ฉบับพิมพ ครั้งที่ 2 แก ไขเพิ่มเติม 4* 0 %...

12
หนังสือที่ไดรับทุนสนับสนุนการเขียนตำราจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร พ.ศ. 2555 สำนักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ฉบับพิมพครั้งที่ 2 แกไขเพิ่มเติม ตั วอย่ าง

Transcript of ฉบับพิมพ ครั้งที่ 2 แก ไขเพิ่มเติม 4* 0 %...

Page 1: ฉบับพิมพ ครั้งที่ 2 แก ไขเพิ่มเติม 4* 0 % F5 · พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม

หนังสือที่ไดรับทุนสนับสนุนการเขียนตำราจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร พ.ศ. 2555

ผูชวยศาสตราจารย ประจำภาควิชาการผังเมืองคณะสถาปตยกรรมศาสตรและการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

สำนักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

ราคา 150 บาท

ISBN 978-616-314-098-2

9 786163 140982

ฉบับพิมพครั้งที่ 2 แกไขเพิ่มเติม

ตัวอย่าง

Page 2: ฉบับพิมพ ครั้งที่ 2 แก ไขเพิ่มเติม 4* 0 % F5 · พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม

หนังสือที่ได้รับทุนสนับสนุนการเขียนตำาราจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2555

ยงธนิศร์ พิมลเสถียร.

การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์เมือง.

1. การปรับปรุงเมือง. 2. เมือง--การอนุรักษ์และการฟื้นฟูสภาพ.

HT166

ISBN 978-616-314-098-2

ลิขสิทธิ์ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร

สงวนลิขสิทธิ์

ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2557

จำานวน 500 เล่ม

จัดพิมพ์และจำาหน่ายโดยสำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี ชั้น U1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ถนนพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200

โทร. 0-2223-9232, 0-2613-3801-2

โทรสาร 0-2226-2083

(สำานักงานศูนย์รังสิต โทร. 0-2564-2859-60)

E-mail address: [email protected]

พิมพ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำากัด เอ็มแอนด์เอ็มเลเซอร์พริ้นต์

นายสมชาย ดำาขำา ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา

ภาพปก ชุมชนวังแดง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยพิสิฐ หวังวิศาล

 

พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม 2556 จำานวน 300 เล่ม

พิมพ์ครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2557 จำานวน 500 เล่ม

 

ราคาเล่มละ 150.- บาท

Conservation of the city_edit-2.indd 4 7/15/57 BE 1:35 PM

eISBN 978-616-314-151-4

ฉบับอิเล็กทรอนิกส์ (e-book) มกราคม 2558

หนังสือที่ได้รับทุนสนับสนุนการเขียนตำาราจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2555

ยงธนิศร์ พิมลเสถียร.

การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์เมือง.

1. การปรับปรุงเมือง. 2. เมือง--การอนุรักษ์และการฟื้นฟูสภาพ.

HT166

ISBN 978-616-314-098-2

ลิขสิทธิ์ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร

สงวนลิขสิทธิ์

ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2557

จำานวน 500 เล่ม

จัดพิมพ์และจำาหน่ายโดยสำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี ชั้น U1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ถนนพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200

โทร. 0-2223-9232, 0-2613-3801-2

โทรสาร 0-2226-2083

(สำานักงานศูนย์รังสิต โทร. 0-2564-2859-60)

E-mail address: [email protected]

พิมพ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำากัด เอ็มแอนด์เอ็มเลเซอร์พริ้นต์

นายสมชาย ดำาขำา ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา

ภาพปก ชุมชนวังแดง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยพิสิฐ หวังวิศาล

 

พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม 2556 จำานวน 300 เล่ม

พิมพ์ครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2557 จำานวน 500 เล่ม

 

ราคาเล่มละ 150.- บาท

Conservation of the city_edit-2.indd 4 7/15/57 BE 1:35 PM

หนังสือที่ได้รับทุนสนับสนุนการเขียนตำาราจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2555

ยงธนิศร์ พิมลเสถียร.

การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์เมือง.

1. การปรับปรุงเมือง. 2. เมือง--การอนุรักษ์และการฟื้นฟูสภาพ.

HT166

ISBN 978-616-314-098-2

ลิขสิทธิ์ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร

สงวนลิขสิทธิ์

ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2557

จำานวน 500 เล่ม

จัดพิมพ์และจำาหน่ายโดยสำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี ชั้น U1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ถนนพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200

โทร. 0-2223-9232, 0-2613-3801-2

โทรสาร 0-2226-2083

(สำานักงานศูนย์รังสิต โทร. 0-2564-2859-60)

E-mail address: [email protected]

พิมพ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำากัด เอ็มแอนด์เอ็มเลเซอร์พริ้นต์

นายสมชาย ดำาขำา ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา

ภาพปก ชุมชนวังแดง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยพิสิฐ หวังวิศาล

 

พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม 2556 จำานวน 300 เล่ม

พิมพ์ครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2557 จำานวน 500 เล่ม

 

ราคาเล่มละ 150.- บาท

Conservation of the city_edit-2.indd 4 7/15/57 BE 1:35 PM

หนังสือที่ได้รับทุนสนับสนุนการเขียนตำาราจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2555

ยงธนิศร์ พิมลเสถียร.

การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์เมือง.

1. การปรับปรุงเมือง. 2. เมือง--การอนุรักษ์และการฟื้นฟูสภาพ.

