สารบัญ - Ministry of Public...

88
GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 1 02 โรงพยาบาลบัวใหญ่ 08 โรงพยาบาลพิมาย 14 โรงพยาบาลโชคชัย 22 รพ.สต.นาราดพัฒนา 26 รพ.สต.ตาจั่น 30 โรงพยาบาลคอนสาร 35 รพ.สต.หลุบโพธิ39 รพ.สต.โคกสูง 45 โรงพยาบาลคูเมือง 49 โรงพยาบาลกระสัง 53 รพ.สต.โคกล่าม 57 โรงพยาบาลปราสาท 61 รพ.สต.โคกสะอาด 73 โรงพยาบาลสังขะ 80 โรงพยาบาลสนม สารบัญ

Transcript of สารบัญ - Ministry of Public...

Page 1: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 1

02 โรงพยาบาลบัวใหญ่

08 โรงพยาบาลพิมาย

14 โรงพยาบาลโชคชัย

22 รพ.สต.นาราดพัฒนา

26 รพ.สต.ตาจั่น

30 โรงพยาบาลคอนสาร

35 รพ.สต.หลุบโพธิ์

39 รพ.สต.โคกสูง

45 โรงพยาบาลคูเมือง

49 โรงพยาบาลกระสัง

53 รพ.สต.โคกล่าม

57 โรงพยาบาลปราสาท

61 รพ.สต.โคกสะอาด

73 โรงพยาบาลสังขะ

80 โรงพยาบาลสนม

สารบัญ

Page 2: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 2

โรงพยาบาลบัวใหญ่

รวมใจลดโลกร้อน โรงพยาบาลบัวใหญ่เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ จำนวน 120

เตียงในแต่ละวันมีผู้ป่วยมารับบริการทั้งจากอำเภอบัวใหญ่อำเภอสีดาอำเภอ

บัวลาย และอำเภออื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง เฉลี่ยมากถึง 450 คนต่อวันโรง

พยาบาลมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านหลายสาขา โดยเฉพาะแพทย์

จะมีทั้งแพทย์อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติกรรม กุมารเวชกรรม และศัลยกรรม

กระดูกสาเหตุนี้ทำให้มีผู้รับบริการเป็นจำนวนมากนอกจากนี้ทางโรงพยาบาล

ยังเป็นแหล่งรับนักศึกษาฝึกงานเพื่อมาฝึกประสบการณ์ด้านการแพทย์และ

พยาบาล รวมถึงงานในหน่วยงานสนับสนุนบริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง

การเพิ่มขึ้นของบุคลากรและผู้รับบริการอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เกิดการใช้

ทรัพยากรที่เพิ่มขึ้น มีการใช้พลังงานไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มมากขึ้น ตลอด

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 2

Page 3: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 3

จนสภาพอากาศที่ร้อนมากขึ้นมีการติด

ตั้ ง เครื่องปรับอากาศเพิ่มเติมในโรง

พยาบาลจำนวนหลายจุด ส่งผลให้สูญ

เสียงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน

สูงขึ้นเท่าตัวในแต่ละปี ทางผู้บริหารโรง

พยาบาลได้เห็นความสำคัญของการลด

โลกร้อนและประหยัดพลังงานตลอดจน

การเป็นนโยบายในระดับกระทรวงในการร่วม

รณรงค์ลดโลกร้อน และการเป็นต้นแบบในการ

ดำเนินงานลดโลกร้อนของหน่วยงานสาธารณสุข

ทางโรงพยาบาลจึงได้ดำเนินกิจกรรมGREENขึ้น

การดำเนินกิจกรรม GREEN ประกอบด้วยG (Garbage) การจัดการขยะ ทางโรงพยาบาลมีนโยบายดำเนินงานลดขยะตั้งแต่แหล่งกำเนิด

โดยใช้หลัก3Rแยกขยะออกเป็น5ประเภทหลักๆคือขยะทั่วไปเศษอาหาร

ขยะติดเชื้อ ขยะอันตราย และขยะรีไซเคิล ซึ่งมีการจัดการที่แตกต่างไปตาม

ประเภท ขยะทั่วไปจัดการโดยเทศบาลบัวใหญ่ ขยะ

ติดเชื้อและขยะอันตรายส่งบริษัทเอกชน ส่วนเศษ

อาหารและขยะรีไซเคิล ได้ดำเนินการจัดการเองโดย

เศษอาหารนำมาผลิตไบโอแก๊สมาใช้ในโรงครัว ขยะ

รีไซเคิลจะนำไปขายเพื่อนำเงินกลับเข้าโรงพยาบาล

ด้ า น

Page 4: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 4

การพัฒนาส้วมซึ่งเป็นกิจกรรมตัวที่สองR (Restroom) คือ การพัฒนาส้วม

ให้ได้มาตรฐาน HAS ทางโรงพยาบาลได้ดำเนินการพัฒนาปรับปรุงห้องส้วม

โดยการเริ่มจากการศึกษาเกณฑ์มาตรฐาน HAS และพัฒนาไปตามเกณฑ์ มี

การนำสมุนไพรมาใช้ในการดับกลิ่นในห้องส้วม ทำให้ห้องส้วมนอกจากมีความ

สะอาด ยังน่าใช้มากขึ้นด้วย การประหยัดพลังงาน

(E : Energy)โรงพยาบาลได้ดำเนินการรณรงค์ลด

ใช้พลังงานในรูปแบบโปสเตอร์ 3 ป.ลดโลกร้อน

และละคร 3 ป.พิทักษ์โลก ได้แก่1. ป.ปิด ปิดไฟ

ปิดพัดลม ปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่ได้ใช้งาน 2. ป.ปรับปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่26องศา

เซลเซียส 3. ป.ปลด ปลดปลั๊กไฟเครื่องใช้ไฟฟ้า

กาน้ำร้อน ที่ชาร์ตแบตเตอรี่ มีการนำเทคโนโลยี

พลังงานทดแทนมาใช้ นั่นคือ การใช้พลังงาน

ทดแทนจากชีวภาพและชีวมวล การผลิต Biogas

จากเศษอาหาร โดยพลังงานความร้อนที่เหลือทิ้ง

จากเครื่องควบคุมความชื้นในห้องเก็บอุปกรณ์

ปราศจากเชื้อก็นำมาเป่าเครื่องมือ/อุปกรณ์การ

แพทย์ให้แห้ง การลดความร้อนภายในห้องนึ่ง

เครื่องมือที่มีอุณหภูมิ40–50องศาเซลเซียสทาง

โรงพยาบาลได้นำ ระบบ Evaporative

Ventilation Unit มาใช้แทนการติดเครื่องปรับ

อากาศ ส่งผลให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่า

เครื่องปรับอากาศ

ส่วนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล (E: Environment) โรงพยาบาลให้ความสำคัญในการดำเนินงานพัฒนา 5ส การพัฒนาสถานที่ทำงาน

น่าอยู่น่าทำงาน มีการจัดภูมิทัศน์ให้สวยงาม เพิ่มพื้นที่สีเขียวภายนอกอาคาร

Page 5: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 5

ผลที่ได้รับจากการดำเนินการ 1. บุคลากร ผู้ป่วย ผู้มาใช้บริการให้ความสนใจและร่วมตอบคำถาม

ในการรณรงค์ลดโลกร้อน

2. โรงครัว สามารถผลิตก๊าซชีวภาพจากเครื่องผลิตก๊าซชีวภาพจาก

เศษอาหารทดแทนก๊าซหุงต้มได้ร้อยละ 50 โดยปัจจุบันใช้ก๊าซหุงต้ม ขนาดถัง

15กิโลกรัมจำนวน2ถัง/เดือนและขนาด48กิโลกรัมจำนวน2ถัง/เดือน

กากที่ได้จากกระบวนการผลิตก๊าซสามารถนำใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดินแก่ต้นไม้ได้

3. อุณหภูมิในห้องนึ่งเครื่องมือทางการแพทย์ หน่วยจ่ายกลาง 25-

28องศาเซลเซียสผู้ปฏิบัติงานทำงานภายใต้อุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำงาน

ต้นไม้ภายในเพื่อการดูดซับสารพิษ การดำเนิน

กิจกรรมส่งเสริมโภชนาการ (N: Nutrition) จะเริ่มจากการกำหนดให้โรงครัวได้ซื้อผัก

ปลอดสารพิษจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ได้แก่

ตลาดสดน่าซื้อ พืชผักชุมชน จัดอาหารเมนู

สุขภาพสำหรับเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการ จัด

ให้มีตลาดนัดผัก ผลไม้ ปลอดสารพิษ จำหน่าย

แก่เจ้าหน้าที่และผู้มารับบริการ ตลอดจนการ

จัดรณรงค์ให้มีการปลูกผักกินเองที่บ้าน

Page 6: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 6

(ลักษณะอากาศเย็นสบายเหมือนอากาศหลังฝนตก) ลดปริมาณการใช้พลังงาน

จากไฟฟ้าเนื่องจากใช้พลังงานไฟฟ้าเพียงปั๊มน้ำเติมเข้าระบบและพัดลมในการ

ระบายอากาศร้อนทิ้ง เปรียบเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้าของระบบ

Evaporative Ventilation Unit/การใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศ

คือ1/10

4. โรงพยาบาลมีต้นไม้ที่ให้ร่มเงาแก่อาคารมีสวนหย่อมสวยงาม

สร้างบรรยากาศผ่อนคลายเสมือนอยู่บ้าน

5. มีการจัดตลาดนัดพืชผักปลอดสารพิษในโรงพยาบาลในวัน

จันทร์–วันพุธ

จากการดำเนินงานลดโลกร้อนทั้งหมดในปี 2556 โรงพยาบาลได้นำ

คาร์บอนฟุตพริ้นท์มาประเมินการดำเนินงานลดโลกร้อน ซึ่งพบว่า ปี 2556

ภาพรวมโรงพยาบาลบัวใหญ่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณ 1,453.07 ตัน

คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า พิจารณาเฉพาะการจัดการขยะของทางโรง

พยาบาล เดือนตุลาคม ปี 2555 โรงพยาบาลบัวใหญ่มีขยะทั่วไป จำนวน

7,200กิโลกรัมส่วนในเดือนกันยายนปี2556มีปริมาณขยะเกิดขึ้นจำนวน

6,000กิโลกรัมลดลงจำนวน1,200กิโลกรัมคิดเป็นค่าก๊าซเรือนกระจกที่ลด

ได้ เท่ากับ 1.37 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และจากการนำเอา

Biogasมาใช้ในโรงครัวส่งผลให้โรงพยาบาลช่วยลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจาก

ขยะเปียกได้มากถึง94,135.02กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งผลการดำเนิน

งานลดโลกร้อนที่ประสบผลสำเร็จนี้ ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ในโรง

พยาบาลในการดำเนินงานตามนโยบายลดโลกร้อน ตลอดจนการให้ความ

สำคัญของผู้บริหารที่ให้การสนับสนุนโครงการจึงทำให้โครงการนี้ประสบผล

สำเร็จ

Page 7: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 7

ก้าวต่อไปของโรงพยาบาลบัวใหญ่ลดโลกร้อน ปีงบประมาณ 2557 โรงพยาบาลบัวใหญ่ตั้งเป้าหมายว่าจะลดค่า

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพื่อให้ภาพรวมค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงพยาบาลลดลง

ร้อยละ10โดยการดำเนินงานดังนี้

1. ปริมาณเศษอาหารมีไม่เพียงพอแก่การผลิตก๊าซในแต่ละวันทำให้

ต้องหาพืชและผักเพิ่มเติม จึงมีการวางแผนในการปลูกพืชพลังงานที่สามารถ

ผลิตก๊าซชีวภาพได้ในปริมาณสูงเมื่อเทียบกับเศษอาหารและหญ้าชนิดอื่นๆ

และสามารถนำมาใช้ได้ตลอดทั้งปี ได้แก่หญ้าเนเปียร์ ซึ่งมีการสนับสนุนให้มี

การปลูกและขอรับพันธุ์ในการปลูกได้จากกรมส่งเสริมการเกษตรปากช่อง

2. จากปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มากขึ้นโรงพยาบาลบัวใหญ่จึง

มาตรการในการติดตั้งมิเตอร์ในทุกหน่วยงานเพื่อนำมาคำนวณปริมาณการใช้

ไฟฟ้า/ปริมาณผู้มาใช้บริการและบุคลากรในหน่วยงานนั้น เพื่อกำหนดค่าการ

ใช้พลังงานไฟฟ้า/คนเพื่อกำหนดให้ทุกหน่วยงานนำไปใช้

3. การลดการติดเครื่องปรับอากาศโดยการระบายอากาศด้วยวิธี

ธรรมชาติ ได้แก่ การติดฉนวนกันความร้อน การเปิดช่องระบายลมบนฝ้า

เพดาน การเพิ่มการหมุนเวียนอากาศโดยการเติมอากาศเข้าไปในอาคาร การ

ปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา

4. การประหยัดเชื้อเพลิงโดยการใช้รถร่วมกันในการเดินทาง โดย

กำหนดให้มีการขอใช้รถล่วงหน้า เพื่อแจ้งให้ผู้ร่วมเดินทางได้เดินทางเวลา

เดียวกันและใช้รถคันเดียวกัน

5. การปลูกต้นไม้เพิ่มเติมในวันสำคัญ การจัดทำสวนหย่อมใน

อาคารและนอกอาคาร

Page 8: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 8

โครงการพัฒนา ขยะอินทรีย์เพื่อโลก

โรงพยาบาลพิมาย

แรงบันดาลใจในการพัฒนา

ขยะอินทรีย์จำพวกเศษพืชผักและอาหาร

ที่เกิดจากโรงครัวและโรงอาหาร รวมทั้งเศษหญ้าที่

เกิดจากการตัดแต่งสนามและต้นไม้ ซึ่งจะต้องใส่รถ

เพื่อนำไปทิ้งในบ่อขยะของท้องถิ่น หากจัดทำสถาน

ที่และหาอุปกรณ์มาพัฒนาปรับปรุงขยะอินทรีย์ดัง

กล่าวให้เกิดประโยชน์ ก็สามารถลดปริมาณขยะที่

เข้าสู่ชุมชนได้ และยังสามารถนำกลับมาใช้

ประโยชน์ในการเกษตร

เป้าหมาย/ความคาดหวัง เพื่อต้องการลดปริมาณขยะสู่ชุมชน โดย

เฉพาะขยะอินทรีย์ที่เกิดจากโรงครัวและงานสนาม

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 8

Page 9: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 9

แสดงปริมาณขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนต.ค.-พ.ค.2556

แสดงปริมาณขยะอินทรีย์ที่ให้ท้องถิ่นรับไปกำจัดระหว่าเดือนต.ค.-พ.ค.2556

แสดงปรมิาณขยะอนิทรยีท์ีน่ำมาผลติเปน็ปุย๋และนำ้หมกัชวีภาพระหวา่งเดอืนต.ค.-พ.ค.2556

Page 10: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 10

สิ่งที่เกิดขึ้นจริง 1. สามารถลดปริมาณขยะที่เป็นขยะอินทรีย์ได้มากกว่า80%

2. สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลให้โลกร้อน

366.31KgCO2e

ปัญหาอุปสรรคของโครงการ

■ ภาชนะรองรับการคัดแยกขยะในส่วนกลางไม่ครอบคลุมทุก

ประเภทของขยะทำให้การคัดแยกได้ไม่ตรงตามประเภทของขยะ

■ ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะจากบ้านพักภายในโรง

พยาบาล

■ การนำผลผลิตที่ได้ไปต่อยอด

■ ปริมาณขยะอินทรีย์แต่ละวันมีเป็นจำนวนมากทำให้ล้นสถานที่

■ บุคลากรที่รับผิดชอบ

■ การสนับสนุนข้อมูลเพื่อการประเมิน

■ จิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม

ภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมให้เกิดความสำเร็จ/ ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน ■ ผู้บริหารโรงพยาบาลพิมายให้การสนับสนุนและเป็นตัวอย่างใน

การดำเนินกิจกรรม

■ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพิมายทุกคนให้ความร่วมมือในการดำเนิน

กิจกรรม

Page 11: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 11

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานนี้ 1. ความสำเร็จเกิดขึ้นได้จากการร่วมแรงร่วมใจและการเข้าถึง

ปัญหาของผู้บริหาร

2. การเป็นเจ้าของผลงานและการยอมรับผลงาน

3. การทำงานเป็นทีมโดยหัวหน้าพาทำ

ได้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักไว้ใช้ในงานสวนและสนาม

และแจกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่

ได้ผักอินทรีย์ปลอดสารพิษไว้กิน

Page 12: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 12

ผู้อำนวยการเยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรมลดโลกร้อน

ของฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน

ผู้อำนวยการสาธิตเครื่องช่วยตรวจ

ผู้ป่วยหูตึงโดยทำจากขวดน้ำดื่ม

ผู้อำนวยการเยี่ยมชมงานสวนและสนาม

เจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรมวันเปิดโครงการโรงพยาบาล

ลดโลกร้อน

Page 13: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 13

การแจกจ่ายพันธุ์ไม้ให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อปลูก

ในวันสิ่งแวดล้อมโลก

Page 14: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 14

โรงพยาบาลโชคชัย ข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลโชคชัย โรงพยาบาลโชคชัย ตั้งอยู่เลขที่ 220 หมู่ 13 ถนนออมสิน ตำบล

โชคชัยอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา30190 โทรศัพท์ (044) 49-1084

โทรสาร49-1161เป็นโรงพยาบาลขนาด60เตียง

กลยุทธ์/วิธีการดำเนินงาน 1. สร้างแรงจูงใจให้แก่บุคลากร โดยใช้มาตรการประหยัดน้ำ

ประหยัดไฟและกิจกรรม5สในหน่วยงานเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความดี

