สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก...

35

Transcript of สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก...

Page 1: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว
Page 2: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

สารบัญ

มหาวิทยาลัย KU Leuven ..................................................................................................................... 3

มหาวิทยาลัย Ghent ........................................................................................................................... 11

โรงงานต้นแบบ Bio Base Europe Pilot Plant ............................................................................... 17

เขตนวัตกรรมแห่งเมือง Rotterdam (Rotterdam Innovation District) ....................................... 21

ศูนย์ Erasmus Centre for Entrepreneurship (ECE) .................................................................... 24

บทสรุปและข้อเสนอแนะ .................................................................................................................... 28

บรรณานุกรม ....................................................................................................................................... 33

Page 3: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 1

ในระหว่างวันที่ 23 - 26 มกราคม 2562 ดร. มาณพ สิทธิเดช อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ส านักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์ ได้ประสานน าคณะผู้บริหารของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะของส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ

การสร้างความร่วมมือไทย-เบเนลักซ์ด้านการพัฒนา

มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการและเขตนวัตกรรมเพื่อ

ส่งเสริมการจัดต้ังวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup)

Page 4: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 2

คณะของส านักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) โดยมี รศ. ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติเป็นหัวหน้าคณะในการเข้าพบหารือการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ โดย 5 หน่วยงานที่คณะได้เยี่ยมชมมีดังนี้

1) มหาวิทยาลัย KU Leuven ณ เมือง Leuven ประเทศเบลเยียม 2) มหาวิทยาลัย Ghent ณ เมือง Ghent ประเทศเบลเยียม 3) โรงงานต้นแบบ Bio Base Europe Pilot Plant ณ เมือง Ghent ประเทศเบลเยียม 4) เขตนวัตกรรมแห่งเมือง Rotterdam (Rotterdam Innovation District) ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ 5) ศูนย์ Erasmus Centre for Entrepreneurship ณ เมือง Rotterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์

Page 5: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 3

ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย KU Leuven

มหาวิทยาลัย KU Leuven ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1425 ณ เมือง Leuven โดยค าสั่งของพระสันตะปาปา (Pope

Martin V) และถือเป็นมหาวิทยาลัยคาทอลิกท่ีเก่าแก่ท่ีสุดในโลก เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นหนักในเรื่องงานวิจัย และ

ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของประเทศเบลเยียม ทางมหาวิทยาลัยมีความโดดเด่นทางด้านการวิจัยและการ

เรียนที่ดีเลิศ โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งมีสาขาที่หลากหลาย โดยคติพจน์ที่ทางมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ตั้งไว้

คือ “สิ่งที่เราจะท า เราจะท ามันให้ดีที่สุด” ในปัจจุบันมหาวิทยาลัย KU Leuven มุ่งมั่นสร้างความเป็นเลิศใน 3

ด้าน คือ (1) การเรียนการสอน (2) การวิจัย และ (3) การสร้างคุณประโยชน์แก่สังคม จึงมีโรงพยาบาลและศูนย์

การแพทย์ที่ให้บริการที่ครบวงจร ปัจจุบันเปิดสอนใน15 คณะด้วยกัน โดยกิจกรรมที่มีการวิจัยจะได้รับการ

แบ่งย่อยอีกเป็น 3 หมวดหมู่ ได้แก่

Credit: KU Leuven

ม หาวิทยาลัย KU Leuven

Page 6: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 4

(1) Humanities and Social Sciences

(2) Science, Engineering and Technology

(3) Biomedical Sciences

โปรแกรมการศึกษาทั้งหมดได้น างานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยเป็นพ้ืนฐาน โดยในปี ค.ศ. 2018

Reuters จัดอันดับมหาวิทยาลัย KU Leuven ไว้ในล าดับที่ 7 ของโลกในเรื่องการเป็นมหาวิทยาลัยด้านนวัตกรรม

(innovative university) ซึ่งเป็นล าดับที่สูงสุดของมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้อยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยใช้หลักการว่า

มหาวิทยาลัยจะให้ความส าคัญกับวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และมีการผลิตเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพ่ือขับเคลื่อนตลาดและ

อุตสาหกรรม

ส าหรับสาขาชีวการแพทย์ของมหาวิทยาลัย (Bio-medical Science) ประกอบด้วย 3 คณะได้แก่ Faculties of Medicine, Pharmaceutical Science และ Kinesiology and Rehabilitation Science การวิจัยของคณะด าเนินในรูปแบบจากล่างสู่บน (bottom-Up) เน้นความเป็นเลิศของการวิจัยและความสามารถในการเข้าถึงแหล่งทุน

คณะเภสัชกรรมมีความเชี่ยวชาญด้านสารภูมิต้านทาน (antibody) ซึ่งเป็นสาขาที่ก าลังเติบโตอย่างรวดเร็วในขณะนี้ สามารถน าไปใช้ในสาขามะเร็งวิทยาและโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง (autoimmune) และมีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยด้านยีนบ าบัด (gene therapy) อีกด้วย นอกจากนี้ KUL ยังมี ศูนย์ Drug Design Discovery (CD3) เพ่ือส่งเสริมนวัตกรรม เพ่ิมมูลค่าให้นวัตกรรมเพ่ือการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการค้นพบยา (drug discovery) โดยมีความร่วมมือกับบริษัทเภสัชกรรมชั้นน าต่างๆ เช่น ThromboGenics Novartis และ Johnson & Johnson เป็นต้น โดยท าการวิจัยโรค เช่น โรคเอชไอวี ตับอักเสบ บี และ ซี (Hepatitis B and C) โรคพิษสุนัขบ้า และไข้เลือดออก เป็นต้น

ปัจจุบันมหาวิทยาลัย KU Leuven มีอยู่ 15 วิทยาเขต กระจายอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ ในเบลเยียมจ านวน 11 เมืองด้วยกัน มีนักศึกษาทั้งสิ้น 56,182 คน เป็นนักศึกษาต่างชาติ 8,901 คน โดยนักศึกษาในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 5 ล าดับแรกมาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ อิตาลี สเปน เยอรมนี และกรีซ นอกกลุ่มประเทศในภูมิภาคยุโรป 5 ล าดับแรกมาจาก จีน (824) อินเดีย (434) สหรัฐอเมริกา (287) ตุรกี (191) และเวียดนาม (177)

นอกจากนี้มหาวิทยาลัย KU Leuven ยังเป็นมหาวิทยาลัยรายแรก ๆ ที่จัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งเป็นการ

ต่อยอดของการวิจัยในมหาวิทยาลัย หน่วยวิจัยและพัฒนา Leuven (LRD) ซึ่งเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีของ

มหาวิทยาลัย KU Leuven ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1972 ซึ่งจัดเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เก่าแก่ที่สุดและประสบ

Page 7: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 5

ความส าเร็จที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรปและเป็นผู้น าในด้านการวิจัยที่น าไปใช้ประโยชน์ในสังคม โดยในระหว่างปี ค.ศ.

2005 ถึง 2014 มหาวิทยาลัยมีรายได้ 1.4 พันล้านยูโรจากความร่วมมือกับภาคเอกชน และจากการอนุญาตให้ใช้

สิทธิเทคโนโลยีและสิทธิบัตรต่าง ๆ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้จัดตั้งบริษัทที่เกิดจากวิจัยจ านวน 105 บริษัท มี

ผลประกอบการ 750 ล้านยูโรในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ความส าเร็จของศูนย์เกิดจากแนวปฏิบัติที่ดีและความหนักแน่น

ของนโยบายมหาวิทยาลัยที่เห็นว่าการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยวิจัย ด้วยเหตุนี้จึงท าให้

หน่วยงานต่าง ๆ ของประเทศไทยมีความสนใจอย่างยิ่งที่จะเรียนรู้แนวคิด และระบบการท างานของ มหาวิทยาลัย

KU Leuven ในการจัดการด้านการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม

