บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป...

54
MM-C05 หน้า 2-1 บททีผลการดําเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ สิ่งแวดล้อม 2.1 ผลการดําเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั่วไป ผลการตรวจสอบการดําเนินการมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั่วไป นําเสนอดัง ตารางที2.1-1 2.2 ผลการดําเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระยะเตรียมการ และระยะดําเนินการ ผลการตรวจสอบการดําเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระยะ เตรียมการ และระยะดําเนินการ นําเสนอดังตารางที2.2-1 และตารางที2.2-2 ตามลําดับ 2.3 ผลการดําเนินการตามมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลการดําเนินการตามมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม นําเสนอดังตารางที2.3-1

Transcript of บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป...

Page 1: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

MM-C05 หน้า 2-1

บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อม

2.1 ผลการดําเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั่วไป

ผลการตรวจสอบการดําเนินการมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั่วไป นําเสนอดังตารางที่ 2.1-1

2.2 ผลการดําเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระยะเตรียมการ

และระยะดําเนินการ

ผลการตรวจสอบการดําเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบส่ิงแวดล้อม ระยะเตรียมการ และระยะดําเนินการ นําเสนอดังตารางที่ 2.2-1 และตารางที่ 2.2-2 ตามลําดับ

2.3 ผลการดําเนินการตามมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ผลการดําเนินการตามมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม นําเสนอดังตารางที่ 2.3-1

Page 2: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-2 MM-C05

ตารางที ่2.1-1 ผลการดําเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั่วไป

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

1) ให้มีจุดรับเรื่องราวร้องทุกข์ความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจากกิจกรรมการทําเหมืองแร่และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้ถือประทานบัตรจะต้องดําเนินการแก้ไขและให้ความช่วยเหลือด้วยความเป็นธรรม

- จัดให้มีกล่องรับเรื่องราวร้องทุกข์บริเวณที่ทําการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 บ้านไทรงาม ที่ทําการผู้ใหญ่บ้านหมู่ ที่ 7 บ้านฝายพัฒนา ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเขาแหลม และสํานักงานของโครงการ พร้อมทั้งติดหมายเลขโทรศัพท์ของโครงการเพื่อเป็นทางเลือกสําหรับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์

- การดํา เนินโครงการ ที่ผ่ านมาไม่ไ ด้ รับข้อร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบจากโครงการ

- ไม่มี

กล่องรับเรื่องราวร้องทุกข์บริเวณ ที่ทําการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2

กล่องรับเรื่องราวร้องทุกข์บริเวณ ที่ทําการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7

กล่องรับเรื่องราวร้องทุกข์บริเวณที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเขาแหลม

Page 3: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-3 MM-C05

ตารางที่ 2.1-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

2) หากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงว่าได้รับความเดือดร้อนรําคาญจากการดําเนินโครงการ หรือสาธารณประโยชน์ได้รับความเสียหาย กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ตรวจสอบแล้วพบว่าผู้ถือประทานบัตรไม่ปฏิบั ติตามมาตรการป้องกันและแก้ ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กําหนด จะต้องหยุดการทําเหมืองแล้วแก้ไขเหตุแห่งความเดือดร้อนให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะดําเนินการต่อไป

- การดําเนินโครงการที่ผ่านมามิได้ก่อให้เกิดความเดือด ร้อนกับประชาชนจึ ง ไ ม่ มีการร้องเรียน

- ยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไข

- ไม่มี -

3) ให้ทําการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่โครงการที่ผ่านการทําเหมืองแร่แล้ว และพื้นที่สิ้นสุดการใช้ประโยชน์แล้ว และจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูพื้นที่จากการทําเหมืองแร่ ตามแผนงานที่ได้เสนอไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งให้รายงานผลการดําเนินงาน

- บริษัท ไมน์เค็ม จํากัด ได้รับอนุญาตประทานบัตร เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ปัจจุบันอยู่ในช่วงปีที่ 5 ของการทําเหมืองและอยู่ในช่วงการฟื้นฟูในช่วงที่ 2 (ปีที่ 4-25 : 2561-2582) ตามแผนการฟื้นฟูที่เสนอไว้ในรายงานการประเมิน

- ให้ทางโครงการดําเนินการขุดลอกคูระบายน้ําในช่วงฤดูฝนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้สามารถระบายน้ําได้ดียิ่งขึ้น

-

กล่องรับเรื่องราวร้องทุกข์บริเวณสํานักงานโครงการ

Page 4: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-4 MM-C05

ตารางที่ 2.1-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

ให้สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ทราบทุกปี

ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม กําหนดให้เริ่มเปิดหน้าเหมืองต่อจากการทําเหมืองในช่วงที่ผ่านมาที่ระดับความสู ง 60-40 ม . (รทก . ) การ ฟื้นฟู ในช่ วงนี้ ประกอบด้วย การบํารุงรักษาต้นไม้เดิมที่ได้ทําการปลูกในช่วงที่ผ่านมาและปลูกซ่อมเสริมหากพบว่าต้นไม้ล้มตาย การปลูกต้นไม้ในพื้นที่เว้นการทําเหมืองต่อเนื่องจากเดิมจนเต็มพื้นที่ การปรับสภาพขั้นบันไดที่ผ่านการทําเหมืองในแต่ละช่วง พร้อมทั้งปลูกต้นไม้เสริมสร้างทัศนียภาพ และปลูกหญ้าแฝกเพื่อเสริมแนวขอบขุมเหมืองให้มีความแข็งแรง นอกจากนี้บริเวณขอบขุมเหมืองที่สิ้นสุดการทําเหมืองแล้วจะดําเนินการปรับแต่งขอบขุมเหมืองและปลูกหญ้าแฝกเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับขอบบ่อให้มีลักษณะที่ปลอดภัยขนาดพื้นที่ประมาณ 198.2 ไร่ ให้ใช้พันธุ์ไม้ที่มีอัตราการรอดตายสูง และเจริญเติบโตดีมาปลูก พร้อมทั้งพืชคลุมดิน เช่น หญ้าแฝก รวมทั้งดูแลรักษาต้นไม้ที่ปลูกไว้ในการฟื้นฟูช่วงที่ผ่านมาให้เจริญเติบโตดีอยู่เสมอ

- การดําเนินงานในช่วงปี 2557-2560 ที่ผ่านมาบริษัท ไมน์เค็ม จํากัด ได้เริ่มดําเนินการตามแผนการฟื้นฟู โดยมีการจัดสร้างคันทํานบดิน

แนวต้นสนประดิพัทธ์บนคันทํานบดินบริเวณหลักหมุดที่ 18-20

แนวต้นสะเดาและบนต้นคูนคันทํานบดินบริเวณหลักหมุดที่ 7-9

คันทํานบและคูระบายน้ํา

Page 5: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-5 MM-C05

ตารางที่ 2.1-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

บริเวณหลักหมุดที่ 1 ถึง 15 หลักหมุดที่ 21 ถึง 1 หลักหมุดที่ 15 ถึง 18 และหลักหมุดที่ 18-20 โดยคันทํานบดินมีขนาดฐานกว้าง 8 ม. สูง 2 ม. และทําการปลูกต้นสนประดิพัทธ์ ต้นสะเดา และต้นคูน บนคันทํานบดิน จํานวน 2 แถว รวมทั้งปลูกพืชคลุมดินด้านข้างคันทํานบ และรางระบายน้ํา บริเวณแนวเว้นเขตการทําเหมืองระยะ 50 เมตร จากห้วยหินทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่โครงการ และดูแลแนวต้นไม้เดิมที่ทําการปลูกไว้

- ในช่วงปี 2561-2562 โครงการได้ดูแลแนวต้นไม้เดิม และปลูกต้นไม้เสริมเพิ่มเติมแทนต้นไม้ที่ตาย และปัจจุบันยังไม่มีพื้นที่สิ้นสุดการทําเหมือง จึงยังไม่มีการปรับสภาพหน้าเหมืองให้เป็นขั้นบันได

- รายงานแผนและผลการดําเนินงานด้านการฟื้นฟูพื้นที่ ที่ทําเหมืองประจําปี 2562 นําเสนอดังเอกสารแนบ 3

- จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูพื้นที่จากการทําเหมืองแร่ โดยมีการนําเงินเข้ากองทุนในวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 สถานะทางการ เงินของกอง ทุน ณ วัน ที่ 8 มกราคม 2563 จํานวนเงิน 3,827.69 บาท แสดงดังเอกสารแนบ 4

Page 6: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-6 MM-C05

ตารางที่ 2.1-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข ภาพประกอบมาตรการ

4) ในกรณี ที่ผู้ ถือประทานบัตรมีความจํ า เป็น ต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ หรือมาตรการป้องกันแก้ ไขผลกระทบสิ่ งแวดล้อม หรือมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่ได้เสนอไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับความเห็นชอบไว้แล้ว ให้ผู้ถือประทานบัตรแจ้งให้หน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติหรืออนุญาตดําเนินการดังนี ้

4.1 หากหน่วยงานผู้อนุมัติหรืออนุญาตเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า หรือเทียบเท่ามาตรการที่กําหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเห็นชอบไว้แล้ว ให้หน่วยงานผู้อนุมัติ

หรืออนุญาตรับจดแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในกฎหมายนั้นๆ ต่อไปพร้อมกับให้จัดทําสําเนาการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นที่รับจดแจ้งไว้ แจ้งให้สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อทราบ

4.2 หากหน่วยงานผู้อนุมัติหรืออนุญาต เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจกระทบต่อสาระสําคัญในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเห็นชอบไว้แล้ว ให้หน่วยงานผู้อนุมัติหรืออนุญาต จัดส่ง

- ยั ง ไ ม่ มี ค ว า ม ป ร ะ ส ง ค์ จ ะ เ ป ลี่ ย น แ ป ล งรายละเอียดโครงการ หรือมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมหากประสงค์จะเปลี่ยนแปลงจะปฏิบัติตามเงื่อนไข

- ไม่มี

Page 7: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-7 MM-C05

ตารางที่ 2.1-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข ภาพประกอบมาตรการ

รายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ให้สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอให้คณะกรรมการผู้ ชํ านาญการ พิจาณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่ งแวดล้อม ด้านเหมืองแร่ และอุตสาหกรรมถลุงหรือแต่งแร่ ชุดที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นชอบประกอบก่อนดําเนินการเปลี่ยนแปลง และเมื่อโครงการได้รับอนุมัติหรืออนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลง ให้หน่วยงานผู้อนุมัติหรืออนุญาตแจ้งผลการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อทราบ5) ในระหว่างการทําเหมือง หากพบโบราณวัตถุหรือร่องรอยทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี จะต้องรายงานและขอความร่วมมือจากกรมศิลปากรเข้าไปดําเนินการตรวจสอบพื้นที่ ทั้งนี้ ในระหว่างการสํารวจจะต้องหยุดการทําเหมืองโดยทันที และหากพิสูจน์แล้วพบว่าเป็นแหล่งที่มีความสําคัญทางประวัติศาสตร์โบราณคดีผู้ถือประทานบัตรจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยไม่มีข้อเรียกร้องใดๆ

- การดําเนินโครงการที่ผ่านมาไม่พบวัตถุโบราณหรือร่องรอยของโบราณคดี

- หากพบร่องรอยของโบราณวัตถุหรือร่องรอยทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ยินดีปฏิบั ติตามเงื่อนไข

- ไม่มี -

Page 8: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-8 MM-C05

ตารางที่ 2.1-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

6) ให้รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ทราบอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

- เสนอรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่ งแวดล้อมต่อสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลพบุ รี สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 (สระบุรี) สํานักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เขต 5 พิษณุโลก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเขาแหลม สํานักงานสาธารณสุขจั งหวัดลพบุ รีและองค์การบริหารส่ วนตําบล เขาแหลม ปีละ 2 ครั้ง

- จัดทําป้ายประชาสัมพันธ์ผลการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ติดตั้งบริเวณพื้นที่โครงการ ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเขาแหลม และหมู่ที่ 2 บ้านไทรงาม

- ไม่มี -

Page 9: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-9 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 ผลการดําเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระยะเตรียมการ

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

1. สภาพภูมิประเทศ 1.1 กําหนดขอบเขตพื้นที่บริเวณที่จะทําการปรับ

ระดับให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน เพื่อรองรับกิจกรรมตามแผนผังทําเหมืองและกําหนดพื้นที่เว้นการทําเหมืองระยะไม่น้อยกว่า 10 ม. รอบพื้นที่โครงการและแนวเว้นเขตการทําเหมืองในระยะไม่น้อยกว่า 50 ม. จากห้วยหิน ทางด้านทิศตะวันออก

- กําหนดขอบเขตพื้นที่ที่จะมีการปรับสภาพพื้นที่เพื่อใช้ในกิจกรรมตามแผนผังโครงการทําเหมือง โดยขอบเขตพื้นที่ที่ใช้ในการทําเหมืองประมาณ 244 ไร่ และกําหนดพื้นที่เว้นการทําเหมืองระยะ 10 ม. รอบพื้นที่โครงการและพื้นที่เว้นการทําเหมืองระยะ 50 ม. จากห้วยหินทางทิศตะวันออกของพื้นที่โครงการ รวมพื้นที่เว้นการทําเหมืองทั้งหมดประมาณ 40 ไร่

- ไม่มี -

1.2 พื้นที่เว้นการทําเหมืองจากแนวเขตพื้นที่โครงการในระยะไม่น้อยกว่า 10 ม. และแนวเว้นการทําเหมืองในระยะไม่น้อยกว่า 50 ม. จากห้วยหินทางด้านทิศตะวันออก ให้รักษาสภาพภูมิประเทศเดิมไว้ และกําหนดให้ปลูกต้นไม้เสริมเพื่อเป็น Buffer Zone

- บริเวณพื้นที่เว้นการทําเหมืองระยะ 10 ม. รอบพื้นที่โครงการและระยะ 50 ม. จากห้วยหินด้านทิศตะวันออกจัดสร้างคันทํานบดินและคูระบายน้ํา พร้อมทั้งปลูกต้นสน สะเดา และราชพฤกษ์

- พื้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทําเหมืองรักษาสภาพภูมิประเทศเดิมไว้ให้เป็นแนว Buffer Zone

- ให้ทางโครงการดําเนินการขุดลอกคูระบายน้ําในช่วงฤดูฝนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เ พื่อให้สามารถระบายน้ําได้ดียิ่งขึ้น

คันทํานบและคูระบายน้ําแนวเว้นเขตการทําเหมือง 10 ม.