ความชอบเลื่อนขั้นเงินเดือน

2. ให้บุคลากรเห็นถึงผลลัพธ์ ของการคัดแยกมูลฝอย โดยให้ทุก

หน่วยงานสามารถเบิกค่าอาหารว่างสำหรับการประชุมในหน่วยงานได้ซึ่งเป็น

เงินที่ได้จากการขายมูลฝอยรีไซเคิล

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 14

Page 15: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 15

3. การดำเนินกิจกรรม GREEN

Garbageมีการคัดแยกมูลฝอยออกเป็น4ประเภทดังนี้

1) มูลฝอยทั่วไป เทศบาลรับไปกำจัดทุกวัน เศษอาหารจากโรงครัว

ชาวบ้านนำไปทำเป็นปุ๋ยและเป็นอาหารสัตว์ทำมีรายได้จากการขายเศษอาหาร

2) มูลฝอยรีไซเคิลคัดแยกเป็น4ประเภทขวดพลาสติกขวดแก้ว

กระดาษและลังคัดแยกเพื่อขายนำรายได้เข้าเงินสวัสดิการ

3) มูลฝอยติดเชื้อมูลฝอยติดเชื้อจากภายในโรงพยาบาลและหน่วย

งานภายนอกส่งให้บริษัทส.เรืองโรจน์รับไปกำจัด

4) มูลฝอยอันตรายคัดแยกใส่ถุงสีฟ้าส่งให้บริษัทส. เรืองโรจน์รับ

ไปกำจัด

ลดขยะลดโลกร้อนโดยใช้หลัก 4R

1) Re-useเอากลับมาใช้ใหม่ให้หน่วยงานที่จำเป็นต้องใช้หรือเก็บ

ในstock

2) Recycle หมุนเวียนกลับมาใช้ วัสดุบางอย่าง เช่น กระดาษ

พลาสติก แก้ว โลหะสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์

ใหม่ได้ จึงไม่ควรทิ้งปนกับมูลฝอยอื่นๆ ให้แยกต่างหากเพื่อขายให้โรงงาน

หมุนเวียนมาใช้ในการผลิตต่อไป

3) Repairซ่อมแซมและนำกลับมาใช้ใหม่ของชำรุดเนื่องจากการใช้

งานให้ลองแก้ไขดูก่อนถ้าแก้ไขไม่ได้จริงๆ หรือแก้ไขได้แต่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้

จ่ายมากกว่าซื้อใหม่จึงค่อยทิ้งและก่อนทิ้งจงคิดให้รอบคอบว่าของสิ่งนั้นจะ

สร้างมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เช่นตู้ เตียงเก่าสามารถนำมาซ่อมแซม

ปรับปรุงมาใช้ใหม่ได้เป็นต้น

4) Reject หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ทำลายสิ่งแวดล้อม สารบาง

ประเภทมีคุณสมบัติอันตรายต่างๆ ได้แก่ระเบิดง่ายทำปฏิกิริยาต่างๆ มีฤทธิ์

กัดกร่อน ฯลฯ เช่น ใช้ปิ่นโตแทนถุงพลาสติก ลดการใช้เสาน้ำเกลือเพื่อ

ประหยัดทรัพยากรโดยใช้ลวดและตะขอหน้าต่างแทน

Page 16: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 16

Rest room คือ การพัฒนาส้วมในสถานบริการสาธารณสุขให้ได้

มาตรฐานส้วมสาธารณะไทย(HAS)โดย

ห้องน้ำห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ มีสภาพสะอาด และมีน้ำสำหรับใช้

ทำความสะอาดเพียงพอ ไม่มีกลิ่น มีการระบายอากาศ และแสงสว่างเพียงพอ

รวมทั้งมีเครื่องใช้ เช่น สบู่ กระดาษชำระและมีสภาพสะอาด จัดให้มีส้วมนั่ง

ราบสำหรับคนพิการ

Energy กิจกรรมการลดการใช้พลังงาน หรือมีการใช้พลังงาน

ทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

มาตรการประหยัดน้ำและไฟ โรงพยาบาลโชคชัยได้นำมาตรการ

ประหยัดมาเป็นส่วนหนึ่งในการ พิจารณาความดีความชอบในการ เลื่อนขั้น

เงินเดือนของบุคลากร เพื่อให้ บุคลากรทุกคนให้ความสำคัญในการลดการใช้

ไฟฟ้าและน้ำตัวอย่างมาตรการประหยัดของหน่วยงานต่างๆดังนี้

การประหยัดไฟฟ้าเปิดเครื่องปรับอากาศเวลา10.00–12.00น.ปิด

เครื่องปรับอากาศเวลา 12.00–13.00 น. ยกเว้นมีการทำหัตถการ เปิดเครื่อง

ปรับอากาศเวลา13.00–20.00น.ขณะเปิดเครื่องปรับอากาศให้ปิดประตูและ

หน้าต่าง ขณะปิดเครื่องปรับอากาศให้เปิดพัดลมแทนเปิดไฟเฉพาะบริเวณ

เตียงทำแผลหรือถ้ามีแสงสว่างเพียงพอไม่ต้องเปิดไฟ ห้องพักเจ้าหน้าที่ให้เปิด

ไฟและพัดลมเฉพาะเวลาที่มีคนอยู่

การประหยัดน้ำป้องกันน้ำล้นถังเครื่องซักผ้า (ล้างเครื่องมือ) โดยตั้ง

เวลาเตือนให้ปิดน้ำพบน้ำรั่ว น้ำหยดให้ส่งซ่อมทันที ไม่เปิดน้ำไหลทิ้งขณะล้าง

มือหรือล้างเครื่องมือ การล้างถ้วย จาน ภาชนะ ล้างด้วยน้ำยาล้างจานเสร็จ

แล้วจึงเปิดล้างด้วยน้ำสะอาดไม่เปิดทิ้งไว้ตลอดเวลา

มาตรการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง มีดังนี้

1) ตรวจเช็คลมยางทุกครั้งก่อนออกเดินทาง

2) เช็คระดับยางทุก10,000กิโลเมตร

3) เปลี่ยนยางทุก40,000กิโลเมตร

4) เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุก5,000กิโลเมตรในรถเก่า(6คัน)

Page 17: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 17

5) เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุก10,000กิโลเมตรในรถใหม่(5คัน)

6) ตรวจเช็คสภาพรถเฉพาะจุดทุก20,000กิโลเมตร

7) ตรวจเช็คสภาพรถทุกระบบทุก40,000กิโลเมตร

8) เจ้าหน้าที่ที่ต้องไปประชุมในเมืองถ้าไปทางเดียวกันไปพร้อมกัน

9) ถ้าประชุมต่างจังหวัด ถ้าไปไม่เกิน 4 คนให้ไปรถทัวร์ หรือไปกับ

โรงพยาบาลอื่น

10)เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในเมืองหรือบุตรที่เรียนในเมืองมีรถรับส่ง เดือนละ

500บาท/คน

Environmentคือการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดโลกร้อนและการ

จัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ เช่น นโยบายเพิ่มพื้นที่สีเขียวในโรง

พยาบาล ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมในโรงพยาบาลและในชุมชน โดยเน้นปลูกต้นไม้ที่

ช่วยดูดซับสารพิษในโรงพยาบาลเช่นลิ้นมังกรสิปสองปันนาวาสนาเป็นต้น

สร้างอาคารที่มีลักษณะเปิดโล่งเพื่อลดการใช้เครื่องปรับอากาศ ลดการเผา

ทำลายเอกสารที่เป็นความลับโดยให้บริษัทรับกำจัดโดยการย่อยกระดาษและ

การจัดกิจกรรม5ส

Nutrition คือ การใช้อาหารปลอดสารพิษ รณรงค์ใช้ผักพื้นบ้าน

อาหารพื้นเมือง

การเลือกซื้ออาหารสด จะให้แม่ครัวเลือกซื้อเอง จากตลาดสดโชคชัย

ซึ่งได้รับการประเมินเป็นตลาดสดน่าซื้อระดับ5ดาวและจะเน้นผักที่ชาวบ้าน

ปลูกเอง นำมาประกอบอาหาร อาหารปลอดสารพิษจากโรงครัวจะแช่และล้าง

ผักโดยใช้ผงถ่านกัมมัน15นาที

กิจกรรมเด่นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ได้ กิจกรรมการคัดแยกมูลฝอย ทางโรงพยาบาลมีแนวทางการคัดแยก

มูลฝอย โดยคัดแยกมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด ซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภทได้แก่

มูลฝอยทั่วไป มูลฝอยรีไซเคิล มูลฝอยอันตราย และมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอย

Page 18: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 18

แต่ละประเภทจะถูกเก็บในถุงที่แบ่งแยกกันอย่างชัดเจนไม่เพียงแต่มูลฝอยของ

ทางโรงพยาบาลเท่านั้น ยังมีมูลฝอยติดเชื้อของทางรพ.สต.และโรงงาน ที่ถูก

รวบรวมโรงพักมูลฝอยเพื่อรอการกำจัดต่อไป

มูลฝอยรีไซเคิล เป็นมูลฝอยประเภทเดียวที่ทางโรงพยาบาลไม่ส่งไป

กำจัด เนื่องมีพ่อค้าเข้ามารับซื้อมูลฝอยรีไซเคิลที่คัดแยกไว้ขาย ได้แก่ขวดน้ำ

เกลือ ลังยา กระดาษใช้แล้ว ขวดแก้ว/ขวดยา ขวดพลาสติก เป็นต้น ซึ่งราย

ได้ที่ได้จากการขายมูลฝอยรีไซเคิล จะนำเข้าสวัสดิการของทางโรงพยาบาล

และโรงพยาบาลมีแนวทางที่ปฏิบัติร่วมกัน คือให้แต่ละหน่วยงานสามารถเบิก

ค่าอาหารเบรกจากการประชุม โดยนำเงินที่ได้จากการขายมูลฝอยรีไซเคิล ซึ่ง

ทำให้เจ้าหน้าที่เห็นความสำคัญของการคัดแยกมูลฝอยมากขึ้น

กิจกรรม5ส เป็นหนึ่งกิจกรรมที่ทางโรงพยาบาลทำมาอย่างต่อเนื่อง

และเป็นรูปธรรม โดยมีการตั้งคณะกรรมการ 5 ส โดยมีการตรวจ 5 ส ใน

หน่วยงาน แล้วนำคะแนนมาใช้พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของบุคลากร และ

เป็นปัจจัยในการลดการใช้ทรัพยากรในหน่วยงาน เช่น การสะสางเอกสาร

ทำให้มีแฟ้มเหลือ และสามารถนำเอกสารที่หมดอายุการใช้งานไปขายเป็น

มูลฝอยรีไซเคิลได้

นวัตกรรมเด่น 1. ตู้เก็บเสมหะ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากวัณโรคเป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นได้

โดยระยะแพร่กระจายเมื่อผู้ป่วย จาม ไอหัวเราะร้องเพลงหรือแม้กระทั้งพูดก็

สามารถแพร่เชื้อออกทางน้ำลายเชื้อจะกระจายไปในอากาศและสามารถอยู่ใน

อากาศได้นานเมื่อคนหายใจจะได้รับเชื้อนั้นเข้าในถุงลมในปอด

Page 19: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 19

ดังนั้นทางโรงพยาบาลโชคชัย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา

จึงได้จัดทำตู้เก็บเสมหะ ให้เป็นไปตามหลักของ IC เพื่อป้องกันการแพร่

กระจายของเชื้อวัณโรคไปยังผู้มารับบริการและเจ้าหน้าที่ โดยมีวัตถุประสงค์

เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรค ไปยังผู้มารับบริการและเจ้าหน้าที่

ของโรงพยาบาล

วิธีดำเนินการ

1. ประสานกับทางองค์การโทรศัพท์เพื่อขอสนับสนุนตู้โทรศัพท์หยอด

เหรียญที่ชำรุดแล้วเพื่อนำมาใช้เป็นตู้เก็บเสมหะสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอด

2. เลือกที่ตั้งตู้ เก็บเสมหะ ให้มีแสงแดดส่องถึง อยู่ใกล้กับห้อง

ชันสูตรและจัดทำวิธีการเก็บเสมหะที่ถูกต้องติดไว้ในตู้

3. ติดตั้งอ่างล้างมือ สบู่ฆ่าเชื้อ กระดาษเช็ดมือ และถังขยะสำหรับ

ใส่มูลฝอยติดเชื้อ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ไม่มีการแพร่กระจาย

ของเชื้อวัณโรคไปยังเจ้าหน้าที่ในโรง

พยาบาลและผู้ที่มารับบริการ

2. ลดค่ า ใช้จ่ ายในการ

สร้างห้องเก็บเสมหะ โดยดัดแปลง

จากสิ่งของที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว

2. ตู้คลุกถุงมือ หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลมีการใช้แป้งข้าวโพดในการคลุกถุงมือ ซึ่งฝุ่นจากแป้งเป็น

สาเหตุของโรคหอบหืดซึ่งเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานจ่ายกลางมีความเสี่ยงสูงที่จะ

เกิดโรคหอบหืดจากฝุ่นแป้งคลุกถุงมือ

ดังนั้นโรงพยาบาลโชคชัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่จะ

เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน จึงได้จัดทำตู้คลุกถุงมือ เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของ

Page 20: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 20

ฝุ่นแป้ง โดยวัตถุประสงค์ เพื่อลดการสัมผัสฝุ่นแป้งจากการคลุกถุงมือของเจ้า

หน้าที่หน่วยจ่ายกลาง

วิธีดำเนินการ จัดทำตู้คลุกถุงมือโดยดัดแปลงจากตู้อบเด็กที่ชำรุดแล้ว

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ไม่มีรายงงานการเจ็บป่วย

ของเจ้าหน้าที่งานจ่ายกลาง ด้วยอาการ

หอบหืดที่มีสาเหตุจากฝุ่นแป้งคลุกถุงมือ

2. ลดค่าใช้จ่ายในการสร้างห้อง

คลุกถุงมือ โดยการนำสิ่งของที่ไม่ได้ใช้ประ

โยชน์มาดัดแปลงให้สามารถใช้ประโยชน์

ได้

3. เสาน้ำเกลือ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากตึกผู้ป่วยในหญิงของทางโรงพยาบาลเป็นตึกเก่าที่มีพื้นที่

จำกัด แต่มีจำนวนคนไข้ที่มา Admit เป็นจำนวนมาก ทำให้ดูแออัด ดังนั้น

ทางโรงพยาบาลจึงลดการใช้เสาน้ำเกลือบริเวณเตียงคนไข้ เพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้

งาน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้งานบริเวณเตียงคนไข้และเพื่อลด

ค่าใช้จ่ายในการซื้อเสาน้ำเกลือ

วิธีดำเนินการ ใช้ลวดขึงบริเวณหัวเตียง และใช้ตะขอหน้าต่าง

สำหรับแขวนขวดน้ำเกลือ

Page 21: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 21

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. มีพื้นที่ใช้สอยรอบเตียงคนไข้เพิ่มขึ้น

2. ลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อเสาน้ำเกลือ(25เสา/ละ1,800บาท)

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ / ปัญหาอุปสรรค 1. ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณในการ

ดำเนินกิจกรรม

2. บุคลากรให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

3. มีคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมที่เข้มแข็ง

4. มีการสร้างวัฒนธรรม ให้บุคลากรยอมรับการใช้สิ่งของเก่าจาก

หน่วยงานอื่น

ปัญหาและอุปสรรค

1. มีการดำเนินกิจกรรมแต่ขาดการเก็บข้อมูล

ก้าวต่อไปในการดำเนินงานลดโลกร้อน ของโรงพยาบาลโชคชัย 1. ดำเนินกิจกรรมด้านการลดโลกร้อนในโรงพยาบาลในครอบคลุม

เช่น ทำปุ๋ยหมักใช้เอง เพื่อลดการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ลดการใช้ถุงยาของคนไข้ กลุ่ม

โรคเรื้อรังโดยการเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าแทนรณรงค์ให้บุคลากรปลุกผักปลอดสาร

พิษ

2. มีการประชาสัมพันธ์โครงการออกสู่ชุมชน โดยบูรณการด้านการ

ส่งเสริมสุขภาพร่วมกับการลดโลกร้อน

Page 22: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 22

สุดยอดส้วมแบบบ้านๆ ที่ประหยัดพลังงาน

ณ วันที่ 9 กันยายน 2556 09.00 น. ผมกับทีมงาน รพ.สต.นาราด

พัฒนา ได้ไปนำเสนองาน PCA ชั้น 3 ที่ห้องประชุม สสอ.โนนสูง ท่านผู้ช่วย

สาธารณสุขอำเภอ คุณประพันธ์ เมี้ยนกลาง เดินมาข้างหลังแล้วพูดว่า

“เพทายคุณและทีมงานได้รับรางวัลชนะเลิศสุดยอดส้วมรพ.สต.ระดับจังหวัด

ปี 2556” ความรู้สึกขณะนั้นดีใจอย่างลึกๆ บอกไม่ถูก มองดูประกายดวงตา

ของน้องๆทีมงานรับรู้ได้เลยถึงความปิติยินดีที่ส่งผ่านถึงกันและกันทุกคนและ

นึกขอบคุณคณะกรรมการที่ ได้มองเห็นความสำคัญของส้วมธรรมดา

ประหยัดๆแบบบ้านๆของพวกเรามาดูกันเลยครับว่าความสำเร็จครั้งนี้เราได้

กันมาอย่างไร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาราดพัฒนา

อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 22

Page 23: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 23

ขอเริ่มจาก แรงบันดาลใจที่

ผมและทีมงานคิดและลงมือทำคือ

นโยบายส้วมHASของกระทรวงนี่ ล่ะ

ครับแต่ด้วยงบประมาณและทรัพยากร

ที่มีอยู่อย่างจำกัดคิดดูครับณวันนี้16

กันยายน 2556 เงินบำรุงผมเหลือไม่ถึง

50000 บาท ฉะนั้นพูดถึงงบจากทาง

ราชการแล้วไม่สามารถทำได้เลยละครับ

เมื่อปีที่แล้ว เราได้รับบริจาคจากผู้ใจบุญในเขตรับผิดชอบบริจาคมา 80,000

บาท ผมก็เรียนท่านตรงๆ ว่าผมขอมาทำส้วมนะครับ เนื่องจากส้วมมีใช้อยู่ 2

ห้อง ตามแบบของอนามัยทั่วไป แบบ 8170 ของกระทรวงที่มี 2 ห้องเล็กชั้น

ล่าง นอกจากไม่พอแล้วห้องผู้พิการผู้สูงอายุก็ต้องไปรวมอยู่ในห้องน้ำหญิง ผม

ได้พาทีมงาน3-4คนไปดูงานที่ รพ.สต.โคกสูงอำเภอเมืองที่ชนะเลิศสุดยอด

ส้วมเมื่อปี2550ก็ได้รับคำแนะนำมากมายครับบอกได้เลยว่าส้วมเขาสวยมาก

คงใช้งบประมาณไปเยอะผมโชคดีที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย(ยาม)มีฝีมือ

