โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf ·...

19

Transcript of โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf ·...

Page 1: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย
Page 2: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย

โดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายวรุณ จ าปาวัลย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุสาห์ภรณ์ สุขารมณ์

Page 3: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย

แนวปฏิบัติที่ดีในการน าเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation) ในที่ประชุมนานาชาติ

เมื่อนักวิจัยด าเนินการวิจัยจนเสร็จสิ้นทุกกระบวนการ และอภิปรายผลวิจัยเรียบร้อยแล้ว การเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนในรูปแบบของบทความวิจัยลงในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติ หรือในรูปแบบของการน าเสนอด้วยวาจา หรือโปสเตอร์ ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ หรือนานาชาติ เป็นองค์ประกอบส าคัญในการพัฒนาวิชาการ และการประกันคุณภาพการศึกษา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้วิจัยมีโอกาสได้เผยแพร่ผลงานของตนเองในวงการวิชาการระดับนานาชาติ ในเรื่องที่ตนเชี่ยวชาญ การน าเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation) คือ การที่นักวิจัยท าหน้าที่เป็นผู้เสนอผลงานต่อหน้าผู้เข้าร่วมประชุมด้วยวาจาในที่ประชุมวิชาการ เป็นงานที่นักวิจัยต้องเตรียมตัวให้มีความพร้อมทั้งด้านความเชื่อมั่นในตนเอง ความลึกซึ้งในสาระที่จะน าเสนอ และต้องมีทักษะของการน าเสนอ การเตรียมตัวที่ดีจะช่วยให้นักวิจัยประสบความส าเร็จ การน าเสนอที่มีประสิทธิภาพ พิจารณาจากความสามารถของการใช้เทคนิควิธีการสื่อสารที่ท าให้ผู้ฟังสนใจ ผู้ฟังเข้าใจในเรื่องที่นักวิจัยน าเสนอ ภายในเวลาที่ก าหนด เช่น ก าหนด 15 นาที 20 นาที หรือ 30 นาที เป็นต้น การเตรียมการ

1. ค้นหาแหล่งการจัดประชุมนานาชาติที่จะไปน าเสนอผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับเรื่องที่ท าวิจัย ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ เช่น จากจดหมายประชาสัมพันธ์ หรือการประชาสัมพันธ์ทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยต้องตรวจสอบว่าที่ประชุมวิชาการนานาชาตินั้นๆ มีรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ (Proceedings) ด้วยหรือไม่ และควรเตรียมบทความฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ไว้ด้วยเพ่ือการตีพิมพ์ ในการประชุมวิชาการในระดับนานาชาติ งานประชุมนั้นๆ ควรระบุว่า มีกองบรรณาธิการจัดท าการประชุมใน Proceedings แต่ถ้างานประชุมนั้นไม่มี Proceedings เช่น TESOL Convention หรือเครือข่ายของการประชุม TESOL ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้น าเสนอสามารถน าบทความฉบับสมบูรณ์ไปตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการอ่ืนๆ ได ้คณะกรรมการจัดประชุมนานาชาติจะต้องประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับสนสาขาวิชานั้นๆ จากประเทศต่าง ๆ

2. เตรียมบทคัดย่อของงานวิจัยที่จะน าไปเสนอ และดูรายละเอียดที่งานประชุมนั้นต้องการ เช่น จ านวนค าของชื่อเรื่อง และบทคัดย่อ เนื่องจากที่ประชุมบางแห่งมีการจ ากัดจ านวนค าของชื่อเรื่องและบทคัดย่อโดยไม่ต้องการให้ยาวเกินไป

3. ศึกษาวิธีการลงทะเบียนให้ละเอียด เช่น ลงทะเบียนผ่านทางอีเมล์ หรือเว็บไซต์ของงานประชุม และต้องศึกษาด้วยว่าที่ประชุมให้ช าระค่าลงทะเบียนก่อนหรือสามารถลงทะเบียนได้เมื่อไปถึงที่ประชุมแล้ว แต่ส่วนใหญ่การช าระค่าลงทะเบียนล่วงหน้าจะถูกกว่าการช าระเมื่อไปถึงท่ีประชุม

Page 4: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย

4. ติดตามผลการตอบรับให้ไปน าเสนอจากผู้จัด ระหว่างรอผลการตอบรับควรเตรียมเนื้อหาส าหรับการน าเสนอไปพร้อมกันด้วย

5. หาแหล่งเงินทุนที่จะช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปน าเสนอและขออนุมัติการเดินทางในการไปน าเสนอจากหน่วยงานต้นสังกัด โดยแนบแบบตอบรับจากที่ประชุมไปด้วย

6. เมื่อได้รับการตอบรับแล้ว ศึกษารายละเอียดของวิธีการน าเสนอให้ดี ผู้จัดจะแจ้งเวลาและขั้นตอนการน าเสนอมาให้ว่าใช้เวลาคนละกี่นาที ภาษาที่ใช้ในการน าเสนอ สถานที่ / ห้องประชุม สื่อประกอบการพูด เช่น PowerPoint ผู้จัดให้น าสื่อไปเตรียมลงเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนเวลาพูดเมื่อไหร่ ที่ไหน เพ่ือจะได้เตรียมตัวล่วงหน้าได้ทันตามก าหนดเวลา

การเตรียมเอกสารผลงานประกอบการน าเสนอ โดยทั่วไปในปัจจุบันการน าเสนอด้วยวาจาจะมีเวลาค่อนข้างจ ากัด ประมาณ 10-30 นาที ดังนั้น ภายในเวลาที่ก าหนดนี้ผู้น าเสนอจะต้องเผื่อเวลาไว้ส าหรับการตอบค าถามและการแสดงความคิดเห็นจากผู้ เข้าฟังด้วย นอกจากนี้ ผู้น าเสนอความเตรียมเอกสารที่ใช้ในการน าเสนอไปแจกในที่ประชุมด้วย หรืออาจจะให้อีเมล์แก่ผู้เข้าฟังและส่งไปให้ในภายหลัง

ในปัจจุบันสื่อที่ใช้ในการน าเสนอผลงานส่วนใหญ่ใช้สไลด์ PowerPoint โดยนักวิจัยจะต้องเตรียม ดังนี้ 1. ออกแบบรูปแบบของสไลด์

ผู้น าเสนอควรเลือกเนื้อหาสาระที่ส าคัญไปน าเสนอเท่านั้น โดยปกติหากใช้เวลาน าเสนอ 10-30 นาที สไลด์ไม่ควรเกิน 20 แผ่น ซึ่งประกอบด้วย

1. ชื่อเรื่องและชื่อผู้วิจัย 2. ความเป็นมาหรือปัญหาการวิจัย 3. ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย 4. วัตถุประสงค์การวิจัย 5. ระเบียบวิธีวิจัย

- กลุ่มตัวอย่าง - เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล

6. ผลการวิจัย 7. อภิปรายผล 8. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย

Page 5: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย

2. ภาพเคลื่อนไหว (Animation) หรือรูปภาพ ต้อใช้ภาพเคลื่อนไหว(Animation) หรือรูปภาพบ้าง เพ่ือดึงดูดความสนใจ แต่ไม่ควรมีมากเกินไป

ผู้วิจัยต้องตระหนักว่าผู้ฟังต้องการฟังเนื้อหามากกว่า 3. ตัวอักษร

เลือกชนิดและขนาดตัวอักษรให้เหมาะสมกับต าแหน่งที่ผู้เข้าประชุมจะเห็นได้ชัด หากใช้ภาษาอังกฤษไม่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เพราะท าให้อ่านยาก และไม่ควรใช้ชนิดของตัวอักษรมากกว่า 2 ชนิด หากต้องการเน้นค าให้ใช้ตัวหนาดีกว่าใช้สีตัวอักษรที่แตกต่างกัน ควรใช้สัญลักษณ์ให้น้อยที่สุด และควรพิสูจน์อักษรอย่าให้มีค าผิด

4. สี

ใช้สีพอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไป และใช้โทนสีพ้ืนที่ช่วยให้สามารถมองเห็นตัวอักษรได้เด่นชัด

5. ข้อความ จ านวนข้อความต่อหนึ่งสไลด์ ไม่ควรมีมากเกินไปและหลีกเลี่ยงการน าตารางหรือข้อความจาก

บทความวิจัยมาวางลงบนสไลด์

6. ตรวจทานความถูกต้อง ควรมีการตรวจทานการสะกดค าในทุกสไลด์ให้ถูกต้องโดยไม่ให้มีค าผิดปรากฏอยู่

การเตรียมตัวน าเสนอ

จะต้องเตรียมตัวก่อนน าเสนอ ระหว่างน าเสนอ และหลังน าเสนอ โดยมีแนวทางกว้างๆ ส าหรับผู้น าเสนอ จะต้องเตรียมการ ดังนี้

1. ก่อนน าเสนอ ควรปฏิบัติดังนี้

1.1 ต้องมีการซ้อมน าเสนอโดยท าเสมือนจริง ได้แก่ น าเสนอพร้อมกับการแสดงสไลด์ และลักษณะการวางตัว เช่น ยืนหรือนั่ง ฝึกการเคลื่อนไหวร่างกาย การสบตาผู้ฟังขณะน าเสนอ นอกจากนี้จะต้องน าเสนอตามกรอบเวลาที่ก าหนดไว้ ซึ่งอาจน าเสนอให้เพื่อนช่วยวิจารณ์

1.2 เตรียมเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายให้สุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะ 1.3 เตรียมไฟล์ส ารอง โดยอาจบันทึกทั้งในแผ่นซีดี และ Flash Drive หรืออาจส่งไฟล์ที่ใช้ในการ

น าเสนอถึงตนเองในอีเมล์ เพ่ือเป็นไฟล์ส ารองในกรณีที่แผ่นซีดีหรือ Flash Drive ที่เตรียมไปเสียหายไม่สามารถเปิดได ้

Page 6: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย

1.4 สอบถาม Version ของ PowerPoint ที่สถานที่ประชุมใช้ 1.5 ควรไปถึงที่ประชุมก่อนเวลาเพื่อตรวจสอบไฟล์ข้อมูล เพราะบางครั้งอาจมีความคลาดเคลื่อนของ

สีตัวอักษร และตรวจสอบห้องที่น าเสนอ 1.6 ควรพักผ่อนให้เต็มที่ในวันก่อนน าเสนอ

2 ระหว่างการน าเสนอ ควรปฏิบัติดังนี้ 2.1 ควรตั้งสติและสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง อย่าสร้างความกดดัน ให้ตนเอง หากรู้สึกตื่นเต้นให้

หายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อเป็นการผ่อนคลาย 2.2 เริ่มต้นด้วยการทักทายผู้ฟัง และแนะน าตัวเองและเรื่องที่จะน าเสนอ 2.3 การน าเสนอควรเป็นในลักษณะการเล่าเรื่อง ไม่ใช่การอ่านสไลด์ให้ฟัง หรือก้มหน้าอ่านจาก

ข้อความที่เตรียมมาตลอดเวลา (อาจเหลือบดูได้บ้าง) ควรมีการสบตาผู้ฟังเป็นระยะ ควรพูดให้ชัดเจนตามหลักการออกเสียง พูดช้าๆ ชัดๆ หากมีผู้สอบถามอาจตอบค าถามในทันที หรือชี้แจงว่าขอตอบหลังจากการน าเสนอเสร็จสิ้นลง และพยายามยิ้มให้ผู้ฟัง ไม่ควรท าหน้าเคร่งเครียดตลอดเวลา หรือท าท่าเหมือนไม่มั่นใจในผลงานของตนเอง ไม่ควรโบกมือหรือขยับมือไปมามากเกินไป

2.4 หากยืนน าเสนอ ระวังอย่ายืนบังสไลด์ และไม่ควรเดินไปมาบนเวทีมากเกินไป และควรยืนด้วยท่าทีที่สุภาพ ไม่แยกขาออกจากกันมากจนเกินไป

2.5 ต้องน าเสนอและตอบข้อซักถามภายในเวลาที่ก าหนด

3 ช่วงหลังการน าเสนอ ควรปฏิบัติดังนี้ 3.1 ขอบคุณผู้ด าเนินรายการ หรือผู้ประสานงาน 3.2 อย่ารีบปิดสไลด์ที่น าเสนอ เพราะอาจมีผู้สนใจซักถาม หากมีผู้ซักถามควรตั้งใจฟังค าถาม และ

ตอบค าถามด้วยความสุภาพ บางค าถามหากตอบไม่ได้ ก็ไม่ควรฝืน หรือตอบแบบไม่ถูกต้อง ควรขอบคุณผู้ถาม และบอกว่าประเด็นนี้จะน าไปหาข้อมูลเพิ่มเติม

3.3 บางครั้งอาจมีคนให้ข้อเสนอแนะ (แต่ไม่ใช่ค าถาม) ถ้าเป็นไปได้ ควรน้อมรบข้อเสนอแนะนั้น ไม่ควรพยายามอธิบายหรือชี้แจง ซึ่งจะท าให้เหมือนเป็นการโต้แย้ง หรือโต้เถียง

3.4 ไม่ควรบอกแก่ผู้ฟังว่าหมดเวลาการน าเสนอ หรือหมดเวลาการซักถามแล้ว แต่ควรรอให้กรรมการหรือผู้ด าเนินรายการเป็นผู้บอก

3.5 เมื่อกรรมการหรือผู้ด าเนินรายการบอกหมดเวลา ควรขอบคุณอีกครั้งแล้วปิดสไลด์ และลงจากเวทีน าเสนอ

Page 7: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย

ขั้นตอนการน าเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา (Oral Presentation) ในที่ประชุมนานาชาติ

