34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 ....

27
34 โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดินิยาม โรคหืดเปนโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทําใหหลอดลมไวตอสิ่งกระตุนผิดปกติ เมื่อเจอสิ่งกระตุนหลอดลมจะหดตัวตีบลงทําใหผูปวยมีอาการไอ หอบหายใจไมอิ่ม และหายใจมี เสียงวี๊ด ซึ่งอาการเหลานี้จะดีขึ้นเอง หรือโดยการรักษา (1) ความสําคัญ โรคหืดเปนโรคที่พบบอย(2) และมีอุบัติการณเพิ่มขึ้นทั่วโลก(3) ประเทศไทยพบอุบัติการณ ของโรคหืดถึง 10-12% ในเด็ก(4, 5) และ 6.9% ในผูใหญ (6) โรคหืดเปนโรคเรื้อรังที่มีผลกระทบตอผูปวยคอนขางสูง จากการสํารวจพบวาผูปวยโรคหืด มากกวาครึ่งไมสามารถทํากิจกรรมไดเชนคนปกติ ผูปวยโรคหืด 21.7% ยังตองเขารับการรักษา ดวยอาการหอบรุนแรงที่หองฉุกเฉินอยางนอยหนึ่งครั้งในระยะเวลาหนึ่งปที่ผานมา และ 14.8 % ตองเขานอนรับการรักษาในโรงพยาบาล (7) จากขอมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบวาจํานวนผูปวยที่เขานอนรับการรักษาใน โรงพยาบาลเนื่องจากโรคหืดก็เพิ่มขึ้นทุกปนับตั้งแต 66,679 คนในป .. 2538 เปน 102,245 คน ในป ..2545 (ตารางที1) และมีผูเสียชิวิตดวยโรคหืด 806 คนในป .. 2540 เพิ่มเปน 1697 คนในป ..2546 (ตารางที2) โรคหืดเพิ่งจะไดรับความสนใจจากแพทยอยางมากเมื่อไมนานมานี้เอง เนื่องจากวามี ผูปวยโรคหืดที่มีอาการหอบรุนแรงจนตองมารับการรักษาที่หองฉุกเฉินหรือเขารับการรักษาใน โรงพยาบาลและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นในหลายๆประเทศ (8-11) ทําใหเกิดมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ โรคหืดเพิ่มขึ้นเปนอยางมาก ยังผลใหมีความรูความเขาใจใหมๆเกี่ยวกับพยาธิกําเนิดของโรคหืด เกิดขึ้นมากในชวงสิบกวาปที่ผานมา ซึ่งมีผลทําใหแนวทางการรักษาโรคหืดในปจจุบันแตกตางจาก ในอดีตโดยสิ ้นเชิง แตความรูใหมๆที่เกิดขึ้นมายังกระจายอยูในวงจํากัดไมไดแพรกระจายไปถึง แพทยทั่วไป ทําใหการรักษาโรคหืดในปจจุบันไดผลยังไมเปนที่นาพอใจ(7) กลไกการเกิดโรค ลักษณะที่สําคัญของโรคหืดคือการที่มีหลอดลมไวตอสิ่งกระตุนผิดปกติ ( airway hyperresponsiveness) โดยหลอดลมของคนไขโรคหืดจะหดตัวงายเมื่อเจอสิ่งกระตุนตางๆ เชน กลิ่นฉุนๆ, ความเย็น, ฝุนละอองฯลฯ และเมื่อหลอดลมหดตัวก็หดมากกวาปกติทําใหคนไขโรคหืด เกิดอาการหายใจลําบากและหายใจมีเสียงวี้ด

Transcript of 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 ....

Page 1: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

34 โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสด์ิ

นิยาม โรคหืดเปนโรคที่มีการอักเสบเร้ือรังของหลอดลม ทาํใหหลอดลมไวตอส่ิงกระตุนผิดปกติ

เมื่อเจอส่ิงกระตุนหลอดลมจะหดตัวตีบลงทําใหผูปวยมอีาการไอ หอบหายใจไมอ่ิม และหายใจมี

เสียงวี๊ด ซึ่งอาการเหลานีจ้ะดีข้ึนเอง หรือโดยการรักษา (1)

ความสําคัญ โรคหืดเปนโรคที่พบบอย(2) และมีอุบัติการณเพิ่มข้ึนทั่วโลก(3) ประเทศไทยพบอุบัติการณ

ของโรคหืดถึง 10-12% ในเด็ก(4, 5) และ 6.9% ในผูใหญ (6)

โรคหืดเปนโรคเร้ือรังที่มีผลกระทบตอผูปวยคอนขางสูง จากการสํารวจพบวาผูปวยโรคหืด

มากกวาคร่ึงไมสามารถทาํกิจกรรมไดเชนคนปกติ ผูปวยโรคหืด 21.7% ยังตองเขารับการรักษา

ดวยอาการหอบรุนแรงทีห่องฉุกเฉินอยางนอยหนึ่งคร้ังในระยะเวลาหน่ึงปที่ผานมา และ 14.8 %

ตองเขานอนรับการรักษาในโรงพยาบาล (7)

จากขอมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบวาจํานวนผูปวยที่เขานอนรับการรักษาใน

โรงพยาบาลเนื่องจากโรคหดืก็เพิ่มข้ึนทุกปนับต้ังแต 66,679 คนในป พ.ศ. 2538 เปน 102,245 คน

ในป พ.ศ.2545 (ตารางที1่) และมีผูเสียชิวติดวยโรคหืด 806 คนในป พ.ศ. 2540 เพิม่เปน 1697

คนในป พ.ศ.2546 (ตารางที2่)

โรคหืดเพิ่งจะไดรับความสนใจจากแพทยอยางมากเมื่อไมนานมานี้เอง เนื่องจากวามี

ผูปวยโรคหืดทีม่ีอาการหอบรุนแรงจนตองมารับการรักษาที่หองฉุกเฉินหรือเขารับการรักษาใน

โรงพยาบาลและเสียชีวิตเพิม่มากข้ึนในหลายๆประเทศ (8-11) ทําใหเกิดมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ

โรคหืดเพิ่มข้ึนเปนอยางมาก ยังผลใหมีความรูความเขาใจใหมๆเกี่ยวกบัพยาธิกาํเนิดของโรคหืด

เกิดข้ึนมากในชวงสิบกวาปที่ผานมา ซึง่มผีลทําใหแนวทางการรักษาโรคหืดในปจจุบันแตกตางจาก

ในอดีตโดยส้ินเชิง แตความรูใหมๆที่เกิดข้ึนมายังกระจายอยูในวงจํากัดไมไดแพรกระจายไปถงึ

แพทยทั่วไป ทาํใหการรักษาโรคหืดในปจจุบันไดผลยังไมเปนทีน่าพอใจ(7)

กลไกการเกิดโรค ลักษณะที่สําคัญของโรคหืดคือการที่มหีลอดลมไวตอส่ิงกระตุนผิดปกติ ( airway

hyperresponsiveness) โดยหลอดลมของคนไขโรคหืดจะหดตัวงายเมื่อเจอส่ิงกระตุนตางๆ เชน

กล่ินฉุนๆ, ความเยน็, ฝุนละอองฯลฯ และเมื่อหลอดลมหดตัวก็หดมากกวาปกติทาํใหคนไขโรคหืด

เกิดอาการหายใจลําบากและหายใจมีเสียงวี้ด

Page 2: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

ความเขาใจในพยาธิกาํเนิดของโรคหืดในปจจุบันเปลี่ยนไปจากในอดีตมาก (รูปที่ 1)

ระยะแรกคือชวงประมาณกอน พ.ศ. 2530 ในชวงนีม้ีความรูวาลักษณะที่สําคัญของโรคหืดคือ

หลอดลมไวผิดปกติตอส่ิงกระตุน (airway hyperresponsiveness) ในสมัยนั้นเช่ือวาสาเหตุของ

หลอดลมไวผิดปกติเกิดจากการทีก่ลามเนือ้ของหลอดลมที่ขนาดและจํานวนมากกวาคนปกติทาํให

มีการหดตวัของหลอดลมไวกวาและมากกวาคนปกติ

ระยะที่สองระหวาง พ.ศ. 2530-2540 มีหลักฐานหลาย ๆ ประการที่สนับสนนุวาแทจริง

แลวหลอดลมไวผิดปกติในคนไขโรคหืดนาจะเกิดจากการอักเสบของหลอดลม(12) และการ

อักเสบของหลอดลมทําใหหลอดลมไวตอส่ิงกระตุนผิดปกติ เมื่อเจอส่ิงกระตุนจะเกิดหลอดลมตีบ

ทั่ว ๆ ไป ทาํใหผูปวยเกิดอาการไอ หอบ หายใจมีเสียงวีด้ ซึ่งเราเรียกวาจับหืด (asthmatic attack)

นอกจากนีก้ารอักเสบของหลอดลมยังทาํใหเกิดอาการของโรคหืดโดยตรง เชน ไอ แนนหนาอกอีก

ดวย

ระยะที่สามระหวาง พ.ศ. 2540 ถงึปจจุบนั พบวาการอักเสบของหลอดลมที่เกิดข้ึนเปน

เวลานานอาจจะทาํใหเกิดการเปล่ียนแปลงของหลอดลมอยางถาวรทัง้รูปรางและการทํางานที่

เรียกวา airway remodeling(13) (14) ซึ่งการที่ม ี airway remodeling จะทาํใหสมรรถภาพปอด

คนไขโรคหืดตํ่ากวาปกติ และมีหลอดลมไวตอส่ิงกระตุนอยางถาวร

ลักษณะทางคลินิค

โรคหืดเปนโรคที่พบไดใน ทกุเพศ ทุกวัย แตสวนมากมกัจะเร่ิมมีอาการต้ังแตเด็ก อาการ

ของโรคหืดคือ อาการไอ หายใจไมอ่ิม หายใจมีเสียงวี๊ด เปนๆหายๆ ลักษณะที่สําคัญของโรคหืดคือ

มักจะมีอาการมากในเวลากลางคืน บางคร้ังผูปวยโรคหดือาจจะมีอาการไอเร้ือรังเพียงอยางเดียว