ในเรื่องของงานก่อสร้างก็ลงมือทำกันเลยครับเมื่อพฤษภาคม2555เป็นต้น

มาใช้เวลา4เดือนก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์ก็ใม่ใช่เรื่องแปลกอะไรหรอกครับที่

จะทำฝ33.(ถังน้ำฝน)ด้านหลัง3ลูกที่ไม่ใช้ประโยชน์แล้วมาปรับปรุงทำเป็น

ส้วมธรรมด้าธรรมดาที่ไม่ธรรมดา มีอะไรบ้างละ 1. สร้างจากงบประมาณที่มี

อยู่อย่างจำกัดให้ได้3ห้อง2.ทำอย่างไรที่ตอบโจทย์ส้วมHASได้3.จะต้อง

ประหยัดพลังงานด้วย 4. ทุกจุดต้องใช้งานได้จริง 5. อยากให้เกิดเป็นแบบ

อย่างที่ให้ชาวบ้านนำไปประยุกต์ทำในบ้านเรือนได้ และสุดท้าย 6. ต้อง

สวยงามด้วยมาถึงวันนี้ส้วมของเราหลังนี้ตอบโจทษ์ทุกข้อเหล่านี้ได้จริงโดย

เริ่มจากงบประมาณ เราหมดไปไม่เกิน 100,000 บาท ครับ และผ่านเกณฑ์

มาตราฐาน16ข้อส้วมHAS ได้ เราได้ให้ประธานผู้พิการมนุษย์ล้อของโคราช

ท่านแนะนำและลองใช้ดู ท่านได้ยกนิ้วให้ พร้อมแนะนำเพิ่มเติมคือ “กริ่งกด

Page 24: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 24

เหตุฉุกเฉินจะต้องอยู่สูงจากพื้นสัก30ซม.ก็พอเด้อ เพราะเวลาเขาล้มจะต้อง

เอื้อมมือไปกดกริ่งได้”.......เออจริง (แก้ไขครับ)ส่วนเรื่องของประหยัดพลังงาน

บอกได้เลยครับว่าส้วมแห่งนี้ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ความสว่างเพียงพอ กลางวันไม่

ต้องเปิดไฟ มองเห็นชัดเจนเมื่อปิดประตู แถมเย็นสบายอีกต่างหากไม่ต้องมี

แอร์มีพัดลมให้เปลืองไฟเห็นบางที่ติดไฟสวยงามมีทั้งพัดลมพัดลมดูดอากาศ,

แอร์ ผมเห็นแล้วก็อดที่จะคิดไม่ได้ว่าถ้าส้วมสาธารณะทุกที่ของประเทศลดการ

ใช้ไฟฟ้าภาพรวมคงจะประหยัดได้มิใช่น้อย ณ ตอนนี้ ขอบอกได้เลยว่า

สุขภัณฑ์ทุกจุดภายในห้องส้วมใช้งานได้จริง อีกสิ่งที่จะเรียกว่านวตกรรมหรือ

เปล่า ผมได้สอบถาม อสม.ในวันประชุมประจำเดือนว่า เวลามาเข้าห้องน้ำไม่

ว่าหนักหรือเบามีใครใช้ส้วมนั่งราบบ้างปรากฏว่ามี2คนครับยกมือและใครใช้

ส้วมนั่งยองบ้างที่เหลืออีก 70กว่าคนยกมือพรืบก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นให้ผมได้

ให้ส้วมนั่งราบและส้วมนั่งยองอยู่ในห้องเดียวกันทั้งห้องหญิงและห้องชาย โดย

เจตนาให้คนเลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งตามถนัด ไม่ใช่เข้าไปนั่งคุยกันได้ 2 คน

เด้อ ฮ่า...ฮ่า และจากนโยบายรัฐบาลให้ประชาชนมีส้วมนั่งราบเพื่อให้คนที่มี

อาการโรคไขข้อได้ใช้ทุกหลังคาเรือนก่อนปี 2559 นั้น ผมสนับสนุนเต็มที่ ทุก

ครั้งที่พูดเรื่องส้วมกับชาวบ้านผมจะแนะนำให้ชาวบ้านทำส้วมนั่งราบเพิ่มโดย

ต่อท่อร่วมกันเพิ่มนั่งราบอยู่ได้ใกล้ๆ นั่งยอง

แบบที่ผมทำนี่ละครับ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของ

การพัฒนาตามนโยบายรัฐบาลก็ได้ ส่วนเรื่อง

การกำจัดสิ่งปฏิกูลผมบอกได้เลยว่าส้วมแห่ง

นี้เป็นส้วมซึมแน่นอนไม่ใช่ส้วมเก็บที่ต้องมีการ

ดูดทุก 1- 2 เดือน เพราะได้วางถังส้วมแบบ

ลดหลั่นแบบบ่อดักไขมัน3จุดจุดสุดท้ายวาง

ถังนอน11ท่อนรอบถังใส่หินทรายให้ซึมและ

ที่สำคัญต้องปลูกต้นไม้ด้านบนเพื่อให้รากต้นไม้

ดูดน้ำออก ระเหยออกทางใบถ้าเป็นไม้ผลก็

Page 25: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 25

เตรียมเก็บกินได้เลยล่ะครับ.... และที่

สำคัญต้องมอบหมายคนรับผิดชอบ

ดูแลทำความสะอาดเปลี่ยนอุปกรณ์

พร้อมใช้อยู่เสมอ มีการประเมินความ

พึงพอใจโดยใช้ไม้ตะเกียบใส่ช่องแสดง

ความคิดเห็น

สำหรับปัจจัยของความสำเร็จ

งานใดก็แล้วแต่ยากที่สุดอยู่ที่การเริ่มต้น

ครับ แต่สำหรับผมยากที่สุดอยู่ที่การหางบประมาณก่อสร้าง เพราะว่าเมื่อมีงบ

ประมาณแล้วใครก็สร้างได้ จะให้สวยหรือแพงขนาดไหนก็ย่อมได้จริงไหมครับ

ส่วนภาคีเครือข่ายอันนี้แน่นอนถ้าไม่ได้ท่านผู้นำชุมชน, อบต., อสม.,

ประชาชน, ประชุมผลักดันร่วมแรงร่วมใจจัดหางบประมาณสถานที่แห่งนี้ก็คง

ไม่เกิดขึ้น เราได้ใช้งบจากทางราชการเพียงน้อยนิดเท่านั้น ดังที่เรียนให้ทราบ

คือสร้างทุกจุดเพื่อใช้งานได้จริงตามบริบทของเรา.....และด้วยความสัตย์เราไม่

ได้คาดหวังที่เข้าประกวดสุดยอดส้วมสาธารณะของรพ.สต.แต่อย่างใด เพียง

เพื่อต้องการให้พี่น้องประชาชนผู้มาใช้บริการได้ใช้ส้วมสาธารณะอย่างสะดวก

สะอาด ปลอดภัย.... กระนั้นท่านผู้ช่วย สสอ. ก็ได้มาดูและคัดเลือกให้เป็น

ตัวแทนของอำเภอโนนสูง เข้าประกวดระดับจังหวัดและได้รับโล่ชนะเลิศโดย

คณะกรรมการระดับจังหวัดให้เป็นสุดยอดส้วมสาธารณะของ รพ.สต. แห่งปี

2556 ของจังหวัดนครราชสีมา สร้างความปราบปลื้มให้พวกเราทีมงาน

รพ.สต.นาราดพัฒนายิ่งนัก และเป็นกำลังใจอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้พวกเราก้าว

ต่อไปอย่างมั่นใจว่าพวกเรามากันถูกทางแล้ว และต่อไปเราคาดหวังที่อยากจะ

เห็นพี่น้องรพ.สต.ประชาชนนำแนวคิดวิธีการไปประยุกต์ต่อยอดให้เกิดสิ่งที่

ดีกว่ากับพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง

Page 26: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 26

รพ.สต.ตาจั่นสุขภาพดี ชีวีสดใส

ร่วมใจรณรงค์ลดโลกร้อน

แรงบันดาลใจในการพัฒนา/จุดเริ่มต้น เนื่องจากในปัจจุบันปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่ส่งผลให้

เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งสมควรได้รับการแก้ไขเพราะการใช้สอยอย่างฟุ่มเฟือย

ของมนุษย์ทำให้มีขยะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากและก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาจั่น จึงมีความตระหนัก และเห็นความ

สำคัญถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้ มีการดำเนินการแก้ไขปัญหา

ดังกล่าวโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาจั่นเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก

มีเจ้าหน้าที่น้อยประกอบกับพื้นที่ในการดูแลรักษาความสะอาดที่มีการดูแล

อย่างทั่วถึง ทำให้มีปริมาณขยะน้อยและสามารถกำจัดได้ง่ายการนำขยะมา

รีไซเคิลเป็นสิ่งของเครื่องใช้หรือสิ่งของประดับตกแต่งที่มีประโยชน์มากขึ้น

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาจั่น

อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 26

Page 27: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 27

ความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น/สิ่งที่เกิดขึ้นจริง 1. เพื่อกระตุ้นให้บุคลากรและประชาชนตื่นตัว เสริมสร้างความ

เข้าใจถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากขยะที่เพิ่มขึ้นพร้อมรณรงค์ให้ประชาชน

สร้างพฤติกรรมในการคัดแยกขยะ และนำขยะมารีไซเคิลเพื่อให้เกิดประโยชน์

สูงสุด

2. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรและประชาชน รู้จักคุณค่าของ

ทรัพยากรและรักษาสิ่งแวดล้อม มีภูมิคุ้มกันในการรักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรง

พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและชุมชน

3. เพื่อลดปัญหาขยะในสังคมและส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ใน

เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกต้องและเหมาะสม รู้จักนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ

เพียงมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

4. เพื่อลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมในสถานบริการสาธารณสุขและ

ชุมชน

5. เพื่อลดการใช้พลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

วิธีการที่ทำให้สำเร็จ ปัญหาอุปสรรคที่มีการแก้ไข ■ ประชุมทีมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาจั่นและ

วางแผนงาน

■ กำหนดผู้รับผิดชอบหลักของแต่ละกิจกรรม

■ ตัวแทนแต่ละกิจกรรม

กำหนดแนวทางและแผนปฏิบัติ

การนำมาเสนอเพื่อขอความเห็นและ

ทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

■ กำหนดและประกาศ

เป็นนโยบายการดำเนินงาน

Page 28: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 28

ภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมให้เกิดความสำเร็จ ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินงาน ■ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาจั่นทุกคน

■ ผู้นำชุมชน

■ อสม.ตำบลตาจั่น

■ ประชาชนผู้ใช้บริการ

สิ่งที่ชอบและประทับใจในการดำเนินงาน 1. ประชาชนสามารถคัด

แยกขยะแต่ละประเภทได้ด้วย

ตนเองและนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างถูกต้อง

2. บุคลากรและประชาชนมี

ความรู้และสนใจนำสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วมา

ประดิษฐ์ใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3. บุคลากรและประชาชนนำ

ความรู้ความสามารถเรื่อง3Rไปเผยแพร่

สู่ชุมชนและสังคมได้อย่างถูกวิธี

Page 29: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 29

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานนี ้ ได้เข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเอาใจใส่สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเรามากขึ้น

นอกจากการดำเนินงานในสถานที่ทำงานแล้ว ยังสามารถนำมาปฏิบัติในการ

ดำเนินชีวิตของตนเองและคนรอบข้างได้เป็นอย่างดียิ่ง และยังได้เรียนรู้ว่า

ความรักใคร่ สามัคคี การประสานงานที่ดี นำมาซึ่งความสำเร็จของการดำเนิน

งาน

ก้าวต่อไปที่ยั่งยืน จะดำเนินการอย่างไร ป ฏิ บั ติ น โ ย บ า ย ที่

กำหนดไว้ร่วมกันต่อไปและ

ทำให้ดีที่สุด เผยแพร่นโยบายนี้

แก่องค์กรอื่นต่อไป

Page 30: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 30

โรงพยาบาลลดโลกร้อน :

แปรสภาพแล้ว เกิดประโยชน์ได้

แรงบันดาลใจในการพัฒนา/ จุดเริ่มต้น ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีคุณค่าในตัวเอง ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองเห็นหรือ

ไม่ เราจะดึงเอาคุณค่าของสิ่งๆนั้นออกมาได้หรือไม่ทีมงานจึงได้พยายามมอง

หาว่าสิ่งที่คนส่วนใหญ่เรียกว่าขยะ คนส่วนใหญ่มองว่าไม่มีประโยชน์แล้ว

สามารถนำมาแปรสภาพให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้สามารถกลับมา

มีประโยชน์อีกรอบและลดผลกระทบที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

ความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น/ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น เกิดการคัดแยกขยะที่เหมาะสม

และการนำสิ่งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้วนำมาดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ในการใช้

งานอย่างอื่นๆได้

โรงพยาบาลคอนสาร

อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 30

Page 31: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 31

สิ่งที่เกิดขึ้นจริง

Page 32: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 32

Page 33: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 33

วิธีการที่ทำให้สำเร็จ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่มี และท่านได้แก้ไขปัญหาอุปสรรคนั้นอย่างไร การประชุมทีมทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการอย่างสม่ำเสมอ

สมาชิกในทีมรู้และเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง และการดำเนิน

กิจกรรมที่มีผู้รับผิดชอบหลักผู้รับผิดชอบรองการให้เกียรติซึ่งกันและกันในทีม

ภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมให้เกิดความสำเร็จ และปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เห็นความสำคัญประกาศให้เป็นนโยบาย

ของโรงพยาบาล และให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือ

จากเจ้าหน้าที่ทุกๆแผนกในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

Page 34: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 34

สิ่งที่ชื่นชอบ/ ประทับใจในการดำเนินงาน การใช้ทรัพยากรได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานนี ้ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีคุณค่าในตัว

เองขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองเห็นหรือไม่ เราจะ

ดึงเอาคุณค่าของสิ่งๆนั้นออกมาได้หรือไม่

หากเรามองเห็นว่าสิ่งๆนั้นมีคุณค่าคุณค่าของ

สิ่งๆ นั้นก็จะเกิด หากเรามองว่าสิ่งๆ นั้นไม่มี

คุณค่า คุณค่าที่อยู่ในตัวของสิ่งๆ นั้นก็จะถูก

บดบังไปด้วยคำว่าไม่มีคุณค่าแล้ว

ก้าวต่อไปให้ยั่งยืน ประชุมทีมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษา

และพัฒนาระบบการดำเนินกิจกรรม และ

จะพยายามผลักดันให้ เกิดศูนย์ เรียนรู้

ผลิตภัณฑ์ น้ำหมักชีวภาพ และผลิตภัณฑ์

น้ำยาในครัวเรือน ขยายการใช้ผลิตภัณฑ์สู่

ชุมชน

Page 35: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 35

เรื่องเล่า

GREEN and CLEAN รพ.สต.หลุบโพธิ์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลุบโพธิ์ อยู่ในพื้นที่การปกครอง

ของเทศบาลตำบลตลาดแร้ง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ห่างจากตัวเมือง

ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 18 กิโลเมตร เปิดให้บริการส่งเสริมสุขภาพ

ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และ งานฟื้นฟูสุขภาพ มีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

จำนวน 8 หมู่บ้าน จำนวน 1,361 หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้น 6,112 คน

เป็นชาย3,058คนหญิง3,054คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรและมี

อีกอาชีพหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นอาชีพที่สำคัญและเป็นที่รู้จักดีของ คนในอำเภอ

บ้านเขว้าและใกล้เคียงคือ รถยนต์โดยสารรับจ้าง และนอกจากนั้น จากการ

เปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำการเกษตรที่เดิม ใช้แรงงานคนและสัตว์

เป็นการใช้เครื่องจักร เช่น รถไถ ทำให้ประชาชนในพื้นที่บางกลุ่มที่มีเศรษฐา

นะดีได้ซื้อรถไถไว้ใช้ในครอบครัวและรับจ้างทั่วไป

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลุบโพธิ์

ตำบลตลาดแร้ง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 35

Page 36: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 36

แรงบันดาลใจในการพัฒนา/ จุดเริ่มต้น เมื่อปี พ.ศ. 2555 ทาง รพ.สต.หลุบโพธิ์ ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม

เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ตามนโยบาย GREEN & CLEAN จากศูนย์

อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ซึ่งหลังจากนั้น ทาง รพ.สต.ก็ได้นำแนวคิดที่ได้รับ

จากการประชุมชี้แจงมาปรับใช้ในสถานบริการ

วิธีการที่ทำให้สำเร็จ/กลวิธีการดำเนินงาน ได้มีการประชุมชี้แจงและหาแนวทางร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และ

บุคลากรในสถานบริการเพื่อให้รูปแบบการดำเนินงานได้ผลและมีประสิทธิภาพ

ซึ่งทาง รพ.สต.ได้เริ่มจากกิจกรรมง่ายๆ ที่สามารถทำให้ลดการใช้พลังงานใน

สถานบริการได้โดยเริ่มจาก

1. G:GARBAGEมีการแยกขยะติดเชื้อขยะทั่วไปและเพิ่มการใช้

ขยะรีไซเคิล ในส่วนของขยะติดชื้อเราได้ดำเนินการประสานกับโรงพยาบาล

บ้านเขว้าในการส่งทำลายขยะติดเชื้อเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานการทำลายขยะ

ติดเชื้อของงานควบคุมการแพร่กระจายเชื้อในสถานพยาบาล (IC) ส่วนขยะ

ทั่วไป ก่อนทิ้งจะมีการพิจารณาว่า ขยะนั้นสามารถนำนำกลับมาใช้ได้หรือไม่

ซึ่งหากสามารถนำกลับมาใช้ได้ ให้เก็บและนำกลับมาใช้ใหม่เช่น กระดาษหน้า

เดียว หรือ บางอย่างเราสามารถนำไปขายได้ ก็จะดำเนินการคัดแยกและจัด

เก็บไว้เพื่อจำหน่ายเช่น กระดาษที่ใช้

แล้วทั้งสองหน้าขวดน้ำพลาสติกกล่อง

กระดาษใส่ยา นอกจากจะช่วยลดขยะ

แล้วยังเป็นการเพิ่มรายได้ ได้อีกทาง

หนึ่งจะกำจัด

2. R:REST ROOMห้องน้ำ

ของรพ.สต.ทุกแห่งมีการปรับปรุงและ

ดูแลให้สะอาดน่าใช้ได้มาตรฐานHAS

Page 37: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 37

3. E : E NV I RONMENT

สถานที่ทำงาน ในปีนี้ทาง รพ.สต.ได้

พัฒนาให้มีการดำเนินงานตามหลัก 5 ส

เพื่อให้สถานที่ทำงานเป็นสถานที่ทำงาน

น่าอยู่น่าทำงาน และมีการจัดหาต้นไม้ที่

สามารถดูดซับกาซคาร์บอนไดออกไซด์

ไม้ประดับตกแต่งในอาคารเพื่อความ

สวยงามและลดโลกร้อนเช่นต้นจั๋ง

4. E:ENERGY การประหยัด

พลังงาน ทางเจ้าหน้าที่และบุคลากรทุก

ท่ าน ได้ ป ระชุ มพู ดคุ ยกั นถึ ง วิ ธี ก า ร

ประหยัดพลังงาน ที่หน่วยงานเราสามารถ

ทำได้ เช่น เปิดปิดเครื่องปรับอากาศเป็นเวลา

โดยกำหนดดังนี้ ช่วงเช้าเปิดเวลา 9.30 ปิด

11.30 ช่วงบ่าย เปิด 13.00 ปิด 16.00 หลัง

เลิกงานถอดปลั๊กไฟออกให้หมด ก่อนกลับ

บ้านเจ้าของห้องเดินสำรวจการถอดปลั๊ก ปิด

ไฟปิดพัดลมอีกครั้งเพื่อป้องกันการลืม

5. N:NUTRITION รับประทาน

อาหารสุขภาพ ซึ่งทาง รพ.สต.มีวัฒนธรรม

องค์กรในการทานอาหารเที่ยงร่วมกัน โดยอาหารกลางวันที่รับประทานจะเน้น

อาหารที่ดีต่อสุขภาพ และยังมีการปลุกพืชผักส่วนครัวเพื่อใช้ในการประกอบ

อาหารด้วย

Page 38: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 38

สิ่งที่ชื่นชอบ/ ประทับใจในการดำเนินงาน จากการปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนด ทำให้สถาน

บริการของ รพ.สต.หลุบโพธิ์ สามารถลดค่าใช้จ่ายด้าน

สาธารณูปโภคลดลง ร่วมทั้งประหยัดการใช้กระดาษ และ

จากการประเมินตนเอง ตามมาตรฐานสถานที่ทำงานน่าอยู่

น่าทำงานพบว่าผ่านเกณฑ์สถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงานใน

ระดับมาตรฐาน นอกจากนี้ทางรพ.สต.ยังได้เป็นตัวแทนของ

อำเภอบ้านเขว้าเข้าร่วมประกวดสุดยอดส้วมระดับจังหวัดผล

การประกวดได้รับรางวัลสุดยอดส้วมในสถานบริการ ระดับ

ยอดเยี่ยม

ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน ผลสำเร็จของการดำเนินงานในครั้งนี้มีปัจจัยมาจาก

การให้ความร่วมมือร่วมใจของ เจ้าหน้าที่และบุคลากรทุก

ท่านในสถานบริการที่ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการ

ดำเนินงานในครั้งนี้

Page 39: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 39

ต้นแบบโรงพยาบาลลดโลกร้อน

สู่ลดโรคร้าย อย่างยั่งยืน

การที่เราทำลดโลกร้อนในโรงพยาบาลนี้เราไม่ได้เห็นปัญหาหรือความ

สำคัญของแนวคิดนี้เลยจนกระทั่งเมื่อเราได้รับรู้ข่าวสารบ้านเมืองจากสื่อต่างๆ

อาทิเช่น วิทยุ โทรทัศน์หนังสือพิมพ์ และสื่ออื่นๆกรอกหูเราผ่านสายตาเรา

ทุกวันว่าทั่วโลกเขาได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องนี้แล้ว แต่เราอยู่ในระดับราก

หญ้ากลับเฉยเมยกับสิ่งที่เกิดขึ้น จนเราได้ประสบปัญญาโดยตรง บรรยากาศที่

ทำงาน ณ ขณะนั้นมันส่งผลต่อจิตใจ เนื่องจากอากาศร้อนอบอ้าวต้องติด

เครื่องปรับอากาศทำให้เปลืองค่าไฟฟ้า อีกทั้งบริเวณรอบๆ สถานบริการ

สกปรกมีขยะมูลมากมายส่งกลิ่นเหม็นค่าสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นทุกเดือนทุกปี

กลายเป็นปัญหาสถานบริการไม่น่าอยู่ ไม่น่าทำงาน ผู้มารับบริการก็มีปัญหา

เรื่องความเครียดต้องรับยา Diazepam ทั้งนี้ก็เนื่องจากปัญหาอุณหภูมิโลก

รพ.สต.โคกสูง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 39

Page 40: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 40

ร้อนและประกอบกับทางเทศบาลตำบล

โคกสูง ได้มีการจัดการขยะมูลฝอยแบบ

ครบวงจร ลดความเสี่ยงของโรคที่ติดต่อ

จากขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลต่างๆ เช่นโรค

ไข้เลือดออกท้องร่วง ไข้ฉี่หนู ฯลฯ และ

อีกอย่างที่สำคัญคือ ยังไม่มีหน่วยงานใด

ได้รณรงค์ลดโลกร้อนเลย เราจึงถือโอกาส

นี้จัดรณรงค์ให้เป็นต้นแบบที่ดีต่อหน่วยงานอื่นๆ และประชาชนทั่วไปได้ให้

ความสำคัญและตระหนักถึงการช่วยลดอุณหภูมิของโลกจึงได้จัดทำเรื่องนี้ขึ้น

ตั้งแต่ปีพ.ศ.2554เป็นต้นมา

ความคาดหวังของการดำเนินงานลดโลกร้อน สิ่งที่เราหวังว่าจะเกิดขึ้นกับเราก็คือการที่เราจะได้เป็นสถานบริการ

น่าอยู่น่าทำงานเป็นต้นแบบที่ดีในเรื่องการลดโลกร้อนไม่ว่าจะเป็นวิธีการลด

ใช้พลังงานโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ การใช้น้ำมันทอดซ้ำผลิตไบโอดีเซลการ

จัดการขยะครบวงจรลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อในชุมชน การปลูกผัก

สวนครัว ผักปลอดสารพิษ การใช้พืชสมุนไพรในสถานบริการ การมีส้วม

สาธารณะที่ได้มาตรฐานHASเปิดบริการ24ชั่วโมงในที่สุดเราก็เป็นจุดเรียน

รู้ศึกษาดูงานเรื่องการลดโลกร้อนอย่างยั่งยืน

วิธีการทำให้สู่ความสำเร็จ การทำงานให้สำเร็จจะต้องมีทีมงานที่

เข้มแข็ง เข้าใจสภาพปัญหา และร่วมพูดคุย

เสนอแนวทางแก้ไขหรือแนวทางการดำเนินการ

ลดโลกร้อนภายในพื้นที่ทั้งนี้ก็มีคณะทำงานตั้ง

แต่ระดับนายอำเภอ อาจารย์จากมหาวิทยาลัย

Page 41: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 41

ราชภัฏชัยภูมิ หัวหน้ากลุ่มงานอนามัยสิ่งแดล้อมจากสำนักงานสาธารณสุข

จังหวัดชัยภูมิ ร่วมกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล กำนัน อาสาสมัครสาธารณสุข

ประจำหมู่บ้านของเราได้นั่งจับเข่าคุยกันแลกเปลี่ยนแนวคิดประสบการณ์ในปี

พ.ศ.2555จนได้แนวทางและนำมาสู่ความสำเร็จที่เกิดขึ้นว่าการจะทำให้โลกมี

อุณหภูมิลดลงได้นั้นต้องใช้กลยุทธ์ GREEN & CLEAN และมาเปิดโครงการ

อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่26ธันวาคม2555ที่ผ่านมา

ปัจจัยความสำเร็จและ ความประทับใจในการดำเนินงาน ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมไม่ว่าจะเป็นนาย

อำเภอเมืองชัยภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ กำนัน

ผู้ ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำ

หมู่บ้านร่วมกันกำหนดพันธกิจและแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน และต้องมีความตั้งใจ

เข้าใจในแนวคิด วิธีการและประโยชน์ของเรื่องที่ทำ รวมถึงความรู้ ความ

สามารถความทุ่มเทเสียสละและความสามัคคีของผู้ปฏิบัติเอง

สิ่งที่ประทับใจของการดำเนินงาน 1. การได้เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินงานช่วยลดโลกร้อน

2. การได้รับรางวัลส้วมสาธารณะดีเด่น (HAS) ระดับจังหวัด จาก

การประยุกต์ใช้ฝ.33มาดัดแปลงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานลดโลกร้อน

3. ได้เป็นตัวแทนของจังหวัดในการนำเสนอในเครือข่ายบริการที่ 9

(นครชัยบุรินทร์)เรื่องการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันทอดซ้ำเป็นพลังงานทดแทน

4. มีหน่วยงานอื่นมาเรียนรู้ดูงานเรื่องการดำเนินงานลดโลกร้อน

อาทิเช่นเทศบาลตำบลชีลองเมื่อวันที่28มิถุนายน2556ที่ผ่านมา

Page 42: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 42

5. สามารถลดค่าไฟฟ้าได้เฉลี่ยเดือนละ132.91บาท/เดือน เปรียบ

เทียบในเดือนเดียวกันของปีงบประมาณ2555กับปีงบประมาณ2556

(ข้อมูลค่าไฟฟ้า ธ.ค.54 - มิ.ย.55 รวม 21,209.55 บาท กับข้อมูลค่าไฟฟ้า

ธ.ค.55 – มิ.ย.56 รวม 20,013.33 บาท)

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานนี ้ การได้เป็นแบบอย่างที่ดี ผู้ปฏิบัติ

หรือผู้เกี่ยวข้องในกิจกรรม ต้องเป็นแบบอย่าง

ที่ดีทั้งในด้านการเป็นบุคคลและการทุ่มเทเสีย

สละ และต้องทำงานโดยไม่คาดหวังกับผลงาน

เชิงปริมาณมากนัก เพราะผลงานที่ได้รับอาจ

จะมีทั้งในรูปแบบที่เห็นผลทันที และในบาง

ครั้งต้องอาศัยเวลา และค่อยเป็นค่อยไป

ตัวอย่างเช่น การดำเนินงานลดโลกร้อนนี้ ได้

เห็นและเข้าใจหลักการปฏิบัติของแนวทางการ

ลดโลกร้อนที่ถูกวิธี สามารถสร้างเครือข่ายการ

ลดโลกร้อนให้กับหน่วยงานอื่นได้ปฏิบัติตาม

ก้าวต่อไปในการดำเนินงานลดโลกร้อน 1. พัฒนาและขยายผลไปยังเครือข่ายหรือหน่วยงานอื่นๆ ให้ร่วมกัน

ดำเนินการลดโลกร้อน โดยเริ่มที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสียวซึ่ง

ประกวดชนะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดีเด่นระดับจังหวัด

2. ศึกษาค้นคว้าพัฒนาการดำเนินงานให้ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

3. ผลิตสเปรย์ตะไคร้หอมไล่ยุงควบคุมโรคไข้เลือดออก ผลิตเพื่อ

สร้างรายได้ภายในชุมชน

4. ผลิตเตาชีวมวลใช้ในสถานบริการและลงสู่ระดับครัวเรือน

ปลูกผักปลอดสารพิษในบริเวณ

สถานบริการ

Page 43: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 43

การคัดแยกขยะ

ส้วมประยุกต์จากถังเก็บน้ำฝ.33

จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ

Page 44: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 44

ใช้พลังงานทดแทนโซล่าเซลล์และไบโอดีเซล

พิธีเปิดโครงการลดโลกร้อน

ผลิตสมุนไพรตะไคร้หอมไล่ยุง

Page 45: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 45

การส่งเสริม เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ

เพื่อจัดการของเสียจากเศษอาหารในโรงพยาบาลคูเมือง

ความเป็นมา โรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง

บนเนื้อที่ 33 ไร่ มีบุคลากรทั้งหมด 174 คน มีผู้มารับบริการเป็นผู้ป่วยนอก

เฉลี่ย140คน/วันและผู้ป่วยในเฉลี่ย40คน/วันจึงทำให้ในแต่ละวันมีการใช้

พลังงานเป็นจำนวนมากและค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานก็สูง จึงมีแนวคิดจะใช้

พลังงานทดแทน จากการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้วในโรงพยาบาลและสามารถช่วย

โรงพยาบาลคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 45

Page 46: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 46

แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป เทคโนโลยีการบำบัดของเสียแบบไร้

อากาศ (AnaerobicDigestion) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่นำมาใช้การบำบัดของ

เสียอินทรีย์ที่ให้ก๊าซชีวภาพเป็นผลพลอยได้ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในรูป

พลังงานทดแทน และยังเป็นการช่วยบรรเทาการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน (GlobalWarming) จึงเกิดแนวคิด

ในการจัดการขยะของเสียที่แหล่งกำเนิด ซึ่งเป็นแนวคิดที่สำคัญในการส่งเสริม

ให้เกิดการจัดการของเสียเศษอาหาร ที่เป็นขยะอินทรีย์ดังกล่าว โดยใช้

เทคโนโลยีการบำบัดของเสียแบบไร้อากาศ(AnaerobicDigestion)นอกจาก

สามารถผลิตก๊าซชีวภาพมาใช้ประโยชน์ในรูปพลังงานทดแทนแล้ว ยังได้

ผลพลอยได้คือกากของเสียจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ ที่สามารถ

ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ อันจะเป็นการช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยใน

ปัจจุบันอีกทั้งเป็นการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

ความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น โรงพยาบาลคูเมือง มุ่งหวังจะพัฒนาสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้ร่วมลดโลก

ร้อนและการใช้พลังงานทดแทน เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้/เป็นแบบอย่างให้แก่

หน่วยงานอื่นๆและเผยแพร่สู่ประชาชน

วิธีการที่ทำให้สำเร็จ ผู้บริหารมีการกำหนดนโยบายที่

ชัดเจน การพัฒนาศักยภาพของทีมแกน

นำ ความร่วมมือจากบุคลากรทุกคนใน

หน่วยงานในการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วม

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างกลไกการขับ

เคลื่อนการดำเนินงาน และการทำงานด้วย

จิตอาสาสิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งความสำเร็จ

Page 47: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 47

อุปสรรค ขาดบุคลากรระดับปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ประจำในการดูแลระบบ

(การเติมเศษอาหาร การหมุนเวียนตะกอน) ปริมาณเศษอาหารของโรงอาหาร

โรงพยาบาลคูเมืองมีน้อยมีเพียงวันละ8-10กิโลกรัมทำให้ไม่เพียงพอต่อการ

เดินระบบอย่างเต็มประสิทธิภาพ

ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานและภาคีเครือข่าย ความสำเร็จของการดำเนินงานเป็นผลมาจากคณะผู้บริหารโรง

พยาบาลได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่

ทุกหน่วยบริการเป็นอย่างดี

ภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมเช่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโรงเรียน/

สถานศึกษาสถานประกอบการร้านอาหาร

สิ่งที่ประทับใจในการดำเนินงาน เป็นแบบอย่างที่ดีชี้ให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของความร่วมมือใน

การใช้พลังงานทดแทน และร่วมกันพัฒนาให้เห็นเป็นรูปธรรม โดยเน้นการใช้

ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดก่อนทิ้งไปเป็นขยะ อีกทั้งให้ความ

สำคัญต่อการประหยัดพลังงานมีมาตรการและการปฏิบัติอย่างจริงจัง

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน 1. บุคลากรเกิดความตื่นตัวมีการทำงานเป็นทีม มีจิตสำนึกและเกิด