ค้นหาแหล่งข้อมลูของการประชุมจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

ศึกษารูปแบบของงานประชุม

ตรวจสอบข้อมลูทีท่ี่ประชุมต้องการ เช่น จ านวนค าของ Title หรือจ านวนค าของ Abstract ถ้ามีมากเกินไปต้องตัดค าออก

ตรวจสอบวันก าหนดส่ง Abstract ตรวจสอบข้อมลูว่างานประชุมนัน้ ต้องการ Full Paper เพื่อลงใน Proceedings หรือไม ่

ส่ง Abstract ไปในเวลาที่ก าหนด และรอการตอบรบั

ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมและหาที่พัก (ยังไม่ต้องช าระเงิน จนกว่าจะได้รบัอนุมัติทุนสนับสนุน)

หาแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนการไปน าเสนอผลงาน

กรอกแบบฟอร์มการขอสนับสนุนทุนของหน่วยงานท่ีขอ พร้อมแนบหนังสือตอบรับที่ประชุม

ขออนุมัติไปเสนอผลงานในท่ีประชุมนานาชาติจากหน่วยงานของท่าน โดยแนบใบตอบรับจากที่ประชุมดว้ย

จัดท าสื่อการน าเสนอ เช่น Power Point ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลพร้อมเตรียมตัวตอบข้อซักถามจาก

ผู้เข้าร่วม 10กรอกแบบฟอร์มการขอสนับสนุนทุนของหน่วยงานท่ีขอ

พร้อมแนบหนังสือตอบรับจาก Conference

ออกเดินทางไปเสนอผลงานด้วยความพร้อม

กลับมารายงานผลการน าเสนอผลงานต่อหน่วยงานภายในเวลาที่ก าหนด

ส่ง Full Paper กลับไปยัง Conference เพื่อลงใน Proceedings

ถ้าท่ีประชุมไม่มี Proceedings ให้หาวารสาร (Journal) ที่สามารถน า Full Paper ไปลงได ้

Page 8: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย

ตัวอย่างการน าเสนอโดย PowerPoint

Page 9: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย
Page 10: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย
Page 11: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย

เทคนิคการนําเสนอผลงานวิจัย

ศาสตราจารยกิตติคุณ ดร.นงลักษณ วิรชัชัย

กรรมการสภาวิจัยแหงชาติ สาขาการศึกษา

กรรมการแหงชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย (คพท) ขาราชการบํานาญ ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา

คณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

Page 12: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย

2

เทคนิคการนําเสนอผลงานวิจัย การนําเสนอผลงานวิจัยเปนพันธกิจที่สําคัญอยางหนึ่งที่นักวิจัยทุกคนควรตองทํา เม่ือเสร็จส้ินการวิจัย และ

จัดทํารายงานวิจัยเสร็จเรียบรอยแลว นักวิจัยควรถือวาการนําเสนอผลงานวิจัยเปนหนาที่ นักวิจัยอาจนําเสนอ

ผลงานวิจัยไดหลายแบบ แบบท่ีใชกันมาก คือ การนําเสนอผลงานวิจัยในการประชุมทางวิชาการ และการนําเสนอ

ผลงานวิจัยในรูปบทความวิจัยพิมพเผยแพรในวารสารวิชาการ บทความนี้มุงเสนอสาระดานเทคนิคการนําเสนอ

ผลงานวิจัยทั้งสองแบบ โดยแยกเสนอสาระเปน 2 ตอน ดังนี้

ตอนท่ี 1 เทคนิคการนําเสนอผลงานวจิัยในการประชุมทางวิชาการ เทคนิคการนําเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการมีความสําคัญไมย่ิงหยอนกวาการวิจัย ดวยเหตุผล

ที่วานักวิจัยอาจผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพดี แตถาไมสามารถนําเสนอผลงานวิจัยใหผูฟงเขาใจได นักวิจัยไมไดรับการ

ยอมรับในเชิงวิชาการ Correli (2006) กลาววา ความสําเร็จในการนําเสนอผลงานวิจัยขึ้นอยูกับวิธีการนําเสนอ ถา

นักวิจัยนําเสนอผงานวิจัยดวยทาทีไมม่ันใจ เสียงส่ัน มือส่ัน ยอมทําใหคุณคาของผลงานวิจัยลดลง ดังนั้นนักวิจัยควร

ใชเวลาในการเตรียมตัวเสนอผลงานวิจัยดวย

เทคนิคในการนําเสนอผลงานวิจัยแยกไดตามรูปแบบการนําเสนอผลงานในท่ีประชุมวิชาการ เปน 2 แบบ

คือ การนําเสนอโปสเตอร และการนําเสนอดวยวาจา ทั้งสองแบบมีเทคนิคแตกตางกันดังสาระสรุปจากเอกสารของ

Correli (2006) Jackson (1998) และ Newcastle University (2008) ดังตอไปนี้

1. การนําเสนอโปสเตอร (Poster Presentation) โปสเตอรเปนส่ือประเภทไมมีการเคล่ือนไหว สําหรับการนําเสนอ ‘สาร’ ทําดวยกระดาษแข็งหรือไม สําหรับ

ติดต้ังขอเขียนสรุป/บทคัดยอ ภาพ/แผนภูมิประกอบสารที่นําเสนอ มีขนาดประมาณ 1 X .50 ตารางเมตร การนําเสนอ

ผลงานวิจัยดวยโปสเตอรแตกตางจากการนําเสนอผลงานวิจัยดวยวาจา ตรงที่การนําเสนอผลงานวิจัยดวยโปสเตอร

นั้นนักวิจัยใหโปสเตอรทําหนาที่บอกเร่ืองราวของผลงานวิจัย นักวิจัยมีหนาที่ตองรออยูใกลๆ โปสเตอรและคอยตอบ

คําถามหรือใหคําอธิบายเพิ่มเติมแกผูชม สาระดานการนําเสนอผลงานวิจัยในรูปโปสเตอร แบงเปน 2 หัวขอ คือ

รูปแบบโปสเตอรผลงานวิจัย และแนวทางการเตรียมโปสเตอรผลงานวิจัย ดังนี้ 1.1 รูปแบบโปสเตอรผลงานวิจัย รูปแบบโปสเตอรผลงานวิจัย ที่นักวิจัยนําเสนอผลงานวิจัยดวยโปสเตอร มีองคประกอบ 5 สวน ดังนี้ 1) ช่ือเรื่อง (title)

ชื่อเร่ืองงานวิจัย เปนขอความระบุวัตถุประสงคหลักของการวิจัย ตัวแปรในการวิจัย และบริบทของงานวิจัย

ในกรณีงานวิจัยเชิงปริมาณ และเปนวลีส้ันๆ ที่ระบุวัตถุประสงคหลักและประเด็นวิจัยหลัก โดยมีการเลนคําสัมผัสได

ในกรณีงานวิจัยเชิงคุณภาพ 2) บทคัดยอ (Summary)

