บทนำ - Forest Biodiversity...

42

Transcript of บทนำ - Forest Biodiversity...

Page 1: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน
Page 2: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

ความหลากหลายของเห็ดรา

ความหลากหลายของเห็ดราวงศ์ Xylariaceae เป็นเอกสารทางวิชาการ ที่เป็นผลงานส่วนหนึ่งของโครงการสำารวจและเก็บรวบรวมสายพันธุ์เชื้อรา Xylariaceae เพื่อการใช้ประโยชน์ ที่เป็นคู่มือการศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานเบื้องต้นสำาหรับผู้ที่ศึกษา วิจัยและปฎิบัติงานด้านการสำารวจรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรป่าไม้ด้านเห็ดราในพื้นที่

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยด้านเห็ดราของประเทศไทยให้กับหน่วยงานต่างๆ นิสิตนักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ต่อไป

ดร. สุรางค์ เธียรหิรัญ กันยายน 2551

บทนำ�

Page 3: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

ความหลากหลายของเห็ดรา

หน้า

ลักษณะทั่วไป 1 ความสำาคัญของเห็ดรา 1 การดำารงชีวิต 3 การสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ 4 การสืบพันธุ์แบบใช้เพศ 5 วิธีการศึกษาและเก็บตัวอย่าง 6 การจัดจำาแนกสกุล 7 เห็ดราวงศ์ Xylariaceae ที่พบในประเทศไทย 10 เอกสารอ้างอิง 36 คณะทำางาน 37

ส�รบัญ

Page 4: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

ความหลากหลายของเห็ดรา

เห็ดราวงศ์ Xylariaceae จัดอยู่ใน Division Eumycota Subdivision Asomycotina Class Pyrenomycetes Order Sphaeriales Family Xylariaceae ทั่วโลกมีรายงาน พบเห็ดราวงศ์ Xylariaceae ประมาณ 40 สกุล 2,000 ชนิด และในประเทศไทยมีรายงานพบ 19 สกุล 200 ชนิด

ความสำาคัญของเห็ดรา

เป็นตัวการในการย่อยสลายเนื้อไม้ เปลือกไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ผล เมล็ด อินทรียวัตถุในดิน และมูลสัตว์ (wood decomposition)

เป็นเห็ดราที่เป็นสาเหตุที่สำาคัญของโรคพืช ในเขตหนาว (phytopathogen) ได้แก่ โรคแคงเกอร์ (Canker) และโรครากเน่า (Root Rot) ของพืชไม้ผลเมืองหนาวเช่น แอปเปิ้ล

เป็นเห็ดราที่อยู่ในกระบวนการสร้างเห็ดโคนโดยมีเห็ดราสกุล Xylaria (เห็ดก้านธูป) เห็ดโคนและปลวกอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

เป็นเห็ดราที่มีเอ็นไซม์ย่อยสลายเซลลูโลสและลิกนินที่สามารถนำามาวิจัยพัฒนาใช้กำาจัดลิกนินแทนการใช้สารเคมีคลอรีนในอุตสาหกรรมทำากระดาษเพื่อลดมลพิษในสิ่งแวดล้อม

เป็นเห็ดราที่สามารถนำามาเพาะเลี้ยงได้ในห้องปฏิบัติการและสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ(secondary metabolites )ได้หลายชนิดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตหรือฆ่าเซลล์มะเร็ง เชื้อไวรัส HIV เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆของคน สัตว์ และพืช ในห้องปฎิบัติการได้ ซึ่งมีศักยภาพที่จะนำามาวิจัยพัฒนาใช้เป็นยารักษาโรคต่อไป

มีรายงานการศึกษาวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศว่าเชื้อรา (endophyte) ที่อยู่ในพืชชนิดต่างๆ และพืชสมุนไพรหลายชนิดเป็นเชื้อราที่อยู่ในวงศ์ Xylariaceae หลายชนิด สามารถสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเซลล์มะเร็งชนิดในห้องปฏิบัติการได้

1

ลักษณะทั่วไป

Page 5: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

ความหลากหลายของเห็ดรา

เห็ดราวงศ์ Xylariaceae พบได้ในป่าทุกประเภท ได้แก่ ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าพรุ และป่าชายเลน เป็นต้น รวมทั้งสวนไม้ผลและพื้นที่ที่มีต้นไม้ใหญ่

2

ประเทศไทยพบเห็ดราวงศ์ Xylariaceae 17 สกุล ได้แก่ สกุล Xylaria สกุล Hypoxylon สกุล Biscogniauxia สกุล Camillea สกุล Daldinia สกุล Kretzschmaria สกุล Kretzschmariella สกุล Nemania สกุล Jumillera สกุล Whalleya สกุล Rhopalostroma สกุล Rosellinia สกุล Poronia สกุล Podosordaria สกุล Astrocystis สกุล Entonaema และสกุล Holttumia เป็นต้น โดยสกุล Xylaria และสกุล Hypoxylon พบจำานวนชนิดมากที่สุดในประเทศไทย

ชนิดพันธุ์ใหม่ที่พบในประเทศไทย

Rhopalostroma gracile, Rhopalostroma kanyae, Rhopalostroma lekae, Astrocystis bambusae, Biscogniauxia recticulosum, Daldinia bambusicola Entonaema siamensis และ Podosordaria elephanti

เห็ดราวงศ์ Xylariaceae ที่พบในประเทศไทย

Page 6: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

ความหลากหลายของเห็ดรา

เห็ดราวงศ์นี้มีการสืบพันธุ์ 2 ระยะ คือ

1. ระยะการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ (Anamorph stage)

2. ระยะการสืบพันธุ์แบบใช้เพศ (Teleomorph stage)