โดยไมมีอาการหอบก็ได

เนื่องจากคนไขโรคหืดมีหลอดลมที่ไวตอส่ิงกระตุนผิดปรกติดังนัน้เวลาที่เจอสิง่กระตุนจะ

เกิดอาการที่เรียกวาจับหืด ส่ิงทีก่ระตุนใหผูปวยหอบไดแก

1. สารภูมิแพ ที่สําคัญไดแก ไรผุน เกสรดอกไม แมลงสาบ รา รังแคของสุนัขและ

แมว สารภูมิแพเหลานีท้าํใหเกิดอาการหอบผานทาง type 1 hypersensitivity

กลาวคือเมื่อผูปวยที่แพสารภูมิแพสูดดมเอาสารภูมิแพเขาไป สารภูมแิพจะจับกับ

IgE บน mast cells ทําใหเกดิการหล่ัง mediators เชน histamine, bradykinin

leukotrienes, platelet-activating factor, prostaglandins และ thromboxane

A2 ซึ่งทําใหเกดิ หลอดลมตีบ หลอดลมบวมและมีการค่ังของเลือด (vascular

congestion) ที่เรียกวา acute asthmatic response นอกจากนี ้leukotrienes

ยังมฤีทธิ์ดึงเซลลอักเสบ ที่สําคัญคือ eosinophils มาชมุนุมในหลอดลมยังผลให

Page 3: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

เกิดการอักเสบเพิ่มข้ึน มีความไวของหลอดลมเพิ่มข้ึนและเกิด late asthmatic

response ดังนั้นการสัมผัสกับสารภูมิแพนอกจากจะทาํใหผูปวยหอบแลวยังทํา

ใหโรคหืดเปนมากข้ึนดวย ในการรักษาโรคหืดจึงจําเปนที่จะตองหลีกเล่ียงการ

สัมผัสกับสารภูมิแพดวย

2. การออกกาํลังกาย การออกกําลังกายทาํใหผูปวยโรคหืดจํานวนหนึ่งหอบได กลไก

ที่การออกกําลังกายกระตุนใหหอบจะเกีย่วของกับสูญเสียความรอน หรือสูญเสีย

น้ําในหลอดลม ดังนั้นการออกกําลังกายในที่แหง อากาศเย็นจะทําใหหอบไดงาย

กวาการ ออกกําลังกายในทีอ่ากาศอุน และความชืน้สูง แตการออกกําลังกายจะ

ตางกับการสัมผัสสารภูมิแพที่การออกกําลังกายไมทาํใหเกิดการอักเสบของ

หลอดลมเพิม่ข้ึนและไมทําใหความไวของหลอดลมเพิม่ข้ึน

3. การติดเช้ือทางเดินหายใจสวนบน การติดเช้ือทางเดินหายใจเปนสาเหตุสําคัญที่

ทําใหโรคหืดกาํเริบ สวนมากเกิดจากการติดเช้ือไวรัส ซึ่งการติดเช้ือไวรัสพบวา

สามารถทําใหหลอดลมไวตอส่ิงกระตุนเพิม่ข้ึนไดนานถึง 6 สัปดาห

4. ยา ยาที่สําคัญที่กระตุนใหผุปวยหอบไดแก aspirin beta-adrenergic

antagonist สารกันเสียเชน metabisulfite สีผสมอาหาร เชน tartrazine

5. ความเครียด ทําใหโรคหืดเลวลงได

การวินิจฉัยโรค การวนิิจฉัยโรคหืด อาศัย การซักประวัติ ตรวจรางกาย และตรวจทางหองปฏิบัติการ

ประวัติ การวนิิจฉัยโรคหืดสวนใหญสามารถวินจิไดโดย อาศัยประวัติ ที่มีอาการไอ หอบ หายใจมี

เสียงหวีด ซึ่งจะเปนๆ หายๆ บางคร้ังผูปวยจะสามารถบอกถึงส่ิงกระตุนที่ทาํใหเกิดอาการได

ชัดเจนดวย เชนมีอาการหลังจากเจอฝุนละออง เวลาที่ไมมีอาการก็จะเหมือนคนปกติทกุประการ

ลักษณะที่สําคัญอีกอยางหนึ่งของโรคหืดคือมักมีอาการเวลากลางคืน

บางคร้ังผูปวยอาจจะมีอาการไอเรื้อรัง เพียงอยางเดียวก็ได โดยเฉพาะอยางยิ่งอาการไอ

หลังเปนไขหวดั

ประวัติโรคภูมิแพ ประวัติการเจ็บปวยในครอบครัวที่เปนโรคหืดก็จะชวยสนับสนุนการ

วินิจฉัยโรคหืด

จากประวัติจะตองวินิจฉัยแยกโรค COPD, upper airway obstruction หลอดลมโปงพอง

และ congestive heart failure ที่อาจมีอาการหอบเหนื่อยคลายโรคหืดได การตรวจรางกาย

Page 4: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

การตรวจรางกายจะชวยในการวนิิจฉัย บอกความรุนแรงของโรค และชวยในการวินจิฉัย

แยกโรคที่มีอาการคลายๆ กบัโรคหืดได ในขณะที่ผูปวยกาํลังหอบ การตรวจรางกายก็จะพบการใช

accessory muscle ในการหายใจ ฟงไดยินเสียง wheeze หรือ rhonchi ที่ปอดทัง้ 2 ขาง ในรายที่

เปนหืดข้ันรุนแรงต้ังแตเด็ก กอ็าจตรวจพบวาผิดปกติของทรวงอกได อยางไรก็ดีถาผูปวยไมมี

อาการหอบ การตรวจรางกายก็จะไมพบอะไรผิดปกติเลยก็ได การตรวจทางหองปฎิบัติการทีจ่ะชวยสนับสนุนการวินิจฉัยไดแก

การที่จะใหการวินิจฉัยที่แนนอนก็คือการตรวจยืนยนัวามีการอุดกล้ันทางเดินหายใจที่

รักษาใหดีข้ึนไดโดยการใหยาขยายหลอดลม หรือตรวจพบวาหลอดลมไวตอส่ิงกระตุนผิดปกติ

1. การตรวจสไปโรเมตรี(spirometry) เพื่อตรวจหาวามีการอุดกล้ันทางเดินหายใจหรือไม

ถาพบวามีการอุดกล้ันทางเดินหายใจ คือมีคา FEV1 ตํ่าและ FEV1 /FVC < 70%

แลวตอบสนองตอการใหยาขยายหลอดลม โดยที่คาFEV1 ดีข้ึนมากกวาเดิม12%(15)

ก็สามารถใหการวินิจฉัยโรคหืดได

2. ในกรณีที่ไมม ีสไปโรเมตรี อาจจะใชเคร่ืองวัดความเร็วสูงสุดของลมทีเ่ปาออก (Peak

flow meter) ซึ่งมีราคาถูก วดัความเร็วสูงสุดของลมที่เปาออกก็ได(Peak Expiratory

Flow Rate, PEFR) คา PEFR จะตํ่าเมื่อมกีารอุดกล้ันทางเดินหายใจ ถาพนยาขยาย

หลอดลมแลวคา PEFR เพิ่มข้ึนมากกวาเดิม 15% ก็วนิิจฉัยโรคหืดได(3)

3. การวัดความผันผวนของคา PEFR โดยใชเคร่ืองวัดความเร็วของลมสูงสุด (peak flow

meter) โดยใหผูปวยวัดคา PEFR เชา เยน็ แลวคํานวณคาความผันผวนโดย

คาความผันผวน = (PEFR สูงสุด – PEFR ตํ่าสุด) X 100

½( PEFRสูงสุด + PEFR ตํ่าสุด)

ถาวัดความผันผวนของคา PEFR ไดมากกวา 20% ถือวาเปนโรคหืด

การวัดความผันผวนของคา PEFR สามารถวัดไดอีกวิธหีนึ่งคือ การวัดคา PEFR ที่ตํ่า

ที่สุดในตอนเชาคิดเปนเปอเซ็นตของคา PEFR ที่ดีที่สุดของคนไข (Min % Max) ซึ่งวิธีนีจ้ะ

วัดคา PEFR วันละคร้ังตอนเชาและคํานวณงายกวาวิธแีรก(16)

4. การวัดความไวของหลอดลมตอส่ิงกระตุน

ถาผูปวยไมมอีาการหอบ การตรวจสมรรถภาพปอดอาจจะไมพบวามีการอุดกัน้ทางเดิน

หายใจได ในรายเชนนีก้็อาจทํา Bronchial provocation test ดวย histamine หรือ methacholine

(17) เพื่อทดสอบความไวของหลอดลมก็จะใหการวินจิฉัยได การวัดระดับความไวของหลอดลมวัด

ไดงายๆ โดยการตรวจสมรรถภาพปอดของผูปวย โดยใชเคร่ือง spirometer ซึ่งวัดคา FEV1เสร็จ

แลวใหผูปวยสูดหายใจเอาสารกระตุน เชน histamine หรือ methacholine เขาไป แลววัดคา FEV1

ซ้ํา คอยๆ เพิ่มความเขมขนของ histamine หรือ methacholine จนกระทั่ง FEV1ลดลง 20% จาก

Page 5: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

Baseline เมื่อนําคาสมรรถภาพปอดที่ลดลง และขนาดของ histamine หรือ methacholine ที่ใช

มา plot กราฟก็จะได Dose response curve ของ histamine หรือ methacholine (รูปที่ 2) ขนาด

ของ Methacholine ที่ทาํให FEV1 ลดลง 20% เราเรียกวา PD20 (Provocative dose) จะใชแสดง

ถึงระดับความไวของหลอดลม ถา PD20 ตํ่าๆ หมายความวาใช methacholine เพียงเล็กนอย กท็ํา

ให FEV1 ลดลง 20% แสดงวาหลอดลมไวมาก แตถา PD20 มากๆ กห็มายความวาหลอดลมไมไว

เปนตน คา PD20 นอยกวา 4 μmol แสดงวาเปนโรคหดื(18)