HT166

ISBN 978-616-314-098-2

ลิขสิทธิ์ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร

สงวนลิขสิทธิ์

ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2557

จำานวน 500 เล่ม

จัดพิมพ์และจำาหน่ายโดยสำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี ชั้น U1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ถนนพระจันทร์ กรุงเทพฯ 10200

โทร. 0-2223-9232, 0-2613-3801-2

โทรสาร 0-2226-2083

(สำานักงานศูนย์รังสิต โทร. 0-2564-2859-60)

E-mail address: [email protected]

พิมพ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำากัด เอ็มแอนด์เอ็มเลเซอร์พริ้นต์

นายสมชาย ดำาขำา ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา

ภาพปก ชุมชนวังแดง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยพิสิฐ หวังวิศาล

 

พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม 2556 จำานวน 300 เล่ม

พิมพ์ครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2557 จำานวน 500 เล่ม

 

ราคาเล่มละ 150.- บาท

Conservation of the city_edit-2.indd 4 7/15/57 BE 1:35 PM

ตัวอย่าง

Page 3: ฉบับพิมพ ครั้งที่ 2 แก ไขเพิ่มเติม 4* 0 % F5 · พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม

คํานํา

บทนํา ความเกี่ยวของระหวางการอนุรักษเมืองกับการปรับปรุงฟนฟูเมือง ..................................1

บทที่ 1 วิวัฒนาการของการปรับปรุงฟนฟูเมือง ......................................................................... 11

บทที่ 2 แนวทางและวิธีการในการปรับปรุงฟนฟูเมือง ............................................................... 23

บทที่ 3 หลักเหตุผลและหลักการในการอนุรักษเมือง ................................................................. 35

บทที่ 4 การพิจารณาคุณคามรดกวัฒนธรรมในเขตเมือง ............................................................ 53

บทที่ 5 นิยามศัพทและวิธีการอนุรักษ ........................................................................................ 71

บทที่ 6 องคกรที่เกี่ยวของกับการอนุรักษ ................................................................................... 87

บทที่ 7 กฎหมายที่เกี่ยวของกับการอนุรักษเมืองในประเทศไทย .............................................. 105

บทที่ 8 กฎเกณฑและขอกําหนดระหวางประเทศที่เกี่ยวของกับการอนุรักษเมือง ................... 121

บทที่ 9 ยานอนุรักษและแนวทางการออกแบบ ........................................................................ 135

บทที่ 10 เครื่องมือในการนําแผนอนุรักษมาปฏิบัติ .................................................................... 149

ภาคผนวก ...................................................................................................................................... 165

บรรณานุกรม ................................................................................................................................. 183

สารบัญ

Conservation of the city_edit-2.indd 5 7/15/57 BE 11:43 AM

ตัวอย่าง

Page 4: ฉบับพิมพ ครั้งที่ 2 แก ไขเพิ่มเติม 4* 0 % F5 · พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม

ตำาราวิชาการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์เมืองนี้ จัดทำาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียน

ในสาขาวิชาการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เนือ้หาประกอบไปด้วยสองสว่นหลกั สว่นแรกคอืการอธบิายแนวคดิและวธิกีารในการปรบัปรงุฟืน้ฟเูมอืง

(บทที่ 1 และ 2) และส่วนที่สองคือการอธิบายเกี่ยวกับการอนุรักษ์เมือง (บทที่ 3-10) ซึ่งได้รวมถึง

การอนุรักษ์แหล่งมรดกวัฒนธรรมต่างๆ ด้วย

ในการจัดทำาตำาราเล่มนี้ ผู้เขียนได้ใช้หลักการ แนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ท้ังในและต่างประเทศ

เพื่อให้มีความครอบคลุมมากที่สุด ส่วนกรณีศึกษาท่ียกมาท้ังในและต่างประเทศนั้น ส่วนใหญ่ผู้เขียน

มีประสบการณ์ตรงจากการทำาวิจัยและเปนที่ปรึกษาของโครงการต่างๆ และเห็นว่าน่าจะเผยแพร่

ให้เกิดประโยชน์แก่การผังเมืองและการอนุรักษ์ นอกจากนั้นข้อมูลบางส่วนยังได้รับความอนุเคราะห์

จากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ สำานักผังเมือง กรุงเทพมหานคร สำานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

กรมศิลปากร การเคหะแห่งชาติ สำานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เทศบาลนครภูเก็ต สมาคมอิโคโมสไทย สยามสมาคม มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา

และหน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวในที่นี้ จึงขอถือโอกาสนี้ขอบพระคุณทุกหน่วยงานและองค์กรที่

อนุเคราะห์ข้อมูลในรายละเอียด ทำาให้การจัดทำาตำาราเล่มนี้แล้วเสร็จ

นอกจากจะได้ใช้ในการเรียนของนักศึกษาแล้ว ผู้เขียนหวังว่าตำาราเล่มนี้ จะเปนประโยชน์

แก่นักผังเมือง นักอนุรักษ์ และชุมชนและผู้ท่ีสนใจในเรื่องของการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์

เมืองด้วยเช่นกัน

ยงธนิศร์ พิมลเสถียร

คํานํา

Conservation of the city_edit-2.indd 6 7/15/57 BE 10:49 AM

ตัวอย่าง

Page 5: ฉบับพิมพ ครั้งที่ 2 แก ไขเพิ่มเติม 4* 0 % F5 · พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม

บทนำ� ความเกี่ยวข้องระหว่างการอนุรักษ์เมืองกับการปรับปรุงฟื้นฟูเมือง • 1

เมื่อกล่าวถึง “การอนุรักษ์เมือง” กับ “การปรับปรุงฟื้นฟูเมือง” หลายคนอาจคิดว่าทั้งสอง

ส่วนน้ีมีการดำาเนินการแยกกัน ไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะการอนุรักษ์มักถูกเข้าใจว่าเป็นการสงวนรักษา

ของเก่าให้คงอยู่ในขณะที่การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองมักหมายถึงการรื้อของเก่าทิ้งแล้วสร้างของใหม่ให้

ทันสมัย ความคิดดังกล่าวนั้นเป็นจริงหากเป็นบริบทของเมืองในช่วงก่อนสงครามโลก แต่หลังจากนั้น

การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม แนวคิดการเมืองการปกครอง รวมท้ังเทคโนโลยี

ที่แตกต่างไปจากสมัยก่อน ทำาให้การอนุรักษ์เมืองกับการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองได้มีส่วนเกี่ยวข้องและ

สนับสนุนซึ่งกันและกัน

การอนุรักษ์กับการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองมีรากฐานท่ีมาแตกต่างกัน หากพิจารณาความเป็นมา

ของการอนุรักษ์กับการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองที่มีการบันทึกไว้ จะพบว่าการอนุรักษ์นั้นมีประวัติศาสตร์ท่ี

ยาวนานกว่า แนวคิดในการอนุรักษ์มีมานานตั้งแต่ยุคโบราณ มีตัวอย่างคือการพยายามรักษาร่างกาย

มนุษย์ที่ตายแล้วโดยเฉพาะกษัตริย์และราชวงศ์ด้วยการทำามัมมี่ท่ีพบในพีระมิดในประเทศอียิปต์

ซ่ึงนักโบราณคดีคาดว่ามีอายุเก่าแก่ประมาณ 5,000 ถึง 900 ปีก่อนคริสตกาล (Bahn 2002)

และพีระมิดกับหลุมศพที่เรียกว่า มาสตาบา (Mastaba) ก็เป็นสัญลักษณ์แห่งความทรงจำา (memory)

ของกษัตริย์ฟาโรห์ จึงได้มีการรักษาซ่อมแซมให้คงอยู่ในยุคต่อๆ มา (Jokilehto 2002: 4) ขณะที่

การฟื้นฟูเมืองในลักษณะของการรื้อของเดิมแล้วสร้างใหม่นั้น น่าจะมีมานานพอสมควรท้ังใน

ประเทศไทยและต่างประเทศ แต่มักเป็นการแทนท่ีเมืองเก่าท่ีท้ิงร้างหรือแพ้สงคราม เช่น การเข้า

ครองเมืองที่เคยเป็นอาณาจักรขอม หรือการสร้างเมืองใหม่ทับเมืองโบราณที่เห็นแต่คูนำ้าคันดินซึ่งพบ

มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

บทนํา

ความเกี่ยวของระหวางการอนุรักษเมืองกับการปรับปรุงฟนฟูเมือง

Conservation of the city_01-2.indd 1 7/15/57 BE 11:34 AM

ตัวอย่าง

Page 6: ฉบับพิมพ ครั้งที่ 2 แก ไขเพิ่มเติม 4* 0 % F5 · พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม

2 • การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์เมือง

การดำาเนนิการทีเ่รยีกได้วา่เปน็การ “ฟืน้ฟ”ู เมอืงหรอืสว่นของเมอืงอยา่งเป็นระบบนัน้ เหน็จะ

มีกรณีที่ชัดเจนในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่ชุมชนเมืองได้รับผลกระทบจากการปฏิวัติ

อุตสาหกรรมทั้งทางด้านกายภาพและสังคม ตัวอย่างท่ีเห็นได้ชัดคือกรุงปารีสในสมัยพระเจ้านโปเลียน

ที่ 3 ที่โปรดให้จอร์จ อูยีน ฮอสมานน์ (George Eugene Haussmann) รับผิดชอบในการ “สร้าง”

กรุงปารีสข้ึนมาใหม่ให้เป็น “เมืองของชนช้ันกลาง (bourgeois city)” ซึ่งเป็นพวกท่ีรำ่ารวยจาก

กิจการอุตสาหกรรมและการค้า ด้วยเห็นว่ากรุงปารีสในขณะนั้นมีสภาพเสื่อมโทรมและขาดสุขลักษณะ

ฮอสมานน์จึงใช้วิธีการทำาการฟ้ืนฟูด้วยการรื้อสลัมแหล่งเสื่อมโทรมซ่ึงหมายถึงไล่คนจนออกไปด้วย

ทุบอาคารเก่าแก่ซึ่งรวมถึงอาคารที่สร้างต้ังแต่ยุคโรมันแล้วสร้างอาคารแบบใหม่ขึ้นแทนที่ รวมทั้ง

สร้างระบบสาธารณูปโภคใหม่ด้วย นอกจากนั้นยังมีการกำาหนดรูปแบบของบล็อกถนน วงเวียน

ประตูชัย ให้เป็นแกนหลักของเมืองขึ้นมาใหม่ด้วยในช่วง ค.ศ. 1853-1882 (ช่วงรัชกาลที่ 4 และ 5