3

เมื่อถึงระยะเวลาที่เหมาะสมเห็ดราจะเจริญออกมาภายนอกเซลล์สร้างสปอร์ที่ไม่ใช้เพศเรียกว่าโคนีเดีย(conidia)จากนั้นจะพัฒนาเป็นโครงสร้างที่ใช้สร้างสปอร์ที่ใช้เพศ เรียกว่า เอสโคสปอร์(ascospore)ไว้ใช้ในสืบพันธุ์แพร่กระจายต่อไป ซึ่งสปอร์เหล่านี้มีรูปร่างแตกต่างกันตามชนิด (spcies) ของเห็ดรานั้นๆ โครงสร้างที่ใช้ในการสร้างสปอร์เหล่านี้จะมีรูปร่างที่แตกต่างกันตามสกุลและชนิดของเห็ดรา เราสามารถเห็นได้ตามผิวหน้าของท่อนไม้ ตอไม้ กิ่งไม้ ผล เมล็ด รังปลวก บนดิน และมูลสัตว์ ที่เห็ดรานั้นเจริญอยู่เห็ดราสร้างสปอร์เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์

เมื่อสปอร์ปลิวตกลงบนเนื้อไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ผล และเมล็ด ที่ร่วงหล่นลงบนพื้นดินตามธรรมชาติ เมื่อสภาวะที่เหมาะสม คือ ความชื้น 70-90% และอุณหภูมิ 25-28 ำC สปอร์จะงอกออกมาพร้อมกับผลิตเอ็นไซม์มาย่อยผนังเซลล์จากนั้นจึงเข้าไปเจริญเป็นเส้นใย(mycelium)ในเนื้อไม้ เห็ดราจะใช้แป้ง นำ้าตาล เซลลูโลส และลิกนินในเซลล์ไม้เป็นอาหาร จึงเป็นผลทำาให้เนื้อไม้ผุ สีเนื้อไม้ซีดลงเปลี่ยนเป็นสีขาวครีมและมีเส้นลวดลายสีดำาแทรกอยู่ในเนื้อไม้ เราเรียกลักษณะการผุของเนื้อไม้นี้ว่า ราผุขาว (white rot)

การดำารงชีวิต

Page 7: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

ความหลากหลายของเห็ดรา

ระยะการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ (Anamorph stage)

เห็ดรามีการสร้างสปอร์แบบไม่ใช้เพศ (ไม่มีการผสมกันระหว่างนิวเคลียส) เพื่อใช้ในการสืบพันธุ์แพร่กระจาย สปอร์ในระยะนี้เรียกว่า โคนีเดีย (conidia) ลักษณะเป็นฝุ่นผงสีขาว ครีม และเทา คล้ายฝุ่นชอล์ก ขึ้นอยู่บนท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ผล เมล็ด บนดิน รังปลวก และมูลสัตว์ เห็ดรานี้สามารถสร้างโคนีเดียได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อรา เราพบเห็ดราในระยะนี้ได้ในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม

ก. และ ข. รูปร่างของเห็ดราในธรรมชาติ

ค ง

ค. รูปร่างของโคนีเดียภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ง. รูปร่างของเห็ดราบนอาหารเลี้ยงเชื้อรา

ลักษณะรูปร่างของเห็ดราในระยะการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ

4

conidiophores

conidia

ความหลากหลายของเห็ดรา

ขก

Page 8: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

ความหลากหลายของเห็ดรา

ระยะการสืบพันธุ์แบบใช้เพศ (Teleomorph stage)

เห็ดรามีการสร้างสปอร์เพื่อใช้ในการสืบพันธุ์แบบใช้เพศ (มีการผสมกันระหว่างนิวเคลียส) สปอร์ในระยะนี้เรียกว่า เอสโคสปอร์ (ascospore) ลักษณะรูปร่างและสีของตัวเห็ดรา (stromata) จะแตกต่างกันตามสกุล (genus) และ ชนิด (species) ส่วนใหญ่จะมีลักษณะค่อนแข็งจนถึงแข็งมาก มีรูปร่างเป็นแท่ง กระบองคล้ายนิ้วมือ เป็นแผ่นนูนขึ้นมา เป็นก้อนค่อนข้างกลม มีขนาดและสีแตกต่างกัน ได้แก่ ครีม เหลือง ส้ม ม่วง นำ้าตาล เทา และดำา เป็นต้น เราพบเห็ดราในระยะนี้ได้ในช่วงเดือน มิถุนายน-กุมภาพันธ์

ลักษณะรูปร่างต่างๆของเห็ดราในระยะสืบพันธุ์แบบใช้เพศ

5

Page 9: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

ความหลากหลายของเห็ดรา

วิธีการศึกษาและเก็บตัวอย่าง

6

เห็ดราขึ้นอยู่บนต้นไม้ที่ยืนต้นตาย ตอไม้ ท่อนไม้ล้ม กิ่งไม้ ใบไม้ ผล เมล็ด รังปลวก บนดิน และมูลสัตว์ การเก็บตัวอย่างมาศึกษาให้เก็บเห็ดราในระยะการสืบพันธุ์แบบใช้เพศเท่านั้น ซึ่งจะมีรูปร่างแตกต่างกันตามสกุลและชนิดของเห็ดรา

วิธีการเก็บตัวอย่าง

1. เห็ดราที่มีลักษณะเป็นแท่งหรือเป็นเส้น ให้ดึงออกมาจากผิวไม้เปลือกไม้ได้ ตัวอย่างละ 5-10 อัน สำาหรับผลและเมล็ดให้เก็บทั้งผลและเมล็ดตามความเหมาะสม

2. เห็ดราที่มีลักษณะเป็นแผ่นนูนขึ้นมาบนผิวไม้ ให้ใช้มีด ซิ่วและค้อน ตัดตัวอย่างออกมาจากเนื้อไม้หรือเปลือกไม้ โดยต้องให้ติดผิวไม้หรือเนื้อไม้มาด้วย ขนาดประมาณ 1-3 x 3-5 เซนติเมตร ถ้าเป็นกิ่งไม้ขนาดไม่ใหญ่มาก ให้ตัดกิ่งไม้เป็นท่อนๆยาว 5-10 เซนติเมตร