ส่ิงที่ตองเขาใจเกี่ยวกับการทํา Bronchial Provocation test คือ BHR พบไดในคนไขโรค

หืดแทบทกุคนที่มีอาการ แตก็ไม specific สําหรับโรคหืด เพราะอาจพบไดในคนไข Rhinitis,

Atopic ซึ่งไมมีอาการหอบเลยก็ได แตการทํา Bronchial provocation test มีประโยชนมากในการ

ติดตามการรักษา เพราะวาภาพหลังการรักษาอาการผูปวยจะหายไปเร็วมาก และสมรรถภาพปอด

ก็กลับมาปกติเร็ว แต BHR จะกลับคืนปกติชากวามาก

ระดับความไวของหลอดลมจะบงบอกความรุนแรงของโรคหืดได โดยจะพบวาระดับความ

ไวของหลอดลมจะมีความสัมพันธกับอาการของผูปวย ความตองการยาในการรักษาอาการ และ

คาความผันผวนของ PEFR การวัดความไวของหลอดลมนอกจากจะใชในการวินิจฉัยโรคหืดแลว

ยังใชในการประเมินความรุนแรงของโรค และใชในการติดตามผลการรักษาดวยซ่ึงใหผลดีกวาการ

ใชตรวจสมรรถภาพปอด FEV1 หรือ PEFR รวมกับอาการในการติดตามผลการรักษา (19)

การดูแลรักษา การปองกัน และการควบคุมโรค แนวทางการรักษาโรคหืดในปจจุบันเปลีย่นไปจากในอดีตมาก วิวฒันาการของการรักษา

โรคหืดอาจแบงเปน 3 ชวงระยะตามความเชื่อและความเขาใจในพยาธกิําเนิดของโรคหืด

ระยะแรกคือชวงประมาณกอน พ.ศ. 2530 ในชวงนีม้ีความรูวาลักษณะที่สําคัญของโรค

หืดคือ หลอดลมไวผิดปกติตอส่ิงกระตุน (airway hperresponsiveness) คือหลอดลมของคนไข

โรคหืดจะหดตัวงายเมื่อเจอส่ิงกระตุนตางๆ เชน กล่ินฉุนๆ, ความเยน็, ฯลฯ และเม่ือหลอดลมหด

ตัวก็หดมากกวาปกติทําใหคนไขโรคหืดเกิดอาการหายใจลําบากและหายใจมีเสียงวี้ด เนื่องจากวา

ในสมัยนั้นยังไมทราบวาสาเหตุของหลอดลมไวผิดปกติเกิดจากอะไรกนัแน การรักษาโรคหืดใน

สมัยนี้จงึมุงไปที่การรักษาหลอดลมหดตัวโดยใชยาระงับการหดตัวของกลามเนื้อหลอดลมเปนหลัก

(20) ไดแกยาในกลุม B2-agonists ดังนัน้จึงมีการใชยา B2-agonists กันอยางแพรหลายในชวงนี ้

ระยะที่สองระหวาง พ.ศ. 2530-2540 เมื่อมีหลักฐานหลาย ๆ ประการที่สนับสนนุวา

แทจริงแลวหลอดลมไวผิดปกติในคนไขโรคหืดนาจะเกิดจากการอักเสบของหลอดลม(12) และการ

อักเสบของหลอดลมทําใหหลอดลมไวตอส่ิงกระตุนผิดปกติ เมื่อเจอสิ่งกระตุนจะเกิดหลอดลมตีบ

ทั่ว ๆ ไป ทาํใหผูปวยเกิดอาการไอ หอบ หายใจมีเสียงวีด้ ซึ่งเราเรียกวาจับหืด (asthmatic attack)

นอกจากนีก้ารอักเสบของหลอดลมยังทาํใหเกิดอาการของโรคหืดโดยตรง เชน ไอ แนนหนาอกอีก

Page 6: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

ดวย ดังนัน้การรักษาโรคหืดก็เลยเปลี่ยนจากการใหยาขยายหลอดลมเปนหลักเปนไปใหยารักษา

หลอดลมอักเสบเร้ือรังเปนหลักโดยใชยาที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบเชน ยาพนสเตอรรอยด(inhaled

steroids) แทนการใชยาขยายหลอดลม และพยายามหลีกเล่ียงการใชยาขยายหลอดลมโดยจะใช

ยาขยายหลอดลมเฉพาะเวลามีอาการหอบเทานัน้ เมื่อการอักเสบลดลงความไวของหลอดลมก็จะ

ลดลงดวยทําใหผูปวยโรคหืดไมหอบเมื่อเจอสิ่งกระตุน ดังนัน้ inhaled corticosteroids ถีอวาเปน

ยาหลักที่ใชในการรักษาโรคหืด

ระยะที่สามระหวาง พ.ศ. 2540 ถงึปจจุบนั พบวาการอักเสบของหลอดลมที่เกิดข้ึนเปน

เวลานานอาจจะทาํใหเกิดการเปล่ียนแปลงของหลอดลมอยางถาวรทัง้รูปรางและการทํางานที่

เรียกวา airway remodeling(13) (14) ซึ่งการที่ม ี airway remodeling จะทาํใหสมรรถภาพปอด

คนไขโรคหืดตํ่ากวาปกติ และมีหลอดลมไวตอส่ิงกระตุนอยางถาวร หลักการในการรักษาในชวงนี้

คือการพยายามปองกนัไมใหเกิด airway remodeling โดยเชื่อวาการใหการรักษาโรคหืดแตเนิ่นๆ

จะปองกนัการเกิด airway remodelingได แตเมื่อเกิด airway remodeling แลวการใชยาทีม่ีฤทธิ์

ลดการอักเสบเชน ยาพนสเตอรรอยด(inhaled steroids) อยางเดียวจึงไมสามารถควบคุมอาการ

โรคหืดได การใชยาขยายหลอดลมรวมกับรวมกับยาพนสเตอรรอยด จะไดผลดีกวาการใชยาพน

สเตอรรอยดอยางเดียว (21, 22)และยังทาํใหสามารถลดขนาดยาพนสเตอรรอยดไดดวย(23)

เนื่องจากมกีารเปล่ียนแปลงแนวทางการรักษาโรคหืดเปนอยางมากในชวงระยะเวลาสั้นๆ

ทําใหแพทยรักษาโรคหืดไมเปนไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อใหการรักษาโรคหืดไดผลดีข้ึนและมี

มาตรฐานเดียวกันองคการอนามัยโลก(WHO) รวมกบั National Heart Lung and Blood Institute

(NHLBI) ของอเมริกาจึงไดรวมกนัเขียนแนวทางการรักษาโรคหืดข้ึน และเรียกวา Global Initiative

for Asthma (GINA)(1) ซึ่งประสบความสําเร็จเปนอยางมาก เพราะมีหลายประเทศที่ไดนําเอา

GINA guidelinesไปเปนแนวทางในการทาํแนวทางการรักษาโรคหืดของตนเองรวมทั้งประเทศไทย

ดวย

เนื่องจากวามกีารศึกษาวิจยัใหมๆออกมาทําใหมีความรูเพิ่มข้ึนทําให แนวทางการรักษา

โรคหืดมีการปรับปรุง ใหมในป พ.ศ. 2545 (Global Initiative for Asthma (GINA) 2002)(3) ใน

ประเทศไทยไดมีการจัดทาํแนวทางการรักษาโรคหืดข้ึนคร้ังแรกในป พ.ศ. 2537 โดยความรวมมอื

ของสมามอุรเวชช สมาคมโรคภูมิแพและอิมมูโนวิทยา และชมรมโรคหอบหืด(24) และมีการ

ปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2540 (25) และคร้ังหลังสุดในป พ.ศ. 2547(26) เปาหมายของการรกัษา

โรคหืดเปนโรคที่ยังรักษาใหหายขาดยังไมได แตสามารถควบคุมโรคได ซึ่งหมายความวา

ผูปวยควรจะมอีาการทั้งกลางวันและกลางคืนนอยมากหรือไมมีเลย ไมตองไปโรงพยาบาลเพราะ

หอบรุนแรงเฉียบพลัน ไมตองใชยาขยายหลอดลมหรือใชยาขยายหลอดลมนอยมาก มีสมรรถภาพ

Page 7: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

ปอดที่ปกติ โดยที่ไมมีอาการชางเคียงจากการรักษา จะเห็นวาเปาหมายในการรักษาในปจจุบันจะ

สูงกวาในอดีตเพราะเรามีความรูเกี่ยวกับโรคหืดมากข้ึน ยาที่ใชในการรักษาโรคหืดในปจจุบัน

ยาที่ใชในการรักษาโรคหืด ในปจจุบันแบงไดงาย ๆ เปน 2 กลุมดวยกนัคือยาขยาย

หลอดลมหรือยาบรรเทาอาการ และยาระงับการอักเสบ

1.ยาขยายหลอดลม คือยาทีท่ําใหกลามเนื้อหลอดลมคลายตัวและทําใหหลอดลม

ขยายตัว ไมมผีลในการลดการอักเสบของหลอดลม ยาในกลุมนี้ ไดแก

1.1 Beta-adrenergic agonists เปนยาขยายหลอดลมที่ดีที่สุด ยาในกลุมนี้ออกฤทธิ์

โดยการจับกับ β2 receptor บนกลามเนื้อหลอดลมและทําให cAMP สูงข้ึน ยงัผลให

กลามเนื้อคลายตัว นอกจากนี้ยาในกลุมนีย้ังมฤีทธิย์ับยัง้การหล่ังสารของ mast cells และทําให

mucocilliary clearance ดีข้ึนดวย ยาที่ใชแพรหลายในปจจุบันจะเปน β2 specific agonist

ทําใหมีผลขางเคียงจากการกระตุน β1 receptor นอย ยาในกลุมนี้แบงเปนสองกลุมตาม

ระยะเวลาที่ออกฤทธ์ิ

กลุมที1่) short-acting β2-agonists (SABA) คือกลุมทีอ่อกฤทธิเ์ร็วและออกฤทธ์ิระยะส้ัน