บทคัดยอเปนเนื้อหาสาระสรุปของงานวิจัย โดยมากนิยมเขียนเพียง 3 ประโยค คือ วัตถุประสงคการวิจัย

วิธกีารวิจัย และผลการวิจัย เพื่อใหผูอานเห็นภาพรวมของงานวิจัยทั้งเร่ือง 3) บทนําและเอกสารที่เกี่ยวของ (Introduction and related literature) บทนําและเอกสารที่เก่ียวของกับการวิจัย เปนขอความที่อธิบายถึงความเปนมาของปญหาวิจัยความสําคัญ

ของงานวิจัย ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เก่ียวของ ซึ่งนักวิจัยสังเคราะหสรุปสรางเปนกรอบแนวคิด และสมมุติฐานวิจัย

ทั้งนี้นักวิจัยตองพิจารณาคัดสรรเฉพาะสวนสําคัญที่สุดไปจัดทําโปสเตอร และออกแบบใหนาสนใจดวย

Page 13: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย

3

4) วิธีดําเนินการวิจัย (Research methods) สาระสรุปเก่ียวกับวิธีดําเนินการวิจัย กรณีการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบดวยสาระเรื่อง ประชากรและกลุม

ตัวอยาง ตัวแปรและเครื่องมือวิจัย วิธีการรวบรวมและวิเคราะหขอมูล กรณีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบดวยสาระ

เร่ือง การบรรยายสนาม (field) ที่ศึกษา การเลือกและลักษณะของกรณี (case) ที่ศึกษา ขอบขายของขอมูล วิธีการ

และเครื่องมือที่ใชในการรวบรวมขอมูล และการวิเคราะหขอมูล 5) ผลการวิจัย (Research results) ผลการวิจัย เปนการเสนอสาระสวนที่เปน สรุปผลการวิจัย และการอภิปรายผลการวิจัย รวมทั้งขอเสนอแนะ

เชิงนโยบาย และขอเสนอแนะในการวิจัยตอไป 1.2 แนวทางการเตรียมโปสเตอรผลงานวิจยั การเตรียมโปสเตอรผลงานวิจัยมีแนวทางในการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้

ก. การวางแผน นักวิจัยตองหาขอมูลเก่ียวกับสถานท่ีที่นําเสนอโปสเตอร ขนาดของโปสเตอร ขอกําหนดในการ

นําเสนอโปสเตอร ลักษณะและจํานวนผูเขาชมโปสเตอร เพื่อใชในการวางแผนการนําเสนอโปสเตอรผลงานวิจัย หาก

นักวิจัยมีขอมูลมากเทาไร การวางแผนเสนอโปสเตอรผลงานวิจัยย่ิงไดผลดีมากขึ้นเทานั้น แนวทางสําหรับการ

วางแผนงาน คือ การตอบคําถามวาจะเสนออะไร เสนออยางไร เหตุใดจึงเลือกวิธีเสนอแบบนั้น และผลที่คาดวาจะ

ไดรับ รวมทั้งกําหนดระยะเวลา ตนทุนคาใชจายในการเตรียมโปสเตอรดวย

ข. การออกแบบโปสเตอร นักวิจัยตองตัดสินใจวาจะเลือกเนื้อหาสาระสวนใดจากรายงานวิจัยทั้งฉบับไปจดัทําเปน

โปสเตอรผลงานวิจัย โดยตองกําหนดวัตถุประสงคของการเสนอโปสเตอรผลงานวิจัยกอนวา ตองการใหเกิดผลเกิด

ประโยชนอะไรตอผูเขาชม หรือตองการขายความคิด หรือตองการเสนอนวัตกรรม เพราะวัตถุประสงคที่ตางกันทําให

แนวการเตรียมโปสเตอรแตกตางกันดวย เม่ือกําหนดวัตถุประสงคแลวจึงตัดสินใจเก่ียวกับรูปแบบของโปสเตอร ซึ่งมี

หลักการดังนี้

1. เสนอเนื้อหาสาระแบบเรียบงาย ส้ัน ชัดเจน เต็มพื้นที่โปสเตอร

2. ใชภาพและแผนภูมิประกอบ เพราะภาพและแผนภูมิส่ือความหมายไดดีกวาขอความ

3. ใชสีพอเหมาะ ไมมากไมนอยเกินไป และใชโทนสีไมขัดกัน สีพื้นหลังและสีของภาพควรเสริมใหภาพเดนชัด

4. เลือกชนิด (font) และขนาดของตัวอักษร เหมาะสมกับตําแหนงที่ผูเขาชมโปสเตอรเห็นชัดเจน ไมควรใช

อักษรภาษาอังกฤษที่เปนตัวพิมพใหญทุกตัวอักษร เพราะทําใหอานยากกวาปกติ และพยายามอยาใชชนิด

อักษรมากเกินกวาสองชนิดในโปสเตอร หากตองการเนนคําหรือขอความใหใชอักษรตัวหนา แตอยาเปล่ียน

ชนิดของตัวอักษร ควรใชสัญลักษณนอยที่สุด ควรใชหลักความคงเสนคงวา และที่สําคัญที่สุดคือ การพิสูจน

อักษร อยาใหมีคําผิด หากจําเปนควรขอใหเพื่อนๆ ชวยในการตรวจสอบการพิมพผิด

5. ควรเตรียมสาระของผลงานวิจัยเปนสวนๆ ลงในกระดาษขนาด A4 แลวออกแบบการติดผลงานวิจัยแตละ

สวนลงบนโปสเตอร ใหมีลักษณะเปนการเลาเร่ือง (story telling)

6. ควรมีการตรวจทานโปสเตอรผลงานวิจัยหลายๆ รอบ กอนการจัดพิมพเปนโปสเตอรที่ใชจริง

2. การนําเสนอดวยวาจา (Oral Presentation) โดยทั่วไป การเสนอผลงานวิจัยดวยวาจา มีเวลาจํากัดมาก นักวิจัยมีเวลาประมาณ 15-20 นาฑี ในการ

นําเสนอสาระสรุปของผลงานวิจัย และมีเวลา 10-15 นาฑี สําหรับการซักถามและใหขอเสนอแนะ การนําเสนอผลงาน

ดวยวาจาตางจากการนําเสนอโปสเตอรผลงานวิจัย เพราะนักวิจัยตองทําหนาที่เสนอผลงานตอหนาผูเขารวมประชุม

ตองมีการเตรียมทั้งเอกสารและเตรียมความพรอมของตัวนักวิจัยเองในการนําเสนอผลงานดวย สาระดานการ

นําเสนอผลงานวิจัยดวยวาจา แบงเปน 2 หวัขอ คือ รูปแบบเอกสาร/ผลงานวิจัยสําหรับการนําเสนอดวยวาจา และ

แนวทางการเตรียมเอกสาร/ผลงานใชประกอบการเสนอผลงาน ดังนี้

COM
Highlight
Page 14: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย

4

2.1 รูปแบบของผลงานวิจัยสําหรับการเสนอดวยวาจา ส่ิงที่นักวิจัยตองเตรียมในการนําเสนอผลงานวิจัยดวยวาจา คือ 1) รายงานวิจัยในรูปบทความวิจัยที่มีความ