ของไทย) และมีวิธีการในการระดมทุนและจัดตั้งกองทุนโดยไม่ได้ใช้เงินของรัฐบาลแต่เพียงฝ่ายเดียว

(Panerai et al. 2004: 1-9) ผลจากการฟื้นฟูครั้งนั้นทำาให้อาคาร ระบบถนน ที่ว่าง และการกำาหนด

แกนหลักได้กลายเป็นโครงสร้างหลักของกรุงปารีสอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

ในขณะที่กรุงปารีสมีการฟื้นฟูเขตชั้นในเมืองด้วยเหตุผลของความต้องการให้ผู้มีฐานะเข้ามา

อยู่อาศัยแทนที่คนจนในแหล่งเสื่อมโทรมดังได้กล่าวแล้ว เมืองในประเทศอื่นๆ รวมทั้งไทยมักใช้

ยทุธศาสตรก์ารขยายเมอืงออกไป เชน่ ในองักฤษมแีนวคดิอทุยานนคร (Garden City) โดย Ebenezer

Howard ตั้งแต่ ค.ศ. 1898 (Howard 1902) ซึ่งแนวคิดนี้ได้นำามาประยุกต์ใช้เป็นครั้งแรกในอังกฤษ

ที่เมือง Letchworth Garden City ในมณฑล Hertfordshire ใน ค.ศ. 1909 (Lock 2003: 51)

ส่วนในสหรัฐอเมริกาก็เริ่มมีการพัฒนาย่านชานเมืองในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ตัวอย่างเช่นชุมชนที่มี

การวางโดยภูมิสถาปนิกที่มีชื่อเสียงคือ เฟรดเดอริค ลอว์ โอล์มสเตด (Frederick Law Olmstead)

(Girling and Helphand 1994: 2-5) สำาหรับกรุงเทพฯ ในช่วงเดียวกันคือสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6

(ตรงกับช่วง ค.ศ. 1868-1925) โปรดให้ขยายพระนครออกไปทั้งทางด้านเหนือและด้านตะวันออก

ด้วยการสร้างถนนและพระราชวังดุสิต วังสระปทุม และวังพญาไท เป็นต้น โดยโปรดให้สร้างอาคาร

แบบตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ ทั้งน้ีด้วยเหตุผลท่ีต่างไปจากกรณีกรุงปารีสท่ีต้องการใช้เมืองช้ันในเป็น

ที่อยู่ของผู้มีฐานะ แต่กรณีของอุทยานนครในอังกฤษและการพัฒนาชุมชนชานเมืองของสหรัฐอเมริกา

นั้นมาจากปัญหามลพิษที่เป็นผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม จึงต้องการที่อยู่อาศัยชานเมืองที่มี

สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่กรณีของกรุงเทพฯ มาจากการปรับตัวให้เข้ากับลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก

จึงต้องขยายเมืองให้เป็นรูปแบบตะวันตกเพื่อลดแรงกดดันทางการเมืองระหว่างประเทศ

Conservation of the city_01-2.indd 2 7/15/57 BE 11:34 AM

ตัวอย่าง

Page 7: ฉบับพิมพ ครั้งที่ 2 แก ไขเพิ่มเติม 4* 0 % F5 · พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม

บทนำ� ความเกี่ยวข้องระหว่างการอนุรักษ์เมืองกับการปรับปรุงฟื้นฟูเมือง • 3

พัฒนาการแนวคิดการอนุรักษ์ในยุคสมัยใหม่หรือโมเดิร์น (Modern time) ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการ

เปลี่ยนแปลงแนวคิดการอนุรักษ์ค่อนข้างมากโดยเฉพาะในยุโรป จากในยุคกลาง (ราวคริสต์ศตวรรษที่

5 หลังการเสื่อมของยุคโรมัน ถึงศตวรรษที่ 16 ที่เริ่มยุคโมเดิร์น) ที่เน้นการรักษาของเก่า การสะสม

ของเกา่เปน็งานของเจา้เมอืง กษัตริย ์ผูเ้ป็นใหญใ่นศาสนา และชนชัน้สงู ซึง่เปน็ผลมาจากการมอีำานาจ

เด็ดขาดทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ผู้ครอบครองงานศิลปกรรมนั้นจึงมักเป็นผู้ตัดสินใจหรือ

ให้ศิลปินที่ว่าจ้างเป็นผู้ตัดสินใจในการบูรณะซ่อมแซม ซึ่งก็มีแนวทางที่แตกต่างกันไปตามรสนิยมของ

ผู้ครอบครอง ต่อมาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16-19 เป็นช่วงเวลาที่มีการปฏิวัติทางการเมือง เศรษฐกิจ

และสังคมในยุโรป แนวคิดที่มีต่องานศิลปะ ประวัติศาสตร์ ได้เปลี่ยนแปลงไปซึ่งส่งผลต่อแนวคิด

การอนุรักษ์ด้วย (Jokilehto 2002: 16-17) ทำาให้ภาคประชาชนได้มีส่วนในการตัดสินใจมากขึ้นว่า

สิ่งใดเป็นมรดกควรอนุรักษ์

การเปลี่ยนแปลงน้ีเองทำาให้ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 กลุ่ม

สถาปนิกและช่างเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับงานอนุรักษ์โบราณสถาน ได้จัดการประชุมนานาชาติข้ึนเป็น