ยาเหลานี ้ มีฤทธิ์ 4-6 ชั่วโมง เชน salbutamol, terbutaline, procaterol และ fenoterol ยากลุม

นี้เปนยาทีน่ิยมใชที่สุดเพื่อบรรเทาอาการหอบ เพราะออกฤทธ์ิเร็วและขยายหลอดลมไดดีที่สุด

กลุมที2่ ) long-acting β2-agonists (LABA) ยากลุมนี้ออกฤทธิ์อยูนานมากกวา 12

ชั่วโมง ไดแก formoterol และ salmeterol (27, 28)

ยากลุมนี้เมื่อใชรวมกับ inhaled corticosteroids จะไดผลดีกวาการใช การใช inhaled

corticosteroids ขนาดสูงเด่ียวๆ จึงไดมีการเอายาinhaled corticosteroids มารวมกับ LABA ใน

หลอดเดียวกนั เชน fluticasone/salmeterol และ budesonide / formoterol ทําใหสะดวกในการ

ใชมากข้ึน

1.2 Anticholinergic ยาในกลุมนี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทาํงานของ cholinergic

nervous system ที่ระดับ cholinergic receptor ทําใหหลอดลมขยายตัว ยาในกลุมนี้ทีม่ีใชคือ

Ipratropium bromide ยาในกลุมนีอ้อกฤทธิช์าและฤทธ์ิในการขยายหลอดลมจะสู β-agonist

ไมได(29) แตเมื่อใชรวมกับ β-agonist ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพของ β-agonist

1.3 Theophylline ยาในกลุมนี้มีใชแพรหลายมานาน แตกลไกการออกฤทธิ์ขยาย

หลอดลมยังไมทราบชัด ยาในกลุมนี้ม ี 2 ชนิดคือ ชนดิเม็ดธรรมดา (plain tablet) และชนิดออก

ฤทธิน์าน (sustained release) ปจจุบันความนิยม theophylline ลดลงมาก(30) เพราะวาฤทธิ์

ในการขยายหลอดลมจะสูกลุม β-agonist ไมได และยังมี toxic-therapeutic ratio แคบ ทําให

Page 8: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

ยุงยากในการเจาะวัดระดับยาในเลือด อยางไรก็ตามยังมีแพทยสวนหนึ่งนิยมใช theophylline

อยูและมีหลักฐานวาการใช theophylline รวมกับ inhaled corticosteroids จะทําใหลดขนาด

ของ inhaled corticosteroids ได(31)

2. ยาระงับการอักเสบ (Anti-inflammatory) ไดแก ยาทีม่ีฤทธิ์ในการระงับการอักเสบ

ของหลอดลม ยาในกลุมนี้ไดแก

2.1 Corticosteroids เปนยาท่ีมีประสิทธภิาพสูงสุดในการรักษาการอักเสบของหลอดลม

โดย corticosteroids ออกฤทธิย์ับยัง้การอักเสบแทบทกุข้ันตอน เชน ขัดขวางการหล่ังสาร

mediators โดยยับยั้ง arachidonic acid metabolism, ลดจํานวนเซลลอักเสบ เชน

eosinophils, neutrophils และ lymphocytes ไมใหมาชุมนมุกนั ลด vascular permeability

และที่สําคัญคือลดการสราง cytokines เชน IL-1, IL-2, IL-3, IL-5 ซึ่งสารเหลานี้มีความสําคัญ

มากในการทําใหเกิดหลอดลมอักเสบในโรคหืด Corticosteroids มีประสิทธิภาพสูงในการรักษา

โรคหืด แตการกิน corticosteroids เปนเวลานานก็จะมีอาการขางเคียงที่รายแรง เชนกระดูกผุ

อวน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และทีสํ่าคัญที่สุดคือการกดการทาํงานของตอมหมวกไต การ

คนพบ inhaled corticosteroids ในป ค.ศ. 1972 นบัวาเปนกาวทีสํ่าคัญในการรักษาโรคหืด

เนื่องจากสามารถลดผลเสียที่จะเกิดจาการกิน Corticosteroids ได ปจจุบันม ี inhaled

corticosteroids ในทองตลาด 3 ชนิด ไดแก Beclomethasone dipropionate, budesonide,

fluticasone propionate ประสิทธิภาพของ inhaled corticosteroids ข้ึนอยูขนาดของยาท่ีใช

ขนาดที่ใชแบงเปน ขนาดตํ่า (< 500 microgram /วัน ) ปานกลาง (500-1000 microgram /วัน )

และขนาดสูง (> 1000 microgram /วัน ) ยา inhaled corticosteroids ถือวาเปนยาหลักในการ

รักษาโรคหืด

2.2 Cromolyn sodium ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการหล่ัง mediators ของ mast cells

และอาจออกฤทธ์ิโดยการ block sensory nerve ending ดวย เปนยาที่คอนขางจะปราศจาก

ผลขางเคียง แตประสิทธภิาพในการลดความไวของหลอดลมจะสู inhaled corticosteroids

ไมได ยานี้มีใชในรูปยาพนขนาดที่คือ 20-80 mg/day

2.3 Oral antiallergic compounds เชน Ketotifen ซึ่งเปนยาแกแพ และมีผลในการ

ยับยั้งการหล่ัง Mediator จาก Mast cell ดวย ยานี้เปนทีน่ิยมใชมากในประเทศไทยโดยกุมาร

แพทย ขนาดที่ใชคือ 2 mg/วนั ในผูใหญ และ 1 mg/วัน ในเด็ก โดยพบวาการใชยา Ketotifen

สามารถลดอาการหอบ และการใชยาขยายหลอดลมได(32) แตไมมีหลักฐานชัดเจนวายานี้

สามารถลดการอักเสบและความไวของหลอดลมในคนไขโรคหืด อาการขางงเคียงของ Ketotifen

คืองวงมาก และน้ําหนักข้ึน

Page 9: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

2.4 Leukotriene modifiers(33) เนื่องจากวา leukotriene เปนสาร Mediators ที่หล่ัง

ออกมาจาก mast cells, eosinophils และ basophils และมีฤทธิ์ทําใหกลามเนื้อหดตัว, เพิม่

vascular permeability และชักนาํเซลลอักเสบมาชมุนุมในหลอดลม ดังนัน้การยับยั้งการทํางาน

ของ leukotriene จึงทําใหโรคหืดดีข้ึน ในประเทศไทยมี leukotriene modifiers 2 ตัว วาง

จําหนายไดแก Zafirlukast (acclolate) และ montelukast (Singulair)

2.5 Anti-IgE เปนยาที่ออกมาใหมในทองตลาด เนื่องจากวาปฏิกิริยาระหวาง IgE ที่อยู

บน mast cells กับ antigen ทําใหเกิดการหล่ังของ mediators ตางๆ ซึ่งทาํใหเกิด การหดตัวของ

หลอดลม การชักนาํเซลอักเสบมาสูหลอดลม อันจะทําใหโรคหืดเลวลง การให Anti-IgE จะจับกบั

IgE ในกระแสเลือดทําให มี IgE ที่อิสระลดลง ซึ่งยังผลใหปฏิกกิริยาระหวาง antigen และ IgE

ลดลง ทําใหโรคหืดดีข้ึนได เนื่องจากยามีราคาแพงจึงใชในรายที่ใหยาอ่ืนเต็มที่แลวยังควบคุมโรค

หืดไมได ขั้นตอนในการดูแลรกัษาผูปวยโรคหืด

เพื่อใหบรรลุเปาหมาย แนวทางในการรักษาโรคหืดบอกวาจะตองใหการดูแลรักษาผูปวย

โรคหืดดังตอไปนี(้1, 26)

1. ใหความรูแกผูปวยและญาติเกี่ยวกับโรคหดืและยารักษาเพื่อใหเกิดความรวมมือในการรักษา ส่ิงสําคัญที่ควรจะสอนผูปวยกคื็อสอนใหผูปวยเขาใจวาโรคหืดเปนโรคทีม่ี

การอักเสบของหลอดลม ทาํใหหลอดลมไว เมื่อเจอส่ิงกระตุนหลอดลมจึงตีบ ดังนัน้

การรักษาโรคหืดไมใชการรักษาหลอดลมตีบแตเปนการรักษาหลอดลมอักเสบซึ่งตอง

ใชเวลาในการรักษานานแมวาอาการอาจจะไมมีแลวก็ตาม ซึ่งการที่ผูปวยเขาใจเร่ือง

โรคไดดีก็จะชวยใหผูปวยรวมมือในการรักษาดีข้ึน

2. หลีกเล่ียงจากสิ่งกระตุนทีท่ําใหเกิดอาการหอบ โดยทัว่ๆ ไปสิ่งกระตุนใหหอบมี

มากมายหลายชนิด แตอาจแยกไดวาเปนสิ่งกระตุนใหเกิดหลอดลมตีบเฉยๆ (inciter)

เชนการออกกาํลังกาย, การเจอความเย็น, การหวัเราะ เปนส่ิงกระตุนใหเกิดหลอดลม

หดตัวกับส่ิงกระตุนใหเกิดหลอดลมตีบ รวมกับการอักเสบในหลอดลม (Inducer) เชน

สารภูมิแพ, ฝุนบาน, ไรบาน ส่ิงสําคัญที่ผูปวยตองหลีกเล่ียงคือส่ิงกระตุนใหเกิดการ

อักเสบในหลอดลม สวนส่ิงกระตุนใหหลอดลมตีบไมคอยสําคัญนกั เพราะเม่ือเรา

รักษาโรคใหหลอดลมไมไวตอส่ิงกระตุน ผูปวยก็จะไมเกดิอาการเมื่อเจอส่ิงกระตุน

เหลานี ้

3. จําแนกความรุนแรงของโรคหืดเพื่อจัดยารักษาตามความรนรง ซึง่ความรุนแรงของโรคหืดสามารถแบงออกเปน 4 ข้ัน โดยอาศัยความถีห่างของอาการหอบ สมรรถภาพ

ปอด(FEV1 หรือ PEFR) คาความผันผวนของPEFR (ตารางที่ 3)