งบวิจัยของมหาวิทยาลัย KU Leuven

มหาวิทยาลัย KU Leuven ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัย โดยได้รับงบประมาณจากภาครัฐซึ่งมาจากสหภาพยุโรป รัฐบาลเบลเยียม และจากภาคเอกชน ในปี 2559 จ านวน 466.6 ล้านยูโร โดยเป็นงบประมาณภายใน (Internal Funds) ร้อยละ 19 ซึ่งแบ่งออกเป็น Special Research Fund ร้อยละ 17 และ Industrial Research Fund ร้อยละ 2 งบวิจัยที่มาจากภายนอก (External Funds) ร้อยละ 81 ซึ่งแบ่งออกเป็นงบประมาณวิจัยด้านวิทยาศาสตร์จากรัฐบาลภูมิภาคแฟลนส์เดอรส์ (Flemish Science Fund) ร้อยละ 20.1 งบประมาณจากรัฐบาลภูมิภาคอ่ืน ๆ ร้อยละ 14.5 งบประมาณจากต่างประเทศและสหภาพยุโรป ร้อยละ 8.1 งบประมาณวิจัยและนวัตกรรมจากภูมิภาคแฟลนส์เดอรส์ (Flemish Science & Innovation Fund ร้อยละ 6.7 งบประมาณจาก Industrial Contacts ร้อยละ 26.9 และงบประมาณ Flemish Institute for Biotechnology (VIB) ร้อยละ 4.8 เป็นที่น่าสังเกตว่ามหาวิทยาลัย KUL ได้รับงบประมาณภายในเพียงร้อยละ 19 ซึ่งงบประมาณส่วนนี้น ามาต่อยอดเพ่ือดึงดูดเงินวิจัยจากแหล่งอ่ืน ๆ เช่น งบวิจัยจากสหภาพยุโรป และ ภาคธุรกิจเอกชน ที่ส าคัญ คือ ได้จัดตั้ง KU Leuven Research & Development (LRD) มาเป็นหน่วยงานบริหารและจัดสรรการวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยอย่างเต็มท่ี และประสบความส าเร็จอย่างดียิ่ง โดย มหาวิทยาลัย KU Leuven เป็นมหาวิทยาลัยในยุโรปที่มีผลงานเด่นในด้านงานวิจัย และได้รับเงินสนับสนุนจากสหภาพยุโรปภายใต้กรอบโครงการ Horizon 2020 เป็นล าดับที่ 5 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนทั้งหมด 108 ล้านยูโร ส าหรับ 176 โครงการ

Page 8: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 6

ส านักงานถ่ายทอดเทคโนโลยี KU Leuven Research & Development

มหาวิทยาลัย KU Leuven มีส านักงานถ่ายทอดเทคโนโลยี KU Leuven Research & Development (LRD) ซึ่งได้ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1972 มีวัตถุประสงค์เพ่ือส่งเสริมนวัตกรรมผ่านความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคธุรกิจ เพ่ือก่อตั้งบริษัท start-up บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย พัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ และพัฒนาภูมิภาค เป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐบาล ศูนย์ความรู้และภาคธุรกิจ เพ่ือถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้สู่ท้องตลาด ในปี ค.ศ. 2008 ส านักงาน LRD ชนะเลิศรางวัล IPEC (International Pharmaceutical Excipients Council) รางวัลแก่สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยี เภสัชกรรมที่ดีที่สุดในโลก โดยจากข้อมูลใน ปี ค.ศ. 2014 ส านักงาน LRD มีงบประมาณ 664 ล้านยูโร และสนับสนุนนักวิจัยกว่า 6,400 คน มีสาขาวิจัยที่สนับสนุน 4 กลุ่ม ได้แก่ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีสะอาด แมคคาทรอนิกส์ (mechatronics) และชีววิทยาศาสตร์ ในช่วง 40 ปี หลังก่อตั้ง ส านักงานได้สร้างงานแล้วกว่า 5,000 ต าแหน่ง และก่อตั้งบริษัทกว่า 200 บริษัท รวมถึงจดสิทธิบัตรนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ประมาณ 200 ใบต่อปี ซึ่งท าให้มหาวิทยาลัยได้รับรายได้จากลิขสิทธิ์เหล่านั้นมากกว่า 72 ล้านยูโร จากสถิติข้อมูลในปี ค.ศ. 2016 KU Leuven มีนักเรียนปริญญาเอกชาวต่างชาติร้อยละ 40 และได้ลงทุนเงินในงานวิจัย 460 ล้านยูโร

หลังจากที่มหาวิทยาลัย KU Leuven ได้ให้ความส าคัญกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาเป็นเวลา 40 ปี ในปัจจุปันการถ่ายทอดเทคโนโลยีกลายเป็นกระแสของสังคม รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกหันมาวางนโยบายด้านนวัตกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพ่ือแก้ปัญหาทางสังคม โดยเป็นที่ตระหนักกันว่าภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยไม่ได้มีแค่สองประการอีกต่อไป แต่มีสามประการคือ การให้การศึกษา การวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยี การถ่ายทอดองค์ความรู้คือ ภารกิจทางสังคมของมหาวิทยาลัย

การถ่ายทอดเทคโนโลยีมีความส าคัญต่อมหาวิทยาลัยมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อความร่วมมือระหว่างนักวิชาการกับภาคเอกชนท าให้เกิดการพัฒนาในสาขาต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นสาขานาโนเทคโนโลยี วัสดุศาสตร์ พลังงาน และเวชศาสตร์ปริวรรต มหาวิทยาลัย KU Leuven ได้คิดค้นยารักษาโรคซึ่งมีการวางขายในตลาดยาและเวชภัณฑ์แล้ว ได้แก่ tPA (Genentech) Jetrea (Thrombogenics) และ tenofovir (Gilead) โดยมหาวิทยาลัย

Credit: KU Leuven

Page 9: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 7

KU Leuven มองว่ามหาวิทยาลัยจ าเป็นต้องจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี ไม่เช่นนั้นมหาวิทยาลัยอาจจะไม่สามารถท างานวิจัยพ้ืนฐานในบางสาขาได้อีกต่อไป ความส าเร็จของศูนย์ LRD เกิดจากการสร้างองค์กรที่มีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ มีทุนสนับสนุนเต็มที่ มีฝ่ายการเงินและฝ่ายนิติการเป็นของตัวเองและทุ่มเทให้กับการให้บริการชุมชนวิชาการ

ศูนย์ LRD ได้ใช้เวลากว่า 20 ปี ในการผลักดันนวัตกรรมจากองค์ความรู้ต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยจนประสบความส าเร็จและมีชื่อเสียงในปัจจุบัน ปัจจัยที่ช่วยจัดตั้งกลุ่มการสร้างนวัตกรรมนี้ขึ้นมาได้ คือ 1) การอยู่ใกล้กับหน่วยงานวิทยาศาสตร์ระดับโลก 2) การเข้าถึงนักวิจัยที่มีความสามารถ 3) การเข้าถึงเงินทุน 4) การจัดเตรียมสาธารณูปโภคและคุณภาพชีวิตที่ดีส าหรับนักวิจัย 5) สภาพแวดล้อมที่เอ้ือต่อการสร้างนวัตกรรม 6) หน่วยงานที่ช่วยส่งเสริมหรือเป็นเบื้องหลังให้กับการสร้างนวัตกรรม (เช่น ฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายธุรกิจ และอ่ืนๆ) 7) การเข้าถึงตลาดหรือลูกค้าที่จะน านวัตกรรมไปใช้ และ 8) มาตรการจูงใจเพื่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรม เช่น การลดอัตราภาษี เป็นต้น

ประเด็นจากการประชุม

การประชุมครั้งนี้มี Prof. Dr. Luc Sels, Rector of KU Leuven และ Prof. Dr. Peter Lievens, Vice Rector

for International and Alumni Policy and LERU ให้การต้อนรับ ซึ่งประเด็นส าคัญของการประชุมสามารถ

สรุปได้ดังนี้

Credit: KU Leuven

Page 10: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 8

• วัตถุประสงค์ของการเยี่ยมชมและหารือ คือ 1) เพ่ือศึกษาแนวปฏิบัติและกระบวนการการพัฒนา

มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม 2) ศึกษารูปแบบในการสนับสนุนการจัดตั้งบริษัท spin-off และ 3) การ

แลกเปลี่ยนโครงการหรือวิสาหกิจเริ่มต้นในด้านเทคโนโลยีเชิงลึก

• มหาวิทยาลัย KU Leuven ถือว่าตัวเองเป็น “Professor-run independent research university” โดยมี

ทุนส าหรับงานวิจัยรวม 450 ล้านยูโร ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับกองทุนส่วนบุคคล (private funding)

เยอะที่สุดในยุโรป KU Leuven โดยมีการบริหารเงินทุนโดยใช้หลักการ 3 ข้อ ดังนี้:

• Bottom-up approach: เป็นการด าเนินงานวิจัยแบบล่างสู่บน โดยให้อิสระในการแปรผันงานวิจัยมา

เป็นสินค้า ซ่ึงจะประสบความส าเร็จได้ถ้ามีนักศึกษาและวิจัยที่มีประสิทธิภาพสูง

• Competitive (peer-reviewed): มีการแข่งขันกันอย่างอิสระเพ่ือขอรับทุนวิจัย โดยใช้กระบวนการ