คันทํานบและสภาพพื้นที่เดิมบริเวณแนวเว้นการทําเหมือง 50 ม.

Page 10: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-10 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

1.3 จัดทําป้ายแสดงขอบเขตพื้นที่โครงการและขอบเขตการทําเหมือง บริเวณโครงการเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบพื้นที่ และการปฏิบัติงานบริเวณโครงการ โดยบริเวณแนวกันเขตพื้นที่ไม่ทําเหมืองให้จัดทําเสาคอนกรีต เหล็กหรือวัสดุอื่นๆ ตามความเหมาะสม

- จัดทําป้ายแสดงขอบเขตพื้นที่โครงการและจัดทําป้ายกํากับหลักหมุด เพื่อแสดงแนวเขตโครงการรวมทั้งทําการปักเสาคอนกรีตเพื่อแสดงขอบเขตการทําเหมือง

- ไม่มี

1.4 ให้ดําเนินการปลูกต้นไม้ยืนต้นโตเร็วหรือพันธุ์ไม้ท้องถิ่นภายหลังจากได้รับประทานบัตรแล้ว และก่อนที่จะมีการดําเนินโครงการ โดยปลูกให้มีระยะ 2x2 ม. (400 ต้น/ไร่) บริเวณแนวกันเขตพื้นที่ไม่ทําเหมือง และโดยรอบพื้นที่โครงการเพื่อเป็นการกําหนดขอบเขตพื้นที่โครงการ รวมทั้งให้มีการบํารุงรักษาดูแลต้นไม้เหล่านั้นให้มีความเจริญเติบโตที่ดี

- ดําเนินการปลูกต้นสนประดิพัทธ์ ต้นสะเดา และต้นคูน บนคันทํานบดินบริเวณแนวเว้นเขตการทําเหมือง โดยรอบพื้นที่โครงการ และดําเนินการปลูกต้นไม้เสริมเพิ่มเติมบริเวณแนวเว้นเขตการทําเหมือง 50 ม. จากห้วยมุก โดยปลูกระยะ 2x2 ม. พร้อมทั้งดูแลต้นไม้โดยนําน้ําจากบ่อน้ําบริเวณโรงแต่งแร่ของโครงการในการรดน้ําต้นไม้ และปลูกต้นไม้เสริมเพิ่มเติมแทนต้นไม้ที่ตายไป

- ไม่มี

ป้ายกํากับหลักหมุดแสดงแนวเขตประทานบัตร

แนวต้นสนประดิพัทธ์บนทันทํานบดิน บริเวณแนวเว้นเขตการทําเหมือง 10 ม.

แนวต้นสะเดาและบนต้นคูนคันทํานบดินบริเวณหลักหมุดที่ 7-9

Page 11: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-11 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

1.5 ให้จัดทําป้ายแสดงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ ได้แก่ หมายเลขประทานบัตร เนื้อที่ ระยะเวลาการทําเหมือง และผู้รับผิดชอบไว้บริเวณด้านหน้าพื้นที่โครงการ หรือบริเวณที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป ให้แล้วเสร็จก่อนเปิดการทําเหมือง

- จัดทําป้ายแสดงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการไว้บริเวณสํานักงานโครงการ

- ไม่มี

2. คุณภาพอากาศ

2.1 ปรับปรุงเส้นทางขนส่งแร่ภายในโครงการให้คงสภาพเป็นถนนหินบดอัดแน่นพ ร้อม ทั้ ง ดูแลและบํารุงรักษาเส้นทางขนส่งแร่ให้อยู่ในสภาพดีตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน

- เส้นทางขนส่งแร่ในโครงการ และเส้นทางที่เชื่อมระหว่างหน้าเหมืองและโรงแต่งแร่เป็นถนนลูกรังบดอัดแน่น และมีการปรับปรุงบํารุงรักษาเส้นทางขนส่งแร่ให้มีสภาพดีอยู่เสมอ

- ไม่มี

2.2 กําหนดให้ปรับปรุงถนนส่วนบุคคลที่อยู่ในที่ดินของบริษัท ไมน์เค็ม จํากัด ทางด้านทิศเหนือ ที่เชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 205 ระยะทางประมาณ 0.5 กม. ให้เป็นถนนลาดยางหรือคอนกรีตและบํารุงรักษาเส้นทางขนส่งแร่ให้อยู่ในสภาพดีตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน

- ปรับปรุงถนนที่อยู่ในที่ดินของบริษัท ไมน์เค็ม จํากัด ด้านทิศเหนือที่ เชื่ อมกับทางหลวงหมายเลข 205 ระยะทางประมาณ 0.5 กม. ให้เป็นถนนคอนกรีตเรียบร้อยแล้ว

- ไม่มี -

ป้ายแสดงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ

เส้นทางการขนส่งแร่ที่เป็นถนนลูกรัง

ถนนส่วนบุคคล

Page 12: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-12 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

2.3 กําหนดให้การขับขี่ยานพาหนะภายในโครงการ ต้องกําชับให้คนขับรถใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กม./ชม.

- โครงการขอความร่วมมือให้คนขับรถใช้ความเร็วรถไม่เกิน 30 กม./ชม.

- ติดป้ายควบคุมความเร็วรถบรรทุกบริเวณริมเส้นทางขนส่งแร่

- ไม่มี

2.4 กําหนดให้ยานพาหนะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่ก่อให้เกิดไอเสียหรือฝุ่นละอองจะต้องได้รับการตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์อย่างสม่ําเสมอตามชนิดของยานพาหนะและเครื่องจักรกล

- ยานพาหนะและเครื่องจักรของโครงการได้ทําการตรวจสอบสภาพอยู่เป็นประจําอย่างต่อเนื่องตามรอบการบํารุงรักษา บันทึกการตรวจสอบเครื่องจักร ดังฺเอกสารแนบ 5

- ไม่มี -

2.5 ให้จัดสร้างบ่อล้างล้อบริเวณทางเข้า-ออกโครงการก่อนเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 205 และให้รถบรรทุกแร่ทุกคันต้องผ่านบ่อล้างล้อทุกครั้งก่อนออกจากพื้นที่โครงการ

- จัดสร้างบ่อล้างล้อบริเวณทางเข้า -ออกโครงการก่อนถึงทางหลวงหมายเลข 205 ซึ่งบ่อล้างล้อดังกล่าวเชื่อมกับถนนคอนกรีตที่จัดสร้างขึ้นและควบคุมให้รถบรรทุกแร่ผ่านบ่อล้างล้อทุกครั้งก่อนออกจากพื้นที่โครงการ

- ไม่มี -

ป้ายควบคุมความเร็ว

บ่อล้างล้อของโครงการ

Page 13: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-13 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

2.6 กําหนดให้โรงแต่งแร่ของบริษัท ไมน์เค็ม จํากัด จะต้องจัดให้ มีระบบป้องกันและกําจัดฝุ่นและต้องบํารุงรักษาให้มีประสิทธิภาพที่ดีอยู่เสมอ พร้อมทั้งให้ปิดคลุมอุปกรณ์ที่กําเนิดฝุ่นและติดตั้งระบบสเปรย์ที่จุดกําเนิดฝุ่นต่างๆ

- จัดให้มีอาคารปิดคลุมบริเวณเครื่องบดชุดแรก ยุ้งรับหินใหญ่ ตะแกรงคัดขนาด และไซโล

- ถนนภายในโรงแต่งแร่เป็นถนนลูกรังบดอัดแน่นไม่มีการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง และจัดให้มีการสเปรย์น้ําบริเวณถนนภายในโรงแต่งแร่อยู่เสมอ

- ติดตั้งระบบสเปรย์น้ําบริเวณสายพานลําเลียงจุดที่มีการถ่ายระดับ และบริเวณด้านข้างอาคารโรงแต่งแร่

- ปลูกต้นไม้บริเวณแนวเขตโรงแต่งแร่และจัดทําคันทํานบดินบริเวณที่ดินของบริษัทด้านทิศเหนือ และปลูกต้นไม้บนคันดินเพื่อใช้เป็นแนวกันชนระหว่างโรงแต่งแร่กับชุมชน

- ไม่มี

การปิดคลุมอาคาร

การฉีดพรมน้ําตามแนวถนนภายในโรงแต่งแร่

ระบบสเปรย์น้ําบริเวณสายพานลําเลียง

Page 14: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-14 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

3. เสียง 3.1 ให้จํากัดความเร็วรถบรรทุกไม่เกิน 30 กม./ชม.

สําหรับรถที่วิ่งภายในโครงการและทางเข้า-ออกโครงการช่วงถนนส่วนบุคคลก่อนออกสู่ทางหลวงหมายเลข 205

- ขอความร่วมมือให้คนขับรถใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กม./ชม. บริเวณถนนภายในโครงการและช่ วงถนนส่ วนบุคคลก่อนออกสู่ ทางหลวงหมายเลข 205

- ติดป้ายควบคุมความเร็วไม่เกิน 30 กม./ชม.

- ไม่มี -

แนวต้นไม้ที่ปลูกบริเวณแนวเขตโรงแต่งแร่

คันทํานบดินและแนวต้นไม้ที่ปลูกด้านทิศเหนือ

Page 15: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-15 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

3.2 กําหนดให้งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดเสียงดังในเวลากลางคืนเนื่องจากเป็นเวลาพักผ่อนของประชาชนในชุมชนใกล้เคียง โดยให้ดําเนินการได้ในช่วงเวลา 08.00-18.00 น.

- โครงการทํางานเฉพาะตอนกลางวันเท่านั้น ซึ่งทําเหมืองและทําการแต่งแร่ในช่วงเวลา 08.00-18.00 น.

- ไม่มี -

4. อุทกวิทยา และคุณภาพน้ํา 4.1 ให้จัดสร้างคันทํานบบริเวณรอบพื้นที่ทําเหมือง

โดยขนาดคันทํานบฐานกว้าง 8 ม. สูง 2 ม. ด้านบนกว้าง 2 ม. โดยมีความลาดชันของคันทํานบไม่เกิน 35 องศา พร้อมทั้งจัดสร้างคูระบายน้ําด้านนอกและขนานกับคันทํานบความกว้างท้องร่องน้ํา 1 ม. ลึก 1.5 ม. และด้านบนกว้าง 2 ม. เพื่อรับน้ํา ไหลบ่าจากพื้นที่ใกล้เคียงโครงการและบนเขาโพธิ์ เพื่อให้น้ําสามารถไหลลงสู่ห้วยหินได้ตามเดิม

- จัดทําคันทํานบดินบริเวณหลักเขตเหมืองแร่ขนาดฐานกว้างประมาณ 8 ม. สูงประมาณ 2 ม. ด้านบนกว้างประมาณ 2 ม. และความลาดชันไม่เกิน 35 องศา และจัดสร้างคูระบายน้ําโดยมีขนาดท้องร่องน้ํากว้าง 1 ม. ลึก 1.5 ม. และดําเนินการปลูกต้นไม้บนคันทํานบดิน

- ให้ทางโครงการดําเนินการขุดลอกคูระบายน้ําในช่วงฤดูฝนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้สามารถระบายน้ําได้ดียิ่งขึ้น

4.2 ให้ดูแลรักษาคูระบายน้ําให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ พร้อมทั้งขุดลอกตะกอนในคูระบายน้ํา โดยตะกอนที่ขุดลอกได้ให้นําไปปรับปรุงคันทํานบหรือนําไปปรับถมพื้นที่ผ่านการทําเหมืองแร่เพื่อทําการปลูกต้นไม้ต่อไป

- ดูแลรักษาคูระบายน้ําให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอและถ้าปริมาณตะกอนสะสม 1/3 ของคูระบายน้ําจะทําการขุดลอกคูระบายน้ําสม่ําเสมอ

- ให้ทางโครงการดําเนินการขุดลอกคูระบายน้ําในช่วงฤดูฝนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้สามารถระบายน้ําได้ดียิ่งขึ้น

-

4.3 ให้ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของคันทํานบโดยรอบพื้นที่โครงการอย่างสม่ําเสมอ โดยเฉพาะคันทํานบทางทิศตะวันออกของโครงการที่ติดกับห้วยหินเพื่อป้องกันมิให้น้ําไหลออกนอกโครงการ

- ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของคันทํานบและคูระบายน้ําบริเวณที่จัดสร้างไว้แล้วอยู่เสมอ

- ไม่มี -

คันทํานบดินและคูระบายน้ํา

Page 16: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-16 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข ภาพประกอบมาตรการ

5. ทรัพยากรดิน 5.1 ให้นําเปลือกดินที่เกิดขึ้นจากการเปิดหน้าเหมือง

ไปปรับปรุงเส้นทางขนส่งแร่ภายในโครงการ และจัดสร้างคันทํานบรอบพื้นที่โครงการ

- เปลือกดินที่เกิดขึ้นจากการเปิดหน้าเหมืองถูกนําไปใช้ในการปรับปรุงเส้นทางขนส่งแร่และจัดสร้างคันทํานบดินภายในพื้นที่โครงการ

- ไม่มี -

5.2 ให้ปลูกต้นไม้โตเร็วและพืชคลุมดินตามแนวคันทํานบดิน รวมทั้งปลูกหญ้าแฝกบริเวณพื้นที่ระหว่างคันทํานบ และคูระบายน้ําเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลาย

- บริเวณที่ดําเนินการจัดสร้างคันทํานบดินได้มีการปลูกต้นไม้ยืนต้นโตเร็ว คือ ต้นสนประดิพัทธ์ ต้นคูณ ต้นสะเดา และมีพืชจําพวกหญ้าขึ้นปกคลุมคันทํานบดิน

- ไม่มี -

6. คมนาคม 6.1 ให้จัดทําป้ายจํากัดความเร็วรถบริเวณถนนส่วน

บุคคลก่อนออกสู่ทางหลวงหมายเลข 205 และป้ายเตือนภัยให้ระวังรถบรรทุกก่อนถึงทางเข้า-ออกโครงการ โดยให้มีระยะห่างด้านละ 50, 100 และ 200 ม.