คร้ังแรก (First International Congress of Architects and Technicians of Historic

Monuments) ที่กรุงเอเธนส์ และได้ร่วมกันประกาศใช้กฎบัตรเพื่อการอนุรักษ์ร่วมกันเป็นฉบับแรก

คือ กฎบัตรเอเธนส์เพื่อการบูรณะอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ (The Athens Charter for the

Restoration of Historic Monuments) เมื่อ ค.ศ. 1931 ซึ่งเน้นการอนุรักษ์ในแบบที่ให้ความเคารพ

ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และฝีมือของผู้สร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น การอนุรักษ์วิหารพาร์เธนอนในกรีก

จะไม่มีการต่อเติมหรือสร้างของเดิมขึ้นมาใหม่ แต่จะรักษาเท่าท่ีเป็นอยู่มิให้เสื่อมสลายไปให้เห็นความ

สามารถอันน่ามหัศจรรย์ของช่างโบราณ

ต่อมาชว่งหลงัสงครามโลกครัง้ที ่2 หลงัจากการทิง้ระเบดิเมอืงหลายเมอืงซึง่ทำาใหโ้บราณสถาน

ถูกทำาลายไปมาก สังคมในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 จึงเริ่มตระหนักว่าสิ่งที่ควรรักษาคือสิ่งแวดล้อมที่อยู่

รอบๆ มนุษย์ ซึ่งได้หล่อหลอมให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละกลุ่มชน (Feilden et al. 1998:

11) และเริ่มมีการใช้คำาว่า “ทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (cultural property)” ในอนุสัญญาเฮก ว่าด้วย

การปกปอ้งทรพัยส์นิทางวฒันธรรมเมือ่เกดิสงคราม (The Hague Convention-Convention for the

Protection of Cultural Property in the Event of Armed Conflict) ใน ค.ศ. 1954 และต่อมา

ไดม้กีฎบตัรนานาชาติขึน้มาใหมโ่ดยมรีากฐานมาจากกฎบตัรเอเธนสค์อื กฎบตัรเวนซิ (Venice Charter)

เป็นกฎบัตรนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานและแหล่งโบราณสถาน (International

Charter for the Conservation and Restoration of Monuments and Sites) ท่ีประกาศ

ใช้ใน ค.ศ. 1964 โดยองค์กรอิสระทางวิชาการท่ียูเนสโกให้จัดตั้ง คือ สภาการโบราณสถานระหว่าง

ประเทศหรืออิโคโมส (International Council on Monuments and Sites-ICOMOS) ซ่ึงเน้น

Conservation of the city_01-2.indd 3 7/15/57 BE 11:34 AM

ตัวอย่าง

Page 8: ฉบับพิมพ ครั้งที่ 2 แก ไขเพิ่มเติม 4* 0 % F5 · พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม

4 • การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์เมือง

ไม่เฉพาะตัวโบราณสถาน แต่ยังรวมถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบทั้งในเขตเมืองและชนบท (urban and

rural settings) และรวมงานที่ยิ่งใหญ่และงานที่ธรรมดา (great and modest works) ซึ่ง

จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากการอนุรักษ์ในยุคก่อนที่เน้นวัด วัง สิ่งที่ยิ่งใหญ่และสุดยอดเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม กฎบัตรเวนิซยังใช้คำาว่า อนุสรณ์สถาน หรือ monument ในภาษาอังกฤษที่มีรากศัพท์

มาจากภาษากรีก แปลว่า ความทรงจำาหรือ memory นั่นเอง

การเปลี่ยนแปลงที่สำาคัญของแนวคิดอนุรักษ์ในยุคสมัยใหม่อีกประการหนึ่ง คือการขยาย

ความหมายของสิ่งที่จะอนุรักษ์ โดยแต่เดิม องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง คือยูเนสโกและ

สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศหรืออิโคโมส ใช้คำาเป็นภาษาอังกฤษว่า historic/ancient

monuments ซึ่งหมายถึงอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์ที่อาจตรงกับคำาไทยว่า โบราณสถาน แต่

หลังจากที่มีกระแสการอนุรักษ์ไปทั่วโลก ได้มีการใช้คำาว่า “มรดกวัฒนธรรม (cultural heritage)”

แทนการใช้คำาว่า “โบราณสถาน” ซึ่งเป็นความหมายท่ีกว้างข้ึนมาก ความหมายท่ีกว้างข้ึนนี้ ทำาให้

อิโคโมสประกาศใช้กฎบัตรนานาชาติเฉพาะเรื่องขึ้นหลังจากพบว่ากฎบัตรเวนิซอาจไม่ครอบคลุม

ทุกเรื่อง กฎบัตรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์เมือง คือกฎบัตรวอชิงตันซ่ึงเป็นกฎบัตรเพื่อการอนุรักษ์

เมืองประวัติศาสตร์และพื้นที่เมือง (Washington Charter-Charter for the Conservation of

Historic Towns and Urban Areas) ทีป่ระกาศใช้ใน ค.ศ. 1987 อยา่งไรกต็าม คำาวา่มรดกวฒันธรรมนี ้

อาจเข้าใจได้ว่าไม่ใช่เฉพาะอาคารและสิ่งก่อสร้างซ่ึงนับเป็นสิ่งท่ีจับต้องได้ (tangible) เท่านั้นแต่ยัง

หมายรวมถึงกิจกรรมประเพณีหรือวิถีชีวิตซึ่งเป็นสิ่งจับต้องไม่ได้ (intangible) อีกด้วย