ของวารสารวิชาการท่ีให้มีคณะผู้เชี่ยวชาญ ส าหรับแต่ละสาขา เป็นผู้พิจารณาตรวจสอบ

• มีการจัดหากองทุนสนับสนุนเพิ่มเติมจากระดับภูมิภาค Flanders และ สหภาพยุโรป เป็นต้น

• มหาวิทยาลัย KU Leuven มีการจัดจั้ง Leuven Mindgate เพ่ือใช้เป็นแพลตฟอร์มส าหรับทุกคนในเมือง

Leuven เพ่ือเปิดโอกาสให้ได้แบ่งปันความคิดนวัตกรรม ซึ่งอาจจะสามารถผลักดันให้ศิษย์เก่าของ KU

Leuven มีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยมากข้ึนอีกด้วย

• มหาวิทยาลัย KU Leuven กล่าวว่าผลลัพธ์ของงานวิจัยไม่ใช่แคก่ารเขียนบทความหรือการเข้าร่วมเสวนาอีก

ต่อไป แต่คือจ านวนของการเกิดบริษัท spin-off การจัดท าแนวปฏิบัติที่ดีสู่สังคม และ การท าการวิจัยเชิง

ประยุกต์ ซึ่งศูนยื LRD จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างงานวิจัยและการสร้างธุรกิจเหล่านี้ โดยเน้นว่าปัจจัยที่ส าคัญ

ที่สุดคือการระบุผลประโยชน์ที่นักวิจัยจะได้รับไว้อย่างชัดเจน ศูนย์ LRD นั้นมีบริการให้ค าปรึกษาเรื่อง

ทรัพย์สินทางปัญญา และหาหุ้นส่วนการลงทุน

• มหาวิทยาลัย KU Leuven มีนโยบายขยายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศเพ่ือส่งเสริมการ

แลกเปลี่ยนระหว่างนักเรียนและนักวิจัย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย เนื่องจากประวัติผลงานศึกษานักเรียน

ไทยใน KU Leuven มีประสิทธิภาพสูงมาก โดยขณะนี้มีนักเรียนไทยประมาณ 60,000 คนที่ผ่านโครงการ

Startup Thailand League สนช. จึงยินดีร่วมมือจัดโครงการที่แลกเปลี่ยนนักเรียนกับ KU Leuven

Page 11: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 9

• ในโอกาสการเยี่ยมชมเดียวกันนี้ ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สนช. โดยมีดร. พันธุ์

อาจ ชัยรัตน์ ผู้อ านวยการส านักงานนวัตกรรมแห่งชาติ นางธีรีสา มัทวพันธุ์ รองผู้อ านวยการส านักงาน

นวัตกรรมแห่งชาติ เป็นตัวแทน และ มหาวิทยาลัย KU Leuven โดยมี Prof. Dr. Luc Sels อธิการบดีเป็น

ตัวแทน ซึ่งมีข้อตกลงสนับสนุนความร่วมมือใน 4 ด้าน ดังนี้

o Entrepreneurial University Development

o Innovative University Development

o Creation of Startup and Spin-off Companies

o University Investments

โดยการลงนามครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือการพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างผู้ประกอบการ การ

สร้างวิสาหกิจเริ่มต้น การพัฒนาด้านนวัตกรรม และการสร้างบริษัท spin-off ในมหาวิทยาลัยในประเทศ

ไทย

Page 12: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 10

Page 13: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 11

ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย Ghent

มหาวิทยาลัย Ghent ตั้งอยู่ ณ เมือง Ghent ประเทศเบลเยียม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1817 โดยใช้ภาษาดัตช์เป็นภาษาหลักในการเรียนการสอน มีจ านวนนักศึกษาทั้งหมด 41,789 คน และมีทั้งหมด 11 คณะและ 86 แผนกมหาวิทยาลัย Ghent เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในประเทศเบลเยียม โดยเฉพาะในด้านสัตวแพทยศาสตร์ (Veterinary Science) ชีววิทยาศาสตร์ (life science) และด้านวิทยาศาสตร์การเกษตร (agricultural science) รวมถึงการส่งเสริมและผลักดันนักศึกษาในการสร้างงานวิจัยสู่ธุรกิจนวัตกรรมเพ่ือผลิตวิสาหกิจเริ่มต้นและบริษัท spin-off จากมหาวิทยาลัย โดยมีนักศึกษาต่างชาติเป็นจ านวนร้อยละ 10 ของนักศึกษาทั้งหมด และมีนักศึกษาไทยทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกรวมทั้งหมด 13 คน

มหาวิทยาลัย Ghent ถือเป็นมหาวิทยาลัยของยุโรปที่แรกที่มีการจัดตั้งสาขาอยู่ใน Songdo Global University

Campus ในประเทศเกาหลีใต้ ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย Ghent เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากมาย โดยมี

Credit: UGent

ม หาวิทยาลัย Ghent

Page 14: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 12

จ านวนนักศึกษาในคณะ Medicine and Health Sciences มากที่สุด (7,005 คน) งานวิจัยที่มหาวิทยาลัย

Ghent เชี่ยวชาญคือด้านชีววิทยาศาสตร์และการแพทย์ วัสดุศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และ สัตวแพทยศาสตร์ พร้อม

ทั้งส่งเสริมและผลักดันการท างานวิจัยระหว่างคณะ ท าให้จ านวนบริษัท spin-offs มีทั้งหมด 68 ราย (ระหว่างปี

ค.ศ. 2008 – 2016) และได้รับสิทธิบัตร 439 ใบ (ระหว่างปีค.ศ. 2008 – 2017) ซึ่งมหาวิทยาลัย Ghent มี

นโยบายการท างานวิจัยแบบล่างขึ้นบน โดยให้อิสระแก่นักวิจันในการวิจัยในหัวข้อที่ตนเองมีความสนใจและแปร

ผันงานวิจัยเหล่านั้นมาเป็นสินค้าและบริการ

นอกจากนี้มหาวิทยาลัย Ghent ยังมีการจัดตั้ง Asean plus regional platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ท าหน้าเป็นตัวกลางติดต่อประสานงานระหว่างคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย Ghent และองค์กรต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมไปถึงประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และบังคลาเทศ เพ่ือส่งเสริมการสร้างความร่วมมือระหว่างสองภูมิภาค ซึ่งถือว่าพันธกิจของ Asean plus regional platform มีลักษณะคล้ายกับพันธกิจของส านักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์

อุทยานวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัย Ghent ยั งมีการจัดตั้ งอุทยานวิทยาศาสตร์ (science park) ที่ ชื่ อว่า “Technologiepark-Zwijnaarde” เพ่ือจัดหาโครงสร้างพ้ืนฐานให้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนา สถาบันวิจัยของรัฐ และวิสาหกิจที่พัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง ในการพัฒนานวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ ในปัจจุบันภายในอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งนี้ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการทดลองของมหาวิทยาลัยจ านวน 10 แห่ง สถาบันวิจัย 8 แห่ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาของบริษัทระดับนานาชาติ 11 แห่ง และวิสาหกิจที่ พัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงอีก 60 บริษัท โดยมีผู้ท างานในด้านเทคโนโลยีชั้นสูงทั้งหมดประมาณ 3,500 คนในอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งนี้ และในทุก ๆ ปีก็จะมีบริษัทสตาร์ทอัพเกิดข้ึนมาใหม่จากอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งนี้ ประมาณ 10 บริษัทต่อปี

Credit: UGent

Page 15: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 13

กลุ่มนวัตกรรมหลักของอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งนี้มีอยู่ 3 กลุ่มด้วยกันได้แก่

1) ชีววิทยาศาสตร์ (life science): เทคโนโลยีชีวภาพในพืช (plant biotechnology) และการรักษาโรคโดยใช้แอนติบอดี (antibody therapeutics) เป็นต้น

2) วัสดุศาสตร์ (Materials): โลหะ (metallurgy) วิศวกรรมโครงสร้าง (structural engineering) และวัสดุคอมโพสิต (composites) เป็นต้น

3) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Technology): เทคโนโลยีไร้สาย (wireless technologies) การวิเคราะห์ข้อมูล (data analytics) และการเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ต (Internet of Things) เป็นต้น

ประเด็นจากการประชุม

การประชุมครั้งนี้มี Dr. Dirk De Craemer, Head Research Coordination Dr. Wim Van Camp, Manager

Technology Transfer UGent แ ล ะ Mr. Steve Stevens, Manager DO! – Student entrepreneurship

program ให้การต้อนรับ ซึ่งประเด็นส าคัญของการประชุมสามารถสรุปได้ดังนี้

• วัตถุประสงค์ของการเยี่ยมชมและหารือ คือ 1) เพ่ือศึกษาแนวปฏิบัติและกระบวนการการพัฒนา

มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมเพ่ือสนับสนุนการจัดตั้งบริษัท spin-off ด้านเทคโนโลยีเชิงลึกผ่านการร่วมมือกับ

ภาครัฐและภาคเอกชน 2) แลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจชีวภาพ 3) แลกเปลี่ยนแนวคิดใน

การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาผ่านนโยบายแบบล่างสู่บน และ 4) ศึกษาบทบาทของมหาวิทยาลัย Ghent

ต่อการจัดตั้งเขตนวัตกรรมของเมือง Ghent เพ่ือน าไปปรับใช้กับการจัดตั้งเขตนวัตกรรมในประเทศไทย

• มหาวิทยาลัย Ghent มีการผลิตบริษัท spin-off ทั้งหมด 39 บริษัทตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ

เรื่องการเป็นมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการจากการใช้โมเดล Triple Helix ที่ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่าง

เมือง สังคม และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในเมือง Ghent โดยตัวอย่างของความร่วมมือระหว่างภาคส่วน

มีดังนี ้

o มหาวิทยาลัย Ghent มีความร่วมมือกับ City of Ghent อุทยานวิทยาศาสตร์และโครงการ

บ่มเพาะภาคเอกชนมากมายในเมือง Ghent เพ่ือสร้างคลัสเตอร์ด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ

หมุนเวียน และ เคมีสีเขียว รวมไปถึงการสร้างระบบนิเวศท่ีแข็งแกร่ง

Page 16: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 14

o City of Ghent เป็ น เจ้ าของโครงการการสร้างย่ านนวัตกรรมที่ ท่ า เรือ Ghent ซึ่ ง

มหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการท ารายงานการศึกษาต่าง ๆ ให้แก่โครงการนี้

o มหาวิทยาลัย Ghent มีห้องทดลองร่วมกับสถาบันวิจัยชื่อดังอย่าง Imec และ Flanders

Institute

• หน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย Ghent มีเจ้าหน้าที่ผู้ เชี่ยวชาญด้านการให้ข้อมูลเรื่อง i

ผลประโยชน์ที่จะได้รับและจับคู่ทางธุรกิจให้กับนักวิจัย เพ่ือบ่มเพาะผู้ประกอบการในอนาคต นอกจากนี้ยัง

มีกองทุน proof-of-concept fund เพ่ือส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจจากงานวิจัยอีกด้วย

• มหาวิทยาลัย Ghent ได้จัดตั้งแพลตฟอร์ม DO! เป็นชื่อของแผนกที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการจาก

นักศึกษาที่มีการก่อตั้งในคณะวิศวกรรม ในระดับปริญญาตรีและโท โดยมีนักศึกษาที่มีศักยภาพในการเป็น

ผู้ประกอบการประมาณ 70,000 ราย ซึ่งท าให้ Ghent เป็น scale-up city โดยมีนักเรียนเป็นตัวเร่ง

มหาวิทยาลัย Ghent สามารถสร้าง 60 บริษัท และ 100 ผู้ประกอบการต่อปี

o โดยแพลตฟอร์ม DO! จะพิจารณาว่านักศึกษามีสถานะเป็นผู้ประกอบการก็ต่อเมื่อนักศึกษามี

หมายเลขผู้เสียภาษีและมโีครงการที่สามารถเริ่มได้ภายใน 12 เดือน

o แต่นักศึกษาปี 1 จะไม่สามารถได้รับสถานะว่าเป็นผู้ประกอบการได้ เนื่องจากจะต้องมุ่งเน้น

การเล่าเรียน

o หน้าที่ของแพลตฟอร์ม DO! คือการ สร้างแรงบันดาลใจ สายสัมพันธน์ระหว่างนักศึกษาและ

นักวิจัย และอบรมนักวิจัย ซึ่งนักเรียนจะเป็นเจ้าของ IP ของตัวเอง และภายใต้แพลตฟอร์ม

นี้จะมีผู้ ให้ค าปรึกษาจากภาคเอกชนมากมายที่ช่วยเหลือ ซึ่ งบริษัทเหล่านี้ ไม่ ได้รับ

ค่าตอบแทนจากมหาวิทยาลัยแต่จะได้ช่องทางการประชาสัมพันธ์

o แพลตฟอร์ม DO! มีโครงการบ่มเพาะเฉพาะด้านส าหรับผู้ประกอบการ ซึ่งมีระยะเวลา 6

เดือน และโครงการแลกเปลี่ยนร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศ อาทิเช่น การพานักศึกษาเข้า

ร่วมงาน Slush ทีป่ระเทศฟินแลนด์

• นอกจากนี้การหารือในส่วนของ สนช. ทาง สวทช. ได้มีการประชุมแยกในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความร่วมมือด้านเทคโนโลยีชีวภาพ จากการหารือกับ Prof. Peter Vandamme ซึ่งเป็น Head of Laboratory of Microbiology แ ล ะ Director of BCCM/LMG Bacteria Collection แ ล ะ Dr. Ann Hellemans ซึ่ ง เป็ น

Page 17: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 15

Manager of BCCM/LMG Bacterial Collection ได้ทราบข้อมูลว่า Lab of Microbiology เป็นส่วนหนึ่งของ Department of Biochemistry and Microbiology และมีสมาชิกที่มาจากหลายสาขาวิชา เช่น biotechnology biochemist mathematician และ bioinformatician ส าหรับ bacteria collection มีแบคทีเรียที่เก็บมาจากที่ต่าง ๆ เป็นจ านวนมากอยู่ภายใต้การดูแลของ BCCM/LMG Bacteria Collection และ Lab of Microbiology นอกจากนี้ Lab of Microbiology มีเครื่อง MALDI-TOF MS เพื่อใช้ในการบ่งชี้ชนิดของแบคทีเรียที่มีอยู่เป็นจ านวนมากอย่างรวดเร็ว (high throughput) และสามารถพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการสกรีนชนิดของแบคทีเรียที่มีซ้ า ๆ กันในตัวอย่างได้เอง อย่างไรก็ตามแบคทีเรียส่วนใหญ่ใน bacteria collection นี้ยังไม่เคยได้ถูกศึกษาว่ามีประโยชน์หรือควรน าไปใช้งานอย่างไร ดังนั้น การศึกษาทางด้านการน าไปใช้งานนี้เป็นเป็นสว่นทีค่วรมีความร่วมมือกับ BIOTEC ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางด้านการใช้ประโยชน์ของจุลินทรีย์ นอกจากความร่วมมือในส่วนการใช้ประโยชน์จากแบคทีเรียแล้ว Lab of Microbiology และ BIOTEC ก็สามารถมีความร่วมมือในการแบ่งปัน collection ของแบคทีเรียที่มีอยู่ในเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทยและแบคทีเรียที่อยู่ในเขตอากาศหนาวอย่างเบลเยียมได้ จากการหารือในโอกาสนี้ สิ่ งที่จะด าเนินการต่อคือ Lab of Microbiology และ BIOTEC จะด าเนินการจัดเตรียมเอกสารเพื่อท าบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่าง Lab of Microbiology และ BIOTEC ในล าดับถัดไป

Page 18: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 16

• ในโอกาสการเยี่ยมชมเดียวกันนี้ ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สนช. โดยมีดร. พันธุ์อาจ ชัย

รัตน์ ผู้อ านวยการส านักงานนวัตกรรมแห่งชาติ นางธีรีสา มัทวพันธุ์ รองผู้อ านวยการส านักงานนวัตกรรม

แห่ งชาติ เป็ นตั วแทน และ มหาวิท ยาลั ย Ghent โดย มี Dr. Dirk De Craemer, Head Research

Coordination เป็นตัวแทน ซึ่งมีข้อตกลงสนับสนุนความร่วมมือใน 4 ด้าน ดังนี้

o Entrepreneurial University Development

o Innovative University Development

o Creation of Startup and Spin-off Companies

o University Investments

Page 19: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 17

ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลความเชี่ยวชาญของโรงงานต้นแบบ Bio Base Europe Pilot Plant

Bio Base Europe Pilot Plant (BBEPP) เป็นโรงงานต้นแบบโดยให้บริการด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์

ชีวภาพ เช่น พลาสติกชีวภาพ ชีววัสดุ และพลังงานชีวภาพ เป็นต้น และถ่ายโอนผลลัพธ์ ไปสู่ระดับอุตสาหกรรม

เช่น อุตสาหกรรมเครื่องส าอาง อาหารเสริม ฯลฯ ซึ่งสามารถรับรองงานวิจัยได้ทุกขนาด และมีความเชี่ยวชาญใน

