หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม...

14
1 หนวยการเรียนรูที่ 1 ประวัติความเปนมาของสวนดุสิต ดร.พันธรักษ ผูกพันธุ อาจารยธนัญชย ชัยวุฒิมากร วัตถุประสงคในรายวิชา เพื่อใหความรูปลูกฝง สรางวัฒนธรรมสวนดุสิตในตัวนักศึกษา ที่เปนผลผลิตของมหาวิทยาลัย และออกไปรับใชสังคมอยางมีคุณภาพ นักศึกษาจะไดเรียนรูความเปนมาของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน พัฒนาการในแตละสมัย นํามาซึ่งความเปลี่ยนแปลง ที่สั่งสมกลายเปน วัฒนธรรมสวนดุสิต เนื้อหาที่สอน ประวัติความเปนมาของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ตั้งอยูเลขที่ 295 ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร บนพื้นที่ประมาณ 37 ไร บริเวณพระราชอุทยานสวนสุนันทา เขตพระราชวังดุสิต มหาวิทยาลัย สวนดุสิต ในปจจุบันมีพัฒนาการทั้งหมด 5 ยุค การพัฒนาในแตละยุคสะทอนภาพของ การเปลี่ยนแปลงลักษณะการบริหารและการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยตามกฎหมายทีเกี่ยวของ รวมถึงสะทอนภาพความกาวหนาของศิลปวิทยาการจากรากฐานและความเชี่ยวชาญของ มหาวิทยาลัยในแตละยุค รายละเอียดดังนียุคสวนดุสิต 1.0 (พ.ศ. 2477-2504) เจาพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในขณะนั้น เห็นความสําคัญของการศึกษาสําหรับฝกหัดสตรีใหเปนแมบานแมเรือนที่ดี จึงมีดําริให ดําเนินการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือน แตมาสําเร็จในสมัยพระสารสาสนประพันธดํารง ตําแหนงรัฐมนตรีวาการกระทรวงธรรมการ โรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือน สังกัดกองอาชีวศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปจจุบัน) เปดดําเนินการในป พ.ศ. 2477 ณ วังกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ(วังนางเลิ้ง) นับเปนโรงเรียนการเรือนแหงแรกของประเทศไทย มีจุดมุงหมายเพื่อเตรียมความพรอม การเปนแมบานแมเรือนที่ดีใหแกสตรี ซึ่งเปนความแปลกใหมในสังคมไทยสมัยนั้น โรงเรียนมัธยม วิสามัญการเรือนเปดสอนรายวิชาเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ศิลปะประดิษฐ การตัดเย็บเสื้อผา การเลี้ยงดูเด็ก และการจัดและตกแตงบาน สื่อหนังสือพิมพในยุคนั้น ขนานนามโรงเรียนมัธยมวิสามัญ การเรือน เปนโรงเรียนสําหรับการฝกฝนนักเรียนหญิงใหเปนคุณหญิง คุณนาย โรงเรียนมัธยมวิสามัญ การเรือนเปดรับนักเรียน 2 ประเภทเขาเรียน ไดแก นักเรียนที่จบระดับมัธยมตนเขาเรียนหลักสูตร 4 ป และนักเรียนประเภทครูนอยหรือครูใหญที่เขาอบรมหลักสูตรพิเศษ 1 ป (เพื่อผลิตครูในสาขาวิชานี้)

Transcript of หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม...

Page 1: หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม น าใจ ฯลฯ เพ อพ ฒนาร างกายและจ ตใจของเด

1

หนวยการเรียนรูที่ 1 ประวัติความเปนมาของสวนดุสิต

ดร.พันธรักษ ผูกพันธุ อาจารยธนัญชย ชัยวุฒิมากร

วัตถุประสงคในรายวิชา

เพ่ือใหความรูปลูกฝง สรางวัฒนธรรมสวนดุสิตในตัวนักศึกษา ทีเ่ปนผลผลิตของมหาวิทยาลัย

และออกไปรับใชสังคมอยางมีคุณภาพ นักศึกษาจะไดเรียนรูความเปนมาของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน พัฒนาการในแตละสมัย นํามาซ่ึงความเปลี่ยนแปลง ที่สั่งสมกลายเปน

วัฒนธรรมสวนดุสิต

เนื้อหาท่ีสอน

ประวัติความเปนมาของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ตั้งอยูเลขที่ 295 ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

บนพื้นที่ประมาณ 37 ไร บริเวณพระราชอุทยานสวนสุนันทา เขตพระราชวังดุสิต มหาวิทยาลัย

สวนดุสิต ในปจจุบันมี พัฒนาการทั้ งหมด 5 ยุค การพัฒนาในแตละยุคสะทอนภาพของ

การเปลี่ยนแปลงลักษณะการบริหารและการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยตามกฎหมายที่

เกี่ยวของ รวมถึงสะทอนภาพความกาวหนาของศิลปวิทยาการจากรากฐานและความเชี่ยวชาญของ

มหาวิทยาลัยในแตละยุค รายละเอียดดังน้ี

ยุคสวนดุสิต 1.0 (พ.ศ. 2477-2504) เจาพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ

ในขณะน้ัน เห็นความสําคัญของการศึกษาสําหรับฝกหัดสตรีใหเปนแมบานแมเรือนที่ดี จึงมีดําริให

ดําเนินการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือน แตมาสําเร็จในสมัยพระสารสาสนประพันธดํารง

ตําแหนงรัฐมนตรีวาการกระทรวงธรรมการ

โรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือน สังกัดกองอาชีวศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงธรรมการ

(กระทรวงศึกษาธิการในปจจุบัน) เปดดําเนินการในป พ.ศ. 2477 ณ วังกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

(วังนางเลิ้ง) นับเปนโรงเรียนการเรือนแหงแรกของประเทศไทย มีจุดมุงหมายเพ่ือเตรียมความพรอม

การเปนแมบานแมเรือนที่ดีใหแกสตรี ซึ่งเปนความแปลกใหมในสังคมไทยสมัยน้ัน โรงเรียนมัธยม

วิสามัญการเรือนเปดสอนรายวิชาเก่ียวกับอาหารและโภชนาการ ศิลปะประดิษฐ การตัดเย็บเสื้อผา

การเลี้ยงดูเดก็ และการจัดและตกแตงบาน สื่อหนังสือพิมพในยุคน้ัน ขนานนามโรงเรียนมัธยมวิสามัญ

การเรือน เปนโรงเรียนสําหรับการฝกฝนนักเรียนหญิงใหเปนคุณหญิง คุณนาย โรงเรียนมัธยมวิสามัญ