3. เมื่อได้ตัวอย่างเห็ดราแล้ว ให้ห่อกระดาษ แล้วเขียนรหัสหมายเลข พร้อมชื่อพืช สถานที่ จังหวัด วันที่ และผู้เก็บ นำาตัวอย่างที่เก็บได้มาตากผึ่งลมในที่ร่มประมาณ 1-5 วัน ขึ้นอยู่กับตัวอย่างมีความชื้นมากหรือน้อย ห้ามตากแดด เนื่องจากจะทำาให้ตัวอย่างเปลี่ยนสี

4. หลังจากนั้นจัดเก็บตัวอย่างพร้อมรายละเอียดของแบบบันทึกข้อมูล ส่งตรวจสอบทางด้านอนุกรมวิธาน

Page 10: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

ความหลากหลายของเห็ดรา

1. stromata มีรูปร่างเป็นแท่ง หรือกระบอง ...................................................... 21. stromata มีรูปร่างเป็นก้อนค่อนข้างกลม เป็นเม็ด หรือแผ่นนูน ......................... 62. ขึ้นบนมูลสัตว์ ........................................................................................... 32. ขึ้นบนท่อนไม้ ตอไม้ ต้นไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ผล เมล็ด รังปลวก และบนดิน ............ 43. stromata เป็นก้านสีน้ำาตาลค่อนข้างนิ่ม ยาว1-3 ซม.ปลายเป็นหัวกระเปาะค่อนข้างกลม ............................................................................................... Podosordaria3. stromata เป็นก้านสีดำายาว 5-10 ซม. ปลายเป็นหัวกระเปาะครึ่งวงกลม สีครีม ..... ..................................................................................................... Poronia4. เขึ้นบนใบไม้ ผล เมล็ด รังปลวก และบนดิน ........................................ Xylaria4. ขึ้นบนท่อนไม้ ตอไม้ ต้นไม้ กิ่งไม้ ................................................................. 55. stromata เป็นแท่ง หรือกระบอง ..................................................... Xylaria5. stromata เป็นก้านยาว 1-1.5 มม. ปลายเป็นหัวกระเปาะค่อนข้างกลม .................. ........................................................................................... Rhopalostroma6. stromata เป็นก้อนค่อนข้างกลม ติดกับเปลือกไม้และเนื้อไม้ ................................. ................................................................................................................ 76. stromata เป็นแผ่นนูนขึ้นมา หรือเป็นเม็ดติดกับเปลือกไม้และเนื้อไม้ ...................... ................................................................................................................ 9

7ความหลากหลายของเห็ดรา

การจัดจำาแนกสกุล (genera)

Page 11: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

ความหลากหลายของเห็ดรา

7. เนื้อค่อนข้างนิ่มคล้ายกับหนังยางยืดหยุ่น ภายในกลวงมีน้ำาอยู่ ................................ ................................................................................................ Entonaema 7. เนื้อแข็ง ................................................................................................... 8 8. ผ่าครึ่งเนื้อมีลายคล้ายวงแหวนเป็นชั้นๆ ............................................. Daldinia 8. ผ่าครึ่งเนื้อไม่มีลายคล้ายวงแหวนเป็นชั้นๆ ........................................ Holttumia9. stromata เป็นเม็ดติดกับเปลือกและเนื้อไม้ ................................................. 10 9. stromata เป็นแผ่นนูนขึ้นมาบนเปลือกและเนื้อไม้ ..................................... 11 10. ขึ้นบนไม้ไผ่ ............................................................................... Astrocystis10. ขึ้นบนไม้ ................................................................................... Rosellinia 11. stromata มีสีส้ม แสด ม่วง เหลือง น้ำาตาล เทา ดำา เนื้อค่อนข้างแข็ง .................. ............................................................................................... Hypoxylon11. stromata สีน้ำาตาล ดำา เนื้อค่อนข้างแข็งถึงแข็งมาก ................................... 1212. ขึ้นบนไม้ไผ่ .................................................................... Kretzschmariella12. ขึ้นบนไม้ ............................................................................................. 13 13. stromata หนา 0.1-0.4 มม. เนื้อค่อนข้างแข็ง ......................................... 1413. stromata หนา 0.5-1.5 มม. เนื้อแข็งถึงแข็งมาก ...................................... 15 14. stromata ผสมกับเนื้อไม้ ............................................................. Jumillera14. stromata ไม่ผสมกับเนื้อไม้ ......................................................... Whalleya 15. stromata เป็นแผ่นนูนขึ้นมามีส่วนที่ติดกับเนื้อไม้จุดเดียว ........... Kretzschmaria15. stromata เป็นแผ่นนูนขึ้นมาติดกับเนื้อไม้ทั้งหมด ....................................... 1616. สปอร์ ใส ไม่มีสี ......................................................................... Camillea16. สปอร์สีนำ้าตาล สีดำา ............................................................................... 1717. ผิวหน้ายุบตัวแบนคล้ายจาน .......................................................... Nemania17. ผิวหน้าเรียบ ....................................................................... Biscogniauxia

8 ความหลากหลายของเห็ดรา

Page 12: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

ความหลากหลายของเห็ดรา

ลักษณะที่สำาคัญที่ใช้ในการจำาแนกชนิดพันธุ์ (species)

1. รูปร่าง สี เนื้อ ผิวหน้า ขนาด ความสูง ความกว้าง ความหนา ของเห็ดรา (stromata)2. สี ที่ได้จากการทำาปฏิกิริยาของ stromata กับสารละลายโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) เข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ 3. รูปร่าง ขนาด ความสูง ความกว้าง ของโครงสร้างที่ใช้สร้างสปอร์ (perithecia)4. รูปร่างของโครงสร้างช่องเปิดทางออกของสปอร์ (ostioles) 5. รูปร่าง ขนาด ความยาว ความกว้างของเอสโคสปอร์ (ascospores)6. รูปร่าง ความยาวของช่องเปิดให้สปอร์งอกเป็นเส้นใยออกมา (germ slit) 7. ความยาว ความกว้างของถุงหุ้มสปอร์ (asci)8. ความสูง ความกว้างของกล้ามเนื้อหูรูด(apical apparatus) ที่ใช้ดันสปอร์ให้ออกมา จากถุงสปอร์