Page 10: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

4. การจัดยารักษาตามความรุนแรงของโรค หลักการของการใหยารักษาโรคหืดคือการใช

ยาใหนอยที่สุดที่พอจะควบคุมโรคได ดังนัน้การใชยาจะมากหรือนอยก็ข้ึนกับความ

รุนแรงของโรค ถาโรครุนแรงมากกจ็ะตองใชยามากเปนตน การใหยารักษาจะเปน

แบบคอยๆใหยาจากข้ันตํ่าแลวคอยๆเพิ่มเปนข้ันสูงเมื่อไมไดผล (step up approach)

หรึอจะเร่ิมทีย่าข้ันที่สูงแลวคอยๆลดยามาเปนข้ันที่ตํ่าลงเมื่ออาการดีข้ึนและควบคุม

อาการได (step down approach)ก็ได การใหยาอาจแบงเปนข้ันๆไดเปน 4 ข้ันไดแก

4.1 การรักษาข้ันที ่1 สําหรับคนไขที่มีอาการนานนานคร้ัง (Intermittent) จะให

b2- agonist ที่มีฤทธิ์ส้ัน ชนิดรับประทาน หรือชนิดสูด ก็ได

4.2 การรักษาข้ันที ่2 สําหรับคนไขที่มีอาการนอย (mild persistent) จะให

Inhaled corticosteroids ขนาดตํ่า (beclomethasone หรือ budesonide

200-800 μg/d หรือ fluticasone 100-400 μg/d) รวมกับb2- agonist ที่มี

ฤทธิ์ส้ันเม่ือมอีาการ

4.3 การรักษาข้ันที ่3 สําหรับคนไขที่มีอาการปานกลาง(Moderate persistent) มี

ทางเลีอก4 ทางคือ 1)จะใหInhaled corticosteroids ขนาดตํ่ารวมกับใหยา

long acting b2-agonists เชน salmeterolหรือ formoterol 2) จะใหInhaled

corticosteroids ขนาดตํ่ารวมกับให sustained release theophylline ซึ่งมี

ราคาถูกที่สุด 3)ใหInhaled corticosteroids ขนาดสูง(beclomethasone

หรือ budesonide 800-1600 μg/d และ fluticasone 400-800 μg/d) 4)

inhaled corticosteroids รวมกับ leukotriene modifiers ทางเลือกที1่ ให

ผลดีที่สุด(21, 22) สวนทางเลือกที่ 2 จะมีราคาถกูกวา ทางเลีอกที4่ แพงที่สุด

4.4 การรักษาข้ันที ่4 สําหรับคนไขที่มีอาการหนัก (severe persistent) ให

Inhaled corticosteroids ขนาดสูง (beclomethasone หรือ budesonide

1600-2000 μg/d และ fluticasone 800-1000 μg/d ) รวมกับยาตัวอ่ืนๆ

เชน long acting b2-agonists, sustained release theophylline,

ipratropium, และถายงัคุมอาการไมไดก็ให prednisolone ชนิดรับประทาน

ถายงัไมสามารถควบคุมโรคหืดไดก็อาจพจิารณาให anti-IgE

เมื่อควบคุมโรคหืดไดดีแลวก็สามารถปรับลดขนาดของการรักษาลงอยางชาๆ ทุก

3 เดือนโดยการลดยาที่ใหรวมกับ inhaled corticosteroids ออกกอน แลวคอย

ลดขนาดของ inhaled corticosteroids

5. จัดแผนการรักษาเผ่ือเวลาโรคกําเริบ เนือ่งจากลักษณะของโรคหืดเปนๆ หายๆ ดังนัน้

เราจึงจาํเปนตองวางแผนใหผูปวยดูแลตัวเองไดเมื่อโรคกําเริบข้ึนโดยการใหผูปวยวัดคา PEFR ที่

Page 11: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

บาน เมื่อคา PEFR ลดลงพรอมกับมีอาการเพิ่มข้ึน ผูปวยควรรูจักเพิม่การรักษาไดเอง หรือติดตอ

แพทยทนัท ีซึ่งวิธีนีจ้ะชวยปองกัน acute severe asthma ได ทําใหผูปวยไมตองมาทีห่องฉุกเฉิน

ตัวอยางของแผนการรักษาเผ่ือเวลาโรคกาํเริบ

ผูปวยมีคา PEFR สูงสุดที่ทาํไดคือ 560 L/minถา PEFR > 500 ก็ใหคงยาเดิม ถา PEFR <

450 ใหพนยาขยายหลอดลมเพิ่มข้ึนพรอมทั้งเพิ่มยา inhaled corticosteroids ถา PEFR < 390

ใหกินยา prednisolone 2 X 3 เปนเวลา 5 วัน ถาอาการไมดีข้ึนใหติดตอพบแพทยดวน

6.ใหการดูแลรักษาตอเนื่องควรนัดผูปวยมาพบแพทยสม่าํเสมอเพื่อดูเทคนิคการใชยา

อาการขางเคียงจากยา, ตรวจสมรรถภาพปอด การรกัษาภาวะรุนแรงเฉียบพลนั

ภาวะหอบรุนแรงเฉียบพลัน (severe exacerbations of asthma) เปนภาวะที่พบไดบอย

ที่หองฉุกเฉิน และเปนภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตรอยางหนึ่งที่ตองการการวินจิฉัย และการรักษา

ที่ถูกตองรวดเร็ว มิฉะนัน้อาจจะทาํใหผูปวยเสียชีวิตได การที่ยงัพบผูปวยโรคหืดมาท่ีหองฉุกเฉิน

เปนจํานวนมากก็บงช้ีวาการใหการดูแลรักษาโรคหืดของเราลมเหลวเพราะความรู และยาที่มีใน

ปจจุบันผูปวยโรคหืดสวนมากควรจะควบคุมโรคได

การเกิดภาวะหอบรุนแรงเฉียบพลันอาจจะเกิดข้ึนได ใน 2 รูปแบบดวยกัน(34, 35)คือ

รูปแบบที่1 เกิดข้ึนอยางชาๆ (Type 1 slow onset-late arrival) โดยทีผู่ปวยอาการคอยๆเลวลง

หลายวนักวาผูปวยจะมาพบแพทย ผูปวยกลุมนี้มักจะมีสมรรถภาพปอดตํ่า ไดรับการรักษาไม

เพียงพอ มีปญหาทางจิตเวช สวนรูปแบบที2่ เกิดข้ึนรวดเร็วมากภายในเวลา 1ชั่วโมง (Type 2

sudden onset) อาจจะเกิดจากแพยากลุม NSAID แพอาหาร แพสารภูมิแพ

เมื่อเกิด airway obstruction การหายใจเขาออกก็ลําบากข้ึน เพราะ airway resistance

เพิ่มข้ึน ทาํใหตองใชพลังงานในการหายใจมากข้ึน (increase work of breathing) airway

obstruction ยังทําใหเกดิลมค่ังคางอยูในปอดมากข้ึน (hyperinflation of the lung) ซึ่งการ

หายใจในสภาวะทีม่ีลมคางในปอดมากนัน้จะตองใชพลังงานในการหายใจมากกวาปกติอีกดวย

เชนกนั นอกจากนี ้airway obstruction ที่เกิดข้ึนจะไมสม่ําเสมอกนัในทุกหลอดลมทาํใหระบาย

อากาศไมสม่าํเสมอ ทาํใหเกดิภาวะ ventilation perfusion mismatching และมี dead space

เพิ่มข้ึน เมื่อการหายใจตองใชพลังงานเพิม่ข้ึนกท็ําใหรางกายมีการเผาผลาญพลังงานเพิ่มข้ึน แต

ในขณะเดียวกนัภาวะ V/Q mismatching ก็ทาํใหเกิดภาวะ hypoxemia และภาวะท่ีมกีารระบาย

อากาศที่เสียเปลา (wasted ventilation) ก็ทําใหการขับ CO2 ออกไปไมดีผลคือ ทําใหระดับ

ออกซิเจนในเลือดลดลงและมีการค่ังของ CO2 เกิดข้ึน เมื่อความตองการออกซิเจนมากกวา

จํานวนออกซิเจนทีม่าเล้ียงกลามเนื้อหายใจ ก็จะเกิดการเผาผลาญพลังงานแบบไมใชออกซิเจน

(anaerobic metabolism) ทําใหเกิด lactic acidosis ในที่สุด (รูปที่ 3)

Page 12: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

การดูแลรักษาผูปวยหอบรุนแรงท่ีหองฉุกเฉิน

1. วินิจฉัยวาเปนโรคหืดรุนแรงหรือไม เมื่อพบผูปวยมาทีห่องฉุกเฉินดวยอาการหอบตองวินิจฉัยใหไดวาผูปวยเปนโรคหืดทีห่อบรุนแรงหรือหอบจากสาเหตุอ่ืน