ยาว และรูปแบบการพิมพตามขอกําหนดของการประชุมทางวิชาการ 2) สไลดหรือ power point สําหรับใช

ประกอบการนําเสนอผลงานวิจัยดวยวาจา และ/หรือ 3) สําเนาเอกสารของสไลดหรือ power point ตามขอ 2

เนื่องจากผลงานวิจัยที่นักวิจัยตองเตรียมในรูปบทความวิจัย มีรูปแบบเหมือนกับบทความวิจัยที่นักวิจัยนําลงพิมพ

เผยแพรในวารสารวิชาการ ผูเขียนจะกลาวถึงในตอนที่ 2 สวนในตอนน้ีจะกลาวถึงเฉพาะรูปแบบของสไลด

ประกอบการเสนอผลงานวิจัย ดังนี้

สไลดประกอบการนําเสนอผลงานวิจัยดวยวาจา ในชวงระยะเวลาประมาณ 15-20 นาฑี ไมควรมีจํานวน

สไลดมากเกินไป จํานวนสไลดที่ใชกันโดยมากประมาณ 6-8 แผน ดังนั้นนักวิจัยตอตัดสินใจวาจะเลือกเนื้อหาสาระ

จากผลงานวิจัยมานําเสนอ โดยทั่วไปสไลดผลงานวิจัยที่ใชประกอบการนําเสนอผลงานวิจัยเชิงปริมาณดวยวาจา

ควรประกอบดวยสไลด 7 แผน ดังนี้ 1) ชื่อผลงานและชื่อนักวิจัย 2) ปญหาวิจัย และความสําคัญ/ประโยชนของ

ผลงานวิจัย 3) ความเก่ียวของระหวางงานวิจัยและเอกสารที่เก่ียวของ 4) กรอบแนวคิดรวมทั้งสมมุติฐานวิจัย 5)

แบบแผนวิจัย ตัวแปร เคร่ืองมือวัดและคุณภาพเคร่ืองมือ การรวบรวมและวิเคราะหขอมูล 6) ผลการวิจัยที่สําคัญ

และ 7) สรุปผลงานวิจัย และสไลดผลงานวิจัยที่ใชประกอบการนําเสนอผลงานวิจัยเชิงตุณภาพดวยวาจา ควร

ประกอบดวยสไลด 7 แผน ดังนี้ 1) ชื่อผลงานและช่ือนักวิจัย 2) ปญหาวิจัย 3) ความสําคัญ/ประโยชนของผลงานวิจัย

4) ความเก่ียวของระหวางงานวิจัยและเอกสารท่ีเก่ียวของ กรอบแนวคิดรวมทั้งสมมุติฐานวิจัย 5) แบบแผนวิจัย การ

เลือกพื้นที่และผูใหขอมูล การรวบรวมและวิเคราะหขอมูล 6) ผลการวิจัยที่สําคัญ และ 7) สรุปผลงานวิจัย 2.2 แนวทางการเตรียมสไลดประกอบการนําเสนอผลงานวิจัยดวยวาจา การเตรียมสไลดประกอบการนําเสนอผลงานวิจัยดวยวาจา มีแนวทางในการดําเนินงานโดยสรุปดังนี้

ก. การวางแผน นักวิจัยตองหาขอมูลเก่ียวกับสถานที่ที่นําเสนอ ขนาดของหองและเวที ตําแหนงเครืองฉาย ขนาดจอ

ขอกําหนดในการนําเสนอผลงานวิจัยดวยวาจา ลักษณะและจํานวนผูเขารวมประชุม เพื่อใชในการวางแผนการ

นําเสนอสไลดประกอบการนําเสนอผลงานวิจัยดวยวาจา หากนักวิจัยมีขอมูลมากเทาไร การวางแผนเสนอสไลด

ประกอบการนําเสนอผลงานวิจัยดวยวาจา ย่ิงไดผลดีมากขึ้นเทานั้น แนวทางสําหรับการวางแผนงาน คือ การตอบ

คําถามวาจะเสนออะไร เสนออยางไร เหตุใดจึงเลือกวิธีเสนอแบบนั้น และผลที่คาดวาจะไดรับ รวมทั้งกําหนด

ระยะเวลา ตนทุนคาใชจายในการเตรียมสไลดดวย

ข. การออกแบบ นักวิจัยตองตัดสินใจวาจะเลือกเนื้อหาสาระสวนใดจากรายงานวิจัยทั้งฉบับไปจัดทําเปนสไลด

ประกอบการนําเสนอผลงานวิจัยดวยวาจา โดยตองกําหนดวัตถุประสงคของการเสนอผลงานวิจัยกอนวา ตองการให

เกิดผลเกิดประโยชนอะไรตอผูเขาชม หรือตองการขายความคิด หรือตองการเสนอนวัตกรรม เพราะวัตถุประสงคที่

ตางกันทําใหแนวการเตรียมสไลดประกอบการนําเสนอผลงานวิจัยแตกตางกันดวย เม่ือกําหนดวัตถุประสงคแลวจึง

ตัดสินใจเก่ียวกับรูปแบบของสไลด ซึ่งมีหลักการดังนี้

1. เลือก template ที่เหมาะสมกับผูเขารวมประชุม สไลดทางวิชาการไมนิยมมีรูปการตูน

2. ออกแบบสไลดใหมีจํานวนเหมาะสม ประมาณ 6-7 แผน สไลดจํานวน 10-12 แผน ถือวามากเกินไปสําหรับ

การเสอนผลงานวิจัยดวยวาจา

3. ใชลูกเลน เชน ภาพเคล่ือนไหว สีและรูปแบบพิเศษ เฉพาะบางสไลด เพื่อดึงดูดความนใจ แตไมควรใชทุก

แผน เพราะจะทําใหผูเขารวมประชุมเบื่อ

4. ใชสีพอเหมาะ ไมมากไมนอยเกินไป และใชโทนสีไมขัดกัน สีพื้นหลังและสีของภาพควรเสริมใหภาพเดนชัด

ไมควรใชสีตัดกันแรงๆ แบบวันคริสตมาส

Page 15: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย

5

5. เลือกชนิด (font) และขนาดของตัวอักษร เหมาะสมกับตําแหนงที่ผูเขารวมประชุมจะเห็นขอความในสไลดได

ชัดเจน หองขนาดใหญตองใชขนาดตัวอักษรใหญ และขอความอาจตองส้ันกะทัดรัดมากขึ้น ไมควรใชอักษร

ภาษาอังกฤษที่เปนตัวพิมพใหญทุกตัวอักษร เพราะทําใหอานยากกวาปกติ และพยายามอยาใชชนิดอักษร