- ติดป้ายควบคุมความเร็วไม่เกิน 30 กม./ชม. บริเวณถนนส่วนบุคคลก่อนออกสู่ทางหลวงหมายเลข 205

- ติดป้ายเตือนให้ระวังรถบรรทุกเข้า-ออกริมทางหลวงหมายเลข 205 ระยะห่างด้านละ 50, 100 และ 200 ม.

- ไม่มี -

6.2 กําหนดให้รถบรรทุกแร่จะต้องมีน้ําหนักบรรทุกและความเร็วเป็นไปตามที่ทางราชการกําหนด

- ควบคุมน้ําหนักและความเร็วของรถบรรทุกที่ทําการขนส่งแร่ ไม่เกินตามที่ราชการกําหนด

- ไม่มี -

Page 17: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-17 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

6.3 ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กม./ชม. ในบริเวณเส้นทางภายในโครงการ และเส้นทางช่วงถนนส่วนบุคคลก่อนออกสู่ทางหลวงหมายเลข 205

- ขอความร่วมมือให้คนขับรถใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กม . /ชม . บริ เวณถนนภายในโครงการและทางเข้า-ออกโครงการก่อนออกสู่ทางหลวงหมายเลข 205 พร้อมติดป้ายควบคุมความเร็วไม่เกิน 30 กม./ชม.

- ไม่มี -

7. เศรษฐกิจ-สังคม 7.1 ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์ให้แล้ว

เสร็จก่อนการดําเนินการทําเหมือง ประกอบด้วย เจ้าของโครงการ ผู้แทนภาครัฐจากหน่วยงานท้องถิ่น และผู้แทนภาคประชาชน จากชุมชน โรงเรียน วัด และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เข้าร่วมเป็นกรรมการ ทําหน้าที่บริหารจัดการกองทุนฟื้นฟูพื้นที่จากการทําเหมืองแร่ กองทุนเฝ้าระวังสุขภาพและกองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่ และเพื่อทําหน้าที่สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อชุมชน ประชาสัมพันธ์โครงการ ตรวจสอบข้อร้องเรียน ประสานงานกับสื่อมวลชนท้องถิ่น ผู้นําชุมชน ราษฎร บริเวณโดยรอบโครงการ และติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้เสนอรายงานการดําเนินงานของคณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวได้รับทราบปีละ 1 ครั้ง โดยมีขั้นตอนการรับเรื่องร้องเรียน

- บริษัท ไมน์เค็ม จํากัด ได้ประสานงานกับหน่วยต่างๆ เ พื่อจัดตั้งคณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์ ตามที่เงื่อนไขกําหนด โดยเอกสารการแต่งตั้งนําเสนอดังเอกสารแนบ 6

- มีการจัดประชุมคณะกรรมมวลชนสัมพันธ์โดยในปี 2562 มีการประชุม ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2562 รายละเอียดการประชุมนําเสนอ เช่น แจ้งรายละเอียดการนําเข้าเงินบัญชีกองทุน และเสนอกิจกรรมการใช้เงินในกองทุน ดังเอกสารแนบ 7

- ไม่มี -

ป้ายเตือนให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กม./ชม.

Page 18: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-18 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

7.2 จัดทําแผนงานมวลชนสัมพันธ์รวมถึงกิจกรรมช่วยเหลือชุมชน (CSR) กําหนดให้แล้วเสร็จก่อนเริ่มทําเหมือง เ พื่อเป็นการสร้างความเข้ า ใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโครงการกับราษฎรที่อยู่ใกล้เคียง

- จัดทําแผนงานมวลชนสัมพันธ์ของโครงการ ตามการหารือกับผู้นําชุมชนและประชาชนในชุมชนใกล้เคียง โดยแผนงานมวลชนสัมพันธ์ประจําปี 2562 ของโครงการโดยสรุปนําเสนอดังเอกสารแนบ 8

- ไม่มี -

7.3 จัดทําแผนประชาสัมพันธ์การทําเหมืองแร่ของโครงการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาดําเนินโครงการ โดยแจ้งผ่านไปยังผู้ใหญ่บ้าน กํานัน ในเขตท้องที่ตําบลเขาแหลม โดยจัดทําเป็นแผ่นพับอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือส่งรายงานแผนประชาสัมพันธ์การทําเหมืองแร่ของโครงการไปยังชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการตามเงื่อนไขระยะเวลาที่ต้องดําเนินการ ทั้งนี้รายละเอียดข้อมูลที่ประชาสัมพันธ์ที่สําคัญ ได้แก่

- กําหนดเปิดดําเนินการ - รายละเอียดกิจกรรมของโครงการ - ความต้องการบุคลากร - ผลประโยชน์ต่อชุมชน - ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม

- จัดทําแผนการประชาสัมพันธ์การทําเหมืองของโครงการ โดยจัดทําแผ่นพับประชาสัมพันธ์ข้อมูลแจกที่บริเวณที่ทําการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 บ้านไทรงาม และที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเขาแหลม เอกสารประชาสัมพันธ์นําเสนอดังเอกสารแนบ 9

- ไม่มี -

Page 19: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-19 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

7.4 จัดให้มีกล่องแสดงความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการบริเวณที่ทําการผู้ใหญ่บ้านในท้องที่หมู่ที่ 2 บ้านไทรงาม หมู่ที่ 7 บ้านฝายพัฒนา และ อบต. เขาแหลม พร้อมทั้งให้โครงการประสานงานกับผู้นําชุมชนเพื่อทราบสถานการณ์ภายในชุมชนว่ามีผลกระทบจากโครงการหรือไม่

- ติดตั้งกล่องเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไว้บริเวณสํานักงานโครงการที่ทําการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านไทรงาม ที่ทําการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านฝายพัฒนา และที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเขาแหลม พร้อมทั้งติดหมายเลขโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่มวลชนสัมพันธ์เพื่อเป็นทาง เลื อก ในการแสดงความคิ ด เ ห็นของประชาชน

- ไม่มี -

7.5 พิจารณาจ้างแรงงานในท้องถิ่นเป็นหลัก - ปัจจุบันคนงานส่วนใหญ่เป็นคนในเขตอําเภอชัยบาดาล

- ไม่มี -

7.6 จัดตั้งกองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่ ผู้ถือประทานบัตรจะต้องจัดตั้ง “กองทุนพัฒนา

หมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่” เพื่อเป็นงบประมาณในการดําเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนโดยรอบพื้นที่เหมืองแร่ ตามยอดวงเงินขั้นต่ําหรือคิดตามสัดส่วนต่ออัตราการผลิต ซึ่งกําหนดเป็นเงื่อนไขแนบท้ายการอนุญาตประทานบัตรหรือการต่ออายุประทานบัตร โดยให้รวมงบประมาณด้านมวลชนสัมพันธ์ของโครงการที่กําหนดอยู่ในเงื่อนไขมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการอยู่ในกองทุนนี้ โดยมีแนวทางบริหารจัดการกองทุนดังนี้

- จัดตั้งกองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่ สําหรับเป็นงบประมาณในการดําเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนรอบพื้นที่เหมืองแร่ โดยจํานวนเงินที่จัดเก็บครั้งแรก ณ วันที่ 21 มกราคม 2558 จํานวน 500,000 บาท ซึ่งทางโครงการได้มีกิจกรรมร่วมกับชุมชน และได้เบิกจ่ายเงินออกจากกองทุน สถานะทางการเงินของกองทุน ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2562 เป็นเงิน 357.05 บาทดังเอกสารแนบ 4

- ไม่มี -

Page 20: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-20 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

1) การจัดเก็บเงินกองทุน 1.1) เ จ้ า ขอ ง โ ค ร งก า รจะ ต้อ งจั ดส ร ร เ งิ น

งบประมาณตามจํานวนและช่วงเวลาที่กําหนดในกองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่ ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขแนบท้ายการอนุญาตประทานบัตรหรือการต่ออายุประทานบัตร

1.2) ใ ห้ เปิดบัญชี ธนาคาร โดยใช้ ชื่ อบริ ษัท ไมน์เค็ม จํากัด ตามชื่อผู้ถือประทานบัตร และมีข้อความในวงเล็บว่า “กองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่”

1.3) หรือตามหลักเกณฑ์ที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กําหนด เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบริหารเงินกองทุนและรายงานผลการดําเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ

2) การนําเงินเข้ากองทุน ให้เป็นไปตามที่เสนอในรายงานการวิเคราะห์

ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือตามแนวทางหรือหลักเกณฑ์ที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กําหนด

3) บริหารเงินกองทุน 3.1) ให้คณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์ของ

โครงการเป็นผู้บริหารจัดการกองทุน พิจารณาให้ความเห็นแผนงานการพัฒนาหมู่บ้าน สถานศึกษา และวัด โดยรอบพื้นที่เหมืองแร่ การใช้เงินกองทุน และการ

Page 21: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-21 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

กํากับดูแลกิจกรรมของกองทุนให้เป็นไปตามแผนงานที่กําหนด

3.2) กองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสรรวงเงินในการดําเนินกิจกรรมหรือโครงการพัฒนาคุณภาพชี วิต สภาพแวดล้อม การศึกษา ประเพณีและวัฒนาธรรมของท้องถิ่นสําหรับชุมชนสถานศึกษา วัด โดยรอบพื้นที่เหมืองแร่ในรัศมี 2 กม . และพื้น ที่ ใกล้ เคียงตามความเห็นชอบของคณะกรรมการ ทั้งนี้ การเบิกจ่ายเงินจะต้องแต่งตั้งกรรมการจากผู้แทนภาคประชาชนให้เป็นผู้ร่วมลงชื่อกับกรรมการอื่นตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งให้เป็นผู้มีสิทธิ์เบิกจ่ายเงินกองทุน

3.3) ในช่วงปีแรกที่ได้รับอนุญาตประทานบัตร ผู้ถือประทานบัตรจะต้องประชุมคณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์ อย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อกําหนดกรอบแผนงานการดําเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้าน สถานศึกษา และวัด

3.4) ผู้ ถื อประทานบัตรจะ ต้องจั ดประชุ มคณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์โครงการอย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี เพื่อพิจารณาแผนและผลการดําเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านโดยรอบพื้นที่เหมืองแร่และพื้นที่ใกล้เคียง

3.5) ให้คณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์จัดทําระเบียบว่าด้วยกองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมืองแร่

Page 22: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-22 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

ภายใต้วัตถุประสงค์ของกองทุน โดยกําหนดพื้นที่ดําเนินกิจกรรมหรือโครงการ การขอและพิจารณาอนุมัติใช้เงินกองทุน และวิธีการเบิกจ่ายเงิน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้คณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

4) การรายงานผล ผู้ถือประทานบัตรต้องรายงานผลการดําเนินการ

ตามแผนงานโครงการพัฒนาหมู่บ้าน สถานศึกษา และวัดที่อยู่โดยรอบพื้นที่เหมืองแร่ และสําเนาบัญชีธนาคารและแสดงสถานะทางการเงินของกองทุน โดยแนบไปพร้อมกับการรายงานผลการประชุมคณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์ของโครงการ ส่งให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่แล้วแต่กรณี และให้สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทราบทุกปี 8. สาธารณสุข อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

8.1 การจัดตั้งกองทุนเฝ้าระวังสุขภาพ ผู้ถือประทานบัตรจะต้องจัดตั้ง “กองทุนเฝ้าระวัง

สุขภาพ” เพื่อเป็นงบประมาณในการเฝ้าระวังหรือตรวจสุขภาพที่เกี่ยวข้องจากกิจกรรมการทําเหมืองสําหรับประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่เหมืองแร่ในรัศมีไม่น้อยกว่า 1 กม . ตามยอดเงิน ที่ระบุ ไ ว้ ในกองทุน