สวนมากผูปวยโรคหืดจะมีประวัติชัดเจนวาเปนโรคหืดมานาน มีอาการไอ หอบ

หายใจมีวี้ดเปนๆ หายๆ ไดยาขยายหลอดลมแลวดีข้ึน แตก็มีไมนอยที่ผูปวยหอบ

มาทีห่องฉุกเฉินที่ไมไดเกิดจากโรคหืด โรคที่ตองวนิิจฉัยแยกโรค คือ ภาวะหัวใจ

วาย, COPD with exacerbation, upper airway obstruction เปนตน

2. ประเมินความรุนแรงของการหอบ เมื่อวินจิฉัยไดแลววาผูปวยเปนหอบก็ตอง

ประเมินความรุนแรงของการหอบเพื่อที่จะจัดการรักษาทีเ่หมาะสม ซึ่งก็ตองอาศัย

ประวัติ ประวัติที่บงวาการหอบรุนแรง คือเคยมีประวัติหอบรุนแรงมากอน เชน

เคยใสเคร่ืองชวยหายใจ การรักษาที่ไดรับ ถาผูปวยไดรับการรักษาเต็มที่

โดยเฉพาะอยางยิง่ถาได corticosteroids ในขนาดเต็มทีแ่ลวยังหอบ แสดงวา

หอบคร้ังนี้รุนแรง ประวัติเคยมาหองฉุกเฉินในชวงระยะเวลาไมนานกอนหนานี้

การตรวจรางกายที่บงบอกความรุนแรง ไดแกพูดไมเปนประโยค นอนราบไมได

อัตราการหายใจมากกวา 35 คร้ัง/นาท ีชีพจร มากกวา 120 คร้ัง/นาท ีมีการใช

accessory muscle ในการหายใจ pulsus paradoxus >25 mmHg มีเสียง

wheeze ผูปวยที่รุนแรงมาก อาจมี cyanosis Physical sign ที่ตรวจพบอาจจะ

ไมคอยสัมพันธกับความรุนแรงของ airway obstruction เทาที่ควร ดังนั้นการดูแล

ผูปวย จาํเปนตองใชเคร่ืองมือวัดความรุนแรงของ airway obstruction โดยใช

เคร่ือง Peak flow meter หรือSpirometer ถา PEFR < 100 L/min หรือ FEV1 <

700 cc ถือวาหอบรุนแรง ในคนไขที่อาการรุนแรงมาก เราจะเจาะ Arterial

blood gas (ABG) ผูปวยทีห่อบรุนแรงจะมีคา PaO2 ตํ่า เกือบทกุราย ซึ่งเกิด

จากภาวะ Ventilation - perfusion nismatch ระดับ PaO2 ไมสามารถบอก

ความรุนแรงของโรคหืดได แตระดับ PaCO2 จะบงบอกความรุนแรงของ airway

obstruction ไดดี โดยพบวาขณะที่ airway obstruction นอยๆ ผูปวยจะมีระดับ

PaCO2 ตํ่า และ pH สูง (respiratory alkalosis) เมื่อ airway obstruction

เพิ่มข้ึน ระดับ PaCO2 จะกลับมาเปนปกติ และ pH ปกติ เมื่อ airway

obstruction มากข้ึนอีก ระดับ PaCO2 จะเร่ิมค่ัง และ pH จะตํ่า ในรายทีห่อบ

มากและไมตอบสนองตอการรักษาจะตองทํา CXR เพราะอาจจะพบสาเหตุของ

การหอบรุนแรง เชน pneumonia หรืออาจจะพบภาวะแทรกซอน เชน

atelectasis, pnemothorax, pneumomediastinum

Page 13: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

3. ใหการรักษา ควรจะรีบใหการรักษาไปพรอมๆ กับการประเมินความรุนแรงของ

โรค ไมควรใชเวลามากเกินไปในการซักประวัติและการตรวจรางกาย การรักษา

ประกอบดวย

3.1 การให oxygen เปนส่ิงแรกท่ีตองใหแกผูปวย เพราะผูปวยสวนมากจะมี mild hypoxemia นอกจากนีก้ารใหยาขยายหลอดลมอาจจะทําใหเกดิ hypoxemia มากข้ึนไดในระยะส้ันๆ ซ่ึงอาจทําใหเกิด arrhythmia ในผูสูงอายุได 3.2 B2-agonist เปนยาที่มฤีทธิข์ยายหลอดลมที่ดีที่สุด จงึเปนยาตัวแรกที่

เลือกใช วิธทีี่นยิมใชมากที่สุดคือการใหทางละอองฝอย (Nebulizer) ขนาดที่

ใชคือ Salbutamol 2.5 - 5 mg, terbutaline 5 - 10 mg พนโดยใช oxygen

5 - 6 L/min ในชั่วโมงแรกใหซ้ําไดทกุ 20 นาที หลังจากนัน้อาจจะใหไดทุก 1

- 4 ชั่วโมงอาจจะใช β2 - agonist โดยใช MDI (Metered dose inhale)

ผานทาง spacer แทน การให β2 - agonist ทางละอองฝอยได (36)โดย

พบวา salbutamol ใหคร้ังละ 4 Puff (400μg)ไดผลใกลเคียงกับ การให

Salbutamol 2.5 mg ทางละอองฝอย แตการใช MDI ผานทาง spacer

ตองการความรวมมือจากผูปวย มากกวา การให β2 agonist ทาง

subcutaneous มีอาการขางเคียงมากกวาการใหทางละอองฝอย แตก็ยังมี

การใชอยูบาง สวนการให β2 agonist ทางหลอดเลือดดําไมไดมีผลดีกวา

การการใหทางละอองฝอย (37) แตอาจจะมีผลขางเคียงมากจึงไมควรใช

3.3 Anticholinergic ไดแก Ipratropium bromide ไมนิยมใชเด่ียวๆ ในการ

รักษาโรคหืดเฉียบพลันเพราะออกฤทธ์ิชา จะใชรวมกับ β2 agonist เมื่อให

β2 agonist แลวอาการหอบยังไมดีข้ึน ขนาดที่ใชคือ 0.5 mg ทางละออง

ฝอย ถงึแมวาจะมีความเหน็แตกตางกนับางเกี่ยวกับการใช Ipratropium

bromide แตมีขอมูลวาการ ให Ipratropium bromide รวมกับ β2 agonist

ไดผลดีกวาการให β2 agonist เด่ียวๆ(38)

3.4 Corticosteroids เนื่องจากผูปวยหอบรุนแรงจะมีอาการอักเสบใน

หลอดลม จําเปนตองให corticosteroids ทุกราย ในอดีตจะให

corticosteroids คอนขางชาโดยจะใหcorticosteroids ก็ตอเม่ือผูปวยไม

ตอบสนองตอ β2 – agonist 3 คร้ัง (status asthmaticus) ปจจุบันจะให

corticosteroids พรอมๆกับβ2 – agonist เลย อาจใหในรูปยากนิหรือฉีดก็ได

Page 14: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

เชน Prednisolone 30 mg กินทนัที ตามดวย 30-60 mg/d หรือ

hydrocortisone 3 mg/Kg หรือ dexamethasone 5-10 mg IV ทุก 4-6 ชม

3.5 การใชเคร่ืองชวยหายใจ เมือ่ผูปวยหอบรุนแรงจนไมสามารถหายใจได

เพียงพอหรือ หมดแรงที่จะหายใจตอไป ขอบงชี้ในการใชเคร่ืองชวยหายใจ

ไดแก เมื่อผูปวยหยุดหายใจ เมื่อระดับ PaCO2 สูงข้ึนเร่ือยๆ แมวาใหยาเต็มที ่

เมื่อผูปวยมีภาวะสับสน ซมึ ไมคอยรูสึกตัว

3.6 การรักษาอ่ืนๆที่ยงัไมใชการรักษามาตรฐาน เชน การใช Heliox ซึ่งเปน

กาชผสมระหวาง Oxygen และ Helium อาจจะชวยใหผูปวยที่หอบรุนแรงมี

อาการดีข้ึนไดเนื่องจากวา Heliox มีความหนาแนนนอยกวาอากาศทาํใหการ

ไหลของกาชในหลอดลมสม่าํเสมอข้ึน(39-41) การใช Magnesium sulphate

ฉีดทางเสนเลือด มีบางรายงานพบวาทําใหผูปวยทีห่อบรุนแรงมีอาการดีข้ึน

(42, 43) แตบางรายงานพบกลับพบวาไมไดผล(44)

4) ติดตามผลการรักษา เมื่อใหการรักษาแลวตองมีการประเมินผลของการรักษา เพื่อที่จะ

ไดวางแนวทางในการรักษาตอไป ไดถูกตอง ส่ิงที่ใชในการประเมินคือ อาการหอบเหนื่อยของ

ผูปวย, การตรวจรางกาย เชน การหายใจ, ชีพจร, การใช accessory muscle, เสียง wheeze แต

อยางไรก็ตามอาการและการตรวจรางกายเหลานี้ไมพอเพียงในการประเมินความรุนแรงของโรค

และอาจจะประเมินความรุนแรงของโรคตํ่ากวาที่ควรได การประเมนิทีดี่จําเปนตองวดั PEFR หรือ

FEV1 รวมดวย ปญหาของการรักษาโรคหืด

หลังจากมีการนําเอา GINA guideline มาใชหลายป ไดมีการสํารวจผลการรักษาโรคหืด

ในประเทศไทย (7)กลับพบวาการควบคุมโรคหืดยังตํ่ากวามาตรฐานทีต้ั่งไวเปนอยางมาก โดย

พบวาคนไขโรคหืดจํานวนมากถึง 14.8% ที่มีอาการหอบรุนแรงจนตองเขารับการรักษาใน

โรงพยาบาลในระยะเวลา 1 ปที่ผานมา และ 21.7% ที่เคยมาหองฉุกเฉินในระยะเวลา 1 ปที่ผาน

มา ผูปวยมากกวาคร่ึงที่มีคุณภาพชีวิตดอยกวาคนปกติเพราะไมสามารถทํากจิกรรมไดเชนคนปกติ

สาเหตุสําคัญก็เพราะวาผูปวยสวนมากไมไดรับการรักษาตามที่แนวทางการรักษาไดใหคําแนะนํา

ไวโดยพบวาผูปวยโรคหืดในประเทศไทยทีไ่ดรับยาพนเสตียรอยด มีเพยีง 6.7% แสดงใหเห็นถึง

ความลมเหลวของการพยามนําเอา GINA guideline ไปใชงาน ซึ่งผลการสํารวจกเ็ปนไปในแนว

เดียวกนักับผลการสํารวจในอเมริกา(45) ยุโรป(46)

สาเหตุที่แพทยไมปฏิบัติตามแนวทางการรักษาโรคหืดกเ็พราะ

1. แนวทางในการรักษาโรคหืดในปจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมมาก จากเดิมที่เขาใจวา