การมีส่วนร่วมพร้อมให้ความร่วมมือในการลดการใช้พลังงานและการนำสิ่ง

เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ เป็นการลดผลกระทบจากขยะในสิ่งแวดล้อมที่

ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

Page 48: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 48

2. ได้แนวทางและข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบการจัดการขยะฯ

ในศูนย์เรียนรู้การจัดการของเสียไปประยุกต์ใช้ได้จริงในองค์กรครัวเรือนและ

ถ่ายทอดให้ภาคีเครือข่าย

3. การใช้ประโยชน์ด้านพลังงานที่ได้รับจากก๊าซชีวภาพ และระบบ

ผลิตก๊าซชีวภาพยังมีผลพลอยได้อื่นๆ อีกมากมาย ได้แก่ การช่วยลดการเน่า

เสียของแหล่งน้ำธรรมชาติ ลดปัญหากลิ่นเหม็นหรือการลดค่าใช้จ่ายใน การ

บำบัดน้ำเสียลดพื้นบ่อเปิดลดการใช้พลังงานในระบบเติมอากาศเป็นต้นรวม

ถึงได้ประโยชน์ในรูปปุ๋ยอินทรีย์

4. การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ และการหาวิธีในการแก้ไขปัญหา

ต่างๆในการดำเนินงาน

ก้าวต่อไปให้ยั่งยืน พัฒนางานอนามัย

สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม แ ล ะ ก า ร

สุขาภิบาลอย่างยั่งยืนให้กับ

องค์กรปกครองส่วนท้อง

ถิ่นและภาคีเครือข่ายขยาย

ผ ล สู่ ชุ ม ช น แ ล ะ ส ถ า น

ประกอบการ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำขยะเศษอาหารที่ได้จากการดำเนิน

กิจกรรมต่างๆ ของครัวเรือนและสถานประกอบการ เป็นการช่วยลดปริมาณ

ขยะ และลดการเน่าเสียของแหล่งน้ำธรรมชาติ ลดปัญหากลิ่นเหม็นหรือ

แมลงวัน

Page 49: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 49

การดำเนินกิจกรรม

ผักปลอดสารพิษ และตลาดนัดสีเขียว

ในโรงพยาบาล

แรงบันดาลใจในการพัฒนา/จุดเริ่มต้น : การปลูกผักปลอดสารพิษและพืชสมุนไพร : เริ่มต้นจากผู้จัดการขยะ

(เป็นคนสวนด้วย)ของโรงพยาบาลนอกเหนือจากหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ดำเนิน

การปลูกพืชผักสวนครัว สมุนไพร และเพาะชำกล้าไม้ในบริเวณพื้นที่สำนักงาน

ขยะ ซึ่งผลผลิตที่ออกมาสามารถนำมารับประทานและนำมาจำหน่ายได้

ประกอบกับโรงพยาบาลได้ดำเนินการในเรื่องของกิจกรรมGREEN จึงได้ลงไป

โรงพยาบาลกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 49

Page 50: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 50

สนับสนุนและส่งเสริมให้เป็นรูปธรรม

มากขึ้นโดยการสนับสนุนในเรื่องของ

เมล็ดผักและกล้าไม้ต่างๆรวมทั้งการจัด

กิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัวและสมุน

ไพรในวันแม่ของทุกปี และจากการที่โรง

พยาบาลกระสังได้ไปศึกษาดูงานโรง

พยาบาลลดโลกร้อนที่ โรงพยาบาล

ปราสาท จึงได้แนวคิดที่จะก่อตั้งตลาด

นัดสี เขียวในโรงพยาบาลเพราะโรง

พยาบาลกระสังมีผลผลิตที่ได้จากการ

ปลูกผักปลอดสารพิษในโรงพยาบาล

และได้ประสานงานกับชมรมจิตอาสา

มิตรภาพบำบัดในการนำผักปลอดสาร

พิษมาจำหน่าย

ความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น/สิ่งที่เกิดขึ้นจริง : 1. การปลูกผักปลอดสารพิษและพืชสมุนไพร :อยากให้เจ้าหน้าที่ใน

โรงพยาบาลช่วยกันปลูกและช่วยกันดูแลแปลงผักและอยากขยายพื้นที่การ

ปลูกไปยังด้านหลังแฟลต แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง คือ เจ้าหน้าที่ไม่ให้ความร่วมมือ

เนื่องจากภาระงานที่มีมากจึงทำให้การ

ขยายพื้นที่การปลูกยังทำไม่สำเร็จ

2. ตลาดนัดสีเขียว : อยากให้มี

การจำหน่ายผักปลอดสารพิษเป็นประจำ

ทุกวันและผักที่นำมาจำหน่ายมีความ

หลากหลายสิ่งที่เกิดขึ้นคือยังไม่สามารถ

Page 51: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 51

นำผักมาจำหน่ายได้ทุกวันแต่มีการจำหน่ายสัปดาห์ละ 2 วัน (อังคารและ

วันพฤหัสบดี)

3. การผลิตน้ำคลอโรฟิลล์ :อยากให้นำสมุนไพรและผักที่ปลูกในโรง

พยาบาลมาทำน้ำคลอโรฟิลล์และบริการให้กับผู้มารับบริการและเจ้าหน้าที่ของ

โรงพยาบาลซึ่งได้รับความร่วมมือจาก

คลินิกแพทย์ทางเลือก (วิถีธรรม) เป็น

อย่างดี

วิธีการที่ทำให้สำเร็จ ปัญหาและอุปสรรค และแนวทางแก้ไข : 1. การปลู กผั กปลอด

สารพิษและพืชสมุนไพร : จาก

ความคาดหวังข้างต้น ตอนนี้โรง

พยาบาลก็ยั ง ไม่ สามารถทำให้

ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งผู้ดำเนิน

งานพยายามหาเครือข่ายในการเข้า

ม า มี ส่ ว น ร่ ว ม แ ล ะ ส ร้ า ง ค ว า ม

ตระหนักให้กับเจ้าหน้าที่ต่อไป

2. ตลาดนัดสีเขียว : ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น คือ ผักที่นำมา

จำหน่ายไม่สามารถจำหน่ายได้หมดภายในวันเดียว ทำให้ผักเน่าเสียดังนั้นจึง

แก้ไขโดยการลดปริมาณผักแต่ละชนิดแต่เพิ่มชนิดของผักให้มีความหลากหลาย

3. การผลิตน้ำคลอโรฟิลล์ : ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น คือ สมุน

ไพรและผักที่นำมาผลิตน้ำคลอโรฟิลล์ไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงได้มีการปลูกพืชเพิ่ม

ขึ้นและปลูกอย่างต่อเนื่อง

Page 52: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 52

ภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วม ให้เกิดความสำเร็จ : คลินิกแพทย์ทางเลือก (วิถีธรรม)

และชมรมจิตอาสามิตรภาพบำบัดอำเภอ

กระสังจังหวัดบุรีรัมย์

ปัจจัยความสำเร็จ ในการดำเนินงาน : ความร่วมมือกันระหว่างภาคี

เครือข่ายและความรักในสิ่งที่ทำ

สิ่งที่ชื่นชอบ/ประทับใจ ในการดำเนินงาน : รู้สึกภูมิใจเมื่อเห็นผลผลิตออกมาโดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์และ

สามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริมได้

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานนี้ : ผลงานที่มีคุณค่าและมีประสิทธิภาพย่อมเกิดมาจากความรัก ความ

ทุ่มเทและความใส่ใจในสิ่งที่ทำ

ก้าวต่อไปให้ยั่งยืน จะทำอย่างไรต่อไป : ดำเนินการตามที่ได้ปฏิบัติมาและพัฒนาในเรื่องของความร่วมมือใน

การดำเนินการต่อไป

Page 53: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 53

รวมใจ ลดภัย สู้โลกร้อน

แรงบันดาลใจในการพัฒนา/จุดเริ่มต้น ภาวะโลกร้อน เกิดจากภาวะที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเพราะมีปริมาณ

ของก๊าซบางชนิดมากเกินสมดุลของธรรมชาติอันเป็นผลมาจากฝีมือมนุษย์ ซึ่ง

เรียกว่าก๊าซเรือนกระจก greenhouse gasses ทำให้โลกต้องเผชิญกับการ

เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซ

เรือนกระจก ทำให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

โดยสร้างความตะหนักต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกล่าม

อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 53

Page 54: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 54

กระทรวงสาธารณสุขดำเนินกิจกรรมเพื่อลดภาวะโลกร้อนด้วยการลด

กระบวนการที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกภายในสถานบริการสาธารณสุข

โครงการสาธารณสุขรวมใจ รณรงค์ลดโลกร้อนด้วยการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืน

และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาจนนำไปสู่การเป็นต้น

แบบลดโลกร้อน และในชุมชนของสถานบริการได้มีการตั้งกลุ่มอีโต้น้อยขึ้น

โดยแกนนำของปราชญ์ชาวบ้าน พ่อผาย สร้อยสระกลาง มีวัตถุประสงค์ให้

ชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้อย่างรอบด้าน และใช้หลักเกษตรพอเพียง

การเกษตรทฤษฎีใหม่ เน้นกระบวนการปลอดสารพิษ สารเคมี มีการทำ

ผลิตภัณฑ์ใช้เองจากวัสดุธรรมชาติ ลดการใช้พลังงาน และมีการทำน้ำหมัก

จุลินทรีย์ใช้ในครัวเรือน ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกล่ามจึงสนใจ

ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเรียนรู้การทำน้ำหมักจุลินทรีย์ การทำปุ๋ยหมักจากขยะ

อินทรีย์ และเรียนรู้แนวทางการประหยัดพลังงานเพื่อนำกลับมาใช้ และเผย

แพร่ในสถานบริการต่อไป

ความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น/สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ■ เพื่อให้บุคลากรและผู้รับบริการเกิดการรับรู้และตระหนักในการ

ร่วมรณรงค์ลดโลกร้อนและมีพฤติกรรมลดโลกร้อน

■ เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกการลดโลกร้อน

■ เพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินการลดโลกร้อน

■ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาจนนำไปสู่การเป็นต้นแบบลดโลกร้อน

วิธีการที่ทำให้สำเร็จ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคที่มี และท่านได้แก้ไขปัญหาอุปสรรคนั้นอย่างไร ในการดำเนินงานลดโลกร้อนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

โคกล่ามนั้น เน้นการมีส่วนร่วมของทุกคน โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการ

Page 55: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 55

ดำเนินงานขึ้นเพื่อเป็นแกนนำหลักในการดำเนินงานมีการประชุมในหน่วยงาน

เพื่อชี้แจงแนวทางการทำงานและแนวทางปฏิบัติเพื่อเป็นการสื่อสารให้แก่

บุคลากรในหน่วยงานทราบ นอกจากนี้การดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุข

ภาพตำบลลดโลกร้อน ยังสามารถที่จะบูรณาการร่วมกับงานพัฒนาคุณภาพ

อื่นๆ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด้วย เช่น PCA งานอาชีวอนามัย

และความปลอดภัย กิจกรรม 5 ส เป็นต้น ซึ่งถ้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

ตำบลทำงานพัฒนาคุณภาพเหล่านี้อยู่แล้วก็สามารถทำให้ง่ายต่อการดำเนิน

งานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลดโลกร้อนด้วย

ปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานจะต้องอาศัย

งบประมาณ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของ

การดำเนินงาน นอกจากนี้แนวทาง

ปฏิบัติต้องชัดเจนต้องมีการติดตาม

ตรวจสอบและมีการสื่อสารกันให้

หน่วยงานทราบเสมอเพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติไปในทางเดียวกัน การแก้ไข

บัญหาเรื่องงบประมาณได้ประสานงานกับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับ

ท้องถิ่นเพื่อเสนอแผนงานโครงการเพื่อของบประมาณ

ภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมให้เกิดความสำเร็จ กลุ่มอีโต้น้อยโดยแกนนำของปราชญ์ชาวบ้าน

ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ การมีทีมงานที่ดีและเข้มแข็ง มีการสื่อสาร

กันในหน่วยงาน การมีส่วนร่วมของทุกๆ คน และมีการดำเนินงานโดยบูรณา

การไปพร้อมกับงานพัฒนาคุณภาพอื่นๆของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Page 56: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 56

สิ่งที่ชื่นชอบ/ประทับใจในการดำเนินงาน เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้ความสนใจใน

กิจกรรมและมีจิตสำนึกในการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม สามารถลดรายจ่าย

ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการผลิตน้ำยาทำความสะอาด

ห้องน้ำจากน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพลดการซื้อผลิตภัณฑ์เคมีทำความสะอาด

สภาพแวดล้อมภายในโรงพยาบาลสะอาด ร่มรื่น เจ้าหน้าที่ช่วยกัน

ปฏิบัติตามมาตรการลดการใช้พลังงานตามนโยบายที่กำหนด ทำให้โรง

พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวยงามน่าอยู่น่าทำงาน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานนี้ ■ ช่วยสร้างแนวทางใหม่เพื่อริเริ่ม

งานไปสู่งานอาชีพ

■ สร้างเสริมประสบการณ์ปฏิบัติ

จริงส่งผลให้เกิดความเข้าใจอย่างซาบซึ้ง

■ ก่อให้เกิดความรู้ทางวิชาการที่

กว้างขวางขึ้น

■ การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ความรู้ ผลงานของโครงการลด

โลกร้อนที่สำเร็จไปสู่ชุมชน

■ ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน

ก้าวต่อไปให้ยั่งยืน จะทำอะไรต่อไป ■ ทำปุ๋ยหมักจากขยะใบไม้และเศษหญ้า และใช้ปุ๋ยชีวภาพจากขยะ

อินทรีย์ดำเนินการต่อเนื่อง

■ ทำน้ำหมักชีวภาพดำเนินการต่อเนื่อง

■ ติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า

■ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ที่สวนสมุนไพร

Page 57: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 57

โรงพยาบาล เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

(Environmentally Friendly Hospital)

แรงบันดาลใจในการพัฒนา/จุดเริ่มต้น การที่โรงพยาบาลต้องเสียค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้ นอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับ

พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ไม่ตระหนักและไม่เห็นความสำคัญในการประหยัด

พลังงาน การเกิดภาวะโลกร้อนจนส่งผลกระทบทั้ง ด้านภูมิอากาศ สุขภาพ

อนามัยและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานของรัฐควรแสดงบทบาทถึงความรับผิด

ชอบต่อสังคมเพิ่มขึ้นที่นอกเหนือจากการบริการตามภารกิจหลัก รวมทั้งควรมี

พฤติกรรมต้นแบบในด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่ประชาชน

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 57

โรงพยาบาลปราสาท อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

Page 58: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 58

ความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น/สิ่งที่เกิดขึ้นจริง เจ้าหน้าที่ควรมีความรู้ความเข้าใจสาเหตุที่

ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ผลกระทบที่ได้รับ และ

ป้องกันหรือร่วมกันลดการเกิดภาวะโลกร้อนในด้าน

ต่างๆ รวมทั้งโรงพยาบาลควรมีการจัดการมูลฝอยที่

มีประสิทธิภาพ สถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน มี

ส้วมผ่าน HAS เป็นต้นแบบ และเป็นแหล่ง

เรียนรู้แก่ประชาชน

วิธีการที่ทำให้สำเร็จ ตลอดจน ปัญหาอุปสรรคที่มี และท่านได้ แก้ไขปัญหาอุปสรรคนั้นอย่างไร ■ กำหนดเป็นนโยบายของโรงพยาบาลจัดทำเป็นแผนงานโครงการ

พร้อมตัวชี้วัด

■ ปลูกจิตสำนึกให้เจ้าหน้าที่ได้รับความรู้เรื่องภาวะโลกร้อน สาเหตุ

ผลกระทบและการป้องกัน

■ จัดพิธีปฏิญญาร่วมใจลดโลกร้อนเจ้าหน้าที่ 100%พร้อมพิธีปลูก

ต้นไม้เป็นสักขีพยานคนละ1ต้นในโรงพยาบาล

■ นำมาตรฐาน HAS, 5ส., Healthy Workplace, Hospital

WasteManagement,GREEN&CLEANHospital,โรงพยาบาลปลอดสาร

ปรอท และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาปฏิบัติ จัดให้มีโปรแกรมความเสี่ยงรองรับเพื่อ

นำไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

■ จัดตั้งคณะทำงาน และมีผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน เช่น คณะ

ทำงานโรงพยาบาลเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยหัวหน้าหน่วยทั้งหมด

แบ่งเป็น6ทีมคือไฟฟ้าน้ำมันเชื้อเพลิงขยะวัสดุงานบ้านน้ำประปาและ

อาหารปลอดสารพิษ

Page 59: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 59

■ นำแนวคิดหัวหน้าพาทำมาดำเนินการ และ ส่งเสริมการมีส่วน

ร่วมของผู้ปฏิบัติอย่างเต็มที่

■ จัดทำฐานการเรียนรู้โรงพยาบาลลดโลกร้อนแก่ผู้สนใจ และ

สำหรับปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่ทุกคน

■ นำกิจกรรมที่ เกิดขึ้นมาคำนวณตามหลักการของ Carbon

Footprintเพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานและนำมาปรับปรุง

■ การติดตามประเมินผลให้คำแนะนำ

แก้ไขปัญหาอุปสรรค ประสานงาน ช่วยเหลือ

อย่างใกล้ชิด และทันท่วงที อย่าปล่อยให้ผู้ปฏิบัติ

อยู่กับปัญหาอุปสรรคนานเกินไป

■ สนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอ

■ รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนิน

งาน และปัญหาอุปสรรคในการประชุมคณะ

กรรมการบริหารโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้

ทุกคนได้รับทราบความเคลื่อนไหว

■ สร้างแรงจูงใจ ให้รางวัล นำเงินขาย

มูลฝอยรีไซเคิลมาซื้อทองให้จับฉลากในวันปีใหม่

■ จัดกิจกรรมให้มีความต่อเนื่อง เช่น

การตรวจประเมินภายใน จัดให้มีตลาดนัดสีเขียวใน

โรงพยาบาลทุกวันพุธ ให้เจ้าหน้าที่สวมเสื้อลดโลกร้อนทุกวันพุธ โครงการ

ต้นไม้ต้นแรกของหนู(มอบต้นไม้ให้ทารกแรกคลอด)เป็นต้น

ภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมให้เกิดความสำเร็จ ■ ได้รับการสนับสนุนด้านเอกสาร คำแนะนำ และกำลังใจ จาก

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา และกรม

อนามัยกระทรวงสาธารณสุข

Page 60: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 60

■ ความตระหนักในหน้าที่และความร่วมแรงร่วมใจของโรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่ง ที่ประสานเชื่อมโยงนำแนวคิด รูปแบบ และวิธี

การไปปรับใช้รวมทั้งได้รับการสนับสนุนทรัพยากรจากโรงพยาบาล จึงเกิด

ความสำเร็จในภาพรวม

ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน

■ ผู้บริหารสูงสุด เห็นความสำคัญ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ให้

คำแนะนำและร่วมเป็นกำลังใจ

■ หัวหน้างานและผู้ปฏิบัติให้ความร่วมมือ

■ การแก้ไขปัญหาอุปสรรคอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์

■ การสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอ

สิ่งที่ชื่นชอบ/ประทับใจ ในการดำเนินงาน โรงพยาบาลมีระบบการจัดการ

มูลฝอยที่ดีขึ้น มีรายได้จากธนาคาร

มูลฝอย สิ่งแวดล้อมสะอาดเป็นระเบียบ

เรียบร้อยด้วย 5ส. ห้องน้ำสะอาดตามมาตรฐาน HAS, เจ้าหน้าที่มีความรู้

ความตระหนัก และมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทั้งในที่ทำงานและที่

บ้าน ผู้รับบริการชื่นชมในความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสิ่ง

แวดล้อมในโรงพยาบาล

ก้าวย่างต่อไปอย่างยั่งยืน เป็นอย่างไร การสือ่สารถงึประชาชนและองคก์รปกครองสว่นทอ้งถิน่การใหค้ำแนะนำ

ชว่ยเหลอืและสนบัสนนุชมุชนใหเ้ปน็ตน้แบบเพือ่ขยายผลอยา่งไมม่ทีีส่ิน้สดุ

Page 61: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 61

สาธารณสุขรวมใจ รณรงค์ลดโลกร้อน ภายใต้กิจกรรม GREEN

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะอาด ตั้งอยู่บ้านโคกสะอาด

หมู่ที่1ตำบลโคกสะอาดอำเภอปราสาทจังหวัดสุรินทร์มีพื้นที่5ไร่2งาน

79 ตารางวา ปัจจุบันมีบุคลากร 6 คน เป็นข้าราชการ 2 คน และลูกจ้าง

ชั่วคราวที่ปฏิบัติงานประจำ4คน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะอาด

อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 61

Page 62: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 62

ความเป็นมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

โคกสะอาด เปิดบริการตั้งแต่ปี 2527 เป็น

อาคารขั้นเดียว ตั้งอยู่กลางพื้นที่ เดิมเป็น

ที่ดินว่างเปล่า แทบไม่มีต้นไม้ เมื่อปี 2529

ได้มีการขุดสระน้ำด้านหน้าอาคาร มี

พื้นที่ 1 ไร่ ลึก 4 เมตร จากหน่วย

พัฒนาการเคลื่อนที่ 54 สุรินทร์ ทำให้

อาคารตั้งอยู่บนขอบสระ ซึ่งจำเป็นจะ

ต้องปรับปรุงอย่างมาก ต่อมาเมื่อ

ปีงบประมาณ 2541 ได้งบประมาณ

ก่อสร้างอาคารทดแทนแบบคอนกรีต 2

ชั้น บนพื้นที่เดิม หลังจากนั้นได้ปรับปรุง

แบบค่อยเป็นค่อยไปโดยขอการสนับสนุน

ของชุมชน ร่วมกับงบประมาณของโรง

พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะอาด

โดยใช้กลยุทธการทำบุญประจำปี ในช่วง

เดือนมกราคม เพื่อให้ชุมชนร่วมสมทบทุน

พัฒนา โดยลำดับแรกปรับปรุงขอบสระน้ำ

ต่อมา เป็นถนนลาดยางภายใน ทำสวนหย่อม ทำป้ายชื่อสถานบริการ ทำรั้ว

ลวดหนามและประตู ทำที่พักผู้รับบริการด้านหน้าอาคารทั้ง 2 ด้านและด้าน

หลังอาคารโดยใช้เวลาประมาณ10ปีจนกระทั่งปีงบประมาณ2550–2552

ประเมินสถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน ได้ระดับทอง และ ในปี 2553 ได้โล่

รางวัลสถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงานระดับทอง3ปีติดต่อกัน

Page 63: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 63

การดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขรวมใจลดโลกร้อนภายใต้กิจกรรม GREEN จุดเริ่มต้น เมื่อวันที่ 27 เดือนพฤษภาคมพ.ศ.2553 โรงพยาบาลส่ง

เสริมสุขภาพตำบลโคกสะอาด ซึ่งเป็นเครือข่ายของโรงพยาบาลชุมชนปราสาท

ได้สมัครเข้าร่วมโครงการสาธารณสุขรวมใจรณรงค์ลดโลกร้อนด้วยสุขาภิบาล

แบบยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายใต้กิจกรรม GREEN และกลยุทธ์

CLEAN ได้ไปศึกษาดูงาน การดำเนินงานลดภาวะโลกร้อน ที่ศูนย์อนามัยที่ 5

นครราชสีมา และที่ศูนย์รวมตะวัน จังหวัดกาญจนบุรี หลังจากนั้น ได้ปรับ

กิจกรรมการดำเนินงาน เพื่อให้เข้ากับการดำเนินงานลดภาวะโลกร้อนภายใต้

กิจกรรม GREEN และได้รับการประเมิน จากกรมอนามัยและได้ป้าย สถาน

บริการสาธารณสุขรวมใจร่วมลดโลกร้อนในเดือนกรกฎาคม2553

ในปีงบประมาณ 2554 โรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะอาด ได้ส่งบุคคลา

กรเข้ารับการอบรมผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ด้าน

การนวดไทย เพื่อให้บริการนวด อบ ประคบ

สมุนไพร แต่ขาดอาคารสถานที่ ดังนั้นในช่วง

เดือนมกราคม 2554 จึงได้จัดกิจกรรมทำบุญ

ประจำปี เพื่อระดมทุนสร้างอาคาร

เรือนไทย ที่สวนหย่อมด้านข้างอาคาร

โดยใช้แนวคิดการลดโลกร้อน ลดการใช้

พลังงาน ในการจัดสร้างและแล้วเสร็จ

ในเดือนเมษายน 2554 แต่ต้องเลื่อน

เปิดใช้อาคารออกไป เนื่องจากเกิด

เหตุการณ์สู้รบกับประเทศเพื่อนบ้าน

โดยรพ.สต.โคกสะอาดถูกใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม

ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงเปิดใช้อาคารเมื่อต้นปีงบประมาณ2555

Page 64: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 64

ใน ปี 2555 โรงพยาบาลส่งเสริมสุข

ภาพตำบลโคกสะอาด ได้ดำเนินการสร้าง

ห้องน้ำสาธารณะใหม่โดยใช้แนวคิดการลด

โลกร้อนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สวนหย่อม

อีกด้านหนึ่งของอาคารสำหรับผู้พิการผู้สูง

อายุ สตรีมีครรภ์ และห้องน้ำชาย หญิง

โดยการสนับสนุนงบประมาณแบบชุมชนมี

ส่วนร่วม นอกจากนี้ยังได้ปลูกพืชผักสวน

ครัวและสมุนไพรที่ข้างรั้วด้วย

Page 65: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 65

วิธีการดำเนินงาน กิจกรรมสาธารณสุขรวมใจรวมลดโลกร้อนภายใต้กิจกรรม GREEN

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะอาดอำเภอปราสาทจังหวัดสุรินทร์

หลังจากได้รับการดูงานและการเรียนรู้กิจกรรมลดภาวะโลกร้อน ได้ส่งบุคคลา

กรทั้งหมดไปเรียนรู้กิจกรรมเพิ่มเติมที่โรงพยาบาลชุมชนปราสาท จังหวัด

สุรินทร์แล้วร่วมกันปรับกิจกรรมการดำเนินงานเพื่อให้เข้ากับกิจกรรมการลด

ภาวะโลกร้อนGREENดังนี้

G Garbage การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล มีการคัดแยกขยะ

ใช้หลักการกำจัดขยะมูลฝอย1A3RsคือAvoidหลีกเลี่ยงละเลิกการใช้เช่น

ใช้สมุนไพรคือใบเตยตะไคร่หอมมะกรูดน้ำยาปรับกลิ่นการใช้มะกรูดแทน

น้ำยาถูพื้นReduceการลดการใช้ลดการสร้างคือการนำน้ำที่ใช้แล้วน้ำที่ใช้

ล้างมือต่อท่อมารดต้นไม้พืชสมุนไพร การนำผ้าใช้แล้วเช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าห่อ

นึ่งมาทำเป็นผ้าเช็ดมือการจัดหาวัสดุที่มีขนาดบรรจุใหญ่เป็นต้นReuseการ

ใช้ซ้ำ ได้ทำผ้าเช็ดมือที่ทำจากผ้าปู ผ้าห่อนึ่งที่ใช้แล้วมาซักนำกลับมาใช้ซ้ำใหม่

การนำตอไม้แทนกระถางต้นไม้ เป็นต้น Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้

กระดาษใช้แล้วให้ครบ2หน้ากระดาษประเภทกล่องลังขวดแยกไว้ขาย

ประเภทขยะที่มีใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะอาด

ประกอบด้วย4ประเภทดังนี้

1. ขยะทั่วไป เช่น เศษอาหาร ได้นำไปใช้

เลี้ยงปลาในสระน้ำส่วนใบไม้ เศษพืชสดหญ้านำไป

ฝังและทำปุ๋ยหมัก

2. ขยะรีไซเคิล กระดาษ ลังและ

สิ่งของประเภทกระดาษ ขวดพลาสติก ขวดยา

ขวดแก้วกระดาษ ใช้แล้ว หน้าเดียวจะนำกลับ

มาใช้ใหม่และรวบรวมไว้ขาย

Page 66: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 66

3. ขยะติดเชื้อ ประเภท น้ำ กำจัดโดยวิธีการ

เทลงส้วมประเภทผ้าก๊อซสำลีและของมีคมรวบรวมส่ง

ทำลายที่โรงพยาบาลชุมชนปราสาท

4. ขยะอันตราย เช่น ถ่ายไฟฉาย หลอดไฟฟ้า

รวบรวมส่งทำลายที่โรงพยาบาลชุมชนปราสาท

R Rest room คือการพัฒนาส้วมใน

สถานบริการสาธารณสุขให้ได้มาตรฐานส้วม

สาธารณะไทย(HAS)

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคก

สะอาด ได้ผ่านการประเมินมาตรฐานส้วม

สาธารณะไทย (HAS) คือ Healthy ความ

สะอาด Accessibility ความเพียงพอ และ

Safety ความปลอดภัย ตั้งแต่ปี 2549 ต่อ

มาเมื่อปี 2555 ได้ดำเนินการสร้างห้องน้ำ

สาธารณะสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ สตรีมี

ครรภ์และห้องน้ำชาย หญิง หลังใหม่กลาง

สวนหย่อม ใช้แนวคิดการลดภาวะโลกร้อน ลด

การใช้พลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม น้ำทิ้ง

จากการล้างมือใช้รดต้นใบเตยตะไคร้หอมแล้ว

ใช้ใบเตยและตะไคร้หอม ปรับกลิ่นในห้องน้ำ

Page 67: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 67

และไล่ยุงงบประมาณก่อสร้างได้จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์โรง

พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะอาดและจากการสมทบทุนของชุมชน

เพื่อรองรับการใช้บริการและเป็นห้องส้วมตัวอย่าง

แก่ชุมชน

E Energy คือการลดกิจกรรมการใช้

พลังงานหรือมีการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตร

กับสิ่งแวดล้อม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

โคกสะอาด ได้ดำเนินการปรับปรุงบริบท

เพื่อประหยัดพลังงาน เริ่มจากการจัดทำ

มาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้าน้ำประปา

โทรศัพท์ เพื่อเตือนและสร้างจิตสำนึกใน

การประหยัดพลังงานแก่บุคลากร การติด

ตั้งเบรกเกอร์ในจุดที่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็น

จำนวนมาก เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็น

แบบประหยัดพลังงาน และถอด

หลอดไฟฟ้าที่เกินความจำเป็นออก

นอกจากนี้ยังได้จัดทำแผนการปฏิบัติ

ง าน ในพื้ นที่ แ ละนอกพื้ นที่ เ พื่ อ

ประหยัดพลังงานน้ำมันเชื้อเพลิง

และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมใน

และนอกอาคารเพื่อลดการใช้พลังงาน

E Enviroment คือการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ช่วย

ลดโลกร้อนและการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะอาด ได้พัฒนาปรับปรุงสิ่ง

แวดล้อมที่ช่วยลดโลกร้อนและเป็นสถานบริการที่น่าอยู่น่าทำงานและน่าใช้

Page 68: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 68

บริการโดยใช้หลักการเพิ่มพื้นที่สีเขียวแก่พื้นที่ทั้งด้านในอาคารและด้านนอก

อาคาร โดยเฉพาะด้านนอกอาคารมีการจัดแบ่งพื้นที่ เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุด

ดังนี้ คือ พื้นที่สวนหย่อม พื้นที่ปลูกต้นไม้ยืนต้น พื้นที่ปลูกสมุนไพร พื้นที่

สนามหญ้าจัดกิจกรรมพื้นที่ปลูกผักสวนครัวพื้นที่สำหรับเป็นที่พักผู้รับบริการ

และพื้นที่สระน้ำนอกจากนี้ยังปลูกต้นไม้เป็นรั้วด้วยเพื่อให้อากาศเย็นลงลด

การใช้พัดลม ปรับอากาศ โดยการปลูกต้นไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ยืนต้น พืช

ผักสมุนไพรสวนหย่อมและปรับปรุงทั้งนอกและในสถานบริการดังนี้

ด้านในอาคาร โดย เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อให้มีอากาศเย็นสบาย ลด

การใช้พัดลมปรับอากาศ การใช้ม่านโปร่งแสง ใช้ม่าน

โปร่งแสงสีอ่อน เพื่อให้มีแสงสว่างเพียงพอในการ

ทำงาน จัดกิจกรรม 5 ส. เพื่อให้สถานบริการมีความ

เป็นระเบียบสะอาดสะดวกต่อผู้ให้และผู้รับบริการ

ด้านนอกอาคาร ได้ จัดสร้างที่พักผู้รับบริการด้านหน้าอาคาร โดย

การใช้วัสดุธรรมชาติ จากไม้ที่ชาวบ้านไม้ใช้งานและปลูกต้นเลื้อย เป็นหลังคา

บังแดด เพื่อลดแสงแดดกระทบอาคาร ทำให้อากาศภายในอาคารเย็นลง ลด

การใช้พัดลมปรับอากาศจัดพื้นที่ปลูกสมุนไพรด้านหน้าที่พักผู้รับบริการ เพื่อ

เป็นศูนย์สาธิตสมุนไพรไทย ทำที่พักผู้รับการด้านหลังอาคาร โดยการใช้วัสดุ

ธรรมชาติ จากไม้ที่ชาวบ้านไม่ใช้งาน และปลูกต้นการเวก เป็นหลังคาบังแดด

เพื่อลดแสงแดดกระทบอาคาร นอกจากนี้ยังนำวัสดุเหลือใช้มาประดับเช่น

การนำตอไม้/ไม้รู ที่เหลือใช้งานมาทำเป็นกระถางปลูกต้นไม้ จะช่วยให้นำ

Page 69: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 69

สิ่งของเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ จะลดภาวะโลกร้อน จากการที่ชาวบ้านนำไม้

เหล่านี้ไปเผาถ่าน และจะทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะอาด

ลดค่าใช้จ่ายอีกทางหนึ่งด้วย ปรับปรุงสระน้ำ โดยปรับปรุงขอบสระเป็นหินทิ้ง

สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้เลี้ยงปลาและรดต้นไม้ได้ตลอดปี เพิ่มพื้นที่สีเขียวโดย

ปลูกต้นไม้ยืนต้นที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น ประดู่

มะพร้าวกระโดนมะม่วงมาขาม ไม้สัก โดยเฉพาะขี้

เหล็ก ประชาชนสามารถนำไปเป็นอาหารได้ตลอดปี

จัดทำสวนหย่อมปลูกต้นไม้เป็นรั้ว

N Nutrition คือการรณรงค์อาหารปลอดสารพิษรณรงค์พักพื้นเมือง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะอาด ได้ดำเนินกิจกรรมด้าน

การส่งเสริมและเป็นตัวอย่างด้านอาหารปลอดสารพิษ ผักพื้นบ้าน อาหารพื้น

เมือง มาเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากมีพื้นที่กว้างและมีสระน้ำที่มีน้ำเพียงพอ