ตัวอย่างที่สำาคัญอีกประการหน่ึงของการใช้คำาว่า มรดกวัฒนธรรมที่รวมถึงเมืองด้วย คือ

การที่ยูเนสโกได้ประกาศ “อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ

(Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage)”

ใน ค.ศ. 1972 ซึ่งในอนุสัญญา (ตามมาตรา 1) ได้ให้ความหมายของ “มรดกวัฒนธรรม” ไว้ว่า

ครอบคลุม 3 ลักษณะ คือ 1) อนุสรณ์สถาน (monuments) 2) กลุ่มอาคาร (groups of buildings)

และ 3) บริเวณ (sites) และจากคำาว่า กลุ่มอาคาร นี้เองที่ต่อมาได้ขยายความไปถึงเมืองประวัติศาสตร์

ด้วย นอกจากนั้น ในปีเดียวกันนี้ ยูเนสโก ยังได้อธิบายคำา “มรดกทางวัฒนธรรม” หรือ “cultural

heritage” ว่า ให้หมายรวมถึงสภาพทางกายภาพ (physical aspect) ซึ่งจับต้องได้ (tangible)

และสภาพที่ไม่ใช่กายภาพ (non-physical aspect) ที่จับต้องไม่ได้ (intangible) เป็นสิ่งที่มนุษย์

สร้างขึ้นและสั่งสมมาเป็นเวลานาน มรดกทางวัฒนธรรม ได้แก่ ภาษา ขนบประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติ

ความเชื่อ สถานที่ประวัติศาสตร์ อนุสาวรีย์ วรรณกรรม งานศิลปะ เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงขยายขอบเขตของสิ่งที่จะอนุรักษ์นี้ ส่วนหนึ่งมาจากผลของการประชุม

นานาชาติขององค์กรระหว่างประเทศเกี่ยวกับเมืองอย่างต่อเนื่อง การประชุมท่ีสำาคัญ ได้แก่

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมมนุษยชาติ (United Nations Conference on the

Conservation of the city_01-2.indd 4 7/15/57 BE 11:34 AM

ตัวอย่าง

Page 9: ฉบับพิมพ ครั้งที่ 2 แก ไขเพิ่มเติม 4* 0 % F5 · พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม

บทนำ� ความเกี่ยวข้องระหว่างการอนุรักษ์เมืองกับการปรับปรุงฟื้นฟูเมือง • 5

Human Environment) ที่กรุงสตอกโฮล์ม ใน ค.ศ. 1972 การประชุมเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยโลก

(Habitat Conference) ที่แวนคูเวอร์ ใน ค.ศ. 1976 และในช่วงหลังก็คือการประชุมสุดยอดว่าด้วย

สิ่งแวดล้อม (Earth Summit) เมื่อ ค.ศ. 1992 ที่กรุงริโอ เดอจาเนโร และการประชุมที่อยู่อาศัยโลก

ครั้งที่ 2 (Habitat II) ที่กรุงอิสตันบูล ใน ค.ศ. 1996 รวมทั้งรายงานของบรันท์แลนด์ในการประชุม

กรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Brundtland Report of the United

Nations World Commission on Environment and Development) ซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1987

(Feilden 1998: 77) โดยการประชุมดังกล่าวได้เรียกร้องให้มีการเอาใจใส่องค์ประกอบของเมืองท่ีมี

ความหมายต่อวัฒนธรรมและชุมชน และใน ค.ศ. 1987 เช่นกันคณะกรรมการมรดกโลกก็ได้เพิ่มเติม

รายละเอียดของ กลุ่มอาคาร ว่าหมายรวมถึง กลุ่มอาคารในเมือง (groups of urban buildings)

แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ก) เมืองโบราณที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่แล้วแต่มีหลักฐานทางโบราณคดีชัดเจน

ข) เมืองประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีผู้คนอาศัยอยู่และมีการพัฒนาต่อเนื่องในอนาคต และ ค) เมืองท่ี

พฒันาในศตวรรษที ่20 ทีย่งัคงลกัษณะดัง้เดมิอยู ่ซึง่ตอ่มาคณะกรรมการมรดกโลกไดม้กีารขยายความ

ของมรดกวัฒนธรรมไปจนถึง ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (cultural landscape) ใน ค.ศ. 1992 ตามด้วย

คลองที่เป็นมรดก (heritage canals) และเส้นทางมรดก (heritage routes) ใน ค.ศ. 1994 ซึ่งมี

ความซบัซอ้นมากขึน้ไปอกีเพราะภมูทิศันว์ฒันธรรมนัน้วา่ดว้ยเรือ่งของความเกีย่วขอ้งระหวา่งกจิกรรม

ของมนุษย์กับธรรมชาติที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน (World Heritage Centre 2008)

จะเห็นได้ว่า เส้นทางของการอนุรักษ์ที่ขยายความจากการรักษาสิ่งก่อสร้างเดี่ยวๆ หรือ

กลุ่มอาคารในพ้ืนที่ไม่ใหญ่มากนักมาครอบคลุมถึงเมืองและชุมชนนั้น มีพื้นฐานมาจากสภาพสังคม

และการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ในชั้นแรก ผู้ครอบครองที่เป็นกษัตริย์หรือเจ้าเมืองหรือชนชั้นสูงเป็น

ผู้ตัดสินใจว่าอะไรคือมรดกรวมทั้งวิธีการอนุรักษ์ ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งท่ี 2 กลุ่มนักวิชาชีพและ