- จัดตั้งกองทุนเฝ้าระวังสุขภาพให้เป็นงบประมาณในการเฝ้าระวังหรือตรวจสุขภาพประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่เหมืองแร่ในรัศมีไม่น้อยกว่า 1 กม . โดยมีการจัด ตั้งและนําเงินเข้ากองทุนครั้งแรกในวันที่ 21 มกราคม 2558 สถานะทางการเงินของกองทุน ณ วันที่ 30

- ไม่มี

-

Page 23: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-23 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

ซึ่งกําหนดเป็นเงื่อนไขมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ และปรับเพิ่มเป็นยอดวงเงินขั้นต่ําหรือคิดตามสัดส่วนต่ออัตราการผลิตที่กําหนดเป็นเงื่อนไขแนบท้ายการอนุญาตประทานบัตรหรือการต่ออายุประทานบัตร โดยมีแนวทางบริหารจัดการกองทุน ดังนี้

1) การจัดเก็บเงินกองทุน 1.1) ผู้ ถือประทานบัตรจะต้องจัดสรรเงิน

งบประมาณตามจํานวนและช่วงเวลาที่กําหนดในกองทุนเฝ้าระวังสุขภาพ ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขแนบท้ายการอนุญาตประทานบัตรหรือต่ออายุประทานบัตร

1.2) ให้เปิดบัญชีธนาคาร โดยใช้ชื่อบริษัท ไมน์เค็ม จํากัด ตามชื่อผู้ถือประทานบัตร และมีข้อความในวงเล็บว่า “กองทุนเฝ้าระวังสุขภาพ” หรือตามที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กําหนด เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบริหารเงินกองทุนและรายงานผลการดําเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ

2) การนําเงินเข้ากองทุน ให้เป็นไปตามที่เสนอในรายงานการวิเคราะห์

ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือตามแนวทางหรือหลักเกณฑ์ที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กําหนด

ตุลาคม 2562 เป็นเงิน 1,173.15 บาท นําเสนอดังเอกสารแนบ 4

- กิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพที่ทางโครงการได้จัดขึ้น ได้แก่ การตรวจสุขภาพประชาชนรอบพื้นที่โครงการ กิจกรรม MC ใส่ใจผู้สูงอายุปี 4 ในปี 2562 บริจาคอุปกรณ์การแพทย์ให้ รพ.ส.ต. เขาแหลม

- การจัดประชุมคณะกรรมมวลชนสัม พัน ธ์ โดยในปี 2562 มีการประชุม ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2562 รายละเอียดการประชุม ดังเอกสารแนบ 7

Page 24: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-24 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

3) การบริหารเงินกองทุน ให้คณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์ของโครงการ

เป็นผู้บริหารจัดการกองทุน พิจารณาแผนงานการเฝ้าระวังสุขภาพหรือการตรวจสุขภาพประชาชนโดยรอบที่ตั้งโครงการการบริหารจัดการเงินกองทุน และการกํากับดูแลกิจกรรมของกองทุนให้เป็นไปตามแผนงานที่กําหนด

3.1) กองทุนเฝ้าระวังสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสรรเงินงบประมาณในการดําเนินกิจกรรมการตรวจเอ็กซเรย์ปอด สมรรถนะปอด การจัดทําแผนที่ชุมชนเพื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลด้านสุขภาพโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนในชุมชนโดยรอบ

3.2) พื้นที่เหมืองแร่ในรัศมีไม่น้อยกว่า 1 กม. ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการศึกษาดูงานของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยการเบิกจ่ายเงินจะต้องแต่งตั้งกรรมการจากผู้แทนด้านสาธารณสุขเป็นผู้ ร่วมลงชื่อกับกรรมการอื่นตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งเป็นผู้มีสิทธิ์เบิกจ่ายเงินกองทุน

3.3) ในช่วงปีแรกที่ได้รับอนุญาตประทานบัตรหรือการต่ออายุประทานบัตร ผู้ ถือประทานบัตรต้องดําเนินกิจกรรมหรือโครงการที่กําหนดไว้ให้แล้วเสร็จก่อนเปิดการทําเหมือง ดังนี้

Page 25: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-25 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

1. จัดประชุมคณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์ของโครงการ อย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อพิจารณาดําเนินกิจกรรมการเฝ้าระวังสุขภาพหรือโครงการตรวจสุขภาพประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่เหมืองแร่ในรัศมีไม่น้อยกว่า 1 กม.

2. จัดทําแผนงานโครงการตรวจเอ็กซเรย์ปอดสําหรับประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่เหมืองแร่ในรัศมีไม่น้อยกว่า 1 กม. และตรวจสมรรถนะของร่างกายเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เสนอให้คณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์พิจารณาโดยจะต้องดําเนินโครงการตามแผนงานให้แล้วเสร็จก่อนเริ่มเปิดการทําเหมือง และดําเนินโครงการทุกปีจนสิ้นสุดอายุประทานบัตร

3. ให้คณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์จัดทําระเบียบว่าด้วยกองทุนเฝ้าระวังสุขภาพของโครงการภายใ ต้ วัต ถุประสงค์ ของกอง ทุน โดย กําหนดใ ห้ครอบคลุมพื้นที่ดําเนินกิจกรรมหรือโครงการ การขอและพิจารณาอนุมัติใช้เงินกองทุน และวิธีการเบิกจ่ายเงิน เ พื่อเป็นแนวทางปฏิบั ติ ใ ห้คณะกรรมการและผู้ ที่เกี่ยวข้องทราบ

4) การรายงานผล ผู้ ถื อประทานบั ต ร ต้ อ ง ร าย ง านผลกา ร

ดําเนินการตามแผนงานการเฝ้าระวังสุขภาพหรือการ

Page 26: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-26 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

ตรวจสุขภาพประชาชนโดยรอบพื้นที่เหมืองแร่ และสําเนาบัญชีธนาคาร แสดงสถานะทางการเงินของกองทุน โดยแนบไปพร้อมกับการรายงานผลการประชุมคณะกรรมการมวลชนสัมพันธ์ของโครงการ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่แล้วแต่กรณี และสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทราบทุกปี

8.2 ให้ฝึกอบรมการทํางานและการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์อย่างสม่ําเสมอเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ โดยทําการอบรมทุกวันก่อนการปฏิบัติงาน

- ก่อนปฏิบัติงานจะจัดอบรมคนงานเกี่ยวกับการทํางานและการใช้เครื่องจักรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น เป็นประจําทุกวัน

- ไม่มี -

8.3 ให้จัดทําป้ายประชาสัมพันธ์ผลการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ติดตั้งบริเวณพื้นที่โครงการ ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเขาแหลม และหมู่ที่ 2 บ้านไทรงาม

- ให้จัดทําป้ายประชาสัมพันธ์ผลการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ติดตั้งบริเวณพื้นที่โครงการ ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเขาแหลม และหมู่ที่ 2 บ้านไทรงาม

- ไม่มี

-

8.4 กําหนดให้จัดสภาพแวดล้อมของสํานักงานให้ถูกสุขลักษณะ เช่น จัดวางภาชนะรองรับขยะให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมกับสภาพงาน และมีจํานวนเพียงพอกับพนักงาน

- ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของสํานักงานให้ถูกสุขลักษณะ ทั้งในเรื่องแสง เสียง อุณหภูมิ การจัดการขยะ และห้องสุขา

- จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติงาน เช่น หมวกนิรภัย รองเท้านิรภัย ผ้าปิดจมูก Ear Plug แว่นตา เป็นต้น

- ไม่มี การสวมใส่อุปกรณ์ของคนงาน

Page 27: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-27 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

8.5 ให้จัดทําป้ายสัญญาณแจ้งเตือนอันตรายและห้ามเข้าบริเวณพื้นที่โครงการ

- ติดป้ายเตือนให้ระวังอันตรายและห้ามเข้าพื้นที่โครงการ ติดตั้งไว้บริเวณก่อนถึงพื้นที่โครงการ

- ไม่มี

8.6 ให้จัดเตรียมปัจจัยในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น พร้อมทั้งรถสําหรับนําคนเจ็บส่งโรงพยาบาลกรณีคนงานเกิดอุบัติเหตุ

- จัด ใ ห้ มี ตู้ ยาสา มัญและ อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นรวมทั้งจัดให้มีรถสําหรับนําคนเจ็บส่งโรงพยาบาลหากมีเหตุฉุกเฉิน

- ไม่มี

8.7 ให้กําชับพนักงานขับรถที่ใช้เส้นทางเข้า-ออกโครงการ และให้เพิ่มความระมัดระวัง เมื่อขับรถผ่านชุมชนที่อยู่ริมเส้นทางขนส่งแร่ พร้อมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัยสําหรับการขนส่ งแ ร่ออกนอกพื้น ที่โครงการ มาตรการที่สําคัญมีดังนี้

- ใช้ผ้าใบปิดคลุมรถบรรทุกแร่ให้มิดชิดทุกครั้งก่อนการขนส่งแร่ออกนอกพื้นที่โครงการ

- อบรมพนักงานขับรถบรรทุกแร่ให้ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

- ควบคุมให้คนงานขับรถใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กม./ชม. และให้ระมัดระวังเมื่อขับรถผ่านเขตชุมชน

- กําหนดให้รถบรรทุกใช้ผ้าใบปิดคลุมก่อนออกนอกโรงแต่งแร่ของโครงการ

- อบรมคนงานขับรถบรรทุกแร่ให้ปฏิบัติตามกฎจราจร

- ไม่มี การปิดคลุมผ้าใบของรถบรรทุก

ตู้ยาสามัญ

ป้ายเตือนระวังอันตรายห้ามเข้า

Page 28: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-28 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

8.8 จัดให้มีการตรวจสุขภาพคนงานก่อนเข้าทํางานและตรวจสุขภาพประจําปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสถิติสําหรับการประเมินผลตามมาตรการต่อไป

- ทางโครงการไม่มีการรับพนักงานใหม่เข้ามาทํางาน หากมีการรับหนักงานใหม่เข้ามาทํางานจะดําเนินการตรวจสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และระบบการได้ยินก่อนรับเข้าทํางาน

- ในการดําเนินงานของโครงการที่ผ่านมาไม่พบผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และระบบการได้ยิน

- ไม่มี -

8.9 จัดทําป้ายนโยบายด้านความปลอดภัย และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ป้ายเตือนระวังพลัดตกขุมเหมือง และป้ายมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่โครงการ

- กําหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและด้านความปลอดภัย พร้อมจัดทําป้ายประกาศให้คนงานทุกคนทราบเพื่อนํานโยบายไปปฏิบัติ

- ติดป้ายเตือนระวังพลัดตกขุมเหมืองบริเวณก่อนถึงขุมเหมือง

- ไม่มี

รูปป้ายนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม

ป้ายนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

Page 29: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-29 MM-C05

ตารางที่ 2.2-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

ป้ายระวังพลัดตกขุมเหมือง

Page 30: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-30 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 ผลการดําเนินตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระยะดําเนินการ

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข ภาพประกอบมาตรการ

1. สภาพภูมิประเทศ 1.1 รักษาสภาพภูมิประเทศเดิมบริเวณพื้นที่ที่ยังไม่

มีกิจกรรมการทําเหมืองและบริเวณพื้นที่เว้นการทําเหมืองจากห้วยหินในระยะไม่น้อยกว่า 50 ม. และพื้นที่เว้นการทําเหมืองในระยะไม่น้อยกว่า 10 ม. รอบพื้นที่โครงการ และกําหนดปลูกต้นไม้เสริมเพื่อเป็น Buffer Zone

- ดูแลรักษาสภาพภูมิประเทศบริเวณพื้นที่ที่ไม่มีกิจกรรมการทําเหมืองและพื้นที่เว้นการทําเหมืองจากห้วยหิน ระยะ 50 ม. และพื้นที่เว้นการทําเหมือง ระยะ 10 ม. โดยรอบพื้นที่โครงการ

- ปลูกต้นสนประดิพัทธ์ ต้นสะเดา และต้นคูณ ในพื้นที่เว้นการทําเหมืองในระยะ 10 ม.

- สร้างคันทํานบดิน ฐานกว้าง 8 ม. สูง 2 ม. รอบพื้นที่โครงการ

- ไม่มี

-

1.2 เปิดหน้าเหมืองตามแผนผังโครงการกําหนดอย่างเคร่งครัด โดยเปิดทําเหมืองในลักษณะขั้นบันได กําหนดให้ขั้นบันไดสูงไม่เกิน 10 ม. และมีความกว้างของแต่ละขั้นไม่น้อยกว่า 10 ม. ความลาดชันรวมของหน้าเหมืองไม่เกิน 45 องศา

- ดําเนินการทําเหมืองตามแผนผังการทําเหมือง โดยเริ่มจากเปิดหน้าเหมืองทางทิศเหนือของโครงการและกําหนดทิศทางการเดินหน้าเหมืองไปทางทิศใต้

- มีการเปิดหน้าเหมืองแล้วประมาณ 86 ไร่ โดยลดระดับจากพื้นราบลงไปประมาณ 10 ม. และอยู่ระหว่างการพัฒนาให้มีลักษณะเป็นขั้นบันไดตามที่แผนผังการทําเหมืองกําหนด

- ไม่มี

สภาพภูมิประเทศบริเวณที่ยังไม่ทําเหมอืง

แนวเว้นระยะ 10 ม.