ตลอดปี ดังนั้นจึง ปลูกต้นไม้ที่เป็นอาหารปลอดสารพิษ ประเภทไม้ยืนต้นที่

เป็นผลไม้และผักพื้นเมืองได้แก่มะพร้าวมะม่วงชมพู่มะขามมะยมกล้วย

ผักกะโดนขี้เหล็กประเภทพืชผักล้มลุก เช่นกะเพราตะไคร้ ข่า แมงลัก ขิง

ประเภทสมุนไพรได้แก่มะกรูดใบเตยตระไคร้หอมชุมเห็ดเทศรางจืดการ

เลี้ยงปลาที่สระน้ำด้านหน้าเช่นปลาตะเพียนปลานิลปลาในปลายี่สกปลา

นวลจันทร์ เลี้ยงไว้เพื่อกำจัดเศษพืชผัก เศษอาหาร และไว้ใช้ประกอบอาหาร

ในกิจกรรมส่วนรวมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะอาดทำให้

ช่วยลดค่าใช้จ่ายเป็นอย่างดีเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนจำหน่ายสินค้าพืชผักผล

Page 70: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 70

ไม้ของชุมชน (ตลาดนัด) ในพื้นที่จัดกิจกรรม เนื้อ

ประมาณ 1 ไร่ จัดเป็นประจำเดือนละ 3 ครั้ง เป็น

สถานที่นำสินค้า ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน มา

จำหน่ายและชาวบ้านจะนำผัก ผลไม้ ขนม อาหาร

พื้นเมืองมาจำหน่าย

ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น

จ ากความร่ วมมื อของ

ชุมชน และหน่วยงานเครือข่ายคือ

โรงพยาบาลปราสาท สำนักงาน

สาธารณสุขอำเภอปราสาท ทำให้

เกิดแหล่งเรียนรู้ของเครือข่ายและ

ชุมชนด้านเป็นสถานที่สาธิตพืชผัก

ผลไม้ การเลี้ยงปลา สมุนไพร เป็น

แหล่งเรียนรู้การลดโลกร้อนแก่

ชุมชนและหน่วยงานอื่น

Page 71: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 71

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ การดำเนินกิจกรรมการลดภาวะโลกร้อน ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่

ดำเนินการเป็นประจำอยู่แล้ว เช่นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว การปรับปรุงมาตรฐาน

ส้วม การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการบริการ การปลูกต้นไม้ทั้งไม้ผล ไม้

ยืนต้นและสมุนไพร ทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะอาด ผ่าน

การประเมินสถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานส้วม

สาธารณะไทย (HAS) ซึ่งเกิดจากความ

ร่วมมือของ เจ้าหน้าที่ประจำทุกคน และ

เครือข่ายโลกร้อนระดับอำเภอ คือ

สาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาล

ปราสาท ซึ่งเป็นต้นแบบโรงพยาบาลลด

ภาวะโลกร้อน โดยเพาะอย่างยิ่งจาก

เครือข่ายชุมชนที่สนับสนุนด้านกำลัง

ทรัพย์และแรงกาย

Page 72: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 72

สิ่งที่เรียนรู้จากการดำเนินการ การทำงานจะประสบความสำเร็จได้ ต้องได้รับ

ความร่วมมือจากเครือข่ายทุกระดับ และมีเป้าหมาย

เดียวกัน คือให้เป็นสถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน ผู้ใช้

บริการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ

ก้าวต่อไปให้ยั่งยืน การดำเนินงานโครงการสาธารณสุขรวมใจ

รณรงค์ลดโลกร้อนภายใต้กิจกรรม GREEN โรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะอาดอำเภอปราสาทจังหวัด

สุรินทร์ แนวคิดเริ่มแรกที่ต้องการเป็นสถานที่ทำงานน่า

อยู่น่าทำงาน น่าใช้บริการ ทำให้ประชาชน ที่มารับ

บริการมีความพึงพอใจแนวคิดต่อไปขยายกิจกรรมด้าน

อนามัยสิ่งแวดล้อมดังกล่าว สู่หมู่บ้านในพื้นที่ให้ครบทุก

หมู่บ้าน ภายใต้โครงการ “หมู่บ้านต้นแบบด้านสิ่ง

แวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี” เพื่อให้ชุมชนมีสภาพ

แวดล้อมที่ดีลดโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสุขภาพของชุมชน

Page 73: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 73

เรื่องเล่าชาวโรงพยาบาลสังขะกับ

กิจกรรมลดโลกร้อน

จุดเริ่มต้น

พฤศจิกายน 2553 ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร ทีม

งานโรงพยาบาลสังขะได้รับทราบนโยบายเรื่องสาธารณสุขร่วมใจรณรงค์ลด

ภาวะโลกร้อนภายใต้แนวคิดGreen&Cleanก่อให้เกิดความมุ่งมั่นและพลัง

ใจที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ให้แนวคิดที่หลายๆคนเห็นเป็นกระแสที่

ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปสำเร็จให้จงได้

กลวิธีดำเนินงาน ภายใต้การสนับสนุนและคำชี้แนะจากท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาล

สังขะ ทีมงานจึงได้จัดประชุม วางแผนที่จะทำอย่างไรให้เพื่อนสมาชิกบ้านหลัง

ใหญ่ของเรา จำนวน 400 กว่าคนรับทราบ เข้าใจและลงมือทำไปพร้อมๆ กัน

และก้าวแรกที่ทีมเราได้ลงมือทำนั่นคือ การเปิดตัวโครงการเมื่อเดือนมกราคม

โรงพยาบาลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 73

Page 74: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 74

2554 กิจกรรมต่างๆ ที่ เราสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ถ่ายทอดเป็นกิจกรรมที่ดู

สนุกสนาน ได้ความรู้ แง่คิดและเกิดการมีส่วนร่วมทุกหน่วยงานในโรงพยาบาล

รวมทั้งเครือข่ายที่เป็น รพ.สต. โรงเรียนและชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการประกวดมีส

Green & Clean การจัดตลาดนัดพืชผักปลอดสารพิษ อาหารพื้นบ้าน การจัด

นิทรรศการ การรณรงค์ให้ทุกคนเป็นพลังสำคัญของโครงการ ซึ่งผลจากการ

ทำงานและความมุ่งมั่นก่อให้เกิดความสำเร็จเล็กๆ ระหว่างที่เราทำงาน เช่น

รณรงค์จากกิจวัตรประจำวันที่ใกล้ตัวในหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นการใช้กระดาษ2

หน้าปิดไฟเมื่อไม่ใช้ เปิดเครื่องปรับอากาศเป็นเวลาซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจาก

บุคลากรส่วนใหญ่เป็นอย่างดี หลังจากนั้นได้นำผลการปฏิบัติมาทบทวนและพบ

ว่ากิจกรรมส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับโครงการได้มีการปฏิบัติกันมาก่อนหน้านี้แล้ว

แต่ขาดการรวบรวมเป็นเรื่องราวและไม่มีการประเมินผลที่ชัดเจน ทีมงานจึงได้

นำแนวคิด Green & Clean ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโดยรวบรวมกิจกรรม

ต่างๆมาจัดเข้าหมวดหมู่และให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติมากขึ้น

G=Garbage ในเรื่องของขยะ แต่

ก่อนการจัดการจะเป็นมาตรฐานทั่วไป คือ มี

ขยะแยกประเภทตามปกติ ขยะที่ขายได้

แต่ละตึกก็ให้จัดการเองโดยไม่มีการควบคุม

ในปี 2553 ท่านผู้อำนวยการได้อนุมัติให้มี

การจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลขึ้นโดยกำหนด

เป็นนโยบายให้ทุกตึก ทุกหน่วยงานทำการ

คัดแยกขยะรีไซเคิลและส่งลงมาที่ธนาคาร

ขยะ มีการชั่งน้ำหนัก ลงบันทึกแยกของแต่ละ

หน่วยงาน โดยมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจนมีหน้าที่

จัดเก็บ รวบรวม ดูแลทำความสะอาดอาคาร

ขายขยะ และส่งเงินเข้าบัญชีภายใต้การดูแลของฝ่ายบริหารและทีมงาน โดย

รายได้นั้นสามารถนำมาจัดงานปีใหม่ซื้อของขวัญให้กับบุคลากรในโรงพยาบาล

ทั้งหมดถือเป็นการคืนความตั้งใจในการร่วมไม้ร่วมมือให้กับบุคลากร

Page 75: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 75

ในส่วนของขยะที่เกิดจากเศษอาหารเช่นเปลือกขั้วก้านผักต่างๆที่

เกิดจากการประกอบอาหารให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลนั้น ได้มีการกำจัดโดย

นำไปหมักเป็นอาหารไส้เดือน อาหารปลาบึก ที่เหลือก็นำมาเป็นปุ๋ยหมักร่วม

กับใบไม้ที่ได้จากการเก็บกวาดของเหล่าคนสวนของเรา

R=Rest room เป็นที่น่ายินดีที่โรงพยาบาลของเราได้เข้าร่วม

ประกวดส้วมสาธารณะเมื่อปี 2552 และสามารถคว้ารางวัลที่ 1 ของประเทศ

ประเภทหน่วยงานให้บริการได้สำเร็จ โดยท่านผู้อำนวยการได้ให้ความสำคัญ

ในเรื่องการดูแลสิ่งอำนวยความสะดวก

ให้พร้อมใช้สำหรับผู้รับบริการ และให้

ความสำคัญกับสุขาเป็นอันดับหนึ่งมีการ

แต่งตั้งคณะทำงานดูแลสุขาพร้อมใช้เพื่อ

ให้เกิดเป็นการปฏิบัติได้อย่างยั่งยืน ใช้

เกณฑ์ HAS เป็นพื้นฐานในการดูแล โดย

มอบผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจนในแต่ละตึก

และให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นๆเป็นผู้ตรวจ

นิเทศตามมาตรฐาน พนักงานทำความสะอาดสุขา (หรือที่เราเรียกว่าน้อง

สะอาด) จะต้องมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์อีกหนึ่งตำแหน่ง โดยจะต้องคอยดูแล

ความสะอาดและสอนการใช้เมื่อพบว่าผู้รับบริการใช้อุปกรณ์ไม่เป็น เช่น นั่ง

ชักโครกที่กดน้ำล้างชักโครกก๊อกน้ำล้างมือ (หมุนซ้าย,หมุนขวา,ยกขึ้น,กดลง

เป็นต้น)มีการติดป้ายบอกวิธีใช้แต่คุณตาคุณยายอ่านไม่ออกน้องๆของเราจึง

ต้องทำงานหนักในช่วงแรกๆ จากที่พูดไม่เป็นก็ต้องพูดมากขึ้น กลับไปบ้าน

แทบไม่อยากพูดเพราะอยู่ที่ทำงานพูดทั้งวันหลังๆมาเริ่มดีขึ้นผู้รับบริการเริ่ม

ชิน คุณตาคุณยายนั่งชักโครกเป็น ไม่ปวดเข่า หญิงตั้งครรภ์ก็ยิ้มออกเพราะ

ห้องน้ำเหมาะกับบรรดาว่าที่คุณแม่ ลืมบอกว่าเรามีชักโครกของน้องตัวน้อยๆ

ด้วยนะคะ (สิทธิเท่าเทียมทั้งเด็กและผู้ใหญ่) ตอนนี้อุบัติการณ์อุปกรณ์ชำรุด

น้อยลงเรื่อยๆแต่ถือว่าลดลงมากจากช่วงปรับปรุงใหม่เยี่ยมเลยค่ะ

Page 76: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 76

E=Energy การประหยัดพลังงานดูจะเป็นอะไรที่ทำแล้วเห็นผลช้า

ที่สุด เนื่องจากโรงพยาบาลของเราขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 2-3 ปีที่

ผ่านมานี้อาคารเพิ่มขึ้นผู้รับบริการเพิ่มขึ้นความต้องการในการใช้พลังงานทุก

อย่างเพิ่มขึ้น ท่านผู้อำนวยการได้เล็งเห็นตรงจุดนี้รวมทั้งเป็นการขานรับ

นโยบายการประหยัดและร่วมลดโลกร้อน จึงได้มีการออกนโยบายมาตรการ

ต่างๆ เช่น ปรับระบบรถส่งผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ที่มีภาระกิจในตัวจังหวัดไปด้วย

มีการวางแผนการเดินทางเพื่อประหยัดน้ำมันและบุคลากร ปรับปรุงโครงสร้าง

ในอาคารบางส่วนให้รับลมและแสงสว่างได้โดยไม่ต้องเปิดไฟหรือพัดลม เปลี่ยน

เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น หลอดไฟ เครื่องปรับอากาศเป็นชนิดประหยัดพลังงาน ใช้

น้ำจากสระน้ำธรรมชาติในการรดต้นไม้ และท้ายสุดที่ท่านได้ให้เริ่มติดตั้งคือ

เครื่องTimerซึ่งควบคุมเครื่องปรับอากาศโดยการตั้งเวลาปิดเปิดอัตโนมัติเช่น

ในเวลา 05.00-10.00 น. เครื่องปรับอากาศทุกตัวในโรงพยาบาลจะไม่ทำงาน

จากการคำนวณคาร์บอนฟุตปริ้นท์พบว่าอัตราการใช้ไฟฟ้าของโรงพยาบาลเพิ่ม

ขึ้นบ้างแต่ในอัตราที่น้อยกว่าการขยายตัวของโรงพยาบาล

E=Environment สืบเนื่องจากแนวคิดของท่านผู้อำนวยการโรง

พยาบาลสังขะที่ต้องการให้โรงพยาบาลสังขะเป็นเสมือนบ้านหลังที่ 2 ของทุก

คนนโยบายดังกล่าวผลักดันให้ทุกทีมพัฒนาคุณภาพค้นหาแนวทางที่จะดำเนิน

การตามนโยบายให้สำเร็จส่วนทีมENVนั้นมีconceptของการดำเนินงานว่า

ทำอย่างไรให้โรงพยาบาลไม่เหมือนโรงพยาบาล (แต่ยังรักษาพยาบาลเหมือน

เดิม) ช่างเป็นโจทก์ที่ยากอะไรเช่นนี้ และท่านเองเป็นผู้เริ่มต้นในการปรับปรุง

เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมภายในบริเวณโรงพยาบาล เริ่มจากการสร้างพื้นที่สี

เขียวโดยการขอซื้อต้นไม้ใหญ่จากทุ่งนาที่เจ้าของเตรียมขุดทิ้งมาลงตามจุด

ต่างๆ เช่น ข้างสนามกีฬาเพื่อเป็นร่มเงาให้กองเชียร์ ข้างตึกเพื่อให้ผู้รับบริการ

ได้อาศัยร่มพักผ่อน ข้างห้องน้ำ โดยวัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ผู้รับบริการได้รู้สึก

ผ่อนคลาย มีที่พักผ่อนที่ไม่ใช่ในตึกอย่างเดียว และในบางต้นก็ถือโอกาสโชว์ลำ

ต้นสวยๆ และเป็นต้นไม้ที่เก่าแก่ดูแปลกและมีคุณค่าหาดูได้ยาก (เช่น ต้น

Page 77: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 77

ประดู่หน้าตึกหลวงปู่มั่นเป็นต้น) รอบๆ ตึกปลูกไม้ประดับตระกูลกล้วย เช่น

ซิก้าร์,บิกบัด,แก้วกินรีและอื่นๆโดยคุณสมบัติคือเป็นต้นไม้ดูดสารพิษช่วย

คายออกซิเจนและดูดซับมลพิษในอากาศได้มาก

ด้วยแนวคิดว่าเป็นบ้านหลังที่ 2 ทีมงานจึงได้นำเสนอปรับปรุงและ

สนองนโยบายที่ได้รับมา เริ่มมีการจัดสวนหย่อม ปรับปรุงบ้านพัก (โดยเลียน

แบบมาจากปาลิโอเขาใหญ่เจ้าหน้าที่จะได้อยู่อย่างมีความสุข)ทาสีอาคารและ

บ้านพักใหม่จะเห็นว่าตั้งแต่เข้าประตูโรงพยาบาลมาจะเห็นสีสันของตึกที่สดใส

และแปลกตา (เชื่อว่ามีที่โรงพยาบาลสังขะที่เดียว) แต่สีทั้งหมดมีความหมายที่

ต้องการให้ทราบคือ

■ สีเหลือง (คาดตึกอำนวยการ) หมายถึงสีประจำพระองค์ใน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

■ สีชมพู(หลังคาตึก)หมายถึงสีที่เสริมบารมีในพระองค์

■ สีฟ้า(อาคารส่งเสริมสุขภาพ)หมายถึงสีประจำพระองค์ในสมเด็จ

พระนางเจ้าสิริกิติ

■ สมีว่ง(ตกึหลวงปูม่ัน่)หมายถงึสปีระจำพระองคใ์นสมเดจ็พระเทพรตัน

ราชสดุาเนือ่งจากพระองคเ์สดจ็มาวางศลิาฤกษใ์หก้บัพวกเราชาวสงัขะ

ซึ่งแนวคิดนี้เป็นของท่านผู้อำนวยการเพื่อเป็นการถวายความจงรัก

ภักดีต่อสถาบันงานนี้ทีมเรามีส่วนช่วยแค่เลือกสี(แต่ก็ภูมิใจ)

นอกเหนือจากนี้ ในการร่วมพิทักษ์สิ่งแวดล้อม เรามีนโยบายใช้สาร

เคมีให้น้อยที่สุด งดใช้สเปรย์น้ำหอมปรับอากาศ ผลิตสเปรย์หอมมะกรูดใช้

แทน ใช้กุหลาบใบเตยหอมในห้องน้ำ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้จากการเลี้ยงไส้