9

germ slit perithecia

ความหลากหลายของเห็ดรารูปร่างสปอร์

ostioles

apical apparatus ติดสีน้ำาเงิน

Page 13: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

เห็ดราวงศ์ Xylariaceae ที่พบในประเทศไทย

Astrocystis mirabilis (Berk. & Broome ) & J.D. Rogers

ลักษณะ Stromata เป็นเม็ดเล็กๆ ดันนูนขี้นมาบนผิวเนื้อไม้ ทำาให้เปลือกของไม้ไผ่ฉีกขาดออกเป็นแฉกล้อมรอบคล้ายกับขอบวงแหวนสีดำา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.2 มม.ขี้นเป็นเม็ดเดี่ยวๆ แต่ละ stroma มีหนึ่ง perithecium Perithecia สูง 1-1.2 มม. x กว้าง 1-1.2 มม. Ostioles เป็นรูแหลมนูนขึ้นมาเล็กน้อยบนผิวหน้า stroma Ascospores สีนำ้าตาลเข้ม รูปร่างยาวรี ผิวเรียบ ขนาด 10.6-12.5 x 5.6-6.3 ไมครอน Germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับความยาวของสปอร์ Asci 120-160 x 7-8 ไมครอน Apical apparatus 2-4 x 3-4 ไมครอน

ขึ้นบน ไม้ไผ่

10

Page 14: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Biscogniauxia uniapiculata (Penz.&Sacc.) Whalley & Læssøe

ลักษณะ stromata เป็นแผ่นแข็งดันนูนขี้นมาบนผิวเนื้อไม้และเปลือกไม้ สีเทาดำาถึงสีดำามัน ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน ยาว 0.6-5 ซม. x กว้าง 0.4-1.5 ซม. x หนา 0.5 -0.8 มม. perithecia สูง 0.3-0.4 มม. x กว้าง 0.3-0.5 มม. ostioles เป็นรูปุ๋มลงไปที่ผิวหน้า stromata ascospores สีนำ้าตาลอ่อนถึงนำ้าตาลเข้ม รูปร่างยาวรีหัวท้ายมน ปลายข้างหนึ่งใสไม่มีสี ผิวเรียบ ขนาด 13.3-15.8 x 5.6-6.3 germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับความยาวของสปอร์ asci 120-170 x 7-8 ไมครอน apical apparatus 2 x 1.5 ไมครอน

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อไม้มาก ต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นตาย

11

Page 15: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Camillea tinctor (Berk.) Læssøe, J. D. Rogers &Whalley

ลักษณะ stromata เป็นแผ่นแข็งดันนูนขึ้นมาบนผิวเนื้อไม้และเปลือกไม้ สีดำา ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน ยาว 1-7 ซม. x กว้าง 0.8-3 ซม. x หนา 0.5-1.5 มม. perithecia สูง 0.3-1 มม. x กว้าง 0.2-0.5 มม. ostioles เป็นรูปุ๋มลงไปที่ผิวหน้า stromata ascospores ใส ไม่มีสี รูปร่างยาวรี หัวท้ายมน ผิวมีลาย ขนาด 13.8-21.3 x 6.3-8.8 ไมครอน germ slit ไม่มี asci 109-162 x 8-9 ไมครอน apical apparatus 2.5-3.8 x 2.5-3.5 ไมครอน

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อไม้มาก ต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นตาย

12

Page 16: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Daldinia eschscholzii (Ehrenb. : Fr.) Rehm

ลักษณะ stromata เป็นก้อนค่อนข้างกลมแข็ง ขึ้นเกาะติดบนผิวเนื้อไม้และเปลือกไม้ ผิวเรียบ สีม่วงถึงม่วงน้ำาตาลดำา ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-6 ซม. x สูง 1-4 ซม. เมื่อผ่า stromata ออกดูเนื้อภายในจะเห็นวงแหวนเป็นชั้นอย่างชัดเจน ทำาปฏิกิริยากับ KOH 10 % ได้สีม่วงแดง perithecia สูง 0.8-1.5 มม. x กว้าง 0.3-0.4 มม. ostioles เป็นรูเสมอผิวหน้า stromata ascospores สีน้ำาตาล รูปร่างยาวรี หัวท้ายมน ผิวไม่เรียบ ขนาด 11.3-13.8 x 5-6.3 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับความยาวของสปอร์ asci 160-195 x 7-9 ไมครอน apical apparatus 0.5 x 2-2.5 ไมครอน

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อไม้มาก ต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นตาย

13

Page 17: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Entonaema siamemsis P.Sihanonth, S. Thienhirun & A.J.S. Whalley

ลักษณะ stromata เป็นก้อนค่อนข้างกลม เนื้อค่อนข้างนิ่มเหนียวคล้ายหนังยาง ขึ้นเป็นก้อนเดี่ยวหรือขึ้นเป็นก้อนสองก้อนติดกันคล้ายลูกอัณฑะหมา มีก้านสั้นเกาะติดบนผิวเนื้อไม้และเปลือกไม้ สีนำ้าตาลอมเขียวมะกอกถึงดำา ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 ซม x สูง 3.5 ซม. เมื่อผ่าออกดูภายในกลวงมีช่องว่างและมีนำ้าอยู่ perithecia สูง 0.2-0.5 มม. x กว้าง 0.2-0.5 มม. ostioles เป็นรูนูนขึ้นมาบนผิวหน้า stromata เล็กน้อย ascospores สีนำ้าตาล รูปร่างยาวรี หัวท้ายมน ขนาด 8-10.5 x 3.5-5 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเป็นเกลียวพันรอบสปอร์ ยาว 2/3 ของความยาวสปอร์ asci 112-135x 5-6 ไมครอน apical apparatus 1.3 x 2.5 ไมครอนขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อไม้มาก ต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นตาย

14

Page 18: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Holttumia congregata Lloyd.

