ความพร้อมของแรงงานไทย

Post on 02-Nov-2014

437 views 1 download

description

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คืออะไร เนื้อหาให้ความรู้เกี่ยวกับ AEC หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนค่ะ. www.tciap.com

Transcript of ความพร้อมของแรงงานไทย

ความพร้อมของแรงงานไทย  กับการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  

โทร:  02-­‐6197272,  086-­‐3252498  

ประเทศไทยจะไม่ขาดแรงงานฝีมือ หรือแรงงานเชี่ยวชาญอีกต่อไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง   ใน 7 สาขาวิชาชีพ ตามข้อตกลง MRAs “ เนื่องจาก จะมีแรงงานทักษะจากประชาคมอาเซียน เข้ามาเป็นตัวเลือก  ในการสมัครแข่งขันเข้าทํางานในองค์กรทั้งภาคผลิตและภาคบริการ ที่มีชื่อเสียงและความมั่นคง แรงงานทักษะเหล่านี้จะได้รับค่าจ้างสูง รวมทั้งมีศักยภาพและอํานาจเพียงพอที่จะต่อรองกับนายจ้างเกี่ยวกับ อัตราค่าจ้าง สวัสดิการ   และความก้าวหน้าในสาขาอาชีพ “  

จากการประเมินความพร้อมของราชการไทย แม้ว่า รัฐบาลมีนโยบายในการดําเนินการแผนงานในกรอบอาเซียน   ซึ่งระบุไว้ชัดเจนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555-2559) รวมทั้ง แต่ละหน่วยงานต่างมีแผนงานในการเตรียมรับประชาคมอาเซียน  

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติยังมีการประสานงานที่ไม่พร้อม ไม่แน่ชัดว่า ใครทําอะไร   แค่ไหน อย่างไร ที่สําคัญ การประเมินความพร้อมด้านบุคลากร พบว่า มีความรู้ทางเทคนิคแต่ขาดความรู้ด้านต่างประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้า และภาษี  

หนังสือพิมพ์คมชัดลึก เมื่อ วันที ่16 พฤษภาคม 2554 รายงานข่าวว่า จากการประเมินความพร้อมภาคประชาชน    “เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและผลกระทบ โดยสํารวจนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนําใน 10 ประเทศสมาชิก ปรากฎว่า ประเทศไทยอยู่อันดับสุดท้ายของผลการสํารวจ”  

จ็อบสตรีทดอทคอม สํารวจ คุณลักษณะบัณฑิตใหม่ที่องค์กรต้องการ ใน 305 องค์กร เมื่อต้นป ี2555 ปัญหาหลักที่พบ คือ บัณฑิตใหม่ไม่สู้งาน ย้ายงานหรือเปลี่ยนงานบ่อย ขาดความรับผิดชอบ นอกจากนั้น ยังมีปัญหาเรื่องทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ขาดทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และขาดความกระตือรือร้นในการทํางาน สําหรับลักษณะ   ไม่พึงประสงค์อื่นๆ ที่ตัวแทนฝ่ายนายจ้างระบุ  

แรงงานทักษะไทยใน 7 สาขาวิชาชีพ ตามข้อตกลง MRAs รวมทั้ง แรงงานเชี่ยวชาญสาขาอื่น ที่เกี่ยวข้อง  ดังที่กล่าวมาแล้ว จะเป็นแรงงานที่มีศักยภาพ และเป็นที่ต้องการของตลาด แต่การเตรียมความพร้อมด้าน ภาษาอังกฤษ มีความจําเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง เนื่องจากอาเซียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารและติดต่อประสานงาน นอกจากนี้ การเตรียมความพร้อมในด้านความรู้ความเข้าใจและการใช้กฎหมายการค้า หรือ ภาษีที่เกี่ยวข้อง  

เตรียมความพร้อม พัฒนาศักยภาพทักษะภาษา

นักศึกษาและแรงงานไทยสู่ตลาดอาเซียน  

โทร:  02-­‐6197272,  086-­‐3252498