การเรือนเปดรับนักเรียน 2 ประเภทเขาเรียน ไดแก นักเรียนที่จบระดับมัธยมตนเขาเรียนหลักสูตร 4 ป

และนักเรียนประเภทครูนอยหรือครูใหญที่เขาอบรมหลักสูตรพิเศษ 1 ป (เพ่ือผลิตครูในสาขาวิชานี้)

Page 2: หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม น าใจ ฯลฯ เพ อพ ฒนาร างกายและจ ตใจของเด

2

ตอมาในป พ.ศ. 2480 โรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือน ไดยายสถานที่ตั้งจากวังกรมหลวง

ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ไปอยูที่วังจันทรเกษม (ที่ตั้งกระทรวงศึกษาธิการในปจจุบัน) จึงเปลี่ยนชื่อเปน

โรงเรียนการเรือนวังจันทรเกษม เปดสอนหลักสูตรมัธยมการเรือน และหลักสูตรการเรือนชั้นสูง

(เพิ่มเติม) ทั้งสองหลักสูตรเปนหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนเปนเวลา 3 ป

ในชวงกอน พ.ศ. 2482 การอนุบาลศึกษาของไทยยังไมเปนที่รูจักแพรหลาย มีโรงเรียน

เอกชนเพียง 2 แหง จัดสอนระดับชั้นอนุบาล คือ โรงเรียนมาแตรเดอี และโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

แตยังไมไดจัดการศึกษาระดับอนุบาลของมาดามมอนเตสเซอร่ีเต็มรูปแบบ เนนเพียงการใหเด็ก

รองเพลง เลน และแสดงภาพประกอบตัวอักษรเทาน้ัน หมอมเจารัชฎาภิเษก โสณกุล อธิบดีกรม

ศึกษาธิการ ซ่ึงเปนเพียงกรมเดียวของกระทรวงธรรมการในขณะน้ัน เห็นวา การอนุบาลมีความสําคัญ

อยางยิ่งสําหรับการพัฒนาเด็ก จึงมีนโยบายจะจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลของรัฐขึ้น จึงตั้ง “กรรมการจัด

โครงการโรงเรียนอนุบาล” เพ่ือพิจารณาจัดตั้ งโรงเรียนอนุบาลเต็มรูปแบบ ประกอบดวย

นายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา (เคยเรียนการอนุบาลมอนเตสเซอร่ีที่ประเทศอิตาลี) หมอมหลวง

มานิจ ชุมสาย และนางแพทย พัทยภาคย (หัวหนานางพยาบาลศิริราช) คณะกรรมการตกลงวา

ใหโรงเรียนอนุบาลรับเด็กอายุสามขวบคร่ึงเขาเรียนแบบมอนเตสเซอรี่ คือ รองเพลง เลานิทาน

เนนเรียนรูจากการเลน เชน ใหสังเกตอักษรกับภาพจับคูกัน ใหเลนรูปทรงตางๆ รวมทั้งดูแล อบรม

สรางนิสัยที่ดีใหกับเด็กๆ เชน รักษาความสะอาด ความเปนระเบียบ สุขนิสัยในการกินอยู การมีเพ่ือน

ความมีนํ้าใจ ฯลฯ เพ่ือพัฒนารางกายและจิตใจของเด็กไปในในแนวทางที่ถูกตองดีงาม

กระทรวงธรรมการไดรับเงินบริจาคของ นางสาวละออ หลิมเซงไถ จํานวนแปดหม่ืนบาท

จึงนําเงินจํานวนดังกลาวสรางตึกอนุบาลขึ้นในโรงเรียนการเรือนพระนคร ใหชื่อตึกหลังน้ีวา

“ตึกละอออุทิศ” (เดิมใชละอออุทิส) ใชตึกหลังน้ีเปนโรงเรียนอนุบาล ชื่อวา โรงเรียนอนุบาล

ละอออุทิศ สังกัดกองฝกหัดครู กรมสามัญศึกษา เม่ือวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2483 ถือวาเปนโรงเรียน

อนุบาลแหงแรกของกระทรวงธรรมการ จุดมุงหมายในการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ เพ่ือ

ทดลองและทดสอบวาประชาชนมีความสนใจและเขาใจเร่ืองการอนุบาลศึกษาอันเปนรากฐาน

การเรียนรูของเด็กมากนอยเพียงใด ผูที่ดําเนินการอนุบาล คือ หมอมหลวงมานิจ ชุมสาย หัวหนา

กองฝกหัดครู และ นางจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา (คุณหญิงจิตรา ทองแถม ณ อยุธยา) หัวหนาแผนก

โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ ซึ่งปรากฏวาในระยะ 1 ปที่เปดดําเนินการ ประชาชนสนใจนําบุตรหลาน

เขาเรียนที่โรงเรียนเปนจํานวนมากจนตองขยายชั้นเรียนเพ่ิมขึ้น และกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบาย

จะเปดโรงเรียนอนุบาลของรัฐในตางจังหวัดดวย

Page 3: หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม น าใจ ฯลฯ เพ อพ ฒนาร างกายและจ ตใจของเด

3

ภาพที่ 1 โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ

ตอมาในป พ.ศ. 2484 โรงเรียนการเรือนวังจันทรเกษม ไดยายมาตั้งอยูในบริเวณใกลเคียงกัน

และเปลี่ยนชื่อเปน โรงเรียนการเรือนพระนคร สังกัดกองฝกหัดครู กรมสามัญศึกษา โรงเรียน

การเรือนพระนคร มีพ้ืนที่ประมาณ 37 ไร ตั้งอยูติดกับที่ตั้งของโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ โรงเรียน

ทั้งสองแหงนี้มีระบบการบริหารจัดการแยกออกจากกัน

ในชวงสงครามโลกคร้ังที่ 2 (พ.ศ. 2486-2489) โรงเรียนการเรือนพระนคร และโรงเรียน

อนุบาลละอออุทิศ ไดรับผลกระทบจากสงครามมหาเอเชียบูรพาเชนเดียวกับหนวยงานอื่นๆ จึงอพยพ

ไปจัดการเรียนการสอนนอกสถานที่ตั้ง โดยยายนักเรียนชั้นปที่ 1 ไปเรียนที่จังหวัดนครราชสีมา

นักเรียนชั้นปที่ 2 ไปเรียนที่อําเภอบางคลา จังหวัดฉะเชิงเทรา ในขณะที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ

ยายไปจัดการเรียนการสอนที่วัดปรินายก (กรุงเทพมหานคร) เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง นักเรียนจึง

ยายกลับมาเรียนที่เดิม แตพบวาอาคารของโรงเรียนการเรือนพระนครถูกระเบิดทําลายหลายหลัง จึง