ลักษณะหน้าเหมืองปัจจุบัน

/ /

Page 31: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-31 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

1.3 ให้ทําการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่โครงการที่ผ่านการทําเหมืองแล้วตามแผนงานที่ได้เสนอไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

- บริษัท ไมน์ เค็ม จํากัด ได้ รับอนุญาตประทานบัตร เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ปัจจุบันอยู่ในช่วงปี ที่ 5 ของการทําเหมืองและอยู่ในช่วงการฟื้นฟูในช่วงที่ 2

- (ปีที่ 4-25 : 2560-2582) ตามแผนการฟื้นฟูที่เสนอไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมกําหนดให้บํารุงรักษาต้นไม้ในพื้นที่เว้นการทําเหมืองต่อเนื่องจากเดิมจนเต็มพื้นที่ การปรับสภาพขั้นบันไดผ่านการทําเหมืองในแต่ละช่ วง พร้อมปลูก ต้นไ ม่ เส ริมส ร้างทัศนียภาพ และปลูกหญ้าแฝก เพื่อเสริมแนวขอบขุมเหมืองให้มีความแข็งแรง

- การดําเนินงานในช่วงปี 2557-2560 ที่ผ่านมาบริษัท ไมน์เค็ม จํากัด ได้เริ่มดําเนินการตามแผนการฟื้นฟู โดยมีการจัดสร้างคันทํานบดินบริเวณหลักหมุดที่ 1 ถึง 15 หลักหมุดที่ 21 ถึง 1 หลักหมุดที่ 15 ถึง 18 และหลักหมุดที่ 18-20 โดยคันทํานบดินมีขนาดฐานกว้าง 8 ม. สูง 2 ม. และทําการปลูกต้นสนประดิพัทธ์ ต้นสะเดา และต้นคูน บนคันทํานบดิน จํานวน 2 แถว รวมทั้งปลูกพืชคลุมดินด้านข้างคันทํานบ และรางระบายน้ํา บริเวณแนวเว้นเขตการทําเหมืองระยะ 50 เมตร จากห้วยหินทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่โครงการ และดูแลแนวต้นไม้เดิมที่ทําการปลูกไว้

- ไม่มี -

Page 32: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-32 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

- ในปี 2561 โครงการได้ดูแลแนวต้นไม้เดิม และปลูกต้นไม้เสริมเพิ่มเติมแทนต้นไม้ที่ตาย และปัจจุบันยังไม่มีพื้นที่สิ้นสุดการทําเหมืองจึงยังไม่มีการปรับสภาพให้เป็นขั้นบัน พร้อมปลูกต้นไม่เสริมสร้างทัศนียภาพ และปลูกหญ้าแฝก เพื่อเสริมแนวขอบขุมเหมืองให้มีความแข็งแรง

- รายงานแผนและผลการดําเนินงานด้านการฟื้นฟูพื้นที่ที่ทําเหมืองประจําปี 2562 นําเสนอดังเอกสารแนบ 3

- จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูพื้นที่จากการทําเหมืองแร่ โดยมีการนําเงินเข้ากองทุนในวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 สถานะทางการเงินของกองทุน ณ วันที่ 8 มกราคม 2563 จาํนวนเงิน 3,827.69 บาท แสดงดังเอกสารแนบ 4

2. คุณภาพอากาศ 2.1 ใ ห้ ดูแล รักษา เ ส้นทางขนส่ งแ ร่ภายใน

โครงการให้คงสภาพเป็นถนนหินบดอัดแน่นพร้อมทั้งดูแลและบํารุงรักษาเส้นทางขนส่งแร่ให้อยู่ในสภาพดีตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน และดูแลรักษาถนนลาดยางหรือคอนกรีตบริเวณถนนส่วนบุคคลที่ใช้ในการขนส่งแร่ออกสู่ทางหลวงหมายเลข 205 ระยะ 0.5 กม.

- เส้นทางการขนส่งแร่ภายในโครงการเป็นถนนลูกรังบดอัดแน่น ซึ่งทางโครงการมีการปรับปรุงเส้นทางให้มีสภาพการใช้งานที่ดีเสมอ

- ปรับปรุงถนนส่วนบุคคลที่เชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 205 ให้เป็นถนนคอนกรีตเรียบร้อยแล้ว

- ไม่มี -

Page 33: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-33 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

2.2 ให้ตรวจสอบสภาพยานพาหนะ เครื่องจักรอุปกรณ์ ที่ก่อให้เกิดไอเสียหรือฝุ่นละอองอย่างส ม่ํ า เ ส ม อ ต า ม ช นิ ด ข อ ง ย า น พ า ห น ะ แ ล ะเครื่องจักรกล

- ยานพาหนะและเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการได้ทําการตรวจสอบสภาพอยู่เป็นประจําอย่างต่อเนื่องตามรอบการบํา รุง รักษา บันทึกการตรวจสอบเค รื่องจักร ดังฺเอกสารแนบ 5

- ไม่มี -

2.3 ให้ดําเนินการฉีดพรมน้ําบริเวณเส้นทางภายในพื้นที่หน้าเหมืองและเส้นทางขนส่งแร่ของโครงการ วันละ 3-4 ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของสภาพอากาศในแต่ละวัน

- ใช้น้ําจากบ่อ Sump และบ่อน้ําที่จัดสร้างไว้ในที่ดินของบริษัททางทิศเหนือของโรงแต่งแร่ ในการฉีดพรมน้ําบริเวณเส้นทางขนส่งแร่ ช่วงที่เป็นถนนหินบดอัด วันละ 3-4 ครั้ง

- ไม่มี -

2.4 กํ าหนดน้ํ าหนั กบรร ทุกและความ เร็ วรถบรรทุกแร่ให้เป็นไปตามที่ทางราชการกําหนด โดยเฉพาะเส้นทางภายในโครงการและถนนส่วนบุคคลก่อนออกสู่ทางหลวงหมายเลข 205 ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กม./ชม. พร้อมทั้งจัดหาผ้าใบปิดคลุมแร่ให้มิดชิดตลอดเวลาที่มีการขนส่งแร่

- ควบคุมน้ําหนักและความเร็วของรถบรรทุกที่ทําการขนส่งแร่ไม่เกินที่ราชการกําหนดและควบคุมความเร็วรถบรรทุกให้ไม่เกิน 30 กม./ชม. ในช่วงถนนภายในโครงการและถนนส่วนบุคคลก่อนออกสู่ทางหลวงหมายเลข 205 พร้อมทั้งติดป้ายควบคุมความเร็ว

- รถขนส่งแร่มีการปิดคลุมผ้าใบก่อนออกนอกโรงแต่งแร่ของโครงการ

- ไม่มี -

2.5 ก่อนการระเบิดทุกครั้งให้ทําความสะอาดหน้างานเพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง

- ทําการเก็บกวาดเศษหิน เศษดินออกจากด้านบนของหน้าระเบิด และฉีดพรมน้ําก่อนการกดระเบิด ทุกครั้ง เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง

- ไม่มี -

การฉีดพรมน้ําบริเวณเส้นทางขนส่ง

การปิดคลุมผ้าใบของรถบรรทุก

Page 34: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-34 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

2.6 หากมีลมพัดแรงให้งดการจุดระเบิด และในการเกลี่ยแร่บนหน้าเหมืองจะต้องกระทําในช่วงที่มีลมสงบหรือมีการฉีดพรมน้ําที่เก็บกองแร่ก่อนทําการตักขนเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง

- ไม่มีการจุดระเบิดในช่วงที่มีลมพัดแรง - ทําการฉีดพรมน้ํา ก่อนการเกลี่ยแร่ทุกครั้ง เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง

- ไม่มี -

2.7 ดูแล รักษาบ่อล้ า งล้อบ ริ เวณทาง เข้ าออกโครงการให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ และรถบรรทุกแร่ทุกคันก่อนออกจากพื้นที่โครงการต้องผ่านบ่อล้างล้อทุกครั้ง

- ดูแลรักษาบ่อล้างล้อให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ และควบคุมให้รถบรรทุกจะต้องผ่านบ่อล้างล้อก่อนออกสู่ทางหลวงหมายเลข 205 ทุกครั้ง

- ไม่มี

2.8 โรงแต่งแร่ของบริษัท ไมน์เค็ม จํากัด จะต้องมีการบํารุงรักษาระบบป้องกันและกําจัดฝุ่นให้มีประสิทธิภาพที่ดีอยู่เสมอ พร้อมทั้งปิดคลุมอุปกรณ์ที่กําเนิดฝุ่นและติดตั้งระบบสเปรย์ที่จุดกําเนิดฝุ่นต่างๆ

- จัดให้มีอาคารปิดคลุมบริเวณเครื่องบดชุดแรก ยุ้งรับหินใหญ่ ตะแกรงคัดขนาด และไซโล

- จัดให้มีการสเปรย์น้ําบริเวณถนนภายในโรงแต่งแร่อยู่เสมอ

- จัดให้มีอุปกรณ์ปิดครอบสายพานลําเลียง - ติดตั้งระบบสเปรย์น้ําบริเวณจุดที่มีการถ่ายระดับและกล่องรับหินบริเวณปลายสายพานลําเลียงที่เทกองหิน

- ปลูกต้นไม้บริเวณโดยรอบแนวเขตโรงแต่งทางทิศเหนือ และจัดสร้างคันทํานบดินในที่ดินของบริษัทฯ ซึ่งติดต่อกับแนวเขตโรงแต่งแร่ทางทิศเหนือพร้อม

- ไม่มี -

บ่อล้างล้อ

Page 35: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-35 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

ทั้งปลูกต้นสนประดิพัทธ์บนคันทํานบดินที่จัดสร้างเพื่อใช้เป็นแนวกันชนระหว่างโรงแต่งแร่กับชุมชน

3. เสียง ความสั่นสะเทือน และหินปลิว 3.1 กําหนดให้การใช้วัตถุระเบิดแรงสูง คือ อิมัลชั่น

หรือไดนาไมต์ ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรทผสมน้ํามันดีเซลอัตราส่วน 94:6 โดยใช้แก๊ปแบบถ่วงเวลาเป็นตัวจุดระเบิดและให้ใช้วัตถุระเบิดสูงสุดไม่เกิน 123 กก./จังหวะถ่วง หรือไม่เกิน 2 รูเจาะต่อครั้ง และให้มีระยะปิดอัดรูระเบิดไม่น้อยกว่า 3 ม.

- ใช้วัตถุระเบิดแรงสูงคือ อิมัลชั่น ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรทผสมน้ํามันดีเซลอัตราส่วน 94:6 โดยใช้แก๊ปไฟฟ้าเป็นตัวจุดระเบิด โดยมีการควบคุมการใช้ปริมาณวัตถุระเบิดให้ไม่เกิน 123 กก./จังหวะถ่วง ซึ่งปัจจุบันไม่มีการใช้วัตถุระเบิดแต่อย่างใด

- ไม่มี

-

3.2 ติดป้ายเตือนเขตการใช้วัตถุระเบิด พร้อมทั้งระบุเวลาในการระเบิดไว้บริเวณถนนส่วนบุคคลด้านทิศเหนือ และถนนทางทิศใต้ของเขาโพธิ์

- จัดทําป้ายเตือนเขตการใช้วัตถุระเบิด พร้อมทั้งระบุเวลาระเบิดติดตั้งไว้บริเวณริมถนนส่วนบุคคลด้านทิศเหนือ และถนนทิศใต้ของเขาโพธิ์

- ไม่มี

3.3 ให้ติดตามระยะการปลิวกระเด็นของเศษหินจากระเบิดทุกครั้ง หากพบว่ามีผลกระทบก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนจะต้องชดเชยค่าเสียหายทันที พร้อมทั้งชดเชยค่าเสียหายตามความเหมาะสม ยุติธรรม และปรับปรุงแผนการใช้วัตถุระเบิดให้มีความเหมาะสม

- จดบันทึกระยะปลิวกระเด็นของเศษหินจากการระเบิดทุกครั้ง ซึ่งปัจจุบันไม่มีการใช้วัตถุระเบิด

- ที่ผ่านมาไม่ทีผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการปลิวกระเด็นของหิน

- ไม่มี -

ป้ายเตือนเขตการใช้วัตถุระเบิด

Page 36: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-36 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

3.4 กําหนดระยะเวลาระเบิดไม่เกินวันละ 1 ครั้ง ในช่วงเวลา 16.00-17.00 น. โดยจะแจ้งให้พนักงานในเหมืองทราบก่อนทุกคน หรือในกรณีที่มีเหตุจําเป็นจะต้องเลื่อนเวลาระเบิดจะแจ้งหน่วยงานท้องถิ่นล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ตําบลเขาแหลม และสถานีตํารวจภูธรในท้องที่รับทราบ

- ทําการระเบิดวันละ 1 ครั้ง ในช่วงเวลา 16.00-17.00 น. โดยก่อนการระเบิดจะเปิดสัญญาณเตือนให้พนักงานในเหมืองและประชาชนทราบก่อนทุกครั้ง

- ปัจจุบันยังดําเนินการระเบิดในช่วงเวลา 16.00-17.00 น. หากมีการเลื่อนจะดําเนินการแจ้งให้ผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ตําบลเขาแหลมทราบตามที่มาตรการกําหนด ซึ่งปัจจุบันไม่มีการใช้ วัตถุระเบิดแต่อย่างใด

- ไม่มี -

3.5 จัดทํารายงานการออกแบบการเจาะระเบิดทุกครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจสอบและปรับปรุงการเจาะระเบิดครั้งต่อไปให้มีความเหมาะสม

- บันทึกการเจาะระเบิดทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการระเบิดครั้งต่อไป ซึ่งปัจจุบันไม่มีการใช้วัตถุระเบิดแต่อย่างใด

- ไม่มี -

3.6 ก่อนทําการระเบิดทุกครั้งดําเนินการ ดังนี้- แจ้งให้คนงานทราบเพื่ออยู่ในที่ปลอดภัย - จัดให้มีพนักงานตรวจตราในรัศมี 100 ม. - ให้สัญญาณเตือนให้ได้ยินในรัศมี 500 ม. - จัดเจ้าหน้าที่ปิดกั้นเส้นทางเข้า-ออกหน้าเหมืองด้านทิศเหนือและเส้นทางเข้าเขาโพธิ์ที่อยู่ทางทิศใต้

- จัดให้มีการเปิดสัญญาณเตือนก่อนการระเบิดให้พนักงานในเหมืองและประชาชนโดยรอบพื้นที่ทราบ โดยสัญญาณเสียงได้ยินในรัศมี 500 ม. เป็นเวลา 3 นาที

- มีเจ้าพนักงานเดินตรวจสอบบริเวณโดยพื้นที่โครงการในระยะ 100 และระยะ 500 ม.