เดือนดิน (ทั้งแบบเม็ดและแบบน้ำ) มีเรือนเพาะชำเพื่อขยายและอนุบาลไม้

ดอกไม้ประดับเอง (โดยเน้นชนิดดูดสารพิษ) สำหรับผลัดเปลี่ยนไม้กระถางบน

ตึกเพื่อให้เกิดความสดใสไม่จำเจ

สุดท้ายN=Nutrition โรงพยาบาลสังขะ มีโรงครัวประกอบอาหาร

สำหรับผู้รับบริการ ในการนี้ได้มีการสนองนโยบายโดยเน้นการใช้ผักพื้นบ้าน

Page 78: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 78

อาหารพื้นเมืองมาประกอบอาหารให้ผู้รับบริการ ซึ่งเป็นอาหารที่ชาวบ้านทาน

ได้และคุ้นเคย ทำให้ผู้รับบริการไม่เกิดความรู้สึกว่าอยู่ต่างที่ต่างถิ่นหรือเป็นผู้

ป่วยจริงๆ ซึ่งถือว่ามีผลทางด้านจิตใจเช่นกัน นอกจากนั้นทางโรงพยาบาลยัง

ได้ร่วมมือกับชุมชนบ้านหอก ต.ศรีสุข อ.ศรีณรงค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเกษตร

อินทรีย์ ปลูกผักปลอดสารพิษให้นำมาจำหน่ายที่โรงพยาบาล โดยจัดเป็นวัน

ตลาดนัดสีเขียว ทุกวันพฤหัสบดี ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีทั้งจากเจ้า

หน้าที่ , ผู้มารับบริการ และประชาชนทั่วไปเข้ามาจับจ่ายซื้อของเป็นประจำ

เป็นการสร้างความตระหนักและเป็นการรณรงค์อาหารปลอดสารพิษแก่

ประชาชนทั่วไปเป็นอย่างดีกินอิ่มและปลอดภัยค่ะ

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ เมื่อปี 2554 โรงพยาบาลได้ขอรับการประเมิน สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อ

การเยียวยา (Healling environment) จากสถาบันพัฒนาคุณภาพโรง

พยาบาล เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายองค์ความรู้แนวคิดของการ

พัฒนาคุณภาพที่ผสมผสานการจัดการสิ่งแวดล้อมทางด้านจิตใจ สังคม และ

กายภาพ ทำให้มีส่วนช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการปรับปรุงการดูแลผู้ป่วย

อย่างเป็นองค์รวม และผลการประเมินปรากฏว่า โรงพยาบาลสังขะผ่านการ

ประเมินสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยา(Healingenvironment)เป็น1ใน

9 โรงพยาบาลทั่วประเทศที่มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยาทุกส่วนของโรง

พยาบาล (บางโรงพยาบาลผ่านการรับรองเพียงบางแผนกเท่านั้น) นับว่าเป็น

เกียรติและศักดิ์ศรีแก่พวกเราเป็นอย่างยิ่ง

ปี 2555 โรงพยาบาลสังขะได้เข้าร่วมประกวดโรงพยาบาลเชิง

นิเวศวิทยาดีเด่น“EcoHospitalaward”

ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย (TBCSD) ร่วม

กับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยซึ่งมีนโยบายและแผนการดำเนินการสนับสนุนด้าน

บริหารจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีการรณรงค์ส่งเสริมให้บุคคลากร

Page 79: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 79

และเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่ง

แวดล้อมภายในโรงพยาบาล อันนำไปสู่ความภาคภูมิใจในการมีบทบาทด้าน

การบริหารจัดการและการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพในด้านการรักษาสิ่ง

แวดล้อมในรูปแบบต่างๆสู่ความยั่งยืนต่อไปในอนาคต โดยมีคณะกรรมการลง

ประเมินพื้นที่เมื่อเดือนมีนาคม2555ที่ผ่านมาผลปรากฏว่าโรงพยาบาลสังขะ

ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ1ประเภทโรงพยาบาลขนาดกลางซึ่งก็เป็นอีก

หนึ่งกำลังใจในการทำงานให้แก่พวกเรา

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมา ใช่ว่าความสำเร็จจะเกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน

แต่ต้องอาศัยพลังและกำลังใจจากทุกส่วนของโรงพยาบาล จากผู้บริหารสูงสุด

นั่นคือนายแพทย์วราวุธชื่นตาทีมงานGreen&Cleanหัวหน้าฝ่ายหัวหน้า

งาน สมาชิกของโรงพยาบาลสังขะทุกคน รวมทั้งภาคีเครือข่ายต่างๆ รวมทั้ง

จากงานอนามัยสิ่งแวดล้อม สสจ.สุรินทร์และศูนย์อนามัยที่ 5 ที่ร่วมกันคนละ

ไม้ คนละมือ จนทำให้เกิดวันนี้ขึ้นมา วันที่โรงพยาบาลสังขะได้เป็นส่วนหนึ่ง

ของชาวสาธารณสุขร่วมใจรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ได้รับการชื่นชมให้กำลังใจ

และเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2555 โรงพยาบาลสังขะได้มีโอกาสสูงยิ่งในต้อนรับ

คณะจากกรมอนามัยที่ได้มาเยี่ยมชมโรงพยาบาลและรับฟังการนำเสนอ

กิจกรรมเรื่องการลดภาวะโลกร้อนที่ปฏิบัติกันอยู่ เราก็ได้รับข้อเสนอแนะและ

แนวคิดเพิ่มเติมอีกมากมาย ที่สำคัญได้ทำให้ทุกคนตระหนักมากขึ้นและเห็น

ความสำคัญของการร่วมมือกันช่วยลดภาวะโลกร้อนมากขึ้นทวีคูณ

ขอบคุณโครงการสาธารณสุขร่วมใจรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนที่ทำให้

เราได้ทบทวนตัวเอง ขอบคุณที่ทำให้เราได้ลงมือทำและขอบคุณที่เราทุกคน

ช่วยกันรักโลกใบนี้

จากใจชาวโรงพยาบาลสังขะสุรินทร์

Page 80: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 80

ลดโลกร้อน โรงพยาบาลสนม

แรงบันดาลใจ สภาวะโลกร้อนกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญของโลกที่ทุกประเทศ ต่างก็

เร่งระดมวิธีการแก้ไขปัญหาสำคัญปัญหานี้ ในระดับสากลมีมติร่วมกันที่จะลด

สภาวะโลกร้อนให้สำเร็จโดยเร็ว มิฉะนั้นโลกจะประสบปัญหาภัยน้ำท่วม

ปัญหาภัยพิบัติต่างๆ และปัญหาโรคอุบัติการณ์ใหม่ๆ จะส่งผลกระทบต่อชีวิต

และความอยู่เย็นเป็นสุขของมวลมนุษยชาติทั้งปวง แต่การแก้ปัญหาเพื่อลด

สภาวะโลกร้อน มิใช่เรื่องง่ายนักเพราะเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของการ

ประกอบธุรกิจ การดำรงชีวิตประจำวัน และความสนใจต่อปัญหาส่วนรวมแต่

อย่างไรก็ตามนานาประเทศก็มิได้ละเลยต่อปัญหานี้ ดังจะเห็นได้จากนโยบาย

ของแต่ละประเทศที่กำหนดมาตรการอย่างจริงจังต่อการแก้ไขปัญหาโลกร้อน

โรงพยาบาลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 80

Page 81: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 81

กรมอนามัยได้จัดทำโครงการ สาธารณสุขรวมใจลดโลกร้อน ด้วยการ

สุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายให้สถาน

บริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นแบบอย่างการดำเนินการ

ลดภาวะโลกร้อนโดยการนำเอาหลักการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับ

สิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้ภายใต้หลักการGREEN&CLEANทั้งนี้ได้ก่อให้เกิด

กระแสและความเคลื่อนไหวในการดำเนินการเพื่อลดภาวะโลกร้อน ทั้งใน

สถานบริการสาธารณสุขและหน่วยงานเครือข่ายขึ้นอย่างกว้างขวาง

ผู้บริหารโรงพยาบาลสนมจึงเห็นความสำคัญของการลดโลกร้อน และ

มีความมุ่งมั่นตั้งใจมีนโยบายจึงได้สมัครเข้าร่วมกับโครงการโรงพยาบาลสนม

รวมใจลดโลกร้อน(GREENHospital)ปี๒๕๕๔ด้วยการสุขาภิบาลอย่างยั่ง

ยืน และดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องทุกปี จนถึงปัจจุบัน โดยมี

วัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรในโรงพยาบาลเกิดความตระหนักต่อปัญหาโลก

ร้อน และเกิดจิตสำนึกในการลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น ที่ก่อให้เกิดภาวะ

โลกร้อนด้วยการนำหลักการสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ และมีการ

ขยายผลการดำเนินงานไปสู่ชุมชนและเพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆ ในโรง

พยาบาลเป็นต้นแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อนต่อไป

ความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อให้การดำเนินโครงการและกิจกรรมลดโลกร้อน อาทิ โครงการ

ธนาคารขยะรีไซเคิลด้วยวิธีการรีไซเคิลคัดแยกขยะที่ต้นทางอย่างเป็นระบบ

ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้เจ้าหน้าที่เห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะและ

รักษาสิ่งแวดล้อมภายในโรงพยาบาล ส่งเสริมการออมเงินของหน่วยงานและ

เจ้าหน้าที่ สร้างรายได้จากการจำหน่ายขยะรีไซเคิล โครงการทำปุ๋ยหมัก

อินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากเศษผักผลไม้ที่ใช้ในโรงพยาบาลเพื่อลดการทิ้ง

ขยะจากเศษอาหารพร้อมได้ผลิตภัณฑ์นำกลับมาใช้ภายในโรงพยาบาล และ

โครงการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายนอกและภายในอาคาร

Page 82: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 82

วิธีการที่ทำให้สำเร็จ ธนาคารขยะรีไซเคิล เริ่มดำเนินการรับฝากตั้งแต่ วันที่ 16 ตุลาคม

2555 โดยได้ก่อสร้างสถานที่ทำการธนาคารขยะ และดำเนินงานโดยให้เจ้า

หน้าที่และหน่วยงาน ภายในโรงพยาบาลสนม คัดแยกขยะแต่ละประเภทก่อน

นำขยะมาฝากประมาณ 2 เดือน เจ้าหน้าที่ขยะจะติดต่อประสานงานกับร้าน

รับซื้อของเก่ามารับขยะซึ่งในวันที่จำหน่ายขยะสมาชิกธนาคารขยะจะต้องมา

ชั่งขยะที่นำมาฝากเองและคิดเป็นจำนวนเงินจากนั้นบันทึกลงสมุดฝากรายได้

แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ 70% เป็นของผู้จำหน่าย 30% เข้าเงินบำรุงโรงพยาบาล

โดยจะใช้ราคาจากร้านรับซื้อของเก่าเป็นเกณฑ์ รายได้จากการขายขยะ ตั้งแต่

วันที่เปิด-ปัจจุบัน มียอดจำหน่าย 20,818.57 บาท มีเงินเข้าเงินบำรุงโรง

พยาบาล4,810.93บาท

โครงการก่อสร้างเรือนเพาะชำ/กิจกรรมเพาะชำกล้าไม้ ปี 2556

เน้นกิจกรรม ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายนอกและภายในอาคาร โดย

ขอสนับสนุนพันธ์กล้าไม้เพื่อดำเนินการปลูกภายในโรงพยาบาลและโครงการ

ปลูกพืชสมุนไพรปีละ 10 ชนิดเพื่อใช้งานแพทย์แผนไทย และยังมีโครางการ

ปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติเนื่องในวาระต่างๆ

โครงการปุ๋ยหมักอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เริ่มดำเนินโครงการต้น

ปีงบประมาณปี๒๕๕๖จากเศษผักผลไม้งานโภชนาการและนำผลิตภัณฑ์ที่ได้

ไปใช้ในการดูแลต้นไม้ในโรงพยาบาลรวมทั้งการแนะนำให้เจ้าหน้าที่ทดลองนำ

กลับไปใช้ที่บ้าน

ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน ความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการและกิจกรรมลดโลกร้อนโรง

พยาบาลสนม เกิดจากความต้องการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงพยาบาลที่ให้

ความสำคัญตามนโยบายและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมกิจกรรมลดโลก

Page 83: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 83

ร้อนในโรงพยาบาลรวมไปถึงการทำงานเป็นทีมและการสร้างจิตสำนึกในการ

มีส่วนร่วมของทุกคนในโรงพยาบาลสนม

สิ่งที่ชื่นชอบ/ประทับใจในการดำเนินงาน ธนาคารขยะรีไซเคิล ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ซึ่งผู้บริหารได้

จัดให้รางวัลแก่หน่วยงานที่มีรายได้จากการจำหน่ายขยะรีไซเคิลสูงสุดทุกปี ปี

ละ3,000บาททำให้เจ้าหน้าที่มีการแข่งขันในการจำหน่ายและให้ความสำคัญ

ในการคัดแยกขยะมากขึ้น และการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ได้สร้างภูมิ

ทัศน์ภายในโรงพยาบาลส่งผลให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับผู้มารับบริการ

และรับการประเมินมาตรฐาน HealthyWork Place ปีที่ 5 เมื่อวันที่ 11

กันยายน 2556พร้อมทั้งได้รับคำชมเชยจากที่แบ่งเจ้าหน้าที่ทดลองใช้ปุ๋ยหมัก

ว่าต้นไม้ออกดอกและผลิตภัณฑ์มีกลิ่นหอม

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานนี ้ จากการทำกิจกรรมลดโลกร้อนนั้น ส่งผลให้โรงพยาบาลเป็นโรง

พยาบาลสีเขียวมากขึ้นเพียงระยะเวลาที่เริ่มดำเนินโครงการ จากการประกาศ

นโยบายของผู้บริหารเมื่อปี2554จนถึงปัจจุบันโดยเริ่มที่ธนาคารขยะรีไซเคิล

เพื่อลดโลกร้อน ทำให้สภาพแวดล้อมภายในโรงพยาบาลสนมดีขึ้น หน่วยงาน

และเจ้าหน้าที่มีรายได้จากการจำหน่ายขยะรีไซเคิล และโรงพยาบาลมีรายได้

30% เข้าเป็นเงินบำรุงโรงพยาบาลนอกจากนี้ยังทำให้เจ้าหน้าที่ตระหนักและ

เห็นคุณค่าของขยะที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ ส่วนโครงการอื่นๆที่ดำเนินการ

เพื่อลดโลกร้อนนั้นแสดงให้เห็นถึงการทำงานประจำอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้

สิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลดีชึ้น

Page 84: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 84

ก้าวต่อไปให้ยั่งยืน โรงพยาบาลสนมดำเนินโครงการและกิจกรรมที่ผ่านมาตั้งแต่ปี2554

ตามโครงการสาธารณสุขรวมใจลดโลกร้อน GREEN & CLEAN HOSPITAL

เช่น ธนาคารขยะรีไซเคิล กิจกรรมการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

ปลูกต้นไม้ และดำเนินอย่างต่อเนื่องในการดูแลส้วมที่ได้ตามมาตรฐาน HAS

นโยบายและมาตรการการประหยัดพลังงานโครงการส่งเสริมการใช้ถุงผ้าใส่ยา

ในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังและในเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสนม ด้านสิ่งแวดล้อม มีการ

เพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคารโดยขอสนับสนุนต้นกล้า

จากสถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดสุรินทร์กิจกรรมปลูกพืชผักปลอดสารพิษและ

การสร้างเครือข่ายผักปลอดสารพิษ กิจกรรมเดินรณรงค์และประชาสัมพันธ์ลด

ภาวะโลกร้อน

โรงพยาบาลสนมได้ดำเนินการ โครงการโรงพยาบาลสนมรวมใจลด

โลกร้อน(GREEN HOSPITAL) เพื่อให้ตอบสนองตามนโยบาย สาธารณสุข

รวมใจลดโลกร้อนโดยการนำเอาหลักสุขาภิบาลอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่ง

แวดล้อมมาประยุกต์ภายใต้หลักการGREEN&CLEAN

ด้าน G = Garbage

จุดทิ้งขยะภายในโรงพยาบาลสนม จุดทิ้งขยะติดเชื้อภายในตึก

Page 85: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 85

ที่พักขยะทั่วไป พิธีเปิดธนาคารขยะรีไซเคิล

ขยะรีไซเคิล การใช้ถุงผ้าในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง

การใช้ถุงผ้าในเจ้าหน้าที่

โรงพยาบาลสนม

บอร์ดประชาสัมพันธ์ลดโลกร้อน

Page 86: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 86

ด้าน R = Rest room

ห้องน้ำโรงพยาบาลนม

ด้าน E = Energy

ผู้บริหารประกาศนโยบายประหยัดพลังงาน 5ส.การประหยัดพลังงาน

Page 87: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

GREEN and CLEAN นครชัยบุรินทร์ 87

ด้าน E = Environment

ภูมิทัศน์ภายในโรงพยาบาลสนม

สร้างเรือนเพาะจัดในการเพาะปลูกกล้าไม้

ขอสนับสุนนกล้าไม้จาก

สนง.เพาะพันธุ์กล้าไม้จังหวัดสุรินทร์

เพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในอาคาร ปุ๋ยหมักอินทรีย์

ปลูกพืชสมุนไพรงานแพทย์แผนไทย

Page 88: สารบัญ - Ministry of Public Healthhpc9.anamai.moph.go.th/images/pdf58/book/02_1.pdfการปล กและขอร บพ นธ ในการปล กได จากกรมส

เส้นทางสู่ความสำเร็จ...โรงพยาบาลลดโลกร้อน 88

การทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

ด้าน N = Nutrition

เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลมีกิจกรรมปลูกพืชผักปลอดสารพิษและ

การสร้างเครือข่ายผักปลอดสารพิษสู่ชุมชน