ลักษณะ stromata เป็นก้อนค่อนข้างกลม แข็งมาก ขึ้นเกาะติดบนผิวเนื้อไม้และเปลือกไม้ สีนำ้าตาลดำา ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.7-2.2 ซม. x หนา 0.7-1.2 ซม. เมื่อผ่าออกดูเนื้อภายในตันไม่กลวงและไม่มีวงแหวน perithecia สูง 2.5-4.5 มม. x กว้าง 2.5-4.5 มม. ostioles เป็นรูแหลมขึ้นมาบนผิวหน้า stromata ascospores สีนำ้าตาลเข้ม รูปร่างยาวรี หัวท้ายมน ขนาด 47.5-60 x 15-20 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับความยาวของสปอร์ asci ไม่พบ apical apparatus ไม่พบ

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อไม้มาก

15

Page 19: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Hypoxylon fendelri Berk. Ex Cooke

ลักษณะ stromata เป็นแผ่นนูนขึ้นมาบนผิวไม้และเปลือกไม้ สีม่วงแดงอมนำ้าตาล เนื้อค่อนข้างแข็ง ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน หนา 0.6-0.8 มม. ทำาปฎิกริยากับ KOH 10% ให้สีส้ม perithecia สูง 0.4-0.6 x กว้าง 0.2-0.4 มม. ostioles เป็นรูปุ๋มลงไปตำ่ากว่าผิวหน้า stroma ascospores สีนำ้าตาล รูปร่างยาวรี หัวท้ายแหลม ผิวไม่เรียบ ขนาด 8.8-9.4 x 3.8-4.4 ไมครอน germ slit เป็นรูปตัวSยาวตามความยาวสปอร์ asci 97-114 x 6-7 ไมครอน apical apparatus 0.6 x 1.9 ไมครอน

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อไม้

16

Page 20: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Hypoxylon haematostroma Mont.

ลักษณะ stromata เป็นก้อนค่อนข้างกลม หรือเป็นแผ่นนูนขึ้นมาบนผิวไม้และเปลือกไม้ เนื้อค่อนข้างแข็ง สีส้มแดง หรือสีสนิม ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอนผิวหน้าไม่เรียบ หนา 3-5 มม. ทำาปฎิกริยากับ KOH 10 % ให้สีส้มแดง perithecia สูง 1.8-2.2 x กว้าง 0.2-0.5 มม. ostioles เป็นรูปุ๋มลงไปต่ำากว่าผิวหน้า stroma ascospores สีน้ำาตาลเข้ม รูปร่างยาวรีหัวท้ายแหลม ผิวไม่เรียบ ขนาด 12.5-13.8 x 6.3-7.5 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับความยาวของสปอร์ asci 192-254 x 8-11 ไมครอน apical apparatus 2.5-3 x 1.3-1.5 ไมครอน

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อไม้มาก

17

Page 21: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Hypoxylon monticulosum Mont.

ลักษณะ stromata เป็นแผ่นนูนขึ้นมาบนผิวไม้และเปลือกไม้ เนื้อค่อนข้างแข็ง สีนำ้าตาลอมม่วงจนถึงสีดำา ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน ผิวหน้าไม่เรียบ ยาว 0.5-4 ซม. x กว้าง 0.3-3 ซม. x หนา 0.5-1 มม. ทำาปฎิกริยากับ KOH 10 % ให้สีม่วงอ่อน หรือไม่มีสี perithecia สูง 0.3-0.4 x กว้าง 0.2-0.3 มม. ostioles เป็นรูแหลมขึ้นมาเล็กน้อยพื้นผิวหน้า stroma ascospores สีนำ้าตาล รูปร่างยาวรีหัวท้ายแหลม ผิวไม่เรียบ ขนาด 6.9-8.8 x 3.8-4.4 ไมครอน germ slit เป็นรูปตัว S ยาวตามความยาวสปอร์ asci 91-110 x 4.4-5 ไมครอน apical apparatus 0.8 x 1.5 ไมครอน

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้

18

Page 22: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Hypoxylon moriforme Henn.

ลักษณะ stromata เป็นก้อนค่อนข้างกลม และเป็นแผ่นนูนขึ้นมาบนผิวไม้และเปลือกไม้ เนื้อค่อนข้างแข็ง สีดำา ผิวหน้าไม่เรียบ มีลักษณะนูนขึ้นมาของ 1/3 perithecia ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-2 ซม. x หนา 1.5-2 มม.ทำาปฎิกริยากับ KOH 10 % ให้สีเขียวมะกอก หรือสีเขียวดำา perithecia 0.3-0.5 x 0.3-0.5 มม. ostioles เป็นรูแหลมขึ้นมาเล็กน้อย ผิวหน้ารอบ ostiole ยุบลงคล้ายรูปจานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.4 มม. ascospores สีนำ้าตาล รูปร่างยาวรีหัวท้ายมน ผิวไม่เรียบ ขนาด 8.2-8.8 x 3.8-4.4 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับความยาวสปอร์ asci 70-140 x 4-5 ไมครอน apical apparatus 0.5-1 x 1.5-2 ไมครอน

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้

19

Page 23: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Hypoxylon stygium (Lev.)Sacc.