มากเกินกวาสองชนิด ควรใชหลักความคงเสนคงวา

6. นักวิจัยตองระลึกวาผูเสนอผลงานคือนักวิจัย มิใชสไลดโชว

7. ควรมีการตรวจทานการสะกดคําในสไลดทุกแผน

8. เตรียมไฟลสไลดสํารองกรณีแผนจานแมเหล็ก หรือ ซีดี มีปญหา รวมทั้งเตรียมทางเลือกในการนําเสนอกรณี

อุบัติเหตุไฟฟาดับ คอมพิวเตอรหยุดทํางาน แนวทางการเตรียมตัวเปนผูเสนอผลงานวิจัย การเตรียมตัวเสนอผลงานวิจัยไมวาจะเปนการนําเสนอโปสเตอร หรือการนําเสนอดวยวาจา มี 3 ชวง ชวง

กอนนําเสนอ ชวงระหวางการนําเสนอ และชวงหลังการนําเสนอ ดังแนวทางตอไปนี้

ชวงกอนนําเสนอผลงาน นักวิจัยควรซอมการนําเสนอผลงาน จับเวลาในการนําเสนอใหอยูในกรอบเวลาท่ี

กําหนด ควรฝกทาทางการนําเสนอหนากระจกเงา หรือใหเพื่อนชวยวิพากษแกไขจุดบกพรอง ฝกการเสนอท่ีเปน

ธรรมชาติมิใชการอานจากบันทึกหรือสไลด ฝกการสบตาผูฟง และฝกทาทางใหเรียบรอยและสงางาม นอกจากนี้

นักวิจัยควรเตรียมเรื่องเส้ือผา เคร่ืองแตงกายใหเหมาะสมกาละเทศะ และหากสามารถทําไดควรหาโอกาสไปดู

สถานที่กอนการเสนอผลงาน กอนวันเสนอผลงานควรพักผอนใหเต็มที่

ชวงนําเสนอผลงาน ควรมีสติ และสรางความม่ันใจ ปรับอารมณใหเย็นและม่ันคง ไมเครียดและสรางความ

กดดันใหตัวเอง ไมควรคิดหวังผลเลิศที่เปนไปไดยากในการเสนอลงาน หากรูสึกต่ืนเตน การหายใจเขาออกยาวๆ ชวย

ใหผอนคลายไดมาก ตลอดเวลาการนําเสนอผลงาน ควรรวบรวมสมาธิจดจอกับผูฟง พูดชาๆ ชัดเจน อยาพูดเร็วมาก

เกินไป อยาอานจากขอความ อาจเหลือบดูบันทึกไดบาง และควรสบตามองหนาผูฟงเพื่อดูการตอบสนองจากผูฟง

หากมีผูฟงแสดงทาทางวาไมเขาใจ ควรอธิบายเพิ่มเติม เม่ือเสร็จส้ินการเสนอผลงาน มีการซักถาม ควรต้ังใจฟงและ

ตอบคําถามใหตรงประเด็น หากไมเขาใจควรถามซ้ําอยาเส่ียงตอบไปคนละเร่ือง เม่ือจบการเสนอผลงาน ควรกลาว

ขอบคุณ

ชวงหลังการเสนอผลงาน ควรแสดงความขอบคุณผูดําเนินรายการ ผูประสานงาน อาจมีผูฟงบางคนสนใจ

ซักถามตอเนื่อง ควรใหเวลาและตอบคําถามดวยความสุภาพ

แนวทางการเตรียมตัวเปนผูเสนอผลงานวิจัย ที่เสนอขางตนนี้เปนเพียงแนวทางกวางๆ ผูอานควรศึกษาจาก

ตัวอยางจริงของผุเสนอผลงานวิจัยในการประชุมทางวิชาการ และท่ีสําคัญควรหาโอกาสเสนอผลงานวิจัยดวยตนเอง

การมีประสบการณในการเสนอผลงานวิจัยหลายคร้ังจะชวยใหสามารถปรับปรุงการนําเสนอผลงานวิจัยไดในระดับ

มืออาชีพไมยากนัก

ตอนท่ี 2 เทคนิคการนําเสนอผลงานวจิัยในรูปบทความวจิัยพมิพเผยแพรในวารสารวิชาการ บทความวิจัยมีเนื้อหาสาระแบบเดียวกับรายงานวิจัยทั่วไป แตลักษณะของเน้ือหาสาระมีความกระชับรัดกุม

(terse) มีแบบฉบับที่ใหสารสนเทศ (informative style) และมีมาตรฐานเฉพาะเจาะจง (particular standard) สูงกวา

ลักษณะของเน้ือหาสาระในรายงานการวิจัยทั่วไป เนื่องจากการนําเสนอบทความวิจัยมีความจํากัดของจํานวนหนาใน

วารสาร และมีความจํากัดตามเวลาในการนําเสนอบทความวิจัยในการประชุมวิชาการ (Rosenthal และ Rosnow,

1991) เนื้อหาสาระของบทความวิจัยโดยทั่วไป ประกอบดวยสวนสําคัญ 6 สวน ไมนับรวมสวนที่เปนชื่อเร่ือง (ซึ่งมี

Page 16: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย

6

ลักษระเชนเดียวกับที่กลาวในตอนที่ 1) ชื่อและที่ทํางานของผูเขียนบทความวิจัย (Rosenthal และ Rosnow, 1996;

Turabian, 1973) ดังนี้ 1) บทคัดยอ (Abstract) บทคัดยอเปนเนื้อหาสาระสวนที่นําเสนอวัตถุประสงคการวิจัย วิธีการวิจัย และผลการวิจัยโดยสรุป เพื่อให

ผูอานเห็นภาพรวมของงานวิจัยทั้งเร่ือง เนื้อหาสาระในสวนนี้เปนขอความที่มีคําสําคัญ (keywords) ทั้งหมดใน

บทความวิจัย และเปนขอความส้ัน กะทัดรัด ไมเย่ินเยอ 2) สวนนํา (Introduction) เนื้อหาสาระในสวนนําของบทความวิจัยประกอบดวยสวนสําคัญ 4 สวน สวนแรกเปนการบรรยายใหผูอาน

ไดทราบวา บทความวิจัยนี้พัฒนามาจากผลงานวิจัยที่มีมากอนหนานี้อยางไรบาง และนํามาสูปญหาวิจัยอยางไร

การเขียนสวนนํา นิยมเขียนในลักษณะอางอิงเช่ือมโยงผลงานวิจัยในอดีตโดยช้ีใหเห็นวามีปยหาอะไรที่จําเปนตองทํา

วิจัยตอและนําเขาสูปญหาวิจัย สวนที่สองกลาวถึงปญหาวิจัยและวัตถุประสงคการวิจัย สวนที่สาม คือ รายงาน

เอกสารที่เก่ียวของกับการวิจัยเฉพาะสวนที่เปนทฤษฎีและงานวิจัยที่สําคัญ ซึ่งนําไปสูการสรางกรอบแนวคิดสําหรับ