ไดกอสรางอาคารเรียนหลังใหมในป พ.ศ. 2490 (อาคาร 1 ในปจจุบัน) เพ่ือใชเปนอาคารเรียนทดแทน

อาคารเดิมทีเ่สียหายจากสงคราม โดยมีคุณหญิงกระจางศรี รักตะกนิษฐ ดํารงตําแหนงอาจารยใหญ

คุณหญิงกระจางศรี รักตะกนิษฐ เปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน

การเรือนพระนคร ไปจากเดิมมาก มี ดร.เวอรยิเนีย เอฟ คัทเลอร อาจารยชาวอเมริกัน มาชวยสอน

และพัฒนางานคหกรรมศาสตรของโรงเรียนใหเจริญกาวหนายิ่งขึ้น ดวยการจัดอบรมคหกรรมศาสตร

ทั่วประเทศและพัฒนาหลักสูตร ป.ม. (ประโยคครูมัธยมการเรือน) สงเสริมการใชภาษาอังกฤษโดยให

นักเรียนไปชมภาพยนตรที่หองสมุดของ A.U.A. แลวมาเลาเร่ืองยอเปนภาษาอังกฤษในชั้นเรียน

ตั้ง English Club ที่นักเรียนตองใชภาษาอังกฤษในการสื่อสาร นอกจากนั้น นักเรียนจะตองสอบ

ตัดเย็บแบบเสื้อราตรีเม่ือสิ้นปการศึกษา แลวแตงชุดขาวผูกเอวริบบิ้นขาว มีดอกฟอรเก็ตมีน็อต

หอยชายทั้งสอง ทําบัตรเชิญแขกตางประเทศ 2 คนตอเจาภาพ 1 คน ซ่ึงนักเรียนจะตองคุยกับ

ชาวตางประเทศและแขกผูมารวมงาน

Page 4: หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม น าใจ ฯลฯ เพ อพ ฒนาร างกายและจ ตใจของเด

4

ในเวลาตอมา กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งกรมการฝกหัดครูตามพระราชบัญญัติปรับปรุง

กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2497 เพ่ือประหยัดงบประมาณและเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิตครูทั้ง

เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จึงรวมการฝกหัดครูที่สังกัดกรมตางๆ เขาดวยกัน โรงเรียนการเรือน

พระนครจึงถูกโอนมาสังกัดกรมการฝกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ตอมาในป พ.ศ. 2498 แผนก

ฝกหัดครูอนุบาล โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศถูกโอนมาสังกัดโรงเรียนการเรือนพระนคร โรงเรียน

การเรือนพระนครเปดสอนหลักสูตร ป.กศ. (ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา) สาขาคหกรรมศาสตร

เปนแหงแรกของประเทศไทย หลักสูตรประโยคครูการเรือน ประโยคครูอนุบาล ระดับ ป.ป. และ

ประโยคครูมัธยมการเรือนควบคูกันในป พ.ศ. 2499 และไดเปดสอนหลักสูตร ป.กศ. (ขั้นสูง) สาขา

คหกรรมศาสตร และสาขาอนุบาลศึกษา เพิ่มขึ้นในป พ.ศ. 2501 ในยุคน้ีนักศึกษาโรงเรียนการเรือน

พระนครมีเคร่ืองแบบที่ทันสมัย โดดเดนกวาเคร่ืองแบบของโรงเรียนอ่ืนๆ โดยเปลี่ยนจากการนุงซิ่นมา

ใสกระโปรงและใสหมวกนักศึกษาตามนโยบายของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ตองการ

ปรับเปลี่ยนประเทศใหทันสมัย นักศึกษาจึงไดเย็บหมวกไวใชเอง

กลาวโดยยอ ยุคสวนดุสิต 1.0 มีระยะเวลาทั้งหมด 27 ป เปนยุคเร่ิมตนการวางรากฐาน

การศึกษาดานคหกรรมศาสตร เพ่ือฝกหัดสตรีใหสามารถจัดการกิจการภายในบานไดอยางเรียบรอย

โดยจัดตั้งโรงเรียนการเรือนแหงแรกของไทยสอนวิชาทางดานอาหารและโภชนาการ ศิลปะประดิษฐ

การตัดเย็บเสื้อผา การเลี้ยงดูเด็ก และการจัดและตกแตงบาน ในหลักสูตร ป.กศ. สาขาคหศาสตร

หลักสูตร ป.กศ. ขั้นสูง สาขาคหเศรษฐศาสตร และการอนุบาล ตลอดจนการจัดตั้งโรงเรียนอนุบาล

ละอออุทิศ ซึ่งเปนโรงเรียนอนุบาลของรัฐแหงแรกในประเทศไทย

ภาพที่ 2 โรงเรียนการเรือนพระนคร

ยุคสวนดุสิต 2.0 วิทยาลัยครูสวนดุสิต (พ.ศ. 2504-2538) รัฐบาลมีดําริจัดตั้งวิทยาลัยครู

เพ่ือจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญา โรงเรียนการเรือนพระนครจึงไดรับการยกฐานะเปน

วิทยาลัยครูสวนดุสิต สังกัดกองการฝกหัดครู กรมการฝกหัดครู ในป พ.ศ. 2504 โดยยังคงเปดรับ

Page 5: หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม น าใจ ฯลฯ เพ อพ ฒนาร างกายและจ ตใจของเด

5

เฉพาะสตรีเขาศึกษา ตอมาในป พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 (ฉบับที่ 1) มีผล

บังคับใช ทําใหกรมการฝกหัดครูปรับปรุงหลักสูตรใหมใหสอดคลองกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แหงชาติ ทําใหวิทยาลัยครูสามารถเปดสอนในระดับปริญญาตรีได ตอมาในป พ.ศ. 2520 โรงเรียน

อนุบาลละอออุทิศถูกรวมเขากับการฝกหัดครูอนุบาล และจัดตั้งเปนภาควิชาการอนุบาลศึกษา สังกัด

คณะครุศาสตร วิทยาลัยครูสวนดุสิต จึงเปลี่ยนชื่อเปน โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ วิทยาลัยครู

สวนดุสิต จึงไดเปดสอนระดับปริญญาตรีในหลักสูตรสภาการฝกหัดครู วิชาเอกการอนุบาลศึกษา

การเปลี่ยนสถานภาพจากโรงเรียนการเรือนพระนครเปนวิทยาลัยครูสวนดุสิต กอใหเกิดการ

เปลี่ยนแปลงโครงสรางทางการบริหารและวิชาการ โดยตําแหนงหัวหนาสถานศึกษาของวิทยาลัยได

เปลี่ยนเปน “อธิการวิทยาลัย” และมีตําแหนงรองอธิการฝายบริหาร รองอธิการฝายวิชาการ และ