นักวิชาการได้เข้ามามีบทบาทในการดำาเนินการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ด้วย จะเห็นได้จากความพยายาม

ในการออกกฎบัตรเพ่ือใช้เป็นแนวทางที่เป็นมาตรฐานท่ัวโลก แต่ในสมัยต่อมา ภาคประชาชนและ

ท้องถิ่นได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้ด้วย ซึ่งการที่ประชาชนได้มีโอกาสในการพิจารณาว่าอะไรคือ

มรดกวัฒนธรรม ไม่ใช่จำากัดแต่เฉพาะชนชั้นสูงและนักวิชาการนั้น เป็นไปตามกระแสของการพัฒนา

ดา้นสทิธมินษุยชน การกระจายอำานาจ และการมสีว่นรว่มทีก่อ่กำาเนดิในโลกตะวนัตกในครสิตท์ศวรรษ

ที่ 1950-1960 และในประเทศที่กำาลังพัฒนาในช่วง 1980-1990

พัฒนาการของแนวคิดการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองการเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมืองการปกครอง และเง่ือนไขทางเศรษฐกิจ นับเป็นปัจจัยท่ี

ทำาใหเ้กิดการเปลีย่นแปลงด้านแนวคดิการปรบัปรงุฟืน้ฟเูมอืงดว้ย ดงัไดก้ลา่วแลว้วา่ ในยคุกอ่นสงคราม

การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองเน้นที่การทำาลายของเก่าแล้วสร้างใหม่ ดังตัวอย่างเช่น กรณีฮอสมานน์กับการ

Conservation of the city_01-2.indd 5 7/15/57 BE 11:34 AM

ตัวอย่าง

Page 10: ฉบับพิมพ ครั้งที่ 2 แก ไขเพิ่มเติม 4* 0 % F5 · พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม

6 • การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์เมือง

รูป 0-1

การขยายขอบเขตการอนุรักษที่เดิมมีแคโบราณสถาน (รูปซาย) สูการอนุรักษชุมชนเกาในเขตเมือง (รูปขวา)

(ภาพ ยงธนิศร์ พิมลเสถียร)

ฟื้นฟูกรุงปารีส ซึ่งก่อนหน้านี้มีปัญหาขยะ การระบายนำ้า การสะสมของโรคภัยต่างๆ ผนวกกับกษัตริย์

นโปเลียนที่ 3 ต้องการสร้างสัญลักษณ์ความยิ่งใหญ่ของตน แต่หลังจากการทำาลายล้างอย่างมโหฬาร

ในสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-45) ทำาให้เมืองต่างๆ โดยเฉพาะในยุโรปถูกทำาลายไปมาก

บางเมืองแทบไม่เหลืออาคารเดิม เมืองในยุโรปจึงมีแนวทางการฟื้นฟู 3 ลักษณะ (Jokilehto 2002:

285-287) คือ

ก) การสรา้งตามแบบฉบบัของเดมิเนือ่งจากตอ้งการสะทอ้นเอกลกัษณข์องชาตใิหก้ลบัคนืมา

ตัวอย่างที่มักยกกันขึ้นมาคือกรุงวอร์ซอ (Warsaw) ประเทศโปแลนด์

ข) การสร้างขึ้นมาใหม่ด้วยรูปแบบสมัยใหม่หรือโมเดิร์น เนื่องจากเมืองเสียหายมากและ

การกอ่สรา้งสถาปตัยกรรมสมยัใหมก่ำาลงัเปน็ทีน่ยิม เชน่ เมอืงรอตเตอรด์าม (Rotterdam) ในประเทศ

เนเธอร์แลนด์

ค) การผสมผสานระหว่างของใหม่และเก่า เนื่องจากต้องการระลึกถึงประวัติศาสตร์ไป

พร้อมๆ กับการใช้ชีวิตสมัยใหม่ ซึ่งลักษณะนี้มีตัวอย่างหลายเมืองในยุโรป แต่ที่ถือกันว่าเป็นแห่งแรกๆ

ที่มีการผสมผสานของใหม่และเก่าคือ เมืองลูเวน (Louvain) ในประเทศเบลเยียม

การทีม่รูีปแบบการฟืน้ฟูทีห่ลากหลายนีเ้อง ทำาใหเ้มอืงตา่งๆ ในยโุรปกลายเปน็พืน้ทีท่ีม่ตีวัอยา่ง

การฟื้นฟูเมืองและการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมท่ีท่ัวโลกให้ความสนใจและนำามาเป็นกรณีศึกษา

ได้อย่างกว้างขวางตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน

ความนิยมของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นและรูปแบบการใช้ชีวิตสมัยใหม่ ทำาให้เมืองหลายเมือง

ในยุโรปมีการฟื้นฟูในลักษณะรื้อของเดิมแล้วสร้างใหม่ โดยเฉพาะเมื่อเมืองมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ

การผลิตโดยย้ายฐานอุตสาหกรรมออกไปนอกเมือง ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งท่ี 2 ใหม่ๆ จึงเน้นท่ี

Conservation of the city_01-2.indd 6 7/15/57 BE 11:34 AM

ตัวอย่าง

Page 11: ฉบับพิมพ ครั้งที่ 2 แก ไขเพิ่มเติม 4* 0 % F5 · พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม

บทนำ� ความเกี่ยวข้องระหว่างการอนุรักษ์เมืองกับการปรับปรุงฟื้นฟูเมือง • 7

การสร้างใหม่ ซึ่งมีทั้งการสร้างเมืองใหม่ในเขตรอบนอกและการฟื้นฟูเมืองเก่าโดยสร้างของใหม่แทนท่ี

การดำาเนินการดังกล่าวเป็นที่นิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษท่ี 1950-70 และมักเรียกการฟื้นฟูแบบนี้ว่า

Reconstruction (Roberts 2000: 9-17) หรือ Revitalization หรือ Renewal ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่

รัฐบาลมักจะดำาเนินการเองในส่วนกลางและกำาหนดโครงการพัฒนาต่างๆ ในลักษณะของแผนแม่บท

(master plan) ในช่วงนี้มักมีโครงการรื้อแหล่งเสื่อมโทรม (slum clearance) ให้เป็นชุมชนใหม่

ที่มีฐานะดีกว่าเดิมและผลักดันคนจนออกไปอยู่รอบนอก (เรียก gentrification) แต่ต่อมาหลังจาก

กระแสการกระจายอำานาจ (decentralization) และการโอนภารกิจบางประการของรัฐให้เอกชนเป็น

ผู้ดำาเนินการแทน (privatization) ในยุโรป ทำาให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชนมากขึ้นใน

โครงการฟื้นฟูเมืองแบบที่เรียกว่า Redevelopment ในคริสต์ทศวรรษท่ี 1980 และหลังจากเกิด

กระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน ซึ่งชุมชนได้เข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจในโครงการ

ต่างๆ ของรัฐมากขึ้น ในคริสต์ทศวรรษที่ 1990 จึงเกิดแนวทางการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองที่ใช้หลากหลาย

วิธีที่บางแห่งเรียกว่า Regeneration ซึ่งในด้านกายภาพได้คำานึงถึงการรักษามรดกของเมืองด้วย

นอกจากการเปลีย่นแปลงในด้านการบรหิารเมอืงจากสว่นกลางสูส่ว่นท้องถ่ินแลว้ ใน ค.ศ. 1975

ประชาคมยุโรปได้ประกาศให้เป็นปีแห่งมรดกสถาปัตยกรรมยุโรป (European Architectural

Heritage Year) ซึ่งได้ขยายขอบเขตคำาว่า heritage หรือมรดกไปถึงชุมชนเมืองและหมู่บ้านที่มีความ

สำาคญัทางประวตัศิาสตรแ์ละวฒันธรรมดว้ยตามปฏญิญาอมัสเตอรด์มั (Declaration of Amsterdam)

ในปีเดียวกัน ซึ่งได้เกิดกระแสการอนุรักษ์และมีอิทธิพลต่อแนวคิดการฟื้นฟูเมืองที่ผนวกการรักษา

มรดกของเมืองไว้ด้วยกัน ต่อมาใน ค.ศ. 1997 ในการประชุมสุดยอดประชาคมยุโรปครั้งที่ 2 ที่เมือง

Strasbourg ได้จัดทำาแผนการรณรงค์ในวงกว้างโดยใช้ข้อความสั้นๆ ว่า “Europe, A Common

Heritage” เพ่ือให้เกิดความตระหนักและเคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยมีพื้นฐาน

มาจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาล สถาบันการศึกษา สถาบันทางวัฒนธรรม และภาคอุตสาหกรรม

(Picard 2001: 1) จากความเป็นมานี้เองที่ทำาให้เมืองต่างๆ ในยุโรปได้มีการอนุรักษ์อย่างที่เรียกว่า

“บูรณาการ” จริงๆ เพราะเป็นความร่วมมือกันหลายภาคส่วน กลายเป็นกรณีศึกษาการอนุรักษ์เมือง

ประวัติศาสตร์แก่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ใน ค.ศ. 1996 สหรัฐอเมริกาได้มีการประกาศใช้กฎบัตรในเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับเมืองแบบใหม่

เรียกกฎบัตรนิวเออร์บันนิซึม (Charter of New Urbanism) ซึ่งเน้นการพัฒนาเมืองที่มาจากพื้นฐาน

ความตอ้งการของยา่นและชมุชน (neighborhood-based) โดยเปน็การทำางานรว่มกนัของผูเ้ชีย่วชาญ

และชุมชนหลายสาขา และในกฎบัตรนี้เองที่กล่าวถึงการพัฒนาและฟื้นฟูในระดับเมืองว่าต้องให้

ความเคารพรปูแบบและขอ้มลูทางประวติัศาสตรด์ว้ย ในระดบับลอ็กและอาคารไดส้นบัสนนุการอนรุกัษ์

ซ่ึงเปน็การแสดงออกถงึความต่อเนือ่งของการพฒันาเมอืง (Congress for the New Urbanism 1996)

Conservation of the city_01-2.indd 7 7/15/57 BE 11:34 AM

ตัวอย่าง

Page 12: ฉบับพิมพ ครั้งที่ 2 แก ไขเพิ่มเติม 4* 0 % F5 · พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม

หนังสือที่ไดรับทุนสนับสนุนการเขียนตำราจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร พ.ศ. 2555

ผูชวยศาสตราจารย ประจำภาควิชาการผังเมืองคณะสถาปตยกรรมศาสตรและการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

สำนักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

ราคา 150 บาท

ISBN 978-616-314-098-2

9 786163 140982

ฉบับพิมพครั้งที่ 2 แกไขเพิ่มเติม

ตัวอย่าง