการเรียน Student Team Learning มีพื้นฐานแนวความคิดเช่นเดียวกับรูปแบบ Cooperative learning คือ เป็นการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนและท างานด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ต้ังแต่ 2 คนขึ้นไป สมาชิกของกลุ่มจะมีความสามารถแตกต่างกันทั้งนี้เพื่อที่ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่มในด้านวิชาการ กระบวนทักษะทางสังคม และ มีขั้นตอนการน าไปใช้อย่างชัดเจน สลาวินได้ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีชื่อเสียงและน าไปใช้กันอย่างแพร่ มีดังนี้ Jigsaw, Teams-Games-Tournament (TGT), Student Teams Achievement Divisions (STAD) และ Team Assisted Individualization (TAI)

    2.1.2 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CL ตามหลักการแนวคิดของจอห์นสัน และ

    จอห์นสัน รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CL ตามหลักการแนวคิดของจอห์นสัน และจอห์นสัน

    (1987) มีชื่อเรียกว่า Learning Together (หรือ LT) จอห์นสัน และจอห์นสัน (1992) กล่าวว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ ไม่ได้มีความหมายเพียงว่า มีการจัดให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มแล้วให้งานและบอกให้ผู้เรียนช่วยกันท างานเท่านั้น การเรียนรู้แบบร่วมมือของจอห์นสันและจอห์นสันมีแนวคิดบนพื้นฐานของการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคมที่เน้นการให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกัน มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการท างานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน

    ในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนแบบ CL ตามหลักการของจอห์นสัน และจอห์นสันจะต้องใช้ให้เต็มกระบวนการ กล่าวคือ การเรียนรู้จะเรียกว่าเป็นแบบร่วมมือ ได้ ต้องมีองค์ประกอบที่ส าคัญอย่างน้อย 5 ประการดังนี้ (1) การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน ( positive interdependence) (2) ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน (individual accountability) (3) ทักษะทางสังคมและการท างานร่วมกันเป็นกลุ่ม (social skills) (4) กระบวนการกลุ่ม (group processing) และ (5) รางวัลกลุ่ม (group reward) จอห์นสัน และจอห์นสัน ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน หมายถึงการพึ่งพากันในด้านการได้รับผลประโยชน์จากความส าเร็จของกลุ่มร่วมกัน ซึ่งความส าเร็จของกลุ่มอาจจะเป็นผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่ม ผู้สอนจะ ต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนท างาน โดยมีเป้าหมายร่วมกัน จึงจะเกิด

    www.ssru.ac.th

  • 8

    แรงจูงใจให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน สามารถร่วมมือกันท างานให้บรรลุผลส าเร็จได้ นอกจากน้ียังต้องมี การพึ่งพาในเชิงวิธีการ คือ จะต้องจัดให้มีกิจกรรมที่มี การพึ่งพากันในด้านกระบวนการท างานเพื่อให้งานกลุ่มสามารถบรรลุได้ตามเป้าหมาย ซึ่งผู้สอนจะ ต้องสร้างสภาพการณ์ให้ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มได้รับรู้ว่าตนเองมีความส าคัญต่อความส าเร็จของกลุ่ม จอห์นสัน และจอห์นสัน ได้ อธิบายเพิ่มเติมว่า ในการ จัดการเรียนแบบร่วมมือจะต้อง มีองค์ประกอบ ดังต่อไปน้ี

    (1) การท าให้เกิดการพึ่งพาทรัพยากรหรือข้อมูล ( Resource Interdependence) คือ สมาชิกแต่ละคนจะมีข้อมูลความรู้เพียงบางส่วนที่เป็นประโยชน์ต่องานของกลุ่ม สมาชิกทุกคนต้องน าข้อมูลมารวมกันจึงจะท าให้งานส าเร็จได้ ในลักษณะที่เป็นการให้งานหรืออุปกรณ์ที่ทุกคนต้องท าหรือใช้ร่วมกัน

    (2) ท าให้เกิดการพึ่งพาเชิงบทบาทของสมาชิก (Role Interdependence) คือ การก าหนด บทบาทการท างานของสมาชิกแต่ละบุคคลในกลุ่มและการท าให้เกิดการพึ่งพาเชิงภาระงาน ( Task Interdependence) คือ แบ่งงานให้แต่ละบุคคลในกลุ่มมีทักษะที่เกี่ยวเนื่องกัน ถ้าสมาชิกคนใดคน หนึ่งท างานของตนไม่เสร็จจะท าให้สมาชิกคนอ่ืนไม่สามารถท างานในส่วนที่ต่อเนื่องได้