รองอธิการฝายกิจการนักศึกษา ในดานวิชาการน้ันไดมีการจัดตั้งคณะวิชา 3 คณะ ไดแก คณะวิชา

มนุษยศาสตรและสังคมศาสตร คณะวิชาครุศาสตร คณะวิชาวิทยาศาสตร โดยยังคงจัดการศึกษาใน

สาขาเดียว คือ สาขาวิชาการศึกษา แบงออกเปน 3 ระดับ คือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา

(ป.กศ.) ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. สูง) และระดับปริญญาตรี 4 ป และ 2 ปตอเน่ือง

(ครุศาสตรบัณฑิต) มีสาขาวิชาเอกทั้งสิ้น 11 สาขา ไดแก ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา

วทิยาศาสตรทั่วไป คหกรรมศาสตร ศิลปศึกษา การศึกษาพิเศษ การอนุบาลศึกษา การประถมศึกษา

อุตสาหกรรมศิลป และคณิตศาสตร ในเวลาตอมา พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 2)

อนุญาตใหวิทยาลัยครูสามารถเปดสอนสายวิชาการอ่ืนไดนอกจากสายวิชาชีพครู วิทยาลัยครูสวนดุสิต

จึงเปดสอนหลักสูตรอนุปริญญาศิลปศาสตร (อ.ศศ.) จํานวน 3 วิชาเอก ไดแก วารสารและการประชาสัมพันธ

ภาษาอังกฤษ และออกแบบนิเทศศิลป และอนุปริญญาวิทยาศาสตร (อ.วท.) จํานวน 3 วิชาเอก ไดแก

การอาหาร ผาและเคร่ืองแตงกาย และศิลปะประดิษฐ ตลอดจนเปดสอนสาขาวิชาคหกรรมศาสตร

ในระดับปริญญาตรีเปนแหงแรกของประเทศไทย อีกทั้งรับนักศึกษาชายเขาศึกษาเปนคร้ังแรกในป

พ.ศ. 2528

ภาพที่ 3 วิทยาลัยครูสวนดุสิต

Page 6: หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม น าใจ ฯลฯ เพ อพ ฒนาร างกายและจ ตใจของเด

6

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2528 วิทยาลัยครูสวนดุสิต จัดตั้งโครงการอาหารกลางวัน 2 เพ่ือ

เปนสถานที่ฝกภาคปฏิบัติของนักศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิต ชองทางการจําหนาย การตอบรับ

จากตลาด โดยใชเงินลงทุนจากเงินรายไดจากการขายผลผลิตของนักศึกษา จํานวน 1,692.25 บาท

การดําเนินงานในระยะแรกจัดจําหนายผลิตภัณฑใหแกนักศึกษาและบุคลากรในวิทยาลัย เมื่อไดรับผล

ตอบรับที่นาพึงพอใจจึงเนนการบริการดานขนมอบมากขึ้น ตอมาในป พ.ศ. 2529 โครงการไดเปลี่ยน

ชื่อใหสั้นลงเปน โฮมเบเกอร่ี (Home Bakery) ซ่ึงเปนชื่อที่ตั้งโดยรองศาสตราจารย ดร.ณัฏฐารมณ

จุฑาภัทร จากนั้นผูชวยศาสตราจารยวันเพ็ญ จงสวัสดิ์ ประธานโครงการ ไดปรับปรุงระบบการผลิต

จากเดิมเปนการผลิตแบบอุตสาหกรรม ใชเทคโนโลยีใหมๆ ในการผลิต มีเบเกอร่ีหลากหลายประเภท

เพ่ือตอบสนองความตองการของลูกคาที่เพ่ิมมากขึ้น อีกทั้ง โฮมเบเกอร่ีไดพัฒนาสูตรขนมอบ

ทอฟฟเคก และเคกฝอยทอง และจัดจําหนายเปนแหงแรกของประเทศไทย ทําใหขนมอบทั้งสอง

ประเภทกลายเปนขนมอบยอดนิยมในเวลาตอมา

ในป พ.ศ. 2533 รองศาสตราจารยลําพอง บุญชวย อธิการบดีวิทยาลัยครูสวนดุสิตใน

ขณะน้ัน ตระหนักถึงการขยายตัวของอุตสาหกรรมการทองเที่ยว จึงสรางอาคารอเนกประสงค

ปฏิบัติการวิชาชีพธุรกิจ (โรงแรมสวนดุสิตพาเลซ) เพ่ือเปนศูนยฝกปฏิบัติการวิชาชีพธุรกิจโรงแรม

วิทยาลัยครูสวนดุสิตไดกราบทูลเชิญสมเด็จพระเจาพ่ีนางเธอ เจาฟากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง

นราธิวาสราชนครินทร เปนองคประธานการเปด ระยะแรกโรงแรมมีหองพักจํานวน 60 หอง และเมื่อ

อาคารหลังที่ 2 กอสรางเสร็จจึงมีหองพักเพ่ิมเปน 120 หอง โรงแรมสวนดุสิตพาเลซจึงเปลี่ยนชื่อเปน

โรงแรมสวนดุสิตเพลส (Suan Dusit Place) ตั้งแต 2 สิงหาคม 2546 เปนตนมา

ในป พ.ศ. 2535 รองศาสตราจารย ดร.สุขุม เฉลยทรัพย อาจารยประจําภาควิชา

บรรณารักษศาสตรและสารนิเทศศาสตร ริเร่ิมกอตั้งสวนดุสิตโพล (Suan Dusit Poll) เพ่ือเปน

แหลงบมเพาะองคความรูดานการสํารวจประชามติของนักศึกษาหลักสูตรบรรณารักษศาสตรและ

สารนิเทศศาสตร เนื่องจากคนไทยในสมัยน้ันเร่ิมตื่นตัวในการใชขาวสารที่มีคุณภาพ สามารถอางอิงได

เพ่ือการรับรูและการตัดสินใจ สถาบันการศึกษาหลายแหงมีแนวคิดที่จะผลิตบุคลากรทางดาน

สารนิเทศศาสตรที่มีมากกวาความรูความสามารถตามหลักสูตร วิทยาลัยครูสวนดุสิตจึงไดเปนผูริเร่ิม

ลงมือจากแนวคิดสูการปฏิบัติจริง จนสามารถพัฒนาแหลงบมเพาะของนักศึกษาสูการเปนสํานักโพลที่

ทําหนาที่สํารวจความคิดเห็นวิเคราะหวิจัยเพ่ือเผยแพรขอมูล สถานการณตางๆ เก่ียวกับประเด็นที่