โรคหืดเปนโรคที่มีความผิดปกติของกลามเนื้อหลอดลมที่โตข้ึนและหดตัวมากกวา

Page 15: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

ปกติและคิดวาโรคหืดเปนโรคที่รักษาไมได จึงรักษาโรคหดืโดยการใชยาขยาย

หลอดลมเปนหลักเฉพาะเวลาที่มีอาการเทานั้น แตในปจจุบันเขาใจวาโรคหืดมี

การอักเสบของหลอดลมทําใหหลอดลมไวตอส่ิงกระตุนผิดปกติ ดังนัน้โรคหืดจึง

เปนโรคที่รักษาไดดวยการใหยาลดการอกัเสบของหลอดลมซ่ึงไดแก ยาพนเสตีย

รอยด (inhaled corticosteroids) เปนหลักแทนการใชยาขยายหลอดลม ทําให

แพทยเปล่ียนแนวคิดไมทนั

2. แนวทางในการรักษาโรคหืดยุงยากซับซอนทาํใหยากตอการปฏิบัติตาม เชน การ

จําแนกความรุนแรงของโรคหืด และการใหยารักษาตามระดับความรุนแรงของโรค

3. แพทยไมมเีวลามากพอในการดูแลคนไขโรคหืด ปกติแพทยมีเวลาตรวจผูปวยที่

หองตรวจผูปวยนอกประมาณ 10 นาท ีแตการที่จะรักษาผูปวยโรคหืดใหดีจะตอง

ใหความรูแกผูปวย จะตองประเมินความรุนแรงของโรค จะตองสอนผูปวย

เกี่ยวกับการพนยาใหถกูตอง ซึ่งตองใชเวลามาก

การแกปญหาก็จะตองทําใหแนวทางการรักษาโรคหืดงาย แมกระทัง่แพทยเวชปฏิบติั

ทั่วไปใน รพ.ชมุชนทั่วประเทศสามารถปฏิบัติได และจะตองมีการจัดระบบที่ดีทีจ่ะทาํใหแพทยใช

เวลานอยลงในการดูแลผูปวยโดยการเพิม่บทบาทของพยาบาลและเภสัชกรในการรวมดูแลผูปวย

จึงเปนที่มาของการจัดต้ังคลินิกโรคหืดแบบงายๆ (Easy Asthma Clinic) ตามโรงพยาบาลชุมชน

ซึ่งจะทําใหการรักษาตาม guideline เปนไปไดอยางมีประสิทธิภาพมากข้ึน

ข้ันตอนการทาํงานของคลินกิโรคหืดแบบงายๆ

คนไขทุกคนจะตองพบกับพยาบาลกอนเพือ่ลงทะเบียน และประเมินการควบคุมโรคหืด

ของคนไข โดยใชแบบสอบถามงายๆ(asthma control questionnaires) (ตารางที ่4) เสร็จแลวก็ให

ผูปวยเปาพีคโฟว เพื่อวัดความเร็วสูงสุดทีผู่ปวยสามารถเปาได

เมื่อพยาบาลประเมินเสร็จก็สงผูปวยเขาพบแพทย แพทยจะใหการรักษาตามแนวทางการ

รักษาที่ดัดแปลงใหงายๆ กลาวคือ เราจะไมตองจําแนกผูปวยตามความรุนแรงซ่ึงยากแกการจดจาํ

แตจะประเมินวาผูปวยควบคุมโรคหืดไดหรือยัง (คําวาควบคุมโรคไดหมายความวาผูปวยตองไมมี

อาการทั้งกลางวัน และกลางคืน ตองไมใชยาขยายหลอดลม ตองไมไปหองฉุกเฉิน และพีคโฟว เกิน

80%ของคามาตรฐาน) ถาผูปวยยงัควบคุมโรคยังไมไดแพทยก็จะใหยารักษาโดยใหยาพนเสตีย

รอยด ขนาดปานกลาง (500-1000 μg) ไปกอน ถาคร้ังหนาผูปวยยงัไมสามารถควบคุมโรคไดก็ให

เพิ่มยาเขาไป โดยยาที่จะใหเพิ่มเขาไปกม็ีเพียง ยา 3 ตัวคือ Long acting beta-2 agonists,

theophylline และ anti-leukotrienes ถาควบคุมโรคไดก็คอยๆลดยาลง

เมื่อแพทยส่ังการรักษาเสร็จก็สงผูปวยพบกับเภสัชเพื่อใหความรูเกี่ยวกับเร่ืองโรคหดืและ

การรักษาโรค พรอมทัง้สอนเรื่องการใชยาพน

Page 16: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

ผลที่คาดวาจะไดรับจากการจัดต้ัง Easy Asthma Clinic คือการรักษาโรคหืดใน

โรงพยาบาลชมุชนที่อยูหางไกลจะไดมาตรฐาน มีการวัดPEFR และมีการใชยา inhaled

corticosteroids เพิ่มข้ึน ซึง่จะทาํใหผูปวยโรคหืดจะมีคุณภาพชีวิตทีดี่ข้ึน ไมตองทกุขทรมานกับ

อาการหอบ และไมตองหอบรุนแรงจนตองเขารับการรักษาทีห่องฉุกเฉินหรือนอนรับการรักษาที่

โรงพยาบาล อีกทั้งการที่มกีารรวมมือกันของทีมแพทย พยาบาล และเภสชักรรมจะทําใหการรักษา

มีคุณภาพสูง มีการบนัทึกขอมูลการรักษาอยางเปนระบบซึ่งจะเปนประโยชนตอผูปวย และระบบ

การสาธารณสุขของประเทศไทยในอนาคต

ในปจจุบัน Easy Asthma Clinic ไดรับความสนใจมากโดยมีสมาชิกทีเ่ปดดําเนนิการ

มากกวา 150 โรงพยาบาล และไดมีการพฒันาโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเขามาชวยทาํให

สามารถเก็บขอมูลออนไลน ผูที่สนใจสามารถเขาไปเยีย่มชมไดที่ http://eac.mykku.net

Page 17: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

ตารางที่ 1 จํานวนและอัตราผูปวยโรคหืดทีเ่ขานอนรับการรักษาในโรงพยาบาลจากสถาน

บริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ (ยกเวนกรุงเทพมหานคร)

ป พ.ศ. 2538 2539 2540 2542 2543 2544 2545 2546 2547

จํานวน 66,699 76,202 79,769 91,159 90,606 87,959 102,245 93,234 90,293

อัตราตอ

ประชากร

100,000 คน

124.210 140.570 145.400 164.163 164.443 161.644 186.280 166.550 162.260

ที่มา : สํานักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธาณสุข (Bureau of Health Policy

and Planning, Ministry of Public Health)

ตารางที่ 2 จํานวนและอัตราผูเสียชีวิตจากโรคหืด

ป พ.ศ. 2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546

จํานวน 806 1,040 1,302 1,496 1,627 1,700 1,697

อัตราตอประชากร

100,000 คน 1.33 1.69 2.11 2.42 2.62 2.72 2.70

ที่มา : สํานักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธาณสุข (Bureau of Health Policy

and Planning, Ministry of Public Health)

Page 18: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

ตารางที่ 3 การจําแนกความรุนแรงของโรคหืดโดยอาศัยอาการ การตรวจสมรรถภาพปอด(FEV1

หรือ PEFR) คาความผันผวนของPEFR (1, 47)

อาการ PEFR Peak Flow

variability

PD20

methacholine

intermittent มีอาการนานนานคร้ัง ชวง

ที่มีอาการจะมอีาการ

<1/สัปดาห หรือมีอาการ

กลางคืน<2คร้ัง/เดือน

> 80% < 20%

mild persistent

(อาการนอย)

>1 คร้ัง/สัปดาห

noctumal >2/เดือน

> 80% 20-30% 1-4 μmol

Moderate

persistent

(อาการปานกลาง)

มีอาการเกือบทุกวนั

nocturnal >1/สัปดาห

60-80 % > 30% 0.1-1 μmol

severe

persistent

(อาการมาก)

มีอาการตลอดเวลา < 60% > 30% 0.1 μmol

ตารางที่ 4 แบบสอบถามเพื่อการประเมนิการควบคุมโรคหืดของผูปวย (asthma control

questionnaires) โดยถามคําถามงายๆ 4 ขอ

1. ในชวง 4 สัปดาหที่ผานมาคุณมีอาการไอ หายใจไมอ่ิม หรือหายใจมีเสียงดังวี้ด

ในชวงกลางวนับางหรือไม

2. ในชวง 4 สัปดาหที่ผานมาคุณตองลุกข้ึนมาไอ,หายใจฝดและแนนหนาอก,หายใจ

มีเสียงวี้ดในชวงกลางคืนบางหรือไม

3. ในชวง 4 สัปดาหที่ผานมา คุณใชยาบรรเทาอาการหอบ (ยาขยายหลอดลม)บาง

หรือไม?

4. ในชวง 2 เดือนที่ผานมา คุณเคยหอบมากจนตองไปรับการรักษา ที่หองฉุกเฉิน

หรือ ตองเขารับการรักษาในโรงพยาบาลบางหรือไมบางหรือไม

Page 19: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

sensitization

Inflammation

Remodelling

Symptoms (Bronchospasm)

Airway Airway

hyperresponsiveness รูปที่ 1 pathogenesis of asthma

Page 20: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

รูปที่ 2 Dose response curve ของ methacholine

Page 21: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

รูปที่ 3 pathophysiologic consequences of airways obstruction(48)

Airways obstruction

hyperinflation uneven disturibution

of ventilation

Increased wasted Increase work of breathing

ventilation

V/Q mismatching

Increased VO2 and VCO2

Muscle Fatigue

Hypoxia, Hypercapnia

Respiratory Acidosis

Metabolic Acidosis

Page 22: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

ดัชนีอางองิ

airway hyperresponsiveness

Asthma

airway remodeling

acute asthmatic response

late asthmatic response

Bronchial provocation test

histamine

methacholine

Beta-adrenergic agonists

Cromolyn sodium

Ketotifen

Anticholinergic

long-acting β2-agonists

salbutamol

terbutaline

procaterol

fenoterol

formoterol

salmeterol

Beclomethasone dipropionate

Budesonide

fluticasone propionate

Leukotriene modifiers

Zafirlukast

Montelukast

Anti-IgE

severe exacerbations of asthma

GINA guideline

Easy Asthma Clinic

Page 23: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

เอกสารอางอิง

1. Global initiative for asthma. Global strategy for asthma management and

prevention NHLBI/WHO workshop report. 1995.