การวิจัยรวมทั้งสมมุติฐานการวิจัย สวนที่ส่ีเปนรายงานระบุเหตุผลพรอมเอกสารอางอิงในการเลือกวิธีดําเนินการ

วิจัยที่ใชในบทความวิจัยนี้ เพื่อเตรียมผูอานใหสามารถเชื่อมโยงความคิดกับเนื้อหาสาระในสวนตอไป ผูอานจะสังเกต

ไดวาเน้ือหาในสวนนี้รวมสวนที่เปนบทนํา และสวนท่ีเปนรายงานเอกสารที่เก่ียวของกับการวิจัยเขาไวดวยกัน ซึ่ง

สถาบันอุดมศึกษาของไทยสวนใหญกําหนดใหเขียนแยกกันเปนคนละบท 3) วิธีการ (Methods) เนื้อหาสาระในสวนวิธีการ เปนการใหรายละเอียดเก่ียวกับวิธีดําเนินการวิจัย ถาเปนการวิจัยเชิงปริมาณ

ประกอบดวยการบรรยายลักษณะของประชากร กลุมตัวอยางและวิธีการเลือกกลุมตัวอยาง ความสมบูรณของกลุม

ตัวอยาง นิยามตัวแปร เคร่ืองมือวิจัยและคุณภาพเคร่ืองมือ วิธีการรวบรวมและวิเคราะหขอมูล และขอสังเกตที่

สําคัญเก่ียวกับวิธีดําเนินการวิจัย ถาเปนการวิจัยเชิงคุณลักษณะประกอบดวยการบรรยายสนาม (field) ที่ศึกษา การ

เลือกและลักษณะของกรณี (case) ที่ศึกษา ขอบขายของขอมูล วิธีการและเคร่ืองมือที่ใชในการรวบรวมขอมูล และ

การวิเคราะหขอมูล 4) ผลการวิเคราะหขอมูล (Analysis Results) เนื้อหาสาระในสวนผลการวิเคราะหขอมูลเร่ิมตนดวยการบรรยายวา ผูวิจัยจะเสนอผลการวิเคราะหขอมูล

อยางไร จากน้ันจึงเปนการนําเสนอผลการวิเคราะหพรอมทั้งการตีความ ในสวนน้ีมีการนําเสนอตารางและ

ภาพประกอบเทาที่จําเปน ทั้งนี้ผลการวิเคราะหที่สําคัญในตารางหรือภาพตองมีการบรรยายในสวนท่ีเปนขอความ

ดวย มิใชการเสนอตารางหรือรูปโดยไมมีการบรรยาย 5) การอภิปรายและ/หรือการสรุป (Discussion and/or Conclusion) บทความวิจัยในสวนการอภิปราย และ/หรือ การสรุป เปนการบรรยายสรุปขอคนพบที่ไดจากการวิจัย

ประกอบกับการอธิบายวาขอคนพบมีความขัดแยง/สอดคลองกับสมมุติฐานวิจัย และผลงานวิจัยในอดีต หรือไมและ

อยางไร พรอมทั้งเหตุผลที่เปนเชนนั้น ในตอนสุดทายเปนการอภิปรายขอจํากัด หรือขอบกพรอง ขอดีเดน ซึ่งนําไปสู

ขอเสนอแนะในทางปฏิบัติ และขอเสนอแนะในการวิจัยตอไป 6) สวนอางอิงและผนวก (References and Appendix) เนื้อหาสาระในบทความวิจัยสวนสุดทายไดแกสวนอางอิงและผนวก สวนอางอิงประกอบดวยบรรณานุกรม

และเชิงอรรถ ตลอดจนบันทึกหรือหมายเหตุของผูวิจัย สวนที่เปนผนวกคือสวนที่ผูวิจัยนําเสนอสาระท่ีผูอานควรไดรับ

รูเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่นําเสนอในบทความ เชน ตัวอยางเคร่ืองมือวิจัย เปนตน

Page 17: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย

7

เม่ือเปรียบเทียบเนื้อหาสาระในบทความวิจัยกับรายงานวิจัยโดยทั่วไป จะเห็นไดวาความจํากัดของเนื้อที่ใน

วารสารทําใหเนื้อหาสาระในบทความวิจัยมีขนาดส้ัน กะทัดรัดมากกวารายงานวิจัย โดยเฉพาะอยางย่ิงเนื้อหาสาระ

ในสวนนําของบทความวิจัยจะส้ันและรัดกุมมาก เพราะบทนํา และบทที่สองเก่ียวกับรายงานเอกสารที่เก่ียวของกับ

การวิจัยในรายงานวิจัยนั้นถูกหลอมรวมเปนสวนนําของบทความวิจัย นอกจากนี้เนื้อหาสาระในสวนนําของบทความ

วิจัยยังเนนการเช่ือมโยงองคความรูจากงานวิจัยในอดีตกับบทความวิจัย ดังจะเห็นไดจากบทความวิจัยสวนใหญที่มี

คุณภาพตามมาตรฐานสากล จะเร่ิมสวนนําโดยการอางอิงผลงานวิจัยในอดีตวามีสวนทําใหเกิดบทความวิจัยนี้ได

อยางไรท้ังส้ิน สําหรับเนื้อหาสาระในสวนอื่น ๆ แมจะไมแตกตางจากรายงานวิจัย แตสาระในบทความวิจัยมีขอความ

ส้ัน กะทัดรัดมากกวาในรายงานวิจัย

แนวทางการเขียนบทความวิจัย การเขียนบทความวิจัย มีแนวทางการเขียนไมแตกตางจากการเขียนเอกสารวิชาการอื่น ๆ นักวิจัยจะเขียน

บทความวิจัยไดดีก็ตอเม่ือไดทํางานวิจัยที่มีคุณภาพดีประการหน่ึง และเม่ือนักวิจัยตระหนักถึงวัตถุประสงคของการ

เขียนบทความวิจัย แลวมุงหมายเขียนบทความวิจัยใหสัมฤทธ์ิวัตถุประสงคนั้นโดยมีรูปแบบการเขียนหรือการพิมพ

ถูกตองตามที่กําหนดไว ในที่นี้ผูเขียนจะไมกลาวถึงแนวทางการการดําเนินการวิจัย แตจะกลาวถึงเฉพาะแนวทางการ

เรียบเรียงและนําเสนอรายงานวิจัยในรูปบทความวิจัยเทานั้น ซึ่งโดยทั่วไปมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 กําหนดจุดมุงหมายในการเขียนบทความวิจัย นักวิจัยตองกําหนดจุดมุงหมายวาจะเขียบทความ

วิจัยเพื่อพิมพเผยแพรในวารสารหรือการประชุมระดับใด ระดับชาติ หรือระดับภูมิภาค หรือระดับนานาชาติ ผูอาน

บทความวิจัยเปนใคร ทั้งนี้เพื่อจะไดวางแนวทางการเขียนบทความวิจัยใหเหมาะสม

ขั้นตอนที่สอง การวางโครงราง (outline) และการเขียนบทความวิจัยฉบับราง นักวิจัยผูเขียนบทความวิจัยตอง