- จัดให้มีเจ้าหน้าที่ปิดกั้นเส้นทางเข้า-ออก โครงการบริเวณทิศเหนือ เส้นทางเข้าเขาโพธิ์ และบริเวณพื้นที่ระเบิด

- ไม่มี -

Page 37: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-37 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

3.7 การออกแบบการเจาะระเบิดหน้าเหมือง และการจุดระเบิดจะต้องจัดให้มีวิศวกรผู้ชํานาญหรือผู้ที่ผ่านการอบรมจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ควบคุมทุกขั้นตอน พร้อมทั้งบันทึกรายละเอียดการออกแบบการระเบิดไว้ตรวจสอบทุกครั้ง

- มีผู้ที่การอบรมจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ทําหน้าที่ควบคุม การดําเนินการเจาะระเบิดหน้าเหมือง และการจุดระเบิด ดังเอกสารแนบ 10

- บันทึกการเจาะระเบิดทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการระเบิดครั้งต่อไป แบบบันทึกการเจาะระเบิด นําเสนอดังเอกสารแนบ 11

- ไม่มี -

3.8 งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดเสียงดังในเวลากลางคืนซึ่งเป็นเวลาพักผ่อนของประชาชนในชุมชนใกล้เคียง โดยดําเนินการทําเหมืองในช่วงเวลา 08.00-18.00 น.

- โดยปกติจะทําเหมืองและทําการแต่งแร่ในช่วงเวลา 08.00-18.00 น.

- ไม่มี -

3.9 ประกาศช่วงเวลาการระเบิดให้ประชาชนทราบล่วงหน้า เพื่อป้องกันการตื่นตกใจ โดยจัดให้มีพนักงานตรวจตราในรัศมี 100 ม. และเปิดสัญญาณเตือนก่อนและหลังการระเบิดทุกครั้ง โดยให้ได้ยินทั่วถึงกันในรัศมีไม่น้อยกว่า 500 ม. อย่างน้อย 3 นาที

- จัดให้มีการเปิดสัญญาณเตือนก่อนการระเบิดให้พนักงานในเหมืองและประชาชนโดยรอบพื้นที่ทราบ โดยสัญญาณเสียงได้ยินในรัศมี 500 ม. เป็นเวลา 3 นาที

- มีพนักงานเดินตรวจสอบบริเวณโดยพื้นที่โครงการในระยะ 100 และระยะ 500 ม.

- จัดให้มีเจ้าหน้าที่ปิดกั้นเส้นทางเข้า-ออก โครงการบริเวณทิศเหนือ เส้นทางเข้าเขาโพธิ์ และบริเวณพื้นที่ระเบิด

- ไม่มี -

Page 38: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-38 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

4. อุทกวิทยาและคุณภาพน้ํา 4.1 การบริหารจัดการน้ําที่เกิดจากบริเวณบ่อเหมือง

และบ่อ sump มีแผนการดําเนินการโดยสูบน้ําที่เกิดขึ้นในบ่อเหมืองไปใช้ในการฉีดพรมพื้นที่หน้าเหมืองและเส้นทางขนส่งแร่ของโครงการ

- มีการออกแบบหน้าเหมืองโดยให้มีบ่อ Sump สําหรับรองรับน้ําบริเวณจุดต่ําสุดของบ่อเหมือง และจะมีการใช้น้ําจากบ่อ Sump เมื่อพบว่าน้ําในบ่อ Sump มีป ริมาณที่มากพอ ปัจจุบั นโครงการได้ใช้น้ําจากสระน้ําของบริษัททางด้านทิศเหนือ ในการฉีดพรมเส้นทางขนส่งแร่รวมทั้งใช้ในการดูแลต้นไม้ที่ปลูกไว้ภายในโครงการ

- ไม่มี

-

4.2 จัดสร้างบ่อ sump บริเวณจุดต่ําสุดของหน้าเหมืองในแต่ละช่วงการทําเหมือง โดยในช่วงปีที่ 1-12 ให้มีขนาดประมาณ 4 ไร่ ลึก 10 ม . หรือมีความจุ 64,000 ลบ.ม. เพื่อรองรับน้ําฝนที่ไหลบ่าภายในโครงการในช่วงปีที่ 1-12 ส่วนการทําเหมืองปีที่ 13-25 ให้ใช้บ่อเหมืองในการรองรับน้ําชะล้างจากพื้นที่ทําเหมืองโดยจะต้องออกแบบให้มีขนาดพื้นที่ 7 ไร่ ลึก 6 ม. หรือสามารถรองรับน้ําอย่างน้อย 67,200 ลบ.ม.

- จัดให้มีบ่อ sump บริเวณจุดต่ําสุดของหน้าเหมือง โดยขนาดของบ่อ Sump จะมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมซึ่งสอดคล้องกับขนาดพื้นที่เปิดหน้าเหมือง ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างช่วงการทําเหมืองปีที่ 5 ทําเหมืองไปแล้วจํานวน 86 ไร่ ลึก 10 ม.

- ไม่มี

บ่อ Sump บริเวณหน้าเหมือง

Page 39: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-39 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

4.3 ขุดลอกตะกอนดินในคูระบายน้ําของโครงการเป็นประจํา หรือหากพบว่าตะกอนมีปริมาณ 1/3 ของคูระบายน้ํา พร้อมทั้งดูแลรักษาคูระบายน้ําให้อยู่ในสภาพดีเสมอ

- ดูแลรักษาคูระบายน้ําให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอและจะทําการขุดลอก หากพบว่ามีปริมาณตะกอนสะสม 1/3 ของคูระบายน้ํา

- ทางโครงการดํา เนินการขุดลอกคูระบายน้ําในช่วงฤดูฝนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้สามารถระบายน้ําได้ดียิ่งขึ้น

4.4 ตะกอนที่ขุดลอกให้นําไปปรับปรุงคันทํานบ หรือนําไปฟื้นฟูพื้นที่ผ่านการทําเหมืองเพื่อทําการปลูกต้นไม้ต่อไป

- หากมีการขุดลอกคูระบายน้ํา ตะกอนที่ได้จะนําไปปรับปรุงคันทํานบดินและปรับถมพื้นที่ที่ผ่านการทําเหมือง

- ไม่มี -

4.5 ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของคันทํานบและคูระบายน้ําที่จัดสร้างไว้รอบพื้นที่หน้าเหมืองของโครงการอย่างสม่ําเสมอเพื่อป้องกันมิให้น้ําในโครงการไหลลงสู่ห้วยหิน และป้องกันน้ําจากพื้นที่รับน้ําบริเวณเขาโพธิ์ไหลลงบ่อเหมืองของโครงการ รวมทั้งเพื่อรักษาปริมาณน้ําจากพื้นที่บริเวณเขาโพธิ์ที่จะไหลลงห้วยหิน

- ตรวจสอบความแข็งแรงของคันทํานบดินและคูระบายน้ําที่จัดสร้างไว้แล้ว อย่าสม่ําเสมอ

- ไม่มี -

4.6 พื้นที่ขุมเหมืองหากสิ้นสุดการทําเหมืองแล้ว ก่อนที่จะนําน้ําไปใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรมให้วิเคราะห์คุณภาพน้ํา และตะกอนท้องน้ําก่อนใช้ โดยดัชนีการวิ เคราะห์คุณภาพน้ํา ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง ของแข็งละลาย ของแข็งแขวนลอย ความกระด้าง ความขุ่น สารหนู ตะกั่ว แคดเมียม และปรอท ดัชนีที่ทําการวิเคราะห์ตะกอนท้องน้ํา ได้แก่ สารหนู ตะกั่ว แคดเมียม

- หากสิ้นสุดการทําเหมือง จะปฏิบัติตามเงื่อนไข - ไม่มี -

คูระบายน้ําของโครงการ

Page 40: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-40 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

และปรอท ทั้งนี้หากพบว่าคุณภาพน้ํามีการปนเปื้อนหรือมีปริมาณโลหะมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน กําหนดให้ติดป้ายเตือนห้ามใช้น้ํา

4.7 ตรวจสอบระดับน้ําใต้ดินหรือสอบถามสภาพการใช้น้ําของราษฎรที่ใช้น้ําจากบ่อบาดาล อบต.เขาแหลม บ่อบาดาลบ้านห้วยหิน และบ่อบาดาลบ้านหนองเกตุพัฒนา ปีละ 2 ครั้ง ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน และพฤศจิกายน-ธันวาคม โดยให้มีการบันทึกระดับน้ําหรือสภาพการใช้น้ํา

- จากการสอบถามปลัดองค์การบริหารส่วนตําบลเขาแหลม พบว่า ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันในช่วงฤดูแล้งมักพบปัญหาปริมาณน้ําจากบ่อบาดาล องค์การบริหารส่วนตําบลเขาแหลม บ่อบาดาลบ้านห้วยหิน และบ่อบาดาลบ้านหนองเกตุพัฒนา ไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการของราษฎรและมีปัญหาเรื่องน้ํากระด้าง อย่างไรก็ตามมีการแก้ไขปัญหาโดยนํารถน้ํามาให้บริการราษฎรในช่วงที่ขาดแคลน ส่วนความกระด้างของน้ําไม่ส่งผลต่อการใช้น้ํ าของประชาชนเนื่องจากจะใช้เพื่อการอุปโภคเพียงอย่างเดียว ไม่มีการใช้น้ําเพื่อบริโภคแต่อย่างใด

- ปัญหาความไม่เพียงพอของน้ําในบ่อบาดาลในช่วงฤดูแล้งและน้ํากระด้างเป็นปัญหาเดิมในชุมชนบริเวณโดยรอบโครงการ

-

5. ทรัพยากรดิน 5.1 ให้นํา เปลือกดินที่ไ ด้จากการทําเหมืองไป

ปรับปรุงเส้นทางขนส่งแร่ คันทํานบและฟื้นฟูสภาพพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบด้านทรัพยากรดินและการชะล้างพังทลาย

- เปลือกดินที่เกิดจากการทําเหมืองนําไปปรับปรุงเส้นทางขนส่งแร่ภายในโครงการและนําไปจัดสร้างคันทํานบดินโดยรอบพื้นที่โครงการ

- ไม่มี -

Page 41: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-41 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

5.2 ให้ปลูกพืชคลุมดินและไม้ยืนต้นโตเร็วบนแนวคันทํานบของโครงการเพื่อป้องกันผลกระทบด้านการชะล้างพังทลาย

- ปลูกต้นสนประดิพัทธ์บนแนวคันทํานบดินที่จัดสร้างไว้บริเวณแนวเขตประทานบัตรหลักหมุดที่ 4-5 และ 18-20 ปลูกต้นสะเดาและต้นคูน บริเวณหลักหมุดที่ 10 ถึง 18 และบริเวณแนวเขตโรงแต่งแร่ทางทิศเหนือ และบริเวณที่ดินของบริษัทฯ ที่ติดกับด้านทิศเหนือของโรงแต่งแร่

- ไม่มี

-

แนวต้นสนประดิพัทธ์บนคันทํานบดิน

แนวต้นไม้บริเวณที่ดินของบริษัทฯ

แนวต้นสะเดาและต้นคูน บนคันทํานบดิน บริเวณหลักหมุดที่ 7-9

Page 42: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-42 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

5.3 กําหนดให้ รักษาสภาพภูมิประเทศเดิมบริเวณพื้นที่ที่ไม่มีกิจกรรมการทําเหมืองและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องไว้

- ดูแลรักษาสภาพภูมิประเทศบริเวณที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทําเหมืองให้อยู่ในสภาพเดิม

- ไม่มี -

6. คมนาคม 6.1 ให้หลีกเลี่ยงการขนส่งแร่ออกจากโครงการใน

ช่วงเวลาที่มีประชาชนใช้ถนนหนาแน่น ได้แก่ เวลา 07.00-08.00 น. และ 16.30-17.30 น. เนื่องจากเป็นเวลาที่ประชาชนไป-กลับจากที่ทํางาน หรือนักเรียนไป-กลับจากโรงเรียน