ลักษณะ stromata เป็นแผ่นนูนขึ้นมาบนผิวไม้และเปลือกไม้ เนื้อค่อนข้างแข็ง สีดำา ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน ยาว 5-10 ซม. x กว้าง 1-5 ซม. x หนา 0.5-0.8 มม. ผิวหน้าไม่เรียบ มีลักษณะนูนขึ้นมาเล็กน้อยทำาปฎิกริยากับ KOH 10 % ให้สีเขียว perithecia 0.5-0.6 x 0.3-0.4 มม. ostioles เป็นรูแหลมขึ้นมาเล็กน้อย ผิวหน้ารอบ ostiole ยุบลงคล้ายรูปจานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1-0.2 มม. ascospores สีนำ้าตาลอ่อน รูปร่างยาวรีหัวท้ายมน ผิวเรียบ ขนาด 5-6.3 x 1.9-2 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับความยาวสปอร์ asci 65-69 x 2.5-3 ไมครอน apical apparatus 0.2 x 0.2 ไมครอน

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้

20

Page 24: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Jumillera punctatobrunnea (Theiss.) J.D. Rogers, Y.M. Ju & San Martin comb. nov.

ลักษณะ stromata เป็นแผ่นค่อนข้างแข็งขึ้นรวมกับเนื้อไม้ดันนูนขี้นมาบนผิวไม้เล็กน้อย สีเทาดำา ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน หนา 0.1-0.2 มม. ผิวหน้าเรียบ perithecia 0.1-0.3 x 0.1-0.3 มม. ostioles เป็นรูปุ๋มลงไปที่ผิวหน้า stroma ascospores สีนำ้าตาลอ่อนถึงนำ้าตาลเข้ม รูปร่างยาวรี หัวท้ายแหลมหรือมน ขนาด 7-9 x 3-4 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับความยาวสปอร์ asci 110-120 x 3.5-4 ไมครอน apical apparatus 0.5 x 1.5 ไมครอน

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้

21

Page 25: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Kretzschmaria deusta (Hoffm.: Fr.) P.M.D. Martin

ลักษณะ stromata เป็นแผ่นแข็งดันนูนขี้นมาบนผิวเนื้อไม้และเปลือกไม้ ค่อนข้างแข็ง สีนำ้าตาลเข้มมีจุดติดกับผิวไม้จุดเดียว เนื้อแข็ง ผิวหน้าไม่เรียบ ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน ยาว 1-5 ซม. x กว้าง 1-4 ซม. x หนา 1.5-3 มม. perithecia สูง 1-1.8 มม. x กว้าง 0.5-1.2 มม. ostioles เป็นรูแหลมขึ้นมาเล็กน้อยบนผิวหน้า stroma ascospores สีนำ้าตาลเข้ม รูปร่างยาวรีหัวท้ายแหลม ผิวเรียบ ขนาด 29.5-36 x 7.6-10.5 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวไม่ถึงความยาวของสปอร์ asci 249-280 x 10-11 ไมครอน apical apparatus 7.5-8.8 x 0.5-1.2 ไมครอน

ขึ้นบน ตอไม้ ท่อนไม้ กิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อไม้มาก

22

Page 26: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Kretschmariella culmorum (Cooke) Y.-M. Ju & J.D. Rogers

ลักษณะ stromata เป็นแผ่นค่อนข้างแข็งนูนขี้นมาบนผิวไม้ รูปร่างรียาว หรือกลมสีเทาดำา ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน ยาว 1-15 มม. x กว้าง 1-4 มม. x หนา 0.3-0.6 มม. perithecia สูง 0.1-0.4 มม. X กว้าง 0.2-0.5 มม. ostioles เป็นรูแหลมขึ้นมาเล็กน้อยบนผิวหน้า stroma ascospores สีนำ้าตาล รูปร่างยาวรีหัวท้ายมน ผิวเรียบ ขนาด 15-17.5 x 7.5-10 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวไม่ถึงความยาวของสปอร์ asci 113-115 x 15-17 ไมครอน apical apparatus ไม่พบ

ขึ้นบน ไม้ไผ่

23

Page 27: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Nemania subannulata ( Hem.&E.Nyman )

ลักษณะ stromata เป็นแผ่นแข็งดันนูนขี้นมาบนผิวเนื้อไม้และเปลือกไม้ ผิวหน้าไม่เรียบมีลักษณะยุบลงคล้ายจาน เนื้อแข็ง สีเทาดำา ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน สูง0.3-1 ซม.x กว้าง 0.2-0.5 ซม. x หนา 1.2-1.8 มม. perithecia สูง 1-1.5 x กว้าง 1-1.5 มม. ostioles เป็นรูแหลมขึ้นมาเล็กน้อยบนผิวหน้า stroma ผิวหน้ารอบๆ ostiole ยุบตัวคล้ายจาน เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2-0.3 มม. ascospores สีน้ำาตาลเข้ม รูปร่างยาวรี หัวท้ายมน ผิวเรียบ ขนาด 10-11.3 x 3.8-5 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเกือบถึงความยาวสปอร์ asci 154-179 x 4-5 ไมครอน apical apparatus 1.6-2.5 x 1.3-1.9 ไมครอน

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อไม้มาก

24

Page 28: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Porosordaria elephanti J.D. Rogers & Y.-M. Ju

ลักษณะ stromata เป็นก้านสั้นปลายเป็นหัวกระเปาะสีน้ำาตาล สูง 3 ซม. ไม่แตกกิ่งก้าน เนื้อค่อนข้างนิ่ม กระเปาะค่อนข้างกลม สูง 3-5 มม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 มม. ผิวไม่เรียบ สีน้ำาตาลทอง มีจุดสีดำาของ ostiole ทำาปฎิกริยากับ KOH 10 % ให้สีเหลือง perithecia สูง 0.4-0.5 x กว้าง 0.4-0.5 มม. ostioles เป็นรูแหลมขึ้นมาเล็กน้อยบนผิวหน้า stroma ascospores สีน้ำาตาล รูปร่างยาวรี หัวท้ายแหลม ผิวเรียบ ขนาด 9-10.5 x 4.5-5 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวไม่ถึงความยาวของสปอร์ asci 88-133 x 5-7 ไมครอน apical apparatus 2.9 x 2.2 ไมครอน

ขึ้นบน มูลสัตว์ ได้แก่ ขี้ช้าง ขี้วัวแดง

25

Page 29: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Rhopalostroma kanyae Whalley & Thienhirun