    (3) การมีปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมกันระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม (Face to Face Promotive Interdependence) หมายถึง การ สร้างโอกาสให้ผู้เรียนช่วยเหลือกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กัน การอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อสงสัย ความคิดเห็น การอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้ การรับฟังเหตุผลของสมาชิกในกลุ่มการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างสมาชิกในกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้ การรับฟังเหตุผลของสมาชิกภายในกลุ่ม จะก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รู้จักการท างานร่วมกันทางสังคม จากการช่วยเหลือสนับสนุนกัน การเรียนรู้เหตุผลของกันและกัน ท าให้ได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการท างานของตนเอง จากการตอบสนองทางวาจา และท่าทางของเพื่อนสมาชิกช่วยให้รู้จักเพื่อนสมาชิกได้ดียิ่งขึ้นท าให้ส่งผลให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

    (4) ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน (Individual Accountability) หมายถึง ความรับผิดชอบในการท างานของสมาชิกแต่ละคนที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ ต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อนสมาชิก ให้ความส าคัญเกี่ยวกับความสามารถและความรู้ที่แต่ละคนจะได้รับ ผู้สอนจะต้องมีการตรวจสอบเพื่อความแน่ใจว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือไม่ โดยประเมินผลงานของสมาชิกแต่ละคน ให้สมาชิกทุกคนรายงานหรือมี

    www.ssru.ac.th

  • 9

    โอกาสแสดงความคิดเห็นโดยทั่วถึง ตรวจสรุปผลการเรียนเป็นรายบุคคลหลังจบบทเรียน เพื่อเป็นการประกันว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มรับผิดชอบทุกอย่างร่วมกับกลุ่ม ทั้งนี้สมาชิกทุกคนในกลุ่ม จะต้องมีความมั่นใจ และพร้อมที่จะได้รับการทดสอบเป็นรายบุคคล

    (5) ทักษะทางสังคมและการท างานร่วมกันเป็นกลุ่ม (social skills) หมายถึง การมีทักษะทางสังคมรู้บทบาทหน้าที่ท่ีท าให้เกิดทักษะที่สามารถท างานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข คือ มีความเป็นผู้น า รู้จักตัดสินใจ รู้จักติดต่อสื่อสาร และสามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในการท างานร่วมกันซึ่งเป็นสิ่งจ าเป็นส าหรับการท างานร่วมกันที่จะช่วยให้การท างานกลุ่มประสบความส าเร็จทักษะและบทบาทที่จ าเป็นที่ผู้สอนจะต้องสร้างให้ผู้เรียนมีการฝึกปฏิบัติได้แก่ recorder, praiser, checker, summarizer, encourager, timekeeper, และ networker

    (6) กระบวนการกลุ่ม (group processing) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ของกลุ่ม โดยสมาชิกแต่ละคนจะต้องเรียนรู้จากเพื่อนในกลุ่มให้มากท่ีสุด มีความร่วมมือทั้งด้านความคิด การท างาน และ ความรับผิดชอบร่วมกันจนสามารถบรรลุเป้าหมายได้ สมาชิกทุกคนจะต้อง เข้าใจในเป้าหมายการท างานร่วมกัน สมาชิกจะต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองขณะที่สมาชิกมีบทบาทใดเขาจะต้องท าหน้าที่นั้นๆให้ดี เช่น เป็นหัวหน้ากลุ่มจะต้องเป็น หัวหน้าที่ดี หรือ เป็นสมาชิกท่ีดี จึงจะท าให้กระบวนการท างานท่ีดีทีส่ามาถน าไปสู่ความส าเร็จของกลุ่มได้

    (7) รางวัลกลุ่ม (group reward) หมายถึง การให้รางวัลแก่สมาชิกทุกคนในกลุ่มโดยเท่าเทียมกัน รางวัลนี้ได้มาจาก การประเมินทั้งในส่วนที่เป็นวิธีการท างานของกลุ่ม พฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม และผลงานของกลุ่ม โดยเน้นการประเมินคะแนนของผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มมาเป็นคะแนนกลุ่มและเพื่อตัดสินความส าเร็จของกลุ่มด้วย