การออกแบบและให้ค าปรึกษาในด้านการพัฒนากระบวนการผลิตและการขยายขนาดการผลิต เพ่ือตอบโจทย์การ

แปรรูปชีวมวลสู่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

BBEPP ได้รับทุนสนับสนุนจากแคว้น Flanders ของประเทศเบลเยียม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ สหภาพยุโรป

ในการจัดตั้ง โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อปี ค.ศ. 2009 และเปิดให้บริการปลายปี ค.ศ. 2010 โดยวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง

คือ เพ่ือลดช่องว่างในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพส าหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยให้บริการเป็น

โรงงานต้นแบบส าหรับกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ า (green resources) จนถึงปลายน้ า (final products) เพ่ือ

ส่งเสริมและผลักดันการขยายขนาดของกระบวนการผลิตจากห้องปฏิบัติการไปสู่ระดับอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นคอขวด

ของการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ

โ รงงานต้นแบบ Bio Base Europe Pilot

Plant

Credit: Biobase Europe

Page 20: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 18

ปัจจุบัน BBEPP มีจ านวนพนักงานทั้งหมด 70 คน มีโครงการในความดูแลมากกว่า 200 โครงการ ส าหรับ 100

บริษัท โดยโรงงานของ Bio Base Europe เป็นโรงงานที่มีความทันสมัยซึ่งท างานจากระดับห้องปฏิบัติการจนถึง

ระดับอุตสาหกรรม ทั้งนี้ยังเป็นผู้ให้บริการส าหรับการพัฒนากระบวนการ ขั้นตอนการผลิตตามความต้องการของ

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพ่ือขยายเป็นการผลิตขนาดใหญ่ โดยกระบวนการผลิตของหน่วยงานจะมี

ความยืดหยุ่นในการด าเนินงาน ท าให้สามารถถ่ายโอน Protocol ของผู้รับบริการลงในกระบวนการอุตสาหกรรมที่

ท างานได้จริง ดังนั้นทางโรงงานของ Bio Base Europe จึงสามารถช่วยให้การแปลงชีวมวล (เช่น พืชผลทาง

การเกษตรและผลผลิตที่ได้ทางอุตสาหกรรม) เป็นชีวเคมี วัสดุชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพ และผลิตภัณฑ์ชีวภาพอ่ืน

ๆ ทั้งนี้ความเชี่ยวชาญยังครอบคลุมไปถึงการแปลงชีวมวลให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพบริสุทธิ์ การปรับสภาพชีว

มวล การหมักชีวภาพ เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การน าผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ และการท าให้ผลิตภัณฑ์

บริสุทธิ์

พนักงานประจ าที่ BBEPP ส่วนใหญ่จะเป็นวิศวกรและผู้ประกอบการกระบวนการและมีหน้าที่ 4 อย่างได้แก่ 1.

การจัดท าการทดลอง 2. การออกแบบและวิเคราะห์กระบวนการผลิต 3. การค านวณหาสมดุลเชิงมวลและพลังงาน

4. ให้ความช่วยเหลือแก่วิสาหกิจเริ่มต้น (startup)

BBEPP จัดตั้งเป็นองค์กรอิสระแบบไม่แสวงหาผลก าไร ไม่มีผู้ถือหุ้นจากภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงเป็นบริบทที่

เหมาะสมส าหรับการด าเนินงานในการขอทุนหรือการสนับสนุนจากรัฐบาลเบลเยียมหรือ สหภาพยุโรป ทั้งนี้ บริษัท

หรือสถาบันวิจัยต่าง ๆ ทั่วโลกก็สามารถเข้ามาใช้บริการได้ การใช้บริการศูนย์วิจัยนี้สามารถลดค่าใช้จ่าย เวลาการ

ท าการ และ ความเสี่ยงของกระบวนการ lab scale process ได้ ท าให้การพัฒนานวัตกรรมของบริษัทรวดเร็ว

และค่าใช้จ่ายน้อยลง

Credit: Biobase Europe

Page 21: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 19

ประเด็นจากการประชุม

การประชุมครั้งนี้มี Dr. ir. Frederik De Bruyn ต าแหน่ง Business Development Manager และ Mr. Brecht

Vanlerberghe ต าแหน่ง Head R&D ให้การต้อนรับและบรรยายการด าเนินงาน ซึ่งประเด็นส าคัญของการประชุม

สามารถสรุปได้ดังนี้

• วัตถุประสงค์ส าคัญที่คณะจากกระทรวงวิทย์ฯ มาเยี่ยมชม BBEPP คร้ังนี้ คือ การหารือความร่วมมือส าหรับการจัดตั้ง

โรงกลั่นชีวภาพ (Biorefinery Pilot Plant) ที่ก าลังจะสร้างขึ้นในอนาคตในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาค

ตะวันออก (EECi) ทั้งในแง่ของการออกแบบและการสร้างโรงงานรวมถึงการสนับสนุนทางด้านการแลกเปลี่ยน

บุคลากรหรือองค์ความรู้ ทั้งนี้ จากการประสานงานกันก่อนในเบื้องต้น ท าให้ EECi และ BIOTEC มีความสนใจ

รูปแบบการด าเนินการของ BBEPP โดยเห็นว่าอาจจะน ามาประยุกต์ใช้ในการบริหารและด าเนินงาน Biorefinery

Pilot Plant ที่จะก่อสร้างที่ EECi ในอนาคตอันใกล้นี้ได้

• BBEPP เป็นระบบเปิดให้คนภายนอกเข้าถึงได้ และมีหน้าที่หลักในการเปลี่ยนงานวิจัยสู่นวัตกรรม ซึ่งพ้ืนที่

ละแวกนี้มีโรงงานชีวเคมีจ านวนมาก ท าให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตและรุ่งเรืองมากในเมือง Ghent และเป็นหนึ่ง

ในสาเหตุทีป่ระเทศเบลเยียมมีชื่อเสียงในด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจชีวภาพ และนา

โนเทคโนโลยี

• หลักการปฏิบัติงานของ BBEPP คือการสร้างการหมุนเวียนของงานวิจัยและนวัตกรรม โดยให้ค านิยามของการ

เปลี่ยนงานวิจัยเป็นนวัตกรรมในการแปรความรู้สู่เงิน

o BEPP สามารถขยายขนาดของการผลิตจากขนาดการผลิตในห้องปฏิบัติการสู่ขนาดการผลิตในโรงงาน

ต้นแบบเพ่ือเป็นการทดสอดกระบวนการผลิตที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาให้แก่แต่ละวิสาหกิจขนาด

กลางและขนาดย่อม ท าให้ลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายของการพัฒนานวัตกรรม

• เงินลงทุนในการสร้าง BBEPP นี้คือ 21 ล้านยูโรจากภาคเอกชน และ 30 ล้านยูโรจากสหภาพยุโรป ซึ่งเป็น

โรงงานที่ไม่แสวงหาก าไรและได้รับการสนับสนุนสถานที่จากท่าเรือเมือง Ghent ด้วย

o BBEPP มีส่วนร่วมในโครงการ Horizon 2020 ในการร่างข้อเสนอและแนะน าแนวทางการพัฒนา

นวัตกรรมอุตสาหกรรมชีวเคมี

• คณะผู้บริหารของ BIOTEC น าโดย ดร. สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง และ ดร. เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อ านวยการ

สวทช. ซึ่งรับผิดชอบเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(Eastern Economic Corridor of

Page 22: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 20

Innovation, EECi) ได้หารือถึงการสร้างความร่วมมือด้าน Bio refinery pilot ซึ่งหลังการหารือระหว่างทั้ง

สองฝ่าย พบว่า นอกเหนือจากความร่วมมือในรูปแบบรายโครงการ (project-based) ซึ่งหน่วยงานในประเทศ

ไทยจ้าง BBEPP ท าโครงการวิจัยขยายผลให้พร้อมกับส่งผู้เชี่ยวชาญมาสังเกตการณ์การด าเนินโครงการ หรือ

รูปแบบการว่าจ้าง BBEPP ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ (consultancy) แล้ว ประเด็นที่ BBEPP อาจจะ

พิจารณาเพ่ิมเติม คือ การมีหน่วยงานสาขาตั้งอยู่ที่ EECi เพ่ือน าขีดความสามารถของ BBEPP มาให้บริการกับ

ผู้ประกอบการและสถาบันวิจัยในอาเซียน โดย BBEPP สามารถพิจารณาเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ EECi และ

BIOTEC ในการออกแบบและพัฒนา EECi Biorefinery Pilot Plant รวมถึงร่วมใช้โรงงานต้นแบบดังกล่าวใน