ลักษณะ stromata เป็นก้านสั้นปลายเป็นหัวกระเปาะกลมผิวเรียบ ขึ้นกระจายบนเปลือกไม้และเนื้อไม้ เนื้อค่อนข้างแข็ง สีม่วงดำา ขนาดสูง 2-3.5 มม.ก้านยาว 1-1.5 มม. x กว้าง 0.5-1 มม. หัวกระเปาะมี เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 มม. perithecia สูง 0.3-0.6 มม. x กว้าง 0.2-0.4 มม. ostioles เป็นรูยุบลงที่ผิวหน้า stroma ascospores สีน้ำาตาลเข้ม รูปร่างยาวรี ผิวเรียบ ขนาด 8.5-10 x 3.5-5 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับ 3/4 ของความยาวสปอร์ asci ไม่พบ apical apparatus ไม่พบ

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อไม้มาก ต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นตาย

26

Page 30: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Rosellinia necatrix Prill.

ลักษณะ stromata เป็นเม็ดดันนูนขี้นมาบนผิวเนื้อไม้ รูปร่างกลมหรือเกือบกลม เนื้อแข็ง สีน้ำาตาลดำา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มม. หนึ่งเม็ดมีหนึ่ง perithecium ostiolesเป็นรูแหลมขึ้นมาเล็กน้อยบนผิวหน้า stroma ascospores สีน้ำาตาลเข้ม รูปร่างกระสวยหัวท้ายแหลม ขนาด 34-40 x 5-7.5 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับ 1/3 ของความยาวสปอร์ asci ไม่พบ apical apparatus ไม่พบ

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้

27

Page 31: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Whalleya microplacum (Berk.& M.A. Curtis) J.D. Rogers, Y.-M. Ju, & San Martin

ลักษณะ stromata เป็นแผ่นดันนูนขี้นมาบนผิวเนื้อไม้และเปลือกไม้ เนื้อค่อนข้างแข็ง สีเทาดำา ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน ยาว 0.3-3 ซม. x กว้าง0.3-1.2 ซม. x หนา 0.2-0.4 มม. perithecia 0.2-0.3 x 0.2-0.3 มม. ostioles เป็นรูยุบตัวลงไปที่ผิวหน้า stroma ascospores สีน้ำาตาลอ่อน รูปร่างยาวรี หัวท้ายมน ผิวเรียบ ขนาด 3.8-5 x 1.9-2.5 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับความยาวของสปอร์ asci ยาว 40-50 x กว้าง 2.5-3 ไมครอน apical apparatus 0.5 x 1 ไมครอน

ขึ้นบน กิ่งไม้

28

Page 32: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Xylaria allantoidea (Berk.) Fr.

ลักษณะ stromata เป็นแท่งยาว รูปกระบอง เมื่อแก่ภายในกลวงจะยุบตัวแบนและบิดเกลียว ขึ้นบนเปลือกไม้และเนื้อไม้ เนื้อแข็ง สีน้ำาตาลทองถึงน้ำาตาลเข้ม ขนาดสูง 2-11 ซม. x กว้าง 0.6-5 ซม. perithecia 0.3 x 0.3 มม. ostioles เป็นรูบนผิวหน้า stroma ascospores สีน้ำาตาล รูปร่างยาวรี ผิวเรียบ ขนาด 10.6-12.5 x 3.8-4.4 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวไม่ถึงความยาวของสปอร์ asci 160-190 x 5-6 ไมครอน apical apparatus 2-3 x 1.5-2.5 ไมครอน

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อไม้มาก ต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นตาย

29

Page 33: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Xylaria aristata Mont.

30

ลักษณะ stromata เป็นก้านแข็งชูขึ้นมาบนใบไม้ มีขนเล็กๆขึ้นที่ก้านปลายเป็นหัวกระเปาะค่อนข้างกลมผิวไม่เรียบสีเทาดำา ขึ้นกระจายบนใบไม้ เนื้อค่อนข้างแข็ง ขนาดสูง1.5-2 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางกระเปาะ 0.5-1 มม. perithecia สูง 0.8-1 x กว้าง 0.8-1 มม. ostioles เป็นรูแหลมขึ้นมาบนผิวกระเปาะเล็กน้อย ascospores สีน้ำาตาลเข้ม รูปร่างยาวรี หัวท้ายมนหรือแหลม ผิวเรียบ ขนาด 9.4-10 x 5-6 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับความยาวของสปอร์ asci 100-120 x 6-7 ไมครอน apical apparatus 2.5-3 x 2-2.5 ไมครอน

ขึ้นบน ใบไม้

Page 34: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Xylaria coccophora Mont.

ลักษณะ stromata เป็นก้านยาวชูขึ้นมาบนเปลือกไม้และเนื้อไม้ ผิวไม่เรียบ ปลายแหลม สีครีมถึงสีเหลือง สลับสีดำาที่เป็นส่วนของ perithecia ที่ดันออกมา เนื้อค่อนข้างแข็ง ขนาดสูง 2-7 ซม. x กว้าง 2-2.5 มม. perithecia สูง 0.8-1 x กว้าง 0.8-1 มม. ostioles เป็นรูแหลมขึ้นมาบนผิว stroma ascospores สีน้ำาตาล รูปร่างยาวรีหัวท้ายมน ผิวเรียบ ขนาด 7.5-8.8 x 3-3.8 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับความยาวสปอร์ asci 110-125 x 3.8-4.4 ไมครอน apical apparatus 1.5-1.8 x 1.3-1.4 ไมครอน

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อไม้มาก

31

Page 35: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Xylaria cubensis (Mont.) Fr.