    2.1.3 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ CL ที่ประยุกต์ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้น าแนวคิดของ จอห์นสัน และจอห์นสัน (1992) สลาวิน (1995) และ

    กรองทอง ไคริรี (2003) มาประยุกต์ใช้ในการวิจัยน้ี กรองทอง ไคริรี ( 2003 : 311 ) อธิบายว่า การจัดการเรียนรู้แบบ CL ไปใช้ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพจะต้องท าตามขั้นตอนดังแสดงในภาพที่ 2.1 และ 2.2 ดังต่อไปนี้

    www.ssru.ac.th

  • 10

    ภาพที่ 2.1 กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ แหล่งที่มา Krongthong Khairiree (2003 : 311) Implementing Cooperative learning in

    Grade Four Mathematics Classes in Thailand: Dissertation. Australia: Deakin University.

    ขั้นตอนที ่1: การวางแผนก่อนที่น ารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือไปใช้ในชั้นเรียน

    การเตรียมผู้สอน: จะต้องมีการประชุมปฏิบัติการเพื่อให้ผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง; การเตรียมสื่อการสอน และชุดการสอน การเตรียมนักเรียน ต้องมีการจัดกิจกรรมท างานกลุ่มร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ สร้างทักษะทางสังคมและ

    กระบวนการกลุ่ม

    ขั้นที่ 2: การน ารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือไปใช้

    การจัดห้องเรียน

    การเลือกขนาดของกลุ่มและการจัดกลุ่ม

    ระบุจุดประสงค์ของการเรียนรู้

    จัดเตรียมสื่อ/อุปกรณ์การสอน

    เตรียมเอกสารการสอน

    ตรวจสอบข้อมูลการประเมินผลงานกลุ่ม

    น าผลสรุปการประเมินผลและรายงานการประชุมมาใช ้

    สรุปข้อเสนอแนะ/แก้ไขปัญหาที่พบในการสอน

    ประชุมประจ าเดือน

    พิจารณาผลการประเมินกิจกรรมกลุ่ม

    เสนอประเด็นปัญหา

    แก้ปัญหา Problem Solving;

    ทบทวนแก้ไขบทเรียนเอกสารที่เกี่ยวข้อง

    กระบวนการเรียน

    ผู้สอนทบทวนบทเรียนและเร่ิมสอนเนื้อหาใหม่ทั้งห้อง

    ผู้เรียนท ากิจกรรมเป็นกลุ่มตามเนิ้อหา/หัวข้อที่ได้รับโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบที่ส าคัญ 2 ส่วน ดังนี ้ (1) องค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนรู้แบบร่วมมือ การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน (positive

    interdependence)

    ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน (individual accountability)

    ทักษะทางสังคมและการท างานร่วมกันเป็นกลุ่ม (social skill)

    กระบวนการกลุ่ม (group processing) และ รางวัลกลุ่ม (group reward)

    (2) เทคนิควิธีการของการเรียนรู้แบบร่วมมือ:

    Learning Together (LT) Jigsaw

    ผู้สอนและผู้เรียนสรุปเนื้อหาบทเรียนที่เรียนทั้งห้อง และผู้เรียนท างานที่ได้รับมอบหมายเป็นการบ้าน

    ก่อนการสอน ระหว่างสอน หลังการสอน

    www.ssru.ac.th

  • 11

    การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ รูปแบบJigsaw

    ขั้นที่ 1 ผู้สอนทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้ว

    ขั้นที่ 2 Home Groups

    แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม Home Group สมาชิกของกลุ่มน้ีจะคละความสามารถและเพศ และท างานด้วยกันตลอดเทอม

    Home Groups

    Group A Group B Group C Group D ............ Group ....

    ขั้นที่ 3 Expert Groups

    สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม Home Room เลือกท ากิจกรรมเพียง 1 หัวข้อ แล้วเข้าร่วมท ากิจกรรมกับสมาชิกในกลุ่มอื่นๆที่เลือกท ากิจกรรมเหมือนกัน เช่น สมาชิก A1 เลือกท ากิจกรรมหมายเลข 1 แล้วเข้าร่วมท ากิจกรรม ที่กลุ่ม Section 1

    A1 A2 A3 A4

    D1 B1 D2 B2 D3 B3 D4 B4

    C1 C2 C3 C4

    ขั้นที่ 4 สมาชิกแต่ละคนกลับไปท างานในกลุ่ม Home Group สมาชิกแต่ละคนเปลี่ยนกันสอนหรืออธิบายให้สมาชิกผู้อ่ืนฟัง โดยเริ่มจากกิกรรมที่ 1 จนถึงกิจกรรมสุดท้าย

    Home Groups

    Group A Group B Group C Group D ............ Group ....