- โครงการกําหนดช่วงเวลาในการขนส่งแร่ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 เพื่อหลีกเลี่ยงการขนส่งแร่ในช่วงที่มีประชาชนหนาแน่น

- ไม่มี -

6.2 กําหนดให้การบรรทุกแร่ทุกครั้งจะต้องปิดฝากระบะข้างและท้ายของรถบรรทุกให้เ รียบร้อย รวมทั้งทําการปิดคลุมผ้าใบให้มิดชิด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการตกหล่นของแร่หรือการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง

- ทําการปิดคลุมกระบะบรรทุกด้วยผ้าใบอย่างมิดชิดก่อนขนส่งแร่ออกภายนอกโรงแต่งแร่ของโครงการเพื่อป้องกันการตกหล่นของแร่

- ไม่มี -

6.3 ให้รถบรรทุกแร่ของโครงการจะต้องติดป้ายชื่อโครงการ และหมายเลขโทรศัพท์ไว้ที่รถให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เพื่อรับข้อร้องเรียนจากผู้ใช้ถนนร่วมกับโครงการ

- รถบรรทุกที่ใช้ในการขนส่งแร่เป็นของผู้รับเหมา ซึ่งทางโครงการได้ขออนุญาตติดป้ายชื่อบริษัท ไมน์เค็ม จํากัด ที่กระจกหน้ารถบรรทุก เพื่อให้ราษฎรในชุมชนสามารแจ้งมายังบริษัทฯ ได้หากคนขับรถก่อให้เกิดความเดือนร้อนต่อราษฎร โครงการขอความร่วมมือให้คนขับรถปฏิบัติตามกฎจราจรและให้ใช้ความเร็วตามกฎหมายกําหนด

- เปิดรับฟังข้อคิดเห็นหรือเรื่องร้องเรียนอันเกิดจากโครงการหากการดําเนินโครงการก่อให้เกิดปัญหาจะดําเนินการแกไ้ขโดยทันที

- ไม่มี -ป้ายชื่อบริษัทฯ ที่ติดหน้ารถบรรทุก

Page 43: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-43 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข ภาพประกอบมาตรการ

6.4 ให้ดูแลรักษาสภาพเส้นทางให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ และในกรณีเกิดการชํารุดเสียหายทางโครงการจะต้องรีบดําเนินการปรับปรุงทันที

- ดูแลและปรับปรุงเส้นทางการขนส่งแร่ให้อยู่ในสภาพดีเสมอ

- ไม่มี

6.5 กําหนดให้น้ําหนักและความเร็วรถบรรทุกแร่ให้เป็นไปตามที่ราชการกําหนด

- ควบคุมน้ําหนักและความเร็วของรถบรรทุกที่ทําการขนส่งแร่ไม่ให้เกินตามที่ราชการกําหนด

- ไม่มี -

6.6 กําหนดรถบรรทุกให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กม./ชม. ในช่วงเส้นทางภายในโครงการและเส้นทางภายนอกโครงการช่วงถนนส่วนบุคคลก่อนออกสู่ทางหลวงหมายเลข 205

- ขอความร่วมมือให้คนขับรถใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กม./ชม. บริเวณถนนภายในโครงการและทางเข้า-ออกโครงการก่อนออกสู่ทางหลวงหมายเลข 205 พร้อมติดป้ายควบคุมความเร็ว

- ไม่มี -

6.7 ทําการตรวจเช็ครถบรรทุกแร่ เช่น ระบบห้ามล้อ ระบบไฟฟ้า การทํางานของเครื่องยนต์ ระบบเกียร์ และอื่นๆ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี และปลอดภัยอยู่เสมอ

- ตรวจเช็คสภาพรถบรรทุกแร่ตามรอบการบํารุงรักษา

- ไม่มี -

6.8 ให้ทําการดูแลรักษาป้ายเตือนต่างๆ ของโครงการให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ ถ้าหากเกิดการชํารุดเสียหายให้รีบดําเนินการซ่อมแซมโดยทันที

- ดูแลรักษาป้ายเตือนต่างๆ ให้อยู่ในสภาพดีและปรับปรุงซ่อมแซมหากมีการชํารุดเสียหาย

- ไม่มี -

เส้นทางขนส่งแร่ภายในโครงการ

Page 44: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-44 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข ภาพประกอบมาตรการ

7. เกษตรกรรม หากได้รับการร้องเรียนจากราษฎรที่อาศัยอยู่บริเวณ

ใกล้เคียง หรือพื้นที่เกษตรกรรมอยู่ใกล้เคียงโครงการ ว่าได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการดําเนินโครงการ เจ้าของโครงการจะต้องแก้ไขเหตุแห่งความเดือดร้อนเสียหายให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะดําเนินการต่อไปและจะต้องปฏิบัติตามคําสั่งของทางราชการ

- การดําเนินโครงการที่ผ่านมามิได้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายกับราษฎรและพื้นที่เกษตรกรรมใกล้เคียงโครงการ

- หากได้รับการร้องเรียนจากราษฎรที่อาศัยอยู่บ ริ เวณใกล้ เคียง หรือ พื้น ที่ เกษตรกรรมอ ยู่ใกล้เคียงโครงการ จะเร่งดําเนินการตรวจสอบสาเหตุและดําเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน และยินดีปฏิบตัิตามคําสั่งของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

- ไม่มี -

8. เศรษฐกิจ-สังคม 8.1 ให้ปฏิบัติตามแผนประชาสัมพันธ์การทําเหมืองแร่

ของโครงการ โดยแจ้งผ่านไปยังผู้ใหญ่บ้าน กํานันในเขตท้องที่ตําบลเขาแหลม และสื่อมวลชนท้องถิ่น โดยจัดทําเป็นแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือส่งรายงานแผนประชาสัมพันธ์การทําเหมืองแร่ของโครงการไปยังชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการตามเงื่อนไขระยะเวลาที่ต้องดําเนินการอย่างเคร่งครัด

- จัดทําแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการให้ราษฎรทราบปีละ 2 ครั้ง โดยวางแจกเอกสารไว้ที่บริเวณสํานักงานโครงการ ที่ทําการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 บ้านไทรงาม ที่ทําการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านฝายพัฒนา และที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเขาแหลม เอกสารประชาสัมพันธ์โครงการ นําเสนอดังเอกสารแนบ 9

- ไม่มี -

8.2 ใ ห้ ส นั บ สนุ น กิ จกรรมของชุ มชน เ พื่ อส ร้ า งความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนในชุมชนใกล้เคียงโครงการ เช่น ให้ทุนการศึกษา จัดหาแหล่งน้ําใช้ ค่าอาหารกลางวัน กิจกรรมการศึกษาของโรงเรียน จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และบริจาคสนับสนุนกิจกรรมด้านศาสนาและประเพณีให้แก่ส่วนรวมตามความเหมาะสม

- จัดตัวแทนของโครงการเข้าร่วมกิจกรรมหรือดําเนินการสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนตามความเหมาะสมอย่างสม่ําเสมอ เช่น งานแสดงประจําปี โรงเรียนบ้านเขาแหลม ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น

- ไม่มี -

Page 45: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-45 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข ภาพประกอบมาตรการ

8.3 ให้พิจารณาจ้างแรงงานในท้องถิ่นเป็นหลัก - ปัจจุบันคนงานส่วนใหญ่เป็นคนในเขตอําเภอ ชัยบาดาล

- ไม่มี -

8.4 ให้ดําเนินการประชาสัมพันธ์ผลการตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม และดูแลรักษาป้ายประชาสัมพันธ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณชุมชนโดยรอบโครงการให้ชุมชนใกล้เคียงรับทราบ

- จัดทําป้ายประชาสัมพันธ์ผลการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมปีละ 2 ครั้ง โดยติดตั้งป้ายไว้บริเวณสํานักงานโครงการ ที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเขาแหลม และที่ทําการผู้ ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านไทรงาม

- ไม่มี -

8.5 หากเกิดความเสียหายจากกิจกรรมการทําเหมืองที่มีต่อบ้านเรือนประชาชนใกล้เคียงโครงการ ทางโครงการจะต้องเร่งดําเนินการแก้ไขและชดเชยค่าเสียหายตามความเหมาะสมและยุติธรรม

- การดําเนินโครงการที่ผ่านมามิได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนใกล้เคียงโครงการ

- หากกิจกรรมการทําเหมืองก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนใกล้เคียงโครงการ โครงการจะปฏิบัติตามเงื่อนไข

- ไม่มี -

8.6 กําหนดให้โครงการจะต้องจัดให้มีและดูแลรักษากล่องแสดงความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการบริเวณที่ทําการผู้ใหญ่บ้านในท้องที่หมู่ที่ 2 บ้านไทรงาม หมู่ที่ 7 บ้านฝายพัฒนา และ อบต.เขาแหลม

- ดูแลและตรวจสอบกล่องแสดงความคิดเห็นของประชาชนบริเวณสํานักงานโครงการที่ทําการผู้ ใ หญ่บ้ านหมู่ ที่ 2 บ้ าน ไทรงาม ที่ ทํ า กา รผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านฝายพัฒนา และที่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเขาแหลม

- การดําเนินโครงการที่ผ่านมาไม่ได้รับข้อร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบจากโครงการ

- ไม่มี -

Page 46: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-46 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

8.7 กําหนดให้โครงการประสานงานกับ ที ่ทําการองค์การบริหารส่วนตําบลเขาแหลม และให้ความ ร่วมมือในการปรับปรุงแนวเส้นทางบริเวณรอบเขาโพธิ์ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันให้เป็นถนนลาดยางเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เส้นทางดังกล่าวเข้าสู่พื้นที่ป่าชุมชนเขาโพธิ์และผ่านไปยังพื้นที่เกษตรกรรมได้

- ได้ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตําบลเขาแหลม ในการปรับปรุงแนวเส้นทาง บริเวณรอบเขาโพธิ์ ซึ่งปัจจุบันโครงการได้

- ทําการปรับปรุงเส้นทางดังกล่าวเป็นถนนลูกรัง เพื่อให้สามารถเดินทางสัญจรได้

- ไม่มี -

9. สาธารณสุข อาชีวอนามัย และความปลอดภัย 9.1 ให้จัดสภาพแวดล้อมของสํานักงานให้ถูกสุขลักษณะ

เช่น จัดวางภาชนะรองรับขยะให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นต้น

- จัดสภาพแวดล้อมของสํานักงานให้ถูกสุขลักษณะ ทั้งในเรื่อง แสง เสียง อุณหภูมิ การจัดการขยะ และห้องสุขา

- ไม่มี

ห้องส้วมที่จัดไว้ให้คนงาน

ภาชนะรองรับขยะแยกประเภท

Page 47: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-47 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางแก้ไข ภาพประกอบมาตรการ

9.2 ให้ฝึกอบรมการทํางานและการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์อย่างสม่ําเสมอเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ โดยทําการอบรมทุกวันก่อนการปฏิบัติงาน เพื่อปลูกจิตสํานึกให้แก่พนักงาน ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยในการทํางานโดยการสวมใส่ อุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส่ วนบุคคลขณะปฏิบตัิงาน

- จัดอบรมการทํางานและการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ให้แก่พนักงานก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และจัดให้มีหัวหน้าพนักงานควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน

- ไม่มี -

9.3 ให้จัดเตรียมปัจจัยในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น พร้อมทั้งยานพาหนะสําหรับนําคนเจ็บส่งโรงพยาบาลกรณีคนงานเกิดอุบัติเหตุ

- จัดตู้ยาสามัญและอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นรวมทั้งสําหรับนําคนเจ็บส่งโรงพยาบาลหากมีเหตุฉุกเฉิน

- ไม่มี -

9.4 กํ าหนดใ ห้จั ด อุปกรณ์ป้ องกั น อันตราย ที่เหมาะสมกับสภาพงาน และมีจํานวนเพียงพอกับพนักงาน

- จัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้คนงานสวมใส่ตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ เช่น หมวกนิรภัย รองเท้านิรภัย ผ้าปิดจมูก Ear Plug แว่นตา เป็นต้น

- ไม่มี -

9.5 ให้โครงการเผยแพร่ข้อมูลแก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเขาแหลมและสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรีอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ประกอบด้วย ผลการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม และผลการปฏิบั ติตามมาตรการป้องกันและแก้ ไขผลกระทบสิ่ งแวดล้อม ที่อาจจะมีผลกระทบต่อสุ ขภาพของประชาชน โดยประสานงานกับสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่เป็นประจําอย่างต่อเนื่อง เพื่อทราบสถานการณ์ภาวะสุขภาพของชุมชนว่ามีผลกระทบจากโครงการหรือไม่

- ดําเนินการเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเขาแหลมและสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี โดยจัดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่ งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ปีละ 2 ครั้ง

- ดําเนินการประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเขาแหลม เพื่อทราบสถานการณ์ภาวะสุขภาพ พบว่า ชุมชนไม่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากการดําเนินงานของโครงการ

- ไม่มี -

Page 48: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-48 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

9.6 ให้สนับสนุนกิจกรรมส่ง เสริมสุขภาพ กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชน โดยประสานงาน ร่วมกับหน่ วยงานสาธารณสุขในท้องถิ่น เช่น การอบรม การตรวจสุขภาพ เป็นต้น

- ได้มีการประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเขาแหลม เพื่อสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและกิจกรรมเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนในชุมชน

- ไม่มี -

9.7 หากการดําเนินโครงการส่งผลกระทบต่อความปลอดภั ย ทั้ ง ชี วิ ตและทรั พ ย์สิ น ของประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงโครงการ โครงการจะต้องทําการชดเชยค่ า เสียหายตามความเหมาะสมและเป็นธรรมให้แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน

- การดําเนินโครงการที่ผ่านมามิได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับประชาชนใกล้เคียงโครงการ

- หากกิจกรรมการทําเหมืองก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนใกล้เคียงโครงการ โครงการยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไข

- ไม่มี -

9.8 กําหนดให้จัดน้ําดื่ม น้ําใช้ และห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะสําหรับพนักงานอย่างเพียงพอ

- จัดหาน้ําดื่มให้แก่คนงานอย่างเพียงพอ น้ําใช้ภายในโครงการเป็นน้ํ าจากบ่อบาดาลของโครงการซึ่งเพียงพอต่อคนงาน

- ปัจจุบันคนงานของโครงการเป็นเพศชายทั้งหมด โดยโครงการจัดให้ มี ห้องส้ วม จํ านวน 2 ห้องซึ่งเพียงพอต่อจํานวนพนักงาน ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 63 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กําหนดให้อาคารประเภทโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มีคนงานชายตั้งแต่ 16 คน แต่ไม่เกิน 40 คน จะต้องมีห้องถ่ายอุจจาระและที่ถ่ายปัสสาวะ 2 ห้อง

- ไม่มี

น้ําดื่มที่จัดไว้ให้พนักงาน

Page 49: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-49 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

9.9 กํ า ห นด ใ ห้ มี หั ว หน้ า ง า น ดู แ ล แ ล ะตรวจสอบเครื่องจักรอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพการทํางานอย่างปลอดภัย และให้มีผู้ควบคุมการดําเนินงานเป็นประจํา เพื่อความปลอดภัยและป้องกันอุบั ติเหตุสําหรับการทําเหมือง และมีบันทึกผลการตรวจไว้เป็นหลักฐาน เพื่อแสดงแก่พนักงานเจ้าหน้าที่

- จัดให้มีหัวหน้าทําหน้าที่ควบคุมการดําเนินงานบริเวณพื้นที่ทําเหมือง โดยการดําเนินงานที่ผ่านมา ไม่พบการเกิดอุบัติเหตุ พร้อมแสดงสถิติการเกิดอุบั ติ เห ตุ ที่บอ ร์ด บริ เวณสํานักงานโครงการ แบบฟอร์มการบันทึกอุบตัิเหตุ ดังเอกสารแนบ 12

- ไม่มี -

9.10 จัดให้มีการตรวจสุขภาพคนงานเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และได้ยินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสถิติสําหรับการประเมินผลตามมาตรการต่อไป

- ดําเนินการตรวจสุขภาพพนักงานวันที่ 29 มีนาคม 2562 พบว่า ไม่มีผู้ผิดปกติเกี่ยวกับสมรรถภาพการได้ยิน สมรรถภาพปอด และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

- ในการดําเนินงานของโครงการที่ผ่านมาไม่พบผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และระบบการได้ยิน

- ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมาทางโครงการไม่มีการรับพนักงานใหม่เข้ามาทํางาน หากมีการรับหนักงานใหม่เข้ามาทํางานจะดําเนินการตรวจสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และระบบการได้ยินก่อนรับเข้าทํางาน

- ไม่มี -

9.11 จัดให้มีการปิดกั้นหรือป้องกันอันตรายจากบริเวณต่างๆ เช่น ที่เก็บวัตถุระเบิด หรือบริเวณที่มีรถขุดตักทํางาน เป็นต้น

- จัดให้มีการปิดกั้นบริเวณเครื่องจักรอุปกรณ์บริเวณโรงแต่งแร่ของโครงการเพื่อป้องกันอันตรายจากการทํางานของเครื่องจักรอุปกรณ์

- ไม่มี -

บอร์ดแสดงสถิตความปลอดภัย

Page 50: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-50 MM-C05

ตารางที่ 2.2-2 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

9.12 ให้บันทึกสถิติและสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อใช้ประกอบในการจัดทํารายงานผลการปฏิบั ติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่ งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

- การดําเนินงานที่ผ่านมาไม่พบการเกิดอุบัติเหตุ เอกสารสรุปสถิติการเกิดอุบัติเหตุแสดง แบบฟอร์มการบันทึกอุบัติเหตุ ดังเอกสารแนบ 12

- ไม่มี -

Page 51: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-51 MM-C05

ตารางที่ 2.3-1 ผลการดําเนินการตามมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

1. คุณภาพอากาศ ให้ตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองรวม (TSP) และปริมาณฝุ่น

ล ะออ งขนาด ไ ม่ เ กิ น 1 0 ไ มค รอน ( PM-10) จํ า น วน 3 สถานี ได้แก่ โรงแต่งแร่ของบริษัท ไมน์เค็ม จํากัด วัดห้วยหิน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.เขาแหลม และตรวจวัดความเร็วลมและทิศทางลม บริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต. เขาแหลม ปีละ 2 ครั้ง สถานีละ 3 วันต่อเนื่อง (ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน และช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) ขณะดําเนินการตรวจวัดต้องดําเนินการในช่วงที่มีการทําเหมือง และบันทึกสภาพแวดล้อมขณะทําการตรวจวัด ทั้งข้อมูลพื้นที่ทําเหมืองและบริเวณโดยรอบพื้นที่โครงการ

- ทําการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองรวม และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน จํานวน 3 สถานี ตามที่กําหนด ผลการตรวจวัดในวันที่ 1-4 พฤศ จิกายน 2562 มี ค่ าอ ยู่ ใน เกณฑ์มาตรฐาน ส่วนผลการตรวจวัดความเร็วและทิศทางลม พบว่า ความเร็วลมมีค่าอยู่ในช่วง 1.8-3.6 ม./วินาที ความเร็วลมเฉลี่ย 0.55 ม./วินาที โดยทิศทางของลมส่วนใหญ่พัดมาจากทิศเหนือ

- ไม่มี

-

2. เสียง และความสั่นสะเทือน - ให้ตรวจวัดระดับเสียงสูงสุด (Lmax) และระดับเสียงเฉลี่ย

24 ชั่วโมง (Leq 24 hr) จํานวน 3 สถานี ได้แก่ โรงแต่งแร่ของบริษัท ไมน์เค็ม จํากัด วัดห้วยหิน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.เขาแหลม ปีละ 2 ครั้ง สถานีละ 3 วันต่อเนื่อง (ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน และช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) ขณะดําเนินการตรวจวัดต้องดําเนินการในช่วงที่มีการทําเหมือง และบันทึกสภาพแวดล้อมขณะทําการตรวจวัด ทั้งข้อมูลพื้นที่ทําเหมืองและบริเวณโดยรอบพื้นที่โครงการ

- ทําการตรวจวัดระดับเสียง เฉลี่ย 1 ชั่วโมง ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง และระดับเสียงสูงสุด จํานวน 3 สถานี ตามที่กําหนด ผลการตรวจวัดในวันที่ 1-4 พฤศจิกายน 2562 มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

- ไม่มี

-

Page 52: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-52 MM-C05

ตารางที่ 2.3-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

- ให้ตรวจวัดความสั่นสะเทือน จํานวน 2 สถานี ได้แก่ ขอบแปลงประทานบัตรด้านทิศเหนือ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.เขาแหลม ปีละ 2 ครั้ง (ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน และช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) โดยทําการตรวจวัดขณะทําการระเบิด

- ปัจจุบันทางโครงการไม่มีการใช้วัตถุระเบิดในการทําเหมือง ดังนั้น จึงไม่มีการตรวจวัดความสั่นสะเทือนจากการระเบิดแต่อย่างใด

3. คุณภาพน้ําผิวดิน ให้ตรวจวัดการวิเคราะห์คุณภาพน้ํา ดัชนีการตรวจวัด

ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณของแข็งแขวนลอย ปริมาณของแข็งละลาย ความกระด้าง และความขุ่น จํานวน 3 สถานี ได้แก่ บ่อ sump ห้วยหินก่อนไหลผ่านเข้าใกล้โครงการ และห้วยหินหลังไหลผ่านเข้าใกล้โครงการ ปีละ 2 ครั้ง (ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน และช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม)

- ทําการตรวจวัดคุณภาพน้ําผิวดินในสถานีที่กําหนดในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 พบว่า มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานกําหนด

- ไม่มี -

4. คุณภาพน้ําใต้ดิน ให้ตรวจการวิเคราะห์คุณภาพน้ํา ดัชนีการตรวจวัด

ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณของแข็งแขวนลอย ปริมาณของแข็งละลาย ความกระด้าง และความขุ่น จํานวน 3 สถานี ได้แก่ บ่อบาดาลองค์การบริหารส่วนตําบลเขาแหลม บ่อบาดาลบ้านห้วยหิน และบ่อบาดาลบ้านหนองเกตุพัฒนา ปีละ 2 ครั้ง (ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน และช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม)

- ทําการตรวจวัดคุณภาพน้ําใต้ดินในสถานีที่กําหนด ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ําใต้ดิน พบว่า ดัชนีส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในเกณฑ์อนุโลมสูงสุดตามมาตรฐานกําหนด ยกเว้นค่าความกระด้างทั้งหมดบริเวณบ่อบาดาลบ้านห้วยหินที่มีค่าเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานกําหนด

- ไม่มี

-

Page 53: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-53 MM-C05

ตารางที่ 2.3-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

5. เศรษฐกิจ-สังคมดําเนินการสอบถามทัศนคติและความคิดเห็นของ

ประชาชนเกี่ยวกับ ทัศนคติต่อโครงการ ปัญหาที่เกิดจากโครงการ และความวิตกกังวลเกี่ยวกับการทําเหมืองบริเวณหมู่ที่ 2 บ้านไทรงาม และหมู่ที่ 7 บ้านฝายพัฒนา ปีละ 1 ครั้ง (ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน)

- ผลการสอบถามทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนในปี 2562 นําเสนอดังเอกสารแนบ 13

- ไม่มี -

6. สาธารณสุข อาชีวอนามัย และความปลอดภัย 6.1 ตรวจสุ ขภาพของพนักงาน ที่จะ รับ เ ข้ ามา

รับผิดชอบปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีโอกาสสัมผัสกับฝุ่นละออง และเสียงดังก่อนรับเข้าทํางานและบันทึกเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานของพนักงาน ได้แก่ สมรรถภาพการได้ยิน สมรรถภาพปอด ทุกครั้งก่อนรับเข้าทํางาน

ดําเนินการตรวจสุขภาพครั้งแรกประจําปี 2558 ซึ่งถือได้ว่าเป็นการตรวจก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากในช่วงดังกล่าวเป็นการเตรียมความพร้อมในการทําเหมือง และจะใช้ข้อมูลการตรวจในครั้งนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานของคนงาน กรณีมีการรับคนงานเพิ่มเติมจากเดิมจะส่งให้ไปตรวจสุขภาพก่อนเริ่มปฏิบัติงาน จากการดําเนินงานที่ผ่านมาไม่พบผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ ยวกับสมรรถภาพการได้ ยิน สมรรถภาพปอด และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

- ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ทางโครงการไม่มีการรับพนักงานใหม่เข้ามาทํางาน หากมีการรับหนักงานใหม่ เ ข้ามาทํางานจะดําเนินการตรวจสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และระบบการได้ยินก่อนรับเข้าทํางาน

- ไม่มี -

Page 54: บทที่ ผลการดําเนินการตามมาตรการป ้องกันและแก ้ไขผลกระทบ ...eia.onep.go.th/images/monitor/1580355639.pdf ·

หน้า 2-54 MM-C05

ตารางที่ 2.3-1 (ต่อ)

เงื่อนไขตามมาตรการ ผลการปฏิบัติตามมาตรการ ปัญหา อุปสรรคที่ไม่สามารถปฏิบัติ ตามมาตรการและแนวทางแก้ไข

ภาพประกอบมาตรการ

6.2 ให้ตรวจสุขภาพพนักงานเป็นประจําทุกปีตลอดระยะดําเนินการ โดยพนักงานทั่วไปให้ตรวจสุขภาพทั่วไป ส่วนพนักงานที่จะรับเข้ามารับผิดชอบปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีโอกาสสัมผัสกับฝุ่นละอองและเสียงดัง ให้เ พิ่มเติมรายการตรวจดังนี้ สมรรถภาพการได้ยิน สมรรถภาพปอด โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจพนักงานของโครงการ ปีละ 1 ครั้ง

- ดําเนินการตรวจสุขภาพพนักงานวันที่ 29 มีนาคม 2562 พบว่า ไม่มีผู้ผิดปกติเกี่ยวกับสมรรถภาพการได้ยิน สมรรถภาพปอด และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

- ไม่มี -

6.3 ให้ โครงการเผยแพร่ ข้อมูล ผลการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมและผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยประสานงานกับสถานบริการสาธารณสุขในพื้นที่เป็นประจําอย่างต่อเนื่อง เ พื่อทราบสถานการณ์ภาวะสุขภาพอนามัยของชุมชนว่ามีผลกระทบจากโครงการหรือไม่ ปีละ 1 ครั้ง

- เผยแพร่ข้อมูลโดยการจัดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแ ก้ ไขผลกระทบสิ่ งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปยัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเขาแหลมและสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี รับทราบ ปีละ 2 ครั้ง

- ไม่มี -