การให้บริการได้ ซึ่งหากทั้งสองฝ่ายตัดสินใจร่วมกันเป็นพันธมิตร นอกจากจะเกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย

โดยตรงแล้ว ยังอาจเกิดประโยชน์ทางอ้อมในการชี้น าการพัฒนาอุตสาหกรรมการกลั่นชีวภาพของอาเซียนทั้ง

ในเชิงเทคโนโลยี เชิงการเลือกใช้ชีวทรัพยากรและเครื่องจักรตลอดจนอุปกรณ์สนับสนุนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

ทั้งนี้ BBEPP จะน าผลการหารือความร่วมมือร่วมกันนี้ไปหารือภายในและจะแจ้งผลให้ EECi และ BIOTEC

ทราบในโอกาสต่อไป

Page 23: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 21

Rotterdam Innovation District ซึ่งตั้งอยู่ ณ Area-

based Innovation District ของเมือง Rotterdam

ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีสถาบันและภาคเอกชนที่มี

ความก้าวหน้ามารวมตัวกันและปรับตัวให้เข้ากับธุรกิจ

start-ups, business incubators และaccelerator

Rotterdam Innovation District ถูกแย่งออกเป็น

สองส่วนคือ RDM และ M4H ซึ่ง RDM เน้นด้านการ

ผลิต อัจฉริยะ (Smart Manufacturing) และเป็ น

พ้ืนที่ที่ มีสถานบันการศึกษามากมายอยู่ ร่วมกับ

บริษัทเอกชน โดยมี ท่าเรือ Rotterdam เป็นเจ้าของ

โครงการและเจ้าของสถานที่ เพ่ือส่งเสริมนวัตกรรม

เศรษฐกิจ และเพ่ิมงานให้แก่ผู้คนในละแวกท่าเรือ

RDM ถือว่าเป็นสถานที่ที่นักศึกษาจะได้มีโอกาสมา

ฝึกฝนทักษะทางปฏิบัติด้านการอาชีวศึกษา และมี

ระบบนิเวศที่ส่งเสริมการท างานร่วมกันในโครงการต่าง ๆ ด้านนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ โดยนักศึกษาสามารถเข้าถึง

ในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีความทันสมัย เช่น เช่น เทคโนโลยี 3D printing เป็นต้น

เ ขตนวัตกรรมแห่งเมือง Rotterdam

(Rotterdam Innovation District)

Credit: RDM

Page 24: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 22

ประเด็นจากการประชุม

การประชุมครั้ งนี้ มี Ms. Julia Oomens-Meer ต าแหน่ ง Business Manager Innovation, International

Trade & Investment, Rotterdam Partners ให้การต้อนรับ และพาคณะเยี่ยมชม ซึ่งประเด็นส าคัญของการ

เยี่ยมชมสรุปได้ดังนี้

• สถานที่ของท่าเรือนี้เคยเป็นที่ก่อสร้างเรือรบและเรือด าน้ าช่วงสงคราม แต่ขณะนี้ไม่ได้ใช้งาน ส่วนเจ้าหน้าที่

ก่อสร้างที่อาศัยอยู่ในละแวกนี้ก็สูญเสียงานไปมาก ท่าเรือ Rotterdam จึงเริ่มโครงการพัฒนาย่านนวัตกรรม

แห่งนี้ขึ้น

• ท่าเรือนี้ได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ซึ่งส่วนแรกรวบรวมห้องเรียนของมหาวิทยาลัย และห้องทดลองของ

วิทยาลัยเทคโนโลยีด้วยกัน โดยที่นักศึกษาจากทั้งสองฝั่งท างานร่วมกันเพ่ือพัฒนาสินค้า และส่วนที่สองเป็น

Page 25: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 23

ของหน่วยงานเอกชนที่เป็นพ้ืนที่ทดลองเฉพาะด้านพร้อมกับเจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางซึ่งให้ค าปรึกษา

การใช้เครื่องมือได ้

o นักศึกษามหาวิทยาลัยได้รับคะแนนเมื่อช่วยเหลือนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยี ในการพัฒนา

สิ่งประดิษฐ์

o ด้านที่เป็นของหน่วยงานเอกชนส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่าย แต่เป็นการสร้างช่องทางให้นักศึกษาน า

ผลงานจากการเรียนมาพัฒนาเป็นสินค้าต่อได ้

o ฝ่าย Area-based Innovation สามารถติดต่อกับท่าเรือ Rotterdam เพ่ือหารือและแลกเปลี่ยนแนว

ทางการพัฒนาย่านนวัตกรรมร่วมกับสถาบันศึกษาเพ่ือที่จะน ามาประยุกต์ในย่านกล้วยน้ าไทและศรี

ราชา

Page 26: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 24

ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลความเชี่ยวชาญของศูนย์ Erasmus Centre for Entrepreneurship (ECE)

งานวิจัยของ Erasmus University Rotterdam ได้มีการแบ่งออกไป 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาพ ความมั่งคั่ง การ

ปกครอง และวัฒนธรรม ซึ่ง Erasmus Centre of Entrepreneurship (ECE) อยู่ภายใต้หมวดหมู่ความม่ังคั่ง และ

ด าเนินการโดยนักศึกษาของมหาวิทยาลัยด้วยเป้าหมายที่จะพัฒนาผู้ประกอบการจากเครือข่ายและความร่วมมือ

ของมหาวิทยาลัย กิจกรรมภายใต้ ECE มีส าหรับวิสาหกิจเริ่มต้น หน่วยงานภาคเอกชน และอาจารย์มหาวิทยาลัย

และ ECE Campus ได้ขึ้นชื่อว่า มีความเป็นผู้ประกอบการมากที่สุดในยุโรป โดยมีตั้งแต่การอบรมการจัดตั้ง

วิสาหกิจเริ่มต้น จับคู่ทางธุรกิจระหว่างบริษัทและวิสาหกิจเริ่มต้นเพ่ือพัฒนานวัตกรรมยั่งยืน จนถึงการพัฒนา

บุคคลากรในสถาบันการศึกษา ซึ่งจะก่อให้เกิดการน างานวิจัยสู่ตลาดได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมี สตาร์ทอัวิสาหกิจ

เริ่มต้นพประจ าอยู่ใน ECE campus ถึง 160 รายในปี ค.ศ. 2018 และด าเนินการโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจ

เริ่มต้นชื่อ Get Started Programme และ PortXL accelerator อีกด้วย

ECE เป็นศูนย์กลางชั้นน าส าหรับผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ของยุโรป ยึดหลักในการบริหารจัดการด้วยแนวคิดที่ว่า “ความเป็นผู้ประกอบการเป็นสิ่งขับเคลื่อนหลักส าหรับนวัตกรรม” ดังนั้น ECE จึงมีเป้าหมายที่จะ

ศู นย์ Erasmus Centre for

Entrepreneurship (ECE)

Credit: ECE

Page 27: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 25

สร้างความเป็นผู้ประกอบการเข้าไปอยู่ในดีเอ็นเอของพลเมือง ECE ไม่ได้มีเป้าหมายในการสร้างบริษัท แต่มีเป้าหมายในการสร้างความเป็นผู้ประกอบการผ่านองค์ความรู้และเครือข่ายของ Erasmus University Rotterdam ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งโดยผู้ประกอบการมานานกว่า 100 ปี

ECE มีหลั กสู ตรการฝึกอบรมและพัฒ นาผู้ ป ระกอบการ (Executive training and development on entrepreneurship) ทั้งในระดับ Strategic board level และส าหรับทีมนวัตกรรม (Innovation teams) โดย ECE มีผู้สอนที่ เป็นศาสตราจารย์ (Full processors) จ านวน 4 ท่าน และทีมงานผู้ ให้การฝึกอบรมที่ เป็นนักวิชาการ (Academic trainer) และ นักวิจัยมากกว่า 30 ท่าน ในหัวข้อต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้ประกอบการ โดยโปรแกรมการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ประกอบการนี้ โดยทั่วไป จะจัดที่ ECE Campus ซึ่งตั้งอยู่ใน Rotterdam Science Tower ที่ อยู่ ณ บริ เวณตรงกลางของ Rotterdam Innovation District ที่ ECE Campus นี้ มีบริษัทด้านนวัตกรรมมากกว่า 100 บริษัท มาเช่าใช้สถานที่ นอกจากนี้ยังเป็นที่จัดงานต่าง ๆ

ECE มีการติดตามและวิจัยถึงบริษัทที่มีการเติบโตทางธุรกิจที่รวดเร็ว (Fast growing companies) บริษัทที่มีการขยายตัว (Scale-ups) และมีการน าเสนอผลการติดตามและวิจัยประจ าปี ดังกล่าว ใน Annual Scaleup Dashboard