    ขั้นที่ 5 ผู้สอนทบทวน /เฉลยค าตอบของกิจกรรมทั้งหมด

    ขั้นที่ 6 ทดสอบกิจกรรมด้วยตนเอง ไม่มีการช่วยเหลือกัน

    ขั้นที่ 7 รางวัลกลุ่ม (Group Reward) เริ่มจากการน าคะแนนของสมาชิกทุกคนรวมกันเป็นคะแนนกลุ่มแล้วเลือกคะแนนกลุ่มที่มากที่สุด

    ภาพที่ 2.2 การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ รูปแบบJigsaw

    Members

    A1.........

    A2..........

    A3.........

    A4.........

    Members

    B1.........

    B2.........

    B3........

    B4.........

    Members

    C1.........

    C2.........

    C3........

    C4.........

    Members

    D1.........

    D2.........

    D3........

    D4........

    Members

    1...........

    2...........

    3..........

    4...........

    Section

    1 Section

    2

    Section

    3 Section

    4

    Members

    A1.........

    A2..........

    A3.........

    A4.........

    Members

    B1.........

    B2.........

    B3........

    B4.........

    Members

    C1.........

    C2.........

    C3........

    C4.........

    Members

    D1.........

    D2.........

    D3........

    D4........

    Members

    1...........

    2...........

    3..........

    4...........

    www.ssru.ac.th

  • 12

    2.2 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning : PBL) หรือ การจัดการเรียนรู้แบบ PBL รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PBL เป็นรูปแบบการเรียนรู้ท่ีสามารถน ามาใช้ในการพัฒนา

    คุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ดีมากที่สุดวิธีหนึ่งเป็นจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และ สอดคล้องกับแนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การเรียนรู้แบบ PBL เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเอง ( constructivism) และเป็นการเรียนรู้ท่ีเน้นผู้เรียนเป็นส าคัญ (Savin-Baden,M. & Howell Major, C., : 2004) แนวคิดการเรียนรู้แบบ PBL นี้เริ่มที่คณะแพทย์ศาสตร์ McMaster ประเทศแคนาดา โดย Barrows and Tamblyn เมื่อ ค .ศ.1980 ผู้สอนได้ให้ นักศึกษาแพทย์ท างานด้วยกันเป็นกลุ่มเพื่อส ารวจปัญหาท่ีเกิดขึ้นเป็นสภาพจริงหรืออาจเกิดขึ้นจริง ปัญหาจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นคว้าหาค าตอบด้วยตนเองซึ่งค าตอบที่ถูกต้องอาจจะมีได้หลายค าตอบ รูปแบบของการเรียนรู้แบบ PBLน้ี ผู้เรียนต้องก าหนดเป้าหมายในการสร้างความรู้และทักษะด้วยตนเอง ปัญหาจากการปฏิบัติแต่ละปัญหาเป็นจุดเริ่มต้นในการส ารวจค้นคว้าเพื่อหาค าอธิบายเป็นการเติมเต็มช่องว่างระหว่างความรู้และทักษะของผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องคว้าหาความรู้เพิ่มในกรณีที่ความรู้ที่ตนเองยังมไีม่เพียงพอ การน าการเรียนรู้แบบ PBL มาใช้ก็เพื่อเชื่อมช่องว่างระหว่างการศึกษาภาคทฤษฎีและการปฏิบัติด้วยวิธีการคิดแบบองค์รวม(Savin-Baden,M. & Howell Major, C., : 2004) กล่าวโดยสรุป ลักษณะส าคัญของรูปแบบการเรียนรู้แบบ PBL คือ เป็นการเรียนการสอนท่ีเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้เกิดจากการที่ผู้สอนใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นคว้าหาค าตอบด้วยตนเองหรือช่วยกันหาค าตอบด้วยการท างานร่วมกันเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ปัญหาท่ีน ามาใช้จะเป็นปัญหาที่ มีค าตอบหลายค าตอบหรือไม่มีค าตอบที่ชัดเจน มักจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง การเรียนรู้แบบ PBLนี้ ผู้เรียนสามารถก าหนดความต้องการเรียนรู้ การเลือกใช้แหล่งการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสม

    ปัจจุบันมีสถานศึกษาหลายแห่งได้น ารูปแบบการเรียนรู้แบบ PBL ไปใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายสาขาวิชา นับต้ังแต่จากแพทย์ศาสตร์ สถาปัตยกรรม วิศวกรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจ การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีและอื่นๆ ดังเช่นที่มหาวิทยาลัย Harvard อเมริกา มหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลีย ฮ่องกง และ สิงคโปร์ ส่วนในประเทศไทย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้จัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานในส านักวิชาต่างๆมากกว่า 30 วิชา ธีระยุทธ กลิ่นสุคนธ์ (2551) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

    www.ssru.ac.th

  • 13

    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์อธิบายเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับทุนจากยุโรป (EU)ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานจากต้นแบบคือ Lund University ประเทศสวีเดนและ Erasmus University ประเทศเนเธอร์แลนด์ และได้ด าเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัย Hanoi Medical University ประเทศเวียดนามอีกด้วย นอกจากน้ียังมี สถานศึกษาหลายแห่งในประเทศไทย ท่ีได้น ารูปแบบการเรียนรู้แบบ ใช้ปัญหาเป็นฐาน มาใช้ เช่น คณะสถาปัตยกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นต้น

    2.2.1 ชนิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PBL

    แม็กกี้ ซาวิน -บาเดน และ ไคล โฮเวล แมเจอร์ (Maggi Savin-Baden & Claire Howell Major, : 2004) อธิบายถึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่แบ่งออกเป็น 2 ชนิด มีรายละเอียดดังต่อไปนี ้

    1) รูปแบบการเรียนรู้แบบ PBLอย่างแท้จริง (Pure Model) เป็นการน าการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานมาใช้ตลอดหลักสูตร เมื่อผู้สอนมอบหมายก าหนดปัญหาให้ท าแล้ว ผู้เรียนท างานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้สอนไม่ได้สอนเพิ่มเติมหรือให้ความช่วยเหลือใดๆ ตันโอ เซ้ง (Tan Ooo-Seng, :2003 35) ได้น าเสนอข้ันตอนของกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL: Pure Model มีดังนี้

    ภาพที่ 2.3 ขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้แบบ PBL: Pure Model แหล่งที่มา : Oon-Seng, Tan (2003 : 35) Problem-based learning Innovation: Using problems

    to power learning in the 21st Century. Singapore: Seng Lee Press

    การน าเสนอผลงานและสะท้อน

    สรุปภาพรวมและการประเมิน

    เผชิญปัญหา

    วิเคราะห์ปัญหา

    ค้นคว้าและรายงาน

    ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง Self-directed

    learning

    ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

    ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

    ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

    www.ssru.ac.th

  • 14

    2) รูปแบบการเรียนรู้แบบ PBLแบบผสม (Hybrid Model) เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นวิธีสอนอย่างหนึ่ง ผสมผสานไปกับการสอนโดยใช้รูปแบบอ่ืน เช่น มีการสอนแบบบรรยายเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจมากย่ิงขึ้น ผู้สอนก าหนดเวลาบรรยายและให้นักศึกษาเข้าเรียนตามตารางเรียน หรือนัดเวลาพบกับนักศึกษาในเวลาที่นักศึกษาต้องการปรึกษาเพิ่มเติม ตันโอ เซ้ง ( Tan Ooo-Seng, :2003 100) ได้น าเสนอการวางแผนการจัดเรียนรู้แบบ PBL แบบผสม ดังตารางที่ 2.1 ต่อไปนี ้

    ตารางที่ 2.1 การวางแผนการจัดเรียนรู้แบบPBL แบบผสม สัปดาห์ที ่ รายละเอียดเนื้อหา

    แนะน า การเตรียมการและการบรรยายเก่ียวกับการเรียนแบบ PBL

    สัปดาห์ที่ 1 ก าหนดปัญหา

    ผู้เรียนเลือกปัญหาและเลือกกลุ่มตามความสนใจ ท าความเข้าใจปัญหา ระบุข้อความส าคัญ วิเคราะห์ปัญหา

    สัปดาห์ที่ 2 สังเคราะห์ปัญหา

    ก าหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เตรียมค้นคว