สังคมกําลังใหความสนใจ รวมถึงการนําเสนอความเคลื่อนไหวตางๆ ในสังคมใหกับสาธารณชนได

รับทราบ จนเปนที่ยอมรับจนถึงปจจุบัน

กลาวโดยยอ ยุคสวนดุสิต 2.0 มีระยะเวลานานที่สุดถึง 34 ป เปนยุคแหงการพัฒนา

ความเขมแข็งในคุณภาพการศึกษาของบัณฑิต ดวยการพัฒนาความรูความเชี่ยวชาญของนักศึกษาจาก

การลงมือปฏิบัติจริงในสถานที่ฝกประสบการณ วิชาชีพเฉพาะดานของวิทยาลัย เปนรากฐาน

การพัฒนาแหลงรายไดของมหาวิทยาลัย เชน โฮมเบเกอร่ี โรงแรมสวนดุสิตเพลส และสวนดุสิตโพล

ตลอดจนการเปดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสาขาคหกรรมศาสตร เปนแหงแรกของประเทศไทย

Page 7: หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม น าใจ ฯลฯ เพ อพ ฒนาร างกายและจ ตใจของเด

7

ยุคสวนดุสิต 3.0 สถาบันราชภัฏสวนดุสิต (พ.ศ. 2538-2547) วิทยาลัยครูสวนดุสิตไดรับ

การยกฐานะเปนสถาบันราชภัฏสวนดุสิต สังกัดสํานักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ

ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานตราสัญลักษณสํานักงานสภาสถาบันราชภัฏและสถาบันราชภัฏ

ทั่วประเทศ เปนตราพระราชลัญจกรประจําสถาบัน ประกอบดวย สีน้ําเงิน สีขาว สีทอง สีสม และ

สีเขียว มีความหมายดังน้ี สีน้ําเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริยผูใหกําเนิดและพระราชทาน

“สถาบันราชภัฏ” สีขาว หมายถึง ความคิดอันบริสุทธ์ิของความเปนนักปราชญในพระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สีทอง หมายถึง ความเจริญรุงเรืองทางภูมิปญญา

สีสม หมายถึง ความรุงเรืองทางศิลปวัฒนธรรมทองถิ่นที่กาวไกลใน 41 สถาบัน สีเขียว หมายถึง

แหลงที่ตั้งของสถาบันราชภัฏ 41 แหงในแหลงธรรมชาติและสิ่งแวดลอมที่สวยงาม

ในยุคนี้ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต เนนการพัฒนาดานคหกรรม อาหาร การศึกษาปฐมวัย และ

อุตสาหกรรมการบริการ อีกทั้ง นําเทคโนโลยีสารสนเทศเขามาใชในการเรียนการสอนและการบริหาร

จัดการ ในป พ.ศ. 2539 มีนักศึกษาสมัครเขาศึกษาตอทีส่ถาบันราชภัฏสวนดุสิตเปนจํานวนมาก จึงได

ขยายการจัดการศึกษาอยางกวางขวางโดยเปดศูนยการศึกษานอกที่ตั้งรวม 22 แหง ในพ้ืนที่

กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และตางจังหวัด ภายใตคําขวัญวา “เทคโนโลยีกาวไกล อยูที่ไหนก็

เรียนได ภายใตมาตรฐานเดียวกัน” ตอมาในป พ.ศ. 2540 สถาบันราชภัฏสวนดุสิตจัดตั้งบัณฑิต

วิทยาลัย เปดสอนระดับปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจ โดยรวมมือกับ Victoria University

ประเทศแคนาดา รวมถึงเปดศูนยการศึกษานอกที่ตั้งในกรุงเทพมหานครเพ่ิมขึ้น รวมถึงไดใชจาย

งบประมาณเปนจํานวนมาก เพ่ือพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใชในการเรียนการสอน

สรางเปนฐานขอมูลระบบการสอนทางไกล (Video Conference) และพัฒนาระบบหองสมุดเสมือน

(Virtual Library) ขึ้นเปนคร้ังแรกในสถาบันอุดมศึกษาของไทย

ระบบหองสมุดเสมือน (Virtual Library) เกิดขึ้นจากแนวคิดของรองศาสตราจารย

ดร.ศิโรจน ผลพันธิน อธิการบดีในขณะนั้น ที่อยากใหมีหองสมุดที่แตกตางไปจากหองสมุดแบบเดิม

เปนหองสมุดที่มีความสวางจากแสงดานบน มีหองที่รองรับความตองการใชบริการที่หลากหลาย

เหมาะสมกับการเรียนรูของนักศึกษา และสามารถหาหนังสือจากอากาศได แนวคิดดังกลาวไดรับ

การพัฒนาใหเกิดขึ้นจริง โดยใชประโยชนจากความกาวหนาทางเทคโนโลยีอินเทอรเน็ต ที่พัฒนาอยาง

รวดเร็ว ระบบหองสมุดเสมือนของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต จึงเปนหองสมุดที่ไมมีหนังสือ หองสมุด

แตละชั้น จะมีระบบสืบคนขอมูลผานระบบคอมพิวเตอร ทําใหสถาบันราชภัฏสวนดุสิตมีชื่อเสียงใน

ดานนี้เปนอยางมาก และเปนตนแบบในการพัฒนาระบบหองสมุดเสมือนใหกับสถาบันการศกึษาตางๆ

ที่ขอเขามาศึกษาดูงานในชวงเวลาดังกลาว

Page 8: หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม น าใจ ฯลฯ เพ อพ ฒนาร างกายและจ ตใจของเด

8

ภาพที่ 4 สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในป พ.ศ. 2538 สวนดุสิตโพล เร่ิมรับงานจากภายนอกทั้งองคกรภาครัฐและเอกชนเปน

คร้ังแรก ตอมาไดเพิ่มเจาหนาที่ประจําเพ่ือขับเคลื่อนการทําโพลสาธารณะและโพลธุรกิจใหมี

ประสิทธิภาพ สวนดุสิตโพลดําเนินการวิจัยเชิงสํารวจความคิดเห็น ครอบคลุมดานการเมือง เศรษฐกิจ

สังคม และการศึกษาตั้งแตเร่ิมกอตั้ง ภายใตปรัชญา “เปนกลาง รวดเร็ว ทันเหตุการณ ถูกหลัก

วิชาการ รับผิดชอบตอสังคม” ทําใหสวนดุสิตโพลเปนตนแบบการทํางานที่ไดรับการยอมรับจาก

ทั้งบุคคลและสถาบันวาเปนผูใหขอมูลเชิงวิเคราะหทางวิชาการแกสังคม เปนแหลงสั่งสมฐานขอมูล