มีความเขาใจกระจางแจงในรายงานวิจัยที่จะนํามาเขียนเปนอยางดี และรอบรูรูปแบบการเขียนบทความวิจัยจึงจะ

สามารถเขียนบทความวิจัยไดดี เม่ือไดวางโครงรางบทความวิจัยแลว นักวิจัยควรจัดลําดับความคิด และเรียบเรียง

เนื้อหาสาระเขียนเปนฉบับราง จากนั้นทิ้งไว 1-2 สัปดาห จึงนํามาอานเพื่อปรับปรุงลีลา และภาษา ตลอดจนแบบการ

เขียนใหถูกตองตามรูปแบบของบทความวิจัย

หลักการในการเขียนบทความวิจัยเปนหลักการเดียวกับการเขียนเอกสารวิชาการโดยทั่วไป ซึ่งมีหลักการท่ี

สําคัญดังนี้

1. การเสนอเน้ือหา ควรนําเสนอสาระสําคัญจากงานวิจัยอยางตรงไปตรงมา ชัดเจน ถูกตองและสมบูรณจน

ผูอานสามารถทําวิจัยในลักษณะเดียวกันได

2. การใชภาษา ควรใชภาษาทางการที่เปนมาตรฐาน มีความเหมาะสมกับผูอานที่เปนนักวิชาการ และใช

ภาษาถูกตองตามหลักภาษา

3. การลําดับเนื้อหา ควรจัดลําดับเปนไปตามหลักการวิจัย มีความตอเนื่องต้ังแตตนไปจนถึงการสรุป และ

อภิปรายผลการวิจัย แตละยอหนามีประโยคสําคัญ และมีความเชื่อมโยงถึงกัน เนื้อหาในแตละยอหนามีการลําดับ

ความตอเนื่องราบรื่นตามหลักการเขียนยอหนา

4. การใชคําศัพท ควรใชคําศัพททางวิชาการ เลือกคําศัพทที่มีการบัญญัติศัพทเปนทางการ หรือคําศัพทที่

ไดรับการรับรองใชกันแพรหลาย ถาเปนคําศัพทใหมจากภาษาตางประเทศควรมีวงเล็บกํากับ หรือมีเชิงอรรถอธิบาย

ความหมาย เม่ือเลือกใชคําศัพทใดควรใชคํานั้นตลอดบทความวิจัย

5. การเขียนประโยค การเขียนแตละประโยคควรเขียนเปนประโยคสมบูรณ และพยายามใชประโยคส้ัน

หลีกเล่ียงประโยคซอน ควรระมัดระวังใชเคร่ืองหมายวรรคตอนใหถูกตองทุกประโยค

Page 18: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย

8

ขั้นตอนที่ 3 การใหผูรูชวยอานและวิพากษวิจารณ โดยทั่วไปนักวิจัยมืออาชีพจะใหเพื่อรวมอาชีพม่ีเปนผูรูชวย

อานและวิพากษวิจารณบทความวิจัย รวมท้ังใหขอเสนอแนะเพื่อแกไขปรับปรุง นักวิจัยมืออาชีพนิยมเสนอบทความ

วิจัยฉบับรางใน forum เพื่อขอรับขอคิดเห็นนํามาปรับปรุงกอนนําสงพิมพเผยแพร

ขั้นตอนที่ 4 การจัดพิมพบทความวิจัยตามรูปแบบที่เปนมาตรฐานสากล และการนําสงพิมพเผยแพร การ

จดัพิมพดําเนินการตามรูปแบบบทความวิจัยที่นําเสนอในตอนท่ีหนึ่งแลว สวนการนําสงพิมพเผยแพรโดยมารยาทควร

นําสงวารสารเพียงฉบับเดียว

แนวทางปฏิบัติที่กลาวมาน้ีเปนเพียงแนวทางปฏิบัติกวาง ๆ เทานั้น การเขียนบทความวิจัยใหไดบทความที่

มีคุณภาพยังมีแนวทางปฏิบัติโดยละเอียดอีกหลายประการ การไดมีโอกาสทําวิจัยและเขียนบทความวิจัยโดยศึกษา

แบบการเขียนทั้งจากหนังสือคูมือ และจากบทความวิจัยที่ไดมาตรฐานยอมเปนการพัฒนาใหนักวิจัยมีความสามารถ

เพิ่มขึ้นในการคิดอยางมีเหตุผล การลําดับและเรียบเรียงความคิด การใชภาษา และการเขียนบทความวิจัย อันจะ

สงผลใหนักวิจัยสามารถผลิตบทความวิจัยที่มีคุณภาพดีย่ิงขึ้นไปอีก บทความวิจัยที่มีคุณภาพยอมจะมีสวนชวยสราง

เสริมและขยายขอบฟาวิชาการไดเปนอยางดี

รายการอางอิง

นงลักษณ วิรัชชัย. (2533). คูมือเขียนโครงการวิจัย. วารสารการวัดผลการศึกษา. 12(35):43-72.

นงลักษณ วิรัชชัย. (2544). รูปแบบ และลักษณะของบทความวิจัยที่ตีพิมพในวารสารตามมาตรฐานสากล. เอกสาร

ประกอบการบรรยายในโครงการประชุมสัมมนา เร่ือง “การพัฒนาคุณภาพบทความทางวิชาการและ

บทความวิจัย: แนวคิดสูการปฏิบัติ” จัดโดยฝายวิชาการ คณะครุศาสตร ณ หองประชุม 401 อาคาร 3 คณะ

ครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2544. APA Style Helper 2.0: Software for New Writers in the Behavioral Sciences, Try the APA-Style Helper 2.0

Demo. (n.d.). Retrieved March 12, 2001, from the American Psychological Association Web

site: http://calkins.apa.org/apa- style/demo.cfm

Correli, L. (2006). How to present your research paper ideas. Retrieved August, 12, 2009 from http://www

Buzzle.com/editorials/8-1-2006-104098.asp.

Jackson, M.O. (1998). Notes on presenting a paper. Social Sciences 212a., Stanford University. Fall

1998. Retrieved August 12, 2009 from http://www.stanford.edu/~Jackson/present.pdf.

Newcastle University. (2008). Poster presentation of research work. Department of Chemical and Process

Engineering, Newcastle University. Retrieved August, 12, 2009 from http://www.lorein.ncl.ac.uk/

ming/dept/Tips/present/posters.htm

Rosenthal, R. and Rosnow, R.L. (1996). Essentials of Behavioral Research: Methods and Data Analysis

(Second Edition). New York: McGraw-Hill, Inc.

Turabian, K.L. (1973). A Manual for Writers of Term Papers, Thees, and Dissertation (Fourth Edition).

Chicago: The University of Chicago Press.

Page 19: โดย - Suranaree University of Technologyeng.sut.ac.th/me/2014/document/Project/3-60/4.pdf · 2018-04-20 · ความส าคัญและประโยชน์ของการวิจัย