ลักษณะ stromata เป็นแท่งยาว รูปกระบองเนื้อแข็ง ผิวเรียบ ขึ้นบนเปลือกไม้และเนื้อไม้ สีน้ำาตาลเข้ม ขนาดสูง 1.7-5.5 ซม. x กว้าง 0.4-2 ซม. perithecia สูง 0.4-0.8 x กว้าง 0.4-0.8 มม. ostioles เป็นรูแหลมขึ้นมาเล็กน้อยบนผิวหน้า stroma มีลายแตกรอบๆ ostiole ascospores สีน้ำาตาล รูปร่างยาวรี หัวท้ายมน ผิวเรียบ ขนาด 7.5-8.8 x 3.8-4.4 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับความยาวสปอร์ asci 114-150 x 5-7 ไมครอน apical apparatus 1.6-2 x 1.4-1.5 ไมครอน

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อไม้มาก ต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นตาย

32

Page 36: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Xylaria grammica (Mont.) Fr.

ลักษณะ stromata เป็นแท่งยาว รูปกระบอง ผิวเรียบมีลายเส้นสีดำา เนื้อแข็ง ขึ้นบนเปลือกไม้และเนื้อไม้ สีเทาดำา ขนาดสูง 4-8 ซม. x กว้าง 0.5-1.2 ซม. perithecia สูง0.4-0.8 x กว้าง 0.4-0.8 มม. ostioles เป็นรูบนผิวหน้า stroma ascospores สีน้ำาตาล รูปร่างยาวรี หัวท้ายมน ผิวเรียบ ขนาด 10-11.3 x 4-4.5 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเกือบถึงความยาวสปอร์ asci 120-150 x 6-7 ไมครอน apical apparatus 1.4-2 x 1.4-1.5 ไมครอน

ขึ้นบน ท่อนไม้ กิ่งไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีเนื้อไม้มาก

33

Page 37: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Xylaria ianthino-velutina (Mont.) Fr.

ลักษณะ stromata เป็นก้านยาวมีขนเล็กขึ้นปกคลุม ปลายแหลม ผิวขรุขระเป็นเม็ดกลมติดที่ก้านสีดำา ขึ้นบนผล ฝักหรือเมล็ด ขนาดสูง 5-12 ซม. x กว้าง 2-2.5 มม. perithecia สูง 0.3-0.6 x กว้าง 0.3-0.6 มม. ostioles เป็นรูแหลมขึ้นมาเล็กน้อยบนผิว stroma ascospores สีน้ำาตาลเข้ม รูปร่างยาวรี หัวท้ายมนหรือแหลม ผิวเรียบ ขนาด 10-11.3 x 5-6 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับความยาวสปอร์ asci ยาว 90-110 x กว้าง 5-6 ไมครอน apical apparatus 2-2.5 x 1-2 ไมครอน

ขึ้นบน ผล ฝักและเมล็ด

34

Page 38: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

Xylariaceae

ความหลากหลายของเห็ดรา

Xylaria nigripes (Klotz.) Cooke

ลักษณะ stromata เป็นแท่ง มีก้านยาวสีดำา ปลายมนสีเหลืองเทาจนถึงสีเทาดำา ผิวเรียบ เนื้อแข็ง ขึ้นบนจอมปลวกหรือรังปลวก ขนาดสูง 4-12 ซม. x กว้าง 3-5 มม. perithecia สูง 0.2 x กว้าง 0.2 มม. ostioles เป็นรูแหลมขึ้นมาเล็กน้อยบนผิวหน้า stroma ascospores สีน้ำาตาล รูปร่างยาวรี หัวท้ายมน ผิวเรียบ ขนาด 3.8-4.3 x 1.9-2.5 ไมครอน germ slit เป็นเส้นตรงยาวเท่ากับความยาวสปอร์ asci ยาว 60-70 x กว้าง 3-3.5 ไมครอน apical apparatus 1.3 x 1.3 ไมครอน

ขึ้นบน รังปลวก

35

Page 39: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

ความหลากหลายของเห็ดรา

เอกสารอ้างอิง

Whalley, A.J.S., & Thienhirun, S. (1996). Rhopalostroma kanyae sp. nov. from Thailand. Mycological Research 100 (7), 866-868.Sihanonth, P., Thienhirun, S., & Whalley, A.J.S. (1997). Entonaema (Xylariaceae) in Thailand. Mycological Research. 102 (4), 458-460.Thienhirun, S., & Whalley, A. J. S. (1998). Xylariaceae of Thailand and Southeast Asia. Proceedings of the Asia-Pacific Mycilogical Conference on Biodiversity and Biotechnology. Hua-Hin, Prachuapkhirikhan, Thailand.Thienhirun, S., & Whalley, A. J. S. (1998). Xylariaceae of Thailand and Southeast Asia. Proceedings of the Asia-Pacific Mycilogical Conference on Biodiversity and Biotechnology. Hua-Hin, Prachuapkhirikhan, Thailand.Webster, J., Whalley, A.J.S., Thienhirun, S. & Richardson, M.J. (1999). Wawelia argentea and W. microspora, two new species is xerophilous fungion rabbit and hare dung in Britain. Mycological Research. 103 (12), 1604-1608.Thienhirun, S., Whalley, A.J.S., Suwannasie, N., Soerustanon, S., & Maeteechonpiriya, S. (2000). Xylariaceae in Samaesan and Neighbouring Islets. Abstracts in Tropical Mycology 2000, Liverpool John Moores University, Liverpool. UK.Thienhirun, S., & Whalley, A. J. S. (2004). Chapter 5 : The Xylariaceae, in: Thai Fungal Diversity. Biotec. Thailand. In press.

36

Page 40: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

ความหลากหลายของเห็ดรา

คณะทำางาน

นางสาวสมหมาย แป้นนางรองนักวิทยาศาสตร์

37

ดร.สุรางค์ เธียรหิรัญนักวิทยาศาสตร์ 8ว

นางสาวลออรัตน์ ปานมาผู้ช่วยนักวิจัย

Page 41: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน

ความหลากหลายของเห็ดรา

Page 42: บทนำ - Forest Biodiversity Divisionfbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2014/11/Xylaria...บทนำ ความหลากหลายของเห ดรา หน