ทางความคิดที่เปนพลังสําคัญของสังคม รองศาสตราจารย ดร.ศิโรจน ผลพันธิน กลาววา

“... ช่ือเสียงของสวนดุสิตโพล ทําใหไดรับการตอบรับจากองคกรภายนอกเปน

อยางดี โดยเราไดรับเชิญจากสถานทูตสหรัฐอเมริกาใหไปรวมสังเกตการณ

การเลือกต้ังในสหรัฐอเมริกา 3-4 ครั้งติดๆ กัน อยางไรก็ตาม แมการทําโพลจะมี

ขอจํากัดอยูบางในเรื่องการนําเสนอความคิดเห็น แตโพลก็เปนสวนหน่ึงที่ตอบ

คําถามไดดวยหลักวิชาการวาผูคนคิดอะไร อยางไร การที่เราสามารถเอาคําตอบ

ไปใชประโยชนตอสังคมได จะเปนสวนหน่ึงที่ชวยเราเรียนรูอะไรหลายๆ อยาง

และอีกอยางหน่ึงคือเปนปากเสียงใหประชาชนไดวาเขารูสึกอยางไรตอนน้ี ...”

(ศิโรจน ผลพันธิน อางใน 25 ป สวนดุสิตโพล, ม.ป.ท., น. 23)

ในป พ.ศ. 2545 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ จัดการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา

ปที่ 1 เปนคร้ังแรก โดยมีวัตถุประสงคที่จะจัดการเรียนรูตามแนวทางที่ใชสิ่งแวดลอมและกิจกรรม

เปนหลัก เด็กไมจําเปนตองมีเคร่ืองแบบ ไมมีการบาน หนังสือ ตําราตางๆ อยูในชั้นเรียน โดยไมตอง

นํากลับบาน ไมมีการสอนพิเศษ แตมีกิจกรรมเสริมใหในตอนเย็น มีการเรียนภาษาอังกฤษจาก

สิ่งแวดลอม นอกจากน้ันยังไดแยกสวนของโรงเรียนเปนโรงเรียนสาธิตประถมละอออุทิศ เพ่ือใหมี

การบริหารจัดการที่เปนอิสระ

กลาวโดยยอ ยุคสวนดุสิต 3.0 มีระยะเวลาสั้นที่สุดเพียง 9 ป แตเปนยุคที่สถาบันราชภัฏ

สวนดุสิต ใชประโยชนจากความกาวหนาทางเทคโนโลยีในการขยายการจัดการเรียนการสอนไป

Page 9: หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม น าใจ ฯลฯ เพ อพ ฒนาร างกายและจ ตใจของเด

9

ทั่วประเทศ การพัฒนาระบบหองสมุดเสมือน เพื่อเปนแหลงเรียนรูที่ไมขึ้นอยูกับพ้ืนที่เชิงกายภาพ

การพัฒนาความเขมแข็งของสถาบันจากองคความรูความเชี่ยวชาญที่สั่งสม ตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน

ตลอดจนการพัฒนาความเขมแข็งในศาสตรดานการสํารวจความคิดเห็นของสวนดุสิตโพล

ยุคสวนดุสิต 4.0 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (พ.ศ. 2547-2558) สถาบันราชภัฏ

สวนดุสิตไดรับการยกฐานะเปนมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สังกัดสํานักงานคณะกรรมการ

การอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 การพัฒนา

ในยุคน้ีมีลักษณะเดน คือ การกําหนดอัตลักษณของมหาวิทยาลัย 4 ดาน จากองคความรูและความ

เชี่ยวชาญที่ไดสั่งสมมาตั้งแตอดีต ไดแก อัตลักษณดานอาหาร การศึกษาปฐมวัย อุตสาหกรรม

การบริการ และพยาบาลศาสตร และจัดตั้งหนวยงานในระดับคณะเพื่อสงเสริมการพัฒนาอัตลักษณ

เฉพาะทางใหมีความเขมแข็งโดดเดน ดังน้ี คณะพยาบาลศาสตร (พ.ศ. 2550) เพ่ือรองรับอัตลักษณ

ดานพยาบาลศาสตร โรงเรียนการเรือน (พ.ศ. 2553) เพ่ือรองรับอัตลักษณดานอาหาร โรงเรียน

การทองเที่ยวและการบริการ (พ.ศ. 2553) เพ่ือรองรับอัตลักษณดานอุตสาหกรรมการบริการ

สวนอัตลักษณดานการศึกษาปฐมวัย จัดการเรียนการสอนในคณะครุศาสตรที่มีอยูเดิม

ในป พ.ศ. 2550 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ ไดรวมสวนการบริหารโรงเรียนที่เปน

อนุบาลและประถมศึกษาเขาดวยกัน และปรับชื่อโรงเรียนเปน โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ โดยเปน

สวนงานอิสระขึ้นตรงตออธิการบดี

ภาพที่ 5 อัตลักษณของมหาวิทยาลัย

ตอมาในป พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ไดปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการ

การศึกษาตามศูนยการศึกษานอกที่ตั้งดวยการลดจํานวนเหลือเพียง 6 แหง ไดแก ศูนยตรัง

ศูนยหัวหิน ศูนยสุพรรณบุรี ศูนยนครนายก ศูนยลําปาง และศูนยพิษณุโลก ลดจํานวนศูนยการเรียน

ในกรุงเทพมหานครเหลือเพียง 2 แหง คือ ศูนยระนอง 2 และศูนยรางน้ํา พรอมทั้งจัดการเรียน

Page 10: หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม น าใจ ฯลฯ เพ อพ ฒนาร างกายและจ ตใจของเด

10

การสอนคณะวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี คณะพยาบาลศาสตร และโรงเรียนการเรือน ณ ศูนย

วิทยาศาสตร ถนนสิรินธร ในขณะที่ จัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ณ อาคาร

เฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ (แยกสวนร่ืนฤดี) ถนนสุโขทัย ตอมาในป พ.ศ. 2554

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ไดยุบศูนยพิษณุโลก ทําใหเหลือศูนยการศึกษานอกที่ตั้งเพียง 5 แหง

ไดแก ศูนยตรัง ศูนยหัวหิน ศูนยสุพรรณบุรี ศูนยนครนายก และศูนยลําปาง และมีจํานวน

ศูนยการเรียนในกรุงเทพมหานครจํานวน 2 แหงคงเดิม

นอกจากความมุงม่ันในการพัฒนาความเขมแข็งทางวิชาการแลว มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สวนดุสิต ยังไดสรางเคร่ืองหมายของมหาวิทยาลัยขึ้นใหม 2 แบบ (ออกแบบโดย นายศณะ ผลพันธิน