ในทุก ๆ ปี มีผู้ประกอบการมากกว่า 100 ที่เริ่มต้นบริษัทและเข้าร่วมในโปรแกรม Get Started Program ที่จัดโดย ECE ซึ่งเป็นโปรแกรมส าหรับการเริ่มต้นความเป็นผู้ประกอบการ ECE Campus ตั้งอยู่ในอาคาร 7 ชั้น ยังได้ริเริ่มโปรแกรมธุรกิจแบบต่างๆ ประกอบด้วย PortXL accelerator(Port of Rotterdam), Life Sciences & Health hub (ErasmusMC) และ Startup Floor (Get in the Ring) เพ่ือสนับสนุนการเรียนรู้ในภาคส่วนต่าง ๆ ECE มีหลักสูตรส าหรับการสร้างผู้ประกอบการส าหรับปริญญาตรี ปริญญาโท และระดับ MBA ให้กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ของเนเธอร์แลนด์และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ โดยในแต่ละปีสามารถรองรับนักศึกษาได้มากกว่า 10,000 คน

ประเด็นจากการประชุม

การประชุมครั้ งนี้ มี Mr. Martin Luxemburg ต าแหน่ ง Managing Director และ Mr. Ruben Habraken

ต าแหน่ ง Project Manager Education ซึ่ งรับผิดชอบด้านการจัดฝึกอบรม Startup Programmes ของ

Erasmus Centre for Entrepreneurship (ECE) ให้การต้อนรับ และพาคณะเยี่ยมชมการด าเนินงานของ ECE ซึ่ง

ประเด็นส าคัญของการประชุมสามารถสรุปได้ดังนี้

• วัตถุประสงค์ของการเยี่ยมชมและหารือ คือ 1) เพ่ือด าเนินการจัดโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา 2) ศึกษาแนว

ปฏิบัติและรูปแบบการพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม 3) ศึกษาบทบาทของ ECE ต่อการจัดตั้งเขต

Page 28: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 26

นวัตกรรมของเมือง Rotterdam เพ่ือน าไปปรับใช้กับการจัดตั้งเขตนวัตกรรมในประเทศไทย และ 4) เชิญชวน

วิสาหกิจเริ่มต้นที่อยู่ภายใต้การดูแลของ ECE มาร่วมงาน Startup Thailand 2019

• ECE เป็นหนึ่งในวิทยาเขตของคณะธุรกิจและนวัตกรรม ซึ่งเป็นคณะที่มีชื่อเสียงทีสุดในเนเธอร์แลนด์

o มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้ Triple helix model (ภาคการศึกษา - ภาครัฐบาล – ภาคเอกชน) และ

การพัฒนาระบบนิเวศ

• Mr. Ruben เป็นหัวหน้าแผนกการพัฒนาผู้ประกอบการ โดยมีหลักสูตรให้ความรู้แก่นักเรียนและอาจารย์ ซึ่ง

ECE ได้น าหลักสูตรนี้ไปอบรมสถาบันในต่างประเทศ

o สนช. สามารถน าหลักสูตรนี้เข้ามาอบรมอาจารย์ในสถาบันไทยได้ ผ่านโครงการของ NIA Academy

o Get in the Ring เป็นบริษัทที่จัดงาน pitching ทั่วโลก ซึ่งคล้ายกับ Startup Thailand League ใน

ขนาดที่ใหญ่กว่า Martin จึงแนะน าห้ สนช. หาความร่วมมือกับหน่วยงานนี้ต่อไป

• ECE เน้นเรื่องการพัฒนาบุคคลไม่ใช่ธุรกิจ เนื่องจากยุโรปมี European Knowledge Paradox (เมื่อมีความรู้

เยอะแต่ว่าถ่ายทอดสู่หรือระหว่างบุคคลไม่ได้ เนื่องจากไม่มีหนว่ยถ่ายถอดเทคโนโลยี)

• หน่วยงานภาครัฐจะมีการให้ทุน pre-seed เป็นส่วนใหญ่ แบบไม่รับผลตอบแทน ซึ่งมหาวิทยาลัย Erasmus

จะไม่ค่อยลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้นของตัวเองเนื่องจากวิสาหกิจเริ่มต้นที่มีมหาวิทยาลัยเป็นผู้ถือหุ้นจะมีโอกาส

ได้รับการลงทุนน้อยลงร้อยละ 40

Page 29: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 27

Page 30: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 28

การเยี่ยมชมและประชุมกับ 3 มหาวิทยาลัยในประเทศเบลเยีบมและเนเธอร์แลนด์ พบว่าทั้ง 3 มหาวิทยาลัย มีความเหมือนกันใน 4 ประเด็น คือ 1) เน้นเทคโนโลยีระดับสูง 2) ให้ความส าคัญต่อการพัฒนาวิสาหกิจ (Enterprise) 3) ท างานกับเอกชนในท้องที่อย่างใกล้ชิด และ 4) เน้นการน าไปส่การสร้างงานทางนวัตกรรม (Innovative job creation) โดยจุดเด่นของทั้ง 3 มหาวิทยาลับมีดังนี้

- มหาวิทยาลัย Ghent เน้น การสร้างความเป็นผู้ประกอบการในนักเรียนและการถ่ายทอดเทคโนโลยี และมีอุตสาหกรรมชีวภาพอยู่รอบ ๆ มหาวิทยาลัยเป็นจ านวนมาก เช่น Bio Base Pilot Plant ก็ตั้งอยู่ที่เมือง Ghent ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากจากอาจารย์ที่เคยท างาน ณ มหาวิทยาลัย Ghent และอยากแปลงงานวิจัยไปสู่การท าธุรกิจจริง

- มหาวิทยาลัย KU Leuven มีความส าเร็จในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมามากที่สุดในเบลเยียมในการสร้างบริษัท Spin Off กว่า 136 บริษัท ระดมเงินทุนวิจัยเชิงพาณิชย์ได้กว่า 35,000 ล้านบาท โดยใช้ KU Leuven R&D ซึ่งเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย ให้กลายเป็น platform ให้บริการการเปลี่ยนแปลงงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์และ บริการเชิงพาณิชย์ อีกท้ังยังถูกจัดให้เป็น “The most innovative University in Europe”

- Erasmus Centre for Entrepreneur (ECE) เป็นโรงเรียนธุรกิจอันดับต้น ๆ ของโลก มีโปรแกรมส าหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (startup) ที่โดดเด่น และท างานใกล้ชิดกับเมือง Rotterdam ในการสนับสนุนเขตนวัตกรรมแห่งเมือง Rotterdam

แนวปฏิบัติที่ดี – แนวทางในการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี

จากการเยี่ยมชมทั้ง 3 มหาวิทยาลัย สามารถสรุปปัจจัย 10 ข้อที่ส าคัญในการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ดังนี ้

1) การมีส่วนร่วม

การจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยควรก าหนดให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นหน้าที่หลักของสถาบันและเปิดโอกาสนักวิชาการเข้ามามีส่วนร่วม

2) เอกสิทธิ์

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยจะต้องเป็นหน่วยงานอิสระที่มีอ านาจในการท าสัญญาตามกฏหมาย

บ ทสรุปและข้อเสนอแนะ

Page 31: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 29

3) งบประมาณ

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจะต้องได้รับงบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอเพ่ือสามารถจ้างผู้เชี่ยวชาญมาท างานเต็มเวลาอย่างน้อยสามคนในการจัดตั้งศูนย์

4) ความเชี่ยวชาญ

การจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจะต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญที่มีความเข้าใจภาคเอกชนและมีประสบการณ์ในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีหน้าที่ในการให้ความสะดวกและเจรจาต่อรอง เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการประสานงานระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคเอกชน

5) แรงจูงใจ

มหาวิทยาลัยจะต้องก าหนดผลตอบแทนให้นักวิจัยที่ท าความร่วมมือกับภาคเอกชน

6) ความร่วมมือกับภาคเอกชน

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจะต้องเรียนรู้การสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนก่อนที่จะจัดตั้งบริษัทที่เกิดจากการวิจัย

7) จิตบริการ

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจะต้องให้การสนับสนุนนักวิชาการในการถ่ายทอดเทคโนโลยีทุกด้านด้วยบริการชั้นเลิศ

8) บทบาทในการเร่งให้เกิดเปลี่ยนแปลง

ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีต้องท าหน้าที่ประสานงานให้นักวิชาการกับภาคเอกชนท างานร่วมกัน ศูนย์ต้องปรับการท างานโดยอยู่เรื่อย ๆ อย่าท างานแบบซ้ าซากแบบขอไปที

การผลักดันการสร้างวิสาหกิจเริ่มต้นผ่านมหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ

วิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ส่วนใหญ่อยู่บนพ้ืนฐานของการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งต้องอาศัยการท าวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี วิสาหกิจเริ่มต้นส่วนใหญ่ที่ประสบความส าเร็จนั้นมักจะเริ่มต้นในมหาวิทยาลัย โดยการเรียนรู้ทักษะเบื้องต้นในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ แล้วจึงน าไปพัฒนาต่อเป็นแนวคิดใหม่ที่มีคุณค่าและน าเสนอได้อย่างเป็นรูปธรรมให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการ

Page 32: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 30

เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งที่ผลิตงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ส าคัญ ดังนั้นการต่อยอดให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะเพ่ือน าเสนอแนวคิดใหม่ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ จึงเป็นโอกาสส าคัญในการสร้างวิสาหกิจเริ่มต้นที่มีประสิทธิภาพให้กับประเทศ โดยแนวคิดที่ส าคัญในการปรับรูปแบบการด าเนินงานของมหาวิทยาลัยให้สามารถสนับสนุนการสร้างประโยชน์จากงานวิจัยและสร้าง วิสาหกิจเริ่มต้น ได้นั้น ถูกเรียกว่า Entrepreneurial University

โดยมีเป้าหมายที่ส าคัญของ Entrepreneurial University คือ การเพ่ิมโอกาสในการโอนถ่ายองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพ่ือสร้างประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ทั้ งในรูปแบบของการให้ใช้สิทธิ์ (Technology Licensing) และการสร้างวิสาหกิจเริ่มต้น

ส าหรับในด้านการสร้างวิสาหกิจเริ่มต้น มหาวิทยาลัยจ าเป็นต้องปรับกลไกในหลายด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย แนวทางการท าวิจัยที่ให้ความส าคัญกับการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง การปรับรูปแบบการเรียนการสอนโดยให้ความส าคัญกับการเรียนรู้ผ่านการทดลองและการบูรณาการวิชาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเป็นผู้ประกอบการ และ การจัดการนวัตกรรมเข้าด้วยกัน โดยปรับให้สอดคล้องกับสาขาท่ีนักศึกษาเรียนอยู่โดยเฉพาะ

แต่อย่างไรก็ตามกลไกสิ่งที่ส าคัญที่สุดคือการสร้างระบบนิเวศน์ที่สนับสนุนการพัฒนาแนวคิด การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ การทดลองใช้หรือให้บริการ การผลิต และการเริ่มด าเนินธุรกิจ ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสให้กับนักศึกษาในการเรียนรู้ประสบการณ์ด้านวิสาหกิจเริ่มต้น และท าให้นักศึกษาจะได้เข้าใจถึงปัจจัยที่ส าคัญและความท้าทายของการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น ที่สามารถสร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างยั่งยืน

แนวทางการสร้างความร่วมมือในอนาคตระหว่างประเทศไทยและหน่วยงานต่าง ๆ

1) มหาวิทยาลัย KU Leuven

มหาวิทยาลัย KU Leuven มีนโยบายขยายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศเพ่ือส่งเสริมการแลกเปลี่ยน

ระหว่างนักเรียนและนักวิจัย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย เนื่องจากประวัติผลงานศึกษานักเรียนไทยใน KU

Leuven มีประสิทธิภาพสูงมาก โดยขณะนี้มีนักเรียนไทยประมาณ 60,000 คนที่ผ่านโครงการ Startup

Thailand League สนช. จึงยินดีร่วมมือจัดโครงการที่แลกเปลี่ยนนักเรียนกับ KU Leuven

นอกจากนีไ้ด้มกีารลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สนช. และ มหาวิทยาลัย KU Leuven ซ่ึง

Page 33: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 31

สามารถน าไปสู่การพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างผู้ประกอบการ การสร้างวิสาหกิจเริ่มต้น การ

พัฒนาด้านนวัตกรรม และการสร้างบริษัท spin-off ในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

2) มหาวิทยาลัย Ghent

BIOTEC ซึ่ งมีความเชี่ ยวชาญทางด้านการใช้ประโยชน์ของจุลินทรีย์ สามารถร่วมมือกับ Lab of

Microbiology มหาวิทยาลัย Ghent ในส่วนการใช้ประโยชน์จากแบคทีเรีย นอกจากนี้ทั้งสองหน่วยงาน ก็

สามารถมีความร่วมมือในการแบ่งปัน collection ของแบคทีเรียที่มีอยู่ในเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทยและ

แบคทีเรียที่อยู่ในเขตอากาศหนาวอย่างเบลเยียมได้ สิ่งที่จะต้องด าเนินการต่อคือ Lab of Microbiology และ

BIOTEC จะต้องด าเนินการจัดเตรียมเอกสารเพ่ือท าบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่าง Lab of Microbiology

และ BIOTEC เพ่ือลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในเดือนเมษายน

ในขณะที่ สนช. สามารถประสานกับมหาวิทยาลัย Ghent เรื่องการร่วมงาน Startup Thailand 2019 ใน

โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของโครง DO! จากมหาวิทยาลัย Ghent ซึ่ง สนช. ยินดีและมอบหมายในฝ่าย

Startup Thailand เป็นผู้ประสานงานต่อ

3) Biobase Europe Plant (BBEP)

รูปแบบความร่วมที่เป็นไปได้ คือ ความร่วมมือในรูปแบบรายโครงการ (project-based) ซึ่งหน่วยงานใน

ประเทศไทยจ้าง BBEPP ท าโครงการวิจัยขยายผลให้พร้อมกับส่งผู้เชี่ยวชาญมาสังเกตการณ์การด าเนิน

โครงการ หรือรูปแบบการว่าจ้าง BBEPP ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ (consultancy) แล้ว ประเด็นที่ BBEPP

อาจจะพิจารณาเพ่ิมเติม คือ การมีหน่วยงานสาขาตั้งอยู่ที่ EECi เพ่ือน าขีดความสามารถของ BBEPP มา

ให้บริการกับผู้ประกอบการและสถาบันวิจัยในอาเซียน โดย BBEPP สามารถพิจารณาเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ

EECi และ BIOTEC ในการออกแบบและพัฒนา EECi Biorefinery Pilot Plant รวมถึงร่วมใช้โรงงานต้นแบบ

ดังกล่าวในการให้บริการได้ ซึ่งหากทั้งสองฝ่ายตัดสินใจร่วมกันเป็นพันธมิตร นอกจากจะเกิดประโยชน์กับทั้ง

สองฝ่ายโดยตรงแล้ว ยังอาจเกิดประโยชน์ทางอ้อมในการชี้น าการพัฒนาอุตสาหกรรมการกลั่นชีวภาพของ

อาเซียนทั้งในเชิงเทคโนโลยี เชิงการเลือกใช้ชีวทรัพยากรและเครื่องจักรตลอดจนอุปกรณ์สนับสนุนที่เกี่ยวข้อง

ต่อไปด้วย ทั้งนี้ BBEPP จะน าผลการหารือความร่วมมือร่วมกันนี้ไปหารือภายในและจะแจ้งผลให้ EECi และ

BIOTEC ทราบในโอกาสต่อไป

Page 34: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 32

4) Rotterdam Innovation District

ฝ่าย Area-based Innovation ของ สนช. สามารถติดต่อกับท่าเรือ Rotterdam เพ่ือหารือและแลกเปลี่ยน

แนวทางการพัฒนาย่านนวัตกรรมร่วมกับสถาบันศึกษาเพ่ือที่จะน ามาประยุกต์ในย่านกล้วยน้ าไทและศรีราชา

5) Erasmus Centre of Entrepreneurship (ECE)

สนช. สามารถน าหลักสูตรการพัฒนาผู้ประกอบการ โดยมีหลักสูตรให้ความรู้แก่นักเรียนและอาจารย์ เข้ามา

อบรมอาจารย์ในสถาบันการศึกษาของไทยได้ ผ่านโครงการของ NIA Academy

Page 35: สารบัญ - thaiscience.eu...ส งเสร มการจ ดต งว สาหก จเร มต น (Startup) หน า 2 คณะของส าน กงานนว

หน้า 33

• http://www.techlane.be

• https://lrd.kuleuven.be/en

• http://www.bbeu.org/pilotplant/

• https://www.rdmrotterdam.nl/

• https://ece.nl/

• http://mubi.mahidol.ac.th/index.php/2016/09/27/startup-and-entrepreneurial-university/

• รายงานสรุปการเดินทาง “การแสวงหาและลงนามบันทึกความร่วมมือร่วมกับ KU Leuven และ Ghent

University” จากส านักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.)

บ รรณานุกรม