2. Worldwide variation in prevalence of symptoms of asthma, allergic

rhinoconjunctivitis, and atopic eczema: ISAAC. The International Study of

Asthma and Allergies in Childhood (ISAAC) Steering Committee. Lancet.

1998;351(9111):1225-32.

3. Global initiative for asthma. Global strategy for asthma management and

prevention NHLBI/WHO revised 2002. 2002.

4. Vichyanond P, Jirapongsananuruk O, Visitsuntorn N, Tuchinda M. Prevalence of

asthma, rhinitis and eczema in children from the Bangkok area using the ISAAC

(International Study for Asthma and Allergy in Children) questionnaires. Journal

Of The Medical Association Of Thailand. 1998;81(3):175-84.

5. Teeratakulpisarn J, Pairojkul S, Heng S. Survey of the prevalence of asthma,

allergic rhinitis and eczema in schoolchildren from Khon Kaen, Northeast

Thailand. an ISAAC study. International Study of Asthma and Allergies in

Childhood. Asian Pac J Allergy Immunol. 2000;18(4):187-94.

6. Boonsawat W, Charoenphan P, Kaitboonsri S, et al. Prevalence of asthma

symptoms in adult in 4 cities of Thailand. Joint scientific meeting the Thoracic

Society of Thailand, the Malaysia Thoracic Society and the Singapore Thoracic

Society. Bangkok, Thailand; 2002: 112.

7. Boonsawat W, Charoenphan P, Kiatboonsri S, et al. Survey of asthma control in

Thailand. Respirology. 2004;9(3):373-8.

8. Beasley R, Smith K, Pearce N, Crane J, Burgess C, Culling C. Trends in asthma

mortality in New Zealand, 1908-1986. Med J Aust. 1990;152(11):570, 572-3.

9. Buist AS, Sears MR, Reid LM, Boushey HA, Spector SL, Sheffer AL. Asthma

mortality: Trends and determinants. Am Rev Respir Dis. 1987;136:1037-1039.

10. Crane J, Pearce N, Flatt A, et al. Prescribed fenoterol and death from asthma in

New Zealand, 1981-83: case-control study. Lancet. 1989;1(8644):917-22.

Page 24: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

11. Mitchell EA. Is current treatment increasing asthma mortality and morbidity?

Thorax. 1989;44(2):81-4.

12. Holgate ST, Finnerty JP. Recent advances in understanding the pathogennesis

of asthma and its clinical implications. Quarterly Journal of Medicine. 1988;New

Series 66(249):5-19.

13. Busse W, Elias J, Sheppard D, Banks-Schlegel S. Airway remodeling and repair.

Am J Respir Crit Care Med. 1999;160(3):1035-42.

14. Redington AE, Howarth PH. Airway wall remodelling in asthma. Thorax.

1997;52(4):310-2.

15. American Thoracic Society. Lung function testing: selection of reference values

and interpretative strategies. Am Rev Respir Dis. 1991;144:1202-1218.

16. Reddel H, Jenkins C, Woolcock A. Diurnal variability--time to change asthma

guidelines? Bmj. 1999;319(7201):45-7.

17. Woolcock AJ, Yan K, Salome C. Methods for assessing bronchial reactivity. Eur

J Respir Dis Suppl. 1983;128 (Pt 1):181-95.

18. Toelle BG, Peat JK, Salome CM, Mellis CM, Woolcock AJ. Toward a definition of

asthma for epidemiology. Am Rev Respir Dis. 1992;146:633-637.

19. Sont JK, Willems LN, Bel EH, van Krieken JH, Vandenbroucke JP, Sterk PJ.

Clinical control and histopathologic outcome of asthma when using airway

hyperresponsiveness as an additional guide to long-term treatment. The AMPUL

Study Group. American Journal Of Respiratory And Critical Care Medicine.

1999;159(4 Pt 1):1043-51.

20. Shepherd GL, Hetzel MR, Clark TJH. Regular versus symptomatic aerosol

bronchodilator treatment of asthma. Br. J. Dis. Chest. 1981;75:215-217.

21. Greening AP, Ind PW, Northfield M, Shaw G. Added salmeterol versus higher-

dose corticosteroid in asthma patients with symptoms on existing inhaled

corticosteroid. Allen & Hanburys Limited UK Study Group. Lancet.

1994;344(8917):219-24.

22. Woolcock AJ. The combined use of inhaled salmeterol and inhaled

corticosteroids. Eur Respir Rev. 1995;5(27):142-145.

Page 25: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

23. Condemi JJ, Goldstein S, Kalberg C, Yancey S, Emmett A, Rickard K. The

addition of salmeterol to fluticasone propionate versus increasing the dose of

fluticasone propionate in patients with persistent asthma. Salmeterol Study

Group. Ann Allergy Asthma Immunol. 1999;82(4):383-9.

24. แนวทางการรักษาโรคหืดสําหรับผูใหญ. แพทยสภาสาร. 2538;24(1):17-29.

25. สมาคมอุรเวชชแหงประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดใน

ประเทศไทย(สําหรับผูปวยผูใหญฉบบัปรับปรุง). วารสารวัณโรคและโรคทรวง

อก. 2541;19(3):179-193.

26. สมาคมอุรเวชชแหงประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดใน

ประเทศไทยสําหรับผูปวยผูใหญ พ.ศ. 2547. 1 ed กรุงเทพฯ: สมาคมอุรเวชชแหง

ประเทศไทย; 2547.

27. Chetta A, Del Donno M, Maiocchi G, Pisi G, Moretti D, Olivieri D. Prolonged

bronchodilating effect of formoterol versus procaterol in bronchial asthma. Ann

Allergy. 1993;70(2):171-4.

28. Johnson M. Pharmacology of long-acting b-agonists. Annals of allergy,asthma,

&immunology. 1995;74(8):177-178.

29. Youngchaiyud P, Pimpanchat T. Ipratropium bromide. A new anticholinergic

drug. Siriraj Hosp Gaz. 1977;29(5):620-632.

30. Newhouse MT. Is theophylline obsolete? Chest. 1990;98(1):1-3.

31. Kidney J, Dominguez M, Taylor PM, Rose M, Chung KF, Barnes PJ.

Immunomodulation by theophylline in asthma. Demonstration by withdrawal of

therapy. American Journal Of Respiratory And Critical Care Medicine.

1995;151(6):1907-14.

32. Tuchinda M, Habanananda S. Ketotifen in treatment of asthmatic children. J Med

Ass Thailand. 1982;65(2):47-51.

33. Drazen JM, Israel E, O'Byrne PM. Treatment of asthma with drugs modifying the

leukotriene pathway. New England Journal Of Medicine. 1999;340(3):197-206.

34. Strunk RC. Death due to asthma. New insights into sudden unexpected deaths,

but the focus remains on prevention [editorial; comment]. American Review Of

Respiratory Disease. 1993;148(3):550-2.

Page 26: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

35. Picado C. Classification of severe asthma exacerbations: a proposal. European

Respiratory Journal. 1996;9(9):1775-8.

36. Idris AH, McDermott MF, Raucci JC, Morrabel A, McGorray S, Hendeles L.

Emergency department treatment of severe asthma. Metered-dose inhaler plus

holding chamber is equivalent in effectiveness to nebulizer [see comments].

Chest. 1993;103(3):665-72.

37. Salmeron S, Brochard L, Mal H, et al. Nebulized versus intravenous albuterol in

hypercapnic acute asthma. A multicenter, double-blind, randomized study.

American Journal Of Respiratory And Critical Care Medicine. 1994;149(6):1466-

70.

38. Lanes SF, Garrett JE, Wentworth CEr, Fitzgerald JM, Karpel JP. The effect of

adding ipratropium bromide to salbutamol in the treatment of acute asthma: a

pooled analysis of three trials. Chest. 1998;114(2):365-72.

39. Kass JE, Castriotta RJ. Heliox therapy in acute severe asthma [see comments].

Chest. 1995;107(3):757-60.

40. Manthous CA, Hall JB, Caputo MA, et al. Heliox improves pulsus paradoxus and

peak expiratory flow in nonintubated patients with severe asthma. American

Journal Of Respiratory And Critical Care Medicine. 1995;151(2 Pt 1):310-4.

41. Kass JE, Terregino CA. The effect of heliox in acute severe asthma: a

randomized controlled trial. Chest. 1999;116(2):296-300.

42. Ciarallo L, Sauer AH, Shannon MW. Intravenous magnesium therapy for

moderate to severe pediatric asthma: results of a randomized, placebo-

controlled trial [see comments]. Journal Of Pediatrics. 1996;129(6):809-14.

43. Mills R, Leadbeater M, Ravalia A. Intravenous magnesium sulphate in the

management of refractory bronchospasm in a ventilated asthmatic. Anaesthesia.

1997;52(8):782-5.

44. Tiffany BR, Berk WA, Todd IK, White SR. Magnesium bolus or infusion fails to

improve expiratory flow in acute asthma exacerbations. Chest. 1993;104(3):831-

4.

Page 27: 34 โรคหืด (Asthma)eac2.dbregistry.com/site_data/dbregistry_eac/1/Asthma.pdf · 34 . โรคหืด (Asthma) วัชรา บุญสวัสดิ์ นิยาม.

45. Adams RJ, Fuhlbrigge A, Guilbert T, Lozano P, Martinez F. Inadequate use of

asthma medication in the United States: results of the asthma in America national

population survey. J Allergy Clin Immunol. 2002;110(1):58-64.

46. Rabe KF, Vermeire PA, Soriano JB, Maier WC. Clinical management of asthma in

1999: the Asthma Insights and Reality in Europe (AIRE) study. Eur Respir J.

2000;16(5):802-7.

47. Woolcock AJ. asthma. In: Murray JF, Nadel JA, eds. Textbook of respiratory

Medicine. 2 ed. Vol. 2. Philadelphia: W.B. Saunders Company; 1994:1288-1330.

48. Hopewell PC, Miller RT. Pathophysioloy and management of severe asthma. In:

Bailey WC, ed. Clinics in Chest Medicine. Vol. 5. London Toronto Mexico City

Rio de Janeiro Sydney Tokyo: W B Saunders Company; 1984:623-634.