ที่ปรึกษาโครงการสวนดุสิตกราฟฟคไซต) ลักษณะเปนภาพตัวอักษร (Letter Mark) พยัญชนะ

ภาษาไทย อักษรยอ “มสด” (ยอมาจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต) และพยัญชนะภาษาอังกฤษ

อักษรยอ “SDU” (ยอมาจาก Suan Dusit Rajabhat University) เพ่ือสรางความโดดเดนสะดุดตา

งายตอการจดจํา พรอมทั้งสื่อความหมายถึงภาพลักษณใหมของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

กลาวโดยยอ ยุคสวนดุสิต 4.0 มีระยะเวลารวม 11 ป แตเปนยุคที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สวนดุสิต นําความเขมแข็งที่ไดสั่งสมไวตั้งแตอดีตมากําหนดเปนอัตลักษณเพ่ือการพัฒนาเฉพาะทาง

กลาวคือ อาหาร การศึกษาปฐมวัย อุตสาหกรรมการบริการ และพยาบาลศาสตร อีกทั้ง มหาวิทยาลัย

ไดสรางเค ร่ืองหมายของมหาวิทยาลัยขึ้นใหมจํานวน 2 แบบ เพื่อสื่อสารภาพลักษณใหมของ

มหาวิทยาลัย

ยุคสวนดุสิต 5.0 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (ต้ังแต พ.ศ. 2558 ถึงปจจุบัน) มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสวนดุสิต ไดเปลี่ยนชื่อเปนมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปนมหาวิทยาลัยในกํากับของรัฐตาม

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ. 2558 ลักษณะเดนของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตในยุค 5.0

คือ การจัดการคุณภาพอยางรอบดานเพ่ือใหบรรลุวิสัยทัศนขององคกร โดยรองศาสตราจารย

ดร.ศิโรจน ผลพันธิน อธิการบดีคนปจจุบัน ใหนโยบายวา

“...ปจจุบันรูปแบบของการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น และรวดเร็ว

ตามบริบทของสังคม แนวนโยบายของรัฐ และความเปนโลกาภิวัตน สงผลให

สถาบันการศึกษาตองเปล่ียนแนวคิด วิธีทํา ใหสอดคลองกับการเปลี่ยนแปลง

การนําแนวคิดทางธุรกิจ รวมทั้งหลักการทางเศรษฐศาสตรมาประยุกตใช

ในการบริหารจัดการใหมีบทบาทมากข้ึน เพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ในการดําเนนิงานของสถาบันการศึกษา การพัฒนารูปแบบใหมๆ ทําให

หนวยงานตางๆ ภายในสถาบันตองมีการปรับบทบาทของการทํางานใหมี

การ บูรณาการกันมากข้ึน การใชประสิทธิภาพของบุคลากรใหเต็มศักยภาพและ

สามารถทํางานไดหลากหลายภารกิจเพ่ือตอบสนองกลยุทธในการจัดการของ

องคกร...”

(ศิโรจน ผลพันธิน อางใน สํานักบริหารกลยุทธ, ม.ป.ป., น. 7)

Page 11: หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม น าใจ ฯลฯ เพ อพ ฒนาร างกายและจ ตใจของเด

11

การดําเนินงานของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงมุงเนนการจัดการคุณภาพใน 9 ดาน ไดแก

ดานหลักสูตร ดานนักศึกษา ดานการใชทรัพยากรและงบประมาณ ดานบุคลากร ดานงานวิจัย

ดานสิ่งแวดลอม คูความรวมมือและเครือขาย การจัดการเทคโนโลยีการสื่อสาร และการจัดการ

คุณภาพของกิจการพิเศษ สําหรับการจัดการคุณภาพดานหลักสูตรน้ัน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ดําเนินการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา (ในระดับปริญญาตรี) โดยแบงหลักสูตรออกเปน 2 กลุมหลัก

ดังนี้

1. กลุมหลักสูตรที่เปนอัตลักษณ หมายถึง หลักสูตรการศึกษาที่มหาวิทยาลัยมุงพัฒนา

ความเปนเลิศจากความเชี่ยวชาญตั้งแตอดีตของมหาวิทยาลัย เปนหลักสูตรที่ไดรับการยอมรับและมี

ผูสมัครเขาเรียนเปนจํานวนมาก ทั้งน้ี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตไดปรับเปลี่ยนชื่ออัตลักษณดานพยาบาล

ศาสตร เปนการพยาบาลและสุขภาวะ และแบงหลักสูตรตามอัตลักษณเปน 4 กลุม ดังน้ี

1.1 อัตลักษณดานอาหาร ไดแก หลักสูตรเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ

หลักสูตรเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร หลักสูตรโภชนาการและการประกอบอาหาร และหลักสูตร

คหกรรมศาสตร

1.2 อัตลักษณดานการศึกษาปฐมวัย ไดแก หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

1.3 อัตลักษณดานอุตสาหกรรมการบริการ ไดแก หลักสูตรการจัดการงานบริการ

(หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรการทองเที่ยว หลักสูตรธุรกิจการบิน หลักสูตรธุรกิจการโรงแรม และ

หลักสูตรออกแบบนิทรรศการและการจัดแสดง

1.4 อัตลักษณดานการพยาบาลและสุขภาวะ ไดแก หลักสูตรพยาบาลศาสตร

2. กลุมหลักสูตรที่กําลังสรางความโดดเดนและควบรวม มี 4 กลุมยอย ดังนี้

2.1 กลุมหลักสูตรที่มีความเสี่ยงสูง มีความจําเปนตองปรับปรุงเนื้อหาสาระใหสอดคลอง

กับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป

2.2 กลุมหลักสูตรที่มีการแขงขันสูง เปนหลักสูตรที่สถาบันอุดมศึกษาจํานวนมากจัด

การศึกษา การพัฒนาหลักสูตรในกลุมนี้จึงตองเนนความแตกตาง และความเปนเอกลักษณของ

หลักสูตร ทั้งน้ี มหาวิทยาลัยไดจัดตั้ง โรงเรียนกฎหมายและการเมือง (พ.ศ. 2560) เพื่อพัฒนาความ

เขมแข็งของหลักสูตรที่มีการแขงขันสูง ไดแก หลักสูตรนิติศาสตร รัฐศาสตร และรัฐประศาสนศาสตร

ดวยการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการองคความรู

2.3 กลุมหลักสูตรที่ตองพัฒนาใหทันสมัย เน่ืองจากเปนหลักสูตรที่พัฒนาตอเน่ืองมาเปน

ระยะเวลายาวนานทําใหรายวิชาตางๆ ยังพัฒนาไมทันกับการเปลี่ยนแปลง

2.4 กลุมหลักสูตรที่มีการพัฒนาเฉพาะทาง เปนกลุมหลักสูตรที่ มีการพัฒนาขึ้น

เพ่ือตอบสนองความตองการของตลาดแรงงานเฉพาะทาง (Niches Market)

Page 12: หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม น าใจ ฯลฯ เพ อพ ฒนาร างกายและจ ตใจของเด

12

สําหรับการจัดการคุณภาพดานนักศึกษาน้ัน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เนนการพัฒนา

“ความเปนสวนดุสิต” มุงพัฒนานักศึกษาใหมีภาวะผูนํา ทักษะชีวิต เสริมสรางสมรรถนะสากล

บนพ้ืนฐานความเปนไทย มีคุณธรรมนําความรู มีบุคลิกภาพดี มีความรับผดิชอบตอสังคม เปนพลเมือง

ที่ดีของประเทศและของโลก และสงเสริมทักษะการเรียนรูตลอดชีวิต เพ่ือเสริมสรางความภาคภูมิใจ

ในความเปนนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ตลอดจนเพ่ือความสําเร็จของผูเรียนทั้งในดานการทํางาน

และการดําเนินชีวิตทามกลางความเปลี่ยนแปลงในบริบทของสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและ

เทคโนโลยีในปจจุบัน

นอกจากน้ัน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ไดสรางตรามหาวิทยาลัยขึ้นใหม มี 2 แบบ ดังน้ี

แบบที่ 1 เปนวงรีรูปไข 2 วงซอนกัน วงรีดานนอกใชสีทอง ดานบนมีขอความสีขาวเปน

ภาษาไทยวา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิต” สวนดานลางมีขอความสีขาวเปนภาษาอังกฤษวา “SUAN

DUSIT UNIVERSITY” ใชรูปแบบอักษร SP Suan Dusit คั่นดวยดอกเฟองฟา และดอกขจร ในวงรี

ดานในใชสีฟานํ้าทะเลเปนพ้ืน มีเคร่ืองหมายของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตเปนพยัญชนะภาษาไทยสีขาว

อักษรยอ “มสด” อยูตรงกลาง

แบบที่ 2 เปนวงรีรูปไข 2 วงซอนกัน วงรีดานนอกใชสีทอง ดานบนมีขอความสีขาวเปน

ภาษาไทยวา “มหาวิทยาลัยสวนดุสิต” สวนดานลางมีขอความสีขาวเปนภาษาอังกฤษวา “SUAN

DUSIT UNIVERSITY” ใชรูปแบบอักษร SP Suan Dusit คั่นดวยดอกเฟองฟาและดอกขจร ในวงรี

ดานในใชสีฟาน้ําทะเลเปนพ้ืน มีเคร่ืองหมายของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตเปนพยัญชนะภาษาอังกฤษ

สีขาว อักษรยอ “SDU” อยูตรงกลาง

ตรามหาวิทยาลัยทั้ง 2 แบบ มีความหมายดังน้ี สีทองในวงรีดานนอก หมายถึง ความรุงเรือง

ขอความ “มหาวิทยาลัยสวนดุสิต” และ “SUAN DUSIT UNIVERSITY” เปนรูปแบบอักษร SP Suan

Dusit แสดงถึง ความรูสึกในการสื่อสารรวมสมัย ดอกเฟองฟาและดอกขจร ซ่ึงเปนดอกไมประจํา

มหาวิทยาลัย แสดงถึง ความเฟองฟูของศิลปวิทยาการอันโดดเดนขจรไกล พยัญชนะภาษาไทยอักษร

ยอ “มสด” และภาษาอังกฤษอักษรยอ “SDU” ที่ เกาะเก่ียวกัน หมายถึง ความผูกพันเปนหนึ่ง

เดียวกัน สีฟานํ้าทะเลในวงรีดานใน เปน สีประจํามหาวิทยาลัย

ภาพที่ 6 ตรามหาวิทยาลัยทั้ง 2 แบบ

Page 13: หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม น าใจ ฯลฯ เพ อพ ฒนาร างกายและจ ตใจของเด

13

เกณฑการประเมิน

1. การเขาชั้นเรียน 20%

2. ทดสอบกอนและหลังเรียน 30%

3. กิจกรรมในระหวางชั้นเรียน 50%

คําถามทายบท

1. จงอธิบายลักษณะสําคัญของสวนดุสิตในยุค 1.0

2. จงเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกตางของการพัฒนายุคสวนดุสิต 1.0 และ 3.0

3. จงเปรียบเทียบพัฒนาการในยุคสวนดุสิต 4.0 กับ 5.0

4. จงอธิบายพัฒนาการในดานการอนุบาลศึกษา

5. จงอธิบายพัฒนาการของสวนดุสิตโฮมเบเกอร่ี และสวนดุสิตโพล

เอกสารอางอิง

กองประชาสัมพันธ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (ม.ป.ป.). สวนดุสิตจากอดีตถึงปจจุบัน. กรุงเทพฯ:

ศูนยบริการสื่อและสิ่งพิมพกราฟฟคไซท มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ. (ม.ป.ท.). หนังสือรุน “In Their Early Years ปการศึกษา 2560”.

วิทยาลัยครูสวนดุสิต. (2527). 50 ป วิทยาลัยครูสวนดุสิต พุทธศักราช 2527. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (ม.ป.ท.). วัฒนธรรมสวนดุสิต.

สวนดุสิตโพล. (ม.ป.ท.). 25 ป สวนดุสิตโพล.

สํานักบริหารกลยุทธ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (ม.ป.ป.). การปรับยุทธศาสตรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

กรุงเทพฯ: ศูนยบริการสื่อและสิ่งพิมพกราฟฟคไซท มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

Page 14: หน วยการเรียนรู ที่ 1 ประวัติ ......ความม น าใจ ฯลฯ เพ อพ ฒนาร างกายและจ ตใจของเด

14

เอกสารอานเพิ่มเติม

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (ม.ป.ท.). พระราชวังดุสิต.

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (ม.ป.ท.). สมเด็จพระศรีสวรินทิรา

บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจา.

สวนดุสิตโพล. (2560). ตึกใหญ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. กรุงเทพฯ: ศูนยบริการสื่อและสิ่งพิมพ

กราฟฟคไซท มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ผูเรียบเรียง

ดร.พันธรักษ ผูกพันธุ ผูอํานวยการ สถาบันภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

อาจารยธนัญชย ชัยวุฒิมากร อาจารยประจําหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษา

และการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

-------------------------------------------------------------------